[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 17 กันยายน 2566 23:27:11



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘แลนด์บริดจ์ภาคใต้’ 1 ล้านล้านบาท ที่ชาวบ้าน ‘ชุมพร-ระนอง’ ยังมึน งง และตกใจ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 17 กันยายน 2566 23:27:11
‘แลนด์บริดจ์ภาคใต้’ 1 ล้านล้านบาท ที่ชาวบ้าน ‘ชุมพร-ระนอง’ ยังมึน งง และตกใจ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-09-17 15:58</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เปิด 10 เหตุผลคนชุมพรค้านแลนด์บริดจ์ และข้อกังวลของคนระนอง เผยเกิดภาวะมึน งง และตกใจ เพราะไม่รู้ว่า “แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง” ใหญ่ขนาดไหน ผลกระทบมีอะไร เพราะรัฐแยกส่วนรับฟังความเห็นเป็นโครงการย่อย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53193374783_64ffc3a594_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: เพจอุบัติเมืองมลพิษแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง</span> (https://www.facebook.com/photo?fbid=272490512262293&amp;set=pcb.272490905595587)</p>
<p>ในขณะที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า อภิมหาโครงการ “แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง” หรือโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย -อันดามัน มูลค่า 1 ล้านล้านบาท อย่างเต็มกำลัง ทว่า คนในพื้นที่กลับกำลังตกอยู่ในภาวะ “มึน งง และตกใจ” เพราะยังมองภาพยังไม่ออกว่า โครงการนี้มันใหญ่ขนาดไหน</p>
<p>โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังดำเนินการทั้งการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) ไปพร้อมๆ กัน</p>
<p>แต่ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ก็ยังนึกไม่ออกจริงๆ จะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เพราะดูเหมือนว่าการประชาสัมพันธ์โครงการ หรือการให้ข้อมูลผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่จริงๆ ยังแยกส่วนเป็นโครงการย่อยๆ ซึ่งเมื่อรับทราบข้อมูลในภาพรวมไม่ครบถ้วนก็ไม่รู้จะตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นอย่างไร </p>
<p>อย่างล่าสุด ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมอ่าวอ่าง อ.เมือง จ.ระนอง และท่าเรือบริเวณแหลมริ่วในฝั่งอ่าวไทยที่ จ.ชุมพร เพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ “แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง”</p>
<p>เช่นเดียวกับการรถไฟแหงประเทศไทยที่ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามแนวเส้นก่อสร้างทางรถไฟแลนด์บริดจ์เชื่อมชุมพร-ระนอง ระหว่างวันที่ 4-8 กันยายน 2566 รวม 9 เวที ในพื้นที่ อ.หลังสวน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ อ.เมือง จ.ระนอง ทั้งสองโครงการก็จำกัดให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเฉพาะโครงการเท่านั้น</p>
<p>นายกฤติ์ฐนพัส หัสจักร ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจ จ.ระนอง กล่าวว่า ในเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการก่อสร้างท่าเรือระนองมีการให้ข้อมูลเฉพาะเรื่องท่าเรืออย่างเดียว แต่โครงการใหญ่ขนาดนี้ต้องให้ข้อมูลครบถ้วนในภาพรวม ไม่อย่างนั้นแล้วจะแยกไม่ออกว่าภาพใหญ่คืออะไร จึงมีข้อกังวลว่าการให้ข้อมูลครั้งนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะกระบวนการในเวทีเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน</p>
<p>“เมื่อชาวบ้านยังไม่เข้าใจว่าภาพรวมคืออะไร แต่มาจัดเวทีแบบนี้ทันทีจะทำให้ชาวบ้านงง ไม่รู้จะถามอย่างไร นึกไม่ออก เมื่อผู้จัดเวทีกลับไปแล้วชาวบ้านจะกลับมาจัดเวทีพูดคุยกันเองก็ไม่ได้ เพราะไม่ใครมาให้คำตอบ”</p>
<h2><span style="color:#3498db;">“แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง” ใหญ่ขนาดไหน</span></h2>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53193193015_42f015d270_o_d.png" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53193361873_316cf92a90_o_d.png" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53193361848_a610509325_o_d.png" /></p>
<p>ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ระบุว่า โครงการ "แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง” จะมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเล และมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างกันด้วยระบบราง (รถไฟทางคู่) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ภายใต้แนวคิด” One Port Two Side” และการพัฒนาพื้นที่หลังท่าด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ </p>
<p>โดยได้คัดเลือกจุดก่อสร้างท่าเรือทั้งสองฝั่ง คือ บริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร และแหลมอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ที่สามารถรองรับตู้สินค้าได้ฝั่งละ 20 ล้านทีอียู</p>
<p>สำหรับท่าเรือฝั่งชุมพรจะมีพื้นที่ถมทะเลประมาณ 5,808 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ท่าเทียบเรือ 4,788 ไร่และพื้นที่พัฒนาอเนกประสงค์ 1,020 ไร่ ส่วนท่าเรือฝั่งระนอง จะมีพื้นที่ถมทะเลประมาณ 6,975 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ท่าเทียบเรือ 5,633 ไร่ และพื้นที่อเนกประสงค์ 1,342 ไร่ตามลำดับ</p>
<p>ส่วนระบบเส้นทางเชื่อมโยงมีระยะทาง 93.9 กิโลเมตร (บนบก 89.35 กิโลเมตร และในทะเลสู่ท่าเรือระนอง 2.15 กิโลเมตร และสู่ท่าเรือชุมพร 2.48 กิโลเมตร) ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ และรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน (1.435 เมตร) รองรับการขนส่งสินค้า และรางขนาด 1 เมตร เพื่อเชื่อมการเดินทางขนส่งของประเทศอีกด้วย โดยมีรูปแบบทั้งทางยกระดับ ทางระดับพื้นและอุโมงค์ 3 แห่ง</p>
<p>ผลการศึกษาเบื้องต้นประมาณมูลค่าการลงทุนในการพัฒนาแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ไว้ 1.001 ล้านล้านบาท คือ 1. การก่อสร้างท่าเรือ 636,477 ล้านบาท (ท่าเรือฝั่งชุมพร 305,666 ล้านบาท, ท่าเรือฝั่งระนอง 330,810 ล้านบาท)</p>
<p>2. การพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO) ทั้งสองฝั่งมีมูลค่าลงทุนรวม 141,103 ล้านบาท และ 3. มอเตอร์เวย์และรถไฟทางคู่ รวม 223,626 ล้านบาท</p>
<p>โดยการพัฒนาแบ่งเป็น 4 เฟส เฟสแรก คือการก่อสร้างท่าเรือฝั่งชุมพรรองรับตู้สินค้า 4 ล้านทีอียู และท่าเรือฝั่งระนอง รองรับ 6 ล้านทีอียู มอเตอร์เวย์ 4 ช่องจราจร และรถไฟทางคู่ จากนั้นในเฟสต่อ ๆ ไปจะเป็นการขยายท่าเรือ 2 ฝั่งและพื้นที่ SRTO ให้รองรับตู้สินค้าเพิ่มขึ้นจนครบ 20 ล้านทีอียู รวมทั้งขยายมอเตอร์เวย์เป็น 6 ช่องจราจร</p>
<p>รัฐบาลตั้งเป้าจะให้แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนองเป็นจุดศูนย์กลางขนส่งสินค้าและเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก โดยมีแรงจูงใจสำคัญที่จะให้มีผู้มาใช้บริการ คือ สามารถลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือจากเส้นทางช่องแคบมะลากาจาก 9 วัน เหลือ 5 วัน เป็นทางเลือกการขอส่งสินค้าแบบถ่ายลำ (Transshipment) ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก หมายถึง นำสินค้าจากเรือมาขึ้นรถบรรทุกหรือรถไฟแล้วขนไปลงเรือที่ท่าเรืออีกฝั่งหนึ่ง 
และเกิดอุตสาหกรรมหลังท่า (Port Industry) ซึ่งจะมีการตั้งเขตเศรษฐกิจเสรีเพื่อดึงดูดนักลงทุนมาพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือและจะทำให้เกิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามมา ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในภาคใต้ต่อไป</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เสียงค้านอย่างคนตาบอด</span></h2>
<p>แม้ชาวบ้านในพื้นที่โครงการและตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงอาจยังไม่ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน แต่ก็เริ่มชาวบ้านบางส่วนออกมาแสดงการคัดค้านบ้างแล้ว เช่น การติดป้ายคัดค้านในเวทีของการรถไฟฯ หรือแม้กระทั่งการส่งหนังสือคัดค้านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของชาวบ้านทั้งในพื้นที่ชุมพรและระนอง</p>
<p>อย่างเช่น กลุ่มชาวบ้านใน อ.หลังสวน และ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร จำนวนหนึ่งที่ได้ส่งหนังสือ ขอคัดค้านโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึก ชุมพร – ระนอง (แลนด์บริดจ์) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 ต่อผู้อำนวยการ สนข.มาแล้ว โดยคัดค้านทั้งแนวเส้นทางของท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อน้ำมันในโครงการดังกล่าว</p>
<p>ขณะที่ ชาวบ้านในเครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง นำโดยนายธรรมนูญ มีเพียร ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ก็ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระหว่างวันที่ 4 – 8 กันยายน 2566 มาแล้ว และเรียกร้องให้เลื่อนการจัดเวทีออกไป</p>
<p>ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่า การผลักดันชุดแผนพัฒนาแลนด์บริดจ์แบบแยกเป็นรายโครงการตามภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ดังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจภาพรวมของชุดแผนพัฒนาทั้งหมด การแสดงความคิดเห็นของประชาชน จึงไม่สะท้อนถึงผลประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทว่า รฟท.ก็จัดเวทีไปแล้วตามกำหนด</p>
<h2><span style="color:#3498db;">10 เหตุผลคนชุมพรค้านแลนด์บริดจ์</span></h2>
<p>หนังสือคัดค้านของกลุ่มชาวบ้านใน อ.หลังสวน และ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ที่ยื่นให้ สนข. เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ระบุถึงข้อกังวลจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้งสองฝั่งทะเล ซึ่งจะมีการสร้างทางรถไฟและมอเตอร์เวย์เชื่อมผ่านที่ดินทำกินของชาวบ้านจำนวนมาก รวมถึงข้อกังวลต่อการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรม แม้ว่า สนข. ยังไม่ได้ประกาศพื้นที่และยังไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็ตาม</p>
<p>ชาวบ้านกลุ่มนี้ จึงให้เหตุผลในการขอคัดค้านโครงการนี้ โดยสรุปดังนี้ </p>
<p>โครงการนี้จะสร้างความเสียหายต่อที่ดินทำมาหากินของชาวสวนทุเรียนซึ่งเป็นอาชีพหลักและสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล และสร้างความเสียหายต่อชาวประมงริมทะเล เพราะ</p>
<p>1. การสร้างท่าเรือมีโอกาสทำลายสัตว์น้ำทางทะเลใกล้ฝั่งได้ เพราะจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 5,800 กว่าไร่</p>
<p>2. เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ </p>
<p>3. เป็นการทำลายพื้นที่ท่องเที่ยวของคนในพื้นที่ เพราะมีชายหาดที่สวยงามขึ้นชื่อ</p>
<p>4. การประกาศให้บริเวณท่าเรือตลอดแนวยาวริมทะเลและส่วนอื่นๆ กว่า 50,000 กว่าไร่ ของ ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน เป็นพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรม จะได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทะเลเสีย อากาศเสีย ขยะมลพิษ สารตกค้างลงทะเลไปทำลายสัตว์น้ำต่อไป</p>
<p>5. มีการละเมิดสิทธิ์ในที่ดินส่วนบุคคลของชาวบ้าน เพราะทราบว่ามีการแอบไปรังวัดโดยไม่แจ้งให้ชาวบ้านทราบเลยสักราย</p>
<p>6. แม่น้ำพะโต๊ะเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลังสวนซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญด้านการเกษตรจะถูกทำลายเพื่อสร้างทางรถไฟ มอเตอร์เวย์ และท่อน้ำมัน</p>
<p>7. อ.หลังสวน เป็นแหล่งทุเรียนและตลาดทุเรียนที่มีชื่อเสียง โดยมี GDP อันดับ 10 ของประเทศ สามารถส่งออกทำรายได้เข้าประเทศมหาศาล ก็จะถูกทำลายเพื่อสร้างทางรถไฟ มอเตอร์เวย์และท่อน้ำมัน</p>
<p>8. น้ำใช้ของประชาชนจะถูกแย่งชิงไปใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้ชาวบ้านขาดน้ำจนต้องไปซื้อน้ำของเอกชนที่มีราคาแพงมาใช้</p>
<p>9. ชุมพรที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะสมุย จะทำให้โอกาสจากการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเหล่านี้หมดไปด้วย</p>
<p>10. แม่น้ำหลังสวน มีการใช้ในประเพณีแห่พระ แข่งเรือขึ่นโขนชิงธงซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำหลังสวนมายาวนาน เป็นที่รวมความสามัคคีของคนหลังสวน ใช้นการแข่งเรือยาวพระราชทานประจำปีจะได้รับผลกระทบไปด้วยหากแม่น้ำพะโต๊ะถูกทำลาย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ข้อกังวลของคนระนอง</span></h2>
<p>ส่วนชาวบ้านในฝั่ง จ.ระนอง ก็มีข้อกังวลไม่แพ้กัน โดยนายกฤติ์ฐนพัส หัสจักร ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจ จ.ระนอง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านรับรู้แค่เผินๆ ว่ามีท่าเรือขนาดใหญ่ ทำถนนเชื่อมชุมพรระนองแต่ไม่รู้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่มีการถมทะเล 5,000 ไร่ บนฝั่ง 1,000 กว่าไร่ ซึ่งเยอะมาก ยังไม่เกี่ยวกับโครงการถนนและทางรถไฟ</p>
<p>ถ้ามีโครงการแล้วชาวบ้านก็จะไปทำมาหากินที่ไหน จะจัดการอย่างไร จะมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่ และที่สำคัญที่ดินระนองประมาณ 70% ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จะมีการชดเชยอย่างไร ระหว่างก่อสร้างทำมาหากินไม่ได้ใครจะดูแล และมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ไม่มีอะไรที่ชัดเจนเลย เพียงแต่บอกอย่างกว้างๆ ว่าจะมีการชดเชยและจะดูแลเรื่องอาชีพ สิ่งแวดล้อม แต่จะดูแลแค่ไหนอย่างไรไม่มีเลย</p>
<p>สิ่งที่กังวลมากที่สุด ทั้งก่อนและหลังก่อสร้างโครงการ คือระบบการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ความปลอดภัย การเดินเรือ เพราะวันนี้ชาวบ้านสามารถเล่นตรงไปเกาะพยามเพื่อจับสัตว์น้ำได้เลย ประมาณ 15 นาทีก็ถึง แต่ถ้ามีท่าเรือจะต้องอ้อมประมาณ 10 กิโลเมตร ต้นทุนก็เยอะขึ้นมาก</p>
<p>เรื่องฝุ่นละอองในน้ำก็จะเยอะขึ้น ซึ่งในช่วงหลังสึนามิฝุ่นละอองต่างๆที่เกาะตามปะการังถูกกวาดไปหมดแล้ว ถ้ามีการก่อสร้างท่าเรือและขุดร่องน้ำ ตะกอนหรือฝุ่นละอองก็จะไปทับถมแนวปะการังซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำอีกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อแหล่งปะการังและแหล่งทำมาหากินทั้งหมดเลย รวมถึงป่าชายเลน และการเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลกก็จะได้รับผลกระทบด้วย และกระทบต่อสุขภาพของประชาชน </p>
<p>เหล่านี้ ชาวบ้านไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะไม่มีข้อมูล แม้ส่วนตัวคิดว่าเป็นโครงการที่ดี แต่จะถามว่าจะมีทางเลือกในดูแลเรื่องการย้ายถิ่นและผลกระทบด้านอาชีพอย่างไร เราไม่ได้ติดขัดเรื่องโครงการ แต่ติดใจที่ข้อมูลที่จะนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ</p>
<p>จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นายกฤติ์ฐนพัส มีข้อเสนอ 2 ข้อ คือ </p>
<p>1. ให้ทางจังหวัดแผนในการจัดเวทีให้ชาวบ้านเข้าใจทั้งข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบที่คนระนองจะได้รับอย่างครบถ้วนในระดับพื้นที่ทุกหมู่บ้าน เพราะการจัดเวทีแต่ละครั้งมีเวลาน้อยมากไม่ถึงครึ่งวัน ทำให้ไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นหรือสอบถามข้อมูลได้อย่างเต็มที่ และการมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมเยอะทำให้ชาวบ้านไม่กล้าพูด ทั้งที่มีข้อกังวลเยอะ</p>
<p>2. พาชาวบ้านไปศึกษาดูงานในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อให้ชาวบ้านได้เห็นข้อมูลผลกระทบด้วยตังเองและสามารถตัดสินใจกันเองได้ เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านไม่รู้จักไปเสนออย่างไร ยังมึนๆอยู่ เพราะนึกไม่ออกว่าโครงการมันใหญ่ขนาดไหน จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง</p>
<p>เหล่านี้เป็นเสียงคัดค้านที่อาจยังไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างรอบด้าน เสมือนคนตาบอดแต่ก็ต้องค้านไว้ก่อน และสิ่งที่น่ากังวลยิ่งรัฐยิ่งผลักดันโครงการอย่างเต็มที่โดยที่ชาวบ้านยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรไม่ได้มาก ความยั่งยืนของโครงการจะมีหรือไม่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นใครจะแบกรับ ที่แน่ๆ ชาวบ้านอาจสูญเสียทั้งที่อยู่ที่กินไปตลอดกาลแล้ว โดยไม่รู้ว่าจะได้รับการชดเชยดูแลอย่างไร
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แลนด์บริดจ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B9%8C-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105947