[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤษภาคม 2567 06:54:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: But the good days Chapter 1  (อ่าน 2834 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 19:47:11 »



<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae3"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva3"><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc3"></td></tr></table>


ถ่ายภาพโดย.........(บางครั้ง)เองแหละ ขอสงวนลิขสิทธิ์ภาพห้ามดัดแปลงแข้ไขทำซ้ำหรือนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต


หมายเหตุ......เรื่องการเผยแพร่ภาพที่ถ่ายมาได้ด้วยตนเองนั้น(ตามเว็บไซท์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ)มีบอกไว้ชัดเจนเพราะการที่จะได้ภาพแต่ละภาพมาต้องลงทุน - ลงแรงกว่าจะได้ภาพมาไม่ใช่ง่าย ๆ ถ้าไม่เชื่อลองไปเว็บเกี่ยวกับการถ่ายภาพดูตามลิงค์นี้..........................


http://www.photohobby.net





(:LOVE:)พวกเราเล่นเว็บของเราแบบนี้ไม่มีวันเข้าใจหัวอกของพวกเขา เพราะฉะนั้นเราควรเคารพในสิทธิของเขา เพระว่า(บางครั้ง)เองก็ชอบถ่ายภาพเลยเอามาโพสเองได้ (ไม่ว่ากันน่ะ)ลองเข้าไปที่........ห้องภาพ.......ของเขาดิแล้วจะรู้ว่าเขาถ่ายภาพกันยังงัย ส่วนตัว(บางครั้ง)เองปัจจุบันก็ยังถ่ายภาพอยู่ รัก อย่าโกรธ (บางครั้ง) เลยน่ะที่ (บางครั้ง) พูดแบบนี้ พูดในฐานะ กัลยาณมิตร..................คนหนึ่งจาก
ดวงใจจริง ๆ รัก





(:LOVE:)เราศึกษาธรรมมะต้องใจเย็น ๆ ๆ ๆ น่ะ รัก




ในการแสดงปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่ ธรรมใดที่เข้ากันได้ก็จัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งมีทั้งหมด ๗๒ประการ สภาวธรรม ๗๒ ประการ คือ จิต ๑ จิตทั้งหมดมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ แต่นับเป็นหนึ่ง โดยนับตามสภาวลักษณะ เพราะจิตทุกดวงมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะเหมือนกันหมด ฉะนั้นจึงนับเพียง ๑ เจตสิก ๕๒ เจตสิกมีสภาวลักษณะเฉพาะๆ ของตน เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ รูป ๑๘ นับตามสภาวลักษณะ ที่มีอยู่ในรูปธรรมโดยเฉพาะ ๆ ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ รูปทั้งหมดมี ๒๘ แบ่งเป็นนิปผันนรูป ๑๘ อนิปผันนรูป ๑๐ อนิปผันนรูป ไม่มีสภาวลักษณะของตนโดยเฉพาะ (เรื่องนี้ให้อ่านทบทวนในบทเรียนชุดที่ ๕) ฉะนั้น รูปที่มีสภาวลักษณะเฉพาะของตนจึงมีเพียงนิปผันนรูป ๑๘ เท่านั้น นิพพาน ๑ นับตามสภาวลักษณะ คือ สนฺติลกฺขณํ
ธรรมที่เป็นอกุศลนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นความเป็นไปของอกุศลเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ จึงจำแนกไว้เป็น ๙ กอง คือ
๑. อาสวะ ธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองสัตว์
๒. โอฆะ ธรรมที่เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
๓. โยคะ ธรรมที่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่น
๔. คันถะ ธรรมที่เป็นเครื่องคล้องสัตว์
๕. อุปาทาน ธรรมที่ทำให้ยึดมั่นในอารมณ์
๖. นีวรณะ ธรรมที่เป็นเครื่องขวางกั้นความดี
๗. อนุสัย ธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
๘. สังโยชน์ ธรรมที่เป็นเครื่องผูกสัตว์
๙. กิเลส ธรรมที่ทำให้เศร้าหมองและเร่าร้อน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 22:56:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 19:48:46 »



..............................................อกุศล กองที่ ๑...................................


อาสวะ แปลว่า เครื่องหมักดอง หมายความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลที่อยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย หรือ หมักดองสัตว์ทั้งหลายผู้ทำบาปอกุศล ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน ธรรมที่เป็นอาสวะมี ๔ คือ
๑. กามาสวะ ได้แก่ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ อยู่ในกามคุณอารมณ์ คือ ติดอยู่กับความสวยงามต่าง ๆ เพลิดเพลินอยู่ในเสียงเพราะ ๆ กลิ่นหอม ๆ รสอร่อย ๆ สัมผัสที่นิ่มนวลพึงพอใจ ทำให้จิตใจเคลิบเคลิ้มอยู่ในความสุขด้วยอำนาจของ โลภเจตสิก ซึ่งถูกหมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเวลาช้านานนับจำนวนภพ ชาติไม่ได้ เมื่อตายไปก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิเป็นเวลายาวนาน คือ ถูกหมักดองอยู่ในอบายสัตว์ และทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีกำหนดนั้นเจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด
๒. ภวาสวะ ได้แก่ ความยินดีติดใจในรูปฌาน อรูปฌาน รูปภูมิ อรูปภูมิ คือ ติดใจในความสุขสงบของฌานจิต และการได้เกิดเป็นพรหมบุคคล ด้วยอำนาจของโลภเจตสิก ที่หมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้มีการเวียนเกิดเวียนตายในภพภูมิเหล่านี้ ถือว่าเป็นการหมักดองอีกเช่นเดียวกัน ๓. ทิฎฐาสวะ ได้แก่ การหมักดองด้วยความเห็นผิดของตนเอง คือ มีความเห็นว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผล คุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ชาติก่อน ชาติหน้าไม่มี เมื่อมีความเห็นผิดเช่นนี้อยู่ในใจ ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตนทำลงไปนั้นเป็นบุญหรือบาป จึงทำอกุศลกรรมเพราะความเห็นผิดเช่นนี้ อกุศลกรรมนี้จึงทำให้สัตว์ทั้งหลายถูกหมักดองให้ได้รับความทุกข์ความเดือด ร้อนในอบายภูมิ เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้ว ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากที่จะได้พบแสงสว่างแห่งพระสัทธรรมได้เพราะความเห็น ผิดนั้นฝั่งลึกอยู่ในขันธสันดานเกิดมาครั้งใดความเห็นผิดก็ติดตัวมาอยู่เสมอ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ๔. อวิชชาสวะ คือ ความไม่เข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจ จิต เจตสิก และรูป ถ้าสรุปรวมก็เป็นเพียง รูป กับ นาม ว่าเป็นเพียงสภาวธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล เป็นเราเป็นเขา ดังที่เข้าใจกัน ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในความเป็นจริงเพราะมีอวิชชา ปกปิดไว้ อวิชชานั้นจะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 20:04:39 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 19:50:17 »



สิ่งที่อวิชชาไม่รู้ มี ๘ ประการ คือ ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย ๓. นิโรธ ๔. มรรค ๕. ขันธ์ ๖. อายตนะ ๗. ธาตุ ๘. ปฏิจจสมุปบาท ความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันหาที่สุดมิได้ การประหาณ อาสวะ อาสวะธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทำการประหาณกิเลสต่าง ๆ ได้ การประหาณกิเลสในหมวดของอาสวะนั้นมีดังนี้ กามาสวะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต ภวาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต ทิฏฐาสวะ ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต อวิชชาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต


..................................อกุศล กองที่ ๒................................


โอฆธรรม เป็นธรรมเปรียบเสมือนห้วงน้้า เมื่อใครตกลงไปในห้วงน้ำแห่งโอฆะแล้ว จะทำให้จมดิ่งลงไป ยากที่จะโผล่ขึ้นมาได้ โอฆะ ได้แก่ ความโลภ หรือโลภเจตสิก ความเห็นผิด หรือทิฏฐิเจตสิก ความโง่ หรือโมหเจตสิก เมื่อมีโลภะเป็นเหตุทำให้ทำทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นเหตุให้ต้องตกอยู่ในอบายภูมิ และวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์อย่างหาที่สุดได้ยากยิ่ง ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเกิดปัญญาในการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นไปด้วยอำนาจของทุจริตกรรมนั่นเอง
โอฆะ มี ๔ ประการ คือ
๑. กาโมฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง กามคุณอารมณ์
๒. ภโวฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง การเกิดใน รูปฌาน อรูปฌาน หรือ รูปภพ อรูปภพ
๓. ทิฏโฐฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง ความเห็นผิด ๔. อวิชโชฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง ความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง อาสวะ โอฆะ มีสภาวธรรมหรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก แต่ต่างกันที่ชื่อ เท่านั้น (การประหาณโอฆะเป็นไปในทานองเดียวกันกับการประหาณอาสวะ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 20:05:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 19:53:57 »



...........................................อกุศล กองที่ ๓.....................................................


โยคะ เป็นธรรมที่เปรียบเสมือนเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่น อยู่ในกามคุณอารมณ์ เป็นต้น ยากที่จะถอนให้หลุดออกมาได้ เหมือนกับตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้ โยคะ มี ๔ ประการ คือ ๑. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๒. ภวโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน ๓. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความเห็นผิด ๔. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิดความ โลภ ความโกรธ ความหลง อาสวะ โอฆะ โยคะ อกุศลทั้ง ๓ กองที่ศึกษามานี้มีสภาวธรรม หรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก ต่างกันที่ชื่อเท่านั้น(การประหาณโยคะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับการประหาณอา สวะ)

.................................................อกุศลกองที่ ๔....................................

คันถะ เป็นธรรมเปรียบเสมือนเครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ เพราะว่าธรรมเหล่านี้จะเป็นเครื่องเกี่ยวคล้องระหว่างรูปกายนามกายใน ปัจจุบันภพ กับรูปกายนามกายในอนาคตภพให้ติดต่อกันประดุจโซ่เหล็ก ถ้าจะกล่าวโดยนัยแห่งจิตแล้วก็เป็นเครื่องร้อยรัดระหว่างปฏิสนธิจิต - จุติจิต ให้เกิดต่อเนื่องกันไม่สามารถจะพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ คันถะ มี ๔ ประการ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้อยสัตว์ให้ติดอยู่กับความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ดี) อภิชฌากายคันถะ ต่างกับ อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต ตรงที่ อภิชฌากายคันถะ เป็นโลภะอย่างหยาบและอย่างละเอียดทั้งหมด เป็นความต้องการหรือความพอใจในทรัพย์สมบัติทั้งของตนเองและของผู้อื่น ไม่ว่าจะโดยชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมก็ตาม แต่อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต เป็นโลภะอย่างหยาบ คือความยินดีพอใจในเฉพาะของ ๆ บุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
๒. พยาปาทกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องให้สัตว์ติดอยู่ในความโกรธ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนที่มีโทสจริต ที่มีอัธยาศัยเป็นคนชอบโกรธอยู่เสมอ ๆ ส่วนพยาบาทที่เป็นมโนทุจริต จะเป็นโทสะอย่างหยาบ ที่คิดปองร้ายผู้อื่น ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดถือในการปฏิบัติผิด เช่น ปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข โดยเห็นว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นทางหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดมั่นในความเห็นผิดของตน ว่าถูกส่วนความเห็นของคนอื่นผิด เช่น สัญชัยปริพาชก กล่าวกับลูกศิษย์ของตนว่า “คนโง่อยู่กับเรา คนฉลาดให้ไปหาพระสมณโคด การประหาณ คันถะ คันถธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทำการประหาณกิเลสต่าง ๆ ได้ การประหาณกิเลสในหมวดของคันถะนั้นมีดังนี้ อภิชฌากายคันถะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต


(พยาปาทกายคันถะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต)



.............................................สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.................................


...............................THE END Chapter 1................................


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 20:26:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 20:58:42 »




 สบายใจ

http://img462.imageshack.us/img462/4412/sevilinlimaniayisigi1kn0fn.gif
But the good days Chapter 1

ฝันดีนะคะ คืนนี้

ภาพคมชัด สวยงามมากๆเลย ขอบคุณ น้อง"บางครั้ง"ค่ะ    ,ที่ไหนเอ่ย?
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 21:32:13 »




รัก(บางครั้ง)ใช้กล้อง แคนนอน ถ่ายที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มหานคร............จ้า................... รัก





รัก..................สวยมั๊ย ? จ๊ะ........................ รัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 22:11:39 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
But the good days chapter 2
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 9 4235 กระทู้ล่าสุด 20 มีนาคม 2553 11:46:10
โดย sometime
ข้อคิดดี ๆ.. For Good Love and Good Life
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 0 1964 กระทู้ล่าสุด 19 พฤษภาคม 2554 15:26:30
โดย เงาฝัน
ตัวอย่างแรก Ex Machina หนังไซไฟจากมือเขียนบท 28 Days Later
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 0 2428 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2557 20:42:48
โดย มดเอ๊ก
[ไทยรัฐ] - โออาร์ ชูความสำเร็จของการจัดงาน Inclusive Growth Days empowered by OR ย้ำพลังแห่งการส่งต่อโอกาส
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 216 กระทู้ล่าสุด 08 กันยายน 2565 22:20:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
ยุคสุดท้าย End of Days : 4 บุรุษอาชาไนยแห่งวันสิ้นโลก : คนเคาะข่าว
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 0 59 กระทู้ล่าสุด 03 กุมภาพันธ์ 2567 16:45:39
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.341 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 ธันวาคม 2566 04:01:02