[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:23:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แสงสว่างทางปฏิบัติ  (อ่าน 46928 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.87 Chrome 49.0.2623.87


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 มีนาคม 2559 16:44:49 »



ธรรมะเบาสมอง

หลวงพ่อจะได้นำเรื่องเบาสมองมาคลายความเครียด เพราะว่าประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐานมาเป็นเวลาเจ็ดแปดวัน ก็รู้สึกว่าเครียด ถ้าว่าเครียดก็เครียด ถ้าว่าสบายก็สบาย

วันนี้ต้องการที่จะปรับความเข้าใจเป็นบางสิ่งบางประการที่ผ่านมา เบื้องต้นก็คือเรื่องการทำวัตร โดยเฉพาะทำวัตรเย็น ทางคณะพระอาจารย์กรรมพากันสวดทุกวันๆ กรณียเมตตสูตร และ วิรูปักเข (ขันธปริตตคาถา)

ท่านทั้งหลาย แต่ละวันๆ ก็จะได้สวด ๒ บทนี้ อาจจะรำคาญ เบื่อ น่าจะสวดมากๆ กว่านี้ อะไรทำนองนี้ เหตุนั้น อะไรที่ไม่สบายใจก็ขออภัยหลายๆ ด้วย คือบางท่านคิดว่าน่าจะสวดบทนั้นสวดบทนี้ จะได้อานิสงส์มาก จะได้บุญมาก การปฏิบัติจะได้ก้าวหน้ากว่าที่เป็นไปอยู่ทุกวันนี้ อาจจะคิดอย่างนี้

แต่มันมีเรื่อง ท่านทั้งหลาย ที่สวดมนต์บทนี้ มีเรื่อง คำว่า มีเรื่อง ในที่นี้ เพราะว่าในสมัยหนึ่งที่หลวงพ่อปฏิบัติธรรมอยู่ สมัยนั้นต่อสู้กับพวกอมนุษย์อย่างรุนแรง จนจะเอาชีวิตไว้ไม่ได้ เวทมนตร์กลคาถาอะไรที่เราได้เรียนได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ ที่ว่าดีอย่างนั้น วิเศษอย่างนี้ ฉมังอย่างนั้นอย่างนี้ เรานำมาใช้หมด แต่ก็สู้เขาไม่ได้

จนปีนั้นคิดว่า เอ๊ะ เรานี้ ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมืองเราผ่านมาแล้ว แต่ทำไมจึงมาแพ้เอาดื้อๆ อย่างนี้ จึงคิดไปคิดมา นึกถึงพุทธาวุธที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบให้แก่พระภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป ที่ไปเจริญพระกัมมัฏฐานในป่า อมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี ไม่ได้รับความเมตตา ก็มาทรมานพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้เจริญพระกัมมัฏฐานไม่ได้ ออกพรรษาแล้วมาเฝ้ากราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ แล้วก็ได้กลับมา พระพุทธเจ้าตรัสให้กลับไปที่เดิม ไปปฏิบัติในที่เดิม และก็ทรงประทานพุทธาวุธให้ พระภิกษุเหล่านั้นไปปฏิบัติตาม ก็ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

มีเรื่องอยู่ ในสมัยที่หลวงพ่อมาอยู่นี้ พวกอมนุษย์มันรุนแรงเหลือเกิน คร่าเอาชีวิตคน ใครไปใครมา หลายสิบ ผู้ที่มาอยู่พักพาอาศัย คนส่วนมากจะไหลตายกันไปเรื่อยๆ คนนี้ตายๆ ในสมัยที่หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่ก็ยังเป็นอยู่ คือมันมีเรื่องว่า บางครั้งเรานั่งอยู่เฉยๆ ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องฝันนะ ขอปรับความเข้าใจนะว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องฝัน ไม่ใช่เป็นเรื่องหลับตา เป็นเรื่องลืมตา

บางครั้งพวกนกแสก ทางอีสานเขาเรียกว่า นกผีพราย นกแสกมันจับอยู่ที่สายไฟที่ดาดฟ้าเพดาน มันจับอยู่ ก็เอ๊ะ นกตัวนี้มันมาอยู่ได้อย่างไร มันเข้ามาวิธีไหน หลวงพ่อก็ลืมตาดู พิจารณาดู เอ๊ะ มันมาได้อย่างไร มันเข้าจุดไหน มันเข้าทางประตูหรือหน้าต่าง กำลังๆ ที่เราพิจารณาอยู่นั้นแหละ มองอยู่นั่นแหละ มันกระโดดลงมาแช็บ เข้าไปในหัวใจเลย ตรงทรวงอกเลย

เจ็บก็เจ็บ ปวดก็ปวด ใจอ่อนก็ใจอ่อน ก็คิดว่า เออ เรานี้ ถ้าตายคงตายในครั้งนี้แหละ มีสติขึ้นมากำหนดบทพระกัมมัฏฐานว่า รู้หนอๆ นกแสกตัวนั้นก็ตึงตังๆๆ กระโดดออกไป บางทีมันออกทางหน้าอก เราก็ผงะไปด้านหลัง ขอเล่าเรื่องย่อๆ เพราะว่าเรื่องมันพิสดาร ขอเล่าพอเป็นแนวทางสำหรับปรับให้เข้ากับเรื่อง กรณียเมตตสูตร ที่สวดกันอยู่ทุกวันนี้

บางครั้งเรานั่งอยู่ นั่งอยู่ เสียงมันแว่วขึ้นมาเลยว่า อาจารย์ๆ หมาตัวนี้จะเข้าไปกัดอาจารย์ เราก็เตรียมตัวปิดประตู บางทีปิดประตูได้ มันก็เข้ามาไม่ได้ บางครั้งปิดประตูไม่ได้ มันก็กรูเข้ามา มันจะกัด รีบเอาไม้เรียวไปเฆี่ยนมัน มันถึงวิ่งออกไป เราก็ตามไปๆ โน่นไปถึงหน้าโบสถ์ มันก็หายไป

บางครั้งมีเสียงแว่วเข้ามา คือมันคล้ายๆ เสียงแว่วๆ คล้ายๆ ว่าเสียงอีกเสียงหนึ่ง เป็นเทวดาสัมมาทิฏฐิ อาจจะเป็นอารักขเทวดาก็ได้ อาจารย์ๆ ผู้หญิงคนนี้มันจะไปนอนคร่อมอาจารย์ มันเป็นผู้หญิงสาวๆ มันกรูเข้ามามันจะมานอนคร่อม มานอนเต็ง (ทับ) หลวงพ่อก็ปิดประตู ถ้าครั้งไหนปิดประตูได้ก็แล้วไป แต่ถ้าปิดประตูไม่ได้ ไม่ทัน มันก็กรูเข้ามา มันจะนอนคร่อม เราก็เอาไม้เรียวนี้เฆี่ยนมัน มันก็วิ่งออกไป เราก็เดินตามไป ไม่ได้วิ่งตามไปนะ เราก็เดินตามไปๆ ผลสุดท้ายเราก็ตามไปถึงบริเวณหน้าอุโบสถ มันก็หายไป บางทีมันหายไปแล้วมันก็วิ่งกลับเข้ามา ย้อนเข้ามาอยู่ใต้ถุนอีก ไม่ใช่หนเดียว

บางครั้งเราไปฉันเช้าอยู่ที่กุฏิ เรามองเข้าไป ทางอีสานเขาเรียกว่า นัย ก็ประเภทหนูนั่นแหละ แต่ทางอีสานเขาเรียกว่า นัย เอ๊ะ นัยตัวนี้มันมาอยู่ในที่ฉันได้อย่างไรหนอ มันมาอยู่ใต้โต๊ะบูชาได้อย่างไร หลวงพ่อก็มองเข้าไปๆ เอ๊ะ มันมาได้อย่างไร มันจะวอบแวบๆ กำลังมองอยู่ๆ มันกระโดดแช็บ เข้ามาหัวใจ แช็บ เข้ามา

โอ๊ย เจ็บก็เจ็บ ปวดก็ปวด ใจอ่อนก็ใจอ่อน ก็คิดว่า เออ เรานี้ ถ้าจะตายคงตายในครั้งนี้แหละ แต่ในขณะนั้นก็มีสติขึ้นมา รู้หนอๆ ในขณะที่กำหนดรู้หนอๆๆ มันก็กระโดดแช็บ ออกไป ส่วนมากมันก็ออกทางด้านหน้า มันดันออกมา บ้านเฮาว่ามันยัน ยันหน้าอกนี้แหละ เราก็ผงะไปข้างหลัง มันก็หายไป

บางครั้งเรากำลังไหว้พระทำวัตรอยู่ในห้องของเรานี้ (อมนุษย์) มันเอาไม้เรียวประมาณสักสองหรือสามนิ้ว กำลังสวดมนต์เพลินๆ อยู่น่ะ มันก็เอาไม้ตีเปรี้ยงๆๆ เราก็ทำใจ รู้หนอๆๆ มันก็หายไป แต่บางครั้งมันเอาสากน่ะ บ้านเราเรียกสากโปง เอาสากมากระทุ้งเสากุฏิตึงๆๆ เหมือนกับว่าเสากุฏิของเราจะพัง ก็กำหนดรู้หนอๆๆ ไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ก็หลายเรื่อง หลายสิ่ง หลายอย่าง หลายประการ แต่ไม่ได้นำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นแค่เพียงความรู้พิเศษ เพราะว่ามันทำลักษณะอย่างนี้ ๑ พรรษา

ท่านทั้งหลายคิดดูว่า ๑ พรรษา มันรบกวนทั้งพรรษา เราคิดว่า เอ๊ เรานี้ หากว่าลักษณะอย่างนี้มันเกิดขึ้น เราออกพรรษาแล้ว เราคงต้องออกจากวัดนี้ไปอยู่ที่อื่น คงจะสู้เขาไม่ได้แล้ว ถ้าลักษณะอย่างนี้ คิดไปคิดมา เวทมนตร์กลคาถาที่ร่ำเรียนมาแล้ว (เราได้ใช้) หมดไปแล้ว มันกันไม่ได้ ป้องกันไม่ได้ ตอนนี้เราจนตรอกแล้ว จะหาทางไปแล้ว

ตอนนี้ก็นึกถึงพุทธาวุธ ก็คือ กรณียเมตตสูตร นึกถึงคาถาที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปน่ะ ยกเอากรณียเมตตสูตรมาสวด สวดทุกวัน เช้าก็สวด ก่อนจะนอนก็สวด เผลอๆ กลางวันก็สวด หลังจากนั้นมา พวกอมนุษย์สมัยที่มารังควาญหลวงพ่อ พวกมันมีอยู่ ๕ ตน หลวงพ่อเรียกว่า ๕ ตน หลังจากนั้นมา มันยอมศิโรราบ ขอขมาโทษ ยอมแพ้ ตอนนี้มันยอมแพ้แล้ว

เมื่อมันยอมแพ้แล้ว (ได้กลาย) เป็นอุปัฏฐากที่ดีที่สุด พระไปทำอะไรที่ไหน เช่นว่า พระเณรไปกินข้าวเย็น มันก็มาบอกหลวงพ่อว่า อาจารย์ๆ สามเณร ๗-๘ รูป ไปกินข้าวเย็นที่ต้นมะขาม หลวงพ่อก็เดินไปดู ก็เห็นกินจริงๆ บางทีว่า หลวงพ่อๆ เณรไปกินแกงเห็ดอยู่ในห้องภายในกุฏิ ก็เดินไปดู ก็กินจริงๆ

เมื่อก่อนโน้น หลวงพ่อทำอาหาร กำลังนั่งตำมะละกออยู่ สามเณรก็อยู่ข้างหน้า มันก็บอกหลวงพ่อว่า อาจารย์ๆ เณรรูปนี้ เมื่อคืนนี้กินข้าวกับปลาร้า หลวงพ่อก็ว่า เณรเมื่อคืนนี้ เจ้ากินข้าวกับปลาร้าอยู่บ้อ

บางครั้ง พระไปทำไม่ดีไม่งาม มันมาบอก บางครั้ง ในหน้าตรุษสงกรานต์ (พระ)ไปเล่นสาดน้ำ เล่นจนเกินพอดี พวกพระยังไม่กลับมา มันมาบอกก่อนแล้ว อาจารย์ๆ พระรูปนั้นรูปนี้ มันมาบอก อาจารย์ คุณชาญไปกำ(จับ)นมเขานะ มันบอก ไปจับนมเขานะ มันบอก หลวงพ่อก็เฉยๆ รู้แล้วก็แล้วไป พอดี(พระนั้น)มาถึงก็บอก(ถามไป)ว่า คุณชาญไปเล่นสงกรานต์วันนี้ ไปกำนมเขาบ่ ไปจับนมเขาบ่ ยอมแพ้ (พระนั้นก็ยอมรับ) จะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่ได้ อะไรหลายสิ่งหลายประการ เล่าเพียงย่อๆ

บางทีพระเณรทำไม่ดี เวลาทำงานนั้นไม่ช่วยเพื่อนทำงาน หลวงพ่อนึกในใจว่า เอ๊ะ คุณนี้ทำไมไม่ช่วยเพื่อน เพื่อนเขาลำบากลำบน ทำไมมานอนอยู่เฉยๆ เทวดาอารักษ์ไม่ดุเขาหรือ ทำไมไม่ดุเขาไม่บอกเขาบ้าง

เพียงเราคิดเท่านั้นแหละ เพียงเราคิดเท่านั้น อ้าว มันเอาแล้ว จัดการแล้ว ร้องเป็นเสียงผี พระเณรทั้งหมด รวมทั้งญาติโยมที่มาร่วมทำการทำงาน อาจารย์ๆ คุณบันตายแล้วๆ เอาน้ำมารดกันเป็น ๑๐ คุ หลวงพ่อก็ไม่ได้ไปดูนะ นึกแต่ในใจ (ห้าม) อย่าให้เขาตายนา แล้วมันก็หายไป

สรุปแล้วว่า ในสมัยนี้ สมัยที่อยู่นี่ มีอะไรที่ภายในบ้านก็ดี ภายในวัดก็ดี มีเรื่องอะไรๆ (เทพนั้นก็) มารายงานหมด มารายงานวิธีไหนหลวงพ่อ เราอยู่ในสถานที่ใดก็รายงานได้ทั้งหมด บอกได้ทั้งหมด คือจะมีเสียงมากระซิบที่หู บอกเลย มากระซิบที่หูว่าคนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ โยมโน้นไปทำอย่างนั้น พระนี้ไปทำอย่างนี้ จัดการบอก เขารายงานเลย สมัยนั้นเขาว่าหลวงพ่อมีตาทิพย์ ใครจะไปทำอะไรๆ ที่ไหน ก็รู้ทั้งหมด เขาว่า หลวงพ่อก็เฉยๆ ก็ว่ามี สังฆการีเป็นผู้ทำงานให้ ก็เลยเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เป็นผู้วิเศษขึ้นมาในตัว

นี้เรื่องอย่างนี้ละท่านทั้งหลาย เมื่อนำเอา พุทธาวุธมาสวดแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็ราบรื่น การวัดการวา การบ้าน ก็สบายๆ การปกครองทุกสิ่งทุกอย่างก็สบาย หลวงพ่อจึงได้น้อมมาใช้ทุกวันนี้ ไปอยู่ที่ไหนๆ ก็ตาม เพราะเวลาสวดมนต์ของเรามีน้อย ต้องการสมาธิมาก เพราะฉะนั้น ต้องสวดกรณียเมตตสูตร ถ้าสวดกรณียเมตตสูตรแล้ว เราปฏิบัติอยู่ที่ไหนๆ แล้ว ก็ไม่มีภัยอันตราย อยู่ที่ไหนก็สบาย นี้พูดกันโดยย่อๆ นะ ถ้าต้องการความพิสดาร มีโอกาสมีเวลาค่อยมาคุยกับหลวงพ่อใหม่

ทีนี้ สำหรับ วิรูปักเข (ขันธปริตร) ก็ต้องสวด เมื่อสวดกรณียเมตตสูตรแล้วก็ต้องสวด วิรูปักเข เพราะเหตุไร จึงต้องสวดวิรูปักเข เพราะว่าป้องกันภัย แผ่เมตตาให้เป็นมิตรสหาย เพราะในวิรูปักเข มีอยู่ว่า วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม เป็นต้น

ความว่า สัตว์ ๒ เท้าจงเป็นมิตรกัน สัตว์ ๔ เท้าจงเป็นมิตรกัน สัตว์มากเท้าจงเป็นมิตรกัน สัตว์หาเท้ามิได้จงเป็นมิตรกัน สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์หาเท้ามิได้อย่าเบียดเบียนเรา นี้เป็นเนื้อหาย่อๆ ในวิรูปักเข

ถ้าเราสวดบทนี้ อยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่มีอันตราย พวกสัตว์ประเภทต่างๆ สองเท้า สี่เท้า มากเท้า หาเท้ามิได้ จะไม่เบียดเบียนเราเลย มีแต่เป็นมิตรเป็นสหาย อยู่ที่ไหนๆ ก็สบาย บางทีหลวงพ่อไปทำกัมมัฏฐานอยู่ที่โน่นทำกัมมัฏฐานอยู่ที่นี่ พอดีไปถึงแค่นั้นแหละ ไปถึงที่จะทำงาน ถึงที่พักเท่านั้นแหละ พวกสัตว์มันมาต้อนรับอยู่ก่อนแล้ว บางทีมาถึงแล้วก็มาต้อนรับ พวกที่มาต้อนรับเป็นพิเศษๆ คือพวกผึ้ง

พวกผึ้งพวกต่อนี้ เวลาไปถึงแล้ว พวกมันจะมาจับอยู่ที่ข้างๆ ที่พักนั่นแหละ บางทีก็มาจับที่พุ่มไม้ บางทีก็มาจับข้างๆ ที่จุดใดจุดหนึ่ง ห่างจากเราไปไม่ถึง ๒๐ เมตร ส่วนมากก็เป็น ๕ เมตร ๑๐ เมตร มันอยู่แถวนั้นแถวนี้ ไปอยู่ที่ไหนพวกมันก็มาต้อนรับ คล้ายๆ กับรู้ภาษากัน เวลาเราไปถึงก็ต้อนรับ เวลาที่จะจากไป มันก็ไปด้วยกัน บอกลา มันก็ไป เออ จะได้ลาแล้วเด้อ ขออนุโมทนาเด้อ ที่มาต้อนรับปราศรัย ในขณะที่ได้มาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่ในสถานที่แห่งนี้

เราแผ่เมตตาให้เขาเสร็จแล้ว ในขณะที่ได้สั่งเสร็จแล้ว มันก็ออกบินเลย บางทีก็ตามไปส่งถึงรถ เราไปนั่งอยู่ในรถมันก็ไปล้อมเต็มเลย พวกแมลงผึ้งล้อมเต็ม มันก็บินตามๆ เห็นพอสมควรแล้ว เออ ขออนุโมทนาเด้อ ขอบใจเด้อ ที่ตามมาส่ง มันก็บินขึ้น ต่างคนต่างไป อย่างนี้คืออานิสงส์ของ วิรูปักเข

บางที ในสถานที่มันแข็ง อย่างดอนเจ้าปู่ บ้านพนา (ปัจจุบันคือ อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ) อย่างนี้ หลวงพ่อไปอยู่ตอนนั้น พอดีไปถึง ผึ้งมันอยู่ข้างๆ แคร่ที่พักอยู่นั้น ก็รู้ว่า เออ เจ้าปู่มาต้อนรับ ก็ขอขอบใจ อนุโมทนา ในวันนั้นพอดีกลางวันที่หลวงพ่อไปปฏิบัติ สามเณรก็หยุดพัก สามเณรนั้นไปเบียดเบียนพวกลิง เอากล้วยให้กินแล้วตี

พอดีหลวงพ่อก็กลับมาถึงที่พัก พวกผึ้งก็หนีไปแล้ว เณรมาบอกว่า หลวงพ่อๆ ดูซินั่น อะไร ผึ้งหายแล้วๆ เณรว่า เวลาตอนนั้นก็เฉยๆ พอดีถึงเวลาค่ำแล้ว อ้าว เจ้าปู่ก็เอาเลยทีนี้ ดุอย่างใหญ่ มาขอเณร ๒ รูปนั้น ขอเลย บ้านเราถ้าว่าขอไปแล้วก็ตาย

ขอ ๆ อยู่ หลวงพ่อก็หาวิธี หลายสิ่งหลายประการว่า อย่าทำเลย ถ้าเราไปฆ่าเณร ทำลายเณร แทนที่เราจะไปเกิดในภพที่ดีกว่านี้ ก็อาจจะไปตกนรกอีกก็ได้ ก็ไม่ฟัง มีแต่จะฆ่า จะฆ่า จะฆ่า อย่างเดียว ว่าอย่างไรก็ไม่ฟัง โอ้ มันคงจนด้วยเกล้าบ่ มันไม่ยอม ไม่ยอมเลย

(คุยกัน) รู้ได้ด้วยวิธีอย่างไรหลวงพ่อ? อย่างนี้คือ ในขณะที่เราอยู่อย่างนี้ เขานึกอย่างไร เราก็รู้ รู้ได้ทางใจ เรานึกอย่างไร เขาก็รู้ คือมันพูดกันทางใจ เรารู้กัน เพียงแต่เรานึกในใจ พูดกันทางจิตใจ เราพูดเขาก็รู้ เขาพูดเราก็รู้ เขานึกอย่างไรเราก็รู้ มันรู้กันตอนนั้น

ผลสุดท้ายก็บอกว่า เอาอย่างนี้ซะท่านปู่ ถือว่ายกโทษให้เขาเถอะ ถ้ามันผิดครั้งต่อไป ไม่ต้องมาขออาตมาเลย ไม่ต้องมาบอกอาตมา เอาเลย ถ้ามันบอกไม่ฟัง พูดไม่ฟัง อย่างไรคราวนี้ก็ขอชีวิตเขาไว้เถอะ ภาคทัณฑ์เขาสักครั้งหนึ่ง จึงยอมนะ สุดท้ายก็หาวิธีส่งเณรกลับ เดี๋ยวจะเกิดอันตราย นี่มันเป็นอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย

ส่วนในวันออกอัพภานกรรม หลวงพ่อก็ว่า โอ้ เจ้าปู่ วันนี้จะออกอัพภานแล้วนะ จะจากกันแล้วนะ จะได้ลากันแล้ว ถ้าว่าท่านปู่มีความเคารพกันจริงๆ นับถือกันจริงๆ รักกันจริงๆ ละก็ ขอจงแสดงอภินิหารให้ดู ให้รู้ว่ามีความเคารพเลื่อมใสกันจริงๆ อย่างไรก็ขอดูด้วย ขอทราบด้วย

วันนั้น ก็พอดีไปขึ้นอัพภาน หลวงพ่ออัพภานทีหลัง ให้พวกครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ อัพภานก่อน พอดีไปนั่งรออัพภาน พวกลิงมันมีเป็น ๓ พวก ลงมาแล้ว มันมาส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวๆ มารวมกัน และลงมาบนพื้น ก็นึก เอ้อ ท่านปู่มาต้อนรับ มาแสดงความเคารพ ความเลื่อมใส ก็นึกอนุโมทนาในจิตในใจ พวกลิงทั้งหมดในดอนลิงมันลงมารวมกันทั้งหมด พอดีหลวงพ่อจะเข้าขออัพภานกรรมเป็นรูปสุดท้าย

แต่ว่าพอหลวงพ่อไปนั่งในท่ามกลางสงฆ์นั่นล่ะ ลิงทั้งหมดน่ะ ล้อมเลย ล้อมโบสถ์เลย ล้อมรอบเลย พวกลิงเป็นร้อยเป็นพัน มันมานั่งล้อมหมด หลวงพ่อก็นั่งหลับตา ฟังไป ก็นึกอนุโมทนาในใจ นึกขอบใจในใจนั้น

พอดีพระสวดไปถึงว่า โส ภาเสยฺย, ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ พอดีจบ โส ภาเสยฺย เท่านั้น ลิงทั้งหมดก็ลุกพรึบทั้งหมด พร้อมกัน ตึงตังๆๆ เจี๊ยวจ๊าวๆๆ กลับไป ทั้งหมด หลวงพ่อก็นึกอนุโมทนาในใจ และก็ขอแสดงความขอบใจ อุทิศแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้ นี่มันเป็นอย่างนี้ท่านทั้งหลาย จึงได้ให้สวดวิรูปักเข

วันหนึ่ง เราผ่านไปทางอำเภอพนา วันนั้น ในช่วงอย่างนี้แหละ ไม่มีปัจจัยค่าภัตตาหารจะเลี้ยงลูกศิษย์ลูกหาที่มาปฏิบัติ ไม่มี มันหมดแล้ว มันหมดบาทสุดท้ายแล้ว ก็เข้าไปงานแล้วแวะมา ถือกล้วยขึ้นไปหวีหนึ่ง ท่านปู่ วันนี้ มาวัดลำดวน มาในงานสังฆทาน จะกลับไปนี้ จึงแวะมาเยี่ยม แค่นึกในใจนะ(ว่า) ตอนนี้ทางวัดน่ะลำบากลำบน ภัตตาหารไม่พอ ขอเจ้าปู่ได้ช่วยเหลือด้วยเด้อ แล้วก็กลับ

พอไปถึงอำเภอตระการฯ เห็นโยมโบกมือขึ้นมา หยุดก่อนๆ ก็เลยลงไปนั่งอยู่ที่เก้าอี้ (เขา) ว่า หยุดดื่มน้ำเสียก่อน อยู่ที่นี้สักพัก จะหาของมาถวายให้ หายตัวไปแพล็บหนึ่ง เขากลับมาแล้วก็บอกว่า ไม่มีอะไรจะถวายให้ มีเงินอยู่นี้ ๘,๐๐๐ บาท นิมนต์เอาไปใช้ให้หน่อย เจ้าปู่นี้ช่วยให้ผลทันตาเลยตั๊ว

นี่ละท่านทั้งหลาย เรื่องเป็นมาอย่างนี้ จึงได้นำมาสวดจนทุกวันนี้ และถ้าว่าเราสวดมนต์บทนี้ มันพิเศษ มันดีสำหรับพวกเรา เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่มีอันตราย ญาติโยมก็จะได้เกิดปสาทะศรัทธา ที่โน้นก็มาทำบุญ ที่นี้ก็มาทำบุญ

สรุปแล้วว่า ญาติโยมทั้งหลายที่มาทำบุญนั้น นอกจากด้วยบารมีของท่านทั้งหลายแล้ว ก็เป็นอานิสงส์ของการสวดกรณียเมตตสูตรและวิรูปักเข จึงได้มาเกิดปสาทะศรัทธา ได้มาช่วยเกื้อหนุนกัน นอกจากนี้ มันเป็นเรื่องยาว ถ้าจะเล่าไปมันยาว

สำหรับกุฏิของหลวงพ่อนั้น เมื่อก่อนโน้นไม่ได้เป็นอย่างนี้ เพราะว่าเราไม่ได้ปูกระเบื้อง มันเข้าได้ออกได้ บางทีพวกคางคกนี้ เป็นร้อยๆ มาอยู่ในกุฏินี่ บางทีก็มาขันบูชาในห้องพระ ข้างนอกข้างในมันเต็มไปหมด และก็มาทำงานให้ เวลาจะมีเรื่องมีราวอะไรมันก็ขัน มันขัน และก็รู้ว่ามันรู้กันทางใจ มันขัน โอ้ โยมคนนั้นจะทำบุญ เออ โยมคนนั้นตายแล้ว นี่มันรู้กัน รู้จักกัน

บางทีมันมีอยู่สองตัว ตัวหนึ่งข้างนอก ตัวหนึ่งข้างใน ตัวอยู่ข้างในมันก็คอยปลุก ตีสี่ปกติจะลุกแล้ว วันหนึ่งหลวงพ่อทำเป็นเฉยไม่ลุก มันปลุกเลย ต็อกๆ เราก็เฉย นาฬิกาก็ปิดไว้ เราภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอๆ ไปเรื่อยๆ มันก็ร้องอีก เราไม่ลุก มันก็ร้องอีกๆ เราก็เลยยอมแพ้ ยอมแพ้แล้ว ลุกก็ลุก พวกสัตว์นี้ เรามีงานอะไรก็รู้จักกันเลย นี่มันมาทำงานให้ นี่พวกสัตว์มันเป็นมิตรกัน

บางทีจะไปโน้นไปนี้ เมื่อก่อนถือย่ามนะ หลวงพ่อจึงไม่ถือย่ามมาแต่วันนั้น จะไปธุระที่โน้นที่นี้ ต้องสะพายเอา สะพายไปหน่อย (ก็มีเสียง)กุรุๆ เอ้า อะไรเกิดขึ้น นึกว่าเป็นงู บางทีก็เป็นงูนะ เปิดย่ามดู เอ้า มานอนอยู่ได้อย่างไรนะ เออ นอนก็นอนไป มาถึงบ้านแล้วก็เออ อยากออกก็ออก อยากไปก็ไป

บางทีจิ้งเหลนนี่ บ้านเฮาเอิ้นว่าขี้โก๋ จิ้งเหลนนี่ บางทีก็เข้าไปในย่ามเลย จะนอนละก็ ต้องคอยลูบดูๆ ใครมานอนอยู่บ้าง มีเด็กน้อยมานอนมั้ย ลูบดูๆ ก็เห็น โอ้ ไม่นอน เอ้านอนซะ เราจะนอนที่นี้

สรุปแล้วว่า มนต์ที่พากันสวดนี้ ไม่ใช่มนต์ปรัมปรา มีบุญมีอานิสงส์จริง ทำให้การปฏิบัติพระกัมมัฏฐานของเราสบายและก้าวหน้า เรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ มันมีอีกมาก มันเป็นเกร็ดความรู้ และก็ไขความข้องใจของการสวดมนต์ ขอชี้แนะท่าน เมื่อออกจากห้องกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าจะไปสอนกัมมัฏฐานที่โน้น จะไปสอนกัมมัฏฐานที่นี้ อย่าลืมกรณียเมตตสูตรกับวิรูปักเข ยักษ์ก็แพ้ มารก็แพ้ แพ้เรา ไม่เหมือนกันกับคาถาอย่างอื่น

หลวงพ่ออยากขอเสนอแนะแก่ท่านทั้งหลายได้ใช้วิธีกรรมบางสิ่งบางอย่าง เพื่อประกอบการสอนธรรมะ ซึ่งหลวงพ่อทำสำเร็จมาแล้ว คือการสอนพระกัมมัฏฐานนี้ ถ้าใช้เฉพาะวิปัสสนา ไม่มีใครรู้จัก แม้เราจะได้มรรคได้ผล ได้บรรลุโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่มีใครรู้จักเรา เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่รู้เฉพาะตัว

สมัยหนึ่งหลวงพ่อเคยคิดไปว่า เอ เราสอนพระกัมมัฏฐานมา ครูบาอาจารย์ผู้มาปฏิบัติได้มรรคได้ผล มีจำนวนมากมายก่ายกอง แต่ก็ไม่มีใครรู้จัก เราจะหาวิธีไหนหนอ เพื่อปลูกศรัทธาของสาธุชนทั้งหลาย ให้พวกเขาได้เกิดปสาทะศรัทธาเลื่อมใสในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ก็คิดไปคิดมา เอ้อ เราจะฝึกสมาธิ เอาสมาธิง่ายๆ ฝึกให้เขาอ่านหนังสือ ฝึกให้หลับตาอ่านหนังสือ ถ้าเราฝึกได้ เอาความรู้นี้ไปเผยแผ่ เพื่อปลูกปสาทะศรัทธาคนที่มาวัดวาอาราม หลวงพ่อก็ตั้งใจฝึก แต่ก่อนที่จะฝึกก็พิจารณาว่า เอ ใครหนอ เคยสร้างบารมีเรื่องนี้มา ใครหนอ ภพก่อนชาติก่อนเคยสร้างบารมีร่วมกันมา เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็นึกไปๆ ก็โอ้ โยมลอง เขามีบุญทางนี้

เพราะเหตุไรจึงรู้อย่างนี้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏเป็นแผนที่แนวทางของการปฏิบัติ หรือว่าเป็นแผนที่ของบุญกุศลที่เคยสร้างสมอบรมไว้ เป็นแผนที่เป็นแผนผังที่ในภพก่อนชาติก่อน เราเคยทำบุญมาอย่างไร สร้างบารมีมาอย่างไร ใครที่เคยสร้างบารมีร่วมกัน มันปรากฏเลย มันปรากฏเป็นแผนที่เลย คือคนที่เคยสร้างบารมีร่วมกันมา มันจะปรากฏเลยว่า คนโน้นๆๆ มันเห็นเลย

สมัยนั้นก็เห็นโยมลองนี้ล่ะปรากฏ ก็คิดว่า เอ้อ โยมลองนี้มีบุญมีวาสนา เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็ขอร้องโยมลองนั้นให้มาปฏิบัติ สมัยนั้นเขาฝึกสมาธิได้ ๒๔ ชั่วโมง มาหัดอ่านหนังสือ ที่พูดนี้เพื่อให้ท่านทั้งหลายจำไว้นะ จำไปใช้เป็นแนวทางของการปฏิบัติ

วิธีที่ใช้นั้น ใช้วิธีละเอียด คือเอากระดาษสีน่ะ อย่างน้อย ๗ สี เขาจะรู้ว่า สีอะไรๆ รู้หมด สีนี้ๆ บอกเขาให้รู้เสียก่อน เสร็จแล้วก็ให้หลับตา ให้ตั้งสมาธิแล้วอ่าน(บอก)ว่า สีอะไร สีแดง ถ้าเขาทายถูก เราก็จับเอา สีน้ำเงิน ทายถูกก็จับเอา ถ้าทายไม่ถูก เราก็ไม่ว่ากระไร เอ้า ทายใหม่ เพ่งอีกๆ เขาอ่านถูกทุกสี กลับไปกลับมา ไม่ใช่แพล็บเดียวเอาเลยนะ ต้องฝึกให้ชำนิชำนาญก่อน เป็นหลายชั่วโมงๆ เสร็จแล้ว อ่านสีเสร็จแล้ว ไม่พลาดแล้ว อ่านได้ทุกครั้งๆ ไม่พลาดแล้ว

ทีนี้ก็เอาตัวอักษรมาให้อ่าน คือเราเขียนตัวอักษรตัวโตๆ เช่น ตัว ก พยัญชนะมี ๔๔ ตัวใช่ไหม อาจารย์มหาโอวาท ๔๔ ตัวน่ะเอามา ให้เขาหลับตาอ่าน เขาอ่านถูกหมดทุกตัวแล้วก็วางลงเก็บไว้ แล้วก็เอาสระ สระ-อะ สระ-อา สระ-อิ สระ-อี สระ-อุ สระ-อู เอาสระแต่ละตัวๆ มาตั้งให้หลับตาอ่าน พออ่านได้ถูกหมดทุกตัวแล้วก็เก็บไว้ทีนี้ก็ผสมกันให้อ่าน จะให้อ่านเรื่องอะไรก็ตาม เราเขียนมา เขียนเป็นตัวหนังสือ เขียนตัวอะไรก็แล้วแต่ความถนัด นี่มันเป็นการเกื้อกูลแก่การประพฤติปฏิบัติ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

เราตั้งให้เขา(หลับตา)อ่าน เขาอ่านได้หมด ให้อะไรๆ มาก็อ่านหมด อ่านหมด ก็ถือว่าเราสำเร็จในหลักการฝึกอ่านหนังสือ ทีนี้ถึงคราวเราจะสาธิตก็สาธิตได้ หลวงพ่อใช้ผ่านมาแล้ว ท่านทั้งหลายที่เคยมาปฏิบัติธรรมร่วมกันก็จะรู้ และในขณะนั้นก็รู้ได้เลยนะ

ถ้าเอาอะไรวางผ่านหน้านี่ รู้ได้หมด เอาเณรน้อยมานั่งให้ดู ก็เห็นหมด เอาพระพุทธรูป เอาแจกัน เอาใครอะไรก็ตามมาวาง มันรู้หมด หลวงพ่อ เลข(หวย)มันจะออกงวดนี้ ฮู้อยู่บ่ บ่แม่นโลด บ่ได้เอาถึงมวลนั้น (ไม่เอาถึงพวกนั้น) ห้ามเลย ถ้าเอาถึงขนาดนั้น เขาบอกว่า หลวงพ่อ มันทุกข์หลาย เพ่งให้หน่อยน่า หยุด เราสอนธรรม จะทำอย่างนี้ไม่ได้ แม้ว่าเราลำบากทุกข์ยากข้นแค้นอนาถาในการหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็ตาม เรายอมตาย แต่ว่าเราไม่ยอมทำลายธรรมะเป็นเด็ดขาด เพราะฉะนั้น โยมที่ฝึกจึงไม่มีใครกล้าทำ

นี่แหละท่านทั้งหลาย เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว เมื่อก่อน ฝึกใหม่ๆ นะ หลวงพ่อให้หลับตาธรรมดา หลับตา แต่เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของผู้ชม หลวงพ่อจึงเอาผ้าขาว ๖ ชั้นมัด(ปิด)ตาไว้เลย แล้วให้อ่าน

สำหรับการอ่านหนังสือนั้น ไม่ใช่ว่าปุ๊บปั๊บจะอ่านได้ทันทีเลยนะ ต้องฝึกเสียก่อน ฝึกให้ชำนาญ ให้เข้าได้เร็ว คือก่อนจะสาธิตนี่ เราต้องฝึกเสียก่อนสัก ๑ ชั่วโมง หรือว่า ๒ ชั่วโมง วันละ ๑ ชั่วโมง หรือว่า ๒ ชั่วโมง ให้ฝึกเสียก่อน ที่ฝึกนี้เพื่อต้องการให้ทำสมาธิ คือในขณะที่เรานั่งหลับตากำหนดบทพระกัมมัฏฐานแล้วใช้บท อะระหัง ให้ภาวนา อะระหังๆ ไปเรื่อย อะระหัง แปลว่า ผู้ไกลกิเลส

ถ้าว่า ขณะที่สมาธิยังไม่ดี สมาธิมันยังกระจายอยู่ ตัวหนังสือที่ผ่าน(หน้า)น่ะ มันก็ไหลๆ เหมือนกับเราฉายภาพยนตร์ มันก็ไหลผ่านไปผ่านมาๆ มันก็รวมเข้า มันรวมแสงเข้าไป รวมเข้าๆ รวมจิตรวมใจ รวมเข้าไปๆ เมื่อสมาธิได้ที่แล้ว มันหยุดแล้ว พอหยุดตัวหนังสือ มันก็มองเห็นเลย หลับตานี้ก็มองเห็นตัวหนังสือเลย เอาหนังสือมาวางแล้วก็อ่านเอาๆ แต่ถ้าสมาธิของเราไม่ดี มันก็มองไม่เห็นนะ เลือนเสียก่อนๆ เพราะฉะนั้น เราต้องฝึกให้ชำนาญ

สมาธิขั้นนี้ ท่านทั้งหลาย มันใช้ประโยชน์ได้เหลือที่จะนับพรรณนาได้ ถ้าเราจะใช้อย่างใดก็สามารถจะใช้ได้ แต่หลวงพ่อขอร้องว่า อย่าใช้ในทางที่ผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมายของบ้านเมือง สมัยก่อนนั้น บางทีก็มีลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายเขามาขอหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ชี้แนะแนวทางให้ มีพระลูกศิษย์อยู่แถวนี้ แถว (อำเภอ) โพธิ์ไทรนี่ เขาไปเห็นทอง แต่เป็นทองนาก สูงเกือบครึ่งศอก แต่ความกว้างก็เหมือนกับพาข้าว (ถาดอาหาร) ของเรานี่ล่ะ

ก็มาขอหลวงพ่อให้พาไปเอาทอง ที่โน้นบ้าง ที่นี้บ้าง หลวงพ่อบอกแล้วว่า ทรัพย์ในดินสินในน้ำนี่ หลวงพ่อเลิกแล้วๆ ตั้งแต่บัดโน้นมาจนบัดนี้หลวงพ่อไม่เอา ถึงจะเห็นก็ไม่เอา จะเห็นเป็นแท่งๆ ก็ไม่เอา เห็นวัตถุโบราณที่โน้นที่นี้ เห็นเต็มตา หลวงพ่อก็ไม่เอา เพราะหลวงพ่อได้ให้คำปฏิญญากับเจ้าของทรัพย์ไว้แล้ว ที่โน้นบ้างที่นี้บ้าง ที่หลวงพ่อ(เคย)ผ่านไป

เมื่อก่อนโน้น หลวงพ่อหาทรัพย์ในดินสินในน้ำ ไม่ใช่ไม่หา มันมีของที่ไหนๆ ล่ะก็ไปแล้ว สมัยนั้น คล้ายๆกับว่าเป็นเจ้าวิชา (ร้อนวิชา) สมัยนั้น เดินธุดงค์สมัยนั้นถ้ารู้ว่า ที่นี้มีเงิน ที่นั้นมีทอง ก็จัดการไปเลย

สำหรับวิธีนั้น พอรู้แล้วว่ามีของ บางทีมันไม่เห็น เราก็เสี่ยงเอาด้วยการเสกมะนาว เป่าฟู๊ดดด... แล้ววางลง ลูกมะนาวก็กลิ้งตั้นๆ(ขลุกๆ) หมุนไปเลย ไปถึงที่แล้วมันก็หยุด หยุดแล้วก็ขอเอา บอกเขา ขอเอา ถ้าเขาไม่ให้ ก็จัดการเลย บอกขอเอา สมัยนั้นไม่มีเทศน์ให้ฟัง มีแต่ขอๆ เอา ถ้าไม่ให้ก็เอาเลย

ถ้ามันแข็งหรือแข็งขืนแล้ว ก็เจริญพระคาถา เจริญๆ ไป เกิดฟ้าผ่าเปรี้ยงขึ้นมาเลย เกิดฟ้าผ่า เปรี้ยง หินมันก็แตกกระจาย ก็เหลือแต่ก้อนเงินก้อนทอง แล้วก็เอามา ครั้นเอามาแล้วก็ไม่ให้ถึงบ้านนะ พอถึงกลางทาง เราสวดทำน้ำมนต์ แล้วก็เอาน้ำมนต์มาต้ม แล้วก็เอาพวกทองพวกเงินไปต้มให้มันจืด เราก็เอามาใช้ได้

การที่เราเอาเงินเอาทองนี้ ไม่ต้องกลัวว่าคนโน้นจะมาขโมย คนนั้นจะขโมย เอาไปเลย ถ้าเงินหรือทองยังไม่ต้มนี่ เอาไปใช้ เจ้าของมันจะหักคอเลย ของพวกนี้ เจ้าของเขามาตามเอาคืน

ตั้งแต่นั้นมาจนมาอยู่ที่นี้ หลวงพ่อไม่เอา บอกแต่วิธีเท่านั้น ถ้าต้องการจริงๆ หลวงพ่อก็ชี้แนะได้อยู่ แต่ใช้วิธีทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช้พวกวิธีพวกเวทมนตร์กลคาถา ถ้าท่านอยากได้จริงๆ ท่านก็ไป เมื่อไปถึงที่แล้วก็บอกเจ้าที่เจ้าทางแล้ว นั่งสมาธิ

ถ้าเรามีสมาธิ สมาธิของเราสูง ได้ถึงขั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เข้าฌานไปเสียก่อน ออกจากฌานมาแล้วก็ให้นึกถึงเจ้าของทรัพย์ พอดีนึกถึงเจ้าของทรัพย์ เจ้าของทรัพย์เขาก็จะมาปรากฏทันที เราก็ขอเขา ภาษาอีสานว่า แผ่เขา ขอเขา ถ้าเขาไม่ให้ เราก็เทศน์ให้ฟัง เทศน์ก็ขอนั่นแหละ เหมือนกับเราไปขอนั้นขอนี้ล่ะว่า บัดนี้... เวลาไปแผ่เขา ก็เทศน์ให้เลย เรื่องที่จะเทศน์นั้นก็เรื่อง อุปาทาน คือความไม่ยึดมั่นถือมั่น เทศน์ให้เขาฟัง

ถ้ายังไม่ฟัง (ไม่ยอมให้) ก็เทศน์ไปเรื่อยๆๆๆ ว่า อีหล่าซ่างขอ ตัวงอขี้ถี่ ต้องขอนานๆ ขอจนเขาให้ เวลาเขาให้ เขาก็จะมีข้อแม้ว่า ต้องทำบุญอย่างนั้นทำบุญอย่างนี้ให้เขา เราได้มาแล้วก็เอาไปทำบุญทำทานให้เขา ช่วงนั้น เขาไปเอามา เอามาให้หลายนะ เขาตัดมาให้เป็นแท่งๆ ขนาดนี้แหละ (ยกฝ่ามือให้ดู) ขนาดฝ่ามือ เป็นแท่งๆ หลวงพ่อบอกว่า หลวงพ่อเลิกแล้ว ไม่เอาแล้ว

เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านเอาไปใช้ซะ แต่อย่าลืมนะ อย่าลืมคำปฏิญญาที่ให้เขาไว้นะ ให้ปฏิญญาเขาไว้อย่างใด ก็ทำได้อย่างนั้น ผลสุดท้าย เขาก็นำไปขายที่อุบลฯบ้าง ที่กรุงเทพฯบ้าง ก็เลยได้เงินมาสร้างวัด แกก็สร้างเลย สร้างเสร็จแล้ว

นี่แหละท่านทั้งหลาย ธรรมะของเรานี้ ถ้าใช้ให้เป็นก็ได้ประโยชน์ อย่าข่มเหงเต็งหนีบเขา ไม่ต้องผิดศีลผิดธรรม เราฉลาดเราก็สามารถทำได้ วิธีการขอนี้ เราไม่จำเป็นต้องสมาธิถึงขั้นจตุตถฌานก็ได้ เราเพียงใช้สมาธิขั้นปฐมฌานเท่านั้นแหละ เพราะสมาธิขั้นปฐมฌานนี้ก็สามารถพูดกันได้ เข้าใจกันได้ ติดต่อกับโลกภายนอกได้

สมาธิขั้นปฐมฌานนี้ ติดต่อกับพวกมนุษย์ได้ ติดต่อกับอมนุษย์ได้ ติดต่อกับภูตผีปีศาจได้ ติดต่อกับพวกเทวดา มาร พรหม มันติดต่อกันได้ เราใช้สมาธิขั้นนี้ สมาธิขั้นนี้แหละที่หลวงพ่อนำมาใช้อ่านหนังสือ ขั้นนี้มันยังมีการบริกรรมอยู่ พองหนอ ยุบหนอ หรือ อะระหังๆ เรานึกได้อยู่ ไม่เหมือนสมาธิขั้นที่สอง สมาธิขั้นที่ ๒ ไม่มีการบริกรรม มันสงบแล้ว สงบละเอียดไปแล้ว อันนี้ก็ขอพูดคร่าวๆ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ที่ท่านทั้งหลายต้องการจะรู้

แต่สมาธิทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว หรือฌานทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว ท่านอย่าเอาไปใช้ในทางผิดศีล ในทางผิดพระวินัย อย่าเอาไปใช้ในทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ของทุกอย่างมันมีทั้งคุณทั้งโทษ เพราะฉะนั้น ให้ใช้ให้เป็น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 12:34:01 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.87 Chrome 49.0.2623.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มีนาคม 2559 16:47:10 »


ธรรมะเบาสมอง (ต่อ)

อีกอย่างหนึ่ง เรื่อง ฌาน จะกล่าวพอสังเขปพอเป็นแนวทางปฏิบัติ คือการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนี้ มันได้ทั้ง ๒ อย่าง แล้วแต่บุญวาสนาบารมี ถ้าผู้ใดมีอุปนิสัยทางวิปัสสนา ก็จะเข้าวิปัสสนาไปก่อน เข้าสู่วิปัสสนาไปเรื่อย สู่สภาวะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ไปจนถึงอริยมรรค อริยผลเลย นี่ในทางสายวิปัสสนา

ถ้าเคยสร้างบารมีมาทางสายสมถะ คือเคยเจริญฌานมามาก เวลาปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน บริกรรมบทเดียวกันว่า พองหนอ ยุบหนอ นี้แหละ ถ้าสร้างบารมีทางวิปัสสนามามาก มันก็ไปสายตรงเลย เข้าสู่วิปัสสนาญาณ เข้าถึงมรรคถึงผล

แต่ถ้าว่าเราเคยสร้างบารมีมาทางด้านสมถะ สมถะก็จะเกิดทันที นั่งไปไม่นานก็เกิดแล้ว เริ่มแต่ชั่วโมงแรกก็เกิดแล้ว พอดีผ่านไปๆๆ มันก็เป็นสภาวะของสมาธิเกิดขึ้นมา ขั้นแรกเกิดวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มันจะเกิดขึ้นทันที เกิดวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เมื่อองค์ฌานทั้ง ๕ ประการนี้เกิดขึ้นมาปั๊บ ปฐมฌานก็เกิดทันที หลวงพ่อขอพูดย่อๆ นะ

ปฐมฌานเกิดขึ้นมาแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฌานเกิดแล้ว เราจะรู้ได้อย่างนี้ท่านทั้งหลาย คือในขณะที่เรานั่งกำหนดบทพระกัมมัฏฐาน จิตใจของเรามันแน่วแน่อยู่กับบทพระกัมมัฏฐาน เช่น เรากำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ มันก็อยู่ที่พองที่ยุบ ไม่ไปทางอื่น ไม่คิดเรื่องข้างหน้าข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวา ข้างบนข้างล่าง มันอยู่กับอารมณ์พระกัมมัฏฐาน พองหนอ ยุบหนอ อย่างนี้

ขณะนั้น จิตใจของเราไม่วอกแวกหวั่นไหวไปตามอารมณ์ใดๆ เสียงที่มากระทบก็เฉยๆ หากว่าเขาจะมายิงปืนจุดประทัดในที่ใกล้ๆ เรา เปรี้ยงๆๆ ขึ้นมา ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ภาษาอีสานว่า บ่ตื่น แม้ว่ามะม่วงมะพร้าวมันจะหล่นลง เปรี้ยง ขึ้นมา ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ก็นั่งเฉยอยู่กับอารมณ์พระกัมมัฏฐาน พองหนอ ยุบหนอ ไปเรื่อยๆ

ในขณะนั้น ความรู้สึกของเราก็ละเอียดเข้าไปๆ ความรู้สึกของเรามันจะเหลือประมาณสัก ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ละเอียดเข้าไปนะ ความรู้สึกของเรามันไม่เหมือนเมื่อก่อน ละเอียดเข้าไปๆ มันหายไปแล้ว ความรู้สึกเหลือประมาณสัก ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ท่านทั้งหลาย แสดงว่าเราได้ขั้น ปฐมฌาน แล้ว และก็ทำไปๆ พองหนอ ยุบหนอๆ อารมณ์พระกัมมัฏฐานก็จะละเอียดเข้าไปๆ

(ทุติยฌาน)เมื่อมันละเอียดเข้าไปอีก มันก็จะทิ้งวิตก วิจาร ทีนี้ เมื่อทิ้งวิตกวิจารแล้ว ก็ไม่ได้ (มีคำ) ภาวนา ทีนี้ พองหนอ ยุบหนอ ไม่ได้ว่าแล้ว พองหนอ ยุบหนอ ไม่ได้ว่าเลย นั่งเฉยอยู่ แต่ว่าใจก็ยังรู้ หูก็ยังได้ยินอยู่ แต่ว่าเสียงก็ดี ความรู้ก็ดี ยังเหลืออยู่ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เสียงที่ได้ยินก็ประมาณสัก ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ความรู้ก็มีประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ สังเกตเอาง่าย ๆ เมื่อถึงฌานนี้แล้ว จะไม่มีการบริกรรม เมื่อเราทำได้อย่างนี้ ก็ถือว่าได้ทุติยฌาน

(ตติยฌาน) เมื่อเราทำพระกัมมัฏฐานไปๆๆ องค์ฌานก็ละเอียดเข้าไปๆๆ ทิ้งวิตก วิจาร เกิดปีติขึ้นมา เมื่อถึงฌานที่ ๓ แล้วท่านทั้งหลาย เราสังเกตง่ายๆ เมื่อถึงฌานที่ ๓ นี้ จะมีอาการเกร็งตัว แต่ไม่ใช่อาการเครียดนะ จะมีอาการเกร็งตัว คำว่า เกร็งตัว ในที่นี้ คือมีปัสสัทธิสูงนะ ถ้าปัสสัทธิสูงจะมีอาการเกร็งตัว คือมีอาการแข็ง มือแข็ง แขนแข็ง ตัวแข็ง

เราอยากก้ม(ลง)ก็ก้มไม่ได้ อยากเงยก็เงยไม่ได้ อยาก (เหลียว) มองซ้ายมองขวา ก็มองไม่ได้ เราอยากกระดิกนิ้วมือนิ้วเท้าก็กระดิกไม่ได้ เราจะยกแขนยกเท้า ก็ยกไม่ได้ เมื่อก่อนนั่งไม่ตรง มาถึงนี้จะนั่งตรงแล้ว เหมือนกับเอาเหล็กแหลมมาตอกศีรษะของเราตรึงไว้กับพื้น เหมือนกับเราปิ้งปลา ย่างปลา ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็แสดงว่าเราถึงฌานที่ ๓ แล้วนะ

(จตุตถฌาน) เมื่อถึงฌานที่สามแล้ว เรายังไม่ลุกตอนนั้น ทำต่อไปเรื่อย กำหนดไปเรื่อย ละเอียดเข้าไปๆ ทิ้งไปเลย องค์ฌาน (คือวิตก วิจาร ปีติ สุข) นั้นทิ้งไปเลย เหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา เกิดขึ้นมา ทีนี้ เมื่อฌานที่ ๔ เกิดขึ้นมาแล้ว ลมหายใจจะหมดไป ลมหายใจเข้าลมหายใจออกจะหมดไป

มีพระบาลีกล่าวรับรองไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ลมหายใจย่อมไม่มีในบุคคล ๔ ประเภท คือ
๑) คนตาย ก็ไม่มีลมหายใจ
๒) เด็กในครรภ์ของมารดา ก็ไม่มีลมหายใจ
๓) คนดำน้ำ ก็ไม่มีลมหายใจ
๔) บุคคลผู้เข้าถึง จตุตถฌาน ก็ไม่มีลมหายใจ

นี่ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็ถือว่าถึงฌานที่ ๔ แล้ว

อานิสงส์ของฌาน ๔ นอกจากข่มนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ก็สามารถได้วิชชา ๓ และก็อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทายังไม่ได้นะ ปฏิสัมภิทา ๔ นั้นยังไม่ได้ เพราะยังไม่ครบสมบูรณ์

(สมาบัติ ๘) ถ้าว่าเราต้องการให้เกิดปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ผู้ปฏิบัติจะต้องเจริญอรูปกัมมัฏฐานอีก อรูปกัมมัฏฐาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ให้ครบเสียก่อน เมื่อเราได้สมาธิหรือว่าได้ฌานทั้งสองประเภท คือรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แล้ว ก็เอาอรูปฌานทั้ง ๔ ประการนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสัมภิทา ๔

เพราะฉะนั้น ให้จำหลักนี้เอาไว้ เราจะไปว่าได้เพียงรูปฌาน ๔ ก็สามารถได้ปฏิสัมภิทา ๔ อย่างนั้นไม่ถูกนะท่านทั้งหลาย เราอย่าไปว่า มันไม่ถูก ผู้ที่จะได้ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ต้องได้รูปฌานอรูปฌานทั้ง ๘ นี้เสียก่อน

สรุปว่า ฌานทั้ง ๘ นี้ ถ้าว่าเอาเป็นพื้นในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเร็วขึ้น บรรลุได้อย่างไร ที่ว่าเร็วขึ้นๆๆ น่ะคือว่า เมื่อได้ฌานเหล่านี้แล้วท่านทั้งหลาย มันง่าย เราก็ยกขึ้นสู่วิปัสสนาเลย

สมมติว่านั่งไปๆ เรายกขึ้นสู่วิปัสสนา กำหนดบทพระกัมมัฏฐาน ดูรูปดูนาม พองหนอ ยุบหนอๆ ไปเรื่อย สมาธิของเรามันก็จะดิ่งเข้าไปๆๆๆ และในขณะที่มันดิ่งเข้าไปนั้น พระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดพร้อม อริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทั้ง ๔ นี้เกิดพร้อมในขณะนั้น ดิ่งเข้าไปๆ ดับพึ่บลงไป ขณะดับพึ่บลงไปนั้น เรารู้เลยทันทีว่า มันดับไปตอนท้องพองหรือท้องยุบ เพียงแค่นี้แหละท่าน สำหรับวิปัสสนากัมมัฏฐาน ขึ้นสู่วิปัสสนากัมมัฏฐานแล้วนะ

เพราะเหตุไรจึงจัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะในขณะที่จิตของเรามันดิ่งเข้าไปๆ นั้น หรือมันสงบลงไปนั้น เมื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แล้ว มันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็นพระไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พร้อมกันไป

เมื่อทำไปๆ อาการเกิดดับๆ ก็เกิดขึ้นมา คือขณะที่กำหนด พองหนอ ยุบหนอๆ มันดิ่งเข้าไปๆ ดับพึ่บลงไป จำได้เลยว่า มันดับลงไปตอนพองหรือตอนยุบ ตอนนั่งหรือตอนถูก มันรู้เลย คือในขณะนั้น รูปก็ดับ นามก็ดับ กิเลสก็ดับ จำไว้นะ

ลักษณะของการดับ รูปดับมันเป็นอย่างไร อาการลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ มันดับ นามคือความรู้สึกของเรา มันก็ดับ กิเลสโลภโกรธหลงก็ดับลงไป ตามกำลังของมรรค คือมรรคนี้มันจะดับกิเลสตัณหาอยู่ถึง ๔ ครั้ง มันจึงจะหมด

เท่าที่บรรยายมา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอจบลงแต่เพียงเท่านี้


www.watpit.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2559 15:19:43 »



ของหายาก ๔ ประการ

วันนี้ หลวงพ่อจะได้น้อมนำเอาธรรมะ เรื่อง ของหายาก ๔ ประการ มาบรรยาย

ของหายาก ๔ ประการนั้น คือ

ประการที่ ๑ มนุสฺสภาโว จ ทุลฺลโภ การที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากนักยากหนา เพราะเหตุอะไรจึงได้เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุที่ว่า การจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ได้นั้น ในภพก่อนชาติก่อน จะต้องได้บำเพ็ญมนุษยธรรมให้สมบูรณ์เสียก่อนแล้ว จึงจะสามารถเกิดเป็นมนุษย์ในภพนี้ชาตินี้ได้ และขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายได้ใส่ใจว่า

คำว่า มนุษย์ กับคำว่า คน นั้นไม่เหมือนกัน พอเรามาถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา เขาก็เรียกว่า คน แล้ว คลอดออกมาเขาก็เรียกว่า คน เจริญเติบโตขึ้นมาเขาก็เรียกว่า คน ยังเรียกว่าเป็น มนุษย์ ไม่ได้ ต่อเมื่อใดเราได้บำเพ็ญมนุษยธรรม คือ สุจริตธรรม ๑๐ ประการ หรือศีล ๕ ประการให้สมบูรณ์แล้ว จึงจะเรียกว่าเป็นมนุษย์ได้

ท่านทั้งหลายลองสังเกตดู ในวันที่เราอุปสมบท ท่านพระอาจารย์ได้สอบถามอันตรายิกธรรมบทหนึ่ง มีอยู่ว่า มนุสฺโสสิ เจ้าเป็นมนุษย์หรือ ทำไมท่านจึงถามคำอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เห็นกันอยู่ ท่านก็ถามว่า เป็นมนุษย์หรือ ถ้าเราตอบว่า นตฺถิ ภนฺเต ข้าพเจ้าไม่ใช่มนุษย์ ท่านก็ไม่บวชให้

คำนี้ โบราณท่านกล่าวเอาไว้ว่า มีพญานาคมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงแปลงกายมาบวชในพระศาสนา วันหนึ่ง จำวัดตอนกลางวัน ขาดสติ ไม่ทันระวังตัว เพศจึงกลับมาเป็นพญานาคตามเดิม พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งให้สึก พญานาคก็ยอมสึกและขอพรว่า ผู้ใดมาบวช ขอให้ชื่อว่า นาค

ที่จริง ถ้าพูดตามหลักการ หรือพระไตรปิฎกแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น ที่ท่านถามว่า มนุสฺโสสิ ท่านเป็นมนุษย์หรือ เราจะตอบว่า อาม ภนฺเต ขอรับ กระผมเป็นมนุษย์ ก็ต่อเมื่อเราบำเพ็ญมนุษยธรรม หรือมีมนุษยธรรมประจำจิตประจำใจเสียก่อน จึงจะตอบว่า อาม ภนฺเต ได้

เหตุนั้น ก่อนจะมาอุปสมบท ท่านจึงให้มามอบตัวเป็นศิษย์วัดเสียก่อน ให้เรียนคำขอบวช ให้เรียนวิธีบวช ท่านเรียกว่า นาค ตอนนี้ นาคะ แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือผู้มาสู่ทางอันประเสริฐ ในขณะที่มาเป็นนาคนี้ ท่านต้องการที่จะให้เจ้านาคนั้นบำเพ็ญมนุษยธรรมให้สมบูรณ์ จึงจะบรรพชาอุปสมบทได้

เหตุนั้น เวลาบรรพชาอุปสมบทนี้ หลวงพ่อเอาจริงเอาจัง ถ้าผู้ใดเข้าโบสถ์แล้วมีกลิ่นเหล้ามานี้ หลวงพ่อไม่บวชให้เลย ไล่ออกจากโบสถ์ไปเลย ต้องไปสมาทานศีลใหม่ หมดกลิ่นเหล้าแอลกอฮอล์ไปแล้ว สมาทานศีลใหม่ ประพฤติปฏิบัติใหม่เสียก่อน เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว จึงจะบวชให้ เหตุนั้น ที่พวกเราทั้งหลาย ได้มานั่งรวมกันอยู่ในขณะนี้ มีร่างกายสมบูรณ์ด้วยอวัยวะทุกส่วน ไม่มีบรรพชาโทษ คือพระวินัยท่านไม่ห้าม เราสามารถบวชในพระศาสนา ทั้งจิตใจก็สมบูรณ์ อันนี้ก็หมายความว่าเราได้พบของหายากประการที่หนึ่ง

ประการที่ ๒ พุทฺธภาโว จ ทุลฺลโภ การที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว จะได้พบพระพุทธศาสนา เป็นของหายากนักยากหนา เพราะเหตุไร เพราะพระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้แต่ละพระองค์ๆ นั้น ต้องบำเพ็ญบารมีให้เต็มเปี่ยมเสียก่อนแล้ว จึงจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ไม่ใช่อยู่เฉยๆ จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยทีเดียว เป็นไปไม่ได้ เหตุนั้นท่านจึงแบ่งจึงจัดระยะการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เจ้า ไว้ดังนี้คือ

ถ้าพระโพธิสัตว์เจ้าองค์ใด เป็นประเภท ปัญญาธิกะ คือมีปัญญามาก มีปัญญามากกว่าศรัทธาและความเพียร จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ถึง ๒๐ อสงขัยกับแสนกัป คือหมายความว่า นึกอยู่ในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๗ อสงขัย ออกปากว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๙ อสงขัย นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำพยากรณ์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งมาว่า ผู้นี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้านามว่าอย่างนั้นๆ ตั้งแต่วันนั้นมา จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๔ อสงขัยกับแสนกัป รวมทั้งหมด ๒๐ อสงขัยกับแสนกัป จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าของเรานี้

พระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์ใด เป็นประเภท สัทธาธิกะ คือมีศรัทธามากกว่าปัญญาและความเพียร จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ถึง ๔๐ อสงขัยกับแสนกัป หมายความว่า นึกอยู่ในใจอยู่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๔ อสงขัย ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๑๘ อสงขัย นับตั้งแต่ได้ลัทธพยากรณ์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่า ผู้นี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้ามีพระนามว่าอย่างนั้นๆ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๘ อสงขัยกับแสนกัป รวมทั้งหมดเป็น ๔๐ อสงขัยกับแสนกัป จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

พระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์ใด เป็นประเภท วิริยาธิกะ คือยิ่งด้วยความเพียร มีความเพียรมากกว่าศรัทธาและปัญญา จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๘๐ อสงขัย หมายความว่า นึกอยู่ในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๒๘ อสงขัย ออกปากปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านานถึง ๓๖ อสงขัย นับตั้งแต่ได้ลัทธพยากรณ์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาว่า ผู้นี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า มีพระนามว่าอย่างนั้นๆ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จะต้องบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๑๖ อสงขัย รวมทั้งหมดเป็น ๘๐ อสงขัยกับแสนกัป จึงจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

พระโพธิสัตว์เจ้าที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ นิยตโพธิสัตว์ และ อนิยตโพธิสัตว์

อนิยตโพธิสัตว์นี้ ยังมีคติไม่แน่นอน คือยังไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลข้างหน้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า มีคติไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนคำอธิษฐานได้ สามารถเปลี่ยนจิตใจได้

แต่ถ้าเป็นประเภทนิยตโพธิสัตว์ จะมีคติอย่างมั่นคงแน่นอน โดยได้รับคำพยากรณ์จากสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า พระโพธิสัตว์ประเภทนี้เปลี่ยนจิตไม่ได้

เพราะเหตุใด

เพราะว่า พระวาจาของพระพุทธเจ้านั้น เป็นพระวาจาสิทธิ์ ใครจะมาเปลี่ยนพระดำรัสของพระองค์ไม่ได้ เมื่อพระองค์ตรัสไว้อย่างไรแล้ว ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าพระองค์ตรัสว่า ผู้นี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า ผู้นี้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันข้างหน้า ก็เป็นอย่างนั้น

อย่างเช่นพระอานนท์ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันปฐมสังคายนา พระอานนท์บำเพ็ญเพียรตลอดคืนยันรุ่ง ก็นึกว่าพระองค์ทรงพยากรณ์ผิด อ่อนจิตอ่อนใจก็เอนหลังลงเพื่อจะนอน ในขณะที่เอนหลังลงนอน หัวยังไม่ทันถึงหมอน ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

อันนี้ก็หมายความว่า พระวาจาของพระองค์เป็นพระวาจาสิทธิ์ พระองค์ตรัสอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น เช่นตรัสว่า พระเจ้าสุปปพุทธะ ที่ปิดทางโคจรบิณฑบาตของพระพุทธเจ้า จะถูกธรณีสูบที่เชิงบันไดปราสาท ๗ ชั้น นับตั้งแต่วันนี้ไป ๗ วัน เมื่อถึงวันที่พระองค์ตรัสไว้ แม้พระเจ้าสุปปพุทธะจะทำการป้องกันอย่างไรๆ ก็ไม่พ้น ต้องถูกธรณีสูบที่ตรงนั้นจนได้

นี่แหละท่านทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประเภทนิยตะนี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะได้บำเพ็ญบารมีจนครบสมบูรณ์แล้วจึงจะตรัสรู้ได้

แต่บัดนี้ พวกเราทั้งหลาย มานั่งรวมกันอยู่ในที่นี้ แม้ว่าจะไม่ได้เห็น ไม่ได้พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าเราได้พบพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ ก็เท่ากับว่าเราได้พบพระพุทธองค์ เพราะก่อนจะทรงปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราตถาคตได้แสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้วนั้นแหละ จะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย

คือพระองค์ไม่ได้ให้ผู้ใดผู้หนึ่งทำหน้าที่แทนพระองค์ แต่พระองค์เอาธรรมวินัยที่ทรงประกาศไว้แล้ว ที่ตรัสไว้แล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์ สืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ และบัดนี้ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน ก็ยังสมบูรณ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ธรรมเหล่าใด ที่เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติบรรลุอริยมรรคอริยผล เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ก็ยังสมบูรณ์อยู่ทุกประการ

เหตุนั้น พวกเราทั้งหลาย ที่ได้มีโอกาสมาบรรพชาอุปสมบท บวชในพระพุทธศาสนา มีโอกาสได้มาเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนานี้ ก็นับว่าได้พบของหายากเป็นประการที่ ๒

ประการที่ ๓ ปพฺพชิตภาโว จ ทุลฺลโภ การที่บุคคลได้เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว จะได้มาบวชในพระพุทธศาสนานั้น ก็ยากนักยากหนา

เพราะเหตุใด เพราะผู้ที่จะมาบวชในพระศาสนานั้น ต้องอาศัยเหตุปัจจัย ที่ตนได้สั่งสมไว้ในภพก่อนชาติก่อน และก็ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันประกอบกันเข้า จึงจะมีโอกาสบวชได้ บางท่านมีความประสงค์อยากบวช แต่สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยก็บวชไม่ได้ หรือบางท่าน สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเอื้ออำนวย ยินดีที่จะให้บวช แต่เราไม่มีปสาทะศรัทธาในการที่จะบวชในพระพุทธศาสนานี้ ก็บวชไม่ได้

แต่พวกเราทั้งหลายที่นั่งรวมกันอยู่นี้ นับว่าได้สั่งสมอบรมบุญกุศลไว้ในปุเรกชาติจนล้นฟ้าล้นดิน จึงได้มีโอกาสมาบวชในพระศาสนา การมาบวชในพระพุทธศาสนาของเราทั้งหลายในขณะนี้ ก็นับว่าได้พบของหายากเป็นประการที่ ๓

ประการที่ ๔ วิปสฺสนาภาโว จ ทุลฺลโภ การที่บุคคลเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา มาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว จะได้มีโอกาสเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ก็เป็นของยากนักยากหนา

ท่านทั้งหลายลองนึกดูสิว่า รอบตัวของเรา ภายในหมู่บ้านของเรานั้นแหละ ผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มากน้อยแค่ไหนเพียงไร หรือว่าในวัดของเรา ผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา มากน้อยแค่ไหนเพียงไร หรือภายในตำบลของเรา ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนามากน้อยแค่ไหนเพียงไร

ดังนั้น ผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนา ท่านจึงอุปมาเหมือนเขาโค แต่ผู้ที่ไม่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา อุปมาเหมือนกันกับขนโค ขนโคนั้นย่อมมากกว่าเขาโคฉันใด ผู้ที่ไม่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา ย่อมมากกว่าผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนาฉันนั้น

บัดนี้ พวกเราทั้งหลายที่นั่งรวมกันอยู่ในสถานที่แห่งนี้ และก็ได้มีโอกาสมาเจริญวิปัสสนาอยู่นี้ ก็นับว่าเป็นผู้มีบุญ ได้พบของหายากประการที่ ๔

การเจริญภาวนานั้น มีอยู่ ๒ ประการ คือ

๑. สมถภาวนา ภาวนาเป็นอุบายสงบใจ ภาวนาประเภทนี้ ไม่เกี่ยวด้วยปัญญา เพียงแต่ว่าต้องการที่จะทำใจให้สงบเป็นสมาธิเท่านั้น

อารมณ์ของสมถภาวนา ตามที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีอยู่ ๔๐ ประการ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ อรูปกัมมัฏฐาน ๔

ก็แล ในกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการนั้น มีนิมิต ๓ อย่าง มีภาวนา ๓ อย่าง

นิมิต ๓ คือบริกรรมนิมิต นิมิตในบริกรรม อุคคหนิมิต นิมิตติดตา ปฏิภาคนิมิต นิมิตเทียบเคียง

บริกรรมนิมิต กับ อุคคหนิมิต ๒ อย่างนี้ ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทั้งสิ้น แต่ปฏิภาคนิมิตนี้ ได้เฉพาะกัมมัฏฐาน ๒๒ ประการ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานสติ ๑

ภาวนา ๓ คือ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา อัปปนาภาวนา

บริกรรมภาวนานั้น ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทั้งสิ้น อุปจารภาวนา ได้เฉพาะกัมมัฏฐาน ๑๐ ประการคือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสสติ มรณัสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน

(กัมมัฏฐาน ๑๐) เหล่านี้ ย่อมให้สำเร็จเพียงอุปจารภาวนาหรืออุปจารฌานเท่านั้น เพราะว่ากัมมัฏฐานเหล่านี้เป็นกัมมัฏฐานที่สุขุม ละเอียดยิ่งนัก ไม่ปรากฏชัดได้ จิตและเจตสิก ไม่สามารถแนบสนิทตั้งอยู่ได้นาน จึงให้สำเร็จเพียงอุปจารภาวนาเท่านั้น

ส่วนอัปปนาภาวนานั้น ได้ในกัมมัฏฐาน ๓๐ ประการ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ พรหมวิหาร ๔ อรูปกัมมัฏฐาน ๔ เหล่านี้ย่อมให้สำเร็จตลอดถึงอัปปนาภาวนา

เพราะเหตุใด เพราะกัมมัฏฐานเหล่านี้ อารมณ์ปรากฏชัด อันจิตและเจตสิกเข้าไปแนบสนิทตั้งอยู่ได้นาน

กัมมัฏฐาน ๓๐ ประการ อันจะให้สำเร็จถึงอัปปนาภาวนา จะมีอานุภาพเสมอกันก็หาไม่

อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ รวม ๑๑ ประการนี้ ให้สำเร็จเพียงรูปาวจรปฐมฌานอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถที่จะให้สำเร็จถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เว้นแต่ท่านผู้ใดมีสติปัญญา เมื่อเจริญอสุภกัมมัฏฐาน หรือกายคตาสติ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเจริญไปๆ ถ้ามีสีปรากฏชัดขึ้นมา เช่น มีสีแดง สีขาว สีเขียว เป็นต้น ปรากฏขึ้นมา หลังจากนั้นเราเอาสีนั้นมาบริกรรมเป็นกสิณ ก็สามารถให้สำเร็จถึงจตุตถฌานได้ แต่ถ้าเราบริกรรมแค่อสุภะหรือกายคตาสติอย่างเดียว ก็ให้สำเร็จเพียงปฐมฌานเท่านั้น

สำหรับพรหมวิหาร ๓ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา มีอานุภาพให้สำเร็จตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน (ว่าตามปัญจกนัย ถ้าตามจตุกกนัยก็ถึงตติยฌาน แต่ว่าโดยองค์ฌานแล้วมีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา เหมือนกัน)

อุเบกขาพรหมวิหาร มีอานุภาพให้สำเร็จได้เพียงแต่รูปาวจรจตุตถฌาน หรือรูปาวจรปัญจมฌานอย่างเดียว

อรูปกัมมัฏฐาน ๔ ก็ให้สำเร็จเพียงอรูปฌาน ๔ เท่านั้น หมายความว่า อรูปกัมมัฏฐานที่ ๑ ก็ให้สำเร็จอรูปฌานที่ ๑ อรูปกัมมัฏฐานที่ ๒ ก็ให้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ อรูปกัมมัฏฐานที่ ๓ ก็ให้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ อรูปกัมมัฏฐานที่ ๔ ก็ให้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ โดยเฉพาะๆ สลับกันไม่ได้

รวมกัมมัฏฐานที่ให้สำเร็จรูปาวจรฌานมี ๒๖ และให้สำเร็จอรูปาวจรฌานมี ๔ เป็น ๓๐ ประการ ที่ให้สำเร็จอัปปนาภาวนา เหลือจากนั้น ให้สำเร็จอุปจารภาวนา หรืออุปจารฌานเท่านั้น

อานิสงส์ของการเจริญสมถภาวนา เมื่อเราเจริญให้ยิ่งให้สมบูรณ์แล้ว ก็สามารถให้สำเร็จรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และก็เป็นเหตุให้เกิดคุณสมบัติขึ้นมา เช่นว่า ให้สำเร็จซึ่งวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา ๖ อีกด้วย

๒. วิปัสสนาภาวนา ภาวนาเป็นอุบายเรืองปัญญา คือการเจริญวิปัสสนาภาวนานี้ ต้องใช้ปัญญา ต้องให้เกิดปัญญาทันรูป ทันนาม ทันปัจจุบัน เห็นไตรลักษณ์ เห็นอริยสัจ ๔ จึงจะชื่อว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาภาวนา

ถ้าเจริญไปๆ เท่าไรก็ตาม สติสัมปชัญญะของเราไม่ทันปัจจุบัน ไม่ทันรูปทันนาม ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่รู้อริยสัจ ๔ แม้เจริญเท่าไรก็ตาม ไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาภาวนา

อารมณ์ที่ใช้เจริญวิปัสสนาภาวนา คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ แต่เมื่อสรุปแล้ว ก็ได้แก่ รูปกับนามนั่นเอง ย่นเข้าในการปฏิบัติ ก็ได้แก่ อาการพอง อาการยุบ เป็นต้น นี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา

อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ย่อมจะเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติ คือสิ่งใดเป็นอยู่ ก็สามารถที่จะรู้สิ่งนั้นตามธรรมชาตินั้น เช่น รู้สังขารทั้งหลายที่มีใจครองก็ดี ไม่มีใจครองก็ดี ว่าสังขารเหล่านี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วดับไป เป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ดับไป เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้แล้วดับไป เป็นต้น

การรู้สภาวธรรมของธรรมชาติ มีประโยชน์อย่างไร

มีประโยชน์หลายสิ่งหลายประการ อย่างต่ำที่สุด ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้พวกเราทั้งหลายหลงใหลอยู่ในสมมติบัญญัติ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้มานะทิฏฐิลดน้อยลงไป เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา อุปาทานลดน้อยลงไป หรืออ่อนกำลังลงไป ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลชั้นใดเลย นี้เป็นอย่างต่ำ อย่างสูง ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติสำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

เมื่อกล่าวมาถึงนี้ ท่านทั้งหลายอาจจะมีความข้องใจสงสัยอยู่ว่า บัดนี้ พระศาสนาก็ล่วงเลยมาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว ยังจะมีพระอริยบุคคลอยู่หรือ ยังจะมีพระอรหันต์อยู่อีกหรือ อาจจะสงสัยอย่างนี้ก็ได้

ข้อนี้ ขอยกหลักฐานที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินีอรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ภาค ๓ หน้า ๑๑๑ ถึง ๑๑๒ บรรทัดที่ ๒๑ และบรรทัดที่ ๑ ที่ ๒ ท่านกล่าวไว้ว่า

ปฏิสมฺภิทปฺปตฺเตหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ ช่วงพันปีที่ ๑ เป็นยุคของพระอรหันต์ผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ๔

หมายความว่า พระศาสนาล่วงเลยมาหนึ่งพันปี ในช่วงหนึ่งพันปีนี้ ถ้าผู้ใดมาเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว หากว่าเราได้สั่งสมบุญกุศลไว้ในปุเรกชาติ ก็สามารถที่จะบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ด้วย

ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นั้นคือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในการกล่าวนิรุตติ์

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ

ฉฬภิญฺเฐหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ ช่วงพันปีที่ ๒ เป็นยุคของพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖

หมายความว่า พระศาสนาล่วงเลยมาถึงสองพันปี ในช่วงสองพันปีนี้ ถ้าผู้ใดมาเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว สามารถที่จะยังอภิญญา ๖ ให้เกิดขึ้นได้ หากว่าตนได้สั่งสมอบรมบารมีไว้แล้วในชาติปางก่อน คือ สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ได้ สามารถได้หูทิพย์ รู้วาระจิตของผู้อื่น ระลึกชาติหนหลังได้ มีตาทิพย์ รู้วิธีที่จะทำอาสวะให้หมดไปจากขันธสันดาน อภิญญาทั้ง ๖ นี้ สามารถเกิดขึ้นได้

เตวิชฺเชหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ ช่วงพันปีที่ ๓ เป็นยุคของพระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓

หมายความว่า พระศาสนาล่วงเลยมาถึงสามพันปี ในช่วงสามพันปีนี้ ถ้าผู้ใดมาเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็สามารถยังวิชชา ๓ ให้เกิดขึ้นได้

วิชชา ๓ นั้นคือ ปัญญาระลึกชาติหนหลังได้ ปัญญารู้จักการเกิดการตายของบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นว่าผู้นี้เขามาเกิดที่นี้ด้วยบุญกรรมอะไร ผู้นี้ตายแล้วไปเกิดในที่ไหนก็รู้ได้ และอาสวักขยญาณ ปัญญารู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

แต่ทั้งนี้ ก็ต้องได้เคยสั่งสมอบรมบารมีมาในภพก่อนชาติก่อนมาแล้ว คือเคยตั้งสัจจะอธิษฐานว่า สาธุ ด้วยอานิสงส์บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้สั่งสมอบรมไว้นี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าสำเร็จวิชชา ๓ ในอนาคตกาลข้างหน้าเถิด เหมือนดังหลวงพ่อพากล่าวคำบูชาอธิษฐานจิตในวันอาสาฬหบูชานั้นว่า

ด้วยบุญกุศลที่ทำการบูชาพระรัตนตรัย เนื่องในวันอาสาฬหปุณณมีครั้งนี้ ขอจงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุซึ่งสมาธิสมาบัติ ให้ได้บรรลุฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ นิโรธสมาบัติ วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา ๖ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ มโนมยิทธิ

อย่างนี้เรียกว่า เราได้สั่งสมอบรมบารมีไว้ ถ้าว่าในภพก่อนชาติก่อนเราได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าในภพก่อนชาติก่อนไม่เคยตั้งจิตอธิษฐานไว้เลย ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาบารมีที่เราได้สั่งสมอบรมไว้

สุกฺขวิปสฺสเกหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ ช่วงพันปีที่ ๔ เป็นยุคของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ

หมายความว่า พระศาสนาล่วงเลยมาถึงสี่พันปี ในช่วง ๔ พันปีนี้ ผู้ใดมาเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็สำเร็จโดยแห้งแล้ง ไม่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกิดขึ้นได้ เป็นแต่เพียงทำลายความโลภ โกรธ หลง ราคะ ตัณหา อุปาทานให้หมดไปจากขันธสันดานเท่านั้น เรียกว่าบรรลุโดยแห้งแล้ง

ปาติโมกฺเขหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ ช่วงพันปีที่ ๕ เป็นยุคของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

หมายความว่า พระศาสนาล่วงเลยมาถึงห้าพันปีนี้ แม้ว่าเราจะทำความเพียรเรี่ยวแรงสักปานใดก็ตาม ก็ไม่สามารถเป็นพระอรหันต์ อย่างสูงเพียงแต่ได้เป็นพระอนาคามีเท่านั้น

เหตุนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย หากว่าเข้าใจผิดมา ก็ขอให้กลับจิตกลับใจเสียใหม่ ผลของการปฏิบัตินั้น หากว่าเราตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติอยู่ ผลก็ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา ดุจเราปลูกต้นไม้ ถ้าเราตั้งอกตั้งใจปลูก พรวนดินใส่ปุ๋ยรดน้ำ กำจัดศัตรูพืช ก็จะผลิดอกออกผลมาให้เราเชยชมได้ ข้อนี้ฉันใด การประพฤติปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน หากว่าเรานั้นมีศรัทธาจริง มีความเพียรจริง ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติจริง ย่อมมีผลตามมาเป็นธรรมดา เพราะธรรมดาเป็นมาอย่างนี้

อนึ่ง การเจริญภาวนาที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น ไม่เหมือนกัน คือสำนักหนึ่งก็ภาวนาไปอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกุศโลบายของอาจารย์ท่านผู้สอน คือ

บางสำนักภาวนาว่า พุทโธๆ

บางสำนักภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆ

บางสำนักภาวนาว่า สัมพุทโธๆ

บางสำนักภาวนาว่า อิติปิ โส ภะคะวาๆ

บางสำนัก หายใจเข้าภาวนาว่า พุท หายใจออกภาวนาว่า โธ

บางสำนักหายใจเข้าภาวนาว่า พุทโธ หายใจออกภาวนาว่า พุทโธ

บางสำนัก หายใจเข้าภาวนาว่า นะมะพะทะ หายใจออกภาวนาว่า นะมะพะทะ

บางสำนักภาวนาว่า รู้หนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า นั่งหนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า ถูกหนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า กระทบหนอๆ

บางสำนัก ท้องพองขึ้นภาวนาว่า พองหนอ ท้องยุบลงไปภาวนาว่า ยุบหนอ

บางสำนักภาวนาว่า นั่งเป็นรูป รู้เป็นนาม

บางสำนักภาวนาว่า ไหวนิ่งๆ

บางสำนัก ยกมือไปยกมือมาภาวนาว่า เกิดดับๆ

บางสำนัก หายใจเข้าหายใจออก นั่งดูเฉยๆ ไม่ได้ภาวนาว่ากระไร

ส่วนการเดินจงกรมนั้นก็ไม่เหมือนกัน

บางสำนัก เวลาเดินจงกรมภาวนาว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

บางสำนักภาวนาว่า พุทโธๆ

บางสำนักภาวนาว่า ก้าวหนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า ก้าวเป็นรูป รู้เป็นนาม

บางสำนักภาวนาว่า ย่างหนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า ยก ย่าง เหยียบ

บางสำนักภาวนาว่า รู้หนอๆ

บางสำนักภาวนาว่า เกิดดับๆ

บางสำนักภาวนาว่า ไหวนิ่งๆ

บางสำนัก กำหนดรู้เฉยๆ ไม่ต้องภาวนาว่ากระไร

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สำนักไหนผิด สำนักไหนถูก

ถูกด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีสำนักไหนผิดเลย คือหมายความว่า การภาวนานั้น เราภาวนาต้องการที่จะทำจิตของเราให้สงบเป็นสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ เป็นอัปปนาสมาธิ เป็นฌาน ก็ถูกแบบสมถภาวนา หรือสมถกัมมัฏฐาน

แต่ถ้าเราภาวนาหรือบริกรรมเพื่อจะทำให้เกิดปัญญา เพื่อจะให้รู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม หรือสิ่งที่ตนภาวนานั้น เช่น เรากำหนดท้องพองท้องยุบ ท้องพองขึ้นมาภาวนาว่า พุทโธ ท้องยุบลงไปภาวนาว่า พุทโธ หรือท้องพองขึ้นมาภาวนาว่า พองหนอ ท้องยุบลงไปภาวนาว่า ยุบหนอ เราต้องการจะรู้ว่า ต้นพองเป็นอย่างไร กลางพองเป็นอย่างไร สุดพองเป็นอย่างไร ต้นยุบเป็นอย่างไร กลางยุบเป็นอย่างไร สุดยุบเป็นอย่างไร เราสำเหนียกในใจให้รู้สภาวะความเป็นจริงในอารมณ์กัมมัฏฐานที่ตนบริกรรมหรือฝึกภาวนานั้น ก็ถูกแบบวิปัสสนากัมมัฏฐาน

การเจริญกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเราใช้เพียงขั้นบริกรรม ก็เป็นสมถภาวนา สมถกัมมัฏฐาน คือเพียงบริกรรมว่า พุทโธๆ หรือ ยุบหนอพองหนอไปเรื่อยๆ ทำใจให้สงบเป็นอุปจารสมาธิ อย่างนี้ก็ถูกแบบสมถภาวนา

แต่ถ้าเราใช้วิธีกำหนด เช่นในเวลาเดินเราภาวนาว่า ขวาย่างหนอ ก็กำหนดรู้ไปด้วยว่า เริ่มยกเป็นอย่างไร เหวี่ยงเท้าไปเป็นอย่างไร เหยียบลงเป็นอย่างไร ขาไหนหนัก ขาไหนเบา ในเวลานั่งภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็กำหนดรู้อาการพองอาการยุบว่า ต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ เป็นอย่างไร เรากำหนดรู้ตามอาการของมัน ถ้าใช้วิธีกำหนดแบบนี้ ก็ถูกตามแบบวิปัสสนาภาวนา วิปัสสนากัมมัฏฐาน

แต่ถึงอย่างไร ก็ขอให้ท่านทั้งหลายมีความเข้าใจว่าการบริกรรมก็ดี การกำหนดก็ดี เราไม่เอา เราบริกรรมเพื่อรอการเกิดของสมาธิ สมาบัติ รอการเกิดขึ้นของมรรคผลพระนิพพานต่างหาก

อุปมาเหมือนกับเราต้องการจะดื่มเครื่องดื่มสักขวด เราก็ซื้อมาทั้งขวด เมื่อซื้อมาแล้ว ก็เปิดดื่มแต่น้ำเท่านั้น ขวดเราก็ทิ้งไป ข้อนี้ฉันใด เราจะใช้บริกรรมหรือกำหนดบทไหนก็ตาม เราบริกรรมเพื่อรอการเกิดของสมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพาน เท่านั้น เมื่อสมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพาน เกิดขึ้นมาแล้ว คำบริกรรมหรือภาวนานั้นเราก็ทิ้งไป เราเอาสมาธิ เอามรรค ผล เอานิพพานต่างหาก

และขอให้ท่านทั้งหลายทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า เพราะเหตุไร การบริกรรมการภาวนานั้นจึงมีมาก เพราะเหตุว่า ธรรมะอันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีมาก คือมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ดังนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติ ใครจะเอาที่ไหนๆ มาบริกรรม มาภาวนา มากำหนด ได้ทั้งนั้น ใครจะบริกรรมอย่างไร ภาวนาอย่างไร หรือกำหนดอย่างไรก็ตาม ผลที่ต้องการเหมือนกันหมด

อุปมาเหมือนกันกับคนทั้งหลายที่ต้องการเงินด้วยกันทั้งนั้น ผู้ทำนาก็ต้องการเงิน ผู้ทำสวนก็ต้องการเงิน ผู้ทำไร่ก็ต้องการเงิน ผู้เย็บปักถักร้อยก็ต้องการเงิน พวกเสริมสวยก็ต้องการเงิน พวกเลี้ยงสัตว์ก็ต้องการเงิน ผู้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องการเงิน พวกเดินรถก็ต้องการเงิน ผู้เป็นข้าราชการก็ต้องการเงิน ผู้ทำมาค้าขายก็ต้องการเงิน

หนักๆ เข้า ผู้ที่ไปลัก ไปขโมย ไปปล้น ไปจี้ จับคนไปเรียกค่าไถ่ ก็ต้องการเงินด้วยกันทั้งนั้น แต่วิธีหาเงินของคนไม่เหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด ทุกคนเกิดขึ้นมาแล้ว ต้องการที่จะพ้นทุกข์ ต้องการที่จะบรรลุสุขอันไพบูลย์ คือ มรรค ผล นิพพานทั้งนั้น แต่เพราะธรรมะมีมาก การประพฤติปฏิบัติจึงไม่เหมือนกัน

ดังนั้น ขอให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เข้าใจหลักการและวิธีการประพฤติปฏิบัติในพรรษานี้ ขอให้ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน เพื่อสะดวกในการสอบการสอน ถ้ารูปนั้นปฏิบัติอย่างหนึ่ง รูปนี้ก็ปฏิบัติอย่างหนึ่ง เพราะเกรงว่าการปฏิบัติตามแนวที่ทางสำนักนี้ปฏิบัติอยู่จะทำให้สภาวธรรมที่เราเคยปฏิบัติมานั้นเสื่อมไป ถ้าคิดอย่างนี้เรียกว่าเข้าใจผิด

หลาย ๆ รูปที่มาประพฤติปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ตั้งใจมาอยู่ ตั้งใจมาศึกษา แต่พอมาแล้ว ทิฏฐิมานะไม่ยอมลด เคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้นไป ไม่ยอมเปลี่ยน ไม่ยอมทำตาม ขอให้ภาวนาอย่างที่สำนักนี้ให้ภาวนาก่อนเถิด ออกจากวัดไปแล้วค่อยภาวนาอย่างอื่นไป แต่ก็ไม่ยอม

สมมติว่า เคยเพ่งลูกแก้วมาอย่างนี้ ก็อยากเพ่งอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่ออยากเพ่งก็เพ่งลูกแก้วนั้นอยู่ตลอดเวลา การประพฤติปฏิบัตินั้นก็ไม่เดินหน้า การสอบ การแนะนำ การสอนก็เป็นไปได้ยาก ไม่เข้ากัน

ความจริง เราไม่ควรที่จะเกรงว่าสภาวธรรมที่เราเคยปฏิบัติมาตามแบบของตนจะเสื่อม ท่านทั้งหลายจะภาวนาหมวดไหนอย่างไรก็ตาม ก็ดำเนินไปสู่ปฏิปทาแห่งความพ้นทุกข์เหมือนกัน แต่ว่าข้อสำคัญ ครั้งแรกนี้ เราต้องทำให้ได้ให้ถึงเสียก่อน เมื่อเราเคยได้เคยถึงแล้ว ต่อไปเราจะภาวนาอย่างไรได้ทั้งนั้น

สมมติว่า เราเคยภาวนาอย่างนี้แล้วเข้าฌานได้ เคยเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานได้ เคยเข้าอรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ได้ เมื่อเราเคยได้อย่างนี้แล้ว ต่อไปเราจะเข้าสมาธิอีก เราไม่ต้องภาวนาเลย เรานั่งดูวัตถุอย่างไรอย่างหนึ่งก็ได้ โดยที่สำรวมจิตแล้วนั่งเพ่งถึงวัตถุนั้นๆ จะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ เป็นนาฬิกาก็ได้ ก็สามารถเข้าสมาธิได้เหมือนกัน

หรือไม่อย่างนั้น เราจะใช้คำภาวนาว่า ขี้เกียจหนอๆ แต่ที่จริงเราไม่ขี้เกียจ แต่เราใช้คำภาวนาว่า ขี้เกียจหนอๆ ก็สามารถเข้าสมาธิได้เหมือนกันทั้งนั้น หรือเราจะภาวนาว่าอยากตายหนอๆ แต่เราไม่ได้อยากตาย ใช้เป็นคำภาวนาว่าอยากตายหนอๆ ก็สามารถเข้าสมาธิได้เหมือนกัน

ถ้าเราเคยเข้าสมาธิได้ ๖ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมง ๓๐ ชั่วโมง มาแล้ว ทีนี้เราจะมาเพ่งอะไร ภาวนาว่าอย่างไร เราก็สามารถเข้าสมาธิได้ ๖ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมง ๓๐ ชั่วโมง ได้เหมือนกัน แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องประพฤติปฏิบัติให้ได้ถึงที่เสียก่อนจึงจะทำอย่างนั้นได้ หากว่ายังไม่ได้ไม่ถึง เราจะมาภาวนาว่าอย่างนี้ไม่ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:52:30 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2559 15:23:03 »



ของหายาก ๔ ประการ (ต่อ)


ต่อไปเป็นองค์คุณของผู้ปฏิบัติ ถ้านักปฏิบัติธรรมต้องการที่จะให้การประพฤติปฏิบัติได้ผลเร็วนั้น ต้องเป็นผู้ประกอบไปด้วยองค์คุณทั้งหลายเหล่านี้ คือ

๑. สติมา ต้องมีสติ คือสติสมบูรณ์ กำหนดให้ทันปัจจุบัน เราจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ทำกิจใดๆ ก็ตาม ต้องกำหนดให้ทันปัจจุบัน

๒. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม คือ จะยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจใดๆ ก็ตาม ให้รู้ตัวทุกขณะ เหมือนกับเราเขียนหนังสือ สมมติว่าเราจะเขียนตัว ก เราก็ต้องรู้ว่าอักษร ก มีรูปร่างลักษณะอย่างนี้ ก็เขียนไป ในขณะที่เขียน เขียนถูกก็รู้ว่าเขียนถูก เขียนผิดก็รู้ว่าเขียนผิด

๓. อาตาปี มีความเพียร คือ มีความหมั่น ความขยัน มีฉันทะ พอใจทำกัมมัฏฐาน มีวิริยะ แข็งใจทำกัมมัฏฐาน มีจิตตะ ตั้งใจทำกัมมัฏฐาน มีวิมังสา ฉลาดทำกัมมัฏฐาน

เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งอยู่ในองค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้แล้ว ก็สามารถที่จะทำให้การประพฤติปฏิบัตินั้นได้ผลเร็ว และขอรับรองว่า ไม่เสียสติ ไม่เป็นบ้า แต่ถ้าขาดคุณธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ อาจเสียสติเป็นบ้า เสียผู้เสียคนไปก็ได้

เอาละ เท่าที่บรรยายมา ก็พอสมควรแก่เวลา.


ลพ.บุญเรือง สารโท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:52:59 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.84 Chrome 51.0.2704.84


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2559 16:38:10 »



การเตรียมตัว ๕ ประการ

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ [๑]

ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมะอันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่อง การเตรียมตัว ๕ ประการ พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป

คำว่า เตรียมตัว ๕ ประการ นั้น คือ
๑.เตรียมตัวก่อนตาย
๒.เตรียมกายก่อนแต่ง
๓.เตรียมน้ำก่อนแล้ง
๔.เตรียมแบงก์ก่อนไป
๕.เตรียมใจก่อนสู้

๑.เตรียมตัวก่อนตาย เพราะเหตุไรจึงเตรียมตัวก่อนตาย เพราะว่าชีวิตของคนเราไม่ใช่ว่าจะจบลงแค่ตายเท่านั้น ตายแล้ว หากว่ากิเลสตัณหาบาปกรรมยังมีอยู่ ก็ต้องเคลื่อนไปสู่ภพภพใดภพหนึ่ง ตามอำนาจของบาปกรรมและบุญกรรม ดังบทวิเคราะห์ว่า ติภวํ อยตีติ ตาโย ชื่อว่า ตาย เพราะอรรถว่า ย่อมเคลื่อนไปสู่ภพ ๓ ภพใดภพหนึ่ง คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ

หมายความว่า ถ้าผู้ใดจุติด้วยอำนาจของความโกรธ คือขณะนั้นตายด้วยอำนาจของความโกรธ หรือความโกรธเกิดขึ้นในจิตในใจก่อนแล้วจึงตาย ก็ต้องไปบังเกิดในนรก ถ้าจุติด้วยอำนาจของโลภะเป็นเหตุ เมื่อจุติแล้วก็ต้องไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย ถ้าจุติด้วยอำนาจของความหลง จุติแล้วก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าจุติเพราะระลึกนึกถึงศีล ๕ ประการ หรือมนุสสธรรมที่ตนสั่งสมอบรมมา ที่เคยประพฤติปฏิบัติมา เมื่อจุติแล้ว ก็ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษย์ภูมิ  ถ้าจุติด้วยอำนาจกามาวจรกุศล คือระลึกถึงบุญกุศลที่ตนได้สร้างสมอบรมมา เป็นต้นว่า ให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แต่ยังไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ถ้าจุติเพราะจิตเป็นกามาวจรกุศลอย่างนี้ จุติแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก ไปบังเกิดในฉกามาวจรสวรรค์ ถ้าจุติด้วยอำนาจอริยมรรคอริยผลอันสูงสุด ก็เข้าสู่พระนิพพาน เป็นอันสรุปได้ว่า คนเรานั้น ไม่ใช่ว่าจะจบลงแค่ตาย เมื่อเรายังมีชีวิต ยังมีบุญมีบาปอยู่ บุญบาปนั่นแหละที่จะพาเราไปสู่ภพใดภพหนึ่ง ตามบุญกรรมที่เราได้สร้างสมอบรมไว้ เราได้เกิดมานี้ ได้สร้างสมอบรมกุศลไว้อย่างไรหนอ ได้ให้ทานมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ได้รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไร เป็นต้น เมื่อนึกถึงบุญกุศลของตนเสร็จ จึงค่อยนอนอย่างนี้ ท่านเรียกว่า เตรียมตัวก่อนตาย เมื่อถึงคราวตาย บุญกุศลที่เราได้สร้างสมอบรมไว้จะมาปรากฏเป็นกรรมบ้าง มาปรากฏเป็นกรรมนิมิตบ้าง มาปรากฏเป็นคตินิมิตบ้าง

เพราะเหตุไร ท่านจึงให้เตรียมตัวก่อนตาย เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ
๑) เพราะชีวิตเป็นของน้อย
 ท่านอุปมาไว้ว่าชีวิตนี้เหมือนกันกับแสงหิ่งห้อยที่คอยวับๆ แวบๆ ในเวลากลางคืนแล้วก็ดับไป ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นมาแล้วในโลกนี้ ก็พลันแต่จะดับไปเหมือนกัน ฉันนั้น

อุปมาเหมือนกับน้ำค้างที่ติดอยู่บนปลายหญ้า พอถูกแสงพระอาทิตย์ พลันแต่จะเหือดแห้งไป ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะดับไปไม่ยากเหมือนกัน ฉันนั้น

อุปมาเหมือนกันกับบุรุษผู้มีกำลัง สามารถที่จะบ้วนเขฬะน้ำลายให้พ้นไปจากปากโดยไม่ยาก ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็พลันแต่จะดับไปไม่ยาก ฉันนั้น

อุปมาเหมือนกันกับชิ้นเนื้ออันย่างด้วยไฟอันร้อนโชน ก็จะถูกไฟไหม้ให้เป็นเถ้าเป็นถ่านไปโดยไม่ยาก ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นมาแล้วก็ถูกไฟทุกข์ไฟกิเลสเผาผลาญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พลันแต่จะดับไปเหมือนกัน ฉันนั้น

อุปมาเหมือนสตรีทอหูก ข้างหน้าน้อยเข้าไปๆ ทุกวันๆ ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ใกล้เข้าสู่ความตายทุกวันๆ เหมือนกัน ฉันนั้น

วันคืนล่วงไปๆ นั้น มิใช่ล่วงไปเปล่า มันกินอายุของสรรพสัตว์ทั้งหลายไปด้วย วันคืนล่วงไปๆ ชีวิตของพวกเราทั้งหลายก็น้อยเข้าไปๆ ใกล้ต่อความตายเหมือนกันฉันนั้น เหตุนั้นจึงให้เตรียมตัวก่อนตาย

อนึ่ง ความตายนั้น ไม่ยกเว้นว่าเป็นไพร่ฟ้าพระมหากษัตริย์ สมณะ ชี พราหมณ์ เกิดขึ้นมาแล้ว ล้วนมีความตายด้วยกันทั้งนั้น ดังที่พระพุทธองค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณเอ็นดูปรานีสัตว์ทั้งหลาย ได้ตรัสเตือนพุทธบริษัททั้งหลาย ก่อนที่จะดับขันธปรินิพพานว่า

     ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
     อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ  สพฺเพ มจฺจุปรายนา ฯ  
     ยถาปิ กุมฺภการสฺส  กตํ มตฺติกภาชนํ  
     ขุทฺทกญฺจ มหนฺตญฺจ  ยญฺจ ปกฺกํ ยญฺจ อามกํ  
     สพฺพํ เภทปริยนฺตํ  เอวํ มจฺจานชีวิตํ ฯ

แปลความว่า “ดูก่อนพุทธบริษัททั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นมาแล้วไม่เลือกว่าเป็นเด็กเป็นหนุ่มเป็นคนแก่ คนโง่คนฉลาด คนร่ำรวยคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้าด้วยกันทั้งนั้น เหมือนกันกับหม้อดิน แม้จะเป็นใบเล็กใบใหญ่ เผาสุกแล้วหรือดิบอยู่ก็ดี ก็มีการแตกสลายไปในที่สุด ฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนมีความตายกันทั้งนั้นไม่ช้าเราตถาคตก็จะจากพวกท่านไป”   (มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค (บาลี) ๑๐/๑๐๘/๑๔๑.)

นี้ก็แสดงให้เห็นว่าชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นเป็นของน้อย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็พลันจะดับไป

๒) เพราะชีวิตไม่จบลงเพียงแต่ตายเท่านั้น  เมื่อเราตายไปแล้ว บาปบุญยังมีอยู่ ยังจะต้องได้เที่ยวไปในห้วงมหรรณพภพสงสารอีก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ผู้ที่มีโทสะมาก มีโทสจริต มีโทสะเป็นเจ้าเรือน เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไป ก็จะไปบังเกิดในนรก ผู้ที่มีโลภะมาก มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยโลภะ เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไป ก็จะไปบังเกิดเป็นเปรต อสุรกาย ผู้ที่มีโมหะมาก มีดวงตาคือปัญญาอันมืดบอด ไม่รู้จักผิดชอบ ชั่วดี บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เป็นต้น เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไป ก็จะไปบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ผู้ที่ทรงคุณธรรม มีศีล ๕ ประการ และมนุษยธรรม ได้บำเพ็ญธรรมเหล่านี้ให้สมบูรณ์ในขันธสันดานแล้ว ก็จะกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีกต่อไป ผู้ที่บำเพ็ญกามาวจรกุศล คือเป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาปสาทะ สละออกซึ่งจตุปัจจัยไทยธรรม มาทำทานมีการสร้างกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ ถนนหนทาง บ่อน้ำ โรงพยาบาล เป็นต้น เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไป ก็จะไปบังเกิดในฉกามาวจรสวรรค์

สำหรับท่านผู้บำเพ็ญรูปาวจรกุศล เจริญสมถภาวนาจนได้รูปฌานสมาบัติ เมื่อจุติจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็จะไปบังเกิดในรูปพรหม ๑๖ ชั้นตามกำลังของฌาน ผู้บำเพ็ญอรูปาวจรกุศลจนได้สำเร็จอรูปฌานสมาบัติ เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไปก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม

สำหรับท่านที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้ว ก็เข้าสู่พระนิพพาน นี้พระองค์ได้ตรัสทางแห่งชีวิตหรือการดำเนินชีวิตไว้ดังนี้ พระองค์ยังตรัสต่อไปว่า เหตุนั้น พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติดังนี้

     อัปปมัตตา อย่าพากันประมาท
     สติมันโต จงมีสติ
     สุสีลวันโต จงรักษาศีลให้ดี
     สุสมาหิตสังกัปปา จงตั้งใจไว้ให้ถูกทาง
     สจิตตมนุรักขถะ จงตามรักษาจิตของตนให้ดี

ผู้ใดอยู่ด้วยอุบายอันไม่ประมาทดังกล่าวมาแล้วนี้ ผู้นั้น หวังที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานของตน ไม่เวียนว่ายตายเกิดในมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป

ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมงนี้ เราแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือเราใช้เป็นเวลาทำการทำงานเพื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติเลี้ยงตัวและครอบครัวของตัวเสีย ๑๐ ชั่วโมง ให้เป็นเวลาพักผ่อนหลับนอนอีก ๘ ชั่วโมงเหลือเวลาอีก ๖ ชั่วโมง ๖ ชั่วโมงนี้เราใช้เป็นเวลาอาบน้ำชำระร่างกาย รับประทานอาหาร คุยกับลูกกับหลาน กับญาติมิตรที่ไปมาหาสู่ อ่านหนังสือเสีย ๕ ชั่วโมง ยังเหลืออีก ๑ ชั่วโมง เวลา ๑ ชั่วโมงนี้เราเอาเป็นเวลาของเราให้ได้ ก่อนนอน ๓๐ นาที โดยที่เรามานึกถึงบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว ว่าเราเกิดมาถึงป่านนี้ เราได้ให้ทานมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ศีล ๕ ประการนี้ เรารักษาได้กี่ข้อ มากน้อยแค่ไหนเพียงไร เราได้ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาประมาณกี่ครั้งกี่หน เรานึกถึงบุญกุศลของเราเสียก่อน จึงค่อยไหว้พระสวดมนต์ เจริญภาวนาโดยจะบริกรรมว่า พุทโธๆ หรือสัมมาอะระหังๆ หรือว่า นะมะพะทะๆ หรือว่า พองหนอยุบหนอ อย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณ ๓๐ นาทีแล้วจึงนอน

เมื่อเราทั้งหลาย พากันประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ถึงคราวตาย บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงนั้น สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของตนได้ คือเวลาเราจุติจากอัตภาพนี้ ขณะเรากำลังใกล้จะดับจิตนั้นแหละ บุญกุศลทั้งหลายที่เราทำไว้แล้วก็จะมาปรากฏเป็นกรรมนิมิต เป็นคตินิมิต เช่น

เห็นขันข้าวที่เคยใส่บาตร เห็นผ้าผ่อนแพรพรรณที่เราเคยเอาไปทำบุญทำทาน เห็นกองมหากฐิน กองผ้าป่าสามัคคี เห็นกองบวชนาค เห็นพระภิกษุสามเณร เห็นโบสถ์วิหาร เห็นพระพุทธรูป เห็นเจดีย์ เห็นเทวดา เห็นวิมานของเทวดา เครื่องทรงของเทวดา เป็นต้น จิตของเราก็ไปยึดแล้วดับลงไป คือตายไป เมื่อตายแล้วเราก็ไปเกิดในสุคติโลกมนุษย์สวรรค์ ตามบุญญาธิการที่เราสั่งสมอบรมไว้แล้ว

อุปมาเหมือนกันกับเราหัดว่ายน้ำไว้ชำนาญแล้ว เมื่อเรือล่ม เราก็สามารถว่ายน้ำเข้าฝั่งได้ ไม่จมน้ำตาย ข้อนี้ฉันใด บุญกุศลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้ว เมื่อเราหัดระลึกไว้ให้ชำนาญแล้ว เมื่อถึงคราวตาย ก็สามารถที่จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยของตนได้ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ถ้าหากว่าเราทำบุญทำกุศลแล้ว ไม่ระลึกไว้ให้ชำนาญ คือไม่ระลึกไว้เลยว่าเราเกิดมานี้ได้ทำบุญทำทาน ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ฟังเทศน์ เจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไร เราไม่เคยระลึกไว้เลย เมื่อถึงคราวจะตายแล้วจึงจะมาระลึก ก็ระลึกไม่ได้  เพราะเหตุไร
     ๑) เพราะทุกขเวทนาเข้าครอบงำ
     ๒) เพราะไม่อยากตาย
     ๓) เพราะห่วงผู้อยู่ข้างหลัง ห่วงทรัพย์สมบัติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็ระลึกไม่ได้ บาปอกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่เราเคยทำไว้ ก็มาปรากฏเป็นกรรมนิมิต เป็นคตินิมิต เช่น เห็นสัตว์ที่เราเคยฆ่า จะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา เป็ด ไก่ก็ตาม ตลอดถึงเห็นคนทั้งหลาย กำลังฆ่ากัน เบียดเบียนกัน เห็นสัตว์กำลังฆ่ากัน เบียดเบียนกัน เห็นเปลวเพลิง เห็นนรก เห็นนายนิรยบาล เห็นโคลน เห็นแม่น้ำ เป็นต้น จิตของเราก็ไปยึด แล้วก็ดับลง เมื่อตายแล้วเราก็ไปเกิดในอบายภูมิ คือนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ตามบาปกรรมที่เราเคยทำไว้  

เหมือนกับเราไม่เคยหัดว่ายน้ำไว้ให้ชำนิชำนาญ เมื่อเรือล่มเราจึงมาหัดว่ายน้ำ ก็ว่ายน้ำไม่เป็น จมน้ำตายเท่านั้นข้อนี้ ฉันใด บุญกุศลที่เราสั่งสมไว้มากพอสมควรแล้ว แต่เราไม่เคยหัดนึกไว้ให้ชำนิชำนาญ เมื่อถึงคราวตาย จึงจะมาระลึก ก็ระลึกไม่ได้ เราจะเตือนให้ว่า สัมมาอะระหังๆ ก็ว่าไม่ได้ จะเตือนให้ว่า พุทโธๆ ก็ว่าไม่ได้ เพราะไม่เคยหัดระลึกไว้ให้ชำนิชำนาญ

เหตุนั้นแหละญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมงนี้ ถึงอย่างไรก็ตาม เอาเป็นเวลาของเราให้ได้ ๓๐ นาทีก่อนนอน โดยมาระลึกถึงบุญกุศลของตนที่ได้เคยบำเพ็ญมาแล้ว ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนา ๓๐ นาที แล้วจึงนอน อันนี้เรียกว่า เตรียมตัวก่อนตาย

ถ้าเราไม่เตรียมตัวไว้อย่างนี้ โดยเกิดความประมาท ขาดสติ มาคิดว่าเมื่อแก่เสียก่อนแล้วจึงจะทำบุญทำทาน หรือว่าร่ำรวยเสียก่อนแล้วจึงจะทำบุญทำทาน หรือให้ลูกโตมีเหย้ามีเรือนเสียก่อนจึงจะทำบุญทำทาน หรือว่าเกษียณอายุราชการเสียก่อนจึงจะทำบุญทำทาน ถ้าเราคิดอย่างนี้ อาจจะเสียทีพระยามัจจุราชได้ คือพระยามัจจุราชอาจจะมาปลิดชีวิตของเราไปเสียก่อน ก่อนที่เราจะได้ทำบุญทำทานก็ได้

เหมือนกับพ่อใหญ่เดิมนี้แหละ เวลาเข้ามาวัดมาวา ก็พูดว่าผมเกษียณอายุเสียก่อน จะมาบวช จึงจะมาปฏิบัติกัมมัฏฐานกับท่านพระครู พูดกับพระกับเณรที่หน้าโบสถ์ที่บริเวณโบสถ์ หรือสนทนาปราศรัยกับญาติโยมเวลามาทำงานที่วัด ก็บอกว่าผมเกษียณอายุแล้วผมจะมาบวชผมจะมาปฏิบัติกับท่านทั้งหลาย แต่ที่ไหนได้ ยังไม่ทันเกษียณอายุเลย พระยามัจจุราชก็มาปลิดชีวิตไปเสียก่อน  เหตุนั้นแหละ หากว่าผู้ใดประมาท อาจเสียทีพระยามัจจุราช ไม่มีโอกาสบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลก็ได้ เหตุนั้น โบราณท่านจึงกล่าวเตือนไว้ว่า

เตรียม สร้างทางชอบไว้  หวังกุศลตัว สุขส่งเสริมผล เพิ่มให้ก่อน แต่มฤตยูดลปลิดชีพเชียวนา ตาย พรากจากโลกได้  สถิตด้าวแดนเกษม.

๒.เตรียมกายก่อนแต่ง เตรียมกายก่อนแต่งนี้ เราจะแต่งอะไร คือเราจะแต่งกายของเรานั่นแหละ ให้เป็นกายวิเวก แต่งจิตของเราให้เป็นจิตวิเวก การเตรียมกายก่อนแต่งนี้เราแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
     ๑) การตกแต่งภายนอก ได้แก่ การตกแต่งด้วยผ้าผ่อนแพรพรรณ รัตนะ ๗ ประการ เป็นต้น ซึ่งเป็นประเพณีที่เขานิยมกัน อันนี้หลวงพ่อจะไม่บรรยาย จะบรรยายแต่ในแนวของธรรมะล้วนๆ เท่านั้น
     ๒) แต่งภายใน ได้แก่ แต่งด้วยธรรมะ คือเราเอาธรรมะมาเป็นเครื่องแต่งกาย เรียกว่าธรรมาภรณ์ อาภรณ์คือธรรมะเป็นเครื่องแต่งกายของเรา

คนเรานั้นเกิดขึ้นมา แม้จะมีกายงดงามสักเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าว่ากิริยามรรยาทยังไม่ดี ก็จะจัดว่าสวยแท้ งามจริงยังไม่ได้ เมื่อใด ร่างกายก็สวยด้วย กิริยามารยาทก็สวยด้วย จึงจะเป็นคนสวยแท้งามจริง

ผู้ใดมีธรรมะดังกล่าวมาแล้วนี้เป็นเครื่องประพฤติปฏิบัติผู้นั้นชื่อว่ามีธรรมะเป็นธรรมาภรณ์ มีอาภรณ์คือธรรมะเป็นเครื่องประดับกาย เมื่อผู้ใดมีธรรมะเป็นเครื่องประดับกายอย่างนี้ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีกายงาม มีกิริยามารยาทงาม

แต่ถ้าคนใดขาดธรรมะดังกล่าวมาแล้วนั้น คือไม่มีธรรมะดังกล่าวเป็นเครื่องปฏิบัติ เป็นเครื่องประดับร่างกายแล้ว ถึงเราจะแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนแพรพรรณ แก้วแหวน เงินทอง รัตนะ ๗ ประการ หรือจะมีเครื่องประดับที่เรียกว่ามหาลดาปสาธน์ มีทองคำถึง ๙ โกฏิก็ตาม ก็หาได้ชื่อว่าเป็นผู้มีรูปสวยไม่ ดังคำกลอนที่ท่านกล่าวไว้ว่า
     คนจะงาม งามน้ำใจ  ใช่ใบหน้า
     คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
     คนจะแก่  แก่ความรู้  ใช่อยู่นาน
     คนจะรวย  รวยศีลทาน ใช่บ้านโต

เมื่อเราทั้งหลายแต่งกายได้แล้ว กายของเราก็จะเป็นกายวิเวก คือมีความสงัดกาย มีกายอันสงบ เมื่อกายเป็นกายวิเวกแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ จิตใจของเราก็จะสะอาด สว่าง สงบ

การที่จะแต่งกายให้สงบนั้น เราต้องเอาธรรมะมาเป็นเครื่องแต่ง ธรรมะอะไรจะมาเป็นเครื่องแต่งกายกายของเราจึงจะงาม ธรรมะที่จะเป็นเครื่องแต่งกายนั้น ได้แก่ สุจริตธรรม คือ
     ๑) เราต้องเป็นผู้มีจิตประกอบไปด้วยเมตตาอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เว้นจากปาณาติบาต ไม่ฆ่ากัน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประหัตประหารกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
     ๒) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยชอบ ตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ในทางสุจริต ไม่เลี้ยงชีวิตในทางผิดศีลธรรม ผิดกฎหมายบ้านเมือง ไม่ทำอทินนาทาน คือไม่ลักขโมยทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เป็นต้น
     ๓) สทารสันโดษ ถ้าเป็นฆราวาสก็ยินดีในสามีภรรยาของตน ไม่ล่วงเกินภรรยาสามีผู้อื่น ไม่ทำชู้สู่สมกับสามีภรรยาของผู้อื่น และบุตรหญิงบุตรชายของผู้อื่นโดยทางที่ผิดจารีตประเพณี ถ้าเป็นพระเป็นเณร ก็ตั้งอกตั้งใจรักษาพรหมจรรย์ของตนให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสกาม วัตถุกาม
     ๔) สัจจะ คือความจริงใจ พูดแต่คำสัตย์คำจริง ไม่พูดโกหกให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ทำด้วยความจริงใจ คิดด้วยความจริงใจ เป็นสุจริตธรรม
     ๕) อัปปมาทธรรม เว้นจากสิ่งที่ให้โทษแก่ร่างกาย เช่น เว้นจากการสูบบุหรี่ กัญชา เฮโรอีน ดมกาว เหล่านี้เป็นต้น ตลอดถึงการเว้นจากการประพฤติชั่วโดยประการต่างๆ คือเราระวังใจของเรา ไม่ให้กำหนัด ไม่ให้ขัดเคือง ไม่ให้หลง ไม่ให้มัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง มัวเมา

เป็นผู้ไม่ประมาทในการละอกุศล บำเพ็ญกุศล เป็นผู้ไม่ประมาทในการละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ประมาทในการสร้างสมอบรมคุณงามความดี พยามสร้างสติของตนให้สมบูรณ์ ไม่ให้ตกไปอยู่ภายใต้ของความประมาท พยายามรักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตรสวดมนต์ เจริญภาวนา เป็นต้น อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นี้เรียกว่า เรามีธรรมะเป็นเครื่องแต่งกาย

สำหรับการพูดก็เหมือนกัน เราพูดแต่คำสัตย์คำจริง ชักนำให้คนทั้งหลายมีความสามัคคี ปรองดอง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน แตกร้าวสามัคคีกัน พูดแต่วาจาที่ไพเราะเสนาะหู ทำให้ผู้ฟังดูดดื่มไว้ในจิตในใจของตน ไม่พูดคำหยาบ อันเป็นคำที่ฟังแล้วไม่รื่นหู ทำให้ผู้ฟังนั้นเจ็บอกเจ็บใจ เราพูดแต่วาจาที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ไม่พูดวาจาที่ไร้สาระไร้ประโยชน์

เมื่อใดเราประพฤติตามธรรมดังกล่าวมาแล้วนี้เรียกว่าเป็นผู้มีธรรมะเป็นเครื่องแต่งกาย มีธรรมะเป็นธรรมาภรณ์ เป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกายของเราให้งามแล้ว เมื่อเรามีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวหรือเป็นเครื่องประพฤติปฏิบัติดังกล่าวมาแล้วนี้ ย่อมได้อานิสงส์ถึง ๕ ประการ ได้แก่
     ๑) นวัชชพหุโล จะเป็นผู้ไม่มากไปด้วยโทษ
     ๒) นเวรพหุโล จะเป็นผู้ไม่มากไปด้วยเวร
     ๓) กิตติสัทโท ชื่อเสียงอันดีงาม ย่อมฟุ้งขจรไปทั่วทิศานุทิศ
     ๔) อสัมมุฬโห จะไม่เป็นผู้หลงตาย คือเวลาตายจะมีสติสัมปชัญญะ สามารถระลึกถึงบุญกุศลของตนได้
     ๕) สุคติ เมื่อตายแล้ว ก็จะไปสู่สุคติตามบุญญาธิการที่ตนได้สั่งสมอบรมไว้

ผู้ใดที่เกิดมาแล้ว เป็นผู้ไม่มากไปด้วยโทษ เป็นผู้ไม่มากไปด้วยเวร ไปที่ไหนชื่อเสียงอันดีงาม ย่อมฟุ้งขจรไปในทิศานุทิศ เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ กายของผู้นั้นย่อมเป็นกายสงบ ซึ่งเรียกว่ากายวิเวก ผู้มีกายวิเวกชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมาภรณ์ประดับกาย ทำให้กายสวยสดงดงามไปด้วยธรรมะ เมื่อกายของเรางามแล้วอย่างนี้ ก็สามารถที่จะแต่งใจของเราได้ คือในลำดับต่อไปเราต้องแต่งใจของเรา

เราจะเอาอะไรมาแต่งใจของเรา ธรรมะที่เอามาแต่งใจหรือประดับใจให้ใจของเรางามนั้น ได้แก่ สมาธิ คือสมาธินี้เป็นธรรมาภรณ์เครื่องแต่งใจ เมื่อใดใจของเราเป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่ในองค์ธรรมอันเป็นอารมณ์ของสมถะและวิปัสสนาภาวนาแล้ว เมื่อนั้นก็สามารถข่มนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการลงได้

คำว่า นิวรณ์ธรรม แปลว่า ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณงามความดี คือกั้นจิตไว้ไม่ให้ถึงคุณงามความดี มีทาน ศีล ภาวนา มรรค ผล นิพพาน เป็นต้น หรือกั้นศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล พระนิพพานไว้ ไม่ให้เข้ามาถึงตัวเรา

เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติธรรม นิวรณ์นี้ก็จะกั้นจิตของเราไว้ ไม่ให้บรรลุฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ ไม่ให้บรรลุวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ไม่ให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น ไม่ให้บรรลุอริยมรรคอริยผล เพราะฉะนั้น ท่านจึงจัดว่า นิวรณ์ คือธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณงามความดี

นิวรณ์ นั้นมีอยู่ ๕ ประการ คือ
     ๑) กามฉันทะ พอใจรักใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา
     ๒) พยาบาท ความไม่พอใจในอารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ทำจิตใจของเรานี้ ให้เกิดโทมนัส ขัดใจ น้อยใจ แห้งผากใจ เกิดความคิดพยาบาท อาฆาต จองล้างจองผลาญผู้อื่น      ๓) ถีนมิทธะ ความที่จิตท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอนเซื่องซึม ไม่สามารถบำเพ็ญบุญกุศลได้ เวลาเจริญสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี ก็ไม่สามารถกำหนดบทพระกัมมัฏฐานให้กระฉับกระเฉงได้ จิตไม่สามารถที่จะจับอารมณ์ได้แม่นยำ
     ๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความที่จิตคิดฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไปตามอารมณ์ และหงุดหงิดรำคาญใจ จิตจับอารมณ์ไม่มั่นคง จับอารมณ์โน้นบ้าง จับอารมณ์นี้บ้าง คิดไปร้อยแปดพันประการ
     ๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของตน เช่น มีความสงสัยในเรื่องบุญ เรื่องบาป หรือสงสัยในเรื่องโลกนี้โลกหน้า สงสัยในเรื่องนรก สวรรค์ พระนิพพาน ว่ามีจริงหรือไม่ เป็นต้น

เมื่อใด เรามีนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้เป็นเครื่องกั้นจิตอยู่ เราก็ไม่สามารถที่จะบรรลุคุณงามความดี แต่เมื่อใดข่มนิวรณ์ธรรมนี้ลงได้ ด้วยการเจริญสมถภาวนา จนทำให้จิตของเราเป็นอัปปนาสมาธิ แน่วแน่อยู่ในองค์ฌาน เมื่อนั้น จิตของเราก็เป็นจิตวิเวก คือสงัดจิต จิตสงบจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการ เมื่อใดจิตสงบจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการแล้ว ก็เป็นจิตที่สว่าง สะอาด สงบเย็น

เหตุนั้น การที่เรามีสุจริตธรรมและสมาธิเป็นเครื่องแต่งกายแต่งใจอย่างนี้ท่าน จึงเรียกว่าเตรียมกายก่อนแต่ง
๓. เตรียมน้ำก่อนแล้ง  แยกเป็น ๒ ประการ คือ
     ๑) น้ำภายนอก ได้แก่ การที่เราเตรียมน้ำที่ใช้ในการงาน สมมุติว่าเราจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เราต้องเป็นผู้ที่ฉลาดว่า ขณะนี้มีน้ำมากเกินไป สมควรที่จะไขน้ำออก เราก็ไขน้ำออก หรือในขณะนี้น้ำน้อยเกินไป ควรที่จะทดน้ำไว้ เราก็ทดน้ำไว้ เมื่อไรที่ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ เป็นผู้ที่ฉลาด ก็ย่อมได้พืชพันธุ์ธัญญาหารตามความประสงค์
     ๒) น้ำภายใน แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
       ประเภทที่ ๑ น้ำใจ คือต้องเป็นผู้มีใจงาม เช่นว่าน้ำใจระหว่างเรากับมิตรอย่างนี้ เราทำอย่างไรจึงมีมิตรมีสหายมาก ไปที่ไหนจึงจะมีความสะดวกสบาย มีพรรคมีพวก ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องว้าเหว่ เราก็ต้องเป็นผู้หนักในปฏิสันถาร หมายความว่า เราต้องเอาใจใส่ในการต้อนรับญาติพี่น้อง แขกไปใครมา ด้วยอามิส หมาก พลู ข้าวน้ำ เป็นต้น ให้ได้รับความอบอุ่นในการไปมาหาสู่ การปฏิสันถารกันด้วยธรรมะ คือพูดแนะนำตักเตือนกัน ให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์ อย่างนี้เรียกว่าเราหนักในปฏิสันถาร เมื่อใดเราหนักในปฏิสันถารแล้ว ก็เรียกว่าเราเป็นผู้มีใจงาม

       ประเภทที่ ๒ น้ำคือบุญกุศล ก็แยกออกเป็น ๔ คือ
       ๑) กามาวจรบุญ คือบุญที่ทำแล้วพาให้ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ
       ๒) รูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาให้ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภพ
       ๓) อรูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาให้ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภพ
       ๔) โลกุตตระบุญ คือบุญที่ทำแล้วให้ถึงซึ่งมรรค ผล และพระนิพพาน

เพราะคนเรานั้น อาจจะได้รับความทุกข์ เป็นคนยากจนข้นแค้นอนาถา ถือกระเบื้องขอทานถือกะลาขอข้าว เกิดขึ้นมาแล้วแทนที่จะได้รับความสุขความเจริญ ก็ไม่ได้รับความสุขความเจริญ ดังเราทั้งหลายเห็นอยู่ทุกวันนี้

บางคนเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นคนมั่งมีศรีสุข เป็นพระราชา มหาราชา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็นเศรษฐีกุฎุมพีมีทรัพย์สมบัติมาก แต่บางคนเกิดขึ้นมาแล้วยากจนข้นแค้นอนาถา ถือกระเบื้องขอทานถือกะลาขอข้าว หากินฝืดเคือง บางคนเกิดขึ้นมาแล้ว มีทรวดทรงงาม มีผิวพรรณงาม มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย มีอายุยืนไม่ตายง่าย บางคนเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นคนง่อยเปลี้ยพิกลพิการต่างๆ เป็นต้น อันนี้ก็แสดงว่า เมื่อก่อนโน้นเขาเป็นคนประมาทไม่ได้บำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลไว้

เหตุนั้นแหละ การที่เราทั้งหลายพากันเวียนว่ายอยู่ในมหรรณพภพสงสารนี้ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีน้ำคือบุญกุศลนี้ไว้ให้เพียบพูนสมบูรณ์ เมื่อจุติแล้วจะได้ไม่ไปสู่ภพที่เป็นทุกข์ แต่น้ำภายในคือบุญกุศลดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็แล้งได้เหมือนกัน หมดได้เหมือนกัน เหตุนั้น ท่านจึงให้เตรียมน้ำก่อนแล้งนี้ หมายความว่า เมื่อใดเราบำเพ็ญบุญกุศลทั้ง ๔ ประเภทนั้น ให้สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา อย่าให้เสื่อมสิ้นไป เช่น
     ๑) กามาวจรบุญ อย่างนี้เราจะทำอย่างไร กามาวจรบุญจึงจะสมบูรณ์ เราก็พยายามบำเพ็ญกามาวจรบุญเหล่านั้นให้เต็มเปี่ยมขึ้นมาในขันธสันดาน แล้วก็พยายามรักษากามาวจรบุญนั้นให้คงอยู่ ให้เต็มอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับเรารักษาน้ำโดยที่เราต้องตักไว้ใส่ตุ่มให้เต็มอยู่ตลอดเวลา
     ๒) รูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาไปเกิดในรูปภพ
     ๓) อรูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาไปเกิดในอรูปภพ

บุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ยิ่งเสื่อมเร็ว ยิ่งแห้งเร็วยิ่งหมดเร็ว ที่ว่าเสื่อมเร็ว แห้งเร็ว หมดเร็ว ในที่นี้ สมมติว่าพวกเราทั้งหลายบำเพ็ญพระกัมมัฏฐานอยู่นี้ จนสามารถได้สมาธิ ได้ฌาน เมื่อเราได้สมาธิได้ฌานแล้วเราไม่รักษาไว้ไม่พยายามเข้าสมาธิ ไม่พยายามเข้าฌาน ไม่สังวร ไม่สำรวม ไม่ระวัง ปล่อยจิตปล่อยใจไปกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นไปตามอำนาจของอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์

เมื่อใดเราขาดความสำรวมระวัง ฌานของเราก็เสื่อม เมื่อก่อนโน้น เราสามารถเข้าสมาธิได้ ทั้งรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง เราสามารถเข้าได้ แต่เมื่อเราประมาทดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าฌานได้ เหตุนั้น เมื่อเราได้สมาธิ ได้ฌานแล้ว ก็พยายามรักษาฌานนั้นไว้ อย่าให้เสื่อม ก็เรียกว่าเตรียมน้ำก่อนแล้งเหมือนกัน

     ๔) โลกุตตระบุญ นี้ก็น้อยลงไปหมดลงไปได้เหมือนกัน สมมุติว่าเราได้สั่งสมอบรมบารมีมาแต่ภพก่อนชาติก่อน จนสามารถ(เพียงพอ)ที่จะทำให้บรรลุหรือสำเร็จเป็นพระอรหันต์(ในปัจจุบัน)ได้ แต่เราก็ไม่รีบบำเพ็ญเสียในขณะที่ยังหนุ่มยังแน่น ยังอยู่ในปฐมวัย ต่อเมื่อเราแก่แล้วจึงมาบำเพ็ญ แทนที่จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างมากก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะสำเร็จเลย  เพราะเหตุไร  เพราะเหตุว่า คนเฒ่าคนแก่สติไม่สมบูรณ์ สติฟั่นเฟือน กำหนดบทพระกัมมัฏฐานก็ไม่ได้โดยสมบูรณ์ เหตุนั้น บุญกุศลที่เราสั่งสมอบรมไว้ แม้สมควรจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ถึงคราวแก่มีอายุ ๗๐-๘๐ ปีแล้วจึงมาเจริญพระกัมมัฏฐาน จึงไม่สามารถที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ อย่างมากที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเท่านั้น หรือว่า ถ้าเราได้บำเพ็ญในขณะที่ยังเป็นหนุ่ม ยังเป็นวัยกลางคนอย่างนี้ ก็สามารถที่จะได้บรรลุเป็นอนาคามี ถ้าแก่ขึ้นไปหน่อยก็ให้สำเร็จเพียงสกทาคามี เมื่อแก่ถึงที่แล้วจึงจะมาบำเพ็ญ ก็ให้สำเร็จเพียงพระโสดาบันเท่านั้น หรือหากว่า แก่จนสติฟั่นเฟือนแล้วจึงจะมาบำเพ็ญ ก็ไม่สามารถที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลใดๆ ได้เลย

เหตุนั้น จึงสรุปได้ว่า บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นกามาวจรบุญก็ดี ที่เป็นรูปาวจรบุญก็ดี ที่เป็นอรูปาวจรบุญก็ดี ที่เป็นโลกุตตรบุญก็ดี มีโอกาสเสื่อมคุณภาพไปได้ หมดไปได้เหมือนกัน เหตุนั้น ก็ขอให้พยายามรักษาสมาธิหรือฌานที่ได้แล้ว หมั่นเจริญบ่อยๆ

เมื่อเราจุติจากอัตภาพนี้ไปแล้ว บุญกุศลเหล่านี้ก็จะเป็นยานแก้วนำเราไปสู่สุคติภพ ตามบุญญาธิการที่เราสั่งสมอบรมไว้ ก็การที่เราตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลไว้ให้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์อย่างนี้แหละ เรียกว่าเตรียมน้ำก่อนแล้ง ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
     อันบุญกรรม ทำไว้ ทีละน้อย
     แต่ทำบ่อย ค่อยเพิ่ม เติมกุศล
     เหมือนตุ่มน้ำ เปิดหงาย รับสายชล
     ย่อมเต็มล้น เหมือนอุทก ที่ตกลง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:53:18 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.84 Chrome 51.0.2704.84


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2559 16:40:14 »

การเตรียมตัว ๕ ประการ (ต่อ)


๔. เตรียมแบงก์ก่อนไป แยกออกเป็น ๒ ประเภท
     ๑) แบงก์คือทรัพย์ภายนอก
     ๒) แบงก์คือทรัพย์ภายใน

ทรัพย์ภายนอกนั้น สำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส เราก็ต้องเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์พอที่จะใช้จ่ายบำรุงตัวเองและครอบครัวได้ เราต้องเป็นผู้ไม่ประมาทในการแสวงหาทรัพย์สมบัติ เมื่อเรามีทรัพย์สมบัติแล้ว จะอยู่ที่บ้านหรือจะไปที่ไหนก็สบาย เมื่อเราทั้งหลายจะไปธุระต่างๆ ในตำบล อำเภอ จังหวัด หรือต่างประเทศอย่างนี้ เราต้องเตรียมเสบียงที่จำเป็น และขาดไม่ได้คือสตุ้งสตังค์ เราต้องเตรียมไป ถ้าไม่เตรียมไปแล้ว ก็ไม่มีใช้ ไม่มีของใช้ เราก็ได้รับความเดือดร้อนเท่านั้น ฉันใด

เราทั้งหลาย ที่ยังต้องเวียนว่ายไปในมหรรณพภพสงสารทั้งหลายทั้งปวงนั้น เราก็จำเป็นที่จะต้องเตรียมแบงก์คือทรัพย์ภายในเหมือนกัน ฉันนั้น ทรัพย์ภายในนั้น ได้แก่ อริยทรัพย์ ๗ ประการ

พวกเราทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาแล้ว หากว่าเราทั้งหลายยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่สิ้นภพสิ้นชาติ ไม่ใช่ว่าจุติแล้วก็จะแล้วไปเพียงแค่นี้ เรายังจะไปสู่ภพต่างๆ ไม่รู้ว่ากี่กัปกี่กัลป์ เช่นว่า เราอาจจะไปสู่กามภพบ้าง รูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง เมื่อเรายังมีทางที่จะไปสู่ภพต่างๆ อย่างนี้เราต้องเตรียมแบงก์คือบุญกุศลไว้ให้เพียบพูนสมบูรณ์เสียก่อน เราจึงไปสู่ภูมิต่างๆ ตามที่ต้องการได้

สำหรับแบงก์ที่เราจะต้องเตรียม ในการที่จะไปสู่ภพภูมิต่างๆ นั้น ก็ได้แก่ อริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ หรือว่า ทรัพย์ของท่านผู้ประเสริฐ เป็นทรัพย์ที่ไกลจากข้าศึก พระราชาหรือโจรจะมายึดมาเอาไปก็ไม่ได้ น้ำก็ไม่ท่วม ไฟก็ไม่ไหม้ เป็นอมตะทรัพย์ คือเป็นทรัพย์ที่ไม่ตาย เป็นทรัพย์ที่ติดตามตัวไปทุกฝีก้าว ฉายา อิว ดุจเงาติดตามตัว เราจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ก็ยังสามารถติดตามไปในภพที่ตนเกิด

เหตุนั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณเต็มเปี่ยมในสรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งเร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลสและกองทุกข์ พระองค์ได้ตรัสสอนให้พวกเราได้สร้างสมอบรมอริยทรัพย์ภายในนี้ไว้ให้มาก เพื่อจะได้มีไว้ใช้จ่ายในการเดินทางไปในวัฏสงสาร คือให้สร้างสมอบรมอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ไว้ให้มาก คือ
     ๑. ศรัทธา ได้แก่ ความเชื่อ คือเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บาปมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง มรรคผลพระนิพพานมีจริง แล้วก็ละชั่ว กระทำแต่คุณงามความดี
     ๒. ศีล ได้แก่ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย โดยเราแบ่งศีลออกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
        ๑) ปกติศีล ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ที่พวกเราพากันสมาทานรักษาอยู่ทุกวันนี้
        ๒) ปรมัตถศีล ได้แก่ ศีลที่มีรูปมีนามเป็นอารมณ์ เป็นศีลที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา
๓. หิริ คือความละอายบาป มีความขยะแขยง ไม่กล้าทำบาป เหมือนกับชายหนุ่มหญิงสาวที่แต่งตัวดีแล้ว ประดับประดาร่างกายดีแล้ว ย่อมมีความขยะแขยง ไม่กล้าที่จะไปลุยโคลนลุยตม ฉันใด ผู้มีหิริก็มีความละอาย มีความขยะแขยงในการก่อกรรมทำบาปเหมือนกัน ฉันนั้น
๔.โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป กลัวต่อผลของบาป ไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อุปมาเหมือนกันกับคนทั้งหลาย ที่กลัวต่ออสรพิษหรือสัตว์ร้ายต่างๆ มีหมี เสือ ช้างเป็นต้น ไม่กล้าเข้าไปในสถานที่ที่มีสัตว์ร้ายนั้น ฉันใด ผู้มีโอตตัปปะก็มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำบาป ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้งเหมือนกัน ฉันนั้น
๕.สุตะ ได้แก่ เป็นผู้ที่สดับตรับฟังมาก ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ทั้งในทางโลก ทั้งในทางธรรม
๖.จาคะ จาคะ ได้แก่ การบริจาค แบ่งเป็น ๒ ประการ
         ประการที่ ๑ บริจาคภายนอก ได้แก่ บริจาคปัจจัย ๔ คือเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคเป็นต้น
       ประการที่ ๒ บริจาคภายใน ได้แก่ การที่เราทั้งหลายเสียสละความโลภ ความตระหนี่ เสียสละราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน ให้หมดไปจากขันธสันดาน ตลอดถึงเสียสละอุปสรรค คือความขัดข้อง โกสัชชะคือความเกียจคร้านเป็นต้น ให้หมดไปจากขันธสันดานของเรา
๗.ปัญญา คือความรอบรู้ ทั้งทางโลก ทั้งทางธรรม รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ คือรอบรู้ว่าสิ่งใดที่เราประพฤติปฏิบัติแล้วจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ รอบรู้เหตุแห่งความทุกข์ ความเสื่อม และเหตุแห่งความสุข อย่างนี้เรียกว่า ปัญญา

อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นทรัพย์ที่สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่จำกัด ไม่เหมือนกับทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายนอกเป็นของที่ใช้ในวงจำกัด เช่นว่าทรัพย์ที่ใช้จ่ายในประเทศของเราทุกวันนี้ เช่น ธนบัตรใบละ ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาทก็ดี ก็ใช้จ่ายได้เฉพาะในประเทศของเราเท่านั้น หากว่าเราจะนำไปใช้ในประเทศอื่น ก็ต้องแลกต้องเปลี่ยนจึงจะนำไปใช้ได้ แต่สำหรับอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ เราใช้ได้ตลอดไป เราจะนำไปใช้ในที่ไหนก็ได้ไม่ต้องแลกต้องเปลี่ยน เหตุนั้น อริยทรัพย์นี้ จึงเป็นของใช้ได้ทั่วไป ไม่จำกัด อนึ่ง อริยทรัพย์เป็นของที่ใช้ไม่หมด คือยิ่งใช้เท่าไหร่ก็ยิ่งได้กำไรมาก

ดังที่มีท่านครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาวแม่ชี และญาติโยม มาทั่วประเทศ ตลอดถึงต่างประเทศก็มี ซึ่งมารับเอาจากหลวงพ่อไป ยิ่งหลวงพ่อให้ไปมากเท่าไหร่ หลวงพ่อก็ยิ่งได้มาก ได้กำไรมาก เหตุนั้น อริยทรัพย์นี้จึงใช้ไม่หมด ไม่เหมือนกันกับทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายนอก สมมติว่าเรามีเงินสัก ๒๐ ล้าน เราก็สามารถใช้ให้หมดไปได้ แต่ว่าอริยทรัพย์ภายในนี้ ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด

อริยทรัพย์นี้เป็นอสาธารณะ คือเป็นสมบัติส่วนตัว ใครสร้างสมอบรมไว้ ก็เป็นสมบัติของผู้นั้น โจรจะมาลักเอาก็ไม่ได้ ไฟก็ไม่ไหม้ น้ำก็ไม่ท่วม เป็นของติดตามตัวไปได้ทุกฝีก้าวดุจเงาติดตามตัว ตายไปแล้ว ไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ยังสามารถติดตามตัวไปในภพที่เราเกิด แล้วก็เป็นทรัพย์ที่สามารถให้สำเร็จสมประสงค์ทุกอย่าง เทวดาและมนุษย์ปรารถนาสิ่งใดๆ สามารถได้สิ่งนั้นๆ สมความมุ่งมาดปรารถนาทุกอย่าง ก็เพราะอาศัยอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้

ผู้ใดประพฤติอยู่ในอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ หรืออริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้มีแก่บุคคลใด มีในขันธสันดานของผู้ใดพอสมควร คือแม้มีไม่มาก บุคคลผู้นั้นก็สามารถที่จะได้รับความสุขความเจริญในขณะที่เรายังเป็นมนุษย์อยู่ เมื่อจุติจากอัตภาพนี้ไปแล้ว ก็จะไปบังเกิดเป็นมนุษย์ และอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ ก็สามารถที่จะนำไปใช้ในภพที่เราเป็นมนุษย์อีกต่อไป

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติในอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ให้สูงขึ้นไป เมื่อจุติจากอัตภาพนี้ไปแล้ว ก็สามารถไปเกิดในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ตามกำลังของอริยทรัพย์นั้น

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติในอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการให้สูงขึ้นไปอีก เช่นเราเจริญสมถกัมมัฏฐานในส่วนที่เป็นรูปกัมมัฏฐาน บริกรรมจนได้สำเร็จฌาน ก็สามารถไปเกิดในรูปพรหม ๑๖ ชั้น ตามกำลังของฌาน ถ้าเราเจริญให้สูงขึ้นไปกว่านั้น โดยเอาอรูปกัมมัฏฐานมาบริกรรมจนได้สำเร็จอรูปฌาน เมื่อจุติจากอัตภาพนี้ไปแล้ว ก็สามารถไปบังเกิดในอรูปภพ อรูปพรหม ตามกำลังของฌาน

ถ้าหากว่าเราบำเพ็ญให้สูงๆ ขึ้นไป โดยการที่มาเจริญวิปัสสนาภาวนา เหมือนดังพระสงฆ์ สามเณร ปะขาว แม่ชี และเราทั้งหลายเจริญกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ จนได้บรรลุถึงอริยมรรคอริยผล ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานของตนแล้ว ก็ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ สามารถที่จะนำไปใช้ให้ถึงพระนิพพานได้ หมายความว่า ทำให้กลายเป็นโลกุตตระสมบัติได้

ดังตัวอย่างเรื่องของ นายสุปปพุทธกุฏฐิ ถึงจะเป็นคนยากจนข้นแค้นอนาถา หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยการขอทาน มิหนำซ้ำ เป็นโรคเรื้อนในกาย วันหนึ่ง ได้ไปฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งอยู่ที่ไกลๆ โน้น ไม่กล้าเข้ามาใกล้ กลัวคนอื่นเขาจะรังเกียจ เมื่อฟังไปๆ ก็ส่งจิตส่งใจไปตามพระธรรมเทศนา ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

เมื่อได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็อยากจะเข้าไปกราบทูลคุณสมบัติที่ตนได้นั้นในสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่กล้าจะเข้าไป กลัวคนอื่นเขาจะรังเกียจ ในขณะนั้น พระอินทร์ทราบก่อนแล้ว ก็แปลงร่างมาทดลองว่าผู้นี้เขามีจิตใจถึงธรรมจริงหรือ

เมื่อมาแล้วก็บอกว่า ดูก่อนสุปปพุทธกุฏฐิ จนๆ อย่างท่าน ไหนลองพูดซิว่า พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ อย่าเลยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่ของเรา ว่าซิ ถ้าท่านว่าได้ ฉันจะให้ทรัพย์สมบัติท่าน อยากได้เท่าไหร่ ฉันก็จะให้ถ้าท่านว่าได้

     สุปปพุทธกุฏฐิก็ตอบว่า เอ๊ นี่ท่านเป็นใครมาจากไหน
     ฉันเป็นพระอินทร์มาจากเทวโลก
     ไปๆ เทวดาขี้ชั่ว เทวดาอันธพาล อย่ามาพูดกับข้าพเจ้า ว่าข้าพเจ้าเป็นคนจน ข้าพเจ้าไม่จน ส่วนท่านเสียอีกที่เป็นคนจน

พระอินทร์หายวับไป เข้าไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า นิสัยของคนถึงธรรมนี้ ถึงจะจนแสนจน เราจะให้เงินสักเท่าไหร่ก็ไม่เอา เพียงแต่ให้กล่าวว่าพระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ อย่าเลยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่ของเรา เพียงแต่ให้ว่าเท่านี้ ก็ไม่เอา พระพุทธเจ้าข้า

พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ลูกของอาตมภาพไม่จน จนก็แต่ทรัพย์ภายนอกเท่านั้น ส่วนทรัพย์ภายในนั้นไม่จน [๒]
     ยสฺส เอตา ธนา อตฺถิ  อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ มีในผู้ใด จะเป็นผู้หญิงก็ตามผู้ชายก็ตาม
     อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์เลย เป็นคนที่ร่ำรวยที่สุด คือร่ำรวยทรัพย์ภายใน เหตุนั้น อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการ จึงเป็นข้อปฏิบัติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

เหตุนั้น ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เราทั้งหลายพากันมาประพฤติปฏิบัติอยู่กันทุกเมื่อเชื่อวันนี้ หากผู้ใดเพียบพูนสมบูรณ์ไปด้วยอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการดังกล่าวมานี้เรียกว่า เตรียมแบงก์ก่อนไป คือเราเตรียมสร้างสมอบรมอริยทรัพย์ให้สมบูรณ์ในขันธสันดานของเรา เพื่อจะได้นำไปใช้ในวัฏสงสารต่อไป จนกว่าเราจะถึงฝั่ง คือพระอมตมหานฤพาน

แต่ถ้าท่านผู้ใดไม่ประมาท สามารถสั่งสมอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ให้สมบูรณ์ในขันธสันดาน ท่านทั้งหลายก็สามารถที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและพระอรหันต์ ถึงฝั่งคือพระอมตมหานฤพาน ในภพชาตินี้ จุติแล้วก็ไม่เวียนว่ายตายเกิดในมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป ก็เข้าสู่พระนิพพาน พ้นจากชาติกันดาร ชรากันดาร พยาธิกันดาร มรณกันดาร

เหตุนั้น ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ที่เราทั้งหลายได้โอกาสมาประพฤติปฏิบัติธรรมในขณะนี้ ก็ถือว่าเรามีบุญล้นฟ้าล้นดิน ที่มีโอกาสสั่งสมอบรมอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท พยายามสั่งสมอบรมอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ ให้สมบูรณ์ในขันธสันดาน เมื่อใดเราสั่งสมให้สมบูรณ์แล้ว ก็อาจจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภพนี้ชาตินี้

เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็เป็นอันว่าเราพ้นแล้วจากสังสารวัฏ เราสามารถหักกงกรรมของสังสารวัฏได้สิ้นแล้ว สามารถตัดตัณหาอันเป็นตัวก่อภพก่อชาติได้แล้ว เราจะไม่เวียนว่ายตายเกิดในมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป

๕. เตรียมใจก่อนสู้ ชีวิตนี้เต็มไปด้วยการต่อสู้ ชีวิตนี้เต็มไปด้วยการต่อสู้ คือ
     ๑) ต่อสู้กับความลำบาก ในเวลาประกอบการงาน เช่น เราทำนา ทำสวน ทำไร่อย่างนี้ ชีวิตคือความเป็นอยู่เต็มไปด้วยความลำบาก ต้องตรากตรำแดด ตรากตรำฝนหนาวร้อนก็ต้องสู้ทน การงานของเราจึงจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
     ๒) ต่อสู้กับทุกขเวทนา เช่น เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของเรานี้ ไม่ใช่ว่าเป็นของธรรมดา บางทีเหมือนกับว่าทุกขเวทนานี้จะปลิดชีวิตของเราไป บางทีต้องร้องครวญครางเพราะอำนาจของทุกขเวทนาเข้าครอบงำ จนขาดสติขาดสัมปชัญญะไปก็มี

บางที เป็นพระเจ้าพระสงฆ์ เป็นสามเณร เป็นแม่ชี เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมายังพากันร้องครวญครางเป็นที่อับอายขายหน้า อย่าลืมนะท่านทั้งหลาย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมานี้ถ้าว่าชาวบ้านเขาพากันร้องครวญครางเพราะอำนาจทุกขเวทนานั้น ก็ค่อยยังชั่ว ยังพอมองดูได้  แต่ถ้าเป็นพวกนักบวชเป็นพระ เป็นเณร เป็นปะขาว แม่ชี เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมา ร้องครวญครางนั้น เป็นที่อับอายขายหน้ายิ่งนัก อับอายขายหน้าญาติโยมชาวบ้าน อับอายขายหน้าทวยเทพนิกรเจ้าทั้งหลาย ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส เพราะว่าผู้ที่เป็นนักบวช ผู้บำเพ็ญเพียรนี้ ต้องเป็นผู้มีอธิวาสนขันติ ความอดกลั้นอย่างแรงกล้า อะไรๆ เกิดขึ้นมาแล้ว ต้องเป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่น ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ยอมสู้ตาย เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ไม่ทำอะไรให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน เรื่องนี้ในอดีตกาลมีมาแล้ว

มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ตั้งตัวเป็นคณาจารย์ เป็นอาจารย์ใหญ่ สอนวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ลูกศิษย์ทั้งหลาย แต่วันหนึ่ง ขณะที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา พระอาจารย์องค์นั้นก็ร้องครวญครางด้วยอำนาจของทุกขเวทนา ในขณะนั้นมีพระราชาองค์หนึ่ง ซึ่งทรงมีปสาทะศรัธาอย่างแรงกล้า เพราะทราบถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์องค์นี้ ว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้บรรลุธรรมเบื้องสูงแล้ว ก็มีพระราชหฤทัยเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยข้าราชบริวารทั้งหลาย มากราบนมัสการพระเถระรูปนั้น

แต่เมื่อมา ยังไม่ถึงเลย เพียงแต่เข้ามาภายในวัดได้ยินเสียงร้องครวญครางของพระภิกษุผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ จึงตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า นี้เป็นเสียงของใคร ใครร้องครวญคราง เพราะเหตุไร พระสงฆ์ทั้งหลายจึงถวายพระพรให้ทรงทราบ พระราชาจึงตรัสว่า ที่ไหนว่าตนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานแล้ว มีทุกขเวทนาเพียงแค่นี้ ยังจะมาร้องครวญครางอยู่อีกหรือ ข้าพเจ้าตั้งใจจะมานมัสการท่าน บัดนี้ ข้าพเจ้าขอลาก่อนละ

นี่แหละท่านทั้งหลาย การที่นักบวชของเรานี้ เมื่อความเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นมาแล้ว ยังมาร้องครวญครางเพราะทุกขเวทนาอยู่นั้น ทำให้ต้องอับอายขายหน้า ให้ผู้อื่นหมดศรัทธาปสาทะความเชื่อความเลื่อมใส ยิ่งมีผู้ใดผู้หนึ่งล้มหายตายไป เช่น พ่อแม่ตายจากไป หรือว่าลูกๆ หลานๆ พี่น้องตายจากไป อย่างนี้เรามาร้องห่มร้องไห้ ยิ่งเป็นสิ่งที่น่าอับอายขายหน้ายิ่งนัก เหตุนั้น ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมต้องเตรียมใจก่อนสู้ คือต้องสู้กับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นครอบงำขันธสันดานของตนให้ได้

   ๓) ต่อสู้กับการล่วงเกินของผู้อื่น เราทั้งหลายที่อยู่ร่วมกัน ไม่ใช่ว่าเราทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติอะไรๆ ถูกจิตถูกใจกันไปทั้งหมดนั้นหามิได้ เราต้องมีการล่วงเกินกันบ้าง บางครั้งบางคราวล่วงเกินทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องมีอธิวาสนขันติความอดกลั้นอย่างแรงกล้า ไม่ทำการโต้ตอบผู้ที่ล่วงเกินตน เขาจะทำอย่างไร เราก็ต้องอดกลั้นได้ ไม่ทำการล่วงเกินซึ่งเป็นการตอบโต้ ทำเหมือนกับว่าไม่มีอะไรๆ เกิดขึ้นแก่ตัวเราเลยดังตัวอย่างพระสารีบุตร

ท่านพระสารีบุตรนี้ มีกิตติศัพท์ว่าเป็นผู้มีความอดกลั้นอย่างแรงกล้า จนเป็นที่สรรเสริญเยินยอของบรรดาพระสงฆ์ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายว่าพระคุณเจ้าของเรานี้เป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก ไม่มีความโกรธเลย อะไรๆ ก็ไม่โกรธ

วันนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่ง คิดขึ้นมาว่าพระสารีบุตรนี้เป็นผู้ไม่โกรธจริงหรือ อดทนต่อความโกรธได้จริงหรือ เป็นผู้ดับความโกรธได้จริงหรือ คิดอยากจะทดลองดู เมื่อเห็นพระสารีบุตรเดินไปบิณฑบาต พราหมณ์คนนั้นก็เดินไปข้างหลัง พอไปถึงก็เอากำปั้นทุบหลังท่าน แต่ท่านพระสารีบุตรไม่สะทกสะท้าน ไม่หันกลับมามองดูเลย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเดินบิณฑบาตไปเรื่อยๆ ตามธรรมดาของตน ผลสุดท้ายพราหมณ์คนนั้นก็เกิดความเดือดร้อนอย่างแรงต้องขอขมาโทษ

นี้แลท่านทั้งหลาย การที่อดทนได้ ไม่ทำการโต้ตอบผู้ที่ล่วงเกินตน เรียกว่า เตรียมใจก่อนสู้ ประการหนึ่ง

     ๔) ต่อสู้กับอำนาจของกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น  เราทั้งหลายที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ส่วนมากตกอยู่ภายใต้อำนาจกิเลส ตกอยู่ในอำนาจของความโลภ ต้องลักต้องขโมย หาเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตนในทางที่ไม่ชอบธรรม บางครั้งก็ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ ต้องด่า ต้องฆ่า ต้องเฆี่ยนต้องตี ต้องประหัตประหาร ต้องผูกพยาบาท ต้องอาฆาตจองล้างจองผลาญกัน

บางครั้ง ก็ต้องอยู่ใต้อำนาจของโมหะ ทำอะไรๆ ก็ทำไปตามอำนาจของโมหะ ไม่รู้จักผิดชอบ ชั่วดี บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ จะทำมาค้าขายก็ค้าขายด้วยการโกง มีการโกงตาชั่งเป็นต้น บางครั้งเราก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของราคะ ประพฤติปฏิบัติไปตามอำนาจของราคะ มีการข่มขืนชำเรา เป็นต้น บางครั้งก็ตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา คือความทะยานอยากอย่างแรงกล้า บางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอุปาทาน เหตุนั้น เมื่อกิเลสมีโลภะ โทสะ โมหะ ราคะ ตัณหา อุปาทานเกิดขึ้น เราต้องไม่ทำอะไรไปตามอำนาจกิเลสตัณหานั้น เราอดได้ทนได้ จึงเรียกว่า เราเตรียมใจก่อนสู้

เมื่อชีวิตคือความหวัง ชีวิตคือการต่อสู้อย่างนี้ ทำอย่างไรเราจึงจะมีกำลังใจในการต่อสู้ เราต้องมีคุณธรรมเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ต้องมีคุณธรรมประจำใจ เพราะว่าเราขาดคุณธรรมประจำใจแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้

สำหรับคุณธรรมประจำใจ ที่ทำให้จิตใจของเรากล้าหาญนั้น เรียกว่า เวสารัชชกรณธรรม คือธรรมอันทำใจให้กล้าหาญ มีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑.สัทธา (ศรัทธา) ความเชื่อมี ๔ อย่าง คือ
        ๑) กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
     ๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าผลที่ได้รับ มีความสุขความเจริญ ความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าผลของความดีความชั่วที่เราทำไว้
     ๓) กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อที่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตัว คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่เหมือนกัน บางคนก็ยากจนข้นแค้นอนาถา บางคนก็มั่งมีศรีสุข บางคนมีรูปงาม มีทรวดทรงงาม มีผิวพรรณงามมีจิตใจสมบูรณ์ มีปัญญาดี มีไหวพริบดี มีความฉลาดดี บางคนก็เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา คนทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดมา ไม่เหมือนกันเช่นนี้ เพราะกรรมจำแนกให้เป็นไปต่างกัน ดังวจนะประพันธ์พุทธภาษิตว่า
กมฺมํ สตฺเต วิภชติ  ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย กรรมแล ย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้เป็นไปต่างๆ กัน คือให้เลวและประณีต (ม. อุ. ๑๔/๕๙๖/๓๘๕)
     ๔) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า คือเราเชื่อว่าพระองค์นั้น เป็นพระสยัมภูผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์ พระองค์ทรงสอนธรรมะที่ทำผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น ให้ได้ผลตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ
๒.ศีล คือความรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓.พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ที่ศึกษามามากได้สดับตรับฟังมามาก เมื่อศึกษามาก ความรู้มาก ก็ทำให้จิตใจกล้าหาญ
๔.วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร หมายความว่า เราจะทำการงานอะไรก็ตาม เราก็แข็งใจทำจนสามารถทำงานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เช่น เราจะทำไร่ทำนา เราจะท่องหนังสือ อ่านหนังสือ ดูหนังสือ เราจะเจริญสมถกัมมัฏฐานก็ตาม วิปัสสนากัมมัฏฐานก็ตาม เราต้องแข็งใจทำ ถ้าไม่แข็งใจทำแล้ว ใจของเราก็จะเป็นจิตใจที่อ่อนแอ ไม่มีสมรรถภาพ ไม่มีความเข้มแข็ง แต่เมื่อใดเราประกอบด้วยวิริยารัมภะคือปรารภความเพียร ในการประพฤติปฏิบัติธรรม โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ตายเป็นตาย แข็งใจทำ ก็ทำให้จิตใจของเรามีกำลัง มีอำนาจ มีความกล้าหาญขึ้นมา
๕.ปัญญา คือรอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และรอบรู้สิ่งที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ความเสื่อม

เมื่อใด บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ประกอบไปด้วยศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ และปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในอิทธิบาท ๔ คือมีฉันทะพอใจในการปฏิบัติ มีวิริยะแข็งใจในการปฏิบัติ มีจิตตะตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติ มีวิมังสาฉลาดในการปฏิบัติแล้ว เมื่อนั้น จิตใจของเราย่อมเป็นจิตใจที่เข้มแข็ง เป็นจิตที่กล้าหาญ เป็นจิตที่มีกำลัง สามารถที่จะต่อสู้กับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นได้โดยสะดวกสบาย คือสามารถที่จะต่อสู้กับการงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยความลำบากตรากตรำ มีตรากตรำแดดฝนเป็นต้น และสามารถที่จะอดทนต่อทุกขเวทนา อดทนต่อการล่วงเกินของผู้อื่น อดทนต่อกิเลสตัณหาได้ มีจิตใจเข้มแข็ง เรียกว่า เราเตรียมใจก่อนสู้ เป็นประการที่ ๕

สรุปว่า เมื่อเราทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตามธรรมะดังกล่าวมาแล้ว ทั้ง ๕ ประการ คือ ๑) เตรียมตัวก่อนตาย ๒) เตรียมกายก่อนแต่ง ๓) เตรียมน้ำก่อนแล้ง ๔) เตรียมแบงก์ก่อนไป ๕) เตรียมใจก่อนสู้ ทั้ง ๕ ประการนี้แล้วเรียกว่าเราทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์

ต่อไป ก็ขอเตือนสติท่านนักปฏิบัติทั้งหลายว่า พระนิพพานนั้นไม่เหมือนกันกับที่เราคิดไว้ เราคิดไว้ว่าพระนิพพานจะเป็นอย่างโน้น พระนิพพานจะเป็นอย่างนี้ เปล่าเลย ไม่เหมือนกันกับที่เราคิดไว้ ฟ้ากับดินถึงแม้จะไกลแสนไกลกัน เราก็ยังมองเห็นได้ แต่สำหรับพระนิพพานนั้น แม้ว่าจะมีอยู่ภายในกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ ก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นได้

เหตุนั้น พระนิพพานนี้ จึงไม่เหมือนกันกับที่เราคิดไว้ เราจะเอาความรู้ขั้นปริยัติมาพิสูจน์ธรรมะขั้นปฏิบัตินั้นไม่ได้ คือเราจะมาพิสูจน์ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร การบรรลุอริยมรรคอริยผลเป็นอย่างไร การบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ เป็นอย่างไร เราพิสูจน์ไม่ได้ เราจะพิสูจน์อย่างไรๆ ก็ไม่ได้

เรามีความรู้ขั้นปริญญาตรี-โท-เอก จะเอาความรู้ขั้นปริญญานี้มาพิสูจน์ก็ไม่ได้ หรือว่าเราเรียนจบนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก เรียนจบพระอภิธรรม จบเปรียญ ๙ จบพระไตรปิฎกก็ตาม เราจะเอาความรู้ด้านปริยัติมาพิสูจน์ขั้นปฏิบัตินั้นไม่ได้ หากว่าท่านทั้งหลายอยากรู้จริงๆ แล้ว ก็ให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามหลักวิชาการที่ครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอนหรือชี้แจงให้ฟังทุกเมื่อเชื่อวัน ให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามหลักวิชาการนั้น เมื่อใดท่านทั้งหลายตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักวิชาการดังกล่าวมาแล้ว เราก็สามารถที่จะรู้ได้

ดังมีอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งมาประพฤติปฏิบัติ ท่านเรียนจบขั้นปริญญา ก็เอาความรู้ขั้นปริญญามาพิสูจน์อย่างโน้นอย่างนี้ พิสูจน์อย่างไรๆ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จนหลวงพ่อได้เตือนว่า คุณๆ จะเอาความรู้ขั้นปริยัติมาพิสูจน์ขั้นปฏิบัตินั้นไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ หากว่าคุณอยากรู้จริงๆ แล้วก็ขอให้ปฏิบัติตามหลักวิชาการที่ครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอนทุกวันๆ นี้เถอะ ไม่ช้าไม่นานหรอก เราก็จะสามารถรู้ได้เห็นได้ แกก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตาม ผลสุดท้ายก็หายจากความข้องใจสงสัย

เอาละท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้บรรยายธรรมะ เรื่อง เตรียมตัว ๕ ประการ มา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

     เมื่อชำระร่างกาย อย่าลืมชำระล้างใจ
     เมื่อให้อาหารทางกาย อย่าลืมให้อาหารทางใจ
     เมื่อศึกษาทางร่างกาย อย่าลืมศึกษาทางจิตใจ
     เมื่อทำสิ่งต่างๆ ภายนอก อย่าลืมทำความรู้สึกตัวภายใน.
    [๑] สํ.ส. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖
     [๒](๒๓/๖/๔-๗ ธมฺมปทฏฺฐกถา ตติโย ภาโค หน้า ๑๒๙)



ลพ.บุญเรือง สารโท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:53:41 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2559 15:34:36 »



ความมุ่งหมายของการฟังธรรม

วันนี้ หลวงพ่อจะนำเรื่อง ความมุ่งหมายของการฟังธรรม มาบรรยายประกอบการปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป

ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จำเป็นหรือที่พวกเราทั้งหลายจะต้องฟังธรรมะประกอบการปฏิบัติทุกๆ วัน บางท่านก็เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าการฟังธรรมะนั้น อาจจะเป็นอุปาทาน ทำให้ติดในทางปริยัติมากเกินไป ทำให้การปฏิบัตินี้ลดหย่อนผ่อนลงไปเช่นนี้ก็มี

แต่บางท่านก็เห็นว่า ควรที่จะฟังทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ได้ฟังธรรม วันนั้นจะรู้สึกว่าหมดกำลังใจ หรือทำให้การปฏิบัตินี้กร่อยลงไป ไม่กระฉับกระเฉง อาจจะคิดอย่างนี้ก็มี

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีทั้งดีและไม่ดีรวมกัน คือการฟังทุกวัน ถ้าเราฟังให้เป็นก็เกิดประโยชน์เหมือนกัน ถ้าเราฟังไม่เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าไม่มีการฟังการบรรยายธรรมะเลย แต่เราตั้งอกตั้งใจรู้หลักการรู้วิธีการ ได้ศึกษาปริยัติมามากพอสมควร ทำให้การปฏิบัติของเรานี้ได้ผลเหมือนกัน ขอทำความเข้าใจเพียงเท่านี้

สำหรับความมุ่งหมายของการฟังธรรมนั้น มีอยู่หลายสิ่งหลายประการ แต่จะนำมาบรรยายประกอบการปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายในวันนี้ เพียง ๔ ประการ คือ ๑.ฟังเพื่อเอาความรู้ ๒.ฟังเพื่อเอาบุญ ๓.ฟังเพื่อเป็นอุปนิสัย ๔.ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติ มีอธิบายดังนี้

๑.ฟังเพื่อเอาความรู้ คือการฟังนี้ทำให้เกิดความรู้เกิดความฉลาดขึ้นมา ความรู้จะเกิดขึ้นแก่เรานั้นมีอยู่ ๓ ทางคือ
     ๑) สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฟัง เรียกว่า สุตาญาณ คือความรู้ที่เกิดขึ้นทางหู เราได้ยินทางหู เมื่อได้ยินได้ฟังก็เกิดความรู้ขึ้นมา เกิดความจำได้ขึ้นมา ความรู้ขั้นนี้ ยังอยู่ในขั้นสัญญา คือเป็นแต่เพียงจำได้
     ๒) จินตมยปัญญา ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการคิด คือเราฟังแล้วนำมาคิดอีกทอดหนึ่ง สมมติว่าเราได้ยินท่านเทศน์ว่า รูปนามขันธ์ ๕ นี้เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงต้องดับไป เป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไป เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ต้องดับไป

เราฟังแล้ว ก็นำมาคิดต่ออีกว่า รูปนามนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จริงหรือ เราคิดไปๆ ก็เกิดความรู้ขึ้นมา ความรู้อย่างนี้เรียกว่า จินตมยปัญญา หรือจินตาญาณ

ความรู้ขั้นนี้ เป็นความรู้ที่กระตุ้นเตือนจิตของเราให้มีอุตสาหะในการที่จะประพฤติปฏิบัติต่อไป เช่น เราได้ฟังธรรมว่า ถ้าหากว่าผู้ใดเป็นผู้มีความโกรธเป็นเรือนใจ หรือว่าเป็นผู้มากไปด้วยความโกรธ อยู่ในโลกนี้ก็ตกนรกแล้ว ถ้าตายจากโลกนี้ไปก็ไปตกนรกอีก เพราะว่า นรก แปลว่าผู้มีความร้อนใจเหมือนไฟเผา ถ้าผู้ใดมีความร้อนใจเหมือนไฟเผา หรือว่ามีความร้อนใจด้วยอำนาจของโทสะ อยู่ในมนุษย์นี้ก็ตกนรกแล้ว ตายแล้วก็ไปตกนรกจริงๆ

ผู้ใดมีความโลภประจำขันธสันดาน เป็นผู้มากไปด้วยโลภะคือความโลภ ไม่รู้จักพอ อยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตนในทางทุจริต ผู้มีจิตคิดเช่นนี้ อยู่ในโลกนี้ก็เป็นเปรตแล้ว ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นเปรต

ถ้าผู้ใดมีความกลัว หมายความว่า มีความโลภแล้วยังไม่พอ ก็เกิดความกลัวขึ้นมา เช่นว่า เราไปโกหกพกลม ต้มตุ๋นเขาไม่สำเร็จ กลัวจะประพฤติทุจริตไม่สำเร็จ กลัวขโมยของเขาไม่สำเร็จ หรือทำอะไรในทางทุจริตมาแล้ว ก็กลัวว่าจะถูกปรับไหมใส่โทษ จองจำพันธนาการติดคุกติดตะราง ผู้ที่มีความกลัวเป็นเรือนใจอย่างนี้ หรือฝังอยู่ในจิตใจเช่นนี้ อยู่ในโลกนี้ก็เป็นอสุรกายแล้ว ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย

ถ้าผู้ใดมีใจมากไปด้วยโมหะ มืดมนอนธการ ไม่รู้จักผิดชอบ ชั่วดี บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักประโยชน์โลกนี้ ไม่รู้จักประโยชน์โลกหน้า ไม่รู้จักประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน ลืมคุณท่านผู้มีพระคุณ ไม่รู้จักคุณพ่อคุณแม่เป็นต้น ผู้มีจิตประกอบไปด้วยโมหะเช่นนี้ อยู่ในโลกนี้ก็เป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว ใจเกิดในภูมิของสัตว์เดรัจฉานแล้ว เมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้วไป ก็ไปบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ฟังเช่นนี้แล้วก็นำมาคิดอีกทอดหนึ่ง เมื่อมาคิดไปๆ ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่าเป็นจริง ตามที่ท่านเทศน์จริงๆ เกิดความรู้ขึ้นมาเช่นนี้ ฉุกคิดขึ้นมาเช่นนี้ ความรู้ขั้นนี้แหละเป็นแรงกระตุ้นเตือนใจของเรา ให้เรานั้นมีความอุตสาหะในการที่จะประพฤติปฏิบัติ มีความอุตสาหะที่จะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้หมดไปจากขันธสันดานของเรา นี้เรียกว่า จินตมยปัญญา

     ๓) ภาวนามยปัญญา หรือภาวนาญาณ เป็นความรู้ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อเราเจริญวิปัสสนา มีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร พร้อมด้วยองค์คุณทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว ก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาถึง ๑๖ ประการคือ
        (๑) นามรูปปริเฉทญาณ ปัญญาที่พิจารณาแยกรูปแยกนามออกจากกันได้
        (๒) ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นเหตุเห็นปัจจัยของรูปนาม
        (๓) สัมมสนญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยจินตาญาณ
        (๔) อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
        (๕) ภังคญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม
        (๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว
        (๗) อาทีนวญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม
        (๘) นิพพิทาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนามแล้วเกิดความเบื่อหน่าย
        (๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้นไปจากรูปนาม
        (๑๐) ปฏิสังขาญาณ ปัญญาที่พิจารณาหาทางหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม จิตใจเข้มแข้ง ตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ยอมสู้ตาย มุ่งหวังจะเอามรรคผลพระนิพพานให้ได้
        (๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่วางเฉยต่อรูปนาม
        (๑๒) สัจจานุโลมิกญาณ ปัญญาที่พิจารณาเห็นอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เตรียมตัวเข้าสู่มรรคผลพระนิพพาน โดยอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
        (๑๓) โคตรภูญาณ ปัญญาที่ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า คือพระโสดาบัน หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
        (๑๔) มัคคญาณ ปัญญาที่ตัดกิเลสขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
        (๑๕) ผลญาณ ปัญญาที่สืบเนื่องมาจากมรรค เสวยผลกำไรที่มรรคปหานกิเลสไว้แล้ว
        (๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาพิจารณามรรค ผล พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และยังเหลืออยู่

ปัญญาทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ จะเกิดเฉพาะผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนาเท่านั้น เมื่อใดเราเจริญวิปัสสนาภาวนา ทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ก็จะเกิดปัญญาทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ขึ้นมาทันที เมื่อปัญญาทั้ง ๑๖ ขั้นเกิดขึ้นมาครั้งที่หนึ่ง เราก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ดังตัวอย่างพระสารีบุตร

ท่านพระสารีบุตร เมื่อครั้งยังเป็นอุปติสสะมาณพ ไปพบกับพระอัสสชิ เห็นอิริยาบถของพระอัสสชิเรียบร้อยน่าเลื่อมใส ใคร่จะถามถึงครูอาจารย์ที่เป็นผู้สอน แต่ไม่กล้าที่จะถามในขณะที่ท่านกำลังเดินเที่ยวภิกขาจารอยู่

เมื่อท่าน (พระเถระ) กลับ จึงเดินสะกดรอยตามไป หลังจาก (พระเถระ) เสร็จจากฉันบิณฑบาตแล้ว ท่านอุปติสสะหรือพระสารีบุตรนี้ก็เข้าไปถามว่า ท่านขอรับ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ท่านบวชจำเพาะใคร ใครเป็นศาสดาเป็นครูสอนของท่าน ศาสดาของท่านสอนอย่างไร

พระอัสสชิเถระก็ตอบว่า ผู้มีอายุ ก็เราบวชเฉพาะพระสมณะโคดม ซึ่งออกบวชจากศากยสกุล ท่านนั้นแลเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมะของท่าน

แล้วท่านอุปติสสะก็ถามว่า ครูของท่านสอนว่าอย่างไร

ท่านผู้มีอายุ เราเพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยใหม่ๆ ไม่สามารถที่จะแสดงพระสัทธรรมเทศนาให้ท่านฟังโดยพิสดารได้ เราจะกล่าวแต่หัวข้อ

ท่านผู้เจริญ ท่านไม่จำเป็นต้องกล่าวให้มากเลย ท่านกล่าวเฉพาะหัวข้อเถิด ข้าพเจ้าต้องการเฉพาะหัวข้อ

ท่านพระอัสสชิก็แสดงธรรมให้อุปติสสะมาณพฟังว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา  เตสํ เหตุํ ตถาคโต
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับไปแห่งธรรมเหล่านั้น
(วิ.๔/๖๕/๗๔)

อุปติสสะมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมทันที ได้เกิดปัญญาขึ้นมาทันทีว่า ในพระศาสนานี้สอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อจะเกิดก็เพราะมีเหตุเกิดก่อน เมื่อจะดับก็เพราะเหตุดับก่อน ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

นี้แลท่านทั้งหลาย ความรู้ที่กล่าวมานี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาเท่านั้น และก็ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นแก่เรานั้น เป็นความรู้ชนิดไหนเกิดขึ้นจึงถือว่าได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

คือถ้ามีความรู้เกิดขึ้นเพราะการฟัง เป็นสุตาญาณนี้ก็จัดว่ายังไม่เป็นการบรรลุ แต่ถ้าความรู้ประเภทใดเกิดขึ้นแก่เราแล้วสามารถที่จะเปลี่ยนจิตใจของเราได้ คือความรู้ประเภทนี้ เมื่อเกิดขึ้นมา ความโลภ ความโกรธ ความหลงหมดไป จิตใจก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เหมือนกลับหน้ามือเป็นหลังมือ

เมื่อก่อนนั้นเป็นปุถุชนอยู่ แต่ถ้าความรู้ประเภทนี้เกิดขึ้นมาแล้วความเป็นปุถุชนนั้นหมดไปสูญไป ความเป็นอริยบุคคลนั้นเกิดขึ้นมาทันที

สรุปเอาสั้นๆ ว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นแก่เรา ที่ท่านว่าบรรลุๆ นั้น ก็คือเมื่อความรู้ประเภทนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงหมดไป นิสัยก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เหมือนกลับหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าความรู้ประเภทนี้เกิดขึ้นมาเมื่อใด ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้จำไว้เถิดว่า เราได้บรรลุอริยมรรคอริยผลแล้ว อันนี้เป็นประเภทที่ ๑

๒.ฟังเพื่อเอาบุญ การฟังธรรมนี้ได้บุญอย่างไร ได้บุญอย่างนี้คือ ในขณะที่เราฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่นี้ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ของเราบริสุทธิ์ดี เป็นศีลแล้ว ศีลนี้เป็นศีลในองค์มรรค เป็นศีลที่จะทำให้เราได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

แต่ศีลที่พากันสมาทานอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่ได้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเลย เรียกว่าเป็นปกติศีล มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น เราไม่ฆ่าไก่ ก็มีไก่เป็นอารมณ์ ไม่ฆ่าปลา ก็มีปลาเป็นอารมณ์ ไม่ดื่มสุราเมรัย ก็มีสุราเมรัยเป็นอารมณ์ นั้นยังเป็นปกติศีลอยู่ ยังไม่สามารถที่จะทำให้ได้บรรลุมรรคผล

แต่ศีลที่เกิดขึ้นแก่เราในขณะที่เจริญกัมมัฏฐาน สมมติว่าท่านทั้งหลายนั่งฟังการบรรยายธรรมอยู่ในขณะนี้ ก็กำหนดไปด้วยว่า ได้ยินหนอๆ หรือว่า พุทโธๆ หรือว่า รู้หนอๆ คำใดคำหนึ่ง กำหนดตามไปอย่างนี้ ศีลที่เกิดขึ้นแก่เราในขณะนี้ เป็นปรมัตถศีล มีรูปนามเป็นอารมณ์ เป็นศีลในองค์มรรค เป็นศีลที่จะให้เราได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

ในขณะที่เราฟังการบรรยายธรรมอยู่นั้น จิตใจของเราจดจ่อ ไม่เผลอจากธรรมะที่บรรยายนั้น เป็นสมาธิ คือเป็นขณิกสมาธิ สมาธิขั้นนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สามารถที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่เราฟังธรรมอยู่นั้น ถ้าเกิดความรู้ขึ้นมา หมดความสงสัย มีความเข้าใจ จิตใจของเราเกิดปีติ มีความผ่องใส มีความเห็นถูกนั้นเป็นปัญญา การฟังเทศน์ฟังธรรมได้บุญอย่างไร มีอุทาหรณ์ที่ท่านกล่าวไว้ในมงคลทีปนีว่า

มีแม่ไก่ตัวหนึ่ง ได้ฟังพระท่านสอนธรรมะอยู่ที่โรงธรรมสภาศาลา ในขณะที่พระสอนธรรมนั้น แม่ไก่ตัวนั้นก็เงี่ยหูฟังธรรมไปด้วยความดีใจ เพลิดเพลินไปกับเสียงพระสอนธรรม บังเอิญในขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งบินผ่านมาเห็นแม่ไก่ตัวนั้นแล้วก็บินโฉบลงมาฉวยเอาคอไก่ตัวนั้นตายไป และในขณะที่แม่ไก่ตัวนั้นจะตาย เผอิญได้เห็นพระธิดาของพระราชากำลังเสด็จเลียบพระนคร

เมื่อจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ก็ไปบังเกิดเป็นพระธิดาของกษัตริย์ในพระนครนั้น เพราะเหตุไร แม่ไก่แท้ๆ จึงสามารถไปเกิดเป็นคน เป็นธิดาพระมหากษัตริย์ได้ ก็เพราะค่าที่แม่ไก่ตัวนั้นมีความปลื้มปีติใจในการที่พระท่านสอนธรรมะ และมีความดีใจที่ได้ฟังพระท่านสอนธรรมะนั้น ค่าที่มีความดีใจในธรรมะที่ตนฟังอยู่นั้นแหละ เป็นกรรม เป็นกรรมนิมิต เป็นคตินิมิต เกิดเป็นธิดาของพระมหากษัตริย์

เมื่อเกิดเป็นธิดาพระมหากษัตริย์แล้ว เจริญวัยขึ้นมา ออกบวชเจริญสมถกัมมัฏฐาน ได้ฌานโลกีย์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วก็ไปเกิดในพรหมโลก จุติจากพรหมโลกมาเป็นลูกเศรษฐี จุติจากลูกเศรษฐีมาเกิดเป็นลูกสุกรบ้าน

เห็นพระพุทธเจ้าแล้วมีความยินดี ด้วยความยินดีที่เห็นพระพุทธเจ้านั้น จุติจากลูกสุกรบ้านนั้นจึงไปบังเกิดเป็นธิดาของกษัตริย์ จุติจากธิดาของกษัตริย์มาเกิดในบ้านคามวาสี จุติจากบ้านคามวาสีมาเกิดเป็นลูกพ่อค้า จุติจากความเป็นลูกพ่อค้ามาเกิดเป็นลูกนายสำเภา จุติจากความเป็นลูกของนายสำเภามาเกิดที่เมืองอนุราธบุรี เป็นธิดาของกุฎุมพีในเมืองอนุราธบุรีชื่อว่า สุมนา เมื่อนางเจริญวัยขึ้นมาได้เป็นภรรยาของอำมาตย์ในเมืองอนุราธบุรีนั้น

วันหนึ่ง ท่านอุตตระเถระพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปบิณฑบาตด้วยกัน เห็นนางจึงกล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ท่านขอรับ ลูกสุกรบ้านมาเกิดที่นี้อีกแล้ว พอนางได้ฟังท่านพระเถระกล่าวว่าตนนั้นเป็นลูกสุกรบ้าน ก็เกิดความสังเวชสลดใจจึงไปลาสามีออกบวช เมื่อสามีอนุญาตแล้วก็ออกบวช ได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดาน

นี้แลท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้นได้บุญได้อานิสงส์ ดังกล่าวมาแล้วนี้

นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกบฟังธรรม มีกบตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ริมสระโบกขรณี วันหนึ่ง ในขณะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย กบตัวนั้นพอได้ยินเสียงแสดงธรรมของพระพุทธองค์ก็เกิดความดีใจเงี่ยหูฟังธรรมไปๆ

ในขณะนั้น มีคนเลี้ยงโคผ่านมาโดยที่ไม่ได้พิจารณา ไม้เท้าที่ถืออยู่ก็ไปถูกกบตัวนั้นตาย เมื่อกบตัวนั้นตายไปแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก ชื่อว่า มัณฑุกเทพบุตร แปลว่า เทพบุตรกบ เทพบุตรนั้นก็พิจารณาว่า สมบัติอันเป็นทิพย์ทั้งปวงนี้ เราได้เพราะบุญอะไรหนอแล อนุสรณ์ย้อนระลึกถึงหนหลังถึงอดีตกาลที่ผ่านมาก็ทราบได้ว่า ไม่ได้ทำบุญทำทานอะไรไว้เลย เพียงแต่ว่าเมื่อครู่นี้ได้ฟังเทศน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดง ด้วยความดีใจ แต่บังเอิญถูกคนเลี้ยงโคฆ่าตาย จึงได้มาเกิดเป็นเทพบุตรในที่นี้ ด้วยบุญเพราะความเลื่อมใสในพระสัทธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแท้ๆ

นึกถึงพระคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ลงมาเฝ้ากราบแทบเบื้องยุคลบาทขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถอยู่ พระองค์ได้ตรัสว่า โก เม วนฺทติ ปาทานิ ใครหนอไหว้เท้าเราอยู่เดี๋ยวนี้

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เมื่อครู่นี้ เป็นกบอยู่ริมสระโบกขรณี ได้ฟังสมเด็จพ่อเทศน์ด้วยความดีใจ แต่บังเอิญถูกพวกคนเลี้ยงโคฆ่าตาย จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรนึกถึงพระคุณของสมเด็จพ่อ จึงได้ลงมาเฝ้า เพื่อสมเด็จพ่อจะได้เทศน์โปรด

พระองค์ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาให้ฟัง เทพบุตรนั้นก็ส่งใจไปตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน นี้แลท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมได้ผลได้อานิสงส์ ดังกล่าวมาแล้ว นี้เป็นประการที่ ๒

๓.ฟังเพื่อเป็นอุปนิสัย การฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นอุปนิสัยได้อย่างนี้ คือ สมมติว่าท่านทั้งหลาย นับตั้งแต่วันแรกที่เราได้เข้าปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เราได้ฟังธรรมไปหลายเรื่องแล้ว เมื่อฟังแล้วเราก็จำได้ การจำได้นั่นแหละเป็นอุปนิสัยแล้ว

ถ้าวันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า เราบังเอิญได้ไปฟังธรรมะเรื่องนั้นๆ อีก เราก็จำได้ทันทีว่า ธรรมะเรื่องนี้มีความหมายอย่างนี้ๆ เหตุนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนา พระองค์ต้องตรวจดูอุปนิสัยของผู้ฟังก่อนว่า ผู้นี้บุคคลนี้ เมื่อก่อนโน้นเขาได้ทำบุญทำทานไว้อย่างไร จะแสดงพระสัทธรรมเทศนาเรื่องอะไรจึงจะเกิดประโยชน์โสตถิผลแก่เขา

เมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วจึงทรงได้นำเอาธรรมะเรื่องนั้นมาเทศน์มาแสดงให้ฟัง เมื่อฟังแล้วก็ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลทันที เพราะเหตุไรจึงได้บรรลุ ก็เพราะว่าธรรมะเรื่องนั้น ได้เคยฟังมาแล้วแต่ภพก่อนชาติก่อน ได้บำเพ็ญไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยแล้ว

การฟังเทศน์จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยอย่างไรนั้น จะยกเรื่องที่ท่านกล่าวไว้ในธรรมบท ขุททกนิกาย มาเป็นอุทาหรณ์ มีเรื่องเล่าไว้ว่า

ในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า มีงูเหลือมใหญ่ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในโพรงไม้ใกล้โรงธรรมสภาศาลา วันหนึ่ง ได้ฟังพระท่านได้สาธยายธรรมะเรื่อง อายตนกถา งูเหลือมใหญ่ตัวนั้น ก็เงี่ยหูฟังด้วยความดีอกดีใจ ค่าที่ฟังธรรมะด้วยความดีอกดีใจนั่นแล จุติจากอัตภาพนั้นแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก

สํสรนฺโต ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ เมื่อถึงศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ ในตระกูลพราหมณ์ในเมืองปาฏลีบุตร เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ออกบวชเป็นนักบวชนอกศาสนาชื่อโสณาชีวก เจริญสมถกัมมัฏฐานจนได้อภิญญาโลกีย์ พระเจ้าวินทุสารผู้ครองราชสมบัติได้ถวายพระองค์เป็นตระกูลอุปัฏฐาก

วันหนึ่ง พระมเหสีของพระองค์ทรงครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้องขึ้นมา คือพระนางอยากเหยียบพระจันทร์ด้วยพระบาทเบื้องหนึ่ง อยากเหยียบพระอาทิตย์ด้วยพระบาทอีกเบื้องหนึ่ง อยากเสวยหมู่ดาวนักขัตฤกษ์ รากดิน ไม้ใหญ่ พอดีพระเจ้าวินทุสารทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงดีพระทัย จัดทำพิธีกรรมเพื่อให้พระนางหายแพ้ท้อง คือทรงตรัสสั่งให้คนทั้งหลายทำขนมเบื้องเป็น ๒ แผ่นใหญ่

เมื่อทำเสร็จแล้วก็นำไปถวายพระนางแล้วบอกว่า นี้เป็นพระอาทิตย์ นี้เป็นพระจันทร์ เสร็จแล้วก็ให้คนทั้งหลายทำขนมต้มที่มีสีดังดาว และทำขนมแดกงาซึ่งมีลักษณะเหมือนเหง้าไม้และรากดินที่จะเสวย เมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้คนทั้งหลายกวาดหน้าพระลานหลวง แล้วเอาเสื่อลำแพนมาเจาะเป็นรูๆ แล้วเอาขนมยัดใส่ตามช่องนั้นๆ นำถวายพระนางให้ทรงเสวย เมื่อเสวยแล้ว อาการแพ้ท้องนั้นก็หายไป

วันหนึ่ง พระเจ้าวินทุสารมีพระประสงค์อยากทราบว่า เพราะเหตุไร พระมเหสีจึงมีอาการแพ้ท้องอย่างนี้ จึงตรัสถามโสณาชีวก โสณาชีวกก็ถวายพระพรแก่พระราชาว่า พระราชกุมาร ที่อยู่ในพระครรภ์ของพระมเหสีนี้ จะเป็นผู้มีบุญญาวาสนาบารมี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาแล้ว จะขึ้นครองราชสมบัติ จะครอบงำพระยาทั้งหลายทั้ง ๑๐๑ พระองค์ จะมีอำนาจแผ่ไปทั้งเบื้องบนและท่ามกลางได้ถึง ๑ โยชน์

เมื่อโสณาชีวกพยากรณ์แล้ว ก็ออกจากเมืองปาฏลีบุตรไปไกลถึง ๑ โยชน์ เพื่อให้พ้นจากอำนาจของพระราชกุมาร เมื่อถ้วนทศมาสแล้ว พระนางก็ประสูติพระราชโอรส ได้ทรงขนานพระนามโอรสว่า อโศกราชกุมาร เมื่อพระกุมารเจริญวัยขึ้นมา ได้ครองราชย์สมบัติแทนพระราชบิดา

อยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาได้เล่าเรื่องทั้งหมดนั้นให้พระกุมารฟัง อโศกราชกุมารมีความประสงค์อยากจะทำการบูชาโสณาชีวก จึงสั่งให้คนทั้งหลายเอาคานทองไปเชิญเอาโสณาชีวกมาสู่พระราชวัง เมื่อโสณาชีวกรับแล้วก็ขึ้นสู่คานทอง คนทั้งหลายก็หามมาตามมรรคา แต่บังเอิญหนทางที่มานั้นต้องผ่านวัดแห่งหนึ่งของท่านพระอัสสคุตต์เถระ พระอัสสคุตต์เถระนั้นเป็นพระอรหันต์อภิญญาที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม

บรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายจึงมาอาศัยวัดท่านอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อโสณาชีวกไปถึงวัดของท่านแล้วก็ลงจากคานหามเดินเข้าไปภายในวัด แล้วก็เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า สัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันที่นี้ได้อย่างไรเป็นจำนวนมากมายถึงขนาดนี้ แล้วต่างตัวต่างก็เป็นมิตรกัน เช่น พวกสุนัขจิ้งจอก ราชสีห์ พวกเสือ อย่างนี้ ตามปกติมันจะเป็นศัตรูกัน แต่ในที่นี้เป็นมิตรกันได้อย่างไร มีความสงสัย แล้วก็เข้าไปถามท่านพระอัสสคุตต์เถระว่า

ท่านขอรับ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ชื่ออะไร มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร

แทนที่ท่านพระอัสสคุตต์เถระจะตอบในทันทีก็หาไม่ ท่านได้ใช้ปัญญาของท่านที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว ระลึกถึงอดีตกาลที่ผ่านมา ว่าเมื่อก่อนโน้น โสณาชีวกนี้ได้เคยทำบุญทำทานไว้อย่างไร ให้คำตอบอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์แก่ชีวกนี้

เมื่อระลึกไปๆ ท่านก็ทราบด้วยปัญญาญาณของท่านว่า เมื่อครั้งศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ชีวกนี้ได้เป็นงูเหลือมใหญ่อยู่ในโพรงไม้ ได้ฟังพระท่านสาธยายซึ่ง อายตนกถา หากว่าเราพูดเรื่องอายตนะแล้ว โสณาชีวกนี้จะเกิดหิริโอตตัปปะ เกิดความเลื่อมใส และจะบรรลุคุณอันใหญ่หลวง

เมื่อท่านทราบเช่นนี้แล้วก็ตอบโสณาชีวกว่า ดูก่อนโสณาชีวก สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ชื่อ อายตนะ พอโสณาชีวกได้ฟังว่า สัตว์เหล่านี้ชื่อ อายตนะ เท่านั้น ก็เกิดหิริโอตตัปปะ มีความละอายบาป มีความสะดุ้งกลัวต่อบาปขึ้นมาทันที นั่งยองๆ จะกราบพระเถระ ท่านก็โยนผ้าอาบน้ำให้ แล้วก็กราบท่านขอบวชในสำนักของท่าน เมื่อบวชแล้วก็ได้เจริญวิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์

นี้แล ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้นเป็นอุปนิสัยปัจจัยดังกล่าวมา เหตุนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรมหรือว่าการทำบุญทำทานต่างๆ นั้น พวกเราจึงนิยมการฟังธรรม เช่นทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือว่าจัดงานมงคลที่ไหนขึ้นมา หากว่างานมงคลนั้นๆ ไม่มีการเทศน์ ไม่มีการบรรยายธรรมะ งานจะกร่อยขึ้นมาทันที จืดชืดไม่มีรสไม่มีชาดขึ้นมา

พวกเราทั้งหลายจึงได้ถือเป็นประเพณี คือเมื่อมีงานมงคลที่ไหน ตลอดถึงงานศพก็ตาม จึงมีการฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย ส่งต่อกันไปตามลำดับๆ จนกว่าจะได้บรรลุอมตธรรม การฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัยดังกล่าวมานี้เป็นประการที่ ๓

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:54:04 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2559 15:37:41 »



ความมุ่งหมายของการฟังธรรม (ต่อ)



๔.ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติ โดยจำแนกออกเป็น ๒ คือ
     ๑) ฟังแล้วจำไว้ เมื่อมีโอกาสจะได้นำมาปฏิบัติ
     ๒) ถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมชั้นสูง เราฟังในขณะนี้แล้วก็ปฏิบัติในขณะนี้ทันที เหมือนดังท่านทั้งหลายที่นั่งฟังการบรรยายธรรมอยู่ในขณะนี้

ท่านทั้งหลายที่นั่งฟังการบรรยายธรรมอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมชั้นสูง คือเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อเป็นเช่นนี้ ในขณะที่เราฟังธรรมอยู่นี้ ก็ปฏิบัติในขณะนี้ได้เลยทันที เพราะเหตุไรจึงว่าอย่างนี้ เพราะว่าการปฏิบัติพระวิปัสสนากรรมฐานนั้น เราเอารูป เอานามเป็นอารมณ์

ในขณะที่ฟังการบรรยายธรรมะอยู่ในขณะนี้ รูปนามเกิดพร้อมหมดแล้ว คือเสียงที่หลวงพ่อบรรยายธรรมะอยู่นี้ก็เป็นรูป หูของท่านทั้งหลายเป็นรูป ใจของท่านทั้งหลายที่รู้ธรรมะนี้ก็เป็นนาม รูปนามเกิดขึ้นพร้อมกันหมดแล้ว เหตุนั้นเมื่อท่านทั้งหลายฟังไปๆ กำหนดไปๆ ว่าได้ยินหนอๆ หรือว่ารู้หนอๆ หรือว่าพุทโธๆ ตามไป ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วย เมื่อเราฟังไป หากว่ามัคคจิตผลจิตเกิดขึ้นก็ได้บรรลุ หากว่าอัปปนาสมาธิเกิดขึ้นในลำดับฌานวิถี ก็เป็นสมาบัติไปทันที

การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้น เราได้บรรลุอริยมรรคอริยผลอย่างไร เราทั้งหลายได้ศึกษามาแล้ว เช่นว่า เราได้ศึกษามาในเรื่องพุทธประวัติ เราก็จะเห็นว่าพวกปัญจวัคคีย์ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันก็ดี ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี ก็เพราะการฟังธรรม

พระยสะพร้อมทั้งบิดามารดา และสหายทั้ง ๕๕ คน ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันหรือพระอรหันต์ ก็เพราะการฟังธรรม พระเจ้าพิมพิสารกับทั้งบริวารจำนวน ๑๑ หมื่น (๑๑ นหุต) ได้บรรลุธรรมาภิสมัย ก็เพราะการฟังธรรมทั้งนั้น

ข้อนี้เพื่อเป็นตัวอย่างอุทาหรณ์ให้เด่นชัดขึ้น จึงจะได้นำเรื่องของ พาหิยทารุจีริยะ มาแสดง

มีเรื่องเล่าไว้ว่า มีตระกูลอยู่ตระกูลหนึ่งมีบุตรชายอยู่คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยะ เมื่อเขาเจริญวัยขึ้นมา บิดาก็ได้ตายไป พาหิยะนั้นอยู่กับมารดาเรื่อยมา วันหนึ่งเขาอยากไปกับพวกพ่อค้าสำเภาจึงไปลามารดา แต่มารดาไม่อนุญาต ถึงมารดาไม่อนุญาตเขาก็หาฟังไม่ ได้ไปกับพวกพ่อค้าสำเภาทั้งหลาย

เมื่อเรือสำเภาแล่นไปกลางทะเลเป็นเวลา ๗ วัน เรือก็ได้อับปางจมลงในมหาสมุทร บรรดาคนทั้งหลายที่อยู่ในเรือนั้นก็ต่างว่ายน้ำเอาตัวรอด บางคนก็เป็นอาหารของพวกปลาพวกเต่าไป บ้างก็จมน้ำตาย แต่บังเอิญพาหิยะนี้ได้กระดานแผ่นหนึ่ง อาศัยแหวกว่ายไปในมหาสมุทรนั้น เครื่องนุ่งห่มก็หลุดลุ่ยไปหมด

เขาได้ล่องลอยตามกระแสน้ำได้ ๗ วันก็ถึงฝั่ง ขึ้นไปบนบ้านแห่งหนึ่ง และบ้านที่เขาขึ้นไปนั้นเป็นบ้านที่นับถือผู้ที่ไม่นุ่งไม่ห่มว่าเป็นพระอรหันต์ พอพาหิยะเข้าไปเท่านั้น ประชาชนทั้งหลายก็พากันมากราบไหว้ว่า พระคุณเจ้าของเรามาแล้ว พระอรหันต์ของพวกเรามาแล้ว ต่างก็พากันมากราบไหว้สักการะบูชา นำจตุปัจจัยไทยธรรมมาถวาย

พาหิยะก็คิดว่า การไม่นุ่งไม่ห่มนี้ เขาถือว่าเป็นพระอรหันต์ อย่ากระนั้นเลย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่นุ่งไม่ห่มละ ก็เที่ยวเตร่ไปๆ มาๆ แสดงตนเป็นอรหันต์

ร้อนถึงพระพรหมบนพรหมโลก ซึ่งเมื่อก่อนได้เคยปฏิบัติธรรมร่วมกัน ได้เป็นพระอนาคามีแล้วไปบังเกิดอยู่ในพรหมโลก ลงมาบอกว่า ดูก่อนพาหิยะทารุจีริยะ เพศที่เธอถืออยู่นี้ ไม่ใช่เพศของพระอรหันต์ เป็นอเจลกะเปลือย เป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา โน้นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก อยู่ที่เมืองสาวัตถี

พอพาหิยะได้ฟังดังนั้นก็เกิดความละอายขึ้นมาในจิตใจ เกิดความสลดสังเวชในจิตใจ จึงได้ออกวิ่งทันที วิ่งตลอดทั้งคืน พอดีรุ่งเช้าก็ไปถึงกรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกเที่ยวภิกขาจาร

พาหิยะนั้น กำลังเหนื่อยกระหืดกระหอบอยู่นั้นเอง ก็เข้าไปกราบแทบพระยุคลบาทของพระพุทธองค์แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์จงได้ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาให้ข้าพระองค์ได้ฟังด้วยเถิด

พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ ขณะนี้เราตถาคตกำลังเที่ยวบิณฑบาต เมื่อตถาคตกลับจากบิณฑบาตเสียก่อนแล้วจึงค่อยฟัง

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์อาจจะตายก่อน หรือมิฉะนั้น พระองค์อาจจะปรินิพพานเสียก่อนก็ได้

พระองค์จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงตั้งใจฟังให้ดี แล้วพระองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า “ดูก่อนพาหิยะทารุจีริยะ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน” พาหิยะก็ได้กำหนดตามไปว่า เห็นหนอๆ ได้ยินหนอๆ สองคำเท่านั้นแหละ ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายพาหิยะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็ว

นี้แลท่านทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้นได้บรรลุอริยมรรคอริยผลอย่างนี้ เมื่อพาหิยะได้ฟังธรรมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็ไปแสวงหาผ้าเพื่อจะมาขอบวช ขณะนั้น นางยักษิณีซึ่งเป็นเจ้ากรรมนายเวร ได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้แก่กันในปางก่อน ได้ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกันไว้ ได้แปลงร่างเป็นแม่โคมาคอยอยู่ก่อนแล้ว พอพาหิยะเดินผ่านมา ก็กระโดดเข้าขวิดทันที พาหิยะก็ปรินิพพานในที่นั้น

และในวันนั้นเอง พวกภิกษุก็ได้สนทนากันในโรงธรรมสภาศาลาว่า ท่านทั้งหลาย พาหิยะได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ได้เที่ยวแสวงหาผ้าเพื่อจะมาบวช แต่ได้ถูกแม่โคขวิดตาย เมื่อตายแล้วเขาจะไปเกิดในที่ไหน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบแล้ว จึงได้เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายได้สนทนากันด้วยเรื่องอะไร

พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนากันด้วยเรื่องของพาหิยะว่า เขาตายแล้วจะไปเกิดในที่ไหน

พระองค์ได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราปรินิพพานแล้ว อันนี้เป็นเรื่องในอดีต

ต่อไปนี้ เราวกเข้ามาในเรื่องปัจจุบันกัน คือในปัจจุบันนี้ ผู้ที่ได้สมาธิ สมาบัติ มรรคผล พระนิพพานในขณะฟังนี้ ก็มีเป็นจำนวนมากเหมือนกัน จะขอยกเอาบุคคลแรกที่หลวงพ่อได้ประสบการณ์มา

คือมีโยมคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ท่านอาจารย์ เมื่อก่อนนั้นการฟังเทศน์ฟังธรรมนั้นท่านฟังกันอย่างไรจึงได้บรรลุอริยมรรคอริยผล หลวงพ่อก็ได้เล่าให้ฟังเหมือนกับที่บรรยายให้ท่านฟังนี้แหละ พอดีโยมคนนั้นกลับไปบ้าน

วันนั้น เป็นเดือนสิบเพ็งบุญสลากภัต พระท่านเทศน์เรื่องปฐมสมโพธิกถา โยมคนนั้นก็สมาทานอุโบสถศีล รับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วก็นั่งฟังธรรม กำหนดไปๆ ไม่ช้าไม่นานก็ได้สมาธิ นั่งสงบจิตใจขาดความรู้สึกอยู่นั้น พอดีออกจากสมาธิมา พระสงฆ์สามเณรตลอดถึงผู้รักษาอุโบสถศีลด้วยกันก็ฉันภัตตาหาร รับประทานอาหาร ให้พรเสร็จแล้ว เป็นเวลาตั้ง ๓ ชั่วโมงเศษๆ ถ้าเราฟังเป็นก็ได้อย่างนี้

และก็มีโยมคนหนึ่งชื่อว่า โยมแดง วันนั้นไปฟังเทศน์ตอน ๔ โมงเย็น ตามปกติในพรรษาได้ตีระฆังสัญญาณเพื่อฟังธรรมตอนค่ำ โยมแดงนั้นก็มาฟังธรรม ประนมมือฟังธรรมไปๆ เกิดปีติ มีอาการสั่นๆ ขึ้นมา พระผู้เทศน์ก็บอกว่าเอามือลงๆ เอามือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรงดำรงสติให้มั่น ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า พุทโธๆ ตามไป โยมคนนั้นก็กำหนดตามไปๆ ไม่ช้าไม่นานจิตก็สงบเป็นสมาธิ นั่งสมาธิขาดความรู้สึกอยู่นั้นเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ออกจากสมาธิแล้ว พระสงฆ์สามเณรต้องไปส่งที่บ้าน

นี้แลท่านทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้น ถ้าว่าเราฟังเป็นก็สามารถที่จะได้สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพานในขณะนั้น อันนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ในสำนักนี้ก็เหมือนกัน ทุกปีๆ ที่มีการจัดปริวาสปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ผู้ที่ได้สมาธิ หรือบรรลุอริยมรรคอริยผลในขณะที่ฟังเทศน์ฟังธรรมนี้มีเป็นจำนวนมาก แต่มีพิเศษอยู่ปีหนึ่ง คือปี พ.ศ. ๒๕๒๔

วันนั้น ก่อนจะบรรยายธรรมก็เตือนสติให้กำหนดในเวลาฟังเทศน์ และธรรมะที่บรรยายก็กัณฑ์เดียวกันนี้ พอดีบรรยายธรรมจบ พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่ได้สมาธิ ที่คลายจากสมาธิ ก็พากันกราบพระแล้วลุกไป ทางคณะปะขาวแม่ชีก็เหมือนกัน ผู้ที่นั่งอยู่ก็มีเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ลุกไปแล้วก็มี แต่ทางบรรดาลูกเณรทั้งหลาย เห็นนั่งกันเต็มเพียบ ไม่กระดุกกระดิก ไม่ไหวติง

ก็นึกในใจว่า เอ วันนี้เป็นอะไรหนอ บรรดาลูกเณรทั้งหลายจึงน่ารักเหลือเกิน ทุกวัน เวลาฟังเทศน์นั้นต้องคุยกัน กระดุกกระดิก คนนั้นผลักคนนี้ คนนี้หยิกคนนั้น แต่วันนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อหลวงพ่อบรรยายเสร็จกราบพระแล้วก็เดินไปสำรวจลูกเณร ที่ไหนได้ท่านทั้งหลาย บรรดาลูกเณรจำนวน ๓๕ รูปนั้น เข้าสมาธิไปหมดแล้ว จนครูบาอาจารย์พระเจ้าพระสงฆ์ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โอ้โฮ มันเป็นไปได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ

แต่ถึงอย่างไรก็ดี มันก็เป็นไปแล้ว แม้จะไปสอนกัมมัฏฐานที่ไหนก็ดี ทุกปีๆ ที่สอนกัมมัฏฐานนั้นจะมีผู้ได้สมาธิเวลาฟังนี้เป็นจำนวนมาก เช่น ปีที่กลับมาจากบ้านนาตาลใต้ มีเวลาว่างอยู่ ๑๐ กว่าวันก็มาจัดที่วัด

บรรดาลูกสาวน้อยทั้งหลายที่พากันมาปฏิบัติธรรมมาฟังการบรรยายธรรมตอนค่ำ ก็พากันนั่งข้างหน้าหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกว่า ให้ตั้งอกตั้งใจนั่งสมาธิฟังให้ดี วันนั้นเป็นวันแรก บรรยายธรรมประมาณ ๔๕ นาที ท่านทั้งหลายเพียง ๔๕ นาทีเท่านั้น บรรดาลูกสาวน้อยทั้งหลายอายุ ๙ ปีก็มี ๑๐ ปี ๑๑ ปี ๑๒ ปี ๑๓ ปีก็มี ได้สมาธิไปตั้ง ๑๒ คน ไม่ถึงชั่วโมงเลย ๔๕ นาทีเท่านั้น ได้สมาธิถึง ๑๒ คน

นี้แลท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้น ได้บุญได้อานิสงส์ เป็นอุปนิสัยปัจจัย สามารถที่จะได้สมาธิ ได้สมาบัติ หรือบรรลุมรรค ผล พระนิพพาน ในขณะที่เราฟังอยู่นี้ถ้าเราฟังเป็น

แต่มีข้อแม้อยู่ว่า สมาธิที่เกิดขึ้นนั้น เราจะจัดเป็นการบรรลุหรือไม่ได้บรรลุ เราแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ

ถ้าอัปปนาสมาธิเกิดในลำดับของฌานชวนะวิถี สมาธินั้นก็เป็นฌาน เป็นสมาบัติไป ยังเป็นโลกิยสมาบัติอยู่

แต่หากว่าอัปปนาสมาธิที่เกิดขึ้นแก่เราในขณะนั่งฟังนั้นเกิดขั้นในลำดับมัคควิถี อัปปนาสมาธิที่ได้นั้นก็เป็นอริยมรรคอริยผล

เมื่ออัปปนาสมาธิเกิดในลำดับของมัคควิถีครั้งที่ ๑ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว

เราฟังธรรมต่อไปๆ อีก อัปปนาสมาธิเกิดขึ้นมาในลำดับของมัคควิถีครั้งที่ ๒ ก็ได้เป็นพระสกทาคามีแล้ว

เราฟังไปๆ ฟังต่อไปอีก อัปปนาสมาธิเกิดขึ้นในลำดับของมัคควิถีอีกครั้งที่ ๓ ก็ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้ว

เราก็ฟังไปๆ อีก อัปปนาสมาธิเกิดขึ้นในลำดับของมัคควิถีอีกครั้งที่ ๔ ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว

การบรรลุเป็นพระอรหันต์ อาจใช้เวลาไม่ถึง ๕ นาที หรือเพียง ๕ นาที ๑๐ นาที ๒๐ นาที ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปฏิปทาและชวนวิถี จึงเป็นอันว่าการฟังเทศน์ฟังธรรมนั้นได้บุญได้อานิสงส์ ดังที่ได้บรรยายมาฉะนี้

เอาละท่านทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้บรรยายธรรมะเรื่อง ความมุ่งหมายของการฟังธรรมมา ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.


ลพ.บุญเรือง สารโท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2559 11:54:26 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2559 12:52:00 »



ชีวิตเป็นของน้อย รีบทำความเพียรเถิด

วันนี้ หลวงพ่อจะได้นำธรรมะ เรื่อง ชีวิตเป็นของน้อย รีบทำความเพียรเถิด มาบรรยายประกอบการประพฤติปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป

คำว่า ชีวิต ได้แก่ สันตติ ความสืบต่อ ระบายลมหายใจเข้าออก

ชีวิตนี้ท่านจัดเป็นของน้อยเพราะว่ากำหนดประมาณไม่ได้ กำหนดไม่ได้ว่าเราจะตายวันนั้น เดือนนั้น ปีนั้น กำหนดไม่ได้เลย จะกำหนดได้เฉพาะวันเกิด เดือนเกิด ปีเกิดเท่านั้น สำหรับวันตาย เดือนตาย ปีตาย เรากำหนดไม่ได้ เว้นไว้แต่ผู้ได้อภิญญาจิตเท่านั้นจึงจะกำหนดได้

เพราะว่าความตายนี้ ไม่เลือกหน้าว่าเป็นพระภิกษุสามเณรหรือชาวบ้าน อยู่ในวัยใดก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ดังวจนะประพันธ์ภาษิตที่กล่าวไว้ว่า
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ      สพฺเพ มจฺจุปรายนา
สพฺพํ เภทปริยนฺตํ    เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ
   
   
ทั้งคนมั่งมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้าด้วยกันทั้งนั้น ภาชนะดินมีอันแตกสลายไปเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของพวกสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

ถ้าจะเปรียบชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น ท่านอุปมาไว้เหมือนกันกับน้ำค้างที่ติดอยู่บนปลายหญ้า เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ ก็จะเหือดแห้งไปโดยฉับพลันฉันใดชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง ท่านอุปมาเหมือนกันกับแสงหิ่งห้อยซึ่งคอยวับๆ แวบๆ ในเวลากลางคืน ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้นก็ดับไปฉันใดชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วพลันแต่ที่จะดับไปเหมือนกัน ฉันนั้น

หรืออุปมาเหมือนกันกับบุรุษผู้มีกำลังกล้าสามารถที่จะบ้วนเขฬะให้พ้นไปจากปากได้โดยไม่ยากฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็พลันแต่จะดับไปโดยไม่ยาก ฉันนั้น

หรืออีกอย่างหนึ่งชีวิตของสรรพสัตว์นี้ านอุปมาเหมือนกับชิ้นเนื้อซึ่งย่างด้วยไฟอันร้อนโชนก็จะถูกไหม้เป็นเถ้าถ่านโดยไม่ยากฉันใดชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องถูกความแก่ ความเจ็บ ความตาย ถูกไฟกิเลส ไฟทุกข์ทั้งหลาย เผาลนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ก็พลันแต่จะดับไปโดยไม่ยาก เหมือนกันฉันนั้น

หรือจะเปรียบให้เห็นง่ายๆ ก็อุปมาได้เหมือนกันกับสตรีทอหูก (หลอดหูก) ข้างหน้าน้อยเข้าไปทุกทีฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ใกล้เข้าไปต่อความตายทุกวันเหมือนกันฉันนั้น วันคืนเดือนปีล่วงไปแต่ละวันนี้ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายก็เคลื่อนคล้อยใกล้เข้าไปสู่ความตายฉันนั้น

เหตุนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นสมเด็จพ่อของพวกเราทั้งหลายนั้นจึงทรงตรัสว่า ชีวิตนั้นเป็นของน้อย คือเกิดขึ้นมาแล้ว เราคิดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงปัจฉิมวัย บางทีอาจตายเสียแต่ปฐมวัยหรือมัชฌิมวัยก็ได้ เพราะว่าความตายนี้ เราไม่มีอำนาจอะไรที่จะมาขัดขวางได้

แม้เราจะมีเวทมนต์กลคาถามาต่อสู้กับมัจจุราชผู้ที่มีเสนาใหญ่ย่อมปราชัยพ่ายแพ้ หรือเราจะมีเวทมนต์กลคาถาศักดิ์สิทธิ์สักปานใดมาเป็นเครื่องป้องกันความตายนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าความตายนั้นไม่เลือกว่าไพร่ฟ้า พระมหากษัตริย์ สมณะชีพราหมณ์ คนยากจน คนมั่งมี ก็ล้วนแต่มีความตายด้วยกัน ฉันนั้น เมื่อมีชาติคือความเกิดในเบื้องต้น ก็ต้องมีความตายเป็นที่สุด

ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระบวรสันดานเต็มเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงในมวลสัตว์ทั้งหลายผู้ที่เร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลสและกองทุกข์จึงได้ทรงนำเอาพระธรรมที่พระองค์ทรงค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา ๖ พรรษา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ รู้จักมรรคปฏิปทาอันเป็นหนทางที่จะให้พ้นจากความทุกข์ ถึงฝั่งคืออมตะมหานฤพานมาชี้แจงแสดงไขให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งเทพยดาและมนุษย์ ตลอดถึงพรหม ให้ได้รู้ได้ประพฤติได้ทราบได้ปฏิบัติตาม เพื่อที่จะดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น

ธรรมะที่พระองค์ได้ทรงแนะนำพร่ำสอน เพื่อที่จะให้เราทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติ เพื่อที่จะดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์นั้น โดยย่อมีอยู่ ๔ ประการ

๑.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดานของตน เช่นว่าเวลาเดินจงกรม ใจของเราอยู่กับรูปกับนาม อยู่กับอาการขวาย่าง ซ้ายย่าง เวลาที่เรานั่ง ใจของเราอยู่ที่อาการพองอาการยุบ เมื่อได้ปัจจุบันทันรูปนามดีแล้ว โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ ตัณหา อุปาทาน ก็เกิดขึ้นไม่ได้ นั่นแหละชื่อว่า ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในขันธสันดาน

ตัวบาปนั้น เมื่อกล่าวโดยสภาวธรรมล้วนๆ แล้วก็ได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ทำบาปตายแล้วตกนรก จะเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน อันนั้นเป็นผลพลอยได้ เป็นผลซึ่งเกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ต่างหาก

แต่เมื่อกล่าวโดยสภาวธรรมล้วนๆ แล้ว ความโลภโกรธหลงนั่นแหละที่เป็นตัวบาป เมื่อใดเรายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ ก็แสดงว่าเรายังมีบาปที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของเรา เมื่อใดความโลภความโกรธความหลง ไม่มีอยู่ในสันดานของเรา ก็แสดงว่าเมื่อนั้น บาปไม่มี มีแต่กุศลนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของเรา

เหตุนั้นแหละ เมื่อเรามาประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในขณะที่เราเดินจงกรม นั่งสมาธิ เรากำหนดอาการยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด คิด ทำกิจใดๆ เราก็กำหนดอยู่ทุกอิริยาบถ นี้เรียกว่า สังวรปธาน เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตนเอง

๒.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป และเพียรไม่ให้บาปใหม่เกิดในขันธสันดานอีกต่อไป ได้แก่ เพียรในการเจริญพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน เหมือนดังที่พวกเราทั้งหลายกำลังเจริญกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ เช่น เราภาวนาว่า พุทโธๆ หรือพองหนอยุบหนอ ใจของเราอยู่กับอาการพองอาการยุบนั้นตลอดไปมีเผลอน้อย

ขณะนั้น กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓ ของเราบริสุทธิ์ดี นั่นแหละจัดว่าเป็นศีล ใจของเราอยู่กับอาการพองอาการยุบ อยู่กับอาการขวาย่าง ซ้ายย่าง ไม่เผลอไปจากรูปนามชั่วขณะหนึ่งๆ เป็นสมาธิ คือขณิกสมาธิ สมาธิขั้นนี้ จะเห็นรูปเห็นนาม เห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใดเราเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อนั้นชื่อว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อศีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว กิเลสคือบาปทั้งหลาย อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็เป็นอันว่าละได้แล้ว โดยตทังคปหานบ้าง ละได้โดยสมุจเฉทปหานบ้าง

เมื่อใดเราได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นับตั้งแต่ขั้นพระโสดาบันขึ้นไปตามลำดับๆ จนได้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่ฆ่ากิเลสตาย คลายกิเลสออก สำรอกกิเลสหลุด ผุดเป็นวิสุทธิสงฆ์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์นั่นแหละ จึงจะได้ชื่อว่าละบาปได้หมดสิ้น ไม่มีอยู่ในขันธสันดานอีกต่อไป

ดังตัวอย่างของพระอังคุลิมาล มีเรื่องที่เล่าไว้ในอังคุลิมาลสูตรในโลกวรรค ธรรมบท ท่านกล่าวไว้ว่า

พระอังคุลิมาลนั้น เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในเมืองสาวัตถี มารดาชื่อว่า มันตานีพราหมณี ในวันที่ออกจากครรภ์ของมารดานั้น ก็เกิดเหตุอาเพศขึ้นมา คืออาวุธยุทโธปกรณ์ หรือพระขรรค์ ซึ่งอยู่ในคลังอาวุธก็ดี ที่อยู่ตามบ้านของชนทั้งหลายก็ดี ก็เกิดแสงสว่างไสวรุ่งโรจน์โชติช่วงดังเปลวเพลิงขึ้นมา เกิดเหตุอาเพศอันน่าอัศจรรย์

สำหรับปุโรหิตผู้เป็นบิดาก็คิดว่า นี่มันเรื่องอะไรกันหนอ จึงเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นมา จึงออกไปข้างนอก แหงนดูดาวนักขัตฤกษ์ทั้งปวง ก็ทราบได้ทันทีว่า ฤกษ์นี้เป็น ฤกษ์แห่งมหาโจร ถ้าผู้ใดเกิดในฤกษ์นี้ ผู้นั้นเจริญวัยขึ้นมาจะเป็นมหาโจร แม้บุตรของเราก็เกิดในฤกษ์นี้เหมือนกัน บุตรของเรานี้เกิดขึ้นมาและเจริญวัยขึ้นมาแล้วจะเป็นมหาโจร อย่ากระนั้นเลย เราหาวิธี หาอุบาย เพื่อที่จะตัดไฟตั้งแต่ต้นลมดีกว่า จะปล่อยให้บุตรของเรากลายเป็นมหาโจรไม่ได้

เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้พระองค์ทรงทราบแล้วกราบทูลให้พระองค์นำบุตรของตนไปประหารชีวิตเสีย แต่ว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ได้ทรงกระทำตาม ตรัสสั่งให้เลี้ยงไว้ต่อไป และก็ทรงตั้งชื่อว่า อหิงสกะกุมาร แปลว่ากุมารผู้ไม่เบียดเบียน ที่ตั้งชื่อเช่นนี้ เพื่อว่าเป็นการแก้เคล็ด โดยที่คิดว่าเมื่อเจริญวัยขึ้นมาแล้ว อาจจะไม่เป็นมหาโจรก็ได้

ในเมื่ออหิงสกะกุมารนั้นเจริญวัยขึ้นมา สมควรที่จะศึกษาศิลปะวิทยาแล้ว บิดามารดาก็ได้นำไปมอบให้แก่ทิศาปาโมกข์อาจารย์ อังคุลิมาลนั้นเป็นคนที่มีสติปัญญามาก มันสมองดี สามารถที่จะศึกษาศิลปะวิทยาได้คล่องแคล่ว สำเร็จก่อนศิษย์ทั้งหลายที่ร่วมอาจารย์เดียวกัน

บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็เกิดความอิจฉาตาร้อนขึ้นมาหาทางที่จะกำจัดอหิงสกะกุมาร ก็ปรึกษาหารือกันว่าพวกเราจะทำอย่างไรดี อหิงสกะกุมารนี้เกินหน้าพวกเรา ล้ำหน้าพวกเรา เราควรที่จะกำจัดเขาเสียดีกว่า เมื่อปรึกษาหารือกันแล้วก็แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม แล้วให้กลุ่มที่ ๑ เข้าไปหาอาจารย์ และก็ยุยงอาจารย์ว่าอหิงสกะกุมารนี้คิดไม่ดีต่อท่านอาจารย์ หาทางที่จะทำร้ายอาจารย์ หาทางที่จะฆ่าอาจารย์

สำหรับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมื่อได้ฟังดังนั้นก็คิดว่าจะเป็นไปได้หรือ อหิงสกะกุมารนี้ ไม่เห็นเขามีอากัปกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องส่อพิรุธว่าเขาจะทำร้ายเรา หรือคิดมิดีมิร้ายต่อเรา แล้วก็ไล่ตะเพิดศิษย์กลุ่มนั้นออกไป เมื่อศิษย์กลุ่มที่ ๑ ออกไปแล้ว กลุ่มที่ ๒ ก็เข้ามายุยงอีกว่า อหิงสกะกุมารนี้ คิดมิดีมิร้ายต่อท่านอาจารย์

ขณะนั้น อาจารย์ก็มีจิตใจไขว้เขวว่า เป็นอย่างไรหนอเรื่องนี้ หากว่าอหิงสกะนี้ไม่คิดมิดีมิร้ายอย่างนั้นจริง ไฉนลูกศิษย์จึงจะบอกเช่นนี้ ตอนนี้จิตใจก็ชักจะลังเล แต่ก็ไม่เชื่อโดยสนิทใจ และก็ไล่ลูกศิษย์กลุ่มที่ ๒ นั้นออกไป แล้วกลุ่มที่ ๓ ก็เข้ามาอีก เข้าไปยุยงอีกว่า อาจารย์อหิงสกะกุมารนี้ คิดมิดีมิร้ายต่ออาจารย์อย่างนั้นอย่างนี้ สรรหาถ้อยคำมายุยงให้อาจารย์เชื่อ

ตอนนั้นอาจารย์ปลงใจเชื่อสนิท ถ้าว่าไม่จริงแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาคงจะไม่มาบอกเราถึง ๓ ครั้ง เราจะทำอย่างไรดีหนอ ถ้าเราทำเองคนทั้งหลายก็จะหาว่าทิศาปาโมกข์อาจารย์นี้เป็นคนที่ใจร้าย ฆ่าลูกศิษย์ที่ไปศึกษาศิลปวิทยา ต่อมาคนทั้งหลายก็จะไม่มาศึกษาเล่าเรียน ลาภสักการะก็จะเสื่อมไป อย่ากระนั้นเลย เราปล่อยมือให้คนอื่นดีกว่า

เมื่อคิดหาอุบายวิธีได้อย่างนั้นแล้ว จึงเรียกอหิงสกะกุมารเข้ามาหาบอกว่า อหิงสกะกุมาร อาจารย์มีมนต์วิเศษอยู่บทหนึ่ง ชื่อว่าวิษณุมนต์ มนต์นี้ใครเรียนสำเร็จจะสำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง แต่มีข้อแม้อยู่ว่า ผู้ที่เรียนวิษณุมนต์ จะต้องฆ่าคนถึงพันคนจึงจะเรียนได้ เพราะฉะนั้น หากว่าเธอต้องการที่จะเรียนวิษณุมนต์ ต้องการที่จะสำเร็จในวิชามนต์แล้ว เธอต้องเข้าป่าหาฆ่าคนถึงพันคนแล้วจึงจะเรียนได้

ครั้งแรก อหิงสกะกุมารก็ไม่กล้าที่จะฆ่า เพราะว่าตนนั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์ ไม่ฆ่าสัตว์มาตั้งแต่เล็กตั้งแต่น้อย แต่เพราะต้องการที่จะสำเร็จในวิชามนต์ จึงจำเป็นที่ต้องทำ เสร็จแล้วก็ได้ถือเอาอาวุธเข้าป่าหาฆ่าคนไปตามลำดับๆ ครั้งแรกก็ไม่ตัดเอานิ้วมือ เป็นแต่เพียงนับว่า ๑, ๒, ๓ ไปเท่านั้น ผลสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าฆ่าไปเท่าไหร่ เป็นเพราะโทษที่ฆ่าคน ทำให้สติฟั่นเฟือน จำไม่ได้ ภายหลังฆ่าแล้วก็ตัดเอานิ้วมือไว้คนละนิ้วๆ ร้อยเอาไว้ เขาจึงให้ชื่อใหม่ว่า อังคุลิมาล แปลว่า โจรผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย

ตั้งแต่อังคุลิมาลเที่ยวฆ่าคนอยู่นั้น ฆ่าไปแล้ว ๙๙๙ คน ยังเหลืออยู่อีกคนเดียวเท่านั้นก็จะครบ ๑,๐๐๐ คน จึงจะได้เรียนมนต์

โวโลเกตฺวา วันนั้น จวนจะสว่าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แผ่พระญาณตรวจดูสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า วันนี้เราสมควรที่จะไปโปรดใคร ใครหนอจะได้บรรลุคุณวิเศษ อังคุลิมาลโจรก็ปรากฏในข่ายพระญาณของพระองค์ และทรงพิจารณาเห็นว่า อังคุลิมาลโจรนี้ได้อบรมบารมีมาพอสมควรพอที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ถ้าเขาไปฆ่ามารดาของเขาเสีย เขาจะไม่สามารถที่จะได้บรรลุคุณอันใหญ่หลวง อย่ากระนั้นเลยเราจะไปโปรดอังคุลิมาลโจรให้ได้

ซึ่งในขณะนั้น คนทั้งหลายได้ไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า มีโจรเที่ยวฆ่าคนในชนบท พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสสั่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งมหาชนทั้งหลายให้ตามล่าอังคุลิมาลโจรนั้นมาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง

ฝ่ายพราหมณ์ปุโรหิตกับภรรยาได้ปรึกษากันว่า ได้เกิดมหาโจรขึ้นมาแล้ว มหาโจรนี้ไม่ใช่ใครอื่นเลยต้องเป็นบุตรของเราแน่ๆ ปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรดี ภรรยาก็ให้สามีของตนไปตามบุตรมาไว้ในบ้าน เพื่อจะไม่ให้คนทั้งหลายจับตัวได้ แต่ว่าสามีไม่กล้าออกไป ด้วยเกรงว่าบุตรของตนจะจำไม่ได้แล้วฆ่าเสีย

ธรรมดาหัวอกของมารดานั้นย่อมมีความรักความผูกพันในลูก ถึงว่าลูกของตนนั้น จะชั่วช้าสารเลวเพียงใด ก็ตามก็ยังรักอยู่ เมื่อสามีไม่ไป นางจึงจำเป็นต้องไปเอง เมื่อนางมันตานีพราหมณีออกไปสู่ป่าเพื่อจะพาบุตรของตนเข้ามาไว้ในบ้าน พออังคุลิมาลมองเห็นมารดาเท่านั้น ก็ปรี่เข้าจับมารดาเพื่อจะนำไปฆ่าเอานิ้วมือ

ขณะนั้น เป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงพอดี เมื่ออังคุลิมาลโจรเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เปลี่ยนใจว่า เราจะไม่ฆ่ามารดา เราจะฆ่าสมณะนี้ดีกว่า แล้วจึงปล่อยมารดา วิ่งตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป

พระพุทธองค์ได้ทรงบันดาลด้วยพุทธาภิสังขาร ให้อังคุลิมาลนั้นตามไม่ทัน ในขณะที่พระองค์ทรงพระดำเนินไปตามปกติ แต่อังคุลิมาลวิ่งจนสุดแรงเกิด ก็ไม่สามารถวิ่งตามทันพระองค์ได้ จึงคิดว่า เมื่อก่อนนั้นเราสามารถที่จะวิ่งผลัดช้างผลัดม้าผลัดรถได้ แต่บัดนี้ เหตุไฉนหนอ สมณะนี้เดินไปตามปกติ แต่ว่าเราวิ่งจนสุดแรงเกิด ก็ไม่สามารถวิ่งตามทันได้ นี่มันเรื่องอะไรกันหนอ เมื่อคิดได้เช่นนี้ จึงร้องเรียกขึ้นอีกว่า สมณะ หยุดก่อนๆ

พระองค์จึงตรัสว่า เราหยุดแล้วๆ ทั้งที่พระองค์ยังทรงพระราชดำเนินไปอยู่ เมื่ออังคุลิมาลตามไม่ทัน ก็ร้องเรียกขึ้นอีกว่า สมณะหยุดก่อนๆ พระองค์ก็ตรัสว่า เราหยุดแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น อังคุลิมาลโจรจึงพูดขึ้นมาว่า สมณะนี้พูดโกหก กล่าวว่าหยุดแล้ว แต่ยังเดินไปอยู่

พระองค์จึงทรงมีพระดำรัสขึ้นว่า ดูก่อนอังคุลิมาล เราหยุดแล้ว หยุดจากการทำบาปอกุศล เราหยุดแล้ว หยุดจากการฆ่า แต่เธอต่างหาก ยังไม่หยุด ยังตามฆ่าเราอยู่

ธรรมดาผู้ที่มีสติปัญญา ได้ฟังพระวาจาที่พระองค์ตรัสเพียงแค่นี้ ก็ได้สติสัมปชัญญะขึ้นมาทันทีว่า โอ เป็นความจริง เพราะว่าพระองค์หยุดแล้ว หยุดจากการทำบาปทำอกุศล แต่เรานี่ซิยังไม่หยุด ยังตามฆ่าพระองค์อยู่ เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็จึงทิ้งอาวุธ เข้าไปกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบทูลขึ้นว่า โอ นานเหลือเกิน นานเหลือเกิน พระพุทธเจ้าข้า กว่าพระองค์จะเสด็จมาโปรดข้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง เมื่ออังคุลิมาลฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว มีความเลื่อมใส ขอบวชในสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงบวชให้ เมื่อบวชแล้ว ได้เรียนวิธีเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลีกออกจากหมู่ไปเจริญสมณธรรม ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วหลีกไปอยู่ที่สงัด หลบเร้นเสวยวิมุตติสุขอยู่

เมื่อจะปรินิพพาน ท่านได้เปล่งอุทานว่า คนที่ประมาทมาก่อน แต่ภายหลังไม่ประมาท ย่อมยังโลกให้สว่างไสวได้ เหมือนดวงจันทร์ที่โคจรออกจากกลุ่มเมฆหมอก ฉะนั้น เมื่อเปล่งอุทานเช่นนี้แล้ว ก็ดับขันธ์ปรินิพพาน

อยู่มาวันหนึ่ง พวกภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมสภาศาลาว่า พระอังคุลิมาลนี้ เขาฆ่าคนมาตั้ง ๙๙๙ คน บัดนี้ ได้มาบวชในพระพุทธศาสนา และก็ได้มรณภาพไปแล้ว เมื่อท่านตายแล้วไปเกิดที่ไหนหนอ

องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงได้สดับความนั้นแล้ว จึงเสด็จไปสู่โรงธรรมสภาศาลา ตรัสถามซึ่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนากันในเรื่องของพระอังคุลิมาล ว่าท่านตายแล้วไปเกิดในที่ไหน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรานิพพานแล้วเมื่อพระองค์ตรัสดังนั้น ภิกษุทั้งหลายก็งงขึ้นมาทันที แล้วกราบทูลว่า พระองค์ตรัสเรื่องอะไร เป็นไปได้หรือ พระอังคุลิมาลนี้ฆ่าคนมาตั้ง ๙๙๙ คน จะนิพพานได้อย่างไรพระพุทธเจ้าข้า หรือว่าผลของบุญบาปไม่มี

พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กล่าวเช่นนี้เลย ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเมื่อก่อนนั้น บุตรของเราไม่ได้กัลยาณมิตรสักคนเลย จึงได้ทำความชั่วมีประมาณเท่านั้นๆ แต่ภายหลังได้กัลยาณมิตรเป็นปัจจัย ไม่ประมาทแล้ว เพราะค่าที่เธอไม่ประมาทนั้นแหละ จึงละชั่วนั้นเสียได้ด้วยความดี ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพาน แล้วจึงตรัสพระคาถาว่า

ผู้ที่ละความชั่วที่ตนทำเสียได้ด้วยความดี ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวได้ เหมือนพระจันทร์โคจรออกจากกลุ่มเมฆหมอก ฉะนั้น

คติจากเรื่องนี้ ได้ความว่า พึงชำระล้างความชั่วด้วยความดี พึงไถ่ถอนตนจากความชั่ว ด้วยการทำความดีให้ยิ่งกว่าความชั่วที่ตนทำแล้ว

ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ เรียกว่า ปหานปธาน คือเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป และหนทางที่เราทั้งหลายจะปิดประตูอบายภูมิได้นั้น มีหนทางเดียวเท่านี้ คือการเจริญวิปัสสนา เมื่อใดเราได้เจริญวิปัสสนา จนบรรลุอริยมรรคอริยผล นับตั้งแต่ขั้นปฐมมรรคไปแล้ว ก็เป็นอันว่าปิดประตูอบายภูมิได้เด็ดขาด ตายแล้วไม่ต้องตกนรก ไม่ต้องเกิดเป็นเปรต ไม่ต้องเกิดเป็นอสุรกาย ไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ท่านทั้งหลายลองพินิจพิจารณาดูเรื่องพระอังคุลิมาลนี้ ว่าฆ่าคนมาตั้ง ๙๙๙ คน ตามปกติการฆ่าคนนั้น เพียงแต่ฆ่าคนเดียวเท่านั้น ตายไปแล้วต้องไปตกอเวจีมหานรก แต่พระอังคุลิมาลนั้นทำไมจึงไม่ไปตกนรก เพราะว่าท่านได้บรรลุอริยมรรคอริยผลแล้ว เมื่อบรรลุแล้ว ก็มีพระนิพพานเป็นเครื่องรองรับ มีพระนิพพานเป็นเครื่องปิดกั้นประตูอบายภูมิ

ถ้าเราทั้งหลายไม่เจริญวิปัสสนาภาวนา ถึงแม้ว่าจะทำบุญให้ทานรักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ฟังเทศน์ เจริญสมถภาวนา จนได้ฌานได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศได้ ก็ยังไม่สามารถปิดประตูอบายภูมิได้ แต่เมื่อใดเรามาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยังอริยมรรคอริยผลให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตนแล้ว จึงจะได้ชื่อว่าปิดประตูอบายภูมิได้เด็ดขาด

๓.ภาวนาปธาน เพียรบำเพ็ญกุศลให้เกิดมีขึ้นในขันธสันดานของตน ได้ให้ความหมายว่า ปุนปฺปุนํ ภาเวตพฺพา วชฺเชตพฺพาติ ภาวนา การยังศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นมีขึ้นบ่อยๆ คือหมั่นเจริญบ่อยๆ เรียกว่า ภาวนา คือให้นึกในใจตามไปกับอาการที่ท้องพองท้องยุบ อาการขวาย่าง ซ้ายย่าง เวลาเจ็บ เวลาปวด เวลาเมื่อย เวลาคัน เวลาคิด ก็ให้ภาวนาไปตามอาการนั้นๆ ว่า พุทโธๆ หรือเจ็บหนอๆ คันหนอๆ คิดหนอๆ หรือรู้หนอๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามไปไม่หยุด

แม้เวลานอน ก็กำหนดอาการพองอาการยุบว่าพุทโธๆ หรือว่า พองหนอ ยุบหนอ คำใดคำหนึ่งตามไปจนกว่าจะหลับ พยายามจำให้ได้ว่า จะหลับไปตอนไหน หลับไปตอนหายใจเข้าหรือหายใจออก ก็พยายามจำให้ได้ การประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เรียกว่า ภาวนาปธาน คือเพียรพยายามให้บุญกุศลเกิดขึ้นในขันธสันดาน

๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้วนั้นให้คงอยู่และยิ่งๆ ขึ้นไป คือรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ให้อยู่กับรูปนาม ไม่ให้เผลอมาก จนกว่าจะถึงมรรคผลนิพพาน สิ้นอาสวะกิเลส จึงจะนอนใจได้ ถ้ายังไม่สิ้นอาสวะกิเลส ก็อย่าเพิ่งนอนใจ

ดังที่องค์สมเด็จพระจอมไตรพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  ภิกขุ วิสฺสาสมาปาทิ  อปฺปตฺโต อาสวกฺขยํ  ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เมื่อตนยังไม่ถึงมรรคผลนิพพาน ยังไม่สิ้นอาสวะกิเลส อย่าเพิ่งนอนใจ

ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายมาสู่สถานที่นี้ มาเพื่อฝึกฝนอบรมตนให้คล่องแคล่ว ให้ชำนาญ เพื่อจะได้มีกำลังใจต้านทานต่ออารมณ์ดีอารมณ์ชั่วอันจะเกิดขึ้นแก่ตนในอนาคตกาลข้างหน้า

เมื่อเราออกจากห้องกัมมัฏฐานนี้ หรือว่ายังอยู่ในห้องกรรมฐานนี้ก็ดี เราก็จะได้มีสติสัมปชัญญะมั่นคงต่อสู้กับอารมณ์ดีอารมณ์ชั่วทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาแผ้วพาน และการฝึกนั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑) ฝึกด้วยบุพพภาคมรรค ได้แก่ การลงมือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน แต่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
๒) ฝึกด้วยอริยมรรค ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้วก็ยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น พยายามเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปจนได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามีแล้วก็ไม่หยุดเพียงแค่นั้น พยายามเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปจนได้บรรลุเป็นพระอนาคามี ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้วก็พยายามเจริญต่อไป จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เรียกว่า ฝึกด้วยอำนาจอริยมรรค

ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย การที่คนทั้งหลายเขาฝึกม้าก็ดี ฝึกช้างก็ดี เขาฝึกไว้ทำไม เขาฝึกไว้เพื่อให้ชำนาญ ให้เชื่อง เมื่อฝึกจนชำนาญจนเชื่องแล้วก็สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ สมมติว่า เขาฝึกช้างจนชำนาญแล้ว สามารถที่จะนำไปลากซุง ไปใช้ในราชการสงครามได้ เขาฝึกม้าให้ชำนิชำนาญแล้วเขาจะเอาไปเป็นม้าแข่งก็ได้ เขาจะเอาไปใช้ในราชการสงครามก็ได้ฉันใด พวกเราทั้งหลายฝึกตนเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ก็เพื่อให้บรรลุสุขอันไพบูลย์ตามประสงค์เหมือนกันฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายทั้งปวงที่เขาพากันฝนพร้าฝนมีดหรือลับพร้าลับมีดนั้น โดยมีความประสงค์ ๒ อย่างคือ
๑) ต้องการให้สนิมหมดไป
๒) ต้องการให้มันคมดี

เมื่อพร้าหรือมีดของเราหมดสนิมหรือคมดีแล้ว ก็สามารถที่จะนำไปใช้ในกิจการต่างๆ เช่น ใช้ตัดโน้นฟันนี้เป็นต้น ฉันใด เราทั้งหลายซึ่งมากำหนดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อยู่ทุกวันนี้ ก็ชื่อว่าเราทั้งหลาย มาฝนหรือมาลับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา ให้หมดสนิม ให้คมดี

อะไรเป็นสนิมของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ?

สนิมของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมทั้งหลายทั้งปวง

เมื่อใดเราใช้สติสัมปชัญญะระลึกรู้ กำหนดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในเมื่อได้เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ นั้นแหละเรียกว่า เราฝนหรือลับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ให้หมดสนิมหรือให้คมดี เมื่อหมดสนิมหรือคมดีแล้ว ก็สามารถที่จะนำไปตัดกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ให้หมดไปจากขันธสันดานได้

อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายเขาพากันอบผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มด้วยของหอมมีแก่นจันทน์เป็นต้น ก็เพื่อว่าให้กลิ่นหอมเหล่านั้นติดอยู่กับเครื่องนุ่งห่มของเขา ฉันใด พวกเราทั้งหลายมาอบกาย อบวาจา อบใจ ด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะให้กลิ่นศีล กลิ่นสมาธิ กลิ่นปัญญา เกลือกกลั้วติดอยู่ในตัวของเรา หรือเพื่อจะให้ตัวของเราหอมไปด้วยกลิ่นศีล หอมไปด้วยกลิ่นสมาธิ หอมไปด้วยกลิ่นปัญญาเมื่อใด ตัวของเราหอมไปด้วยกลิ่นศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว กิเลสทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็ไม่สามารถจะมาจับกาย จับวาจา จับใจ หรือไม่สามารถที่จะมานอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของเราได้อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายเขาพากันรมตัวของเขาก็ดี หรือเครื่องนุ่งห่มของเขาก็ดี ด้วยควันไฟหรือด้วยความร้อนแห่งไฟ เขารมเพื่อต้องการให้ควันไฟ หรือไอของไฟ หรือว่าความร้อนของไฟนั้นเกลือกกลั้วติดอยู่ที่ตัวของเขาฉันใด การที่พวกเราทั้งหลายมารมตา รมหู รมจมูก รมลิ้น รมกาย รมใจ ด้วยการตั้งสติสัมปชัญญะกำหนดอิริยาบถน้อยใหญ่ และกำหนดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ก็เพื่อต้องการให้ตัวของเรานี้เกลือกกลั้วติดไปด้วยมรรคผลนิพพาน หรือเพื่อให้ตัวของเรานี้ติดอยู่ในโลกุตรธรรมเหมือนกันฉันนั้น

สรุปความแล้วว่า การที่เรามาฝึกฝนอบรมตนนี้ ด้วยการบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ก็เพื่อต้องการให้ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล พระนิพพาน เกิดมีขึ้นที่ตัวของเรา หรือให้ตัวของเรานี้เกลือกกลั้วไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล พระนิพพาน เหตุนั้น องค์ภควันตบพิตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การฝึกฝนอบรมตน การฝึกจิตของตนเป็นการดีแล้ว เป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งความเจริญ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ (ในคาถาธัมมบท ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๑๓ หน้า ๑๙ ) ว่า  จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ  จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ  การฝึกฝนจิต เป็นความดีแท้ จิตที่ฝึกฝนดีแล้ว นำแต่ความสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น

ก็สกนธ์ร่างกายนี้ เมื่อรวมลงแล้วมีอยู่ ๒ ประการคือ กายกับใจ ถ้าใจดี เวลาจะทำ จะพูด จะคิด ก็ดีตามไปหมด แต่ถ้าจิตใจชั่ว การทำ การพูด การคิด ก็ชั่วไปหมด

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์นักพรตทั้งหลายจึงนิยมการฝึกฝนตนอบรมตนคือกายใจนี้ให้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้รับความสุขความเจริญทั้งแก่ตัวเองและสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เอาละท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เท่าที่ได้น้อมนำเอาธรรมะเรื่อง ชีวิตเป็นของน้อยควรรีบทำความเพียร มาบรรยาย เพื่อประกอบการประพฤติปฏิบัติของท่านทั้งหลาย ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.

ที. มหาวคฺค. ๑๐ / ๑๐๘ / ๑๔๑
(ขุ. ขุทฺทก-ธมฺมปทคาถา ๒๕/๒๙/๕๑)

ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 52.0.2743.116 Chrome 52.0.2743.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2559 17:30:38 »



บาป ~ บุญ

เป็นวันสอบสนามหลวงหรือสอบไล่ ไม่เหมือนกับวันก่อนๆที่ผ่านมา อันนั้นเป็นการสอบซ้อม วันนี้สอบจริง การสอบจริงนี้ก็เพื่อจะวัดผลของการปฏิบัติ ว่าเราเดินทางมาค่อนๆ พรรษานี่ หรือว่าครึ่งพรรษากว่าๆ นี้ ได้ผลมากน้อยแค่ไหนเพียงไร คุ้มการสอนหรือไม่

การเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างที่เสียสละลงไป จตุปัจจัยไทยธรรม ตลอดถึงสติปัญญาอะไรนานาประการ ที่เสียสละลงไป มันคุ้มค่าเสียสละไหม การประพฤติปฏิบัติของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายนั้น คุ้มค่าที่ญาติโยมได้เสียสละลงไปหรือไม่ คุ้มค่ากับคณะครูบาอาจารย์เสียสละไปหรือไม่ ก็อยากดูในวันนี้

เพราะฉะนั้น ในวันนี้ถือว่าเป็นวันวัดผล ทั้งเป็นการวัดผลครั้งแรกในหน้าพรรษา เหตุนั้น ก็ขอให้บรรดาลูกเณรทั้งหลาย ตลอดถึงบรรดาลูกพระ ลูกชี ทั้งหลาย ได้นั่งสมาธิ เข้าสมาธิให้หลวงพ่อได้ดูได้ชมสักครั้งหนึ่ง พอเป็นเครื่องชื่นใจจะได้หายเหน็ดหายเหนื่อย จะได้หายเจ็บไข้ได้ป่วย โรคภัยไข้เจ็บที่เป็นมากระปอดกระแปดตลอด ตั้งแต่เข้าพรรษามาถึงวันนี้จะได้ชื่นอกชื่นใจหายเจ็บ หายไข้ หายป่วย หายสภาวะความอ่อนแอลงไปบ้าง

ขอให้ตั้งใจอธิษฐานสมาธินะ หลวงพ่อจะเป็นผู้จับเวลาเตรียมแล้วนะ ๑ ๒ ๓ พยายามทำใจดีๆ ทำใจให้สบายๆ อย่าคิดว่าเราจะทำไม่ได้และอย่าคิดว่า เราก็หนึ่งละสามารถทำสมาธิได้ ที่ปฏิบัติมาด้วยกันจนครึ่งพรรษานี้ เราสามารถทำสมาธิได้ทุกวัน หาใครสู้มิได้

ถ้าเราคิดอย่างนี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำสมาธิได้ เพราะจิตใจของเรากระเพื่อมแล้ว หรือว่าผู้ใดเกิดความหวังว่า เรานี้ทำไม่ได้แล้ว คงจะเป็นผู้ไม่มีบุญวาสนาบารมี หรือว่าบุญวาสนาของเราคงมีเพียงเท่านี้ คงไม่สามารถทำสมาธิได้ คงจะเป็นที่อับอายขายหน้าครูบาอาจารย์ ตลอดถึงเพื่อนฝูงและญาติโยม ตลอดถึงปะขาว แม่ชีที่มารักษาอุโบสถศีลด้วยกัน หากเผื่อว่าเราทำไม่ได้ จะเอาหน้าไปไว้ไหนหนอ ถ้ามัวแต่คิดอย่างนี้ ก็ไม่สามารถทำสมาธิได้

เหตุนั้น ขอให้ทำจิตใจเป็นกลางๆ กำหนดบทพระกัมมัฏฐานที่เราได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ ตลอดครึ่งพรรษาเศษๆ นี้ กำหนดไป ทำจิตใจให้สบายๆ ขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่นี้ หลวงพ่อก็จะบรรยายธรรมควบคู่กันไปพอคร่าวๆ เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่การทำสมาธิของบรรดาท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย นับตั้งแต่เราได้เริ่มปฏิบัติมานี้ ทุกเช้า ทุกเพล ทุกเย็น จะได้ยินแต่เรื่อง บาปๆ บุญๆ อยู่ตลอดเวลา เช้าก็พูด เรื่องบาป เรื่องบุญ เพลก็พูดเรื่องบาป เรื่องบุญ ค่ำก็พูด เรื่องบาป เรื่องบุญ สนทนาปราศรัยกัน ก็สนทนาปราศรัยกันแต่ เรื่องบาป เรื่องบุญ

เราได้เคยสำเหนียกกันหรือไม่ว่า คำว่า บาป คืออะไร คำว่า บุญ คืออะไร

คำว่า บาป นี่พูดเอาภาษาบ้านเรา หมายถึง ความชั่ว การคิดชั่ว การทำชั่ว การพูดชั่ว นั้น ถือว่าเป็นบาป ส่วนคำว่า บุญ ก็หมายความว่า สภาวธรรมที่ทรงไว้ซึ่งคุณความดี คือการคิดดี การทำดี การพูดดี ถือว่าเป็นบุญ สภาวธรรมเหล่าใดที่ คิดแล้ว ทำแล้ว พูดแล้ว ทำให้เราต้องเดือดร้อน และคนอื่นเดือดร้อนด้วย ก็ถือว่าเป็นบาป แต่สภาวธรรมเหล่าใดที่ คิดแล้ว ทำแล้ว พูดแล้ว เราเองก็มีความสุขใจ คนอื่นก็พลอยมีความสุขไปด้วย ถือว่าสภาวธรรมนั้นๆ เป็นบุญ เป็นกุศล

แต่คนส่วนมาก ถ้าพูดเรื่องบุญเรื่องบาปนี้ ถือว่าบุญบาปนี้ไม่มี เพราะว่าเราไม่เข้าใจว่า บาปคืออะไร บุญคืออะไร ถ้าเราเข้าใจแต่เพียงย่อๆ ว่า บาปคือความชั่ว บุญคือความดี ทีนี้เราก็มาย้อนลงไปว่า คนในโลกนี้ ความดียังมีอยู่หรือ ความชั่วยังมีอยู่หรือ ผลของความดียังมีอยู่หรือ ผลของความชั่วยังมีอยู่หรือ ถ้ายังมีอยู่ ก็ถือว่าบุญก็มี บาปก็มี

บาปนี้ ถ้ากล่าวโดยสภาวธรรมล้วนๆ ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง นี้ล่ะเป็นตัวบาป ขอย้ำอีกครั้ง ตัวบาปนั้น เมื่อกล่าวโดยสภาวธรรมล้วนๆ ก็ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นตัวบาป ทีนี้ เราลองคิดดูว่า ขณะนี้ โลภะ โทสะ โมหะ ของเรายังมีอยู่หรือ ถ้ายังมีอยู่ ก็แสดงว่า บาปยังมีอยู่

สำหรับตัวบุญ กล่าวโดยสภาวธรรมล้วนๆ ก็ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ คือความ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง หรือพูดให้เข้าใจชัดลงไป ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นตัวบุญ

สำหรับคนที่ว่าบาปไม่มี ถ้าพูดถึงเรื่องบาปก็จะคัดค้านขึ้นมาทันทีว่า บาปไม่มี ถ้าบาปไม่มี ตำรวจเขาจะมีไว้ทำไม ตำรวจนี้เขามีไว้เพื่อปราบคนทำบาป ถ้าคนทำบาปไม่มี ตำรวจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี เพราะเหตุไร จึงมีตำรวจ เพราะว่ายังมีคนทำบาปอยู่ ยังมีคนบาปอยู่ เมื่อยังมีคนทำบาปและก็ยังมีบาปอยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องมีตำรวจสำหรับปราบปรามคนที่ทำบาป

อีกอย่างหนึ่ง พวกศาลยุติธรรมก็ดี ศาลฎีกาก็ดี อนุฎีกาก็ดี เขามีไว้ทำไม เขามีไว้เพื่อไต่สวนหรือพิจารณาโทษของคนผู้ทำบาปว่า ผู้นี้เขาได้ทำบาปมากน้อยแค่ไหนเพียงไร หรือว่าเขาไม่ได้ทำบาป แต่ถูกใส่ความ ถูกกล่าวหา ผู้พิพากษาก็จะได้พิจารณาโทษ พิจารณาค้นหาความจริงว่า มันเป็นความจริงหรือที่เขากล่าวมานี้ ผู้พิพากษาหรือศาลต่างๆ ที่เขาตั้งไว้ก็เพื่อพิจารณาโทษของผู้ทำบาป ถ้าคนทำบาปไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องมีศาลยุติธรรม มีศาลฎีกา ศาล อนุฎีกา อะไรทำนองนี้ ก็ไม่ต้องมี

อีกอย่างหนึ่ง เรือนจำนี้ เขามีไว้ทำไม เรือนจำเขามีไว้สำหรับทรมานหรือกักขังบุคคลผู้ทำบาป ถ้าหากว่าคนทำบาปไม่มีหรือว่าบาปไม่มี ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีคุกมีตะราง ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเรือนจำ แต่เพราะว่ายังมีคนทำบาปอยู่ จึงจำเป็นต้องมีเรือนจำ หรือว่ามีคุกมีตะรางสำหรับลงโทษผู้ที่ทำบาป นี่สำหรับเรื่องบุญเรื่องบาป มันเป็นอย่างนี้

ทีนี้ หากว่าพูดไปหนักกว่านี้ คนทั้งหลายก็ยิ่งคัดค้านใหญ่ ถ้าพูดถึงเรื่องนรกก็ดี สวรรค์ก็ดี พรหมโลกก็ดี มรรค ผล พระนิพพานก็ดี คนส่วนมากก็ยิ่งมีความคิดไขว้เขวใหญ่ ก็คิดว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี พรหมโลกก็ไม่มี เทพบุตร เทพธิดา เปรต อสุรกาย อะไรทำนองนี้ก็ไม่มี ส่วนมากคนทั้งหลายคิดอย่างนี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ลึกลับมองไม่เห็น

ข้อนี้ ขอย้อนถามท่านอีกครั้งหนึ่งว่า เรารู้ไหมว่า เราเกิดวันนั้น เดือนนั้น ปีนั้น เช่นว่า เราเกิดวันอาทิตย์ เดือน ๕ ปีมะโรง อะไรทำนองนี้ หรือรู้ตั้งแต่เราออกจากครรภ์ คลอดจากครรภ์ของมารดา หรือว่าเมื่อโตแล้วจึงรู้ รู้เมื่อโตแล้ว เมื่อเข้าโรงเรียนแล้วจึงรู้ ใครบอกหรือว่ารู้เอง

พ่อแม่ของเราเป็นผู้บอกเราก็รู้ และเชื่อไหมล่ะว่า เราเกิดวันนั้น เดือนนั้น ปีนั้น ตามที่พ่อแม่บอก เราเชื่อ เพราะเหตุไรเราจึงเชื่อ เพราะว่าท่านเป็นพ่อเป็นแม่ของเรา ถ้าเราไม่เชื่อพ่อเชื่อแม่ของเราแล้ว เราจะไปเชื่อใคร และเราก็เชื่อว่า พ่อแม่นี้คงจะไม่โกหกเรา ข้อนี้ฉันใด

เราก็เหมือนกัน เราเป็นลูกของพระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าเรายังไม่ได้เห็นนรก ยังไม่ได้เห็นเปรต ยังไม่ได้เห็นอสุรกาย ยังไม่ได้เห็นเทพบุตร เทพธิดา อินทร์พรหม แต่ท่านกล่าวไว้ในตำรับตำรา เราก็เชื่อ

เพราะเหตุไร เราจึงเชื่อ เพราะว่าสมเด็จพ่อ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสมเด็จพ่อของเราเป็นผู้บอก เราก็เชื่อ ถ้าเราไม่เชื่อสมเด็จพ่อของเรา เราจะไปเชื่อใคร ข้อนี้ ฉันใด เรื่องนรก สวรรค์ มรรค ผล พระนิพพาน ก็เหมือนกัน

ทีนี้ ถ้าหากว่า นรกมีจริง เปรต อสุรกายมีจริงสวรรค์ และพรหมโลกมีจริง ทำไมไม่เห็น ทำไมเราไม่สามารถที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า และจะทำอย่างไร เราจึงจะเห็น ทำอย่างไร เราจึงจะทราบว่า มันมีของเหล่านี้ ข้อนี้ มันเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา

ส่วนมาก สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดก็จะมองไม่เห็น ตัวอย่าง ขนตาของเรานี้ล่ะ ทุกคนเกิดขึ้นมาแล้วมีขนตาด้วยกันทั้งนั้น แต่ท่านทั้งหลายเห็นไหม สามารถมองผ่านออกมาแล้วเห็นขนตาของตัวเองไหม ไม่เห็น ใครก็ตามไม่สามารถที่จะมองเห็นขนตาตัวเองได้ เพราะอะไร เพราะไม่มีกระจกเงามาส่องดูก็มองไม่เห็น ข้อนี้ ฉันใด พวกนรก พวกเปรต พวกอสุรกาย พวกเทวดา พวกพรหมเหล่านี้ก็เหมือนกัน เพราะว่าเราไม่มีเครื่องรับ ก็มองไม่เห็น เมื่อใดเรามีเครื่องรับ เราก็สามารถจะมองเห็นสิ่งเหล่านี้

อุปมาเหมือนกันกับสถานที่ที่เรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้ล่ะ มีใครบ้างสามารถปฏิเสธได้ว่า ไม่มีคลื่นวิทยุ ไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า สถานที่นี้ ไม่มีคลื่นวิทยุ แต่ทำไมเราถึงไม่เห็น ไม่สามารถที่จะฟังเสียงวิทยุได้ ก็เพราะว่าเราไม่มีเครื่องรับ

ทีนี้ เราจะทำอย่างไร จึงจะรู้ว่ามันมีคลื่นวิทยุ เราก็เอาวิทยุมาเปิดฟัง เราเปิดวิทยุให้ตรงกับไซเกิล (Cycle) ของสถานีที่ส่งมา เช่นว่า สถานี ป.ส.ส. อุบลราชธานีก็ดี กรมประชาสัมพันธ์ก็ดี ที่ส่งมานั้น ว่าระยะที่ส่งมานั้นเท่าไรไซเกิล (cycle) เท่าไร เมกะเฮิร์ตซ์ (megahertz) เท่าไรเมตร เราก็เปิดวิทยุของเราให้มันตรงกับไซเกิลที่สถานีส่งมา ก็ฟังเสียงได้ทันที

หรือว่าในสถานที่เรานั่งฟังอยู่นี้ ท่านทั้งหลายสามารถปฏิเสธได้ไหมว่า ไม่มีคลื่นทีวี ปฏิเสธไม่ได้ มีครบไปหมด สถานีที่เขาส่งอยู่ในประเทศไทยของเราทุกวันนี้ เช่นว่า ช่อง ๓ ช่อง ๕ ช่อง ๗ ช่อง ๙ ช่อง ๑๑ ก็ดี มีครบหมด เต็มไปหมด ไม่มีที่ว่าง

แต่เพราะเหตุไร เราจึงมองไม่เห็น เพราะไม่มีเครื่องรับ ถ้าเรามีเครื่องรับ เราก็มองเห็นทันที ทีนี้เราจะทำอย่างไรจึงจะดูได้ จึงจะรู้ได้ว่ามันมีคลื่นทีวี เราก็เอาทีวีมาเปิดดู เปิดให้ตรงกับช่องที่เขาส่งมา เราต้องการช่อง ๓ มันมีไหม ช่อง ๕ มันมีไหม ช่อง ๗ มีไหม ช่อง ๙ มีไหม ช่อง ๑๑ มีไหม เมื่อเราเปิดให้ตรงกับช่องที่เขาส่งมา ก็จะเห็นภาพ เห็นทั้งภาพ ทั้งได้ยินเสียง ทันที ข้อนี้ ฉันใด

หากว่าพวกเราทั้งหลายต้องการที่จะทราบว่า สวรรค์ก็ดี นรกก็ดี เปรตก็ดี อสุรกายก็ดี เทวดาก็ดี พระพรหมก็ดี มีจริงไหม เราก็ต้องสร้างเครื่องรับขึ้นมา อะไรเป็นเครื่องรับ อภิญญาจิต เรียกว่า อภิญญาจิตเป็นเครื่องรับขึ้นมา

สมมติว่า เราอยากจะเห็น เราก็ต้องสร้างทิพยจักษุอภิญญาขึ้นมา เมื่อใดเราสร้างทิพยจักษุอภิญญาขึ้นมาได้ มีตาล่วงสามัญชนธรรมดา มีตาทิพย์แล้ว ก็สามารถที่จะมองเห็นสิ่งลึกลับ ซึ่งชาวโลกทั้งหลายมองไม่เห็น หรือว่า คนธรรมดาๆ มองไม่เห็น เราก็สามารถมองเห็นได้ เช่นว่าภายในวัดของเรา วันนี้มันเป็นบุญสลากภัต มีพวกสัตว์นรกประเภทไหนบ้าง มารับไทยธรรมจากญาติโยม

วันนี้ญาติของเรามาไหม ญาติของผู้นั้นมาไหม และผู้ที่รับไทยธรรมในวันนี้ มีมากน้อยแค่ไหนเพียงไร เราสามารถมองเห็นได้เลย สัตว์นรกเราก็สามารถเห็นได้ พวกเปรต พวกอสุรกาย ก็สามารถมองเห็นได้ เทพบุตร เทพธิดา อินทร์ พรหม ก็สามารถที่จะมองเห็นได้

ทีนี้เรามองเห็นเฉยๆ แต่ว่าไม่รู้ความหมาย คือฟังเสียงของเขาไม่รู้ เห็นแต่ภาพ แต่ไม่ได้ยินเสียง เราก็ต้องสร้างเครื่องรับขึ้นมาอีกนั่นแหละ เราต้องสร้างเครื่องรับคือ โสตอภิญญา คือหูทิพย์ เมื่อใดเราได้ทิพยโสตอภิญญา คือหูทิพย์แล้ว เราก็ได้ยินเสียงเขาด้วย เขาพูดเราก็ได้ยินคือตาก็เห็น หูก็ได้ยินเสียงด้วย

เมื่อใดเราได้เพียงแค่ทิพยโสตอภิญญาและทิพยจักษุอภิญญานี้ ก็เป็นอันว่าหมดความสงสัยแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องไต่ถามครูบาอาจารย์รูปโน้นรูปนี้ แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแสวงหา หรือไปปฏิบัติสำนักโน้นสำนักนี้ เพราะอะไร เพราะมารู้เฉพาะตนเสียแล้ว หมดความสงสัยเสียแล้ว

นี้ล่ะท่านทั้งหลาย การประพฤติปฏิบัติธรรม จะหมดความสงสัยได้ เรื่องบาป เรื่องบุญนี่ เรื่องนรก เรื่องเปรต เรื่องอสุรกาย เรื่องเทวโลก เรื่องพรหมโลกนี้ ก็ต่อเมื่อเราได้อภิญญาจิต ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อใดเราได้อภิญญาจิตแล้ว ก็หมดความเคลือบแคลงสงสัย เราสามารถที่จะรู้ได้ เช่นว่า ทุกวันๆ เวลาเราตีระฆังทำวัตรก็ดี หรือว่า เวลาเรา ยะถา สัพพี ให้พรญาติโยมก็ดี หมามันเห่า มันหอนขึ้นมา หอนขึ้นมาจนผิดปกติ

เราจะรู้ทันทีว่า เสียงหอนของมันนั้น ถ้าแปลออกมาเป็นภาษามนุษย์เราแล้วมันว่าอย่างไร ความหมายของมัน มันว่าอย่างไร เรารู้ได้ทันที หรือบางทีเรานั่งไหว้พระ ทำวัตรสวดมนต์ เจริญเมตตา แผ่เมตตาอยู่ มีตุ๊กแกมันทักขึ้นมา ร้องขึ้นมา หรือว่ามีจิ้งจกมันร้องขึ้นมา แจ๊บๆ ขึ้นมา จนขนหนังหัวพองสยองเกล้าก็มี

เพราะเหตุไร ในเมื่อมันเป็นอย่างนี้ เราก็รู้ทันทีว่า จิ้งจกนี้มันร้องว่าอย่างไร ความหมายของมันถ้าแปลเป็นภาษาคนแล้ว มันหมายความว่าอย่างไร ตุ๊กแกที่มาร้องนี้ ในขณะอย่างนี้ มันทักอย่างนี้ มันหมายความว่าอย่างไร รู้ได้ทันที

บางทีเราไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์เสร็จแล้ว ก็แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ในขณะที่เรากำลังส่งจิต ส่งใจแผ่บุญแผ่กุศลให้บรรดาสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นล่ะ บรรดาสุนัขที่อยู่ภายในวัดก็ดี ในบ้านก็ดีก็เห่าหอน เสียงโหยหวนเย็นเข้าไปในจิตใจของเรา คนที่ไม่รู้ก็นึกว่าภูตผีปีศาจมันมาเที่ยวตามบ้านตามช่องของเรา

แต่ถ้าผู้มีอภิญญาจิต จะรู้ทันทีว่า สุนัขมันเห่ามันหอน มีเสียงอันโหยหวนเยือกเย็น ทำให้หนังหัวพองสยองเกล้า เกิดความกลัวในขณะนี้ มันหมายความว่า อย่างนี้ๆ ถ้าแปลเป็นภาษาคน เราจะรู้ทันที

บางที เรานั่งอยู่ เสียงไก่มันร้อง เสียงไก่ตัวผู้มันขันอย่างนี้ เวลาเสียงไก่ตัวผู้มันขัน เสียงไก่ตัวผู้นี่มันขัน มันหมายความว่าอย่างไร ถ้าเราได้อภิญญาจิต พวกนี้จะรู้ทันทีว่า ไก่ที่มันขันนี้ มันขันว่าอย่างนี้ๆ มันไม่เป็นเสียงไก่เลยมันเป็นเสียงคน ถ้าเราได้อภิญญาจิต เรารู้ว่ามันขันแล้วมันเป็นเสียงคนขึ้นมา

นี้ล่ะท่านทั้งหลาย เมื่อใดเราได้อภิญญาจิตดังที่หลวงพ่อกล่าวมาแล้วข้างต้น ก็หมดความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องนรก เปรต อสุรกาย เทวโลก พรหมโลก หมดความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องวิญญาณ ในเรื่องโลกนี้ โลกหน้า เช่น บางทีในที่ที่เรานั่งอยู่นี้ อาจจะมีวิญญาณเป็นพันๆ ดวงมาเพื่อแสวงหาที่เกิด มาเพื่อคอยรับอนุโมทนาส่วนบุญส่วนกุศลที่เราทั้งหลายทำอยู่ก็เป็นได้

ทีนี้ ถ้าหากว่า เราไม่เห็น เราจะทำอย่างไร เราก็ต้องหาเอาหลักฐานเข้าวัดเอา เช่นว่า การปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนี้ เรื่องสมาธิ เรื่องฌาน เรื่องสมาบัติ เราเห็นกันอยู่นี้ว่า ผู้นั่งได้ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๖ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ก็มีอยู่

เมื่อของลึกลับซึ่งเป็นของที่ไม่สามารถทำได้ คนทั้งหลายก็ยังทำได้อยู่ พระสงฆ์สามเณรก็ยังทำได้อยู่ ไฉนเลยเรื่องอื่นนั้นจะไม่มี เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะไม่มี เมื่อของจริงของที่ลึกลับ หรือเมื่อของสูงๆ ที่ลึกซึ้งไม่น่าจะมี มันก็มีได้ ของเล็กๆ น้อยๆ ไฉนเลยจะไม่มี เราก็จะเกิดความเชื่อ เกิดศรัทธาขึ้นมา

บัดนี้ ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอนิมนต์ครูบาอาจารย์ ที่อยู่ทางห้องกัมมัฏฐาน ได้เข้ามาดูมาชมบรรดาลูกน้อยทั้งหลายที่นั่งสมาธิ และสาธิตสมาธิในวันนี้ให้ดูว่า เราฟังเทศน์กันมาตลอดทั้งเกือบพรรษานี้ มีผู้ทำได้ไหม เพียงแต่นั่งสมาธิฟังเทศน์วันละ ๓๐ นาที ๓๐ กว่านาทีเศษๆ สามารถเข้าสมาธิได้

การเข้าสมาธินี้ หากว่าปัสสัทธิสูง ตัวจะแข็งมาก แข็งจนสามารถหามไปยกไปไหนต่อไหนก็ได้ สมมุติว่าเข้าในอิริยาบถนอนอย่างนี้ เราเอาศีรษะนี้พาดโต๊ะอีกอันหนึ่ง แล้วก็เอาเท้าพาดโต๊ะอีกอันหนึ่งเหมือนกับท่อนไม้ นี่ถ้าปัสสัทธิสูง แต่ถ้าสมาธิสูง ปัสสัทธิหย่อน ก็ธรรมดาๆ แต่ถ้าสมาธิกับปัสสัทธิเท่าๆ กัน ก็ระหว่างกึ่งกลางไม่แข็งจนเกินไป และไม่อ่อนจนเกินไป ก็ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย

ครูบาอาจารย์ก็ฟังไป หลวงพ่อก็จะพูดเรื่อยๆ ไป ดังที่หลวงพ่อได้เคยบรรยายธรรมะให้ฟังแล้วว่า เรื่องสมาธิ เรื่องการประพฤติปฏิบัติธรรมนี้ ถ้าว่าเราฟังเป็น ฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นนะ ได้สมาธิในขณะที่เราฟังอยู่นี้ล่ะ

ในขณะที่ฟังการบรรยายธรรมวันละ ๓๐ นาที ๔๐ นาที ๔๕ นาที ๑ ชั่วโมงนี้ สามารถได้สมาธิในขณะที่ฟัง บางทีเราฟังเพียง ๑๕ นาทีได้สมาธิแล้ว ดังหนูน้อยๆ คนหนึ่ง ไม่เคยมาประพฤติปฏิบัติสักทีเลย เวลามาฟังเทศน์ฟังการบรรยายธรรม วันนั้น ๑๕ นาที ก็ได้สมาธิสามารถเข้า สมาธิได้เป็นชั่วโมง เทศน์สั้นๆ เท่านั้น ก็สามารถที่จะทำได้

จิตที่จะได้สมาธินี้ เวลาเป็นมหัคคตจิต จิตที่มีอำนาจมาก มีพลังมาก มีอานุภาพมาก สามารถที่จะทำสิ่งอะไรๆ ที่คนธรรมดาทำไม่ได้ สามารถทำได้ แต่หลวงพ่อไม่สอน ยกเว้นผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ผ่านการปฏิบัติไปพอสมควรแล้ว หลวงพ่อจึงจะสอน เพราะว่าพวกนั้นมีจิตใจที่มีกิเลสตัณหาเบาบางลงไปแล้ว จะไม่ไปทำบาปอีก

ถ้าผู้ที่ยังไม่ผ่านวิปัสสนาญาณเลยนี่ จิตใจมันก็ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ เมื่อกิเลสตัณหาเกิดขึ้นมา อาจจะทำบาปทำกรรม ใช้สมาธิจิตนี้ไปทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามได้ สมาธิที่เข้าอย่างนี้ ที่ทำได้อย่างนี้ สามารถที่จะนั่งหลับตาแล้วพับผ้าขาว ๖–๗ ชั้นนี่มัดตาไว้ เอาหนังสือมาอ่าน ก็สามารถอ่านได้ แต่ปีนี้ หลวงพ่อไม่ได้สาธิต เพราะคิดว่าสาธิตมาหลายปีแล้ว ก็สาธิตแต่สมาธิ และสมาธิที่สาธิตในปีนี้ เป็นสมาธิที่ไม่ได้ฝึกเลย เอากันเลย สอบกันเลย

ตามปกติทุกปีนั้น ก็ต้องเอาไปฝึกเสียก่อน ๕ วันเป็นอย่างน้อย แล้วจึงจะเอามาสาธิตให้ท่านครูบาอาจารย์ได้ดูได้ชม แต่ปีนี้ว่าเอากันสดๆ ไปเลย ไม่ต้องฝึกล่ะ เทศน์ให้ฟังทุกวันๆ ว่า การเทศน์ให้ฟังทุกวันๆ นี้ ผลของการเทศน์มีไหม ที่หลวงพ่อว่าให้นั่งสมาธิฟัง ขอให้ได้สมาธิในขณะที่ฟังเทศน์ฟังธรรมนี้เถอะจะดีที่สุด เพราะเราจะได้ไม่ทรมานในการประพฤติปฏิบัติ

ทีนี้ ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า มันได้ตามที่หลวงพ่อพูดหรือไม่ หรือหลวงพ่อนี้พูดโกหกเรา หรือว่าพูดเพื่ออวดดีอวดเด่น อะไรทำนองนี้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิสูจน์เอาเอง สมาธินี้มันเป็นขั้นๆ อยู่ มันมีขั้นที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓

แต่หลวงพ่อจะยังไม่เทศน์ โน้นใกล้ๆ จะจบแล้วจึงจะเทศน์ว่า ขั้นที่ ๑ เป็นอย่างไร ขั้นที่ ๒ เป็นอย่างไร ขั้นที่ ๓ เป็นอย่างไร ขั้นที่ ๔ เป็นอย่างไร ขั้นที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ นั้นเป็นอย่างไร นั้นยังไม่ได้เทศน์ตอนนี้ ให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติไปก่อน สมาธินั้นเราจะเทศน์เพื่อสรุปทีหลัง เมื่อสรุปเรื่องการทำสมาธิเสร็จแล้ว หมายความว่า สรุปสายสมถะเสร็จแล้ว ก็สรุปสายวิปัสสนา เมื่อสรุปทั้งสายสมถะและสายวิปัสสนาเสร็จแล้ว ก็ถือว่าปิดรายการการปฏิบัติภาคหน้าพรรษา แต่เดี๋ยวนี้ยังไม่สรุป อยากให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติไปพลางๆ ก่อน

เวลาของเรายังมีอีกมาก อันนี้ก็เป็นเพียงเครื่องยืนยันเท่านั้น ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ว่าผลของการปฏิบัตินั้นมีไหม การฟังเทศน์ฟังธรรมนี้สามารถได้สมาธิไหม หลวงพ่อก็เป็นเพียงทำให้ดูให้ชม แต่ไม่ใช่อวดอุตริมนุสสธรรม ก็ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาเข้าใจตามนี้ด้วย และการปฏิบัติในหน้าพรรษานี้ จะหนักไปทางวิปัสสนา

หากว่าท่านทั้งหลายอยากปลูกลูกศิษย์ลูกหา เพื่อจะเป็นคู่มือในการสอนในสำนักของท่าน เมื่อท่านออกไปแล้ว ในหน้าฤดูหนาว ขอให้ส่งบรรดาลูกเณร และก็พวกโยมผู้หญิงมาฝึก

เพราะในหน้าหนาวนี้ เช่นว่า เดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ นี้ การปฏิบัติภาคหน้าหนาวนี้ ไม่ได้ปฏิบัติเหมือนที่พวกเราปฏิบัติอยู่นี้ ไม่เหมือนหน้าพรรษา ต้องพาเดินจงกรม พานั่งสมาธิ ทีนี้เวลามาประพฤติปฏิบัติ สมมติว่ามีสามเณร ๖๐ รูปอย่างนี้ ก็สามารถเข้าสมาธิได้ทั้ง ๖๐ รูป มีชีเป็น ๓๐๐ - ๔๐๐ อย่างนี้ ไปยางกระเดา ชีตั้ง ๓๐๐ เศษๆ ก็สามารถเข้าสมาธิได้ทั้ง ๓๐๐ เศษๆ

ทีนี้ ที่ว่าเข้าสมาธิได้นี้ ไม่ใช่ว่าเข้าได้ตามปรัมปรา ต้องเข้าได้ออกได้ตามความประสงค์ อยากเข้าสมาธิเวลาใด ก็เข้าได้ อยากออกเวลาไหนก็ออกได้ เข้าได้ตามกำหนด อยากเข้าอยู่ ๕ นาที ๑๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ก็สามารถที่จะทำได้ตามความต้องการ เรียกว่าทำได้

เมื่อได้สมาธิแล้ว ก็เอาไปฝึกให้ชำนิชำนาญในวสี เมื่อชำนาญในวสีทั้ง ๕ แล้ว ก็สามารถเข้าได้ออกได้ตามความประสงค์ ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย สมาธิที่ได้นี้เป็นของที่มีประโยชน์มาก ดังที่เคยกล่าวเคยเล่าให้ฟังแล้ว เหตุนั้น จึงไม่พูดถึง พูดเอาเฉพาะที่

สมมติว่าเราเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่นี้ หากว่ามีสมาธิอย่างนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีกำลังใจดี โรคภัยไข้เจ็บก็หายเร็ว หรือบางทีเราเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาเป็นโรคอะไรอย่างนี้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปหาหมอ เราใช้สมาธิเราดูก็รู้ว่า เราเป็นโรคอะไร หรือบางทีจะมีการผ่าตัดอย่างนี้ ถามหมอว่าจะใช้เวลาผ่าตัดนี้เท่าไร หมอบอกว่า ๒ ชั่วโมง

เราก็อธิษฐานจิตเข้าสมาธิ ๓ ชั่วโมง เราขอร้องหมอว่า ไม่ต้องฉีดยาชา ไม่ต้องวางยาสลบ ให้ผ่าเลย อาตมารับรองว่าไม่เป็นไร ให้เขาผ่าเลยได้อย่างสบาย เราไม่รู้สึกตัวเลย ถ้าสมาธิมันถึงที่แล้ว พอดีหมอทำบาดแผลผ่าตัดเสร็จแล้ว ๓ ชั่วโมง เราฟื้นมาเลย ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต นี่มันได้ประโยชน์หลายสิ่งหลายประการ ทำให้มีอายุมั่นขวัญยืน แล้วก็ไม่หวั่นไม่พรั่นพรึงต่อความตาย ตายเวลาไหนเราก็ยอมตาย เพราะเรามีสมาธิจิตอยู่แล้ว

สมาธิจิตที่เราได้นี้ ก็เป็นเครื่องประกันแล้วว่า เมื่อเราตายในสมาธิ สมาธิไม่เสื่อม ตายในสมาธิ เราก็ไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว คนเราเมื่อมีเครื่องยืนยัน มีใบประกันชีวิตเช่นนี้แล้ว ก็ไม่หวั่นต่อความตาย จะตายวินาทีนี้ หรือนาทีนี้ ชั่วโมงนี้ก็ยอม ไม่เป็นไร สบายใจไม่ต้องสะทกสะท้าน ไม่ต้องเศร้าโศกวิโยคศัลย์ บ่นพิไรรำพึงรำพันต่างๆ นานาประการ

ท่านครูบาอาจารย์ ตลอดถึงปะขาวแม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่พร้อมเพรียงกันมาประพฤติปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้ทำพิธีสอบภาคปฏิบัติก่อนที่จะออกพรรษา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา ผลอันใดที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ ท่านทั้งหลายก็เห็นเป็นสักขีพยานแล้ว และก็เวลาของเรายังมีอยู่อีกกว่าจะออกพรรษาก็ยังอีกหลายวัน

หากว่ามรรคใด ผลใดหรือสามัญผลใดๆ ที่เรายังไม่ได้ไม่ถึง ก็ยังไม่สายเกินแก้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้อุตสาหะพยายามประพฤติปฏิบัติร่ำไป จนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้าย หากว่าท่านทั้งหลายตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ชะล่าใจ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสตัณหา หลวงพ่อขอรับรองว่า ท่านทั้งหลายจะไม่พลาดจากผลอันจะพึงได้พึงถึง

เอาล่ะ ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้บรรยายธรรมมา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาจึงขอยุติ ในท้ายที่สุดนี้ ขออานุภาพคุณพระพุทธเจ้า ขออานุภาพคุณพระธรรมเจ้า ขออานุภาพคุณพระสงฆเจ้า ขออานุภาพบารมีธรรมที่ท่านทั้งหลายได้สั่งสมอบรมมา พร้อมทั้งอำนาจบารมีธรรมที่หลวงพ่อได้สั่งสมอบรมมา ตั้งแต่ปุเรกชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอจงได้เป็นตบะเดชะเป็นพลวะปัจจัยให้ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ได้เป็นผู้เพียบพูนสมบูรณ์ ไปด้วยสติสัมปชัญญะ ความเพียร สมาธิ ศรัทธา และปัญญา ได้บรรลุ สมาธิ สมาบัติ วิชชา ปฏิสัมภิทา อภิญญา อริยมรรค อริยผล ตามบุญญาธิการที่ท่านทั้งหลายได้สร้างสมอบรมมา ก่อนท่านทั้งหลายจะออกจากห้องกรรมฐานแห่งนี้ไป จงทุกท่านๆ เทอญ.


[ลพ.บุญเรือง สารโท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2559 13:04:32 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 52.0.2743.116 Chrome 52.0.2743.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 06 กันยายน 2559 13:09:10 »




การทำบ่อยๆ
การทำบ่อยๆ
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ  สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโยติ.[๑]

วันนี้ เป็นวันธัมมัสสวนะ คือวันประชุมฟังธรรม เมื่อถึงวันเช่นนี้ ชาวพุทธผู้หวังความบริสุทธิ์ หวังบุญกุศล หวังผลกำไรแห่งชีวิต ต่างก็มีจิตเป็นกุศล อุทิศตนเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา พากันมุ่งหน้ามาสู่วัดวาอารามเพื่อให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ตามสมควรแก่สติปัญญาของตนๆ ถือว่าเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาล

เพราะมีผลานิสงส์ให้ท่านสาธุชนได้รับฟัง ได้ความรู้ ได้ความฉลาด สามารถน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส ตามสมควรแก่วาสนาบารมีของตนๆ เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาในชาติหนึ่งๆ

บัดนี้ เป็นเวลาที่จะได้สดับรับฟังพระสัทธรรมเทศนา จะได้แสดงธรรมในหัวข้อเรื่องว่า บ่อยๆ ตามที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๕๕ อุทยสูตร ดำเนินตามใจความว่า

ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรจนเต็ม ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้งที่สองในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและถือจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้นอุทยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรจนเต็มถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้งที่สามในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์

แม้ในครั้งที่สามอุทยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรจนเต็ม ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณะโคดมนี้ ติดในรสอาหาร คือติดใจในอาหาร จึงเสด็จมาบ่อยๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆ ฝนย่อมตกบ่อยๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ แว่นแคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ ยาจกย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีก็ให้บ่อยๆ ทานบดีให้บ่อยๆ แล้วก็เข้าถึงสวรรค์บ่อยๆ ผู้ต้องการนมย่อมรีดนมบ่อยๆ ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์(การเกิด)บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ ส่วนผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก ดังนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้

คำว่า บ่อยๆ นี้ แปลมาจากศัพท์บาลีว่า ปุนปฺปุนํ ซึ่งนักบาลีนิยมแปลกันว่า บ่อยๆ คือ เสมอๆ เนืองๆ หรือ ถี่ๆ เป็นคำกลางๆ ยังไม่เจาะจงลงไปว่า เป็นฝ่ายดี หรือเป็นฝ่ายชั่ว

ถ้าเป็นฝ่ายไม่ดี ให้เติมคำที่เป็นฝ่ายไม่ดีลงไปข้างหน้า เช่น ทำบาปบ่อยๆ เกียจคร้านบ่อยๆ ทำชั่วบ่อยๆ ดังนี้ เป็นต้น ถ้าเป็นฝ่ายดี ต้องเติมคำที่เป็นฝ่ายดีลงไปข้างหน้า เช่น ทำบุญบ่อยๆ ทำทานบ่อยๆ รักษาศีลบ่อยๆ ไหว้พระสวดมนต์บ่อยๆ เจริญกัมมัฏฐานบ่อยๆ ดังนี้ เป็นต้น

แต่ในที่นี้จะได้อธิบายขยายความไปในทางที่ดีตามเนื้อหาสาระ ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายเอาในทางที่ดี มีประโยชน์ดังนี้ คือ

กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆ เมื่อหว่านพืชบ่อยๆ ก็ได้พืชบ่อยๆ ได้บริโภคบ่อยๆ ได้ขายบ่อยๆ ได้เงินบ่อยๆ ไม่อดไม่อยากบ่อยๆ มั่งคั่งสมบูรณ์บ่อยๆ ฝนตกบ่อยๆ ได้น้ำบ่อยๆ อาบได้บ่อยๆ ต้นไม้งามบ่อยๆ ผลหมากรากไม้อุดมสมบูรณ์บ่อยๆ ขายดีบ่อยๆ ได้บริโภคบ่อยๆ ร่ำรวยบ่อยๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ เมื่อไถนาบ่อยๆ หญ้าตายบ่อยๆ ได้ปุ๋ยบ่อยๆ ดินดีบ่อยๆ ข้าวงามบ่อยๆ ได้เก็บเกี่ยวข้าวบ่อยๆ ได้ข้าวมากบ่อยๆ ได้บริโภคบ่อยๆ ขายข้าวได้เงินบ่อยๆ ได้ทำบุญทำทานบ่อยๆ ได้บุญบ่อยๆ

แว่นแคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ เมื่อบริบูรณ์ก็ไม่อดไม่อยากบ่อยๆ ส่งไปขายเมืองนอกบ่อยๆ นำเงินปอนด์นำเงินดอลลาร์เข้ามาประเทศของตนบ่อยๆ ร่ำรวยบ่อยๆ ยาจกย่อมขอบ่อยๆ เมื่อขอบ่อยๆ ก็ได้เงินบ่อยๆ เมื่อมีเงินแล้วอยากได้อะไรก็ซื้อได้บ่อยๆ ทานบดีก็ให้บ่อยๆ ได้บุญบ่อยๆ ตายแล้วก็ได้ไปเกิดในสวรรค์บ่อยๆ มีความสุขบ่อยๆ สบายบ่อยๆ

ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานย่อมเดินจงกรมบ่อยๆ เมื่อเดินจงกรมบ่อยๆ ย่อมแข็งแรงบ่อยๆ มีสมาธิดีบ่อยๆ เกิดปัญญาบ่อยๆ เมื่อปัญญาเกิดบ่อยๆ ย่อมได้บรรลุมรรคผลพระนิพพานบ่อยๆ ได้โลกุตตรสมบัติบ่อยๆ

แม่ค้าพ่อค้าย่อมขายของบ่อยๆ เมื่อขายของบ่อยๆ ก็ได้เงินบ่อยๆ ได้กำไรบ่อยๆ ได้บริโภคบ่อยๆ มั่งคั่งสมบูรณ์บ่อยๆ ตั้งตนได้บ่อยๆ ดังนี้ ผู้ต้องการนมย่อมรีดนมบ่อยๆ เมื่อรีดนมบ่อยๆ ก็ได้น้ำนมบ่อยๆ ได้ดื่มบ่อยๆ ได้ขายบ่อยๆ ได้ทำบุญบ่อยๆ ได้บุญบ่อยๆ ได้ทรัพย์ภายนอกและอริยทรัพย์ภายในบ่อยๆ

ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ เมื่อเข้าหาแม่โคบ่อยๆ ก็ได้ดื่มน้ำนมแม่บ่อยๆ ไม่หิวบ่อยๆ อิ่มบ่อยๆ ร่างกายสมบูรณ์ด้วยดีบ่อยๆ แข็งแรงบ่อยๆ ราคาแพงบ่อยๆ บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ เมื่อลำบากในการทำงานหาเงิน หาปัจจัย ๔ ศึกษาเล่าเรียนและดิ้นรนขยันทำงานบ่อยๆ ก็ย่อมจะได้งานบ่อยๆ ได้เงินบ่อยๆ ได้ปัจจัย ๔ บ่อยๆ เรียนจบบ่อยๆ สอบได้บ่อยๆ มีความรู้มากบ่อยๆ งานก็มีมากบ่อยๆ สมดังคำที่ท่านผู้รู้กล่าวสอนไว้ว่า

การเรียนเพียรยิ่งแล้ว  เกิดความ รู้เอย
รู้เลิศเกิดกิจการตาม เพราะรู้
การกิจผลิตผลงาม  คือทรัพย์ สมบัตินา
ทรัพย์ช่วยอำนวยกู้  ก่อให้ สุขเกษม

คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ หมายความว่า คนโง่ไม่มีปัญญา ไม่ได้เจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ภพชาติก็ไม่มีทางที่จะสิ้นสุดยุติลงได้ วัฏสงสารก็เพิ่มความยาวออกไปอีกเรื่อยๆ สมดังพระบาลีว่า จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา ดังนี้เป็นต้น ใจความว่า การที่เราท่านทั้งหลายพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ไม่มีที่สิ้นสุดยุติลงไปได้ แท้ที่จริงเพราะเราไม่เห็นอริยสัจ ๔ นั้นเอง ดังนี้

สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ ที่เกิดบ่อยๆ ก็เพราะอำนาจแห่งตัณหา เพราะตัณหาพาให้สัตว์เกิดบ่อยๆ ดังพระบาลีว่า ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ ตัณหายังสัตว์ให้เกิดบ่อยๆ เกิดบ่อยๆ ก็ทุกข์บ่อยๆ ก็ตายบ่อยๆ ที่ตายบ่อยๆ ก็เพราะเกิดบ่อยๆ เกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้น ไม่มีเหลือ สมดังท่านผู้รู้ได้สอนไว้ว่า

อันสังขารเกิดขึ้นแล้ว แตกดับ
เพราะว่าสังขารนับ เยี่ยงหม้อ
มีเกิด แก่ ตายยับ ตลอดทั่ว กันนา
มี มิมี ไม่เหลือล้อ  เพิ่มพื้น พสุธา

บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ ทั้งนี้ก็เพราะคนตายบ่อยๆ คนตายบ่อยๆ ก็เพราะสิ้นบุญบ่อยๆ และสิ้นทั้งสองอย่างบ่อยๆ เมื่อหมดบุญหมดอายุก็ต้องตายบ่อยๆ

บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก ข้อนี้หมายความว่า คนที่มีปัญญานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท พิจารณาเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตายว่าเป็นภัยที่น่ากลัว เป็นกองทุกข์อันยิ่งใหญ่ จึงได้พยายามสร้างบุญสร้างกุศล สร้างบารมีไม่ย่อท้อ เช่น ให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญสมถะวิปัสสนาบ่อยงใหญ่จึงได้พยายามสๆ เพื่อให้ได้บรรลุมรรคผลพระนิพพานบ่อยๆ โดยถือว่าถ้าไม่ได้บรรลุในปฐมวัย ก็จะได้บรรลุในมัชฌิมวัย ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะได้บรรลุในปัจฉิมวัย

ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจฉิมวัย ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้จะตาย ตายแล้วก็จะได้ไปบังเกิดในสวรรค์ แล้วปฏิบัติบนสวรรค์โน้น ถ้ายังไม่ได้บรรลุบนสวรรค์ เมื่อกลับลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ ได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง จะได้สำเร็จมรรคผลนิพพานเป็นแน่แท้

เมื่อไม่ได้พบพระพุทธศาสนาเพราะเป็นสุญกัป ก็จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้มรรคผลนิพพานด้วยตนเอง จะได้สิ้นภพสิ้นชาติ สิ้นกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในห้วงมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป ดังนั้น คนฉลาดคนมีปัญญาจึงได้สร้างบุญบ่อยๆ และยังความพอใจให้เกิดขึ้นในบุญนั้นบ่อยๆ

เพราะถือว่าบุญเท่านั้น ที่จะให้เกิดความสุข ตั้งแต่ขั้นต่ำกระทั่งถึงพระนิพพาน สมดังเทศนาบรรหารที่ได้ยกไว้เป็นหัวข้อในเบื้องต้นนั้นว่า ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา ดังนี้ เป็นต้น ใจความว่า หากว่านรชนจะทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้นบ่อยๆ เพราะว่าการสั่งสมบุญบ่อยๆ ให้เกิดความสุขบ่อยๆ ทั้งในโลกนี้ทั้งโลกหน้า ดังนี้

คำว่า บุญ แปลว่า ชำระ คือชำระกายวาจาใจให้สะอาดก็ได้ แปลว่า กรอง คือกรองเอาบาปออก เอาของไม่ดีออก เอาไว้แต่ของดีๆ ก็ได้ แปลว่า เต็ม คือ ผู้ทำบุญต้องเต็มใจทำ ทำด้วยความเต็มใจ และทำบุญเพื่อยังบารมีให้เต็มก็ได้

บุญเป็นชื่อของความสุขทั้ง ๑๐ ประการ คือสุขของมนุษย์ สุขทิพย์ สุขในฌาน สุขในวิปัสสนา สุขในมรรค สุขในผล สุขคือพระนิพพานก็ได้ บุญนั้นมี ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา บุญมี ๔ คือ กามาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาท่องเที่ยวในกามภูมิ ๑ รูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ ๑ อรูปาวจรบุญ บุญที่ทำแล้วพาท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ ๑ โลกุตตรบุญ บุญเหนือโลกทั้งสามนั้น ได้แก่บุญที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

บุญ ๑๐ นั้น คือ ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน ๑ สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๑ ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ๑ อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญโดยวัยโดยคุณและโดยชาติ ๑ เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ ๑ ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ ๑ ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ๑ ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม ๑ ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม ๑ ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรงคือทำความเห็นให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าบาปมี บุญมี สวรรค์มี นรกมี มรรค ผล นิพพานมี เป็นต้น ๑

อานิสงส์ของบุญ มีดังนี้คือ ใครจะมาแย่งเอาบุญไปไม่ได้, บุญสามารถติดตามตนไปทุกฝีก้าว ดุจเงาติดตามตนไปทุกหนทุกแห่งฉะนั้น เมื่อละร่างนี้ไปแล้วยังสามารถถือเอาบุญติดตามไปได้ในที่ตนเกิดอีกด้วย, บุญไม่ทั่วไปแก่คนอื่น ใครทำใครได้ บุญโจรลักไปไม่ได้,

บุญให้สมบัติที่เราต้องการได้ทุกอย่าง, เทวดาและมนุษย์ปรารถนาสมบัติใดๆ ได้สมบัตินั้นๆ ตามปรารถนาก็เพราะบุญ, มีเสียงไพเราะ มีทรวดทรงงาม มีรูปสวยก็เพราะบุญ, ได้เป็นใหญ่ มีบริวารซื่อสัตย์จงรักภักดี ได้เป็นพระราชาในประเทศหนึ่งๆ ก็เพราะบุญ, ได้อิสริยยศ โภคยศ กิตติยศ สัมมานยศก็เพราะบุญ, ได้เพื่อนดี ได้วิชชา ได้วิมุติ ได้วิโมกข์ ๓ ได้วิโมกข์ ๘ ก็เพราะบุญ, ได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะบุญ

บุญเป็นต้นเหตุของความสุขทุกประการ, บุญเป็นรากเหง้าของสมบัติทั้งปวง, บุญเป็นที่ตั้งอาศัยโภคสมบัติทุกอย่าง, บุญเป็นเครื่องป้องกันอันตรายอันประเสริฐสำหรับบุคคลผู้เดินทางไกลกันดารคือวัฏสงสาร, ที่พึ่งอื่นเช่นกับบุญนั้นไม่มี, บุญเป็นเช่นกับที่อยู่ของราชสีห์,

บุญเป็นเช่นกับพื้นแผ่นดิน เพราะเป็นที่พึ่งอาศัย, บุญเป็นเช่นกับเชือก เพราะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของใจ, บุญเป็นเช่นกับเรือ เพราะพาข้ามโอฆะสงสาร, บุญเป็นเช่นกับบุคคลผู้แกล้วกล้าในสงคราม, บุญเป็นเช่นกับพระนครที่บุคคลตกแต่งดีแล้ว, บุญเป็นเช่นกับดอกปทุม เพราะไม่เปรอะเปื้อนด้วยของสกปรกและมีกลิ่นหอม, บุญเป็นเช่นกับไฟ เพราะเผาบาปให้หมดสิ้นไปจากขันธสันดาน,

บุญเป็นเช่นกับอสรพิษ เพราะกัดบาปออกทิ้ง, บุญเป็นเช่นราชสีห์ เพราะทำให้องอาจกล้าหาญ, บุญเป็นเช่นกับโคอุสุภราช เพราะประเสริฐวิเศษสุด, บุญเป็นเช่นกับพญาช้าง เพราะมีกำลัง, บุญเป็นเช่นกับม้าวลาหกตัวประเสริฐ เพราะพาข้ามโอฆะสงสารได้อย่างรวดเร็วดุจม้าอัสดรตัวที่มีฝีเท้าดีฉะนั้น

บุญเป็นหนทางที่นักปราชญ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้ดำเนินไปแล้ว, และบุญเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เอวํ มหตฺถิกา เอสา ยทิทํ ปุญฺญสมฺปทา บุญดี มีประโยชน์ มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ไพศาล ดังบรรยายมาฉะนี้

ตสฺมา ธีรา ปสํสนฺติ  ปณฺฑิตา กตปุญฺญตํ
เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายจึงยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ทำบุญไว้แล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ 

ดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนเหล่าพุทธบริษัทไว้ว่า
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ  สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโยติ.

หากว่า นรชนจะทำบุญ ก็จงทำบุญนั้นบ่อยๆ จงทำความพอใจในบุญนั้นบ่อยๆ เพราะบุญที่ตนได้สั่งสมไว้แล้ว ให้เกิดความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า

เอาล่ะญาติโยมทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้แสดงพระสัทธรรมเทศนามา ในเรื่องคำว่า บ่อยๆ ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.



[ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 52.0.2743.116 Chrome 52.0.2743.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 กันยายน 2559 11:38:38 »




การบวช


วันนี้ จะได้น้อมนำเอาธรรมะอันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่อง การบวช มาบรรยายประกอบการปฏิบัติของท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านทั้งหลายที่บวชใหม่ บวชหน้าเข้าพรรษา จะได้สดับตรับฟังไว้ ให้พอเป็นแนวทางของการประพฤติปฏิบัติต่อไป

คำว่า บวช ในที่นี้มาจากคำว่า ปวัชชะ ซึ่งแปลว่า เว้น การเว้นในที่นี้ หมายความว่า เว้นจากการประพฤติที่ไม่สมควรแก่สมณสารูป คือ ไม่สมควรแก่นักบวชนั่นเอง

การเว้นในที่นี้ จัดเป็น ๓ ระดับ คือ อย่างต่ำ อย่างกลาง อย่างสูง

การเว้นอย่างต่ำ ได้แก่ การเว้นด้วยการสมาทานรักษา หรือตั้งมั่นอยู่ในศีลอันเป็นสิกขาบทของตนๆ เว้นตามข้อที่พระองค์ทรงห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต ได้แก่ เว้นจากการประพฤติทุจริต เช่น เว้นจากการฆ่ากัน เว้นจากการพยาบาทอาฆาต จองล้างจองผลาญกัน เว้นจากการลักการขโมย เว้นจากการประพฤติผิดประเวณี เว้นจากการพูดโกหก เว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวสามัคคี ทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน เว้นจากการพูดถ้อยคำที่หยาบช้าลามก ทำให้ผู้ฟังเจ็บใจ เว้นจากการพูดถ้อยคำที่ไร้สาระ หาประโยชน์มิได้

การเว้นอย่างกลาง ได้แก่ เว้นด้วยการเจริญสมถภาวนา จนสามารถทำจิตใจให้สงบ เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิตามลำดับ ในขณะที่จิตของเราเป็นสมาธิอยู่นั้น ความชั่วอย่างกลาง คือปริยุฏฐานกิเลส หรือนิวรณ์ ๕ ประการ ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นมากลุ้มรุมจิตใจของเราได้ เราเว้นจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการ นั้นได้ ในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิ

การเว้นอย่างสูง ได้แก่ เว้นด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา เหมือนดังที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ เราเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสติสัมปชัญญะ ทันปัจจุบันรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอริยสัจ ๔ จนสามารถเข้าสู่มัคควิถี ยังมัคคจิตผลจิตให้เกิดขึ้นในขันธสันดาน สามารถประหารความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา และอุปาทาน ให้หมดไปตามกำลังของมรรค กิเลสตัณหาเหล่าใด ที่มรรคประหารแล้ว กิเลสตัณหาเหล่านั้น ก็ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นอันว่าเราเว้นอย่างเด็ดขาด

เหตุนั้น พวกเราทั้งหลาย ที่ได้มีโอกาสมาบวชในพระพุทธศาสนา และได้มาประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่ในขณะนี้ ก็ถือว่าเราทั้งหลายมาบำเพ็ญคุณงามความดี สร้างสมอบรมคุณงามความดี ให้เกิดมีขึ้นในขันธสันดาน ด้วยการอยู่กรรม ด้วยการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน

การบวชนั้นมีหลายประการ ดังที่โบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า ๑. บวชรับ ๒. บวชลับ ๓. บวชลอง ๔. บวชครองประเพณี ๕. บวชหนีสงสาร ๖. บวชผลาญข้าวสุก ๗. บวชสนุกตามเพื่อน ๘. บวชเปื้อนศาสนา ๙. บวชหาของเล่น

๑. บวชรับ คำว่า บวชรับ ในที่นี้ หมายความว่า บางทีเราเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติของเราป่วย เราได้บนบานศาลกล่าวที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นั้นที่นี้ว่า ถ้าเราหายจากเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หายจากเจ็บไข้ได้ป่วย หรือบางที เราไปประสบเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็รับไว้ในจิตใจว่า ถ้าพ้นจากเหตุภัยนี้ไปแล้ว จะขอบวชเพื่อเป็นการตอบแทน เมื่อเราหายจากอาการป่วยเช่นนั้น หรือพ้นจากภาวะอันไม่พึงปรารถนาเช่นนั้นแล้ว เราก็มาบวชในพระพุทธศาสนา ตามโอกาสตามเวลาอำนวย อย่างนี้เรียกว่า บวชรับ

๒. บวชลับ คำว่า บวชลับ ในที่นี้ หมายเอาว่า เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ไม่ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ บวชมาแล้วก็ลับๆ ลี้ๆ การศึกษาไม่เอาถ่าน การงานไม่เอาไหน การประพฤติปฏิบัติยิ่งไปกันใหญ่ บวชมาแล้ว ไม่เอาใจใส่ในการเล่าเรียน ในการประพฤติปฏิบัติ ในการทำกิจทางพระพุทธศาสนา ลับๆ ลี้ๆ อยู่ตลอดเวลา

๓. บวชลอง คือผู้บวชนั้นคิดว่า การบวชนั้นจะมีรสชาติเป็นอย่างไร ได้รับความสุขความสบายมากน้อยแค่ไหนเพียงไร หรือว่าได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร ผู้ที่บวชนั้นมีความเป็นไปอย่างไร คิดอยากจะลองดู แล้วก็มาลองบวชดูว่าจะเป็นอย่างไร อันนี้เรียกว่า บวชลอง

๔. บวชครองประเพณี ตามธรรมดาชาวไทยของเรา หากว่ามีบุตรชายแล้ว ก็ต้องบวชก่อนจะแต่งงาน หรือว่าบางทีทำราชการเป็นครู เป็นทหาร เป็นตำรวจ เป็นต้น เมื่อได้โอกาสได้เวลาก็ลาราชการมาบวชตามประเพณี คือประเพณีของไทยเรานั้น ผู้ชายต้องบวช ถ้าใครไม่ได้บวชก็ถือว่าเป็นคนดิบ อันนี้เราเรียกว่า บวชครองประเพณี

๕. บวชหนีสงสาร หมายความว่า ผู้ที่จะมาบวชในพระพุทธศาสนานั้น มีความเบื่อหน่ายในการครองฆราวาสเพราะเห็นทุกข์เห็นโทษที่เกิดขึ้น จากการอยู่ครองฆราวาส เห็นว่า การเกิดมาในภพนี้ชาตินี้ ก็เป็นทุกข์เหลือทนแล้ว อยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้นไปจากความทุกข์ อยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้นไปจากไฟกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เผาผลาญให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่ตลอดเวลา เกิดความสังเวชสลดใจ จึงเสียสละการงานทุกสิ่งทุกอย่าง สละการครองฆราวาส มาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะทำลายไฟทุกข์ไฟกิเลสซึ่งเผาผลาญอยู่ตลอดเวลานั้น ให้ดับสิ้นสูญลงไป จะได้อยู่อย่างสบาย อันนี้เรียกว่า บวชหนีสงสาร

๖. บวชผลาญข้าวสุก หมายความว่า ผู้มาบวชนั้น บางทีขาดญาติพี่น้อง ขาดลูกหลาน หรือบางทีก็ไม่มีพ่อแม่ที่จะอุปถัมภ์ หากินก็ฝืดเคือง หรือบางทีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมมูลอยู่ แต่ขี้เกียจทำงาน ไม่อยากทำการทำงาน อยู่ที่บ้านเห็นว่าลำบากลำบน สู้ไปบวชไม่ได้

พวกไปบวชนี้ ถึงเวลาก็ตีระฆังสัญญาณ บิณฑบาตมาฉัน ไม่บิณฑบาตก็มีญาติโยมมาส่ง ตอนเพลก็มีญาติโยมมาส่ง ไม่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนแสวงหา ตรากตรำแดด ตรากตรำฝนหนาวร้อนอะไร อยู่อย่างสบาย กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กิน คิดไปอย่างนี้

คิดว่าการบวชนี้มีแต่นั่งกินนอนกิน หรือบางทีคนเฒ่าคนแก่คิดว่า อยู่ไปก็ไม่สามารถเลี้ยงตัวได้ อาศัยการไปบวชคงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ คงจะไม่ลำบากลำบนอะไรทำนองนี้ ก็เสียสละฆราวาสมาบวชในพระพุทธศาสนา อันนี้เรียกว่า บวชผลาญข้าวสุก คือบวชมาเพื่อจะเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

๗. บวชสนุกตามเพื่อน คือเห็นเพื่อนบวชมากๆ เพื่อนคนนั้นก็บวช เพื่อนคนนี้ก็บวช คิดว่ามีแต่เพื่อนไปบวช หากเราไปก็คงจะสนุกสนาน คงจะไม่จืดชืด คงจะไม่เชยทำนองนี้ เห็นเพื่อนบวชก็บวชตาม อย่างนี้เรียกว่า บวชสนุกตามเพื่อน

๘. บวชเปื้อนศาสนา หมายความว่า ผู้บวชประเภทนี้ บวชเข้ามาแล้วไม่ตั้งอกตั้งใจที่จะรักษาหรือปฏิบัติตามธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝ่าฝืนระเบียบกฎหรือกติกาของนักบวช เดี๋ยวก็ทำสิ่งนั้นบ้าง เดี๋ยวก็ทำสิ่งนี้บ้าง ดังที่เราทั้งหลายได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ

บางทีก็ไปยักยอกเอาเงินสงฆ์ บางทีก็ไปเกี้ยวพาราสีไปเสียเนื้อเสียตัวกับสีกาก็มี บางทีก็ไปเล่นการพนัน เล่นไพ่ เล่นหวย อะไรนานัปการ ทำให้ศาสนานี้ต้องเปรอะเปื้อนไป อันนี้พูดเอาง่ายๆ ว่าบวชมาแล้วไม่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ล่วงเกินพระวินัย ไม่เว้นข้อที่พระองค์ทรงห้าม ไม่ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต ไม่ปฏิบัติตามข้อธรรมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสตัณหาหมดไปสิ้นไปจากขันธสันดาน ทำไปตามใจชอบ ทำไปตามอำเภอใจ สุดท้ายก็ทำให้เปื้อนศาสนา

๙. บวชหาของเล่น หมายความว่า บวชเข้ามาแล้วก็หาสิ่งนั้นมาเล่น หาสิ่งนี้มาเล่น สรวลเสเฮฮากัน อะไรที่เป็นของเล่นนั้น ก็ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายคิดเอาเองว่า อะไรที่เรานำมาเล่นนำมาใช้สอยแล้วไม่เป็นประโยชน์แก่พระศาสนา แก่สังคมส่วนรวม มิหนำซ้ำชาวบ้านเขายังติเตียนนินทาเอา ประเภทนั้นแหละ เรียกว่า บวชหาของเล่น

ทีนี้การบวชทั้ง ๙ ประการนี้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาเอาว่า เราอยู่ในประเภทไหน และเราบวชอย่างไรจึงจะถูกต้อง เลือกเอาวิธีไหนจึงจะถูกต้อง ก็ขอให้เลือกเอา

การบวชมีหลายประเภทดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงจัดการบวชของบุคคลไว้เป็น ๔ จำพวก ได้แก่

บุคคลจำพวกที่ ๑ มีกายออกจากบ้าน แต่ใจไม่ได้ออกไปด้วย ได้แก่ ผู้ที่มาบวชในพระพุทธศาสนา มีการมาบวชจริง แต่ใจไม่ได้มาบวช เมื่อมาบวชแล้ว ใจยังเกาะติดอยู่กับวิตก ๓ คือ

๑) กามวิตก มีความคิดไปในทางกาม คิดถึงแต่รูปที่สวยๆ เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอมๆ รสที่เอร็ดอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่มที่ดีๆ อยู่ใต้อำนาจของกามคุณ ตกอยู่ภายใต้ของอำนาจกิเลสกามอันมีโลภะเป็นมูล

๒) พยาบาทวิตก คือบวชมาแล้วก็คิดแส่หาแต่เรื่องที่เราทำไว้ก่อนซึ่งไม่ดี คิดพยาบาทอาฆาต จองล้างจองผลาญ จองเวรผู้นั้นผู้นี้ เวลามาประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ก็ขาดน้ำอดน้ำทน มีการล่วงเกินอะไรๆ กันเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่รู้จักข่มใจ ไม่รู้จักอดทน ไม่รู้จักเสียสละ บางทีต้องทะเลาะวิวาทกัน บางทีก็ผูกพยาบาทอาฆาต จองล้างจองผลาญกัน บ้างก็โกรธกัน จนถึงฆ่ากันตายก็มี ดังที่เราได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์หรือฟังข่าวทางวิทยุดูทีวีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้

๓) วิหิงสาวิตก เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ยังคิดเบียดเบียนบุคคลอื่นสัตว์อื่น ขาดเมตตาธรรม อารมณ์ใดที่ไม่ถูกใจก็คิดแช่งอยู่ว่า ขอให้เขาเดือดร้อนลำบาก สาปให้เขาพินาศให้เขาฉิบหายไป วุ่นอยู่ในจิตใจในขณะนั้นไม่สร่างซา แต่ว่าไม่ล่วงออกมาภายนอก คิดอยู่แต่ในจิตใจด้วยอำนาจของโมหะ

บุคคลประเภทนี้ เรียกว่า บวชแต่กาย ใจยังไม่ได้บวช บวชมาแล้วก็ไม่ได้อานิสงส์ ไม่ได้ประโยชน์อะไร ไม่ได้บุญ ไม่ได้กุศลที่ตรงไหน มิหนำซ้ำ มีแต่บาปแต่กรรม สร้างแต่บาป สร้างแต่กรรมให้แก่ตนไปเรื่อยๆ

บุคคลจำพวกที่ ๒ คือ มีใจออกจากบ้าน แต่กายไม่ได้ออก ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีโอกาสมาบวชในพระพุทธศาสนาเหมือนพวกเราทั้งหลาย ไม่มีโอกาสมาบวชเป็นพระ เป็นเณร เป็นแม่ชี เป็นปะขาว เพราะว่าสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย แต่ว่าเป็นผู้มีใจอันงดงาม มีใจเป็นมหากุศล

ทุกเช้า ทุกเย็น ทุกเพล ทุกค่ำ หรือว่างเมื่อใด ก็เอาใจใส่ในการบำเพ็ญกุศล เป็นต้นว่าให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาอยู่กับบ้านกับเรือนของตน เอาใจใส่อุปถัมภ์อุปัฏฐากพุทธบุตร

ดังญาติโยมทั้งหลายที่มาถวายภัตตาหารเช้าภัตตาหารเพลนี้ เป็นต้น เขาไม่มีโอกาสมาบวช แต่เขาบำรุงพุทธบุตรคือบุตรของพระพุทธเจ้า ใครคือบุตรของพระพุทธเจ้า ก็ได้แก่พวกเราทั้งหลาย นี้เรียกว่า กายไม่ได้บวช แต่ใจบวช

บุคคลจำพวกที่ ๓ คือบุคคลบางคน กายก็ไม่ได้ออกจากบ้าน ใจก็ไม่ได้ออกจากบ้าน ได้แก่ คนที่ไม่มีโอกาสมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อไม่มีโอกาสมาบวชแล้วยังไม่พอ การปฏิบัติยังประกอบไปด้วยอบายมุขเครื่องฉิบหาย

เช่นว่า เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงเจ้าชู้ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน เที่ยวคลับเที่ยวบาร์ ขี้เกียจทำงาน ไม่เอาใจใส่ในการสร้างสมอบรมคุณงามความดี มีการไหว้พระ สวดมนต์ เจริญภาวนา เป็นต้น ไม่สนใจในการทำบุญทำทาน เขามาบอกข่าวป่าวร้องว่า วันนี้มีการทำงานที่นั้นที่นี้เป็นสาธารณะ เช่นว่า ซ่อมถนนหนทาง โรงพยาบาล อนามัย โรงเรียน ทำทำนบ เป็นต้น ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่ช่วยเหลือ ความประพฤตินั้นฝักใฝ่อยู่แต่อบายมุขอยู่ตลอดเวลา เช่นนี้เรียกว่า กายก็ไม่ได้บวช ใจก็ไม่ได้บวช

บุคคลจำพวกที่ ๔ คือบุคคลบางคน มีกายออกจากบ้านและมีใจออกจากบ้านด้วย ได้แก่ ผู้ที่มีโอกาสมาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นพระภิกษุ สามเณร ปะขาว แม่ชี

เมื่อบวชมาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังได้ตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา จนได้บรรลุสมาธิ สมาบัติ วิชชา ปฏิสัมภิทา อภิญญา มรรค ผล พระนิพพาน ดังที่พวกเราทั้งหลายเจริญพระกัมมัฏฐานอยู่ในขณะนี้ อย่างนี้เรียกว่า บวชทั้งกายบวชทั้งใจ

เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบประเภทของการบวช หรือได้ทราบบุคคลทั้ง ๔ จำพวกดังกล่าวมาแล้ว ก็ขอให้นำมาพิสูจน์ตรวจตราดูตัวของเราว่า เราอยู่ในประเภทไหน ขณะนี้การบวชของเราสมบูรณ์แบบแล้วหรือยัง

ต่อไป ก็ขอยกเรื่อง บุรุษอาชาไนย กับ ม้าอาชาไนย มาเปรียบเทียบกัน ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ม้าอาชาไนยกับบุรุษอาชาไนยนั้น มีอยู่ ๔ ประเภท คือ

ม้าอาชาไนยประเภทที่ ๑ พอเห็นปฏักก็เกิดความสำเหนียกรู้เหตุการณ์ แล้วก็ทำตามคำสั่งนายสารถีให้ถูกต้องโดยเร็วพลันทันที ไม่ต้องแทงปฏัก เพียงแต่เงื้อปฏัก เห็นเงาปฏัก ก็รู้ความประสงค์ของนายสารถีของเจ้าของทันที

ม้าอาชาไนยประเภทที่ ๒ แม้จะเงื้อปฏักขึ้น ก็ยังไม่กลัว นายสารถีผู้เป็นเจ้าของต้องเอาปฏักแทงจนถึงขน จึงจะรู้ถึงเหตุการณ์ จึงจะทำตามคำสั่งของนายสารถีได้ถูกต้อง

ม้าอาชาไนยประเภทที่ ๓ แม้จะแทงถึงขนแล้ว ก็ยังไม่กลัว เจ้าของต้องแทงจนถึงเนื้อ จึงจะรู้เหตุการณ์ และทำตามคำสั่งของนายสารถีผู้เป็นเจ้าของได้ถูกต้อง

ม้าอาชาไนยประเภทที่ ๔ แม้จะใช้ปฏักแทงจนถึงเนื้อ ก็ยังไม่รู้สึกตัว ไม่กลัว นายสารถีผู้เป็นเจ้าของต้องเอาปฏักแทงจนถึงกระดูก จึงจะสำเหนียก จึงจะรู้เหตุการณ์ จึงจะทำตามคำสั่งของนายสารถีได้ถูกต้อง โดยฉับพลัน

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏะทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้มีอยู่ ๔ จำพวกเหมือนกัน คือ

บุคคลจำพวกที่ ๑ พอได้ยินข่าวว่า หญิงโน้น ชายโน้น หญิงนั้น ชายนั้น อยู่บ้านนั้น ตำบลนั้น ถึงทุกข์หรือตายไปเท่านั้น ก็เกิดความสลดสังเวชใจว่า เรานี้ก็ต้องเจ็บต้องตายเหมือนกับเขา แล้วก็เริ่มตั้งความเพียร เจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถรู้แจ้งแทงตลอดถึงอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งของตน

บุคคลจำพวกที่ ๒ แม้จะได้ยินข่าวว่า หญิงนั้นชายนี้ อยู่บ้านนั้นบ้านนี้ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือตายลงไป ก็ยังไม่กลัว ยังไม่เกิดสลดสังเวชใจ ต่อเมื่อได้เห็นหญิงชายนั้นตายหรือเจ็บไข้ได้รับความทุกข์ ด้วยตาของตนจริงๆ จึงจะเกิดความกลัว เกิดความสังเวช เกิดความสลดใจ แล้วออกปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

บุคคลจำพวกที่ ๓ แม้จะเห็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม ตายอยู่ต่อหน้าตน ก็ยังไม่เกิดความสังเวชสลดใจ ต่อเมื่อเห็นบิดามารดา ญาติสายโลหิต มิตรสหาย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมกับตน ได้รับทุกข์หรือตายลงไป จึงจะเกิดความกลัว จึงจะเกิดความสลดสังเวชใจ จึงจะได้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม เจริญสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอริยมรรคอริยผล

บุคคลจำพวกที่ ๔ แม้ได้ยินข่าวก็ตาม หรือเห็นด้วยตาของตนเองก็ตาม หรือเห็นพ่อเห็นแม่ ญาติสายโลหิตมิตรสหายที่อยู่ใกล้ชิด ตายลงไปแล้ว ก็ยังไม่กลัว ไม่เกิดความสลดสังเวชใจเลย

ต่อเมื่อใด ตนเองได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา จึงเกิดความกลัว จึงจะเกิดความสลดสังเวชใจแล้วจึงจะได้ตั้งปณิธานในใจว่า ขอให้ข้าพเจ้านี้ หายจากเจ็บไข้ได้ป่วย หรือพ้นทุกข์พ้นร้อนในคราวเคราะห์ครั้งนี้ หากว่าข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนในครั้งนี้ ข้าพเจ้าหายแล้วจะบวช หรือจะตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ จนได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ตามบุญวาสนาบารมีของข้าพเจ้า

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้มีอยู่ ๔ จำพวก ดุจม้าอาชาไนย ดังนี้

เพราะเหตุนั้น ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายจงรีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้ เพราะวันพรุ่งนี้ เราไม่ทราบว่าความตายจะมาถึงแก่เราหรือไม่ อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

ส่วนบุคคลนอกจาก ๔ จำพวกดังกล่าวมาแล้วนี้ ทั้งเห็นภัยเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ทั้งถูกชักนำ ทั้งถูกนำไปดูการประพฤติปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ ทั้งทราบว่า การประพฤติปฏิบัติก็ไม่ยากเท่าไร ถึงกระนั้นก็ไม่เข้าใจ ไม่สนใจในการประพฤติปฏิบัติ เรียกว่าเป็นประเภท ปทปรมะ คือมีบทเป็นอย่างยิ่ง จะบอกจะสอนพร่ำเตือนอย่างไร ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจที่จะให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนา

บุคคลจำพวกนี้ แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ทรงโปรด และก็ไม่จัดเข้าในเวไนยสัตว์ ไม่จัดเข้าเป็นสาวกของพระพุทธองค์

ส่วนบางคน เพียงแต่ทราบว่า เขามีการปฏิบัติที่โน้น เขามีการปฏิบัติที่นี้ เหมือนดังท่านทั้งหลายที่นั่งรวมกันอยู่นี้แหละ ท่านทั้งหลายได้ทราบว่าที่วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จะมีการเข้าปริวาสกรรมในหน้าพรรษา มีการปฏิบัติทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป ก็เกิดความดีอกดีใจ

แม้จะลำบากยากเย็นสักเพียงไรก็อุตส่าห์พยายามมาประพฤติปฏิบัติ ก็ถือว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้มีบุญล้นฟ้าล้นดิน ถ้าจัดอยู่ในบุคคล ๔ จำพวก ก็อยู่ในจำพวกที่ ๑ ถ้าเป็นม้าอาชาไนยก็เป็นม้าอาชาไนยประเภทที่ ๑

และท่านทั้งหลายที่มาบวชในพระพุทธศาสนานี้ ถือว่าเราได้ยกตนขึ้นจากหล่ม จากโคลนตม จากป่า จากไพร จากหลุมถ่านเพลิง

เพราะเหตุไร ?

เพราะว่า ผู้ครองฆราวาสนั้น เหมือนกับตกอยู่ในตมจมอยู่ในโคลนตลอดเวลา ต้องทนทุกข์ทรมานในการประกอบการงานตลอดทั้งวัน ปากกัดตีนถีบ ถึงกระนั้นก็ยังไม่พออยู่พอกิน และผู้ที่อยู่ในฆราวาสนั้น เหมือนกันกับอยู่ในป่า เหมือนกันกับอยู่กลางป่าซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย ไม่รู้ว่าจะหาทางออกจากป่าได้อย่างไร

อีกอย่างหนึ่ง ยังต้องประกอบการงาน ตรากตรำแดด ตรากตรำฝน หนาวร้อนอยู่ตลอดเวลา รวมแล้วผู้ที่อยู่ครองฆราวาสนั้นถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา ทั้งไฟกิเลสและไฟทุกข์ ท่านทั้งหลายที่มาบวช จึงถือว่า เราได้ยกตนขึ้นจากตม จากโคลน จากป่า จากไพร จากหลุมถ่านเพลิง

อนึ่ง ผู้ที่มาบวชในพระพุทธศาสนานั้น มีโอกาสที่จะแสวงหาความสุขความเจริญ ได้หลายสิ่งหลายประการ สามารถที่จะตั้งอยู่ใน ภูมิธรรม ๒๓ ประการ ได้ คือ

อัคโค ตั้งอยู่ในภูมิธรรมอันเลิศด้วยศีลคุณ ๑

นิยโต ตั้งอยู่ในภูมิธรรมอันแน่นอนคือศีลคุณ ๑

อาจาโร ตั้งอยู่ในภูมิธรรมอันมีมารยาทประเสริฐด้วยศีลคุณ ๑

วิหาโร ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรมอันล้ำเลิศ ๑

สัญญโม ตั้งอยู่ในความสำรวมตามสิกขาบทบัญญัติ ๑

สังวโร ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิสีล ๔ ประการ ๑

ขันติ ตั้งอยู่ในขันติคุณ อดทนทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๑

โสรัจจะ ตั้งอยู่ในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย ๑

เอกันตาภิรติ ยินดีเฉพาะทางธรรมอันนำความเย็นมาให้ ๑

หิริ มีภูมิธรรมประจำใจคือความละอายใจในการกระทำความชั่ว ๑

โอตตัปปะ มีภูมิธรรมประจำใจคือความกลัวต่อผลของการกระทำชั่ว ๑

วิริยะ ตั้งอยู่ในความเพียรอันแกล้วกล้า เอาชนะมารจนได้สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ ๑

อัปปมาโท เป็นผู้ไม่ประมาทมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ๑

สิกขาปะทัง อุทเทสัง ปริปุจฉา มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนโอวาทคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเต็มความสามารถ ๑

สีลาทิภิรติ ตั้งอยู่ในภูมิธรรมอันดีมีศีลเป็นที่รัก ๑

นิราลยตา ถอนขึ้นซึ่งความอาลัย ๑

สิกขาปะทัง ปริปูรติ มีศีลบริบูรณ์ ๑

ปริสุทโธ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากความเศร้าหมอง ๑

มหันตภาโว เป็นผู้ไม่คับแคบใจ ๑

ปริสุทธภาโว มีพระธรรมวินัยเป็นเครื่องป้องกันแข็งแรงมิให้ทำความชั่วช้าลามก ๑

ปาปวิคตภาโว ปราศจากคนเลวทราม ๑

ธัมมวิเสสลภนภาโว เป็นผู้ใกล้ต่อการบรรลุคุณวิเศษ คือมรรค ผล พระนิพพาน ๑

รวมธรรมทั้ง ๒๓ ประการนี้ เป็นคุณธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะเปรียบปาน เป็นภูมิธรรมบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นของหาได้ยาก

หากเราอยู่ครองฆราวาส ไม่สามารถจะยังคุณธรรมทั้ง ๒๓ ประการนี้ให้เกิดขึ้นได้เลย เว้นไว้แต่ผู้ที่ได้มาบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งอกตั้งใจรักษาปฏิบัติ เหมือนดังท่านทั้งหลายที่นั่งรวมกันอยู่ในขณะนี้ จึงจะยังคุณธรรมทั้ง ๒๓ ประการนี้ให้เกิดขึ้นได้

ท่านทั้งหลายที่มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว หากว่าตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ตั้งมั่นอยู่ในศีล คือพยายามรักษาศีลโดยเคร่งครัด เป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า อธิสีลสิกขา มีศีลยิ่ง มีศีลมาก มีศีลสมบูรณ์ ท่านทั้งหลายก็จะมีโอกาสบรรลุเป็นพระโสดาบัน และพระสกทาคามี

แต่ท่านใด เมื่อบวชเข้ามาแล้วตั้งอกตั้งใจฝักใฝ่ในทางเจริญภาวนา เป็นผู้มีจิตยิ่งด้วยสมาธิ คือมีสมาธิมาก สามารถได้ฌาน ได้สมาบัติ ได้สำเร็จรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ผู้ที่มากด้วยสมาธิอย่างนี้ สามารถบรรลุเป็นพระอนาคามีได้

ถ้าผู้ที่บวชเข้ามาแล้วเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา คือได้ศึกษา ได้เล่าเรียนมามาก หรือได้ยินครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอนอยู่ทุกวัน และก็เจริญพระวิปัสสนาภาวนา สามารถยังวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นครบบริบูรณ์ ท่านผู้นั้นก็สามารถที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์

อันนี้เป็นอานิสงส์ของการบวชมาในพระพุทธศาสนา

ท่านทั้งหลาย การบวชนี้มีความมุ่งหมายอยู่หลายสิ่งหลายประการ แต่เมื่อสรุปลงมาสั้นๆ พอเหมาะแก่การศึกษา และพอเหมาะแก่กาลเวลา จะนำมาบรรยายสัก ๓ ประการ

๑. พวกเราทั้งหลาย เมื่อบวชมาแล้ว ได้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา คือพระศาสนาจะเจริญถาวรตั้งมั่นอยู่ได้ ก็อาศัยพวกเราทั้งหลายที่เป็นพระภิกษุ เป็นสามเณร เป็นปะขาวแม่ชี เป็นอุบาสกอุบาสิกา

เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติ เว้นข้อที่พระองค์ทรงห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต ปฏิบัติตามธรรมะอันเป็นแนวทางให้เจริญไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุสุขอันไพบูลย์คือมรรคผลนิพพาน เมื่อใด เราตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมดังกล่าวมานี้ ก็สามารถสืบอายุพระพุทธศาสนาไว้ได้ พระศาสนาก็จะเจริญถาวรตั้งมั่นอยู่คู่บ้านคู่เมืองต่อไปได้

๒. เราบวชมาเพื่อบำเพ็ญบารมี คือเราเกิดมาในภพนี้ชาตินี้ อาศัยบุญเก่ากุศลเก่า ที่เราทั้งหลายได้สั่งสมอบรมไว้ตั้งแต่ปุเรกชาติ เป็นพลวปัจจัยให้เราทั้งหลายมาเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา และมีโอกาสได้มาบวช

การมาบวชในพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ เราบวชมาเพื่อสร้างบุญใหม่กุศลใหม่ เพื่อจะได้เป็นกำไรชีวิตในวันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า ภพหน้า ชาติหน้าต่อไป จนกว่าจะถึงพระนิพพาน

๓. เราบวชมาเพื่อจะทดแทนค่าน้ำนม ค่าข้าวป้อน ค่าอุปการะ ที่บิดามารดามีต่อเรา บิดามารดาเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก จะหาวิธีตอบบุญสนองคุณบิดามารดานั้น ไม่อาจที่จะตอบแทนท่านได้หมด แม้ว่าเราจะเอาผ้าผ่อนแพรพรรณ แก้วแหวนเงินทองนพรัตน์แก้ว ๙ ประการ มากองพะเนินให้เพียงปลายพร้าวปลายตาล เพื่อจะทดแทนบุญคุณของท่าน ก็ไม่สามารถที่จะทดแทนบุญคุณของท่านได้

แม้ว่าเราจะเอาพ่อของเรานั่งบ่าขวา เอาแม่ของเรานั่งบ่าซ้าย เวลาท่านจะไปไหนๆ ก็ให้ท่านนั่งอยู่บนบ่าของเรา เวลาเราไปไหนๆ ก็ให้ท่านนั่งอยู่บนบ่าของเรา เวลาท่านจะรับประทานอาหาร ก็ให้ท่านนั่งอยู่บนบ่าของเรา เวลาเราจะรับประทานอาหาร ก็ให้ท่านนั่งอยู่บนบ่าของเรา เวลาท่านจะหลับจะนอน ก็ให้ท่านหลับท่านนอนอยู่บนบ่าของเรา

เวลาท่านถ่ายหนักถ่ายเบา ก็ให้ท่านอยู่บนบ่าของเรา ให้ท่านขี้เยี่ยวรดตัวของเรา จนเราตายไปหรือท่านตายไป ก็ไม่สามารถที่จะทดแทนบุญคุณท่านได้ เว้นไว้แต่ผู้ใด ที่มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ตั้งอกตั้งใจรักษาศีลให้ดี ตั้งอกตั้งใจเจริญสมณธรรม จะเป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ตาม

เมื่อเราตั้งอกตั้งใจมั่นอยู่ในสิกขาทั้ง ๓ ประการ คือศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ได้สั่งสมอบรมบุญกุศลให้เกิดให้มีขึ้นในขันธสันดานของตน แล้วก็อุทิศส่วนบุญกุศลนั้นไปให้พ่อแม่ของเรา จึงจะทดแทนบุญคุณของท่านได้

หรือหากว่าเรามีโอกาสมีเวลา มีความสามารถ เราก็นำธรรมะที่เราได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ประพฤติปฏิบัติมานี้ ไปแนะนำพ่อแม่ของเรา ให้ได้มีโอกาสประพฤติปฏิบัติ หรือหากว่าผู้ใด สามารถที่จะเอาพ่อแม่ของตนเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ผู้นั้นชื่อว่าได้ทดแทนบุญคุณของพ่อของแม่โดยสมบูรณ์แบบ มีท่านพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง

เหตุนั้น ท่านทั้งหลายที่บวชเข้ามาแล้ว ก็ขออย่าได้ลืมบุญคุณของพ่อแม่ที่ท่านมีพระคุณแก่เรา ทุกเช้า ทุกเย็น ทุกเพล ทุกค่ำ ที่เดินจงกรมนั่งสมาธิแล้ว ขอได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ท่าน หรือหากว่าท่านใดมีโอกาสไปเทศน์โปรดพ่อโปรดแม่ จนพ่อแม่ได้มีโอกาสมาบวชด้วย จะเป็นเดือนหนึ่ง หรือ ๒-๓ เดือนก็ตาม หรือเป็นปีก็ตาม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ภูมิใจเถิดว่า เราได้ทำหน้าที่ของผู้เป็นลูกได้ดีแล้วหนอ เพราะเราเกิดมานี้ ได้อาศัยพ่ออาศัยแม่

เมื่อเราได้นำท่านมาบวชมาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเพื่อให้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ถึงสุขอันไพบูลย์คือมรรคผลนิพพาน เราสามารถที่จะนอนตาหลับได้ เพราะว่าเราได้ทำหน้าที่ของบุตรโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายมีปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจได้

แต่สำหรับท่านใด หากไม่มีโอกาสจะทำได้ ก็ขอให้พยายามทำต่อไป หรือหากว่าท่านใด พ่อแม่จากเราไปแล้ว ล่วงลับไปสู่ปรโลกเบื้องหน้าแล้ว ก็มีวิธีเดียว คือเราตั้งอกตั้งใจสั่งสมอบรมคุณงามความดี และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปถึงพ่อแม่ เพื่อเป็นการตอบบุญสนองคุณของท่าน

เอาละท่านทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้น้อมเอาธรรมะเรื่อง การบวช มาบรรยาย ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.


ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.116 Chrome 53.0.2785.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 กันยายน 2559 10:43:37 »




ร่างกายเปรียบด้วยจอมปลวก

ขอเตือนสติท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่งโดยย่อ คือ การฟังการบรรยายธรรม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามประคับประคองจิตให้ดำเนินไปตามธรรมะที่บรรยายจริงๆ คือต้องใคร่ครวญตริตรองพิจารณาให้รู้เนื้อหาสาระของธรรมะ เพื่อจะทำให้การฟังนั้นเข้าใจ เพราะธรรมะบางข้อบางประการนั้น เราฟังเผินๆก็ไม่เข้าใจ ต้องใคร่ครวญ ตริตรองพิจารณาจริงๆ จึงจะเข้าใจ

แต่ว่าธรรมะนั้น บางประการก็เป็นธรรมะเผินๆ เป็นธรรมะที่เหมาะสมแก่ญาติโยมชาวบ้านที่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ตลอดถึงบรรดาลูกเณรทั้งหลายที่ศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมใหม่ๆ

แต่ธรรมะบางข้อบางประการก็สลับซับซ้อน ผู้ที่จะเข้าใจก็ต้องเป็นครูบาอาจารย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลานานพอสมควรจึงจะเข้าใจ

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถึงจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ถ้าเราตั้งใจจดจ่อต่อกระแสธรรมะที่บรรยาย ใคร่ครวญตริตรองพิจารณา ผลสุดท้ายก็จะรู้เอง

เหมือนเมื่อก่อนโน้น ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อยังเป็นพระบวชปีแรก มีความสงสัยธรรมะเป็นบางสิ่งบางประการ แต่เวลาไปกราบเรียนถามครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ปกครองหรือผู้เป็นครูบาอาจารย์ แทนที่จะได้รับความเห็นใจ แทนที่ท่านจะบรรยายให้ฟัง แก้ข้อข้องใจให้เราฟัง ก็ถูกท่านเอ็ดเอา ว่าเอา ด่าเอาว่า เรานี้ไปสอนครูบาอาจารย์ อวดรู้ อวดดี อะไรทำนองนี้

ต้องใช้เวลาค้นคว้าทางการประพฤติปฏิบัติ หาดูในตำรับตำรา อ่านพระไตรปิฎก ไม่พบก็ต้องมาใช้แรงของสมถะของวิปัสสนา ผลสุดท้ายปัญหาที่ข้องใจสงสัยมานานเป็นแรมๆ ปี เป็นตั้งสิบปี ยี่สิบปี ก็สามารถคลี่คลายปัญหานั้นได้

เหตุนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ส่งใจไปตามพระธรรมที่ได้นำมาบรรยาย ถึงจะรู้บ้าง หรือไม่รู้บ้าง แต่เราตั้งใจฟังจริงๆ ผลสุดท้ายความเคลือบแคลงสงสัยก็จะหมดไปเอง

สำหรับวันนี้ หลวงพ่อจะได้น้อมนำเอาธรรมะเรื่อง ร่างกายเปรียบด้วยจอมปลวก มาบรรยาย เพื่อเป็นการประดับสติปัญญาของท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

คือ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลวงพ่อก็คิดว่าจะนำเอาธรรมะที่เราควรจะละจะเลิกจะลดจะทำลาย ให้มันสูญสิ้นไปจากขันธสันดานของเรา มาบรรยายเพื่อจะให้เราได้รู้ได้ทราบว่า อกุศลธรรมเหล่านี้ หรือบาปธรรมเหล่านี้ หรือกิเลสที่ลามกเหล่านี้ ยังมีในจิตในใจของเราอยู่(หรือไม่) ถ้าเห็นว่ายังมีอยู่ เราก็จะได้หาโอกาส หาเวลาชำระสะสางล้างให้หมดจากจิตจากใจของเรา เท่าที่โอกาสและเวลาจะอำนวย เท่าที่บุญวาสนาบารมีของเราจะทำได้

ร่างกาย ซึ่งท่านเปรียบด้วยจอมปลวกนั้น เพราะเหตุ ๔ ประการ คือ
ประการที่ ๑ ธรรมดาจอมปลวกย่อมคายสัตว์ต่างๆออกมา เช่น ตัวปลวกบ้าง งูบ้าง พังพอนบ้าง เป็นต้น ฉันใด แม้ร่างกายของคนทั่วๆไปในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ย่อมคายของโสโครกออกมา เป็นต้นว่า ขี้หู ขี้ตา ขี้มูก ขี้ฟัน และตัวพยาธิปากขอ ต่างๆ ออกมาจากร่างกาย เหมือนกันฉันนั้น

แต่คำว่า คาย ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าคายออกจากปากเท่านั้น หมายความว่า คายออกจากร่างกายทั่วไป เพราะร่างกายทั้งสิ้นเป็นเหมือนกันกับปากแผลทุกๆ แห่งไป ที่เห็นได้โดยง่าย คือ ทวารทั้ง ๙ และรูขุมขน สิ่งโสโครกต่างๆ ย่อมไหลออกจากทวารทั้งเก้า และรูขุมขนเสมอเป็นนิจ สมกับพระพุทธภาษิตที่พระองค์ทรงตรัสไว้แก่นางเขมา ว่า

อาตุรํ อสุจึ ปูตึ  ปสฺส เขเม สมุสฺสยํ
อุคฺฆรนฺตํ ปคฺฆรนฺตํ  พาลานํ อภินนฺทิตํ.[1]

เขมา เธอจงดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาด เน่าใน ไหลเข้าไหลออกอยู่เป็นนิจ แต่คนพาลมีจิตปรารถนายิ่งนัก ดังนี้

ประการที่ ๒ ตัวปลวกทั้งหลายย่อมช่วยกันคาบเอาดินมาคายออก ก่อให้สูงขึ้นประมาณเพียงบั้นเอวบ้าง เพียงศีรษะบ้าง หรือต่ำสูงเกินกว่าที่กล่าวมาแล้วบ้าง ตามแต่กำลังของตัวปลวก หรือสถานที่ปลวกขนเอาดินมาก่อไว้ ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของบุคคลในโลกนี้ก็ฉันนั้น คือ ย่อมก่อร่างสร้างตัว หาอาหารมาบำรุงบำเรอโดยรอบด้าน เพื่อให้เติบโตขึ้นไปโดยลำดับๆ เพราะร่างกายนี้ยังเป็นที่คายความรักใคร่ของพระอริยะเจ้าออกให้หมดสิ้น พระอริยะเจ้ามิได้มีความรักใคร่ใยดีในร่างกายเลย เหตุนั้น ท่านจึงเปรียบเทียบให้เห็นว่าจอมปลวกนั้น ได้แก่ ร่างกาย

ประการที่ ๓ ตัวปลวกที่ขนดินมาก่อนั้น ย่อมคายยางเหนียวคือน้ำลายของมันออกทำเป็นน้ำเชื้อสำหรับทำให้ดินเหนียว ส่วนมนุษย์เราเมื่อจะทำดินเหนียวสำหรับทำภาชนะสิ่งของต่างๆ มีปั้นหม้อ ปั้นอิฐ หรือกระเบื้อง เป็นต้น ย่อมใช้น้ำท่าหรือน้ำยาประสมดินขยำดินให้เหนียวก่อนจึงทำเป็นสิ่งนั้นๆ ได้ ส่วนปลวกไม่มีปัญญาที่จะทำเหมือนมนุษย์เราได้ จึงต้องใช้น้ำลายต่างน้ำท่าหรือน้ำยา โดยเหตุนี้ ดินภายในจอมปลวก หรือดินที่ปลวกกำลังก่อขึ้นมาใหม่นั้นจึงเหนียว ข้อนี้ฉันใด

ร่างกายของมนุษย์ทุกมุมก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือย่อมเกลือกกลั้วไปด้วยของสกปรก ปฏิกูล น่ารังเกียจ ย่อมคายน้ำลายออกผสมกับอาหารในเวลาเรารับประทานอาหาร คือในขณะที่เรารับประทานอาหาร จะเป็นอาหารชนิดใดก็ตามที่เราวางลงไว้บนลิ้นแล้วก็เคี้ยวอาหาร

ในขณะที่เราเคี้ยวอาหารนั้น ถ้าว่าน้ำลายเราไม่มีมาผสมกับอาหาร การเคี้ยวอาหารไม่สามารถที่จะเคี้ยวได้ ไม่สามารถที่จะกลืนลงไปได้ แต่สำหรับอาหารที่เราเคี้ยวนั้น มีอาการเหลวนั้น ก็เพราะอาศัยน้ำลายซึ่งเยิ้มอยู่ใต้ลิ้นมาผสมกับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และก็ในขณะที่เราเคี้ยวอยู่ น้ำลายเหล่านั้นก็มาผสมกับอาหาร จึงทำให้อาหารมีอาการเหลว ในขณะที่รับประทานอาหารอยู่นั้น น้ำลายก็ผสมกับอาหารทำให้อาหารมีอาการเหลวแล้วส่งไปเลี้ยงร่างกาย

อีกอย่างหนึ่ง ร่างกายนี้ยังเป็นที่คายสิ่งหลอกลวงออกแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย คือ สิ่งที่หลอกลวงสัตว์ทั้งหลายให้ลุ่มหลงติดอยู่ อันมีอยู่ในร่างกายที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยกระดูกสามร้อยท่อน หุ้มด้วยหนัง ตรึงมัดด้วยเส้นเอ็นน้อยใหญ่ ชุ่มอยู่ด้วยโลหิต ฉาบไล้ด้วยผิวหนังตลอดถึงอาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น หรืออวัยวะต่างๆ มีหน้า มีตา มีแขน มีขา มีมือ มีเท้า เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเครื่องหลอกลวงให้สัตว์บุคคลหลงรักใคร่เกลียดชัง บางทีก็รักสิ่งนั้น บางทีก็เกลียดสิ่งนั้น หรือรักทั้งหมด บางทีเกลียดทั้งหมด ในส่วนที่มีอยู่ในร่างกาย

ส่วนพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ย่อมคายเสีย ถอนเสีย ละเสีย ซึ่งสิ่งหลอกลวงทั้งสิ้นนั้น มีอาการปานประหนึ่งจอมปลวกอันเป็นที่คายน้ำลายของปลวกทั้งหลายออกมาฉันนั้น

ประการที่ ๔ ดินในจอมปลวก เมื่อเอามาขยำด้วยมือบีบคั้นให้แรงๆ ย่อมมียางไหลออก มีอาการเหนียวคล้ายกับน้ำเชื้อสำหรับปั้นอิฐ ยางเหนียวนั้นเกิดจากน้ำลายของตัวปลวก ฉันใด ร่างกายของสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วสากลโลกนี้ก็ฉันนั้น

เพราะร่างกายนี้เต็มไปด้วยยางเหนียวคือตัณหาทั้ง ๓ ประการ คือ กามตัณหา ความทะยานอยากอย่างแรงกล้าในวัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ภวตัณหา ความทะยานอยากอย่างแรงกล้าในความอยากมีอยากเป็นในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากอย่างแรงกล้าในความไม่อยากมีในความไม่อยากเป็น ความทะยานอยากในอรูปภพ

ร่างกายเรานี้เต็มไปด้วยยางเหนียว ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วก็คายตัณหาทั้งสามประการนี้ออกไป หารูป หาเสียง หากลิ่น หารส หาสัมผัส หาธรรมารมณ์ อยู่เสมอๆ แล้วก็ผูกมัดรัดรึงตรึงสรรพสัตว์ไว้ ให้ติดอยู่ในวัฏสงสารหรือสังสารวัฏตัดไม่ขาด ทำให้ลุ่มหลง ทำให้หมุนเวียนอยู่ในห้วงมหรรณพภพสงสารตลอดกาลอันยืดยาวนาน ไม่มีที่สิ้นสุดยุติลงได้

ส่วนพระอริยะเจ้าทั้งหลาย อาศัยกายนี้คายยางเหนียวเหล่านั้นออก คือละยางเหนียวเสียได้ ไม่หลงใหลติดอยู่ เพราะท่านมีปัญญาฉลาดเฉลียว สามารถละยางเหนียวคือตัณหาทั้ง ๓ ประการ ซึ่งได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้โดยเด็ดขาด ด้วยอำนาจแห่งมัคคญาณ

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่น่ารู้ในสกนธ์กายอันมีอุปมากับจอมปลวกนี้อีกมาก ธรรมดาว่าจอมปลวกย่อมมีลักษณะ ๔ อย่าง คือ
๑.ปสูติฆรสถาน เป็นที่เกิดแห่งปาณกชาติทั้งหลาย ฉันใด ร่างกายก็เป็นที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหมือนกัน ฉันนั้น คือสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเกิดอาศัยอยู่ในผิวหนังบ้าง อาศัยอยู่ในหนังบ้าง อาศัยอยู่ในเนื้อบ้าง อาศัยอยู่ในเส้นเอ็นบ้าง อาศัยอยู่ในกระดูกบ้าง

สัตว์เหล่านั้นได้แก่ กิมิชาติ คือหมู่หนอนประเภทต่างๆ จะเป็นร่างกายของคนยากจนเข็ญใจก็ตาม จะเป็นร่างกายของคนมั่งมีก็ตาม จะเป็นร่างกายของคนผู้ดีก็ตาม จะเป็นร่างกายของไพร่ฟ้าประชาชนก็ตาม จะเป็นร่างกายของพระราชามหากษัตริย์ก็ตาม จะเป็นร่างกายของผู้มีอานุภาพสักปานใดก็ตาม ย่อมเป็นปสูติฆรสถาน คือเรือนเป็นที่เกิดของหมู่หนอนเหมือนกันทุกประเภท มิได้มีพิเศษแตกต่างกันเลยแม้แต่คนเดียว อันนี้ก็เป็นอุปมาข้อที่หนึ่ง

คือหมายความว่า ร่างกายของสัตว์โลกทั้งหลายนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนข้นแค้นอนาถา ถือกระเบื้องขอทาน ถือกะลาขอข้าว หรือว่าเป็นคนมั่งมี เป็นคนผู้ดี เป็นไพร่ฟ้าประชาชน เป็นพระราชามหากษัตริย์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช หรือเป็นผู้มีอานุภาพมากสักปานใดก็ตาม ก็ย่อมเป็นที่เกิดของหมู่หนอนทั้งหลายซึ่งอยู่ในร่างกายแต่ละส่วนๆ ตลอดถึงเนื้อ หนัง กระดูก และไส้ใหญ่ ไส้น้อย ตลอดถึงเกิดตัวพยาธิต่างๆ ขึ้นในร่างกายของตน ไม่ยกเว้น

เหตุนั้น ร่างกายนี้ท่านจึงอุปมาเหมือนกันกับปสูติฆรสถาน คือเป็นที่เกิดของบรรดาหมู่หนอนและตัวพยาธิทั้งหลายซึ่งมีในร่างกาย

๒.วัจจกุฎี ธรรมดาจอมปลวก ย่อมเป็นวัจจกุฎีที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะของสัตว์ทั้งหลาย มีตัวปลวก เป็นต้น ฉันใด ร่างกายนี้ก็เป็นวัจจกุฎีที่ถ่ายมูตรคูถแห่งหมู่หนอน ฉันนั้นเหมือนกัน คือหมายความว่า ท่านอุปมาเหมือนกันกับวัจจกุฎีอันหนึ่ง

ร่างกายของเรานี้ อุปมาเหมือนกับวัจจกุฎี ถ้าภาษาโบราณเรียกว่า ถาน ในสมัยนี้เขาเรียกว่า ห้องน้ำหรือห้องสุขา ร่างกายของเรานี้ก็เป็นห้องสุขาอันหนึ่ง แต่ห้องสุขาคือร่างกายของเรานี้ เป็นที่ถ่ายออกซึ่งอุจจาระปัสสาวะของหมู่หนอนต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย ตลอดถึงตัวพยาธิต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย มันจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ เหตุนั้น ร่างกายอันยาววาหนาคืบของร่างกายของเรานี้ จึงอุปมาเหมือนกับวัจจกุฎี

๓.คิลานศาลา ธรรมดาจอมปลวกย่อมเป็นโรงพยาบาลหรือโรงเจ็บป่วยของหมู่ปลวกทั้งหลาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็เป็นคิลานสถาน คือที่เจ็บป่วยของหมู่หนอน ฉันนั้นเหมือนกัน คือหมายความว่า เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาก็ต้องอาศัยอยู่ในจอมปลวก ข้อนี้ ฉันใด ร่างกายของเรานี้ก็เป็นโรงพยาบาล ถือว่าเป็นโรงพยาบาลของหมู่หนอนทั้งหลายซึ่งอยู่ในร่างกาย เป็นโรงพยาบาลของตัวพยาธิทั้งหลายที่อยู่ในร่างกายของพวกเรา

๔.สุสานสถาน ธรรมดาจอมปลวกย่อมเป็นป่าช้าของตัวปลวกทั้งหลาย ฉันใด ร่างกายนี้ย่อมเป็นสุสานสถาน คือป่าช้าของหมู่หนอนและสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ ของที่เรารับประทานเข้าไป มีพวกเนื้อพวกวัวบ้าง พวกสุกรบ้าง พวกเป็ดไก่บ้าง พวกกุ้งหอยปลาบ้าง เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถจะคำนวณได้ว่ามีสัตว์ประเภทไหนบ้าง สัตว์เหล่านั้นตายเพราะปากของเรา สัตว์ทั้งหลายตายเพราะท้องของเรา

สัตว์ทั้งหลาย ตายเพราะปากเพราะท้องของมนุษย์แต่ละคนนี้ ประมาณเท่าไร เราคำนวณไม่ได้ ดังนั้น ร่างกายของบุคคล ท่านจึงเปรียบไว้ว่า เป็นเหมือนกันกับป่าช้าอันเป็นที่ฝังศพ ฉันนั้น คือร่างกายของเรานี้เป็นป่าช้าสำหรับฝังศพของสัตว์ทั้งหลาย บางครั้งก็ต้องเอาวัวมาฝัง บางทีเอาสุกรมาฝัง บางทีก็เอาเป็ดเอาไก่มาฝัง บางทีก็เอาหอยเอากุ้งเอาปลามาฝัง บางทีเอาแมลงต่างๆ มาฝัง

สรุปแล้วว่า ร่างกายนี้เป็นป่าช้า เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจน่าสะอิดสะเอียน แต่ถ้าหากว่า ผู้มีสติปัญญาพิจารณาเกิดปัญญาแล้ว จะรู้จักถือเอาประโยชน์ในร่างกายซึ่งอุปมาเหมือนกันกับป่าช้านี้มาเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะบรรลุถึงที่หมายปลายทางได้

สมมติว่าท่านทั้งหลาย บางท่านอาจจะเป็นพวกราคจริตอย่างนี้ พวกราคจริตมีความกำหนัดในเพศตรงกันข้ามอย่างแรงกล้า หากเมื่อใดเรามาพิจารณาร่างกายในลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ก็สามารถที่จะผ่อนคลายราคะความกำหนัดนั้นให้เบาบางลงได้ บางทีก็สามารถจะทำลายให้หมดสิ้นไปเลย

โดยเหตุผลทั้ง ๔ ประการนี้แหละท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ร่างกายนี้เหมือนจอมปลวก

อีกประการหนึ่ง ร่างกายหรือรูปนามนี้ นอกจากจะเป็นปสูติฆรสถาน คือเป็นที่เกิดแห่งปาณกชาติคือหมู่หนอนทั้งหลายและตัวพยาธิทั้งหลายแล้ว ยังเป็นปสูติฆรสถาน เรือนอันเป็นที่เกิดของบาปทั้งหลาย คือบาปทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะ ราคะ ตัณหา อุปาทาน ก็อาศัยอยู่ในร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ ร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ เป็นปสูติฆรสถาน คือที่เกิดของความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน

สรุปแล้วว่า กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เมื่อจะเกิดก็เกิดที่ร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ เป็นปสูติฆรสถาน คือที่เกิดของกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด แต่วันนี้จะนำมาบรรยายเฉพาะบาปคือความโกรธ

ความโกรธนี้ ถ้าคิดอีกอย่างหนึ่ง ควรที่จะเรียงไว้เบื้องหน้า เพราะว่าคนเราทั้งหลายนั้น ที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ โดยมากนั้นเกิดเพราะอำนาจของโทสะคือความโกรธ สำหรับโลภะก็ดี สำหรับโมหะก็ดี ถึงจะมีฤทธิ์มีอำนาจอย่างแรงกล้า แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้จิตใจของเราทั้งหลายร้อนเท่าใดนัก ไม่สามารถจะทำให้คนทะเลาะวิวาท บาดหมาง ผิดใจกัน เถียงกัน เท่าใดนัก ไม่สามารถจะทำให้ระหว่างหมู่คณะตลอดถึงญาติต่อญาติทะเลาะวิวาทบาดหมางกันเท่าใดนัก

แต่สำหรับโทสะนี้ หากว่าเกิดขึ้นในกลุ่มใด คณะใด หรือเกิดขึ้นในบ้านใด วัดใด ตำบลใด อำเภอใด ประเทศใด หรือระหว่างประเทศต่อประเทศ ก็จะเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน เกิดสงครามประหัตประหารกันทันที

เหตุนี้เอง วันนี้ หลวงพ่อจึงจะได้น้อมนำมาเฉพาะเรื่องความโกรธ มาบรรยายประกอบการปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป

ความโกรธ ก็เกิดขึ้นที่ปสูติฆรสถาน คือร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ ให้ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเข้าใจไว้ ความโกรธก็ดี โทสะก็ดี ปฏิฆะก็ดี เป็นอันเดียวกัน มีลักษณะเป็นอันเดียวกัน แต่ว่าหนักเบากว่ากันเท่านั้น หรือมีลักษณะต่างกันนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น

ถ้าจะพูดโดยอรรถแล้ว เหมือนกัน แต่ถ้าจะพูดโดยพยัญชนะแล้วต่างกัน แต่ที่จริงแล้วก็อันเดียวกันนั่นหละ ความโกรธก็ดี โทสะก็ดี ปฏิฆะก็ดี เป็นอันเดียวกัน คือจะมีความขุ่นใจ มีลักษณะพองขึ้น เหมือนกันกับอึ่งอ่าง ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง คือความโกรธก็ดี โทสะก็ดี ปฏิฆะก็ดี เป็นอันเดียวกัน มีความขุ่นใจ มีลักษณะพองขึ้น เหมือนกับอึ่งอ่าง โดยอธิบายว่า อึ่งอ่างก็ดี กบก็ดี เวลาร้องย่อมพองตัวโตขึ้นกว่าปกติแล้วร้องอวดเสียงของตนด้วย

เหยี่ยว หรือกา หรืองู หรือตะขาบ เป็นต้น หรือคนได้ยินเสียง ย่อมพากันจับเอามากินเป็นอาหาร อึ่งอ่างหรือกบหรือเขียดนั้น ย่อมตายเพราะมือและปากของข้าศึกเพราะความพองและเสียงของตน ฉันใด ความโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้น จะทำให้บุคคลตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ฉันนั้น

เมื่อความโกรธเริ่มเกิดขึ้น ย่อมทำให้ฮึกเหิม เบ่งกำลังกายเบ่งกำลังใจขึ้นอย่างผิดปกติ ถ้าห้ามไม่หยุดย่อมปรากฏออกมาทางตา ทางปาก ทางมือ ทางเท้า คือหน้าสยิ้วคิ้วขมวด ตาพราว ปากก็พูดคำหยาบด่าว่า มือคว้าไม้ศัสตราอาวุธ เท้าขยับออกย่าง เป็นต้น เมื่อห้ามไม่ฟังในขณะนั้น ก็ย่อมลงมือประหารผู้อื่น

บางทีก็เกิดการต่อสู้กันขึ้น ทำให้บุคคลผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของความโกรธ ตกอยู่ในเวรภัยโทษทัณฑ์อาญามีประการต่างๆ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหลายอย่าง เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว ต้องได้รับโทษทุกข์ในอบายภูมิต่างๆ นานาประการ

ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดว่า คนทั้งหลายที่ถูกปรับไหมใส่โทษ จองจำพันธนาการ ติดคุกติดตะรางตลอดชีวิตก็ดี ถูกประหารชีวิตก็ดี ก็เพราะอำนาจของความโกรธนี้ มีไม่น้อยเลยเหมือนกัน

เหตุนั้น ความโกรธนี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าว่าเราระงับไม่ไหว ผลที่ได้รับก็คือโทษทุกข์อย่างเดียว คืออย่างน้อยที่สุดก็ทำให้จิตใจของเราเป็นทุกข์ เกิดความเดือดร้อน เหมือนกับไฟเผาไฟไหม้อยู่ในจิตในใจ เหมือนกับถูกไฟสุมอยู่ในจิตในใจ ไม่รู้จักสร่างจักเย็นลงไปได้ ถ้าเป็นไปอย่างแรงกล้า ก็ทำการประหัตประหารกันทำร้ายร่างกายกัน ผลที่ได้รับ ก็คือถูกปรับไหมใส่โทษ จองจำพันธนาการ เหมือนกล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว ก็มีนรกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เป็นอันว่า ความโกรธให้โทษ ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น แต่สำหรับผู้อื่นย่อมได้รับโทษเพียงถูกด่า ถูกว่า ถูกทุบตี ถูกฆ่า ถูกฟัน หรือถูกบั่นทอนชีวิต ให้สิ้นไปเท่านั้น หรือบางทีก็ถูกล้างผลาญทรัพย์สมบัติให้พินาศไปในปัจจุบันนี้เท่านั้น

ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ ย่อมได้รับโทษทั้งชาตินี้และชาติหน้า อย่างน้อยที่สุด แม้เพียงโกรธอยู่ในใจ ก็ทำให้เสียคุณธรรมลงไปแล้ว ให้หมดคุณธรรมไปแล้ว คือทำให้หมดเมตตา ทำให้หมดกรุณา ทำให้หมดมุทิตา ทำให้กำลังของสมถะและวิปัสสนาเสื่อมลงไปได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้ผล

รวมความตามบรรยายมานี้ชี้ให้เห็นว่า ความโกรธมีอาการทำให้ใจและกายพองขึ้น เหมือนกันกับอึ่งอ่างหรือกบเขียดในเวลาร้อง ฉันนั้น

ความโกรธ [2] มี ลักษณะ รส หน้าที่ อาการปรากฏ และเหตุใกล้ชิด ดังนี้
๑.จณฺฑิกฺกลกฺขโณ ความโกรธมีความดุร้ายเป็นลักษณะ เหมือนกันกับอสรพิษที่ถูกตี ฉันนั้น เราทั้งหลายลองนึกดูว่า สมมุติว่า หมาบ้าอย่างนี้ เวลาถูกเราตีนั้น มันจะต่อสู้ทันที หรือมิฉะนั้น พวกงูพิษ เมื่อถูกเราตี มันจะต่อสู้ทันที หรือพวกราชสีห์ พวกเสือ ถ้าถูกเราตีเราเฆี่ยนมันจะต่อสู้ขึ้นมาทันที ข้อนี้ฉันใด

พวกโทสะก็เหมือนกัน จะมีความดุร้ายเป็นลักษณะ เหมือนกับอสรพิษที่ถูกตี เมื่อกระทบอะไรนิดอะไรหน่อยก็จะทำอาการต่อสู้ขึ้นมาทันที บางทีต้องด่ากัน บางทีต้องตีกัน ประหัตประหารกัน บางทีต้องแทงกัน บางทีต้องยิงกัน อะไรทำนองนี้ ที่พวกเราทั้งหลายได้ยินได้ฟังอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะตัวโทสะนี้เป็นเหตุ

๒.วิสปฺปนรโส ความโกรธมีความพลุ่งพล่านเป็นรส เปรียบเหมือนกันกับยาพิษที่ใส่ลงไปในน้ำ แล้วแผ่ซ่านไปในน้ำนั้น ทำให้สัตว์ที่มากินถึงแก่ความตายได้ อุปมาเหมือนกันกับว่า อันนี้เป็นโอ่งน้ำ เราเอายาดีดีทีก็ดี ยาโพลิดอนก็ดีใส่ลงไป ยานั้นจะแพร่ไปในน้ำ ทำให้น้ำนั้นมีพิษได้

สมมติว่า น้ำฝนทั้งถังนี้ เป็นน้ำที่สะอาดและก็บริสุทธิ์ เราดื่มกินได้ แต่ถ้าเอายาพิษเจือลงไป ยาดีทีทีก็ดี โพลิดอนก็ดี เจือลงไปในถังน้ำนี้ ท่านนักปฏิบัติคิดดูสิว่าจะเป็นอย่างไร น้ำนี้ก็พลอยเป็นน้ำที่มีพิษทันที ใครไปดื่มกินก็ถึงแก่ความตายได้ ข้อนี้ฉันใด

ความโกรธก็เหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แพร่ไปทั่วสรรพางค์กาย ผู้ใดไปล่วงเกินขณะที่ความโกรธของเขากำลังเดือดพล่านอยู่นั้น ผู้นั้นอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ อาจถูกเขาฆ่าตาย อาจถูกเขาด่า อาจถูกเขาว่า อาจถูกเขาตี อาจถูกเขาฆ่าตายก็ได้ เหตุนั้น ความโกรธนี้ ท่านจึงกล่าวว่ามีความพลุ่งพล่านเป็นรส

๓.อตฺตโน นิสฺสยทหนรโส ความโกรธมีอาการแผดเผานิสัยของตนเป็นหน้าที่ เปรียบเหมือนกันกับไฟป่าที่กำลังเผาป่าให้ไหม้เป็นจุณๆ ไปฉันนั้น คือหมายความว่าความโกรธนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเปลี่ยนนิสัยของบุคคลทันที เรามองดูเผินๆ จะเห็นว่าเขาเป็นผู้มีอัธยาศัยใจคอสุภาพและเยือกเย็นดี แต่ในขณะใดถูกความโกรธเข้าครอบงำเป็นทาสของความโกรธแล้ว ก็จะแสดงปฏิกิริยาขึ้นมาทันที ด้วยอำนาจของความโกรธ เมื่อแสดงปฏิกิริยาขึ้นมาแล้ว เขาคนนั้นก็สามารถที่จะทำลายสิ่งที่มากีดขวางให้พินาศอันตรธานไป ให้สิ้นไป สูญไป หมดไป เหมือนกันกับไฟป่าที่ไหม้ป่าหรือเผาป่าให้เกรียมไปฉะนั้น

๔.ทุสฺสนปจฺจุปฏฺฐาโน ความโกรธนั้น มีความประทุษร้ายเป็นอาการปรากฏ เหมือนกันกับข้าศึกผู้ได้โอกาสฉะนั้น ธรรมดาข้าศึกรบกัน ถ้าฝ่ายใดมีอำนาจมีพลังมีความฉลาดเพียงพอ พอดีข้าศึกฝ่ายตรงกันข้ามเสียหลักไปนิดหนึ่งเท่านั้นล่ะ เขาก็จะโหมเข้าทันที เขาก็สามารถทำลายข้าศึกได้

หรืออุปมาเหมือนกันกับนักมวยที่เขาชกกัน นักมวยที่ชกกันนั้น ระหว่างคู่ต่อสู้นั้น หากว่าผู้ใดผู้หนึ่งเห็นคู่ต่อสู้นั้นเสียหลัก เขาก็จะกระโดดเข้าใส่ และทำร้ายทันที ผลสุดท้าย คู่ต่อสู้ก็ต้องพ่ายแพ้ไป ข้อนี้ฉันใด ความโกรธก็เหมือนกันฉันนั้น

เมื่อใด ความโกรธเกิดขึ้นในขันธสันดานแล้ว หากว่ามีผู้ใดเป็นข้าศึกแสดงอาการเป็นข้าศึก หรือแสดงทางกาย ทางวาจา ทางใจ ออกมาให้เขาเห็น และก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของเขา เขาจะเข้าทำร้ายทันที ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกันมาก่อน บางทีก็คบกันมาตั้งแต่โน้น ตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ๑๕ ปี จนอายุ ๖๐ ปี ๗๐ ปี ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกันมาเลย แต่เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำในขณะใด ผู้นั้นก็สามารถทำลายมิตรนั้นให้พินาศอันตรธานไปได้

๕.อาฆาตวตฺถุปทฏฺฐาโน อีกอย่างหนึ่ง ความโกรธนั้นมีอาการอาฆาตวัตถุสิบประการเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้ความโกรธเกิดขึ้น โทสะนี้เปรียบเหมือนน้ำมูตรเน่าที่เจือด้วยยาพิษ และเปรียบเหมือนก้อนเหล็กแดงที่กำลังลุกโชนอยู่ ผู้ที่กำลังโกรธก็เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังจับมูตรเน่าเจือยาพิษ และเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังจับก้อนเหล็กแดง ฉันนั้น

เหตุให้เกิดความโกรธนั้นมีอยู่ถึง ๕ ประการ คือ
๑.โทสชฺฌาสยตา มีโทสะเป็นอัธยาศัยมาแต่กำเนิด

๒.อคมฺภีรปกติตา มีความคิดไม่ละเอียดไม่ลึกซึ้งเป็นปกติ ขาดโยนิโสมนสิการ ขาดการใคร่ครวญตริตรองพิจารณาหาเหตุผล ไม่ได้คิดถึงโทษความโกรธที่เกิดขึ้น ผลสุดท้าย ก็ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจลงไปได้ ความโกรธก็เกิดขึ้นมาทันที

๓.อปฺปสุตฺตา มีการศึกษามีการสดับรับฟังน้อย เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นมา ก็ไม่มีความรู้ที่จะมายับยั้งความโกรธได้ ก็เป็นเหตุให้ความโกรธเกิดขึ้นมา

๔.อนิฏฺฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดีอยู่เนืองๆ คือได้ประสบกับอนิฏฐารมณ์ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ แต่ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจไม่น่าชอบใจ ก็เป็นเหตุทำให้เกิดความโกรธขึ้น

๕.อาฆาตวตฺถุสมาโยโค[3] ได้ประสบกับอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการเนืองๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

อาฆาตวัตถุ คือ มูลเหตุให้ผูกอาฆาตกันนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา แล้วก็เป็นเหตุให้คาดคิดอย่างนี้ ก็เป็นเหตุให้เกิดความโกรธขึ้นมา
๒.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
๓.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
๔.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียให้แก่คนที่รักที่พอใจของเรา
๕.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียให้แก่คนที่รักที่พอใจของเรา
๖.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่พอใจของเรา
๗.ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา
๘.ความอาฆาตความโกรธเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์ให้แก่คนผู้ที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา
๙.ความอาฆาตความโกรธเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา
๑๐.ความอาฆาตเกิดขึ้นโดยฐานะอันไม่สมควร เช่น เมื่อเดินไปสะดุดตอไม้ ก็เกิดความโกรธขึ้นมาแล้ว ข้อนี้พวกเราทั้งหลายเป็นกันเกือบทุกรูปทุกนามนะ บางทีไปเหยียบเสี้ยนเหยียบหนามอย่างนี้ ก็เกิดความโกรธขึ้นมาแล้ว

บางทีเดินเข้าประตู เดินออกประตู ไปชนกับประตูขอบประตู ไปชนกับขอบหน้าต่าง เกิดความโกรธขึ้นมาแล้ว บางทีได้พร้าโต้มา ก็ฟันประตูจนพังไปก็มี บางทีเห็นว่าหม้อเขาเอาไว้ไม่ดี ไปทุบหม้อทุบโอ่งน้ำแตกก็มี บางทีวิทยุฟังอยู่ดีๆ ขวานทุบลงไปแตกก็มี นี้เรียกว่า เกิดขึ้นในฐานะที่ไม่สมควรเกิด บางทีไปโดนของแตก แล้วก็เกิดความโกรธขึ้นมาเป็นต้น อันนี้เราทั้งหลายคิดให้กว้างๆ คิดให้ซึ้งๆ เราจะเห็นทันที มันไม่น่าจะโกรธก็โกรธขึ้นมา เพราะเหตุใด เพราะว่า ความโกรธมันมีอยู่ในจิตในใจแล้ว

ดังหลวงพ่อได้บอกแล้วว่า ร่างกายนี้เป็นปสูติฆรสถาน คือเป็นที่อยู่ของความโกรธด้วย ความโกรธมันไปนอนอยู่ในจิตในใจของเรา ไม่รู้ว่าแต่เมื่อไหร่ พอดีกระทบอะไรนิดๆหน่อยๆ ซึ่งไม่สมควรโกรธ มันก็โกรธขึ้นมา บางครั้งเราเขียนหนังสืออย่างนี้ ปากกาเขียนหนังสือ ดินสอดำมันออกไม่ดี ปากกามันออกไม่ดี เกิดความโกรธขึ้นมาแล้ว ทุบปากกานั้นแตกไปเลย มันเป็นอย่างนี้

บางทีดื่มน้ำไป อ้อ น้ำมันร้อนเกินไป มันไปทำให้ลิ้นเราร้อนเกินไป ไปลวกลิ้นของเรา ทุบแก้วทิ้งก็มี บางทีเดินไปโดนโน้นโดนนี้ เขาเก็บไม่ดีเขาวางไม่ดี ทุบแตกเลยก็มี อันนี้เรียกว่า ความโกรธเกิดขึ้นโดยฐานะที่ไม่สมควรโกรธ แต่ทำไมมันถึงโกรธ สาเหตุที่มันจะโกรธเพราะว่า โทสะตัวนี้มันไปนอนอยู่ในขันธสันดานของเรามาแล้วตั้งนมตั้งนาน ตั้งแต่อ้อนแต่ออกโน้น มันเป็นอนุสัยกิเลสติดตามมาตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน จนมาถึงภพนี้ชาตินี้ด้วย มันสั่งสมอยู่นานแล้ว มันมีอานุภาพมีพลังอยู่นานแล้ว เมื่อมันได้โอกาสได้เวลาเมื่อใดก็แสดงอาการขึ้นมาทันที

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2559 10:45:39 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.116 Chrome 53.0.2785.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 22 กันยายน 2559 10:46:55 »


ร่างกายเปรียบด้วยจอมปลวก (ต่อ)

ขอเตือนสติท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่งโดยย่อ คือ การฟังการบรรยายธรรม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามประคับประคองจิตให้ดำเนินไปตามธรรมะที่

ความโกรธเกิดขึ้นแล้วให้โทษเป็นอเนกประการ เช่น
๑.ทำให้คนประพฤติชั่วทางกาย เช่น ฆ่ากัน เบียดเบียนกัน เป็นต้น
๒.ทำให้คนประพฤติชั่วทางวาจา เช่น ด่ากันบ้าง ส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นเถียงกันทะเลาะวิวาทบาดหมางกันบ้าง ด่าผู้อื่นให้เจ็บใจบ้าง พูดสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์บ้าง เป็นต้น
๓.ทำให้คนประพฤติชั่วทางใจ เช่น พยาบาทอาฆาต จองล้างจองผลาญเขาบ้าง
๔.ทำลายประโยชน์ตน ทำลายประโยชน์ผู้อื่น
๕.ทำลายประโยชน์ภพนี้ ทำลายประโยชน์ภพหน้า

ดังตัวอย่าง พระนางโรหิณี มีเรื่องเล่าไว้ในธัมมปทัฏฐกถาว่า

พระนางโรหิณี ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านพระอนุรุทธะนี้ เป็นโรคผิวหนัง คือเป็นโรคผิวหนังเกิดขึ้นตามสรีระร่างกายของตน มีความละอายจนไม่กล้าออกมารับแขก ไม่กล้ามาให้คนอื่นเห็นตนเอง ส่วนพี่ชายของพระนางคือท่านพระอนุรุทธะได้สั่งให้นางขายเครื่องประดับ ราคา ๑๐,๐๐๐ กหาปณะ และก็สั่งให้นำทรัพย์จำนวนนั้นไปสร้างโรงฉัน ๒ ชั้น

ในขณะที่กำลังสร้างโรงฉันยังไม่เสร็จนั้น ท่านพระอนุรุทธเถระผู้พี่ชายให้นางปูอาสนะไว้เสมอ พร้อมทั้งให้ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้ นางเป็นผู้ปัดกวาดตามพื้นเป็นต้นเนืองๆ คือพยายามทำความสะอาดพื้นที่โรงฉันของตนเนืองๆ เมื่อนางทำบุญมีการกวาดพื้นโรงฉันอยู่เนืองๆ โรคผิวหนังได้หายไปจนหมดสิ้น บ้านเราว่า เซาเป็นขี้ทูด เซาเป็นขี้หิด (หายจากโรคเรื้อน หายจากหิด)

เมื่อโรงฉันได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว นางได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้ถวายขาทนียะโภชนียะอันประณีตแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั่งเต็มโรงฉัน พระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วจึงตรัสถามว่า นี้เป็นทานของใคร คือในขณะที่ถวายทานนั้น นางโรหิณีไม่ได้มาถวายทาน เพราะมีความละอาย สาเหตุที่ตนเป็นโรคผิวหนัง และก็มีความละอาย ไม่กล้าออกมาสู่ท่ามกลางของพวกแขก

เมื่อฉันเสร็จแล้วพระองค์จึงได้ตรัสถามหาว่า นี้เป็นทานของใคร ท่านพระอนุรุทธะก็กราบทูลว่า เป็นทานของนางโรหิณีซึ่งเป็นพระน้องนางของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้เรียกนางโรหิณีมา แต่พระนางไม่ปรารถนาจะมา แต่ก็จำเป็นต้องมา เพราะว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียก และจะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระพุทธดำรัสนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรๆ ถึงมีความละอายอย่างไร พระนางก็ต้องมา

เมื่อพระนางเสด็จมาถวายบังคม ประทับนั่งแล้ว พระองค์จึงตรัสถามว่า โรหิณี เหตุใดเธอจึงไม่มา พระนางทูลตอบว่า หม่อมฉันเป็นโรคผิวหนัง มีความละอายเพราะโรคนั้น จึงมิได้มา

พระศาสดาตรัสว่า เธอรู้ไหมว่า โรคนั้นอาศัยกรรมอะไรของเธอจึงได้เกิดขึ้นเช่นนี้ พระนางโรหิณีกราบทูลว่า หม่อมฉันไม่ทราบพระพุทธเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า โรคนั้นอาศัยความโกรธของเธอจึงเกิดขึ้น หม่อมฉันทำกรรมอะไรไว้พระพุทธเจ้าข้า พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า

ดูกร โรหิณี ในอดีตกาลนั้น อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตหญิงนักฟ้อนของพระราชา ทรงดำริว่า เราจะให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่หญิงนั้น แล้วให้เขาเอาลูกเต่าร้างใหญ่มา (ลูกเต่าร้างนั้นไม่มีในบ้านเรานะ ลูกเต่าร้างนั้นมันต้นคล้ายๆกับต้นหมาก ผลก็เหมือนกับผลหมาก แต่ผลโตกว่า เมื่อลูกแก่ๆ ขึ้นมาก็เหมือนกับตำแยบ้านเรา หรือทางภาคกลางเรียกว่าหมามุ่ย แต่หมามุ่ยนั้นเป็นฝัก แต่ลูกเต่าร้างนี้มันเป็นผลเหมือนกับผลหมาก มีพิษสงเหมือนกันกับหมามุ่ยหรือตำแย)

นางให้เขาเอาลูกเต่าร้างใหญ่มาแล้ว รับสั่งให้หญิงนักฟ้อนนั้นมายังสำนักของตนแล้ว ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม และระหว่างเครื่องใช้ เป็นต้น ของนางนั้น โดยมิให้นางรู้ตัว โปรยลงตามร่างกายของนาง ราวกับว่าทำความเย้ยหยันเล่น ทันใดนั้นเอง สรีระของนางนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มใหญ่ ไปนอนบนที่นอนก็ถูกอีก เวทนากล้ายิ่งนักได้เกิดขึ้นแล้วแก่นาง นางได้รับความลำบากมาก

พระอัครมเหสีในกาลนั้นก็คือเธอนี่เอง โรหิณี ในกาลนั้น เธอได้ทำกรรมไว้เพราะอาศัยความโกรธ จึงได้รับโทษเห็นปานนี้ แล้วตรัสว่า

โรหิณี ความโกรธก็ดี ความริษยาก็ดี แม้มีประมาณเล็กน้อย ก็ไม่ควรทำเลย

แล้วทรงตรัสเทศนาโปรดพระนางว่า

บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะให้เด็ดขาด พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เจริญวิปัสสนา ไม่ติดข้องในรูปนาม ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล คือ ราคะ โทสะ เป็นต้น

พระนางส่งจิตส่งใจตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง ผลสุดท้ายได้บรรลุเป็นพระโสดาบันในขณะที่ฟังธรรม เมื่อนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีรัศมีช่วงโชติและโชตนาการยิ่งกว่าทวยเทพธิดาทั้งหลาย

เพราะว่านางได้เป็นเทพธิดาประเภทพระอริยะ คือหมายความว่า ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้วก็เป็นพระอริยะ เมื่อเป็นเทพธิดาประเภทพระอริยะ ก็ย่อมมีรัศมีช่วงโชตนาการกว่าบรรดาเทพธิดาทั้งหลายที่เป็นปุถุชน บรรดาเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายก็มีความสนใจใฝ่ฝันมาเชยชม แต่ผลสุดท้าย นางก็ได้เป็นอัครมเหสีของท้าวสักกเทวราช

นี้แหละท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ความโกรธนี้มีพิษร้ายแรงยิ่งนัก ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เหตุที่เราทั้งหลายจะทำลายความโกรธให้หมดไปจากขันธสันดานของเราได้ หรือจะบรรเทาความโกรธลงไปได้นั้น มีหลายสิ่งหลายประการ แต่ก็ขอบรรยายเพียงคร่าวๆ คือ

ประการที่ ๑ เราต้องใช้โยนิโสมนสิการ ใคร่ครวญ ตริตรอง พิจารณา ถึงโทษของความโกรธว่า ความโกรธนี้ดีหรือไม่หนอ ถ้าเราโกรธลงไปแล้วจะเป็นอย่างไร เราต้องพิจารณา

ประการที่ ๒ ก็ให้เราเจริญเมตตามากๆ นึกถึงคนที่ไม่ชอบใจขึ้นมาเมื่อใด ก็จงเจริญภาวนาว่า ขอท่านจงเป็นสุขเถิด ขอเจ้าจงเป็นสุขเถิด ขอท่านจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด ก็จะผ่อนคลายความโกรธลงไปได้ ก็จะบรรเทาความโกรธลงไปได้

มิฉะนั้น เราก็พิจารณาว่า อัตภาพร่างกายอันยาววาหนาคืบของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี เป็นแต่เพียงธาตุทั้ง ๔ ขันธ์ทั้ง ๕ ประชุมกันอยู่ เราโกรธเขาเพื่อประโยชน์อะไร เราชังอะไรของเขา เราโกรธตาเขาหรือ หรือโกรธหูเขา หรือโกรธจมูกเขา หรือว่าโกรธลิ้นเขา หรือโกรธผมเขา หรือโกรธขาเขา โกรธแขนเขา เราไล่ไปๆ

ผลสุดท้าย ก็จะสามารถบรรเทาความโกรธไปได้ เพราะว่าเรารู้แล้วว่า เราเจริญวิปัสสนามานี้ เราเห็นว่าอัตภาพร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นแต่เพียงธาตุทั้ง ๔ ขันธ์ทั้ง ๕ ประชุมกันอยู่ เมื่อหมดสภาพแล้วก็สลายไป แล้วเราจะโกรธธาตุทั้ง ๔ ขันธ์ทั้ง ๕ เพื่อประโยชน์อะไร

เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้ ก็จะบรรเทาความโกรธลงไปได้ หรือมิฉะนั้น สำหรับท่านที่ได้สมาธิ ที่สามารถเข้าสมาธิได้ ก็อธิฏฐานจิตเข้าสมาธิ เมื่อเราออกจากสมาธิมา ความโกรธก็จะบรรเทาเบาบางลงไป หรือมิฉะนั้น ถ้าเราจะทำลายให้เด็ดขาดไป โดยที่ไม่มีเหลือหลอในขันธสันดานของเรา ก็ต้องตั้งอกตั้งใจเจริญวิปัสสนาภาวนา

เมื่อใดเราเจริญวิปัสสนาภาวนา ผ่านญาณ ๑๖ ได้ครั้งที่ ๓ เห็นอริยสัจ ๔ ครั้งที่ ๓ ถึงนิพพานครั้งที่ ๓ ก็สามารถทำลายโทสะนี้ให้หมดไปจากขันธสันดานของเราได้ โดยที่ไม่มีเศษมีเหลือในขันธสันดานอีกต่อไป จิตใจของเราก็จะชุ่มเย็น หรือหวานฉ่ำ เหมือนกันกับเอาไปหล่อเลี้ยงไว้ในน้ำผึ้ง

คือเมื่อความโกรธดับไปแล้ว ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หลวงพ่อไม่สามารถที่จะหาอะไรมาเปรียบเทียบได้ว่า มันเย็นใจสักแค่ไหนเพียงไร จึงได้เปรียบว่าเหมือนกันกับเอาหัวใจของเรานี้ เอาดวงใจของเรานี้ไปแช่ไว้ในน้ำผึ้ง ที่เรากรองสะอาดเรียบร้อยดีแล้ว แล้วก็เป็นน้ำผึ้งที่สดๆ เราเอาดวงใจของเรานี้ไปแช่ไว้ในน้ำผึ้งที่เย็นฉ่ำ แล้วก็เป็นน้ำผึ้งที่สะอาดปราศจากธุลีทั้งหลายทั้งปวง

เราคิดดูสิว่า มันจะได้รับความชุ่มฉ่ำและหวานเย็นสักปานใด ข้ออุปมานี้ฉันใด จิตใจของเรา เมื่อมันหมดความโกรธแล้ว จะทำให้เรานี้มีความสุขใจอยู่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ มีความเย็นชุ่มฉ่ำอยู่ตลอดเวลา แม้จะกระทบอารมณ์อะไร ก็จะไม่มีความกระทบกระทั่งแห่งจิต จะไม่ทำให้ความโกรธนี้เกิดขึ้นมาได้ แล้วก็ในทำนองเดียวกัน

เมื่อความโกรธหมดไป กามราคะ คือความกำหนัดในเพศตรงกันข้ามก็หมดไปด้วย เมื่อความกำหนัดในเพศตรงกันข้ามหมดไป คือหมดทั้งความโกรธด้วย หมดทั้งกามราคะด้วย ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ท่านก็ลองนึกดูสิว่า มันจะมีความสุขสักแค่ไหนเพียงไร

พวกเราทั้งหลายมีความทุกข์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ บวชเป็นเณรก็ไม่สามารถที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ บวชเป็นพระก็ไม่สามารถที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงได้ บวชเป็นผ้าขาวแม่ชี ก็ไม่สามารถที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงลงไปได้ ก็เพราะตัว(กามราคะ)นี้เป็นตัวเหตุสำคัญที่หนึ่ง เป็นเบอร์หนึ่ง ซึ่งทำลายเราให้ได้รับความลำบากและเดือดร้อนดิ้นรนกระวนกระวายในการประพฤติพรหมจรรย์

หรืออีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ไม่สามารถที่จะอยู่ในเพศพรหมจรรย์ได้ตลอดไป คือหมายความว่า ไม่สามารถที่จะบวชเป็นเณรได้ตลอดชีวิต ไม่สามารถที่จะบวชเป็นพระได้ตลอดชีวิต ไม่สามารถที่จะบวชเป็นผ้าขาวแม่ชีได้ตลอดชีวิต ตัวการสำคัญก็คือตัวกามราคะ นี้เอง

เมื่อใดเราทำลายกามราคะได้แล้ว ความคิดที่จะสร้างเหย้าสร้างเรือน ความคิดในการมีลูกมีเมียมีลูกมีผัวก็หมดไปแล้ว เมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดไป กามราคะก็หมดไป ความโกรธก็หมดไป ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ความสุขก็เกิดขึ้นมาแทนที่ ความสุขนี้ไม่มีอะไรที่จะมาเทียบได้

ทีนี้ขอย้ำนิดหนึ่งว่า หากว่าท่านทั้งหลาย ยังทำลายความโกรธนี้ยังไม่ได้ มีวิธีหนึ่งเอาง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งคือ วิธีง่ายๆ ที่สุด ท่านทั้งหลาย เมื่อความโกรธเกิดขึ้นมา ก็ให้กำหนดทันทีว่า โกรธหนอ โกรธหนอ หรือว่า หยุดหนอ หยุดหนอ เราใช้วิธีเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็ยับยั้งความโกรธลงไปได้

ประการที่สอง ตั้งปณิธานจิต เรียกว่า มหาปณิธานจิต มีพระรูปหนึ่งเป็นคนเจ้าโทสะ กระทบอะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธขึ้นมาทันที หลวงพ่อได้แนะวิธีให้เขาตั้งสัจจะปฏิญาณว่าจะไม่โกรธอีกต่อไป เขาก็อธิษฐานว่า

สาธุ ข้าพเจ้าขออธิษฐานว่า ขอให้แผ่นดินทั้งแผ่นนี้แข็งเหมือนเพชร เมื่อใดแผ่นดินทั้งแผ่นที่แข็งเหมือนเพชรนี้ ยังไม่ละลายเป็นน้ำไป หากว่าขณะใดที่ข้าพเจ้ามีความโกรธอยู่ ข้าพเจ้าจะไม่พูดเลย ข้าพเจ้าจะไม่เคียดคนนั้น ไม่เคียดคนนี้ (เคียด เป็นภาษาอิสาน คือ โกรธ) หรือจะไม่ด่าคนนั้นไม่ด่าคนนี้ ข้าพเจ้าจะไม่พูดเลย

หมายความว่า เมื่อใดมีความโกรธอยู่ในจิตในใจ ข้าพเจ้าจะไม่พูดเลยเป็นอันขาด ให้เขาตั้งปณิธานจิตอย่างนี้

ผลสุดท้าย เขาก็ตั้งปณิธานจิตตามที่หลวงพ่อบอก ความโกรธก็ค่อยเบาบางไป เบาบางไปทีละน้อยๆ การประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐานก็ค่อยดีขึ้นๆ ในที่สุดก็สามารถทำลายความโกรธได้

เอาล่ะท่านทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อได้น้อมนำเอาธรรมะเรื่อง ร่างกายเปรียบด้วยจอมปลวก มาบรรยาย ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.


[1] (ขุ. อปทานํ พุทฺธวํโส จริยาปิฏกํ ๓๓ / ๑๕๘ / ๓๐๗)
[2] (ขุ.อฏฺฐกถา อิติวุตฺตกวณฺณนา ปรมตฺถทีปนี หน้า ๗๐)
[3] (โทสมูลจิต จากคัมภีร์สังคหะ หน้า ๕)

ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.116 Chrome 53.0.2785.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 23 กันยายน 2559 17:57:30 »




อุบายบรรเทาความโกรธ

ณ โอกาสบัดนี้ จักได้บรรยาย อุบายบรรเทาความโกรธ ๑๐ ประการ พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของท่านผู้สนใจใคร่ในธรรมทั้งหลาย สืบต่อไป

อุบายบรรเทาความโกรธนั้น มีดังต่อไปนี้

๑.ด้วยการปรับเข้าฌานใหม่ หมายความว่า ถ้าบุคคลเจริญเมตตาจนได้เมตตาฌานแล้ว ขณะส่งจิตส่งใจไปในผู้ที่เป็นคู่เวรกันนั้น ความโกรธแค้นย่อมเกิดขึ้นมาเสีย เพราะหวนนึกคิดถึงความผิดที่เขาก่อกรรมทำไว้แต่ก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ โยคีบุคคลจงหวนกลับไปเข้าเมตตาฌานที่ตนทำให้เกิดแล้วในบุคคลพวกก่อนๆ มีคนเป็นที่รักเป็นต้น จำพวกใดจำพวกหนึ่ง หลายๆหน ออกจากฌานแล้วจึงค่อยเจริญเมตตาไปในผู้ที่เป็นคู่เวรกันอีกแล้วๆเล่าๆ บรรเทาความโกรธให้หายไป

๒.ด้วยการพิจารณาถึงพุทธโอวาท ถ้าโยคีบุคคลได้มีความพยายามปฏิบัติอยู่โดยทำนองนั้นเป็นอย่างดีแล้ว ความโกรธแค้นนั้นก็ไม่ดับหายไป แต่นั้นจงพยายามให้หนักขึ้น เพื่อบรรเทาความโกรธแค้นให้จงได้ โดยการพิจารณาถึงพุทธโอวาทที่ตรัสสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ เอามาพร่ำสอนตัวเอง ด้วยประการดังจะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ คือ

เฮ้ย เจ้าบุรุษขี้โกรธ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้แล้วมิใช่หรือว่า

๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกโจรผู้มีใจบาปหยาบช้าจะพึงเอาเลื่อยมีด้ามสองข้างมาเลื่อยอวัยวะทั้งหลาย แม้ขณะพวกโจรกำลังเลื่อยอยู่นั้น ผู้ใดเกิดมีใจประทุษร้ายต่อพวกโจรนั้น เขาชื่อว่าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายนั้น ดังนี้ประการหนึ่ง

๒) ผู้ใดโกรธต่อบุคคลผู้โกรธก่อน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนเลวเสียกว่าบุคคลผู้โกรธก่อน เพราะเหตุที่โกรธตอบนั้น ผู้ใดไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธก่อนนั้น ผู้นั้นชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้อย่างแสนยาก ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติยั้งความโกรธไว้เสียได้ คือไม่โกรธตอบ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนอื่นด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ประการหนึ่ง

๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลกรรม ๗ ประการ ที่ศัตรูต้องการให้มีแก่กัน ที่ศัตรูพึงทำให้แก่กัน จะมาถึงสตรีหรือบุรุษผู้ที่โกรธเอง คือ

ประการที่ ๑ ศัตรูในโลกนี้ ย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตัวเองว่า ทำอย่างไรหนอ คนนี้จึงจะมีผิวพรรณชั่ว เพราะศัตรูย่อมไม่พอใจที่จะให้ศัตรูมีผิวพรรณงาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว ถือแต่ความโกรธเป็นเบื้องหน้านี้ ถึงเขาจะอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดดีแล้ว ไล้ทาผิวพรรณให้ผุดผ่องดีแล้ว ตัดผมและโกนหนวดเคราให้เรียบร้อยดีแล้ว นุ่งห่มผ้าที่ขาวสะอาดดีแล้วก็ตามที แต่เขาผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้วนั้น ย่อมชื่อว่ามีผิวพรรณชั่วอยู่นั่นเอง

ประการที่ ๒ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้จะพึงอยู่เป็นทุกข์

ประการที่ ๓ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้จึงจะไม่มีทรัพย์มาก

ประการที่ ๔ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้จึงจะไม่มีโภคะมาก

ประการที่ ๕ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้จึงจะไม่มียศศักดิ์

ประการที่ ๖ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้จึงจะไม่มีพวกพ้องมิตรสหาย

ประการที่ ๗ ศัตรูย่อมคิดร้ายหมายโทษให้แก่ศัตรูของตนว่า ทำอย่างไรหนอ เจ้าคนนี้ นับตั้งแต่แตกกายทำลายชีพไปแล้ว จึงจะไม่ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะศัตรูย่อมไม่พอใจให้ศัตรูไปบังเกิดในโลกสวรรค์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว ถือความโกรธเป็นเบื้องหน้านั้น ย่อมประพฤติทุจริตทางกายก็ได้ ทางวาจาก็ได้ ด้วยเหตุที่เขาประพฤติทุจริตทางกายวาจานั้น นับแต่เวลาที่แตกกายทำลายชีพไปแล้ว เขาผู้ซึ่งถูกความโกรธครอบงำแล้วนั้น ย่อมจะไปสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ประการหนึ่ง

๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟืนสำหรับเผาศพที่ไฟไหม้ปลายทั้ง ๒ ข้าง ซ้ำตรงกลางเปื้อนคูถสุนัข ย่อมไม่สำเร็จเป็นฟืนในบ้านด้วย ย่อมไม่สำเร็จเป็นฟืนในป่าด้วย ฉันใด เรากล่าวว่า คนที่โกรธแล้วก็มีลักษณะอาการเหมือนอย่างนั้น ดังนี้ประการหนึ่ง

ก็บัดนี้ เจ้ามัวแต่โกรธเขาอย่างนี้ จักได้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย จักได้ชื่อว่าเป็นคนเลวเสียกว่าคนที่โกรธก่อนด้วย จักไม่ได้ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลจะชนะได้แสนยากด้วย จักได้ชื่อว่าทำอกุศลกรรมที่ศัตรูต้องการให้มีแก่กัน ให้แก่ตนเสียเองด้วย จักได้ชื่อว่ามีลักษณะอาการเหมือนกับฟืนเผาศพด้วย

๓.ด้วยมองคนในแง่ดี เมื่อโยคีบุคคลพยายามเชิญพุทธโอวาทมาสอนตนอยู่ด้วยประการอย่างนี้ ถ้าความโกรธแค้นสงบลงเสียได้ นั่นเป็นการดี แต่ถ้ายังไม่สงบ ทีนั้น จงเพียรพยายามทำอุบายอย่างอื่นต่อไป

กล่าวคือ ถ้าคุณธรรมส่วนใดๆก็ตามที่คนคู่เวรนั้นมีอยู่ เช่น ความสะอาดเรียบร้อยของเขาบางประการ เมื่อนำมาพิจารณาดูให้ดีแล้ว สามารถที่จะทำให้เกิดความเลื่อมใสพอใจขึ้นได้ ก็จงระลึกถึงคุณธรรมส่วนนั้นๆมาบรรเทาความอาฆาต และเพียรทำความอาฆาตเคียดแค้นให้หายไปโดยประการดังต่อไปนี้

มีความจริงอยู่ว่า คนบางคนมีมารยาททางกายเรียบร้อยแต่อย่างเดียว และความเรียบร้อยทางกายนั้น คนทั่วไปจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเขาบำเพ็ญวัตรปฏิบัติไปนานๆ แต่มารยาททางวาจาและทางใจของเขาไม่เรียบร้อย สำหรับคนเช่นนี้ โยคีบุคคลอย่าได้ระลึกถึงมารยาททางวาจาและทางใจของเขา จงระลึกถึงแต่มารยาททางกายของเขาอย่างเดียวเท่านั้น

บางคนมีมารยาทเรียบร้อยแต่ทางวาจาอย่างเดียวเท่านั้น และความเรียบร้อยทางวาจานั้น คนทั่วไปย่อมจะรู้ได้ เพราะว่าคนที่มีมารยาททางวาจาเรียบร้อยนั้น โดยปกติแล้วเป็นคนฉลาดในการปฏิสันถาร เป็นคนนิ่มนวลพูดเพราะรื่นเริง ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสทักทายก่อน ถึงคราวสวดสรภัญญะก็สวดด้วยเสียงอันไพเราะ ถึงคราวแสดงธรรมก็แสดงได้ชัดถ้อยชัดคำ ด้วยบทและพยัญชนะอันกลมกล่อม แต่มารยาททางกายและทางใจของเขาไม่เรียบร้อย สำหรับคนเช่นนี้ โยคีบุคคลอย่าได้ระลึกถึงมารยาทในทางกายและทางใจของเขา จงระลึกถึงมารยาททางวาจาของเขาอย่างเดียวเท่านั้น

คนบางคนมีมารยาทเรียบร้อยแต่ทางใจอย่างเดียว และความเรียบร้อยทางใจนั้น จะปรากฏชัดแก่คนทั่วไปก็ในขณะเขาไหว้พระเจดีย์เป็นต้น กล่าวคือผู้มีจิตใจไม่สงบเรียบร้อยนั้น เมื่อจะไหว้พระเจดีย์หรือต้นศรีมหาโพธิ์ หรือจะกราบไหว้พระเถระทั้งหลาย เขาย่อมกราบไหว้ด้วยกิริยาอาการอันไม่เคารพ

เมื่อนั่งอยู่ในโรงธรรม ก็นั่งอยู่อย่างงุ่นง่านหรือพูดพล่ามไป ส่วนคนผู้มีจิตใจสงบเรียบร้อย ย่อมกราบไหว้ด้วยความสนิทสนม ด้วยความเชื่อมั่น ถึงคราวฟังธรรมก็เงี่ยโสตฟังด้วยดี ถือเอาเนื้อความได้ แสดงอาการเลื่อมใสออกทางกายหรือทางวาจาให้ปรากฏ แต่เขาเป็นผู้มีมารยาททางกายและทางวาจาไม่เรียบร้อย สำหรับบุคคลเช่นนี้ โยคีบุคคลอย่าได้ระลึกถึงมารยาททางกายและทางวาจาของเขา จงระลึกถึงแต่มารยาททางใจของเขาอย่างเดียวเท่านั้น

คนบางคนไม่มีความเรียบร้อยแม้สักประการเดียวในมารยาททั้ง ๓ ประการนั้น แต่คนเช่นนั้นก็ยังไม่เป็นที่เหลือวิสัยทีเดียว โยคีบุคคลจงยกเอาความกรุณาขึ้นมาตั้งไว้ในใจแล้วปลงให้ตกลงไปว่า คนเช่นนี้ ถึงแม้ว่าจะได้เที่ยวขวางหูขวางตาคน ก็อยู่ในมนุษย์นี้แต่ในปัจจุบันชาติเท่านั้น ต่อไปไม่ช้าไม่นานสักเท่าไร เขาก็จะต้องท่องเที่ยวไปเกิดในมหานรก ๘ ขุม และในอุสสทนรกทั้งหลายโดยแท้ เพราะอาศัยแม้เพียงความกรุณาเช่นนั้น ความอาฆาตเคียดแค้นก็อาจจะสงบลงได้

คนบางคนย่อมมีมารยาทเรียบร้อยครบทั้ง ๓ ประการ สำหรับคนเช่นนี้ โยคีบุคคลมีความชอบใจในมารยาทของเขาประการใดๆ ก็จงเลือกระลึกเอามารยาทประการนั้นๆ ตามอัธยาศัยเถิด เพราะการเจริญเมตตาในบุคคลเช่นนี้ ย่อมปฏิบัติได้โดยไม่ลำบากเลย

ก็แล เพื่อจะแสดงความเรื่องบุคคลผู้มีมารยาทต่างกันทั้ง ๕ จำพวกดังกล่าวมานี้ ให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นอีก ขอให้โยคีบุคคลจงตรวจดูเอาใน อาฆาตปฏิวินยสูตร ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้า ๑๘๙)

๔.ด้วยการพร่ำสอนตนเอง แม้ว่าโยคีบุคคลจะได้พยายามบรรเทาความอาฆาตเคียดแค้นโดยอุบายวิธีที่กล่าวมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ความอาฆาตเคียดแค้นก็ยังบังเกิดขึ้นอยู่ร่ำไป แต่นั้นโยคีบุคคลจงเปลี่ยนวิธีใหม่ กล่าวคือจงพยายามพร่ำสอนตัวเองด้วยอุบายวิธีดังต่อไปนี้

๑) ก็เมื่อคนคู่เวรทำทุกข์ให้แก่เจ้า ก็ทำได้แต่ตรงที่ร่างกายของเจ้า เหตุไฉนเจ้าจึงปรารถนาที่จะหอบเอาทุกข์นั้นเข้ามาใส่ไว้ในจิตในใจของตน อันมิใช่วิสัยที่คนคู่เวรจะพึงทำให้ได้เล่า

๒) หมู่ญาติซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณเป็นอันมาก ทั้งๆที่มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา เจ้าก็ยังอุตส่าห์ละทิ้งเขามาได้ ก็เหตุไฉนจึงจะละไม่ได้ซึ่งความโกรธอันเป็นศัตรูผู้ทำความพินาศให้อย่างใหญ่หลวงเล่า

๓) เจ้าอุตส่าห์รักษาศีลเหล่าใดไว้ แต่เจ้าก็ได้พะนอเอาความโกรธอันเป็นเครื่องตัดรากเหง้าของศีลเหล่านั้นไว้ด้วย ใครเล่าที่จะโง่ทึบอย่างเจ้า

๔) เจ้าโกรธว่า คนคู่เวรได้ทำความผิดใหญ่หลวงให้แก่เจ้า แต่เหตุไฉนเจ้าจึงปรารถนาที่จะทำความผิดเช่นนั้นด้วยตนเองเล่า

๕) ก็เมื่อคนคู่เวรปรารถนานักหนาที่จะให้ความโกรธเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงได้ทำสิ่งที่ไม่พอใจยั่วยุเจ้า เหตุไรเจ้าจึงจะทำความปรารถนาของเขาให้สำเร็จเสียเอง ด้วยการยอมให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่า

๖) เมื่อเจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว เจ้าจักได้ก่อทุกข์ให้แก่คนอื่นผู้ทำความผิดให้แก่เจ้านั้นหรือไม่ก็ตามที แต่เป็นอันว่าเจ้าได้เบียดเบียนตนเองด้วยทุกข์คือความโกรธอยู่ทีเดียว

๗) ก็เมื่อคนคู่เวรได้เดินไปสู่ทางผิดคือความโกรธ ซึ่งไม่นำประโยชน์อะไรมาให้แก่ตนเองเลย แม้เมื่อเจ้ายังโกรธเขาอยู่ ก็ชื่อว่าได้คล้อยไปตามทางเขาละซิ

๘) ศัตรูได้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจให้แก่เจ้า ด้วยอาศัยความโกรธของเจ้าอันใด เจ้าจงรีบถอนความโกรธนั้นออกไปเสียเถิด เจ้าจะเดือดร้อนในสิ่งที่ไม่สมควรทำไมกัน

๙) ขันธ์ ๕ อันใดที่ทำสิ่งที่ไม่พอใจให้แก่เจ้า ขันธ์ ๕ เหล่านั้นก็ได้ดับไปแล้ว เพราะสภาวธรรมทั้งหลายดับไปชั่วขณะนิดเดียว แล้วก็มีขันธ์ ๕ อื่นเกิดขึ้นมาแทน บัดนี้ เจ้าจะมาหลงโกรธใครในที่นี้เล่า ความโกรธต่อขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่มีความผิดนั้น เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง

๑๐) ผู้ใดทำความผิดให้แก่ผู้ใด เมื่อไม่มีผู้ทำความผิดนั้นแล้ว ผู้ที่จะทำความผิดตอบนั้น จะพึงทำความผิดให้แก่ใครที่ไหนเล่า ตัวเจ้าเองนั้นแหละเป็นตัวการแห่งความผิด ฉะนั้น เจ้าจะไปโกรธคนอื่นทำไม ไฉนจึงไม่โกรธตนเองเล่า

๕.ด้วยการพิจารณาถึงกรรม ก็แล แม้โยคีบุคคลจะได้มีความพยายามพร่ำสอนตัวเองด้วยประการดังกล่าวมาแล้วก็ตาม แต่ความโกรธแค้นก็ยังไม่สงบลง แต่นั้นโยคีบุคคลจงใช้วิธีพิจารณาถึงภาวะที่ตนเองเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนเป็นอันดับแรก ดังต่อไปนี้ว่า

นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ เจ้าโกรธคนอื่นเขาแล้ว จักได้ประโยชน์อะไร กรรมอันมีความโกรธเป็นเหตุของเจ้านี้ จักบันดาลให้เป็นไปเพื่อความฉิบหายแก่เจ้าเองมิใช่หรือ ด้วยว่า เจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง เจ้าได้ทำกรรมสิ่งใดไว้ เจ้าจักได้รับผลของกรรมนั้น

อนึ่ง กรรมอย่างนี้ของเจ้า ไม่สามารถที่จะบันดาลให้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และสาวกภูมิ อันใดอันหนึ่งได้ และไม่สามารถที่จะบันดาลให้สำเร็จสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาสมบัติต่างๆ เช่น ความเป็นพระพรหม พระอินทร์ หรือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระเจ้าประเทศราชได้เลย

ตรงกันข้าม กรรมของเจ้านี้ จักขับไล่ไสส่งให้เจ้าออกจากพระศาสนา แล้วบันดาลให้ประสบผลอันประหลาดต่างๆ เช่น ทำให้เกิดเป็นคนขอทานเที่ยวกินเดนคนอื่น และให้ประสบทุกข์อันใหญ่หลวง มีการทำให้บังเกิดในนรกเป็นต้นอย่างแน่นอน

อันตัวเจ้านี้นั้น เมื่อขืนทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเผาตัวของตัวเองทั้งเป็น และทำตัวเองให้มีชื่อเสียงเน่าเหม็นเป็นคนแรกนั่นเทียว

เมื่อได้พิจารณาถึงภาวะที่ตัวเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนอย่างนี้แล้ว จะพิจารณาถึงภาวะที่บุคคลอื่นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน ในลำดับต่อไปนี้

แน่ะ เขาผู้นั้นโกรธเจ้าแล้ว เขาจักไม่ได้ประโยชน์อะไร กรรมอันมีความโกรธเป็นเหตุของเขาผู้นั้น จักบันดาลให้เป็นไปเพื่อความฉิบหายแก่เขาเองมิใช่หรือ เพราะว่าผู้นั้นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง เขาได้ทำกรรมสิ่งใดไว้ เขาก็จักได้รับผลของกรรมนั้น

อนึ่ง กรรมของเขาผู้นั้น ไม่สามารถที่จะบันดาลให้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และสาวกภูมิได้ ไม่สามารถที่จะให้สำเร็จสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาสมบัติต่างๆ เช่น ความเป็นพระพรหม ความเป็นพระอินทร์ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ความเป็นพระเจ้าประเทศราชได้เลย

ตรงกันข้าม กรรมของเขาผู้นั้น มีแต่จะขับไล่ไสส่งให้เขาออกจากพระศาสนา แล้วบันดาลให้ประสบผลอันประหลาดต่างๆ เช่น ทำให้บังเกิดเป็นคนขอทานกินเดนคนอื่น และทำให้ประสบทุกข์อย่างใหญ่หลวง เช่น ทำให้บังเกิดในนรกเป็นต้นอย่างแน่นอน

เขาผู้นั้น เมื่อขืนทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าโปรยธุลีคือความโกรธใส่ตนเอง เหมือนบุรุษผู้โปรยธุลีใส่คนอื่น แต่ไปยืนโปรยอยู่ทางใต้ลม ฉะนั้น ข้อนี้สมด้วยพุทธนิพนธ์สุภาษิต ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย ว่า

โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํ ว ขิตฺโต.[๑]

ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ที่ไม่มีความประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส บาปจะส่งผลให้เขาผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลเสียเอง ดุจธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ย่อมจะปลิวมาสู่ตัวเอง ฉะนั้น

๖.ด้วยพิจารณาถึงพระพุทธจริยาในปางก่อน ก็แล ถ้าว่าโยคีบุคคลจะพยายามพิจารณาถึงภาวะที่ตนและคนอื่นเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนอย่างนี้แล้ว ความโกรธแค้นก็ได้สงบไป แต่นั้นจงระลึกถึงพระคุณคือพระจริยาวัตรของพระศาสดาในปางก่อน เพื่อบรรเทาความโกรธแค้นต่อไป ในพุทธจริยาวัตรในปางก่อนนั้น มีส่วนที่โยคีบุคคลควรนำมาพิจารณาเตือนตน ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ พระบรมศาสดาของเจ้าในปางก่อน ตั้งแต่ยังมิได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศน์อยู่ถึง ๔ อสงขัยกับหนึ่งแสนมหากัปนั้น พระองค์ก็ไม่ได้ทำพระหฤทัยให้โกรธเคืองแม้ในศัตรูทั้งหลายผู้พยายามประหัตประหารพระองค์อยู่ในชาตินั้นๆ มิใช่หรือ ดังมีตัวอย่างแต่เพียงย่อๆ ดังต่อไปนี้

๑) เรื่องพระเจ้าสีลวะ ในสีลวชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีพระนามว่าพระเจ้าสีลวะ อำมาตย์ผู้ใจบาปหยาบช้าลอบล่วงประเวณีกับพระอัครมเหสีของพระองค์ แล้วไปเชื้อเชิญพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์มายึดเอาพระราชสมบัติในที่มีอาณาบริเวณถึง ๓๐๐ โยชน์

พระเจ้าสีลวะโพธิสัตว์ก็มิได้ทรงอนุญาตให้หมู่อำมาตย์ผู้จงรักภักดีลุกขึ้นจับอาวุธต่อต้าน ต่อมาพระองค์พร้อมด้วยหมู่มุขอำมาตย์พันหนึ่ง ได้ถูกเขาขุดหลุมฝังทั้งเป็นลึกแค่พระศอตรงที่ป่าช้าผีดิบ พระองค์ไม่ได้ทรงเสียพระทัยแม้แต่น้อย อาศัยพวกสุนัขจิ้งจอกที่พากันมาคุ้ยกินซากศพ ได้ขุดคุ้ยดินออกให้พระองค์จึงได้ทรงใช้ความเพียรของลูกผู้ชายด้วยกำลังพระพาหาทรงตะเกียกตะกายออกมาจากหลุม จึงทรงรอดชีวิตได้

และด้วยอานุภาพของเทวดาช่วยบันดาลให้พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงเห็นพระราชาผู้เป็นศัตรูบรรทมอยู่ที่พระแท่นบรรทม พระองค์ก็มิได้ทรงพิโรธโกรธแค้นแต่ประการใด กลับทรงปรับความเข้าพระทัยดีต่อกันและกัน ทรงตั้งพระราชาผู้เป็นศัตรูไว้ในฐานะแห่งมิตร และได้ตรัสสุภาษิตว่า

อาสึเสเถว ปุริโส  น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต
ปสฺสามิ โวหํ อตฺตานํ  ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ.[๒]

ชาติชายผู้บัณฑิต พึงทำความหวังโดยปราศจากโทษไปเถิด ไม่พึงเบื่อหน่ายท้อถอยเสียเลย เราปรารถนาที่จะสถาปนาตนไว้ในราชสมบัติโดยไม่เบียดเบียนใครๆ ด้วยประการใด เราก็จะปฏิบัติโดยประการนั้น

๒) เรื่องขันติวาทีดาบส ในขันติวาทีชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส เมื่อพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงปกครองแคว้นกาสีทรงพระนามว่ากลาพุ ได้ตรัสถามพระโพธิ์สัตว์ขันติวาทีว่า

สมณะ พระผู้เป็นเจ้านับถือวาทะอะไร พระโพธิสัตว์ทูลตอบว่า อาตมภาพนับถือขันติวาทะ คือนับถือความอดทน ทีนั้น พระเจ้ากลาพุได้ตรัสสั่งให้เฆี่ยนพระโพธิสัตว์ด้วยแส้มีหนามแหลมเป็นการพิสูจน์ ในที่สุดถูกตัดมือและตัดเท้า แต่แล้วพระโพธิสัตว์ก็มิได้ทำความโกรธเคืองแม้แต่น้อย

๓) เรื่องธัมมปาลกุมาร การที่พระโพธิสัตว์เป็นผู้ใหญ่แล้วและดำรงอยู่ในเพศบรรพชิต สามารถอดกลั้นได้เหมือนพระเจ้าสีลวะและขันติวาทีดาบสนั้น ยังไม่เป็นสิ่งที่อัศจรรย์เท่าไร

ส่วนในจุลลธัมมปาลชาดก พระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็นธัมมปาลกุมาร ทรงเป็นทารกยังนอนหงายอยู่แท้เทียว ถูกพระเจ้ามหาปตาปะผู้เป็นพระบิดามีพระราชบัญชาให้ตัดพระหัตถ์และพระบาททั้งสอง ดุจว่าตัดหน่อไม้ ในขณะที่พระมารดาคร่ำครวญอยู่ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แขนทั้งสองของพ่อธัมมปาละผู้เป็นรัชทายาทในแผ่นดิน ซึ่งไล้ทาแล้วด้วยจันทน์หอม กำลังจะขาดไปอยู่แล้ว หม่อมฉันก็จะหาชีวิตไม่ได้แล้ว

แม้กระนั้นแล้ว พระเจ้ามหาปตาปะก็ยังมิได้ถึงความสาสมพระหฤทัยได้ ทรงมีพระราชโองการไปอีกว่า จงตัดศีรษะมันเสีย ฝ่ายพระธัมมปาลกุมารก็มิได้แสดงออกแม้อาการเสียพระทัย ทรงอธิษฐานทรงสมาทานแน่วแน่แล้ว

ทรงโอวาทพระองค์ว่า ขณะนี้เป็นเวลาที่จะต้องประคองใจของตนไว้ให้ดีแล้วนะ พ่อธัมมปาละผู้เจริญ บัดนี้ เจ้าจงทำจิตให้เสมอในบุคคลทั้ง ๔ คือ ในพระบิดาผู้ทรงบัญชาให้ตัดศีรษะ ๑ พวกราชบุรุษที่จะตัดศีรษะ ๑ พระมารดาของเจ้า ๑ ตัวของเจ้า ๑

๔) เรื่องของพระยาช้างชื่อฉัททันตะ ก็พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมนุษย์ แล้วทรงอดกลั้นได้ต่อการทารุณกรรมต่างๆจากศัตรู เหมือนอยู่ในเรื่องทั้ง ๓ ที่แสดงมาแล้วนั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นสิ่งไม่น่าอัศจรรย์มากนักส่วนเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากกว่านั้นคือ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสัตว์เดรัจฉานในกำเนิดต่างๆ และได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ดังเรื่องนี้ คือ

พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นช้างชื่อฉัททันตะ แม้พระองค์จะถูกนายพรานยิงด้วยลูกศรอันกำซาบด้วยยาพิษที่ตรงสะดือ ก็ไม่ได้เคืองใจในนายพรานผู้ซึ่งทำความพินาศให้แก่พระองค์อยู่เช่นนั้น ข้อนี้สมด้วยข้อความพระบาลีในคัมภีร์ชาดกว่า พระยาช้างฉัททันตะ แม้จะถูกทิ่มแทงด้วยลูกศรเป็นอันมาก แต่ก็ไม่ได้มีจิตประทุษร้ายในนายพราน

กลับพูดกับเขาอย่างอ่อนหวานว่า ข้าแต่สหาย ท่านต้องการอะไรหรือ ท่านยิงเราเพราะเหตุแห่งสิ่งใด หรือการที่ท่านมา ณ ที่นี้แล้วทำแก่เราอย่างนี้ มิใช่เป็นด้วยอำนาจของท่านเอง ดังนั้น การพยายามทำเช่นนี้ ท่านทำเพื่อพระราชาองค์ใดหรือ หรือเพื่อมหาอำมาตย์คนใด

ก็แล ครั้นพระโพธิสัตว์ถามอย่างนี้แล้ว นายพรานก็ตอบตามเป็นจริงว่า ท่านผู้เจริญ พระราชเทวีของพระเจ้ากาสีได้ทรงส่งข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการงาของท่าน ทีนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะทำพระประสงค์ของพระเทวีนั้นให้สำเร็จบริบูรณ์ จึงให้ตัดงาทั้ง ๒ ของตน อันมีความงามดุจทองคำธรรมชาติ สุกปลั่งด้วยแสงอันเปล่งออกแห่งรัศมีอันประกอบด้วยสี ๖ ประการ แล้วก็มอบให้แก่นายพรานนั้นไปถวาย

๕) เรื่องพญานาคชื่อภูริทัต ครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญานาคชื่อภูริทัต ได้อธิษฐานเอาอุโบสถศีลแล้วขึ้นไปนอนอยู่บนจอมปลวก ครั้งนั้น พวกพราหมณ์หมองูได้เอาโอสถมีพิษเหมือนกับไฟประลัยกัลป์สาดไปทั่วทั้งตัว กระทืบด้วยเท้า กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจับยัดใส่ข้องเล็กๆ แล้วนำไปเล่นกลให้คนดูไปทั่วชมพูทวีป

พระโพธิสัตว์ก็ไม่แสดงอาการแม้เพียงนึกขัดเคืองใจในพราหมณ์นั้นแต่ประการใด ข้อนี้สมด้วยบาลีคัมภีร์จริยาปิฎกว่า เมื่อหมองูชื่ออารัมภานะจับเรายัดใส่ในข้องเล็กๆก็ดี ย่ำเหยียบเราอยู่ด้วยส้นเท้าให้อ่อนกำลังก็ดี เราไม่ได้โกรธเคืองในหมองูอารัมภานะนั้นเลย ทั้งนี้ เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาดด่างพร้อยไป

๖) เรื่องพญานาคชื่อจัมเปยยะ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญานาคชื่อจัมเปยยะ ได้ถูกหมองูจับทรมานอยู่ด้วยประการต่างๆ ก็มิได้แสดงอาการนึกขัดเคืองในใจ

ข้อนี้สมด้วยบาลีจริยาปิฎกว่า แม้ในชาติเป็นจัมเปยยะนาคราชนั้น เราก็ได้ประพฤติธรรมจำอุโบสถศีล หมองูได้จับเราไปเล่นกลอยู่ที่ประตูพระราชวัง เขาประสงค์จะให้เราแสดงเป็นสีอะไร คือจะเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีแสด เราก็ให้เป็นไปตามประสงค์ของเขา เรามีความตั้งใจอยู่ว่า ขอให้หมองูนี้จงได้ลาภมากๆเถิด

และด้วยเดชอานุภาพของเรา เราสามารถที่จะบันดาลให้ที่ดอนกลายเป็นน้ำก็ได้ บันดาลให้ที่น้ำกลายเป็นดอนก็ได้ ถ้าเราจะพึงโกรธแก่หมองูนั้น เราก็สามารถที่จะทำให้เขากลายเป็นเถ้าถ่านในชั่วครู่เท่านั้น แต่ถ้าว่าเราตกอยู่ในอำนาจของอกุศลจิตเช่นนั้น เราก็จะเสื่อมจากศีล เมื่อเสื่อมจากศีลแล้ว ความปรารถนาขั้นสุดยอดคือความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของเราก็จักไม่สำเร็จสมประสงค์

๗) เรื่องพญานาคชื่อสังขปาละ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญานาคราชชื่อสังขปาละ ได้ถูกบุตรนายพราน ๑๖ คน ช่วยกันเอาหอกอย่างแหลมแทงเข้าที่ลำตัวถึง ๘ แห่ง แล้วเอาเครือวัลย์ที่มีหนามร้อยเข้าไปตามรูแผลที่แทงนั้นๆ เอาเชือกอย่างเหนียวร้อยที่รูจมูก แล้วช่วยกันลากไป ลำตัวเสียดสีไปกับพื้นดิน ได้เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง แม้พระโพธิสัตว์สามารถจะบันดาลให้บุตรนายพรานนั้นๆ แหลกละเอียดเป็นเถ้าธุลี ด้วยกรรมวิธีเพียงแต่โกรธแล้วจ้องมองเท่านั้น แต่พระโพธิสัตว์ไม่ทำอาการโกรธเคืองลืมตาจ้องมองดูเขาเหล่านั้นเลย

ข้อนี้สมด้วยบาลีในคัมภีร์ชาดกว่า ดูกรนายอฬาระ เราอยู่จำศีลอุโบสถเป็นนิจ ทุกวัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ คราวครั้งนั้น ได้มีบุตรนายพราน ๑๖ คน พากันถือเอาเชือกและบ่วงอย่างมั่นเหนียวไปหาเรา แล้วเขาได้ช่วยกันร้อยจมูกเรา ฉุดดึงเชือกที่ร้อยจมูกผูกตรึงเราหมดทั้งตัวแล้วลากเราไป ทุกข์อย่างใหญ่หลวงถึงเพียงนั้นเราก็ยังอดกลั้นได้ ไม่ยอมทำให้อุโบสถศีลกำเริบเศร้าหมอง

แท้ที่จริงนั้น พระบรมศาสดาไม่ได้ทรงทำสิ่งที่อัศจรรย์ไว้เพียงที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เท่านั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญจริยาวัตรอันน่าอัศจรรย์แม้อย่างอื่นๆไว้เป็นอเนกประการ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในชาดกต่างๆ ก็แลบัดนี้ เจ้าได้อ้างอิงเอาพระผู้มีพระภาคผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ผู้มีพระขันติคุณอย่างไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งในโลกมนุษย์และเทวดา ว่าเป็นศาสดาของเจ้าดังนี้แล้ว การที่เจ้าจะยอมจำนนให้จิตโกรธแค้นครอบงำได้อยู่ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ชอบไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งทีเดียว

๗.ด้วยการพิจารณาความสัมพันธ์กันในระหว่างสังสารวัฏ ก็แล โยคีบุคคลผู้ซึ่งได้เข้าถึงความเป็นทาสของกิเลสมานานหลายร้อยหลายพันชาติ แม้จะได้พยายามพิจารณาถึงพระคุณคือพระจริยาวัตรของพระบรมศาสดาในปางก่อนโดยวิธีดังกล่าวมาสักเท่าใดก็ตาม ความโกรธแค้นนั้นก็ยังไม่สงบอยู่นั่นแล ทีนี้โยคีบุคคลพึงพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันระหว่างสังสารวัฏอันยาวนาน ซึ่งสาวหาเบื้องต้นเบื้องปลายกันมิได้ โดยอุบายวิธีดังต่อไปนี้

ก็เรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย นิทานวรรคว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เกิดขึ้นมาในโลกนี้ ที่จะไม่เคยเป็นมารดากันเป็นบิดากัน ไม่เคยเป็นพี่น้องชายกัน ไม่เคยเป็นพี่น้องหญิงกัน ไม่เคยเป็นบุตรกัน และไม่เคยเป็นธิดากัน เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่ายเลย เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงส่งจิตไปในบุคคลคู่เวรกันนั้นอย่างนี้

ได้ยินว่า สตรีผู้นี้เคยเป็นมารดาของเรามาในชาติปางก่อน เขาเคยได้บริหารรักษาเราอยู่ในครรภ์ ๑๐ เดือน ได้ช่วยล้างอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น ให้แก่เราโดยไม่รังเกียจ เห็นสิ่งปฏิกูลพวกนั้นเป็นเหมือนจันทน์หอม ได้ช่วยประคองเราให้นอนอยู่ระหว่างอก อุ้มเราไปด้วยสะเอว ได้ทะนุถนอมเลี้ยงเรามาเป็นอย่างดี ฉะนี้

บุรุษนี้ได้เคยเป็นบิดาของเรามา เมื่อเขาประกอบการค้าขาย ต้องเดินทางไปในที่กันดาร เช่น ต้องไปด้วยแพะเป็นที่อาศัยเป็นพาหนะ และต้องเกี่ยวเหนี่ยวรั้งไปด้วยไม้ขอเป็นต้น แม้ชีวิตก็ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์แก่ตัวเรา ครั้นในยามที่เกิดสงครามประชิดติดกัน ก็ต้องเอาตนเข้าสู่สนามรบ บางทีต้องแล่นเรือผ่านมหาสมุทรอันเต็มไปด้วยภัยอันตราย และได้ทำกิจการอย่างอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยยากด้วยความลำบากยากเย็น พยายามสั่งสมทรัพย์ไว้ด้วยอุบายต่างๆ ด้วยมั่นหมายว่า จะเลี้ยงดูลูกๆทั้งหลายให้เป็นสุข ฉะนี้

บุรุษผู้นี้เคยเป็นพี่น้องชายของเรามา สตรีผู้นี้เคยเป็นพี่น้องหญิงของเรามา บุรุษนี้เคยเป็นบุตรของเรามา สตรีนี้เคยเป็นธิดาของเรามา และแต่ละบุคคลนั้น เคยได้ทำอุปการะแก่เรามาหลายอย่างหลายประการเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น การที่เราจะทำใจให้โกรธแค้นในบุคคลนั้นๆ ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ฉะนี้

๘.ด้วยพิจารณาถึงอานิสงส์เมตตา ก็แล โยคีบุคคลได้พยายามพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันมาในสังสารวัฏดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถที่จะทำความโกรธแค้นให้ดับลงได้ แต่นั้น โยคีบุคคลพึงพิจารณาถึงอานิสงส์ของเมตตา โดยอุบายวิธีดังนี้

นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนไว้แล้วมิใช่หรือว่า คนผู้เจริญเมตตาภาวนา พึงหวังได้แน่นอนซึ่งอานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติที่ตนส้องเสพหนักแล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากๆแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เตรียมพร้อมแล้ว ทำให้เป็นดุจฐานอันแน่นหนาแล้ว ทำให้มั่นคงแล้ว สั่งสมด้วยวสีทั้ง ๕ ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้ว คือ

๑) หลับเป็นสุข คือไม่กลิ้ง ไม่กรน หลับอย่างสนิทเหมือนเข้าสมาบัติ มีลักษณะท่าทางเรียบร้อยน่าเลื่อมใส

๒) ตื่นเป็นสุข ตื่นขึ้นมาแล้วไม่ทอดถอนหายใจ ไม่สยิวหน้า ไม่บิดไปบิดมา มีหน้าตาชื่นบานเหมือนดังดอกประทุมที่กำลังแย้มกลีบบาน ฉะนั้น

๓) ไม่ฝันร้าย คือไม่ฝันเห็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว เช่น พวกโจรรุมล้อม สุนัขไล่กัด ตกเหว ฝันเห็นแต่นิมิตที่ดี เช่น ไหว้พระเจดีย์ ทำการบูชา และฟังพระธรรมเทศนา

๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย คือเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคนทั้งหลาย เหมือนพวงไข่มุกที่ห้อยอยู่ที่หน้าอก หรือดอกไม้ที่ประดับอยู่บนเศียร

๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย คือไม่ใช่เป็นที่รักของคนอย่างเดียว ยังเป็นที่รักของเหล่าเทวาอารักษ์ด้วย

๖) เทวดาทั้งหลายคอยเฝ้ารักษา คือเทวดาทั้งหลายย่อมคอยตามรักษา เหมือนมารดาบิดาคอยตามรักษาบุตรและธิดา

๗) ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ไม่กล้ำกรายในตัวของเขา คือไม่ถูกไฟไหม้ ไม่ถูกวางยาพิษ ไม่ถูกศัตราวุธประหาร

๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว คือเมื่อเจริญกัมมัฏฐาน จิตสำเร็จเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ได้เร็ว

๙) ผิวหน้าผ่องใส คือหน้าตามีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้วใหม่ๆ

๑๐) ไม่หลงทำกาลกิริยา คือไม่หลงตาย ตายมีสติ

๑๑) เมื่อไม่ได้บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง อย่างต่ำก็จะบังเกิดในพรหมโลก คือถ้าไม่ได้บรรลุพระอรหัตต์อันเป็นคุณเบื้องสูงยิ่งกว่าเมตตาฌานในชาติปัจจุบัน พอเคลื่อนจากมนุษย์โลก ก็จะได้เข้าสู่พรหมโลกทันที เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น

นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ถ้าเจ้าจักไม่ทำจิตที่โกรธแค้นอยู่นี้ให้ดับไปเสียแล้ว เจ้าจักเป็นคนอยู่ภายนอกอานิสงส์ (ของเมตตา) ๑๑ ประการ ฉะนี้

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.116 Chrome 53.0.2785.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 23 กันยายน 2559 17:59:28 »


อุบายบรรเทาความโกรธ (ต่อ)

๙.ด้วยการพิจารณาแยกธาตุ ถ้าโยคีบุคคลยังไม่อาจที่จะทำความโกรธแค้นให้ดับลงได้ด้วยวิธีดังแสดงมา คราวนี้จงนึกเอาคนคู่เวรนั้นมาพิจารณาแยกออกให้เห็นเป็นเพียงสักว่าธาตุส่วนหนึ่งๆ คือพึงพร่ำสอนตนเองด้วยวิธีแยกธาตุว่า

นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ เมื่อเจ้าโกรธเขานั้น เจ้าโกรธอะไรเขาหรือ คือในอาการ ๓๒ เจ้าโกรธผมหรือ เจ้าโกรธขนหรือ เจ้าโกรธเล็บหรือ เจ้าโกรธฟันหรือ เจ้าโกรธหนังหรือ เจ้าโกรธเนื้อ โกรธเอ็น โกรธกระดูก โกรธเยื่อในกระดูก โกรธม้าม โกรธหัวใจ โกรธตับ โกรธพังผืด โกรธไต โกรธปอด โกรธไส้น้อยไส้ใหญ่ โกรธอาหารใหม่อาหารเก่า โกรธมันสมองหรือ

หรือเจ้าโกรธดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำมันไขข้อ น้ำมูตรของเขา หรือว่าในธาตุ ๔ เจ้าโกรธธาตุดินของเขาหรือ หรือเจ้าโกรธธาตุน้ำของเขา หรือเจ้าโกรธธาตุลม หรือเจ้าโกรธธาตุไฟ

อนึ่ง คนคู่เวรนั้น เพราะอาศัยขันธ์ ๕ หรืออายตนะ ๑๒ หรือธาตุ ๑๘ เหล่าใด เขาจึงได้ชื่ออย่างนั้น ในขันธ์ ๕ นั้น เจ้าโกรธรูปขันธ์หรือ หรือโกรธเวทนาขันธ์ หรือโกรธสัญญาขันธ์ หรือว่าโกรธสังขารขันธ์ หรือว่าโกรธวิญญาณขันธ์

หรือในอายตนะ ๑๒ นั้น เจ้าโกรธจักขวายตนะหรือ หรือโกรธรูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ

หรือในธาตุ ๑๘ นั้น เจ้าโกรธจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุหรือ หรือว่าเจ้าโกรธโสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

เมื่อโยคีบุคคลพิจารณาแยกธาตุ กระจายคนคู่เวรนั้นออกโดยภาวะที่เป็นธาตุ คือเป็นเพียงชิ้นส่วนอันหนึ่งๆประกอบกันไว้ ดังแสดงมานี้ ก็จะมองเห็นสภาวธรรมด้วยปัญญาเห็นชัดแจ้งว่า ฐานะที่สำหรับจะรับรองความโกรธ ย่อมไม่มีในบุคคลคู่เวรนั้น

เพราะธาตุทั้งหลายแต่ละธาตุๆมีผมเป็นต้นนั้น เป็นสิ่งอันใครๆไม่ควรจะโกรธ และนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหลายมีผมเป็นต้นนั้นแล้ว ก็หามีคนไม่ เปรียบเหมือนฐานสำหรับรองรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่มีที่ปลายเหล็กจานเหล็กแหลม และฐานสำหรับรองรับจิตรกรรม ไม่มีในอากาศ ฉะนั้น

๑๐.ด้วยการให้ปันสิ่งของ ส่วนโยคีบุคคลผู้ไม่สามารถจะพิจารณาโดยวิธีแยกธาตุดังแสดงมา ก็พึงทำการให้ปันสิ่งของของตนให้แก่บุคคลคู่เวรตน ตนเองก็ควรรับสิ่งของๆบุคคลคู่เวรด้วย

ก็แล ถ้าบุคคลคู่เวรเป็นผู้มีอาชีวะบกพร่อง มีบริขารชำรุดใช้ไม่ได้ ก็พึงให้เครื่องบริขารของตนนั่นแหละแก่เธอ เมื่อโยคีบุคคลทำการให้ปันได้อย่างนี้ ความอาฆาตเคียดแค้นก็จะระงับลงได้โดยสนิททีเดียว และแม้ความโกรธของบุคคลคู่เวรซึ่งติดตามมาตั้งแต่อดีตชาติ ก็จะระงับลงโดยทันทีเช่นเดียวกัน

เหมือนดังความโกรธของพระมหาเถระรูปหนึ่ง ระงับลงเพราะได้บาตรของพระปิณฑปาติกะเถระผู้ถูกขับออกจากเสนาสนะจิตตบรรพตถึง ๓ ครั้ง ได้มอบถวายพร้อมกับเรียนว่า ท่านขอรับ บาตรใบนี้ราคา ๘ กหาปณะ อุบาสิกาผู้เป็นโยมหญิงของกระผมถวาย เป็นลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ขอท่านได้กรุณาทำให้เป็นบุญลาภแก่มหาอุบาสิกานั้นด้วยเถิด

ขึ้นชื่อว่า การให้ปัน นี้ มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ สมด้วยคาถาประพันธ์อันโบราณาจารย์ได้ประพันธ์ไว้ว่า

อทนฺตขมนํ ทานํ  ทานํ สพฺพตฺถ สาธกํ
ทาเนน ปิยวาจาย  อุณฺณมนฺติ นมนฺติ จ.

การให้ปัน เป็นอุบายทรมานคนพยศให้หายได้ การให้ปัน เป็นเครื่องบันดาลให้ประโยชน์ทุกๆอย่างสำเร็จได้ ฝ่ายผู้ให้ปันย่อมฟูใจขึ้น ฝ่ายผู้รับปันย่อมอ่อนน้อมลง ทั้งนี้ด้วยการให้ปันและด้วยปิยวาจา เป็นเหตุฉะนี้

นี้แหละท่านทั้งหลาย ที่ได้บรรยายมาทั้งหมดนี้ เป็นอุบายวิธีที่จะบรรเทาความโกรธลงไปจากขันธสันดานได้ ขอให้ท่านผู้สดับตรับฟังทั้งหลายผู้เห็นโทษของความโกรธ ได้นำอุบายวิธีทั้ง ๑๐ ประการดังที่บรรยายมานี้ เป็นเครื่องพินิจพิจารณา เพื่อจะบรรเทาความโกรธทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ให้หมดไปจากขันธสันดานของเรา

เมื่อใด ความโกรธหมดไปจากขันธสันดานของเราแล้ว เราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด คิด ทำกิจใดๆก็ดี เราจะมีใจเยือกเย็น เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อเรามีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรมดังกล่าวมาแล้วนี้ เราจะอยู่ที่ไหนๆ ก็มีความสุขกายสบายใจ ละโลกนี้ไปแล้ว เราก็จะไปสู่สุคติภพ.


[๑] (สํ. สคาถวคฺโค ๑๕/๖๓๙/๒๔๑)
[๒] (ขุ. ชาตก. ๒๗/๕๑/๑๗)

ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.143 Chrome 53.0.2785.143


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2559 11:32:11 »




ทรัพย์ ๒ ประการ
(อริยทรัพย์ ๗)

ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

การที่เราทั้งหลายมีความอุตสาหะพยายาม อดทนกัดฟันต่อสู้ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อว่าต้องการที่จะสร้างสมอบรมคุณงามความดีไว้ ทำของโลกีย์ให้เป็นโลกุตระ ทำทรัพย์สมบัติภายนอกให้เป็นทรัพย์สมบัติภายใน

ดังนั้น วันนี้จึงได้นำเรื่อง ทรัพย์ ๒ ประการ มาบรรยาย คือ สามัญทรัพย์ ๑ อริยทรัพย์ ๑

๑.สามัญทรัพย์ คือทรัพย์สามัญทั่วไป แบ่งเป็น ๒ คือ
๑) ทรัพย์ ได้แก่ วัตถุเครื่องปลื้มใจ
๒) สมบัติ ได้แก่ วัตถุอันถึงพร้อม

ทรัพย์สมบัตินี้มีอยู่ในบุคคลผู้ใด ก็ย่อมทำให้บุคคลผู้นั้นมีความปีติ เอิบอิ่ม ยินดี ปลื้มใจ ดีใจว่า ทรัพย์สมบัติของเรามีอยู่

สามัญทรัพย์นี้ เมื่อแยกออกแล้วมีอยู่ ๒ ประการ
๑) สวิญญาณกทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่มีวิญญาณครอง เช่น สามี ภรรยา ลูกๆ หลานๆ ตลอดถึงช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น
๒) อวิญญาณกทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง มีผ้าผ่อนแพรพรรณ แก้วแหวนเงินทอง รัตนะ ๗ ประการเป็นต้น

ทรัพย์ทั้ง ๒ ประการนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวง ที่เราสามารถนำเคลื่อนที่ไปได้
๒) อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไปไม่ได้ มีที่นา ที่สวน เป็นต้น

ทรัพย์ดังกล่าวมาแล้วนี้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นสมเด็จพ่อของพวกเราทั้งหลาย ได้ตรัสว่าเป็นของที่ไม่เป็นแก่นสาร เพราะเหตุว่าจะต้องอันตรธานไปด้วยภัยทั้ง ๔ คือ
- ราชภัย ถูกพระราชาหรือรัฐบาลยึดเอาไปบ้าง
- โจรภัย ถูกโจรฉกชิงวิ่งราวปล้นสะดมเอาไปบ้าง
- อัคคีภัย ถูกไฟไหม้บ้าง
- อุทกภัย ถูกน้ำท่วมให้ฉิบหายย่อยยับไปบ้าง

หากว่าเราจะเอาทรัพย์สมบัติทั้งหลายเหล่านี้ ไปฝังไว้ในดินหรือจมไว้ในน้ำ คิดว่าจะไม่ให้อันตรธาน ก็ไม่พ้น ถ้าเราเอาไปฝังลึกนัก อมนุษย์อาจทำให้เคลื่อนที่ได้ ถ้าเราฝังตื้นเกินไป โจรผู้ร้ายอาจจะขโมยไปก็ได้ ถ้าเราจะเอาทรัพย์เหล่านี้ไปจมไว้ในน้ำ อาจจะมีพรานข่ายพรานแหเอาไป หากว่าเราคิดจะเอาทรัพย์เหล่านี้ไปฝากไว้ในคลังหรือธนาคาร ปรารถนาจะไม่ให้อันตรธาน ก็ย่อมไม่เป็นอันฝัง ย่อมผุพังไปเป็นธรรมดา

เหตุนั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ทรัพย์นี้ไม่เป็นแก่นสาร พระองค์ตรัสให้พวกเราทั้งหลาย ทำทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ให้เป็นแก่นสาร คือให้รู้จักใช้ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงได้ตรัสหลักการใช้ทรัพย์ คือเมื่อเราทั้งหลายแสวงหาทรัพย์สมบัติมาได้โดยชอบธรรมแล้ว ท่านได้แยกหลักการใช้โภคทรัพย์ไว้ ๕ ประการ คือ
๑.เลี้ยงตัวของตัวเอง ตลอดถึงบิดามารดา บุตร ภริยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
๓.บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น
๔.ทำพลี ๕ อย่าง ได้แก่
   ก.ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
   ข.อติถิพลี ต้อนรับแขก
   ค.ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
   ง.ราชพลี ถวายเป็นของหลวง เสียภาษีอากร
   จ.เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
๕.บริจาคให้สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

นอกจากนี้ เราควรใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม เป็นต้นว่าสร้างกุฏิ วิหาร โบสถ์ ศาลาการเปรียญ สร้างถนน สร้างบ่อน้ำ สร้างโรงเรียน สร้างสถานพยาบาลเหล่านี้เป็นต้น ก็ชื่อว่าเราใช้ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ เมื่อเราใช้ให้เป็นก็เป็นประโยชน์แก่เราและสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ถ้าหากว่าเราใช้ไม่เป็น ในปัจจุบันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการมีทรัพย์ อนาคตก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการมีทรัพย์

เพราะทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นของส่วนกลางสำหรับโลก เมื่อเรายังไม่เกิดมา ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็มีอยู่ เมื่อเราเกิดมา เราก็ใช้ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เท่าที่เราสามารถแสวงหามาได้ เมื่อเราตายไป ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เราก็ทิ้งไว้ในโลกนี้ ให้เป็นสมบัติของผู้อื่นต่อไป เราจะมาหวงห้ามว่า ไม่ให้ผู้นั้นใช้ ไม่ให้ผู้นี้ใช้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ตกไปตามกฎของธรรมชาติ

เหตุนั้น ผู้มีปัญญาฉลาดรอบคอบเท่านั้น จึงสามารถที่จะใช้ทรัพย์เหล่านี้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนและสังคมได้ โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานว่า เราจะรักษาทรัพย์สมบัติอยู่ตลอดไป

เราทั้งหลายลองนึกดูซิว่า เมื่อเราเกิดมานั้นก็มีแต่ตัวล่อนจ้อน ทรัพย์สมบัติชิ้นหนึ่ง ก็หาติดตัวเรามาไม่ เราอาศัยบุญกรรมที่เราสร้างสมอบรมไว้พามาเกิด เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เราจะแสวงหาทรัพย์ได้มากได้น้อย ก็อาศัยบุญกรรมที่เราสั่งสมอบรมไว้ ถ้าชาติก่อนเราได้สั่งสมอบรมทานบารมีถวายทานไว้มาก เกิดขึ้นมาแล้ว เราก็จะเป็นผู้ที่มั่งคั่งสมบูรณ์เพียบพูนไปด้วยทรัพย์สมบัติศฤงคารบริวาร ไม่อดไม่อยาก หากว่าเราเป็นคนตระหนี่ เกิดมาแล้วย่อมเป็นคนยากจนข้นแค้นอนาถา ถือกระเบื้องขอทานถือกะลาขอข้าว หากินฝืดเคือง

เหตุนั้น การที่เราทั้งหลายมาประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวันนี้ ก็คือมาทำทรัพย์สมบัติภายนอกให้เป็นทรัพย์ภายใน ทำทรัพย์ที่เป็นโลกีย์ให้เป็นโลกุตระ ฝากฝังไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นอนุคามินีทรัพย์ติดตามเราไปสู่สัมปรายิกภพภายภาคหน้า ดังที่กล่าวมานี้เป็นสามัญทรัพย์โดยย่อ

๒.อริยทรัพย์ แปลว่า ทรัพย์อันประเสริฐ หรือทรัพย์ของท่านผู้ประเสริฐ หรือทรัพย์ที่ไกลจากข้าศึกคือกิเลส

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงส่งเสริมการแสวงหาทรัพย์ทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกเราจะเห็นได้ในหลัก ทิฏฐธัมมิกัตถธรรม ที่พระองค์ตรัสไว้ คือผู้ที่จะตั้งตนได้ในปัจจุบัน จะต้องประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการ คือ

๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันความหมั่นเพียรในการงานอันเป็นหน้าที่ของตน
๒) อารักขสัมปทา พยายามรักษาการงานที่ตนประกอบนั้นไว้ให้ดี ตลอดถึงพยายามรักษาทรัพย์สมบัติที่เป็นผลซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของเราไว้ให้ดี
๓) กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดี ไม่คบคนชั่ว
๔) สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่ตนหามาได้

ธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงส่งเสริมการแสวงหาทรัพย์ ไม่ใช่ว่าการแสวงหาทรัพย์นั้นจะเป็นกิเลสตัณหาดังคนทั้งหลายเข้าใจกัน

การที่จะจัด(ว่าการแสวงหาทรัยพ์)เป็นกิเลสตัณหาได้นั้น ก็หมายความว่า การที่อยากได้ทรัพย์สมบัติในทางทุจริตแล้วก็แสวงหาเอาในทางที่ทุจริต จึงจะเป็นโลภะเป็นตัณหา แต่นี่เราอยากได้แล้วก็แสวงหาเอาในทางที่สุจริต ไม่จัดเป็นโลภะ

นอกจากนี้ พระองค์ยังส่งเสริมการแสวงหาทรัพย์ที่เราจะนำไปใช้ในวันข้างหน้า ภพหน้า ชาติหน้าต่อไป ดังหลักธรรมที่พระองค์ได้ตรัสไว้ คือ สัมปรายิกัตถธรรม ธรรมอันเป็นเหตุให้สมหวัง หรือเป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ในภพหน้าชาติหน้า ๔ ประการ คือ

๑) สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒) สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๓) จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน
๔) ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

นอกจากนี้ พระองค์ยังตรัสให้แสวงหาทรัพย์อันประเสริฐ อันจะเป็นบ่อเกิดซึ่งอริยมรรคอริยผล คือพระองค์ทรงสอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายประกอบไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ เพราะว่าอริยมรรคทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นธรรมะที่จะให้สำเร็จซึ่งโลกุตตระสมบัติ

เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้เราก็รู้ได้ทันทีว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสมเด็จพ่อของพวกเราทั้งหลายนั้น พระองค์ไม่ทรงส่งเสริมคนเกียจคร้าน แต่ทรงส่งเสริมคนขยันหมั่นเพียรหาทรัพย์ทั้งทางโลกและทางธรรม หาทรัพย์ทั้งที่เป็นประโยชน์โลกนี้ประโยชน์โลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน

เพราะเหตุไรธรรมะจึงจัดเป็นทรัพย์ เมื่อมีปัญหาอย่างนี้ เราควรหาเอาทรัพย์ที่เป็นวัตถุมาเป็นตัวตั้ง เช่น ธนบัตรใบละ ๑๐ บาท ๒๐ บาทบ้าง ใบละ ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาทบ้าง แผ่นกระดาษแท้ๆ ทำไมจึงเรียกว่า ทรัพย์ ก็เพราะว่าเป็นของที่แลกเปลี่ยนได้สมประสงค์ เป็นของที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ข้อนี้ฉันใด ธรรม ๗ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น ก็เป็นของที่ให้สำเร็จสมประสงค์ได้เหมือนกัน เหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า อริยทรัพย์

ปัญหาเศรษฐศาสตร์ทางโลก เขาตีราคาค่าของต่างๆ เป็นมูลค่าบ้าง คุณค่าบ้าง เมื่อแยกประเภทออกไปแล้วมีอยู่ ๒ ประการ

๑) อัคฆะ คือ สิ่งที่ตีราคาได้ เช่น สมุด กระดาษ ดินสอ ปากกา นาฬิกา แว่นตา เครื่องขยายเสียง ไมโครโฟน เหล่านี้เป็นต้น เขาตีราคาได้ว่า มีราคาเท่านั้นบาท เท่านั้นร้อย เท่านั้นพัน เท่านั้นหมื่น เท่านั้นแสน แม้แต่ค่าแรงงานเขาก็ตีเป็นราคาได้ สมมติว่า คนนี้มีความสามารถขนาดนี้ ควรจะได้วันหนึ่ง ๔๕ บาท ๕๐ บาท หรือ ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท เขาตีราคาได้ ทรัพย์ประเภทนี้ เรียกว่า อัคฆะ ตีราคาได้

๒) อนัคฆะ คือ สิ่งที่ตีราคาไม่ได้ ประเมินราคาไม่ได้ว่ามีราคาเท่าไร สิ่งที่ไม่สามารถที่จะกำหนดราคาหรือตีค่าตีราคาขึ้นได้ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุภาพเรียบร้อย ความฉลาด ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพานเป็นต้น

เราไม่สามารถที่จะตีราคาขึ้นมาได้ว่า ความสัตย์นี้จะตีราคาเท่าไร ความฉลาด ความสุภาพเรียบร้อยนี้จะตีราคาเท่าไร เราตีราคาไม่ได้ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรค ผล นิพพานนี้ มีราคาเท่าไร เราตีราคาไม่ได้ ประเมินราคาไม่ได้ เหตุนั้น ทรัพย์ประเภทนี้จึงเรียกว่า อนัคฆะ หาค่าไม่ได้

เพราะเหตุไร ธรรมะ ท่านจึงเรียกว่า เป็นทรัพย์ ก็เพราะว่า เป็นทรัพย์ประเภท อนัคฆะ คือตีราคาไม่ถูก เป็นธรรมที่พระอริยเจ้าแสดงไว้

ทรัพย์ทั้ง ๒ ประเภท คือสามัญทรัพย์ และ อริยทรัพย์นี้ มีคุณลักษณะต่างกัน คือ

สามัญทรัพย์นั้น สามารถที่จะใช้ให้หมดไป สมมติว่า เรามีเงินเป็นร้อยๆ ล้าน ก็สามารถที่จะใช้ให้หมดไป ดังที่เราได้ทราบข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวในวิทยุเป็นต้น ธนาคารที่มีเงินเป็นหลายๆ ร้อยล้านก็ยังล้มละลายได้ หรือเศรษฐีมีเงินเป็นสิบๆ ล้าน ก็ยังล้มละลาย เป็นอันว่าสามัญทรัพย์นั้น เป็นทรัพย์ที่สามารถจะใช้ให้หมดไปได้

ส่วนอริยทรัพย์นั้น ใช้ไม่หมด ยิ่งใช้เท่าไรก็ยิ่งมาก ยิ่งได้กำไรมากไปตามลำดับๆ เหมือนกันกับท่านทั้งหลายที่พากันมาสู่สำนัก มาประพฤติปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน หลวงพ่อก็ให้อริยทรัพย์แก่ทุก ๆ ท่านไป ยิ่งให้ไปมากเท่าไรก็ยิ่งมีมาก ได้กำไรมากขึ้นเท่านั้น เหตุนั้น อริยทรัพย์จึงเป็นของใช้ไม่หมด

อีกอย่างหนึ่ง สามัญทรัพย์ นั้น เป็นสาธารณะทั่วไปแก่คนทั้งหลายทั้งปวง คือหมายความว่า สามัญทรัพย์นั้น เมื่อเรายังไม่เกิดมาก็มีอยู่อย่างนี้ เมื่อเราใช้สอยทรัพย์สมบัติเหล่านี้ที่เราได้มา เราจะถือเป็นกรรมสิทธิ์ตลอดไปก็ไม่ได้ อาจมีคนอื่นมาแย่งเอาไปบ้าง มาโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นเอาไปบ้าง หรือเราตายไปแล้วทรัพย์สมบัติเหล่านี้ก็ตกเป็นของคนอื่นไป เราจะหอบหิ้วหาบหามไปฝากเทวดาหรือฝากพระอินทร์พระพรหมในเทวโลกในพรหมโลกไม่ได้ เราอาศัยแต่บุญกรรมที่สั่งสมอบรมมาเท่านั้นพาไป

ส่วนอริยทรัพย์นั้น เป็นของตนแท้ๆ สามารถติดตามตนไปทุกฝีก้าว ฉายา อิว ดุจเงาติดตามตัว ตายแล้วเกิดชาติใหม่ ยังสามารถนำไปใช้ในภพที่ตนเกิดอีกต่อไป

สามัญทรัพย์นั้น ใช้ในวงจำกัด เช่นว่า ธนบัตรใบละ ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ก็ใช้ได้ภายในประเทศไทยของเราเท่านั้น จะเอาไปใช้ในประเทศอื่น ก็ต้องเอาไปแลกไปเปลี่ยนเสียก่อน จึงจะใช้ได้

แต่สำหรับอริยทรัพย์นี้สามารถใช้ได้ทั่วโลก ไม่ต้องแลกไม่ต้องเปลี่ยน ใช้ในประเทศไหนได้ทั้งนั้น

อีกอย่างหนึ่ง สามัญทรัพย์ นั้น เป็นของที่ไม่แน่ว่าจะนำไปสู่สุคติโลกมนุษย์สวรรค์ หรือให้สำเร็จพระนิพพาน ตัวอย่าง คนมีเงินมีทองแล้วอาจใช้เงินทองนั้นทำบาป ก็ได้ เช่น เอาเงินไปซื้อวัวมาฆ่าบ้าง ซื้อควายมาฆ่าบ้าง ซื้อเป็ดซื้อไก่มาฆ่าบ้าง หรือเอาเงินไปจ้างให้เขาฆ่ากันบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ถ้าเราทำอย่างนี้ ผลที่เกิดขึ้นจากการมีทรัพย์นั้น เราจุติจากชาตินี้แล้วก็ไปสู่อบายภูมิ คือนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สามัญทรัพย์นั้นจึงเป็นของที่ไม่แน่นอนว่าจะพาผู้เป็นเจ้าของไปสู่สุคติโลกมนุษย์สวรรค์ได้ อาจจะพาไปสู่อบายภูมิก็ได้

แต่ อริยทรัพย์ นี้ เป็นของแน่นอนที่สุด ที่จะนำเจ้าของให้ตรงไปสู่มนุษย์ สวรรค์ และพระนิพพาน คืออริยทรัพย์นี้ ถ้าผู้ใดสั่งสมให้มากเท่าใดๆ ก็ให้บรรลุสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าทำพอประมาณ ก็ให้ได้มนุษย์สมบัติ สูงขึ้นไปก็ให้สำเร็จสวรรค์สมบัติ ตลอดถึงพรหมสมบัติ และพระนิพพานสมบัติ เหตุนั้น อริยทรัพย์ นี้จึงจัดเป็นทรัพย์อันประเสริฐ

อริยทรัพย์นั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ
๑.ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒.ทรัพย์ คือ ศีล
๓.ทรัพย์ คือ หิริ
๔.ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕.ทรัพย์ คือ สุตะ
๖.ทรัพย์ คือ จาคะ
๗.ทรัพย์ คือ ปัญญา

๑.คำว่า ศรัทธา ความเชื่อ มีอยู่หลายอย่างหลายประการ แต่ในที่นี้จะนำมาบรรยายเพียง ๒ ประการคือ

๑) ปกติศรัทธา เชื่อตามปกติของสามัญชน คือเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบาปได้บาป ทำบุญได้บุญ เชื่อต่อคุณของพระรัตนตรัย ดังประชาชนชาวไทยของเราพากันเชื่ออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้

ปกติศรัทธานี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น มีผู้มาว่าศาสนานั้นดีอย่างนั้นอย่างนี้ ลัทธิโน้นดีอย่างนั้น ลัทธินี้ดีอย่างนี้ เราอาจจะเลิกละจากศาสนาพุทธไปถือศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่นก็ได้ เพราะยังเป็นปกติศรัทธา ศรัทธาธรรมดาอยู่ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ดังที่พวกเราเห็นอยู่ทุกวันนี้แหละ บางทีเรานับถือศาสนาพุทธอยู่ดีๆ พอเขามาโฆษณาเขามาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็ไปถือศาสนานั้นหรือลัทธินั้น

๒) ภาวนาศรัทธา ได้แก่ ความเชื่อของบุคคลที่ได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว เชื่ออย่างหนักแน่นมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่หวั่นไหว เรียกว่า อจลศรัทธา

หมายเอาความเชื่ออันเกิดจากภาวนาซึ่งตนได้ลงมือประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์เห็นแจ้งประจักษ์มาแล้ว ดังหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๕ ว่า

อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก สทฺโธ โหติ สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ อิติปิ โส ภควา… พุทฺโธ ภควาติ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สทฺธาธนํ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อต่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้าว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุคคลอย่างยอดเยี่ยม เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีโชค ดังนี้

ความเชื่อดังที่กล่าวมานี้ เรียกว่า สทฺธาธนํ ทรัพย์คือ ศรัทธา

๒.คำว่า ศีล แปลว่า ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ในที่นี้จะได้นำเรื่องศีลมาบรรยายเพียง ๒ ประการ

๑) ปกติศีล ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลอุโบสถ ศีล ๒๒๗ ที่บุคคลรักษากันอยู่ทุกวันนี้ เป็นศีลขั้นสามัญ ศีลสังคม
๒) ภาวนาศีล ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ของผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นศีลในองค์มรรค เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานผ่านญาณ ที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณไปจนถึงมัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เรียกว่า ภาวนาศีล เป็นศีลที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา ที่ว่า สีลธนํ ทรัพย์คือศีลในที่นี้หมายเอา ภาวนาศีล อย่างนี้

๓.คำว่า หิริ แปลว่า ความละอายต่อบาป ต่อทุจริต ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

๔. คำว่า โอตตัปปะ แปลว่า ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

หิริกับโอตตัปปะนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑) เหตุภายนอก มีอยู่ ๔ อย่าง คือ
   ก.กลัวต่อการถูกติเตียนตนด้วยตนเอง
   ข.กลัวต่อการถูกติเตียนจากผู้อื่น
   ค.กลัวต่อราชทัณฑ์คือกฎหมายบ้านเมือง
   ง.กลัวต่อภัยในอบายภูมิ

๒) เหตุภายใน มีอยู่ ๘ ประการคือ
   ก.กุละ มีความละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงตระกูลของตน
   ข.วยะ มีความละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงวัยของตน
   ค.พาหุสัจจะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงการศึกษาของตน
   ง.ชาติมหัตตะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงชาติอันประเสริฐของตน
   จ.สัตถุมหัตตะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ บิดามารดา
   ฉ.ทายัชชมหัตตะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงมรดก ว่าเราทั้งหลายนี้ จะต้องได้รับมรดกธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจากครูบาอาจารย์ จะต้องได้รับมรดกจากพ่อแม่ ตนเองผู้รับมรดกนั้น จะต้องรักษามรดกนั้นไว้ให้ดีตลอดไป เมื่อคิดขึ้นมาได้อย่างนี้ ก็มีความละอายบาปกลัวบาปขึ้นมา
   ช.สพรหมจารีมหัตตะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงเพื่อนฝูงที่ดี ซึ่งเคยพบเห็นกันมา
   ซ.สุรภาวะ มีความละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงความกล้าหาญ และความสงบเสงี่ยมเจียมตัว

เมื่อบุคคลระลึกถึงเหตุภายนอกเหตุภายในเหล่านี้แล้ว จะเกิดความละอายต่อบาป กลัวต่อผลของบาป ไม่กล้าทำชั่วทางไตรทวาร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ย่อมจะได้รับความสุขกายสบายใจทั้งในภพนี้และภพหน้า

หิริและโอตตัปปะทั้ง ๒ นี้ ที่จัดเป็นอริยทรัพย์นั้น หมายเอาเฉพาะ หิริโอตตัปปะ ที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้เจริญวิปัสสนาผ่านญาณ ๑๖ ไปดีแล้ว ย่อมงดเว้นจากอกุศลมีปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุ มิจฉาจาร มุสาวาท และเว้นจากการดื่มสุราเมรัยเป็นต้น

๕.คำว่า สุตะ แปลว่าการสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา เพื่อให้เกิดความรู้ หรือเกิดปัญญา เกิดพหุสูต

พหุสูตนั้น มีอยู่ ๓ ประการคือ
๑) ปริยัติพหุสุตะ เป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมาก ได้สดับตรับฟังมามาก

๒) ปฏิปัตติพหุสุตะ เป็นพหุสูต เพราะลงมือปฏิบัติธรรมมามาก ย่อมฉลาด ย่อมสามารถ ย่อมเข้าใจในการปฏิบัติธรรม ในการแก้อารมณ์ของตนและคนอื่น เช่น เวลาเกิดนิมิตมีซากศพเป็นต้นเกิดขึ้นมา จะต้องกำหนดให้นิมิตนั้นหายไป ถ้าเรากำหนด ๓-๔ ครั้งไม่หาย ให้เข้าใจเถิดว่า สติ สมาธิ ปัญญาของเรายังหย่อน ต้องลุกไปเดินจงกรมเพิ่มสัก ๕ นาที ๑๐ นาที หรือ ๒๐ นาที ๓๐ นาที จึงมานั่งสมาธิต่อไป สติ สมาธิ ปัญญา และญาณจะได้ดีขึ้น

๓) ปฏิเวธพหุสุตะ เป็นพหุสูตเพราะรู้แจ้งแทงตลอดสภาวธรรมนั้นๆ ตามขั้นแห่งการปฏิบัติของตน เช่น รู้แจ้งปัจจุบันธรรม รู้แจ้งรูปนาม รู้แจ้งพระไตรลักษณ์ รู้แจ้งมรรคผลพระนิพพาน หรือรู้แจ้งแทงตลอดวิสุทธิ ๗ รู้แจ้งแทงตลอดญาณ ๑๖ สุตะที่จัดเป็นอริยทรัพย์ในที่นี้หมายเอาปฏิเวธพหุสูตนี้

๖.คำว่า จาคะ แปลว่า การบริจาค แบ่งเป็น ๓ คือ
   ๑) บริจาคตามปกติ เช่น บริจาคไทยธรรมต่างๆ มีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า บริจาคปัจจัย ถวายทาน เป็นต้น
   ๒) บริจาคอย่างกลาง เรียกว่า ปริจาคโวสสัคคะ คือผู้นั้นมาเจริญวิปัสสนา ละกิเลสเพียงตทังคปหาน คือละได้ชั่วครู่ชั่วขณะบ้าง ละด้วยอำนาจของวิกขัมภนปหานบ้าง คือข่มกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ด้วยกำลังของฌาน ในขณะที่กำลังของฌานมีอยู่ กิเลสทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ ดุจเอาหินทับหญ้าไว้ ฉะนั้น
   ๓) บริจาคอย่างสูง เรียกว่า ปักขันทนโวสสัคคะ คือการสละกิเลสเครื่องเศร้าหมองโดยเป็น สมุจเฉทปหาน แล่นไปสู่พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านหมายเอามัคคญาณ

รวมความว่า บริจาค นั้นมี ๓ อย่าง คือ
(๑) บริจาคทานตามปกติ เช่น บริจาคปัจจัย ๔ มีจีวร บิณฑบาตเป็นต้น อย่างหนึ่ง
(๒) บริจาคโดยการละกิเลส ด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานชั่วครู่ชั่วคราว แต่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานอย่างหนึ่ง
(๓) และการละกิเลสโดยเด็ดขาดด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้นอย่างหนึ่ง

ย่อให้สั้นจำได้ง่าย ก็ได้แก่การบริจาคของภายนอก มีจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น บริจาคภายในกล่าวคือการละความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น

จาคะ ที่จัดเป็นอริยทรัพย์ในที่นี้ ได้แก่การละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเท่านั้น

๗.คำว่า ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ มี ๔ คือ
๑) สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับตรับฟัง เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน

ใครเรียนมากก็รู้มาก ใครเรียนน้อยก็รู้น้อย เช่น เรียนนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก หรือเปรียญ ๓ เปรียญ ๔ เปรียญ ๕ เป็นต้น เราก็ได้ความรู้ขั้นนั้น ถ้าใครเรียนได้มาก ผู้นั้นก็ได้ความรู้มาก ทางโลกก็เหมือนกัน เราเรียนน้อยก็ได้ความรู้น้อย เรียนมากก็ได้ความรู้มาก จนสำเร็จถึงขั้นปริญญาตรี โท เอก

๒) ววัตถปัญญา ได้แก่ ปัญญาของบุคคลที่ได้เริ่มลงมือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เริ่มกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์

๓) สัมมสนปัญญา ได้แก่ ปัญญาของผู้ที่ลงมือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน กำหนดรูปนาม รู้รูปนาม รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ความเกิดและความดับของรูปนาม รู้เฉพาะความดับไปของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว

เห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม อยากออกอยากหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปนาม มีความเพียรเข้มแข็ง มีใจเฉยๆ เตรียมตัวเข้าสู่มรรคผลพระนิพพาน โดยอาการ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ญาณที่ ๑ จนถึงญาณที่ ๑๓ คือโคตรภูญาณนั่นเอง เรียกว่า สัมมสนปัญญา

๔) อภิสมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้แก่ ญาณที่ ๑๔ คือมัคคญาณนั่นเอง ญาณนี้เป็นโลกุตระ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

ปัญญาที่จัดเป็นอริยทรัพย์ในที่นี้ ได้แก่ ปัญญาข้อที่ ๔ คือ อภิสมยปัญญา เท่านั้น

ปัญญาทางโลกจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะอาศัยบุคคลศึกษาเล่าเรียนค้นคว้า ถ้าคนฉลาดสามารถมีปัญญาดีแล้ว ย่อมหาเงินได้ง่ายๆ คือหาเอาจากมนุษย์ก็ได้ เช่น ทำหวีหวีผมมาขายบ้าง ทำสบู่ฟอกตัวบ้าง ทำแปรงสีฟันบ้าง ทำยาสีฟันบ้าง ทำน้ำมันทาผมบ้าง ทำเครื่องวิทยุโทรทัศน์ โทรภาพบ้าง เป็นต้น ในทางโลกถ้าคนฉลาดสามารถ มีปัญญาดี ก็หาเอาเงินทองได้จากภายในตัวเรานี้เอง ข้อนี้ ฉันใด ในทางธรรมก็เหมือนกัน ฉันนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงค้นคว้าหาเอามรรค ผล นิพพาน จากร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ ดังบาลีรับสมอ้างที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๔ บรรทัดที่ ๑๐ ว่า

อิมสฺมึเยว พฺยามมตฺเต กเฬวเร สสญฺญมฺหิ สมนเก โลกญฺจ ปญฺญาเปมิ โลกสมุทยญฺจ โลกนิโรธญฺจ โลกนิโรธคามินิญฺจ ปฏิปทนฺติ ฯ

ในอัตภาพอันยาววาหนาคืบอันเป็นกเฬวรากซากศพ ซึ่งเป็นไปกับด้วยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เราย่อมประกาศให้ทราบว่า อริยสัจธรรมทั้ง ๔ คือ

๑. โลกัญจะ โลกคือทุกข์
๒. โลกสมุทยัญจะ เหตุเกิดของโลก คือ สมุทัย
๓. โลกนิโรธัญจะ ความดับของโลก คือนิโรธ ได้แก่ พระนิพพาน
๔. โลกนิโรธคามินิญจะ ปฏิปะทัง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ได้แก่มรรค ดังนี้

ทั้งหมดนี้ เป็นหลักของอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการ

พอจะกล่าวได้ใจความว่า ในทางโลกนั้น คนฉลาดย่อมหาเอาทรัพย์สมบัติจากร่างกายของเรานี้เอง เราลองไปดูตามร้านขายของทุกประเภท จะเป็นเครื่องอะไรก็ตาม ถ้านึกมาใส่ตัวเราแล้ว เขาขายเพื่อให้เรานี้มาปรนเปรอร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ ขายเครื่องดื่มก็ดี ขายผ้าผ่อนแพรพรรณก็ดี ขายเครื่องเพชรเครื่องทองก็ดี ขายกะปิน้ำปลา ขายเกลือ อะไรต่างๆ ก็ขายเพื่อให้เราได้บำรุงบำเรอร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้

เพราะเหตุนั้น คนที่มีปัญญา มีความเฉลียวฉลาด เขาสามารถหาเอาเงินจากร่างกาย อันยาววาหนาคืบนี้ ไม่จำเป็นต้องไปหาที่ประเทศนอก ประเทศอื่น ข้อนี้ ฉันใด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์สาวก เหล่าอริยบุคคลที่ท่านได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพานนั้น ท่านก็หาเอาจากอัตภาพอันยาววาหนาคืบนี้ ฉันนั้น

ผู้ที่ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติก็ดี ได้วิชชา ปฏิสัมภิทา อภิญญาก็ดี สมบัติและคุณวิเศษเหล่านี้ เมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจากร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ ร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ เป็นก้อนสัจธรรม ธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์คาถาก็รวมอยู่ที่นี้

เหตุนั้น ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เวลาประพฤติปฏิบัติ เราอย่าไปเหม่อมองหรือใฝ่ฝัน หรือนึกถึงแต่เรื่องนอกตัวของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างขอให้ระลึกถึงตัวของเราเป็นหลักไว้ว่า ธรรมะอยู่ที่นี้ เราบรรลุสมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพานอะไรนั้น ก็อยู่ที่ร่างกายอันยาววาหนาคืบของเรานี้ ครูบาอาจารย์ท่านจึงได้สอนว่า ให้มีสติสัมปชัญญะดูร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ ผลสุดท้ายก็จะได้มาซึ่งสมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพานเอง

อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการนี้ มีแก่บุคคลใด เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม ย่อมเป็นผู้มีความเชื่อมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหวเลย มีความเชื่ออยู่ตลอดไปจนกว่าจะถึงนิพพาน ดังมีเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง

ในครั้งพุทธกาล มีบุรุษคนหนึ่งเป็นโรคเรื้อน ชื่อว่านายสุปปพุทธกุฏฐิ วันหนึ่งไปฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งอยู่ที่ไกลๆ โน้น ไม่กล้าเข้ามาใกล้ เกรงคนอื่นจะรังเกียจ เมื่อฟังไปๆ ก็ส่งจิตส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง ส่งจิตตามไปพิจารณาตามไปๆ ผลสุดท้ายได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็คิดอยากจะเข้าไปกราบทูลคุณสมบัติที่ได้นั้นในสำนักขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา

ขณะนั้น ท้าวสักกะทรงทราบแล้วจึงปรากฏกายให้เขาเห็นแล้วพูดว่า ดูก่อนสุปปพุทธกุฏฐิ เธอเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์ยากไร้ ถ้าเธอกล่าวว่า พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ อย่าเลย พระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเรา พระธรรมไม่ใช่ของเรา พระสงฆ์ไม่ใช่ของเรา เพียงเท่านี้ ฉันจะให้เงิน ฉันจะให้ทรัพย์สมบัติมากมายหาที่สุดมิได้ จนๆ อย่างเธอนี้ว่าซิ เธอจะเอาเท่าไร ฉันจะให้

เมื่อสุปปพุทธกุฏฐิได้ยินคำนั้นจึงถามว่า ท่านนี้เป็นใคร มาจากไหน “ฉันเป็นเทวดา เป็นพระอินทร์มาจากเทวโลก” เมื่อท้าวสักกะกล่าวดังนั้น สุปปพุทธกุฏฐิจึงกล่าวขึ้นว่า อเปหิ เทวเต ไปๆ เทวดาอันธพาล เทวดาขี้ชั่ว อย่ามาพูดกับข้าพเจ้าว่า เป็นคนจน ข้าพเจ้าไม่จน ส่วนท่านนั่นแหละเป็นคนจน

พระอินทร์หายวับไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า วิสัยของคนถึงธรรมนี้ แม้จะจนแสนจน เราจะให้เงินให้ทองสักเท่าใดๆ ก็ไม่เอา เพียงแต่ให้พูดว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ อย่าเลย พระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเรา พระธรรมไม่ใช่ของเรา พระสงฆ์ไม่ใช่ของเรา เพียงแค่นี้ก็ไม่เอา วิสัยของคนถึงธรรมนี้ มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยจริงๆ ไม่หวั่นไหว แม้ตนจะจนแสนจน ก็ไม่ยอมละพระรัตนตรัยพระพุทธเจ้าข้า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ตุลาคม 2559 11:34:02 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.143 Chrome 53.0.2785.143


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2559 11:33:19 »



ทรัพย์ ๒ ประการ (อริยทรัพย์ ๗) (ต่อ)

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบเช่นนั้นแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ลูกของอาตมภาพไม่จน เป็นคนร่ำรวยที่สุด คือร่ำรวยทรัพย์ภายใน ถึงจนก็จนแต่ทรัพย์ภายนอกเท่านั้น ส่วนทรัพย์ภายในไม่จน มีบริบูรณ์พร้อมมูลแล้วทุกอย่าง แล้วพระองค์จึงทรงยกอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการ (ในสุตตันตปิฎกบาลี เล่มที่ ๒๓ ธนวรรค สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย หน้า ๔-๗) มาตรัสเทศนาว่า

สทฺธาธนํ สีลธนํ  หิรี โอตฺตปฺปิยํ ธนํ
สุตธนญฺจ จาโค จ  ปญฺญา เว สตฺตมํ ธนํ

อริยทรัพย์ ๗ ประการ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา

ยสฺส เอตา ธนา อตฺถิ  อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ  อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ

อริยทรัพย์ ๗ ประการนี้มีแก่บุคคลใด เป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์เลย นักปราชญ์กล่าวบุคคลนั้นว่าไม่จน เป็นคนร่ำรวยที่สุด

ดังนั้น ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ขอจงได้ภาคภูมิใจ ปลื้มใจ ปีติปราโมทย์ รื่นเริง บันเทิงใจ ดีใจได้แล้ว ที่เราได้มีโอกาสประพฤติปฏิบัติธรรม สร้างสมอบรมอริยทรัพย์อันประเสริฐให้เกิดให้มีขึ้นในตน อันโจรหรือใครก็ลักไปไม่ได้ ไฟก็ไม่ไหม้ น้ำก็ไม่ท่วม เป็นอนุคามินี ติดตามตนไปทุกฝีก้าว

เราจะไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา จะได้อาศัยอริยทรัพย์เป็นเสบียงเดินทางไปสู่สุคติภพจนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเอกันตบรมสุข เป็นอวสาน.


ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.143 Chrome 53.0.2785.143


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2559 14:29:33 »




การเจริญพระพุทธมนต์

ขณะใดที่เราตั้งอกตั้งใจเจริญพระพุทธมนต์จริงๆ (ขณะนั้น) ความเกียจคร้านย่อมไม่มี ความหดหู่ท้อแท้ไม่มี ความเผลอไม่มี ความฟุ้งซ่านไม่มี เรามีสติทันปัจจุบัน ไม่เผลอจากบทที่สวด

ขณะใดที่เรามีสติทันปัจจุบัน ไม่เผลอในการเจริญพุทธมนต์ ในขณะนั้นก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ชวนจิตของเราเกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มสวดจนถึงสวดจบบท

ในขณะใดที่เราตั้งอกตั้งใจสวดพุทธวจนะคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชวนจิตดวงที่ ๑ ของเราก็จะนึก จะคิด จะสั่ง แล้วก็จะดับลงไป เมื่อดับลงไปแล้ว ชวนจิตดวงที่ ๒ คือ สัมปฏิจฉนจิต ก็จะเกิดขึ้นมา เมื่อชวนจิตดวงที่ ๒ ดับลงไปแล้ว ชวนจิตดวงที่ ๓ ก็จะเกิดขึ้นมาพิจารณาบทมนต์ที่สวด ชวนจิตดวงที่ ๔ ก็จะเกิดขึ้นมาตัดสินรับเอาบุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระพุทธมนต์ ๑ ขณะจิต แล้วก็ดับลงไป

เมื่อดับลงไปแล้ว ชวนจิตดวงที่ ๕ ก็จะเกิดขึ้นมาเสพบุญเป็นอัตโนมัติ เกิดขึ้นมาเสพบุญที่เกิดขึ้นได้จากการเจริญพระพุทธมนต์อยู่ชั่วขณะจิตแล้วก็ดับไป เมื่อดับลงไปแล้ว สภาวะชวนจิตก็จะเกิดขึ้นมารับเอาบุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระพุทธมนต์นั้น ลงสู่ภวังค์แล้วก็ดับไป

เมื่อถึงภวังค์แล้ว ภวังค์นั้นก็จะทำหน้าที่รักษาบุญกุศลที่สวดพระพุทธมนต์นี้ไว้ภายในห้วงแห่งภวังคจิตนั้น ไม่มีอำนาจใดๆจะมาทำให้หมดไปได้ บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงก็เกิดอยู่ในที่นั้นตลอดเวลา นี่มันได้บุญอย่างนี้ แต่ขณะเดียวกันที่บุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระพุทธมนต์นี้ลงปวัตติไปตามวิถีจิตลงสู่ภวังค์

ในขณะนั้น บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงก็จะทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ มานะ ทิฏฐิ ตัณหา อุปาทาน อวิชชา ให้เบาบางลงไป หรือให้หมดไปทีละน้อยๆ ตามลำดับๆ

เราจะสังเกตเวลาเราเจริญพระพุทธมนต์ ยิ่งสวดก็ยิ่งเพลิน ยิ่งวันนี้ สวดอิมัสมิง มงคลจักรวาล ๘ ทิศ ยิ่งสวดก็ยิ่งเพลิน ยิ่งเพลินก็ยิ่งสวด ยิ่งสวดก็ยิ่งเพลิน ในขณะนั้นก็ถือว่าเป็นบุญแล้ว เป็นบุญโดยที่เราไม่สามารถจะพรรณนาว่าได้แค่ไหนเพียงไร

หากว่าถึงคราวที่จะตายจากโลกนี้ไป ในขณะนั้น เรานึกถึงบุญที่เราเจริญพระพุทธมนต์อยู่ในขณะนี้ ถ้าจิตใจของเราดับไปในขณะนั้น เมื่อดับไป ก็ขอรับรองว่า ตายแล้วก็ไม่ไปสู่อบายภูมิ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน บุญที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระพุทธมนต์ มันเป็นอย่างนี้ท่านทั้งหลาย

สำหรับการเจริญพระพุทธมนต์ทุกวันนี้ ถือว่าเป็นกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นการเจริญพระกัมมัฏฐานหมู่ คือเจริญพร้อมกันหลายๆ รูป ถือว่าเป็นการเจริญพระกัมมัฏฐานหมู่ พระกัมมัฏฐานที่เจริญอย่างนี้ แยกได้เป็นสองประเภท

หากว่าในขณะที่เราสวดอยู่นี้ สติสัมปชัญญะของเราดี ไม่เผลอจากบทที่สวด สวดไปๆ จิตใจก็ดิ่งเข้าไป ผ่านขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ผลสุดท้ายก็เข้าสู่อัปปนาสมาธิ เมื่อเข้าสู่สมาธิ ก็ถือว่าได้บุญได้กุศลในขณะที่เราเจริญพระพุทธมนต์ ไม่ใช่ไม่ได้นะ

คือเมื่อเรากำหนดไปๆ สวดไปๆ จิตของเราตั้งมั่นเป็นสมาธิ ตั้งแต่ขณิกสมาธิ แล้วก็อุปจารสมาธิ เฉียดฌานเข้าไป เฉียดมรรคเข้าไป จนถึงอัปปนาสมาธิ ถึงฌาน ถึงมรรค ก็ถือว่าเราได้บุญในขณะที่เจริญพระพุทธมนต์ ถ้าเราตั้งใจทำจริงๆ ก็ได้จริงๆ ท่านทั้งหลาย แต่ถ้าสวดเล่นๆไป สักแต่ว่าสวด ก็ไม่ได้บุญอะไร ซ้ำอาจจะเป็นบาปอีก

การที่จะทำให้บุญเกิดได้สมบูรณ์ที่สุดในขณะที่เจริญพระพุทธมนต์นี้ ขอให้จำไว้ให้ดี คือในขณะที่เราเจริญพระพุทธมนต์ เจริญไปๆ จิตใจของเราดิ่งเข้าไปๆ ความรู้สึกก็น้อยเข้าไปๆ ในขณะนั้น หากว่าเป็นไปได้ เราหยุดเจริญพระพุทธมนต์ คือนั่งนิ่งไปจนจิตใจของเราขาดความรู้สึกเป็นสมาธิไป ถือว่าได้สมาธิได้ฌานในขณะนั้น

ทีนี้หากว่าจิตใจของเราเกิดปีติขึ้นมาในขณะนั้น เจริญไปๆ ในขณะที่จิตของเรามันดิ่งเข้าไปๆ พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาในขณะที่สวดอยู่นั้น

ในขณะนั้นสติสัมปชัญญะของเรามันสมบูรณ์ จิตของเรามันดิ่งเข้าไปๆ และในขณะนั้นในวินาทีนั้น หรือในเสี้ยววินาทีนั้น พระไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา เมื่อเกิดขึ้นมาก็ดับปั๊บลงไป ก็ถือว่าเราได้บุญเป็นกรณีพิเศษ สามารถทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไปจากขันธสันดานได้

หมายความว่า สมาธิที่ได้ในขณะที่เราเจริญภาวนาอยู่นั้น ดิ่งเข้าไปๆ เกิดความรู้สึกเงียบเข้าไป ใจก็ไม่รู้ หูก็ไม่ได้ยิน ถ้าอัปปนาสมาธิเกิดขึ้นในลักษณะอย่างนี้ สมาธินั้นก็ถือว่าเป็นฌาน เป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

เมื่อเราถึงฌานแล้วอย่างนี้ แม้ร่างกายของเราเป็นพระเป็นเณรธรรมดา แต่จิตใจของเราเข้าถึงภูมิพรหมแล้ว มันได้อย่างนี้ท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ว่าสวดมนต์แล้วไม่ได้อะไร ได้หรือไม่ได้ก็อยู่ที่ปฏิปทาของเรา

ทีนี้หากว่าในขณะที่เราเจริญพระพุทธมนต์ จิตของเรามันดิ่งเข้าไปๆ ในขณะนั้นพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้ว ดับปั๊บลงไป ขาดความรู้สึกลงไป และในขณะที่มันขาดความรู้สึกลงไปนั้น เราก็รู้ว่าเราสวดมนต์ไปถึงบทไหน มันดับไปหรือขาดความรู้สึกไป เราจำได้

ถ้าจำได้อย่างนี้ สมาธิที่ได้นั้นก็เป็นสมาธิที่เกิดในลำดับของมัคควิถี สมาธิที่ได้นั้นก็เป็นอริยมรรคอริยผล

ถ้าเกิดขึ้นครั้งที่ ๑ ก็ถือว่าเราได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ครั้งที่ ๒ ก็เป็นสกทาคามี ครั้งที่ ๓ เป็นอนาคามี

การที่ได้บรรลุโสดาบัน สกทาคามีนี้ อาจจะใช้เวลาเพียงไม่เกิน ๓ นาที เมื่อทำได้อย่างนี้ท่านทั้งหลาย การเจริญพระพุทธมนต์นี้ ใช่ว่าจะไม่ได้อานิสงส์ ถ้าหากเรารู้วิธีสวด รู้วิธีปฏิบัติ ย่อมได้ทั้งสมถะ ได้ทั้งวิปัสสนา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่ที่บุญวาสนาบารมีที่ได้สร้างสมอบรมมา

หลวงพ่อขอยกตัวอย่างที่ได้เคยสอนลูกศิษย์ลูกหามาเป็นเวลานานพอสมควร วันหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่งชื่อว่า สงกรานต์ อายุประมาณสัก ๑๔ ปี เวลาเจริญพระพุทธมนต์นี้ เจริญไปๆ ดับปั๊บลงไปเลย ขาดความรู้สึกไป เมื่อขาดความรู้ลึกลงไปแล้ว หลังจากนั้นแกก็พยายามหัดสวดบ้าง นั่งสวดบ้าง ทำสมาธิไปบ้าง ผลสุดท้าย หลวงพ่อก็มาฝึก(สามเณร)ให้ชำนาญในวสี ๕ คือ

๑. อาวชฺชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการนึกตรวจองค์ฌานที่ตนออกแล้ว

๒. สมาปชฺชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการเข้าฌานได้รวดเร็ว

๓. อธิฏฺฐานวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการรักษาไว้มิให้จิตตกลงสู่ภวังค์

๔. วุฏฺฐานวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ

๕. ปจฺจเวกฺขณวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน

เอามาฝึกจนสามารถทำสมาธิได้ถึง ๒๔ ชั่วโมง สามเณรสงกรานต์นั้นทำสมาธิได้ถึง ๒๔ ชั่วโมง เมื่อทำสมาธิได้ถึง ๒๔ ชั่วโมงแล้ว ก็มาพิจารณาดูว่า สมาธิที่ได้นี้ยังเป็นสมถะอยู่ ยังเป็นฌานอยู่ ยังไม่ถึงอริยมรรคอริยผล ภายหลังพอมาฝึกใหม่ให้เจริญวิปัสสนาต่อ ผลสุดท้ายก็สามารถผ่านมัคควิถีไปได้ สามารถถึงมรรคถึงผลได้ นี่ท่านทั้งหลาย การเจริญพระพุทธมนต์ มันได้อย่างนี้

สามเณรอีกรูปหนึ่งชื่อ สามเณรพล อยู่บ้านใกล้ๆบ้านอีเติ่ง เวลาสวดมนต์เจริญพระพุทธมนต์อยู่นี้ก็เป็นเหมือนกัน สวดไปๆ เกิดปีติขึ้นมา หลังจากปีติเกิดแล้วก็ดำเนินไปตามวิถี จนถึงฌานชวนวิถี จิตก็ดับเข้าสู่ฌานธรรม ได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มันได้อย่างนี้ท่านทั้งหลาย ถ้าทำเป็น

หลังจากได้แล้ว ก็มาฝึกให้ชำนาญในการเข้า ในการออก ในการอธิษฐาน ทุกอย่าง ตามหลักวิชาการ แล้วก็มีสามเณรรูปหนึ่งอยู่ทางอำเภอเขื่องใน เวลาเจริญพระพุทธมนต์อยู่นี้ เจริญไปๆ จิตก็ตั้งมั่นเป็นอัปปนาสมาธิเป็นฌานดังกล่าวแล้วข้างต้น

อาจารย์เจ้าอาวาสขู่เอาเลยว่า ทำไมถึงทำกันได้เร็วนัก แกล้งทำเอาอย่างนั้น แกล้งทำเอาอย่างนี้ ว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้ เรานี้สวดมนต์มาตั้ง ๒๐ กว่าปียังทำไม่ได้ สามเณรตัวน้อยๆนี้ทำแป๊บเดียวเท่านั้น ทำไมถึงทำได้ หาว่าสามเณรนั้นแกล้งทำ อะไรจิปาถะ ก็ขู่เอา

นี่แหละท่านทั้งหลาย หากเรารู้วิธีการรู้หลักการ แล้วก็อยู่ในกลุ่มของผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม มีความคิดเหมือนกัน มีการกระทำเหมือนกัน การพูดเหมือนกัน เมื่อเราทั้งหลายมีการคิดเหมือนกัน การพูดเหมือนกัน การกระทำเหมือนกัน มันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพานได้

เหตุนั้น ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามปัญหาหรือเรื่องที่เรากระทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อทำถูกวิธีถูกหลักการแล้ว ก็สามารถที่จะทำได้ แม้ครั้งพุทธกาลก็มีหลายๆท่านที่ได้สมาธิ ได้ฌาน หรือได้อริยมรรคอริยผลในเวลาประพฤติปฏิบัติ

ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายได้เคยอ่านธรรมบท มงคลทีปนี หรือชาดกต่างๆ เราก็จะรู้ว่า มันได้อย่างนี้ การสวดมนต์ได้อย่างนี้ การเจริญกัมมัฏฐานได้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าคิดว่าการทำวัตรสวดมนต์นี้ลำบากลำบนเหลือเกิน เสียเวลาเรียนเหลือเกิน

ขอให้ท่านทั้งหลายจำหลักการ หลักวิชาการที่หลวงพ่อชี้แนะแนวทางให้รู้ให้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ หลวงพ่อได้สอนลูกศิษย์ลูกหามาแล้ว มีทั้งพวกโยมผู้หญิง โยมผู้ชาย มีทั้งแม่ชี มีทั้งปะขาว มีทั้งสามเณร มีทั้งครูบาอาจารย์ ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ได้เคยสัมผัสเรื่องนี้มาแล้ว

เพราะฉะนั้น เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างที่หลวงพ่อนำมาชี้แนะแนวทางการปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องเหลวไหล หลวงพ่อได้อาศัยประสบการณ์มานานพอสมควร จึงได้นำเอาสิ่งละอันพันละน้อยที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียน จากการประพฤติปฏิบัติ มาแนะนำพร่ำสอน หรือมาชี้แจงแสดงไข ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้รู้ได้เข้าใจ เกี่ยวกับการไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เหมือนดังที่เราท่านทั้งหลายกระทำอยู่ในขณะนี้ (ว่ามีอานิสงส์อย่างไร ดีเลิศประเสริฐเพียงไหน)

เอาละ หลวงพ่อได้เอาสิ่งละอันพันละน้อยมาเล่าสู่ฟังก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.


ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 54.0.2840.71 Chrome 54.0.2840.71


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2559 11:05:45 »




อิทธิบาทธรรมทำให้อายุยืน

ในสมัยนี้ อายุของคนเรานั้นท่านกำหนดไว้ว่า กัปหนึ่งๆนั้นมี ๗๕ ปี ๗๕ ปีเป็นอายุกัป

สมัยนี้ถ้าผู้ใดมีอายุ ๗๕ ปี ผู้นั้นชื่อว่ามีอายุยืนได้กัปหนึ่งแล้ว

การที่บุคคลจะมีอายุได้ถึงกัปหรือเกินกว่ากัปนั้น จะต้องตั้งมั่นอยู่ใน อิทธิบาทธรรม ๔ ประการ

หลวงพ่อเองก็ยังไม่ถึง ๗๕ ปี ยังไม่ถือว่าครบกัป เต็มกัปคือ ๗๕ ปี แต่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเรา ส่วนมากนั้นท่านจะมีอายุถึง ๗๕ ปี ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือถึง ๑๐๐ ปี ประมาณนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราผู้ที่มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในธรรมแล้ว ขอให้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองด้วย เพื่อประโยชน์ของคนอื่นด้วย

หลวงพ่อพิจารณาดูอยู่ตลอดเวลาว่า ชาวบ้านแก้ง บ้านคำม่วง บ้านเรืองอุดม ตายยาก ปีหนึ่งๆ อย่างมากตายเพียง ๓-๕ คน บ้านใกล้เรือนเคียงนี่ตายเอาๆ ตายกันบ่อย พระนี่แทบจะไปไหนไม่ได้ ต้องเฝ้าศพสวดศพอยู่ตลอดเวลา เวลาใครโทรศัพท์ไปถามก็ว่า โอ้ หลวงพ่อไปไหนไม่ได้ดอก ติดงานศพอยู่

แม้คนที่ไม่ควรจะตายก็ตาย ที่น่าจะอายุยืนก็ไม่อายุยืน เพราะอะไร ก็เพราะว่าขาดอิทธิบาทธรรมดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะขาดคุณธรรม

หลวงพ่อได้พูดอยู่ตลอดเวลาว่า วัดใดที่มีครูบาอาจารย์ มีพระสงฆ์องค์เณรผู้ทรงศีลทรงธรรม ก็เหมือนกับมีอนามัยมีโรงพยาบาลอยู่ใกล้ๆ คือว่าเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยอันตรายขึ้นมา ก็จะมีแพทย์มีหมอ หาหยูกหายามาได้ง่ายๆ สำหรับค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ค่าปฐมพยาบาลเวลาที่โรคภัยมันเบียดเบียน ก็ไม่มาก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อายุยืน ข้อนี้ฉันใด วัดใดที่มีพระ มีสามเณร มีผู้ปฏิบัติธรรม ทรงศีลทรงธรรม สถานที่นั้นๆก็ย่อมอยู่เย็นเป็นสุข (การที่วัดนั้นมีพระสงฆ์องค์เณรผู้ทรงศีลทรงธรรมทรงวินัยอันดีงามไว้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนในสังคมนั้น บ้านนั้น มีจิตใจดีงามและมีอายุยืน)

การเจ็บไข้ได้ป่วยก็ถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีอาการรุนแรง หรือที่บ้านเราเรียกว่าบ้านร้อนเมืองร้อนอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ชาวบ้าน ไม่ใช่ว่ายกยอปอปั้นนะ ชาวบ้านแก้งทั้ง ๓ คุ้มนี่แหละ นับแต่หลวงพ่อมาอยู่และได้ชักนำให้ประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ แม้ว่าปฏิบัติได้บ้างไม่ได้บ้าง สมบูรณ์บ้างไม่สมบูรณ์บ้าง ลุ่มๆดอนๆ ไม่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านเราก็ยังมีอายุมั่นขวัญยืน อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติดี ไม่ต้องเดือดร้อนกันจนเกินไป

เหตุนั้น หลวงพ่อจึงใคร่ขอบิณฑบาตให้พ่อแม่ญาติโยมทั้งหลายได้น้อมเอาธรรมคือ อิทธิบาทธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติกัน เพื่อว่าเราจะได้มีอายุยืน

เมื่อเราได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว ญาติโยมทั้งหลาย ลูกของเราที่จะเกิดขึ้นมาแล้ว แทนที่จะมีอายุสั้น ก็กลับมีอายุยืนขึ้นมา เพราะอำนาจธรรมะทั้ง ๔ ประการนี้ คือเด็กๆของเราเมื่อเกิดขึ้นมาก็จะมีอายุยืนขึ้นไปอีก ถ้าว่าบรรพบุรุษของเราไม่ปฏิบัติธรรมะทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ปู่ย่าตายายของเราก็จะอายุสั้น อายุลูกของปู่ของตา(คือพ่อแม่)ของเราก็สั้นลงไปอีก และเมื่อพ่อแม่ของเราอายุสั้นลง ลูกๆของพ่อแม่(คือรุ่นเรานี้)ก็อายุสั้นลงไปอีก

ที่คนมีอายุสั้นลงไปๆ ก็เพราะขาดคุณธรรม แต่ถ้าพวกเราปฏิบัติได้ดังกล่าวแล้ว สมมุติว่าลูกของเราจะมีอายุ ๕๐ ปี และคนที่อายุ ๕๐ ปีนี้พากันปฏิบัติตามธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว ลูกของคนที่อายุ ๕๐ ปีนั้น เกิดมาก็จะมีอายุ ๕๑ ปี หรือ ๕๒ ปี คือจะมีอายุสูงขึ้นเป็นขั้นๆขึ้นไป

นี่แหละท่านทั้งหลาย เรามองข้ามปัญหาใกล้ตัวเอง เมื่อเรามองข้ามปัญหาใกล้ตัวเอง เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นก็เป็นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะฉะนั้น จึงขอบิณฑบาตให้ญาติโยมมาประพฤติปฏิบัติกัน และชาวบ้านแก้งต่อไปก็อาจจะมีอายุยืนขึ้นอีก หรืออาจจะเกิดความระส่ำระสาย

เพราะเหตุไรจึงว่าอย่างนี้

เพราะว่า (ชาวบ้านทุกวันนี้) เมื่อเห็นพระเจ้าพระสงฆ์แล้ว ส่วนมากก็ไม่สนใจ ไม่ยกมือไหว้ เมื่อก่อนโน้น เวลาเดินผ่านพระเจ้าพระสงฆ์ก็พากันยกมือไหว้ สมัยนี้จะหาคนที่จะยกมือไหว้พระนั้น หายาก

ลูกๆหลานๆ ทั้งๆที่หลวงพ่อสั่งไว้ตั้งแต่โน้น ตั้งแต่ในครรภ์ของแม่ หลวงพ่อสั่ง(คนที่เป็นพ่อเป็นแม่)ไว้ว่า ให้เทศน์ให้ลูกฟัง แต่ละวันๆ อย่างน้อย ๑ ครั้ง เทศน์ให้ลูกฟัง เอาธรรมะมากล่อมแล้วลูบท้องบอกว่า แม่จะเทศน์ให้ลูกฟัง ให้ตั้งใจฟังนะลูกนะ แล้วก็เอาหนังสือธรรมะนี้แหละอ่านให้ฟังสัก ๒ บรรทัด หรือ ๓ บรรทัด แล้วก็วางไว้ วางแล้วก็ว่า จบแล้วนะ วันใหม่ค่อยฟังต่อ วางหนังสือไว้ข้างที่นอนแล้วค่อยอ่านใหม่ อย่างนี้แหละ ลูกของเราเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วจะเป็นผู้มีสติปัญญา ตอนนี้เกือบจะไม่มีแล้ว เกือบจะไม่มี

เมื่อก่อนโน้นเราเข้าวัดเข้าวา เราจะถอดรองเท้าไว้ ไม่กั้นร่ม เราเอาร่มวางไว้ที่ใดที่หนึ่ง ถอดรองเท้าไว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่ทุกวันนี้ไม่มีแล้ว แทบจะเอาวางไว้บนหัวพระ หลวงพ่อจึงบอกไว้ตลอดมา (ทุกวันนี้) ทั้งพระทั้งเณร เวลาขึ้นมาที่ศาลานี้ รองเท้าใส่มาถึงหน้าพระพุทธรูป คือเวลาเข้ามาที่พระนั่งฉันก็เอารองเท้ามาวางไว้ด้วย ใส่รองเท้าเข้ามาด้วย ความเคารพอย่างนี้มันก็หมดไป

นี่อย่างหนึ่ง ที่เราไม่มีความเคารพคารวะอ่อนน้อมต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต่อครูบาอาจารย์และสถานที่ ก็ทำให้ความเคารพของคนเรามันลดน้อยลงไป นี้อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ชาวบ้านแก้งมีอายุลดน้อยลงไป หรือโรคภัยไข้เจ็บจะเกิดขึ้นมา

สอง เพราะว่าเราชอบฆ่าตัวเองด้วย ฆ่าผู้อื่นด้วย ฆ่าพระ ฆ่าเณรด้วย ทุกวันนี้เรากำลังฆ่ากันๆ เป็นอย่างไรญาติโยมเฮ็ดอยู่บ่ เราฆ่าลูก เราฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ เราฆ่าพระฆ่าเณร แล้วก็ฆ่าตัวเราเอง ก็ยังไม่ทราบว่าฆ่าตัวเองด้วย เราฆ่าลูกของเรา แต่ไม่รู้ว่าฆ่าลูกของเรา เราฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ แต่ไม่รู้ว่าฆ่าพ่อฆ่าแม่ เราฆ่าพระฆ่าเณร แต่ไม่รู้ว่าฆ่าพระฆ่าเณร

ทำไมหลวงพ่อจึงพูดอย่างนี้

ท่านทั้งหลาย อาหาร การกิน การอยู่ ทุกวันนี้มันมีแต่สารพิษ ข้าวก็มีสารพิษ ผักทุกชนิดที่เรากินกันก็มีสารพิษ ปลาก็มีสารพิษ เนื้อก็มีสารพิษ ปลาที่จับมาแต่ทะเลก็มีแต่สารพิษ ลำไยก็มี เงาะก็มี ทุเรียนก็มี ผลไม้ทุกชนิดก็มีแต่สารพิษ ผักที่เรากินกันทุกวันนี้มันมีสารพิษ

เรากักเก็บสารพิษไว้ในร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราอยากอายุยืนก็อายุยืนไม่ได้ เพราะว่าร่างกายของเรามันเต็มไปด้วยสารพิษ กักเก็บไว้ๆ ที่หลวงพ่อป่วยกระเสาะกระแสะมา ก็เพราะสารพิษ มันป่วยมาตั้งแต่โน้น ขออภัย เพราะแตงโม ชิ้นไม่ใหญ่หรอก ฉันกับข้าวไปสัก ๕ คำเท่านั้นแหละ ฉันแล้วหลวงพ่อไปพักที่ห้อง พอเอนหลังลงเท่านั้น ก็หลับไปเลย ลืมตาขึ้นมาดูนาฬิกา ๓ ชั่วโมง

ผลคือ เวลาเคลื่อนไหวร่างกาย มันก็สั่นวิงเวียนรู้สึกหมุนติ้วๆขึ้นมา อาเจียนออกมาเป็นกระโถนๆเลย ลูกศิษย์ก็หาหยูกหายามาพยาบาล อย่างนี้แหละหลวงพ่อจึงตั้งใจว่า แต่นี้ต่อไปจะไม่ฉันแตงโมละ หรือไปจ่ายตลาดเองก็ต้องถามก่อนว่า ฉีดยาบ่ ถ้าฉีดยาก็บ่เอา เพราะหลายครั้งแล้วที่เป็นอย่างนี้ หลังจากฉันแตงโมมาแล้ว ท้องก็เดินตลอดเวลา ฉันอะไรๆ ก็ถ่ายออกมาหมด ฉันอันนั้นก็ถ่าย ฉันนี้ก็ถ่าย ผลสุดท้ายก็ต้องไปหาหมอ

ไปหาหมอแล้วก็ถามหมอว่า มันไม่มีสารซันฟาบ่ ถ้ามีสารซันฟา หลวงพ่อแพ้ยานี้ หมอบอกว่าไม่มี หลังจากนั้นแหละก็มาถึงวัด ดึกแล้วก็ฉันยา ก็เลยถามว่ามีสารซันฟาอยู่บ่ ถ้ามีต้องตายแน่นอน บังเอิญไม่มีอะไรก็เลยไม่เป็นไรๆ คุณหมอบอกว่าไม่มีๆ แล้วก็กินยาเข้าไปประมาณ ๕ นาทีเท่านั้น อาการท้องพองขึ้นๆ เหมือนศพที่กำลังอืด ต้องรักษาพยาบาลพอสมควรจึงหาย

นี่แหละญาติโยมทั้งหลาย แม้พวกเราอยากจะมีอายุยืนก็อายุยืนไม่ได้ เพราะว่าเราประมาท ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ไม่ใช่เพราะไปฆ่าคนนั้นคนนี้ แต่เพราะว่าการกินของเรานี้เป็นเหมือนกับว่าเรากำลังฆ่าตัวเอง ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าลูกของเรา หนักๆเข้าฆ่าทั้งพระฆ่าทั้งเณร เมื่อเราฆ่าตนเองอย่างนี้ เป็นเพชฌฆาต

ธรรมะที่พระองค์ทรงประทานให้อยู่นี้ ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้มีอายุยืนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านทั้งหลาย ที่จริง อะไรที่จะพอปลูกพอฝังก็พากันปลูกกันฝังเอา เพราะแผ่นดินมันกว้างมันใหญ่ ฉะนั้น เราอย่าเห็นแก่กิน นึกถึงชีวิตของเราด้วย นึกถึงชีวิตของลูกของหลานของพระของเณรด้วย นึกถึงชีวิตจะอยู่กับโลกเขาด้วย อย่าฆ่าตัวเอง

เอาละท่านทั้งหลาย หลวงพ่อได้พูดสิ่งละอันพันละน้อย ก็เป็นการโสรจสรงองค์ศรัทธาของคณะครูบาอาจารย์และญาติโยมที่มาถวายเพลวันนี้ เพื่อเป็นการถวายกุศลเหล่านี้แด่หลวงพ่อ หลวงพ่อขออนุโมทนาสาธุการ

ด้วยอำนาจบุญบารมีที่ท่านทั้งหลายได้สร้างสมอบรมมา พร้อมด้วยอำนาจบารมีที่ท่านได้เคารพนับถือบูชากราบไหว้ ขอเดชพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านผู้มีพระคุณ และบุญกุศลที่หลวงพ่อได้สร้างสมอบรมมา ขอจงได้เป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นพลวปัจจัย ให้ท่านทั้งหลายมีอายุมั่นขวัญยืน เพียบพูนไปด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ โชคลาภร่ำรวยมั่งมีศรีสุข เจริญในหน้าที่การงานตลอดไป

และขอให้มีโอกาสได้เข้ามาประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม นำตนให้พ้นจากทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์ กล่าวคือมรรค ผล นิพพาน ด้วยกันจงทุกท่านทุกคนเทอญ.


ลพ.บุญเรือง สารโท
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3 ... 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.118 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้