[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => สมถภาวนา - อภิญญาจิต => ข้อความที่เริ่มโดย: Maintenence ที่ 24 กันยายน 2557 17:42:04



หัวข้อ: ธรรมะของพระอริยคณาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Maintenence ที่ 24 กันยายน 2557 17:42:04
.

ธรรมะของพระอริยคณาจารย์

(http://www.sookjaipic.com/images/2328705874_994900_522226244533726_9749674.jpg)
        จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ
        ควรบำรุงรักษาด้วยดี
        ได้ใจแล้วคือได้ธรรม
        เห็นใจตนแล้ว คือเห็นธรรม
        ถึงใจคนแล้ว คือถึงพระนิพพาน

             .หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต.

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSB2ES-p29oJ9i_cqFOXFJUvVysGeDGF0Pkz-MM7quxgrQ9YvyMXmY0KJ6M)
หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

“..การปฏิบัติศาสนธรรม คือ การเสกสรรจิตของตัวเองเท่านั้น จำเป็นหรือเราจะส่งจิตหนีจากตัวเอง
จำเป็นหรือเราจะส่งจิตของเราออกไปข้างนอก สมควรอย่างยิ่งที่จะเสกสรรจิตของเราให้อยู่กับที่ คือให้อยู่กับตัวเอง
อย่าให้มันไป จะไปที่ไหนก็ตาม เราจะต้องรักษา คือ สกัดเอาไว้ด้วยสติ สติอยู่ที่ไหน สติก็อยู่ที่ใจนั้นแหละ
คล้ายๆ กับว่าเอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ ก็เอาสติที่มีอยู่กับตัวเองรักษาตัวเอง แล้วก็เสกพุทโธลงไป
เสกให้มากเท่าที่จะมากได้ ถ้าใครอยากเจอของดีอันที่มีในตัวเอง ไม่จำเป็นกับเรื่องอื่นคือเราเสกพุทโธให้มาก
เรียกว่า พุทธาภิเษกตัวเอง เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ..”
หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
วัดป่าวิเวกธรรม(วัดป่าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น


หลวงปู่บุญเพ็ง ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันมาฆบูชา ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๗๑ ณ บ้านบัวบาน ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม
ท่านอุปสมบท เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ณ วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น
โดยมีพระพิศาลสารคุณ(หลวงปู่อินทร์ ถิรเสวี) เป็นพระอุปัชฌาย์
ปัจจุบัน หลวงปู่บุญเพ็ง ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกธรรม และเมื่อวันมาฆบูชาพ.ศ.๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ท่านมีอายุครบ ๘๕ ปี


หัวข้อ: Re: ธรรมะของพระอริยคณาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Maintenence ที่ 25 กันยายน 2557 14:03:51
.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSfTp3xVo_FFOKsK50WUNq9rEi0VV4a6RZ_L87zaVVLJeUf9Ij_)

การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ
จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ
เมื่อเราจะออกจากบ้าน ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัยทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา
 
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง
และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
 
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์
ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่า ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว
อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
 
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น
มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน
เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล
มาอยู่เหนือความจริง

พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

          หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ0_O4utCwaJHm3ROmR_9ZLpXoEUcN2hyPt84g07XAq6p8vecXDbw)
"ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ"
ต้องการละ ความพยาบาทหรือความคิดปองร้าย
ต้องหมั่นเจริญเมตตาหรือไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข
ต้องการละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่นเจริญกรุณาหรือเอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์
ต้องการละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่นเจริญมุทิตา หรือพลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี
ต้องการละ ความขัดใจ ต้องหมั่นเจริญอุเบกขา หรือการวางใจเป็นกลาง
ต้องการละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่นเจริญอสุภะ หรือเห็นความไม่งามเบื้อหลังความงาม
ต้องการละ ความถือตัวถือตน ต้องหมั่นเจริญกฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ

       หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


(https://scontent-b-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/v/t1.0-9/548507_428503220519078_440825160_n.jpg?oh=05a2eb17e8ac92c926de1f1cdbf1c965&oe=54C248A1)
คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนไม่ถือตัว แม้อยู่ในที่ต่ำแต่ใจก็สูง
คนที่มีทิฐิมานะแข็งกระด้าง แม้อยู่ในที่สูงแต่ใจก็ต่ำ
การแสดงอาการอันอ่อนน้อม ไม่มีอะไรสูญเสีย
คนถือดี ดื้อรั้น ดันทุรัง ด้วยทิฐิมานะ
จะรองรับอะไรได้ มีแต่จะล้น ทะลักออกมา

 


หัวข้อ: Re: ธรรมะของพระอริยคณาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Maintenence ที่ 15 ตุลาคม 2557 11:45:36
.

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/v/t1.0-9/p180x540/547746_592521007460867_618201590_n.jpg?oh=caa092a9caa2a3a922e0285353858f05&oe=54B403D4&__gda__=1425596325_db1b905e0148bee9607c7a626e804c25)


"..เมื่อไม่รู้จักสมมติ  จะรู้จักวิมุตติอย่างไรได้
เมื่อไม่รู้จักร้อน  จะรู้จักเย็นได้อย่างไร
เมื่อไม่รู้จักได้  จะรู้จักเสียอย่างไรได้
เมื่อไม่รู้จักถูก  จะรู้จักผิดได้อย่างไร
เมื่อไม่รู้จักบาป  จะรู้จักบุญอย่างไรได้
เมื่อไม่รู้จักข้อปฏิบัติ  จะปฏิบัติอย่างไรได้
เมื่อไม่รู้จักข้อเว้น  จะเว้นอย่างไรได้
จะพรรณนาข้อนี้มากมายก็มีความหมายอันเดียวกัน.."

 
ธรรมโอวาทโดย  หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
วัดภูจ้อก้อ จังหวัดมุกดาหาร


หัวข้อ: Re: ธรรมะของพระอริยคณาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 ตุลาคม 2557 11:24:48
.

(http://www.sookjaipic.com/images/2328705874_994900_522226244533726_9749674.jpg)
“..หวังพระนิพพาน
ด้วยความเพียรเท่าฝ่ามือนั้น
ลองคิดดู กิเลสเท่ามหาสมุทร
แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือ
นั้นมันห่างไกลกัน ขนาดไหน
......
เพียงใช้ฝ่ามือแตะมหาสมุทร
ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย
แต่หมายมั่นปั้นมือ ว่า...จะข้ามโลกสงสาร..”


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต