[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เรือใบ ที่ 27 กันยายน 2556 12:22:59



หัวข้อ: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 27 กันยายน 2556 12:22:59
การดำรงชีวิตตามแนวพุทธศาสนาที่ไม่ทำให้เกิดทุกข์เรียกว่าชีวิตที่อิสระ


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 27 กันยายน 2556 21:13:51
พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในธรรมบทว่า “บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญเล็กน้อยจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยน้ำที่ตกที่ละหยาดได้ฉันใด คนมีปัญญาสั่งสมบุญอยู่ แม้ทีละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น” ดังนั้น เราก็ควรจะสั่งสมความดีงามต่างๆ ไว้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กน้อยหรือยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม เมื่อโอกาสเข้ามาถึงแล้ว ก็ควรขวนขวายทำเสียโดยพลัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธองค์ทรงเตือนสอน
หากใช้ชีวิตอย่างมีสติ
เราก็จะรู้ได้เลยว่า ..ทุกสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่ในวันนี้ คือ ทุกสิ่งของวันพรุ่งนี้ทั้งนั้นเลย
ด้วยเหตุนี้ ในแต่ละวันจึงมีคุณค่าในตัวของมันเองและมีคุณค่าอย่างเท่าเทียม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเข้าใจและสัมผัสในมุมใดเท่านั้นเอง.. (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 กันยายน 2556 21:29:44
“…การที่ชีวิตอยู่กับสิ่งที่เป็นสาระนี้
ก็จะรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า
แล้วก็จะมีความอบอุ่นใจเหมือนกับมีเพื่อน
คนที่อยู่กับบุญ อยู่กับธรรมะ
จึงเหมือนอยู่กับเพื่อนแท้

ตรงข้ามกับการที่เราอยู่กับทรัพย์สมบัติ
อยู่กับบุคคลต่าง ๆ มากมาย
แต่บางทีเวลาที่เราทุกข์นี่
ก็เหมือนกับเราตัวคนเดียว
ร้องไห้เราก็ร้องคนเดียว
ไม่มีใครเขามาร้องกับเราด้วยหรอก

ยิ่งเวลาจะตายก็ตายคนเดียว
ไม่มีใครมาตายกับเราด้วยหรอก
แม้จะตายด้วยแต่ก็ไม่ได้ไปด้วยกัน
ต่างคนต่างไป กรรมใครกรรมมัน…”

เนื้อหาข้อความ ตัดทอนจากหนังสือ พระธรรมเทศนาเรื่อง
“ชีวิตนี้เพื่อสิ่งใด” โดยพระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)
 (:SY:) (:SY:) (:SY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 ตุลาคม 2556 13:59:31
ป่าไม้นานาพันธุ์ ยังสามารถอยู่ร่วมกันได้ ด้วยความสมดูล
คนเราถ้ารู้จัก มีเมตตาต่อกันบ้าง ให้อภัยซึ่งกันและกัน
ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่นป่าไม้นานาพันธุ์...
 ;D


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 ตุลาคม 2556 14:04:27
บ้านที่อยู่อาศัยจะมีความแข็งแรงได้นั้นก็ต้องมีโครงสร้างที่ดี
ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณภาพพอสมควร
มนุษย์ก็เช่นกัน การที่จะเป็นมนุษย์ที่ดีได้นั้น
ก็ต้องมีองประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เราได้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
นั้นก็คือ ศีล สมธิ ปัญญา หากขาดองค์ประกอบนี้แล้วก็จะไม่สามารถเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้เลย
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 ตุลาคม 2556 18:35:21
ความรู้สึก นึก คิด ที่ขาดการความคุม
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน
เมื่อระงับความฟุ้งซ่านเสียได้ใจเราก็สงบ
เมื่อใจเราสงบ ปัญญาย่อมเกิด ความสุขก็จะพึงมี
  (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 18:27:39
ถึงจะมีเรื่องราวและปัญหาต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวเราเกิดขึ้นมาตั้งมากมาย
หากเราทำใจให้รู้เท่าทันกับสภาวะที่เกิดขึ้น
ไม่เอาใจไปผูกพันหรือเกี่ยวข้องมากจนเกินไป
ความมีสีสรรค์ อันเกิดจากความสุขใจก็จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเรา
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 พฤศจิกายน 2556 21:30:10
......เรื่องการค้ำต้นลำไย
......ธรรมชาติต้นลำใย ก็ต้องมีการค้ำเพราะเป็นพืชที่กิ่งก้านไม่แข็งแรง หลักการก็มีอยู่ว่า ต้องค้ำด้วยไม้ตอนที่มันยังยีนต้นดีอยู่ เผื่อว่า เมื่อมันออกลูก ก็ดี โดนพายุก็ดีจะได้ไม่ล้ม ไม่มีใครค้ำลำใยตอนทีมันล้มแล้วหรอก
......ฉันได การฝึกจิตเขาก็ฝึกตอน ใจมันสบาย เผื่อว่าสักวัน โดนพายุแห่งวิบากกรรมมากระทบจะได้พอต้านทานได้
......หรือ การหาเพื่อนร่วมชีวิตสักคน ใครจะมาหาตอนมันลำบาก ก็ต้องหาตอนอยู่ดีสบาย เผื่อว่าสักวันหนึ่งจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 ธันวาคม 2556 17:45:21
ศีลปะของโลกใบนี้มีอะไรให้เราได้เรียนรู้ตั้งมากมาย
มุมหนึ่งของชีวิตอาจจะมีสีสันที่สวยงาม
แต่อีกมุมหนึ่งของชีวิตกลับเป็นบทเรียนให้เราได้เข้าใจ
ศีลปะของชีวิตจะสวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะตั้งใจสร้างสรรค์
ได้มากน้อยแค่ใหนเท่านั้นเอง
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 มกราคม 2557 19:22:00
คนเรามักจะเป็นทุกข์เพราะคิดว่าคนอื่นไม่เข้าใจตนเอง จนลืมคิดไปว่าตัวเราเองตากหากที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมหากเราเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเราเมื่อไหร่ ความมหัศจรรย์ของชีวิตก็จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความสงบสุขของจิตใจเราเมื่อนั้น
(:6:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 มกราคม 2557 19:56:07
“วิถีชีวิตของคนเราจะผิดหวังสมหวัง มีสุข มีทุกข์ มั่งมี ยากดีมีจนอย่างไร มันขึ้นอยู่กับกฎของกรรม แต่ถ้าไปหาหมอโหรเขาว่าดวงชะตามันตก แต่แท้ที่จริงกฎของกรรมอันเป็นบาปซึ่งเราอาจจะทำแต่ชาติก่อนภพก่อนมันให้ผล แล้วทีนี้เราจะไปแก้กรรม แก้ผลของกรรมนี่มันแก้ไม่ได้ ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น จะดีก็ตามชั่วก็ตาม แต่พิธีกรรมที่เขาให้ทำนั้น บางอย่างถ้ามันถูกต้องเป็นแนวทางแห่งบุญกุศล พอเราทำแล้วมันได้บุญ บุญนี้ก็ต่อวิถีชีวิตของเราให้ยืนยาวไปอีกพักหนึ่ง เมื่อหมดบุญแล้วกรรมเก่าที่มันวิ่งตามอยู่เหมือนกับหมาไล่เนื้อ มันทันเมื่อไรมันก็กระโดดกัดเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น การสะเดาะเคราะห์ การแก้กรรมแก้เวร เราจะตัดกรรมตัดเวรก็รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ทีนี้กรรมที่เราทำนั้น ผลของมันไม่มีใครตัดได้ แต่เวรคือความผูกพยาบาทอาฆาต อันนี้ เราสามารถตัดได้ ถ้าหากว่าเราพูดจาตกลงกันได้ เช่นอย่างคนข้างบ้านเคยด่ากันอยู่ทุกวันๆ ต่างคนต่างก็อาฆาตพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกัน ถ้าหากว่าเราคุยกันรู้เรื่องแล้วเรายกโทษให้กัน อันนี้เรียกว่า ตัดเวร คือตัดความผูกพยาบาทอาฆาต แต่ว่าผลกรรมที่เราด่าเขา เขาด่าเรา นั่นมันตัดไม่ได้” หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (:SR:) (:SY:) (:SL:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 มกราคม 2557 20:40:45
ศีลบารมี "..ล่ะคนเราเพียงแต่รับศีล ไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระ ถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำ ศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิด ขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจ ให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีล อทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีล กาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษ มุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีล สุราเมรยมชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษ ถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีล ให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอ ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุ่ม ก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติ แม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ.." หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
 (:11:) (:5:) (:SR:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 มกราคม 2557 21:17:49
โดยสภาพจิตของเราเดิมเป็นธรรมชาติ แต่เมื่อมีสังขารคือการปรุงแต่งแล้วจะเป็นของร้อน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนด้วยมาจากไฟ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ดับไฟทั้งหมดลงได้เมื่อใด ชีวิตก็เป็นของเย็น ร้อนก็เป็นธรรมะ เย็นก็เป็นธรรมะ เพราะธรรมะคือธรรมชาติ.
 (:3:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มกราคม 2557 18:25:47
….ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอน คอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว
แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจ ยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย
จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริง ติดตัวบ้างเลย...”
 (:2:) (:3:) (:5:) (:10:) (:7:) (:6:) (:1:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มกราคม 2557 18:55:40
(http://firstyear.pregnancysquare.com/application/views/uploads/health/firstyear_health_20131002.jpg)
เป็นหวัดคัดจะมูกน้ำมูกใหล เนี๊ยะ ใจมันเริ่มเป็นทุกข์ เพราะกายมันไม่สบาย รูปสังขารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเมื่อร่างกายเกิดความไม่สมดูลก็มีผลกระทบต่อวิญญาณ จิตรับอารมณ์มา รับรู้แล้วไม่สามารถปล่อยวางได้ก็ต้องเกิดเวทนา นะทุกข์เกิดแล้ว สติสัมปะชัญญะเริ่มเสียความสมดูล นี้แหละท่านถึงกล่าวว่าอย่าหลงสติเวลาไกล้ตาย แค่เป็นหวัดนะเนี๊ยะ ถ้าเจ็บป่วยอย่างอื่นจะขนาดใหน


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 17:01:21
ทางออกจากกองทุกข์ทั้งหลาย
จะออกด้วยอำนาจแห่งบุญเท่านั้น.... นอกนั้นไม่มีทาง
(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t1/p526x296/1781883_395030703974588_1049796194_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 21:42:53
คนเราจะเป็นสุขเมื่อรู้จักพอดี ไม่มีใครได้อะไรตลอดไป หรือเสียอะไรตลอดไป ไม่มีใครหรือสิ่งไหนคงอยู่ตลอดไปโดยไม่มีสูญสิ้น ขอเพียงแค่รู้จักพอดี ทุกคนก็จะเป็นสุข
(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/t1/1009969_399551926855799_2075689761_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 21:55:27
(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1/1016330_399541120190213_1189487010_n.jpg)
__/|\__เย็นตลอดกาลนาน__/|\__
ธรรมะเท่านั้นจะช่วยเราให้ดีงาม ก้าวหน้า ได้โดยเรียบร้อย
ปราศจากธรรมแล้ว อะไรๆ ก็ไม่ดีไปหมด
เรามีความต้องการที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์
ความเดือดร้อนใจด้วยประการต่างๆ
การที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนใจได้นั้น
ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมะ ถ้าเราไม่ปฏิบัติธรรมะ
เราจะพ้นไปจากความทุกข์ความเดือดร้อนไม่ได้
ความเย็นจากธรรมชาติ ความเย็นจากดิน เย็นจากฟ้า
เย็นจากอากาศนั้น ยังไม่เท่ากับความเย็นใจที่เกิดขึ้นจากธรรมะ
ความเย็นที่เกิดขึ้นจากธรรมะ
เป็นความเย็นที่แท้จริง เป็นความเย็นที่ไม่ร้อนอีกต่อไป
...เย็นตลอดกาลนาน...
.................................
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 03 มีนาคม 2557 22:24:17
(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/t1/p480x480/1959266_404206093057049_578904037_n.jpg)
.กิเลสกองไหน ที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว
ให้รีบตัด รีบละออกไป เลิกไม่ได้ละไม่ได้ ก็ให้นึกถึงความตาย
ใครจะว่าร้ายป้ายสี ก็ให้นึกว่าเขาจะต้องตาย
เราคือกายกับจิตก็ต้องตายจากกันไป
จะมาโกรธ มาโลภ มาหลง มายึดหน้าถือตา
ยึดอะไรต่อมิอะไรไปทำไม จงปล่อยวางให้มันหมดสิ้นไป.."



หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2557 21:09:00
จิตใจดีเหมือนสวนที่สวยงาม ความคิดดีเป็นเหมือนรากต้นไม้ คำพูดดีเป็นเหมือนดอกไม้ที่บานสะพรั่ง การทำดีเหมือนผลไม้และใบไม้ ความสงบร่มเย็นเหมือนกิ่งไม้ ความ ความสุขเหมือนกระพี้ ความซื่อสัตย์เหมือนแก่นไม้ ความรักเหมือนร่มไม้ที่มีเงาเย็น น้ำเหมือนเพื่อนแท้ ความสุขเหมือนพื้นดิน ความหวังเหมือนดังคนดูแลสวน มีความเคารพตัวเอง
 (:SY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 26 มีนาคม 2557 23:54:53
ความหลง ... เกิด ขึ้นได้กับทุกคน
ต้องใช้สติพิจารณา ปัญญา ไตร่ตรอง ดูว่าสิ่งนี้จริงหรือไม่จริง
การที่ องค์คุลีมาล ได้หลงผิดเพราะคำของอาจารย์ ก็เพราะ องค์คุลีมาล ไม่ได้คิด เพราะคำของอาจารย์ นั้น หน้าเชื่อถือ
เลยทำเรื่องไม่ดีขึ้น เป็น บาป แต่บุญเก่าท่านทำมาดี ได้เจอกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ ด้วยคำอาจารย์เพื่อ สำเร็จวิชา จึงต้องการที่จะตัด นิ้วของพระพุทธเจ้า องค์คุลีมาลจึงวิ่งตาม แต่วิ่งเท่าใด ก็ไม่ถึง พระพุทธเจ้า สักที่ องค์คุลีมาล จึงถามว่า ทำไม ท่านถึงไม่หยุด ทำไม ท่านถึงเดินเร็วนัก เราวิ่งยังตามไม่ทัน พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด (เราหยุดการกระทำอันซึ่งทำให้ตัวเราเป็นบาปแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด) องค์คุลีมาลได้ยินเช่นนั้นด้วย ปัญญาที่ดีมากแล้ว จึงทำให้คิดได้ เลยขอ พระพุทธเจ้า บวช
สังคม สมัยนี้ ก็เหมือน กับองค์คุลีมาล หลงคำพูดของคนไม่กี่ คน ทำตามกันในความเชื่อ ที่ผิด เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง หน้าเสียดายที่ สมัยนี้ คนเราไม่ได้มีสติเหมือน องค์ลีมาล ไม่งั้นอาจจะหยุด การกระทำเหล่านี้ได้


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 เมษายน 2557 20:31:34
รูป นาม ไม่เที่ยงจริงอย่างนี้ รูปนามเป็นก้อนทุกข์
เป็นกองทุกข์อย่างนี้ รูป นาม ไม่ใช่ตัวตนของเราอย่างนี้
เมื่อไม่ใช่ตัวตนของเรา ทำไมจิตจึงมายึดหน้าถือตา มายึด
ตัวถือตน มายึดเรายึดของ ๆ เรา ยึดถึอแล้วได้อะไร ก้ไม่มี
อะไรได้ ได้แต่กิเลสราคะ ได้แต่กิเลสโทสะ ได้แต่กิเลส
โมหะ เต็มไปหมด เมื่อมีตัวกิเลสอันนี้เกิดขึ้นมายึดมาถือ
วุ่นวายอย่างที่โลกเขาวุ่นวายอยู่อย่างนี้แหละ
 (:1:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 เมษายน 2557 12:52:30
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1.0-9/10176006_615536205196632_3905437521697899888_n.jpg)
การปฏิบัติ ศีล - ธรรม ต้องมีเหตุมีผล เหตุดี ผลก็ดี ถ้าเหตุร้าย ผลก็ร้าย เปรียบเหมือนของภายนอก อย่างผลไม้ต่างๆ มันก็เกิดจากต้นของมัน ถ้าไม่มีต้น ก็ไม่มีผล จะเป็นข้าวกล้าผลไม้ในไร่ในสวนก็เช่นกัน ดอกหรือผล ของมัน พวกชาวสวนทั้งหลายเขาก็ปฏิบัติตกแต่งแต่ลำต้นของมันเท่านั้น คือเขาต้องใส่ปุ๋ยดายหญ้ารดน้ำ และรักษาสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ต้นไม้ของเขาทั้งนั้น เมื่อเขาปฏิบัติลำต้นของมันดังกล่าว เรื่องของดอกและผลมันก็เป็นเอง ดังนี้ ทีนี้การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเราอยากเป็นคนมีเงินทอง อยากร่ำรวยเหมือนเขา อยากมีร่างกายสวยเหมือนเขา อยากมีลาภ และมียศเหมือนเขา เราจะไปปฏิบัติตรงไหน พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ถ้ากายของเราดี วาจาของเราดี จิตใจของเราดี ได้ลาภมาก็มาก และใหญ่ได้ ยศก็ใหญ่ได้ อะไรมาก็มีแต่ของดีทั้งนั้น ถ้ากาย วาจา ใจดีแล้ว เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราเป็นบาปแล้ว ได้อะไรมาก็เป็นของไม่ดี ทั้งนั้น
...โอวาท หลวงปู่คำดี ปภาโส...


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 พฤษภาคม 2557 14:49:10
(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t1.0-9/10363337_279312428908054_8590604872279558572_n.jpg)
แผ่เมตตาจิต
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า
-- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) -


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มิถุนายน 2557 20:12:24
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/t1.0-9/10464139_470259656451692_5087605953813924653_n.jpg)
รู้ว่าจิตคือตัวเรานี้ มาเอาซากศพสวมใส่อยู่
ร่างกายมนุษย์ไม่ใช่ตัวเรา มันคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นซากศพ เป็นผลของอาหารที่รับประทานเข้าไป
เราคือจิต เอาซากศพมาสวมใส่อยู่ได้ เอาเกราะศพมาใส่
ในจิตเราอยู่ จิต - กายแยกได้
เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
ตัวเราแท้ ๆ คือจต หรืออทิสมานกายที่อาศัยซากศพนี้อยู่
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 กรกฎาคม 2557 20:39:32
(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpf1/v/t1.0-9/p526x296/10407595_488690097941981_5762461244827277618_n.jpg?oh=ec0bb881feb7dfe82caf9a8921ff5b60&oe=545615FA)
ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
(:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 สิงหาคม 2557 09:56:31
ทานที่มีผลมาก
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า...เสด็จไป ณ ดาวดึงสเทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตรได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนเทวดาองค์อื่นๆ เมื่อเทวดาอื่นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าบ้าง อังกุรเทพบุตรต้องถอยร่นไปอยู่ท้ายเทวดาองค์อื่น จนในที่สุดต้องไปอยู่ท้ายแถวเทวดาทั้งหมด แต่อินทกเทพบุตรยังคงอยู่หัวแถวไม่ถอยให้เทวดาอื่นเลย พระพุทธเจ้าเล็งเห็นกำลังบุญของอินทกเทพบุตรที่มีเหนือเทวดาอื่น พระองค์จึงตรัสถามบุญที่อินทกเทพบุตรและอังกุรเทพบุตรเคยกระทำเมื่อครั้งเป็นมนุษย์อังกุรเทพบุตรกล่าวว่าตนเคยเกิดในยามว่างพระศาสนา สร้างโรงทานตลอด 12 โยชน์สิ้นหมื่นปีได้บุญเพียงเล็กน้อยเพราะผู้รับทานมีศีลไม่บริสุทธิ์ ส่วนอินทกเทพบุตรเคยถวายข้าวเพียงทัพพีเดียวแก่พระอนุรุทธเถระผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ พระพุทธเจ้าจึงอุปมาผลแห่งกุศลและอกุศลด้วยผืนนาโดยตรัสภาษิตว่า

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
ราคะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
โทสะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
โมหะ ทำให้คนฉิบหาย
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมหาศาล

หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย
ความอยาก ทำให้คนฉิบหาย
ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมหาศาล
 (:SR:) (:Y:) (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 ตุลาคม 2557 20:47:28
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/v/t1.0-9/10370798_329009063938390_4193847494836427458_n.jpg?oh=56f4afd25d1460aa0634f72b55505fd2&oe=54C76DB5&__gda__=1421250108_6a881175376940f5a6c8ac347750918f)
"ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์"
โอวาทธรรม หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 ตุลาคม 2557 21:59:05
อรรถกถา มันธาตุราชชาดก
ว่าด้วย กามมีความสุขน้อยมีทุกข์มาก
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาวตา จนฺทิมสุริยา ดังนี้
               ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นสตรีผู้หนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม จึงเกิดความกระสันรัญจวนใจ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำภิกษุรูปนั้นมายังธรรมสภา แล้วแสดงแก่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กระสันอยากจะสึก พระเจ้าข้า.
               พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันอยากจะสึกจริงหรือภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า
               จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ครองเรือนจักอาจทำตัณหาให้เต็มได้ เมื่อไร เพราะขึ้นชื่อว่ากามตัณหานี้ เต็มได้ยาก ประดุจมหาสมุทร ด้วยว่าโปราณกบัณฑิตทั้งหลายครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้ครองราชย์ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีมนุษย์เป็นบริวารเท่านั้น ทั้งครองเทวราชสมบัติในสถานที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไม่สามารถเลยที่จะทำกามตัณหาของตนให้เต็ม ก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป
               ก็เธอเล่า เมื่อไร อาจทำกามตัณหานั้นให้เต็มได้
               แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
               ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่าพระเจ้ามหาสมมตราช โอรสของพระองค์พระนามว่าโรชะ. โอรสของพระเจ้าโรชะ พระนามว่า วรโรชะ. โอรสของพระเจ้าวรโรชะ พระนามว่า กัลยาณะ. โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ พระนามว่าวรกัลยาณะ. โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ พระนามว่า อุโปสถ. โอรสของพระเจ้าอุโปสถ พระนามว่า วรอุโปสถ. โอรสของพระเจ้าวรอุโปสถ ได้มีพระนามว่า มันธาตุ
               พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้าย ปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ พระเจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้. ก็พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแปดหมื่นสี่พันปี. ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย.
               วันหนึ่ง พระเจ้ามันธาตุนั้นไม่สามารถทำกามตัณหาให้เต็มได้ จึงทรงแสดงอาการระอาพระทัย. อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงระอาเพราะเหตุอะไร? พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า เมื่อเรามองเห็นกำลังบุญของเราอยู่ ราชสมบัตินี้จักทำอะไรได้ สถานที่ไหนหนอจึงจะน่ารื่นรมย์ อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทวโลกน่ารื่นรมย์ พระเจ้าข้า.
               ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริษัท.
               ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับ นำพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก. เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน พระองค์ไม่สามารถทำตัณหาให้เต็มในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้ จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา.
               ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอาเพราะอะไรหนอ. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ ที่ไหนน่ารื่นรมย์กว่า. ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฏฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์
               พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส์.
               ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ ทรงทำการต้อนรับรับพระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้
               ในเวลาที่พระราชาอันหมู่เทพห้อมล้อมเสด็จไป ปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมนุษย์ พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฉพาะยังนครของตนๆ.
               ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุ.
               ตั้งแต่นั้นมา พระราชา ๒ พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์นั้น). เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะทรงให้พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน. แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก แล้วก็จุติไป โดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง.
               เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงดำริว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทวโลกกึ่งหนึ่ง เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคนเดียวเถิด ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้.
               ก็ตัณหาคือความอยากนี้เป็นมูลรากของความวิบัติ ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึงเสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค์ ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก.
               ลำดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยาน จึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมาให้ราชตระกูลทราบ ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาดที่บรรทมในพระราชอุทยานนั่นเอง พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฏฐานไสยาศน์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกล่าวว่าอย่างไร เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ พระเจ้าข้า.
               พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลายพึงบอกข่าวสาสน์นี้แก่มหาชนว่า พระเจ้ามันธาตุมหาราชครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตามปริมาณพระชนมายุของท้าวสักกะถึง ๓๖ องค์ ยังทำตัณหา คือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้สวรรคตไปแล้ว.
               ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็สวรรคตเสด็จไปตามยถากรรม.

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

               พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียนรอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศโดยที่มีกำหนดเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดเท่านั้น ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น

               ความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตย่อมรู้ชัดอย่างนี้.

               ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นคำกล่าวถึงกำหนดเขต. บทว่า ปริหรนฺติ ความว่า ย่อมหมุนเวียนเขาพระสิเนรุ โดยกำหนดมีประมาณเท่าใด. บทว่า ทิสา ภนฺติ ความว่า ย่อมส่องสว่างในทิศทั้งสิบ. บทว่า วิโรจนา ความว่า ชื่อว่า มีสภาพสว่างไสว เพราะกระทำความสว่าง. บทว่า สพฺเพว ทาสา มนฺธาตุ เย ปาณา ปฐวิสฺสิตา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย คือหมู่มนุษย์ชาวชนบทเหล่าใด ผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ในประเทศมีประมาณเท่านี้ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดเมื่อเข้าไปเฝ้าด้วยคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามันธาตุเป็นปู่ของพวกเรา แม้เป็นไท ก็ชื่อว่าเป็นทาสเหมือนกัน.
               ในบทว่า น กหาปณวสฺเสน นี้ พระเจ้ามันธาตุทรงปรบพระหัตถ์ทำให้ฝนคือรัตนะ ๗ อันใดตกลงมา เพื่อทรงสงเคราะห์พวกหมู่มนุษย์ผู้เป็นทาสเหล่านั้น ฝนคือรัตนะ ๗ นั้น ท่านเรียกว่า ฝนคือกหาปณะในพระคาถานี้.
               บทว่า ติตฺติ กาเมสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย เพราะฝนคือกหาปณะแม้นั้นย่อมไม่มี ตัณหานั้นทำให้เต็มได้ยากอย่างนี้. บทว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนความฝัน มีความยินดีน้อย คือมีความสุขน้อย ก็ในกามนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นมากมาย ทุกข์นั้นพึงแสดงโดยกระบวนแห่งทุกขักขันธสูตร.
               บทว่า อิติ วิญฺญาย ได้แก่ กำหนดรู้อย่างนี้. บทว่า ทิพฺเพสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น อันเป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า รตึ โส ความว่า ภิกษุผู้เห็นแจ้งนั้น แม้ถูกเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามเหล่านั้น เหมือนท่านพระสมิทธิ.
               บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ได้แก่ ผู้ยินดีแล้วในพระนิพพาน. จริงอยู่ ตัณหามาถึงพระนิพพานย่อมหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตัณหักขยะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหานั้น. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะเพราะตรัสรู้สัจจะโดยชอบด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสาวกเพราะเกิดในที่สุดแห่งการสดับฟัง คือเป็นโยคาวจรบุคคลผู้ได้สดับตรับฟังมาก.

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คนเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น.
               พระเจ้ามันธาตุมหาราชในกาลนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

               จบ อรรถกถามันธาตุราชชาดกที่ ๘

.. อรรถกถา มันธาตุราชชาดก ว่าด้วย กามมีความสุขน้อยมีทุกข์มาก จบ


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 พฤศจิกายน 2557 20:06:24
การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสาร ย่อมประสบซึ่งความสุขและความทุกข์แต่งต่างกันไป ซึ่งมีผลอันเป็นมาแต่เหตุที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติและปจจุบันชาติ เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นหากเราทำใจยอมรับสภาวะที่เป็นอยู่ได้ความทุกข์ที่มีก็จะลดน้อยลงไป
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 ธันวาคม 2557 13:08:07
"การรักษาศีล กับ การผิดศีล อะไรจะยากกว่ากัน"
_(๑)_ผู้รักษาศีลข้อ 1. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปวิ่งไล่ตบตีฆ่าสัตว์ อย่างไหนมันยากกว่ากัน ? ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปฆ่าสัตว์แค่นั้นเอง
_(2.)_ผู้ที่รักษาศีลข้อ 2. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปลักขใคร กับการที่ต้องหาทางขโมยของคนอื่น ต้องคอยกลัวเขาจับได้ อย่างไหนมันยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปขโมยของ ๆ คนอื่น
_(3)_ผู้ที่รักษาศีลข้อ 3. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปประพฤติผิดในกาม กับ การมี่ต้องออกไปหาทางประพฤติผิดในกาม อย่างไหนมันยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่ไปผิดลูกผิดเมียคนอื่น
_(4.)_ผู้ทีรักษาศีลข้อที่ 4. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปพูดโกหกใครกับการที่ต้องคิดหาคำพูดเพื่อโกหกคนอื่น
อย่างไหนมันจะยากกว่ากัน...?
ก็แค่อยู่เฉย ๆ ไม่เห็นต้องไปโกหกใครเลย
_(5.)_ผู้ที่รักษาศีลข้อที 5. การอยู่เฉย ๆ ไม่ไปดื่มสุรา กับ การที่ต้องออกไปทำงานหาเงินมาซื้อสุรสดื่ม. อย่างไหนมันยากง่ายกว่ากัน...?
แค่อยู่เฉย ๆ ไม่เห็นจะต้องไปเสียเงินซื้อเหล้าเลย__...___


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 มกราคม 2558 20:00:12
ยิ่งพยายามจะไปหยุดใจที่มันดิ้นเท่าไร
ใจก็ยิ่งดิ้น ดิ้นไปกับความคิดปรุงแต่ง
ยิ่งเป็นการก่อภพก่อชาติใหม่
เพราะมีเจตนาเข้าไปจับ ไปเป็น
เพราะเห็นว่าเป็นตัวตนที่สามารถไปบังคับได้
ทั้งที่ความจริงของธรรมชาติ
มันไม่เป็นตัวตนที่อยู่ในอำนาจมาแต่ไหนแต่ไร
เป็นเพราะความหลงไปยึดเป็นเราของเราต่างหาก
ความคิดความปรุงแต่งจะดับลง เพราะหมดเหตุ
หมดสิ่งหล่อเลี้ยงคือตัณหา
มันดับลงตามธรรมชาติ มิใช่มีใครไปพยายามที่จะดับ
เห็นเรื่อยๆไปเกิดๆ ดับ ๆจนใจไม่หมายในความคิด
เกิดการคลายออกจิตเป็นอิสระจากความคิด
เห็นรู้ความจริงว่ามีแต่ธรรมชาติล้วน
หมุนเวียนเปลี่ยน ไม่ใช่เราทั้งฝ่ายรูปนาม.... (:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 เมษายน 2558 21:13:06
คนรวยมากๆบางทีก็ลืมบุญเหมือนกันนะ ว่าที่รวยมีที่อยู่อาศัยที่ดี มีกินมีใช้ก็เพราะบุญ ที่ว่าลืมบุญเพราะมัวเพลินกับสมบัติในชาตินี้ เพลินในธุระกิจพันล้านก็มี จนไม่มีเวลาเข้าวัดสะสมบุญใหม่ใช้บุญเก่าไปทุกวันไม่นานก็หมดแต่คนจนที่พอมีพอกินไม่รวยอะไรมากมายแต่มีความสุขเพราะมีเวลาเข้าวัดทำบุญ ฝึกกาย ใจ วาจาให้สงบให้เย็นเป็นอุปนิสัย อันนี้แหละสำคัญเพราะบุญเป็นสมบัติที่พวกเราต้องทำเองนะ (:SY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 เมษายน 2558 20:28:15
ธรรมะกับธรรมชาติ
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
บางครั้ง ต้นผลไม้ อย่างต้นมะม่วงเป็นดอกออกมาแล้ว บางทีถูกลมพัด มันก็หล่นลง แต่ยังเป็นดอกอย่างนั้นก็มี บางช่อเป็นลูกเล็กๆ ลมก็มาพัดไป หล่นทิ้งไปก็มี บางช่อยังไม่ได้เป็นลูก เป็นดอกเท่านั้น ก็หักไปก็มี
คนเราก็เหมือนกัน บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้องบางคนคลอดจากท้องอยู่ได้สองวัน ตายไปก็มี หรืออายุเพียงเดือนสองเดือน สามเดือน ยังไม่ทันโต ตายไปก็มีบางคนพอเป็นหนุ่มเป็นสาวตายไปก็มี บางคนก็แก่เฒ่าแล้ว จึงตายก็มี
เมื่อนึกถึงคนแล้ว ก็นึกถึงผลไม้ ก็เห็นความไม่แน่นอน แม้นักบวชเราก็เหมือนกัน บางทียังไม่ทันได้บวชเลย ยังเป็นเพียงผ้าขาวอยู่ ก็พาผ้าขาววิ่งหนีไปก็มีบางคนโกนผมเท่านั้น ยังไม่ได้บวชขาวด้วยซ้ำ ก็หนีไปก่อนแล้วก็มี บางคนก็อยู่ได้สามสี่เดือนก็หนีไป บางคนอยู่ถึงบวชเป็นเณรเป็นพระ ได้พรรษาสองพรรษาก็สึกไปก็มี หรือสี่ห้าพรรษาแล้วก็สึกไปก็มี เหมือนกับผลไม้เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ผลไม้ถูกลมพัดตกลงไปเลยไม่ได้สุก จิตใจคนเราก็เหมือนกัน พอถูกอารมณ์มาพัดไป ดึงไป ก็ตกไปเหมือนกับผลไม้
พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงเห็นเหมือนกัน เห็นสภาพธรรมชาติของผลไม้ ใบไม้ แล้วก็นึกถึงสภาวะของพระเณรซึ่งเป็นบริษัท บริวารของท่านก็เหมือนกัน มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ย่อมจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติถ้ามีปัญญา พิจารณาดูอยู่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูอาจารย์แนะนำพร่ำสอนมากมาย
พระพุทธเจ้าของเรา ที่จะทรงผนวชในพระชาติที่เป็นพระชนกกุมารนั้น ท่านก็ไม่ได้ศึกษาอะไรมากมายท่านไปทรงเห็นต้นมะม่วงในสวนอุทยานเท่านั้น คือวันหนึ่ง พระชนกกุมารได้เสด็จไปชมสวนอุทยานกับ พวกอำมาตย์ทั้งหลาย ได้ทรงเห็นต้นมะม่วงต้นหนึ่ง กำลังออกผลงามๆ มากมาย ก็ตั้งพระทัยไว้ว่า ตอนกลับจะแวะเสวยมะม่วงนั้น
แต่เมื่อพระชนกกุมารเสด็จผ่านไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันเก็บผลมะม่วงตามใจชอบ ฟาดด้วยกระบองบ้าง แส้บ้าง เพื่อให้กิ่งหัก ใบขาด จะได้เก็บผลมะม่วงมากิน
พอตอนเย็น พระชนกกุมารเสด็จกลับ ก็จะทรงเก็บมะม่วง เพื่อจะลองเสวยว่าจะมีรสอร่อยเพียงใด แต่ก็ไม่มีมะม่วงเหลือเลยสักผล มีแต่ต้นมะม่วงที่กิ่งก้านหักห้อยเกะกะ ใบก็ขาดวิ่น เมื่อไต่ถาม ก็ทรงทราบว่าพวกอำมาตย์เหล่านั้นได้ใช้กระบอง ใช้แส้ฟาดต้นมะม่วงนั้นอย่างไม่ปรานี เพื่อที่จะเอาผลของมันมาบริโภคฉะนั้นใบของมันจึงขาดกระจัดกระจาย กิ่งของมันก็หัก ห้อยระเกะระกะ
เมื่อพระองค์ทรงมองมะม่วงสักต้นหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็ทรงเห็นมะม่วงต้นนั้นยังมีกิ่งก้านแข็งแรง ใบดกสมบูรณ์ มองดูน่าร่มเย็น จึงทรงดำริว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? ก็ทรงได้คำตอบว่า เพราะมะม่วงต้นนั้นมันไม่มีผล คนก็ไม่ต้องการมัน ไม่ขว้างปามัน ใบของมันก็ ไม่หล่นร่วง กิ่งของมันก็ไม่หัก

พอพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเหตุเท่านั้น ก็พิจารณามาตลอดทางที่เสด็จกลับ ทรงรำพึงว่า ที่ทรงมีความทุกข์ยากลำบาก ก็เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ ต้องทรงห่วงใยราษฎร ต้องคอยป้องกันแผ่นดินจากข้าศึกศัตรู ที่คอยจะมาโจมตีตรงนั้นตรงนี้อยู่วุ่นวาย แม้จะนอนก็ไม่เป็นสุข บรรทมแล้วก็ยังทรงฝันถึงอีก แล้วก็ทรงนึกถึงต้นมะม่วงที่ไม่มีผลต้นนั้น ที่มีใบสดดูร่มเย็น แล้วทรงดำริว่า จะทำอย่างมะม่วงต้นนั้นจะไม่ดีกว่าหรือ ?

พอถึงพระราชวัง ก็ทรงพิจารณาอยู่แต่ในเรื่องนี้ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยออกทรงผนวช โดยอาศัยต้นมะม่วงนั้นแหละ เป็นบทเรียนสอนพระทัย ทรงเปรียบเทียบพระองค์เองกับมะม่วงต้นนั้น แล้วเห็นว่าถ้าไม่พัวพันอยู่ในเพศฆราวาส ก็จะได้เป็นผู้ไปคนเดียว ไม่ต้องกังวัลทุกข์ร้อน เป็นผู้มีอิสระ จึงออกผนวช

หลังจากทรงผนวชแล้ว ถ้ามีผู้ใดทูลถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ? พระองค์ก็จะทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" ใครเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน ? พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" พระองค์ไม่ต้องการคำพร่ำสอนอะไรมากมาย เพียงแต่ทรงเห็นต้นมะม่วงนั้นเท่านั้น ก็ทรงน้อมเข้าไปในพระทัย เป็นโอปนยิกธรรม สละราชสมบัติทรงเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ อยู่ในความสงบผ่องใส

นี้คือในสมัยที่พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรมเช่นนี้มาโดยตลอดอันที่จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเตรียมพร้อมที่จะสอนเราอยู่เสมอ ถ้าเราทำปัญญาให้เกิดนิดเดียวเท่านั้น ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในโลก

ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เหล่านั้น มันแสดงลักษณะอาการตามความจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้ามีปัญญาเท่านั้นก็ไม่ต้องไปถามใคร ไม่ต้องไปศึกษาที่ไหน ดูเอาที่มันเป็นอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ก็ตรัสรู้ธรรมได้แล้ว เหมือนอย่างพระชนกกุมาร

ถ้าเรามีปัญญา ถ้าเราสังวร สำรวม ดูอยู่ รู้อยู่เห็นอยู่ตามธรรมชาติอันนั้น มันก็ปลงอนิจจัง ทุกขังอนัตตาได้เท่านั้น เช่นว่า ต้นไม้ทุกต้นที่เราเห็นอยู่บนพื้นปฐพีนี้ มันก็เป็นไปในแนวเดียวกัน เป็นไปในแนวอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่เป็นของแน่นอนถาวรสักอย่าง มันเหมือนกันหมด มีเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น แปรไปในท่ามกลาง ผลที่สุดก็ดับไปอย่างนี้

เมื่อเราเห็นต้นไม้เป็นอย่างนั้นแล้ว ก็น้อมเข้ามาถึงตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวเราหรือบุคคลอื่นก็เหมือนกันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นในท่ามกลางก็แปรไป เปลี่ยนไป ผลที่สุดก็สลายไป นี่คือธรรมะ

ต้นไม้ทุกต้นก็เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน เพราะว่ามันเหมือนกันโดยอาการที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็แปรไป แล้วมันก็เปลี่ยนไป หายไป เสื่อมไปดับสิ้นไปเป็นธรรมดา

มนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้มีสติอยู่รู้อยู่ ศึกษาด้วยปัญญา ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเห็นธรรมอันแท้จริง คือเห็นมนุษย์เรานี้ เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไปแล้วก็เปลี่ยนไป สลายไป ถึงที่สุดแล้วก็จบ ทุกคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น คนทุกคนในสากลโลกนี้ ก็เป็นอันเดียวกัน ถ้าเราเห็นคนคนเดียวชัดเจนแล้ว ก็เหมือนกับเห็นคนทั้งโลก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

ทุกสิ่งสารพัดนี้เป็นธรรมะ สิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตา คือใจของเรานี้ เมื่อความคิดเกิดขึ้นมา ความคิดนั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไป เมื่อแปรไปแล้ว ก็ดับสูญไปเท่านั้น นี้เรียกว่า "นามธรรม" สักแต่ว่าความรู้สึกเกิดขึ้นมา แล้วมันก็ดับไป นี่คือความจริงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น ล้วนเป็นอริยสัจจธรรมทั้งนั้น ถ้าเราไม่มองดูตรงนี้ เราก็ไม่เห็น

ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา เราก็จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงไหน ?
พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม

พระธรรมอยู่ที่ตรงไหน ?
พระธรรมอยู่ที่พระพุทธเจ้า อยู่ตรงนี้แหละ

พระสงฆ์อยู่ที่ตรงไหน ?
พระสงฆ์อยู่ที่พระธรรม

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ในใจของเราแต่เราต้องมองให้ชัดเจน บางคนเก็บเอาความไปโดยผิวเผิน แล้วอุทานว่า "โอ ! พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจของฉัน" แต่ปฏิปทานั้นไม่เหมาะไม่สมควร มันก็ไม่เข้ากันกับการที่จะอุทานเช่นนั้น เพราะใจของผู้ที่อุทานเช่นนั้น จะต้องเป็นใจที่รู้ธรรมะ

ถ้าเราตรงไปที่จุดเดียวกันอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าความจริงในโลกนี้มีอยู่ นามธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดเป็นของไม่แน่นอน มีความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ความโกรธตั้งอยู่แล้ว ความโกรธก็แปรไป เมื่อความโกรธแปรไปแล้ว ความโกรธก็สลายไป

เมื่อความสุขเกิดขึ้นมาแล้ว ความสุขนั้นก็ตั้งอยู่เมื่อความสุขตั้งอยู่แล้ว ความสุขก็แปรไป เมื่อความสุขแปรไปแล้ว ความสุขมันก็สลายไปหมด ก็ไม่มีอะไร มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ทุกกาลเวลา ทั้งของภายในคือ นามรูปนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งของภายนอก คือต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์เหล่านี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ นี่เรียกว่าสัจจธรรม

ถ้าใครเห็นธรรมชาติก็เห็นธรรมะ ถ้าใครเห็นธรรมะก็เห็นธรรมชาติ ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ เห็นธรรมะผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่อยู่ไกล

ฉะนั้น ถ้าเรามีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ผู้รู้ทั้งหลายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้ ให้เห็นธรรมะตามเป็นจริงทุกกาลเวลา

พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านยังไม่ตาย แต่คนมักเข้าใจว่าท่านตายไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นท่านไม่นิพพาน ท่านไม่ตายท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ทุกเวลา พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะนั่นเอง ใครทำดีต้องได้ดีอยู่วันหนึ่ง ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว นี่เรียกว่าพระธรรมพระธรรมนั้นแหละเรียกว่า พระพุทธเจ้า และก็ธรรมะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธเจ้าของเรา เป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็คือพระธรรม และพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำก็จะเห็นน้ำไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งไปทำให้น้ำมีขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกลงไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว

อันนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน ท่านไม่ได้ไปแต่งธรรมะ ท่านไม่ได้บัญญัติธรรมะ บัญญัติก็บัญญัติสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ธรรมะคือความจริงที่มีอยู่แล้ว ท่านพิจารณาเห็นธรรมะ ท่านเข้าไปรู้ธรรม คือรู้ความจริงอันนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่าพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้ธรรม และการตรัสรู้ธรรมนี่เองจึงทำให้ท่านได้รับพระนามว่า พระพุทธเจ้า

เมื่อพระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ก็ทรงเป็นเพียง "เจ้าชายสิทธัตถะ" ต่อเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว จึงได้ทรงเป็น "พระพุทธเจ้า" บุคคลทั้งหลายก็เหมือนกันผู้ใดสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ผู้นั้นก็เป็นพุทธะ

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงยังมีอยู่ ยังเมตตากรุณาสัตว์ทั้งหลาย ยังช่วยมนุษย์สัตว์ทั้งหลายอยู่ ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความประพฤติปฏิบัติดี จงรักภักดี พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ผู้นั้นก็จะมีคุณงามความดีอยู่ตลอดทุกวันฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา ก็จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้อยู่ห่างพระพุทธเจ้าเลย เดี๋ยวนี้เราก็ยังนั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าเราเข้าใจธรรมะเมื่อใด เราก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ผู้ใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน อยู่ ณ ที่ใด ผู้นั้นย่อมได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

ในการปฏิบัติธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่ในที่สงบ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต นี้เป็นหลักไว้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ไม่เกิดที่อื่นความดีทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ ความชั่วทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ พระพุทธเจ้าจึงให้สังวรสำรวมให้รู้จักเหตุที่มันเกิดขึ้น

ความจริง พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกทรงสอนไว้หมดทุกอย่างแล้ว เรื่องศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดีตลอดจนข้อประพฤติปฏิบัติทุกประการก็ทรงพร่ำสอนไว้หมดทุกอย่าง เราไม่ต้องไปคิด ไปบัญญัติอะไรอีกแล้วเพียงให้ทำตามในสิ่งที่ท่านทรงสอนไว้เท่านั้น นับว่าพวกเราเป็นผู้มีบุญ มีโชคอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบหนทางที่ท่านทรงแนะทรงบอกไว้แล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมไว้ให้เรา แล้วก็เชิญให้พวกเราทั้งหลายไปกินผลไม้ในสวนนั้น โดยที่เราไม่ต้องออกแรงทำอะไรในสวนนั้นเลย เช่นเดียวกับคำสอนในทางธรรม ที่พระองค์ทรงสอนหมดแล้ว ยังขาดแต่บุคคลที่จะมีศรัทธาเข้าไปประพฤติปฏิบัติเท่านั้น

ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้

ถ้าหากเราคิดไม่ถูก ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็จะกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นยักษ์ เป็นผี เป็นสารพัดอย่าง มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? ก็ขอให้มองดูในจิตของเราเอง

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความหลงเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !

สภาวะทั้งหลายเหล่านี้แหละ มันเป็นภพ แล้วก็เป็นชาติ เป็นความเกิดที่เป็นไปตามสภาวะแห่งจิตของตน



หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 พฤษภาคม 2558 22:57:51
เป้าหมายชีวิตของทุกคน คือต้องการพบกับความสุขความสมหวังที่ใจปรารถนา แต่ทุกสิ่งจะสมประสงค์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานหรือการวางรากฐานของชีวิตให้ดีงามให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา + ภาวนา มีการให้ทาน เพื่อลด ละความตะหนี่ที่มีอยู่ในใจของแต่ละคน ลดละความโลภ โกรธ หลง มีชีวิตที่พึ่งพอดี พอเป็น พอใจ พอเพียง  ย่อมพบกับความสุข


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 12 พฤษภาคม 2558 05:15:06
กราบนมัสการ พระอาจารย์


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 พฤษภาคม 2558 12:42:53
สิ่งใด้เกิดแต่เหตุสิ่งนั้นย่อมดับด้วยเหตุ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาก็ต้องตามระลึกดูว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์มันคืออะไร ให้ใช้สติ ปัญญา แก้ไขไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก เฝ้าคอยรักษาใจของเรา ไม่ให้มันคิดปรุงแต่งไปตามกระแสของโลก ของค่านิยมสั่งคมมากเกินความจำเป็น เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ในเวลาต่อมา เช่นคิดอยากได้นั้นอยากได้นี้จนเกิดทุกข์ ถ้าอยากน้อยก็ทุกข์น้อยอยากมากก็ทุกข์มาก บางคนถึงขนาดชกชิงวิ่งราวเพราะคิดต้องการอยากได้ของๆคนอื่นมากเกินไปจนขาดสติปัญญาพิจารานา ผลที่ตามมาคืออาจถูกตำรวจจับติดคุก หรือถูกสังคมประนามอันเป็นสาเหตุให้ทุกข์เกิดเป็นต้น ไม่มีอะไรเกิดมาโดยไม่มีเหตุ เมื่อทำเหตุให้ดีผลที่ได้รับก็จะดีตามด้วย  


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 พฤษภาคม 2558 12:35:49
ให้ตามดูความโกรธของตัวเองนั้นแระดี ถ้ารู้ว่ากำลังโกรธหรือไม่พอใจคนอื่นที่มาพูดจาหรือมาทำให้อารมณ์ของเราเริ่มขุ่นมัว ให้ใช้ธรรมะหลักธรรมคำสอนมาระงับมาแก้ไขความโกรธนั้นเสีย ความโกรธมีแต่ให้โทษไม่ให้ประโยชน์อะไรเลยลมหายใจที่เคยหายใจได้ยาวแล้วมีความสุข เมื่อความโกรธเกิดมีขึ้นลมหายใจที่ว่ายาวๆเย็นและมีความสุขก็หายใจสั้นเหมือนคนกำลังขาดอากาศหายใจ ทำให้เกิดความร้อนรุ่มมีแต่ความทุกข์เพราะความไม่ชอบใจในสิ่งที่มากระทบอารมณ์ ถ้าเราฝึกระงับความโกรธเสียได้ก็เท่ากับเป็นการยกระดับจิตและอารมณ์ให้ใสสะอาดขึ้นเข้มแข็งมากขึ้น


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 พฤษภาคม 2558 10:35:56
มองธรรมชาติให้เป็น ธรรมชาติมันสอนเราให้เราได้รู้ถึงสภาวะของโลกของความเป็นไปที่เป็นจริงอยู่เสมอ เพียงแต่เราไม่ได้สนใจธรรมชาติมัน ไม่ได้พิจรานาตามที่เห็นเวลาธรรมชาติมันบอกหรือแสดงให้เราดูถึงความเปลี่ยนไป ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั่งอยู่ ดับไป ประดุจดังใบไม้ที่แตกใบออก งอกงาม วันหนึ่งก็แก่และร่วงโรยหล่นลงไปบนพื้นดินกลับคืนสู่สะภาพเดิม แม้ร่างกายของเราก็ไม่ต่างจากใบไม้ที่วันหนึ่งก็ต้องมีความแก่ชราและเสื่อมสะภาพ ธาตุทั่งสี่ทีมารวามตัวกันขึ้นเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องแตกสหลายคืนสู่สภาวะเดิมเหลือแต่ดวงจิตที่ยังอยู่กับเราถ้าจิตถูกฝึกมาดีในขณะยังมีรูปกายอาศัยอยู่ เมื่อกายแตกดับจิตย่อมไปสู่สุคติภพใหม่ที่ดี แต่ถ้าดวงจิตเศร้าหมองทุกคติก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้นั้น เมื่อธรรมชาติมีอยู่ก็เรียนรู้จากธรรมชาติ เพราะธรรมชาติก็คือธรรมะนั้นเอง
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 15 พฤษภาคม 2558 19:21:29


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42707123276260_mUAwkMT_1_.jpg)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 พฤษภาคม 2558 21:07:46
+++ ฝึกใจให้ปล่อยวาง +++
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านอย่ายึดมั่นในธรรม”
เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะ นั่นก็เป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว กิเลสก็สักแต่ว่ากิเลส ใจก็สักแต่ว่าใจ เมื่อใดที่เราทิ้งได้ ปล่อยวางได้แยกได้ เมื่อนั้นมันก็เป็นเพียงสิ่งสักว่า เป็นเพียงอย่างนี้อย่างนั้นสำหรับเราเท่านั้นเอง เมื่อเราเห็นถูกแล้ว ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง ความเป็นอิสระตลอดเวลา
ธรรมะคืออะไร คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ ความรักความเกลียดก็เป็นธรรมะ ความสุขความทุกข์ก็เป็นธรรมะ ความชอบความไม่ชอบก็เป็นธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็เป็นธรรมะ
...หลวงพ่อชา สุภัทโท...
สาธุ สาธุ สาธุ...
(:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 พฤษภาคม 2558 20:46:37
เรามักหลงในรูปกาย หลงในชาติกำเนิดที่ตนเองมีอยู่ ยิ่งมีชาติกำเนิดอยู่สุขสบายมากเท่าใหร่ ก็ยิ่งหลงมากเท่านั้น จนลืมไปว่าชาติเกำเนิดที่ได้มามีรูปกายให้อาศัยอยู่นี้ มันก็มีวันหมดอายุ หมดเวลาของมันเหมือนกันเหมือนกับต้นไม้ใบไม้ที่เคยเขียวขจี ก็ร่วงโรยเป็นไปตามกาลเวลาของมัน มนุษย์หรือสัพสัตว์ทุกตัวตนก็เช่นเดียวกัน ที่เกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แปลเปลี่ยน ไม่นานก็แตกสหลายไปตามกาลเวลาไม่มีอะไรคงอยู่สภาพเดิมได้ตลอดไป นอกจากธรรมะของพระพุทธเจ้าที่คงเป็นจริงเสมอไป ไม่แปลเปลี่ยน คือทุกคนไม่ว่าจะมีชาติกำเนิดสูงหรือต่ำ จนหรือรวยก็ต้องตายไปจากโลกนี้ด้วยกันทั้งนั้นแต่เรามักจะลืมนึกถึงความตายที่รอเราอยู่ จนลืมที่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีไว้ให้ตัวเองคือบุญกุศลที่เคยมีอยู่ให้มีขึ้นเพิ่มพูลให้มากขึ้นไปอีก ฝึกจิตฝึกใจให้ยอมรับความตายที่จะมาถึงวันข้างหน้าจะได้ไม่กลัวไม่สะทกสะท้านเมื่อมรณะไกล้เข้ามาหาเรา เรืยกว่าฝึกใจไว้เตียมใจไว้ให้ดีจะได้ตายตาหลับเมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้ตัวเอง
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 19 พฤษภาคม 2558 19:05:05
ปริศนาธรรม 3 ประการ จากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช?
สำหรับเพื่อนร่วมทุกข์.. เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกท่าน
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จักรพรรดิผู้รุกรบชนะไปครึ่งค่อนโลก ก่อนจะสิ้นพระชนม์ ได้โปรดให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า โดยรับสั่งให้ทำพินัยกรรมเป็นปริศนาธรรม 3 ข้อ คือ
1. ในงานศพของข้าพเจ้า ขอให้นายแพทย์เป็นผู้แบกโลงศพ
2. ขอให้นำเอาทรัพย์สมบัติ ที่ข้าพเจ้าไปตีชิงมาได้จากบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหมด หว่านโปรยตลอดเส้นทาง ที่แห่ศพข้าพเจ้าไปยังเชิงตะกอน
3. ขอให้เอามือของข้าพเจ้า โผล่ออกมานอกโลงทั้งสองข้างในอิริยาบถแบมือ
เมื่อมหาดเล็กได้ยินดังนั้นก็สงสัย จึงทูลถามถึงเหตุผล พระองค์ก็ทรงอธิบายว่า
ประการแรก.. ที่เราขอให้แพทย์เป็นผู้แบกโลงศพของเรานั้น ก็เพราะเราต้องการจะบอกอนุชนรุ่นหลังว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่เราจะต้องดูแลเอง ต่อให้มีหมอเทวดาเป็นหมอประจำตัว สุดท้ายก็ไม่มีหมอคนไหนยื้อชีวิตของเราไว้ได้
ดังนั้น โปรดอย่าวางใจว่ามีหมอที่ดีที่สุดอยู่ใกล้มือ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของเราทุกคน เราจะต้องลุกขึ้นมาตระหนักรู้ แล้วดูแลอย่างดีที่สุด ก่อนจะถึงมือหมอ
ประการที่สอง.. ที่เราให้หว่านโปรยทรัพย์สิน ที่เราไปตีเอามาได้จากบ้านน้อยเมืองใหญ่ครึ่งค่อนโลกนั้น ก็เพื่อจะเตือนคนที่อยู่ข้างหลังว่า ทรัพย์สินทั้งหลายนั้น สุดท้ายต้องส่งคืนโลกหมด ครอบครองไว้ไม่ได้ สรรพสิ่งทั้งหลายอย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน
ฉะนั้น หาเท่าที่จำเป็นจะต้องใช้ อย่าครอบครองมากมาย จนกองสูงดังภูเขาเลากา เพราะวันหนึ่งก็ต้องทิ้งสิ่งนั้นไปทั้งหมด อย่าทำตัวเป็นพวกบ้าหอบฟาง หาเงินหาทองมาสะสม
เสมือนหนึ่งตัวเองจะมีอายุอยู่กินอยู่ใช้ ไปสักแปดหมื่นสี่พันปี ทั้งๆ ที่ในความจริง มนุษย์เราทั้งหลายอายุเฉลี่ยเต็มที่แค่ 80 ปีเท่านั้น เราจึงไม่ควรจะหมกมุ่น ไม่ควรจะมัวเมา ตกเป็นทาสของ "ยศ-ทรัพย์-อำนาจ" จนหลงลืมแก่นสารที่แท้จริงของชีวิต
ประการที่สาม.. ที่ให้เอามือของเราแบออกไปนอกโลงศพนั้น ก็เพื่อที่จะบอกว่า เมื่อตอนที่เราเกิดมานั้น เราร้องไห้จ้าและกำมือแน่น หมายมั่นปั้นมือว่าจะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง กำโน่น กำนี่ สารพัดที่จะกำ ยศก็กำ ทรัพย์ก็กำ อำนาจก็กำ กิน กาม เกียรติ เรากำทุกสิ่ง ครอบงำเอาไว้ทั้งหมดทั้งสิ้น
แต่ท้ายที่สุด แม้แต่ลมหายใจ ซึ่งบางเบาที่สุดและแทบไม่กินพื้นที่ ก็ไม่มีใครกำเอาไว้ได้ สุดท้ายก็ต้องแบ ต้องปล่อย ถึงเราไม่ปล่อย ธรรมชาติก็จะทำให้เราปล่อยโดยอัตโนมัติ
ฉะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ แทนที่จะกำไว้จนแน่น จงแบ่งซะ ปันซะ ให้ซะ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ แล้วบุญกุศลเหล่านั้น จะเป็นอริยทรัพย์สมบัติ ที่ติดตัวเราไปเองโดยธรรมชาติ
พวกสูเจ้าที่อ้างตนว่า เป็นชนชั้นสูงเพื่อยกตนข่มผู้อื่น พวกสูเจ้าก็กินข้าว ไม่ได้กินเหล็กกินตึก เหตุฉะไหน พวกสูเจ้าบางคนถึงชอบเบียดเบียน ชอบเอารัดเอาเปรียบคนที่พวกเจ้าคิดว่าด้อยกว่าทางฐานะ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางอาชีพ.. เวรกรรม! น่าสังเวชสลดใจหนอ ที่บาปอันมหันต์จะมาเยือนพวกสูเจ้าเหล่านั้นที่มีพฤติกรรมเฉกนี้
สาธุ สาธุ สาธุ
...............


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 พฤษภาคม 2558 14:22:33
การเกิดและการตายเป็นเพียงชั่วขณะจิต แต่การเป็นสุขหรือเป็นทุกข์นี้สิ ระยะเวลามันขึ้นอยู่ที่เหตุและผลที่มีอยู่เป็นอยู่ของการกระทำที่ผ่านมา ซึ้งขณะมีชีวิตอยู่ถ้าเราทำเหตุ หรือทำจิตทำใจให้มันดีให้มันเป็นกุศลธรรม เมื่อจิตไปเกิดหรือไปสู่ภพใหม่ภูมืใหม่ ก็จะได้รับความสุขหรือได้รับสมบัติอันเป็นทิพย์ในภพภูมินั้น แต่ถ้าทำเหตุไว้ไม่ดีมีการประพฤติทุจริตเป็นต้น เมื่อละโลกนี้ไปแล้วก็จะได้รับผลเป็นทุกข์ตามกรรมที่เคยกระทำไว้ ฉนั้นการเกิดหรือตายมันใช้เวลาไม่นานแต่การได้รับผลของการกระทำที่ผ่านมานี้สิมันจะยาวนานตามกรรมทีเป็นเหตุของผลนั้นๆ
 (:5:) (:88:) (:SR:) (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 พฤษภาคม 2558 14:38:43
เรื่องของเจ้ากรรมนายเวรและผลของกระกระทำอันเป็น บุญ หรือ บาป ทุกๆคนย่อมจะต้องเคยเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นมาก่อน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นด้วยการกระทำด้วยกายกรรม วจีกรรม หรือ มโนกรรม ซึ้งเป็นได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน แต่การเบียดเบียนผู้อื่นให้ถึงแก่ชีวิต โดยมีเจตนาเป็นสมุฐานนั้น ย่อมเป็นกรรมที่จะส่งผลให้ได้รับโทษของการกระทำนั้นๆแตกต่างกันเช่น สัตว์เล็กๆ หรือสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์มนุษย์ ถ้าจะว่าไปแล้วให้เราระลึกถึงตอนที่เราไม่สบายหรือเจ็บป่วย นั้นก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นผล อันเกิดมาจากการที่เราเคยเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ยิ่งถ้าบุคคลไดที่ชอบปฏิบัติเจริญภาวนา หรือนั่งวิปัสนา ยิ่งต้องคอยระวัง เมื่อจิตเริ่มละเอียด เริ่มอยู่ในความสงบ สิ่งที่เคยกระทำมาในอดีต เช่นการทำร้ายชีวิตสัตว์ อาจจะผุดขึ้นมาประท้วง มารบกวนจิตเราก็ได้ในบางโอกาศ หรืออาจจะพบ อุปสัคที่แตกแต่งกัน จนกว่าเราจะหาวิธีแก้ไขให้ข้ามพ้นสิ่งนั้นๆไปได้ แม้คนเราโดยทั่วไปก่อนที่จะสิ้นลม ย่อมระลึกถึงสิ่งที่ตนเคยกระทำมาและมักจะผูกใจในสิ่งนั้น ถ้าดวงจิตเศร้าหมองย่อมมีทุุคติเป็นที่ไป แต่ถ้าดวงจิตผ่องใสอิ่มเอิบย่อมมีสุขคติเป็นที่หวัง
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 25 พฤษภาคม 2558 19:00:16
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/388/18388/blog_entry1/blog/2009-01-16/comment/383185_images/8_1232076427.jpg)

(http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121843/innovation/images/41656.gif)

ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์...


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 27 พฤษภาคม 2558 19:47:48
ว่าด้วยเรื่องการบริโภค
ทุกวันนี้เราบริโภคอาหารที่มีสารพิษเข้าไปทุกวันยังบอกว่าอร่อยโดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังตายผ่อนส่งก่อนวัยอันควร เพราะเห็นว่ารสชาติมันดี และรูปร่างน่ารับประทานจึงไม่ได้นึกถึงผลที่จะได้รับจากการบริโภคนั้น ถ้าจะเปรียบไปในทางธรรม ก็เหมือนกับคนส่วนมากชอบบริโภคข่าวสารเสพเอาสิ่งที่เป็นค่านิยมทางสังคมโดยไม่ได้คิดว่าจะเป็นคุณหรือโทษในภายหลังหรือไม่ เช่นค่านิยมในสังคมที่มีหน้ามีตา หรือความเป็นอยู่ที่สดวกสบาย ตลอดทั้งลาภ ยศ คำสรรเสริญ คนเราเมื่อถูกความต้องการสิ่งเหล่านี้มากๆมักจะหาวิธีเพื่อให้ได้มาเพื่อความประสงค์ โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นกิเลสที่คอยครอบงำจิตใจเราไปที่น้อยจนเกิดความหลุ้มหลงและเหมือนตกอยู่ในเงามืดหรือดื่มยาพิษเข้าไปฉะนั้น
 (:RK:) (:NOY:) (:NG:) (:SHOCK:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 พฤษภาคม 2558 20:40:54
“สิ่งทั้งปวงในโลกนี้มิใช่ว่าจะอำนวยแต่ความทุกข์เท่านั้น บางทีก็อำนวยความสุขให้เหมือนกัน ดังนั้นคนจึงติดมัน แต่บรรดานักปราชญ์ผู้มีปัญญาทั้งหลายท่านพิจารณาเห็นว่า มันเป็นความสุขชั่วคราวไม่ยั่งยืน ถ้าพิจารณาโดยสรุปแล้ว ก็เป็นทุกข์นั้นแหละ มากกว่าความสุข อันความสุขที่ว่านี้ มันเป็นเพียงเหยื่อล่อให้ติดอยู่ในทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสุขยั่งยืนแต่อย่างใด เพราะคนเราเกิดมาแล้วที่สุดก็ต้องตาย ร่างกายนี้เมื่อจิตละไปแล้ว ก็ต้องแตกสลายออกจากกัน ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย”
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 มิถุนายน 2558 20:25:02
พระภาวนาวิสุทธิคุณ
 
    …หลักพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ บอกไว้ว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ เจตนาเป็นตัวกรรม ถ้าไม่มีเจตนาเป็นกิริยา
    ยกตัวอย่างโยมมารักษาศีลกัน จะรู้อย่างไรว่าศีลขาด ตอบได้อย่างเดียว คือ เจตนา ถ้าไม่เจตนา ศีลไม่ขาดหรอก ยกตัวอย่าง โยมเดินออกไป มีผ้าคลุมแมวอยู่ ก็ไม่ทราบ นึกว่าผ้าเช็ดเท้า ก็ไปเหยียบผ้าเข้า ถูกลูกแมว พอเปิดผ้าออกมา ตาย เหยียบเสียเละแล้ว ศีลขาดไหม ไม่ขาด แต่ใจเศร้าหมอง พิโธ่เอ๋ย ไม่น่าจะมาขวางพระบาทาเลย ตายแล้ว ศีลไม่ขาด แต่ด่างพร้อย ใจเศร้าหมอง เป็นกิริยา
    แต่หากเราสร้างความดี ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้โดยมารยาทหลักพระอภิธรรมอธิบายไว้ไม่ละเอียด ต้องอาศัยประสบการณ์
    โดยกิริยาต้องใช้ หมายความว่าอย่างไร ยกตัวอย่างอาตมาไปร้านโยมขายแก้ว อาตมาก็ไปเลือกแก้ว โดยไม่เจตนา แก้วลื่นหลุดมือแตกเพล้ง! แตกแล้ว อาตมาต้องถามโยมแม่ค้าว่า
“แก้วใบละเท่าไรจ๊ะ”
“ใบละ ๒ บาทเจ้าค่ะ”
“เอาไปเลย ๒ บาท” “อ๋อ ไม่เป็นไร ท่านมีบุญคุณกับดิฉัน หลวงพ่อเจ้าคะ แค่ ๒ บาทเท่านั้น” เรียกว่าอโหสิกรรม ไม่ต้องใช้ เข้าใจไหมนี่
    แต่ถ้าโยมกับอาตมาไม่รู้จักกันเลย ไม่เคยสร้างความดีต่อกัน ก็ต้องใช้ตามระเบียบ ๒ บาท นี่เป็นกิริยาต้องใช้นะ
บางทีพระอาจารย์อธิบายไม่ถูก โอ๊ยไม่ต้องใช้ ยกตัวอย่าง อาตมาสร้างความดีกระทุ้งพื้นหอประชุม ตอนนั้นยังไม่มีหลังคา ไม่มีฝา มองดูแล้วไม่มีอะไรขวางทาง ก็เหวี่ยงขอนไม้ออกไป เพื่อกองรวมกันไว้
    พอดีมีสุนัขบ้านวิ่งมาจากไหนไม่ทราบ ขอนไม้ชนจมูกอย่างแรง เลือดพุ่งฉูดเลย อย่างนี้เป็นกิริยา เพราะไม่ได้เจตนา สุนัขตัวนี้วิ่งมาโดยบังเอิญ เราไม่ได้เลี้ยงมันนะ ถ้าเลี้ยงมันอาจจะอโหสิกรรมให้เราก็ได้
    อาตมาเลยไปเอารางจืดอยู่ที่หลังกุฏิอาตมา มาโขลกกับน้ำซาวข้าว กรอกเข้าไปในปากสุนัข ปรากฏว่าสุนัขฟื้น ลุกวิ่งได้เลย
    อยู่ต่อมาได้เดือนเดียว อาตมาไปพูดที่ศาลาประชาคม ลพบุรี ตอนเพลไปฉันที่บ้านนายอำเภอ พอฉันเสร็จแล้วก็ไปดูวัดสร้างใหม่ ที่เมืองใหม่
    มีเต๊นท์อยู่ คนฟังประมาณ ๑๐๐ คน อาตมาก็ไปนั่งที่กุฏิสมภาร มีสมภารนั่งอยู่ก่อนแล้ว พอดีมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น สมภารก็ลุกขึ้นไปรับโทรศัพท์ในกุฏิ
    พออาตมาไปถึง สมภารลุกไปเท่านั้นแหละ ลมเกย์มาเลย แปลเป็นภาษาไทยว่า ลมแดง ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ลมบ้าหมู หมุนจนเต็นท์พังหมด คนทั้ง ๑๐๐ คนไม่เป็นอะไร แต่ลมพัดไม้แป ซึ่งแหลมพอดีเลย มาทิ่มที่จมูกอาตมาคนเดียว
ถ้าสมภารนั่งอยู่ด้วยกัน ต้องตายก่อน เพราะนั่งอยู่ข้างหน้า พอโดนจมูกอาตมาเลือดพุ่งแล้ว ลมบ้าหมูหายไปเลย ไม่มีอีกเลย เห็นไหมนี่ กฎแห่งกรรม โดยกิริยาต้องใช้อย่างนี้
    ถ้าหากว่าเราไม่สร้างความดีเลยนะ ยังไม่รับใช้ ไปใช้ชาติหน้าเลย ขอฝากไว้ด้วย ความดีจะมีอุปสรรค ถ้าเราสร้างความดี ต้องมีคนด่า คนว่า ต้องทนต่อไป
    พระเอกในเรื่องหนังละครต้องลำบากอย่างนี้แหละ ถ้าใครชอบสบายไม่ใช่พระเอกนางเอก ใช้ไม่ได้ เป็นตัวเบ็ดเตล็ด เป็นตัวหางเครื่อง อันนี้เข้าใจนะ
    อาตมาก็เลือดไหลไปเลย พวกโยมรีบลุกขึ้นมาพยุง อาตมาบอกว่า “ไม่ต้อง เรื่องเล็ก” เลยเล่าให้สมภารฟัง คนที่นั่นฟังไปด้วย บรรยายธรรมะเรื่องกฎแห่งกรรมให้ฟัง
    ที่ศาลาประชาคม เขาให้พูดเรื่อง ความสามัคคี เลือดยังอยู่เต็มที่จมูกอาตมา หมอเข้ามาจะเช็ดให้ อาตมาบอกไม่ต้อง เดี๋ยวจะเอาไว้เป็นพยาน แว่นกระเด็นไป แต่ไม่มีกฎแห่งกรรมเรื่องแว่น แว่นเลยไม่แตก เพราะเราเหวี่ยงขอนไม้ไป สุนัขไม่มีแว่น ถ้าสุนัขมีแว่น แว่นเราก็ต้องแตก เห็นชัดไหมนี่
    อาตมาไปพูด นายกเทศมนตรีถามว่า หลวงพ่อที่จมูกมีเลือด เป็นอะไรน่ะ อาตมาบอก เฉยๆ เดี๋ยวรู้ เลยพูด ๑ ชั่วโมง จบรายการว่าเป็นกฎแห่งกรรมของเรา
    อยู่มาไม่ช้า เป็นกิริยาอีก เมื่อปีนี้เอง ปี ๒๕๓๒ อาตมาพูดจากหอประชุมเสร็จ แล้วก็ไปกุฏิชั้นบน ตี ๒ แล้ว ไม่มีใครเดินแล้ว อาตมาเทน้ำร้อนจากกระติกเทใส่ขัน สาดลงทางหน้าต่าง
    แมววิ่งมาพอดีเลย โดนแมวร้องแป๊ว ตายหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
อยู่ต่อมาไม่พอเดือนนะ กระติกที่มีเกลียว มันระเบิด น้ำลวกตรงหน้าขาอาตมาเลย กำลังห่มผ้าอยู่ ไม่รู้จักร้อน พอเลิกผ้าออกมาหน่อยเท่านั้น หนังลอกออกลึกพอสมควร แต่หายแล้ว ไม่ต้องดูนะ อยู่ในผ้า ถ้าไม่เชื่อจะเปิดให้ดู ลึกเลย จริงๆ นะ
    นี่แหละ เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ เจตนาเป็นตัวกรรม ไม่ได้เจตนาเป็นตัวกิริยา แต่สร้างความดี ต้องใช้ไปเลย ชาติหน้าไม่ต้องไปใช้หนี้
    ถ้าคนสร้างความดีมาก ต้องรีบใช้ในชาตินี้ แต่คนสร้างความดี แต่ยังไม่ละความชั่ว ยังใช้หนี้ชาตินี้ไม่ได้ รวมทั้งดอกทั้งต้นไปใช้ในนรกโน่น
    ใช้ชาตินี้ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องมีกรรม จะไม่ดีกว่าหรือ ขอฝากไว้ด้วย …….


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 05 มิถุนายน 2558 22:16:59
ชีวิตที่แก่และสุขงอม ไม่ใช่ชีวิตที่หอมหวานเหมือนผลไม้ที่พร้อมรับประทาน แต่เป็นชีวิตที่แก่ พร้อมจะสิ้นลมต่างหากเล่า เพราะสังขารทนอยู่ไม่ไหว ธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ บวกกับวิญญาณต่างก็เกิดมีขึ้นและรวมตัวกันโดยธรรมชาติของมันเมื่อมีเหตุและปัจจัย และก็แตกแยกกันไปได้เช่นเดียวกันตามกาลเวลา ดุจดังใบไม้ที่เกิดมีขึ้นมา และอาศัยพึ่งพิงต้นไม้เป็นที่ประชุมกันเพื่อช่วบให้ต้นไม้นั้นเติบโต และไม่นานก็ต้องหลุดออกไปจากต้นและต้นไม้ก็อยู่ไม่ได้เช่นเดียวกันเมื่อไม่มีใบไม้  ไม่ว่าชีวิตคน สัตว์ หรือสิ่งของ ย่อมต้องมีวันสิ้นอายุขัยและแตกสะลายไปในที่สุด ตลอดทั้งของรักของชอบใจ เมื่อเราคิดว่าสิ่งนี้เป็นของๆเรามากเท่าไหร่ ใจก็ยิ่งยึดติด ยึดมั่นถือมั่น ความทุกข์ก็ยิ่งเกิดมีขึ้นตามความยึดมั่นถือมั่น นั้นๆ เมื่อไดใจเราปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติที่เกิดและดับเสียได้ ใจเราก็จะทุกข์น้อยลง จนถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ตามพระธรรมคำสอน
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 มิถุนายน 2558 20:03:38
แปลสะภาวะทุกข์ให้เป็นสุขได้อย่างไร ไม่มีใครหลอกที่จะไม่เคยพบกับความทุกข์มาก่อนในชีวิต แต่เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาในใจ ถ้าเราไม่รู้จักหาวิธีแก้ไขและแปลสะภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นมาให้มันแปลี่ยนเป็นสุข ใจเรามันก็จะยืดติดอยู่กับทุกข์ นานๆๆไปก็เริ่มจะไม่ค่อยดี เพราะพลังสะภาวะของจิตมันก็จะลดลงไป ภูมิคุ้มกันของจิตที่เคยมีและแข็งแรงปัญญาที่เคยมี ก็จะมีกำลังอ่อนลงไปตามลำดับ ดังนั้นถ้าเรามีทุกข์ให้รีบแก้ไขเสียอย่าไปให้ทุกข์มันเกาะกินใจนานเกินไปนะ เมื่อทุกข์มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ให้เรามีสติ ยิ้มรับมันขอบคุณทุกข์ที่มาให้เราได้เรียนรู้ มาเพิ่มพลังมาเป็นวัคซีนตัวใหม่ให้เราได้ทดลอง เมื่อเรารับทุกข์นี้ได้อยู่กับมันได้จนไม่รับรู้ว่าทุกข์มันหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ เหลือแต่ความรู้สึกเฉยๆนั้นแสดงว่า กำลังของจิตเราเริ่มดีขึ้นมา ถ้าเราดูและพัฒนา ดูความทุกข์ให้เป็นสะภาวะธรรมจนเข้าใจ เมื่อนั้นทุกข์ก็จะกลายมาเป็นพลังให้เรา และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสุข เพราะความเข้าใจในสภาวะธรรมนั้นๆไม่ว่าจะทุกข์หรือสุขขอให้เราเรียนรู้มันให้ทันและเข้าใจ จิตของเราก็จะมีพลังมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น
 (:NOY:) (:5:) (:SY:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 26 มิถุนายน 2558 16:14:10
คนดี หรือผู้ฉลาด ไม่พึงประมาทในเรื่องอายุ..(หลวงพ่อจรัญฯ)
ในสมัยปัจจุบัน ชีวิตของมนุษย์นี้น้อยนัก
เพียงร้อยปีเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเกินร้อยปีไปบ้างก็ไม่มาก
และจะต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเตือนไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก
พวกเขาจะต้องเดินทางไปสู่สัมปรายภพ
เพราะฉะนั้นจึงควรทำกุศลและควรประพฤติพรหมจรรย์
(คือดำรงตนอยู่ในระบอบการครองชีวิตอันประเสริฐที่ทุกข์เข้าถึงได้ยาก
ดำเนินชีวิตตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา)
ผู้ที่เกิดแล้วจะไม่ตายเป็นไม่มี อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก
คนดี หรือผู้ฉลาด ไม่พึงประมาทในเรื่องอายุนั้น
พึงรีบทำความดี (รีบดับทุกข์)
เหมือนคนที่ไฟติดอยู่บนศีรษะควรรีบดับเสียโดยพลัน
เรื่องความตายจะไม่มาถึงนั้นเป็นไม่มี

พระพุทธองค์ตรัสไว้อีกว่า สำหรับภิกษุผู้เจริญมรณัสสติว่า
น่าปลื้มใจหนอ ที่เราอยู่มาได้วันหนึ่งคืนหนึ่ง อยู่มาได้วันหนึ่ง
อยู่มาได้ชั่วระยะเวลาที่ฉันบิณฑบาตครั้งหนึ่ง เคี้ยวคำข้าว ๔-๕ คำ
ภิกษุผู้เจริญมรณัสสติอย่างนี้ชื่อว่ายังประมาทอยู่
ยังเฉื่อยชาอยู่ในเรื่องระลึกถึงความตาย
ส่วนภิกษุใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า น่าปลื้มใจหนอ
ที่เราอยู่มาได้ชั่วระยะเวลาเคี้ยวคำข้าวคำเดียวแล้วกลืนลงไป
หรือเราอยู่มาได้ชั่วระยะเวลาหายใจเข้าแล้วหายใจออกได้
หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้าได้
เราพึงใส่ใจคำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำกิจของบรรพชิตได้มากหนอ
อย่างนี้แหละ! ภิกษุทั้งหลาย เราจึงเรียกว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท
เจริญมรณัสสติอย่างเข้มแข็ง เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส
บางคราวพระพุทธองค์ทรงอุปมาชีวิตด้วยหยาดน้ำค้างบนใบหญ้า
ด้วยฟองน้ำหรือต่อมน้ำในความหมายว่า สิ้นไปเร็ว แตกดับเร็ว
ทรงอุปมาชีวิตเหมือนรอยไม้ขีดลงในน้ำ
ในความหมายว่า กลับเข้าหากันอย่างรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน
น้ำที่ไหลจากภูเขา ไหลอย่างเดียวไม่ไหลกลับ
ก้อนน้ำลายที่เขาอมไว้ที่ปลายลิ้นพร้อมที่จะถ่มทิ้งโดยพลัน
ชิ้นเนื้อที่เขาใส่ไว้ในกะทะเหล็ก
เหล็กถูกไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมย่อยยับไปโดยรวดเร็ว
โคที่เขานำไปสู่ที่ฆ่าย่อมใกล้ความตายเข้าไปทุกย่างก้าว
ฉันใด ชีวิตก็ฉันนั้น มีระยะสั้น มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
บุคคลผู้ฉลาดจึงควรพิจารณาชีวิตด้วยปัญญา
ควรทำกุศล ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อถือเอาประโยชน์จากความตาย
ซึ่งทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่ายข้ามไม่พ้นนี้
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ทุกคน ทุกวัย
พิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ
ความตายเป็นธรรมดา ไม่อาจล่วงพ้นไปได้
นอกจากนี้ ให้พิจารณาถึงความที่จะต้องพลัดพราก
จากของรักของชอบใจทั้งปวง
และพิจารณาถึงกรรมว่า เรามีกรรมเป็นของๆ ตน
ต้องรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด เป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว เพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ถึงอย่างไร ความตายก็ยังมีแง่ดีอยู่มิใช่น้อย
เช่นทำให้คนที่เคยโกรธเกลียดชังเราหายโกรธหรือเกลียด
ให้อภัยในความผิดพลาดต่างๆ ของเรา
ความตายไม่อาจพรากความรักของคนที่รักได้
ยังทำคนที่รักอยู่แล้ว รักมากขึ้น ความดีที่เคยทำไว้
และยังไม่ค่อยปรากฏเมื่อยังมีชีวิตอยู่ จะปรากฏมากขึ้น เด่นชัดขึ้น
คนที่เคยริษยาก็จะเลิกริษยา และหันกลับมายกย่องชมเชย
โอกาสของเราทุกคนมีอยู่น้อย
เวลาแห่งความตายรุกกระชั้นเข้ามาทุกนาที วินาที
จึงไม่ควรประมาท ควรรีบทำกิจที่ควรทำ
ลดละความเพลิดเพลินหลงใหลมัวเมาต่างๆ ให้เบาบางลง
อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ว่า “ร่าเริงอะไรกันนัก
เพลิดเพลินอะไรกันนัก เมื่อโลกนี้ลุกโพลงอยู่ด้วยเพลิง
คือความเจ็บ ความแก่ และความตาย
ท่านทั้งหลายอยู่ท่ามกลางความมืดมนคือความหลง
เหตุไฉนจึงไม่แสวงหาดวงประทีปคือปัญญาเล่า”

คัดลอกจาก... http://jarun.org (http://jarun.org)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 05 กรกฎาคม 2558 18:26:20
บางคนนอกใจแฟน นอกใจสามี นอกใจภรรยา หรือมีกิ๊ก นั้นแระสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  ส่วนบุคคลใด นอกใจพระพุธศาสนา หันหน้าไปนับถือคนทรงบ้าง นับถือผี  นับถือต้นกล้วย เพราะมีเลขเด็ดให้ได้เล่นให้ได้ซื้อนั้นถือว่าเป็นความเสื่อม  เสื่อมเพราะเราไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า  แต่ไปเชื่อสังคมนิยม เขานิยมว่าดีก็ดีตามเขานิยมตามเขาโดยไมได้ใช้สติ ปัญญาตริตรองว่ามันถูกต้องหรือเปล่าอันนี้เป็นความเสื่อมของสังคมนิยมของใจเราด้วย
  (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 กรกฎาคม 2558 19:00:32
จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
ขโมยไก่วัด

ผู้ถาม : หลวงพ่อขอรับ เมื่ออายุประมาณ ๓๒ ปี เพื่อนๆก็ขโมยไก่วัดมาตัวหนึ่ง แต่แล้วทุกคนที่ไปร่วมกันขโมยมาไม่กล้าฆ่า ผมแสดงความสามารถ จัดการให้เพื่อนจับขาคนละขาจับปีกแล้วผมก็เจี๋ยน...เมื่อจัดการไปแล้วรู้สึกสบายใจ ต่อมาฟังหลวงพ่อพูดเกี่ยวกับเรื่องกรรม เรื่องเวร เรื่องนรก ชักจะไม่สบายใจเสียแล้ว ผมได้ทำบุญทำกุศลอุทิศไปให้หลายครั้ง จะได้รับหรือไม่ ก็ไม่ทราบ ผมอยากจะถามหลวงพ่อว่า จะมี วิธีทำอย่างไร...จะได้ไม่เจอเขาอีกในชาติต่อๆไปขอรับ?
หลวงพ่อ : เอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะ เป็นวิธีที่ง่ายและเบา เวลาบูชาพระทุกครั้ง ทำบุญทุกครั้ง อุทิศส่วนกุศลให้ บอกเขาให้อโหสิกรรมนะ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้านิพพานอย่างนี้มันเบาใจ ไม่ช้าก็สลายตัว


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 กรกฎาคม 2558 19:03:52
วิธีช่วยคนป่วยใกล้ตาย

การช่วยคนป่วยหนักจริงๆ อย่าปล่อยให้หนัก จนกระทั่งไม่มีความรู้สึก ตอนที่สติยังดีอยู่ ให้นิมนต์พระไปสวดสักครั้งหนึ่ง ไม่ใช่สวดพระอภิธรรม แต่เป็นการสวดพระปริตร วงสายสิญจน์ล้อมรอบ

ถ้าผู้ป่วยจะต้องตาย เพราะสิ้นอายุขัยก็ต้องตายแน่ สายสิญจน์ป้องกันไม่ได้ แต่ว่าถ้าท่านผู้นั้นจะตาย ..อย่าลืมว่าคนป่วย ก็เหมือนคนที่ตกน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น เราส่งอะไรให้เกาะ เขาก็จะเกาะ
ส่งไม้ให้เกาะเธอก็เกาะ ส่งสุนัขเน่าให้เกาะเธอก็เกาะ
เพราะต้องการมีชีวิตอยู่

ก็เช่นกัน ถ้าคนป่วยเห็นพระสวดพระปริตร ก่อนสวดมีการสมาทานศีลจิตของคนป่วยในตอนนั้น ก็จะรับสมาทานศีลด้วยสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ ทำให้เป็นคนที่มีศีล

เวลาที่มีการสวดพระปริตร จิตก็จะฟังพระสวดด้วยความเคารพ
จิตจะยึดอยู่กับพระ หลังจากพระกลับแล้ว จิตจะจับอารมณ์นั้นตลอด ในขณะป่วยไม่มีโอกาสทำลายศีล
เพราะกำลังป่วย ไม่สามารถจะไปฆ่าใคร หรือไปลักขโมยใคร
ถือว่าเป็นคนป่วยที่มีศีลบริสุทธิ์

ถ้ามีการถวายทานด้วย ไม่ว่าทานนั้นจะเป็นธูปเทียน ดอกไม้
ปัจจัยหรือโภชนาหารก็ตาม ถือว่าเป็นการถวายทานแก่พระสงฆ์
กำลังของทานจะช่วยคนป่วยได้อีกแรงหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง ด้านอนุสสติ ถ้ามีพระพุทธรูปด้วย ..จิตของเธอจะจับพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ ..จำเสียงสวดมนต์เป็นธรรมานุสสติ ..การนึกถึงพระสงฆ์ที่สวดก็เป็นสังฆานุสสติ

ถ้าเป็นอายุขัยที่จะพึงตาย
บาปกรรมใดๆ ที่ทำมาแล้วในกาลก่อน
จะไม่มีโอกาสให้ผลในเวลานั้น เหลือแต่บุญอย่างเดียว
ที่จะประคับประคองคนนั้นให้ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก หรือไปนิพพาน

จาก... หนังสือปกิณกะธรรม
โดย... พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 กรกฎาคม 2558 18:53:34
คำสอน   หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
จากหนังสือ ธรรมะโอวาท
                หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ท่านเป็นพระเถระที่มีพุทธศาสนิกชนเคารพเลื่อมใสศรัทธามากที่สุดอีกองค์หนึ่ง มโนสำนึกที่ท่านแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความเมตตาของท่านอย่างแท้จริงที่ท่านพยายามจะช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความทุกข์ ผู้คนเป็นจำนวนมากมายที่ได้รับความเมตตาจากท่าน นับถือท่านประดุจดังเทพเจ้า และทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กระทำลงไป ท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทำให้คนที่เป็นทุกข์อยู่ได้มีความสุขใจได้ ระดับหนึ่ง จนท่านได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปว่า เป็นนักบุญแห่งที่ราบสูง
    หลวงพ่อมีคำสอนที่ลึกซึ้ง กินใจ แม้ว่าบางครั้งคำพูดของท่านอาจจะฟังไม่ระรื่นหูนักสำหรับบางคน แต่ความหมายแห่งคำสอนของท่าน สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับฟังและนำมาคิด ได้รับประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
หลักการทำบุญ
            เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม โดยส่วนหนึ่งได้แก่การบริจาคปัจจัย หรือมอบเงินให้กับการกุศลจำนวนมากมหาศาล ซึ่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สาธารณชนทั่วไป ดังเช่นคราวมอบเงินเพื่อสร้างโรงพยาบาล อำเภอสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมาจำนวนเงิน ๑๕ ล้านบาท หลวงพ่อให้จารึกที่ป้ายหน้าโรงพยาบาลว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สร้างอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอนุวงศ์ อดีตเจ้าเมืองเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)”
                จากคำจารึกดังกล่าว ทำให้ผู้คนสงสัยว่า เป็นเพราะเหตุใดหลวงพ่อคูณจึงได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งถือเป็นศัตรูกับชาวโคราช หลวงพ่อคูณจึงได้ไขข้อข้องใจว่า การทำบุญไม่แตกต่างจากการคิดทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่ต้องมีแนวทาง หรือขั้นตอนในการทำ นั่นคือการทำบุญแต่ละครั้ง แผ่ส่วนกุศลให้กับศัตรูหมู่มารด้วย เช่น เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ เพราะเป็นของคู่กับเราเหมือนดำคู่กับขาว มืดคู่กับสว่าง สุขคู่กับทุกข์ เป็นต้น หากไม่มีเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่มีโอกาสมีวีรสตรี หรือท้าวสุรนารีและลูกหลานก็ไม่มีโอกาสได้รู้จักบุคคลสำคัญคือ คุณย่าโม นางสาวบุญเหลือ ดังคำกล่าวที่ว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” ดังนั้นเจ้าอนุวงศ์จึงสมควรที่จะได้รับบุญกุศลด้วยจึงสมบูรณ์
หัวใจพระพุทธศาสนา
                หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง สรุปมาเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้ ๓ ประการ คือ ละความชั่ว ทำดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ มีสมาธิ หลวงพ่อคูณได้ให้คำสอนสำหรับพุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติสั้นๆเข้าใจง่ายๆว่า “ละทำชั่ว ทำดี มีศีลธรรมประจำใจ”
                หลวงพ่อกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมตามหลักเบญจศีล และเบญจธรรม ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า คนไทยจะต้องละความชั่ว ทำดี มีศีลธรรมประจำใจ
                ท่านบอกว่า...
                “อยากให้บ้านเราเจริญนะ ไม่ยากหรอก ตั้งอยู่ในองค์ปัญจะทั้ง ๕ คือรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ขาด อย่าให้ด่างพร้อย เป็นมนุษย์สุดประเสริฐ หรือใครก็ตาม แม้แต่พระเราก็ต้องรักษาศีล ๕ ถ้าไม่มีศีล ๕ ประจำใจ ไม่ว่าพระรูปใดรูปหนึ่ง ก็เป็นพระไม่ได้เหมือนกัน”
บุญบาปมีจริง
                หลวงพ่อคูณจะแนะนำคำสอนอยู่ตลอดเวลา และให้นำไปประพฤติปฏิบัติเอง จะได้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง อันนำมาซึ่งความเจริญทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ โดยให้ยึดมั่นและให้เชื่อว่า บาปมีจริง บุญมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ให้ปฏิบัติตามศีล ๕ อันเป็นรากเหง้าของศีล เท่านี้ก็นับว่าเป็นมนุษย์สุดประเสริฐแล้ว
                หลายครั้งที่ท่านพูดเรื่องบาปบุญ เช่นอวยพรปีใหม่ ตอนหนึ่งว่า...
                ...กูไม่มีอะไรมาก กูไม่มีอะไรจะสอนพวกมึงหรอก เพราะพวกมึงก็รู้ว่ากูพูดไม่เป็น พูดไม่เก่งเหมือนเขา เทศนาว่ากล่าวอะไรก็ไม่เป็น กูมีแต่ว่าให่ละชั่ว ทำดีกันเท่านั้นแหละ บุญบาปมีจริงลูกหลานเอ้ย ให่เชื่อว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ให่ละชั่ว ทำดี มีศีลธรรมประจำใจ บุญเห็นกับตา บาปเห็นกับตา รักตัวกลัวภัยอย่าทำชั่ว ให่ตั้งอยู่ในเมตตา”
                หลวงพ่อคูณกล่าวขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่าบุญมีอะไรก็ทำไป อย่าไปเลือกว่าบุญมากบุญน้อยทำไปก็มากเอง
                “คนนับถือศาสนาพุทธ ไม่ต้องเชื่ออะไร เชื่อบุญมีจริง บาปมีจริง ก็ใช่ได้ เท่านั้นพอ ไม่ต้องทำอะไร”
                เวลาทำบุญทำไมต้องไปถึงพระพุทธบาท
                “พ่อแม่อยู่บนบ้าน มึงไม่ทำบุญเลย มึงควรทำบุญทุกวันก็จะได้มาก มึงอย่ามัวรอทำบุญ ๑๐๐ วันมึงจะได้สักเท่าไร”
          หลวงพ่อคูณให้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำบุญว่า การทำบุญ อย่าไปกลัวบุญ อย่าไปอายบุญ ต้องแข่งเขาทำ เหมือนกับการสร้างพระประธานเอาไว้ในโบสถ์ สร้างได้แค่องค์เดียว ต้องแย่งกันจอง เหมือนกฐินที่จะนำไปทอดวัดที่มีชื่อเสียง ถ้าไม่จองกันไว้ก่อน มีเงินล้นฟ้าเท่าไรก็ทอดไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
                และท่านได้กล่าวว่า...
                “คนทำบุญนี้ ก็ต้องฝึกมาตั้งแต่เป็นเด็ก เมื่อเคยฝึกทำมาแล้ว ภายหลังมีเงินมีทอง จะบริจาคก็ไม่เสียดาย”
                หลวงพ่อคูณให้ความสำคัญ และพยายามเน้นให้สาธุชนเชื่อในเรื่องบุญ เรื่องบาป โดยให้เชื่อว่าบุญมีจริง บาปมีจริง เพราะถ้าเชื่อเช่นนี้แล้ว เราจะหันไปประกอบแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว ใครทำบุญจะได้ไปสวรรค์ ใครทำชั่วจะได้ไปนรก คือความทุกข์กายทุกข์ใจ ดังคำกล่าวที่ว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ”
กิเลส
                ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถือว่าเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งหลายทั้งปวง ในทางพระพุทธศาสนาสอนให้นำอำนาจของพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้ามาทำลายล้างกองกิเลสทั้ง ๓ นี้ โดยใช้วิธีปฏิบัติตามธรรมะ ๓ ประการ คือ ทาน ศีล ภาวนา ตามลำดับ
                หลวงพ่อคูณเป็นผู้ทำเป็นตัวอย่างในการที่จะตัดกิเลสทั้ง ๓ นี้ ท่านพยายามที่จะจัดการกับกิเลสพวกนี้ หลวงพ่อคูณแนะนำว่า “ตัวไหนมันมากระซิบหูเรา อย่าไปเชื่อมัน” เช่นตัวโลภะมา ก็เฮ้ยจะไปโลภทำไม
                สิ่งที่ท่านกลัวที่สุดคือกลัวโลภะ โทสะ โมหะ จะเกิดขึ้น กลัวมันจะครอบงำจิตสันดาน ถ้ามันมาครอบงำแล้ว ไม่ว่าใครก็จะเสียคน เป็นบ้าไปเลยทีเดียว ตื่นไม่รู้ตัว เมาตลอดกาลถ้าหลงพวกนี้
                แม้แต่หลวงพ่อคูณก็ยังอยากได้เงิน เพื่อเอาไปพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ไปขุดบ่อขุดบึง ทำสาธารณประโยชน์ส่วนรวมแก่คนทั้งหลาย แต่การบริจาคของหลวงพ่อคูณแต่ละครั้งไม่เคยติดตาม ไม่เคยทวงถามว่านำเงินไปใช้ตามประสงค์หรือไม่ ให้ไปแล้วจะทำอะไรก็ช่างเขา ถ้าไปตามดู เห็นเขาทำไม่ดีไม่งาม ก็จะบันดาลโทสะ นั่นแหละคือตัวกิเลส แม้แต่จะมีคนนำปัญหาต่างๆมาเรียนให้ทราบไปเรื่อยๆ เมื่อบริจาคให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว จะนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะพิจารณากันเอง สิ่งเหล่านี้แสดงออกถึงความเป็นผู้ละวาง “ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมด มันยิ่งได้”
ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย
                การตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือ ไม่ประมาททั้งทางโลกและทางธรรม เป็นธรรมะที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลักธรรมข้ออื่นๆ ถ้าหากมนุษย์เราปฏิบัติธรรมะข้อนี้ได้เหมือนกับได้ปฏิบัติตามหลักธรรมข้ออื่นๆ ของพระพุทธองค์ได้ครบทั้งหมด
                แต่ถ้าบุคคลใดประมาท หลวงพ่อคูณท่านกล่าวว่า ก็เหมือนคนที่ตายแล้ว คือคนหมดชีวิตแล้ว ถ้าประมาทเมื่อใดก็ตายเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นทำอะไรทุกอย่าง ทำให้ดี อย่าได้ประมาท อย่าผัดผ่อน ถ้าประมาทแล้วนึกได้ทีหลังจะเสียใจ
                ท่านให้ข้อคิดกับคนทีเอารถมาเจิมว่า...
                “การขับรถอย่างระมัดระวังไม่ประมาท สำคัญกว่าการเจิม อย่างโบราณท่านว่า วิ่งไม่ดูตาม้าตาเรือก็ชนกันตาย การขับรถจะต้องดูทาง ถ้ามันคดโค้งจะต้องระมัดระวัง”
 
อย่าดีแต่พูด
          พุทธศาสนิกชนที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อคูณนั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ท่านสามารถเทศนาสั่งสอนประชาชนด้วยลีลาโวหารอย่างพระนักเทศน์ทั่วไป แต่เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของหลวงพ่อคูณ ซึ่งประจักษ์แก่สายตาพุทธศาสนิกชนอย่างชัดเจน นอกจากคำสอนที่เป็นคำพูดตรงๆแทรกธรรมง่ายๆที่ประชาชนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจโดยง่าย แม้ท่านจะเป็นพระอาจารย์ชื่อดังของประเทศ แต่ละวันมีเงินบริจาคหลั่งไหลเข้าวัดจำนวนมาก แต่วิถีชีวิตของท่านก็ยังคงดำเนินไปแบบสมถะและเรียบง่าย เงินที่เข้าวัดในแต่ละวันหลวงพ่อคูณไม่ได้สะสม แต่จะบริจาคสร้างสาธารณประโยชน์
                หลวงพ่อคูณจึงเป็นตัวอย่างในการเป็นผู้ที่มีความสมถะ และเรียบง่าย รู้จักบริจาคทาน ดังที่ได้กล่าวให้พุทธศาสนิกชนได้คิดในโอกาสต่างๆว่า...
                “มันต้องสอนตัวเองก่อน จะแนะนำอะไรเขาตัวเองทำให้เขาดูตัวอย่างก่อน เช่น สอนให้เขาบริจาคทาน ตัวเองต้องบริจาคเสียก่อนด้วยจึงจะถูก ใครมันจะไปเชื่อ เชื่อไม่ได้ ต้องทำให้เขาดูก่อน สอนตัวเองก่อน ถึงค่อยไปสอนคนอื่น จะทำอะไรทุกอย่างมันต้องทำให้เขาดูก่อน เขาจึงจะเชื่อ ...
                อย่างพระสงฆ์ อย่าดีแต่ไปสอนคนอื่น สอนตัวเองบ้างเถอะน่า สอนคนอื่นอย่างน้ำไหลไฟดับ แต่ตัวเองไม่สอน บอกให้เขาบริจาคเท่านั้นเท่านี้ แต่ตัวเองไม่ทำให้เขาดูก่อน หรือจะเป็นครูอะไรก็ตาม มันต้องสอนตัวเองให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยสอนคนอื่น เป็นครูนาฏศิลป์ก็ต้องรำเป็น เป็นครูพละก็ต้องเล่นกีฬาเป็น หรือเป็นครูอะไรๆก็ต้องทำเป็นก่อนทั้งนั้น
                พระพุทธองค์ก็เหมือนกัน สอนตัวเองได้แล้ว ท่านอาชนะตัวเองได้แล้ว จึงได้เสด็จออกไปเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์และเวไนยสัตว์”
ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
                หลวงพ่อคูณ ท่านได้กล่าวเตือนสติบุคคลหลายๆสาขาอาชีพอย่างเช่น ข้าราชการ นักการเมือง เอาไว้ว่า...
                กูเป็นพระไทย พ่อแม่ของกูก็เป็นคนไทย กูก็เป็นเจ้าของแผ่นดินไทยคนหนึ่งเหมือนกัน กูก็รักแผ่นดินไทยไม่น้อยกว่าคนอื่น อะไรไม่ดีกูก็ติ อะไรไม่ถูกกูก็ว่า กูจะไม่เฉยๆเหมือนหลายๆคนเฉยเพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัว เรื่องการเมือง เรื่องยาบ้า เรื่องคนโกงกิน ไม่ได้เกี่ยวกับพระอย่างกูเลยแม้แต่น้อย
                กูต้องพูดออกมา ออกมาเทศน์เตือนสติกันอยู่บ่อยๆเพราะว่าหลายคนนั้นฟังชนิดที่เรียกว่า เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วเลยไปเข้าหูไอ้ตูบ มิฉะนั้นนักการเมืองโกงชาติจะเพิ่มขึ้น คนผลิต คนค้า และคนเสพยาบ้ากันมากขึ้น เมื่อมีคนชั่วอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง พระอย่างกูอาจจะไม่มีคนใส่บาตรข้าวให้กิน กูอาจจะไม่มีที่ซุกหัวนอน ที่ร้ายไปกว่านั้นอาจไม่มีวัดให้อยู่ก็อาจเป็นได้
                พระไม่ใช่ว่าจะดีไปทุกองค์ นักการเมืองก็ใช่ว่าจะดีไปทุกคน รวมไปถึงข้าราชการใช่ว่าจะมีแต่คนดี ทุกๆสังคม ทุกๆวงการ ย่อมมีทั้งคนดี คนชั่ว คนเลว อยู่รวมกัน แต่ทุกวันนี้ดูๆแล้วคนชั่วจะมีมากกว่าคนดี พระอย่างกูอาจจะไม่ดีกว่าพระองค์อื่นๆนัก เพียงแต่กูไม่เก็บสะสมทรัพย์สิน เงินทองที่ญาติโยมถวายมา กุก็ไปทำบุญสร้างสาธารณประโยชน์อีกทอดหนึ่ง
                เดี๋ยวนี้แผ่นดินไทย เมืองไทย มีการปกครองไม่เหมือนในอดีต นักการเมืองกลายเป็นเจ้าประเทศ นักการเมืองเป็นนักปกครองประชาชนไปเสียแล้ว นักการเมืองจะพูดอะไร ข้าราชการทุกระดับต้องเชื่อฟังไปหมด  ถ้านักการเมืองไปเยี่ยมหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ข้าราชการหน่วยงานนั้น ต้องวิ่งหัวซุกหัวซุนไปต้อนรับขับสู้เอาใจมัน ราวกับว่านักการเมืองคนนั้นเป็นโคตรพ่อโคตรแม่ของข้าราชการ ทั้งๆที่ก่อนการเลือกตั้ง นักการเมืองมันมากราบไหวเรารางกับพ่อแม่ของมัน แต่พอมันได้รับเลือกตั้ง มันกลับทำตัวเป็นพ่อแม่ของเรา
                นักการเมืองมีหน้าที่รับใช้ประชาชน ไม่แตกต่างกับพวกข้าราชการ แต่นักการเมืองเขากลับทำตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เขาปกครองข้าราชการทุกระดับ ถ้าใครไม่ทำงานสนองนโยบาย หรือไปขวางทางกินมัน มันก็เด้ง มันก็ย้ายให้ไปอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ชนิดไม่ให้เห็นดาวเดือนกันเลยทีเดียว
                “ลูกหลานเอ๋ย... การทำหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม จงทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด อย่าได้ทุจริตต่อหน้าที่เลย”
 
 
อย่าประมาท ไม่ดี
นิรนาม : ประพันธ์
·       กูก็อยู่ ของกู อยู่ดีดี
คนนั้นที คนนี้ที รี่มาหา
มากันจน ล้นวัด เปี่ยมศรัทธา
ราวกับว่า ทั้งจังหวัด มีวัดเดียว
·       มาให้กู โขกเขก มะเหงกงุ้ม
กูสุดกลุ้ม เปลี่ยนเป็นไม้ ให้หวาดเสียว
มันกลับดัง ขลังกว่า แห่มาเกรียว
กระทั่งเยี่ยว ยังแย่งจอง เป็นของ
·       จะพร่ำบอก อย่างไร ไม่รับรู้
ว่าตัวกู มิได้เลิศ ประเสริฐศรี
มันกลับมองตัวกูเป็นปูชนีย์
ใช้เป็นที่ ดับร้อน ผ่อนลำเค็ญ
·       ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหว เป็นใบ้หวย
สิบคนรวย ล้านคนจน ไร้คนเห็น
ไอ้สิบคน ก่นเล่า เช้ายันเย็น
กูเลยเป็น เซียนใบ้หวย ด้วยอีกคน
·       ท่านั่งยอง ของกู ก็หรูเฟื่อง
เป็นพระเครื่อง คณารุ่น วุ่นสับสน
บ้านจัดสรร กอล์ฟคลับ ยังสัปดน
ย่องนิมนต์ กูโปรโมท โฆษณา
·       บ้างเอากู เลี่ยมทอง ผุดผ่องใส
หวังใจให้ คุ้มครอง ผองปัญหา
แล้วเกิดกู เคราะห์กรรม กระหน่ำพา
ใครจะมา ช่วยดึง มึงคิดดู
·       ขนาดเก๋ง เยอรมัน คันเป็นล้าน
ชนสะท้าน ท้ายยุบ ก้นบุบบู้
ตัวกูจริง เสียงจริง ยังกลิ้งกรู
นอนคุดคู้ รอมึงช่วย ด้วยเหมือนกัน

(:5:) (:5:) (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 สิงหาคม 2558 20:12:28
แก่นสารของฃีวิต
พระราชสุทธิญาณมงคล
๐๖ เมษายน ๒๕๔๐
 

เจริญสุขท่านพุทธศาสนิกชน อุบาสก อุบาสิกา ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ เป็นวันใคร่ธรรมสัมมาปฏิบัติ ที่พุทธบริษัททั้งหลายมาบำเพ็ญประโยชน์ บำเพ็ญกุศลให้ชีวิตมีแก่นสารและสารธรรม เป็นการฝึกกริยาในจิตใจของท่านให้อดทนพร่ำภาวนา จิตใจจะได้เข้ามุ่งมาดปรารถนาในสารธรรม ความดีเป็นแก่นสารของชีวิตนี้มาก ไม่มีอะไรดีกว่านี้แล้ว และวันนี้เป็นวันปฐมบรมกษัตริยวงศ์จักรี เป็นวันที่ระลึกพระคุณของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นวันมิ่งขวัญมงคลวันหนึ่งของประชาชนชาวไทย ที่มีพระราชามหากษัตริย์ขัตติยะรุ่งเรืองมาตามอันดับ ก็มีแก่นเนื้อหาสาระและสารธรรมเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ประจำชีวิตของท่านทั้งหลาย
   การประพฤติตนให้เป็นแก่นสารเรียกว่า สารธรรม การเจริญพระกรรมฐานการปฏิบัติธรรมเพราะต้องการประพฤติตนให้เป็นเนื้อหาสาระแก่ชีวิต พระกรรมฐานทำให้ชีวิตมีค่า ทำให้เวลามีประโยชน์แก่ท่าน สร้างกิจกรรมให้แก่ตนเอง เป็นเรื่องของการทำตนเองให้เป็นแก่นสาร ก็ความดีทั้งหมดนี้เป็นแก่นสารของชีวิต ความดีที่จะเป็นแก่นสารของชีวิตได้ท่านต้องเจริญพระกรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน ๔ สร้างความดีให้แก่ตน เพื่อดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด
   การบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะต้องการให้จิตใจเข้าถึงเนื้อหาสาระ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตใจมุ่งมาดปรารถนาในความดีเป็นแก่นของชีวิตนั่นเอง การมีปัญญารอบรู้แก้ไขปัญหาของชีวิตได้ก็ด้วยการเจริญพระกรรมฐาน การเจริญกรรมฐานจึงมีประโยชน์แก่ท่านเอง ท่านทั้งหลายที่เรามาปฏิบัติธรรมกันในวัดวาอาราม ไม่ใช่หมายความว่าเข้าวัดมาทำสังฆทานเท่านั้น ทานนี้ยังไม่เพียงพอ ยังไม่สามารถเป็นสารธรรม ยังไม่สามารถเป็นความดี ในการถวายสังฆทานให้เข้าถึงจิตใจแก่นสารเนื้อหาสาระได้ ท่านต้องเจริญกุศลภาวนา บำเพ็ญศีล บำเพ็ญจิตภาวนา เราเพียงมาทำบุญตักบาตรข้าขันแกงโถมาในวัดก็ยังไม่มีเนื้อหาสาระ การจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นการมีอัธยาศัยของบุคคล มีอัธยาศัย มีน้ำใจ ก็เรามีสติสัมปชัญญะควบคุมจิตได้ จิตทานถึงจะมีแก่นสาร ชีวิตท่านถึงจะมีเนื้อหาสาระได้ บางคนมีเงินมีทองมากมายก่ายกอง แต่ขาดสติ ใช้เงินไม่เป็น ใช้เงินฟุ่มเฟือย ออกไปชอปปิ้งที่โน่นชอปปิ้งที่นี่ ไม่มีแก่นสารเนื้อหาสาระแต่ประการใด ชีวิตจะอับเฉา ชีวิตจะเบาปัญญา ไม่ได้มีหน้ามีตา เหมือนคนอื่นเขาที่มาปฏิบัติกรรมฐาน
   เนื้อหาสาระนี้ไม่ใช่ไม้ฉำฉา ไม้ต้องมีแก่น คนต้องมีหลักฐาน คนต้องมีงานทำ เรียกว่าเนื้อหาสาระ เรียกว่าไม่มีแก่น พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า สารัญ จะ สาระโต กัลยัตปราวา อสารัญ จะ อะสาระโต เปสะรัง อภิขัตขันติ สัมมาสังกัปโป สัมมาสังกัปปะ โคจะรัญ นี่แหละท่านทั้งหลาย มีความหมายอันนี้ เราประชาชนทำตนให้เป็นแก่นสารเข้าถึงธรรม เข้าถึงเนื้อแท้ เข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญา ถึงกรรมฐานเป็นการชดเชยสังขารร่างกายว่าตามปกติไม่มีแก่นสารอะไรเลย เกิดมาแล้วก็แปรเปลี่ยนไปทุกอย่าง จนกระทั่งผลสุดท้ายทนอยู่ไม่ไหว ต้องแตกดับทำลายไป ร่างกายอยู่ในสภาพไร้วิญญาณ เลิกทำ เลิกพูด เลิกคิด เลิกทุกอย่าง ปล่อยวางภาระให้คนอื่นเขาจัดการแทนต่อไป
   นี่แหละความดี แก่นสารของชีวิตเป็นอย่างนี้ ท่านจะเอาอะไรที่แน่นอน ไม่มีอะไรที่แน่นอน ท่านสะสมบุญเถอะ เจริญกุศลภาวนา ท่านจะมีเนื้อหาสาระแก่นสารของชีวิตแน่นอน ชีวิตท่านจะเป็นปกติดีตลอดรายการเช่น เดินจงกรม ต้องเดินให้มีสติ ยืนให้มีสติ นั่งให้มีสติ ยืนหนอ ๕ ครั้ง ยืนมีสติแล้ว เดินมีสติอยู่ที่ปลายเท้า จะเหลียวซ้ายแลขวา จะคู้แขนเหยียดขา มีสติสัมปชัญญะ สาระอยู่ตรงนั้น ถ้าท่านขาดการกำหนดแล้ว ท่านจะไม่ปรารถนาธรรม จิตใจไม่เป็นกุศล จิตใจจะเป็นมลทิน จิตใจจะเป็นบาปอกุศล จิตใจไม่เป็นผลงานไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องดั่งทองคำธรรมชาติที่หล่อเหลา เนื้อหาสาระก็หายไป เลยก็กลายเป็นไม้ฉำฉา ไม่มีเนื้อแก่นแต่ประการใด มีแต่กระพี้ต้นไม้ล้มลุก เช่นต้นพริก ต้นมะเขือ เดี๋ยวก็ล้มตายไป แต่ต้นไม้มีแก่นต้องใช้เวลาปลูกนาน สร้างความดีก็ต้องใช้เวลานานเช่นเดียวกัน
   ต้นไม้ที่เราปลูกจะมีแก่นก็ต่อเมื่อ ต้นไม้ถึงคราวเวลาเมื่อได้ที่ของมันก็มีแก่น เหมือนอย่างคนเราสร้างความดีก็เป็นแก่นสารทั้งนั้น ชีวิตเป็นแก่นสารก็คือมีแก่น มีรากแก้ว มีความอดทน มีสัจจะ มีเมตตา มีสามัคคี มีวินัย การเจริญกรรมฐานท่านเข้าใจอะไรหรือ ต้องการจะเอาชีวิตเป็นแก่นสารไหม ชีวิตมีแก่นสาร สำคัญที่การเจริญกุศล บางคนขาดสติมาก แม้มีสตางค์เยอะ หากขาดสติสตางค์ก็ไร้ความหมาย ถ้ามีเงินมีทอง ต้องมีสติมีความคิดใช้เงินทองให้เป็นประโยชน์เป็นแก่นสารใช้แล้วให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและครอบครัว ใช้แล้วให้มีประโยชน์แก่ส่วนรวม ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม นี่แหละเรียกว่า สารธรรม
   การปฏิบัติกรรมฐาน ทำให้เราคิดได้ คิดถูก คิดดี คิดอย่างมีปัญญา จะทำอะไรก็มีหน้ามีตา มีหลักมีฐาน มีความเป็นอยู่ของชีวิตที่แน่นอน อาตมาก็ขอกล่าวเบื้องต้นว่า การเจริญกรรมฐานทำให้มีเนื้อหาสาระ ทำให้ไม้ฉำฉาหรือไม้ก้ามปูน่าดูในแก่น ถึงหากมันจะไม่แข็งแรง แต่เอามาเลื่อยเข้า เอามาต่อโต๊ะ ต่อเก้าอี้มันก็เป็นแก่นดำ ๆ สวยเหมือนกัน ต้นไม้ไร้แก่น เหมือนต้นไม้ไร้ใบ มันก็เหมือนคนไร้ความดี การเจริญกรรมฐานจึงเป็นบ่อกำเนิดของคนดีมีปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหา บางคนไม่เอาเนื้อหาสาระแต่ประการใด มีแต่กระพี้ มีแต่มอดกิน ไม้เนื้ออ่อนมอดกิน มันอ่อนเกินไป มันไม่แก่ มันไม่แน่น ไม้อ่อนมากมันจะผุไว มอดมันจะกิน ไม้แก่แข็งแรงมีแก่น แก่นไม้ประดู่ไม้แดงมันใช้เวลานานมาก
   การเจริญกรรมฐานจึงต้องใช้เวลาสะสมไปเรื่อย ๆ สะสมเนื้อหาสาระบนความดีเป็นแก่นของชีวิตแล้ว ชีวิตท่านจะโปร่งใส ชีวิตท่านจะมีปัญญา ชีวิตท่านจะแก้ปัญหาสมปรารถนาได้ทุกคน นี่เราเรียกว่าแก่นสาร แก่นสารตัวนี้แปลว่า แก่นของชีวิต
   คนที่ไม่เจริญกรรมฐาน จิตใจจะไม่มั่นคงเลย ทำอะไรก็เหลาะแหละเหลวไหล อย่างนี้เรียกว่าแก่นสารของชีวิตหายไป มีแต่กระพี้ มีแต่เปลือก มีแต่เศษมนุษย์บุรุษโคมลอยไม่เอางานเอาการ คนที่ขาดเนื้อหาสาระและสารธรรมจะไม่เอางานเอาการแน่นอน ทำอะไรเหยาะ ๆ แหยะ ๆ ทำทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไม่เอางานเอาการ เห็นอะไรก็ไม่เอาธุระ ปัดผ่านไปเหมือนปัดสวะออกจากหน้าบ้านของตัวเองเท่านั้น เหมือนเขี่ยขยะไปไว้หน้าบ้านของคนอื่น ทำความเดือดร้อนให้บ้านอื่นเขาอีก ไม่เคยช่วยใคร คนเราอยู่ในโลกคนเดียวไม่ได้ แต่คิดจะพึ่งเขาโดยไม่พึ่งตัวเองก็ไม่ได้ คนต้องพึ่งตัวเองเท่านั้น อย่าไปหวังพึ่งคนอื่นเขา ท่านจะผิดหวังอย่างน่าเสียดาย หวังพึ่งลูกคนเล็กว่าจะได้ช่วย เขาก็ไม่เคยช่วย เราในฐานะเป็นพ่อเป็นแม่เขา เราก็จะผิดหวัง พึ่งตัวเองเถิดจะเฒ่าชะแรแก่ชราแค่ไหนก็เจริญกรรมฐานพึ่งตนเอง ทำความดีให้เป็นแก่นสารของชีวิตติดตัวท่านไป
   ทุคคติ ปาฏิกังขา สุคติ ปาฏิกังขา  ทำอะไรถูกแบบถูกบทมันจะได้หมดจดเหมาะเจาะ ท่านจะได้ไม่ต้องพึ่งใคร แก่แล้วก็พึ่งไม้สักเท้าประคองตัว หนักเข้าพึ่งไม้สักเท้าไม่ได้ก็ต้องทิ้งสักเท้าไป ก็ต้องนอนหงายผึ่ง เตรียมตัวตายไม่มีใครไปอีนังขังขอบท่านแน่นอน จงทำชีวิตให้มีค่าให้เวลามีประโยชน์ต่อชีวิตเรา จะเฒ่าชะแรแก่ชราอย่างไรก็ขอให้ชีวิตเป็นแก่นสาร ไปไหนมีคนนับหน้าถือตา จะแก่แค่ไหนจะแย่แค่ไหนอย่าลืมพระคุณของตัวเอง อย่าลืมพระคุณของบุคคลที่มีพระคุณอุ่นใจ
   อาตมาไม่เคยลืมพระคุณใครเลย ตั้งแต่เป็นเด็กเกิดมาเราจึงเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพร เราจะหาแต่เนื้อหาสาระและแก่นสารอย่างนี้ตลอดมา จะไม่ขออย่างอื่น คนไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์องค์เจ้า จะเป็นแม่ชี จะเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ตาม มันอยู่ตรงที่มีสารธรรมมีเนื้อหาไหม มีความดีเป็นแก่นสารในชีวิตไหม ชีวิตมีประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวและสังคมไหม เขาดูกันอย่างนั้น มีเมตตาสามัคคีไหม มีวินัย มีความดี มีสัจจะ มีเหตุผลดีหรือไม่ประการใด
   ดังนั้นขอให้ท่านฟังคำพังเพยเปรียบเปรยในกรรมฐานว่า เนื้อหาสาระมีประโยชน์อยู่ตรงไหนประการใด ทั้งทางโลกและทางธรรม นี่พูดทางธรรมมาแล้วต้องเจริญกรรมฐาน ใจท่านจะมั่นคงดำรงศาสตร์ ถ้าไม่เจริญกรรมฐานแล้วจิตใจไม่มั่นคง ศีลก็ไม่ฟูกับตัวท่าน ไม่จำเป็นต้องไปรับกับพระ ศีลหมดไปเลยขาดสตินี่เอง คนขาดสติแล้วจะไม่มีเหตุผล ไม่มีเนื้อหาสาระ จะมีศีลมีธรรมได้อย่างไร คนที่มีเนื้อหาสาระ จะมีทั้งศีล จะมีทั้งธรรม มีทั้งกิจกรรมที่มีประโยชน์กับตนและประโยชน์ต่อส่วนรวม ประโยชน์ต่อประเทศชาติ มันมีประโยชน์มากมายหลายประการ ดังนั้นท่านอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายโปรดได้นำไปพิจารณาถึงแก่นสารและเนื้อหาสาระว่าเป็นอย่างไร
   ต่อไปนี้จะเปรียบเทียบชี้แจงถึงเรื่องว่า ความดีเป็นแก่นสารของชีวิตนั้นอย่างไร สมดังในพุทธสุภาษิตที่ว่า “อะจิรังวะตะยังกาโย ปะฐะวิงอะธิเสสติ ฉุฑโฑอะเปตะวิญญาโน นิรัตถังวะกะริงคะรัง” ชั่วระยะเวลาไม่นานนักเมื่อร่างกายนี้ปราศจากวิญญาณแล้ว ก็จะถูกทอดทิ้งราวกับไม้ท่อน ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งนั้นเพราะความจริงของร่างกายมีอยู่เช่นนี้ ทุกคนจึงไม่ควรหลงติดเพียงแค่ร่างกายเท่านั้น ควรจะได้หันมาปรับปรุงร่างกายนี้ให้มีแก่นสารขึ้นในจิตใจด้วยการสร้างความดี การเจริญกรรมฐานให้มาก ๆ เพราะคนที่ทำความดีไว้ ถึงจะแก่ก็เชื่อว่าแก่ดี ถึงจะตายก็เชื่อว่าตายดี เหมือนกับมีดที่กร่อนไปด้วยการใช้ดีกว่ากร่อนไปเพราะสนิมขุม ดีกว่ากันอย่างนี้
   ผู้ที่ฉลาดคือผู้ที่ยึดถือเอาแต่เฉพาะสิ่งที่มีสาระ แต่ว่าการที่จะทำตนให้มีแก่นสารได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่ที่ความรู้แล้วพัฒนาความรู้พัฒนาความคิด พัฒนาความตั้งใจ พัฒนาประสบการณ์ปัญหาชีวิต นี่แหละ ความรู้ความเห็นเป็นสำคัญคือ ถ้าเห็นถูกแล้วการทำตามคำพูดก็ถูกตามไปด้วย อย่างที่กำหนดก่อนจะพูดจะทำ ได้ยินเสียงก็กำหนด เสียงหนอ ๆ เป็นต้น คิดหนอ เป็นต้น นี่แหละหลักปฏิบัติในแก่นสารดังพุทธภาษิตที่ว่า สารัญจะ สารโต ภควา เป็นอาทิ ความว่า ชนเหล่าใดรู้ว่าสิ่งที่เป็นสาระย่อมเป็นสาระ สิ่งที่ไร้สาระก็รู้ว่าไร้สาระ ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีความดำริถูกต้อง เขาย่อมประสบสิ่งอันเป็นสาระดังนี้
   พระคาถานี้ พระบรมศาสดาตรัสปรารภแก่พระสาวกทั้งสอง คือพระโมคคัลลา พระสารีบุตร ที่ท่านได้กราบทูลเรื่องราวของท่านแต่หนหลัง เนื่องจากชีวประวัติของพระอัครสาวกทั้งสองนี้น่าศึกษามาก ให้ความรู้ให้ทั้งข้อปฏิบัติ ฉะนั้นก่อนอื่นจึงขอถือโอกาสพาท่านผู้ฟังศึกษาประวัติของท่านดูบ้าง ท่านคงจะเคยเห็นรูปอนุสาวรีย์พระอริยสงฆ์สองรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ข้างพระพุทธรูป บางแห่งก็สร้างเป็นรูปยืน บางแห่งก็สร้างเป็นรูปนั่งพนมมือ ในลักษณะถวายความเคารพพระพุทธเจ้า นี่แหละคือคู่อัครสาวกที่กล่าวถึงต่อไปนี้
   เบื้องซ้ายนั้นคือพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นเอตทัคคะทางมีฤทธิ์เดชเดชานุภาพ ส่วนเบื้องขวานั้นคือ พระสารบุตร เป็นเอตทัคคะทางปัญญามาก ประวัติเดิมของท่านทั้งสองเป็นบุตรพราหมณ์ผู้มั่งคั่งในเมืองราชคฤห์มีชื่อในสมัยเป็นฆราวาสว่า อุปติสสปริพาชกและโกลิตปริพาชก เป็นเพื่อนสนิทรักใคร่กันมาก ใช้ชีวิตอย่างสำราญเยี่ยงชายหนุ่มผู้ร่ำรวยทั้งหลาย
   วันหนึ่งสองสหายพากันไปดูมหรสพ ตลอดเวลาหาได้สนุกรื่นเริงอย่างเช่นเคยไม่ เมื่อเห็นอาการผิดปกติซึ่งกันและกันจึงเกิดไต่ถามกันขึ้น ก็ได้ความตรงกันว่า เศร้าใจที่มหรสพเหล่านี้ไม่มีสารประโยชน์อะไร ทั้งคนดูและคนแสดงไม่ถึงร้อยปีก็ต้องตายหมด จึงปรึกษาตกลงกันว่าควรหาทางพ้นทุกข์ดีกว่า
   จากนั้นก็ได้พากันไปบวชอยู่สำนักอาจารย์สัญชัย ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในสมัยนั้น ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อยก็จบการศึกษา ต่างมีความเห็นตรงกันอีกว่า ลัทธินี้ไม่ใช่การพ้นทุกข์แน่ จึงขอลาออกจากสำนักอาจารย์สัญชัย ก่อนแยกทางกันได้ให้สัญญากันไว้ว่า ถ้าใครพบอาจารย์ที่สามารถบอกทางพ้นทุกข์ได้ ขอให้ช่วยส่งข่าวให้กันและกันทราบด้วย
   ต่อมาท่านอุปติสสะได้พบท่านอัสสชิ ซึ่งเป็นพระเถระรูปหนึ่งจำนวน ๕ รูป ที่เรียกกันว่า ปัญจวัคคีย์ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังบิณฑบาตอยู่ เห็นแล้วก็รู้สึกเลื่อมใสในมารยาทของท่านมาก คอยอยู่จนได้โอกาสเหมาะจึงเข้าไปหาแล้วปรนนิบัติจนท่านฉันเสร็จ ต่อมาได้ฟังธรรมของท่านจนบรรลุพระโสดาบัน ภายหลังจากนั้นไม่นานนัก สหายโกลิตะก็ได้บรรลุโสดาบันเช่นเดียวกัน เมื่อได้ฟังธรรมที่ท่านอุปติสสะนำมาแสดง และก่อนที่สองสหายจะไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่เวหารเวฬุวันนั้น ได้พากันไปชวนเชิญอาจารย์สัญชัย เพื่อให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย แต่กลับได้รับการปฏิเสธอย่างแข็งขัน เมื่อหมดโอกาสเช่นนั้นทั้งสองจึงจำใจลาอาจารย์แล้วพาบริวาร ๒๕๐ คนไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ให้พระองค์ทรงประทานอุปสมบทให้ ภายหลังจากที่บวชแล้วท่านอุปติสสะก็ได้นามใหม่ว่า พระสารีบุตร เพราะมารดาของท่านชื่อนางสารี ส่วนท่านโกลิตะได้นาใหม่ว่าพระโมคคัลลานะ เพราะมารดาของท่านชื่อนางโมคคัลลี ต่อมาท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และเนื่องจากพระสารีบุตรมีปัญญาเป็นเลิศ พระบรมศาสดาจึงทรงตั้งท่านในตำแหน่งเอตทัคคปทักขิณะ เลิศทางปัญญา ทรงตั้งพระโมคคัลลานะในตำแหน่งเอตทัคคะเลิศทางฤทธิ์
   ทั้งสองได้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ไพศาล พุทธศาสนิกชนต่างสำนึกในบุญคุณของท่านอย่างมาก จึงได้สร้างรูปอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับสักการะบูชาดังที่เห็นปรากฎอยู่ทั่วไปในอุโบสถ
   อีกอย่างหนึ่งท่านทั้งสองได้มีโอกาสกราบทูลเรื่องราวแต่หนหลังของท่านถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์สัญชัยยึดถือในสิ่งไม่มีสาระว่ามีสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นสาระท่านว่าไม่เป็นสาระ อาจารย์สัญชัยมีความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฐิ ส่วนเธอทั้งสองเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งที่ไร้สาระว่าไม่มีสาระ แล้วละสิ่งไร้สาระเสีย ยึดถือเอาแต่เฉพาะสิ่งที่เป็นสาระเท่านั้น เพราะเธอทั้งหมดเผอิญเป็นคนฉลาด และแล้วพระองค์ก็ทรงภาษิตคาถาดังที่ว่าไว้แล้วในเบื้องต้น มองทุกสิ่งตามความเป็นจริง
   พระพุทธภาษิตนี้เป็นเครื่องสอนใจให้ทุกคนเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง รู้สิ่งใดดีก็ให้เห็นว่าดี สิ่งใดชั่วก็ให้เห็นว่าชั่ว อย่าบังควรไปเห็นกลับกันเสีย ไปยึดเรื่องที่ยาก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว หรือเห็นดอกบัวเป็นกงจักร อะไรทำนองนี้ เพราะการเห็น เป็นสิ่งสำคัญมาก ลงได้เห็นผิดแล้วจะทำผิด จะพูดก็ผิด อาจารย์สัญชัยมีมิจฉาทิฐิ มีความเห็นนอกลู่นอกทาง ยึดมั่นในลัทธิเดิมซึ่งหาสารประโยชน์อะไรไม่ได้ ให้สติแล้วทำให้เดินถูกทางก็ยังไม่ฟังเสียง ปักหลักมั่นไม่ยอมถอนกล้ายกับเรื่องหนอนที่เล่ากันมาเป็นคติว่า
   เทวดาคิดถึงหนอน ซึ่งเมื่อชาติก่อนเคยเกิดเป็นมนุษย์ด้วยกัน รักใคร่กันมาก ปากแต่ทำความชั่ว ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นหนอนอยู่ในส้วม ส่วนตัวเองเกิดเป็นเทวดา เพราะทำความดีไว้ เมื่อเทวดานึกถึงเพื่อนเก่าซึ่งเกิดเป็นหนอนขึ้นนั้น ก็สมเพชเวทนา จึงลงมาชวนให้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ โดยพรรณนาว่าบนสวรรค์นั้นสุขสบายทุกอย่าง เช่นเรื่องอาหารการกินก็บริบูรณ์ อยากเมื่อไรก็ให้รำลึกเอาได้ตามความต้องการ แต่ทว่าตัวหนอนกลับปฏิเสธโดยอ้างว่า ที่นี่สบายกว่าบนสวรรค์มากมายนัก และเรื่องอาหารการกินไม่ต้องห่วง มีอาหารอยู่แล้ว คนเนรมิตให้อย่างเหลือเฟือ ไม่ต้องอนาทรร้อนใจ มีคนเนรมิตให้ทุกอย่างกินไม่หวาดไหว ผลสุดท้ายเทวดาก็ต้องกลับวิมานไปด้วยความผิดหวัง นี่แหละหนอเทวดาบนสวรรค์ไม่ต้องเนรมิตของเรามีคนเนรมิตให้อุจจาระหล่นให้ทุก ๆ วันบริบูรณ์ในส้วม เทวดาก็กลับสวรรค์ไปด้วยความผิดหวัง นี่แหละเรื่องของการมองคนละอย่าง มองคนละแง่
   ถ้าใครมองในแง่เสีย กลับยืนกรานอยู่ในภาวะเดิมแล้วเป็นอย่างไร อาจารย์สัญชัยก็ยังเป็นอาจารย์สัญชัย ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จักจบจักสิ้น ส่วนศิษย์ทั้งสองกลับมีความเห็นตรงกันข้ามกับอาจารย์เพราะเป็นคนฉลาดรู้ดีว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรมีประโยชน์อะไรมีโทษ แล้วเลือกถือเอาแต่เฉาพะสิ่งที่มีประโยชน์เท่านั้น ผลสุดท้ายแล้วท่านก็พ้นทุกข์พร้อมทั้งได้รับตำแหน่งอันสูงเกียรติเป็นถึงพระอัครสาวกมีชื่อเสียงโด่งดังและมีอนุสาวรีย์ของท่านปรากฎให้อนุชนรุ่นหลังกราบไหว้บูชาพระโมคคัลลาพระสารีบุตร และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านสืบมาจนทุกวันนี้
   นี่คือผลของการเข้าใจมอง คือมองให้เข้าไปถึงใจ จนเห็นชัดเจนตามความเป็นจริง เหมือนนั่งกรรมฐานเห็นของจริงเกิดขึ้น ท่านทั้งสองเป็นคนเข้าใจมอง เข้าใจคิดไม่ยอมหลงติดในการเล่นเต้นรำเหมือนหนุ่มสาวอื่น เพราะท่านเห็นว่าไร้สาระ ไม่ใช่ของจริงที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ ทั้งที่ชื่อก็บอกอยู่ชัด ๆ ว่าเล่น คือไม่ใช่ของจริงนั้นเอง ถ้าใครขืนจะมาหาสาระในของเล่น ๆ เหล่านั้นก็เท่ากับพยายามหาหนวดเต่าหาเขากระต่ายซึ่งไม่มีวันจะได้พบเลย นี่แหละรู้เรียน รู้เล่น เป็นเวลา อีกอย่างหนึ่งเห็นว่า ทั้งคนเล่นทั้งคนดูไม่ถึงร้อยปีก็ตายหมด ความจริงแล้วเรื่องตายนั้นพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ให้หมั่นนึกกันไว้เสมอเพราะเป็นเหมือนห้ามล้อป้องกันการหลงรัก หลงชัง หลงเขลาได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ดังประพันธ์ภาษิตของมหาเถระรูปหนึ่งว่า นึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสาร บรรเทามืดโมหันต์อันตระการ ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ  และก็เรื่องตายนี่เองที่เป็นจุดแรกที่ทำให้ท่านทั้งสองสังเวชใจแล้วทิ้งสมบัติอันมหาศาลออกบวช ชีวประวัติของท่านตอนนี้นับว่าเป็นคติดีมาก เพราะสอนไม่ให้ติดในการเล่นเกินไป ควรดูบ้างเพื่อเป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อคลายอารมณ์ที่เคร่งเครียดในการงาน อย่าให้ถึงเข้าขั้นเสียการศึกษาเล่าเรียนและเสียการเสียงานเป็นใช้ได้
   นอกจากนี้ตอนที่ท่านอยู่กับอาจารย์สัญชัยก็ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง ชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อยก็เรียนสำเร็จการศึกษา นี่แหละ แสดงว่าวิชาทุกอย่างถึงจะยากอย่างไร ถ้าตั้งใจจริงไม่ควรท้อถอย จงตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียน เพราะรู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา ไปข้างหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ เมื่อท่านทั้งสองเรียนจบแล้วพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์แน่ จึงเปลี่ยนทางใหม่ด้วยสัญญากันไว้ว่าถ้าใครพบอาจารย์ดีจะต้องส่งข่าวให้กันทราบทันที คนคนเช่นไรย่อมเป็นคนเช่นนั้น หลังจากที่ท่านอุปติสสปริพาชกได้ฟังธรรมของพระอัสสชิจนสำเร็จพระโสดาบันแล้ว ท่านก็ได้นำข่าวนี้บอกแก่สหายโกลิตะ นี่แสดงถึงความซื่อสัตย์สุจริตที่รักษาคำมั่นสัญญาไว้ได้อย่างมั่นคง ทั้งส่อถึงความเป็นมิตรที่ดีชักชวนกันเดินในทางที่ดีมีประโยชน์ ซึ่งผิดกับเพื่อนบางคนที่คอยแต่จะชักพากันเข้ารกเข้าพง ผลสุดท้ายก็เสียคน ซึ่งเรื่องนี้คอยระมัดระวังกันไว้มันก็จะปลอดภัยดี
   อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ก็คือมารยาทอันงดงามของพระอัสสชิที่สามารถผูกใจท่านอุปติสสะให้เลื่อมใสเป็นศิษย์ได้ทั้ง ๆ ที่นับถือศาสนาอื่น เรื่องเสน่ห์นี้เชื่อว่าทุกท่านคงชอบและควรหันมารับปรุงกายของเรา วาจาของเราให้ดีให้อยู่ในพระกรรมฐาน ลักษณะที่เรียกว่า ทำอะไรอย่าให้เขาขัดตา พูดจาอย่าให้เขาขัดหู เท่านี้ก็มีเสน่ห์ถมไปแล้ว มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และมีเมตตากรุณาหนุนนำ
   อีกตอนหนึ่งที่ท่านทั้งสองออกไปชวนอาจารย์เพื่อให้ไปเฝ้าพระศาสดา นับว่าท่านมีความกตัญญูดีมาก เพราะเมื่อตนได้พบของดีแล้วก็ไม่ลืมครูบาอาจารย์ แต่น่าเสียดายที่อาจารย์สัญชัยมิได้สนใจใยดี ปฏิปทาของท่านทั้งสองนี้ควรที่ทุกคนจะยึดเป็นแบบอย่าง มีกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของท่าน ต่อพ่อแม่ของท่าน และผู้มีพระคุณทั่ว ๆ ไป เพราะแม้แต่ร่มไม้ที่ให้ความร่มเย็นยามเดินทาง คนดีเขายังไม่กล้าลิดก้านลิดกิ่งแต่ประการใด เอาไว้ให้ร่มเงา เพราะเขาสำนึกถึงคุณต้นไม้นั้นได้ ฉะนั้นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ซึ่งมีพระคุณล้นเหลือ ใครหนอจะลืมท่านได้ลงคอเล่า
   อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ รู้จักเสียสละด้วยการตัดบ่วง ซึ่งท่านทั้งสองตัดได้หมดทั้งบ่วงนอกบ่วงใน บ่วงนอก คือสมบัติมหาศาลที่ท่านตัดทิ้งแล้วออกบวช ซึ่งเราควรยึดแบบของท่านไว้บ้าง แต่ก็ไม่ใช่หมายความว่าจะเกณฑ์ให้ทุกคนพากันทิ้งสมบัติแล้วเข้าวัด แต่ว่าให้รู้จักเสียสละกันบ้างตามสมควร โดยเฉพาะท่านที่ทรัพย์สินเหลือกินเหลือใช้ หากจะได้สละออกมาเพื่อช่วยคนยากคนจน ช่วยโรงพยาบาล ช่วยโรงเรียน ช่วยสร้างห้องน้ำก็เป็นมหากุศล ช่วยคนที่ไม่มีทุนการศึกษา ก่อตั้งมูลนิธิอันประเสริฐดีกว่ากักตุนสะสมเอาไว้ บำเรอความสุขเฉพาะในวงแคบ ในครอบครัวด้วยความภูมิใจที่ได้อยู่บนกองเงินกองทอง ฉะนั้นในสภาพของคนที่กินของเก่าแล้วก็กอดสมบัติตายจากไป ทิ้งสมบัติเอาไว้ให้ลูกหลานยื้อแย่งแบ่งกันอย่างชุลมุนวุ่นวาย แต่สำหรับศพนั้นรับรอง่าไม่มีใครแย่งแน่ อันธรรมดาต้นไม้ยังมีอะไรดี ๆ ผลิออกจากลำต้นให้ประชาชนได้อาศัย ส่วนเราเล่าได้ผลิอะไรออกมาให้เป็นประโยชน์แก่โลกบ้าง โปรดคิดดูเถิด
   ท่านสาธุชนทั้งหลาย บ่วงอีกบ่วงหนึ่งคือ บ่วงใน ได้แก่กิเลสซึ่งท่านทั้งสองสลัดทิ้งจนจิตบริสุทธิ์ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ดังกล่าวมา สมบัติก็ดี กิเลสก็ดี ที่จัดว่าเป็นบ่วง ก็เพราะเป็นเครื่องผูกมัดรัดสัตว์โลกให้ติดอยู่ในกองทุกข์ ฉะนั้นเมื่อใครตัดได้ ทุกข์ก็ไม่มี นับว่าท่านทั้งสองได้สร้างชีวประวัติอันงดงามให้พวกเราได้ศึกษาในเชิงธรรมชีวิต ให้เป็นสารประโยชน์ด้วยการบำเพ็ญความดีต่าง ๆ ดังกล่าวมา เพราะชีวิตนี้น้อยนัก ทั้งไม่มีแก่นสารอะไร เราจะอยู่อาศัยโลกนี้คนละไม่กี่ปี เราก็จะจากกันไปแล้ว ฉะนั้น จึงควรสร้างความดีชดเชยไว้ให้มาก กๆ อานุภาพของความดีที่สร้างไว้ก็จะบันดาลให้ได้รับความสุข ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าวาสนาบารมีแก่กล้าก็จะได้นำมาให้พ้นทุกข์ ถึงบรมสุขคือพระนิพพานโดยทั่วหน้ากัน
   อาตมาได้บรรยายเรื่องเนื้อหาสารธรรมอันเป็นแก่นสารแก่ชีวิตมาพอสมควรแก่เวลา ก็ขอยุติไว้เพียงแค่นี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ของความเจริญงดงามไพบูลย์จงมีแก่ท่านทั้งหลายในธรรมสัมมาปฏิบัติในหน้าที่และจงเจริญไปด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ นึกคิดสิ่งหนึ่งประการใดสมความมุ่งมาดปรารถนา ด้วยกันทุกรูปทุกนาม ณ โอกาสบัดนี้เทอญ



หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 ตุลาคม 2558 18:53:04
พระคติธรรม
หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือ การบริหารรักษาร่างกายให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ และประกอบประโยชน์เพื่อให้เป็นชีวิตดี ชีวิตที่อุดม ไม่ให้เป็นชีวิตชั่ว ชีวิตเปล่าประโยชน์ และในขณะเดียวกัน ก็ให้กำหนดรู้คติธรรมดาของชีวิต เพื่อความไม่ประมาท
พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้ทำลายชีวิตร่างกาย ถ้าจะเกิดความอยาก ความโกรธ ความเกลียด ในอันที่จะทำลายชีวิตร่างกายก็ให้ทำลายความอยาก ทำลายความโกรธ ทำลายความเกลียดนั้นแหละเสีย
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือคุณงามความดี ตรงกันข้ามกับอธรรม คือ ความชั่ว ซึ่งโดยมากก็รู้กันอยู่ ฉะนั้น เมื่อเคารพในความรู้หมายความว่า เมื่อรู้ว่าไม่ดี ก็ตั้งใจเว้นไว้ เมื่อรู้ว่าดี ก็ตั้งใจทำ ดังนี้เรียกว่า เคารพในธรรมที่รู้โดยตรง ซึ่งทำคนให้เป็นคน กล่าวคือเป็นมนุษย์โดยธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


1. การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นใจคนจำนวนมาก
คือบทที่ว่า ... “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
แปลความว่า “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
เพราะพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย มีศรัทธาเชื่อให้คุณแห่งการให้ธรรมเป็นทาน จึงแม้สามารถก็จะพากันพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ซึ่งเชื่อว่าเหนือการให้ทั้งปวง ซึ่งจักเป็นบุญเป็นกุศล ยิ่งกว่าบุญกุศลที่เกิดจากการให้ทานอื่นทั้งปวง นี้เป็นการถูก เป็นการดี เพราะการเผยแพร่ธรรมของ พระพุทธเจ้าเป็นความความดีอย่างยิ่ง ยิ่งผู้ได้รับนำไปปฏิบัติก็จะยิ่งเป็นการดีที่สุด
เพราะการปฏิบัติธรรม ทรงธรรม ตั้งอยู่ในธรรม เป็นการนำให้ถึงความสวัสดีอย่างแท้จริง และไม่เพียงเป็นความสวัสดีเฉพาะตนเองเท่านั้น ยังสามารถแผ่ความสวัสดีให้กว้างไกลไปถึงผู้เกี่ยวข้องได้มากมาย กล่าวได้ว่า ผู้มีธรรมเพียงคนเดียว ย่อมยังความเย็น ความสุข ให้เกิดได้เป็นอันมาก ตรงกันข้ามกับผู้ไม่มีธรรม ...แม้เพียงคนเดียว ก็ย่อมยังความร้อนความทุกข์ให้เกิดได้เป็นอันมาก
การให้ธรรมที่แท้จริง
หมายถึงการทำตนเองของทุกคนให้มีธรรม
พิจารณาจากความจริง ที่ว่าผู้มีธรรมเป็นผู้ให้ความเย็น ความสุขแก้ผู้อื่นได้ เช่นเดียวกันกับที่ให้ความเย็นความสุขแก่ตนเอง อาจเห็นได้ว่า การให้ธรรมไม่หมายถึงเพียงการพิมพ์หนังสือธรรมแจก หรือการอบรมสั่งสอนด้วยวาจา ให้รู้ให้เห็นธรรมเท่านั้น
แต่การให้ธรรมที่แท้จริง ย่อมหมายถึงการทำตนเองของทุกคนให้มีธรรม ให้ธรรมในตนปรากฏแก่คนทั้งหลายโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการแสดงออกเป็นการสั่งสอนด้วยวาจา หรือเช่นด้วยการแสดงธรรมแบบพระธรรมเทศนาของพระ
การสั่งสอนธรรมหรือให้ธรรมด้วยความประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองนั้น มีความสำคัญเหนือกว่าการแจกหนังสือธรรมเป็นอันมากด้วยซ้ำ เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ จนธรรมนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายกับใจ นั่นแหละเป็นการแสดงธรรมให้ปรากฏแก่ผู้รู้ผู้เห็นทั้งหลายทั้งปวง และจะต้องได้ผลมากกว่าการให้ธรรมที่เป็นข้อเขียนในหน้าหนังสือ
ความสูงต่ำ ห่างไกลของธรรมที่ดีและชั่วนั้นมีมากมายยิ่งนัก
อันคำว่าธรรมนั้น ที่แท้จริงมีความหมายเป็นสองอย่าง คือทั้งที่ดีและที่ชั่ว หนังสือธรรมมิได้แสดงแต่ธรรมที่ดี แต่แสดงธรรมที่ชั่วด้วย เพียงแต่แสดงธรรมที่ดีว่าให้ประพฤติปฏิบัติ แสดงธรรมที่ชั่วว่าไม่ควรประพฤติปฏิบัติ และผู้ประพฤติธรรมหรือผู้มีธรรมนั้นก็คือ ผู้ประพฤติธรรมที่ดี ไม่ประพฤติธรรมที่ชั่ว
ผู้ประพฤติธรรมที่ดีเรียกได้ว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ประพฤติธรรมที่ชั่ว เรียกว่าได้เป็นอสัตบุรุษ ความสูงต่ำห่างไกลของธรรมที่ดีและที่ชั่วนั้นมากมายนัก มีพุทธสุภาษิตกว่าไว้ว่า “ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่นักปราชญ์กล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น”
การทำตนที่ชั่ว ให้เป็นตนที่ดีได้ เป็นกุศลที่สูงที่สุด
ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งการปฏิบัติด้วยตนเองให้ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่าเป็นผู้ให้เหนือการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรมของสัตบุรุษ ละธรรมของอสัตบุรุษนั้น ก็เท่ากับพยายามช่วยให้คนบนดินคือต่ำเตี้ยได้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง หรือช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั่นเอง
การช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั้น ผู้ใดทำได้จักได้กุศลสูงยิ่ง การช่วยตนเองที่ประพฤติไม่ดีให้เป็นประพฤติดีนั้น ก็เป็นการช่วยคนชั่วให้เป็นคนดีเช่นกัน และจะเป็นกุศลที่สูงที่สุดเสียด้วยซ้ำ เพราะนอกจากตนเองจะช่วยตนเองแล้ว คนอื่นยากจักช่วยได้
นี่หมายความว่า อย่างน้อยตนเองต้องยอมรับฟังการแนะนำช่วยเหลือของผู้อื่น ยอมปฏิบัติตามผู้อื่นที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ปรากฏอยู่ คือทำตนเองให้เป็นผู้ประพฤติธรรมของสัตบุรุษ ละการประพฤติปฏิบัติธรรมของอสัตบุรุษให้หมดสิ้น
พึงอบรมปัญญา เพื่อเป็นแสงสว่างขับไล่โมหะ
ผู้มาบริหารจิตทั้งนั้น พึงดูจิตตนเองให้เห็นชัดเจนว่า มีความปรารถนาต้องการจะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเองหรือไม่
ถ้าไม่มีความปรารถนานั้น ก็ถึงรู้ว่าจำเป็นต้องอบรมปัญญาเพื่อให้ปัญญาเป็นแสงสว่างขับไล่ความมืดมิดของโมหะ ให้บรรเทาเบาบางถึงหมดสิ้นไป
ปัญญาจะช่วยให้เห็นถูกเห็นผิดตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นตรงตามความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์โทษภัยของตนเอง และของผู้ใดทั้งสิ้น ทุกข์โทษภัยย่อมไม่มีแก่ตน อาจมีปัญหาว่าแม้ตนเองไม่ก่อทุกข์โทษภัยแก่ตนเองด้วยกระทำที่ไม่ถูกไม่ชอบทั้งหลาย แต่เมื่อยังมีผู้อื่นอีกเป็นอันมากที่ก่อทุกข์โทษภัยอยู่ แล้วเราจะพ้นจากทุกข์โทษภัยนั้นได้อย่างไร
ปัญหานี้แม้พิจารณาเพียงผิวเผิน ก็น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องยอมจำนน คือต้องรับว่าถูกต้อง แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่าประกอบด้วยปัญญาแท้จริง ย่อมจะได้รับคำตอบแก้ปัญหาให้ตนไปได้อย่างสิ้นเชิง เพราะผู้มีความเห็นชอบ ปราศจากโมหะ ย่อมเห็นได้ว่าไม่มีทุกข์โทษภัยใดจะเกิดแก่ตน ถ้าตนสามารถวางความคิดไว้ได้ชอบ เพราะความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความคิด
ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม
ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม ธรรมใดกระทบใจว่า ตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน เพื่อแก้ไขให้เรียกร้อย ที่ท่านกล่าวว่า “เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย”
“บัณฑิต” นั้นคือ “คนดีผู้มีธรรม หรือผู้รู้ธรรมปฏิบัติธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั่นเอง” การกล่าวธรรมของบัณฑิต คือ การกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ และบัณฑิตนั้นมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ด้วยว่า ...
“บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่ แม้สตรีมีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ก็เป็นบัณฑิตให้เหมือนกัน”
สามารถหนีไกลจากกิเลสได้มากเพียงไร
ก็สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้น
คนดีมีปัญญา คือคนมีกิเลสบางเบา โลภน้อย โกรธน้อย หลงน้อย กิเลสนั้นมีมากเพียงไร ก็ทำให้เหลือน้อยได้ ทำให้หมดจดอย่างสิ้นเชิงก็ได้ สำคัญที่ผู้มีกิเลสต้องมีปัญญา แม้พอสมควรที่จะทำให้เชื่อว่า กิเลสเป็นโทษอย่างยิ่ง ควรหนีให้ไกล สามารถหนีไกลกิเลสได้มากเพียงไร ก็สามารถเป็นคนดี เป็นบัณฑิตได้เพียงนั้น ทั้งยังจะสามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้นด้วย...
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 ตุลาคม 2558 11:18:01
มันเป็นเช่นนั้นเอง

ชาวพุทธเราควรจะอยู่ด้วยความไม่เป็นทุกข์ในอะไรๆที่เกิดขึ้น ให้ทำใจให้เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราเราก็จะไม่เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น เราจะใช่สติปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาแล้วรู้จะปลง รู้จักวางในสิ่งนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดถือ ด้วยความโง่ ความเขลา

เพราะถ้าเราเข้าไปยึดไปถือด้วยความโง่ความเขลา เราก็เป็นทุกข์ มันไม่ได้ประโยชน์อะไรแม้แต่น้อยที่นั่งเป็นทุกข์แต่เป็นการลงโทษตัวเอง ลงโทษสุขภาพจิต สุขภาพกาย ทำให้จิตเสื่อม ทำให้ร่างกายทรุดโทรม แก่เร็ว แล้วก็ตายเร็วด้วย เพราะว่ามีความทุกข์มาก มีความกลุ้มใจมาก ตัดทอนสุขภาพทั้งกายทั้งใจ ไม่เป็นเรื่องดีแม้แต่น้อย

ความทุกข์เป็นเหมือนนำร้อน ราคิดให้มันเป็นทุกข์ก็เหมือนเอานำร้อนมารดตัว ตั้งแต่หัวถึงตีน ถลอกปอกเปิกเป็นคนดำๆด่างๆไป มันจะได้เรื่องอะไร เราไม่ควรจะคิดเช่นนั้น

เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้พยายามคิดว่า "ดีแล้ว" "พอแล้ว" หรือ "เท่านี้ก็ถนไปแล้ว" อย่างนี้ใจก็สบายเช่น คนทำมาค้าขาย เป็นนักธุรกิจต่างๆ อยู่ตลอดเวลา บางคราวมันก็ได้กำไร บางคราวมันก็ขาดทุน บางคราวก็พอเสมอตัว ถ้าหากว่าจิตใจของเราตื่นเต้นกับสิ่งเท่านั้น พอได้ก็ดีใจ เกิดใจฟูขึ้น พอไม่ได้ก็แฟบลงไป

ขึ้นแล้วก็ลง ขึ้นแล้วก็ลงอยู่อย่างนี้ เหมือนกับวานรมันเต้นอยู่ในกรงของมัน ดิ้นรนอยู่ แต่ออกไม่ได้ มันเป็นสุขที่ตรงไหนในการที่จิตของเราเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นความสุขอะไรเลย

เราจึงควรทำความพอใจในสิ่งทีมันเกิดขึ้น นึกว่า " ธรรมดา...มันเป็นเช่นนั้นเอง " คำนี้สำคัญมาก เรียกว่าเป็นคาถาวิเศษสำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือคำว่า "ตถาตา" แปลว่า " มันเป็นเช่นนั้นเอง " อะไรๆมันก็เป็นอย่างแหละ เราจะไปบังคับมันก็ไม่ได้ จะไปฝืนมันก็ไม่ได้ มันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เราจึงควรจะคิดว่า "เออ! ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น"
เรานึกอย่างนี้ก็พอปลง พอวาง สภาพจิตก็พอจะรู้เท่ารู้ทันในสิ่งนั้นๆ ความทุกข์ก็จะเบาไป คือไม่หนักอึ้ง เพราะรู้จักวาง รู้จักพักผ่อน ทางใจ ใจก็สบาย........



หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2559 11:58:53
คติธรรมคำสอนหลวงพ่อจรัญ
"... คนเรานะ เกิดมาในสากลโลกนั้น
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
ถ้าครั้งในอดีตเคยเป็นญาติกันไปมาหาสู่ต้องมาหากัน..."

"... ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายไม่เคยไปมาหาหาสู่กันครั้งอดีตจะมาพบกันอีกไม่ได้ "เวียนว่ายตายเกิด"
เวียนไปก็เวียนมา เวียนมาแล้วก็เวียนไป เหมือนพัดลม พัดลม พัดลม ลมไม่พัดก็ไม่มีลม เวียนไปเวียนมา ลมก็ไปก็พัดมา พัดมาหาจุดมุ่งหมาย..."


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 10 มีนาคม 2559 20:10:36
                                         
   ผลของกรรม
กรรมชั่วที่เราทำไว้ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี มันให้ผลเป็นทุกข์ จำไว้นะ การป่วยไข้ไม่สบายก็ตาม ความขัดข้องในทรัพย์สมบัติก็ตาม ความเดือดร้อนใดๆ ก็ตาม ที่มันประสบกับเราในชาตินี้ นั่นคือผลของความชั่วในชาติที่เป็นอดีต หรือความชั่วที่เราสร้างในชาตินี้ มันให้ผลเป็นความเร่าร้อน ถ้าผลอันใดเกิดจากความสุขกายสบายใจ ความรื่นเริงหรรษา นั่นมันเป็นผลของความดีที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนให้ผล หรือว่าความดีในชาตินี้ให้ผล
 (:NOY:) (:SY:) (:SL:)


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 19 มิถุนายน 2559 20:58:02
สังขารถ้ามันไม่เจ็บไม่ทุกข์ก็จะไม่รู้สึกอะไรของการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราพิจารณาถึงความไม่เที่ยงเสียได้ และสามารถสร้างภูมิธรรมให้กับตัวเองได้ก่อนที่สังขารมันจะเจ็บมันจะทุกข์ก็จะเป็นการดี เพราะเมื่อถึงเวลาที่สังขารมันกำลังเจ็บหรือทุกข์เราจะได้ไม่ต้องไปเจ็บไปทุกข์กับมันจนเกินไป เพราะภูมิธรรมมันจะช่วยแยกสุขออกจากทุกข์ แต่ถ้าเรายังสร้างภูมิธรรมให้กับตัวเราเองไม่ได้ เมื่อถึงเวลาเราก็ต้องเจ็บและทุกข์ไปกับสังขารที่กำลังเปลี่ยนแปลง


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 กรกฎาคม 2561 17:43:38
หมู่บ้านรักษาศีล ๕
มันเป็นชื่อของโครงการเท่านั้นเอง
แต่การรักษาจริงๆมันเป็นเรื่องเฉพาะตน
คนหาเช้ากินค่ำเนาะ มันก็รักษายากหลายอยู่
ไข่มดแดง กุ้ง หอย ปู ปลา จะอดได้บ่
สอยไข่มดแดง แห่งของมักเนาะ
วันพระที่ผ่านมาก็ได้ข่าวมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
เปิดน้ำออกจากฝ่าย เผื่อเปิดโอกาศให้ชาวบ้านทำการจับปลาวันพระยังไม่เว้นเนาะ การรักษาศีล ๕ มันเป็นเรื่องเฉพาะตนจริงๆเนาะ เชื่อปะ


หัวข้อ: Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 09 มิถุนายน 2563 19:53:34
คนเรามักจะเป็นทุกข์เพราะคิดว่าคนอื่นไม่เข้าใจตนเอง จนลืมคิดไปว่าตัวเราเองตากหากที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมหากเราเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเราเมื่อไหร่ ความมหัศจรรย์ของชีวิตก็จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความสงบสุขของจิตใจเราเมื่อนั้น
(:6:)


 จริงด้วยค่ะ เราปรับเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนความคิดเราได้