[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 01:13:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 266 267 [268] 269 270 ... 274
5341  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / ประวัติการทำวิสาขบูชาในประเทศไทย เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2555 18:53:45

 ประวัติการทำวิสาขบูชาในประเทศไทย
             ภาพจาก : oknation.net


การวิสาขบูชา
พระอรรถกถาจารย์เจ้ากำหนดไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ประสูติและตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเสด็จปรินิพพานในวันเพ็ญพระจันทร์เสวยฤกษ์วิสาขะ  วันกำหนดนี้จึงเป็นนักขัตฤกษ์  ซึ่งชนทั้งปวงผู้นับถือพระพุทธศาสนาผู้ทำการบูชาพระรัตนตรัย  เป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า  คล้ายกับทำเฉลิมพระชนมพรรษาหรือแซยิดปีละครั้งแต่โบราณมา  การกำหนดที่พระจันทร์ในวันเพ็ญเสวยวิสาขนักขัตฤกษ์นี้  แต่โบราณมาถือว่าตรงในวันเพ็ญเดือน ๖ เสมออยู่ไม่ยักเยื้อง   ตลอดมาจนถึงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางวิธีแบบปักขคณนาคิด   วันพระจันทร์เพ็ญให้ใกล้กับที่จริงเข้ากว่าแต่ก่อน    วันวิสาขนักขัตฤกษ์จึงได้เคลื่อนไปเป็นเพ็ญเดือนเจ็ดบ้างในบางปี.. ฯลฯ

เนื่องจากวันวิสาขะ  เป็นวันคล้ายกับกาลประสูติ  ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธะดังกล่าวแล้ว   พุทธศาสนิกชนจึงถือวันเช่นนี้ เป็นวันบูชาที่สำคัญยิ่ง

ในประเทศไทยมีประวัติการทำวิสาขะโดยย่อดังต่อไปนี้
ในชั้นต้นควรทราบก่อนว่า แผ่นดินอันเรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันนี้ แม้ในโบราณสมัย จะแยกเป็นบ้านเล็กเมืองน้อย เป็นก๊กเป็นเหล่า มีพ่อเมืองปกครองตามลำพัง  ใครมีอำนาจก็รวบรวมอาณาจักรได้กว้าง ดังนี้เป็นต้น   แต่ในทางหนึ่งที่น่าอัศจรรย์ คือความยอมรับนับถือพุทธศาสนาด้วยความเคารพ  ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินก็ตั้งใจอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงตามกาลสมัย คือ
      ๑. สมัยสุวรรณภูมิ   ประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ – ๗๐๐
      ๒. สมัยพนม  ประมาณ พ.ศ. ๖๐๑ – ๑๑๐๐
      ๓. สมัยทวาราวดี  ประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ – ๐๕๐๐
      ๔. สมัยศรีวิชัย  หรือศรีโพธิ  ประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐ – ๑๕๐๐
      ๕. สมัยลพบุรี  ประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๐ – ๑๖๐๐
      ๖. สมัยศรีธรรมราช  ประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๐ – ๑๘๐๐
      ๗. สมัยสุโขทัย  พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๙๒๑
      ๘. สมัยกรุงศรีอยุธยา
      ๙. สมัยกรุงธนบุรี
      ๑๐. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เฉพาะในสมัยสุโขทัย  พุทธศาสนารุ่งเรืองด้วยได้รับการยกย่อง และประชาชนก็รักษาศีลตั้งอยู่ในธรรมจริง ๆ ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน  พ่อขุนรามคำแหง  เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย  ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน  เมื่อออกพรรษา  กรานกฐินเดือนหนึ่งแล้ว  เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย มีพนมหมาก  มีพนมดอกไม้  มีหมอนนั่ง  หมอนนอน  บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้านไปสวดญัตติกฐินจึงอรัญญิกพู้น  เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกัน แต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวสาน ดํบงคํกลอย? ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักหักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน....

ว่าโดยเฉพาะพิธีวิสาขะ  ที่ควรทำการประกอบบูชาใหญ่ในพระรัตนตรัย ซึ่งถือกันอยู่ในเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนามาแต่โบราณนั้น  จะให้ได้ความชัดว่า ตั้งแต่พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในแผ่นดินสยามแล้ว  คนทั้งปวงได้ทำการบูชามาแต่เดิมหรือไม่ได้ทำ  ไม่มีปรากฏหลักฐานแน่ชัดในที่แห่งใด จนถึงกรุงสุโขทัยจึงได้ความตามหนังสือที่นางนพมาศแต่งนั้นว่า “ครั้นถึงวันวิสาขบูชา  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชบุรีรักษ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน  ทั้งอาณาประชาราษฎร์ทั่วทุกนิคมคามชนบทก็ประดับพระนคร และพระราชวังข้างหน้าข้างใน  จวนตำแหน่งท้าวพระยา  พระหลวงเศรษฐีชีพราหมณ์  บ้านเรือน  โรงร้าน  พ่วงแพ  ชนประชาชายหญิง  ล้วนแต่แขวนโคมประทีปชวาลาสว่างไสวห้อยย้อย  พวงบุปผชาติประพรมเครื่องสุคนธรส อุทิศบูชาพระรัตนตรัยสิ้นสามทิวาราตรี  มหาชนชวนกันรักษาพระอุโบสถศีลสดับฟังพระสัทธรรมเทศนาบูชาธรรม  บ้างก็ถวายสลากภัตตาหารสังฆทานข้าวบิณฑ์  บ้างก็ยกขึ้นซึ่งธงผ้าบูชาพระสถูปเจดีย์  บ้างก็บริจาคทรัพย์จำแนกแจกทานแก่ยาจกทลิททก  คนกำพร้าอนาถาชราพิการ  บ้างก็ซื้อไถ่ชีวิตสัตว์จาตุบทวิบาท  ชาติมัจฉาต่าง ๆ  ปลดปล่อยให้ได้ความสุขสบาย  อันว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินและราชตระกูล ก็ทรงศีลบำเพ็ญการพระราชกุศลต่าง ๆ ในวันวิสาขบูชาพุทธศาสนาเป็นอันมาก   เวลาตะวันชายแสงก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยราชสุริยวงศ์และนางใน  ออกวัดหน้าพระธาตุราชาอารามหลวงวันหนึ่ง  ออกวัดราษฎร์บุรณพระวิหารหลวงวันหนึ่ง  ออกวัดโลกสุทธราชวาสวันหนึ่ง  ต่างนมัสการพระรัตนัตตยาธิคุณโปรยปรายผลผกาเกสรสุคนธรสสักการบูชา  ถวายประทีปธูปเทียนเวียนแว่นรอบรัตนบัลลังก์  ประโคมดุริยางคดนตรีดีดสีตีเป่าสมโภชพระชินศรีพระชินราช  พระโลกนาถ  พระสัฏฐารสโดยมีกมลโสมนัสศรัทธาทุกตัวตน”   แล้วมีคำสรรเสริญว่า   “อันพระนครสุโขทัยราชธานี  ถึงวันวิสาขนักขัตฤกษ์ครั้งใด  ก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีปเทียนดอกไม้เพลิง  และสล้างสลอนไปด้วยธงชายและธงผ้า  ไสวไปด้วยพู่พวงดวงดอกไม้กรองร้อยห้อยแขวนหอมตลบไปด้วยกลิ่นคนธรสระรวยรื่น  เสนาะสำเนียงพิณพาทย์ฆ้องกลองทั้งทิวาราตรี  มหาชนชายหญิงพากันมากระทำกองการกุศลเหมือนจะเผยซึ่งทวารพิมานฟ้าทุกฉ้อชั้น”

แต่ในส่วนกรุงเก่า   มิได้ปรากฏมีในจดหมายแห่งหนึ่งแห่งใด ดูเป็นการลืมทีเดียว  ตลอดลงมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งเป็นลูกศิษย์กรุงเก่า ก็ไม่ได้มีการพระราชกุศลวิสาขบูชา  ตลอดมาจนปีฉลู  นพศก  จุลศักราช ๑๑๗๙  (พ.ศ. ๒๓๖๐)  รัตนโกสินทร์ศก  เป็นปีที่ ๓๖  ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชมี  ซึ่งมาแต่วัดราษฎร์บุรณถวายพระพรให้ทรงทำวิสาขบูชาเป็นครั้งแรก   การที่ทำนั้นถึงว่าในหมายอ้างว่าเป็นมหายัญญบูชาใหญ่ก็จริง  แต่การที่จัดนั้นดูเหมือนหนึ่งจะต้องถามกันว่าจะให้ทำอย่างไรจะควร  ท่านพระสังฆราชนั้นจะต้องถวายพระพรอธิบายว่าที่ทำกันมาแต่ก่อนนั้น คือจุดโคมตามประทีปบูชาทั้งในพระอารามและตามบ้านเรือนทั้งปวง  จึงโปรดให้ทำโคมปิดกระดาษเสาไม้ยอดผูกฉัตรกระดาษ  เหมือนกับโคมบริวารการพระราชพิธีจองเปรียง  แปลกแต่เสาทาปูนขาวเสียเหมือนโคมชัยโคมประเทียบ  ให้ไปปักตามพระอารามหลวง พระอารามละสี่เสาเป็นส่วนตามประทีปในวัด  ส่วนที่ตามประทีปตามบ้านเรือนนั้น  ให้อำเภอกำนันป่าวร้องให้ราษฎรจุดโคม เป็นการคร่าว ๆ  แรก ๆ ก็เห็นจะมีบ้างแห่งละใบสองใบมีโคมข้าวแขกเป็นต้น  เป็นส่วนที่จุดประทีปตามบ้านเรือนต้องด้วยอย่างเก่า  อีกประการหนึ่งนั้นมีพวงดอกไม้แขวนบูชาตลอดทั้งสามวัน  ก็ให้เกณฑ์ข้าราชการร้อยดอกไม้มาแขวนไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วันละร้อยพวงเศษ  อีกประการหนึ่งนั้น มีดอกไม้เพลิงเป็นเครื่องสักการะบูชา  ก็ให้พุ่มดอกไม้เพลิงมาปักจุดที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  อีกประการหนึ่งมีพระธรรมเทศนาและรักษาอุโบสถศีล  ให้มีเทศนาของหลวงตามวัดฝั่งตะวันออกสิบพระราม ฝั่งตกวันตกสิบพระอาราม  และให้อำเภอป่าวร้องให้ราษฎรรักษาศีล  อย่าให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  และให้ชักชวนกันไปฟังพระธรรมเทศนา   อีกประการหนึ่ง ว่ายกธงขึ้นบูชา  ก็ให้ทำธงจระเข้ไปปักตามวัดหลวงวันละคัน  อีกประการหนึ่ง ว่าเคยเลี้ยงพระสงฆ์ และถวายสลากภัตก็โปรดให้เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง และสดับปกรณ์พระบรมอัฐิด้วยข้าวสลากภัต  และประกาศให้ราษฎรชักชวนกันทำสลากภัตถวายพระสงฆ์  การที่จัดไปทั้งปวงนี้เห็นชัดว่าเป็นจัดตามแบบโบราณที่เคยทำมา...ฯลฯ  


  
ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น  ในตอนกลาง ๆ โปรดให้เกณฑ์เจ้านายข้าราชการตั้งโต๊ะเครื่องบูชาตามรอบเฉลียงพระอุโบสถ  เป็นการครึกครื้นสนุกสนานมาก  จนเกิดเล่นเครื่องโต๊ะลายครามกันขึ้น  ในเวลานั้นเที่ยวเก็บหาสิ่งของที่มีอยู่แล้วในกรุงนี้  มาประสมกันให้ได้ชุดได้ลายตั้งขึ้นโต๊ะใหญ่บ้างโต๊ะเล็กบ้าง...ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เต็มไปทั้งพระทั้งคฤหัสถ์  ผู้หญิงผู้ชายหาที่ว่างไม่ได้  ครั้นภายหลังพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก)  เห็นว่าเครื่องโต๊ะมีราคาหาไม่ใคร่ได้  จึงได้สั่งเครื่องโต๊ะที่ครบชุดลายต่าง ๆ เข้ามา ๖๐ สำรับ  ออกจำหน่ายขายผู้ที่ถูกเกณฑ์ตั้งโต๊ะราคาสำรับละ ๑๐ ชั่ง...ครั้นเมื่อการเล่นเครื่องโต๊ะจืดจางลงก็เป็นแต่ตั้งเป็นราชการ  คนก็ไม่ใคร่มีใคร ๆ มาดู  การที่ทรงตรวจตราเลือกเฟ้นนั้นซ้ำหลายปีเข้าก็เงียบ ๆ ไป  ภายหลังจึงได้โปรดให้เปลี่ยนใหม่  เกณฑ์ให้ข้าราชการทำโคมตราตำแหน่งมาตั้งแขวน  ส่วนของหลวงก็ใช้ตราหลวงแขวนที่ประตูพระอุโบสถทั้งหกประตู  ในปีแรกที่เกิดโคมตราขึ้นนั้นก็เป็นการกึกก้องกาหลยิ่งใหญ่ คนที่มาดูกลับมากขึ้นไปกว่าเมื่อตั้งเครื่องโต๊ะ  ด้วยโคมนั้นตั้งแขวนตามศาลารายและพระระเบียงโดยรอบ เป็นทำเลกว้าง คนจะเดินไปมาดูแลได้สะดวก  ตั้งแต่เวลาพลบไปจนดึกแปดทุ่มสามยามยังไม่ขาดคน  เป็นการสนุกครึกครื้นมาได้หลายปี จึงค่อย ๆ เรื่อยลงตามธรรมดา

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อโคมกร่อยนักแล้ว  กรมขุนภูวไนยนฤเบนทราธิบาล  กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ  พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ  พร้อมกันทำต้นไม้ทำนองต้นไม้หลังธรรมาสน์มหาชาติในท้องพระโรงแต่ก่อน    มีรูปภาพเรื่องต่าง ๆ ประดับที่กระถางตั้งหน้ามุขพระอุโบสถสามต้น  เลียนอย่างต้นไม้คริสต์มาสของฝรั่งด้วยกราย ๆ  ก็เป็นที่ครึกครื้นมีผู้คนมาดูบ้าง แต่ไม่แน่นหนามากเหมือนอย่างเมื่อครั้งตั้งโต๊ะหรือแรกมีโคมตรา   ครั้นเมื่อภายหลังจืด ๆ เข้าก็เลิกไป   การพระราชกุศลอันใดในการวิสาขบูชาซึ่งเคยมีมาแต่ก่อนก็คงยืนที่อยู่จนถึงรัชกาลนี้  มีเพิ่มเติมขึ้นแต่ที่พระพุทธรัตนสถาน  เมื่อเชิญพระพุทธบุษยรัตน์ไปประดิษฐานในที่นั้นแล้ว จึงโปรดให้มีการบูชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง  โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายในที่เป็นอุบาสิกาเดินเทียนและสวดมนต์  คล้ายกันกับที่ทำที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  และมีดอกไม้เพลิงสำรับเล็กบูชาด้วยเป็นการเพิ่มเติมขึ้นในรัชกาลนี้  

นับตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้  พิธีการวิสาขะนับว่าเป็นระเบียบแน่นอน  และเป็นการครึกครื้น  สนุกสนานในการบุญยิ่งขึ้น สรุปลงได้ว่า การวิสาขะปรากฏว่าทำมาจำเดิมแก่กรุงสุโขทัยจนบัดนี้


ในกาลปัจจุบัน
ในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อถึงกำหนดวันวิสาขะ  ได้มีการประกอบพิธีรำลึกถึงวันประสูติ  ตรัสรู้  ปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมโหฬาร  ข้าพเจ้าจะแยกกล่าวเป็น ๒ คือ ทางราชการ ๑  ทางพุทธศาสนิกชนทั่วไป ๑

๑.  ทางราชการ
ในวันวิสาขบูชา  กรมโฆษณาการได้ประกาศชักชวนให้ชักธงตามอาคารบ้านเรือน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ  และทางราชการประกาศกำหนดเป็นวันหยุดราชการทั่วราชอาณาจักร ๑ วัน  เพื่อแสดงความเคารพต่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ไปประกอบการกุศลตามวัดต่าง ๆ โดยสะดวก

พระราชกุศลวิสาขบูชามี ๓ วัน คือ วันแรกเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  แล้วพระราชทานประกาศนียบัตร  พัดยศ  และสมณบริขารแก่ภิกษุสามเณรเปรียญที่สอบไล่ได้ใหม่

วันที่ ๒  เวลาค่ำ  เสด็จ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วประกอบพิธีวิสาขบูชา  ทรงเวียนเทียนทำประทักษิณรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท  ครั้นแล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์    ที่บริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ตามประทีป  โคมไฟ  และไฟฟ้างดงาม  มีประชาชนไปร่วมประกอบพิธีโดยเสด็จพระราชกุศลอย่างคับคั่ง

วันที่ ๓  เป็นวันประกอบพิธีวิสาขบูชาของพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน


๒. ทางพุทธศาสนิกชนทั่วไป
เมื่อถึงวันวิสาขบูชา  พุทธศาสนิกชนต่างพากันทำบุญตักบาตร  ฟังพระธรรมเทศนาในตอนเช้า  และในตอนย่ำค่ำ ให้ถือดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะไปประชุมพร้อมที่วัด  ทำพิธีเหมือนวันมาฆบูชา  โดยยืนเบื้องหน้าพระพุทธปฏิมา  กล่าวคำบูชา  เดินเทียน  ทำวัตร  สวดมนต์และฟังธรรมเทศนา

หมายเหตุ
ในวันวิสาขบูชา  พึงบูชารำลึกถึงพระพุทธคุณด้วยความเคารพจริง ๆ ไม่ควรทำอย่างขอไปที  ควรทำให้เกิดปีติปราโมทย์  ต้อนรับวันเช่นนี้  โดยฐานะที่เป็นวันสว่าง คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นผู้จุดประทีปขึ้นส่องทางให้แก่สัตว์โลก  เพื่อว่าผู้มีดวงตาจักได้เห็นทาง  ต้อนรับวันเช่นนี้  โดยฐานะที่เป็นวันเบิกบาน  วันเปิดเผย  วันหงายของที่คว่ำและวันเปิดของที่ปกปิด  คือ พระสัมมาสัมพุทธะได้เบิกบานด้วยพระคุณและยังสัตว์โลกให้เบิกบานเปิดเผยธรรมะ  ชำแรก  อวิชชาที่คว่ำครอบงำปกปิดสัตว์โลก

วันวิสาขบูชา  ปีหนึ่งก็มีหนเดียว  ควรตั้งใจอธิษฐานจิตฟังธรรมตลอดราตรี  ควรรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธะด้วยนัย เป็นต้นว่า

บุคคลเอกในโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลและความสุขแก่ชนหมู่มาก  เพื่ออนุเคราะห์โลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทพและมนุษย์ทั้งหลาย  บุคคลเอกนั้นคือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

     ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลเอก หาได้ยากในโลก
     บุคคลเอก เมื่อเกิดในโลกย่อมเป็นอัจฉริยมนุษย์
     ความตายของบุคคลเอก  ย่อมเป็นความเดือดร้อนแก่ชนหมู่มาก
     บุคคลเอก เมื่อเกิดในโลกย่อมเป็นหนึ่งไม่มีสอง ไม่มีคู่เคียง  ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เทียบ  ไม่มีผู้เทียม  ไม่มีผู้ทัน  ไม่มีผู้เสมอเหมือน  เป็นยอดแห่งเทพและมนุษย์ทั้งหลาย


ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลเอก  ย่อมเป็นความปรากฏแห่งปัญญาจักษุ  แห่งแสงสว่างและโอภาสอันใหญ่หลวง  ย่อมเป็นความปรากฏแห่งอนุตริยคุณทั้ง ๖ ประการ  เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทาทั้ง ๓  เป็นการเข้าใจตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นอเนก  เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทาทั้ง ๓  เป็นการเข้าใจตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นอเนก  เป็นการทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ  เป็นการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  และอรหัตผล

ท่านผู้ใดรู้โลกทั้งปวง  ด้วยปัญญาอันยิ่ง  รู้อารมณ์ตามที่เป็นจริงอย่างไรในโลกทั้งปวง เป็นผู้ไม่ติด  ไม่เอาดีในโลกทั้งปวง  ท่านผู้นั้นแลเป็นปราชญ์ใหญ่ล้ำกว่าสรรพสัตว์  เปลื้องเครื่องผูกมัดพ้นไปได้  ได้บรรลุบรมสันติคือพระนิพพาน  อันไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ นั่น! คือพระขีณาสพพุทธเจ้าผู้ไม่มีทุกข์  ตัดความสงสัย  ถึงความสิ้นกรรมทั้งปวง  หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ  เพราะอย่างนี้พระองค์จึงเป็นพระพุทธะ  เป็นสีหะผู้ประเสริฐ  ทรงประกาศพรหมจักรแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวดา


อิติ  เทวา  มนุสฺสา จ       เย พุทฺธํ  สรณํ  คตา
สงฺคมฺม  นํ  นมสฺสนฺติ      มหนฺตํ  วีตสาทํ

ด้วยเหตุนี้  เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ที่ถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ  จึงพากันนมัสการพระองค์ผู้มหาบุรุษ  ปราศจากความย่นย่อ


อีกประการหนึ่ง  พระองค์ทรงฝึกพระองค์เองแล้ว  ประเสริฐกว่าผู้ฝึกทั้งหลาย  พระองค์ทรงเป็นฤาษีผู้สงบแล้ว  ประเสริฐกว่าผู้สงบทั้งหลาย  พระองค์ทรงพ้นแล้ว  เลิศกว่าผู้พ้นทั้งหลาย  พระองค์ทรงข้ามแล้ว  ประเสริฐกว่าผู้ข้ามทั้งหลาย
อิติ  เหตํ  นมสฺสนฺติ       มหนฺตํ  วีตสารทํ
สเทวกสฺมึ  โลกสฺมึ  นตฺถิ      เต ปฏิปุคฺคโล


คัดลอกโดยการสะกดตามรูปแบบดังเดิม
ที่มา :
๑. พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,  พระบาทสมเด็จพระ,  พระราชพิธีสิบสองเดือน,  กรุงเทพฯ  : เพชรกะรัต, ๒๕๕๓  
๒. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับงานพระพุทธศาสนา.  ที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๕๔๗   :  จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ โดย สำนักนายกรัฐมนตรี  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงวัฒนธรรม





* พระราชพิธีสิบสองเดือน   เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หนังสือเล่มนี้จัดเป็นยอดของความเรียงอธิบายและเป็นเอกสารทางด้านประวัติศาสตร์เล่มสำคัญ

5342  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ / Re: ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ "กุมารทอง-เจ้าพ่อหนูแดง" เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2555 11:41:59


ภาพจาก : news.tlcthai.com


กุมารทองส่งออก


ข่าวคราวการจับกุมตัวนายโจว  ฮองฮุน  อายุ ๒๘ ปี ชาวไต้หวัน  ที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านเยาวราช  เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕  พร้อมของกลางที่เล่นเอาตื่นตะลึง  เนื่องจากเป็นซากศพเด็กทารก ๖ ศพ  บางซากอยู่ในสภาพแห้งกรัง  อวัยวะค่อนข้างสมบูรณ์  บางซากศพอยู่ในสภาพผ่านการทำพิธีลงรักปิดทอง เหมือนผ่านการปลุกเสกลงอักขระภาษาขอมโบราณ  มัดสายสิญจน์  ทำเป็น “กุมารทอง”  มาแล้วเรียบร้อย  บรรจุอย่างดีภายในกล่องกระดาษ นั้น

นายโจว  ฮอง ฮุน  ให้การอ้างว่า ได้ซื้อซากศพทารกมาจากชายชาวไต้หวันที่อยู่ในประเทศไทยราคา ๒ แสนบาท เพื่อนำกลับไปขายยังประเทศไต้หวัน  เนื่องจากมีบางกลุ่มนิยมด้านไสยศาสตร์  เชื่อกันว่าหากนำ “กุมารทอง”   ไปบูชาแล้วจะช่วยให้ทำการค้าเจริญรุ่งเรือมีเงินทองมั่งคั่ง

อย่างไรก็ดี เหตุการณ์คดีจับซากทารกยังมีสิ่งลี้ลับเหลือเชื่อติดตามมาให้เห็น  เรียกว่าใครไม่เชื่อก็ไม่กล้าลบหลู่  แรงเฮี้ยนของซากทารกไม่ธรรมดา  เพราะก่อนจะมีการจับกุม มีคนร่ำลือว่าได้ยินเหมือนเสียงเด็กร้องขอความช่วยเหลือออกมาจากในห้องเกิดเหตุที่โรงแรม   แต่ที่เล่นเอาฮือฮาขนหัวลุกยิ่งขึ้น  เมื่อมีการนำของกลางไปเก็บไว้ใน สน.พลับพลาไชย ๒  ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุ   ก่อนจะถูกส่งไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวช  ช่วงกลางคืน มีตำรวจหญิงได้ยินเสียงเด็กร้อง  ทำให้ตอนเช้าต้องมีการจุดธูป  ซื้อขนม  น้ำหวาน  ของเล่นมาเซ่นไหว้กันเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน  แม้วิทยาศาสตร์จะก้าวล้ำทันสมัยไปมากเพียงใด  แต่เรื่องราวความเร้นลับของไสยศาสตร์ก็ยังมีมนต์เสน่ห์ที่ผู้คนในหลายประเทศทั่วโลกยังคงหลงใหล




ภาพจาก : news.tlcthai.com





ย่อความจาก “ตร.-สธ. จับตาขบวนการทำแท้งเถื่อน  หวั่นโยงใยแก๊งขาย ‘กุมารทอง’  ส่งออก”  หน้า ๒  นสพ.เดลินิวส์  ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พ.ค. ๕๕ 

.
5343  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: พระอาจารย์ลี ธัมมธโร ก่อนพบ พระอาจารย์มั่น เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 20:18:23
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
ภาพจาก : board.palungjit.com

เกี่ยวกับเรื่องการมรณภาพของท่านนั้น  ท่านได้บอกกกล่าวกับพระสงฆ์และศิษย์ผู้ใกล้ชิดให้ได้รับรู้ล่วงหน้าแล้วว่าท่านจะสิ้นอายุขัยเมื่ออายุได้ ๕๕ ปี  และเมื่อท่านมีอายุได้ ๕๕ ปี ท่านก็ละสังขารตามที่ได้เคยบอกกล่าวไว้    

หลังจากท่านมรณภาพ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช “จวน อุฏฐายี”  มีพระบัญชาให้เก็บศพท่านไว้ยังไม่ถวายเพลิง  เอาอย่างพระมหากัสสปะเถระ   ที่ในวันหนึ่งในอนาคตกาลจะมีพระศรีอริยเมตไตรย  มาเผาศพพระมหากัสสปะอย่างสมศักดิ์ศรี

นัยของท่านพ่อลีก็ขอให้เอาเยี่ยงอย่างนี้ เป็นอุทาหรณ์ว่า  “ผู้มีบุญกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่านในวันข้างหน้า จะได้มาถวายเพลิงสรีระร่างของท่านอย่างสมศักดิ์ศรี” เช่นกัน

และท่านมีบัญชาอีกว่า การบำเพ็ญกุศลและสวดมนต์อุทิศถวายท่านพ่อลีทุกคืน  บรรดาบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นคณะศิษย์ของท่านพ่อลีได้ปฏิบัติตามมาโดยตลอด    

ปัจจุบันนี้ สังขารของท่านพ่อลียังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดอโศการาม   หากสาธุชนท่านใดต้องการไปสักการะเคารพ  ก็ขอเชิญที่วัดอโศการามได้ทุกวัน


.
5344  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: พระอาจารย์ลี ธัมมธโร ก่อนพบ พระอาจารย์มั่น เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 19:51:25
ประวัติโดยย่อ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี  ธมฺมธโร)
        วัดอโศการาม  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรปราการ


พระอาจารย์ลี  ธุมฺมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์)  นามเดิม ชาลี  ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ  เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙  ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ณ บ้านหนองสองห้อง ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี  โยมบิดาชื่อ ปาว  นารีวงศ์  โยมมารดาชื่อพ่วย  นารีวงศ์   มีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม ๙ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๔ คน  โยมบิดามารดามีอาชีพทำนา

เมื่อท่านอายุได้ ๑๑ ปี  โยมมารดาได้ถึงแก่กรรม  พออายุ ๑๒ ปี ท่านได้เข้าเรียนหนังสือ แต่ผลการเรียนไม่ดี  เรียนไม่จบชั้นประถม ๔  มีความรู้แค่พออ่านออกเขียนได้เท่านั้น เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ลาออกจากโรงเรียนมาช่วยโยมบิดาทำนา   ในระหว่างนี้เกิดมีการขัดใจกับโยมบิดาบ่อยๆ   ด้วยโยมบิดาต้องการให้ท่านทำการค้าขายของที่ไม่ถูกอัธยาศัย  เช่น ให้ไปหาซื้อหมูมาขาย ซื้อวัวมาขาย เป็นต้น  ครั้นเมื่อท่านอยากจะไปทำบุญทำทานก็คอยขัด  บางทีต้องการไปทำบุญก็หายอมให้ไปไม่ กลับบอกให้ไปทำไร่ทำนาเสีย  บางวันน้อยใจนั่งร้องไห้อยู่คนเดียวกลางทุ่งนา นึกแต่ในใจว่าเราจักไม่อยู่ในหมู่บ้านนี้ แต่ก็ต้องอดทนอยู่ไปก่อน  ต่อมาโยมบิดาได้ภรรยาใหม่คนหนึ่งชื่อ แม่ทิพย์ ตอนนี้ค่อยรู้สึกสบายใจขึ้น

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๖๘  ขณะอายุครบ ๒๐ ปี  โยมมารดาเลี้ยงได้ถึงแก่กรรม  ขณะนั้นท่านได้ไปอยู่กับญาติที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  พอปลายเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้กลับขึ้นไปบ้าน โยมบิดาก็แนะนำให้บวช    ท่านจึงได้ทำการบวชพร้อมเพื่อน รวม ๙ คน  เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันพุธที่ ๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๙    ในระหว่างพรรษาที่ ๒   ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดี  หวังดีต่อพระศาสนาอยู่  ในกาลต่อไปนี้ขอจงได้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบภายใน ๓ เดือน”    

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่ ได้พบพระรูปหนึ่งกำลังเทศน์บนธรรมาสน์ รู้สึกแปลกประหลาดในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส  จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน   ได้รับตอบว่า “เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อ อาจารย์บท” พอเสร็จงานมหาชาติจึงได้ตามไปดูเห็นปฏิปทาของท่านเป็นที่น่าพอใจจึงถามถึงอาจารย์ของท่าน   ท่านตอบว่า “พระอาจารย์มั่น  พระอาจารย์เสาร์  เวลานี้พระอาจารย์มั่นอยู่ที่วัดบูรพา  จังหวัดอุบลราชธานี”  จากนั้นท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินรุกขมูลไปพบพระอาจารย์มั่น  ท่านสอนให้ภาวนา “พุทโธ”  เนื่องจากท่านกำลังอาพาธ  ท่านจึงได้แนะนำให้ไปศึกษากับพระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม  และพระอาจารย์มหาปิ่น  ปญฺญาพโล  ที่วัดบ้านท่าวังหิน ณ ที่นี้ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมิก ๒ รูป คือพระอาจารย์กงมา  และพระอาจารย์สาม  ต่อมาท่านติดตามพระอาจารย์มั่นไปในที่ต่างๆ เป็นเวลา ๔ เดือน ภายหลังพระอาจารย์มั่นได้ให้ท่านญัตติใหม่เป็นธรรมยุต

ท่านจึงญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย  เมื่อวันที่ ๒๗  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๗๐  ณ วัดบูรพา  จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระปัญญาพิศาลเถร (หนู)  เป็นพระอุปัชฌาย์  ท่านได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด  ปีแรกที่ได้สวดญัตติแล้ว ได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ๖ พรรษา มาจำพรรษาวัดสระปทุมพระนคร ๓ พรรษา ไปจำพรรษาอยู่ที่เชียงใหม่ ๒ พรรษา จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา ๒ พรรษา จังหวัดปราจีนบุรี ๑ พรรษา มาสร้างสำนักที่จันทรบุรี จำพรรษาอยู่ ๑๔ พรรษา ต่อจากประเทศอินเดียผ่านประเทศพม่า ไปจำพรรษาที่วัดควนมีด จังหวัดสงขลา ๑ พรรษา จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส ๓ พรรษา  ต่อเมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงส์ (อ้วน) มรณภาพแล้วได้ออกไปจำพรรษาอยู่วัดอโศการาม ๔  พรรษา  

ในพรรษา ๔  นี้ตรงกับปี พ.ศ. ๒๕๐๒  ท่านเริ่มอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า  เมื่ออาการทุเลาลงแล้วได้กลับวัดอโศการาม และในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔  ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในกุฏิของท่านโดยสงบและไม่มีใครรู้เห็น  สิริรวมอายุได้ ๕๕ ปี ๓ เดือน ๖ วัน


.
5345  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / พระอาจารย์ลี ธัมมธโร เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 18:51:08
                                      พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
           ภาพจาก :audio.palungjit.com


๑. พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ก่อนพบพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต

เรื่องราวของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  เป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างโลดโผน  สะท้อนบทเรียนเป็นอย่างมากของผู้อยู่ในสมณวิสัย

ท่านเป็นคนบ้านหนองสองห้อง  ตำบลยางโยงภาพ  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  อุปสมบทกรรมที่วัดบ้านหนองสองห้อง  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นการอุปสมบทในมหานิกาย พร้อมกับเพื่อน ๆ ด้วยกัน ๖ องค์  


จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร

“บวชแล้วก็ได้เรียนสวดมนต์และพระธรรมวินัย  แล้วตรวจดูภาวะของตนและพระภิกษุอื่น ๆ ในสมัยนั้นเห็นว่าไม่ไหวแน่ เพราะแทนที่จะปฏิบัติสมณกิจกลับมั่วสุมแต่การสนุกมากกว่า  เป็นต้นว่า นั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง  เล่นมวยปล้ำกันบ้าน  เล่นดึงหัวไม้ขีดไฟกับผู้หญิง (เวลามีงานเฮือนดี) บ้าง  เล่นนกกันบ้าง  เล่นชนไก่กันบ้าง  บางทีถึงกับมีการฉันข้าวเย็น”
แม้กระทั่งตัว  พระอาจารย์ลี ธัมมธโร เองก็ฉันข้าวเย็นไปกับเขาด้วยถึง ๓ ครั้งด้วยกัน

ที่รู้สึกเบื่อที่สุด คือการรับนิมนต์ไปสวดมนต์คนตาย  เพราะรู้สึกรังเกียจมาก  ตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๒๐ ปี  ถ้าบ้านไหนเกิดมีคนตายจะไม่ยอมไปกินข้าวน้ำในบ้านนั้น  เมื่อบวชแล้วนิสัยนี้ก็ยังติดอยู่”

แต่แล้ววันหนึ่งก็มีผลสะเทือนอันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทางความคิด

เดือนพฤศจิกายนข้างแรมได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่  ตำบลยางโยงภาพ  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  พอดีไปพบพระกรรมฐานองค์หนึ่งกำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์  รู้สึกแปลกประหลาดในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส  จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน   ได้รับตอบว่า “เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อ อาจารย์บท”  

ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว ๒๐ เส้น  พองานหาชาติเสร็จก็ได้ติดตามไปดู  ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านเป็นที่น่าพอใจ  จึงถามท่านว่า “ใครเป็นอาจารย์ของท่าน”    ท่านตอบว่า  “พระอาจารย์มั่น  พระอาจารย์เสาร์  เวลานี้พระอาจารย์มั่น  ได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปพักอยู่ที่วัดบูรพาราม  จังหวัดอุบลราชธานี”    พอได้ความเช่นนั้น ก็รีบเดินทางกลับบ้าน นึกแต่ในใจว่า “เราคงสมหวังแน่ ๆ “

อยู่มาไม่กี่วัน จึงได้ลาโยมผู้ชาย  ลาพระอุปัชฌาย์  ท่านทั้ง ๒ ก็พูดจาขัดขวางทุกด้านทุกมุม  แต่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดว่า “เราต้องไปจากบ้านนี้โดยเด็ดขาด  จะให้สึกก็ต้องไป  จะให้อยู่เป็นพระก็ต้องไป  พระอุปัชฌาย์และโยมผู้ชายไม่มีสิทธิ์ใด ๆ  ทั้งหมด  ถ้าขืนก้าวก่ายสิทธิ์ในตัวเรานาทีใดต้องลุกหนีไปนาทีนั้น”ได้พูดกับโยมผู้ชายอย่างนี้  ในที่สุดโยมผู้ชายและอุปัชฌาย์ก็ยอม

ทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดอันมาจากหนังสือชีวประวัติ  พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร)  ตีพิมพ์เผยแพร่โดยวัดอโศการาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙   นี่ย่อมพ้องกับบันทึกของ พระอาจารย์วิริยังค์ ที่เขียนจากคำ พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ   เป็นคำบอกเล่าหลังจาก พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  พบและปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  ที่บ้านหนองขอน  อำเภออำนาจเจริญ  

“ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่นกำลังเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี  เราจึงได้พยายามธุดงค์ติดตามท่านไป  ในระหว่างทาง  เราได้พบพระลี (อาจารย์ลี  ธัมมธโร)  ที่บ้านหนองสองห้อง  อำเภอม่วงสามสิบ  ท่านก็เป็นพระมหานิกายเหมือนกัน   เราได้อธิบายธรรมปฏิบัติที่ได้ศึกษามาจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้วก็พาปฏิบัติจนเกิดความอัศจรรย์  พระลีมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง  จึงได้ธุดงค์ร่วมกันกับเราเพื่อจะได้พบท่านอาจารย์มั่น  เรากับพระลีได้ไปพบท่านอาจารย์มั่นที่วัดบูรพาราม   นั่นเป็นสถานการณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐

เป็นการพ้องกันอย่างมิได้นัดมายระหว่างพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  กับพระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  เป้าหมายเดียวกัน คือ วัดบูรพาราม  จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งแน่ชัดอย่างยิ่งว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโตและคณะ พำนักอยู่  

ความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร ที่มุ่งมั่นจะไปหาพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เป็นความศรัทธาอย่างแรงกล้า กระทั่งโยมบิดาก็ไม่สามารถยับยั้งลงได้ด้วยถ้อยปลอบประโลม





๒. บันทึกของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  เมื่อได้พบพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต

เดือนอ้าย  ข้างแรม  เวลาเพลแล้ว  ประมาณ ๑๓.๐๐ น.  ได้ออกเดินทางด้วยบริขารโดยลำพังองค์เดียว  โยมผู้ชายได้ติดตามออกไปส่งถึงกลางทุ่งนา   เมื่อได้ล่ำลากันแล้ว  ต่างคนก็ต่างไป      วันนั้น เดินทางผ่านอำเภอม่วงสามสิบพุ่งไปสู่จังหวัดอุบลราชธานี  ได้ทราบข่าวว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  พักอยู่ที่บ้านกุดลาด  ตำบลกุดลาด  อำเภอเมือง  อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๑๐ กิโลเมตรเศษ  พอดี พระบริคุตฯ  ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอม่วงสามสิบ  ถูกปลดออกจากราชการขี่รถผ่านมา  พบเรากำลังเดินทางอยู่คนเดียว  ท่านผู้นี้ได้นิมนต์ขึ้นรถขนย้ายครอบครัวของท่านไปส่งถึงสนามบินจังหวัดอุบลราชธานี ทางไปบ้านกุดลาด   บัดนี้ก็ยังระลึกถึงบุญคุณของท่านผู้นี้อยู่ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกันเลย

ประมาณ ๕ โมงเย็นเดินทางมาถึงสำนักวัดป่าบ้านกุดลาด  แต่ได้ทราบว่า พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กลับมาพักอยู่ที่วัดบูรพา

รุ่งเช้า  เมื่อฉันอาหารแล้วได้เดินเท้ากลับมายังจังหวัดอุบลราชธานี  ได้ไปนมัสการกราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต   ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจ  สอนคำภาวนาให้ว่า “พุทโธ  พุทโธ”  เพียงคำเดียวเท่านั้น

พอดีท่านกำลังอาพาธ  ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน  ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงัด  วิเวกดี ที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  พระอาจารย์ปิ่น  ปัญญาพโล  มีพระภิกษุสามเณรราว ๔๐ กว่าองค์พักอยู่  ได้เข้าไปฟังพระธรรมเทศนาของท่านทุกคืน  รู้สึกว่ามีผลเกิดขึ้นในใจ ๒ อย่างคือ   เมื่อนึกถึงเรื่องเก่า ๆ ของตนที่เป็นมาก็ร้อนใจ  เมื่อนึกถึงใหม่ ๆ ที่กำลังประสบอยู่ก็เย็นใจ  ทั้ง  ๒ อารมณ์นี้ติดตนอยู่เสมอ

พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี  ๒ องค์  ได้ร่วมอยู่ร่วมฉันร่วมศึกษาสนทนากันตลอดมา  เพื่อน ๒ องค์นั้น คือ พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  และ พระอาจารย์สาม  อภิญโย  ได้พากเพียรพยายามภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวัน กลางคืน    เมื่อได้พักอยู่พอสมควรแล้ว ก็ได้ชวน พระอาจารย์กงมา  จิรปุญโญ  ออกเดินทางไปเรื่อย ๆ   ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านตำบลต่าง ๆ  แล้วได้เดินทางกลับไปถึงบ้านเดิมเพื่อบอกข่าวกุศลให้โยมผู้ชายทราบว่าพบ พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต เป็นที่พอใจในชีวิตแล้ว  อาตมาจักไม่กลับมาบ้านนี้ต่อไป

คือได้นึกเป็นคติในใจอยู่ว่า  “เราเกิดมาเป็นคนต้องพยายามไต่ขึ้นอยู่บนหัวคน  เราบวชเป็นพระต้องพยายามให้อยู่บนหัวพระที่เราเคยพบผ่านมา”   ตอนนี้รู้สึกว่าเกิดสมหวังในความคิด    


ความสมหวังในความคิดเมื่อแรกได้พบ  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เป็นความสมหวังที่จะต้องผ่านด่านอีกหลายด่านสำหรับ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร   นั่นก็คือด่านในเรื่องของนิกายอันแตกต่างกัน  เนื่องเพราะอุปสมบทมาในพระมหานิกาย  มีอุปสรรคมากหลายเพราะเป็นการเดินทางเข้าร่วมในหมู่เพื่อนซึ่งส่วนใหญ่เป็นธรรมยุต  ไม่ว่าพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  ไม่ว่า พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม

การญัตติเปลี่ยนนิกายจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก  
 





๓. เข้าสู่วงศ์ธรรมยุต

ปี ๒๔๗๐  พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ดำริภายในใจของตนว่า “เราต้องสวดญัตติใหม่ ล้างบาปเก่าเสียที”  แล้วจึงหารือพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นดีเห็นชอบจึงได้ทำการญัตติจากมหานิกายเข้าสู่วงศ์ธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

“เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ก็ได้ติดตามท่านไปเที่ยวในตำบลต่าง ๆ  ได้รู้สึกมีความเลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่ง  เพราะได้รับความอัศจรรย์จากท่านหลายอย่าง เช่น บางเรื่องคิดอยู่ในใจของเรา  ไม่เคยแสดงให้ท่านทราบเลย ท่านกลับทักทายถูกต้อง  ก็ยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้นทุกที”   (คำว่า “ท่าน” ในที่นี้ของ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  หมายถึง พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต)  

อุปสมบทเข้าสู่วงศ์ธรรมยุตได้เพียง ๑ วัน  ก็ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด คือ ฉันมื้อเดียว  พักอยู่วัดบูรพาคืนเดียวก็ได้ออกไปอยู่ป่าวัดท่าวังหิน  

เมื่อพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  กับ พระปัญญาพิศาล กลับมหานครกรุงเทพฯ  พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ก็ได้รับมอบหมายให้ไปอยู่กับ พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  พระมหาปิ่น  ปัญญาพโล  และพระอาจารย์เทศก์  เทสรังสี   และได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโมไปหลายแห่ง  เพราะว่าระยะกาลนั้น พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  ได้รับมอบหมายจากอาณาจักรให้ไปเทศนาอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน   เป็นการอบรมอย่างที่เรียกว่า สู้กับความเชื่อเรื่องผี เรื่องไสยศาสตร์    เป็นพรรษาที่ พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  อยู่ห่างจาก พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  แต่ก็เป็นระยะกาลที่ได้อยู่กับตนเองอย่างใกล้ชิด  ได้ปฏิบัติปรารภความเพียรอย่างเข้มแข็ง  

พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร ได้บันทึกเอาไว้อย่างน่าศึกษา....โปรดอ่าน

“ในพรรษานั้น ได้พากเพียรทำสมาธิอย่างเข้มแข็ง  บางคราวก็นึกเสียใจอยู่บ้าง  เพราะพระอาจารย์ผู้ใหญ่หนีไปหมด  จิตบางขณะก็นึกอยากจะลาเพศ  แต่หากมักมีเหตุบังเอิญให้สำนึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ   วันหนึ่ง เวลากลางวันประมาณ ๑๗.๐๐ น.  ขณะกำลังเดินจงกรม  จิตกำลังแกว่งไปในทางโลก  พอดีมีหญิงคนหนึ่งเดินผ่านมาข้าง ๆ วัด  เธอได้ร้องรำเป็นเพลงขึ้น โดยภาษาว่า “กูได้เล็งเห็นแล้ว  หัวใจนกขี้ถี่ (นกถืดทือ)  หากมันทัก ร้องถืดทือ  ใจเลี้ยวใส่ปู”  (นกชนิดนี้ชอบกินปู)

ก็ได้จำเพลงบทนี้มาบริกรรมเป็นนิจว่า เขาว่าใส่เรา คือเราเป็นพระ  กำลังก่อสร้างความดีอยู่  แต่ใจมันแส่ไปในอารมณ์ของโลก  ก็นึกละอายตนเองเรื่อย ๆ มาว่าเราจะทำใจของเราให้อยู่กับภาวะของเรา  จึงจะไม่สมกับที่ผู้หญิงคนนั้นพูดเช่นนั้น”

เรื่องเหล่านี้ได้กลายมาเป็นธรรม   ในห้วงที่พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร  ห่างไกลจากพระอาจารย์ใหญ่ (พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต)  และพระปัญญาพิศาล (หนู)  ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์  เส้นทางของพระอาจารย์ลี  ธัมมธโร   จึงคดเคี้ยววกวน  กระทั่งแม้เดินทางไปยังวัดสระปทุม  อันพระปัญญาพิศาล (หนู)  เป็นเจ้าอาวาสอยู่  ก็ยังได้ประสบกับการต่อสู้ทางความคิดอย่างต่อเนื่องเอาเป็นเอาตายว่าจะสึกหาลาพรตหรือไม่

ระยะกาลนั้น  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  เดินทางขึ้นเชียงใหม่   ตามคำอาราธนาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท  จันทร์)  กระนั้นก็ยังห่วงอาทร พระอาจารย์ลี  ธัมมธโร





ข้อมูล : คอลัมน์   “ดังได้สดับมา”  : วิเวกา  นาคร,  มติชนสุดสัปดาห์  
-ตอนที่ ๑ : ฉบับที่ ๑๖๕๗ (๑๘ – ๒๔ พ.ค. ๕๕)
-ตอนที่ ๒ : ฉบับที่ ๑๖๕๘  (๒๕ – ๓๑ พ.ค. ๕๕)

-ตอนที่ ๓ : ฉบับที่ ๑๖๕๙ (๑ - ๗ มิ.ย. ๕๕)
       

5346  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ถ้อยคำสำนวน เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 16:09:15
  ถ้อยคำ - สำนวน
     กิมเล้ง ณ สุขใจ


ธาตุพิการ

จากความหมายของคำว่า “ธาตุ”   และคำว่า “พิการ”   ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ซึ่งให้บทนิยามคำ ธาตุ, ธาตุ- [ทาด, ทาตุ-,  ทาดตุ-] ว่า สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย  โดยทั่ว ๆ ไป เชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ  วิญญาณธาตุ  ธาตุไม้  ธาตุทอง  ธาตุเหล็ก  และให้บทนิยามคำ พิการ   ว่าเสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น,  เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ ตาพิการ,  บางทีใช้เข้าคู่กับคำ พิกล เป็นพิกลพิการ

เมื่อศึกษาความหมายทั่วไปแล้ว  มาดูความหมายเฉพาะทางจะทำให้เข้าใจคำว่า “ธาตุพิการ” ได้ชัดเจนขึ้น  โดยพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้บทนิยามคำ ธาตุพิการ ว่า ภาวะที่ธาตุใดธาตุหนึ่งสูญเสียหน้าที่การทำงานไปมากจนเกิดความผิดปรกติอย่างรุนแรง  ดังคัมภีร์โรคนิทาน ตอนหนึ่งว่า “....เดือน ๑๑, ๑๒, ๑, ๓  เดือนนี้กินผักแลอาหารทั้งปวงผิดสำแลงอาโปธาตุ คือดีพิการมักขึ้งโกรธ มักสะดุ้งใจ คือเสมหะพิการกินอาหารไม่รู้จักรศ หนองพิการมักให้เปนหืดไอ โลหิตพิการ ให้คลั่งเพ้อพกให้ร้อน เหื่อพิการ มักให้เชื่อมซึม มันข้นพิการมักให้ตัวชาสากไป น้ำตาพิการมักให้ปวดศีศะเจบตา มันเหลวพิการมักให้บวมมือบวมเท้า เปนน้ำเหลืองตกมักให้ผอมแห้งไป น้ำฬายพิการมักให้เปนไข้ มักให้ฅอแห้งฟันแห้ง น้ำมูกพิการมักให้ปวดศีศะ ไขข้อพิการมักให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก คือมูตรพิการให้ปัสาวะแดง ขัดปัสาวะ ๆ เปนโลหิตปวดเจบเนือง ๆ แลธาตุน้ำทั้งนี้ประมวนเข้าด้วยกันทั้ง ๑๒ จำพวกนั้นจึ่งเรียกว่าธาตุพิการ แพทย์พึงรู้เถิด...”                                                                                 



ที่มา: คอลัมภ์ "องค์ความรู้ภาษาไทย"   โดยราชบัณฑิตยสถาน   หน้า ๒๖ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพุธที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

.
5347  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ / ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ "กุมารทอง-เจ้าพ่อหนูแดง" เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2555 14:39:34
ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่  - กุมารทอง-  เจ้าพ่อหนูแดง


คนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่า เมื่อ ๗๐-๘๐ ปีที่แล้ว  เชื่อเรื่องผีสางนางไม้มากกว่าคนรุ่นลูกหลาน  คนรุ่นใหม่มักตั้งคำถามว่า ชีวิตหลังความตายเป็นเช่นใด  ผีมีจริงหรือ?
ข่าวขโมยซากเด็กทารกเอาไปทำกุมารทอง  ตำรวจที่จับได้ได้ยินเสียเด็กร้องไห้  ทำให้นึกถึงเรื่องขุนแผนผ่าท้องนางบัวคลี่เอาเด็กในท้องมาย่างทำกุมารทอง ใช้เป็นศาสตราวุธสำคัญในการหาข่าว กุมารทองของขุนแผนมีฤทธิ์เดชมาก เพราะคนเป็นพ่อตั้งใจเอาลูกของตัวเองมาใช้   ต่างจากกุมารทองต่อ ๆ มา ไม่ว่าจะในตำราไสยศาสตร์หรือของ “เณรแอ”  ล้วนแต่ต้องไปจ้องหาศพทารกลูกคนอื่น

กระบวนการเสกปั้นเป็นกุมารทอง มองได้ว่าเพราะใช้วิชา ใช้คาถา แต่กุมารทองสไตล์จิตอาสามาเอง ชั่วชีวิตผม*ก็เพิ่งได้รู้จากหนังสืออัตชีวประวัติของ พล.อ.อ. ประหยัด ดิษยะศริน  ที่บ้าน พล.อ.อ. ประหยัด  ดิษยะศริน และที่บ้านพี่ ๆ ของท่านมีศาลเจ้าพ่อหนูแดง พล.อ.อ. ประหยัด เขียนว่า ในกาลครั้งหนึ่งสมัยคุณพ่อคุณแม่  คืนหนึ่งคุณแม่ฝันว่าเด็กชายตัวน้อยนุ่งผ้าโจงกระเบนสีแดง  เกล้าผมจุก  ปักปิ่น  ไม่สวมเสื้อ  แต่สวมสร้อยสังวาล  มือขวาถือพระขรรค์  มือซ้ายถือนกหวีด  นั่งบนหลังจระเข้ใหญ่  ว่ายน้ำเข้ามาหาคุณแม่ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน

คืนนั้นพระจันทร์เต็มดวง น้ำเต็มสองฝั่งคลอง  เด็กคนนั้นพูดว่า “บ้านหลังนี้น่าอยู่ คงสุขสบายดี ขออยู่ด้วยคนได้ไหม ?”  ในฝันคุณแม่ไม่ได้ตอบอะไร  ตื่นขึ้นมาก็คิดว่าเป็นความฝันธรรมดา  สามคืนต่อมาแม่ก็ฝันอีก  ทุกเรื่องเหมือนความฝันคราวก่อน  ฝันจบคุณแม่ตื่น  เล่าความฝันสองครั้งให้คุณพ่อฟัง

ไม่กี่วันต่อมา คุณพ่อก็สร้างศาลขึ้นในบ้าน วันทำพิธียกศาลเชิญหนูแดงมาประทับ มีการเชิญแขกเหรื่อ แขกคนหนึ่งนำหัวจระเข้สตัฟฟ์ตัวใหญ่มาให้เป็นขวัญ คุณพ่อเห็นแล้วก็รู้ว่าหัวจระเข้เป็นของคู่บุญกับ“หนูแดง”  นับแต่มีหนูแดงร่วมบ้าน พล.อ.อ. ประหยัดเล่าว่าเมื่อคนในบ้านประสบภัยพิบัติทุกข์ร้อน บางเรื่องไม่ได้จุดธูปบอกเล่า เจ้าพ่อหนูแดงก็ช่วย

ครั้งหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่นำเรือยนต์ลากเรือบรรทุกข้าวจากอำเภอธัญบุรีมาในคลองรังสิต  ถึงสี่แยกมีคลองซอยตัดผ่าน ก็ถูกเรือยนต์ลำใหญ่วิ่งตัดท้ายเรือยนต์ดึงเชือกเรือพ่วง  ทำเอาเรือยนต์และเรือพ่วงคว่ำจมน้ำทันที..ไม่มีใครเป็นอันตราย ช่วยกันงมหาทรัพย์สินเงินทองของมีค่าที่ตกจมใต้น้ำก็เกิดเรื่องแปลกอีก ปักไม้ดำลงไปตรงไหน หีบกำปั่น  เงินเหรียญเป็นพวงทุกพวง**เชื่ยนหมากเงิน- นาก ฯลฯ  ก็งมได้จนครบทุกชิ้น

เระหว่างกู้เรือ จรจาค่าเสียหาย  พล.อ.อ.ประหยัดเล่าว่าตอนนั้นยังเล็กมากอยู่กันในบ้าน จึงจำเรื่องราวได้ไม่ลืม..จู่ ๆ พี่สังข์ แม่บ้านที่คุณแม่เลี้ยงไว้เหมือนลูกบุญธรรม ก็เกิดอาการ “ผีเข้า” คนในบ้านแตกตื่นตั้งสติถาม ได้ความว่า “หนูแดงประทับทรงเล่าว่า เหนื่อยมาก เพิ่งไปช่วยคุณพ่อคุณแม่ที่เรือคว่ำ”   ตอนหนูแดงบอก คนในบ้านยังไม่เข้าใจเกิดอะไรกันแน่   จนกระทั่งเรือคุณพ่อคุณแม่มาถึงบ้านจึงเข้าใจ และยิ่งเลื่อมใส “หนูแดง” มากขึ้น

พล.อ.อ.ประหยัด ว่า “คนรุ่นใหม่เขาไม่เชื่อ”   “บางคนเผลอไปลบหลู่ท่านก็มักเจอปาฏิหาริย์ลงโทษแบบสั่งสอน”    แต่สำหรับ พล.อ.อ.ประหยัด นั้น...“เชื่อท่านมาก  บูชาทุกคืนก่อนนอน”



ย่อความจาก  “หนูแดง  กุมารทองจิตอาสา”   คอลัมภ์ ชักธงรบ     โดย กิเลน  ประลองเชิง   นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕




* หมายถึง กิเลน  ประลองเชิง...กิมเล้ง
** สมัยก่อนเงินเหรียญจะมีรูตรงกลาง เข้าใจว่าคงร้อยเก็บเป็นพวง ๆ ....กิมเล้ง



     ภาพจาก : chaiediter.blogspot.com

 
5348  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: ระวัง....บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมา กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดด เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2555 09:48:00



 


จากินหนูจริง ๆ เหรอ


.
5349  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: ระวัง....บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมา กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดด เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2555 06:44:44





รี๊ดดดดดดดดด ด ด ด ด ด ด ด 



.
5350  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / สุนทรภู่ ๑ "ประวัติ และผลงานประเภทสุภาษิต" เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555 19:28:27
 สุนทรภู่ และประชุมโวหารสุนทรภู่
     ภาพจาก : nmk.ac.th



๑.  ชีวิตและงานสุนทรภู่

๑.๑ ประวัติของสุนทรภู่

สุนทรภู่   กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน)  บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง   มารดาเป็นชาวเมืองใดไม่ปรากฏ  แต่สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง  บิดามารดาเลิกร้างกันตั้งแต่สุนทรภู่ อายุได้ ๒ ขวบ    บิดาออกไปบวชที่วัดป่า  ตำบลบ้านกร่ำ  อำเภอแกลง  อันเป็นภูมิลำเนาเดิม  ส่วนมารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง  และได้ถวายตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรม ฯ  สุนทรภู่ได้ตามมารดาเข้าไปอยู่ในวังด้วย

ในปฐมวัย สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว  ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดสุดาราม  อำเภอบางกอกน้อย  ฝั่งธนบุรี   แต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น  เมื่อรุ่นหนุ่มสุนทรภู่ได้ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย  ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้เมื่ออายุราว ๒๐ ปี  ในระยะนี้ได้ลอบรักกับหญิงสาวชาววังชื่อ “จัน”  เลยถูกกริ้วต้องเวรจำทั้งชายหญิง  เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๙  จึงพ้นโทษถูกปล่อยเป็นอิสระ   แล้วจึงเดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง  ออกจากกรุงเทพฯ ในเดือน ๗  โดยเรือประทุน  มีศิษย์แจวหัวท้ายไป ๒ คน พร้อมกับชาวระยองเจ้าของท้องที่ซึ่งชำนาญเส้นทางร่วมนำชี้ทางไปด้วย  การเดินทางครั้งนี้ สุนทรภู่ได้พรรณาสภาพการเดินทางในสมัยโบราณ ที่ต้องทนอุตส่าห์ฝ่าฟันภัยอันตราย ความทุรกันดาร  จนกว่าจะถึงที่หมาย  ไว้ในนิราศเมืองแกลง   ต่อมาสุนทรภู่ก็ได้แต่งงานกับนางจันคู่ทุกข์คู่ยากนั้นเอง  แต่อยู่ด้วยกันไม่นานก็เกิดระหองระแหง  เพราะสุนทรภู่ชอบดื่มเหล้าและเป็นคนเจ้าชู้  นางจันจึงทิ้งไป  หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ได้ภรรยาอีกหลายคน แต่ก็อยู่ด้วยกันไม่ยืด

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่  แต่นักวิชาการรุ่นหลังค้นคว้าหาหลักฐานมาได้ว่า ผลงานวรรณกรรมเรื่องแรกของสุนทรภู่คือนิยายเรื่องโคบุตร  ที่แต่งขึ้นถวายพระองค์เจ้าปฐมวงศ์   ซึ่งเป็นโอรสของกรมพระราชวังหลัง      เกี่ยวกับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์  ขณะทรงผนวชจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)   สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้ถวายงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาที่ทรงผนวชอยู่    ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๕๐  สุนทรภู่ได้ตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี   และได้แต่งนิราศพระบาทขึ้นอีกเรื่อง  นับเป็นนิราศอันดับที่ ๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   รองจากนิราศเมืองแกลง  

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)  เป็นยุคกวีนิพนธ์เฟื่องฟู   ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นผู้มีฝีมือในการแต่งกลอน  จึงทรงโปรดฯ ให้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒    จนได้รับแต่งตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร   เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด  ระยะนี้สุนทรภู่ได้หญิงชาวบางกอกน้อยชื่อนิ่มเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง  ต่อมาในราว พ.ศ. ๒๓๖๔  สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่  แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษเพราะความสามารถในทางกลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชีวิตของสุนทรภู่ในรัชกาลนี้นับว่ารุ่งโรจน์  มีที่อยู่  มียศถาบรรดาศักดิ์  จนกระทั่งสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗  ชะตาชีวิตของยอดกวีศรีรัตนโกสินทร์ต้องถึงคราตกอับ สิ้นวาสนา อันเป็นเรื่องกรรมเก่า ที่สุนทรภู่ได้ทำไว้เองทั้งสิ้น

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์เล่าถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ทรงแบ่งตอนบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าวดาหาไปใช้บน   พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงนิพนธ์    เมื่อทรงนิพนธ์เรียบร้อย ถึงวันจะอ่านถวาย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งวานสุนทรภู่ครูกวีที่ปรึกษาใหญ่ให้ช่วยอ่านตรวจสำนวนดูอีกที สุนทรภู่อ่านดูแล้วก็กราบทูลว่า ดีแล้วไม่มีอะไรจะต้องแก้ไข


          
ครั้นได้เวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดให้อ่านบทกวี  พอถึงตอน

   
น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว    
   ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว

    
 สุนทรภู่  ได้กล่าวตำหนิบทกวีสองบรรทัดนี้ว่าขัดหูขัดตา  ขอแก้เสียใหม่เป็น
   
น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา
   ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  จึงทรงโปรดให้แก้ไขเสียใหม่ตามที่หลวงสุนทรโวหารเสนอ  เหตุการณ์ครั้งนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกริ้วมาก เมื่อเสด็จขึ้นแล้วมีรับสั่งว่าเมื่อขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข  แกล้งนิ่งเอาไว้ติหักหน้ากันในที่ประชุมหน้าพระที่นั่ง..

ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗  กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติ  ทรงพระนาม พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรเจษฏาธิบดินทร์   พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ขุนสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)   จึงถูกถอดออกจากตำแหน่ง ขุนสุนทรโวหาร   เนื่องจาก กรรมเก่า ที่ท่านสุนทรภู่ได้ทำผิดอย่างร้ายแรง  ครั้งได้แก้บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๓  ขณะยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ต่อหน้าพระที่นั่ง   พระองค์ทรงอับอายข้าราชบริพาร   สุนทรภู่จึงคราตกอับ  สิ้นวาสนา  แล้วออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)  ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙


ขณะออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)  ได้เดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่าง ๆ  โดยได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์   สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท  รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ ๑๐ พรรษา  สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่ง  และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิม  รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ครองราชย์  ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์  เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง)  สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุนทรโวหาร  ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์  ฝ่ายบวรราชวัง  ใน พ.ศ. ๒๓๙๘  และรับราชการต่อมาได้ ๔ ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. ๒๓๙๘  รวมอายุได้ ๗๐ ปี


๑.๒ งานของสุนทรภู่
หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ

๑. ประเภทนิราศ
     นิราศเมืองแกลง
     นิราศพระบาท
     นิราศภูเขาทอง
     นิราศเมืองสุพรรณ (แต่งเป็นโคลง)
     นิราศวัดเจ้าฟ้า
     นิราศอิเหนา
     นิราศพระประธม
     นิราศเมืองเพชร
๒.ประเภทนิทาน
     เรื่องโคบุตร
     เรื่องพระอภัยมณี
     เรื่องพระไชยสุริยา
     เรื่องลักษณวงศ์
     เรื่องสิงหไกรภพ
๓. ประเภทสุภาษิต
     สวัสดิรักษา
     เพลงยาวถวายโอวาท
     สุภาษิตสอนหญิง
๔. ประเภทบทละคร
     เรื่องอภัยณุราช
๕. ประเภทบทเสภา
     เรื่องขุนช้างขุนแผน
     เรื่องพระราชพงศาวดาร
๖. ประเภทบทเห่กล่อม
     เห่จับระบำ
     เห่เรื่องกากี
     เห่เรื่องพระอภัยมณี
     เห่เรื่องโคบุตร
5351  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี / Re: ตำนานผีล้านนา ตอน หำยนต์กั๋นผี เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555 13:10:05



ฝีมือแกะสลักสุดยอด...ชาวล้านนา โชคดีที่ได้อยู่ในเขตภูมิอากาศที่เย็นสบาย และธรรมชาติแวดล้อมอุดมสมบูรณ์
ด้วยป่าเขา  ลำเนาไพร....สิ่งเหล่านี้มีผลสำคัญต่อจิตใจและอารมณ์  งานหัตถกรรม ศิลปกรรม  ที่ผลิตออกมาจึงอ่อนช้อย สวยงามหาที่เปรียบมิได้.....

    
5352  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / เกร็ดศาสนา พุทธชยันตี มีที่มาอย่างไร? เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2555 11:02:52

....เกร็ดศาสนา
ภาพจาก : board.palungjit.com

พุทธชยันตี

ความเชื่อว่าพุทธศาสนาจะยั่งยืนอยู่ได้ ๕ พันปี   ผู้รู้บอกว่าเป็นความเชื่อของพุทธนิกายมหายาน  แพร่หลายในทิเบต  จีน  ญี่ปุ่น  ญวน  ชาวพุทธเถรวาทแบบไทย  ลังกา  พม่า....เห็นว่าดี  ก็พลอยเออออ

ปี ๒๕๐๐  ครึ่งทางของพุทธศาสนา  จอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี  ดำริจะจัดงานฉลองยิ่งใหญ่  ใช้ชื่อ “งานฉลองกึ่งพุทธกาล”  พอประกาศข่าวออกไป   พระสงฆ์นิกายหินยาน ไทย ลังกา พม่า.. ก็ประท้วง...ด้วยความเชื่อของหินยาน  ไม่ระบุวันสิ้นสุดของพระพุทธศาสนา  โดยยกพุทธฎีกา  “ตราบใดที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  ยังคงประพฤติปฏิบัติธรรม  ตราบนั้น ศาสนาของตถาคตก็ยังคงอยู่”    จอมพล ป.  พิบูลสงคราม  จึงเปลี่ยนชื่องานเป็น “งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ”     คำว่า “พุทธศตวรรษ”  แปลว่าร้อยปีพุทธศาสนา  เคยเชื่อกันว่า ครบร้อยปีก็จะจัดงานฉลอง เรียกว่า พุทธชยันตี  ชื่องาน พุทธชยันตี  แปลว่า ชัยชนะของพระพุทธเจ้า   หลายประเทศที่พุทธศาสนาเข้มแข็ง  เช่น ลังกา  พม่า  อินเดีย  กระทั่ง สหรัฐอเมริกา  ได้จัดงานพุทธชยันตีติดต่อกันถึง ๓ ปี  ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓  ต่อเนื่องมาถึงปี ๒๕๕๕

ในครั้งปลายกรุงสุโขทัย  เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๐  พระมหาธรรมราชาลิไท  ทรงจัดงานฉลองพุทธชยันตี  ริมแม่น้ำปิง  หน้าเมืองกำแพงเพชร  ได้สร้างพระพิมพ์เอาไว้มากมายบรรจุไว้ในเจดีย์วิหาร  ปัจจุบันเรียกกันว่า ลานทุ่งเศรษฐี   พระพิมพ์ชุดนี้ มีตำนานเล่าว่า ฤาษีสร้าง  พิมพ์นิยมเดิม  คือพิมพ์ยืน  ชาวบ้านเรียกว่ากำแพงเม็ดขนุน  แต่ปัจจุบันนี้ พิมพ์ซุ้มกอ (นั่ง) องค์งาม ๆ มีจมูก มีตา...ราคาว่ากันเกินสิบล้าน

พ้นเรื่องงานพุทธชยันตีเมื่อปี ๑๙๐๐ ก็มาถึงงานพุทธชยันตี ปี ๒๕๐๐....เริ่มเย็นวันที่ ๑๒ พฤษภาคม  พระสงฆ์ ๒,๕๐๐ รูป  เจริญพระพุทธมนต์ที่สนามหลวง  ๖ โมงวันรุ่งขึ้น เป็นวันวิสาขบูชา  พระสงฆ์ทุกวัดสวดชยันโตกระหึ่มทั้งประเทศ  สลับด้วยเสียงย่ำฆ้อง  กลอง  ระฆัง  กระทั่งโรงงานก็ยังเปิดหวูด ร่วมบรรเลงขับขาน

เวลา ๐๙.๓๐ น.  นายกฯ ไทย รับมอบพระไตรปิฎกภาษาพม่า จากนายกฯ อูนุ  ของพม่า  ระหว่างพิธีมอบเกิดปัญหาเล็กน้อยบนเวทีที่นั่งของพระสงฆ์ ๒,๕๐๐ รูป   เนื่องจาก พระสงฆ์ญี่ปุ่นที่ได้รับนิมนต์มา ท่านไม่ได้มารูปเดียว  แต่เอาศิษย์ชิดใกล้ คือภรรยามาด้วย    เมื่อมาแล้ว ภรรยาพระก็จะนั่งบนแถวที่นั่งพระที่ทางการไทยจัดเตรียมไว้   เจ้าหน้าที่ไทยไม่ยอม  พอคุยกันรู้เรื่อง  เรื่องก็จบลงได้ไม่มีการประท้วงถึงขั้นวอล์กเอาต์

เหล่านี้ คือเกร็ดเรื่องงานพุทธชยันตี ๒ ครั้ง ที่บันทึกว่า จัดเมื่ออายุพุทธศาสนาครบ ๑๐๐ ปี  ระยะนี้ เริ่มมีการใช้ชื่องานพุทธชยันตีหลายครั้ง

ผม (กิเลน  ประลองเชิง..กิมเล้ง)  ตั้งข้อปุจฉา  ปีนี้ปี ๒๕๕๕ อีก ๔๕ ปี จึงจะถึงปี ๒๖๐๐  จะมาเร่งรีบจัดกันไปทำไมล่วงหน้า...มีวิสัชนาจาก พ.อ.บุญชู  ศรีเคลือบ  อุปนายกเปรียญธรรมสมาคม ว่า กระบวนนับ ไม่ได้เริ่มจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  แต่เริ่มเมื่อปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ค้นพบทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์  เมื่ออายุ ๓๕ พรรษา  หากนับโดยคตินี้  พุทธศาสนาเกิดก่อน พ.ศ. ๑ ที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ๔๕ พรรษา  ปีนี้ก็ถือว่า พระพุทธศาสนามีอายุครบ  ๒๖๐๐ ปี    

ดังนั้น  ไม่ว่าจะกำหนดนับงานพุทธชยันตี กันด้วยวิธีไหน  แต่เมื่อเป็นงานบุญ  พระพุทธเจ้าสอนว่า ทำเมื่อไหร่ก็ได้เมื่อนั้น มากหรือน้อย  เอาหัวใจที่เบิกบานผ่องใส  เป็นตัววัด 




ย่อความจาก  “พุทธชยันตี”    คอลัมภ์ ชักธงรบ    โดย กิเลน  ประลองเชิง  นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันเสาร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
5353  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / กว่าจะเป็นเพลงชาติ เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2555 19:19:22
..........กว่าจะเป็นเพลงชาติ
ภาพจาก : luangpukahlong.com


หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕  คณะราษฎรสั่งให้แต่งเพลงชาติ...พระเจนดุริยางค์ (ปิติวาทยะกร)  เอาเพลงชาติฝรั่งเศสมาปรับเป็นทำนอง  
ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า  กาญจนาคพันธุ์)  แต่งเนื้อร้อง  

บาทแรกขึ้นต้นว่า  “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง”   คนสยาม...ได้ร้องเพลงชาติเพลงนี้ราว ๖ ปีกว่า.... ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านผู้นำมีดำริว่าให้เปลี่ยนชื่อประเทศ  
จาก สยาม  เป็น ไทย  เพลงชาติที่เริ่มร้องกันคล่องปาก  วรรคนำสองวรรคแรก มีคำ “สยาม”  ก็ถือว่าล้าสมัย

คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ  ผลปรากฏว่าผู้ชนะเลิศได้แก่  นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล  ปราจิณพยัคฆ์)  ส่งในนามกองทัพบก

๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒  จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามประกาศเป็นรัฐนิยม คนไทยก็ได้ร้องเพลงชาติ ขึ้นต้นว่า ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย....
....เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย....
นับแต่บัดนั้น

หลวงสารานุประพันธ์ เขียนเรื่องเนื้อร้องเพลงชาติ ๘๒  ไว้ในหนังสือวรรณคดีสาร เล่ม ๑๑ เดือนมิถุนายน ๒๔๘๖ ว่า นับแต่รับปาก  พลโทมังกร  พรหมโยธี  
รมช.กลาโหม  จะแต่งเนื้อเพลงชาติ  ก็พบข้อยากอย่างแสนลำเค็ญหลายข้อ
๑. เนื้อร้องต้องเป็นบทร้อยกรอง  ประเภทที่สงเคราะห์เข้ากลอนแปด หรือกลอนเสภา
๒. จำกัดให้มีเพียง ๘ วรรค หรือ ๔ คำกลอน
๓. ในวรรคนั้นต้องบรรจุถ้อยคำไพเราะและปลุกใจ
๔. ต้องวางคำให้ถูกจังหวะเพลง ที่ไม่ทำให้เสียอรรถรสของใจความ
และ ๕.  ข้อที่ยากที่สุด คำที่จะวางลงไป  ต้องให้ลงกันกับเสียงสูงต่ำของโน้ตดนตรี เพื่อไม่ให้ฟังเป็น “แผ่นดินสะยาม นามประเทื้องว่าเหมื่องทอง....”  ไปอีก

ได้เพลงชาติให้คนไทยร้องได้ไม่นาน กองทัพบกจารึกข้อความในสมุดประวัติหลวงสารานุประพันธ์ ว่า “แต่งเนื้อและทำนองเพลงชาติใหม่ให้กองทัพบก  
โดยมิขอรับตอบแทนแต่อย่างใด"
(ตามประกาศให้รางวัล ๑ พันบาท)  

หลวงสารานุประพันธ์  เขียนสั่งบุตรธิดาทุกคนว่า “ในกาลภายหน้า เมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว  ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ  ขอให้หา
จานเสียงเพลงชาติอันนี้มาเปิดให้ฟังจงได้  เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นในใจ  อันจะไม่มีวันเสื่อมคลาย ตราบสิ้นลมปราณ”



ย่อความจาก   “กว่าจะเป็นเพลงชาติ”   คอลัมภ์ ชักธงรบ   โดย กิเลน  ประลองเชิง   นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕

.
5354  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2555 18:58:13

อยากไปจัง  ปิ๊ง ๆ
5355  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงเหลืองมะละกอไข่ปลาริวกิว บรรเจิดนักแล - กิมเล้ง เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2555 17:55:40
แกงเหลืองมะละกอไข่ปลาริวกิว บรรเจิดนักแล - กิมเล้ง







เครื่องปรุง
- ไข่ปลาริวกิว 1 ขีด
- มะละกอหั่นชิ้น  3 ขีด
- น้ำพริกแกงเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
- ส้มแขก 4 - 5 ชิ้น  หรือน้ำมะขามเปียก  หรือน้ำมะนาว
- น้ำซุปกระดูกหมู 2 ถ้วย
- น้ำปลา  น้ำตาลปีบ



เครื่องปรุงพริกแกง
- พริกชี้หนูแห้ง 15-20 เม็ด
- พริกขี้หนูสดหรือพริกชี้ฟ้าสด 7-8 เม็ด
- กระเทียม 1 หัวใหญ่
- ตะไคร้ซอย 2  ช้อนโต๊ะ
- ขมิ้นปอกเปลือกยาวประมาณ 2 นิ้ว
- กะปิใต้  1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด   ใส่กะปิ
2.ต้มน้ำกับเกลือ และตะไคร้หั่นท่อนบุบพอแตก (ช่วยดับกลิ่นคาวไข่ปลา)พอน้ำเดือดจัด ใส่ไข่ปลาริวกิว
    พอไข่ปลาเริ่มสุกตักขึ้นพักไว้สักครู่ แกะไข่ปลาเป็นเม็ดๆ พักไว้
3.ต้มน้ำซุปกระดูกหมู  พอเริ่มเดือดใส่เครื่องแกง  ส้มแขก   ตามด้วยมะละกอ
4.มะละกอเริ่มสุก ใส่ไข่ปลาริวกิว (อย่าคน) จนกว่าไข่ปลาสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ถ้าชอบตัดหวานใส่น้ำตาลปีบ
5.ถ้ายังไม่ได้รสเปรี้ยวตามต้องการใส่ส้มแขกเพิ่ม เคียวอีกสักครู่ ยกลง



พอน้ำแกงเดือดจัด ใส่ไข่ปลาริวกิวที่แกะไว้  พอสุกปรุงรสตามชอบ






สูตรนี้ไม่มีกลิ่นคาวไข่ปลา มีแต่ความมันๆ ๆ ของไข่ปลา






ปลาริวกิว
ภาพจาก : topicstock.pantip.com

ไข่ปลาริวกิว ได้มาจากปลาริวกิว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาเรียวเซียว หากจะตั้งชื่อว่าแกงส้มมะละกอกับไข่ปลาเรียวเซียว คนก็อาจไม่นึกอยากกินด้วยนึกถึงหน้าเซียวๆ แล้วเกิดความสงสารขึ้นมาก็พาลจะกินไม่ลง

ปลาริวกิว เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 1.20 เมตร ไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในประเภทปลากดทะเล รูปร่างคล้ายคลึงกับปลาแขยงน้ำจืด  
ดำรงชีวิตด้วยการกินปลาหรือสัตว์น้ำประเภทต่างๆ ที่อาศัยอยู่ตามดินโคลน   พบได้ทั่วไปบริเวณปากแม่น้ำ ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

ปลาริวกิว มักนิยมนำเนื้อมาแล่เป็นแผ่นๆ นำไปปรุงรสให้ออกรสหวานนำเค็มตามเล็กน้อย แล้วอบหรือตากแห้ง เนื้อปลาที่ได้จะออกสีเหลืองอมน้ำตาลใส    
มักพบเห็นบนรถเข็นที่พ่อค้าแม่ค้านำมาแขวนบนราวลวดคู่กับปลาหมึกแห้ง มีเตาถ่านไว้บริการย่าง เข็นขายทั่วไปตามท้องถนน ตามงานวัดฯลฯ
5356  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / หมูสามชั้นทอดซีอิ๊ว ทำง่ายแต่ล้ำลึกนักแล - กิมเล้ง เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2555 20:23:40
หมูสามชั้นทอดซีอิ๊ว ทำง่ายแต่รสชาติล้ำลึกนัก - กิมเล้ง
ลงรูปไว้ก่อนเช่นเคย สูตรจะตามมาในวันพรุ่งนะจ๊ะ จุ๊กกรู้วววววว







หมูสามชั้นทอดซีอิ๊ว

ส่วนผสม
- หมูสามชั้น 3 ขีด
- ซีอิ๊วขาว 1  ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๋วดำ 1 ช้อนชา
- ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา


วิธีทำ
1.ล้างหมูสามชั้นให้สะอาด แล่หนังออก (หรือแล้วแต่ท่านชอบ)
2.ใส่น้ำมันในกระทะ 1 ช้อนโต๊ะ  วางหมูสามชั้นลงไป ใส่ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรุส น้ำตาลทราย
3. เติมน้ำสะอาด ประมาณ 1 +1/2  ถ้วยตวง  หาฝาหม้อมาปิดกระทะ
4. เคี่ยวไฟอ่อนๆ ไปจนกว่าน้ำใกล้งวด
5. เขี่ยหมูไว้ขอบกระทะ  รอให้น้ำเกือบแห้งสนิท  จึงเขี่ยเนื้อหมูมาคลุกเคลือบให้ทั่วชิ้นหมู เป็นอันเสร็จ
   (ขั้นตอนสุดท้ายใช้ไฟอ่อนสุด...มิฉะนั้นช้นหมูจะไหม้ได้ง่าย)

  

ใส่น้ำมันในกระทะนิดหน่อย วางหมูสามชั้น ใส่ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส และน้ำตาลทราย


เติมน้ำสะอาด (ถ้าต้องการหมูนุ่มๆ เพิ่มน้ำอีก 1/2 ถ้วย)


หาฝาหม้อใบโต ปิดให้สนิท อบเคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำเกือบแห้ง


กันหมูไว้ขอบกระทะ รอให้น้ำแห้ง


เขี่ยหมูลงไปคลุกเคล้า : เติมน้ำสะอาดสัก 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยให้หมูเกาะตัวกับเครื่องปรุงได้ดี
ผัดคลุกเคล้าจนน้ำแห้ง



ใช้น้ำมากๆ ในการเคี่ยว เนื้อหมูจะอ่อนนิ่ม อร่อยมาก




5357  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ของหวานคลายร้อน ลอนตาลลอยแก้ว หอม อร่อย - กิมเล้ง เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2555 20:16:41
ของหวานคลายร้อน ลอนตาลลอยแก้ว หอม อร่อย - กิมเล้ง
วันนี้ลงรูปยั่วน้ำลายกันไปก่อน สูตรจะตามมาพรุ่งนี้ จุ๊กกรู้วว..




ส่วนผสม
- ลอนตาล 13-15 เต้า (ลอนตาลเรียกเป็นเต้าจ้ะ)
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- น้ำตาลกรวด 1/4 ถ้วย



ปอกเปลือกลอนตาลให้เกลี้ยงเกลา ล้างสะอาด แล้วหั่นบาง ๆ ใส่หม้อเคลือบขนาดใหญ่
เติมน้ำสะอาดค่อนหม้อ ใส่น้ำตาลทราย และน้ำตาลกรวด
(ทำไมล้างก่อนหั่น : ถ้าหั่นแล้วล้าง น้ำตาลที่อยูในลอนตาล มีรสชาติหอมมากๆ จะจางไปหมด)


ถ้ามีเตาถ่าน แนะนำให้ใช้ - เคี่ยวลอนตาลไปจนกว่าไฟบนเตาถ่านจะมอดสนิท สีของตาลจะสวยน่าทาน
* คอยหมั่นช้อนฟองสกปรกทิ้งด้วย


จะได้ตาลที่มีสีสรรฉ่ำน้ำตาล ออกสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนๆ


ตักใส่ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด  แช่ตู้เย็นไว้รับประทานคลายร้อยได้นานวัน

5358  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / Re: ขอโทษ : ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2555 15:13:32
 


 โทดค๊าบยิ้ม
5359  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / สูตรสังขยาขนมปัง หอมหวานมันอร่อย - กิมเล้ง เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2555 00:24:21
สูตร และ วิธีการทำสังขยาขนมปัง ให้ออกมาอร่อยเหาะ
อร่อยชนิดที่ว่ากินแล้วราวกับจะบินได้ โดย กิมเล้ง

ลงแค่รูปไว้ก่อน ไว้วันพรุ่งนี้จะมาลงสูตรให้นะจ๊ะ จุ๊กกรู้ววว...




สังขยาขนมปังปอนด์
ส่วนผสม
- ไข่ไก่    2 ฟอง
- กะทิสด  1  ถ้วยตวง
- เนยสด  40 กรัม
- น้ำตาลปึก  ½  1 ก้อน
- น้ำตาลทรายขาว  2  ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวโพด  ¼  ถ้วยตวง
- สีผสมอาหาร (สีส้ม)  1 ช้อนชา

  (ไม่ต้องแต่งกลิ่น เช่น วานิลลา ฯลฯ  เพราะสูตรนี้จะได้กลิ่นหอมจากน้ำตาลปึก   และเนยสด และดับกลิ่นคาวจากไข่ไก่ได้)

วิธีทำ
1. นำหัวกะทิ   เนยสด  และสีผสมอาหาร  ตั้งไฟอ่อน คนพอให้เนยละลาย  พักไว้
2. ตอกไข่ไก่ใส่ชาม  ใส่น้ำตาลปึก น้ำตาลทรายขาว และแป้งข้าวโพด  คนส่วนผสมให้เข้ากัน   กรองด้วยกระชอนตาถี่
3. นำส่วนผสมของไข่ใส่ในหม้อกะทิและเนยสด  นำขึ้นตุ๋น คนด้วยตะกร้อมือจนส่วนผสมข้น  
4. ใช้ทาขนมปังได้เลยจ้ะ



ผสมกะทิ เนยสด และสีผสมอาหาร ตั้งไฟอ่อนพอเนยละลาย


ตอกไข่ไก่ใส่ชาม  ใส่น้ำตาลปึก น้ำตาลทรายขาว และแป้งข้าวโพด  คนให้ส่วนผสมเข้ากันและน้ำตาลละลาย  กรองด้วยกระชอนตาถี่
* ทำไมต้องกรองก่อน - เพราะว่าเยื่อไข่ไก่สีขาวแตกตัวยาก หากนำไปกวนหรือตุ๋นโดยไม่กรอง
จะเห็นไข่สีขาวเป็นก้อนเล็กๆ แลดูไม่สวย และไม่น่าทาน


นำส่วนผสมของไข่ใส่ในหม้อกะทิและเนยสด  คนให้เข้ากัน  นำไปตุ๋นในหม้อน้ำเดือด


คนด้วยตะกร้อมือ จนข้น


ชิมรสชาติ ถ้าไม่หวานเติมน้ำตาลทราย








น้ำตาลปึกแตกต่างจากน้ำตาลปีบอย่างไร?

น้ำตาลปึก

น้ำตาลปึก[/color]ทำมาจากตาลโตนด (ต้นตาลสูง ๆ)  หรือเรียกกันทั่วไปว่าต้นตาล โดยมากมักขึ้นอยู่ตามท้องนา ได้โดยนำน้ำตาลสดที่ได้จากจั่นตาล เคี่ยวจนงวดตามกรรมวิธี  น้ำตาลที่ได้จากตาลโตนดหรือน้ำตาลปึก มีกลิ่นหอม รสชาติหวานกลมกล่อม ไม่หวานแหลมเหมือนน้ำตาลทราย หากถูกความร้อนจะละลายง่ายและนิ่มเหลว  เหมาะสำหรับทำขนมไทย เช่นสังขยา  ขนมหม้อแกง  กะทิลอดช่องไทย  ตาลโตนดมีมากแถวจังหวัดเพชรบุรี  จึงทำให้จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาลและขนมหวาน เช่นหม้อแกง เป็นต้น


น้ำตาลปีบ
5360  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / สูตรพาย สไตล์กิมเล้ง วิธีทำพายไส้หมูหยองปูอัด อร๊อยอร่อย - กิมเล้งเบเกอรี่ เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2555 20:09:20
พายไส้หมูหยองปูอัด - กิมเล้งเบเกอรี่






พายหมูหยองผสมปูอัด

ส่วนผสมแป้งพาย
- แป้งขนมปัง   500 กรัม
- แป้งสาลีชนิดพิเศษ   150 กรัม    
- น้ำตาลทราย   2 ช้อนโต๊ะ
- เพสตรีมาการีน   500 กรัม
- เนยสด   100 กรัม
- ไข่ไก่    1 ฟอง
- เกลือป่น   ½  ช้อนชา  (ถ้าใช้เนยสดชนิดจืดเพิ่มเกลือเป็น 1 ช้อนชา)
- น้ำ  1    ถ้วยตวง



ส่วนผสมไส้หมูหยองปูอัด
- หมูหยอง  
- ปูอัด
- มายองเนส (ของ Best foods รสชาติดี)
- นมข้นหวาน


วิธีทำไส้พาย
- นำหมูหยองใส่ชาม ตัดแบ่งครึ่งปูอัด แล้วฉีกเป็นเส้นบาง ๆ  ใส่มายองเนส  นมข้นหวาน  คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ชิมรสตามชอบ

วิธีทำพาย
1. ร่อนแป้ง ทั้ง 2 ชนิดรวมกัน
2. ละลายน้ำตาล  เกลือป่น  ไข่ไก่  ในน้ำ คนพอเข้ากัน
3. เติมส่วนผสมของข้อ 2  ลงในแป้ง  ตีนวดด้วยหัวตีรูปตะขอพอเข้ากัน จึงเติมเนยสดตีนวดจนแป้งไม่ติดมือ พักแป้งไว้ 30 นาที
4. ครั้งที่ 1 : รีดแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  นำเพสตรีมาการีน มาคลึงด้านบนของแผ่นแป้งให้เรียบเสมอกัน ตามแนวยาว
    ให้ได้ 2/3 ส่วนของแผ่นแป้ง แล้วพับทบให้ได้ 3 ทบ  จากนั้นจึงรีดแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีกครั้ง พับให้ได้ 4  ทบ  พักแป้งไว้ 10 นาที
5. ครั้งที่ 2 : รีดแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับทบให้ได้ 3 ทบ  พักแป้ง 10 นาที
6. ครั้งที่ 3 : รีดแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  พับทบให้ได้ 4 ทบ พักแป้ง 10 นาที

    *** ดูรูปตัวอย่าง แสดงการแบ่งส่วนของแป้ง และให้พับแป้งไปทางลูกศรชี้
 
7. คลึงแป้งเป็นแผ่นใหญ่ หนาประมาณ 1/8 นิ้ว  ตัดแป้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางไส้ตามแนวขวาง แล้วพับแป้งปิดให้สนิท  คว่ำขนมวางเรียงบนถาด
    ที่ทาด้วยน้ำสะอาด (ไม่ใช้ไขมันทา)
8. ทิ้งไว้ 15 นาที  ทาหน้าขนมด้วยไข่แดงผสมน้ำนิดหน่อย
9. อบไฟ 200 องศาเซนเซียส  



ร่อนแป้ง ทั้ง 2 ชนิดรวมกัน  และละลายน้ำตาลทราย  เกลือป่น  ไข่ไก่  ในน้ำ คนพอเข้ากัน


เติมส่วนผสมของข้อ 2  ลงในแป้ง  ตีนวดด้วยหัวตีรูปตะขอพอเข้ากัน จึงเติมเนยสด


ตีนวดจนแป้งไม่ติดมือ ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที


พักแป้งไว้ 30 นาที


รูปแสดงการรีดแป้ง แบ่งส่วนของแป้ง  และให้พับแป้งไปทางลูกศรชี้


รีดแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า


นำเพสตรีมาการีน มาคลึงด้านบนของแผ่นแป้งให้เรียบเสมอกัน ตามแนวยาว


วางให้ได้ 2/3 ส่วนของแผ่นแป้ง


พับทบ 3 ทบ




รีดแป้งให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีกครั้ง


พับให้ได้ 4 ทบ....พักแป้งไว้ 10 นาที  


ส่วนผสมไส้พาย : นำหมูหยองใส่ชาม ตัดแบ่งครึ่งปูอัด แล้วฉีกเป็นเส้นบาง ๆ  
ใส่มายองเนส นมข้นหวาน


คลุกเคล้าให้เข้ากัน


ตัดแป้งตามแนวขวางให้ได้ขนาดที่ต้องการ (ขนาดที่ทำมาแสดงประมาณ 2 นิ้ว)


คลึงแป้งให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า


วางไส้ไว้ตรงกลาง


พับแป้งปิดให้สนิท


วางคว่ำเรียงบนถาดที่กลั้วด้วยน้ำธรรมดา ห้ามทาด้วยไขมัน
ใช้ปลายมีดกรีดแป้งให้เป็นร่องลึกถึงไส้  


ทาหน้าขนมด้วยไข่แดง ผสมน้ำเล็กน้อย


อบไฟแรง 200  องศาเซลเซียส
ใช้ไฟแรง : ให้ชั้นขนมขยายตัวพองฟูได้เต็มที่

 








หน้า:  1 ... 266 267 [268] 269 270 ... 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.388 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 16:21:41