[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 00:31:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทิมพู..ธนู..และผู้คนบนแผ่นดินแห่งศรัทธา  (อ่าน 1177 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 เมษายน 2554 09:36:57 »


ยิงธนูประลองฝีมือ
 

 
 

ถนนหนทางสายแคบๆ
 
 

ร้านริมทาง


 

เมืองพาโรในมุมสูง
 
 

เจีดย์สไลต์ภูฏานขนานแท้

คมชัดลึก :แม้จะเคยผ่านจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในช่วงเปิดประเทศ แต่ตอนนี้ภูฏานกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายสำคัญอีกครั้ง เมื่อถูกรุกรานด้วยความเจริญ ถูกการพัฒนาและเทคโนโลยีไล่ล่า แต่ไม่ว่าภูฏานจะเปลี่ยนไปอย่างไร ความสุขยังคงเป็นของหาง่ายบนแผ่นดินมังกรสายฟ้า


 3-4 วันในภูฏานฉันได้แต่นั่งรถวนเวียนไปบนทางคดเคี้ยวไปบนไหล่เขา แต่ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ได้บริโภควิวกันอย่างอิ่มหนำสำราญ ระหว่างทางเจออะไรน่าสนใจก็แวะไปเรื่อย พอเห็นคนจับกลุ่มกันริมทางเราก็ขอไกด์แวะตลอด เลยพบว่าคนที่นี่เขามีกีฬาในดวงใจอยู่ 2 อย่าง คือปาลูกดอกกับยิงธนู เรียกว่าถ้าเป็นวันหยุดหรือมีวันว่างก็จะรวมตัวกันมาแข่ง เล่นกันสนุกๆ บ้าง มีพนันขันต่อกันบ้าง

 จากสนามปาเป้า ระหว่างทาง เรายังเจอสนามยิงธนูอีกหลายแห่ง คนที่นี่เขาบอกอย่างน้อยหมู่บ้านหนึ่งต้องมีสนามยิงธนูถึงสองสนาม ทั่วทั้งภูฏานจึงมีสนามนับไม่ถ้วน

 ไกด์บอกว่าในโรงเรียนไม่มีหลักสูตรสอนยิงธนูบรรจุไว้ แต่เด็กที่นี่พอโตขึ้นมาก็จับคันธนูขึ้นมาง้างแล้ว ถึงแม้คนรุ่นใหม่จะไปนั่งเชียร์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกกันตามบาร์ในทิมพู และมีสนามฟุตบอลแทรกตัวขึ้นกลางเมือง แต่สำหรับคนภูฏานยิงธนูไม่ใช่แค่เป็นกีฬาประจำชาติ แต่เรียกว่าผูกพันกับชาวภูฏานมาแต่ไหนแต่ไร

 จากพาโร ฉันมาถึงเมืองหลวงอย่างทิมพูแบบไม่ได้เมาโค้งแบบที่เกิดขึ้นกับคนอื่น เลยรี่ไปหาทิมพู ซองชนิดไม่อนุญาตให้ปอดและหัวใจได้ปรับตัว

 ที่นี่คือหนึ่งในซองที่ใหญ่ที่สุดในภูฏาน ซึ่งก็เหมือนกับซองในทุกๆ เมือง คือในอดีตเป็นป้อมปราการที่มีไว้เป็นฐานที่มั่นคอยป้องกันศัตรูมารุกราน แต่ในปัจจุบันคือสถานที่บริหารราชการประจำเขต และส่วนหนึ่งของซองจะเป็นวัด
สมัยก่อนตอนที่ภูฏานเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวใหม่ๆ เขายังไม่มีนโยบายเปิดซองให้เข้าชม เพิ่งมาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเมื่อ 10 กว่าปีมานี่เอง

 ทิมพู ซองจัดว่าเป็นซองใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูฏาน ปกติจะมีพระอยู่ทิมพู ซองประมาณ 200 กว่ารูป แต่วันที่ไปถึงอาจจะดูเงียบเหงาไปหน่อย เพราะเมื่อไหร่ที่เป็นช่วงฤดูหนาวบรรดาพระและเณรก็จะอพยพหนีหนาวไปจำวัดอยู่ที่พูนาคา ซองแทน

 ไกด์เล่าว่า ซองเดิมของที่นี่สร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ไม่ได้ใหญ่โตอย่างที่เห็นตอนนี้ เป็นแค่ซองเล็กๆ แต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ซับดรุง งาวัง นัมกัล ได้รื้อถอนซองเดิมออก แล้วสร้างซองใหม่ขึ้นบนพื้นที่เดิม จากนั้นก็มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งกันมาเรื่อย จนที่นี่อาจจะพิเศษกว่าซองของเมืองอื่นตรงที่มีห้องทำงานของกษัตริย์ด้วย และยังเป็นศูนย์กลางสำคัญในเชิงศาสนาด้วย

 ก็เรียกว่าใหญ่โตขนาดมีห้องเกือบพัน แต่เขาไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเดินเพ่นพ่านได้ทุกห้อง แต่ก็ค่อนข้างแปลกที่ไม่ค่อยเห็นผู้คนมาเดินหมุนกงล้อภาวนาที่ซองนี้เท่าไหร่ ไกด์บอกอยากเห็นศรัทธาอันเข้มแข็งของผู้คนชาวทิมพู ต้องไปที่เมมโมเรียล ชอร์เตน  มีหรือเราจะพลาด รีบสะกิดไกด์ให้พาพุ่งไปที่นั่นอย่างเร็วพลัน

 สถูปสีขาวยอดสีทองความสูงราวๆ 200 เมตร ที่เห็นอยู่ สร้างตั้งแต่ปี 1974 เพื่อระลึกถึงกษัตริย์จิกมี ดอร์จี วังชุก ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ที่ชาวภูฏานยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งภูฏานยุคใหม่" ใครที่อยากเห็นเจดีย์สไตล์ภูฏานแบบขนานแท้ ต้องมาดูที่นี่แหละค่ะ ด้านในสถูปนอกจากจะมีรูปของกษัตริย์จิกมี ดอร์จี วังชุกแล้ว ยังมีรูปปั้นของบุคคลสำคัญของชาวภูฏานอย่าง กูรู รินโปเช และซับดรุง งาวัง นัมกัล แต่ก็เหมือนเคย ที่เขาไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปหรือบันทึกภาพใดๆ

 ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ที่นี่จะเป็นมุมที่ไม่เคยแห้งแล้งศรัทธา มีผู้คนแวะเวียนมาเดินวนขวารอบสถูปกันทั้งวัน ยิ่งถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่ก็จะหอบหิ้วเสบียงมานั่งปักหลักกันตั้งแต่เช้า ไกด์บอกว่านี่เป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ เขาไม่ค่อยชอบหมุนกงล้อภาวนาที่บ้านกันเท่าไหร่ ทั้งที่ก็นั่งหมุนกันที่บ้านได้ แต่พวกเขาเลือกที่ไปที่วัดหรือสถูปเพราะได้นั่งผึ่งแดด สนทนาพาทีกันเรื่องทั่วไป แต่มือก็หมุนกงล้อไปด้วย หรือบางคนมาเดินวนรอบสถูปแล้วค่อยไปทำงาน

 ที่นี่เราเห็นแต่พระ ไม่ยักเห็นชี เลยถามไกด์ เขาบอกที่จริงภูฏานก็มีชีแต่ไม่เยอะ ชีที่นี่เขาก็ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดไม่แพ้พระ สงสัยเห็นมีเวลาเหลือเฟือ ไกด์เลยพาไปสอดส่องแถวสำนักนางชีที่ใหญ่ในทิมพู แต่ไม่ว่าพระหรือชี ที่นี่เขาห้ามไม่ให้ออกไปบิณฑบาตเหมือนพระไทย แต่นั่งรอผู้บริจาคอยู่ที่วัด เพราะพระในนิกายดรุกปา คายุ ซึ่งเป็นนิกายประจำชาติ จะได้รับการเลี้ยงดูฟรีจากรัฐบาล

 พี่ต๋อย รสสุคนธ์แห่งบริษัทท่องโลกศิลปและวัฒธรรม (0-29539491-3) เล่าให้ฟังว่าคนที่นี่เขานิยมส่งลูกไปบวชตั้งแต่เด็ก เพราะจะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ได้เรียนฟรี แถมไม่ต้องทำงานหนัก มีข้าวกินทุกมื้อ แต่ก็ใช่ว่าเด็กอยากจะบวชเรียนนะ เพราะสำหรับชาวภูฏาน หากบวชแล้วคือบวชเลย  ทุกคนที่บวชเป็นพระต้องทำใจว่าจะเป็นพระไปจนตาย หากพระรูปไหนที่ตัดสินใจสึกออกมาเป็นฆราวาส จะไม่ค่อยรับได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ผู้คนค่อยๆ ทำใจยอมรับและเปิดกว้างมากขึ้น

 ภูฏานส่งฉันกลับภูมิลำเนาด้วยความสวยที่ติดตา ใครอยากได้กำไรแอบบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ขาไปจากกรุงเทพตอนเช็กอินสายการบินดรุกแอร์ (0-26312570) ให้เลือกนั่งเรือบินฝั่งซ้าย ขากลับให้นั่งฝั่งขวา เพราะจะเห็นเทือกเขาหิมาลัยอย่างเต็มตา ทั้งยอดเขาคันเช็งชุงก้าที่สูงอันดับ 3 ของโลก และยอดโจโมฮารีที่สูงกว่า 7 พันเมตร พากันเรียงหน้าออกมารับแขกเหรื่อกันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

"กาญจนา หงษ์ทอง"

http://www.komchadluek.net/detail/20110122/86475/ทิมพู..ธนู..และผู้คนบนแผ่นดินแห่งศรัทธา.html
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 เมษายน 2554 09:41:51 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.301 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 สิงหาคม 2566 11:12:23