Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 103.0.0.0
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2565 15:41:40 » |
|
พระคเณศ ณ ห้องจัดแสดงอาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพระพิฆเนศนั่งทับหัวกะโหลก พระพิฆเนศ ศิลปะชวาตะวันออก พุทธศตวรรษที่๑๕-๑๖ ศิลา สูง ๑๗๒ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาจากจัณฑิ สิงหส่าหรี ประเทศอินโดนีเซีย จัดแสดงที่ห้องศิลปะชวา อาคารมหาสุรสิงหนาท
พระพิฆเนศจำหลักศิลานูนสูง ประทับนั่งบนบัลลังก์กระโหลกมนุษย์ มี ๔ กร หัตถ์ขวาบนถือขวาน หัตถ์ซ้ายบนถือพวงลูกประคำ หัตถ์ขวาและหัตถ์ซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงเครื่องประดับตกแต่งมาก คือ ศิราภรณ์กุณฑลรูปกระโหลก พาหุรัด เข็มขัด รัดองค์ ทองพระกร ทองพระบาท ทรงภูษาลวดลายกระโหลกมนุษย์ และสวมสายยัชโญปวีตรูปงู ผู้สำเร็จราชการฮอลันดาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสชวา พ.ศ.๒๔๓๙ (ที่มา : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
คนพื้นเมืองบนเกาะชวา ก่อนอารยธรรมอินเดียแผ่เข้าไป ล้วนนับถือศาสนาผีมีหลากหลายเหมือนคนกลุ่มอื่นๆ ในอาเซียนโบราณ เมื่อพ่อค้าหรือนักเสี่ยงโชคผจญภัยจากอินเดียยกกองเรือถึงเกาะชวา ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ โดยเชิญพระพิฆเนศเป็นเทวรูปสาคัญประจำเรือเพื่อขจัดอุปสรรคระหว่างเดินทาง จากนั้นก็ปราบปรามคนพื้นเมืองให้อยู่ในอำนาจจนสำเร็จ ซึ่งต้องฆ่าคนพื้นเมืองจานวนไม่น้อย
พระพิฆเนศนั่งทับหัวกะโหลก หมายถึง เทวดาชมพูทวีปมีอำนาจเหนือคนพื้นเมือง แล้วมีอำนาจเหนือผีทั้งปวงบนเกาะชวา พระพิฆเนศเป็นบรมครูของศิลปินร้องรำทำเพลงและวาดปั้น เป็นสิ่งที่ไทยสร้างใหม่สมัยรัชกาลที่ ๖ แต่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้ในอินเดียและชวา ที่มา : ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้ (๑) สุจิตต์ วงษ์เทศ: ศาสนาผีกับการเมืองตามตำนานเล่าว่า พระคเณศหรือพระพิฆเนศวร์เป็นพระโอรสของพระศิวะและพระอุมา บางตำนานก็ว่า เป็นโอรสของพระอุมาองค์เดียว มีลักษณะรูปร่างอวบอ้วน ผิวกายสีแดง มีเศียรเป็นช้าง มีงาเดียว มีสี่กร สิ่งของที่ถือมีหลายอย่าง อาทิ คฑา จักร วัชระ บ่วงบาศก์ ขอช้าง สังข์ ขนมโมทกะ พาหนะของพระองค์คือ หนู พระคเณศเป็นหนึ่งในเทพที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพเจ้าแห่งความเฉลียวฉลาด การขจัดอุปสรรค และศิลปวิทยาการ
ในปัจจุบันพระองค์เป็นที่นับถือของชาวฮินดูเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือจัดงานฉลองเกี่ยวกับศาสนาทุกครั้งจะต้องสักการะพระคเณศก่อน เพื่อให้พิธีกรรมและงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ นอกจากนั้นพระองค์ยังได้รับความนับถืออย่างมากในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2565 20:17:19 » |
|
ขอขอบคุณเว็บไซท์ "สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (ที่มาภาพ) ทำไมเสื้อกะเหรี่ยงถึงไม่มีกระเป๋า ? ทำไมเสื้อกะเหรี่ยงถึงไม่มีกระเป๋า?
และทำไมด้านหน้าและหลังต้องเหมือนกันด้วย?
ทำไมเสื้อแต่ละตัวต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้?
คำตอบคือ......เสื้อกะเหรี่ยงที่ใส่อยู่มีความเป็นมาและคติสอนใจที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่นว่า
๑. เสื้อกะเหรี่ยงใส่สลับหน้าหลังได้ คือ ด้านหน้าและด้านหลังจะเหมือนกัน - เพื่อตอกย้ำว่าผู้สวมใส่ต้องไม่กลับกลอกปลิ้นปล้อนทั้งต่อหน้าอย่างไรลับหลังก็เช่นกัน
๒. เสื้อกะเหรี่ยงไม่มีกระเป๋า - จึงไม่ต้องมีอะไรซุกซ่อน ซ่อนเร้น อำพราง
๓. เสื้อกะเหรี่ยงไม่มีคอ ปก แขนเสื้อ กระดุม - วิถีกะเหรี่ยงจึงเรียบง่ายสมถะ กินพออิ่ม นุ่งพออุ่น
สามข้อคิดก็สะกิดและเตือนเราให้รู้สำนึกตัวว่า เราคือใครมาจากไหน ไม่ควรลืมผู้มีพระคุณและรากเหง้าของตัวเองที่มาข้อมูล - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 สิงหาคม 2565 14:23:08 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2565 14:21:57 » |
|
ขอขอบคุณเว็บไซท์ pinterest.com (ที่มาภาพ) การเสียบแซมดอกไม้บนมวยผมของชาวล้านนา แซมเสียบเกล้า นบพระเจ้าน้อมเทวา
การเสียบแซมดอกไม้บนมวยผมของชาวล้านนา หาใช่เป็นการประดับให้สวยงามอย่างเดียวไม่ หากแต่เป็นสิ่งแสดงนัยยะแห่งการบูชา คือบูชาขวัญ บูชาเทวดาประจำกายที่สถิตเหนือเกล้า บูชาพระพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนสถาน ยามได้กรานกราบนบน้อมวันทาด้วยเกล้าด้วยเศียรอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 08 กันยายน 2565 16:47:14 » |
|
ภาพ - พระสงฆ์ในเวียดออกออกบิณฑบาต ขักขระ ขักขระ เป็นหนึ่งในอัฏฐารสบริขาร (十八物) หรือเครื่องใช้ ๑๘ อย่างของพระภิกษุ (ระบุในพรหมชาลสูตรฝ่ายมหายาน) สำหรับใช้ถือมือขวาเวลาออกบิณฑบาต (มือซ้ายถือบาตร) เมื่อไปถึงบ้านโยม พระสงฆ์จะเขย่าขักขระ ๓ ครั้งบอกว่าพระมาโปรดแล้ว
ถ้าโยมยังไม่ออกมาจะเขย่าให้เกิดเสียงอีกเล็กน้อย (มูลสรวาสติวาทวินัยฉบับภาษาจีนว่าแค่ ๒-๓ ครั้ง แต่ทางทิเบตว่า ๕ หรือ ๗ ครั้ง) ถ้ายังไม่ไม่มีใครออกมาใส่บาตรก็จะเดินเลยไป ที่ท่านต้องใช้ขักขระเขย่าเช่นนี้เพราะพระวินัยห้ามเอ่ยปากขอ แต่จะให้ยืนรอโดยไร้จุดหมายก็คงจะลำบากพระเกินไป นอกจากนี้ท่านยังใช้เขย่าให้เกิดเสียงเวลาจาริก ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยหรือสัตว์ร้ายหลีกไป และใช้เป็นไม้เท้าช่วยค้ำยันขอขอบคุณ เพจพระพุทธศาสนาไทย ลาว กัมพูชา (ที่มาเรื่อง/ภาพประกอบ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 09 กันยายน 2565 14:48:21 » |
|
การเผาธูปที่ศีรษะของพระมหายาน ในเวียดนาม ารใช้ธูปเผาบนศีรษะนี้ เป็นพิธีกรรมแสดงเจตจำนงที่จะศึกษาปฏิบัติตามแนวทางพระโพธิสัตว์ โดยปฏิญาณว่าจะอุทิศทั้งชีวิตเพื่อศึกษาพระธรรมและรับใช้สรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ จำนวนจุดธูปจะมากหรือน้อยไม่ได้บ่งบอกถึงยศหรือคุณธรรมของพระภิกษุและภิกษุณีนั้น บางท่านจุดธูปเผา ๑ จุด ๓ จุด ๖ จุด ๙ จุด หรือ ๑๒ จุด บนศีรษะ แล้วแต่ความประสงค์ของแต่ละท่าน ในเวียดนามที่พบมากที่สุดคือ ๓ จุด (มากกว่านี้ก็มีแต่น้อย)
ตามประเพณี การทำจุดบนศีรษะด้วยธูปจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้บวชเป็นภิกษุภิกษุณีหรือได้รับศีลพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้เเนวการปฏิบัติมาจากมหายานในจีนนั่นเอง
ก่อนจะเผาธูปนั้น จะมีการทำสัญลักษณ์ไว้ก่อน ว่าจะทำตรงไหนของศีรษะ เพื่อไม่ให้ไปโดนจุดสำคัญหรือเส้นเลือด การจุดธูปนั้นจะจุดไปจนกว่าธูปจะดับเอง ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที ผู้ที่ทำจะสวดมนต์ภาวนาไปเพื่อไม่ให้ใส่ใจกับความเจ็บปวด เมื่อทำสำเร็จก็จะภูมิใจว่าทุกข์ขนาดนี้ตนได้ข้ามผ่านมาเเล้ว ประสาอะไรกับทุกข์ในการรับใช้สรรพสัตว์ที่จะทำไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องการจุดธูปที่ศีรษะของพระภิกษุภิกษุณีมีความเห็นหลายประการว่าไม่จำเป็นและยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย บางท่านจึงไม่ทำ เพราะสาระสำคัญก็คือการศึกษาธรรมะปฏิบัติตามธรรมะนั่นเองขอขอบคุณ เพจพระพุทธศาสนาไทย ลาว กัมพูชา (ที่มาเรื่อง/ภาพประกอบ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 14 กันยายน 2565 15:45:36 » |
|
อุโบสถของวัดเขาชะโงก จังหวัดนครนายกอากาศกิน คำว่า “อากาศกิน” ในวงการช่างไทย หมายถึงปรากฏการณ์การมองเห็นวัตถุ สิ่งของ รวมทั้งสถาปัตยกรรม มีขนาดเล็กกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ผู้คนสัมผัสเห็น ทรวดทรงองค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้างไม่งดงามได้สัดส่วนเหมือนแบบที่เขียนวาดไว้
กลวิธีแก้อากาศกิน อากาศกิน การมองรูปของวัตถุที่ตั้งลอยตัวอยู่กลางแจ้ง เห็นเล็กกว่าขนาดที่เป็นจริงของรูปวัตถุนั้น ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นปรากฏการณ์ลวงตา มีศัพท์เรียกเป็นสามัญในทางช่างว่า "อากาศกิน” หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า อากาศกิน คือ การเห็นของใหญ่มีขนาดเล็กลงนั่นเอง (ให้ความหมายโดย โชติ กัลยาณมิตร (๒๕๑๘)
กรณีช่อฟ้าเหนือยอดจั่ว หากหันหน้าเข้าสู่อาคารทางด้านประจันกับหน้าจั่ว จะเห็นช่อฟ้าเหนือยอดจั่วแต่ละชั้นมีขนาดเท่ากันทั้งหมด ถ้ายึดเอาช่อฟ้าของจั่วชั้นล่างสุดเป็นจุดอ้างอิง ช่อฟ้าของจั่วชั้นที่ซ้อนอยู่สูงขึ้นไปมีขนาดจริงที่ใหญ่กว่า แต่ในเวลาเดียวกันก็มีระยะห่างจากคนมองมากกว่า ขนาดที่เห็นจึงเล็กลงตามปรากฏการณ์อากาศกิน กลายเป็นขนาดเท่ากับช่อฟ้าของจั่วแรก ส่วนหลังคาชั้นซ้อนที่อยู่บนสุดติดช่อฟ้าขนาดใหญ่กว่าทั้งหมด เพื่อชดเชยอัตราอากาศกินที่มากกว่าเพื่อน จนขนาดที่ปรากฏต่อสายตาลดลงมาเท่าๆ กับช่อฟ้าเหนือยอดจั่วอื่น เมื่อมองด้านข้างจะเห็นว่ามีขนาดไม่เท่ากันเลย...
ที่มาข้อมูล : รองศาสตราจารย์ วีระ อินพันทัง (๒๐๑๖). เชิงช่างทางไทย: กลวิธีแก้อากาศกิน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 22, 1. Retrieved from
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 26 กันยายน 2565 14:39:59 » |
|
ความหมายของชื่อวัดเทพศิรินทราวาส--------------------------- วัดเทพศิรินทราวาสเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
เอกสารจดหมายเหตุที่จะนำเสนอเป็นรายการที่ ๔ คือ เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวง-กองกลาง รหัส ศธ ๙๙/๔๒ เรื่อง เปลี่ยนวิธีใช้อักษรวัดเทพศิรินทราวาส [๒ภ-๒๔ ก.ค.๒๔๕๗] [๗ แผ่น] เอกสารรายการนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีหนังสือถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เพื่ออธิบายการเขียน ความหมายของชื่อวัดเทพศิรินทราวาส และให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทุกแผนกทราบและปฏิบัติโดยทั่วกัน ความว่า
“ชื่อวัดเทพศิรินทราวาส มาเขียนกันว่า เทพศิรินธราวาศ ที่แปลว่าวัดของท่านผู้ทรงศรีแห่งเทวดา ดูความเชิยมาก ใม่หมายความว่าพระอินทร์เลย ฉันเข้าใจว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) ผู้คิดพระนามสมเดจพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๕ คงจะหมายความอย่างอื่น คือ เทพ+ศิร+อินทร์ เข้าสนธิเปน เทพศิรินทร์ แปลความว่า พระจอมเกล้าของเทวดา ใช้ในสัตรีลิงค์ หมายความว่าพระมเหสีของพระจอมเกล้าแห่งเทวดา ได้สอบดูอักษรจารึกพระโกศพระบรมอัฐิ แลพระโกศพระอัฐิพระชนนีของท่าน เขียนว่า กรมสมเดจพระเทพศิรินทรามาตย์ทุกแห่ง ฉันได้ทูลสมเดจบรมบพิตรพระราชสมภาร ในแผ่นดินปัตยุบัน ทรงพระอนุมัติแลตรัสให้ใช้ตามนี้ ต่อมาได้พบในสำเนาประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยในสมุดประกาศตั้งกรมซึ่งได้พิมพ์แจกเมื่อพระเมรุวัดราชาธิวาสคราวนี้ ก็ใช้อักษรเช่นนั้น เจ้าแบบแผนในชั้นหลัง ใม่รู้เท่าพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เหนศัพท์ในอรรถกถาธรรมบทว่า เทวรัช์ชสิรีธโร ก็แก้เปนเทพศิรินธร์ไปเสิย เช่นนี้ จะต้องอ่านว่า เทพศิรินธอน วันนี้อ่านร่างทำเนียบ เหนเขียนชื่อว่า วัดเทพศิรินธราวาส จึงบอกมาให้รู้ เพื่อใช้ให้ถูกหลัก”
หมายเหตุ : การสะกดคำยึดการสะกดคำตามอักขรวิธีปัจจุบัน ยกเว้นชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ หรือการคัดลอกข้อความ จะคงสะกดตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรายการนั้นๆ ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร สืบค้นและเรียบเรียง : น.ส. ดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2565 12:46:45 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ตุลาคม 2565 12:52:20 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2565 19:33:21 » |
|
ท่อโสมสูตร ท่อโสมสูตร (Somasutra) เป็นท่อที่ใช้รองรับน้ำอภิเษกจากการบูชาเทวรูปและพระพุทธรูป ในวัฒนธรรมอินเดียที่ส่งผ่านมายังวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยทั่วไปท่อโสมสูตรจะยื่นออกมาจากตัวอาคารเพื่อให้น้ำไหลมาภายนอกอาคาร สำหรับให้ผู้คนนำไปบูชา
ท่อโสมสูตรบางแห่งมีการสลักตรงปลายท่อเป็นรูปสัตว์มงคลตามคติของศาสนาฮินดูเช่น มกร (/มะ-กอน/ หรือ /มะ-กะ-ระ/)
ท่อโสมสูตรมักถูกวางทางทิศเหนือ ตามความเชื่อที่ว่าทิศเหนือเป็น “คงคาทิศ” ตามตำแหน่งที่ตั้งของแม่น้ำคงคาที่เมืองพาราณสี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ที่มา : อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม สระแก้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ตุลาคม 2565 19:35:28 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2565 20:09:47 » |
|
น้ำตกที่ไม่เคยถึงพื้น น้ำตกเอนเจล ( Angel Falls) น้ำตกเอนเจล (Angel Falls) เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่กลางป่าดงดิบในประเทศเวเนซุเอลา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงกว่า ๙๗๙ เมตร หรือสูงกว่าไนแอการาถึง ๑๘ เท่า ผู้ที่จะเข้าชมน้ำตกสามารถเข้าไปโดยทางเรือและเครื่องบินเท่านั้น โดยชื่อของน้ำตกเอนเจล (Angel Falls) นี้เรียกตามชื่อผู้ค้นพบคนแรกที่ชื่อว่า เจมส์ ครอว์ฟอร์ด แองเจล นักบินชาวสหรัฐอเมริกาที่บินผ่านเหนือพื้นที่นี้ในปี ค.ศ ๑๙๓๕ แต่ในภาษาเปมอน ซึ่งเป็นภาษาของคนพื้นเมืองเวเนซุเอลา เรียกว่า ปาราคุปา-เวนา ซึ่งหมายถึงน้ำที่ตกจากจุดที่สูงที่สุด หรือ เคเรปาคุปาอิ เมรู หมายถึงน้ำตกแห่งสถานที่ที่ลึกที่สุด หรือยังมีอีกชื่อคือ ชูรุน เมรู ที่หมายถึงน้ำตกสายฟ้าอีกด้วย
ความพิเศษคือน้ำจากด้านบนบางส่วนจะไม่สามารถตกถึงพื้นได้ เนื่องจากความสูงของน้ำตกทำให้กว่าน้ำจะถึงพื้นมันก็กลายเป็นหมอกไปซะก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีหมอกหนาปกคลุมตลอดเวลา และในปี ๒๐๐๙ ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลาได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของน้ำตกนี้ ให้เป็นชื่อพื้นเมืองดั้งเดิม คือ เคเรปาคุปาอิ เมรู โดยให้เหตุผลว่า "น้ำตกนี้เป็นของชาวเวเนซุเอลามานมนานก่อนที่ชาวอเมริกัน จิมมี แองเจิล จะมาพบ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 14 มกราคม 2566 14:07:45 » |
|
พระราชทานเพลิงพระศพ/ศพคราวละมากๆ ตามธรรมเนียมการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายกัมพูชา จะนิยมนำมาพระราชทานเพลิงเมื่อคราวมีการจัดงานพระเมรุใหญ่ๆ เช่นงานของพระมหากษัตริย์ เมื่อสิ้นพระชนม์ลงก็จะเก็บพระศพไว้ก่อน กว่าจะถึงงานใหญ่ก็มีหลายพระองค์หลายท่านที่สิ้นไป พอมีงานพระเมรุใหญ่ๆ ก็จะเชิญพระศพ/ศพ มาพระราชทานเพลิงในพระเมรุมาศต่อจากงานหลัก เช่น
ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามาเทวาวตาร ได้มีการนำพระบรมศพ,พระศพ และศพของสมเด็จพระวรราชินี (เภา) พระวรราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์, สมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์, พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า, สนมนางใน และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ รวม ๒๗ ท่าน (ขุนนางพระราชทานเพลิงนอกพระเมรุมาศ) โดยพระวรราชมารดานั้น สวรรคตมาได้ ๓๗ ปีแล้ว
ในงานออกเมรุของสมเด็จพระมหาสังฆราชนิล เที่ยง คณะมหานิกาย ได้มีการจัดงานพระเมรุใหญ่โต ประดิษฐานพระโกศบนแท่นเบญจา ๙ ชั้นเท่ากับพระมหากษัตริย์ ในครั้งนั้นได้มีการเชิญพระศพ/ศพ พระองค์เจ้า,หม่อมเจ้า และสนมนางใน มาพระราชเพลิงต่อด้วยในพระเมรุรวม ๑๑ ท่าน
โดยเหตุผลที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ เป็นการประหยัดงบประมาณ เพราะงานพระเมรุเป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง ราชวงศ์กัมพูชาขณะนั้นก็ไม่ได้มั่งคั่งมากมาย พึ่งจะตั้งตัวได้ และพึ่งตั้งราชธานีใหม่ จนมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์เป็นต้นมา ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ทำงานทำธุรกิจเอง พอมีทรัพย์สิน ก็จะทำพระเมรุเอง ซึ่งส่วนมากก็เป็นพระองค์เจ้า (ลูกหลวง) ขึ้นไป750
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 21 เมษายน 2566 16:18:00 » |
|
วันที่ ๒๑ เมษายนวันสถาปนากรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ ครบรอบ ๒๔๑ ปี
นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจัดให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองสำหรับพระนครขึ้นเพื่อเป็นหลักชัยอันสำคัญ พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ น. พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงเปลี่ยนจาก 'บวรรัตนโกสินทร์' เป็น 'อมรรัตนโกสินทร์'
ความหมาย “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง
เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๙ ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกะเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”ที่มา : - กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร (เรื่อง) - cms.kapook.com (ภาพประกอบเนื้อเรือง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 27 เมษายน 2566 13:50:35 » |
|
ตึกมหาราช ตึกราชินี ตึกมหาราช ตึกราชินีตั้งอยู่ที่ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตามพระราชพงศาวดารระบุว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ได้ก่อสร้างตึกขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นที่พักฟื้นของคนป่วย และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (เจ้าคุณกรมท่า) ได้ก่อสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนขึ้นมาอีกหลังหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่า อาคารทั้งสองหลังเดิมเรียกกันว่า “อาศรัยสถาน”
พุทธศักราช ๒๔๔๐ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ในระหว่างที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระราชทานซ่อมแซมอาคารทั้งสองหลัง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามอาศรัยสถานทั้ง ๒ หลัง โดยโปรดเกล้าฯให้เรียกอาคารหลังใหญ่ว่า “ตึกมหาราช” อาคารหลังเล็กว่า “ตึกราชินี”
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตึกมหาราชตึกราชินีในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ง ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๙ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวาที่มา : สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี กรมศิลปากร \#กระทรวงวัฒนธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2566 16:15:05 » |
|
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) คำว่าสวัสดี ใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่? ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
โดยพิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต
เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ (เมื่อ ๘๐ ปีก่อน) จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๘๖ เป็นต้นมา
ส่วนคำว่า "ราตรีสวัสดิ์" ซึ่งเป็นคำแปลจากคำว่า "good night" เป็นคำลาในภาษาอังกฤษ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่นกัน
โดยกำหนดให้คนไทยทักกันตอนเช้าว่า "อรุณสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good morning" และให้ทักกันในตอนบ่ายว่า "ทิวาสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good afternoon" ส่วนตอนเย็นให้ทักกันว่า "สายัณห์สวัสดิ์" มาจากคำว่า "good evening"
แต่เนื่องจากต้องเปลี่ยนไปตามเวลา จึงไม่เป็นที่นิยม คนไทยนิยมใช้คำว่า "สวัสดี" มากกว่า เพราะใช้ได้ตลอดเวลา
แต่กระนั้น คนไทยก็ยังคงใช้อยู่บ้างบางคำคือ คำว่า อรุณสวัสดิ์ และราตรีสวัสดิ์ข้อมูลจาก : kroobannok.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2566 17:47:27 » |
|
“ตลาดทุเรียน” ที่สำคัญของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ “ตลาดทุเรียน” ที่สำคัญของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ขึ้นชื่อที่สุดอยู่บริเวณ “ตลาดยอด” ย่านบางลำพู
แหล่งปลูกทุเรียนจะมีทั้งนอกกรุงเทพและในกรุงเทพ โดยทุเรียนอร่อยจะอยู่แถวบางลำพูล่าง และย่านถนนตก บางคนชอบกินทุเรียนแบบสุกแตกก้นปริและกินห่ามแล้วแต่สายพันธุ์ทุเรียน
“ทุเรียนโบราณ” นอกจากจะมีสายพันธุ์ หมอนทอง ก้านยาว กบ กำปั่น ชะนีแล้ว ทุเรียนโบราณยังมี กระเทย พวงมณี นมสด แม่หวาด ทองหยิบ จอกลอย เป็นต้น และในเอกสารโบราณเคยมีการระบุชื่อทุเรียนไว้มากว่าร้อยชื่อ . ทุเรียนสมัยอยุธยา เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทย และมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอตลอดมา สามารถมาปลูกได้ที่อีสานใต้ได้ด้วย เช่น ทุเรียนภูเขาไฟ จ.ศรีสะเกษ เป็นต้นขอขอบคุณที่มา : เพจ บอกข่าว เล่าเรื่อง (เรียบเรียงโดย kaijeaw.in.th ที่มา Danny Karnรูปจาก กลุ่มคันฉ่องส่องไท)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2566 17:17:21 » |
|
น.หนู แทนนามโดย นางสาวตะวัน ประนิล บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ “น.หนู แทนนาม"
ปกติใช้คำแทนตัวว่าอะไรกันบ้าง? คำสรรพนามในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแบ่งประเภทการใช้เป็นหลากหลายระดับ เช่น กู ตู ข้า เผือ เรียม เรา ดิฉัน กระผม ข้าพเจ้า ท่าน คุณ เธอ หนู เป็นต้น แต่มีคำว่า “หนู” ที่แปลกกว่าคำอื่นเพราะเหมือนเป็นการนำชื่อของสัตว์มาใช้เป็นคำสรรพนาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ อธิบายว่า หนู สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้ในกรณีผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกคนที่อายุน้อยกว่า มีความหมายในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย นิยมใช้กันมากตั้งแต่เด็ก ผู้ใหญ่ ใช้ได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง การใช้สรรพนามคำว่า “หนู” นั้นปรากฏใช้สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ มีความตอนหนึ่งว่า “หมอแกว่าฉันฟันขาวดูหนุ่มขึ้นเหมือนอายุสัก ๓๐ ปี ฟันขาวดูมันเป็นเจ้าหนูขึ้นหน่อยๆ” นอกจากนี้แล้วพระราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ ๖ เกี่ยวกับที่มาของคำว่า “หนู” พบในประกาศยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำนามเด็ก พ.ศ.๒๔๖๔ ในราชกิจจานุเบกษา ความตอนหนึ่งระบุว่า “ทรงพระราชดำริห์ว่า คำว่า “หนู” เป็นศัพท์ที่เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ‘อินู’ ไม่สมควรใช้สำหรับเปนคำนำนามเด็กที่เปนเชื้อชาติสยามแท้จึงได้ยกเลิกเสีย ให้คงใช้คำว่า ‘เด็ก’ ซึ่งเป็นคำไทยแท้นั้นแต่คำเดียว...”
คำสรรพนามในภาษาไทยเป็นคำที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมหลายประการ เช่น การมีสัมมาคารวะ การรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ ความอ่อนน้อมถ่อมตนและยกย่องให้เกียรติผู้อื่น การให้ความสำคัญกับชายหญิง ความผูกพันระหว่างครอบครัวและเครือญาติ เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษาอังกฤษจะใช้แค่คำว่า I กับ You เป็นส่วนใหญ่ เราจึงควรให้ความสนใจกับการใช้คำสรรพนามในภาษาไทยโดยใช้ให้ถูกต้อง เพื่อรักษาวัฒนธรรมของชาติให้ยาวนานสืบไปกฎหมายอาณาจักรหลักคำ กฎหมายอาณาจักรหลักคำ เป็นหนังสือพับสาหรือหนังสือกระดาษสาโบราณ ขนาดกว้าง ๑๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๕ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ตัวบทกฎหมายจะกล่าวถึงการแบ่งเขตการบริหารราชการ การกำหนดฐานะทางสังคม การควบคุมกำลังคน เช่น การควบคุมการเดินทางของไพร่การควบคุมพฤติกรรมของประชาชนและพระสงฆ์ การกำหนดบทคุ้มครอง
ผู้หญิงไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ยังแสดถึงนโยบายสนับสนุนการเกษตรกรรมเช่น การทำเหมืองฝาย การกำหนดโทษผู้ทำความเสียหายให้แก่ทุ่งนา การส่งเสริมการค้าโดยการควบคุมราคาสินค้า การป้องกันการทำเงินปลอม การใช้กฎหมายระหว่างเมืองประเทศราช เป็นต้น
โดยให้อำนาจสิทธ์ขาดแก่เจ้าเมืองน่าน และใช้ปกครองเมืองน่านเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ศึกษาถึงพัฒนาการทางกฎหมายที่ใช้ปกครองบ้านเมืองของท้องถิ่นและของชาติ นอกเหนือจากกฎหมายมังรายธรรมศาสตร์และกฎหมาย ตราสามดวง สะท้อนถึงการตั้งนครรัฐและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และสังคมเมืองน่าน
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จังหวัดน่าน ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำของประเทศไทย ระดับท้องถิ่น วันที่ ๒๐/๑๒/๒๕๕๙ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล/ภาพ) - กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 12 เมษายน 2567 14:08:16 » |
|
ขอขอบคุณ www.isranews.org (ที่มาภาพประกอบ) คำว่า สงกรานต์ หมายถึง การโคจรของดวงอาทิตย์ หรือดาวนพเคราะห์จากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง จะเห็นได้ว่าความหมายดั้งเดิมของคำว่าสงกรานต์ ไม่ได้หมายถึงคำว่าวันขึ้นปีใหม่แต่อย่างใด ซึ่งความหมายของสงกรานต์ที่สื่อถึงการเปลี่ยนราศีของพระอาทิตย์ ปรากฏอยู่ในจารึกโบราณที่พบในประเทศไทย เช่น ในจารึกปราสาทหินพิมาย ๒ พุทธศักราช ๑๕๘๙ มีข้อความระบุถึงการโคจรของพระจันทร์และพระอาทิตย์ว่า “จํนามฺปฺรติทิน ปรฺวฺวทิวสน.....(สงฺ)กฺรานฺตฺ...” แปลว่า “...ประจำทุกวันในวันปรฺวฺวทิวสนะ (คือในวันที่พระจันทร์เปลี่ยนจากนักษัตรหนึ่งไปสู่อีกนักษัตรหนึ่ง).....ในวันสงกานต์ (คือในวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีหนึ่งยกไปสู่อีกราศีหนึ่ง)"กลุ่มเผยแพร่ กรมศิลปากร (ที่มาข้อมูล)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เมษายน 2567 14:10:07 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 25 เมษายน 2567 14:11:52 » |
|
โรคระบาดสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ สมัยอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) เกิดไข้ทรพิษระบาด ครั้งนั้นทำให้ประชาชนทั้งในและนอกพระนครติดไข้ทรพิษล้มตายเป็นจำนวนมาก การเกิดโรคระบาดครั้งนั้นถือว่าหนักหนาสาหัสมาก ชาวบ้านเชื่อว่าการระบาดของโรคเกิดจากน้ำมือของผีห่า เพราะการแพทย์สมัยนั้นยังไม่ทันสมัย คงมีการรักษาด้วยสมุนไพรกันไปตามอาการ บางคนอาการหนักมากก็เสียชีวิตลง และเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนั้นทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ ทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ ถึงแม้ว่าหมอหลวงจะถวายพระโอสถรักษาอย่างสุดความสามารถ และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตในที่สุดขอขอบคุณ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร (ที่มาข้อมูล-ภาพประกอบ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
กำลังโหลด...