[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 20:43:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 267 268 [269] 270 271 ... 274
5361  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมอไทย สมุนไพรในพระไตรปิฎก เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2555 15:07:59

พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ  

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ แบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้

๑. ปาราชิก มี ๔ ข้อ  
๒. สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
๓. อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
๔. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
๕. ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
๖. ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่

                              ฯลฯ
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน                              
                              ฯลฯ

.
5362  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมอไทย สมุนไพรในพระไตรปิฎก เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2555 14:06:39
อ้างถึง

ฯลฯ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค  

ฯลฯ


ที่มา :
  - คอลัมภ์ “รู้ไปโม้ด”  โดย...น้าชาติ  ประชาชื่น   น. ๒๔  นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธที่ ๙ พ.ค. ๕๕




จากการท้วงติงของนาย Mck.  จึงได้ตรวจสอบข้อมูลจากพระวินัยปิฏกแล้ว  ความปรากฎดังนี้


 อนุศาสน์ : คำสอนเบื้องต้น ที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกกล่าวแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ในเวลาอุปสมบท มี ๘ ข้อ แบ่งเป็น นิสัย ๔
    และอกรณียกิจ ๔


นิสัย ๔ คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต  ได้แก่

                  ฯลฯ
๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
ภิกษุในพุทธศาสนาฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำมูตรเน่าหรือน้ำปัสสาวะเป็นยา
ส่วนยาที่ผสมด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย จัดเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับภิกษุ

                

5363  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ยันต์อุบากอง (ยันต์พม่าแหกคุก) เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2555 11:16:15




ภาพจาก : www.watkositaram.com



ยันต์อุบากอง (ยันต์พม่าแหกคุก)


พงศาวดารรัชกาลที่ ๑  กล่าวว่า ในศึกพม่าครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๓๘  กองทัพพม่ายกมาล้อมเมืองเชียงใหม่  พระยาเชียงใหม่มีใบบอกมาถึงกรุงเทพฯ  โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวร เสด็จยกกองทัพไปช่วย    ครั้งนั้น กรมพระราชวังบวรสั่งให้พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์อินทปัต แยกคุมกองทัพหนึ่งขึ้นไปทางเมืองลี้  ส่วนทัพหลวงไปทางเมืองนครลำปาง  เมื่อสองกองทัพไปถึง ก็ประสานกำลังกันโจมตี ทัพพม่าแตกพ่าย

นายทัพพม่าชื่อ  อุบากอง  ถูกจับได้พร้อมไพร่พลจำนวนมาก  และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)
 
เมื่อเชลยศึกพม่าถูกนำมาขังรวมกันไว้  ทุกคนถูกสั่งให้ถอดเสื้อ.....ผู้คุมไทยจึงเห็นอุบากอง นายทัพพม่า สักยันต์ดำมืดเต็มตัวดูเหมือนใส่เสื้อยันต์ กลางอกสักเป็นตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นช่อง ๆ  ด้านสูงมี ๗ ช่อง  ด้านกว้างมี ๕ ช่อง ตัดกัน....รวมเป็น ๓๕ ช่อง  ภายในช่อง มีเลข ๐ บ้าง  กากบาทบ้าง  เป็นช่องว่างบ้าง

ตอนแรก  อุบากอง ก็บอกว่า เป็นยันต์ศักดิ์สิทธิ์  นอกจากมีฤทธิ์เดชทำให้อยู่ยงคงกระพัน  ยังคุยว่าใช้สะเดาะโซ่ตรวนแหกคุกก็ได้  คุย ๆ ไป อุบากองจึงค่อย ๆ ขยาย...ความจริงในยันต์นั้น เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับดูฤกษ์ยามเมื่อจะทำการสำคัญ  ผู้คุมไทยเลื่อมใสถ่ายทอดไปใช้กันต่อ  เขียนคำกลอนระบุวิธีการใช้ และคำทำนาย ดังต่อไปนี้

ศูนย์หนึ่งอย่าพึงจร  แม้ราญรอนจะอัปรา  สองศูนย์จงยาตรา จะมีลาภสวัสดี  สี่ศูนย์จะพูนผล จรดลลาภมากมี  ปลอดศูนย์พูนสวัสดิ์  ภัยพิบัติลาภบ่มี  กากบาทตัวอัปรีย์  แม้จรลีจะอันตราย


ความจริงการที่ทัพพม่าแพ้ไทย ตัวแม่ทัพอุบากองถูกจับได้ ก็พิสูจน์แล้วว่า ยันต์หรือยามอุบากอง ไม่ศักดิ์สิทธิ์ 

พร้อม ๆ กับข่าวยันต์อุบากองก็มีข่าวตามมา  อุบากองเจ้าของยันต์ แท้จริงแล้วไม่ใช่พม่า  แต่เป็นคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปคราวเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐  รัชกาลที่ ๑  โปรดให้ส่งตัวมาสอบสวนความจริงในกรุงเทพฯ   สอบสวนหลายฝ่ายได้ความว่า  อุบากองเป็นคนไทยจริง  บิดาเชื้อสายมอญ มารดา  พี่ชาย  น้องชาย  และญาติอีกหลายคน  ยังมีตัวตนอยู่ที่บางแค  กรุงเก่า

เมื่อโปรดให้นำมาเฝ้าสาบานถวายตัว  อุบากองก็กราบทูลเรื่องราวทางกรุงอังวะ  ได้มากกกว่าที่เคยได้จากแม่ทัพนายกองเชลยพม่าคนอื่น    จงทรงพระเมตตา ให้ปล่อยตัวเป็นอิสระ  พระราชทานเสื้อผ้าและเงินตรามิให้ขัดสนอดอยาก.....คนไทย ที่ได้เป็นถึงแม่ทัพพม่า ได้รับความสนใจ   ความนิยมในเรื่องยามอุบากองเริ่มแพร่หลาย  ตัวอุบากองก็เริ่มขยายวิชาอาคม ทำตัวเป็นผู้วิเศษ มีคนไทยเชื่อถือกันมาก

อุบากอง จึงถูกจับเข้าคุกเป็นครั้งที่สอง  แต่ถูกจองจำได้เพียงสองปี ก็แหกคุกหนีกลับไปพม่าจนได้  ทั้ง ๆ ที่มีการสอบสวนว่า อุบากองติดสินบนผู้คุมจึงหนีจากคุกได้  แต่ข่าวอุบากองแหกคุกก็ทำให้เกิดข่าวลือ  และความเชื่อถือเรื่องยามอุบากองก็เพิ่มขึ้น   คนไทยสมัยนั้นเรียกว่า “ยันต์พม่าแหกคุก” 

ความนิยมเรื่องยันต์อุบากอง ยังใช้กันแพร่หลาย จนถึงสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง





ที่มา : - คอลัมภ์ “ชักธงรบ”   โดย กิเลน  ประลองเชิง  น. ๓ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันเสาร์ที่ ๑๒ พ.ค. ๕๕
         - http://www.watkositaram.com

.

5364  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมอไทย สมุนไพรในพระไตรปิฎก เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 19:35:58

- ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงพระประชวรท้องผูก  หมอชีวกโกมารภัจจ์ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ได้ถวายสมอเพื่อเป็นยาระบายให้แก่พระพุทธองค์  ภายหลังพระพุทธองค์จึงมีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันสมอ และมะขามป้อม เพือเป็นคิลานเภสัช (ยาสำหรับภิกษุ ยารักษาโรค) ได้โดยไม่ถือเป็นการต้องอาบัติ  หลักฐานปรากฎในพระวินัย ว่าด้วยสิกขาบท
 
- ถ้ามีโอกาส กิมเล้งมักชอบไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และชอบที่จะแวะที่วัดมเหยงค์  และได้ไปพบสมอไทยแช่อิ่ม ใส่ถุงเล็ก ๆ (ถุงละ ๕ บาท)  วางจำหน่ายที่ร้านค้าสวัสดิการของวัด   และบริเวณที่วางจำหน่ายสมอนั้น มีหนังสือเขียนไว้ว่ารับประทานได้ไม่จำกัดเวลา
.
5365  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / สมอไทย สมุนไพรในพระไตรปิฎก เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 19:02:00

       สมุนไพร
เพื่อสุขภาพ

        


พุทธโอสถ
สมอไทย  สมุนไพรโอสถทิพย์

ในสมัยพุทธกาล ยามพระพุทธองค์ทรงพระประชวร  หรือพระสงฆ์อาพาธ  มักเสวยหรือฉันสมอไทยเป็นยาหลัก  จนได้รับยกย่องว่าเป็นพุทธโอสถ   ดังมีพระพุทธรูปปางทรงฉันสมอปรากฏเป็นหลักฐาน  หรือตามพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระองค์ประชวรครั้งสุดท้าย ก็เสวยผลสมอไทยเหลือไว้ครึ่งลูก และพระราชทานผลสมอไทยครึ่งลูกนั้นแด่พระสงฆ์เป็นทานครั้งสุดท้าย

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ครั้งพุทธกาล  มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง  ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า  พระองค์จึงตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค”   และยังได้เล่าถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ครั้งเสวยพระชาติเป็นพระหรีตกิทายกเถระ ว่า ท่านได้นำผลสมอถวายแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า  ทำให้ทรงบรรเทาพยาธิทั้งปวง  จึงได้ทรงทำอนุโมทนาว่าด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่องระงับพยาธินี้  ท่านเกิดเป็นเทวดา  เป็นมนุษย์  หรือจะเกิดในชาติอื่น  จงเป็นผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง  และท่านอย่าถึงความป่วยไข้  ฉะนั้น เพราะการถวายสมอนี่เอง ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่ท่านเลย   นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน

ตำนานขานยังเล่าถึงกำเนิดสมอไทยว่า  ครั้งหนึ่งพระอินทร์กำลังเสวยน้ำอมฤต  บังเอิญน้ำอมฤตหยดหนึ่งหกลงมาบนพื้นโลก  กลายเป็นต้นสมอไทย  มีสรรพคุณแก้ได้สารพัดโรค จึงเรียกว่าโอสถทิพย์หรือผู้ให้กำเนิดชีวิต  กับอีกตำนานว่า ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้  พระอินทร์ทรงเห็นว่าพระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร  จึงได้นำผลสมอทิพย์มาถวาย



พระพุทธรูปปางฉันสมอ


สมอไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia Chebuia Retz  โดยทั่วไปเรียก สมอไทย  สมออัพยา  ภาคเหนือเรียก ม่าแน่  มะนะ    ต้นสมอไทย  เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง  ไม่ใหญ่โตมากมายแต่อาจจะถึงขนาดใหญ่ ได้เหมือนกันเมื่อเจริญเติบโตมากๆ  ในบางท้องที่ ๆ ดินดี  ใบโตขนาดใบกระท้อน  หนา  กลม  แต่ปลายใบแหลม  ดอกของสมอไทยเล็ก  ออกเห็นช่อสีเหลืองๆ เขียวๆ  มีผลกลมโตมีเหลี่ยมเล็กน้อย  สีเขียวๆ  แดงๆ  รสฝาดอมหวาน  ดอกจะออกเป็นช่อน่าดู    ส่วนที่นำมาใช้ได้แก่ ดอก ลูกแก่ ลูกอ่อน เนื้อลูกสมอ และเปลือกต้น   สมอไทยมีความพิเศษเหนือสมุนไพรอื่น ๆ สมตำนานเล่าขาน คือ เป็นสมุนไพรที่มีเกือบครบทุกรส ได้แก่ รสเปรี้ยว ฝาด หวาน ขม เผ็ด แถมยังมีรสเค็มและรสเมาแทรกอยู่ด้วย  ตามตำรายาไทยกล่าวว่า รสของยาบ่งบอกสรรพคุณของยา    อย่างกรณีของสมอมีสรรพคุณดังนี้
 
รสเปรี้ยว มีสรรพคุณกัดเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ ฟอกโลหิต  แก้ประจำเดือนไม่ปกติ  แก้โรคท้องผูก  ชำระล้างเมือกมันในลำไส้
รสฝาด   ช่วยสมานแผลในปากไปจนถึงแผลในกระเพาะลำไส้  แก้ท้องเสีย  แก้บิด  ซึ่งสรรพคุณของรสฝาดช่วยระงับการถ่าย (รู้ปิด)  ตรงกันข้ามกับรสเปรี้ยวซึ่งช่วยให้ถ่าย (รู้เปิด)  เมื่อลูกสมอไทยมีรสเปรี้ยวและรสฝาดผสานกัน  จึงมีสรรพคุณเป็นทั้งยาระบายและยาระงับการถ่าย คือ รู้เปิด รู้ปิด ไปในตัว
รสหวาน   บำรุงเนื้อ  บำรุงกำลัง
รสขม   แก้ไข้  บำรุงน้ำดี  ถอนพิษผิดสำแดง  ช่วยเจริญอาหาร
รสเผ็ด   ขับลมในกระเพาะลำไส้  แก้ปวดท้องจุกเสียด  ช่วยย่อยอาหาร
รสเค็ม   ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  แก้ประดงน้ำเหลืองเสีย
รสเมา   แก้พิษฝี  พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  แก้พยาธิต่าง ๆ  แก้ริดสีดวง  ระงับประสาท  ทำให้นอนหลับสบาย  

และเพราะสมอไทยมีหลายรส  เมื่อกินสมอไทยอย่างเดียวจึงเท่ากับกินสมุนไพรหลายอย่าง  กล่าวกันว่า ถ้าใครกินสมอไทยวันละ ๑ ลูกทุกวัน  โรคภัยไข้เจ็บจะไม่มากล้ำกลาย  วิธีกิน  เอาสมอไทย ๑ ลูก  แช่ในน้ำ ๑ แก้ว  เป็นเวลา ๑ คืน  ตื่นเช้ากินทั้งน้ำและเนื้อ  เป็นยาบำรุงกำลัง  ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีสรรพคุณบำรุงกำหนัดควบคู่กันไป  แต่สมอไทยกลับตรงกันข้าม คือแทนที่จะเพิ่ม กลับลดกำหนัด  อาจด้วยเหตุนี้  พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสมอไทยเป็นยาสำหรับพระสงฆ์ฉันบำรุงร่างกาย  แก้อ่อนเพลีย  โดยลดความกำหนัดไปในตัว

สรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ควรขยายความ คือแก้โรคท้องผูกเรื้อรัง  โดยสมอไทยไม่ใช่ยาถ่ายเท่านั้น แต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด  มีสมรรถภาพในการบีบตัว  ขับถ่ายได้คล่อง  วิธีกินสมอไทยแก้โรคท้องผูก ต้องกินวันละ ๓-๕ ลูกทุกวัน  จนอาการท้องผูกหายไป จึงหยุดกิน  สำหรับผู้ที่มีอาการไอ  เจ็บคอ  เสียงแห้ง  มีเสมหะติดคอ  คันคอยิบ  ให้เอาเนื้อลูกสมอไทยมาผสมเกลือและข่าแก่พอสมควร  ตำสามสิ่งนี้ให้แหลกเข้ากันดี  แล้วแบ่งอมขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย  ที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นไว้ใช้ต่อ  อาการไอคันคอยิบ ๆ จะหายไป  หลังจากอมยาต่อเนื่องราว ๑ สัปดาห์

 




ที่มา :
  - คอลัมภ์ “รู้ไปโม้ด”  โดย...น้าชาติ  ประชาชื่น   น. ๒๔  นสพ.ข่าวสด ฉบับประจำวันพุธที่ ๙ พ.ค. ๕๕
  - www.ajareeherb.com
  - student.nu.ac.th





5366  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ / ประสบการณ์ทางผีผ่าน (ทางสามแพร่ง) เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 11:45:42


ประสบการณ์ทางผีผ่าน

“ทองอินทร์” เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกจากเส้นทางวิญญาณ (ทางสามแพร่ง)


เล่าสืบกันมาว่า “ชาวพวน” อพยพจากเมืองลาว  มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  ตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา  ปรากฏหลักฐานจากการก่อตั้งวัดหินปักใหญ่ในปี ๒๓๐๖  โดยชาวพวนเป็นผู้สร้าง  ส่วนวัดวังใต้นั้นชาวไทยเวียงที่อพยพตามหลังมา สร้างไว้ในปี ๒๓๐๗  ต่อมากลายเป็นชุมชนใหญ่เมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ 

ชาวพวนนับถือศาสนาพุทธและนับถือผีปู่ตากับผีบรรพบุรุษ  โดยจะแยกหิ้งพระไว้คนละส่วน  ในหมู่บ้านก็มีศาลผีปู่ตาทุกแห่ง  นิยมสร้างไว้ตามเนินสูง เช่นตามโคกหรือจอมปลวกใหญ่ ๆ สะดุดตา   บางแห่งเรียกว่า “หอบ้าน”    ทุก ๆ ปี จะมีพิธีกรรมเลี้ยงผี   โดยหมอผีวัยชรา หรือเรียกว่า “เจ้าจ้ำ” เป็นผู้นำชาวบ้านทำพิธีกรรมต่าง ๆ  และเชื่อว่าถ้า “เซ่นไหว้ดี-ทำพลีถูกต้อง  ผีปู่ตาจะคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข"

นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรม “เลี้ยงผี”   โดยการทำบุญสารทหรือเทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ ซึ่งเทศกาลดังกล่าวของชาวพวนจะตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙  ส่วนสารทลาวถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐  แต่สารทไทยช้ากว่าเพื่อน คือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐


เหตุการณ์ชวนขนหัวลุก

หลังเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์การทำบุญสารทที่วัดใกล้บ้านคราวหนึ่ง   ชาวบ้านต่างล้อมวงกินอาหาร  เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงภูตผีปีศาจ รวมทั้งสัมภเวสี ผีเร่ร่อน ให้ได้รับส่วนบุญด้วย  ซึ่งชาวบ้านนิยมทำเป็นประเพณี  โดยห่อข้าว  อาหารคาวหวาน  หมากพลู  บุหรี่  ห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม  แล้วนำไปวางตรงทางสามแพร่ง เพราะเชื่อว่าเป็นทางผีผ่าน  ซึ่งไม่ว่าไทยหรือพวนก็เชื่อเรื่องทางสามแพร่งตรงกัน คือเชื่อว่าเป็นทำเลอัปมงคล  สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีจะมาสิงสู่อยู่กันที่นั่น  จึงได้หลีกเลี่ยงการปลูกบ้านในทำเลเช่นนั้น  ยกเว้นแต่จะจนปัญญาจริง ๆ เพราะหาที่ทางไม่ได้แล้ว      และที่เชื่อตรงกันอีกอย่างก็คือภูตผีย่อมมีความหิวโหยเหมือนผู้คนทั้งหลาย  จึงได้มีการเอาอาหารเซ่นผีตั้งแต่ยังไม่ได้เผา  หลังจากนั้นก็ยังทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผี  รวมทั้งผีไม่มีญาติอีกด้วย

วันนั้น หลังจากจัดการแจกข้าวให้ผีแล้วก็พากันกลับ  น้องชายของ  “ทองอินทร์”  อายุราว ๗-๘ ขวบ  เดินไป  พลางหันไปมองข้างหลังบ่อย ๆ  จนแม่ของเด็กถามว่ามองอะไรหรือ?  คำตอบของเด็กเล่นเอาผู้ใหญ่ต้องหยุดกึกไปตาม ๆ กัน

“ใครไม่รู้  มาแย่งกันกินข้าวห่อกันใหญ่เลย....”  น้องชายไม่ได้พูดเฉย ๆ  แต่ชี้มือให้ดู   ทุกคนหันขวับไปมอง   นอกจากเสียงลมพัดคร่ำครวญ  เมฆหนาบดบังแสงแดดจนร่มครึ้มแล้ว  เราก็ไม่เห็นอะไรเลย  แต่ทำไมขนหัวลุกก็ไม่รู้ ?!
   


ที่มา : - ย่อ-สรุปความโดยกิมเล้ง  จากคอลัมภ์ “ขนหัวลุก”  โดยใบหนาด  หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
.
5367  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สามแพร่ง กับความเชื่อโบราณว่าเป็นทางผีผ่าน เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 11:37:04
 ถ้อยคำ - สำนวน
     กิมเล้ง ณ สุขใจ


ประสบการณ์ทางผีผ่าน

“ทองอินทร์” เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกจากเส้นทางวิญญาณ (ทางสามแพร่ง)


เล่าสืบกันมาว่า “ชาวพวน” อพยพจากเมืองลาว  มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  ตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา  ปรากฏหลักฐานจากการก่อตั้งวัดหินปักใหญ่ในปี ๒๓๐๖  โดยชาวพวนเป็นผู้สร้าง  ส่วนวัดวังใต้นั้นชาวไทยเวียงที่อพยพตามหลังมา สร้างไว้ในปี ๒๓๐๗  ต่อมากลายเป็นชุมชนใหญ่เมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ในสมัยรัชกาลที่ ๓  

ชาวพวนนับถือศาสนาพุทธและนับถือผีปู่ตากับผีบรรพบุรุษ  โดยจะแยกหิ้งพระไว้คนละส่วน  ในหมู่บ้านก็มีศาลผีปู่ตาทุกแห่ง  นิยมสร้างไว้ตามเนินสูง เช่นตามโคกหรือจอมปลวกใหญ่ ๆ สะดุดตา   บางแห่งเรียกว่า “หอบ้าน”   ทุก ๆ ปี จะมีพิธีกรรมเลี้ยงผี   โดยหมอผีวัยชรา หรือเรียกว่า “เจ้าจ้ำ” เป็นผู้นำชาวบ้านทำพิธีกรรมต่าง ๆ  และเชื่อว่าถ้า “เซ่นไหว้ดี-ทำพลีถูกต้อง  ผีปู่ตาจะคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข"

นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรม “เลี้ยงผี”  โดยการทำบุญสารทหรือเทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ ซึ่งเทศกาลดังกล่าวของชาวพวนจะตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙  ส่วนสารทลาวถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐  แต่สารทไทยช้ากว่าเพื่อน คือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐


เหตุการณ์ชวนขนหัวลุก

หลังเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์การทำบุญสารทที่วัดใกล้บ้านคราวหนึ่ง   ชาวบ้านต่างล้อมวงกินอาหาร  เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงภูตผีปีศาจ รวมทั้งสัมภเวสี ผีเร่ร่อน ให้ได้รับส่วนบุญด้วย  ซึ่งชาวบ้านนิยมทำเป็นประเพณี  โดยห่อข้าว  อาหารคาวหวาน  หมากพลู  บุหรี่  ห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม  แล้วนำไปวางตรงทางสามแพร่ง เพราะเชื่อว่าเป็นทางผีผ่าน   ซึ่งไม่ว่าไทยหรือพวนก็เชื่อเรื่องทางสามแพร่งตรงกัน คือเชื่อว่าเป็นทำเลอัปมงคล  สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีจะมาสิงสู่อยู่กันที่นั่น  จึงได้หลีกเลี่ยงการปลูกบ้านในทำเลเช่นนั้น  ยกเว้นแต่จะจนปัญญาจริง ๆ เพราะหาที่ทางไม่ได้แล้ว     และที่เชื่อตรงกันอีกอย่างก็คือภูตผีย่อมมีความหิวโหยเหมือนผู้คนทั้งหลาย  จึงได้มีการเอาอาหารเซ่นผีตั้งแต่ยังไม่ได้เผา  หลังจากนั้นก็ยังทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผี  รวมทั้งผีไม่มีญาติอีกด้วย

วันนั้น หลังจากจัดการแจกข้าวให้ผีแล้วก็พากันกลับ  น้องชายของ  “ทองอินทร์”  อายุราว ๗-๘ ขวบ  เดินไป  พลางหันไปมองข้างหลังบ่อย ๆ  จนแม่ของเด็กถามว่ามองอะไรหรือ?  คำตอบของเด็กเล่นเอาผู้ใหญ่ต้องหยุดกึกไปตาม ๆ กัน

“ใครไม่รู้  มาแย่งกันกินข้าวห่อกันใหญ่เลย....”   น้องชายไม่ได้พูดเฉย ๆ  แต่ชี้มือให้ดู   ทุกคนหันขวับไปมอง   นอกจากเสียงลมพัดคร่ำครวญ  เมฆหนาบดบังแสงแดดจนร่มครึ้มแล้ว  เราก็ไม่เห็นอะไรเลย  แต่ทำไมขนหัวลุกก็ไม่รู้ ?!
 

ที่มา : - ย่อ-สรุปความโดยกิมเล้ง   จากคอลัมภ์ “ขนหัวลุก”  โดยใบหนาด  หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
5368  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / สามแพร่ง กับความเชื่อโบราณว่าเป็นทางผีผ่าน เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2555 11:19:03
  ถ้อยคำ - สำนวน
     กิมเล้ง ณ สุขใจ



สามแพร่ง กับความเชื่อโบราณว่าเป็นทางผีผ่าน

เมื่อกล่าวถึง “สามแพร่ง”   หลายคนได้ยินแล้วกลัว เนื่องจากสามแพร่งเป็นเรื่องของโหราศาสตร์หรือฮวงจุ้ยที่บ่งบอกถึงทำเลต้องห้ามต้องหลบหลีก  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  อธิบาย “สามแพร่ง”   ไว้ว่า เป็นทางที่แยกเป็น ๓ สาย  เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง  โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน  ไม่เป็นมงคล  เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง  แต่อีกหลายคนก็จะนึกถึงย่านที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  มีสถาปัตยกรรมงดงาม ทรงคุณค่า เป็นแหล่งอาหารอันเลื่องชื่อที่สืบทอดกันมาหลายสิบปี  ได้แก่ แพร่งสรรพศาสตร์  แพร่งนรา  และแพร่งภูธร  ซึ่งทั้งสามแพร่งนี้เป็นชื่อของถนนในกรุงเทพมหานคร

พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน  สะพาน ป้อม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ให้คำอธิบายคำว่า แพร่งสรรพศาสตร์  ว่าเป็นถนนที่ตัดผ่านวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสรรพศาสตรศุภกิจ  บริเวณริมถนนบ้านตะนาว    ส่วน แพร่งนรา  เป็นถนนที่ตัดผ่านวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  และแพร่งภูธร  เป็นถนนที่ตัดผ่านบริเวณวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

ด้านธรณีวิทยา คำว่า สามแพร่ง  คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยานำไปใช้ในการบัญญัติศัพท์คำว่า triple junction โดยบัญญัติว่า  ทางสามแพร่ง  หมายถึงจุดบรรจบของแผ่นธรณีภาค ๓ แผ่น  เกิดจากความร้อนพุ่งขึ้นจากชั้นเนื้อโลก  ทำให้แผ่นธรณีทวีปเดิมแตกหักแล้วแยกออกเป็นแผ่นธรณีภาคใหม่ ๓ แผ่น  มักทำมุมกันประมาณ ๑๒๐ องศา  โดยทั่วไปมี ๓ แบบ คือ แบบสัน  แบบร่องลึก  และแบบรอยเลื่อนแนวระนาบ 



ที่มา : "องค์ความรู้ภาษาไทย"  โดย ราชบัณฑิตยสถาน  น. ๒๒  นสพ.เดลินิวส์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
5369  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: ประวัติ พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 21:49:02
รูปหลวงพ่อโอด (เพิ่มเติม)

















5370  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / ประวัติ พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 21:18:45
เกจิชื่อดัง
หลวงพ่อโอด
พระครูนิสัยจริยคุณ



วัดจันเสน  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์


ชาติภูมิ

พระครูนิสัยจริยคุณ ฉายา ปญฺญาธโร  นามเดิม วิสุทธิ์   สกุล แป้นโต  แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า “หลวงพ่อโอด”  ท่านเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  เมื่อวันที่ ๒๘  ธันวาคม ๒๔๖๐  ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่  ปีมะเส็ง ณ บ้านเลขที่ ๑๐๓ หมู่ที่ ๗ (บ้านหัวเขา)  ตำบลตาคลี  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์  โยมบิดาชื่อ นายชิต  แป้นโต  โยมมารดาชื่อ  นางต่วน  แป้นโต    ท่านเป็นบุตรลำดับที่ ๕  ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๗ คน คือ

๑.  นายดำ         แป้นโต                      ถึงแก่กรรม  
๒.นางหนู     เกรียงไกรเพชร      ถึงแก่กรรม  
๓.นายกุหลาบ     แป้นโต            ถึงแก่กรรม  
๔.นางพยอม แป้นโต      ถึงแก่กรรม  
๕.พระครูนิสัยจริยคุณ        มรณภาพ  
๖.นางหลอม     แป้นโต      ถึงแก่กรรม  
๗.นายออน     แป้นโต      ถึงแก่กรรม  


การศึกษาเบื้องต้น
ท่านสำเร็จการศึกษา วิชาสามัญประถมบริบูรณ์  จากโรงเรียนวัดหัวเขา  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
พ.ศ. ๒๔๘๑ อายุครบบวช  ท่านได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดหัวเขา  อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันเสาร์  แรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล  ตรงกับวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๘๑  โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว  อำเภอพยุหะคีรี  เป็นพระอุปัชฌาย์   พระครูนิปุณธรรมธร  วัดตาคลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูพิพัทธศีลคุณ วัดหัวเขา ตาคลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์   ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาธโร”

เส้นทางธรรม
ภายหลังอุปสมบท ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย  และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ  
จนปี  พ.ศ. ๒๔๘๔ (อายุพรรษา  ๓)  สอบได้เปรียญธรรมเอก จากสำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ  

- พ.ศ. ๒๔๘๙  เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองสีนวน  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์
- พ.ศ. ๒๔๙๓  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันเสน  อำเภอตาคลี เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๓
 และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลจันเสน เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ศกเดียวกัน
- พ.ศ. ๒๔๙๖  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นศึกษาอำเภอตาคลี  (ฝ่ายสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๙๖
- พ.ศ. ๒๕๐๐  จัดตั้งสำนักสอนวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่วัดจันเสน  ให้การอบรมทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
- พ.ศ. ๒๕๐๕  ไปศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม  จังหวัดชลบุรี  
- พ.ศ. ๒๕๐๖  เข้าศึกษาอบรมวิปัสสนาเพิ่มเติมอีก ที่สำนักวิปัสานาวิเวกอาศรม  จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา ๑ พรรษา  
 (เล่ากันว่าท่านมีความชำนาญ  มีพลังจิตกล้าแข็ง สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอดีต และในอนาคตได้อย่างแม่นยำ  
 และในระหว่างเข้าพรรษาท่านจะนั่งปฏิบัติกรรมฐานติดต่อกัน ๗ วัน โดยไม่ลุกออกมาจากกุฏิ)
- พ.ศ. ๒๕๑๐  ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอตาคลี
- พ.ศ. ๒๕๑๖  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอตาคลี
- พ.ศ. ๒๕๑๗  เป็นผู้วางระเบียบสภาบริหารคณะสงฆ์อำเภอตาคลี

สมณศักดิ์
-  พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี
-  พ.ศ. ๒๕๑๐  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท
-  พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
-  พ.ศ. ๒๕๒๗  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

เกียรติคุณพิเศษ
- ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลางที่วัดสามพระยา  กรุงเทพฯ
- เป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาตำบลจันเสน
- ได้รับพระราชทานโล่ในการสนับสนุนอบรมหลักสูตรพิเศษสมุนไพร ในโครงการพระราชดำริสวนป่าสมุนไพร

ท่านพระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) เป็นพระเถระดีในสังฆมณฑล เป็นผู้มีศีลาจารวัตร ประพฤติปฏิบัติดีตามพระธรรมวินัย  มีวิจารณญาณอันถ่องแท้ ทราบความดีตามความเป็นจริง จึงสร้างความดีทั้งเป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น สร้างสิ่งก่อสร้างในพระศาสนา และสิ่งก่อสร้างเป็นกุศลสาธารณประโยชน์ อันเป็นรูปธรรมหรือดีนอก และอบรมพัฒนาจิตใจให้สว่าง สงบ ร่มเย็น อันป็นนามธรรมหรือดีใน ดังปรากฎผลงานของพระเดชพระคุณท่านดังนี้  

ผลงานด้านการศึกษาและสาธารณูปการ
๑. เป็นพระอาจารย์สอนปริยัติธรรม วัดดอนยานนาวา  เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ
๒. เป็นพระอาจารย์สอนธรรมวัดหัวเขาตาคลี  วัดหนองสีนวล  วัดจันเสน  อำเภอตาคลี  
๓. เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดจันเสน
๔. เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมสนามหลวง
๕. เป็นกรรมการศึกษาประชาบาล
๖. เป็นผู้ริเริ่มจัดหาทุนก่อตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบล  โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์  โรงเรียนประดับวิทย์  อำเภอตาคลี  โรงเรียนบ้านหมี่  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี
๗. ซ่อมแซมถนนจากคลองชลประทานถึงวัดจันเสน ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร
๘. ร่วมจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์สวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ และโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
๙. ร่วมหาทุนซื้อเครื่องมือแพทย์โรงพยาบาลอำเภอตาคลี

ผลงานการเผยแผ่ธรรมะ
พ.ศ. ๒๕๐๐  ภายหลังจากท่านเข้ารับการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากวัดมหาธาตุฯ  กรุงเทพมหานคร  ท่านได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นที่วัดจันเสน  และเปิดให้การอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดมาแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้มีความสนใจเข้าปฏิบัติธรรม จนมีผู้เข้ารับการปฏิบัติเป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้ท่านยังรับนิมนต์ไปอบรมวิปัสสนากรรมฐานยังสถานที่ต่าง ๆ  

อุบายสอนธรรม
คราวหนึ่ง โยมป๊อ  ซึ่งมีเชื้อสายจีนอยู่ในตลาดจันเสน  ทุกวันจะเข้ามาตระเตรียมอาหารเพลเลี้ยงพระที่วัดเป็นประจำ  เมื่อเลี้ยงพระเสร็จแล้วอาหารในส่วนที่เหลือหลวงพ่อก็จะอนุญาตให้แม่ครัวนำไปกินที่บ้านได้  ชาวบ้านที่ไม่ค่อยหวังดีก็ติฉินนินทาหาว่าแม่ครัวนำของวัดไปกิน  เมื่อโยมป๊อรู้ว่าถูกชาวบ้านนินทาก็เกิดความไม่สบายใจ นำความที่ชาวบ้านกล่าวหามาพูดให้หลวงพ่อฟัง  เมื่อหลวงพ่อฟังแล้วไม่ว่ากระไร ลุกขึ้นเข้าไปในห้องพระหยิบก้อนกรวดมาสองก้อนส่งให้โยมป๊อ ให้พกติดตัวไว้ตลอดแล้วชาวบ้านจะเลิกพูดไปเอง  เมื่อโยมป๊อรับก้อนกรวดกราบลาหลวงพ่อมาแล้ว  กลับคิดขึ้นมาได้เองว่าการที่หลวงพ่อมอบก้อนกรวดให้นั้นคงจะหมายถึงให้ทำใจหนักแน่นเข้าไว้เหมือนกรวดทรายแล้วจะดีไปเอง

พระครูนิวิฐธรรมขันธ์  เจ้าอาวาสวัดจันเสน   ได้บอกเล่าถึงการสอนธรรมะของหลวงพ่อโอดที่ใช้สอนแก่ชาวบ้านเป็นประจำ มักจะใช้เป็นคาถามหานิยมให้ภาวนาเป็นประจำคือ ทา ปิ อะ สะ  ซึ่งแฝงไว้ด้วยธรรมะ  ถ้าใครปฏิบัติเป็นประจำก็จะมีแต่มิตรชีวิตก็จะเจริญรุ่งเรืองดี

ผลงานด้านสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนา
หลวงพ่อโอด ได้เป็นผู้ริเริ่มนำสร้างพระอุโบสถทรงไทย  พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน  ศาลาการเปรียญ หอระฆัง  เสนาสนะที่อยู่อาศัย  กุฏิสงฆ์ทรงไทย  โรงฉันและโรงทาน   เรือนพักรับรอง (ตึกนิสิสสามัคคี)   โรงเรียนพระปริยัติธรรม  และอื่น ๆ ไว้มากมายภายในวัดจันเสน  เพื่อให้เป็นสถานที่สัปปายะในการประกอบศาสนกิจ  ปฏิบัติธรรมสร้างบุญบารมี  แก่พระภิกษุสามเณร  อุบาสก อุบาสิกา และศาสนชนทั่วไป

ผลงานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ปี ๒๕๑๑ ภายหลังจากกรมศิลปากร  ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้มาทำการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณจันเสน  หลวงพ่อโอดเห็นความสำคัญของโบราณวัตถุที่ขุดขึ้นมาได้ จึงทำการรวบรวม และดำริก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จันเสนสำหรับเป็นสถานที่รวบรวมสงวนรักษา และเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย  

อนึ่ง หลังจากเสร็จสิ้นพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารดังกล่าวได้เพียง ๑๕ วัน หลวงพ่อโอดก็ถึงแก่มรณภาพ   หลวงพ่อเจริญ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาจึงได้ดำเนินการก่อสร้างต่อตามเจตนารมย์ของหลวงพ่อโอด  จนอาคารแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙  ใช้งบประมาณก่อสร้าง ๔๑ ล้านบาทเศษ  (เป็นเงินได้จากบรรดาศิษยานุศิษย์มีจิตศรัทธาร่วมก่อสร้าง  มิได้ใช้งบประมาณของทางราชการสมทบแต่อย่างใด)  ทั้งนี้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารดังกล่าว    และทางวัดได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและศึกษา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐  เป็นต้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้



พิพิธภัณฑ์จันเสน  ภายในวัดจันเสน  ตำบลจันเสน  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์  



ด้านความสัมพันธ์ชุมชน
ก่อนที่หลวงพ่อโอดจะมาจำพรรษาที่วัดจันเสนนั้น วิถีชีวิตของชาวบ้านจันเสนจะแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าส มีก๊กนายทุน  ก๊กนักเลง ก๊กการพนัน ซึ่งไม่ถูกกัน  ทำให้กำลังของชุมชนอ่อนด้วยมาก  เมื่อหลวงพ่อโอดมาอยู่ที่วัดจันเสนในปี พ.ศ. ๒๔๙๓  ท่านได้ใช้อุบายต่าง ๆ ในการรวบรวมก๊กเหล่าต่าง ๆ จนสามารถรวมพลังชุมชนให้เป็นหนึ่งได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๖  ทำให้ชุมชนจันเสนเป็นปึกแผ่น และรวมพลังช่วยเหลือกันจนถึงปัจจุบัน  นับเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงของท่าน

บั้นปลายสังขาร
พ.ศ. ๒๕๑๔ - พ.ศ. ๒๕๓๒  สุขภาพของท่านไม่แข็งแรงด้วยโรคภัยเบียดเบียน  ต้องเข้าโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์บ่อยครั้ง  และรักษาต่อในกรุงเทพฯ อีกหลายแห่ง  ต้องทำการล้างไต  ด้วยอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งบางขณะเบาหวานสูงถึง ๔๐๐ กว่า

ปี ๒๕๓๒  อาการอาพาธด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งท่านเป็นมานานนับสิบปี ในครั้งนี้ กำเริบเป็นลำดับจนไตไม่ทำงาน  สุดวิสัยที่แพทย์จะเยียวยารักษา  ท่านจึงถึงแก่มรณภาพ  ด้วยอาการไตวาย  ในวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ ๑๗  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  เวลา ๑๙.๐๐ น.  ที่โรงพยาบาลบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  สิริรวมอายุได้  ๗๒  ปี ๖ เดือน   พรรษา ๕๐



พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด)  ท่านได้ประพฤติพรหมจรรย์มาช้านาน   นับว่าท่านได้บำเพ็ญกุศลกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ในพระพุทธศาสนาและสังคมอันหาได้ยากยิ่งรูปหนึ่งของคณะสงฆ์


“ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”



โดย กิมเล้ง   : http://www.sookjai.com

ที่มา :  - หมายเหตุ...พระครูนิสัยจริยคุณ (หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูนิสัยจริยคุณ - หลวงพ่อโอด)
          - เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์จันเสน (น้องตาล)
  ในนามของ sookjai.com. ขอขอบคุณหนูตาลมากที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม


        
5371  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ถ้อยคำสำนวน เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2555 10:08:26
  ถ้อยคำ - สำนวน
     กิมเล้ง ณ สุขใจ

กรวดในรองเท้า   เป็นสำนวน  เปรียบเทียบสิ่งที่ทำให้รำคาญ สิ่งที่รบกวน  ทำให้เดือดร้อน แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่ก็ทำให้รำคาญให้กังวล   คล้ายกับการใส่รองเท้าที่มีกรวดอยู่ในรองเท้า ทำให้เจ็บ  เดินไม่สะดวก  

เหยียบตาปลา   เป็นสำนวน  หมายความว่า พูดหรือทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งโกรธแค้น เพราะการพูดไปกระทบปมด้อยของผู้นั้น หรือพาดพิงถึงความผิดที่เป็นชนักติดหลังของผู้นั้น   คำว่า “เหยียบตาปลา”  จึงนำมาใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบอาการของคนที่มีปมด้อย  แล้วถูกผู้ใดผู้หนึ่งพูดกระทบสิ่งที่เป็นปมด้อยนั้น  ไม่ว่าจะพูดโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม

สับขาหลอก   เป็นสำนวน  หมายความว่า ลวงให้เข้าใจผิด แสดงหรือพูดให้คนเห็นหรือเชื่อว่าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วกลับทำอีกอย่างหนึ่ง   “สับขาหลอก”   เป็นสำนวนที่มาจากกีฬาฟุตบอล  ผู้ที่จะเตะลูกบอลเข้าประตู  โดยเฉพาะการยิงลูกโทษ ผู้ยิงประตูทำท่าใช้เท้าข้างหนึ่ง ทำให้ผู้รักษาประตูคาดเดาทิศทางที่ลูกบอลจะพุ่งเข้ามาได้  แต่เวลาเตะจริงผู้เตะกลับเปลี่ยนขาเปลี่ยนเท้า  ทำให้ลูกบอลพุ่งไปคนละทิศ ผู้รักษาประตูรับลูกบอลไม่ได้ ลูกบอลจึงเข้าประตูอย่างสวยงาม  เรียกอาการดังกล่าวนี้ว่า “สับขาหลอก”

สาดน้ำลายใส่กัน   เป็นสำนวน หมายความว่า ต่างฝ่ายต่างกล่าวคำร้ายป้ายสีใส่กัน   น้ำลาย มักจะนำมาใช้เปรียบเปรยคำพูด   คนที่ทะเลาะกันก็เท่ากับการพ่นน้ำลายใส่กัน  เมื่อการทะเลาะนั้นรุนแรงมาก จึงเปรียบโดยใช้คำว่า “สาดน้ำลายใส่กัน”

ถ่มน้ำลายรดฟ้า   เป็นสำนวน  หมายความว่า น้ำลายที่บ้วนออกจากปากไปแล้วไม่สามารถนำกลับมากลืนกินได้  คนที่พูดแล้วกลับคืนคำไม่ทำตามที่พูดไว้มักจะถูกตำหนิว่า กลืนน้ำลายที่ตนบ้วนทิ้งไปแล้ว

ฟางเส้นสุดท้าย   เป็นสำนวน  หมายความว่า การพยายามไขว่คว้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโอกาสสุดท้ายไว้ เพื่อให้สมหวังหรือเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ แม้ว่าสิ่งนั้นจะมีค่าน้อยเหลือเกินก็ตาม  สำนวนนี้เปรียบเทียบคนกำลังจะจมน้ำตาย  จึงพยายามไขว่คว้าหาที่เกาะ เพราะหวังว่าจะช่วยชีวิตตนไว้ได้แม้สิ่งที่ลอยมาจะเป็นฟางเส้นเล็ก ๆ ก็ตาม   ฟางเส้นสุดท้ายอีกนัยหนึ่ง  หมายถึง สิ่งที่ทำให้ความอดทนที่มีอยู่ตลอดมาต้องสิ้นสุดหรืออับปางลง ไม่อาจอดทนต่อไปได้

รถด่วนขบวนสุดท้าย   เป็นสำนวน หมายถึง  หนุ่มหรือสาวที่เลือกคู่มานาน จนในที่สุดรู้ตัวว่าจะเลยวัยหนุ่มสาวเสียแล้ว ยังไม่ได้ตกลงกับใครเลย  ดังนั้น เมื่อมีคนที่พอจะรับได้ผ่านเข้ามาในชีวิต แม้ผู้นั้นจะไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการจริง ๆ ก็จำต้องยอมตกลงแต่งงานด้วย   เปรียบว่าเป็นรถขบวนสุดท้ายแล้ว  ถ้าไม่ขึ้นก็จะไม่มีโอกาสอีกเลย



ที่มา :
- th.wikipedia.org
-  คอลัมพ์ ภาษาไทยวันนี้ : นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ ฉบับที่ ๓๐๐๔ ประจำวันอังคารที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕



.
5372  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงจืดกระหล่ำปลีลูกรอก - อาหารเพื่อสุขภาพ โดย กิมเล้ง เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 19:32:08
เมนูเพื่อสุขภาพ แกงจืดกระหล่ำปลีลูกรอก
โดย กิมเล้ง




สำหรับใครที่ยังทำลูกรอกไม่เป็น หรือหาซื้อลูกรอกมาทำกินไม่ได้
>> คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการทำลูกรอก <<






หั่นกะหล่ำปลีกว้างยาวพอประมาณ ใส่หมูสับ แล้วห่อม้วนผูกด้วยต้นหอมลวก


เครื่องปรุง : กะหล่ำปลียัดไส้  ลูกชิ้นปลากราย  ลูกรอก  น้ำซุปกระดูกหมู  รากผักชีบุบ  พริกไทยขาว


5373  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำลูกรอก - ลูกรอกหน้าตาเป็นยังไง หลายคนไม่รู้จัก - กิมเล้ง เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 19:22:18
วิธีทำลูกรอก - ลูกรอกหน้าตาเป็นยังไง หลายคนไม่รู้จัก - กิมเล้ง
ลูกรอกเหมือนกับไส้กรอก ฟิวชั่นกับเต้าหู้ไข่
หลายคนกินแล้วติดใจ เอาไปทำอาหารได้หลายหลาก
แต่มันทำยังไง มีกระบวนการยังไง มันจะยากหรือไม่
เชิญทัศนา...




ส่วนผสม
- ไส้อ่อนหมู
- เกลือป่น
- ไข่ไก่ 7 ฟอง
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.ขยำไส้อ่อนหมูกับเกลือป่น ล้างน้ำ  แล้วกลับไส้ให้ด้านในออกมาอยู่ด้านนอกขยำด้วยเกลือป่น  ล้างน้ำให้สะอาด หลาย ๆ ครั้งจนหมดกลิ่น
2.ตอกไข่ไก่ใส่ชาม ใส่ซีอิ๊วขาว  ซอสหอยนางรม  ตีผสมให้เข้ากันอย่างช้า ๆ อย่าให้มีฟองอากาศ  แล้วกรองด้วยกระชอน
3.ผูกปมไส้อ่อนด้านหนึ่ง แล้วใช้ด้ายทบหลาย ๆ เส้น มัดอีกครั้งหนึ่งมิให้ปมที่ผูกไว้คลายออกได้ง่าย
4.กรอกไข่ใส่ในไส้อ่อนหมู (ใช้กรวยพลาสติกจะง่ายขึ้น)  ผูกปมและมัดด้วยด้ายอีกครั้งหนึ่ง
5.นำใส่ในหม้อ เติมน้ำเย็นให้ท่วม  ต้มด้วยไฟอ่อนสุด ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ถ้าไฟแรงไส้จะแตกใช้ไม่ได้ (ไข่ที่ยังเป็นน้ำจะไหลทะลักออกมาด้วย)  ให้สังเกตที่ก้นหม้อ หากเริ่มมีฟองน้ำผุดขึ้นมา ซึ่งหมายความว่าน้ำเริ่มจะร้อนขึ้น  ให้ใช้กระบวยเล็ก ๆ เติมน้ำเย็นลงในหม้อ  ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสุก  (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)  
6. ธีทดสอบว่าลูกรอกสุกได้ที่หรือยัง ให้ใช้ไม้จิ้มฟันผ่าครึ่งจิ้มไปที่ไส้หมู หากไข่ไม่ไหลออกมาแสดงว่าสุกใช้ได้แล้วค่ะ



ผูกไส้อ่อนหมูให้เป็นปมแน่นแล้วมัดด้วยด้ายทบหลายๆ เส้น โปรดสังเกตไข่ไก่ไม่มีฟองอากาศ (ต้มเสร็จแล้วจะได้ลูกรอกเนื้อเนียน ไม่มีรูฟองอากาศ)[/color][/size]




ต้มด้วยไฟอ่อนสุด ข้างหม้อต้มจะเห็นชามใส่น้ำเย็นและกระบวยอันเล็กๆ  สำหรับไว้เติมน้ำในหม้อไม่ให้น้ำร้อนจนเกินไป


สุกใช้ได้  ทดสอบโดยใช้ไม้จิ้มฟันผ่าครึ่งจิ้มลงไปที่ไส้ หากน้ำไข่ไม่ไหลออกมา แสดงว่าสุกได้ที่แล้ว


นำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย

- การทดสอบความร้อนของน้ำอีกวิธี คือใช้นิ้วจุ่มลงไปในหม้อน้ำ ถ้าเราสามารถทนความร้อนของน้ำได้ นั่นแหละคืออุณหภูมิขั้นปลอดภัย รับรองไข่ไม่แตก
- นิ้วจุ่มลงไปแล้วรีบชักขึ้นมานะ ทิ้งไว้นานๆ  มือพองไม่รู้ด้วย

5374  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / อัตชีวประวัติและธรรมบรรยาย พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 19:00:29
อัตชีวประวัติ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ( พระอาจารย์วัน อุตฺตโม )





คำที่ใช้ในอัตชีวประวัติข้างต้น คัดลอกจากหนังสือตั้งแต่สมัยปี ๒๕๒๔
การใช้คำบางคำยังเป็นคำที่ใช้เขียนในสมัยนั้น เช่น อาว์ เป็นต้น
ซึ่งกิมเล้งได้ยึดตามหนังสือทุกตัวอักษร
มิได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับปัจจุบันสมัย
มิใช่คำที่เขียนผิดแต่อย่างใด



 ยิ้ม
5375  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ธุวดารา สัญญลักษณ์แห่งความมั่นคง เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 14:25:49




ธุวดารา

ธุวดารา ที่จะกล่าวถึงนี้  เป็นชื่อเรียกดวงดาวดวงพิเศษที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดียโบราณ    ดังปรากฏในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๕   สรุปได้ความว่า ธุวดารา มาจากภาษาบาลี ธุว + ดารา   แต่ในภาษาสันสกฤต คำ ธุว  ใช้ว่า ธรุว  แปลว่ามั่นคง แน่นอน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  และเมื่อใช้เป็นคำนาม หมายถึงดาวเหนือ   เหตุที่ธุวดาราเป็นชื่อของดาวเหนือก็เพราะดาวเหนือนั้น  เมื่อสังเกตดูด้วยตาเปล่าแล้วย่อมอยู่คงที่  ไม่เปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองบนท้องฟ้า  

อินเดียเป็นชาติที่มีความรู้เรื่องดวงดาวดีที่สุดชาติหนึ่งในสมัยโบราณ  จากการที่พราหมณ์ผู้ประกอบศาสนพิธีจะต้องศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ หลายคัมภีร์   โดยคัมภีร์โชยติษเป็นเวทางค์สาขาสุดท้ายที่ว่าด้วยวิธีคำนวณการโคจรของดวงดาวในท้องฟ้า  ทั้งนี้เพราะประเพณีอินเดียโบราณถือ ว่า  ศาสนพิธีจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างได้ดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายอย่างเคร่งครัด  การประกอบพิธีต้องถูกต้องตามเวลาและฤดูกาล  โดยอาศัยการสังเกตทางโคจรและตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้า  เนื่องจากสมัยโบราณยังไม่มีปฏิทิน  ไม่มีนาฬิกา  

การที่ธุวดาราหรือดาวเหนือเป็นดาวที่เห็นอยู่ประจำที่ และมีดวงดาวอื่นหมุนทวนเข็มนาฬิกาไปรอบ ๆ ในลักษณะเป็นจุดศูนย์กลางเช่นนี้   ชาวอินเดียโบราณถือว่าเป็นลักษณะพิเศษหาได้ยาก   ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ยั่งยืน และความเที่ยงตรง  คัมภีร์คฤหยสูตรต่าง ๆ จึงดึงเอาดาวธุวดารามาเป็นส่วนประกอบสำคัญของพิธีแต่งงานด้วย  โดยกล่าวไว้อย่างละเอียดทุกคัมภีร์  หลังจากที่เจ้าบ่าวพาเจ้าสาวไปยังบ้านของเจ้าบ่าว และพาขึ้นไปบนเรือนหอแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะนั่งเคียงกันบนหนังวัวที่เตรียมไว้  หรือถ้าไม่มีหนังวัว ก็อาจใช้หญ้าคาปูพื้นแทนได้  เจ้าสาวจะนั่งอยู่เงียบ ๆ จนพลบค่ำสามารถมองเห็นดวงดาวในท้องฟ้าได้ชัดแล้ว  เจ้าบ่าวจะชี้ให้เจ้าสาวดู ธุวดารา หรือดาวเหนือ   และขอให้เจ้าสาวทำตนเป็นผู้มั่นคง ยั่งยืน ไม่หวั่นไหวอยู่ในเรือนของตน  เจ้าสาวจะตอบรับตามที่เจ้าบ่าวกล่าวนำ  ทุกคัมภีร์จะใช้คำว่า ธฺรุว (มั่นคง)  และมักจะใช้คำว่า ธฺรุวปตฺนี (แม่บ้านผู้มั่งคง)  คู่กันไปด้วย  เป็นการแสดงถึงความเชื่อว่า ดาวธุวดารานั้น  เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงอย่างแท้จริง





ที่มา:  "องค์ความรู้ภาษาไทย" โดย ราชบัณฑิตยสถาน  นสพ.เดลินิวส์  ฉบับประจำวันพุธที่ ๙ พ.ค. ๕๕  น.๒๗


.


5376  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ปริศณาธรรมซึ่งได้มาจาก 9 เณรปลูก(ปัญหา) ปัญญา เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2555 12:37:08




ปริศณาธรรมซึ่งเณรปลูก(ปัญหา) ?... ปัญญา ? 



เณรนั่งสมาธิ ขำขำนะ



"โผล่มาแซว  เห็นหายไปนาน"

5377  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ ปีกไก่น้ำแดง สูตรขึ้นเหลา โดย กิมเล้ง เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2555 19:59:54
วิธีทำ ปีกไก่น้ำแดง สูตรขึ้นเหลา โดย กิมเล้ง






ส่วนผสม
- ปีกบนไก่  10 ชิ่้น
- หอมหัวใหญ่ หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  1/2 หัว
- มะเขือเทศแกะไส้ทิ้ง หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  1/2 ผล
- น้ำตาลทรายขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๋วขาว 2 ช้อนชา
- น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสพริกชนิดไม่เผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ
- เหล่้าจีน 1/2 ช้อนชา



ใส่น้ำมันพืชในกระทะเล็กน้อย ใส่หอมใหญ่เจียวพอสุกเหลืองนิดๆ  ใส่มะเขือเทศตามลงไป


ใส่ซอสหอยนางรม  ซอสมะเขือเทศ  ซอสพริก  น้ำตาลทราย  และซีอิ๋วขาว


ผัดให้ส่วนผสมเข้ากัน ชิมรสตามชอบ  และน้ำเริ่มข้นเหนียว จึงใส่เหล้าจีน 1/2 ช้อนชา


นำปีกไก่ทอด ลงไปผัดให้ส่วนผสมเกาะเนื้อไก่








5378  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / สูตรเค้กฝอยทอง โดย กิมเล้ง ทำเองอร่อยกว่า จะซื้อให้เสียเงินทำไม ? เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2555 19:34:07
สูตรเค้กฝอยทอง โดย กิมเล้ง

ทำเองอร่อยกว่า จะซื้อให้เสียเงินทำไม ?







ส่วนผสม

- แป้งเค้ก   170 กรัม
- ผงฟู      1 1/2  ช้อนชา
- เกลือป่น    1/4  ช้อนชา
- เนยสดละลาย  70 กรัม
- น้ำสะอาด   1/3  ถ้วยตวง
- โอวาเล็ต     1  ช้อนโต๊ะ (ใช้เอสพีแทนได้)
- วานิลลา    2  ช้อนชา
- น้ำตาลทราย    3/4 ถ้วยตวง (ใส่เครื่องปั่นให้ละเอียดก่อน จะทำให้เนื้อเค้กนิ่มนวล)
- กะทิผง   2   ช้อนโต๊ะ (หน้าเค้กเป็นขนมไทย จึงใส่กะทิผงในเนื้อเค้กให้มีความมัน)
- ไข่ไก่เบอร์ 0   3  ฟอง

  
วิธีทำ

1. ร่อนแป้งเค้ก  กะทิผง  ผงฟู   เกลือป่น  รวมกัน
2. นำกระดาษไขวางที่ก้นพิมพ์เค้กขนาด 3 ปอนด์  ด้านข้างทาด้วยเนยขาวโรยแป้งนวล มิให้ขนมติดขอบพิมพ์  
3. นำฝอยทองลงกรุในพิมพ์เค้กเกลี่ยให้เสมอกัน  แล้วขูดเนยสดใส่ลงไป  (เพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นหอมของเนยสด+ฝอยทอง)
4. นำแป้งเค้กร่อนแล้ว ใส่ในโถปั่น  ใส่น้ำตาลทรายป่นละเอียด  ไข่ไก่  น้ำเย็น  โอวาเล็ต  และกลิ่นวานิลลา   ตีด้วยความเร็วต่ำสุดเพื่อมิให้แป้งฟุ้งกระจาย  แล้วค่อย ๆ เร่งความเร็วจนถึงระดับสูงสุด ตีนาน 5 นาที
5. ค่อย ๆ ใส่เนยสดละลาย  แล้วตีไล่ฟองอากาศประมาณ 1 นาที
6. เทแป้งผสมลงบนฝอยทองเกลี่ยแป้งให้เสมอกัน  นำเข้าอบไฟ 180 องศาเซลเซียส ประมาณ 45 นาที
*** หาถาดรองพิมพ์ขนมเค้ก โดยใส่น้ำร้อนในถาดรอง

7. นำเค้กออกจากเตาอบ แล้วคว่ำถาดลง เพื่อให้ฝอยทองอยู่ด้านบนของเค้ก  



ใส่ฝอยทองในพิมพ์เค้กขนาด 3 ปอนด์ เกลี่ยให้เสมอกัน โรยเนยสดขูดลงเพิ่มความหอมอร่อยลงไปด้วย


ผสมเค้กร่อน น้ำตาลทราย น้ำเย็น ไข่ไก่ โอวาเล็ต และกลิ่นวานิลลา ในโถผสมอาหาร


ตีด้วยความเร็วต่ำสุด แล้วค่อย ๆ เร่งเป็นสูงสุด นาน 5 นาที


ค่อย ๆ ใส่เนยสดละลาย ตีด้วยความเร็วต่ำสุดเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันและไล่ฟองอากาศ นานประมาณ 1 นาที


เทแป้งผสมบนฝอยทอง เกลี่ยให้เสมอกัน  นำเข้าเตาอบประมาณ 45 นาที

นำขนมออกจากเตาอบวางบนตะแกรง




คว่ำพิมพ์ลงเพื่อให้ฝอยทองอยู่ด้านบนเนื้อเค้ก







สูตรครีมนมข้นหวาน
- เนยสดชนิดเค็ม 70 กรัม
- เนยขาว 70 กรัม
- นมข้นหวาน (ความหวานให้ใส่ทีละน้อยแล้วชิมรสชาติตามชอบ)

วิธีทำ
1. ตีเนยสด เนยขาว นมข้นหวาน ด้วยความเร็วปานกลาง จนขึ้นฟูเต็มที่
2. ผ่าเค้กแบ่งครึ่ง เป็น 2 ส่วน 
3. ปาดครีมบนเนื้อเค้ก เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน นำเค้กชิ้นที่เหลือมาวางทับด้านบน








5379  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / เกจิชื่อดัง: หลวงพ่อเดิมและวัตถุมงคลหายาก เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2555 12:05:51
เกจิชื่อดัง
หลวงพ่อเดิม  พุทฺธสโร
(พระครูนิวาสธรรมขันธ์)


หลวงพ่อเดิม  พุทฺธสโร
วัดหนองโพ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์
ภาพและกรอบรูปดั้งเดิม (๖๐ ปีเศษ)

อัตโนประวัติ
หลวงพ่อเดิม   นามเดิมว่า “เดิม”  เกิดในสกุล  ภู่มณี    เมื่อ ณ วันศุกร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)  โยมบิดาชื่อเนียม  โยมมารดาชื่อ ภู่   ท่านเป็นบุตรคนโต ของโยมบิดามารดา  มีพี่น้องร่วมท้อง ดังนี้
๑. นางทองคำ คงหาญ
๒. นางพู ทองหนุน
๓. นายดวน  ภู่มณี
๔. นางพันธ์ จันทร์เจริญ
๕. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น

อุปสมบท
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๓   อายุครบบวช  ได้เข้าพิธีอุปสมบท  ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๑  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๔๒๓  โดยมีหลวงพ่อแก้ว  วัดอินทาราม (วัดใน)   เป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์)  วัดพระปรางค์เหลือง  ตำบลท่าน้ำอ้อย  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และหลวงพ่อเทศ  วัดสระทะเล  ตำบลสระทะเล  เป็นพระอนุศาสนาจารย์  ได้รับนามฉายาว่า “พุทฺธสโร”  มีความหมายว่า ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นศรชัยแห่งชัยชนะ  



เข็มกลัดรูปหลวงพ่อเดิม ทำด้วยเงินลงยา ขอบฉลุลาย ใช้กลัดติดย่ามพระธุดงค์
กรรมสิทธิ์ผู้โพสท์



รูปถ่ายหลวงพ่อเดิม กรอบและภาพเป็นของดั้งเดิม หลวงพ่อเดิมมอบให้เมื่อยังไม่มรณภาพ
กรรมสิทธิ์ผู้โพสท์

การศึกษา
ภายหลังอุปสมบท  ท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองโพ  อำเภอตาคลี   ได้ศึกษาพระธรรมวินัย  คัมภีร์พระวินัยปิฎก  เพื่อรักษาตนตามแนวทางพระนวกะ  ตลอดจนเล่าเรียนพระเวทวิทยาคมต่าง ๆ กับนายพันธ์  ชูพันธ์  ฆราวาสผู้ทรงวิทยาคุณแห่งบ้านหนองโพ   เมื่อนายพันธ์ถึงแก่มรณกรรม  ท่านจึงไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน  ตำบลห่วงหัก  อำเภอพยุหะคีรี   จนได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้สุดยอดในเรื่อง “อาคมขลัง”  บ้าง “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” บ้าง    นอกจากนี้ท่านยังได้เล่าเรียนศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง  อำเภอพยุหะคีรี  จังหวัดนครสวรรค์  ควบคู่ไปด้วย

สมณศักดิ์
- ปี พ.ศ. ๒๔๕๗  ในรัชมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  หลวงพ่อเดิม ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์   เป็นที่รองเจ้าคณะแขวง*เมืองนครสวรรค์  เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗  (* แขวง : ในอดีต มีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอ)
- ปี พ.ศ. ๒๔๖๒  ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
 
งานสาธารณูปการ
หลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณูปการ  เช่น สร้างวัด สร้างพระอุโบสถ  สร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยกุฏิสงฆ์  สังฆาวาส   ให้เป็นเสนาสนะสัปปายะ  เพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาไม่เพียงเฉพาะวัดหนองโพ  แต่ได้แผ่ขยายออกไปยังวัดวาอารามตามอำเภอต่าง ๆ  ไว้อีกมากมาย เช่น สร้างอุโบสถวัดหนองหลวง  วัดทำนบ  ตำบลหนองหลวง  อำเภอท่าตะโก สร้างวัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว  สร้างอุโบสถวัดอินทาราม ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี  สร้างวัดหัวถนน  ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก  สร้างวัดที่อำเภอไพศาลี  จังหวัดนครสวรรค์  และตำบลหางน้ำสาคร  จังหวัดชัยนาท  เป็นต้น

ละสังขาร
หลวงพ่อเดิมถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔  สิริอายุ ๙๒ ปี  พรรษา ๗๑  ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๔



http://www.sookjaipic.com/images/7090482223_2._1_.jpg
วัดหนองโพ  ตำบลหนองโพ  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์
กับบรรยากาศเมื่อวานนี้ - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕


ช้างพลายและช้างพัง พาหนะสำหรับการเดินทางไปก่อสร้างและพัฒนาวัดตามที่ต่าง ๆ ของหลวงพ่อเดิม
*เชือกขวามือ ชื่อแม่ปทุม (ช้างเชือกนี้สูงใหญ่มาก ขณะผู้โพสต์ยังเป็นเด็กๆ
ทันได้เห็นช้างแม่ปทุมซึ่งขณะนั้นมีอายุมากแล้ว ถัดมาไม่นานแม่ปทุมก็ล้ม (เสียชีวิต)





เกวียนที่ใช้แรงงานคนลาก  (ไม่ใช้แรงงานวัวหรือควาย)  
เป็นพาหนะของหลวงพ่อเดิม สำหรับออกบิณฑบาต
อันเป็นกิจวัตรที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่
ของพระภิกษุสามเณรมาแต่ครั้งพุทธกาล
และใช้สำหรับไปกิจนิมนต์ ในบั้นปลายแห่งสังขาร
ซึ่งหลวงพ่อไม่สามารถลุกเดินได้..
(มีศิษย์คอยอุ้มท่านขึ้นเกวียนเล่มนี้)



เมรุประกอบพระราชทานเพลิงศพ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม)
ณ วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์


เมรุหลังนี้ สร้างขึ้น เมื่อต้นปี ๒๔๙๔ ใช้เวลาในการสร้างประมาณ ๔ เดือน ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของ
หลวงพ่อเดิม  หลวงพ่อให้ช่างบ้านหางน้ำหนองแขม ชื่อ นายสวัสดิ์ และบุตรสาว ๒ คน  เป็นผู้สร้าง
ต่อมาหลวงพ่อได้มรณภาพลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๖
ต่อมาอีกหนึ่งปีจึงได้ใช้เมรุหลังนี้ ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อในปี ๒๔๙๔
ดังนั้น เมรุหลังนี้เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงหลวงพ่อและเป็นที่สักการะบูชาเสมอมา

http://www.sookjaipic.com/images/9758851325_DSC01692_1_.JPG

พระอุโบสถหลวงพ่อเดิม
พระอุโบสถหลังนี้ สร้างครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. ๒๓๗๔  
ต่อมาหลวงพ่อรอด (เฒ่า)ได้สร้างทับที่เก่า เป็นเสาไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ผนังกั้นด้วยมู่ลี่ไม้รวก ถักด้วยเชือก ชักขึ้นชักลงได้ พื้นเป็นดิน

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงพ่อเดิมได้รื้อถอนออก แล้วสร้างขึ้นใหม่
เป็นแบบก่ออิฐถือปูนในพื้นที่เดิม  ช้ทุนทรัพย์การสร้างทั้งสิ้น ๘,๐๐๐ บาท

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงพ่อประเทือง พร้อมด้วยคณะกรรมการ, ชาวบ้าน,
ศิษยานุศิษย์ร่วมกันบูรณะให้คงไว้ตามรูปแบบเดิมทุกประการ
ใช้ทุนทรัพย์ทั้งสิ้น ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พระอธิการสมพงษ์  และชาวบ้าน พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธา
ได้บูรณะเสมา และปูพื้นกระเบื้องขึ้นใหม่ใช้ทุนทรัพย์ทั้งสิ้น ๒๒๑,๐๐๐ บาท


http://www.sookjaipic.com/images/4660179126_DSC01696_1_.JPG

หอสวดมนต์
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อเดิมได้มอบให้หลวงพ่อสมุห์ชุ่ม ขนฺธสโร
เป็นประธานในการสร้าง ให้ช่างเป็นญาติของนายหอม นางผิว เป็นผู้ก่อสร้าง  
เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ของภิกษุสามเณร  และยังเป็นสถานที่สำหรับต่อหนังสือ
ฝึกซ้อมหนังสือ ของภิกษุสามเณรอีกด้วย

หอสวดมนต์หลังนี้ หลวงพ่อสมุห์ชุ่ม ออกทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง
จำนวนเงิน ๑,๖๙๑ บาท ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีกจำนวน ๑,๓๙๒.๓๐ บาท  
รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓,๐๘๓.๓๐ บาท


http://www.sookjaipic.com/images/5600593830_DSC01685_1_.JPG

ศาลาบำเพ็ญบุญ
ศาลาหลังนี้ หลวงพ่อเดิมและศิษย์สร้างเมื่อปี ๒๔๕๔ คู่กับศาลาการเปรียญหลังเก่า
เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญจำนวนมาก และใช้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษา
เล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรอีกด้วย ในราวปี ๒๕๐๐ หลวงพ่อน้อยปรารภว่ามองแล้ว
เป็นศาลาแฝด  จึงย้ายศาลาหลังนี้ไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ
ใช้เป็นกองอำนวยการ และได้ถวายศาลาการเปรียญหลังเก่าให้วัดเขารวก เมื่อปี ๒๕๒๔
เพื่อใช้สถานที่สร้างมณฑปหลวงพ่อเดิม ต่อมาปี ๒๕๕๒ พระอธิการสมพงษ์ได้ย้ายมา
ณ สถานที่นี้เพื่อให้เหมาะสมกับแผนผังการพัฒนาวัด
รวมค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายและการบูรณะทั้งสิ้น ๒๐๗,๕๙๙ บาท


หีบบรรจุสังขารของหลวงพ่อเดิม
มีที่ครอบหีบ ลักษณะหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด แกะสลัก
ปิดทอง ประดับกระจกสี (วัดเก็บรักษาไว้ใต้อาคารหลังเก่า)
5380  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ / Re: เผยภาพหลักฐานโบราณชิ้นใหม่ ที่เชื่อว่าชาวมายาติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2555 12:37:12



จริงด้วย ต้องเป็นมนุษย์ต่างดาวแน่เลย

 
กลอกตา กลอกตา กลอกตา
หน้า:  1 ... 267 268 [269] 270 271 ... 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.826 วินาที กับ 26 คำสั่ง