[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 22 ธันวาคม 2558 15:27:14



หัวข้อ: วิหารวัดม่วง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี (ชมภาพจิตรกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 ธันวาคม 2558 15:27:14
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86521134980850_1.JPG)
พระวิหารวัดม่วง ซึ่งปรับปรุงภายนอกเมื่อไม่นานมานี้
ส่วนภายในยังคงอนุรักษ์ไว้ตามสภาพเดิม

จิตรกรรมฝาผนังพระวิหาร
วัดม่วง ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี


วัดม่วงตั้งอยู่ที่บ้านบางกะปิ หมู่ที่ ๘ ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี  พื้นที่วัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีจำนวน ๘ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา  ทิศเหนือและทิศใต้ติดกับบ้านเรือนของราษฎร ทิศตะวันออกติดถนนสายอินทร์บุรี-บ้านไผ่ ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ โดยกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ มีความกล่าวไว้ว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๖๕ เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีต้นมะม่วงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียกชื่อว่าวัด “วัดม่วง”

อีกตำนานเล่ากันมาว่า ประมาณกว่า ๒๐๐ ปี  ปู่สุขและปู่มี  ชาวลาว ได้ถูกกวาดต้อนเดินทางมาจากนครเวียงจันทน์  ได้มาปลูกบ้านสร้างเรือนอยู่ที่บ้านนี้ เป็นผู้สร้างวัดม่วง และกล่าวว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดแห่งแรกในอำเภออินทร์บุรี หลักฐานที่บ่งชัดก็คือ วิหารเก่าแก่และเจดีย์  

ในสมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๙ คือหลวงพ่อพระครูอินทวุฒาจารย์ (เอาะ) มีสิ่งที่ประทับใจของชาวบ้านวัดม่วง คือ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ตรงกับแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จทางชลมารคมาจากทิศเหนือตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ทรงหยุดพักเสวยพระกระยาหารกลางวันที่บนศาลาวัดม่วงแห่งนี้ และได้เสด็จเยี่ยมประชาชนแล้วจึงเสด็จไปพักแรมที่จังหวัดสิงห์บุรี  ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเปิดพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก.” ที่ได้โปรดพระราชทานก่วัดให้นำไปประดิษฐานไว้บนหน้าบันของพระอุโบสถเมื่อ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๖



วิหาร
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ เป็นอาคารทรงโรง ก่ออิฐถือปูน ขนาดค่อนข้างเล็ก  ด้านหน้าก่อมุขยื่นออกมาต่อกับบันไดทางขึ้น ผนังด้านหน้าอาคารและผนังภายในวิหารทั้ง ๔ ด้าน มีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นมีรองพื้น ลักษณะที่ปรากฏแสดงว่ามีการเขียนทับซ้อนกันไม่น้อยกว่าสองครั้ง เป็นภาพฝีมือแบบพื้นฐานของชาวพื้นบ้าน เขียนเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ การปลงซากอสุภกรรมฐานของพระภิกษุ ภาพเล่าเรื่องพระมาลัยสูตร การได้รับทุกขเวทนาของสัตว์นรกในนรกภูมิ การเดินทางไปมนัสการรอยพระพุทธบาท  รูปเทวดา รูปดอกบัว ฯลฯ  

เรื่องราวในจิตรกรรมวิหารแห่งนี้ไม่ต่อเนื่องกัน และไม่มีหลักฐานระบุไว้ว่าเขียนเมื่อใด และโดยใคร จึงทำให้ยากที่จะกำหนดอายุการเขียนที่แน่นอนลงไปได้  แต่หากพิจารณาจากคตินิยมในการนำเรื่องราวพุทธประวัติเป็นโครงสำคัญของการเขียนแล้ว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า จิตรกรรมในวิหารวัดม่วงแห่งนี้คงจะเขียนขึ้นในราวช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น - รัชกาลที่ ๔



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40933248359295_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73468431126740_3.JPG)
พระพุทธรูปประธานภายในวิหาร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91866919563876_4.JPG)
ภาพเขียนหน้าบันหน้าพระวิหาร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75714565772149_5.JPG)
วิถีการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยโบราณที่มีวัฒนธรรมเรียบง่าย จิตใจผูกพันกับพระศาสนา
จะเห็นได้ว่าชายไทยตัดผมสั้น นุ่งโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ บางคนมีผ้าคล้องคอ  
ส่วนผู้หญิงไว้ผมมีจอน นุ่งซิ่น ห่มสไบ ซึ่งลักษณะการแต่งกายดังกล่าว
เป็นวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย สอดคล้องกับตำนานการสร้างวัด
ที่กล่าวว่าสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ไม่เกินรัชกาลที่ ๔)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58300173613760_6.JPG)
ภาพเล่าเรื่องพระมาลัยเสด็จไปโปรดสัตว์นรกในนรกภูมิ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52090058931046_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66398805876572_8.JPG)
ภาพนี้ จารึกข้อความกำกับภาพ ว่า "พระนอนองค์นี้ นายสวย สร้างไว้ในพระศาสนาฯ"

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68002114941676_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82552074475420_14.JPG)
พระพุทธองค์ประทับนั่งทับบนบัลลังก์นาคขนด ซึ่งแผ่พังพานปกป้องพระพุทธองค์
ในสระขนาดใหญ่แวดล้อมด้วยพญานาคและเหล่าฝูงปลา ทรงพิจารณาธรรม
เหล่าสัตว์ทั้งหลายในโลก อุปมาเปรียบกับดอกบัว ๓ เหล่า
(ต่อมาภายหลังมีผู้กำหนดเพิ่มอีก ๑ เหล่า รวมเป็น ๔ หล่า)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63746659085154_15.JPG)
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63221697633465_11.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90057599668701_10.JPG)
เจดีย์ มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่
ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เหนือขึ้นไปเป็นฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป
ส่วนเรือนธาตุก่อเป็นซุ้มโค้งแหลม มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มทั้งสี่ด้าน
องค์ระฆังมีขนาดเล็ก ตั้งแต่เหนือชั้นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรองรับองค์เจดีย์ขึ้นไป
จนถึงบัลลังก์ขององค์ระฆัง โดยย่อมุมด้านละ ๓ มุม ทั้งสี่ด้าน ส่วนเหนือบัลลังก์ขึ้นไป
เป็นบัวกลุ่ม และปลียอดตามลำดับ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65647304182251_13.JPG)
พระอุโบสถหลังปัจจุบันก่อสร้างเป็นครั้งที่สามในที่แห่งเดียวกัน เนื่องจากอุโบสถเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม  
หน้าบันด้านหน้าพระอุโบสถประดับพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก.”  ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้โปรดพระราชทานก่วัด เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39668830691112_12.JPG)