[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤษภาคม 2567 04:54:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: cause is retribution  (อ่าน 13393 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:47:34 »


<a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma</a>

กรรมหมวดที่ 2 คือ ปากทานปริยายจตุกกะ การส่งผลของกรรมที่จะนาเกิดในภพต่อไป โดยจะส่งผลตามลาดับก่อนหลังของกรรม แบ่งออกเป็น 4 คือ.....................
1.ครุกกรรม คือ กรรมหนัก
2.อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทาในเวลาใกล้จะตาย
3.อาจิณณกรรม คือ กรรมที่กระทาอยู่เสมอๆ
4.กฏัตตากรรม คือ กรรมที่ทามาแล้วในภพนี้ ที่นอกจากกรรมทั้ง 3 อย่าง
ข้างต้น หรือกรรมที่ทามาแล้วในอดีตชาติ 1.ครุกกรรม ครุกกรรม หมายถึง กรรมที่หนักแน่นจนกรรมอื่น ๆ ไม่สามารถห้ามการให้ผลได้ องค์ธรรมได้แก่ มหัคคตกุศลกรรม 9 ทิฏฐิคตสัมปยุตจิต 4 (เฉพาะที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม 3) และโทสมูลจิต 2 (เฉพาะที่เกี่ยวกับปัญจานันตริยกรรม 5) รวมทั้งสิ้นเป็น 15 ครุกกรรมเป็นกรรมหนัก เมื่อจัดลาดับการส่งผลของกรรมแล้ว ครุกกรรมจึงเป็นกรรมลาดับแรกที่จะส่งผลนาไปเกิดในภพที่สองก่อนกรรมอื่นๆ คือ ส่งผลก่อนอาสันนกรรม อาจิณณกรรม และกฏัตตากรรม ครุกกรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ครุกกรรมฝ่ายบาป และครุกกรรมฝ่ายบุญ 1.ครุกกรรมฝ่ายบาป เป็นกรรมหนักฝ่ายบาป เมื่อตายลงผลของบาปจะส่งผลนาไปเกิดในอบายภูมิ 4 ในชาติต่อไปทันที ครุกกรรมฝ่ายบาป มี 2 อย่าง คือ 1.1 นิยตมิจฉาทิฏฐิ 1.2 อนันตริยกรรม 1.1 นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี 3 คือ
ก.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีผลแห่งกรรมที่ทาไว้ เป็นการปฏิเสธผล ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐิย่อมมีอุจเฉททิฏฐิด้วย
คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มี
การเกิดอีกมีความเห็นว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สมมติสัจจะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือคลองธรรมตามเหตุและผล ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสมมติสัจจะ เช่น
ไม่มีมารดาบิดา สัตว์บุคคลเกิดสืบเชื้อสายกันมาตามเรื่องตามราวเท่านั้น จึงไม่มีใครที่จะต้องนับถือว่าเป็นบิดามารดา แม้ที่นับถือว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ ภิกษุ สามเณร ก็ไม่มีเป็นต้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือที่เป็นไปตามคลองธรรม เช่น ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ก็ไม่มี ข. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีเหตุ เป็นการปฏิเสธเหตุ คือ เมื่อได้รับผลดีผลร้ายต่าง ๆ ก็เห็นว่าเป็นไปตามคราว คราวที่มีโชคดีก็ได้รับผลดี คราวที่มีโชคร้ายก็ได้รับผลไม่ดีไม่มีเหตุอะไรที่จะมาทำให้ได้ผลดีผลร้าย ปฏิเสธเหตุในการทาดี ทำชั่ว ของบุคคลทั้งหลายที่กระทากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดผลได้ฉะนั้น.........การปฏิเสธเหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย ค.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าการทาบุญทาบาปก็เท่ากับไม่ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 19:10:22 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:50:05 »



กราบ กราบ กราบ ด้วย กาย วาจา ใจ

สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ

http://img2.imageshack.us/img2/2305/7fa0e3b9879bccf807df542.gif
cause is retribution

อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะน้อง"บางครั้ง"
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:58:19 »



ทำเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลแห่งกรรม คือ มีความเห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่ทาดีก็ตามทาชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ แสดงโทษของมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อมีความยึดถือ อยู่ในมิจฉาทิฏฐินี้มากจนดิ่งลงไปแล้ว หรือแนบแน่นแล้ว เพราะมีอุปาทานความยึดถืออยู่อย่างแรงกล้า ผลก็จะส่งให้นาไปเกิดในนรก เมื่อพ้นจากนรกถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะเป็นผู้มีความเห็นผิดเช่นนั้น ๆ ต่อ ๆไปอีก นับภพชาติ
ไม่ถ้วนพระพุทธองค์ก็ไม่สามารถทรงโปรดให้บุคคลที่มีความเห็นผิดนั้นกลับมาเห็นถูกได้ 1.2 อนันตริยกรรม มี 5 คือ 1.ปิตุฆาต ฆ่าบิดา 2.มาตุฆาต ฆ่ามารดา 3.อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ 4.โลหิตุปบาท ทาให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต 5.สังฆเภท ทาให้สงฆ์เกิดความแตกแยกไม่ทาสังฆกรรมร่วมกัน ในบรรดาอนันตริยกรรม 5 นี้ เป็นอกุศลกรรมอย่างหนักทั้งสิ้น แต่สามารถจัดลาดับการส่งผลจากมากไปหาน้อย คือ สังฆเภทกกรรมหนักที่สุด รองลงมาคือ โลหิตุปบาท รองลงมาคือ อรหันตฆาต ส่วนมาตุฆาตและปิตุฆาตทั้งสองนี้ต้องแล้วแต่คุณสมบัติ ท่านใดมีศีลธรรมมากกว่า กรรมนั้นย่อมหนักกว่า ถ้ามารดามีศีลธรรม บิดาไม่มีศีลธรรม มาตุฆาตย่อมหนักกว่า ถ้าทั้งบิดามารดามีศีลธรรมด้วยกันหรือไม่มีศีลธรรมเหมือนกันแล้ว มาตุฆาตกรรมย่อมหนักกว่า ถ้าลูกที่มีพ่อแม่ป่วยไข้มีความทุกข์ทรมาน ก็อย่าไปสั่งหมอให้ฉีดยาให้ตายไปจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน หรือสั่งให้หมอเอาสายออกซิเจนออก เพราะการทาอย่างนี้เป็น อนันตริยกรรม บางครั้งลูกคิดไม่ถึง ไม่เข้าใจในเหตุและผลแห่งความทุกข์ของบิดามารดาว่าท่านต้องได้รับเช่นนั้น เป็นเพราะผลกรรมของท่านเอง เมื่อคิดไม่เป็นหรือเพราะมุ่งแต่สงสารจึงอาจพลาดพลั้งทาอนันตริยกรรมโดยไม่รู้ตัว
องกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องระมัดระวัง การทากรรมใด ๆ ก็ตาม จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “นิสมฺม กรณ เสยฺโยใคร่ครวญเสียก่อนจึงทำ อนันตริยกรรม 5 นี้ จัดเป็นกรรมหนัก แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเป็นกรรมที่ให้ผลไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนอนันตริยกรรมเมื่อส่งผลให้ไปเสวยกรรมครบตามกาหนดก็พ้นจากกรรมนั้น ๆ ได้แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะจมปลักอยู่ในกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา 2.ครุกกรรมฝ่ายบุญ กรรมหนักฝ่ายกุศล คือ มหัคคตกุศลกรรม 9 ได้แก่ รูปาวจรกุศล 5 อรูปาวจรกุศล 4 ผู้ที่บาเพ็ญฌานบรรลุถึงปฐมฌาน ถึงฌานที่ 3 ฌานที่ 3 ฌานที่ 4 และฌานที่ 5 การได้ฌานที่เป็นรูปฌาน ทั้ง 5 นี้จัดว่าเป็นครุกกรรมฝ่ายกุศล และเมื่อได้ถึงปัญจมฌานแล้วไปเจริญอรูปฌานต่ออีก 4 นั้นก็เป็น ครุกกรรมฝ่ายกุศล ครุกกรรมฝ่ายกุศลกรรมทั้ง 9 ประการนี้ เมื่อเจริญสาเร็จแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าตายจากโลกมนุษย์จะต้องได้รับผลกรรมนั้นในชาติที่สองทันที คือนาไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ ส่วนโลกุตตรกุศลกรรม คือ มรรคจิต 4 จัดว่าเป็นกรรมหนักคือครุกกรรมฝ่ายบุญเหมือนกัน แต่ไม่เป็นกรรมที่จะนาไปเกิดได้ มีแต่จะทาลายการเกิด จึงไม่ถือว่าเป็นกรรมที่จะส่งผลให้เกิดในชาติหน้า จึงไม่จัดเข้าเป็นกรรมในหมวดนี้ จบครุกกรรม 2.อาสันนกรรม อาสันนกรรม หมายถึง กรรมที่ทาไว้เมื่อใกล้จะตาย เป็นการระลึกถึงสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในเวลาใกล้ตาย หรือการกระทาที่ดีหรือไม่ดีในเวลาใกล้จะตาย องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 และมหากุศลกรรม 8 ในการให้วิบากปฏิสนธิ ถ้าหากว่าครุกกรรมไม่มี อาสันนกรรมนั้นแหละจะให้ผลก่อน เพราะอยู่ใกล้ปากทาง คือ ความตาย อุปมาดังนี้ ในตอนเย็นก็ต้องต้อนฝูงโคกลับเข้าคอก โคที่แข็งแรงทั้งหมดก็เดินเข้าคอกไปได้ก่อนโคแก่ที่อ่อนกาลัง โคแก่เดินเข้าคอกได้เป็นลาดับสุดท้าย ก็ปิดประตูคอกได้ เมื่อถึงเวลาเช้าเปิดประตูคอกแล้ว ถึงแม้โคที่มีกาลังมีอยู่มากหลายตัวแต่ทั้งหมดก็ออกจากคอกไม่ได้ มีแต่โคแก่เท่านั้นที่จะได้โอกาสออกจากคอกก่อน เพราะว่าอยู่ตรงใกล้ปากประตูคอก ฉันใด ก็ฉันนั้น กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมทั้งหลาย เมื่อครุกกรรมไม่มี อาสันนกรรมนั่นแหละย่อมให้ผลก่อน เพราะเหตุว่าอยู่ใกล้ปากทางแห่งความตายนั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:44:08 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:01:01 »



ตัวอย่างเช่น พระนางมัลลิกา ทำกุศลไว้มาก แต่ในเวลาใกล้ตายนางนึกถึงอกุศลที่เคยทาไว้แล้ว อกุศลที่นึกถึงในขณะใกล้ตายนั้นเอง เป็นอาสันนกรรมนาให้นางไปเกิดในนรก กุศลที่ทำไว้ไม่มีโอกาสส่งผลนาไปเกิดในกามสุคติภูมิ หรือบางคนกาลังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ ดูหนังดูละคร รับประทานอาหารอย่างเฮฮา กับเพื่อนฝูง หรือบางคนกาลังทามิจฉาอาชีพมีการลักทรัพย์ เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นอกุศลทั้งสิ้น ถ้าในขณะนั้นมีเหตุที่ต้องเสียชีวิตลงอกุศลเหล่านั้นก็เป็นอกุศลอาสันนกรรม สามารถนาไปเกิดในอบายภูมิ หรือ บุคคลเมื่อตอนใกล้ตายมีอดีตกรรมที่เคยทำไว้ มาเป็นเครื่องให้ระลึกถึงว่าเคยฆ่าสัตว์ ฯลฯ หรือบางบุคคลเมื่อตอนใกล้ตาย มีลูกหลานทะเลาะกันอาจจะแย่งสมบัติกัน หรือตัวเองห่วงทรัพย์สมบัติ อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตายนั้นคือกรรมที่เป็นอาสันนกรรม ย่อมนาไปสู่ทุคติได้ อาสันนกรรมจึงเป็นกรรมที่สาคัญ จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เว้นไว้แต่กรรมที่เป็นครุกกรรม จบ อาสันนกรรม 3. อาจิณณกรรม อาจิณณกรรม หมายถึง กรรมที่เคยทาไว้เสมอ ๆ เป็นกรรมที่บุคคลสั่งสมไว้บ่อยๆ ได้แก่ อกุศลกรรม 12 และมหากุศลกรรม 8
อาจิณณกรรม ในบางแห่งเรียกว่า พาหุลกรรม แปลว่า กรรมที่ทาไว้มาก กรรมที่เคยทาไว้เสมอ ๆ บ่อย ๆ คำว่าทำบ่อย ๆ ไม่ใช่หมายถึงเพียงจะต้องทาทางกายตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นกรรมที่ทำครั้งเดียว แต่นึกถึงบ่อยๆ ก็เป็นอาจิณณกรรมแล้ว เช่นเคยสร้างโบสถ์ ตลอดชีวิตอาจทาได้ครั้งเดียว แต่ว่านึกถึงบ่อย ๆ ก็จัดเป็นอาจิณณกรรมฝ่ายกุศล เพราะนึกถึงครั้งใดจิตใจก็เป็นบุญ ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นอกุศลถึงแม้ทาครั้งเดียวแต่ถ้ามีการนึกถึงบ่อยๆ ก็เป็นอาจิณณกรรมฝ่ายอกุศล ตัวอย่างเช่น ในสมัยพุทธกาลมีคนฆ่าหมูชื่อนายจุนทะ ฆ่าหมูทุกวัน เมื่อนายจุนทะใกล้ตาย เขาร้องเป็นเสียงหมูเมื่อตอนถูกเชือด กรรมที่เขาทาอยู่เสมอ ๆ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่กรรมนั้นไม่มีโอกาสส่งผล แต่เมื่อใกล้ตายก็มาส่งผล ฉะนั้น กรรมใดที่บุคคลได้ทาไว้บ่อย ๆ ตลอดช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นแหละเป็นอาจิณณกรรม ในขณะใกล้ตายถ้าไม่มีกรรมอื่น ๆ มาให้ผล กรรมที่เป็นอาจิณณกรรมก็จะให้ผลนาไปเกิด
จบ อาจิณณกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:44:39 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:04:21 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
cause is retribution


4.กฏัตตากรรม กฏัตตากรรม หมายถึง กรรมที่ทาไว้พอประมาณ พอประมาณในที่นี้หมายถึงไม่เท่าถึงกรรมทั้ง ๓ ข้อ ที่กล่าวแล้วข้างต้น หรือหมายถึงกรรมในอดีตภพ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ทากุศลหรืออกุศลโดยไม่มีความตั้งใจ คล้ายกับว่าไม่เต็มใจทา ทาบุญกฐินผ้าป่าก็ทาอย่างจาใจ บุญอย่างนี้เมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่เข้าข่ายครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม จึงกลายเป็นบุญชนิดกฏัตตากรรมไป สรุป กรรมทั้ง ๔ อย่าง คือ ครุกกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม และกฏัตตากรรม จะส่งผลเรียงไปตามลาดับ ดังนี้ ลาดับที่ ๑ คือ ครุกกรรมจะส่งผลนาไปเกิด ลาดับที่ ๒ คือ ถ้าไม่มีครุกกรรม อาสันนกรรมก็จะมีโอกาสส่งผลนาไปเกิดในชาติต่อไป ลาดับที่ ๓ คือ ถ้าไม่มีครุกกรรมและอาสันนกรรม อาจิณณกรรมก็จะมีโอกาสส่งผลนาไปเกิด ในชาติต่อไปได้ลำดับที่ 4 คือ ถ้าไม่มีกรรมทั้ง 3 อย่างข้างต้น กฏัตตากรรมก็จะมีโอกาสส่งผลนาไปเกิดในชาติต่อไปได้เป็นลาดับสุดท้าย
จบ กฏัตตากรรม
ปากกาลจตุกกะ คือลาดับกาลแห่งการให้ผลของกรรม หรือระยะเวลาของการให้ผลของกรรม จาแนกออกไว้เป็น ๔ คือ ๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในภพนี้ 2.อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ 2 (หมายถึง ชาติที่ต่อจากชาตินี้) 3.อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าถึง พระนิพพาน 4.อโหสิกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผล กรรมทั้ง 4 นี้ จะแสดงให้เห็นถึงผลของกรรมที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้กระทาตามระยะเวลา เพราะว่ากรรมที่ทากันอยู่ทุกวันนี้ กรรมบางอย่างให้ผลทันตาเห็นในภพปัจจุบัน กรรมบางอย่างจะให้ผลในชาติหน้า กรรมบางอย่างจะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมบางอย่างก็ไม่มีโอกาสให้ผลเลย 1.ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ได้นั้นต้องเป็นกรรมที่มีกาลังแรง ในการกระทากรรมครั้งหนึ่งๆ วิถีจิตคือลาดับจิตที่เกิดขึ้นดับไปสืบต่อกัน ย่อมเกิดขึ้นมากมายหลายวิถี และในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ก็มีชวนะจิต คือจิตที่เสพอารมณ์ แล่นไปในอารมณ์ที่ปรารภจะทากรรม ชวนะมี ๗ ขณะ เจตนาในชวนะทั้ง ๗ นั้นเองส่งผล กล่าวคือ ชวนะดวงที่ 1 ส่งผลในชาตินี้ ชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ชวนะดวงที่ 7 ส่งผลในชาติที่ 2 ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม ชวนะดวง ที่ 2 - 6 ส่งผลกรรมในชาติที่ 3 จนกว่าจะถึงพระนิพพาน ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ส่งผลในชาตินี้ แบ่งออกได้ 2 คือ 1.กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ ภายใน 7 วัน 2.กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ แต่หลังจาก 7 วันไปแล้ว 1.กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ ภายใน 7 วัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:47:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:08:34 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
cause is retribution


ตัวอย่างฝ่ายกุศล เช่น นายมหาทุคตะได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกุศลที่มีกาลังมากจึงส่งผลทาให้เป็นเศรษฐี ภายใน 7 วัน หรือ นายปุณณะกับภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจนได้ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตรที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ก็ทาให้เป็นเศรษฐีภายใน
7 วัน ตัวอย่างฝ่ายอกุศล เช่น พระเทวทัตกระทาโลหิตุปบาทและทาสังฆเภท และนายนันทมานพ ที่ทาลายพระอุบลวรรณาเถรีผู้เป็นพระอรหันต์อกุศลกรรมหนักเช่นนี้ก็ส่งผลทาให้ถูกธรณีสูบลงไปสู่อเวจีมหานรก 2.กรรมที่ให้ผลในชาตินี้แต่หลัง 7 วันไปแล้ว มี 3 ประการ คือ 2.1 กุศล อกุศล ที่ทาในวัยเด็ก ส่งผลใน วัยเด็ก วัยกลางคน หรือ วัยชรา 2.2 กุศล อกุศล ที่ทำในวัยกลางคน ส่งผลใน วัยกลางคน หรือ วัยชรา 2.3 กุศล อกุศล ที่ทาในวัยชรา ส่งผลใน วัยชรา เหตุที่จะทาให้ผลของทานกุศลปรากฏได้ในชาตินี้ มี ๔ คือ
1.วัตถุสัมปทา คือ ผู้รับต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์
2.ปัจจยสัมปทา คือ ปัจจัยที่ทากุศลได้มาด้วยความบริสุทธิ์
3.เจตนาสัมปทา คือ มีเจตนาตั้งใจในการทากุศลอย่างแรงกล้า
4.คุณาติเรกสัมปทา คือ พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้รับทานนั้น ได้พร้อมด้วยคุณ
พิเศษ กล่าวคือ พึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ เมื่อครบด้วยองค์ทั้ง 4 แล้ว ทานของผู้นั้นก็สาเร็จเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมและให้ได้รับผลในชาติปัจจุบัน ทันที ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมจะส่งผลในชาตินี้ จะต้องมีลักษณะ 4 อย่าง ๆ ใดอย่างหนึ่ง คือ 1.ไม่ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ
ถ้าเป็นกุศลก็ต้องไม่ถูกเบียดเบียนจากอกุศล 2.ได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ
3.มีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า การกระทากรรมใด ๆ ก่อนที่จะกระทาสาเร็จล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองก่อน ถ้ามีเจตนาที่มีกาลังแรงกล้าอย่างมาก กุศลหรืออกุศลที่สาเร็จด้วยเจตนาที่แรงกล้านี้ ก็จะส่งผลเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ ให้ผลในปัจจุบันได้ 4.กระทาต่อผู้มีคุณพิเศษ การกระทำกรรมใด ๆ เมื่อกระทาต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณพิเศษ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี เป็นต้น ฉะนั้น การบริจาคทานจึงต้องทาความเข้าใจว่าเราควรมีเจตนาตั้งใจในการทาทาน แต่ปฏิคาหก คือ ผู้รับทานนั้นอย่าได้ปรารภเลย ขอให้น้อมระลึกบูชาพระรัตนตรัย บูชาคุณพระพุทธเจ้า บูชาคุณพระธรรม บูชาคุณพระอริยสงฆ์ น้อมระลึกอย่างนี้แล้วจึงให้ทาน ผลแห่งทานนั้นย่อมมีผลอย่างมาก หรืออย่างสูงได้
จบทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:48:27 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:12:03 »



2.อุปปัชชเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึงกรรมที่ส่งผล คือ นำไปเกิดในภพที่ ๒ เป็นภพที่ต่อจากปัจจุบันที่สิ้นชีวิตลง
กรรมที่ทาให้สาเร็จประโยชน์ในภพที่ 2 มีทั้งฝ่ายอกุศลและกุศล ฝ่ายอกุศลนั้นก็คือผู้ประกอบอนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการ ซึ่งเป็นกรรมหนักย่อมจะส่งผลในภพที่ 2 คือเมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้ไปย่อมส่งผลนาเกิดในอบายภูมิทันที ฝ่ายกุศลก็ได้แก่มหากุศล 8 ที่จะทำหน้าที่ส่งผล
คือนาไปเกิดในมนุษย์และเทวดา รูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศล ที่จะทาหน้าที่ส่งผล คือนาไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ จบอุปปัชชเวทนียกรรม 3.อปราปริยเวทนียกรรม อปราปริยเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ส่งผลในภพอื่นๆ คาว่า ภพอื่นๆ คือภพที่นอกจากภพนี้ และภพหน้า ฉะนั้นภพอื่น ๆ จึงหมายถึงตั้งแต่ภพที่ 3 เป็นต้นไป การทากุศลหรืออกุศลเมื่อสาเร็จแล้ว ถ้าไม่ส่งผลในภพที่ 2 ที่เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ก็จะส่งผลเป็นอปราปริยเวทนียกรรม คือจะต้องได้รับผลในภพต่อ ๆ ไปอาจจะเป็นภพที่ 3 ที่ 4 ที่ 10 ถึงจะได้รับก็ได้ไม่จากัดจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน ในนิบาตชาดกได้แสดงไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ตายตัวหนึ่ง เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปเกิดในนรก และเมื่อพ้นกรรมจากนรกไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งแล้ว ก็ถูกฆ่าตายเรื่อย ๆ ไป ด้วยอานาจแห่งอปราปริยเวทนียกรรม คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม 1 ภาค 2 ตอน 3 มีเรื่องโดยสรุปดังนี้ เรื่องที่ 1 ภิกษุหลายรูปเดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เชตวัน เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านเลื่อมใสนิมนต์ให้ฉัน ก่อนฉันภิกษุผู้เป็นหัวหน้าได้แสดงธรรมให้ฟังก่อน เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาของทายกผู้ถวาย ขณะที่ชาวบ้านนั่งฟังธรรมอยู่นั่นเอง ไฟจากเตาไฟลุกขึ้นติดชายคา ทาให้เสวียนหญ้า(ขดหญ้าที่ทาไว้เพื่อรองหม้อที่เพิ่งยกขึ้นจากเตา) อันหนึ่งถูกไฟไหม้และลมพัดปลิวขึ้นจากชายคาลอยอยู่ในอากาศ ขณะนั้น กาตัวหนึ่งบินมาสอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้า เกลียวหญ้าพันคอไหม้ กาตกลงมาตายกลางบ้าน ภิกษุทั้งหลายเห็นเช่นนั้นแล้วคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ เว้นพระศาสดาเสียใครเล่าจักรู้กรรมที่กาได้กระทาแล้ว เราจักทูลถามพระศาสดา เมื่อลาชาวบ้านจึงมุ่งหน้าเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา เรื่องที่ 2 ภิกษุอีกพวกหนึ่งต้องการไปเฝ้าพระศาสดาที่เชตวันเหมือนกัน โดยสารเรือไป เรือหยุดนิ่งในมหาสมุทร คนในเรือปรึกษากันว่าคงจะมีคนกาลกิณี (คนชั่ว) อยู่ในเรือนี้ จึงจับสลากกัน สลากไปตกอยู่ที่ภรรยานายเรือซึ่งยังสาวสวยและอายุยังน้อย คนทั้งหลายต้องการเอาใจนายเรือจึงให้จับสลากใหม่ สลากไปตกแก่ภรรยาในเรือถึง 3 ครั้ง พวกลูกเรือและคนโดยสารมองหน้านายเรือเหมือนจะถามว่า จะทำอย่างไรกัน ?
นายเรือตรองแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจให้คนทั้งปวงพินาศลงเพราะคน ๆ เดียวข้าพเจ้าจะสละหญิงนี้ ขอท่านทั้งหลายจงทิ้งเธอลงในมหาสมุทรเสียเถิด คนทั้งหลายจับหญิงนั้นเพื่อโยนลงน้า หญิงนั้นก็ร้องขอความช่วยเหลือ นายเรือจึงสั่งลูกเรือว่า “จงเปลื้องอาภรณ์ของเธอออกเสียก่อน ใส่ไว้ก็ไม่มีประโยชน์ เอาผ้าเก่าๆ ให้เธอนุ่ง และที่สาคัญคือเราไม่อาจเห็นความทรมานของเธอบนผิวน้าได้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเอาหม้อบรรจุทรายผู้เชือกแล้วผูกติดกับคอของเธอ เพื่อให้จมลงไปเร็ว ๆ ลูกเรือก็จัดการตามนั้น นางนั้นได้กลายเป็นเหยื่อของปลา แล้วเรือก็แล่นไปได้อย่างปกติ ภิกษุทั้งหลายเห็นเรื่องนี้แล้ว คิดว่ายกเว้นพระศาสดาเสียใครเล่าจักรู้อดีตกรรมของหญิงนี้ เราจักทูลถามเรื่องนี้กับพระศาสดา เรื่องที่ 3 ภิกษุอีก 7 รูปเดินทางจากชนบทมุ่งหน้าไปเฝ้าพระศาสดาที่เชตวัน ระหว่างเดินทางมาค่าลง ณ. ที่แห่งหนึ่ง เข้าไปขออาศัยวัดแห่งหนึ่งพักนอน ใกล้วัดมีถ้า ในถ้ามีเตียง 7 เตียง ภิกษุเจ้าของถิ่นจึงจัดให้ภิกษุพักในถ้านั้น ตอนกลางคืนหินก้อนใหญ่กลิ้งลงมาปิดปากถ้า ภิกษุเหล่านั้นออกไม่ได้ พวกภิกษุเจ้าของถิ่นช่วยกันผลักก็ไม่ออก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:49:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #27 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:17:30 »



ประกาศให้ชาวบ้านถึง 7 ตาบลรอบ ๆ นั้นมาช่วยกันผลักก็ไม่ออก ภิกษุ 7 รูปนั้นติดอยู่ในถ้า 7 วัน อดข้าวอดน้าได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าเกือบจะสิ้นชีวิต พอถึงวันที่ 7 หินก้อนนั้นก็เคลื่อนออกไปพ้นจากปากถ้า พวกภิกษุออกจากถ้าได้ คิดว่า “บาปกรรมของพวกเรานี้ เว้นพระศาสดาเสียแล้ว ใครเล่าจักรู้ พวกเราจักทูลถามพระศาสดา แล้วมุ่งหน้าไปเมืองสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นทั้ง ๓ พวก มาพบกันในระหว่างทาง รู้ว่ามีความประสงค์เหมือนกัน จึงเข้าเฝ้าพระศาสดา ทูลถามถึงข้อข้องใจของตนตามลาดับดังต่อไปนี้ 1.กรรมเก่าของกา พระศาสดาตรัสอดีตกรรมของกา มีเรื่องโดยสรุปดังนี้.........ในอดีตกาล ชาวนาผู้หนึ่งฝึกโคของตนในเมืองพาราณสี แต่ไม่อาจฝึกได้ เพราะโคนั้นเดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็หยุด เมื่อเขาตีให้ลุกขึ้น มันเดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็หยุดอีก เป็นอย่างนี้อยู่ตลอด เขาโกรธมาก กล่าวว่าต่อไปนี้มึงจงนอนให้สบายเถอะ เขาได้เผาโคตัวนั้นทั้งเป็นโดยการนาหญ้ามาพันเป็นพวงมาลัยจุดไฟแล้วคล้องคอ โค เขาตายจากชาตินั้นไปเกิดในนรกนาน พ้นจากนรกมาเกิดเป็นกา ถูกไฟคลอกตายมา 7 ครั้งแล้ว ด้วยเศษกรรมที่เหลือ 2.กรรมเก่าของภรรยานายเรือ พระศาสดาตรัสอดีตกรรมของภรรยานายเรือ มีเรื่องโดยสรุปดังนี้
ในอดีตกาล ภรรยานายเรือเป็นบุตรีของคหบดีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี นางทางานทุกอย่างด้วยตนเอง เช่น ตักน้า ซ้อมข้าว ปรุงอาหาร เป็นต้น นางเลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่ง มันรักนางมาก นั่งดูนางทางานต่าง ๆ
อยู่ตลอด เวลาไม่เคยห่าง เมื่อนางนาอาหารไปให้สามีที่นา หรือไปเก็บผัก สุนัขนั้นจะตามไปด้วยทุกหนแห่ง จนพวกหนุ่มๆ ล้อกันว่า “แน่ะ พรานสุนัขออกแล้ว วันนี้พวกเราต้องได้กินข้าวกับเนื้อเป็นแน่” เป็นเช่นนี้หลายครั้งเข้า นางก็เกิดความอายเพราะคาพูดนั้น จึงเอาก้อนดินบ้าง ก้อนหินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ไล่ตี เพื่อต้องการให้สุนัขนั้นจากไปให้ได้ มันไปได้หน่อยหนึ่งก็หวนกลับมาหานางอีก นับถอยหลังจากชาติปัจจุบันไป 3 ชาติ สุนัขนั้นเคยเป็นสามีของนาง มันจึงมีความรักในตัวนางมาก วันหนึ่งนางเอาอาหารไปให้สามีแล้วก็เอาเชือกไปด้วย เมื่อให้อาหารแก่สามีแล้ว เอากระออมเปล่าไปยังท่าน้าแห่งหนึ่ง เอาทรายใส่จนเต็มแล้วเอาปลายเชือกผูกเข้ากับปากหม้อ แล้วเรียกสุนัขเข้ามาใกล้ มันดีใจว่า นานเหลือเกินแล้วที่ไม่เคยได้ยินเสียงอันแสดงความปรานีอย่างนี้จากนายของมันเลย จึงกระดิกหางเข้าไปหาอย่างดีใจล้นเหลือ นางเอาปลายเชือกข้างหนึ่งผูกคอสุนัขแล้วผลักกระออมลงน้า สุนัขนั้นตายเพราะถูกถ่วงจมลงน้า ด้วยกรรมนี้ นางตกนรกหมกไหม้ในนรกนาน ด้วยเศษกรรมที่เหลือจึงถูกถ่วงน้าด้วยหม้อทรายมาถึงร้อยชาติแล้ว 3.กรรมเก่าของภิกษุ 7 รูป ในอดีตกาลเด็กเลี้ยงโค 7 คนในเมืองพาราณสี จะต้อนฝูงโคไปเลี้ยงในที่ต่างๆ ที่ละ 7 วัน วันหนึ่งพวกเขาได้พบเหี้ยตัวหนึ่งจึงช่วยกันไล่ เหี้ยวิ่งหนีเข้ารูในจอมปลวก ตอนนั้นเย็นมากแล้วต้องนาโคกลับ จึงปรึกษากันว่าพรุ่งนี้ค่อยมาจับ แล้วช่วยกันเอาใบไม้อุดรูทั้ง 7 รู ของจอมปลวก วันรุ่งขึ้นเป็นวันครบกาหนดที่จะต้องย้ายโคไปเลี้ยงที่อื่น พวกเด็กๆ ลืมเสียสนิทว่าได้ขังเหี้ยไว้ ตลอดเจ็ดวันพวกเด็กๆ ก็เลี้ยงโคในที่ใหม่ เมื่อครบ 7 วันแล้ว จึงตอนฝูงโคย้อนไปที่เก่าอีก เพราะหญ้าที่เป็นอาหารโคในที่เก่านั้นก็งอกใหม่แล้ว เมื่อไปถึงจึงนึกได้ช่วยกันเอาใบไม้ออก เหี้ยอดอาหาร อดน้า เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกคลานออกมา เด็ก ๆ รู้สึกสงสาร จึงไม่ได้ทาร้ายมัน ปล่อยมันไป เด็กพวกนั้นไม่ได้ไปตกในนรก เพราะมิได้ฆ่าเหี้ย แต่ได้ถูกขังครั้งละ 7 วัน อดข้าวอดน้ามา 14 ชาติแล้ว เด็กเลี้ยงโค 7 คนนั้น คือภิกษุ 7 รูปที่มาติดอยู่ในถ้านั่นเอง ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระศาสดาว่า สถานที่ ๆ พ้นจากกรรมไม่มีหรือ พระศาสดาตรัสเป็นพุทธภาษิตมีคาแปลว่า ไม่ว่าในกลางหาว หรือท่ามกลางมหาสมุทร หรือระหว่างภูเขา แผ่นดินที่มัจจุราชเอื้อมมือไปไม่ถึงนั้นมิได้มี จบ อปราปริยเวทนียกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:50:03 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #28 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:20:29 »



4.อโหสิกรรม สาหรับอโหสิกรรมนี้ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ แต่จะหมายเอาเจตนาที่เกิดขึ้นกับจิตทุกดวงใน ชวนจิตทั้ง 7 ดวง เมื่อล่วงเลยเวลาที่จะส่งผลไปแล้วและยังไม่ได้ส่งผลเลย ก็แสดงว่ากรรมนั้นไม่มีโอกาสส่งผลอีกต่อไป จึงเรียกว่า อโหสิกรรม ตัวอย่างเช่น นายทองแก้วระหว่างที่มีชีวิตอยู่ได้สร้างกรรม 3 อย่าง คือ ให้ทานแก่ผู้มีศีล รักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ และในตอนเป็นเด็กเคยฆ่าปลา ในชาตินี้กรรมที่เคยรักษาอุโบสถศีลได้มีโอกาสส่งผลทาหน้าที่ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอีกสองอย่าง คือ การให้ทานและการฆ่าปลานั้นไม่มีโอกาสส่งผลในชาตินี้ กรรมทั้งสองอย่างนี้แหละที่ไม่มีโอกาสส่งผลเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในชาตินี้ และหมดโอกาสส่งผลแล้ว จัดเป็นอโหสิกรรม ชีวิตของบุคคลที่เกิดมา หนีกรรมไม่พ้น ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่ กรรมใหม่ก็ทาตลอดเวลาทั้งทางกาย วาจาและใจ โดยเฉพาะกรรมใหม่ที่ทานั้นถ้าเป็นอกุศลจะแก้ไขอย่างไรที่จะให้อกุศลกรรมนั้น เป็นอโหสิกรรม หรือทากุศลมากมายแต่กุศลนั้นไม่ให้ผล แล้วจะทาอย่างไรกุศลนั้นจึงจะส่งผลได้ เรื่องนี้ต้องพิจารณาว่ากรรมจะสาเร็จได้ด้วยเจตนาของผู้ทา บางครั้งทากุศลอย่างที่เห็นเขาทาก็ทาบ้าง ทาด้วยความ ไม่ตั้งใจ กุศลอย่างนี้ไม่มีกาลัง อินทรีย์ไม่เข้มแข็ง ถ้าจะให้กุศลที่ทามีกาลัง ผู้ทำจะต้องประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 ที่มีกาลัง อินทรีย์ 5 อย่าง คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อพิจารณาแล้วก็เหมือนไม่ยาก แต่ในทางปฏิบัติต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างจึงทาได้สาเร็จ อินทรีย์คือ กำลังการประกอบกรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ ถ้าจะให้สาเร็จได้โดยไม่ย่อท้อ ทาได้อย่างต่อเนื่อง ทาอย่างไม่ขาดสาย บุคคลผู้นั้นต้องอาศัยความ เด็ดเดี่ยว ความมีกาลังในการเพียรสร้างกุศลความดี เพราะว่าถ้าขาดกาลังในการกระทาแล้วกุศลนั้นๆ อาจอ่อนกาลังลง อาจสาเร็จไม่สมดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก หรือไม่สามารถจะกระทากุศลนั้นได้อีกต่อไป เพราะขาดกาลังคือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไปเสียแล้ว
เมื่ออินทรีย์ 5 คือ ความเป็นใหญ่ในแต่ละทางเกิดขึ้นได้ ก็จะเกิดเป็นกาลังในการขับเคลื่อนให้การทากุศลนั้นเป็นไปได้อย่างเต็มกาลัง กาลังหรือพลังนี้ก็คือ พละ โดยเฉพาะพลังใจต้องทาให้เกิดขึ้น และที่สาคัญคือจะต้องเพิ่มพูนอยู่เสมอ ในพละทั้ง 5 คือ 1.สัทธาพละ คือ ความเชื่อ บุคคลควรจะต้องปลูกความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคง ความมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญาความรู้ เช่น มีความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อกรรม เชื่อโลกนี้ โลกหน้า เชื่อการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อผลของกรรมดีกรรมชั่ว 2.วิริยพละ คือ ความเพียร ความบากบั่น เพราะว่าการทาความดีถ้าไม่มีความเพียรก็ทาไม่สาเร็จ และความเพียรที่ทาความดีให้สาเร็จนั้นต้องเป็นชนิด ทำความดีเพื่อความดีไม่ใช่ทำความดีเพื่อลาภสักการะ สรรเสริญ หรือความสุข ต้องมุ่งมั่นทาความดีเพื่อผลของความดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:51:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #29 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:23:21 »



3.สติพละ คือ ความระลึกได้อยู่เสมอ สติจะต้องระลึกในสติปัฏฐาน ถ้านอกจากสติปัฏฐานแล้ว ก็ควรระลึกคือพิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบคอบ อย่างคนมีสติ ไม่ใช่มองอย่างคนมีโมหะ สติจะสกัดกั้นความยินดีความยินร้ายไม่ให้เข้าครอบงาใจได้ เช่น โดยปกติของปุถุชนเมื่อพบหรือได้รับอารมณ์ที่ดี ก็จะเกิดความรู้สึกพอใจ มีความรักในสิ่งนั้น แต่ถ้ามีสติกากับอยู่ในขณะรับอารมณ์แล้ว ความชอบใจก็จะไม่มีในขณะนั้น ทาให้ลดละความเพลิดเพลินยินดีลงไปได้ ความเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ก็เป็นสาเหตุให้บุคคลหลงลืมสติ
4.สมาธิพละ คือ ความตั้งใจที่มั่นคง ความมั่นคงในการทากิจการทั้งปวง การทาความดีต้องมีสมาธิ คือมีความมั่นใจในตัวเองว่าจะทาความดีต่อไปโดยไม่หวั่นไหว
5.ปัญญาพละ คือ ความรอบรู้ ความรู้เท่าทัน ความเข้าใจในสิ่งที่กระทา ไม่ใช่ทาด้วยความไม่รู้ แต่ทาด้วยความรู้คือทาด้วยปัญญา
เมื่อผู้ใดทำให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ 5 อย่างดังที่กล่าวมานี้ ทาได้อย่างครบถ้วน อย่างแก่กล้าแล้ว ก็อาจทาให้ผู้นั้นได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ 5 อย่าง ในภพต่อ ๆ ไปได้ทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้อกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะส่งผลได้
กลายเป็นอโหสิกรรมไป ส่วนอกุศลกรรมนั้น บางคนทาอกุศลตาม ๆ แบบเขาชวนทาก็ทำ ชวนไปกินสุรายาเมา ชวนไปเที่ยวรื่นเริง ก็ทาตาม ๆ เขาไป เพราะมีโมหะไม่มีปัญญา มีแต่ความหลง ทาโดยไม่ได้ตั้งใจทา อกุศลกรรมเหล่านี้ก็มีกาลังอ่อน การจะแก้ไขเพื่อให้เป็นอโหสิกรรม
ก็ต้องแก้ไขด้วยการสร้างกุศล เช่น ศึกษาธรรมะ เรียนให้รู้เรื่องพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และไม่นึกถึงอกุศลกรรมเก่า ๆ นั้น เพียรสร้างความดีละความชั่วคือบาปอกุศลทั้งมวล อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม จะเป็นอโหสิกรรมได้นั้น เราต้องพร้อมด้วยคุณสมบัติ 5 อย่าง คือ 1.ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ที่ได้ทำบุญกุศลไว้ในกาลก่อน 2.ปฏิรูปเทสวาสะการอยู่ในถิ่นฐานหรือประเทศที่สมควร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:52:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:27:04 »



3.สัปปุริสูปัสสยะ ต้องสมาคมกับสัตบุรุษ คบคนดี 4.สัทธัมมัสสวนะ ต้องหมั่นฟังธรรม ศึกษาธรรมอยู่เสมอ 5.อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ 1.ปุพเพกตปุญญตา คือ เป็นผู้ได้กระทาบุญกุศลไว้แล้วในกาลก่อน จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ และจะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น ต่อไปอีกด้วย หมายความว่าชาตินี้ก็ต้องทาบุญ สั่งสมบุญ 2.ปฏิรูปเทสวาสะ คือ การอยู่ในถิ่นฐานหรือประเทศที่สมควร อยู่ในถิ่นฐานที่มีพุทธศาสนา มีคนเป็นนักปราชญ์ มีศีลธรรม 3.สัปปุริสูปัสสยะ คือ การสมาคมกับสัตบุรุษ สัตบุรุษคือคนดี คนดีคือคนที่มีศีลธรรม อย่าไปคบค้าสมาคมกับคนอันธพาล คนเลว 4. สัทธัมมัสสวนะ คือ หมั่นฟังธรรม ศึกษาธรรมะอยู่เสมอ เพื่อจะได้เข้าใจหลักธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็นาคาสอนนั้นมาใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต 5.อัตตสัมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนของเราไว้ในทางที่ชอบ ไม่ตั้งตนไว้ในทางที่ผิด คุณธรรมทั้ง 5 ประการนี้ ควรปลูกฝังไว้ในชาตินี้ อกุศลกรรมที่เคยทาไว้ก็อาจจะไม่มีโอกาสที่จะส่งผล และคุณธรรมทั้ง 5 นี้ ย่อมทาให้มีเสบียงบุญหนุนนาสัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ในอัตภาพ สมบูรณ์ในภพชาติ และเสบียงนี้จะเป็นประโยชน์นาส่งไปจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน
รรมหมวดที่ 4 ปากัฏฐานจตุกกะ คือฐานะแห่งการให้ผล มี 4 ประการ คือ..........................................
1.อกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต 12
2.กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่มหากุศลจิต 8
3.รูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในรูปาวจรกุศลจิต 5
4.อรูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาทิ่อยู่ในอรูปาวจรจิต 4
1.อกุศลกรรม อกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่อยู่ในอกุศลจิต 12 กรรมจะสาเร็จได้ 3 ทวาร คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร เจตนาเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิต 12 เป็นเจตนาตั้งใจในการทำความชั่ว หนทางแห่งความชั่ว ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:55:34 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:30:13 »



คำว่า อกุศลกรรมบถ หมายความว่า เป็นกรรมด้วย เป็นหนทางไปสู่อบายด้วย ฉะนั้น กรรมทั้งหลายมีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นหนทางไปสู่ทุคติ จึงเรียกว่าอกุศลกรรมบถ
ในกรรมบถ 2 ฝ่าย คือกุศลและอกุศล อกุศลเป็นของหยาบเห็นได้ง่าย และเมื่อเข้าใจฝ่ายอกุศลได้ดีแล้วก็จะเข้าใจฝ่ายกุศลได้ดีตามไปด้วย จึงแสดงฝ่ายอกุศลกรรมบถก่อนอกุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ ๑๐
1.ปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์
2.อทินนาทาน คือ การลักทรัพย์
3.กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม
4. มุสาวาท คือ การพูดเท็จ
5.ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียด
6.ผรุสวาจา คือ การพูดคาหยาบ
7.สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ
8.อภิชฌา คือ การเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น
9.พยาบาท คือ การปองร้าย
10.มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
1.กายทุจริต 3
1.ปาณาติบาต
ปาณาติบาต คือ เจตนาทาให้สิ่งมีชีวิตตกไปโดยเร็ว คือ ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ ซึ่งโดยปกติ
ธรรมดาแล้ว สัตว์มีลักษณะค่อย ๆ ตกไป คือ ตายไปเองตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ยอมให้เป็นไปตามปกติอย่างนั้น กลับทาให้ตกไปอย่างเร็ว ด้วยการฆ่า ฉะนั้น....................................กรรมที่ได้ชื่อว่าปาณาติบาตก็คือเจตนาฆ่า องค์ประกอบของปาณาติบาตมี 5 ประการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:56:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #32 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:34:46 »



1.สัตว์มีชีวิต
2.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3.มีจิตคิดจะฆ่า
4.เพียรพยายามเพื่อฆ่า
5.สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น
การฆ่าสัตว์ที่ครบ 5 ประการนี้ ชื่อว่าเป็นการทาบาปที่ครบองค์ปาณาติบาต การทาให้ชีวิตของบุคคลอื่นและสัตว์อื่นสูญสิ้นไป ถือเป็นบาปทั้งสิ้น ผู้ที่เคยฆ่าสัตว์ เมื่อใกล้จะตายถ้าคิด ถึงบาปนั้น ผลของบาปก็จะนาให้ไปเกิดในอบายภูมิ ถ้าบาปนี้ไม่มีกาลังส่งผลตอนนาไปเกิด ก็จะสามารถส่งผลได้ตอนหลังจากเกิดแล้วโดยส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี มีการเห็นไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี เป็นต้น อกุศลกรรมบถทั้ง 10 สำเร็จได้เพราะเจตนาที่ประกอบในอกุศลจิต 12 คือ โลภมูลจิต 8 โทสมูลจิต 2 โมหมูลจิต 2 อกุศลกรรมนี้เมื่อส่งผลจะสามารถส่งผลได้ 2 กาล คือ
1.ส่งผลนาไปเกิด (ปฏิสนธิกาล) จะนาไปเกิดในอบายภูมิ 4 คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
2.ส่งผลขณะดารงชีวิตหลังจากเกิดแล้ว (ปวัตติกาล) คือส่งผลให้ 1.ได้เห็น 2.ได้ยิน 3.ได้กลิ่น 4.ได้ลิ้มรส 5.ได้รับสัมผัส 6.ได้รับอารมณ์
7.พิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี กล่าวคือจะส่งผลให้ได้รับวิบากที่ไม่ดี 7 ประการนี้เป็นพื้นฐาน
และภายหลังจากไปรับทุกข์โทษในอบายภูมิมาแล้ว เศษกรรมที่เหลือจะตามส่งผลในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ถ้าฆ่าสัตว์ วิบากกรรมที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ ถูกฆ่า ถูกทำร้าย เป็นต้น
เกณฑ์ ตัดสินการฆ่าว่ามีบาปมากหรือน้อย
บาปมาก 1.ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น วัว ควาย 2.ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา 3.ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก
บาปน้อย
1.ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ริ้น ไร
2.ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย
3.ใช้ความพยายามในการฆ่าน้อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:56:52 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #33 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:39:55 »



ความพยายามในการฆ่า ทาได้ 6 ประการ คือ
1.ฆ่าด้วยตนเอง
2.ใช้อาวุธต่าง ๆ เช่น มีด ปืน ฯลฯ หรือขุดหลุมพราง
3.ใช้คนอื่นฆ่า
4.ใช้วิชาอาคม หรือไสยศาสตร์ต่าง ๆ
5.ปล่อยอาวุธ
6.ใช้ฤทธิ์
ผลของปาณาติบาต ส่งผลในปฏิสนธิกาล คือ ส่งผลนาไปเกิด การทาบาปที่ครบองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง 5 จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์
ถ้ากรรมคือการฆ่านี้ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะนาไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล
การส่งผลในปวัตติกาล คือ ส่งผลหลังจากเกิดแล้ว คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รับสัมผัส ได้รับอารมณ์
และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี และเศษกรรมยังส่งผลทาให้อายุสั้น ซึ่งอกุศลกรรมจะตามมาส่งผลได้ตั้งแต่เกิดอยู่ท้องมารดา
ทำให้ได้รับอันตราย ได้รับความวิบัติต่าง ๆ มารดาบิดาก็มักมีแต่โรคภัยไข้เจ็บก็ส่งผลให้บุตรที่อยู่ในครรภ์ไม่ได้รับ อาหารจากมารดาเท่าที่ควร ทำให้อ่อนแอมาตั้งแต่แรกเกิดก็ได้ หรือในเวลานั้นอาจส่งผลทาให้โภคทรัพย์ของบิดามารดาพินาศ ของกิน ของใช้ เครื่องนุ่งห่ม ขาดแคลน ทาให้การบริหารครรภ์ไม่ดี ทารกก็ขาดความสมบูรณ์ อาจจะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และหรือเมื่อคลอดแล้วอาหารการกินไม่สมบูรณ์ ทารกย่อมอ่อนแอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:57:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #34 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:41:27 »



และทำให้มีอายุสั้นได้ เพราะผลแห่งการฆ่าสัตว์นั้นติดตามมาส่งผลบีบคั้นให้ย่อยยับไปตามวาระ ตามโอกาส และหรือส่งผลทาให้ถูกฆ่า ถูกทาร้าย ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นคนมีอายุยืน คือ เจตนากรรมที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จะส่งผลนาไปเกิดในเทวโลกได้ แต่หากว่าพลาดโอกาสนี้ไป บุคคลนั้นไปเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลให้ในปวัตติกาล คือ หลังจากที่บุคคลนั้นปฏิสนธิแล้ว ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของมารดาก็ส่งผลนาความสุขมาให้ เช่น ตั้งแต่เกิดอยู่ในท้องมารดา ทั้งมารดาทั้งบิดาก็มีแต่ความสุขสาราญ อันตรายใด ๆ ที่ปกติมีอยู่ก็ไม่เกิดขึ้น ทรัพย์ทั้งหลายก็มั่งคั่ง ไม่มีความขัดสน คนแวดล้อมทั้งหลาย มีทาสกรรมกร เป็นต้น ก็เป็นคนว่าง่าย ไม่หลีกเลี่ยงการงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ได้รับการบริหารครรภ์ที่ดี ร่างกายมีกาลังแข็งแรงมาตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อคลอดก็ได้หมอดี คลอดแล้วก็ได้อาหารได้ยาที่ดี คลอดแล้วก็เป็นที่ชื่นชมยินดีแก่คนทั้งหลายในตระกูลเพราะได้เห็นเขาเป็นเด็ก แข็งแรงทรวดทรงงดงามไม่พิการ นี้คือผลของการมีเจตนางดเว้นจากการฆ่า
ถ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่เบียดเบียนสัตว์ด้วยอาวุธ ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยการกักขัง ทรมานต่างๆ เป็นต้น เช่นนี้ไม่เป็นปาณาติบาต แต่การกระทานี้เป็นบาปอกุศลกรรม ถ้าส่งผลในปฏิสนธิกาล ก็ส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ 4 เมื่อสิ้นกรรมจากอบาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นคนไม่แข็งแรงมีโรคภัยไข้เจ็บมาก มีอันตรายต่าง ๆ มีการทาให้ทรัพย์หมดไป เป็นต้น ฉะนั้นการที่จะไม่ต้องเป็นคนมีโรคภัยไข้เจ็บมากก็ต้องงดเว้นจากการเบียด เบียนสัตว์ทั้งหลาย 2.อทินนาทาน
อทินนาทาน คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ อทินนาทานจะสาเร็จลงได้ก็ด้วยมีเจตนาในการที่จะได้ครอบครองสิ่งของที่มีผู้ หวงแหนรักษา โดยการ ลักขโมย ฉ้อโกง ยักยอก เบียดบัง สับเปลี่ยน ปลอมแปลง โจรกรรม เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:57:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #35 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:46:31 »



อนึ่งการใช้อุบายหลอกลวงจนผู้อื่นรู้ไม่เท่าทัน จนต้องเสียผลประโยชน์ แม้ว่าผู้อื่นนั้นจะเห็นชอบยอมรับ แต่เมื่อเป็นไปด้วย
เจตนาที่หลอกลวง ก็เป็นอทินนาทานด้วย มีเรื่องเล่าว่า นายพรานคนหนึ่งจับแม่เนื้อและลูกเนื้อได้ มีนักเลงคนหนึ่งถามนายพรานว่า แม่เนื้อราคาเท่าไร
ลูกเนื้อราคาเท่าไรเขาตอบว่าแม่เนื้อราคา 2 เหรียญ ลูกเนื้อราคา 1 เหรียญ เขาก็ให้ไป 1 เหรียญ แล้วเอาลูกเนื้อมา เขาเดินไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับมาพูดว่า “นายเอ๋ยฉันไม่ต้องการลูกเนื้อแล้วละ จงให้แม่เนื้อแก่ฉันเถิดนายพรานจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นจงให้ 2 เหรียญซิ นักเลงจึงกล่าวว่าทีแรกฉันได้ให้ท่านไว้ 1 เหรียญแล้วมิใช่หรือ นายพรานก็ยอมรับว่า ใช่ให้ไว้ 1 เหรียญแล้ว นักเลงจึงบอกว่าจงรับลูกเนื้อคืนไป ลูกเนื้อตัวนี้ราคา 1 เหรียญและเคยให้ไว้แล้ว 1 เหรียญ รวมกันเข้าก็เป็น 2 เหรียญ นายพรานได้ยินก็เข้าใจว่าเขาพูดมีเหตุผล จึงยอมรับเอาลูกเนื้อนั้นมา แล้วให้แม่เนื้อไป เป็นอันว่านักเลงผู้นั้นได้แม่เนื้อไปโดยเสียเงินซื้อเพียง ๑ เหรียญ การยอมรับตกลงด้วยไม่ใช่เหตุของการป้องกันไม่ให้เป็นอทินนาทาน นายพรานยอมตกลงด้วยเพราะรู้ไม่เท่าทันเจตนาเล่ห์เหลี่ยมของนักเลง ส่วนการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหนโดยไม่มีเจตนาที่จะลักเอามา แต่ถือเอาด้วยวิสาสะ ความ คุ้นเคยสนิทสนม คือว่าหยิบฉวยเอาของผู้อื่นไปบริโภคใช้สอย เพราะเห็นว่าผู้นั้นเป็นคนคุ้นเคย เป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน อย่างนี้ไม่จัดเป็นอทินนาทาน วิสาสะ คือ ความคุ้นเคย มี 5 คือ
1.เคยเห็นกันมา
2.ผู้ที่ตนมีวิสาสะด้วยยังมีชีวิตอยู่
3.เคยคบหากันมา
4.ผู้ที่ตนจะมีวิสาสะด้วยยินดียอมรับ
5.เคยบอกอนุญาต
องค์ประกอบของ การลักทรัพย์มี 5 ประการ คือ 1.วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ 2.รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ 3.มีจิตคิดจะลักทรัพย์
4.เพียรพยายามเพื่อลักทรัพย์ 5.ได้สิ่งของที่พยายามลักนั้นมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:59:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:48:39 »



3.กาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม หมายถึงการประพฤติชั่ว ที่คนดีทั้งหลายรังเกียจและติเตียน
คาว่า กาม หมายถึง เมถุนธรรม เป็นการกระทาของคนคู่หญิงกับชายด้วยความกาหนัด คือการร่วมประเวณี
การประพฤติร่วมประเวณีที่ผิดศีลก็มีองค์ประกอบ 4
องค์ประกอบของการ ประพฤติผิดในกาม ๔ ประการ คือ
1.มีวัตถุที่ไม่ควรเสพ ได้แก่ หญิง ๒๐ จาพวก
2.มีจิตคิดจะส้องเสพในวัตถุอันไม่ควรนั้น
3.มีความพยายามในการส้องเสพ
4.มีการทามรรคให้จรดถึงกัน มรรคในที่นี้หมายถึงอวัยวะเพศ คือ ทาอวัยวะเพศให้จรดถึงกัน
เนื่องจาก เป็นการกระทาของคนคู่ จึงแสดงสิ่งที่เป็นวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องได้แก่หญิง 20 จาพวก ไว้เป็นลาดับแรก การร่วมประเวณีจะสาเร็จได้ก็เพราะฝ่ายชายไม่ใช่ฝ่ายหญิง เพราะเหตุนี้ฝ่ายชายจึงมีโอกาสทาผิดศีลข้อ 3 นี้ได้ง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงวางองค์แห่งการวินิจฉัยการกระทาของฝ่ายชายไว้ก่อนว่า วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องได้แก่หญิง 20 จาพวก หลังจากนั้นจึงจะวินิจฉัยการกระทาของฝ่ายหญิงต่อไปได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 19:00:11 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #37 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:51:50 »



หญิง 20 จาพวกที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้องมีดังนี้................................
หญิง ที่ยังไม่มีสามี มี 10 จาพวก คือ
หญิงที่มีสามีแล้ว มี 10 จาพวก คือ
หญิงที่มีมารดารักษา คือมีมารดาปกครองดูแล
หญิงที่เขาใช้ทรัพย์ซื้อมาเพื่อเป็นภรรยา
หญิงที่มีบิดารักษา คือมีบิดาปกครองดูแล
หญิงที่อยู่เป็นภรรยากับชายที่ตนมีความพอใจ
หญิงที่มีทั้งมารดาทั้งบิดารักษา
หญิงที่อยู่กับชายเพราะทรัพย์เป็นเหตุ (เช่น ยอมเป็นภรรยาเพื่อปลดหนี้ เป็นต้น)
หญิงที่พี่น้องชายรักษา
หญิงที่อยู่กับชายเพราะผ้าเป็นเหตุ (คือ ยอมเป็นภรรยาเพราะเห็นแก่ผ้า เครื่องประดับ ยานพาหนะ ที่พึงได้รับ เป็นต้น)
หญิงที่พี่น้องหญิงรักษา
หญิงที่ญาติทั้ง 2 ฝ่ายกาหนดให้จุ่มมือลงไปใน ภาชนะใส่น้า แล้วสัญญาว่าจะอยู่ด้วยกัน
หญิงที่ญาติรักษา
หญิงที่ชายปลดปล่อยจากความเป็นทาสแล้ว แต่งตั้งให้เป็นภรรยา
หญิงที่โคตรคือวงศ์สกุลรักษา
หญิงที่เป็นทั้งทาส ทั้งภรรยา
หญิงที่ธรรมรักษา (หญิงที่บวชประพฤติธรรม)
หญิงที่เป็นทั้งคนรับจ้างทางานอยู่ในเรือน เป็น ทั้งภรรยาด้วย
หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว
หญิงเชลย
หญิงที่มีกฎหมายรักษา
หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วคราว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 19:00:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #38 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 17:59:36 »



การที่ฝ่ายชายจะผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารพิจารณาดังนี้ คือ ชายไปเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กับหญิงทั้ง 20 จำพวกนี้ชายนั้น
ได้ชื่อว่า ประพฤติกาเมสุมิจฉาจารกล่าวคือ ในกลุ่มหญิงที่ยังไม่มีสามีลาดับที่ 1 - 8 ถ้าชายไปเกี่ยวข้องด้วยโดยที่ผู้ปกครองของหญิงไม่ยินยอมด้วย
กรณีนี้ฝ่ายชายเท่านั้นที่ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ฝ่ายหญิงไม่ผิด และสาหรับหญิงที่ยังไม่มีสามีในลาดับที่ 9 หญิงที่รับหมั้นชายแล้ว 10
หญิงที่มีกฎหมายรักษา ทั้ง 2 นี้ ถ้าชายอื่นที่ไม่ได้เป็นคู้หมั่น เป็นต้นล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่ ลำดับต่อมา คือ หญิงที่มีสามีแล้วได้แก่หญิง 10 จาพวกหลัง ถ้าชายอื่นที่ไม่ใช่สามีเกี่ยวข้องล่วงเกินเกี่ยวกับประเวณี กรณีนี้ฝ่ายหญิงพร้อมชายอื่นนั้นก็ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารด้วยกันทั้งคู่ ในป๎จจุบันนี้หญิงบางจาพวกไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว เช่น หญิงเชลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าหญิงที่เหลือจะมีกี่จาพวกก็ตาม ก็สามารถย่อเหลือ 2 จาพวก คือ..................................................
1.หญิงที่มีเจ้าของในฐานะผู้ปกครองดูแล
2.หญิงที่มีเจ้าของในฐานะเจ้าของสัมผัส



................................................THE END..............................................


...........................................cause is retribution............................................

http://drinkmecome.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 19:01:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.237 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กันยายน 2566 09:19:15