[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 20:01:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระประจำวัน  (อ่าน 2046 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2556 18:23:52 »

.
พระประจำวัน


เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ รวบรวมสรุปว่า การกำหนดพระพุทธรูปแต่ละปางให้ตรงกับทั้ง ๗ วันในสัปดาห์ มีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สมัยโบราณได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาบ้างแล้ว เพื่อเป็นพุทธานุสติน้อมนำใจให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติมาสร้างเพิ่มเติม เมื่อนับรวมกับแบบเดิมก็ได้ทั้งสิ้น ๔๐ ปาง

กล่าวกันว่าการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดแต่ละวันนั้น เป็นโบราณอุบายของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจให้แก่ตนและลูกหลาน และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิดเป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง โดยบางคนก็บูชาเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือปัดเป่าให้รอดพ้นภัยพิบัติ    

พระพุทธรูปปางประจำวันเกิดแต่ละวันดังกล่าวมีดังนี้
ปางถวายเนตร พระประจำวันอาทิตย์ มาจากเมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิเป็นระยะเวลา ๗ วัน หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิโดยไม่กะพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา ๗ วัน สถานที่ประทับยืนนี้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน

ปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร พระประจำวันจันทร์ ๒ ปางนี้ต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ถ้าเป็นปางห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทรจะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม ส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ

สำหรับความเป็นมาของปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดา คือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือกรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน

ส่วน ปางห้ามสมุทร ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงขอประทับแรมอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้า ชฎิล (ฤๅษี ผู้บูชาไฟ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแคว้นมคธทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการเพื่อทรมานฤๅษีอุรุเวลกัสสปะให้คลายความพยศลง ในครั้งที่น้ำท่วม พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับ และเสด็จจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกเหล่าชฎิลพายเรือมาดูเห็นเป็นอัศจรรย์จึงยอมรับในอานุภาพของพระพุทธองค์และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ปางไสยาสน์ พระประจำวันอังคาร หรือบางทีเรียก ปางปรินิพพาน ทั้งนี้ ปางไสยาสน์ พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียร ส่วนปางปรินิพพาน พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระ ปูอาสนะลงที่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วประทับบรรทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่เสด็จลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้าย ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน



ปางอุ้มบาตร พระประจำวันพุธ (กลางวัน) กล่าวถึงเมื่อพระพุทธเจ้าได้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวายบังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรสและพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์ คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง พระพุทธองค์จึงนำพระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมืองเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้)

ปางป่าเลไลยก์ พระประจำวันพุธ (กลางคืน) คือผู้ที่เกิดระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ของวันพุธถึง ๐๖.๐๐ น. ของวันพฤหัสบดี หรือบ้างนับ ๑๘.๐๐-๒๔.๐๐ น. ของวันพุธ สำหรับปางนี้ กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมือง โกสัมพี ครั้งนั้นพระภิกษุมีมากรูปด้วยกัน และไม่สามัคคีปรองดอง ไม่อยู่ในพุทธโอวาท ประพฤติตามใจตัว จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวในป่าที่ชื่อว่าปาลิไลยกะ โดยมีมีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อ "ปาลิไลยกะ" มีความเลื่อมใส มาคอยปฏิบัติบำรุงและคอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ำกราย ทำให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ในป่านั้นด้วยความสงบสุข และป่านั้นต่อมาก็ได้ชื่อว่า "รักขิตวัน"

ปางป่าเลไลยก์ พระประจำวันพุธ (กลางคืน) คือผู้ที่เกิดระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ของวันพุธถึง ๐๖.๐๐ น. ของวันพฤหัสบดี หรือบ้างนับ ๑๘.๐๐-๒๔.๐๐ น. ของวันพุธ สำหรับปางนี้ กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมือง โกสัมพี ครั้งนั้นพระภิกษุมีมากรูปด้วยกัน และไม่สามัคคีปรองดอง ไม่อยู่ในพุทธโอวาท ประพฤติตามใจตัว จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวในป่าที่ชื่อว่าปาลิไลยกะ โดยมีมีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อ "ปาลิไลยกะ" มีความเลื่อมใส มาคอยปฏิบัติบำรุงและคอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ำกราย ทำให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ในป่านั้นด้วยความสงบสุข และป่านั้นต่อมาก็ได้ชื่อว่า "รักขิตวัน"
 
ปางสมาธิ - ปางรำพึง - ปางนาคปรก

ครั้นพญาลิงเห็นพญาช้างทำงานปรนนิบัติพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ก็เกิดกุศลจิตทำตามอย่างบ้าง ต่อมาชาวบ้านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่โกสัมพี แต่ไม่พบ และทราบเหตุ ก็พากันตำหนิติเตียน และไม่ทำบุญกับพระเหล่านั้น พระภิกษุเหล่านี้จึงได้สำนึกขอให้พระอานนท์ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์กลับมา ช้างปาลิไลยกะมาส่งเสด็จด้วยความเศร้าเสียใจจนหัวใจวายล้มตายไป ด้วยกุศลผลบุญจึงได้ไปเกิดเป็น "ปาลิไลยกะเทพบุตร"

ปางตรัสรู้ พระประจำวันพฤหัสบดี  คือปางที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ทรงประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคา ใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี คือวันวิสาขบูชานั่นเอง

ปางรำพึง พระประจำวันศุกร์ ปางนี้กล่าวถึงเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยจะไม่สั่งสอนชาวโลก ด้วยรำพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ ท้าวสหัมบดีพรหมจึงมากราบทูลอาราธนาว่า ในโลกนี้ บุคคลที่มีกิเลสเบาบางพอฟังธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วก็เห็นชอบ ทั้งทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวงจึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลกตามคำอาราธนานั้น

ปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์ กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้และประทับบำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอันเกิดจากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งละ ๗ วันนั้น ในสัปดาห์ที่ ๓ นี้ ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก)

ขณะนั้นฝนตกลงมาไม่หยุด พญานาคตนหนึ่งชื่อ "มุจลินท์นาคราช" ได้ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้ฝนตกต้องพระวรกาย จนฝนหาย จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์




ที่มา : นสพ.ข่าวสด

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤศจิกายน 2556 18:29:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.374 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 10:48:28