[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 กันยายน 2565 16:08:39



หัวข้อ: ธรรมาสน์ - ที่นั่งแสดงธรรมอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กันยายน 2565 16:08:39
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73669231724407_306663295_1465788347270174_743.jpg)
ธรรมาสน์รูปทรงโบราณ วัดหนองหลวง ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ธรรมาสน์

ธรรมาสน์ หมายถึง ที่นั่งของพระสงฆ์ใช้ในการเทศนาพระธรรมคำสอนแก่พุทธศาสนิกชน

ในทางภาษาบาลีตีความหมายทางพระพุทธศาสนา ธรรมาสน์ มาจากคำว่า ธมฺม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า และคำว่า อาสนฺ หมายถึง ที่สำหรับนั่ง รวมกันเป็น ธมฺมาสนํ มีความหมายว่า ที่นั่งแสดงธรรมอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

เหตุที่ต้องมีที่นั่งสำหรับแสดงธรรมที่อยู่สูงกว่าพุทธศาสนิกชนนั้นมาจากพระวินัยปิฎกที่ว่า “...อันภิกษุผู้นั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง...”  

อีกทั้งหากผู้นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่ผู้ที่นั่งอาสนะสูงแสดงถึงการไม่เคารพพระธรรมของพระพุทธเจ้าอันเป็นของประเสริฐ

ที่มาข้อมูล : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73669231724407_306663295_1465788347270174_743.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84925612517529_306939854_1465788440603498_672.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47967024933960_306942552_1465788480603494_486.jpg)





หัวข้อ: Re: ธรรมาสน์ของล้านนา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 ตุลาคม 2565 21:05:12
.

ธรรมาสน์ของล้านนา

ธรรมาสน์ของล้านนานั้น มี ๓ แบบ ได้แก่
     ๑. ธรรมาสน์ฝาผาย
     ๒. ธรรมาสน์ทรงปราสาท  
     ๓. ธรรมาสน์ตั่ง

- ธรรมาสน์ฝาผาย ถือเป็นรูปแบบธรรมาสน์ที่เก่าที่สุด องค์ธรรมาสน์จะไม่สูงนัก ตั้งอยู่บนฐานที่มักเป็นฐานปูน ฝาธรรมาสน์เป็นไม้สอบที่ส่วนล่างและผายออกที่ส่วนบน ซึ่งลักษณะของฝาธรรมาสน์นี้ทำหน้าที่คล้ายลำโพง จะช่วยให้เสียงของพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เทศน์ก้องกังวาน

ธรรมาสน์ของทางล้านนาเราจะไม่สามารถมองเห็นพระสงฆ์ที่ขึ้นเทศน์ได้ เพราะแผ่นไม้ที่เป็นฝาธรรมาสน์นั้นจะบังท่านไว้ ได้ยินแต่เสียงเท่านั้น

- ธรรมาสน์ทรงปราสาท มีลักษณะเด่นคือมีส่วนยอดที่เป็นชั้นหลังคาซ้อนลดหลั่นขึ้นไป หรือเป็นทรงปากบาล  ตัวองค์ธรรมาสน์จะยึดสูง ดูโปร่ง อาจมีการกั้นแผ่นไม้บดบังพระสงฆ์ไว้เช่นเดียวกับธรรมาสน์ฝาผาย

- ธรรมาสน์ตั่ง เป็นธรรมาสน์แบบศิลปะพม่า ลักษณะเป็นตั่งราชบัลลังก์ มีความสวยงามที่ลายแกะสลัก ลายฉลุ และการประดับกระจก ธรรมาสน์รูปแบบนี้มักพบในวัดม่าน วัดไทใหญ่ หรือวัดของชาวปะโอ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11610797171791_189238843_3932267480154353_483.jpg)
ธรรมาสน์แบบฝาผาย ของวัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53123056267698_188741672_3932267810154320_419.jpg)
ธรรมาสน์แบบฝาผาย ของวัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51725842845108_188433495_3932268183487616_258.jpg)
ธรรมาสน์แบบฝาผาย ของวัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39140769383973_187163497_3932268163487618_396.jpg)
ธรรมาสน์แบบฝาผาย ของวัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69460690311259_190401818_3941090002605434_275.jpg)
ธรรมาสน์ทรงปราสาท ภายในพระวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96651980115307_189133528_3941090205938747_432.jpg)
ธรรมาสน์ทรงปราสาท ภายในพระวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92366887049542_190160744_3944152898965811_348.jpg)
ธรรมาสน์ตั่ง วัดจองกลาง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63730148971080_190166133_3944153035632464_191.jpg)
ธรรมาสน์ตั่ง วัดพระนอน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20078963248266_191977695_3944146012299833_886.jpg)
ธรรมาสน์ตั่งจากวัดนันตาราม อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ที่มา : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร