[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสตร์และศิลป์บนซองแผ่นเสียง  (อ่าน 413 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มีนาคม 2566 12:39:04 »



ศาสตร์และศิลป์บนซองแผ่นเสียง

ซองแผ่นเสียง หรือ SLEEVE เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแผ่นเสียงเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนและฝุ่นทำจากกระดาษ มีลักษณะเป็นซองสี่เหลี่ยมรูปทรงใกล้เคียงกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดเล็กใหญ่ไปตามขนาดของแผ่นเสียง นิยมใช้สำหรับแผ่นเสียงครั่ง ซึ่งเป็นแผ่นเสียงในยุคแรก

นายพฤฒิพล ประชุมผล ได้กล่าวถึงรูปแบบและความเป็นมาของซองแผ่นเสียง รวมถึงความแตกต่างของซองแผ่นเสียงในแต่ละยุคไว้ในหนังสือเครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์ สรุปความได้ว่าซองแผ่นเสียงในยุคแรกเริ่มมีปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการกำเนิดแผ่นเสียงในสยามมักใช้กระดาษสีน้ำตาลแข็งหนา โดยปกติจะไม่มีการพิมพ์ภาพหรือข้อความ เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์ยังไม่ทันสมัย ส่วนมากใช้ด้ายเย็บตามขอบทำเป็นซองแทนการใช้กาว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ เริ่มมีการพิมพ์ลวดลายต่างๆ ลงบนซองแผ่นเสียงมากขึ้น ทั้งยังมีการโฆษณาสรรพคุณของแผ่นเสียงและหีบเสียงที่เหนือกว่าคู่แข่งลงบนซองแผ่นเสียง เช่น ซองแผ่นเสียงตราปาเต๊ะรุ่นแรกๆ มีการโฆษณาสรรพคุณของแผ่นเสียงปาเต๊ะ

เข็มเพ็ชร์ ดังความที่ปรากฏบนซองแผ่นเสียงว่า “แผ่นเสียงปาเต๊ะเข็มเพ็ชร์เปนแผ่นเสียงที่มีภาษีกว่าแผ่นเสียงชนิดอื่นๆ แผ่นเสียงปาเต๊ะเข็มเพ็ชร์นี้ ได้จัดทำขึ้นสำหรับเล่นด้วยเข็มเพ็ชร์ซึ่งไม่เสียง่าย ฉนั้นจึงเปนการตัดความรำคาญในการที่จะต้องเปลี่ยนเข็มทุกๆ น่าไปเหมือนเข็มเหล็ก” เป็นต้น

สมัยรัชกาลที่ ๗ เริ่มมีการพิมพ์ซองแผ่นเสียงในประเทศ เนื่องจากในยุคนี้มีบริษัทและห้างแผ่นเสียงของคนไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการผลิตแผ่นเสียงเองในประเทศอย่างแพร่หลาย ซองแผ่นเสียงมีการออกแบบที่สวยงามวิจิตบรรจงมากขึ้นเช่น ซองแผ่นเสียงของบริษัท The Siam Gramophone Record ซึ่งมีสัญลักษณ์รูปช้างสามเศียร ใช้ศิลปะลายไทยในการออกแบบ และใช้คำโฆษณาในรูปแบบโคลงสี่สุภาพซองแผ่นเสียงของร้านนาย ต. เง๊กชวน มีการโฆษณาถึงความหลากหลายของแผ่นเสียงที่จำหน่าย ซึ่งมีทั้งเพลงไทย เพลงฝรั่ง เพลงจีน ฯลฯ และยังเป็นศูนย์รวมในการจำหน่ายหีบเสียงประเภทต่างๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีซองแผ่นเสียงโคลัมเบีย ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทโรบินสัน ปิอาโน จำกัด โดยซองแผ่นเสียงพิมพ์ลายเทวดาสี่ตนลอยอยู่บนฟ้าเหนือก้อนเมฆ ขณะกำลังบรรเลงดนตรีไทย ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะบนซองแผ่นเสียงที่สวยงามมากชิ้นหนึ่งในยุคนั้น

สมัยรัชกาลที่ ๘ - ๙ นั้น คุณภาพของซองแผ่นเสียงดีขึ้นมาก ภาพพิมพ์ต่างๆ มีสีสันสวยงามและคมชัดมากขึ้น และมักมีโฆษณาอื่นๆ ลงบนซองแผ่นเสียงด้วย เช่น หีบเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เข็มแผ่นเสียง เครื่องอะหลั่ย และสินค้าอื่นๆ ที่มีจำหน่ายในห้างแผ่นเสียง รวมถึงการเป็นตัวแทนรับซ่อมหีบเสียงของห้างแผ่นเสียงนั้นๆ ด้วยซองแผ่นเสียงที่รู้จักกันแพร่หลายในยุคนี้ เช่น ซองแผ่นเสียงตราตึกซองแผ่นเสียงตราตึกช้างคู่ ซองแผ่นเสียงตราเสียงไทย และซองแผ่นเสียงตรากระต่าย เป็นต้น

เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าของซองแผ่นเสียง นอกจากจะเป็นวัสดุสำคัญที่ทำหน้าที่ป้องกันแผ่นเสียงจากรอยขีดข่วนและฝุ่นละออง ช่วยสงวนรักษาให้แผ่นเสียงมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวแล้ว ยังพบว่าสารสนเทศบนซองแผ่นเสียงนั้นสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายด้าน เช่น ศิลปะการออกแบบ เทคโนโลยีการพิมพ์ การโฆษณา ภาษา การออกแบบตัวอักษร ตราของแผ่นเสียง รวมถึงชนิดของกระดาษและรูปแบบการจัดทำซองแผ่นเสียง ตลอดจนประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงของไทย และความนิยมในบทเพลงของแต่ละยุคสมัยล้วนเป็นเกร็ดความรู้น่าสนใจที่ปรากฏเป็นหลักฐานบนซองแผ่นเสียงทั้งสิ้น



เอกสารอ้างอิง
พฤฒิพล ประชุมผล. เครื่องเสียงโบราณ ตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์. กรุงเทพฯ: สมาคมนักอนุรักษ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, ๒๕๔๓.
เรียบเรียงโดย: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร

สำนักหอสมุดแห่งชาติ (ที่มาเรื่อง/ภาพ)



































Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มีนาคม 2566 12:53:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 23 ตุลาคม 2567 01:45:22