[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 12:58:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (2) มุ่งรายงาน 'กรอบสันติภาพ-ขัดแย้ง' หรือ 'กร  (อ่าน 104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 ธันวาคม 2566 04:59:45 »

‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (2) มุ่งรายงาน 'กรอบสันติภาพ-ขัดแย้ง' หรือ 'กรอบการสู้รบ-รุนแรง'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-14 17:36</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ในยุคปัจจุบัน ผู้เสพสื่อมีความตระหนักในระดับหนึ่งแล้วว่าข่าวที่นำเสนอไม่ได้มีเพียงข้อเท็จจริงๆ ล้วน หากยังมีส่วนผสมของความคิดเห็นหรืออคติของสื่อปะปนอยู่ด้วย ความคิดเห็นหรืออคตินั้นถ้าสอดคล้องกับอคติของผู้เสพ องค์กรสื่อนั้นก็จะกลายเป็นสื่อที่ ‘เป็นกลาง’ สิ่งนี้ทำให้สื่อมีอิทธิพลต่อความรุนแรงทางการเมืองอย่างเลี่ยงไม่ได้</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็นแบบนั้น</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50237606897_5c8f200646_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</span></p>
<p>ในตอนที่ 2 นี้ ‘รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การรายงานข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง’ โดย พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะชี้ให้เห็นว่าแนวทางการรายงานข่าวการชุมนุมของสื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรูนแรงอย่างไร</p>
<p>ในทางกลับกัน สื่อก็สามารถรายงานการชุมนุมเพื่อลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงได้หากต้องการ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มุ่งสันติและความขัดแย้งหรือมุ่งการสู้รบและความรุนแรง?</span></h2>
<p>เมื่อพิจารณาตามกรอบการรายงานข่าวแบบวารสารศาสตร์สันติภาพ/ความขัดแย้ง กับกรอบการรายงานข่าวแบบการสู้รบ/ความรุนแรง ก็สามารถแบ่งได้เป็น 4 แนวทาง โดยแนวทางแรกคือการรายงานที่มุ่งเน้นสันติภาพและความขัดแย้ง (peace/conflict-oriented) กับมุ่งเน้นการสู้รบและความรุนแรง (war/violence-oriented)</p>
<p>พรรษาสิริค้นพบว่าบทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมที่ผ่านมาเป็นแนวทางการรายงานที่สร้างภาพตัวแทนซึ่งลดทอนเจตจำนงทางการเมืองและอำนาจต่อรองของผู้ชุมนุมในฐานะผู้แสดงทางการเมือง ผ่านการเลือกนำเสนอการปะทะคารมและตอบโต้กันด้วยกำลังซึ่งสะท้อนความวุ่นวายไร้ระเบียบของการชุมนุม การแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ จนถึงขั้นใช้ภาษาที่ตีตราและปรักปรำผู้ชุมนุม แต่หากเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมก็จะชี้ให้เห็นความโหดร้ายและไม่ชอบธรรมเมื่อเป็นการปราบปรามผู้ชุมนุมที่สื่อเห็นว่าไม่ได้ใช้ความรุนแรงอย่างชัดแจ้ง แต่เมื่อผู้ชุมนุมเปิดฉากปะทะตอบโต้ก็จะให้พื้นที่แก่เจ้าหน้าที่รัฐชี้แจงความจำเป็นในการปราบปราม</p>
<p>พรรษาสิริอธิบายต่อว่า แนวทางการรายงานเช่นนี้เป็นผลจากประสบการณ์และการรับรู้ส่วนบุคคล กระบวนการผลิตข่าวและกรอบการรายงานข่าวการชุมนุมที่กองบรรณาธิการใช้จนเป็นกิจวัตร เป็นการดึงดูดความสนใจเพื่อเพิ่มปริมาณการมองเห็นเนื้อหาที่จะสร้างรายได้จากระบบโฆษณาทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ การนำเสนอเช่นนี้สอดคล้องกับกรอบการรายงานข่าวแบบการสู้รบ/ความรุนแรงมากกว่าช่วยให้ผู้รับสารทำความเข้าใจความขัดแย้งในมิติต่างๆ และสร้างบทสนทนาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรงตามแนวทางของกรอบการรายงานแบบสันติภาพ/ความขัดแย้ง</p>
<p>นอกจากนี้  สื่อยังมักให้ความสำคัญกับการชุมนุมเกี่ยวกับการเมืองระดับประเทศที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก แต่การชุมนุมขนาดย่อมซึ่งมีผู้เรียกร้องประเด็นที่เฉพาะเจาะจงกลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ผู้ชุมนุมต้องทำกิจกรรมที่ท้าทายขนบของสังคมชนชั้นกลางเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายและสาธารณะ แต่ ‘กิจกรรมที่ท้าทายขนบของสังคมชนชั้นกลาง’ กลับส่งผลให้ผู้ชุมนุมถูกมองว่าเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานทางสังคมที่ชนชั้นกลางกำหนดและไม่ได้เพิ่มอำนาจต่อรองในฐานะผู้แสดงทางการเมือง ทั้งยังจำกัดการทำความเข้าใจของสาธารณะต่อการชุมนุมว่าเชื่อมโยงกับสิทธิทางการสื่อสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไร</p>
<p>เหตุนี้ สื่อจึงจำเป็นต้องอธิบายที่มาที่ไปของความขัดแย้งจากหลากหลายมุมมองและต้องให้ผู้ชุมนุมได้สื่อสารประเด็นที่เรียกร้องไม่ว่าจะสนับสนุนหรือเป็นปฏิปักษ์กับหลักการประชาธิปไตย เพื่อให้สังคมทำความเข้าใจและอภิปรายถกเถียงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสถาบันต่างๆ เพื่อให้เห็นการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์และอัตลักษณ์ที่แตกต่างด้วย</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยมีผู้เล่นมากขึ้น จากความนิยม-เข้าถึงดิจิทัล เพิ่มโอกาสช่วงการเมืองเดือด-กระจายอำนาจ</li>
<li>สื่ออิสระไทยเจอปัญหาอะไรในปี 2565 [คลิป]</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.1: โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปในสนามข่าวสาร</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.2: ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมสื่อไทย</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เข้าใจสิทธิเสรีภาพ แสวงหาคำอธิบาย</span></h2>
<p>พรรษาสิริเรียกร้องว่าสื่อต้องทำความเข้าใจสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เรียนรู้พลวัตของการชุมนุมเพื่อให้เห็นเหตุผล เงื่อนไข และข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว จึงจะสามารถปรับแนวทางการรายงานให้สามารถอธิบายเชิงลึกได้มากขึ้น หากผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงไม่ว่ารูปแบบใดก็ควรหาคำตอบว่าทำไมผู้ชุมนุมจึงเลือกใช้ความรุนแรง และผลกระทบจากความรุนแรงทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นคืออะไร โดยใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา ไม่ตีตรา ยกย่อง หรือตัดสิน และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย</p>
<p>แต่สื่อจะแสดงบทบาทเช่นนี้ได้จำต้องมีอิสระและเสรีภาพในการนำเสนอข้อเท็จจริงและมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งได้โดยไม่ถูกปิดกั้นและแทรกแซง ขณะที่สังคมก็ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยในการอภิปรายถกเถียง โดยรัฐมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพสื่อ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้สื่อสารอย่างปลอดภัย ซึ่งจะหนุนให้การผลิตเนื้อหาเชิงคุณภาพมีความคุ้มค่า เกิดการแข่งขันผลิตเนื้อหาเชิงคุณภาพ และช่วยให้บรรยากาศการชุมนุมไม่ตึงเครียด</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีอำนาจตัวขัดขวางการใช้เสรีภาพ</span></h2>
<p>ทว่า ในความเป็นจริงพื้นที่การสื่อสารในสังคมไทยถูกจำกัดอย่างเข้มงวดด้วยกฎหมายและคุณค่าหลัก กระทั่งทำให้การอธิบายความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์ในไทยไม่สามารถสื่อสารได้อย่างกระจ่างแจ้ง เนื่องจากมีความเสี่ยงจะถูกดำเนินคดีหรือถูกคุกคามในรูปแบบอื่นๆ ทั้งทางกายภาพและออนไลน์ ทั้งความจำเป็นที่ต้องอยู่รอดทางธุรกิจก็ทำให้องค์กรข่าวเลี่ยงการรายงานประเด็นที่กระทบต่อการสร้างรายได้หรือถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีอำนาจ เพราะอาจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงขององค์กร</p>
<p>“ที่สำคัญคือการรายงานที่มุ่งเน้นสันติภาพและอธิบายความขัดแย้ง สื่อต้องยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และคัดค้านแนวทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยหรือนำไปสู่ความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงระดับต่างๆ เพื่อให้สามารถปกป้องคุ้มครองได้ทั้งเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน ไม่เช่นนั้นสื่อมวลชนก็จะไม่ปลอดภัยและได้รับผลจากความรุนแรงเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังไม่สามารถทำให้สังคมตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มุ่งเสนอความจริง ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ</span></h2>
<p>แนวทางที่ 2 คือแนวทางที่เรียกว่าการมุ่งเน้นนำเสนอความจริง (Truth-oriented) กับมุ่งเน้นนำเสนอโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda-oriented) แม้สื่อควรอธิบายความขัดแย้งและความรุนแรง แต่การรายงานการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมก็ยังมีความจำเป็น เพราะการมีสื่อในพื้นที่ชุมนุมช่วยลดโอกาสการใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหากผู้ใช้สื่อออนไลน์บันทึกภาพความรุนแรงในจุดที่สื่อไม่สามารถเข้าถึงและสื่อนำไปรายงานต่อก็จะทำให้เกิดการตรวจสอบหรือกดดันให้เจ้าหน้าที่ต้องแสดงความรับผิดรับชอบ และสามารถเป็นหลักฐานในการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือทบทวนว่าการดำเนินการของรัฐเป็นไปตามหลักการสากลหรือไม่</p>
<p>แต่การกระทำข้างต้นก็เปรียบได้กับดาบสองคม คมอีกด้านคือเจ้าหน้าที่รัฐเองก็สามารถใช้ภาพเหตุการณ์ที่สื่อบันทึกไว้ในการระบุตัวผู้ชุมนุมเพื่อสอดส่องติดตาม ดำเนินคดี หรือเมื่อเกิดการปะทะขึ้นระหว่างประชาชนด้วยกันเอง หรือเมื่อผู้ชุมนุมตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ก็สามารถนำภาพเหล่านี้ไปสนับสนุนและสร้างความชอบธรรมในการใช้กำลังหรือกฎหมายจัดการกับผู้ชุมนุมได้</p>
<p>อย่างไรก็ตาม หลักการพื้นฐานในการรายงานการชุมนุมที่สำคัญที่สุดคือการพยายามนำเสนอข้อเท็จจริงที่สามารถเข้าถึงได้อย่างตรงไปตรงมา เปิดให้ทุกฝ่ายได้ชี้แจง และตรวจสอบข้อกล่าวอ้างก่อนการนำเสนอ รวมถึงไม่ใส่อารมณ์ความรู้สึกส่วนบุคคลไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการรายงานที่มุ่งเน้นการนำเสนอความจริงอย่างรอบด้าน ไม่ใช่การนำเสนอโฆษณาชวนเชื่อที่จะให้น้ำหนักกับข้อมูลด้านเดียว ไม่ว่าจะเป็นการให้พื้นที่สื่อที่ไม่เท่าเทียม การเลือกแง่มุมหรือใช้ภาษาที่ตัดสินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะลดความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากสาธารณะ</p>
<p>ในมุมขององค์กรข่าว ผู้บริหารและบุคลากรระดับสูงของห้องข่าวถือว่ามีบทบาทอย่างสูงในการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานตามหลักการข้างต้น เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบายและการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายองค์กร แต่นอกจากปัจจัยด้านความเข้าใจต่อความขัดแย้งทางการเมืองและการชุมนุมแล้ว ความจำเป็นที่ต้องแข่งขันด้วยปริมาณและความไวกลายเป็นว่าต้องให้ความสำคัญกับการเร่งนำเสนอข่าวโดยใช้กรอบการอ้างอิงที่เน้นความรุนแรงและความเร้าอารมณ์ ทำให้ขาดความรอบด้านและขาดการไหวรู้ต่อความรุนแรงและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวภาครัฐกับการขาดการตรวจสอบและตั้งคำถาม</span></h2>
<p>รายงานของพรรษาสิริยังมีข้อสังเกตว่า สาเหตุหนึ่งที่การรายงานการชุมนุมมักให้น้ำหนักกับข้อมูลและมุมมองจากรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่า เป็นเพราะระบบการผลิตข่าวขององค์กรสื่อขนาดใหญ่แบบดั้งเดิมมักแบ่งการทำงานเป็นโต๊ะข่าวตามหัวข้อเนื้อหา ผู้สื่อข่าวจะได้รับมอบหมายให้ไปประจำหน่วยงานสำคัญต่างๆ ที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและดำเนินงานเพื่อเข้าถึงข้อมูลและแหล่งข่าวเกี่ยวกับหัวข้อนั้นได้เร็ว ในกรณีการรายงานการชุมนุม เมื่อผู้สื่อข่าวที่ประจำอยู่ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวโดยตรงหรือจากการแถลงข่าวของรัฐบาล ตำรวจ หรือกองทัพ ก็จะส่งเข้าไปยังกองบรรณาธิการโดยมักไม่ได้หาแหล่งอื่นๆ มาตรวจสอบข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นไปตามสายงานที่ได้รับมอบหมาย</p>
<p>แต่อีกปัจจัยคือผู้สื่อข่าวที่ประจำตามหน่วยงานเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาสายสัมพันธ์กับแหล่งข่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลในอนาคตจึงเลี่ยงตั้งคำถามที่ท้าทาย และหากกองบรรณาธิการไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือนำเสนอข้อมูลหรือมุมมองที่โต้แย้ง เนื้อหาข่าวที่เผยแพร่ออกไปก็กลายเป็นการผลิตซ้ำข้อกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งลดความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานและองค์กรสื่อจากการถูกแทรกแซงและคุกคาม ซึ่งต้องแลกมาด้วยการรายงานที่ขาดการตรวจสอบและตั้งคำถามต่อปฏิบัติการของรัฐ ขาดเสียงสะท้อนจากผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ และผู้ชุมนุมรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ไว้วางใจสื่อมวลชน</p>
<p>เป็นความจริงว่าสื่อจำเป็นต้องสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับแหล่งข่าวเพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ถึงกระนั้นก็ต้องอยู่บนสถานะที่เท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน การจะมีต้นทุนเช่นนี้ได้คนทำงานจำเป็นต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน และเวลาเพียงพอที่จะทำให้แหล่งข่าวไว้วางใจให้ข้อมูลเชิงลึก ขณะเดียวกันก็สามารถตรวจสอบและไม่ตกเป็นเครื่องมือของแหล่งข่าว พรรษาสิริตั้งข้อสังเกตในรายงานว่า</p>
<p>“วัฒนธรรมการทำงานข่าวของสื่อดั้งเดิม โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์และนิตยสารข่าวในยุคก่อนดิจิทัลที่ให้ความสำคัญต่อการรายงานเชิงลึกและบทวิเคราะห์มากกว่าการรายงานขนาดสั้นด้วยความรวดเร็ว เอื้อให้คนทำงานได้สั่งสมต้นทุนด้านนี้ แต่กระบวนการผลิตข่าวในปัจจุบันที่เร่งรัดให้ผลิตงานขนาดสั้นในปริมาณมากและนำเสนออย่างรวดเร็วทางออนไลน์ไม่เปิดโอกาสให้คนทำงานได้ศึกษาหาข้อมูลหรือมีเวลาสนทนากับแหล่งข่าวเพื่อเก็บข้อมูลและสร้างความไว้วางใจมากนัก ซ้ำไม่ช่วยสร้างอำนาจต่อรองกับแหล่งข่าวระดับสูงได้”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50089086818_147947a355_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ต้องประกันเสรีภาพและสวัสดิการสื่อ</span></h2>
<p>การจะแก้ไขข้อจำกัดในระบบและวัฒนธรรมการทำงานข่าวดังที่กล่าวมา ในด้านหนึ่ง สื่อต้องได้รับประกันเสรีภาพและสวัสดิภาพในการทำงาน กองบรรณาธิการ ผู้บริหาร เจ้าขององค์กรสื่อ และองค์กรวิชาชีพต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องเสรีภาพสื่อควบคู่กับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม โดยเฉพาะเมื่อเกิดการคุกคามในลักษณะต่างๆ จัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับสถานการณ์แล้ว รวมถึงสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในการรายงานและการดูแลรักษาและเยียวยาจิตใจในระยะยาว ซึ่งในส่วนหลังนี้ยังไม่ค่อยมีองค์กรสื่อไทยดำเนินการอย่างอย่างชัดเจน เพราะหากสื่อมีความปลอดภัยและได้ทำความเข้าใจเรื่องความรุนแรงระดับต่างๆ ก็จะลดโอกาสในการสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพ เชิงโครงสร้าง และเชิงวัฒนธรรมได้</p>
<p>นอกจากนี้ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพ การกำกับดูแลตนเอง หรือการกำกับดูแลกันเองที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพก็จะช่วยให้อุตสาหกรรมสื่อดำเนินงานตามหลักการวารสารศาสตร์ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและลดโอกาสในการสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยผู้รับสารจะเป็นคนคัดกรองสื่อที่ไม่มีคุณภาพออกไป จึงควรส่งเสริมให้นิเวศสื่อมีความหลากหลายเพื่อลดการครอบงำโดยชุดความคิดแบบใดแบบหนึ่ง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มุ่งนำเสนอประชาชนหรือมุ่งนำเสนอชนชั้นนำ?</span></h2>
<p>แนวทางการนำเสนอข่าวลักษณะต่อมาคือการมุ่งเน้นนำเสนอเกี่ยวกับประชาชน (People-oriented) กับมุ่งเน้นนำเสนอเกี่ยวกับชนชั้นนำ (Elite-oriented) สำหรับประเด็นนี้ผู้ให้ข้อมูลบางส่วนย้ำว่าสื่อจำเป็นต้องเป็นปากเสียงให้กับผู้ด้อยอำนาจในสังคม ถ่ายทอดปัญหาและข้อเรียกร้องของคนกลุ่มนี้เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายและคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมได้รับรู้และผลักดันให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางนี้สอดคล้องกับข้อเสนอในกรอบการรายงานข่าวแบบสันติภาพ/ความขัดแย้งว่าด้วยการให้พื้นที่สื่อแก่ประชาชนทั่วไปมากกว่าชนชั้นนำ เพื่อให้เห็นบทบาทและอำนาจต่อรองของประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในความขัดแย้ง</p>
<p>พรรษาสิริอ้างอิงข้อมูลจากวินัย ดิษฐจร ช่างภาพข่าวอิสระที่ถ่ายภาพข่าวการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ นปช. กปปส. และการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงปี 2563-2564 รวมถึงภาพถ่ายสารคดีเกี่ยวกับความขัดแย้งและประเด็นทางสังคมอื่นๆ ว่า นอกจากจะถ่ายภาพเหตุการณ์ประจำวันเพื่อส่งให้เอเจนซี่ภาพข่าวแล้ว เขายังให้ความสำคัญกับการบันทึกอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสนใจส่วนตัวและอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากการศึกษาภาพข่าวของช่างภาพต่างประเทศที่ให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบศิลป์ของภาพและการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์เพื่อเล่าเหตุการณ์ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วยทำให้ภาพน่าสนใจและเห็นความเป็นมนุษย์ของผู้ชุมนุม</p>
<p>เมื่อย้อนกลับไปดูการรายงานการชุมนุมของ นปช.ช่วงปี 2552-2553 พบว่าสื่อมวลชนกระแสหลักให้น้ำหนักกับแกนนำและเหตุความรุนแรง แต่ขาดการอธิบายเกี่ยวกับผู้ชุมนุมที่ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางส่วนเป็นผู้ใช้แรงงานในกรุงเทพฯ ซึ่งมักถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความคิดหรือความเข้าใจทางการเมือง สื่ออนไลน์อย่างประชาไทจึงให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับผู้ชุมนุมเพื่อถ่ายทอดความคับข้องใจและความต้องการของคนเหล่านี้ที่ถูกเพิกเฉยจากองค์กรสื่อขนาดใหญ่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การชุมนุมปี 2563 พัฒนาการของสื่อที่น่าจับตา</span></h2>
<p>แต่การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชนช่วงปี 2563-2564 กลับพบว่าแนวทางการรายงานเริ่มให้พื้นที่กับผู้ชุมนุมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการประท้วงครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มคนและลักษณะกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายจากการชุมนุมที่ผ่านมา สื่อจึงให้ความสนใจ ผู้จัดการชุมนุมส่วนหนึ่งที่เป็นนักกิจกรรมก็ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวหรือเป็นที่รู้จักในวงกว้างพอที่บรรณาธิการและผู้สื่อข่าวสายการเมืองจะคุ้นเคย</p>
<p>นอกจากนี้ คนทำงานสื่อรุ่นใหม่บางส่วนก็มีมุมมองและความเข้าใจทางการเมืองและสังคมที่ต่างไปจากเดิม ประกอบกับกระแสสังคมหลังการเลือกตั้งที่มีการถกเถียงในหัวข้อที่ผู้ชุมนุมพูดถึงมากขึ้น ส่งผลให้สื่อจำเป็นต้องรายงานข่าวและเชิญนักกิจกรรมเหล่านี้มาร่วมอภิปรายถกเถียงในช่วงที่การชุมนุมเริ่มมีความเข้มข้น ถือเป็นการเปิดพื้นที่สื่อให้กับผู้แสดงทางการเมืองกลุ่มใหม่ๆ และข้อเรียกร้องที่แตกต่างจากการชุมนุมที่ผ่านมา</p>
<p>แนวทางข้างต้นจึงช่วยอธิบายที่มาที่ไปและเงื่อนไขการแสดงออกหรือการใช้ความรุนแรงของผู้ชุมนุม ช่วยให้สังคมรับรู้และทำความเข้าใจความขัดแย้งและความรุนแรงได้มากขึ้น ยกตัวอย่างการสัมภาษณ์เยาวชนที่มาชุมนุมในนามกลุ่ม ‘ทะลุแก๊ซ’ ของสื่อจำนวนหนึ่งช่วยทำให้เห็นว่าเยาวชนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบและมีความคับข้องใจอย่างไร และเพราะอะไรจึงเลือกใช้ความรุนแรงตอบโต้เจ้าหน้าที่</p>
<p>นอกจากนี้ สิ่งที่นับเป็นพัฒนาการของการทำงานข่าวคือการคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเยาวชนทั้งที่เป็นนักกิจกรรมและผู้เข้าร่วมการชุมนุมทั่วไป ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่เคยได้รับการพูดถึงมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อมีเยาวชนได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมการชุมนุมจากครอบครัวและโรงเรียน สื่อเริ่มปรับแนวทางการรายงานโดยเลี่ยงการถ่ายภาพหรือใส่ข้อมูลที่จะระบุอัตลักษณ์บุคคลของเยาวชนในที่ชุมนุม ยกเว้นกรณีนักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหวในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่กระแสสังคมให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็กและเยาวชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในสื่อสังคมออนไลน์ก็ยังพบการนำข้อมูลส่วนบุคคลของนักกิจกรรมเยาวชนมาเปิดเผยและมีการสื่อสารที่คุกคามหรือสร้างความเกลียดชังอยู่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51473108763_52d371ed82_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อมวลชนใน #ม็อบ13กันยา วันที่ 13 ก.ย.2564 ที่แยกดินแดง ซึ่งขณะนั้นศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ทางศูนย์ฯได้รับรายงานว่า มีผู้ถูกควบคุมตัวไปสน.พหลโยธิน 10 ราย แบ่งเป็นเยาวชน 5 ราย และผู้ใหญ่ 5 ราย ซึ่งในจำนวนนี้รวม 2 รายที่เป็นสื่อมวลชนด้วย สำหรับการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊สที่จัดอย่างต่อเนื่องช่วงนั้นที่แยกดินแดง เริ่มต้นหลังจากช่วงต้นเดือน ส.ค. 64 ที่กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลต้องการไปยังบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ซึ่งอยู่ในค่ายทหาร กรมทหารราบที่ 1 หรือ ร.1รอ. ไม่ไกลจากจุดปะทะนี้ (ภาพโดย แมวส้ม) </span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มุ่งแก้ปัญหาหรือมุ่งชัยชนะ?</span></h2>
<p>ในส่วนของแนวทางสุดท้าย เรียกว่าแนวทางที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Solution-oriented) กับมุ่งเน้นชัยชนะ (Victory-oriented) เป็นแนวทางการรายงานที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาตามกรอบการรายงานข่าวแบบสันติภาพ/ความขัดแย้ง คือชี้ให้เห็นผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงที่ยังคงมีอยู่แม้เหตุการณ์จะจบลงแล้ว ถึงทำความเข้าใจว่าความรุนแรงมีรูปแบบและระดับใดบ้าง การนำเสนอแง่มุมเหล่านี้จะช่วยให้สังคมได้เรียนรู้และเลี่ยงการใช้ความรุนแรงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบร้ายแรงและการสูญเสียอีกในอนาคต มากกว่าการนำเสนอว่าใครเป็นฝ่ายชนะหรือพ่ายแพ้</p>
<p>เพราะแม้ว่าข้อเรียกร้องในการชุมนุมจะไม่บรรลุผล แต่สื่อจะพิจารณาว่าประเด็นที่ผู้ชุมนุมสื่อสารมีผลสะเทือนในพื้นที่สาธารณะอย่างไร ทำให้ข้อเรียกร้องหรือสารจากผู้ชุมนุมเกิดการอภิปรายถกเถียงต่อในสังคมหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กบ้างหรือไม่ ในทางกลับกันถ้าสื่อให้ความสำคัญกับเหตุความรุนแรงหรือความวุ่นวายในการชุมนุม แต่ไม่ให้น้ำหนักกับข้อเรียกร้องก็อาจทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมบางส่วนเห็นว่าแนวทางสันติวิธีไม่ช่วยให้บรรลุผล จึงหันไปใช้รูปแบบอื่น รวมถึงแนวทางที่รุนแรงเพื่อให้ได้พื้นที่สื่อ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แล้วทำไมสื่อเน้นนำเสนอหนทางสู่ความรุนแรง?</span></h2>
<p>จากที่กล่าวมาข้างต้นคำถามมีอยู่ว่า แล้วจะทำอย่างไรให้สื่อนำเสนอข่าวการชุมนุมในกรอบการรายงานข่าวแบบสันติภาพ/ความขัดแย้งแทนกรอบการรายงานข่าวแบบการสู้รบ/ความรุนแรง พรรษาสิริเห็นว่ามี 3 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง</p>
<p>ประการแรกคือตัวองค์กรสื่อเอง หากองค์กรสื่อมีนโยบายและการบริหารจัดการที่รับประกันมาตรฐานของการทำงานควบคู่กับความเป็นอิสระและเสรีภาพของคนทำงานสื่อ เพื่อให้สามารถรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อไปได้ แม้บุคคลการในองค์กรจะมีประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อแตกต่างกัน ก็ยังสามารถทำงานอยู่บนมาตรฐานงานวารสารศาสตร์ได้</p>
<p>ประเด็นนี้ สื่อขนาดใหญ่กับสื่อขนาดกลางและเล็กต่างมีจุดแข็ง-จุดอ่อนต่างกัน สำหรับสื่อขนาดใหญ่ย่อมมีทรัพยากรเพียงพอที่เกาะติดสถานการณ์รายวัน รายงานเชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจข้อเรียกร้อง ความขัดแย้ง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งยังสามารถเฝ้าระวังสถานการณ์เพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงหรือเป็นพยานบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับความรุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม สภาพตลาดสื่อปัจจุบันได้สร้างข้อจำกัดให้กองบรรณาธิการไม่สามารถวางแผนงานข่าวได้เต็มที่เพราะองค์กรสื่อขนาดใหญ่ที่มีช่องทางสื่อดั้งเดิมไม่สามารถสร้างรายได้ได้มากเท่าเดิมจนต้องลดจำนวนพนักงาน และเน้นการแข่งขันด้วยปริมาณและความเร็วที่สร้างรายได้จากโฆษณามาหล่อเลี้ยงองค์กรได้แน่นอน การลงทุนกับรายงานเชิงลึกเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากจึงเป็นความเสี่ยงที่ไม่คุ้มค่า ไม่รับประกันว่าจะสร้างรายได้ ซ้ำยังเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีหรือถูกคุกคาม</p>
<p>ขณะที่สื่อขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งส่วนใหญ่นำเสนอเนื้อหาทางออนไลน์ (digital native media) ที่มีสมาชิกกองบรรณาธิการไม่มากนักมักประกอบด้วยหัวหน้ากองฯ และคนทำงานที่มีช่วงวัยและโลกทัศน์ใกล้เคียงหรือไม่ต่างกันจนสุดขั้ว ผลการวิจัยพบว่าแม้จะมีข้อจำกัดด้านกำลังคนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนต้องรับภาระหน้าหนัก โดยเฉพาะคนทำงานภาคสนาม แต่กองบรรณาธิการขนาดเล็กเอื้อต่อการสร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผนงานข่าว ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่น และรับมือกับพลวัตของการชุมนุมได้ทันท่วงที</p>
<p>ที่สำคัญคือสามารถกำหนดประเด็นการรายงานเชิงลึกที่เป็นจุดแข็งและที่จดจำขององค์กรได้ การเป็นองค์กรตขนาดเล็กและไม่แสวงกำไรทำให้สื่อกลุ่มนี้มีต้นทุนการดำเนินงานไม่สูงเท่ากับสื่อขนาดใหญ่ แต่มีผู้รับสารเป้าหมายชัดเจนจึงทำให้องค์กรเหล่านี้สามารถลดความจำเป็นเรื่องการหารายได้ ไม่ต้องแข่งขันเชิงปริมาณ แต่ให้ความสำคัญกับการตอบสนองความสนใจและความจำเป็นด้านข่าวสารของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย รวมถึงการสร้างคุณค่าขององค์กรผ่านความน่าเชื่อถือของผลผลิตได้ องค์กรสื่อกลุ่มนี้จึงสามารถดำเนินงานตามแนวคิดวารสารศาสตร์สันติภาพได้มากกว่าองค์กรสื่อเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่</p>
<p>“ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับกองบรรณาธิการขององค์กรขนาดเล็ก” พรรษาสิริกล่าว “รวมถึงผู้ปฏิบัติงานอิสระบางส่วน คือความสนใจส่วนบุคคลเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง สังคม สิทธิมนุษยชน และประสบการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองทำให้มีมุมมองที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยและการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังให้เวลากับการศึกษาหาความรู้เชิงวิชาการและประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการชุมนุมของคนทำงานกลุ่มนี้แตกต่างจากผู้ปฏิบัติงานสื่อที่มีประสบการณ์ทำงานข่าวมายาวนาน ซึ่งมักมองว่าสื่อมวลชนเป็นพยานที่เฝ้ามองและบันทึกการช่วงชิงอำนาจของกลุ่มต่างๆ ผ่านการชุมนุม”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อุตสาหกรรมสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อต้องเปลี่ยน เพิ่มการกำกับตรวจสอบจากสาธารณะ</span></h2>
<p>ปัจจัยประที่ 2 คืออุตสาหกรรมสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อ ดังที่พูดมาตลอดว่าสภาพตลาดที่แข่งขันกันอย่างเข้มข้นในการนำเสนอเนื้อหาทางออนไลน์ด้วยความรวดเร็วและปริมาณ ทำให้สื่อลดบทบาทในการรายงานข้อมูลเชิงลึกและสร้างพื้นที่อภิปรายถกเถียงตามหลักการในสังคมประชาธิปไตยเพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้ง และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงจัดการกับการชุมนุมและความขัดแย้ง โดยเฉพาะความรุนแรงโดยรัฐ พร้อมกับเอื้อต่อการธำรงอยู่ของวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลเพราะผู้กระทำไม่ได้ถูกติดตามตรวจสอบ</p>
<p>พรรษาสิริเสนอว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อควรพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานวิชาชีพที่รับประกันสิทธิทางการสื่อสารของประชาชน สร้างแนวทางที่มีประสิทธิภาพให้สังคมได้ร่วมกำกับดูแลเนื้อหาสื่อเป็นเครื่องคัดกรองการรายงานและองค์กรสื่อที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย โดยที่ตลาดสื่อยังมีความหลากหลายและไม่ถูกแทรกแซง</p>
<p>นอกจากองค์กรวิชาชีพต้องยึดมั่นในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังต้องสนับสนุนคนทำงานสื่อระดับต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างเป็นอิสระและปลอดภัย ร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตสื่อกลุ่มต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสานงานเพื่อสร้างอำนาจต่อรองด้านสิทธิเสรีภาพต่อไปได้ในอนาคต</p>
<p>ในส่วนของสื่อพลเมืองที่มีจำนวนและบทบาทเพิ่มขึ้นในการชุมนุม การดำเนินงานผ่านสื่อออนไลน์ทำให้รัฐปิดกั้นช่องทางการนำเสนอได้ยากขึ้น ถึงกระนั้น การสร้างมาตรฐานการทำงานหรือ ‘ความเป็นมืออาชีพ’ ตามหลักการวารสารศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อเท็จจริงที่รอบด้านและตรงไปตรงมา ปราศจากอคติ รวมถึงคำนึงถึงการลดความรุนแรงในการชุมนุม จะช่วยให้สื่อพลเมืองมีได้รับความเชื่อถือจากสาธารณะและเป็นเกราะป้องกันการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐได้</p>
<p>อีกข้อเสนอหนึ่งจากรายงานของพรรษาสิริคือ การกระจายของผู้ผลิตสื่อไม่ให้กระจุกอยู่ในศูนย์กลางการบริหารราชการอย่างในกรุงเทพฯ แต่ต้องให้ความสำคัญกับการชุมนุมในระดับภูมิภาคด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกจัดการด้วยความรุนแรงและถูกละเมิดสิทธิของทั้งผู้ชุมนุม นักกิจกรรม และสื่อมวลชนในต่างจังหวัด หากสื่อมวลชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งหรือมีการสานต่อประเด็นระหว่างการเคลื่อนไหวในระดับภูมิภาคกับในกรุงเทพฯ ก็จะทำให้ผู้ชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ข้อเรียกร้องต่างๆ ก็จะถูกสื่อสารในวงกว้างและเห็นความเชื่อมโยงกับการเมืองระดับประเทศชัดเจนขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐบาลต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชนมากกว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - [Live] ล้มล้าง-รุนแรง : 3 ปี 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ และการเคลื่อนไหวทะลุวัง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 147 กระทู้ล่าสุด 14 สิงหาคม 2566 03:25:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'สมศักดิ์' เผยยกเลิกคำสั่ง คสช. ออกเป็นมติ ครม. หรือ กม.ได้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 80 กระทู้ล่าสุด 16 กันยายน 2566 23:07:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 45 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2566 01:00:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 65 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 20:04:29
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 84 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 21:36:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.871 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤษภาคม 2567 23:45:01