[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 18:23:34



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - SHRF ระบุชัดน้ำแม่สายขุ่นเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำในพม่า
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 มีนาคม 2567 18:23:34
SHRF ระบุชัดน้ำแม่สายขุ่นเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำในพม่า
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-10 17:09</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สำนักข่าวชายขอบเผย มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) ระบุชัดน้ำแม่สายขุ่นเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำในพม่า แฉกองทัพว้าอนุญาตให้จีนเข้าไปขุด-ชะล้างลงแม่น้ำ ท้องถิ่นโวยรัฐไม่จริงจังแก้ปัญหา-เผยมีการเปลี่ยนเส้นทางน้ำเอาไปใช้ในเหมืองจนน้ำสายแห้ง-แจ้ง TBC จี้ทั้ง 2 ฝั่งร่วมหาทางออก</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://transbordernews.in.th/home/wp-content/uploads/429881475_7681725591872344_8080519050888869003_n-1.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: สำนักข่าวชายขอบ</span></p>
<p>สำนักข่าวชายขอบ (https://transbordernews.in.th/home/?p=37458) รายงานว่าเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสาเหตุที่แม่น้ำสายซึ่งไหลผ่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ขุ่นเป็นสีขาวมาว่า มลพิษในแม่น้ำสายอาจเป็นผลมาจากการขยายเหมืองทองคำภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน</p>
<p>รายงานของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ระบุว่า นับแต่กลางเดือนมกราคม 2567 ชาวบ้านที่แม่สายทางพรมแดนด้านเหนือของไทยต้องประหลาดใจกับสภาพที่น้ำมีลักษณะขุ่นสีขาวในแม่น้ำสาย ซึ่งเป็นน้ำที่นำมาใช้ทำน้ำประปาของเทศบาล จากการสำรวจแผนที่ทำให้พบว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการขยายเหมืองทองคำเมื่อเร็ว ๆนี้ทางภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือน้ำของแม่สายห่างไป 30 กิโลเมตรและควรมีการสำรวจความเป็นพิษในแม่น้ำอย่างใกล้ชิด</p>
<p><img alt="" src="https://transbordernews.in.th/home/wp-content/uploads/431475474_421147790286462_1037917638267016852_n-1-1448x2048.jpg" /></p>
<p>รายงานของ SHRF ระบุว่า ระหว่างปี 2542-2544 กองทัพสหรัฐว้า (UWSA)ได้บังคับโยกย้ายชาวบ้านว้ากว่า 126,000คน จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉานให้ลงมาอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉานในเขตเมืองโต๋น เมืองสาด และท่าขี้เหล็ก ทั้งนี้ได้บังคับให้โยกย้ายชาวบ้านประมาณ 16,000 คน มาอยู่ที่เขตทลาง ในขณะที่ชาวไทใหญ่ที่เป็นเกษตรกรปลูกข้าวที่เคยอาศัยอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่นี้กว่า 1,200 คน ได้ถูกกองทัพสหรัฐว้าบังคับให้โยกย้ายออกจากพื้นที่ทำกินของตน หลายคนได้หลบหนีไปอยู่ที่ค่ายผู้อพยพดอยก่อวัน</p>
<p>“กลุ่มทหารบ้านที่สนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้คนงานเหมืองของจีนเริ่มทำเหมืองโดยใช้เครื่องจักรกลที่ด้านบนเขาทางตะวันออกของบ้านแม่โจ๊ก น้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากเหมืองทองคำและหนองน้ำที่ใช้สกัดแร่ ไม่ได้ผ่านการบำบัดและไหลไปรวมกันที่แม่น้ำสาย” กลุ่มสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ระบุ</p>
<p>ในรายงานระบุด้วยว่า ที่เมืองกาน และนายาว ช่วงปลายปี 2565 กองทัพสหรัฐว้า อนุญาตให้คนงานเหมืองของจีนหลายพันคนเริ่มทำเหมืองโดยใช้เครื่องจักรกลตามริมฝั่งแม่น้ำสายในเมืองกาน มีการสกัดภูเขาและมีการปรับสภาพดินผืนใหญ่ให้กลายเป็นหนองน้ำเพื่อสกัดแร่ทองคำ ปล่อยให้น้ำเสียไหลลงไปสู่แม่น้ำโดยตรง ช่วงปลายปี 2566 ได้มีการขยายการทำเหมืองทองไปยังต้นน้ำแม่สายใกล้เขตนายาวและช่วงเดือนธันวาคม 2566 มีผู้พบเห็นคาราวานรถบรรทุกหกล้อขนส่งคนงานจีนชุดใหม่กว่า 1,000 คนจากท่าขี้เหล็กไปยังพื้นที่เหมืองทองคำตอนกลางคืน โดยสารเคมีที่เป็นพิษรวมทั้งไซยาไนด์มักถูกใช้เพื่อการสกัดแร่ทองคำจากการทำเหมือง</p>
<p>นายจายหอแสง ผู้ประสานงานมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่เครือข่ายฯ ที่ทำงานด้วยกันได้ทำการสำรวจพื้นที่เหมืองทองและเห็นสภาพมีการขุดเหมืองทองเป็นวงกว้าง มีการชะล้างและสกัดแร่ลงแม่น้ำซึ่งทำให้แน่ใจว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำในแม่น้ำสายเป็นสีขุ่นขาวเกิดจากการล้างสกัดแร่ทองคำและปล่อยของเสียเสียไหลลงแม่น้ำ</p>
<p>“พื้นที่นี้ว้า UWSA ห้ามเข้า เพราะทหารว้าไม่อยากให้ใครเข้าไปยุ่ง เป็นเขตอิทธิพลของพวกเขา เราอยากให้ฝั่งไทยผลักดันให้ยุติการทำเหมืองทองบริเวณนี้เพราะสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชุมชน 2 ฝั่ง เพราะเหมืองอยู่ติดกับแม่น้ำสาย อยากขอให้การขุดหยุดได้แล้ว” นายจายหอแสง กล่าว</p>
<p>นายบัณฑิตย์ พันธ์พลากร สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) ตำบลเวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย กล่าวว่าประชาชนแม่สายค่อนข้างเป็นห่วงเพราะต้องใช้น้ำประปาที่นำน้ำดิบมาจากแม่น้ำสาย ดังนั้นเมื่อแม่น้ำสายขุ่นมาหลายเดือนและยังไม่มีการแก้ไขจนถึงทุกวันนี้ทำให้ต่างรู้สึกกังวลใจว่าเป็นเพราะฝั่งพม่าได้เปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำเพื่อใช้ล้างแร่หรือไม่ แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการได้ตรวจสอบแล้วซึ่งพบว่าปริมาณสารต่างๆไม่เกินมาตรฐาน แต่พวกตนและชาวบ้านก็ยังเป็นห่วงเพราะสีน้ำยังขุ่นมากซึ่งได้มีการแจ้งไปยังคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) เพื่อขอให้ช่วยประสานกับ TBC พม่าในการแก้ไขปัญหา</p>
<p>“ทางพม่าเขาไม่ยอมรับว่าน้ำในแม่น้ำสายขุ่นเกิดจากการทำเหมือง เขาบอกว่าเกิดจากน้ำตื้นเขิน เราเลยอยากให้จัดประชุม TBC บนฝั่งไทยบ้าง เราอยากให้เขามารับฟังปัญหาของเราพร้อมทั้งต้องการให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ปัญหา อยากให้ได้มาเห็นน้ำประปาของเราจริงๆ หรือไปเปิดวงเสวนากันที่หัวฝายก็ได้  วันนี้น้ำในแม่น้ำสายลดหายลงไปเยอะเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ที่สำคัญคือน้ำไม่เคยขุ่นยาวนานขนาดนี้ และสีที่ขุ่นก็ไม่เหมือนเดิม” นายบัณฑิตย์ กล่าว</p>
<p>ส.ท.ตำบลเวียงพางคำกล่าวว่า การที่หลายคนที่เกี่ยวข้องให้สัมภาษณ์ว่าน้ำในแม่น้ำสายมีค่าต่างๆ ไม่เกินมาตรฐานบ้าง น้ำในแม่น้ำสายใช้ทำน้ำประปาได้บ้าง เมื่อพูดเสร็จแล้วก็ปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไป แต่ปัญหาน้ำในแม่น้ำสายยังคงเหมือนเดิม เพราะไม่มีแนวทางแก้ปัญหา ทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่สบายใจเพราะไม่ควรแค่ให้สัมภาษณ์แล้วจบ แต่ควรแจ้งให้ชาวแม่สายทราบเป็นระยะๆ ว่าได้แก้ปัญหาคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว</p>
<p>“ชาวบ้านดูแล้วเหมือนไม่มีการแก้ปัญหาจริงๆจังๆ ฝั่งไทยก็ยังเกรงใจฝั่งพม่ามาก เราขอไปดูพื้นที่ที่ทำเหมือง เขาก็มักปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ของเอกชน แต่คนที่ได้รับผลกระทบคือพวกเรา ผมเคยดูภาพถ่ายดาวเทียมจากกูเกิลแมพ มันเหมือนมีการเปลี่ยนเส้นทางน้ำเพื่อให้วนเข้าไปในเหมืองแร่เพื่อใช้ในการล้างแร่ แม้แม่น้ำสายสายหลักจะยังอยู่ แต่ทำให้ปริมาณน้ำหายไปเยอะ” นายบัณฑิตย์ กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สำนักข่าวชายขอบ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/shrf" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">SHRF[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แม่น้ำสาย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แม่สาย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เชียงราย[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108383