[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤษภาคม 2567 00:24:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  (อ่าน 1778 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 31 มกราคม 2560 10:13:46 »



ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะก็ดี ทรงพระประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศก็ดี ทั้งนี้ การมีขึ้นซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นไปตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รายพระนามและรายนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย

รัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย

1.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) พ.ศ.2411-2416 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชสมบัติ ครั้งที่ 1)

2.สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พ.ศ.2440 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

3.สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ 27 มีนาคม พ.ศ.2449-17 พฤศจิกายน พ.ศ.2450 ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)


รัชกาลที่ 6 ประกอบด้วย
1.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ.2468 ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

รัชกาลที่ 7 ประกอบด้วย
1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 9 เมษายน พ.ศ.2475-8 พฤษภาคม พ.ศ.2475 ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงเสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน โดยพระองค์เสด็จฯ ไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 12 มกราคม พ.ศ.2476-2 มีนาคม พ.ศ.2477 ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ยังต่างประเทศ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รัชกาลที่ 8
เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชภารกิจได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ประกอบด้วย

1.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ 2 มีนาคม พ.ศ.2477-12 สิงหาคม พ.ศ.2478 เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

2.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา 2 มีนาคม พ.ศ.2477-31 กรกฎาคม พ.ศ.2487 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาทรงลาออกจากตำแหน่ง

3.เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) 2 มีนาคม พ.ศ.2477-30 ธันวาคม พ.ศ.2481 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมา เจ้าพระยายมราชถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

4.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) 21 สิงหาคม พ.ศ.2478-21 กรกฎาคม พ.ศ.2485 ได้รับการแต่งตั้งหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ต่อมา เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

5.หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) 16 ธันวาคม พ.ศ.2484-20 กันยายน พ.ศ.2488 ได้รับการแต่งตั้งแทนเจ้าพระยายมราช ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2481

ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2485 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาทรงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2487 และไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเพิ่ม จึงมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว



ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะก็ดี ทรงประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศก็ดี ทั้งนี้ การมีขึ้นซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นไปตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รายพระนามและรายนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย

รัชกาลที่ 9 คณะอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2493 ประกอบด้วย

1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2489-24 มีนาคม 2493

ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2493-7 มีนาคม พ.ศ.2494 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อมากรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ ทำให้พ้นจากตำแหน่ง

2.พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) 16 มิถุนายน พ.ศ.2489 - 7 ตุลาคม พ.ศ.2517 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ พ.ศ. 2490-19 ธันวาคม พ.ศ.2495 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาสิ้นพระชนม์ ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ

4.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภ พฤฒิยากร 12 มีนาคม พ.ศ.2494-2495, 27 พฤษภาคม-8 มิถุนายน 2506 และ 9-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสืบแทนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2494 เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ.2506

5.หลวงอดุลเดชจรัส (อดุลอดุลเดชจรัส) (บัตร พึ่งพระคุณ) พ.ศ.2489-17 ธันวาคม พ.ศ.2512 เป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

6.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี 22 ตุลาคม 2499- 5 พฤศจิกายน 2499 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระผนวช ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

7.สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โอกาสต่างๆ ได้แก่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2502, 8-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503, 2-5 มีนาคม พ.ศ.2503, 11-22 มีนาคม พ.ศ.2505, 20-27 มิถุนายน พ.ศ.2505, 17 สิงหาคม-13 กันยายน พ.ศ.2505, 12 กันยายน- 6 ตุลาคม พ.ศ.2507, 15 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2509, 23-30 เมษายน พ.ศ.2510 และ 6 มิถุนายน พ.ศ.2510

ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า สหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ในยุโรป ปากีสถาน สหพันธ์มลายา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ออสเตรีย อังกฤษ อิหร่าน และแคนาดา อย่างเป็นทางการ

หลังรัชกาลที่ 9 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราวโดยตำแหน่งประธานองคมนตรี ตามมาตรา 24 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ทั้งนี้ วิกิพีเดียระบุว่า ผู้ประเดิมตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) แผ่นดินรัชกาลที่ 5


รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 05:22:28