[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 22 มกราคม 2567 16:05:33



หัวข้อ: การพอกยาสมุนไพร
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 มกราคม 2567 16:05:33
(https://www.khonkaenram.com/system/comfy/cms/files/files/000/002/247/original/osteoarthritis-1.png)

การพอกยาสมุนไพร


ข้อเสี่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของข้อชนิดหนึ่งที่ไม่มีการอักเสบของข้อชนิดที่มีเยื่อบุข้อที่เกิดจากการเสื่อมและสึกหรอของผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อต่างๆ  ตามกระบวนการสูงอายุตามวัยหรือเหตุจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเสี่อมสภาพของข้อ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ และความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อน้อยลง เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อต่อหัวไหล่ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดข้อต่างๆ (เข่า สะโพก หัวไหล่ มือ) เสื่อมหรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้นได้แก่
1. อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมาก เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย
2. โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
3. เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆ มาก่อน
4. แนวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อผิดรูป เช่น มีเข่าโก่ง กรรมพันธุ์
5. เยื่อบุข้ออักเสบเรื้อรัง


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTU_zPVAOe9Ocn18QdhRv3gD_oLvN-siXZ9wQ3PXs-Kg27U8CUL6VwPe04CTyzOglUv1IU&usqp=CAU)

การพอกยาสมุนไพร
การพอยาสมุนไพร รักษาอาการปวดและการอักเสบ มีทั้งยาฤทธิ์ร้อนและยาฤทธิ์เย็น ยาพอกสมุนไพรแก้ปวดลดการอักเสบ เป็นตำรับยาสมุนไพรดั้งเดิม ที่แพทย์แผนไทยใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยใช้พอกตามข้อต่อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อหัวไหล่ ข้อมือ เป็นต้น หรือบริเวณแนวกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวดบวม อักเสบ และมีการบันทึกผลการรักษาว่าลดอาการดังกล่าวได้

วัสดุอุปกรณ์
1. แผ่นแป้งสาลี
2. ยาสมุนไพรหมัก ได้แก่
   2.1 ผักเสี้ยนผี ทั้งต้น
        - ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบ
        - ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยแก้อาการปวดได้
        - สมุนไพร ทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะและปวดตามข้อ หรือบดเกลือทาแก้อาการปวดหลัง
        - ใช้เป็นยาถูนวดเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ทำให้เลือดลมเดินสะดวกยิ่งขึ้น

   2.2 ไพร :  สรรพคุณ ลดอาการอักเสบ แก้ฟกช้ำ ลดบวม
   2.3 ข่า :  สรรพคุณ ขับลม เพิ่มระบบการไหลเวียนเลือด ลดการอักเสบ
   2.4 ขิง : สรรพคุณ ใช้ภายนอก แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ภายใน บำรุงธาตุไฟ แก้ท้องอืด เฟ้อ อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้หวัด บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเนื่องจากโรคไมเกรน
   2.5. ผิว/ใบมะกรูด : สรรพคุณ น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ บรรเทาอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ระงับความปวด
   2.6 การบูร : สรรพคุณ แก้เคล็ดขัดยอก ลดบวม ลดอาการปวดตามข้อ

ขั้นตอนในการหมักยา
1. นำสมุนไพรทั้งหมดล้างให้สะอาด นำมาโขลก/สับพอหยาบ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุลงในโหลแก้ว เทเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ให้ท่วมตัวยาสมุนไพร
3. หมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน แยกกากสมุนไพร เก็บน้ำสมุนไพรไว้ในขวดแยก ผสมการบูรพอประมาณ ใช้พอก หรือบรรจุในขวดสเปรย์พ่นบริเวณกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อกระดูก บรรเทาอาการปวด

วิธีการพอกยาสมุนไพร
1. นำแผ่นแป้งสาลีตัดให้พอดีกับเข่า แล้วเทยาพอกที่หมักแล้วลงบนแผ่นแป้งแช่ไว้ประมาณ 10 นาที จนแผ่นแป้งนิ่ม
2. นำแผ่นแป้งชุบยาสมุนไพร ไปพอกบริเวณที่มีอาการปวด ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที (หากมีอาการแสบร้อน ควรยุติการพอกยา)

ข้อห้าม/ควรระวังพอกย
1. ควรหลีกเลี่ยง หรือบริเวณที่มีแผลเปิด
2. ไม่ควรพอกนานเกินระยะเวลาที่กำหนด คือไม่ควรเกิน 20 นาที อาจทำให้ผิวหนังพุพองหรือเกิดอาการผิวหนังอักเสบได้
3. หากมีอาการแสบร้อนบริเวณผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว