[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 มีนาคม 2567 17:29:22



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'สสรท.-สรส.' โวยขึ้นค่าแรง 400 บาทรายตำบล-อำเภอ ร้อง รมว.แรงงาน ทบทวนด่วน ต้องเท่า
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 มีนาคม 2567 17:29:22
'สสรท.-สรส.' โวยขึ้นค่าแรง 400 บาทรายตำบล-อำเภอ ร้อง รมว.แรงงาน ทบทวนด่วน ต้องเท่ากันทั่วไทย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-03-27 17:01</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ที่มา: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) ยื่นหนังสือถึง รมว.แรงงาน โวย 'ไตรภาคี' ขึ้นค่าแรงสูงสุด 400 บาทไม่ทั่วไทย นำร่อง 'รายตำบล-อำเภอ' ชี้เป็นการปรับที่เลวร้ายที่สุดที่เท่าเคยเห็นมา สร้างความเหลื่อมล้ำ-แตกแยกในหมู่แรงงาน จี้ทบทวนด่วน ย้ำจุดยืนต้องขึ้นเท่ากันทั้งประเทศ ตัวแทนกระทรวงแรงงานรับส่งเรื่องถึง รมต.พิจารณา</p>
<p> </p>
<p>27 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้ง และเว็บไซต์ Voicelabour (https://voicelabour.org/%e0%b8%aa%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%97-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%aa-%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a7/?) รายงานวันนี้ (27 มี.ค.) เวลาประมาณ 13.00 น. ที่กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง จ.กรุงเทพฯ สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) เดินมายื่นหนังสือถึง พิพัฒน์ รัชกิจประการ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีการทบทวนมติคณะกรรมการไตรภาคี ปรับค่าจ้างขั้นต่ำรายตำบลและอำเภอ สูงสุด 400 บาทต่อวัน และเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อเดือนเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน เบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ส่งสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน มารับหนังสือจากตัวแทนแรงงาน</p>
<p>สาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน สสรท. ระบุว่า ข้อเสนอของ สสรท. คือ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 492 บาททั่วประเทศ แต่ถ้าไม่ได้ อย่างน้อยควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตัวเลข 400 บาทมันควรเท่ากันทั่วประเทศ เพราะว่าค่าครองชีพมันเพิ่มเกินค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไปเยอะแล้ว เช่น ค่าประปา ค่าไฟฟ้า </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53614504449_45df870100_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สาวิทย์ แก้วหวาน (ที่มา: สหภาพคนทำงาน)</span></p>
<p>ประธาน สสรท. ระบุว่า รัฐบาลพาดหัวดูสวยหรูว่า ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 10 จังหวัด แต่ดูรายละเอียดมันขึ้นรายตำบล อำเภอ หรือเขตเทศบาล ซึ่งเขามองว่าเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่เลวร้ายมาก เพราะมันสร้างความเหลื่อมล้ำ แตกแยกย่อยในแรงงาน ดังนั้น ที่มาวันนี้เพื่อให้มีการทบทวนในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ใช้แรงงาน</p>
<p>ปัจจุบัน มีงานวิจัยระบุว่า ประชากรไทยควรได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 21,000 บาทต่อเดือน เพื่อการดำรงชีวิต และค่าแรงควรอยู่ที่ 34,000 บาทต่อเดือน จึงจะสามารถดูแลตนเอง และสามารถเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวได้ </p>
<p>สำหรับคณะกรรมการไตรภาคี คือ เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง โดยมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ทำหน้าที่ดำเนินการดูแลปัญหาของประชาชน และแรงงาน รวมถึงกรณีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ </p>
<p>"รัฐบาลมีอำนาจในการไปหามาตรการวิธีการในการแก้ไขโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ผมไม่ได้มองว่าเป็นการแทรกแซงอะไร" สาวิทย์ กล่าว และระบุว่า ข้อดีของการขึ้นค่าแรงเท่ากันจะสร้างความมั่นคง และอาชีพให้ประชาชน และจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมด้วย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53614617485_b579c105b1_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ที่มา: สหภาพคนทำงาน</span></p>
<p>ด้าน มานพ เกื้อรัตน์ (https://voicelabour.org/%e0%b8%aa%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%97-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%aa-%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a7/?) เลขาธิการ สรส. กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ถือว่าเป็นการปรับที่ไม่ได้คำนึงถึงแรงงานส่วนใหญ่ที่อยู่อย่างยากลำบากท่ามกลางราคาสินค้าที่แพง ซึ่งในส่วนของรัฐวิสาหกิจมีการจ้างแรงงานเหมาช่วงเหมาค่าแรง พนักงานชั่วคราวจำนวนมากที่ต้องรับค่าจ้างขั้นต่ำ และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่ทั่วถึง แต่กระทบต่อชีวิตของแรงงานที่รับค่าจ้างขั้นต่ำด้านข้าวของที่ปรับขึ้น ทาง สรส.จึงเสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่เพียงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเท่านั้น</p>
<p>สิรภพ ดวงสอดศรี  (https://voicelabour.org/%e0%b8%aa%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%97-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%aa-%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a7/?)ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังรับหนังสือว่า ข้อเรียกร้องที่ทางองค์กรแรงงานเสนอมานั้นเรื่องปรับขึ้นค่าจ้าง 492 บาทนั้น จริงๆ เท่าที่คำนวนแบบเร็วๆ ก็ยังเห็นว่าเป็นการปรับไม่ได้มากอะไร และเห็นด้วยหากมองว่า การที่คนทำงานจะอยู่รอดได้ค่าจ้างควรอย่างต่ำ 2 หมื่นกว่าบาท และการที่คณะกรรมการค่าจ้างมีการเสนอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบไม่ทั่วถึงแต่กระทบทั่วหน้า ตอนที่มาบริหารกระทรวงฯ ก็คิดเหมือนกันถึงการปฏิรูประบบไตรภาคีที่มีอยู่ เข้าใจว่ายังไม่มีความเป็นตัวแทนของกลุ่มแรงงานได้จริง ซึ่งเรื่องนี้ต้องช่วยกันแกและเชิญชวนองค์กรแรงงานเข้ามาร่วมเป็นกรรมการไตรภาคีอย่าปล่อยให้แต่กลุ่มเดิมๆที่เป็นอยู่แบบนี้ตลอด ส่วนข้อเสนอที่ 2 องค์กรแรงงานเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53614394498_14e3a3a7a4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ที่มา: สหภาพคนทำงาน</span></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รายละเอียดแถลงการณ์ของ สสรท.</span></h2>
<p style="text-align: center;"><strong>แถลงการณ์</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong>สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)</strong></p>
<p style="text-align: center;"><strong>เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั้งประเทศ และคัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้างแบบเขตพื้นที่</strong></p>
<p>ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอ ซึ่งมีอัตราการปรับตั้งแต่ 2-16 บาท ต่ำสุดอยู่ที่วันละ 330 บาท สูงสุดอยู่ที่วันละ 370 บาท ซึ่งการปรับค่าต้างครั้งนี้ มีการขยายเขตพื้นที่ในการปรับจากเดิม 13 ราคา เมื่อปี 2565 เป็น 17 บาท ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานโดยเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 600 บาท ในปี 2570 แต่จะทยอยปรับในแต่ละปี โดยเริ่มที่วันละ 400 บาท ซึ่งต่อมา พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำกลับไม่ได้เป็นอย่างที่นายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย หาเสียงไว้ แม้นายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีไม่พอใจที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างไปถึงกับออกปากว่า “ปรับได้อย่างไร 2 บาท ซื้อไข่ 1 ฟองยังไม่ได้เลย” จึงไม่นำเข้าพิจารณาในการประชุม คณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2566 และสั่งกระทรวงแรงงานพิจารณาทบทวนแต่คณะกรรมการค่าจ้างที่มีโครงสร้างเป็นไตรภาคี คือ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง มีมติเอกฉันท์ก็ยืนยันตัวเลขเดิมรวมทั้งตัวแทนฝ่ายลูกจ้างเอง ในที่สุด คณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบตามนั้น ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และสั่งการให้กระทรวงแรงงานนัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้างใหม่ และจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งในเดือนเมษายน 2567 </p>
<p>ในท่ามกลางข้อถกเถียงที่ยาวนาน และสังคมก็เห็นพ้องต้องกันว่าค่าจ้างจำเป็นต้องปรับ เพราะราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีพและสินค้าทั่วไปทุกหมวด ทุกรายการปรับราคาแพงขึ้นอย่างมากและสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ก็ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยื่นข้อเสนอปรับค่าจ้าง พร้อมทั้งออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 492 บาท โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้วประเทศ เพราะราคาสินค้าราคาไม่ได้แตกต่างกัน ต่างจังหวัดยังราคาแพงกว่าด้วยซ้ำ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า และให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาครัฐ และเอกชน แรงงานภาคบริการ แต่เกิดความล่าช้าในการดำเนินการทบทวน สสรท.และ สรส. จึงนัดหมายเพื่อทวงถามเรื่องการปรับค่าจ้างในวันที่ 27 มีนาคม 2567 </p>
<p>26 มีนาคม 2567 มีการนัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้างก่อนวันที่ สสรท. และ สรส. จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จากการติดตามผลการประชุม ซึ่งออกมาในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามที่ สสรท. และ สรส. เรียกร้องโดยคณะกรรมการค่าจ้างมีมติให้ปรับค่าจ้างวันละ 400 บาทใน 10 จังหวัด แต่เป็นการปรับบางพื้นที่ คือ</p>
<ol>
<li>กรุงเทพมหานคร เฉพาะเขตปทุมวัน และเขตวัฒนา</li>
<li>จังหวัดกระบี่ เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง</li>
<li>จังหวัดชลบุรี เฉพาะเขตเมืองพัทยา</li>
<li>จังหวัดเชียงใหม่ เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่</li>
<li>จังหวัดประจวบขีรีขันธ์ เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน</li>
<li>จังหวัดพังงา เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก</li>
<li>จังหวัดภูเก็ต (ทั้งจังหวัด)</li>
<li>จังหวัดระยอง เฉพาะเขตตำบลบ้านเพ</li>
<li>จังหวัดสงขลา เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่</li>
<li>จังหวัดสุราษฎร์ธานี เฉพาะอำเภอเกาะสมุย</li>
</ol>
<p>การปรับค่าจ้างตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติ ถือว่าเป็นการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นแต่เป็นการปรับที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ เป็นการสร้างความแปลกแยก แตกต่าง เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำเรื่องค่าจ้างแม้ในจังหวัดเดียวกัน ทั้งๆ ที่ราคาสินค้าไม่ได้มีราคาแยกตามพื้นที่ โดยเฉพาะราคาสินค้าในร้านสะดวกซื้อที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปนั้นราคาเท่ากันทุกพื้นที่ทั้งประเทศ รวมทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ฯลฯ นั้น ราคาก็เท่ากันทั้งประเทศ มติที่ออกมาจึงสวนทางกับความเป็นจริง และสวนทางที่ สสรท. และ สรส. เสนอ คือค่าจ้างขั้นต่ำต้องเท่ากันทั้งประเทศ การปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระบบการปรับค่าจ้างที่เลวร้ายครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อนาคตการปรับค่าจ้างอาจไปถึงเฉพาะตำบล หรือหมู่บ้านก็อาจเป็นได้ หากจุดเริ่มต้นเป็นแบบนี้ แม้คณะกรรมการค่าจ้าง จะทบทวนการปรับราคาค่าจ้างโดยกำหนดสูตรปรับค่าจ้างใหม่ ราคาค่าจ้างเพิ่มขึ้นจริง คือจากวันละ 370 บาท เป็น 400 บาท แต่เป็นการปรับขึ้นที่เลวร้ายอย่างที่กล่าวมาและไม่อาจยอมรับได้</p>
<p>สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สนส.) ยืนหยัดในจุดยืนเดิมคือ “ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐบาลหยุดสร้างความเหลื่อมล้ำเรื่องค่าจ้าง ยกเลิกสูตรและแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติ โดยขอให้ตระหนักถึงความเดือดร้อนผู้ใช้แรงงานขอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 492 บาท หรือไม่ต่ำกว่า 400 บาท ตามที่รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแถลงก่อนหน้านี้ โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งคนทำงานภาคบริการเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมควบคู่กับการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างหลักประกันการทำงาน การจ้างงาน เพื่ออนาคต และสังคมที่ดี และการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้มีราคาแพงเกินเหตุผลความเป็นจริง” เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ก็จะเกิดการผลิตการจำหน่ายผู้ประกอบการขายสินค้าได้ รัฐก็สามารถเก็บภาษีได้ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคง ยั่งยืน การปรับขึ้นราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไป ป้องกันผูกขาด และปกป้องกิจการของรัฐคือรัฐวิสาหกิจไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มทุนที่จ้องเอาเปรียบประชาชน คนทำงาน สสรท. และ สรส. การสร้างความเป็นธรรมในสังคมจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ จึงขอให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานทั้งหลายติดตามอย่างจริงจังว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐบาลจะมีท่าทีอย่างไร หากไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะร่วมกันพิจารณามาตรการในการผลักดันต่อไป</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิแรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ค่าแรงขั้นต่ำ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไตรภคี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระทรวงแรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สาวิทย์ แก้วหวาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108592