[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 21:20:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้' โลกสีเทา-คนกลางคืน 'ปิดก่อนเปิดทีหลัง' ช่วงโควิด-19  (อ่าน 41 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2566 22:17:30 »

'บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้' โลกสีเทา-คนกลางคืน 'ปิดก่อนเปิดทีหลัง' ช่วงโควิด-19
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-21 16:47</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก ณัฐกร วิทิตานนท์, คุณวุฒิ บุญฤกษ์ และวิทยากร บุญเรือง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<p><strong>Summary</strong></p>
<ul>
<li>ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงโควิด-19 “บ่อน” ได้กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญของไทยนับตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ เรื่อยมา คลัสเตอร์การระบาดใหญ่ที่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งไม่พูดถึงไม่ได้ ได้แก่ คลัสเตอร์สนามมวยลุมพินี กับคลัสเตอร์บ่อนระยอง</li>
<li>‘ไก่ชน’ การพนันพื้นบ้านที่หล่อเลี้ยงคนจำนวนมาก มีไก่ชนอยู่ในวงการ 100 ล้านตัว เป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ข้องเกี่ยวกับคนนับล้านชีวิต ช่วงโควิด-19 ได้รับความเสียหายร่วมพันล้านบาท จากการถูกปิดยาวนานเกือบ 1 ปี</li>
<li>สถานบันเทิงถือเป็นคลัสเตอร์การระบาดโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2563-2564 โดยเฉพาะ ‘คลัสเตอร์ทองหล่อ’ ที่เกิดขึ้นซ้ำถึง 2 ครั้ง ท่ามกลางช่องโหว่กฎหมาย ประมาณกันว่าทั้งประเทศไทยมีสถานบริการที่สุ่มเสี่ยงต่อการหลบเลี่ยงกฎหมายมากกว่า 200,000 แห่ง ซึ่งยากที่จะนำมาตรการควบคุมโรคเข้าไปบังคับใช้ได้อย่างเห็นผล</li>
<li>ด้วยหลายสาเหตุ ‘สถานบริการ’ คือธุรกิจลำดับแรก ๆ ที่ถูกปิด และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็อยู่ในลำดับท้าย ๆ ที่จะได้เปิด ส่งผลให้ธุรกิจกลางคืนล้มหายตายจากหรือไม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบถึงคนทำงานภาค</li>
<li>หลังเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 จากสถานบันเทิง แม้รัฐจะพยายามยกระดับมาตรการในการควบคุมเข้มข้นขึ้น แต่กระนั้นกลับพบว่าได้มีการหันไปรวมตัวกันสังสรรค์หรือจัด “ปาร์ตี้” แทน ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายควบคุมโรคในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยพบการแพร่ระบาดในวงปาร์ตี้เหล่านี้มากมาย</li>
<li>คลัสเตอร์จัดปาร์ตี้ฉลองปิดเทอมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเชียงใหม่ตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 ในห้วงผ่อนคลายมาตรการ ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ไปทั่วทั้งภาคเหนือ เนื่องจากที่นักศึกษาเหล่านี้ได้กลับบ้านไปพร้อมกับเชื้อโควิด-19 แพร่เชื้อให้คนใกล้ชิดก่อนลามในชุมชน</li>
</ul>
<p> </p>
</div>
<h2><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52319273557_3faa83af20_k.jpg" /></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52303017331_d7de48a351_k.jpg" />ฃ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">1. บ่อน</span></h2>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/49694053892_8b6886e1f5_o.png" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">คลัสเตอร์สนามมวยลุมพินีเมื่อช่วงมีนาคม 2563 ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกของไทย | </span><span style="color:#f39c12;">ภาพการแข่งขันชกมวยที่สนามมวยลุมพินีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2565 จากอินสตราแกรม lumpineeboxingst (อ้างในสำนักข่าวประชาไท)</span></p>
<p><strong>จากสนามมวยลุมพินีถึงบ่อนระยอง: ความเป็นองค์กรเร้นรัฐและระบบส่วย</strong></p>
<p>วิกฤตการโรคระบาดครั้งร้ายแรงที่สุดในต้นศตวรรษที่ 21 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีการยืนยันว่ามีผู้ป่วยโรคระบาดลึกลับที่ในกาลต่อมาเรารู้จักกันในชื่อของ “COVID-19” ต่อจากนั้นไม่กี่วันในเดือนมกราคม 2563 รายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่เชื้อในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นพื้นที่แห่งที่ 2 ในโลกต่อจากเมืองอู่ฮั่น การระบาดในประเทศไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 รายเมื่อสิ้นเดือนซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นนักท่องเที่ยว ผู้สัมผัสนักท่องเที่ยว ยังไม่มีการระบาดภายในประเทศ จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากช่วงกลางเดือนมีนาคมซึ่งมีการระบุถึงสาเหตุว่ามาจากหลายกลุ่มการแพร่เชื้อ โดยกลุ่มใหญ่สุดเกิดการระบาดจากคลัสเตอร์สนามมวยเวทีลุมพินี ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เล่นพนันมวย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 ได้ทำให้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเพิ่มเกิน 100 คนต่อวันในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา และเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2563 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศก็สะสมแตะหลักพันเป็นครั้งแรก จนอาจกล่าวได้ว่า “คลัสเตอร์สนามมวยเวทีลุมพินี” ได้ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างครั้งแรกของไทย</p>
<p>กรณีนี้สะท้อนความหละหลวมของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกองทัพบกที่ดูแลสนามมวย ภายหลังแม้กองทัพจะแสดงความรับผิดชอบ แต่เรื่องนี้ก็สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งแสดงให้เห็นว่ากองทัพยังคงเป็น “องค์กรเร้นรัฐ” ที่ไม่สามารถถูกตรวจสอบได้จากภายนอก</p>
<p>ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ก็เกิด “คลัสเตอร์บ่อนระยอง” และกระทบภาคตะวันออก ทั้งนี้บ่อนระยองเริ่มลักลอบเปิดให้เล่นทดแทนคาสิโนชายแดนที่หยุดให้บริการเพราะปิดด่าน  สะท้อนว่าตราบใดที่ยังคงมีอุปสงค์ (Demand) แต่อุปทาน (Supply) ไม่เพียงพอรองรับ ก็จะเป็นโอกาสทางการตลาดทำให้บ่อนเถื่อนพร้อมเข้ามาทดแทน แม้จะเป็นธุรกิจที่ยังผิดกฎหมาย</p>
<p>ทั้งยังเกิดเป็นคำถามต่อเจ้าหน้าที่รัฐว่าทำไมปล่อยให้เปิดบ่อนเถื่อน หรือรู้เห็นเป็นใจกับเจ้าของบ่อน ในลักษณะของการที่เจ้าหน้าที่รัฐได้รับ “ส่วย” หรือผลประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจการพนัน เพื่อแลกกับการคุ้มครองให้กิจการดำเนินต่อไปได้</p>
<p>แน่นอนเจ้าของบ่อนก็ต้องเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นระดับหนึ่ง แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าสถานการพนันจะปลอดจากการถูกตำรวจจับกุมแต่อย่างใด กล่าวคือ เมื่อนโยบายจากเบื้องบนมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีแรงกดดันจากทางการเมือง บ่อนไม่ว่าใหญ่ขนาดไหนก็อาจจะถูกจับกุมได้เสมอ สถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง</p>
<p>นอกจากนี้ยังมี “คลัสเตอร์บ่อนวิ่งในชุมชน” ซึ่งในหลายจังหวัดการระบาดเชื่อมโยงกับบ่อนการพนัน เช่น กรณีคลัสเตอร์บ่อนไก่อ่างทอง คลัสเตอร์บ่อนโต๊ะสนุ้กมุกดาหาร คลัสเตอร์บ่อนวิ่งพิจิตร วงพนันบ่อนวิ่งสงขลา สนามชนกว่าง (สำหรับผู้แปล – แมลงชนิดหนึ่ง) ที่เชียงใหม่ โดยเฉพาะกับนครศรีธรรมราชซึ่งค่อนข้างพบบ่อยครั้ง ทั้งจากวงพนันไก่ชน บ่อนพนันกลางเมือง รวมทั้งบ่อนวิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ</p>
<p>บ่อนที่กลายเป็นคลัสเตอร์ย่อยเหล่านี้ในกรณีที่เป็นบ่อนไพ่มักมีจุดร่วมคือ เป็นบ่อนเล็ก ๆ ที่คนนัดหมายกันเพื่อมาเล่นการพนันตามงานหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่นในงานบวช งานศพ สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา ตามคิวรถระหว่างรอผู้โดยสาร หรือในบ้าน ด้วยความที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน ไม่ได้สวมแมสก์ป้องกัน และการเล่นพนันที่ใช้ในเวลายาวนาน เล่นกันข้ามวันข้ามคืนก็มี ทำให้มีการแพร่ระบาดง่ายกว่าสถานที่อื่น</p>
<p><strong>ไก่ชน: การพนันพื้นบ้านที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชนบท</strong></p>
<p><img alt="" src="https://i.ibb.co/hY94KSb/IMG-20210325142400000000.jpg" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ตัวแทนของผู้เกี่ยวข้องกับการพนันไก่ชนนี้ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดันให้รัฐผ่อนคลายนโยบายเข้มงวด | </span><span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก</span></p>
<p>การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการพนันถูกกฎหมายที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคนไทยในชนบทในวงกว้างที่สุดนั่นคือ “ไก่ชน” มีสนามชนไก่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศรวมแล้ว 700 กว่าแห่ง โดยเฉพาะแถบภาคอีสาน มีไก่ชนอยู่ในตลาดประมาณ 100 ล้านตัว เป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ข้องเกี่ยวกับคนนับล้านคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการถูกสั่งห้ามยาวนานเกือบ 1 ปี</p>
<p>ย้อนไปในช่วงที่ไม่สามารถเล่นพนันไก่ชนได้เนื่องจากมาตรการของกระทรวงมหาดไทย ได้ส่งผลกระทบต่อคนในแวดวงนี้อย่างหนัก บางคนมีอาชีพเลี้ยงไก่ชนขายสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว หรือบ้างก็เลี้ยงไก่ชนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ มีการประเมินความเสียหายว่าน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท ผู้เลี้ยงไก่ชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและหนี้ที่อาจเกิดขึ้นตามมา ขณะที่ตลาดยังคงปิดตัว ไม่สามารถจำหน่ายได้ทั้งภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ</p>
<p><img alt="" src="https://i.ibb.co/z6qprrM/image.jpg" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">บ้านของคนเลี้ยงไก่ชนรายย่อยแหงหนึ่งใน จ.กาฬสินธุ์ | ที่มาภาพ: The Glocal</span></p>
<table>
<tbody>
<tr>
<td>
<p><strong>เสียงจากคนในแวดวงไก่ชนภาคอีสาน</strong></p>
<p>ชายวัย 33 ผู้ประกอบการหอพักและเปิดค่ายไก่ชนในจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน เล่าว่าปกติเป็นคนที่ชอบเล่นพนันประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่างพนันบอล บาคาราออนไลน์ เมื่อก่อนทำงานที่กรุงเทพฯ พอย้ายกลับมาเปิดธุรกิจตัวเองที่บ้านเกิดก็เริ่มสนใจการชนไก่ เพราะมีเพื่อนกับคนรู้จักชนไก่กันอยู่แล้ว เลยเริ่มเข้าสู่วงการชนไก่ จนได้เปิดค่ายตีไก่ขนาดกลาง ๆ ร่วมกับญาติและเพื่อนสมัยเรียน</p>
<p>“..ในช่วงมีโควิด-19 สนามไก่ชนในจังหวัดปิดไปเยอะ โดยเฉพาะสนามใหญ่ ๆ ที่คนเข้าเยอะ ๆ คู่ชนไก่เดิมพันกันทีสูงเป็นหลักล้านต้องปิดยาวเลย ต้องเปลี่ยนไปแอบชนที่สนามเล็กที่อยู่ไกล ๆ ลับหูลับตาคน มักอยู่ตามชุมชนด้านนอกเมือง จับคู่ตีกันเองเงียบ ๆ เดิมพันกันภายในระหว่างคู่พนัน ไม่มีคนอื่นมาร่วมกองพนัน ทำให้เงินเดิมพันน้อยลง..”</p>
<p>ช่วงโควิด-19 ทำให้วงการไก่ชนกระทบมาก เพราะเงินเดิมพันบางคู่ถึงหลักล้านบาท มีคนเกี่ยวข้องเป็นร้อย ตั้งแต่ลูกจ้างสนาม ผู้จัดหรือโปรโมเตอร์ ค่ายไก่ชน คนเพาะเลี้ยงไก่ ได้รับผลกระทบกันหมด อาจเลี่ยงไปพนันกันทางออนไลน์บ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย ชนไก่ไม่เหมือนพนันแบบอื่น..”</p>
<p>“..ลูกจ้างในธุรกิจไก่ตีส่วนมากไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ ค่ายของเราช่วงก่อนโควิดก็จ้างคนมาดูแลไก่ให้ แต่ช่วงโควิดไม่ได้จ้างไปพักใหญ่ ๆ ต้องดูแลไก่เอง แต่คนที่เราจ้างมาก็มีรายได้ทางอื่นอยู่แล้ว ดีที่ไก่ชนเราไม่ได้เยอะเลยดูแลเองได้ ตอนนี้กลับมาจ้างเหมือนเดิมแล้ว ค่าอาหาร ค่าดูแลต่าง ๆ ต้องใช้จ่ายตลอด ก็เลยต้องหาทางแอบเอาไก่ไปชนอย่างที่เล่าให้ฟังไป แม้ทางการจะห้าม” เขากล่าวทิ้งท้าย</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p><img alt="" src="https://i.ibb.co/QNJzmZ3/image.jpg" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">ตัวอย่างสนามไก่ชนแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ที่เป็นสนามขนาดเล็กอยู่ห่างไกล ปกติเป็นสนามซ้อมไก่ชน แต่ช่วงโควิด-19 ก็ปรับมาใช้ในการตีไก่แข่งขันเดิมพัน | ที่มาภาพ: The Glocal</span></p>
<p>สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ธุรกิจการพนันซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินกลับเติบใหญ่ขยายตัว เพื่อรองรับตลาดที่ความต้องการของผู้คนมิได้หายตามไปด้วยในห้วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะช่วงที่มีการล็อคดาวน์ได้ทำให้ผู้เล่นหันเหเข้าสู่การพนันออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย บ่อนเถื่อนในประเทศกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งจนกลายเป็นคลัสเตอร์สำคัญในการแพร่กระจายของเชื้อ เมื่อถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายการปราบปรามอย่างเอาจริงเอาจังถึงจะตามมา</p>
<p>สรุปรวมความได้ว่ากิจการที่ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายย่อมเอื้อให้ภาครัฐสามารถเข้าไปใช้บังคับมาตรการควบคุมโรคได้อย่างเห็นผลดีกว่า ส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อนคือ กิจการที่อาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย หรือจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ในทางลับซึ่งมีผลให้กลไกรัฐไม่ทำงานอย่างที่ควรเป็น</p>
<p>“บ่อน” จึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งในการทำความเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยอันสลับซับซ้อน</p>
<h2><span style="color:#3498db;">2. บาร์</span></h2>
<p><strong>คลัสเตอร์ทองหล่อ: สถานบริการเลี่ยงกฎหมายกับวิถีนักเที่ยว เส้นบรรจบของชีวิตกลางคืน</strong></p>
<p>ต้องยอมรับว่าการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นคลัสเตอร์สถานบันเทิงได้ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อทั้งสองครั้งอันเป็นต้นตอการระบาดในระลอกที่ 1 และระลอกที่ 3 ของไทย (ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม 2564)</p>
<p>คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 1: ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกของประเทศไทย เกิดการระบาดจากกรณีงานเลี้ยงสังสรรค์ในสถานบันเทิงย่านทองหล่อตั้งแต่วันที่ 12-19 มีนาคม 2563 โดยมีผู้ติดเชื้อยืนยัน 57 คน คาดว่าสาเหตุเริ่มจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 มีกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆ ได้พบปะกลุ่มเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทย ซึ่งคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อช่วงนี้รวมกับคลัสเตอร์สนามมวยลุมพินีได้ทำให้เชื้อโควิด-19 กระจายไปยัง 41 จังหวัดทั่วประเทศ ผลกระทบจากการระบาดของคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อช่วงนี้ได้ทำให้ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วน เลื่อนวันหยุดสงกรานต์ รวมถึงให้ปิดมหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา สถานบันเทิง นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล งดจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก พร้อมกับการออกนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หลายจังหวัดเริ่มประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงมีการประกาศปิดพื้นที่เสี่ยง ในวันที่ 2 เมษายน 2563 จึงมีการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักรหรือเคอร์ฟิว ตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2563 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ห้ามเครื่องบินทุกประเทศและผู้โดยสารเข้าประเทศ</p>
<p>ก่อนการระบาดของคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ (และคลัสเตอร์สนามมวยลุมพินี) ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 59 ราย เสียชีวิตรวม 1 ราย ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ที่มีการคลายล็อกดาวน์ ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 3,173 ราย และเสียชีวิตทั้งสิ้น 58 ราย</p>
<p>คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2: ในปีต่อมาก็เกิดคลัสเตอร์จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อซ้ำอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม 2564 เช่นเดียวกัน คราวนี้เป็นข่าวฮือฮามากกว่าเดิม เนื่องจากมีบุคคลผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เช่น กรณีเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่เปิดเผยว่าได้เดินทางไปยังคริสตัล เอกซ์คูลซีพ คลับ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ซึ่งจากการสืบสวนโรคในภายหลังพบว่ากลุ่มนักเที่ยวในสถานบันเทิงย่านทองหล่อในวันนี้ (25 มีนาคม 2564) ทยอยติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก และต่อมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กลายเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยเขาอ้างว่าติดจากคนใกล้ชิดที่ได้รับเชื้อมาการไปเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และอาจกล่าวได้ว่าคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2 ในช่วงนี้เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่ 31 มีนาคม 2564 เป็นตันมา</p>
<p>ทั้งนี้ คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2 เมื่อปี 2564 อยู่ในช่วงที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดยไม่มีการประกาศปิดสถานบริการยามค่ำคืนในวงกว้างรวมแล้ว 282 วัน (1 กรกฎาคม 2563-9 เมษายน 2564) โดยในระยะเวลาก่อนหน้านั้นยังไม่พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่าและสายพันธุ์เดลต้า เข้ามาระบาดเป็นวงกว้างในประเทศไทย โดยอาจกล่าวได้ว่าคลัสเตอร์ทองหล่อช่วงนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่าในไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีอัตราการติดเชื้อได้รวดเร็วกว่าเชื้อแบบดั้งเดิม และการติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะส่งผลให้มีการแพร่เชื้อไปในบุคคลหลายวงการ ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ นักร้อง นักแสดง ไปจนกระทั่งผู้ใช้แรงงาน คนหาเช้ากินค่ำ</p>
<table>
<tbody>
<tr>
<td>
<p><strong>เสียงจากผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืน</strong></p>
<p>เจ้าของสถานบันเทิงแห่งหนึ่งในพัทยา เล่าว่าสถานบันเทิงของเขาดำเนินกิจการมานานกว่า 10 ปี จากช่วงแรก ๆ ที่ทำรายได้เพียง 100,000-200,000 บาทต่อวัน ในช่วงปี 2560-2562 คือช่วงพีคสุด ทำรายได้ถึง 1,000,000 บาทต่อวัน ลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนและเกาหลีที่เข้ามาในช่วงหลัง จากที่เมื่อก่อนคนรัสเซียจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของพัทยา</p>
<p>การระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มกระทบต่อกิจการของเขา จนรายได้เหลือหลักหมื่น ทำให้ต้องปิดร้านในระยะเวลาเดียวกับที่มีคำสั่งปิดสถานบันเทิงของรัฐบาลเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2563</p>
<p>ถึงแม้เป็นธุรกิจที่ดึงเม็ดเงินนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าประเทศมหาศาลในแต่ละปี รวมทั้งยังสร้างงานเป็นอย่างมาก แต่เขาก็รู้สึกน้อยใจ กล่าวเชิงตัดพ้อว่าผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืนแทบจะไม่สามารถส่งเสียงอะไรได้ และยอมรับว่าเสียใจที่ธุรกิจนี้ได้ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดขึ้น</p>
<p>“..พวกผู้ประกอบการผับกลางคืนก็ไม่กล้าบ่น ไม่กล้าอะไร เรียกว่าละอายใจด้วย แล้วก็รู้สึกเสียใจ ต้องยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิดถ้าเกิดเปิดกิจการ..”</p>
<p>เจ้าของร้านเหล้าแห่งหนึ่งย่านสีลม เริ่มทำร้านเหล้ามาตั้งแต่ 2560 ย่านท่าเตียน และย้ายมาลงทุนที่สีลมจนเกิดโควิด-19 แม้จะมีการคุยกันเรื่องการปรับธุรกิจเป็นการขายอาหารแบบเดลิเวอรี่ แต่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง หนึ่งคือร้านของเขาตั้งอยู่บนชั้นห้า ไรเดอร์ไม่อยากเดินขึ้นไป สองคืออาหารซิกเนเจอร์ของร้านควรทานตอนทำเสร็จทันที แต่การส่งอาหารทำให้เสียรสชาติ สามคือ เสียเปรียบเรื่องราคาอาหาร เพราะร้านเหล้ามีต้นทุนเปิดร้านสูง สี่คือ ถูกแอพจะหัก 30% ถ้าอยากให้คนเห็นร้านเยอะ ๆ ก็ต้องจ่ายเพิ่ม ถ้าทำโปรโมชั่นกำไรก็หายไปอีก</p>
<p>ร้านของเขาต้องปิดเป็นระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน ปกติร้านจ่ายค่าเช่าเดือนละ 230,000 บาท เจ้าของตึกลดค่าเช่าให้ 10% เหลือ 200,000 บาท ซึ่งเขาต้องจ่ายเงินก้อนนี้เปล่า ๆ เป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน โดยเงินที่จ่ายค่าเช่าร้านส่วนหนึ่งมาจากเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อปรับปรุงร้าน มีบางส่วนไปยืมมา ทำเรื่องกู้ธนาคาร เขามองว่าวงการผู้ประกอบการก็เข้าใจเรื่องโรคระบาดดี คือปิดก็ได้ แต่การจัดการของรัฐนั้นกลับไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p><img alt="" src="https://i.ibb.co/LRDcjRy/02.jpg" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">ในช่วงที่สถานการณ์ระบาดมีความตึงเครียด ‘สถานบันเทิง’ คือธุรกิจลำดับแรก ๆ ที่ถูกปิด และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็อยู่ในลำดับท้ายๆ ที่จะได้เปิด</span></p>
<p>บทสรุปของการปิดสถานบริการยามค่ำคืนเป็นวงกว้างทั่วประเทศมีด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เริ่มเมื่อวันที่ 18 มีนาคม จนถึง 1 กรกฎาคม 2563 รวมระยะเวลา 105 วัน ครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 จนกระทั่งสถานการณ์ระบาดในประเทศไทยลดลงจึงมีการอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด ฯลฯ  ได้อีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 รวมระยะเวลาในการปิดสถานบริการยามค่ำคืนครั้งที่ 2 นานถึง 417 วัน นานถึงขนาดที่ว่ามีช่วงหนึ่งภาครัฐได้แนะนำให้สถานบันเทิงอย่างผับ บาร์ ปรับรูปแบบการให้บริการและขออนุญาตเปิดในรูปแบบร้านอาหารแทน</p>
<p><strong>สถานบันเทิงในอีกด้านหนึ่งของเหรียญ</strong></p>
<p>ธุรกิจกลางคืนถือเป็นภาคการผลิตที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างมหาศาล ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีการประมาณการว่าเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้มีสูงถึง 1.8-2.1 แสนล้านบาทต่อปี มีแรงงานในภาคกลางคืนอยู่ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 1.8-2 ล้านคน แต่จากสถานการณ์โควิดและมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐมีต่อธุรกิจกลุ่มนี้โดยตรงได้สร้างความเสียหายสะสมไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ปิดกิจการ ทั้งแบบชั่วคราว ไม่มีกำหนด และเป็นการถาวร พนักงานถูกเลิกจ้าง พักงาน หรือไม่มีงานให้ทำอีกต่อไป คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีประกันสังคมเข้าไม่ถึงเงินทดแทนกรณีว่างงาน ทำให้ขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อพนักงานเอง และหนักมากขึ้นหากเป็นคนส่งเสียครอบครัว อีกทั้งไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ จากรัฐ จนต้องหันเหแนวทางในการหาเลี้ยงชีพใหม่</p>
<p>สถานการณ์โควิดไม่ได้แต่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจกลางคืนโดยตรง หากมองอีกมุมหนึ่งจะพบว่า “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ที่เกี่ยวพันกับวงการดนตรีก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ระบุว่าการระบาดของโรค COVID-19 ได้ทำให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ ของไทยต้องเผชิญการขาดทุนสุทธิรวมกว่า 1.74 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในสาขาดนตรี พบว่าการแสดงดนตรีสด การทัวร์คอนเสิร์ต และเทศกาลดนตรี ต่างสูญเสียรายได้จากการถูกยกเลิกและเลื่อนงานออกไปอย่างไม่มีกำหนดทั้งสิ้น ส่งผลให้ผู้ที่ทำงานสายสนับสนุน ผู้จัดการศิลปิน ผู้จัดงาน ค่ายเพลง ผู้จัดจำหน่ายสินค้าของศิลปิน ทีมงานเบื้องหลังได้รับผลกระทบถ้วนหน้า นำไปสู่ภาวะขาดแคลนผลงานเพลงใหม่ ๆ สู่ตลาด</p>
<table>
<tbody>
<tr>
<td>
<p><strong>เสียงจากคนทำงานในธุรกิจกลางคืน</strong></p>
<p>หญิงอายุ 37 ปี พีอาร์ (งานชงเหล้าดูแลบริการลูกค้า) ในกรุงเทพฯ เล่าว่าก่อนโควิด-19 ส่วนใหญ่เธอทำงานที่ต่างประเทศเป็นหลัก อยู่ที่กรุงเทพบ้าง ตอนนั้นสะดวกในการเดินทางไปต่างประเทศ ไม่มีอะไรเคร่งครัด เวลาทำงานอยู่ใกล้ลูกค้าก็ไม่ต้องคอยระวังตัวว่าจะป่วยรึเปล่า ถ้าทำงานต่างประเทศจะมีรายได้ต่อวันไม่ต่ำกว่าวันละ 5,000 บาท แต่ถ้าในกรุงเทพฯ ก็อาจจะไม่เกิน 3,000 บาทต่อวันเท่านั้น</p>
<p>“..พอช่วงที่เขาล็อคดาวน์สถานบันเทิงเราก็ไม่ได้ทำเลย ช่วงนั้นหนักเลย ต้องกลับไปขายของที่บ้าน รายได้ก็ลดลงเหลือวันละไม่ถึงพันบาท มีโครงการเยียวยาอะไรของรัฐบาลเราก็เอาหมด ถามว่ามันช่วยได้ไหม มันก็ช่วยได้นิดหน่อย พออยู่ได้ แต่ความรู้สึกมันเหมือนแค่เศษเงินมาก ๆ เราก็ยังต้องดิ้นรนเยอะมาก ลูกก็ยังเล็กด้วย เงินที่เก็บไว้ก็ต้องเอาออกมาใช้ดูแลครอบครัวหมดเลย จนไม่พอ เราก็ต้องไปกู้เงิน ไปยืมคนรู้จัก..”</p>
<p>เธอระบุว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทำคือพักชำระหนี้ บางคนต้องส่งรถ ส่งบ้าน แต่รายได้เขาลดลงมากกว่าครึ่ง มันก็ลำบาก หรืออย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ก็อยากให้รัฐช่วย คือเหมือนรัฐช่วยแต่ก็ช่วยน้อยมาก ๆ</p>
<p>ช่วงหลังเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงเธอพอกลับมาทำงานได้ ถึงแม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ทำงานได้แค่ในกรุงเทพฯ ยังไปทำงานที่ต่างประเทศเหมือนเดิมไม่ได้ และปัญหาหลัก ๆ คือเธอป่วยเป็นโควิด-19 บ่อยมาก เพราะยากที่จะป้องกันตนเอง เนื่องจากอาชีพของเธอต้องมีการใกล้ชิดกับลูกค้า ต้องกินดื่มด้วยกัน พอเธอป่วยก็ทำงานไม่ได้ รายได้ก็ลดลง ลูกค้าก็น้อยลงเพราะบางคนเขาก็ต้องเซฟตัวเองกับครอบครัว</p>
<p>หญิงวัย 24 ปี ชาวไทใหญ่ พนักงานร้านคาราโอเกะแห่งหนึ่งในอำเภอรอบนอกตัวเมืองเชียงใหม่ ระบุว่าในช่วงการปิดสถานบันเทิงห้ามขายเหล้านั้น ร้านคาราโอเกะที่เธอทำงานต้องปิดเพื่อป้องกันโควิด-19 ตามการบังคับของราชการ แต่เจ้าของร้าน (สามีคนไทยกับภรรยาชาวไทใหญ่) ก็ปรับเปลี่ยนร้านไปขายพวกปิ้งย่าง-อาหารตามสั่ง เธอเองก็ไม่รู้จะไปทำงานอะไรก็มาขอช่วยเจ้าของร้าน บางวันขายไม่ดีก็ไม่มีค่าจ้าง (น้อยกว่าตอนเป็นร้านคาราโอเกะ แต่ก็ได้เป็นรายวันเหมือนกัน) วันไหนขายดีก็มีค่าจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ แต่ก็เหมือนอยู่กินกับร้าน (มีอาหารให้ฟรี 2 มื้อ) ชีวิตช่วงนั้นลำบากมากแต่โชคยังดีที่แฟนของเธอทำงานรับจ้างทั่วไปซึ่งพอจะมีงานบ้าง ไม่เหมือนคนทำงานร้านเหล้าร้านคาราโอเกะที่ไม่สามารถเปิดร้านได้</p>
<p>“..เราทำงานกับพี่เขามาตลอด พี่เขาเลยให้เราอยู่ช่วยด้วยช่วงโควิด ส่วนคนอื่น ๆ ก็แยกย้ายกันไป ช่วงที่โควิดเริ่มซาลงเปิดร้านได้แล้วก็มีกลับมาบางส่วน บางส่วนก็หายไปเลย..”</p>
<p>เธอเล่าว่าร้านต้องปรับตัวไปขายปิ้งย่าง-อาหารตามสั่งอยู่พักหนึ่ง จากนั้นเริ่มขายเหล้าได้ และเพิ่งมาปี 2565 ที่กลับมาเปิดเป็นร้านคาราโอเกะอีกครั้งหนึ่ง เธอระบุด้วยว่าลูกค้าเริ่มกลับเข้าร้านตั้งแต่ขายปิ้งย่างและขายเหล้าไปด้วยได้เมื่อช่วงปี 2564 แต่พอเปิดคาราโอเกะเต็มตัวอีกครั้ง ทิปของเธอในแต่ละวันจะได้เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>ในช่วงปลายปี 2564 มีการเปิดเผยข้อมูลจากกลุ่มพนักงานบริการ จ.เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง ,กรุงเทพฯ, สมุทรสาคร ,อุดรธานี, มุกดาหาร ,พัทยา, ภูเก็ต, กระบี่ และมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ซึ่งพบว่าคำสั่งปิดและเลื่อนเวลาเปิดสถานบริการของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อพนักงานบริการและครอบครัวที่ต่อเนื่องยาวนาน คือ ตกงานไม่มีรายได้ จากการถูกสั่งปิดร้าน พนักงานบริการไม่มีประกันสังคมเข้าไม่ถึงเงินว่างงาน อีกทั้งรัฐมีคำสั่งให้ปิดสถานบริการก่อนจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้เปิดแต่ไม่เยียวยา รัฐบาลไม่มีแนวทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างชัดเจน สภาพจิตใจย่ำแย่ เครียด เพราะสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะได้กลับไปทำงานอีกเมื่อไร ความไม่ชัดเจนของรัฐบาลสร้างผลกระทบทางจิตใจอย่างหนัก พนักงานบริการประสบปัญหาเงินเก็บหมดไป หนี้สินเพิ่มพูน ทางออกไม่มี ไม่ได้เงินเยียวยา เกิดผลกระทบหนักมากขึ้นต่อพนักงานบริการที่เป็นหลักครอบครัว เป็นแม่ หางานใหม่ไม่ได้เพราะภาคธุรกิจอื่น ๆ ก็ปิดตัวลง พนักงานบริการจำนวนมากต้องกลับไปอยู่บ้านในต่างจังหวัด ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยไม่มีบ้านจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด บางคนทำงานออนไลน์ (ขายบริการทางเพศ) แต่ไม่มีใครอยากพูดเพราะกลัวตำรวจมักล่อซื้อ แต่สำหรับคนสูงอายุที่เคยทำงานตามบาร์ พอปิดตัวก็ไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้ ต้องอาศัยข้าวของหรืออาหารที่มีคนแจกมาเก็บตุนไว้เพื่ออยู่รอดไปวัน ๆ และพยายามใช้จ่ายให้น้อยที่สุด สำหรับแรงงานที่ทำงานในภาคธุรกิจกลางคืนนอกจากผลกระทบเรื่องไม่มีงานทำและขาดรายได้แล้ว ก็ยังพบว่าพวกเขายังแบกรับความรู้สึกที่ถูกตีตราว่าเป็นต้นเหตุของการระบาดในระลอกที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง หลายต่อหลายคน “รู้สึกแย่” ที่คนบางส่วนในสังคมโยนความผิดให้คนในสถานบริการภาคกลางคืนว่าเป็นตัวการในการแพร่เชื้อ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">3. ปาร์ตี้</span></h2>
<p><strong>ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ว่าด้วยการลักลอบจัดปารตี้เชิงมั่วสุมในช่วงโควิด</strong></p>
<p><img alt="" src="https://i.ibb.co/4SV0x4P/567df323291f6ead502ad7289d52dec2-small.jpg" /></p>
<p><span style="color:#f39c12;">ภายใต้ภาวะโรคระบาดครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ พบว่ายังมีการจัดปาร์ตี้และมั่วสุมเป็นข่าวคราวอยู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ | </span><span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์</span></p>
<p>หลังการเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิงขึ้นมากมายทำให้มีมาตรการปิดสถานบันเทิงถูกยกระดับให้เข้มงวด และเอาจริงเอาจังมากขึ้นในทุกพื้นที่ แต่ก็กลับพบว่าได้มีการรวมตัวกันสังสรรค์หรือจัด “ปาร์ตี้” อันถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมโรคในช่วงการระบาดของโควิด-19 รวมทั้งพบการแพร่ระบาดในวงปาร์ตี้เหล่านี้อยู่เป็นระยะ ตัวอย่างเช่น ย้อนกลับไปก่อนการเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทางหล่อเมื่อช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 ได้เกิด “คลัสเตอร์ปาร์ตี้ดีเจมะตูม” ขึ้นก่อนในเดือนมกราคม 2564 จากการจัดงานวันเกิดบนชั้นดาดฟ้าโรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ โดยมีผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์นี้ถึง 26 คน ตามด้วยอีกหลายกรณี ซึ่งยังไม่เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ จากนั้นหลังการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมาถึงสามารถพบปรากฏการณ์ทำนองนี้ได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ของประเทศ ตัวอย่างเช่นที่สงขลา ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 มีการจับกุมวัยรุ่นชายหญิงได้จำนวน 48 รายที่จัดปาร์ตี้ริมสระน้ำที่พักหรู เดอะเลกเฮาส์ เกาะยอ ภายหลังพบผู้ติดเชื้อจำนวน 5 ราย โดยคลัสเตอร์ปาร์ตี้ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดครั้งหนึ่งมาจากการจัดงานวันเกิดในสถานบันเทิงแห่งหนึ่งที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์นี้อย่างน้อย 99 คน ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวบนเกาะซบเซาลงอย่างมาก ในเดือนสิงหาคม 2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่พบคลัสเตอร์ใหม่ที่ดีฮัทรีสอร์ท รวมโชค ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เป็นเพื่อนกัน 4 คน ไม่รายงานตัว ไม่กักตัว และจัดปาร์ตี้โดยเรียกเด็กเอ็นมาให้บริการ 4 คน ในจำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อถึง 6 คน เดือนกันยายน 2564 ตำรวจชุดสืบสวนจังหวัดระยองแถลงผลการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมเสพยาเสพติดในบ้านสวนพูลวิลล่า สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้น 39 ราย โดยส่วนใหญ่รู้จักกันในสถานที่กั

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[โพสทูเดย์] - กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ช่วงโควิด-19 ระบาด
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 180 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2565 02:48:34
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไลฟ์สไตล์] - ลิ้มรสอาหารอิตาเลียนจากแคว้นซิซิลี ที่ห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ โกจิ คิทเช่น + บาร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 190 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2565 22:11:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไลฟ์สไตล์] - เติมความสดใสให้ยามบ่ายด้วยสีสันของชุด Afternoon Tea ที่ทักซิโด้ เอสเปรสโซ่ บาร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 193 กระทู้ล่าสุด 25 เมษายน 2565 13:27:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - กรมอนามัยห่วง“คอนเสิร์ต-ปาร์ตี้-รื่นเริง”แหล่งแพร่โควิด แนะสวมหน้ากาก- ล้างมือ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 59 กระทู้ล่าสุด 25 เมษายน 2566 12:14:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้' โลกสีเทา-คนกลางคืน 'ปิดก่อนเปิดทีหลัง' ช่วงโควิด-19
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2566 02:55:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.151 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 พฤศจิกายน 2566 08:11:47