[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 มีนาคม 2567 03:29:49



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต' การเยียวยาเหตุสลายชุมนุมปี'63-65 ที่ยังมีคำถาม
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 มีนาคม 2567 03:29:49
'บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต' การเยียวยาเหตุสลายชุมนุมปี'63-65 ที่ยังมีคำถาม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-26 21:56</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
<p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ช่วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการใช้กฎหมายจำกัดเสรีภาพการชุมนุมมากมายทั้ง พ.ร.บ.ห้ามชุมนุมสาธารณะ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ช่วงโควิด-19 อันนำมาสู่การสลายการชุมนุมช่วงปี 2563-2565 แต่เมื่อรัฐบาลยึดโยงกับประชาชนน้อยเท่าไร จึงทำให้การใช้กำลังสลายการชุมนุม ถูกใช้อย่างเข้มข้นมากขึ้น </p>
<p>รายงานจาก MOB DATA (https://www.mobdatathailand.org/) ซึ่งเป็นการทำงานของภาคประชาสังคม เพื่อคอยสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน เปิดเผยว่า ระหว่างปี 2563-2566 มีการชุมนุมทั้งน้อยและใหญ่เกิดขึ้นทั่วประเทศทั้งหมด 3,582 ครั้ง ในจำนวนนี้มีการสลายการชุมนุมอย่างน้อย 74 ครั้ง โดยสลายการชุมนุมโดยใช้กระสุนยางอย่างน้อย 29 ครั้ง แก๊สน้ำตาไม่ต่ำกว่า 13 ครั้ง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง ไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง</p>
<p>แต่อย่างไรก็ตาม รายงานของภาคประชาสังคม และสื่อต่างๆ พบว่า การสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการสากล ส่งผลให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยมีอย่างน้อย 3 รายต้องกลายเป็นผู้พิการสูญเสียการมองเห็น และมีผู้เสียชีวิตมีอย่างน้อย 1 ราย </p>
<p>แม้ว่าหลังการเลือกตั้งปี 2566 มีการเปลี่ยนรัฐบาลนำโดย เศรษฐา ทวีสิน พรรคเพื่อไทย แต่การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม หรือตามหาความยุติธรรม ยังคงมีเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร</p>
<p>รายงานเชิงลึกชิ้นนี้พยายามสำรวจผลกระทบจากการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนที่ไม่เป็นไปตามหลักการทางกฎหมายไทยและหลักสากลช่วง 2563-2565 พร้อมสัมภาษณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมที่บางคนต้องกลายเป็นผู้พิการ และพูดคุยกับนักการเมืองต่อการควานหาผู้กระทำผิดและรับผิดชอบ ไปจนถึงมาตรการผลักดันการเยียวยาให้พวกเขาเหล่านี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนความการสลายการชุมนุม ม็อบ APEC 2022 การสูญเสียการมองเห็นของ 'พายุ'</span></h2>
<p>ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 พายุ บุญโสภณ นักกิจกรรมจากอีสาน อาสาทำหน้าที่เป็นการ์ดดูแลความปลอดภัยการชุมนุมม็อบ "ราษฎรหยุด APEC 2022" เดินนำหน้าขบวนประชาชนออกเดินทางจากลานคนเมือง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เพื่อไปให้ใกล้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมนานาชาติ APEC 2022 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีเป้าหมายหลักคือการสื่อสารปัญหานโยบายที่ชื่อว่า 'เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว' (BCG) ซึ่งเป็นหนึ่งวาระที่นำขึ้นโต๊ะหารือในวงประชุมดังกล่าว (1)</p>
<p>พายุ นักกิจกรรมกลุ่ม 'ดาวดิน' เล่าย้อนความให้ฟังว่า วันนั้นตอนเวลาราว 7.00-8.00 น. ประชาชนเดินออกมาจากลานคนเมือง มุ่งเข้าสู่ถนนดินสอ และเดินเท้าต่อไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่พวกเขาก็ต้องเผชิญกับด่านสกัดของตำรวจ และไม่สามารถเดินต่อไปได้ </p>
<p>ผู้จัดจึงมีการประสานให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมพักทานข้าวกลางวันระหว่างเจรจาให้ตำรวจเปิดทาง โดยด้านหลังขบวนรณรงค์เป็นชาวบ้านและผู้สูงอายุกำลังนั่งทานข้าว ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมและคนรุ่นใหม่ก็มีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่แนวหน้าขบวน อย่างน้อยเพื่อสื่อสารให้กับผู้สื่อข่าวได้ทราบว่านโยบาย BCG สร้างผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร และเพื่อไม่ให้กิจกรรมเว้นว่าง </p>
<p>ต่อมา ได้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ คฝ.เข้ามาสลายการชุมนุมโดยไม่แจ้งเตือนการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่มีสัญญาณเตือนใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน </span></h2>
<p>พายุ ยืนยันว่าไม่มีการแจ้งเตือนว่าจะมีการสลายการชุมนุมโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนและไม่มีการไล่ระดับการใช้อุปกรณ์อีกด้วย </p>
<p>"ช่วงที่ระหว่างพักกินข้าว เขามีการประกาศว่าการชุมนุมของเราเป็นการชุมนุมผิดกฎหมาย แต่ไม่มีการบอกเหนือจากนั้นเลยว่าจะมีการสลายการชุมนุม </p>
<p>"ไม่มีการบอกว่าถ้าไม่เลิกตอนนี้จะมีการยกระดับ จะมีการสลายจะมีการความรุนแรง ใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชน หรือตามสากล จะมีการไล่ขั้นตอน (step) ทำอะไรบ้างในเบื้องต้น ถ้าทางฝ่ายผู้ชุมนุมไม่ยอม ก็จะมีการยกระดับอะไร" พายุ กล่าว</p>
<p>พายุ ไม่ทราบว่าตำรวจอ้างกฎหมายข้อไหนในการสลายการชุมนม เพราะก่อนหน้านี้ผู้จัดได้มีการจดแจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เรียบร้อยแล้ว และวันที่ 17 พ.ย. ก่อนวันเริ่มเดินขบวน ตำรวจยังมาถามผู้จัดอยู่เลยว่าจะใช้เส้นทางเดินขบวนนี้จริงหรือไม่ ทำให้เขามองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว</p>
<p>พายุ ยืนยันว่า นอกเหนือจากการใช้กระบองตีทำร้ายผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บแล้ว คฝ.มีการใช้แก๊สน้ำตาจำนวนมาก และกระสุนยางยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมหลายนัด ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการใช้อย่างปนเป และไม่มีการไล่ระดับ</p>
<p>"เพื่อนที่มาด้วยกันถูกกระสุนยางที่เด้งจากพื้นขึ้นมาโดนคิ้ว และมีอาการบาดเจ็บหัวโน นั่นทำให้เราเห็นว่าตำรวจมีการยิงกระสุนยาง และอีกเหตุการณ์คือรถเครื่องเสียงที่มาด้วย เขาบอกว่าเขาเห็นกระสุนยางยิงใส่กระจกหน้ารถ 2-3 นัด" นักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน เล่าให้ฟัง </p>
<p>ช่วงก่อนที่เขาจะโดนกระสุนยาง พายุ เผยว่า เขากำลังวิ่งไปคุยกับรถเครื่องเสียงที่จ้างมา เพราะคนขับตกใจมาก เพราะมีกระสุนยางยิงโดนกระจกหน้ารถเครื่องเสียง คนขับจึงพยายามขับรถถอยหลังด้วยความตกใจ แต่ว่าด้านหลังชาวบ้านกำลังทานข้าวอยู่ และอาจถูกรถถอยทับได้ ทำให้เขาต้องรุดไปห้ามรถ แต่พอหันกลับมาก็โดนกระสุนยางเข้าที่เบ้าตาขวา</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52506861717_3de514ae87_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ให้สัมภาษณ์สื่อโชว์ภาพปลอกกระสุนยางให้ผู้สื่อข่าว (เมื่อ 18 พ.ย. 2565)</span></p>
<p>"พอโดนมันรู้สึกตัวอยู่ มันวิ๊งๆ เซไปอยู่บนฟุตบาธเพื่อเช็กว่าตัวเองโดนอะไร พอเลือดมันไหลเยอะผิดปกติเกินไป จับที่ตาแล้วหนักแน่ เราก็เลยเดินไปหาเจ้าหน้าที่ คฝ. เปิดให้เขาดูเลยว่าโดนยิง เจ้าหน้าที่ คฝ. เขากำลังเดินง้างกระบองมา 2 คนเลย เขาตกใจสะดุ้ง และก็วิ่งไปข้างหลังผมต่อ" พายุ กล่าว</p>
<p>หลังจากนั้น พายุจำได้ว่ามีคนมาสะกิดบอกว่าจะพาไปส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้น จำเหตุการณ์ไม่ได้เลย แต่ตัวเองยังมีสติอยู่ </p>
<p>หลังจากได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าอาการของพายุได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากการถูกกระสุนยางยิงเข้าที่บริเวณหางคิ้วด้านขวา และมีโอกาสกลับมามองเห็นปกติแค่ 10 เปอร์เซ็นต์</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52507838394_cbbd264ba0_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พายุ บุญโสภณ หลังถูกกระสุนยางเข้าที่ดวงตาขวา</span></p>
<p>พายุเป็นหนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมโดย คฝ. ในวันนั้น รายงานของ กสม. (https://prachatai.com/journal/2023/06/104411) ระบุว่า คฝ.มีการใช้มาตรการที่เกินกว่าเหตุ เช่น การผลักจนล้มหรือการรุมเตะและชก ทั้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ถูกจับกุมบางรายมีท่าทีที่ยอมจำนนและไม่ขัดขืน และบางส่วนที่ขัดขืนบ้าง แต่ไม่มีอาวุธที่จะใช้ต่อต้านจนถึงขนาดที่ตำรวจต้องทำร้ายร่างกาย</p>
<p>รายงานของโครงการอินเทอร์เน็ตกฎหมายเพื่อประชาชน (iLaw) (https://www.ilaw.or.th/articles/10282) ระบุว่า วันนั้นมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนอย่างน้อย 31 ราย หนึ่งรายต้องพบนักจิตบำบัด เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรง ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้รับบาดเจ็บ 14 นาย และอีก 1 นายได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาถูกน้ำมันก๊าดจากผู้ชุมนุมสาดใส่ และข้อมูลจาก The Matter (https://thematter.co/social/media-assaulted-by-riot-police/192989) เผยว่ามีสื่อมวลชนได้รับบาดเจ็บ อย่างน้อย 4 ราย</p>
<p>ปัจจุบัน พายุก็สูญเสียการมองเห็นที่ดวงตาด้านขวา มองเห็นแสงเพียงเลือนลางเท่านั้น และเขากำลังปรับตัวในการใช้ชีวิตหลังจากนี้</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ18พฤศจิกา65 คฝ. ยิง 'กระสุนยาง' ใส่ผู้ชุมนุม เสี่ยงเสียดวงตา 1 ราย ถูกจับกว่า 20 คน - ตร.เจ็บ 14 ราย (https://prachatai.com/journal/2022/11/101469)</li>
<li>ตั้งข้อสังเกต ตร.สลายม็อบ18พฤศจิกา65 หลังแจ้งทีมเจรจาจะมีขบวนเสด็จผ่านถนนราชดำเนิน (https://prachatai.com/journal/2022/11/101505)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่เป็นไปตามสากล และแผนปฏิบัติในประเทศ</span></h2>
<p>รายงานจาก iLaw (https://www.ilaw.or.th/articles/4427) และ<a href="http://กสม. ชี้ คฝ. 'ใช้ความรุนแรง' สลายม็อบ 'ราษฎรหยุด APEC 2022' ละเมิดสิทธิ กระทบเสรีภาพสื่อ">คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)[/url] ทำให้เห็นว่า แม้ว่าในประเทศไทย จะมีแผนการดูแลชุมนุมสาธารณะปี 2565 (http://demonstration.police.go.th/plan.pdf) และแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (http://www.ilaw.or.th/articles/4427) แต่ตลอดปี 2564-2565 กลับมีการสลายการชุมนุมโดยไม่ได้เป็นไปตามหลักการอย่างต่อเนื่อง </p>
<p>ตามแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ เมื่อปี 2565 อ้างอิงจากบทที่ 6 ว่าด้วยเรื่อง "การใช้กำลัง เครื่องมือ อุปกรณ์และอาวุธ" (https://demonstration.police.go.th/plan.pdf) ระบุว่า ต้องมีการเจรจาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ก่อน หากยังไม่มีการยุติให้แสดงท่าเตรียมพร้อมใช้กำกลัง มาตรการ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือ และหากยังไม่หยุดอีก จึงได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม</p>
<p>การสลายการชุมนุมต้องเหมาะสมแก่สถานการณ์ การควบคุมฝูงชนต้องมีการไล่มาตรการจากเบาไปหาหนัก โดยเริ่มจากการเจรจา ใช้โล่และกระบองผลักดัน การใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง และถึงใช้กระสุนยาง </p>
<p>โดยเหตุการณ์เมื่อ 18 พ.ย. 2567 ตามคำสัมภาษณ์ของพายุ จะพบว่าตำรวจไม่ได้มีการแจ้งเตือนก่อนใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน และไม่ได้มีการไล่ระดับมาตรการการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน</p>
<p>ในเหตุการณ์เดียวกัน ตำรวจยังมีการยิงกระสุนยางในระดับเดียวกับ ‘ศีรษะ’ ซึ่งขัดต่อแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งระบุว่า ให้ "ยิงส่วนล่างของร่างกาย" และใช้กับเป้าหมายที่กระทำการหรือมีท่าทีคุกคามต่อชีวิตของผู้อื่น ต้องกำหนดเป้าหมายโดยชัดเจน ไม่สามารถยิงโดยไม่เลือกเป้าหมายได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53612486806_282b0ddf3c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตามแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ เมื่อปี 2565 บทที่ 6 "การใช้กำลัง เครื่องมือ อุปกรณ์และอาวุธ" หน้าที่ 25</span> (https://demonstration.police.go.th/plan.pdf)</p>
<p>แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (United Nations Human Rights Guidance on Less-Lethal Weapons in Law Enforcement) (https://www.ilaw.or.th/articles/4427) ของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าควรยิงกระสุนยางที่ “ท้องส่วนล่าง และขา” ห้ามยิงระนาบเดียวกับศีรษะ หรือร่างกายส่วนบน เพราะอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส</p>
<p>ระหว่างการจับกุมหลายสถานการณ์ เจ้าหน้าที่มีการทำร้ายร่างกายประชาชนระหว่างการจับกุม เช่น การผลักจนล้มหรือการรุมเตะและชกทั้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ถูกจับกุมบางรายมีท่าทีที่ยอมจำนนและไม่ขัดขืน และแม้บางรายจะแสดงอาการขัดขืนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มีอาวุธที่จะใช้ต่อต้านจนถึงขนาดที่ตำรวจจะต้องทำร้ายร่างกาย ซึ่งกรณีนี้ขัดกฎหมายและแนวปฏิบัติสากลอย่างชัดเจน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ซ้ำแล้วซ้ำเล่า</span></h2>
<p>ระหว่างปลายปี 2563-2565 มีการสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการสากลหลายครั้ง รายงาน MOB DATA (https://www.mobdatathailand.org/) ระบุว่า เฉพาะในปี 2564 ซึ่งมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ราว 60 ครั้งจาก 74 ครั้ง</p>
<p>รายงานของ iLaw  (https://www.ilaw.or.th/articles/9895)ที่ได้บันทึกการสลายการชุมนุมที่แยกดินแดงเมื่อ ส.ค. 2564 พบว่าเจ้าหน้าที่มีการสลายการชุมนุมโดยไม่เป็นไปตามหลักการสากล และแผนปฏิบัติการควบคุมการชุมนุม ยกตัวอย่าง แม้นว่ามีหลักกำหนดให้ตำรวจต้องเจรจาก่อนใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน แต่เจ้าหน้าที่ไม่มีการเจรจาหรือไม่เคยขอเจรจากับผู้ชุมนุม แม้ว่าจะมีผู้แสดงตัวเป็นผู้จัดชัดเจน หรือไม่มีผู้จัด</p>
<p>บางกรณีแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะทำตามหลักปฏิบัติสากลอย่างมีการประกาศก่อนใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนอย่างการฉีดน้ำ และแก๊สน้ำตา แต่ตำรวจไม่มีการกำหนดเวลา หรือให้เวลาสั้นมากในการยุติการชุมนุม บางกรณีให้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็ใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนทันที </p>
<p>นอกจากนี้ การสลายการชุมนุมโดยใช้กระสุนยางของ คฝ.ช่วงม็อบดินแดง มีการยิงในระนาบเดียวกับศีรษะ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก และมีการยิงในระยะใกล้ผู้ชุมนุมอย่างในการชุมนุมเมื่อ 14 พ.ย. 2564</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51427929940_60d13a2c4a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ภาพการชุมนุมดินแดง เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 (ภาพโดย สันติธรรม บุญราศร)</span></p>
<p>"มีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอเป็นหลักฐานยืนยันมากมายว่าตำรวจใช้ปืนยิงกระสุนยางในระดับสายตา ไม่ใช่การยิงกดลงเพื่อให้โดนส่วนล่างของร่างกาย มีภาพการใช้อาวุธจ่อยิงในระยะประชิด หรือยิงใส่บุคคลและกลุ่มบุคคลที่กำลังหลบหนีหรือล่าถอย</p>
<p>"การใช้อาวุธแต่ละชนิดก็ไม่ได้ไล่ลำดับจากเบาไปหาหนัก แต่ใช้ทุกประเภทไปพร้อมกัน หรืออาจจะใช้กระสุนยางก่อน และใช้การฉีดน้ำทีหลัง ขึ้นอยู่กับอำเภอใจของตำรวจ" iLaw ระบุ </p>
<p>ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (https://tlhr2014.com/archives/37202) รายงานว่า เฉพาะ 4 เดือนของการชุมนุมทะลุแก๊ส (ระหว่าง ส.ค.-ต.ค. 2564)  เท่าที่ทราบข้อมูล มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 229 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยมีผู้ได้รับผลกระทบที่อายุน้อยที่สุดเป็นเด็กอายุ 4 ขวบ</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>กสม.ชี้ คฝ. 'ใช้ความรุนแรง' สลายม็อบ 'ราษฎรหยุด APEC 2022' ละเมิดสิทธิ กระทบเสรีภาพสื่อ (https://prachatai.com/journal/2023/06/104411)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสียชีวิต 1 ราย พิการอย่างน้อย 3 ราย</span></h2>
<p>ระหว่างปี 2564-2565 มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมอย่างน้อย 1 ราย คือ มานะ หงษ์ทอง เสียชีวิตขณะอายุ 64 ปี ซึ่งเขาไม่ได้เป็นผู้ชุมนุม และมีประชาชนต้องกลายเป็นผู้พิการสูญเสียการมองเห็น จากสลายการชุมนุมผิดหลักอย่างน้อย 3 ราย ได้แก่ ฐนกร ผ่านพินิจ, ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย, และพายุ บุญโสภณ</p>
<p>ฐนกร ผ่านพินิจ (https://www.amnesty.or.th/latest/blog/1148/) อายุราว 48 ปี เคยให้สัมภาษณ์กับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เมื่อปี 2566 เล่าว่า เขาสูญเสียการมองเห็นจากการสลายการชุมนุมเมื่อ เมื่อ 13 ส.ค. 2564 ตอนนั้นเขาและลูกชายกำลังขับมอเตอร์ไซค์ เพื่อไปซื้อต้นไม้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร แต่ก็ต้องเปลี่ยนใจเดินทางกลับ เพราะว่ามีตู้คอนเทนเนอร์ตั้งขวางถนนวิภาวดี-รังสิต (ขาออกนอกเมือง) แต่ระหว่างเขาเดินทางกลับที่พัก เขาพบการชุมนุมที่แยกดินแดง จึงจอดรถสังเกตการณ์ </p>
<p>ตอนที่ดูเหตุการณ์ ฐนกร ระบุว่า เขาเห็นผู้ชุมนุมโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม เขายืนยันว่าไม่มีแจ้งเตือนก่อนใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาไม่ได้เตรียมตัวและหลบไม่ทัน</p>
<p>"มีการยั่วยุกันเกิดขึ้น ทันใดนั้นทาง คฝ. ก็ใช้ปืนยิงใส่มาเลย</p>
<p>"ผมวิ่งหนีไม่ทัน กระสุนยางยิงมาทะลุหน้ากากหมวกกันน็อคเต็มใบ เศษหน้ากากบาดตาขวาบอด ส่วนลูกกระสุนถางตาซ้าย ตอนนี้มองเห็นแค่แสงเลือนราง" ฐนกร กล่าว</p>
<p>ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย (https://www.amnesty.or.th/latest/blog/1156/) อีกหนึ่งผู้ชุมนุมที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมที่แยกดินแดง เมื่อ 13 ส.ค. 2564 โดยเขาถูกกระป๋องแก๊สน้ำตาปะทะที่ดวงตาขวา ซึ่งเป็นการยิงแก๊สน้ำตาอย่างผิดหลักการสากล โดยยิงลงมาจากทางยกระดับดินแดงเป็นการยิงลงมาจากที่สูงลงมาที่ต่ำ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53612508676_c3d96ed1de_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ถูกกระป๋องแก๊สน้ำตาที่แยกดินแดง เมื่อ 13 ส.ค. 2564 (</span><span style="color:#d35400;">ที่มา: iLaw</span> (https://www.ilaw.or.th/articles/9895)<span style="color:#d35400;">)</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ศุกร์ 13 ไล่ทรราช ทะลุฟ้ายันประท้วงสันธิวิธี นำขบวนไปบ้านพักประยุทธ์ (https://prachatai.com/journal/2021/08/94457)</li>
<li>
<p>ครอบครัวเผย 'ไฮโซลูกนัท' เสียตาขวา ประสงค์ดำเนินคดีกับ จนท.จนถึงที่สุดในทุกวิถีทางหวังสร้างบรรทัดฐาน (https://prachatai.com/journal/2021/08/94551)</p>
</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">พายุ: ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม</span></h2>
<p>หลังจากพายุ ถูกกระสุนยางเข้าที่เบ้าตาขวา และมองเห็นแสงเพียงเลือนราง พายุก็อยู่ในช่วงระหว่างการปรับตัวเพื่อให้ชิน เพราะว่าพอเสียการมองเห็นด้านขวาแล้วทำให้การกะระยะสิ่งของเพี้ยน หรือเวลากะน้ำหนักลงเท้าขึ้น-ลงบันได ก็ลงน้ำหนักผิด และช่วง 3-4 เดือนแรกหลังเสียการมองเห็น พายุ เล่าว่าเขาไม่กล้าขับรถยนต์เลย เพราะกลัวไปเบียดไปชนคนอื่นๆ </p>
<p>นอกจากนี้ พายุ ได้รับผลกระทบที่ท่อน้ำตาตาขวาด้วย ทำให้ไม่สามารถไม่ควบคุมการไหลของน้ำตาได้ บางวันอากาศร้อนน้ำตาไหล หาวอยู่ดีๆ น้ำตาก็ไหล ก็ต้องพกผ้าเช็ดหน้า หรือทิชชู่คอยซับน้ำตาที่ไหลเป็นประจำ แต่พายุ มองว่าเป็นเรื่องรำคาญใจมากกว่า แต่ไม่เป็นปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน</p>
<p>ปัจจุบัน นักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน ต้องตรวจเช็กสุขภาพตาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ อย่างน้อย 2 แห่ง แห่งหนึ่งเพื่อเช็กอาการด้านซ้าย และสอง เพื่อทำความสะอาดตาเทียม พายุเล่าว่าตอนนี้เช็กอาการว่าตาเทียมที่ใส่มีผลกระทบด้านสุขภาพหรือไม่ เพราะแพทย์เคยแจ้งไว้ว่า ถ้าตาข้างหนึ่งมันเสีย มันอาจจะเกิดผลกระทบต่อตาอีกข้างที่ยังใช้งานได้ปกติ เช่น ตาแดงกว่าปกติ ตาติดเชื้อ เป็นต้อกระจกโดยไม่มีสาเหตุ หรืออยู่ดีๆ ตาบอดไปเลย โดยอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่มันจะเกิดขึ้นน้อยมาก 1 ใน 5 แสน เลยต้องติดตามอาการ (Follow-up) เรื่องนี้บ่อย</p>
<p>ส่วนเรื่องค่ารักษานั้น พายุ ประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ใช้จ่ายจนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาท ทว่าพายุมองว่ากรณีของเขามีคนช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย และแน่นอนว่า <strong>"ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐ"</strong></p>
<p>แผนการรักษาในอนาคต พายุเล่าให้ฟังว่า เขามีแผนจะย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาลที่จังหวัดขอนแก่นใกล้บ้าน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทาง แต่อยากเช็กอาการให้แน่ใจว่าเขาไม่มีอาการจากผลค้างเคียงจากการสูญเสียการมองเห็นตาขวา</p>
<p>พายุ กล่าวด้วยว่า เมื่อปีที่แล้ว (2566) เหมือนได้พักผ่อนตลอดทั้งปี ได้ฝึกซ้อมเรื่องการใช้ชีวิตตัวเอง ส่วนที่ทำงานเขาก็เข้าใจ และช่วยสนับสนุนเรื่องเงินเดือน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;"><strong>การควานหาผู้รับผิดชอบยังเป็นปัญหาใหญ่</strong></span></h2>
<p>สำหรับกระบวนการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ นักกิจกรรมดาวดิน ระบุว่า หลังออกจากโรงพยาบาลช่วงแรกๆ เขาได้รับจดหมายว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พายุตรวจสอบรายชื่อสมาชิกของคณะกรรมการพบว่ามีแต่ตำรวจ และเขาเป็นประชาชนเพียงคนเดียว ด้วยความกังวลเรื่องความโปร่งใสของกระบวนการ จึงปฏิเสธการเข้าร่วม</p>
<p>อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร เคยเรียกให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มาชี้แจงในที่ประชุมของ กมธ. แต่ สตช.กลับมีการส่งคนที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้นมาให้ข้อมูล ทำให้ไม่ได้คำตอบอะไรที่เป็นประโยชน์ แต่ที่ประชุมกดดันจนเขายอมบอกชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรของคนสั่งสลายการชุมนุม</p>
<p>เรื่องนี้ทำให้พายุ มองว่า ตำรวจไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาหรือรับผิดชอบอะไรเลย แถมถูกดำเนินคดีกลับ</p>
<p>"ผมเลยมองว่า ตำรวจไม่มีการรับผิดชอบอะไรเลย ขนาด กมธ.เรียกให้มาชี้แจงยังเอาตัวใครมาก็ไม่ได้ และถ้าเราไปยอมรับกระบวนการที่เราเข้าไปของตำรวจ สอบข้อเท็จจริงของตำรวจ และเขาบอกว่าเขาไม่ได้ผิด แบบนี้ผมก็จบเลยดิ เขาไม่ได้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่กลับมาฟ้องร้องคดีความซ้ำด้วย" พายุ กล่าว</p>
<p>ปัจจุบัน พายุ ถูกดำเนินคดี 3 ข้อหา ได้แก่ มาตรา 215 (มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) มาตรา 216 (ไม่เลิกมั่วสุมตามที่เจ้าพนักงานสั่ง) และฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสียงจากญาติผู้เสียชีวิตจากการถูกลูกหลงสลายการชุมนุม </span></h2>
<p>วันที่ 15 ส.ค. 2564 เมื่อเวลา 21.00 น. มานะ หงษ์ทอง อายุ 64 ปี นอนหมดสติอยู่บนฟุตบาธละแวกดินแดง มานะถูกวัตถุบางอย่างคาดว่าเป็นกระสุนยางยิงเข้าที่บริเวณหน้าผาก ทำให้เขาล้มทั้งยืน หงายหลังหัวฟาดพื้นส่งผลให้มีแผลเลือดคั่งในสมอง ชายวัย 64 ปีต้องเข้ารักษาในห้องฉุกเฉิน (ICU) นานถึง 3 เดือน พอออกจากโรงพยาบาลก็กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงทุพพลภาพ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 โดยแพทย์ชันสูตรว่าเสียชีวิตจากโควิด-19 </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52343019445_51b7704611_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">เหตุการณ์ขณะที่มานะ หงษ์ทอง ชายวัย 64 ปี ถูกลูกหลง บาดเจ็บสาหัสบริเวณศีรษะ เมื่อ 15 ส.ค. 2564</span></p>
<p>เอกรินทร์ หงษ์ทอง หลานชายของมานะ อายุ 44 ปี บอกว่าตอนนั้นทุกคนช็อกกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับน้ามานะ เพราะน้าเป็นคนเฮฮาสนุกสนาน และอยู่ดีๆ เขากลับมาป่วยซึ่งไม่ได้มาจากโรคประจำตัว แม่ของเอกรินทร์ ซึ่งเป็นน้องสาวของมานะ ก็ชราแล้วต้องลำบากมาดูแล และเดิมทีแม่เขาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว ก็ต้องแบกรับความเครียดที่หนักพอสมควรสำหรับแม่เขา แม่เขาสะเทือนใจอยู่แล้วน้องเขาทั้งคนต้องจากไป เพราะอยู่ด้วยกันมาทั้งชีวิต</p>
<p>เอกรินทร์ กล่าวว่า หลังจากมานะเสีย พวกเขาได้รับการเยียวยาเพียงครั้งเดียวจากกรมคุ้มครองสิทธิ โดยให้เงินช่วยเหลือเป็น<strong>จำนวน 177,193 บาท</strong> และยังไม่มีหน่วยงานรัฐออกมารับผิดชอบในกรณีนี้ </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ชายวัย 64 ปี ผู้ถูกลูกหลงจากกระสุนยางเข้าที่ศีรษะ บริเวณแยกดินแดง เสียชีวิตแล้ว-ญาติติดใจผลชันสูตร (https://prachatai.com/journal/2022/03/97550)</li>
<li>“กรมคุ้มครองสิทธิ” มอบเงินเยียวยาแก่ญาติของ ‘มานะ หงษ์ทอง’ เหยื่อผู้เสียชีวิตจากกระสุนยาง (https://prachatai.com/journal/2022/05/98556)</li>
<li>นักกฎหมายสิทธิฯ ร้อง กสม. เร่งสอบเหตุ ปชช.ถูกกระสุนยาง หลังทุพพลภาพมาครึ่งปี (https://prachatai.com/journal/2022/02/97419)</li>
<li>น้องสาว 'มานะ หงษ์ทอง' เหยื่อกระสุนยาง #ม็อบ15สิงหา เข้าแจ้งความ หาตัวผู้กระทำผิด (https://prachatai.com/journal/2022/03/97953)</li>
<li>กสม.ชี้ คฝ.ละเลยให้ความช่วยเหลือ ‘มานะ หงษ์ทอง’ ผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากเหตุสลายการชุมนุมแยกดินแดง (https://prachatai.com/journal/2022/09/100423)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เริ่มจากตั้ง คกก.สืบข้อเท็จจริงที่ต้องเป็น 'อิสระ'  </span></h2>
<p>เมื่อถามว่าจะเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมอย่างไร รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เห็นด้วยว่าต้องมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการสากล และกลไกรัฐบาลสามารถทำให้เกิดการเยียวยาได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53565102999_b41166df81_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">รังสิมันต์ โรม</span></p>
<p>ก่อนหน้านี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (https://thematter.co/social/political-violence-2010/112118?fbclid=IwAR2kGjpLf3x05KMF8gFZfNNprroSK1JE5jTXpR4nVsjE4jTFkz5_KKGP7bM#google_vignette) เคยออกมติ ครม. เมื่อ 10 ม.ค. 2555 นำมาสู่การจ่ายเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการความรุนแรงหรือเหตุขัดแย้งทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 โดยผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินเยียวยารวมกันสูงสุด 7.75 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินชดเชย 4.5 ล้านบาท เงินเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือค่าปลงศพ 2.5 แสนบาท คราวนั้นมีผู้มายื่นขอเงินเยียวยามากกว่า 2,300 ราย แบ่งเป็นเสียชีวิต 102 ราย (เฉพาะปี 2553 มี 98 ราย) และบาดเจ็บอีกกว่า 2,200 ราย รวมวงเงินที่ใช้ไม่เกิน 2 พันล้านบาท ซึ่งตรงนี้สะท้อนว่ากลไกของรัฐบาลมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้ </p>
<p>รังสิมันต์ กล่าวเพิ่มว่า รัฐบาลสามารถเริ่มจากการตั้งคณะกรรมการเพื่อสืบหาความจริง เพื่อนำมาสู่การเยียวยา รัฐบาลมีอำนาจที่จะคุยกับหน่วยงานต่างๆ หรือเข้าถึงข้อมูลในส่วนที่ประชาชนเข้าไม่ถึง เพื่อนำมาประมวลผล และทำเป็นวิธีการว่าควรเยียวยาใคร และเท่าไรบ้าง แต่สำคัญที่สุดคือต้องเป็น "อิสระ" </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หลักการเยียวยา ต้องคืนความเป็น "ปกติ" มากที่สุด</span></h2>
<p>รังสิมันต์ โรม กล่าวว่า พื้นฐานหลักการเยียวยาควรครอบคลุมกลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่ได้รับผลกระทบจากการแสดงออกทางการเมือง ต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีความจากนิติวิธี เพราะว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากการแค่รถฉีดน้ำ หรือการทุบตี แต่มีการดำเนินคดี ทำให้ชีวิตของคนหนึ่งถูกทำลายในรูปแบบต่างๆ สูญเสียงาน ครอบครัวแตกแยก เกณฑ์ชี้วัดตรงนี้ต้องไปดูว่าเขาได้รับผลกระทบจากรัฐทางตรงหรือทางอ้อม</p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุด้วยว่า การเยียวยาต้องครอบคลุมไปยังผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากข้อมูลของรัฐบาลที่ทำให้ผู้ชุมนุมหรือคนเห็นต่างทางการเมืองถูกมองในเชิงลบ เป็นคนไม่ดี และเกิดการทำร้ายร่างกายพวกเขาทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ซึ่งกรณีนี้ต้องดูเป็นรายกรณีว่า แต่ละกรณีควรได้รับการเยียวยาเท่าไร แน่นอนว่าไม่เท่าทุกคน เพราะต้องดูตามความเสียหายที่เกิดขึ้น</p>
<p>สส.ก้าวไกล มองรูปแบบการเยียวยาสำคัญคือต้องทำให้ประชาชนกลับสู่ 'สภาวะปกติ' ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเยียวยาแค่เงินอย่างเดียวไม่ได้การันตีว่าเงินนั้นจะช่วยเยียวยาสภาพจิตใจอย่างเต็มที่ แต่เขาหวังให้กระบวนการเยียวยาไปสู่การเยียวยาจิตใจด้วย ยกตัวอย่าง หลังการสลายการชุมนุมบางคนป่วยเป็น PSTD เป็นต้น</p>
<p>ทั้งนี้ รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 (https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/drive_politic/download/article/article_20190118164742.pdf) ระบุว่า รัฐต้องอำนวยความสะดวกให้การเยียวยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เหมาะสมกับความเสียหายและความสูญเสียลักษณะต่างๆ เช่น การเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจอย่างถูกวิธีโดยมีแนวทางในการ ติดตามเพื่อบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง การฟื้นฟูเกียรติยศของเหยื่อ การให้คำปรึกษาและการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย และอื่นๆ</p>
<p>ทั้งนี้ โรม ยอมรับว่า อุปสรรคสำคัญคือการบริหารจัดการ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายยิ่งถ้าจำนวนมันเยอะ ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แล้วรูปแบบความเสียหายเป็นอย่างไรบ้าง มันไม่ใช่แค่เสียชีวิต หรือเสียอวัยวะ หรือการได้รับการบาดเจ็บจากถูกทำร้าย แต่ยังเป็นความบาดเจ็บทางด้านจิตใจด้วย ถ้ามีข้อมูลตรงนี้ รัฐก็อาจจะออกแบบการเยียวยาที่มากกว่าตัวเงินได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เห็นตรงกัน การเยียวยาต้องครอบคลุมด้านจิตใจ</span></h2>
<p>แม้ว่าเมื่อปลายปี 2563 สื่อ "เบนาร์นิวส์ (https://www.benarnews.org/thai/news/th-activists-protest-rights-12292023041917.html)" รายงานว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม 5 จาก 9 ราย เป็นจำนวนเงิน 3.07 แสนบาท และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี นับจากวันฟ้อง จากกรณีที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 </p>
<p>อีก 4 ราย ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่าอยู่ในที่ชุมนุม หรือได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ จากการชุมนุมดังกล่าว ศูนย์แพทย์ฉุกเฉินเอราวัณ รายงานว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บราว 41 ราย</p>
<p>พายุ มองว่า แม้ว่าเขาจะโดนหนักที่สุด แต่การชดเชยเฉพาะเงินไม่แน่ใจว่ามันจะชดเชยความสูญเสียทั้งหมดได้ไหม เพราะว่าชาวบ้านที่มาร่วมชุมนุมบางคนโดนกระบองฟาด หรือบา