[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 14:42:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'กรีนพีซ' ขอนายกทบทวนกรอบท่าทีเจรจา COP28 ซึ่งเอื้ออุตสาหกรรมฟอสซิล-บรรษัทขนาด  (อ่าน 44 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 ตุลาคม 2566 14:25:52 »

'กรีนพีซ' ขอนายกทบทวนกรอบท่าทีเจรจา COP28 ซึ่งเอื้ออุตสาหกรรมฟอสซิล-บรรษัทขนาดใหญ่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-10-06 13:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กรีนพีซ ประเทศไทย ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรีให้ทบทวนกรอบท่าทีเจรจา COP28 ซึ่งเอื้ออุตสาหกรรมฟอสซิลและบรรษัทขนาดใหญ่ที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองเข้าแสวงกำไรจากการค้าคาร์บอน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53238252845_bc911a7b72_k_d.jpg" /></p>
<p>6 ต.ค. 2566 นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทยกางป้ายผ้า “ผืนป่า ≠ คาร์บอนเครดิต หยุดฟอกเขียว” และฉายโปรเจคเตอร์ “หยุดใช้ผืนป่าแลกคาร์บอน Real Zero Not Net Zero” ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และคณะรัฐบาลไทยในพิธีเปิดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยครั้งที่ 2 (2nd Thailand Climate Action Conference) ซึ่งจัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนโดยอุตสาหกรรมฟอสซิลยักษ์ใหญ่ภายใต้เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย <span style="color:#3498db;">[1]</span> ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53237758991_b6ca48209d_k_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53238252840_dffc72ec88_k_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53237758996_014870057b_k_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53238252905_2847da7446_k_d.jpg" /></p>
<p>กรีนพีซ ประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนกรอบท่าทีเจรจาในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 28 (COP28) ที่จะมีขึ้นช่วงปลายปี 2566 นี้ ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กรีนพีซ ประเทศไทยเห็นว่านโยบายสภาพภูมิอากาศของไทยยังคงขาดสมดุล ไม่ได้สัดส่วน โดยทุ่มทรัพยากรทางการเงินส่วนใหญ่ไปกับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(mitigation)  ให้ความสำคัญกับการรับมือปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (adaptation) น้อยมาก และแทบไม่พูดถึงความสูญเสียและความเสียหาย(loss and damage) <span style="color:#3498db;">[2]</span> และเปิดช่องให้มีการฟอกเขียว (greenwashing) มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการชดเชยคาร์บอนภาคป่าไม้ (forest carbon offset)</p>
<p>ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทยกล่าวว่า “การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) ซึ่งมีต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 คือรูปธรรมที่ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ได้ช่วงชิงนโยบายสภาพภูมิอากาศของไทยเพื่อผลประโยชน์ของตนไปแล้ว แม้ภาครัฐระบุว่าจะจัดทำข้อเสนอสู่ COP28 รวมถึงท่าทีของไทยเรื่องการเงินสีเขียว (green finance) แหล่งดูดซับคาร์บอน(Carbon Sink) และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) แต่ข้อเสนอเหล่านี้ย้อนแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทั้งการแย่งยึดที่ดิน การทวงคืนผืนป่า และการจัดสรรที่ดินและป่าไม้จำนวนมหาศาลให้กับกลุ่มทุนเพื่อการค้าคาร์บอน และเปิดทางให้อุตสาหกรรมฟอสซิลผู้ก่อมลพิษยังสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป” </p>
<p>ธารา กล่าวต่อไปว่า “โครงการชดเชยคาร์บอนที่แปลงธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้าคือรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมคาร์บอน(Carbon Colonialism) ซึ่งบรรษัทอุตสาหกรรมและกลุ่มชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศ เช่น เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย เป็นต้น ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) และความช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไขเพื่อกำหนดวิธีการรักษาที่ดินและป่าไม้ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่ไร้อำนาจต่อรอง รวมถึงกลุ่มคนชายขอบและเปราะบางโดยอ้างว่าเป็นทางออกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”</p>
<p>ตามแผน Net Zero ของประเทศไทย <span style="color:#3498db;">[3]</span> คาดว่าภายในปี 2608 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน(การผลิตไฟฟ้าและการคมนาคมขนส่ง) ภาคเกษตรกรรม กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคของเสีย รวมกันเป็น 120 ล้านตัน ภาคที่ดินและป่าไม้ (landuse, landuse change, and forestry) จะต้องมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก 120 ล้านตัน จึงจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ พื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าเศรษฐกิจในประเทศไทยซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว 102.04 ล้านไร่ และ 32.65 ล้านไร่ตามลำดับ นั้นสามารถดูดกลับก๊าซเรือนกระจกรวมกัน 100 ล้านตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2564 ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย net zero ในปี 2608 ต้องใช้พื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าเศรษฐกิจเพิ่มราว 28 ล้านไร่ เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ อีก 20 ล้านตัน</p>
<p>ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า เราไม่สามารถทำการชดเชยคาร์บอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีสที่มุ่งจำกัดมิให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส <span style="color:#3498db;">[4]</span> คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้นสามารถคงอยู่ต่อไปได้อีกนับศตวรรษ หรือยาวนานกว่านั้น และต้นไม้ที่ปลูกใหม่นั้นกว่าจะมีศักยภาพเพียงพอในการดูดซับคาร์บอนอาจจะต้องใช้เวลาหลายทศวรรษ <span style="color:#3498db;">[5]</span> และยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกที่สามารถทำให้ป่าปลูกใหม่ตายไป เช่น ไม่ใช่พันธุ์ท้องถิ่น ภัยแล้ง ไฟป่า และการทำลายป่าด้วยปัจจัยต่างๆ</p>
<p>ธารา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การนำผืนป่ามาชดเชยคาร์บอนไม่ใช่ทางออกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่คือแนวทางที่เปิดโอกาสให้บรรษัทอุตสาหกรรมและกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยแสวงหาผลกำไรโดยการแย่งยึดที่ดินและทรัพยากรป่าไม้ที่ดูแลโดยชุมชนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน บรรษัทอุตสาหกรรมและกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยเหล่านั้นก็หลีกเลี่ยงภาระรับผิดต่อความสูญเสียและความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ตนก่อขึ้น”</p>
<p>กรีนพีซ ประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนกรอบท่าทีเจรจาที่ COP28 บนพื้นฐานดังต่อไปนี้
จัดตั้งคณะกรรมาธิการรัฐสภาว่าด้วย “ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ” โดยมีตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มแรงงาน และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และออกแถลงการณ์ “ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ (Climate Emergency Declaration)” ที่เปรียบดังสัญญาณชีพ (vital signs) ที่เอื้อให้ผู้กำหนดนโยบาย ภาคเอกชน และสาธารณะชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเข้าใจถึงขนาดของวิกฤต คณะกรรมาธิการรัฐสภาดังกล่าวนี้จะมีบทบาทในการติดตามตรวจสอบการดำเนินนโยบายสภาพภูมิอากาศของประเทศ และจัดทำข้อเสนอต่อกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละภาคส่วน การลดผลกระทบจากหายนะภัยทางธรรมชาติและการสร้างศักยภาพในการฟื้นคืนจากวิกฤต (Resilience) ของชุมชนและสังคมโดยรวม</p>
<p>ให้ความสำคัญและเปิดพื้นที่อย่างกว้างขวางต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นใน การต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรมและรับรองว่ามาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศนั้นมุ่งส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์</p>
<p>กำหนดจุดยืนในเวทีโลกที่ชัดเจนและหนักแน่นในการจัดตั้งและดำเนินการกองทุนว่าด้วยความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) เพื่อกลุ่มประเทศและชุมชนที่เสี่ยงและเปราะบางมากที่สุดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต</p>
<p>ตระหนักว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีสต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (systemic change) และกลยุทธ์ที่โปร่งใสเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์อย่างแท้จริง (real zero) เริ่มจากการปลดระวางถ่านหินและปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล การปฏิวัติระบบอาหาร และลดนโยบายสนับสนุนการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ตลอดจน ยุติโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ก่อมลพิษและเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของแหล่งสำรองเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่</p>
<p>ป้องกันการครอบงำของบรรษัทข้ามชาติเหนือสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และสิ่งมีชีวิตซึ่งบ่อนทำลายศักยภาพการปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรรายย่อย ชุมชนท้องถิ่น ชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์</p>
<p>คุ้มครองและสนับสนุนสิทธิชุมชนและประชาชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจแบบเกื้อกูล (supportive economy) และแหล่งความมั่นคงทางอาหารของชุมชนและประเทศ</p>
<p>สร้างความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศกับประชาคมโลกในด้านเงินทุน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การแบ่งปันองค์ความรู้ และการสร้างศักยภาพ โดยปฏิเสธแนวทางการชดเชยคาร์บอน (carbon offset) ที่เป็นเรื่องการฟอกเขียว (greenwash) และเปิดโอกาสให้ประเทศร่ำรวยและบรรษัท อุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากวัฏจักรคาร์บอนตามธรรมชาติ แย่งยึดที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เป็นสินค้าแสวงผลกำไร แต่กลับหลีกเลี่ยงภาระรับผิดชอบ (accountability) ต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ตนก่อขึ้น</p>
<p><strong>หมายเหตุ:</strong>
<span style="color:#3498db;">[1]</span> เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทยจัดตั้งโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) โดยหนึ่งในภารกิจคือสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรับรองและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายในประเทศ คณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Council Board)ประกอบด้วยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย  บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เป็นต้น
<span style="color:#3498db;">[2]</span> ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกที่จะได้รับผลกระทบระยะยาวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่นโยบายสภาพภูมิอากาศ(Climate Policy)ของไทยไม่ได้สัดส่วน โดยมุ่งให้ความสำคัญกับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) และเน้นการปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (adaptation) น้อยเกินไปโดยเปรียบเทียบ กรอบท่าทีเจรจาของไทยในเวทีเจรจาโลกไม่พูดถึงประเด็นความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ผลักดันโดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา https://www.greenpeace.org/thailand/press/25228/climate-emergency-cop27-thailand-opinion/
<span style="color:#3498db;">[3]</span> https://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/page/thailand-s-long-term-low-greenhouse-gas-emission-development-strategy-lt-leds-revised-version-867
<span style="color:#3498db;">[4]</span> Babiker, M., et al. 2022. Chapter 12: Cross-sectoral perspectives. In IPCC, 2022: Climate Change 2022: Mitigation of Climate Change. Contribution of Working Group III to the Sixth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [P.R. Shukla, et al. (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, UK and New York, NY, USA. doi: 10.1017/9781009157926.005. Page 1262.
<span style="color:#3498db;">[5]</span> https://www.greenpeace.org.uk/news/the-biggest-problem-with-carbon-offsetting-is-that-it-doesnt-really-work/</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106238
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 394 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 297 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 301 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'กรีนพีซ' จี้รัฐบาลทั่วโลกต้องตกลงยุติการใช้น้ำมัน ก๊าซฟอสซิลและถ่านหินอย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 48 กระทู้ล่าสุด 09 กันยายน 2566 21:23:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ Thai climate justice for all ถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม หลังจบการประชุม COP28
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 67 กระทู้ล่าสุด 15 มกราคม 2567 23:59:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.214 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 กุมภาพันธ์ 2567 07:00:48