[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 กันยายน 2566 00:34:53



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘พริษฐ์’ ตั้งคำถาม กก.ศึกษาประชามติรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลยันไม่เกิน 3-4 เดือน แต่ย
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 กันยายน 2566 00:34:53
‘พริษฐ์’ ตั้งคำถาม กก.ศึกษาประชามติรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลยันไม่เกิน 3-4 เดือน แต่ยังขาดความชัดเจน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-21 21:24</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>‘พริษฐ์’ ตั้งคำถามต่อแนวทางคณะกรรมการศึกษาประชามติรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลยืนยันกรอบเวลาทำงานไม่เกิน 3-4 เดือน แต่ยังขาดความชัดเจนใน 3 ประเด็น องค์ประกอบ-ขอบเขต-คำถามประชามติ</p>
<p>21 ก.ย. 2566 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แสดงความเห็นกรณีที่ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรอบเวลาในการทำงานของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติว่าจะไม่เกิน 3-4 เดือน และยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาเพื่อประวิงเวลา</p>
<p>พริษฐ์ย้ำว่า พรรคก้าวไกลยังคงยืนยันอีกครั้งว่าไม่เห็นความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการศึกษาด้วย 2 เหตุผล </p>
<p>เหตุผลแรก ปัญหาการแก้ไขและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นประเด็นที่ถูกศึกษาอย่างต่อเนื่องหลายปี ผ่านกระบวนการที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมมาตลอด โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เคยมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งแต่ปี 2562 จนกลายมาเป็นการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปี 2563-64 เพื่อเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยกลไกของ สสร. ซึ่งได้รับความเห็นชอบในวาระที่ 1 และได้มีมติยืนยันว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งในวาระที่ 2 ก่อนที่บางฝ่ายจะหยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 มาใช้เป็นเหตุผลในการปัดตกร่างดังกล่าวในวาระที่ 3 และเสนอให้มีการจัดประชามติก่อน โดยในปี 2565 ญัตติในการเดินหน้าจัดทำประชามติเพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน ว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง เคยได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากทุกพรรคการเมือง</p>
<p>ส่วนเหตุผลที่สอง กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีหลายขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาพอควร หากนับไปถึงวันที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนอาจต้องเข้าคูหาทั้งหมด 4 ครั้ง มีการทำประชามติ 3 ครั้ง และเลือกตั้ง สสร. อีก 1 ครั้ง พิจารณาแล้วอาจใช้เวลา 2 ปีขึ้นไป  ดังนั้น ยิ่งติดกระดุมเม็ดแรกเรื่องการจัดทำประชามติครั้งที่ 1 เร็วเท่าไร จะเป็นการลดความเสี่ยง เพื่อให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บังคับใช้ทันการเลือกตั้งครั้งต่อไป</p>
<p>พริษฐ์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อมีแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้แล้ว ตนคิดว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีความชัดเจนขึ้นเรื่องกรอบเวลา โดยเฉพาะที่รัฐบาลให้สัญญาว่า คณะกรรมการชุดนี้จะมีกรอบระยะเวลา 3-4 เดือนจึงมีข้อสรุป ถึงอย่างนั้น ตนยังต้องการเห็นความชัดเจนในอีก 3 ประเด็นเกี่ยวกับคณะกรรมการฯ ที่จะถูกตั้งขึ้น</p>
<p>ประเด็นที่ 1 คือ ความชัดเจนขององค์ประกอบคณะกรรมการ จะทำอย่างไรให้มีตัวแทนจากทุกชุดความคิดและทุกภาคส่วน เพื่อให้มีการรับฟังอย่างรอบด้านและเป็นไปตามสัดส่วนของความเห็นที่มีอยู่ในสังคมจริงๆ</p>
<p>ประเด็นที่ 2 คือ ขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการฯ จะเป็นอย่างไร โดยพรรคก้าวไกลคาดหวังว่าคณะกรรมการชุดนี้ จะต้องหารือแนวทางภายใต้หลักการของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่ไปย้อนหลักการดังกล่าวซึ่งเคยเป็นข้อสรุปร่วมกันมาแล้ว</p>
<p>ประเด็นที่ 3 คือ กรอบของคำถามที่จะใช้ในการจัดทำประชามติ ซึ่งต้องไม่เพียงแต่กระชับและตรงไปตรงมา แต่ควรเป็นคำถามที่ยืนยันหลักการของการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่ไม่เป็นคำถามที่แคบเกินไป (เช่น เป็นคำถามที่ระบุรายละเอียดเรื่องระยะเวลาทำงานของ สสร. หรือจำนวน สสร. ที่อาจยังมีความเห็นต่าง) และไม่เป็นคำถามที่กว้างเกินไป (เช่น เป็นคำถามที่ไม่ยืนยันว่า สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง จนเปิดช่องให้มี สสร. ที่มาจากการแต่งตั้ง)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชามติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พริษฐ์ วัชรสินธุ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106008