[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 09:39:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 225 226 [227] 228 229 ... 236
4521  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ครายออน ( KRYON ) : รูปธรรมรอบตัวคุณ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 16:14:48

 
 
รูปธรรมรอบตัวคุณ
 
 
การสื่อสัญญาณ 17 สิงหาคม 1993
กลุ่มแสงสว่างครายออน
เดลมาร์ แคลิฟอร์เนีย
 
สวัสดี ข้าพเจ้าคือครายออนผู้มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางอำนาจแม่เหล็ก บัดนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้าว่า จงสงบจิตใจกับสิ่งที่กำลังจะตามมาเพราะคุณอาจจะต้องเอาตัวคุณออกไปในระหว่างที่ข้อมูลต่าง ๆ หลั่งไหลอย่างเป็นอิสระ

สวัสดีเพื่อนรัก ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมถึงผู้ร่วมอ่านด้วย ) ข้าพเจ้ารู้จักคุณและคุณก็รู้จักข้าพเจ้า ทั้งหมดที่พระจิตปรารถนาในเวลานี้คือ การมานั่งอยู่ตรงหน้าผู้ที่มาชุมนุมกันอยู่ในนามพระจิต และปล่อยให้พระจิตนั่งอยู่แทบเท้าคุณ ! เราขอต้อนรับผู้ที่มาพร้อมกับเรา ( ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ ) ที่เราไม่เคยพูดถึงมาก่อนเลย ... ผู้มาจากระบบสุริยจักรวาล เรายอมรับและรักคุณในฐานะที่คุณเป็นส่วนหนึ่งในผู้ที่ให้ การสนับสนุนเราและเราก็จำคุณได้

ใจความสำคัญของครายออนที่ต้องกล่าวทุกครั้งที่เราพบกันคือ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะเป็นช่างเครื่องและมาจากสถานที่อันไกลโพ้น แต่หัวใจสำคัญก็คือ ความรัก ... คือเรื่องของคุณ และคือเรื่องอำนาจของคุณ เราในฐานะครายออนถูกขอร้องให้มานั่งอยู่แทบเท้าคุณ รักคุณ และบอกกล่าวคุณในขั้นตอนต่าง ๆ ในคืนนี้ ประโยคต่อไปนี้อาจจะมีความหมายพิเศษ ... ที่คุณได้ยินเสียงฟังมาหลายครั้งแล้ว จากการสื่อสัญญาณ นั่นคือ คุณคือนักรบแห่งแสงสว่าง การที่คุณมาอยู่ที่นี่ ( หรือเลือกอ่านเรื่องราวของหนังสือเล่มนี้อยู่ในตอนนี้ ) เพื่อนผู้เยาว์วัยทั้งหลายจงฟัง การที่คุณมาอยู่ที่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเช่นกัน ... เพราะข้าพเจ้ากำลังพูดกับคุณโดยตรง ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่จำ ( หรือไม่เข้าใจ ) สิ่งที่จะพูดทั้งหมดในคืนนี้ แต่จะมี " การตื่น " เมื่อสิ่งเหล่านี้ย้อนกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากคุณจะอยู่ที่นี่ ( บนโลกนี้ ) ตลอดช่วงเวลาพิเศษ ( การเปลี่ยนแปลงของดาวเคราะห์ที่กำลังจะเกิดตามมา ) ไม่มีเหตุบังเอิญสำหรับใครทั้งนั้น คุณรู้จักข้าพเจ้าและข้าพเจ้าก็รู้จักคุณ
เราขอใช้ช่วงเวลานี้เพื่อรักและกล่าวทักทายคุณ เพื่อระลึกถึงอำนาจที่คุณมีอยู่ภายในตัวตนที่สูงส่งกว่า และเพื่อระลึกถึงการต่อสู้ เพื่อการรู้แจ้งของคุณ ... ซึ่งกำลังกลายเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากน้อยลงทุกขณะ

สาเหตุที่กำลังจะเกิดขึ้นในการสื่อสัญญาณในคืนนี้คือ โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นอยู่ในตัวเอง ข้าพเจ้าเข้าใจคุณดี เพราะงานของข้าพเจ้าคืองานที่เกี่ยวกับเครือข่ายแม่เหล็ก และอำนาจแม่เหล็กก็มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบนี้ อำนาจแม่เหล็กนี้มีขึ้นเพื่อช่วย เหลือคุณในด้านสุขภาพและการรู้แจ้ง ข้าพเจ้าทราบว่าคุณคิดอย่างไรเพราะเข้าใจบุพกรรมของคุณ เราเคยพูดถึงเรื่องบุพกรรมมาหลายครั้ง แล้ว บุพกรรมคือสิ่งที่ขัดขวางกีดกันไม่ให้มนุษย์รู้จักการมี 2 ภาคที่อยู่ภายในตัวเอง และทำให้คุณงมหา " อยู่ในความมืดมน " จนกว่าคุณพร้อมที่จะแสดงเจตนารมณ์ต่อจักรวาลเพื่อทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปจากเดิม

ความอยากรู้อยากเห็นทำให้คุณถามถึงเหล่ารูปธรรมที่อยู่รอบตัว ... เกี่ยวกับลำดับชั้นของกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนคุณในจักรวาล เกี่ยวกับผู้รับสัญญาณคนอื่น ๆ ที่เคยได้ยินมา เกี่ยวกับข้อมูลที่กำลังจะได้ยินเสียงของสิ่งมีชีวิตแปลก ๆ ครายออนติดต่อกับสิ่งเหล่านี้ ทั้งหมดได้อย่างไร รูปธรรมเหล่านี้คือใคร พวกเขากำลังทำอะไร ปฏิกริริยาของคุณที่มีต่อพวกเขาควรเป็นไปอย่างไร แม้ว่าเรื่องนี้แทบ จะไม่มีบทบาทใดเลยในสิ่งที่คุณกำลังจะทำกับตนเองในบัดนี้ในยุคแห่งพลังงานใหม่ แต่ข้าพเจ้าก็จะตอบคำร้องขอของคุณให้เข้าใจถูกต้อง ตรงกัน ... ภายในขอบเขตความสามารถและความเหมาะสมที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในฐานะของครายออน

มนุษย์เพลิดเพลินกับการวางสิ่งของลงในกล่องและปิดฉลากบอกไว้ พวกเขาจะเรียงกล่องเหล่านั้นอย่างระมัดระวัง และเมื่อพอใจกับการ จัดเรียงของตนเองแล้วมนุษย์ก็จะย้ายกล่องเหล่านั้นอีก ข้าพเจ้ายอมรับกระบวนการนี้ เพราะกระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของบุพกรรมมนุษย์ ในคืนนี้ข้าพเจ้าหวังว่าจะมอบฉลากบางอย่างให้คุณไว้ปิดลงบนกล่องได้ ( การทำเช่นนี้อาจทำให้คุณได้เคลื่อนย้ายกล่องเหล่านั้นจริง ๆ )

จงมองหาข้อพิสูจน์ในสิ่งที่กำลังจะตามมาใน 2 - 3 นาทีข้างหน้านี้ ข้อมูลบางอย่างที่คุณจะได้รับอาจเป็นปริศนา พระจิตปรารถนาให้คุณนำ ปริศนาเหล่านั้นรวมเข้าไว้ด้วยกัน พระจิตเพลิดเพลินกับการให้คุณเปิดกล่องและผสมฉลากเข้าด้วยกัน ... และค้นหาฉลากใหม่อีกขั้นหนึ่ง พระจิตปรารถนาให้คุณค้นพบคำตอบที่มีเพื่อตัวคุณเอง โดยใช้การแก้ไขที่เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับตัวคุณเองทั้งหมด ดังนั้นการสื่อสัญญาณใน คืนนี้จะเป็นการให้ความรู้อย่างแท้จริง แต่ก็ยังคงมีคำถามที่ไม่มีคำตอบอยู่บ้าง พวกคุณบางคนจะได้รับคำตอบในเวลาเดียวกับที่คุณได้ยิน ( หรืออ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ) ส่วนคนอื่น ๆ จะค้นพบคำตอบเมื่อคุณอ่านหรือได้ยินข้อมูลจากการสื่อสัญญาณที่กำลังจะเกิดขึ้น จากนั้นคุณ จะจดจำข้อมูลบางอย่างที่คุณได้รับในคืนนี้ได้ทั้งจากการอ่านและได้ยิน มองหาข้อพิสูจน์สิ มันอยู่รอบ ๆ ตัวคุณทั้งหมด ข้อมูลที่คุณได้รับ อยู่ในขณะนี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและเป็นจริงเพราะคุณนั่งอยู่ตรงหน้าพระจิต คุณถอดรองเท้าออกเพื่อให้เกียรติแก่พระจิตและพระจิต เองก็ถอดรองเท้าออกเพื่อให้เกียรติแก่คุณเช่นกัน คุณคือผู้ที่มีเกียรติและถึงเวลาของคุณแล้ว เรื่องนี้เป็นใจความสำคัญของครายออนที่ข้าพเจ้า จะนำมาแจ้งแก่คุณครั้งแล้วครั้งเล่า และจะยังคงนำมาให้คุณต่อไปจนกระทั่งถึงเวลาที่คุณไม่ได้อยู่ที่โลกนี้อีกต่อไป
4522  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / เหตุความแตกแยกของมนุษย์กับการเปลี่ยนผ่าน โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 16:13:19
เหตุความแตกแยกของมนุษย์กับการเปลี่ยนผ่าน

http://4.bp.blogspot.com/_QwjBfpkmoEU/StZpTJ-zdaI/AAAAAAAABno/r0kZWnH9rFw/s1600-h/2008_08_17t172045_450x293_us_georgia_ossetia.jpg


โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2552

หากเราศึกษาประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยเฉพาะในด้านของจิตวิทยาหรือของจิตแล้ว มนุษย์ – แม้ว่าจะมีร่างกายคล้ายๆ สัตว์โดยรูปร่าง – นั้น ไม่ใช่สัตว์อย่างแน่นอน เพราะมนุษย์มีจิตและวิวัฒนาการของจิตไปตามขั้นตอน (Spectrum of Consciousness) ดังที่เราเรียนรู้มาจากนักคิดนักปราชญ์หลายๆ คน เช่น โพลตินัส ศรีอรพินโท ฌอง เกบเซอร์ โดยเฉพาะ เคน วิลเบอร์ ฯลฯ ในเรื่องความรู้ทางจิตอย่างแทบเป็นเอกภาพ

มนุษย์สมัยแรกๆ จึงแยกตนเองออกจากแม่ (พ่อไม่เกี่ยว) และแยกออกจากธรรมชาติรอบตัวได้ยาก ค่อยๆ เรียนเป็นประสบการณ์ และจำ หรือสอน เรียนรู้กันมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กับมีวิวัฒนาการทางกาย-จิตมาเรื่อยๆ เหมือนทารกที่ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น กายก่อน แล้วตามด้วยจิต จิตไร้สำนึกก่อน แล้วตามด้วยจิตใต้สำนึก หรือจิตรู้หรือจิตสำนึก ปัจเจกก่อน แล้วจึงถึงโดยรวม

การที่ผู้เขียนคิดว่ามนุษย์ไม่ใช่สัตว์อย่างแน่นอนนั้น เป็นเพราะปู่ย่าตาทวด ไล่กลับไปถึงคนโบราณมองจิตไม่เห็น และการมองไม่เห็นนั้น คือ หนึ่ง ไม่มีจริง สอง อาจมี แต่ต้องมีอำนาจที่จะซ่อนตัวเองเป็นพิเศษ ได้แก่ พวกเทพเทวดา เจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลาย หรือเป็นผีเป็นสางไปโน่น

ความแตกแยกกัน การรบราฆ่าฟันกัน หรือสงคราม คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อการเจริญเติบโตวิวัฒนาการเกิดความผิดปรกติ ของจิตที่เปลี่ยนไป ชะงักหรือถอยร่น (regress) ซึ่งความผิดปรกติของจิตที่ชักนำพฤติกรรมนั้น มักมีโอกาสมากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงกลับไปที่สัญชาตญาณ ซึ่งมีแต่การสืบพันธุ์ การกิน กับการอยู่ให้รอดปลอดภัย ซึ่งทั้งหมดมีความรุนแรงของเวทนาและอารมณ์เป็นองค์ประกอบผลักดันที่สำคัญที่สุด สัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์ จะจดจำเฉพาะเรื่องร้ายแรงหรือเจ็บปวดมากกว่าเรื่องดีๆ เพราะสัญชาตญาณเอาตัวรอดนี่แหละ

บทความดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการเมืองบ้านเราตรงๆ แต่เป็นเรื่องของมนุษยชาติทั้งเผ่าพันธุ์ในปัจจุบัน ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ไม่มีทางที่ประชาโลกจะหันมาสมานฉันท์หรือสามัคคีกันได้ ยกเว้นสองประการ คือ หนึ่ง ประชาโลกเหลือน้อยกว่านี้มากๆ และอย่างกะทันหันทันที กับ สอง ประชาโลกที่เหลือ -ต้องเป็นส่วนที่ไม่น้อยนัก - จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) สูงกว่านี้

บ้านเรานั้น นักการเมืองใหญ่มากๆ คนหนึ่งที่ผู้เขียนรู้จริงๆ ว่ารักชาติมากและเต็มไปด้วยความตั้งใจดีและบริสุทธิ์ ได้อาสามาประสานรอยร้าว ซึ่งจริงๆ แล้วคือความแตกแยกที่รุนแรงและยาวนานของประชาชนคนไทยชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้ในสมัยที่เมืองไทยยังมีคอมมิวนิสต์ หรือแม้แต่การแยกดินแดนของประชาชนใน ๔ จังหวัดภาคใต้สุดของเรา

โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า การประสานรอยร้าวความแตกแยกกันของคนไทยในครั้งนี้ คงไม่สำเร็จเพราะมูลเหตุปฐมไม่เหมือนกัน เพราะว่าความแตกแยกของประชาชนในโลกใบเดียวกันซึ่งกำลังเกิดขึ้น จะเกิดขึ้น และต้องเกิดในทุกๆ สถานที่ ทุกๆ ภูมิภาค ทุกๆ ทวีปของโลกในช่วงเวลาอันใกล้ - ไม่เกินสิบปี - ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ เศรษฐกิจ หรือเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา หรือวัฒนธรรม อันเป็นธรรมชาติง่ายๆ (ระดับล่างหรือตามที่ตาเห็น)

แต่ในความเห็นของผู้เขียนดังที่ได้เขียนมาตลอดว่า ธรรมชาติมีอยู่สองระดับ คือ ธรรมชาติระดับล่างหรือระดับสมอง ซึ่งเป็นระดับที่ตามองเห็นโดยไม่ต้องคิด เช่น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล รวมถึงวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษเขียนด้วยเอ็นตัวเล็ก (nature) ส่วนธรรมชาติระดับบนที่ตามองไม่เห็น หรือรับรู้ทางชีววิทยากายภาพไม่ได้ แต่จะรับรู้ได้ด้วยจิตที่อยู่ภายในเท่านั้น คือ พระเจ้า เทพเทวดา เจ้าพ่อเจ้าแม่ (spirit) ไล่ตามกันมาตามลำดับ ภาษาอังกฤษเขียนด้วยเอ็นตัวใหญ่ (Nature)

ดังนั้น ในความเห็นของผู้เขียน มูลเหตุปฐมของความขัดแย้ง อันเป็นธรรมชาติระดับล่างที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่ของโลกโดยไม่มีการยกเว้น เป็นเรื่องสัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉานที่มีอยู่ในคน เคน วิลเบอร์ เรียกว่าเป็นจิตพื้นฐานก่อนวิวัฒนาการด้วยซ้ำ (Ground Consciousness in Ken Wilber: Up From Eden, 1981) แต่มันยังไม่ได้คลี่ขยายหรือเบ่งบานถึงเขตสุด เพราะว่าช่วงเวลาของมันยังมาไม่ถึงและไม่มีวันจะมาถึง เหตุเพราะโลกและมนุษยชาติทั้งเผ่าพันธุ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ล้ำลึกแบบถอนรากถอนโคนไปก่อนแล้ว มนุษยโลกจะเหลือน้อยมากๆ ไปแล้ว และมีวิวัฒนาการทางจิตไปแล้วด้วย อย่างน้อยส่วนหนึ่ง

มูลเหตุความแตกแยกของคนทั้งโลกที่ผู้เขียนมองเห็น แต่ผู้อื่นอาจจะยุ่งมากจนไม่มีเวลาคิดจึงมองไม่เห็น คือ มนุษย์เรา – จากระดับจิตที่ยังมีวิวัฒนาการเพียงครึ่งทางอยู่ที่อัตตาตัวตนกับเหตุผล – ได้เอาอัตตาตัวตน (self) ทั้งหมดถอยร่น (regress) ไปผูกติดกับระบบต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา และโครงสร้างธรรมชาติของสังคมหรือวัฒนธรรมที่ตาเห็น (ระดับล่าง) เพื่อการอยู่ให้รอด ในสภาพการณ์ที่เราไม่รู้หรือไม่เข้าใจ จิตของเราที่คำนึงถึงความอยู่รอดเป็นอันดับแรก จึงดิ้นรนทุกวิถีทาง ใช้ทุกอย่างที่ผิดปรกติไปนั้นเพื่ออยู่รอดให้ได้ โดยระบบ คือระบบการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ส่วนโครงสร้างธรรมชาติ (ระดับล่าง) คือ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม

เราเอาอัตตาที่ถอยร่นไปยึดติด (identified) กับอีโก้ หรืออหังการของจิตที่ยังวิวัฒนาการไม่ถึงขั้น (ซึ่งผู้เขียนคิดและเขียนซ้ำๆ มาตลอดว่ามนุษยชาติ โดยธรรมชาติแล้วต้องมีวิวัฒนาการถึงขั้นจิตวิญญาณ ในระดับแรกๆ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีบ้างแล้ว คาดว่าจะมีถึงมวลอันวิกฤตเมื่อโลกธรรมชาติวิกฤตกว่านี้ – และเราในภาพรวม – เจ็บปวดมากกว่านี้ ราว ๔-๕ ปีข้างหน้า หรือปี ๒๐๑๓) ทั้งนี้และทั้งนั้น เพียงเพื่อแสดงว่า ธรรมชาติทั้งสองระดับนั้นสำคัญและจำเป็นที่สุด ส่วนความสามัคคีสมานฉันท์ที่เราผลิตสร้างสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมรวมทั้งกฎหมายนั้น เมื่อมาถึงที่สุด เมื่อมาถึงปัจเจกบุคคลแล้ว การอยู่ได้รอดและปลอดภัย จะสำคัญและจำเป็นอย่างที่สุดโดยสัญชาตญาณ

แต่กาลเวลาไม่เคยถูกแช่แข็ง ทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่หยุดยั้ง รวมทั้งชีวิตของเราทุกคน ที่โดยรวมคือ วิวัฒนาการที่ไม่เคยเดินเป็นเส้นตรง เราอยู่ในช่วงสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสังคมกับระบบที่เราคิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของสังคมการเมืองหรือเศรษฐกิจอย่างลึกล้ำ รวมกับโครงสร้างอันเป็นการคัดเลือกของธรรมชาติ (ระดับล่าง) ที่หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมแยกส่วนอันเป็นความแปลกต่าง ซึ่งอาจจะกลายเป็นความแตกแยกได้หากเราไม่รู้และไม่เข้าใจตามที่ได้กล่าวมา

เราจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วทั่วทั้งโลก – โดยเฉพาะคนที่มีความเข้าใจอย่างล้ำลึกในแก่นแกนของพุทธศาสนาที่สอดคล้องต้องกันกับวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ หรือไปไกลยิ่งกว่านั้น ที่แทบจะไม่มีความเชื่อศรัทธาเท่าใดนัก มีแต่ตรรกะและเหตุผลโดยรวมที่พิสูจน์ได้ – นับต่อจากไปนี้ จะคิดและมีวิธีคิดแบบเก่าๆ เดิมๆ ตามนิสัยความเคยชินของเราไม่ได้อีกแล้ว ต้องมีความคิดและวิธีคิดใหม่บนหลักการใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม

แต่ทว่า ด้วยข้อจำกัดของเรา ด้วยความจำเจยาวนานของวิธีคิดของเราที่ไกลไปยิ่งกว่าสามัญสำนึก เราจึงคิดด้วยวิธีคิดใหม่บนหลักการใหม่ๆ ไม่ออกหรือไม่ได้ เพราะเหตุสำคัญสองประการ คือ หนึ่ง วิธีการความรู้หรือการศึกษาของเราทั้งโลก ทำให้เราได้รับการศึกษากับข้อมูลความรู้ที่แยกส่วนหรือไม่สมบูรณ์ ผิดธรรมชาติขององค์รวม และความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันที่แยกออกจากกันไม่ได้ และ สอง การตีค่าตีราคาของสรรพสิ่งทั้งหลายแม้แต่จิตหรือจิตวิญญาณเองเป็นเงิน ได้สร้างคนให้เห็นแก่เงินเหนือสิ่งอื่นใด แม้ต้องทุจริตคอรัปชั่น และเพราะข้อมูลที่แยกส่วนไม่สมบูรณ์ กับการเห็นแก่เงินนั้นเอง ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแปลกต่างและความลำเอียง แล้วก่อให้เกิดความแตกแยกและสงครามขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเราคิดแต่ “ตัวกูของกู” เอาตัวรอดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ

ผู้เขียนคิดว่า ช่วงเวลานี้ คือช่วงเวลาที่สำคัญต่อมนุษยชาติในภาพรวมยิ่งกว่าช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์เท่าที่ผู้เขียนเรียนรู้มา อาจจะกล่าวได้ว่า ศตวรรษนี้ – ในความเห็นส่วนตัว – เป็นช่วงเวลาปฏิวัติเปลี่ยนแปลง (transformation) ของตัวเองเป็นปัจเจก พร้อมกับการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวม นั่นคือเหตุผลที่ต้องมีชมรมจิตวิวัฒน์ขึ้นมาเพื่อการก้าวย่างสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่มีจิตวิญญาณเป็นศูนย์กลาง หรืออีกนัยหนึ่ง คือช่วงเวลาที่จะตัดสินการอยู่รอด (เท่าที่เหลือ) และศักยภาพของความเป็นมนุษย์ “ผู้ประเสริฐ” เพื่อพิสูจน์ว่า ด้วยกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาล – ที่มีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น – มนุษยชาติและวิวัฒนาการทางจิตจะเป็นไปตามสเปคตรัมของจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) และไล่สูงขึ้นไปจนถึงนิพพานอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของจักรวาลอย่างไร?

นั่นคือ มนุษยชาติกับจักรวาลจะต้องอยู่คู่กันเสมอ โดยอย่างหนึ่งอย่างใดจะขาดหายไปไม่ได้ ซึ่งตรงกับทางแควนตัมฟิสิกส์ข้อหนึ่งที่นักฟิสิกส์แห่งยุคใหม่ในปัจจุบันหลายคนเชื่อ (Anthropic Cosmological Principle) – ดังที่ เวสล่า ซิมมิก และโทเบียส โบดีน บรรณาธิการแห่งชิฟท์รายงานไว้ (The 2007 Shift Report: Evidence of a World Transforming) – โดยพูดว่า “กระบวนทัศน์ที่กำลังโผล่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ มีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) แห่งยุคใหม่ เท่าๆ กับได้รากฐานมาจากความรู้เร้นลับ (mysticism) ของศาสนาที่อุบัติขึ้นจากตะวันออก (เช่น พุทธศาสนาของเรา) ซึ่งทั้งฟิสิกส์ใหม่และความรู้เร้นลับต่างก็ให้ความจริงแท้หรือสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ หรือแม้แต่สาธารณชนทั่วไปหันมาสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทุกวัน




วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 at ที่ 15:00 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประสาน ต่างใจ
4523  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตวิวัฒน์คืออะไร? จิตวิวัฒน์กำลังจะบอกอะไร? แล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับสึนามิ? เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 16:08:46
จิตวิวัฒน์คืออะไร? จิตวิวัฒน์กำลังจะบอกอะไร? แล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับสึนามิ?

สรยุทธ รัตนพจนารถ

 

จิตวิวัฒน์ ทำให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติมีได้อย่างสันติ ทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของคนรอบข้าง เห็นความงามของทุกสิ่งรอบตัว เมื่อนั้นเราจึงจะก้าวข้ามความคิดคับแคบที่เคยมองโลก นำไปสู่การแก้วิกฤตต่างๆ ที่โลกเผชิญอยู่ที่ต้นเหตุของปัญหา โดยอยู่บนพื้นฐานของความรักและความเคารพในกันและกัน ทั้งกับเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ


บอกเล่ากันในภาษาชาวบ้านที่สุดนั้น "จิตวิวัฒน์" เชื่อว่า

1) มนุษย์ได้เดินมาถึงทาง (ที่ต้อง) เลือกแล้ว

2) เพราะอะไร?

เหตุผลประการแรก คือ เพราะสถานการณ์ทำให้เราต้องเลือก

สถานการณ์ในโลกปัจจุบันนั้นไม่ได้ ""กำลังเข้าสู่วิกฤต"" เพราะเราเข้ามาอยู่ในสถานการณ์วิกฤตนานแล้ว ไม่ว่าจะมองไปด้านใดล้วนแล้วแต่มีระเบิดเวลาที่รอเวลาจะระเบิดทั้งสิ้น ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่วิกฤตระดับประเทศหรือภูมิภาค แต่เป็นวิกฤตของมนุษยชาติโดยรวมทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ชาวเอสกิโมจำนวนมากเสียชีวิตจากการตกทะลุลงไปในพื้นที่บางลง ธารน้ำแข็งที่ปกคลุมเทือกเขาแอลป์ในยุโรปตอนกลางมีพื้นที่ลดลงถึงหนึ่งในสามและขนาดลดลงถึงครึ่งหนึ่ง น้ำแข็งที่ละลายเหล่านี้หายไปไหน? น้ำที่ละลายเหล่านี้ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คาดการณ์กันว่าประเทศและเมืองชายทะเลจะประสบปัญหาอย่างรุนแรง บังกลาเทศจะสูญเสียพื้นที่ถึงหนึ่งในสี่ และต้องอพยพพลเมืองหลายล้านคน เมืองอย่างกรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

ฤดูกาลต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิมอย่างไม่สามารถคาดเดาได้ เดี๋ยวนี้เมืองไทยมีฝนตกได้เกือบทุกเดือน เมื่อเดือนมกราคม 2548 หิมะตกที่รัฐอินเดียน่าของสหรัฐอเมริกาวันเดียวสูงกว่าสถิติหิมะทั้งปี เมื่อฤดูร้อนปี 2546 คลื่นความร้อนได้คร่าชีวิตชาวฝรั่งเศสที่เป็นประเทศที่เจริญทางด้านวัตถุอย่างมากถึงหนึ่งหมื่นห้าพันคน

ไม่เพียงแต่วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความรุนแรงขัดแย้งระหว่างศาสนา ระหว่างชนเผ่า ระหว่างรัฐกับประชาชน กำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ หรือแม้กระทั่งระดับท้องถิ่น

โรคระบาดต่างๆ ก็มีทีท่าว่าจะรุนแรงมากขึ้น นักวิชาการหลายท่านคาดว่าไข้หวัดนกจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง อาจมีผู้เสียชีวิตถึงสามล้านคน

เหตุผลที่สอง คือ สถานการณ์เหล่านี้ ปัญหาเหล่านี้ แม้มีส่วนที่เป็นเรื่องทางเทคนิค แต่มีรากเหง้ามาจาก "วิธีคิด" การมอง และการแก้ปัญหา

เราอาจพูดว่าปัญหาความรุนแรงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายและการปกครองเข้าแก้ไข เราอาจเสนอทางออกให้ลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ด้วยการพยายามใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ เราอาจพัฒนาระบบเตือนภัยเพื่อป้องกันหายนภัยจากธรรมชาติ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาในเชิงเทคนิค ซึ่งบ้างไม่สามารถแก้ปัญหาได้ บ้างก็ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา

ที่มาหรือรากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ "วิธีคิด" ของเราในการมองโลกและชีวิตอย่างคับแคบแยกส่วน สังคมส่วนใหญ่ รวมถึงนักวิชาการด้วย ยังเห็นว่าโลกเป็นเพียงแหล่งทรัพยากรที่ใช้ไม่มีวันหมดสิ้น เชื่อว่าการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติอยู่บนพื้นฐานการแข่งขันอย่างเสรี โลกทรรศน์เหล่านี้เป็นทั้งที่มาของปัญหา ที่มาของวิธีคิดที่ใช้มองและแก้ปัญหาเดียวกัน ซึ่งทำให้เป็นงูกินหางไม่รู้จบ

เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่าความรู้วิทยาศาสตร์กระแสหลัก ที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุแต่อย่างเดียวนั้นไม่สามารถใช้ในการสร้างทางออกที่ยั่งยืนได้ ดังที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า "ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้ ต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง"

เหตุผลที่สาม คือ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การวิวัฒนาการทางกายนั้นช้า มันไม่ทันการณ์แล้ว ภายใต้วิกฤตต่างๆ ที่ก่อตัวและทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะนี้ มนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตนั้นไม่สามารถมีวิวัฒนาการทางกายเปลี่ยนแปลงไปได้ทัน เราไม่มีเวลาที่จะรอกระบวนการวิวัฒนาการที่อาศัยเวลาเป็นหมื่นเป็นแสนปีแล้ว มนุษยชาติได้เดินทางมาถึงทางแพร่งที่ต้องเลือกแล้ว

3) เลือกอะไร?

ทางเลือกของเรา คือ เลือกที่จะเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเราตระหนักถึงปัญหาและวิกฤตตรงหน้า หรือเลือกที่จะไม่ทำอะไรและไม่พยายามจะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย

หากเราเลือกที่จะทนกับสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเช่นปัจจุบันแบบนี้ต่อไป เลือกที่จะเพิกเฉยต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก สัญญาณหายนะต่างๆ นับไม่ถ้วน ที่สุดแล้วเราจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่บังคับให้เราต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี แถมยังเจ็บปวดอย่างยิ่งอีกด้วย

หรือหากเราเลือกที่จะรีบเรียนรู้ เราเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เจ็บปวดบ้างไม่มากนัก และเกิด "จิตวิวัฒน์" เราได้เลือกที่จะเผชิญหน้าปัญหา หาทางรอดให้กับมนุษยชาติ โดยใช้ปัญญา นอกกรอบวิธีคิดแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา

4) เกิด "จิตวิวัฒน์" หมายถึงอะไร?

การวิวัฒนาการทางกายของมนุษย์นั้นไม่ทันกับวิกฤตที่อยู่เบื้องหน้าแล้ว ทางออก ทางรอดของมนุษยชาติจึงอยู่ที่การเปลี่ยนจากการมองโลกแบบแยกส่วน เน้นวัตถุและความแน่นอน มาสู่การมองโลกและชีวิตอย่างเป็นองค์รวม เน้นจิตใจและความสัมพันธ์ และการที่สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

จิตวิวัฒน์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับขั้นพื้นฐานของจิตใจ จิตวิญญาณ จากจิตเล็กไปสู่จิตใหญ่ หรือ จิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) จากความคับแคบของตัวเองไปสู่จิตที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ

จิตเล็ก คือ ความรู้สึกนึกคิดที่แคบๆ เห็นอะไรแต่เพียงบางส่วน ทำให้เกิดความบีบคั้นเพราะขัดแย้งกับธรรมชาติ ส่วนจิตใหญ่ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่มีพื้นที่กว้างขวาง มองเห็นเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวิตและธรรมชาติ เห็นค่าของผืนดินที่เราอาศัยและเติบโต รวมถึงสายน้ำที่เราได้ใช้หล่อเลี้ยงชีวิต ตลอดจนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ล้วนส่งผลซึ่งกันและกันอย่างแยกขาดกันไม่ได้

จิตวิวัฒน์ ทำให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติมีได้อย่างสันติ ทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของคนรอบข้าง เห็นความงามของทุกสิ่งรอบตัว เมื่อนั้นเราจึงจะก้าวข้ามความคิดคับแคบที่เคยมองโลก นำไปสู่การแก้วิกฤตต่างๆ ที่โลกเผชิญอยู่ที่ต้นเหตุของปัญหา โดยอยู่บนพื้นฐานของความรักและความเคารพในกันและกัน ทั้งกับเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ

กระบวนการในการเข้าถึงการมีจิตใหญ่นั้นมีมากมาย หลากหลาย เช่น ขยายขอบเขตของการรับรู้ผ่านกระบวนการทางศิลปะ ผ่านการเจริญสติ ผ่านงานอาสาสมัคร หรือการเข้าถึงธรรมชาติ เป็นต้น ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสความพยายามที่จะขยายขอบเขตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันออกไปอย่างกว้างขวาง

5) ย้ำอีกทีว่า ... เราไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เจ็บปวดเลยนั้นไม่มี

6) แล้ว คลื่นยักษ์จากอันดามัน บอกอะไรกับเรา?

สึนามิบอกเราดังข้อ 1 ถึง 5 ข้างต้นนั่นเอง!
1) สึนามิบอกเราว่าพวกเราได้เดินมาถึงทางที่ต้องเลือกแล้ว

2) สึนามิบอกเราว่าที่เราต้องเลือก เพราะ เรากำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤต วิกฤตทาง "วิธีคิด" ไม่ใช่ปัญหาแค่ระดับทางเทคนิค และเป็นวิกฤตที่มนุษย์รอการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไม่ทันแล้ว สึนามิชี้ให้เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ในพริบตา เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต

3) สึนามิบอกเราว่าเราสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของเราตั้งแต่วันนี้ หรือจะทนเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนภัย เสมือนเสียงไซเรนที่อยู่เบื้องหน้า เราเลือกได้ว่าจะยังคงมองปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นต่างๆ ด้วยชุดความคิดเดิม หรือจะเกิด "จิตวิวัฒน์"

4) สึนามิบอกเราว่าในท่ามกลางความทุกข์แสนสาหัสที่เกิดขึ้น โอกาสแห่งการเติบโต เรียนรู้นั้นอยู่คู่เคียงกัน สึนามิได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสแห่งการเกิดจิตวิวัฒน์ การก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวตนไปสู่การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ผ่านรูปธรรมตัวอย่างที่มากมาย เช่น การหลั่งไหลมาของคลื่นพลังน้ำใจอันมหาศาลของมนุษย์ที่หลั่งไหลมาอย่างมากมาย การแสดงตนของอาสาสมัครทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ผิวพรรณ วรรณะ ที่สำคัญสึนามิยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเจริญสติว่าเป็นรากฐานของสุขภาวะทางจิตวิญญาณอย่างยิ่ง เป็นหัวใจของการมีจิตใหญ่ มีความรักแท้ที่ยิ่งใหญ่ ที่เชื่อมโยงถึงเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ สรรพสัตว์นานา และธรรมชาติทั้งหมด

และท้ายที่สุด 5) นอกจากสึนามิจะบอกเราว่าเราไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เจ็บปวดเลยจะไม่มีก็ตาม สึนามิ (และกลุ่มจิตวิวัฒน์) ก็ยังชี้ให้เราเห็นถึง ความจริง ความดี ความงาม และ ความหวังของมนุษยชาติ ที่ยังมีอยู่ด้วยเช่นกัน


กลุ่มจิตวิวัฒน์
โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) NewConsciousness@thainhf.org
ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน 19 ก.พ. 2548



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=20-04-2007&group=5&gblog=7
4524  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : สังคมแห่งภาวะฉุกเฉินสุดๆ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 16:05:53

 
 
บทความที่ผู้เขียนได้เขียนในช่วงหลังๆ มานี้ ว่าเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นจริง จริงๆ แล้วผู้เขียนเชื่อว่ามันจะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ภายในทศวรรษที่ 2010-2019 นี้ เพียงมากหรือน้อย ยาวนานเป็นหลายสิบปี หรือสั้นแค่ไม่กี่ปี ขึ้นกับขนาดของมันและความพร้อมของมนุษย์ พูดง่ายๆ ผู้เขียนเชื่อว่าเรากำลังเดินทางเข้าสู่ยุคที่เลวร้ายที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อนภายในสามสี่ปีนี้ หรือจะเขียนว่าเรา-มนุษยชาติ-กำลังย่างเท้าเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งหมดนี้ผู้อ่านจะต้องรู้ว่าไม่ใช่ผู้เขียนอยากให้เกิด เพราะความร้ายแรงของเหตุการณ์หรือภาวะฉุกเฉิน ความยากลำบากอย่างเหลือล้นแบบคิดไม่ถึงในครั้งนี้ มันจะกระทบกับประชาชนคนทั่วไปทั่วทั้งโลกก็ว่าได้ ไม่ได้จำกัดที่คนไทย คนทั่วไปที่ไม่ชอบได้ยินได้ฟัง หรือได้สัมผัสกับสิ่งอะไรก็ตามที่เป็นด้านลบของความรู้สึกไม่ชอบใจ ไปถึงสิ่งที่เราคิดว่าอาจไม่ปลอดภัยกับตนเอง น่ารังเกียจหรือน่าเกลียด หรือน่าขยะแขยง เช่น ความสกปรก กลิ่นเหม็น ขยะปฏิกูล ไล่ไปถึงความผิดปกติไปจากความเคยชิน หรือความมืดจนบางทีและบางคนจะพลอยไม่ชอบความดำ เนื่องจากตัวเองเอาไปสัมพันธ์กับความกลัว ความมืดที่มองไม่เห็น เพราะระวังและระแวงว่าตัวตนของตนเองจะไม่ปลอดภัย

ความปลอดภัยที่เป็นสัญชาตญาณของสัตว์-ที่รวมมนุษย์ในกระบวนการวิวัฒนาการทางกายภาพหรือชีววิทยา-ที่อยู่กับความสว่างของวันอันสว่างและมองเห็นและเคยชิน คาร์ล จี. จุง ถึงได้พูดว่า "คนเราไม่ชอบยอมรับความจริง" และผู้เขียนอยากขอเสริมเติมต่อไปว่า คนเรามักพอใจแต่สิ่งที่ตนชอบอย่างเดียวในเรื่องของ "หน้าที่และความรับผิดชอบ" นั้น จึงรับแต่ความชอบ แต่ไม่เคยเลยที่จะยอมรับความผิดของตน ส่วนคนที่จำเป็นต้องรับก็จะรับด้วยความไม่เต็มใจ

ก่อนหน้านี้ไปสองสามทศวรรษ ผู้เขียนอาจจะคิดเอาเองโดยความรู้สึกว่า โดยผิวเผินคนไทยเรามีนิสัยที่ทำให้มีพฤติกรรมค่อนข้างจะคล้ายๆ คนอเมริกันหลายอย่าง เช่น ชอบสนุก ชอบเที่ยว ชอบเสี่ยง มีเงินไม่ได้ จนเหมือนกันเป็นพิเศษคือ เป็นคนที่อยู่ว่างๆ ไม่เป็น-และถ้าหากมีรถ-ก็ต้องขับรถออกไปนอกบ้านเหมือนถูกใครบังคับ ตอนนั้นคิดว่าเพราะว่าทั้งสองชาติเป็นเสมือนเบ้าที่หล่อหลอมคนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม-คนรุ่นชั่วคนแรกๆ จำนวนมากที่เข้ามาอยู่ใหม่ๆ จึงยังไม่ซาบซึ้งในประวัติศาสตร์ความเป็นชนชาติวัฒนธรรมไทยหรืออเมริกัน จึงย่อมคิดได้แต่การหาเงินและความมั่งคั่งของตนเองก่อน เพราะสังคมนี้ชาตินี้ไม่ได้เป็นชุมชนของกู-กว่าที่ชั่วคนหลังๆ จะเป็นชนชาติเดียวกันและมีวัฒนธรรมผิวเผินเหมือนๆ กัน-มีเทคโนโลยีนิยม เงินนิยม และอดทนอดกลั้นความต่างกันระหว่างวัฒนธรรมที่ล้ำลึกนั้นๆ เหมือนๆ กัน ซึ่งทำให้ทั้งสองชาติสองชนชาติรักความอิสระเหมือนๆ กัน แต่ทุกวันนี้ความเติบโตก้าวหน้าและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีที่มีเงินเพียงอย่างเดียวคือสรณะเบ็ดเสร็จ คนส่วนใหญ่มากๆ ในทุกๆ ประเทศชาติวัฒนธรรมจึงเดินไปฝันไป และมีแต่ระบบเศรษฐกิจอย่างว่าเพื่อเงินกับเงินและกับเงินเท่านั้น ส่วนระบบนิเวศธรรมชาติก็ช่างมันปะไร! แม้ว่าบัดนี้คนน้อยคนจะรู้อะไรที่เกี่ยวกับโลกธรรมชาติบ้างแล้ว แต่มันก็สายไปมาก และเราส่วนใหญ่มากๆ ก็ยังไม่รู้ตัวว่าอีกไม่กี่ปี หากว่าชาวโลกจะเหลือประชาโลกเพียง 1,000 ล้านคน ก็นับว่าโชคดีมากๆ แล้ว ขอให้เดินไปฝันไปเถิดและจงโชคดี

ประชากรของโลกเพิ่งมีครบ 1,000 ล้านคนเมื่อ 170 ปีมานี้เอง และตอนนั้นนักวิชาการเชื่อว่าโลกสามารถรองรับประชากรโลกได้เพียง 1,000 ล้านคนเท่านั้น จึงบางประเทศได้จัดให้มีนโยบายที่จำกัดจำนวนประชากรของประเทศของตนลงมา ตามลัทธิ "มัลธุสอิสม์" ของโรเบิร์ต มัลธุส ที่มีว่าโลกจะต้องมีประชากรไม่เกินนั้น ซึ่งต่อมาเนื่องจากเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ธัญพืชและปุ๋ยเคมี (green revolution) ได้ทำให้เราจึงมีการเพิ่มของประชาการโลกจนมีการ "ระเบิดของประชากรโลก" ไปแล้วในประมาณกลางศตวรรษยี่สิบหรือราวๆ ห้าสิบปีมานี้เอง

ผู้เขียนเชื่อว่าจำนวนประชากรในโลก หรือไบโอสเฟียร์ที่มีความจำกัดในทุกๆ ด้านเป็นเรื่องหนึ่ง ในขณะที่ความพอเพียงพอดีสมภาคสมดุล ที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คนเรานั้นโดยวิวัฒนาการทางชีววิทยา มองว่าคนทำอะไรถูกทั้งหมดเพราะเราเก่ง เราฉลาด และเราพร้อมในทุกๆ ด้านกว่าชีวิตทั้งหลายทั้งปวง เราจึงหยิ่งผยองและทะนงตน (anthropocentric) เพราะว่ามีแต่มนุษยชาติเท่านั้นทีมีวิวัฒนาการของอีโก (ego) เหนือกว่าชีวิตใดๆ ทั้งหมด (ซึ่งจะเล่าต่อข้างล่างนี้) ดังนั้นเราจึงไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น-โดยระดับจิตที่มีวิวัฒนาการระดับที่เราส่วนใหญ่มีอยู่-เราจึงไม่คิดให้ถ้วนถี่รอบคอบ เป็นต้นว่าเรื่องของธรรมชาติมันก็ย่อมต้องไหลเลื่อนเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเชื่อมโยงกันของทั้งหมด แต่เรามักลืมการเชื่อมโยงติดต่อกันกับทั้งหมด เราเพียงคิดว่าถ้าหากผู้ชายนอนกับผู้หญิงที่ทั้งคู่ถึงวัยแล้วและไม่เป็นหมัน การที่หญิงจะมีท้องและมีลูกต้องเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เราไม่คิดต่อไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กับทั้งหมด มันมีธรรมชาติของโลกที่ขยายไม่ได้พองโตไม่ได้ พอเพียงพอดีสำหรับจำนวนของประชากรในระดับหนึ่ง มันมีธรรมชาติของคนที่ต้องกินต้องใช้ไปตามลำดับ มันมีธรรมชาติของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำและอาหารที่พอเพียงพอดีที่หมดได้ มันมีกฎของธรรมชาติที่ควบคุมโลก ควบคุมความพอเพียงพอดีที่ว่านั้น ฯลฯ หากว่าเราทำอะไรตามใจตัวเองเป็นปัจเจก หรือแม้แต่คิดว่าเป็นเรื่องของสังคมประเทศกูชาติของกู มึงไม่เกี่ยว! กฎธรรมชาติในระดับที่สูงกว่าใหญ่กว่าก็ควบคุมไม่ได้ ความพอเพียงพอดีก็เป็นไปไม่ได้ โลกก็พัง จักรวาลก็เดือดร้อน ทั้งหมดก็เดือดร้อน ดังที่เรากำลังประสบอยู่เดี๋ยวนี้ และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นต่อๆ ไปเช่นบทความของวันนี้

เรื่องของอีโกอหังการที่ติดค้างผู้อ่านไว้ จะขอนำมาเล่าเพียงคร่าวๆ ซึ่งเป็นดังที่นักวิจัย ฌอง เปียเจต์ ได้ค้นพบและถือว่าเป็นดุจตำราของการศึกษา เรา-ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อายุแค่สองถึงสามขวบจึงค่อยๆ ยกตนแยกส่วนเป็นตัวตนของตนเอง (self) ออกจากสิ่งอื่นหรือธรรมชาติทั้งหมด เป็น "ผู้อื่น" จนกระทั่งสามารถมีวิวัฒนาการของจิตรู้และอารมณ์ สามารถแยกตัวตนออกจากชีวิตอื่นๆ ได้ อีโกอหังการจึงได้โผล่ปรากฏออกมา ผู้เขียนคิดว่าอหังการหรืออีโกนั้น เกิดขึ้นหลังจากจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาลที่มีหนึ่งเดียว (จิตหนึ่ง) ได้เข้ามาอยู่ในสมองแล้ว ตัวตน (self) ถึงได้อุบัติขึ้น ความสำคัญของตัวตนของตัวเองคือความสำคัญของความเป็นปัจเจก (individuality) ซึ่งผู้เขียนคิดเอาเอง โดยเชื่อว่าจิต-ความเป็นของคนปัจเจกนั้น ประกอบขึ้นด้วยหรือมีที่มาจากสองแหล่ง คือ หนึ่ง-จากจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาล (จิตหนึ่ง) กับสอง-จากจิตรู้หรือจิตสำนึก-ผลิตผลของการบริหารหรือวิวัฒนาการที่สมอง หรือจิตปัจเจกก่อนตายของผู้ที่ตายไปนั้นๆ ที่มีกฎแห่งกรรมโดยแรงกรรม (พลังงานจิต) เป็นตัวขับเคลื่อน-ก่อนที่ตัวตนของเด็ก (ใหม่) จะมีอีโกอหังการ-ช้าหรือเร็วไม่เหมือนกัน หรือใช้อายุเวลาไม่เท่ากัน-และสมองได้มีวิวัฒนาการแล้ว จนสามารถบริหารจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาลได้เป็นจิตใจ (จิตรู้หรือจิตสำนึก) ได้แล้ว และมีอารมณ์สามารถแยกแยะสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่ไม่ใช่ชีวิตกับธรรมชาติที่มีชีวิตได้แล้ว

ภาวะฉุกเฉินสุดๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงภายในทศวรรษนี้ (ค.ศ.) หรือใกล้ๆ นี้-ไม่ว่าประชากรโลกจะเหลือน้อยประมาณไม่ถึง 20% อย่างที่เจมส์ ลัฟล็อก นักวิทยาศาสตร์ใหญ่ของโลกบอกหรือไม่-มันก็ต้องมีประชากรทั้งหมด 1,000 ล้านคนขึ้นไป ไม่มากก็น้อย หรือประชากรโลกใกล้ๆ ปี 1900 ซึ่งไม่ว่าอย่างไร ผู้ที่มีวิวัฒนาการสู่ระดับจิตวิญญาณแล้ว ที่ต่อให้ผู้ที่ใกล้จะหลุดพ้นแล้วไม่ตายในความล่มสลายหายนะในครั้งนี้ ประชากรที่มีระดับจิตวิญญาณสูงๆ นี้คงมีไม่ถึง 100 ล้านคน ส่วนที่เหลือราวๆ เกือบ 1,000 ล้านคน หรือมากน้อยกว่านั้น จำต้องรอคอยให้มีวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (noosphere) เสียก่อน ดังที่เขียนลงที่นี่เมื่อเร็วๆ นี้ เพราะประชากรโลกพวกนี้เองที่กำลังรอจิตวิวัฒนาการให้ได้-นั่นคือสาระ

-พลังงาน:- เนื่องจากมนุษยชาติเรากว่าจะรู้ กว่าจะตื่น และหาพลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือก มันก็สายไปเสียแล้ว ขอบอกตามตรงไม่ว่าเราจะทำอะไร รณรงค์แค่ไหน ออกรายการโทรทัศน์-หนังสือพิมพ์ยังไง มันก็สายไปทั้งนั้น ถ้าหากเป็นสิบกว่าปีก่อนเราตื่นเช่นวันนี้ แม้จะสายไปก็ยังช่วยได้บ้าง แต่ตอนนี้...ไม่ช่วยเลย แต่เราจำต้องทำเพราะมนุษย์เมื่อรู้แล้วต้องพยายามที่จะทำไม่อย่างหนึ่งก็อย่างใด ช่วยได้หรือช่วยไม่ได้เป็นคนละประเด็น

ที่ผู้เขียนบอกว่าไม่ว่าเราจะทำอย่างไรก็ไม่ช่วยนั้น ก็เพราะมันไม่ทันการณ์ คิดดูเรารู้ว่าน้ำมันจะหมดตลาดมากว่ายี่สิบปีแล้ว แต่แม้ปีนี้ปีหน้าปีหน้าโน้นกว่า 95% ของรถยนต์ เรือ หรือเครื่องบินที่ผลิตทั่วทั้งโลกก็ยังใช้น้ำมันหรือก๊าซ เรารู้โดยหลักการว่า พลังงานสามารถได้มาด้วยแสงแดด ด้วยพลังลม น้ำ คลื่น ฯ มาตั้งแต่ปีมะโว้ แต่ถึงวันนี้แม้แต่เดนมาร์ก อินเดีย ญี่ปุ่น เยอรมนี ฯลฯ ก็ใช้พลังงานทางเลือกไม่ถึง 1% ของทั้งหมดของประเทศ และตอนนี้ทั้งโตโยต้าและฮอนด้า ก็ยังเรียกคืนรถยนด์ไฮบริดกันเป็นพัลวัน อย่าลืมว่าเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษยชาติมีความสุข (กาย) สนุกสะดวกสบายแต่เพียงเผ่าพันธุ์เดียว ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานทั้งนั้น เราจะรอถึงไหนหรือกี่ปีไม่ทราบ? เราอยู่กับความหวังและบนบานว่าธรรมชาติคงจะรอเรา?

-การเมือง:- คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ประเทศต่างๆ จะแตกออกมาเป็นเสี่ยงๆ-เป็นภูมิภาค โดยรัฐบาล ทหารหรือตำรวจ และข้าราชการทำอะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ก็เพราะประชาชนทุกๆ คน ทุกๆ อาชีพต่างก็เดือดร้อน และเรียกร้องความยุติธรรมไม่มีโดยสิ้นเชิง ที่สำคัญคือภาษีเก็บไม่ได้และเงินหมดคลัง

-เศรษฐกิจ:- ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรี เอื้อให้คนรวย-ชุมชนที่รวย-ประเทศชาติที่รวย-ได้เปรียบได้โอกาส จะพังและพังและพังไม่เหลือแม้แต่เงา ทุกสิ่งทุกอย่างจะค่อยๆ งวดเข้าและงวดเข้า กับเล็กลงและเล็กลง-ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ-BAU หรือ business as usual จะไม่มีอย่างเด็ดขาด ทั้งหมดจะค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นกับพลังงานก๊าซและน้ำมันที่จะน้อยลงๆ ไปเรื่อยๆ อย่าลืมว่าเทคโนโลยีแทบทุกประเภทนั้นใช้พลังงานทั้งนั้น ที่สุดทุกประเทศก็ต้องพึ่งการผลิตอุตสาหกรรมผลิตอาหารเพียงอย่างเดียว

-สังคม:- เมืองหรือนครใหญ่ๆ จะหายไปทั้งหมด แต่การหายไปจะค่อยๆ เป็นไปที่จะขึ้นกับงาน การขนส่ง และสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จะน้อยลงและเล็กลง ประชาชนจะมีความขัดแย้งแตกแยกมากขึ้น เพราะความไม่เป็นธรรมที่จะค่อยๆ ไม่มีไปเรื่อยๆ และความอิจฉาตาร้อนกัน ความอดอยากหิวโหยจะขับไล่ให้คนไปชนบทและทำงานเกษตรมากขึ้น

จะมีสงครามแย่งน้ำแย่งอาหารกัน ทั้งภายในระหว่างท้องถิ่นภูมิภาค หรือระหว่างประเทศไปถึงกลุ่มประเทศ และสงครามนิวเคลียร์จึงเป็นไปได้

ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เป็นเรื่องของการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่อยู่กับรูปกายวัตถุที่มองเห็นแล้วเอามาแยกส่วนทั้งหมด ต่อไปนี้เราต้องอยู่กับจิตหรือจิตวิญญาณที่ชี้นำพฤติกรรมทางกายและจิตรู้ของเรา ต่อไปนี้เราจะมีจิตวิวัฒน์เพี่อให้มีจิตสำนึกใหม่และความเป็นทั้งหมดที่เชื่อมโยงกันเสียที.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/140210/17902
4525  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : ความลับที่อยู่หลังความลับของธรรมชาติ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:45:52

 

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานของจักรวาล ไล่มาตั้งแต่บริบทที่รวมรูปแบบและกฎ หรือกลไกที่ควบคุมจักรวาลในฐานะธรรมชาติ หรือพูดง่ายๆ คือโครงสร้างของธรรมชาติ (structure of nature) นั้น มีอยู่สองระดับทั้งนั้น ซึ่งนักจิตวิทยาจิตวิญญาณ (spiritual psychology) ทุกคนโดยไม่มียกเว้น แยกจากกันด้วยเป็นสอง คือมองเห็นกับมองไม่เห็น มองเห็นก็คือหยาบ-ไล่ไปจากหยาบน้อย หยาบมาก จนถึงหยาบที่สุด-ซึ่งได้แก่รูปกายและวัตถุที่ตั้งอยู่ข้างนอก คือเล็กอย่างยิ่ง ได้แก่ คลื่นอนุภาค อะตอม โมเลกุล และเซลล์ต่างๆ จนหยาบใหญ่ไล่ขึ้นไปเป็นโลก ดาวต่างๆ เป็นกาแล็กซี และตัวจักรวาลเอง (ความเป็นสองที่เรียกว่า cosmos กับ Kosmos) ส่วนที่มองไม่เห็นคือจิตที่ละเอียดอย่างยิ่ง ไล่ลงไปตั้งแต่ละเอียดอย่างยิ่งน้อย ละเอียดอย่างยิ่งมาก จนละเอียดอย่างยิ่งมากที่สุด ซึ่งก็คือจิตหนึ่งที่กระจ่างใสหรือจิตของพระเจ้า จิตวิญญาณหรือจิตเหนือสำนึก จิตไร้สำนึกกับจิตใต้สำนึก และจิตสำนึกหรือจิตรู้ พูดอีกอย่างหนึ่ง ที่สรรพธรรมชาติหรือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในจักรวาล รวมทั้งตัวจักรวาลหรือตัวธรรมชาติเองที่แยกออกจากกันเป็นสอง (nature กับ Nature) ก็คือความเป็นสองหรือทวิตา (dualism) ซึ่งก็คือความจริงทางโลกหรือทางสังคม-อันไม่ใช่ความจริงแท้เลย หรือที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่ามายา-กับความจริงที่แท้จริงที่มีหนึ่งเดียว ซึ่งแต่ก่อนนี้ทางวิทยาศาสตร์เก่าหรือวิทยาศาสตร์กายภาพคิดว่า ความจริงทางโลกหรือทางสังคมที่เราเห็นหรือรับรู้ (perception) ก็คือความจริงที่แท้จริงทั้งหมด แต่ทุกวันนี้ควอนตัมเมคานิกส์ได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้วว่า วิทยาศาสตร์กายภาพเก่าๆ นั้นไม่ถูกต้องเลยอย่างไร สักครู่ผู้เขียนจะเล่าให้ฟัง

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ร่วมกันเขียนหนังสือ ซึ่งมีคุณหมอประเวศ วะสี เป็นบรรณาธิการรวบรวมและจัดพิมพ์ เรื่องธรรมชาติของสรรพสิ่ง แถมยังจัดการประโคมโหมโรงในการแนะนำหนังสืออย่างเอิกเกริก คือหวังว่าหนังสือที่ว่าจะเป็นคู่มือสำคัญของการเรียนรู้ สำหรับคนไทยผู้ใฝ่ใจใคร่รู้เรื่องของความจริงที่แท้จริงของธรรมชาติของโลกและจักรวาลเล่มหนึ่ง นั่นเป็นเรื่องนานร่วมสิบปีมาแล้ว แต่หนังสือที่ว่านั้น-ในสายตาของผู้เขียน-ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ใจของผู้เขียนหวังเอาไว้เท่าไรนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผู้เขียนตั้งความหวังไว้สูงเกินไปก็ได้ หรือว่าธรรมชาติที่หนังสือเล่มนั้นอธิบาย ประชาชนเขารู้ว่าไม่ได้เป็นความจริงที่แท้จริงก็ได้ คนเรานั้น เช่น ธรรมชาติหลากหลายของโลก จำต้องมีการไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาทั้งภายนอกและภายใน สู่ความซับซ้อนกว่ากับเป็นองค์รวมที่ละเอียดและลึกล้ำกว่าตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ภายใน เพราะว่าเป็นการคลี่ขยายของจิตไร้สำนึก (สากลร่วมของจักรวาล) ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาอยู่ในสมอง แล้วถูกบริหารโดยสมองให้เป็นจิตสำนึกใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันเวลา ทุกนาที วินาที และแต่ละกฤษณะนั้น มนุษย์เราจะเป็นคนใหม่ ในทางกายภาพนั้นจะมีเซลล์ใหม่ มีโมเลกุลใหม่ มีอะตอมใหม่ ฯลฯ และสำหรับในทางจิตภาพมนุษย์ เราก็จะมีจิตสำนึกใหม่ คือเหมือนคนใหม่ ซึ่งไม่ใช่เป็นการ "เกิดใหม่"-ตามที่ศาสนาที่มาจากลัทธิพระเวทของอินเดียโบราณบอก รวมทั้งพุทธศาสนาบอก-มาแทนที่เซลล์เก่าของเก่าที่ตายไป ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงปรัชญาที่นักคิดคิดเอาแต่เป็นข้อเท็จจริงที่มองเห็นได้ ส่วนการเกิดใหม่เป็นเรื่องของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล เรื่องของจิตอันเป็นความจริงที่แท้จริงซึ่งมองไม่เห็น และก่อนหน้านี้เป็นแต่เพียงอภิปรัชญาของศาสนาที่มีแต่คนที่เชื่อศรัทธา ของผู้ที่เชื่อมั่นในศาสนาเท่านั้นที่เชื่อ-แต่ในปัจจุบันนี้ อย่างน้อยก็สามารถพิสูจน์ในทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีซูเปอร์สตริง" (superstring theory) ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพียงรอเวลาที่จะพิสูจน์และทำซ้ำได้ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่นักฟิสิกส์แห่งยุคใหม่หลายต่อหลายคนพูดว่า สำคัญกว่าการทำซ้ำในห้องทดลองวิทยาศาสตร์เป็นไหนๆ ซูเปอร์สตริง คือความก้าวหน้าในทางควอนตัมเมคานิกส์ของสิ่งที่ละเอียดที่สุด เช่น สนามแห่งจิตที่ละเอียดเป็นเศษส่วนนับล้านๆๆๆ เท่าของอนุภาคและอะตอมของธาตุหนักๆ ที่เอามาทำระเบิดปรมาณูทุกชนิด เช่น ยูเรเนียม เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นเรื่องเล่าที่ผู้เขียนติดค้างผู้อ่านที่กล่าวมาแล้วข้างบน และผู้เขียนเองแม้ว่าจะได้ศึกษาฟิลิกส์แห่ยุคใหม่มาบ้าง ก็เป็นในทางของทฤษฎีเพราะไม่เคยเรียนคณิตศาสตร์ใหม่ๆ ที่สมัยที่ผู้เขียนเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมฯ-ยังไม่มี ยิ่งเรื่องของทฤษฎีซูเปอร์สตริงก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้น จึงขอนำให้ศาสตราจารย์จอห์น แฮกลิน นักควอนตัมฟิสิกส์อธิบายแทน ผู้เขียนเพียงแปลโดยถอดใจความแค่นั้น ในเรื่องที่ชื่อ ความลับที่อยู่ข้างหลัง "ความลับ" (The Secret behinds The Secret, November 2007) ซึ่งเป็นบทความที่เสนอในที่ประชุมใหญ่ด้านการจัดการบริหารความงามพร้อม ของมหาวิทยาลัยมหาริชี ที่ลอสแองเจลิส

นอกจากบทความของจอห์น แฮกลิน แล้ว ผู้เขียนยังเอามาจากบางส่วนในหนังสือของ บี. แอลเลน วอลเลซ นักฟิสิกส์และนักปรัชญาระดับโลก ที่นับถือพุทธและศึกษาปรัชญาและพุทธศาสตร์มาอย่างลึกซึ้งยิ่ง โดยเฉพาะวัชรญาณพุทธ ศาสนาของทิเบต (B. Alan Wallace: Hidden Dimensions, 2007) เกี่ยวกับพุทธศาสนากับความคล้ายคลึงกันกับควอนตัมฟิสิกส์และจักรวาลวิทยา

หัวใจแห่งบทความของจอห์น แฮกลิน มีอยู่สามประเด็น คือหนึ่ง-การค้นพบทางฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ หรือควอนตัมเมคานิกส์ ถึงสนามร่วมที่รวมกฎธรรมชาติทุกๆ กฎไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว (unified field of nature กับ Nature) สอง-สนามร่วมธรรมชาติทางควอนตัมฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ที่ว่านั้นก็คือ สนามร่วมแห่งจิต (unified field of consciousness) ที่ทางศาสนาซึ่งอุบัติทางตะวันออกของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธของเรา สาม-การทำสมาธิ คือการเข้าถึงธรรมชาติที่เร้นลับและอยู่ลึกเข้าไปข้างในอย่างที่สุดตามลำดับ

ทั้งสามข้อนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงของการมีชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง (the existence of the being) ที่เรา-มนุษยชาติส่วนใหญ่มากๆ-ไม่รู้ และเราทุกๆ คนที่เกิดมาในโลกแห่งนี้ต้องเดินทางเพื่อแสวงหาความจริงที่แท้จริงนั้นให้พบ การเดินทางที่นักปรัชญาและกวีเอกของโลก-แทบว่าจะทุกคนเลย-กล่าวถึงและรู้ดี แต่น้อยคนที่จะพูดถูกจุด ได้แต่ขี่ม้าเลียบค่ายไปมาอยู่นั่นแล้ว เช่นว่าเดินทางเพื่อหาแผ่นดินใหม่ หานิวเยรูซาเลม หาแชมบาลา เดินทางเพื่อเรียนรู้หรือเดินทางเพื่อแสวงหาความสุข หรือเพื่อหาจิตวิญญาณ คือหากไม่ใช่กายวัตถุก็เป็นจิต ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นทั้งกายกับจิตที่ต้องไปด้วยกัน ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับเคน วิลเบอร์ ที่บอกว่าทั้งจักรวาลใหญ่หรือแมคโครคอสมอส และมนุษย์ที่เป็นไมโครคอสมอส ต่างก็มีเป้าหมายเช่นเดียวกันและมีหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ วิวัฒนาการ (that's that หรือ suchness) และวิวัฒนาการจะต้องไปสู่สิ่งที่สูงกว่า และก้าวหน้าหรือซับซ้อนกว่าเสมอไป พูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า ในระดับที่ลึกที่สุดจะมีความละเอียดอย่างที่สุดระดับนี้-เช่นนิพพาน หรือพระจิตของพระเจ้า-จะง่ายๆ ที่สุด (simple) บริสุทธิ์ที่สุด และจะไม่มีความซับซ้อนเลย แต่ทว่าจะมีพลังหรือพลังงานทั้งปริมาณและคุณภาพสูงที่สุด ไดนามิก (dynamic) ที่สุด และแข็งแรงที่สุด นั่นคือระดับที่เริ่มต้นของวิวัฒนาการ วิวัฒนาการที่มีจิตกับกาย ทั้งหมดในทุกระดับจะเริ่มต้นกระบวนการวิวัฒนาการโดยการขับเคลื่อนด้วยจิต (consciousness) ทั้งสิ้น ซึ่งวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบเมื่อสองสามทศวรรษมานี้เอง แต่มีอธิบายไว้ในวัฒนธรรมพระเวทมาตั้งแต่สามพันปีมาแล้ว นั่นคือการเริ่มต้นของ "การจัดองค์กรตนเอง" (self-organizing system หรือ science of non-linear dynamicity) วัฏจักรที่ทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory) เป็นตัวกลไกของการขับเคลื่อน

ประเด็นที่สองบอกว่า สนามร่วมของพลังงานที่ว่าคือสนามแห่งจิต (field of consciousness) ซึ่งทางพุทธศาสนาได้ขยายคำอธิบายของลัทธิพระเวท ถึงการเริ่มต้นของการกำเนิดของจักรวาลว่ามาจากสนามร่วม (unified field) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ของสามพื้นฐานจักรวาลอันประกอบด้วย จิตพื้นฐาน (primordial consciousness or jahna) พลังงานพื้นฐาน (primordial energy or jahnaprana) และที่ว่างอันสมบูรณ์พื้นฐาน (primordial space or absolute space or dharmadhatu)-อันหลังนี้คือรูปกาย (วัตถุกับที่ว่าง-เวลา ทั้งหมดมีความลึกอยู่ห้าระดับ ไล่มาตั้งแต่ระดับที่ตื้นที่สุด จนระดับที่ลึกที่สุดซึ่งเรียกว่าจิตหนึ่ง (ขามาอันเป็นสิ่งเดียวกับนิพพานซึ่งเป็นขากลับ) คือที่ว่าง เวลา วัตถุ พลังงาน จิต-ซึ่งจิตในลัทธิพระเวทมีอยู่สามระดับ คือ วิขันริ มัธยม ปะสานติ และจิตหนึ่งที่อยู่ลึกที่สุดหรือปะสานตินี้เอง คือสนามร่วมที่กระจ่างใส (unified field)

ประเด็นที่สาม คือการทำสมาธินั้น ดร.จอห์น แฮกกลิน แนะนำให้เราทุกๆ คนเลยทำสมาธิเป็นประจำ และถ้าเป็นไปได้ให้ทำร่วมกันหลายๆ คน (collectively) การทำสมาธิโดยหลักการคือ การเจริญสติหรือการนำสติหรือความตั้งใจ (จิตเป็นหนึ่งเดียว) เข้าไปสู่ภายในที่ต้นตอของจิตหรือความคิดหรือปัญญาของเรา (ไม่ใช่สติปัญญาที่เป็นสัมพันธภาพกับผู้อื่น) นั่นคือการนำสติเข้าไปถึงสนามร่วมของแรงทั้งห้าแรงของธรรมชาติ ซึ่งมีกฎที่ควบคุมรูปกายวัตถุอยู่สี่แรงสี่กฎ และมีกฎที่ควบคุมจิตอีกหนึ่งกฎที่อยู่ลึกที่สุด ง่ายๆ แต่มีอานุภาพมากที่สุด นั่นคือสนามร่วม (unified field) ที่รวมกฎทางธรรมชาติทุกๆ กฎไว้ด้วยกัน ซึ่งก็คือสนามแห่งจิตสากลจักรวาลนั่นเอง

ไม่ต้องการให้ผู้ที่ทำสมาธิเสียกำลังใจ เพียงจะถ่ายทอดความเห็นของผู้ที่ทำสมาธิมายาวนานชั่วชีวิตก็ว่าได้ของ บี. เอสเสน วอลเลซ ที่บอกว่าการทำสมาธินั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ง่ายตรงวิธีทำคืออะไรก็ได้ มีตั้งร้อยตั้งพันวิธี แต่ยากที่ต้องมีความเพียร มีวิริยะ ต้องรักที่จะทำ (intention) ต้องตั้งใจทำ (attention) ต้องทำซ้ำๆ (repetition) และต้องทำ-รวมกันแล้ว-ต้องได้ 15,000 ชั่วโมง มากกว่า 30 ปี หากทำวันละหนึ่งชั่วโมง

ผู้เขียนเชื่อว่าทุกๆ ศาสนาในโลก รวมทั้งลัทธิความเชื่อของวัฒนธรรมทุกๆ วัฒนธรรมก็เน้นที่การปฏิบัติ นั่นคือการทำสมาธิและการสวดมนต์ ศาสนาทุกๆ ศาสนาจึงเหมือนกัน และการเหมือนกันนั้นไม่ใช่ทุกศาสนาสอนให้คนทำความดี-แค่นั้นพอ เราทุกคนต้องรู้ว่าจักรวาลมีเป้าหมายอย่างเดียวคือวิวัฒนาการ แต่เนื่องจากจักรวาลประกอบด้วยสองสิ่ง รูปกับนาม หรือกายวัตถุภายนอกกับจิตที่อยู่ภายใน วิวัฒนาการของจักรวาลจึงต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะกายอยู่ตื้นกว่าและมาที่หลังกว่า วิวัฒนาการของกายหรือมนุษย์กับสังคมมนุษย์จึงมีก่อนและเสร็จก่อน ศาสนาทุกศาสนามีเพื่อให้จิตสามารถมีวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ผู้เขียนจึงเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นคือเป้าหมายสุดท้ายที่ศาสนาทุกศาสนามีและประสงค์ ซึ่งศาสดาผู้ประกาศศาสนานั้นๆ ต่างก็รู้ดี จึงไม่ต้องแย่งกันหรือชักชวนให้ใครมาเข้าศาสนาของตน เพราะศาสนาไหนๆ ก็มีเป้าหมายที่จิตวิญญาณเหมือนๆ กัน ดังที่องค์ทะไล ลามะ บอกไว้เช่นนั้น.


http://www.thaipost.net/sunday/310110/17205
4526  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จิตวิทยาพลังงานคลื่นกับการรักษา เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:43:41

 

ได้อ่านความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์ทางวิชาการ ของฝรั่งชาวตะวันตกของประเทศที่ได้พัฒนามามากๆ แล้วและนานมาแล้ว โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์แถวหน้า (frontier sciences) ของทุกวันนี้ แล้วก็รู้สึกท้อใจในความล้าหลังของประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา แม้แต่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมาใหม่ๆ รวมทั้งประเทศที่รวยใหม่เพราะธรรมชาติเอื้ออำนวยให้ในระยะหลังๆ มานี้อย่างบอกไม่ถูก ทำให้ผู้เขียนโดยทั่วๆ ไปหากมองอย่างผิวเผิน แยกออกจากกันยากระหว่างประเทศที่พัฒนากับประเทศที่รวยอย่างเหลือล้น เหมือนกับเห็นคนใส่เสื้อนอกผูกไทและขี่เบนซ์สองคน เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร หรือมีปัญญาหรือรอบรู้แค่ไหน ซึ่งสำหรับผู้เขียนการรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ว่าจะมากอย่างไร ก็สู้มีปัญญาโดยเฉพาะมหาปัญญาไม่ได้และไม่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งที่ผู้เขียนพูดว่ารู้สึกท้อใจในความล้าหลังนั้น ผู้เขียนหมายถึงความลัาหลังทางปัญญาความรอบรู้ ไม่ใช่ความฉลาดแกมโกงเอาแต่ "ตัวกูของกู" ให้อยู่รอดก็แล้วกัน ผู้เขียนรู้มาว่าในพุทธศาสนานั้น ปัญญาความรอบรู้นั้นเป็นบารมีที่สะสมไปทุกภพภูมิได้

สองสามทศวรรษมาแล้ว ที่ทางวิชาการของวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของชาวฝรั่งในประเทศทางตะวันตก ได้ยอมรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ใหม่ที่เรียกว่า การแพทย์พลังงาน (energy medicine) การแพทย์หรือวิชาแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ทั้ง 18 โรงเรียนไม่ได้ให้ความสนใจจริงๆ เพราะไม่รู้จักหรือไม่ยอมรับการทำงานของมัน มีแต่แพทย์บางคนที่รู้จักและรู้ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญยิ่ง ในที่นี้การแพทย์พลังงานคลื่น-ส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ-เป็นพลังงานคสื่นการสั่นสะเทือน (vibration) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ร่างกายมนุษย์ และสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดและประเภทผลิตออกมาตลอดเวลา ย้ำคำว่า "ร่างกายของมนุษย์ผลิตออกมาตลอดเวลา" จากอะตอม โมเลกุล เซลล์ ทิสชู ฯลฯ ที่โรงเรียนแพทย์และแพทย์ส่วนใหญ่มากๆ ในบ้านเราไม่รู้ไม่สนใจเพราะเหตุผลสามประการ คือหนึ่ง-การแพทย์พลังงานคลื่นนี้ แม้แต่ที่เมืองนอกฝรั่งตะวันตกเองก็เพิ่งยอมรับกันเป็นกิจจะลักษณะ และเป็นวิทยาศาสตร์ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม-แม้ว่าแพทย์ฝรั่งบางคนยัง "งมโข่ง" ไม่รู้เลยไม่ยอมรับ-เมื่อราวๆ สิบกว่าปีมานี้เอง ก่อนหน้านั้นก็ยังถกเถียงกันอยู่ สอง-การแพทย์พลังงานคลื่นนั้นเป็นการแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์เสริม และส่วนหนึ่งใช้การนวด การกดจุด การใช้พลังฝ่ามือหรือพลังจิตพลังจักรวาล แถมยังเรียกพลังคอสมิกอีก ทำให้นักวิทยาศาสตร์และแพทย์มักจะดูถูกว่าไม่ใช่วิทยาศาสตร์ หรือค่อนไปในทางไสยศาสตร์ด้วยซ้ำ และสาม-การแพทย์พลังงานไม่ใช้ยา หรือเวชภัณฑ์ที่แพทย์แผนปัจจุบันใช้และรู้กันดี ใช้มานานจนเป็นนิสัย จึงมักถูกบรรษัทที่ผลิตยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งสื่อบางสื่อต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะการแพทย์พลังงานที่ไปทุบหม้อข้าวของพวกเขาและแพทย์ในอาณัติบางคน-เกี่ยวกับเงินและผลประโยชน์-ซึ่งไม่เหมือนกับยา หรือเรื่องของตัวอย่างสเตมเซลล์ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องใหม่ แต่มันมีเงินจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้บรรษัทยาหรือแพทย์บางคนได้ผลประโยชน์

ก่อนอื่นผู้เขียนเองที่เป็นทั้งแพทย์ และได้เรียนมาทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ แต่ได้มาศึกษาฟิสิกส์แห่งยุคใหม่ทั้งสองทฤษฎี-ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์กับทฤษฎีควอนตัมเมคานิกส์อย่างจริงๆ จังๆ ในทางทฤษฎีมากว่า 25 ปี แต่ไม่ได้แตะคณิตศาสตร์เลยแม้แต่น้อยเพราะชอบ การที่ชอบเพราะว่า-สำหรับผู้เขียนกับนักควอนตัมฟิสิกส์มีชื่อเสียงระดับโลกทุกคนที่รู้จัก มีความเห็นตรงกันว่าควอนตัมฟิสิกส์สนับสนุน (validate) ความรู้เร้นลับ (mystics) ของทุกๆ ศาสนาที่อุบัติขึ้นที่เอเชียใต้หรือทางทิศตะวันออกของโลก จริงๆ แล้วควอนตัมเมคานิกส์นั่นก็ยังไม่ใช่วิทยาศาสตร์แถวหน้า (frontier science) เลย แต่กระนั้นนักวิทยาศาสตร์เก่าๆ จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกสอนมาว่า ฟิสิกส์แห่งยุคใหม่เป็นเพียงทฤษฎีที่แปลก ถึงจริงก็เอามาใช้ไม่ได้ มันจึงเป็นแค่ทฤษฎีที่สวยงามแต่ว่าไม่มีประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นถึงไดัเลิกอ่านเลิกติดตาม ดีไม่ดียังหัวเราะเยาะนักฟิสิกส์ควอนตัมอีก นักวิทยาศาสตร์เก๋าเก่าเหล่านี้จะต้องไม่ชอบผู้เขียน หรือใครก็ตามที่เห็นต่างไปจากพวกเขา แต่มันอยู่ที่ว่าพวกนักวิทยาศาสตร์เก่าๆ เหล่านั้นจะรู้สึกตัวหรือไม่รู้เลยว่า ตัวเองเป็นผู้ล้าหลังและล้าสมัยอย่างไร? ยกตัวอย่าง มีบทความของนักจิตวิทยาที่เป็นนักชีววิทยายุคใหม่ มีชื่อว่า ดอว์สัน เชิร์ช ผู้เขียนหนังสือที่ขายดีที่สุด (Dawson Church: Genie in Your Gene, 2009) เชิร์ชเป็นนักจิตวิทยาพลังงานที่ทำงานและสอนเรื่องของการปล่อยอารมณ์ให้เป็นอิสระที่มีวิธีการใช้ "ทางเดิน" (meridian) ของ "ชี่" หรือ "ปราณ" ซึ่งใช้ในการฝังเข็ม กดจุด ที่สำคัญคือ เชิร์ชบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในจักรวาลติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวจริงๆ ผู้ที่แสวงหาจิตวิญญาณก่อนใครทั้งหมดกลับเป็นนักวิทยาศาสตร์สายหลัก "สายแข็ง" เสียด้วย ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์สายอ่อน เช่นจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์สังคมยิ่งแล้วเข้าไปใหญ่ ผลของการสำรวจโพลในปี 2005 ที่ทำกับนักวิทยาศาสตร์มากกว่า 1,600 คนจาก 21` สถาบัน พบว่านักวิทยาศาสตร์สายแข็งร่วม 80% มีวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณ (พิจารณาจากการสวดมนต์ ท่องพระคัมภีร์ ทำโยคะหรือนั่งสมาธิ) ที่น่าแปลกใจคือ การเปลี่ยนแปลงสู่จิตวิญญาณ (spirituality) นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วมากๆ โดยเฉพาะสถาบันใหญ่ๆ และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ส่วนการสำรวจโพลอีกอันหนึ่งบอกว่า แพทย์จำนวนมากกว่าสองในสามเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ และสองในสามของจำนวนนั้นเชื่อว่าการสวดมนต์ขอพรจากพระเจ้ามีความสำคัญอย่างใหญ่หลวง-แพทย์ไทยมีเท่าไร? น่าจะลองสำรวจดู-(Light of consciousness vol.21 2009)

เมื่อเร็วๆ นี้เองได้มีจิตวิทยาสาขาใหม่เกิดขึ้นที่เมืองนอก และเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแพทย์พลังงานชื่อ จิตวิทยาพลังงานคลื่น (energy psychology) ดังชื่อเรื่องของบทความของวันนี้ ทำให้ช่องว่างทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา เช่น ที่บ้านเรากับประเทศพัฒนามากๆ แล้วของฝรั่งตะวันตก-ห่างขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม บทความของวันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกและการรักษาโรคเพื่อให้หายขาด (healing) โดยทำให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความสมดุลตามธรรมชาติด้วยการปรับเปลี่ยนคลื่นความคิด (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ที่จิตใจ ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องทำนองจิตวิทยาด้านบวก (positive psychology) แต่สามารถอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทั้งหมด คือว่าความเจ็บป่วยนั้นเกิดจากอารมณ์ที่ถูดกดบีบเอาไว้จากความเจ็บปวด หรือความบีบคั้นทั้งทางร่างกาย (เช่น PTSD หรือ post traumatic stress disorder) หรือจิตใจ (เช่นความจำถึงความเจ็บปวดในอดีตที่ฝังใจจริงๆ เช่นในวัยเด็กที่ขาดความอบอุ่นอย่างเรื้อรัง หรือทหารในสงครามที่ผ่านภาพของความทุกข์ทรมานที่เห็นอย่างซ้ำๆ ซากๆ) พูดทางวิชาการได้ว่า คือความผิดปกติที่เกิดจากการจำที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึก ทำให้สุดแสนจะดื้อด้านต่อการกำจัดยิ่งนัก เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่เหนือยีนหรือกรรมพันธุ์ (epigenetic) อีกที มัน (epigenetic) คือ "ผู้สั่ง" ผู้อยู่นอกเซลล์ (รวมทั้งสิ่งแวดล้อมนอกร่างกาย) ที่สั่งให้ยีน (genes) ที่อยู่ภายในเซลล์ (ในนิวคลีโอลัส หรือไมโตคอนเดรีย) ให้ทำงาน คือให้ภาพนั้นๆ กลับคืนมาให้เห็นหรือให้สั่งให้จิตใจ (ความจำ ความคิด อารมณ์ ฯลฯ) ทำงานด้วยการกระตุ้นให้ฮอร์โมนส์ความเครียด (stress hormones) ต่างๆ ออกมา เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน ซีโรโตนิน ฯลฯ ซึ่งการทำงานทั้งหมดล้วนเป็นไปโดยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นภายในร่างกาย (bioelectromagnetic-BEM)

จิตวิทยาพลังงานคลื่น (แม่เหล็กไฟฟ้า) คือการจัดการให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทำงาน-ตามสรีรวิทยาของมัน-ได้ตามปกติ โดยมีหลักการกับเหตุผลว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงของโลกและจักรวาลสามมิติ (บวกหนึ่ง) ของเรานี้ จำเป็นต้องพึ่งอาหาร น้ำ แสงแดด (พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์) และอากาศ (ออกซิเจน) หรือดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งจะต้องสมภาคสมดุลพอเพียงพอดี (homeostasis) ขาดหรือเกินไม่ได้เพราะว่านั่นคือความเป็นโรค (pathology) จิตวิทยาพลังงานคลื่นคืออะไร? ตอบว่าคือกลุ่มของการรักษาโรค (healing) ให้หายขาดจากสถานภาพหรือความเชื่อ ทำให้ผู้ป่วยที่ดื้อด้านต่อการหายจากความทุกข์ทรมาน (ความทุกข์ทางกายภาพที่เกิดจากจิตใจ หรือจากความจำที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึก) สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติตามธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนมากภายในเวลาไม่ถึงวัน แต่ต้องทำใจให้มั่นคงที่จะเปลี่ยนตัวเอง ถามต่อไปว่า มันเกี่ยวข้องกับจิตใจหรือจิตวิทยาอย่างไร? ตอบว่า เพราะสาเหตุของความทุกข์ทรมานที่บางคนทนทุกข์เป็นเวลานานๆ ถึงสิบๆ ปีจากความเจ็บปวดหรือบีบคั้นซ้ำๆ ซากๆ ในอดีตนั้นๆ ส่วนหนึ่งที่ไม่น้อยเลย หรืออาจจะมากกว่าสองในสามของทั้งหมดด้วยซ้ำ ไม่ได้เป็นเรื่องทางกายภาพ (organic) แต่เป็นเรื่องทางจิตหรือทางอารมณ์ที่มองไม่เห็น เป็นเรื่องของความคิดความจำที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึก เช่น PTSD ที่ว่าครอบครัวขาดความอบอุ่นซ้ำซากในเด็ก หรือโรคที่เป็นกับทหารอเมริกัน หลังปลดประจำการที่ไปทำสงครามที่อิรักและอัฟกานิสถานมา ซึ่งเป็นกับทหารถึงหนึ่งในห้าคน ซึ่งมีอาการทางจิตที่รุนแรงมาก พวกทหารเหล่านี้หลังจากกลับไปบ้านก็มักจะหย่ากับเมีย และสุดท้ายก็นอนไม่หลับและติดเหล้า และมักจะลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งว่าไปแล้วมีจำนวนมากยิ่งกว่าการตายในสงครามเสียอีก ดังหนังสือเรื่องจริงของทหารอเมริกันที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทย (Claude Thomas's At Hell's Gate) ความทุกข์ทรมานทั้งหมดเป็นผลของการกระตุ้นของฮอร์โมนส์ความเครียดธรรมดาๆ จากครอบครัว เพื่อนที่ทำงาน แม้แต่ความจำเจของพฤติกรรมของตนเองหรือคนอื่นๆ ในบ้านหรือที่ทำงาน ต่างล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นทั้งนั้น ทำให้ทนไม่ได้ทั้งที่คนปกติทนได้

การรักษานั้น หากรู้สาเหตุแล้วสามารถรักษาให้หายขาดดังปลิดทิ้ง ด้วยวิธีการปลดปล่อยอารมณ์หรือความคิดที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึกนั้นๆ ให้เป็นอิสระ (emotional or thought freedom) ซึ่งจะเป็นการกำจัดสิ่งที่ทำให้ทางเดินของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่อุดตันออกไป ซึ่งปัจจุบันนี้เริ่มมีสอนกันในโรงเรียนแพทย์บ้างแล้ว หรือที่กระทรวงสาธารณสุขที่อังกฤษ แต่เราต้องเรียน "ทางเดิน" (meridian) ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และการนวดหรือกดจุดเสียก่อน.
 
http://www.thaipost.net/sunday/240110/16858
4527  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : การเปลี่ยนแปลงที่ดวงอาทิตย์เกี่ยวกับโลกใหม่? เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:42:17

 
 
ในระยะหลังๆ มานี้ ตั้งแต่ก่อนปีใหม่มาจนล่วงปีใหม่ไปแล้ว แต่ผู้เขียนยังได้เขียนเรื่องที่ท่านผู้อ่านและคนไทยทั่วไปไม่ชอบฟังหรือปรารถนาจะอ่านหรือได้ยินอย่างซ้ำๆ ซากๆ น่าเบื่ออย่างที่สุด เพราะหากว่าจะเป็นการเตือนให้รู้และระวังตัวรู้ก็รู้แล้ว ทั้งเรื่องก็ไม่น่าเกิด จริงๆ แล้ว 99% คงไม่เกิดทั้งหมดอย่างแน่นอน เหมือนกับเรื่อง Y2K 5-5-2000 อุกกาบาตชนโลกและเรื่องอื่นๆ ซึ่งทุกอย่างก็กลับไปเหมือนเดิม แต่คราวนี้ที่โลกเรามีภาวะโลกร้อนที่เราส่วนใหญ่ไม่เคยเชื่อว่ามีคนเป็นเหตุ คือพูดง่ายๆ มนุษย์นั้นทำอะไรไม่ผิดที่ไม่ผิดกฎสังคม-กฎหมายเราอยู่กันมาได้ เรื่องอยุธยา กรีซ โรมัน อียิปต์ เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยที่เราไม่เห็น ฉะนั้น หาความสุขสนุกสนานดีกว่า แต่ว่าครั้งนี้ - ในความคิดของผู้เขียน - คงไม่เป็นเช่นเดิมจริงๆ เพราะเราเห็นแก่ตัวและทำแต่ผิดๆ มากเกินไป

เพิ่งเขียนเรื่องดินฟ้าอากาศกำลังปฏิวัติ ภาคสอง กับเรื่องมันอาจจะมาตรงเวลาก็ได้ไปหยกๆ พอดีได้รับข้อมูลใหม่ๆ เรื่องของการหายไปของจุดดำของดวงอาทิตย์ (sun spots) การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก (magnetosphere) การลดลงของความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมีการสลับของขั้ว แม่เหล็กอันอาจจะเกิดการย้ายขั้วโลกเหนือตามมา อย่างทฤษฎีของชาร์ลส์ แฮปกูด ที่ไอน์สไตน์สนับสนุนและได้เขียนคำนำให้ (อ้างแล้วในบทความที่ยกมานั้น) นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ยังเกิด "ช่องเปิด" ทางเดินของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ และของโลก (magnetic portal) และความหนาวเย็นจัดอย่างค่อนข้างผิดปกติเหมือนโลกกำลังย่างเข้ายุคน้ำแข็ง (ice-age) ไม่ว่ายุคน้ำแข็งเล็กหรือใหญ่คือโลกเกิดมีความหนาวเย็นมากกว่า และนานกว่าฤดูหนาวธรรมดาๆ ทั้งที่ยุโรปและที่สหรัฐอเมริกากับที่แคนาดา โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากลูกชายที่ไปมาในช่วงนี้ ที่ลุกลามมาถึง รัสเซีย จีน เกาหลี ฯลฯ พอดีได้ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับระบบสุริยะที่จะโคจรมาตรงศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราในคืนวันที่ 21 ธันวาคม ปี 2012 และในคืนนั้นจะมีการเรียงตัวเป็นแถวเดียวหรือระนาบเดียวกัน (grand alignment) ของดาวเคราะห์ของระบบสุริยะรวมทั้งดวงอาทิตย์ก็มาเข้าแถวรวมกับเขาด้วย (มิชิโอะ กากุ NASA, pole shift) แต่ผู้เขียนรอๆ ดูก็ไม่เห็นว่าใครที่เมืองไทยจะสนใจเอามาเขียนหรือสื่อสารกัน หรืออาจเขียนแต่ผู้เขียนไม่รู้จึงไม่เห็นเอง เรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่นักการเมืองโดยเฉพาะผู้นำของรัฐบาลทุกรัฐบาลทั่วทั้งโลก รวมทั้งสหประชาชาติจะต้องใส่ใจอย่างยิ่ง เพราะว่า หนึ่ง ภาวะล่มสลายของโลกและการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกแบบถอนรากถอนโคนโดยการมีจิตใหม่หรือจิตวิญญาณ กับ สอง เรื่องการย้ายขั้วโลกเป็นเรื่องนอกตัว นอกประเทศ และนอกโลกชนิดที่เราไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นจะคิดว่าไม่เป็นไร "ทุกอย่างก็จะเหมือนเดิม" นั้นมิเป็นการประมาทเกินไปหรอกหรือ? และมิชิโอะ กากุ นั้นไม่ใช่ศาสตราจารย์ธรรมดาๆ (คือเป็นถึง Henry Samat Professor นักฟิสิกส์ทฤษฎีของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยซิตีของนิวยอร์ก ที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งกระทั่งหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลสูงมากๆ สองฉบับ คือนิวยอร์กไทม์กับวอชิงตันโพสต์ ซึ่งได้เขียนชมหนังสือทั้งสองเล่มของเขาว่าเป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของปีนั้นๆ - ต่างกรรมต่างวาระกัน) ผู้เขียนนั้นนานๆ ทีถึงได้ติดตามข้อมูลความรู้ทางด้านของวิทยาศาสตร์กายภาพ (หรือฟิสิกส์ของดวงอาทิตย์ solar physics) มาบ้าง แต่ไม่บ่อยนัก และในระยะหลังๆ มานี้ดวงอาทิตย์เองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยที่มนุษย์เราก็ยังไม่รู้ไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างนั้นจะมีผลต่อโลก ต่อ มนุษยชาติ หรือระบบสุริยะ หรือแม้แต่จักรวาลอย่างไรบ้าง? อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าไม่ควรประมาทและไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ทั้งประชาโลกก็มีสิทธิ์ที่จะรู้และตัดสินใจเอาเอง รัฐบาลประเทศนั้นไม่มีอะไรจะเสียหายกว่ารัฐบาลนั้นๆ เช่นรัฐบาลไทยจะพูดคุยให้แน่ใจและเข้าใจ ความเป็นไปได้ ของการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ โดยตั้งคณะกรรมการภัยธรรมชาติในด้านวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ติดต่อสอบถามมิชิโอะ กากุ ที่ www mkaku.org โดยใช้ชื่อใครก็ได้หากกลัวเสียหน้า เรื่องเฉพาะหน้านี้คือ การเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศทั่วทั้งโลกซึ่งกำลังย่ำแย่ที่สุดอยู่เดี๋ยวนี้ กับการค่อยๆ เปลี่ยนแปลง บางทีและบางส่วนของจิตสำนึกที่กำลังแพร่สะพัดไปทั่วทั้งโลกเช่น จิตตปัญญาศึกษาและการทำสมาธิกรรมฐานที่มีผู้ปฏิบัติมากขึ้นมาก - บทความนี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวที่อาจจะสัมพันธ์กับโลกและมนุษยชาติ

ความสัมพันธ์ดังที่กล่าวมานั้น อาจจะเกี่ยวกับภาวะล่มสลายทางด้านของโลกกายภาพแต่โลกยังอยู่ และวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณของมนุษยชาติ อย่างไรก็ตาม ที่เขียนมานี้ แม้ว่าท่านผู้อ่านจะต่อว่าผู้เขียนทำนองว่าชอบมองโลกในแง่ร้าย - หายใจเป็นเรื่องของความล่มสลายหายนะของมนุษยชาติไปเสียทั้งหมด เหมือนกับว่าผู้เขียนเป็นคนที่ตั้งใจจะให้แต่ความฉิบหายให้เกิดกับมนุษย์และกับโลก ผู้เขียนเองอาจยอมรับเช่นนั้น แต่ยอมรับในส่วนที่น้อยนิด ผู้เขียนขอร้องให้ผู้ที่ต่อว่านั้นคิดให้รอบคอบและถ้วนถี่ อย่าตื่นเต้นเสียขวัญเพราะไม่เกิดก็ได้ คิดในเชิงวิทยาศาสตร์ทั้งทางกายกับจิตเช่นจิตวิทยา กับ ศาสนาต่างๆ รวมทั้งลัทธิความเชื่อที่มีตั้งแต่โบราณ แม้ว่าผู้เขียนจะย้ำเขียนอย่างซ้ำๆ ซากๆ - อย่างทั้งมีเหตุผล มีหลักฐาน และเป็นวิทยาศาสตร์พร้อมมูลชนิดที่ใครก็ปฏิเสธไม่ได้ - ว่าจักรวาลและโลกมีหน้าที่หลักเพียงอย่างเดียวคือวิวัฒนาการ ส่วนวิวัฒนาการไปทำไม? เพื่ออะไร? และแน่ใจได้อย่างไร? ว่าการวิวัฒนาการนั้นคือเป้าหมายขอโลกและจักรวาล ขอตอบตามที่นักปราชญ์ทั้งหลายตอบเหมือนๆ กันเป๊ะๆ ว่า วิวัฒนาการของโลก ของจักรวาล และของมนุษยชาติไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คือดิน (โลก) มนุษย์ ฟ้า (จักรวาลหรือสวรรค์) เพื่อให้มีชีวิตและมีมนุษย์ "ผู้ประเสริฐ" สามารถมีวิวัฒนาการทั้งทางกายหรือชีววิทยากับจิต หรือรูปกับนามไห้สัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ทั้งหมดนั้นไม่ใช่จิตนิยม ไกลตัว ไร้สาระ ซึ่งเราคนทั่วไปโดยตัวตนและอีโก้เป็นผู้คิด เราส่วนใหญ่ที่มักเป็นนักวัตถุนิยมแมตทีเรียลลิสต์ จึงคิดกันง่ายๆ ว่าเป็นเรื่องของความบังเอิญ ตรงนี้ท่านผู้อ่านช่วยกรุณาคิดให้รอบคอบด้วย เพราะไม่เพียงแต่นักปราชญ์ศาสดากับเซนต์นะบีในทุกศาสนาต่างกล่าวเป็นเสียงเดียว กันเช่นนั้นเท่านั้น หากแต่นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกรวมทั้งผู้ได้รับรางวัลโนเบิลทุกๆ คนโดยไม่มีใครยกเว้น - เท่าที่ ผู้เขียนรู้ - ก็ยืนยันเช่นเดียวกันด้วย เช่น เดวิด โบห์ม, เซอร์อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน, จอร์จ วอลด์, เจมส์ ลัฟล็อก ฯลฯ แม้แต่ในทางอ้อม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทั้งนี้ ว่ากันตรงๆ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทางกาย - ชีววิทยาสนับสนุนด้วย

การเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์เริ่มที่การสลับขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ที่เคยเกิดมีมาก่อน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2000-01 และครั้งต่อไปจะมีในปี 2012-13 นั่น - ย่อมทำให้สนามแม่เหล็กโลกหรือแม็กนีโตสเฟียร์หายไปด้วย และตั้งแต่สองปีมานี้อยู่ๆ สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ก็ลดลงไป พร้อมๆ กับการค่อยๆ หายไปอย่างมากของจุดดำ (sun spots) จากเรือนพันเรือนหมื่นลงมาเหลือในขณะนี้เป็นไม่ถึงร้อยจุด และมีเค้าว่าจะลดลงไปกว่านั้น นั่น - ทำให้อนุภาคที่เกิดในใจกลางดวงอาทิตย์ตามปกติวิสัยออกมาไม่ได้ด้วย จะมีก็แต่อนุภาคผีๆ เช่น นิวตริโนส์ที่ทะลวงออกมาได้ ดังที่มีรายงานไว้มากมายเช่นที่ แอลเอชชี (LHC) แล็บ เป็นต้น และการที่ดวงอาทิตย์ลดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กลงไปนี้ ก็จะทำให้แม็กนีโตสเฟียร์ของโลกค่อยๆ หายไปด้วย (เพราะแม็กนีโตสเฟียร์เกิดจาก interaction ระหว่างสนามแม่เหล็กทั้งสอง) การลดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์โดยเฉพาะการขาดแม็กนีเชียมจนทำให้จุดดำที่ดวงอาทิตย์ต้องหายไปกว่า 90% และทำให้แม็กนีโตสเฟียร์ของโลกต้องหายไปแทบสิ้นเชิงเช่นนี้จะทำให้การป้องกันโลกด้วยจีโอแม็กเนติสซึ่มหายไป เกิดภยันตรายที่เป็นผลของรังสีแกมม่าจากหลุมดำ (black hole) ของกาแล็กซีทางช้างเผือก

ไม่มีใครรู้ จริงๆ แล้วไม่มีใครเชื่อว่า ดวงอาทิตย์เราเคยมีช่องเปิดที่ปิด-เปิดโดยอัตโนมัติ (magnetic portal) ที่เปิด-ปิดในทุกๆ 8 นาที ขนาดใหญ่รูปทรงกระบอกใหญ่เกือบเท่าโลกของเรา ช่องเปิดนี่ติดต่อพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างดวงอาทิตย์กับสนามแม่เหล็กโลกที่ไม่มีมาก่อน นับตั้งแต่เราได้ติดตามดูดวงอาทิตย์ทางวิทยาศาสตร์มาหลายร้อยปีมานี้ แต่ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้โดยเฉพาะในระหว่างการย้ายขั้วโลกเหนือ (ซึ่งเคยมีการย้ายมาแล้วหลายครั้ง ร่วม 16 ครั้งในหลายล้านปีมานี้) ครั้งสุดท้ายที่จบลงเมื่อ 12,000 ปีมานี้ที่ขั้วโลกเหนืออยู่ที่อ่าวฮัดสัน - การย้ายที่ของขั้วโลกเหนือ (ขั้วโลกใต้ไม่เคยย้ายที่เลยเท่าที่รู้ภายในเกือบ 600 ล้านปี) ไม่เคยเลยที่จะย้ายเกิน 30 ดีกรี (ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้มีพูดไว้ในหนังสือของชาร์ลส์ แฮปกูด ซึ่งไอน์สไตน์สนับสนุนและเขียนคำเกริ่นนำยาวๆ (ให้ดู John White : Pole Shift, Scientific Predictions, 1990) และมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับการลดลงหรือหายไปหมดของสนามจีโอแม็กเนติกเหมือนสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีแผ่นดินใหวและภูเขาไฟใกล้ระเบิดเหมือนกับสภาพโลกในปัจจุบันนี้ มีจุดดำของดวงอาทิตย์จะหายไปหมดหรือเหลือน้อยเต็มทีเหมือนสภาพดวงอาทิตย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและฤดูกาลเหมือนสภาพโลกในปัจจุบันนี้ มีอย่างหนึ่งที่เรามีในปัจจุบัน แต่เราก็ไม่รู้ว่าเมื่อมีการย้ายที่ของขั้วโลกเหนือครั้งที่แล้วๆ ดวงอาทิตย์จะมีช่องเปิด (magnetic portal) เช่นที่เรามีในช่วงนี้หรือไม่ ส่วนอีกสองอย่างที่ในปัจจุบันโลกเราไม่มีหรือยังไม่มี คือยุคน้ำแข็งใหญ่หรือย่อย (ice age or little ice age) กับการย้ายที่ของขั้วโลกเหนือ (polar shift) แต่ทั้งสองอย่างนั้น ทางวิทยาศาสตร์เรารู้ว่า มันเกิดช้าหรือเร็ว หรือเมื่อไรก็ได้

ฤดูกาลที่โลกประสบกับความหนาวเย็นจัดประดุจยุคน้ำแข็งเล็กหรือใหญ่มาเยือนเช่นในอดีตเมื่อ 300-500 ปีที่แล้วเรียกกันว่ามูแอนเตอร์มินิมัม (Muander minimum) เมื่อจุดดำของดวงอาทิตย์หายไปแทบหมด (คือเหลือไม่ถึง 50 จุดจากหมื่นๆ จุดที่เคยมี) และความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ลดลงอย่างมาก สถานภาพของจุดดำและความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กก็ยังเป็นเหมือนสภาพปัจจุบันของดวงอาทิตย์และโลก (มีทั้งการหายไปของจุดดำและความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์กับการหายไปของแมกนีโตสเฟียร์และแผ่นดินไหวภูเขาไฟทำท่าจะระเบิดของโลก) ในปัจจุบันเพียงแต่โลกยังไม่มียุคน้ำแข็งเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดทำให้ผู้เขียนเชื่อว่า อย่างน้อย โลกและมนุษยชาติจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวงที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในช่วงนี้ ไม่จำเป็นต้อง 2012-13 หรือว่าจำเป็นต้อง - ก็ได้ อย่าลืมว่ากราฟที่ศูนย์สังเกตดวงอาทิตย์ (NSO) บอกว่า จุดดำและความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์จะเหลือน้อยกว่าครึ่งในปี 2012-13 และดวงอาทิตย์จะหมุนรอบตัวเองช้าลงด้วย แต่อย่างมาก โลกจะมีการย้ายที่ของขั้วโลกเหนือพ่วงยุคน้ำแข็งจริงๆ พร้อมๆ กับมนุษย์ - สัตว์โลกจะเหลือน้อยลงเพราะสวิตช์ของสายพานกัลฟ์สตรีมหยุดลงด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนรู้ - คิด - และเชื่อเท่านั้น.
 
http://www.thaipost.net/sunday/100110/16138
4528  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : ระบบเศรษฐกิจ-จงมองให้ทะลุม่านบังตา เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:41:08

 
 
ขออวยพรความสุขความสวัสดีของปีใหม่ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ แด่ท่านผู้อ่านและคนไทยทุกคน ตลอดจนมนุษย์ทั้งหลายทั่วโลก ซึ่งผู้เขียนคิดว่าต้องการคำอวยพรในวันนี้ยิ่งกว่ายุคใดสมัยใดกระทั่งปีใดในอดีต บทความวันนี้เป็นบทความแรกของปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓ ปีที่ผู้เขียนเขียนมาเมื่อร่วมยี่สิบปีที่แล้ว ว่าให้ระวังน้ำจะเอ่อท่วมโลก แม่น้ำมันคงจะไม่ท่วมในวันนี้ แต่สภาพดินฟ้าอากาศกับระบบเศรษฐกิจที่ดูเผินๆ ไม่ค่อยเกี่ยวกันก็ย่ำแย่ลงไปทุกวัน ทั่วทั้งโลกคงจะย่ำแย่ลงไปกว่านี้ในวันข้างหน้า อย่างไรก็ดี ความแข็งแกร่งมั่นคงไม่ท้อแท้ของเราในจิตใจและจิตวิญญาณ ย่อมสามารถทำให้เรามีความสุขที่แท้จริงเสมอไป แม้ว่ากายจะต้องลำบากยากเข็ญสักเพียงใด นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนอาจต้องการในขณะนี้

มนุษย์เราส่วนใหญ่มากๆ ไม่รู้หรือทำเป็นไม่รู้ ด้วยการเข้าใจและแปลคำว่า "อวิชชา" อย่างผิดๆ อวิชชาที่ผู้เขียนเข้าใจไม่ได้แปลว่าโง่ หรือโง่เขลา หรือปราศจากความรู้ นั่น-หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟังจากโรงเรียน จากครู จากเพื่อน หรืออ่านจากหนังสือเช่นตำราต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะผู้เขียนคิดว่าความถูกต้องนั้นจะต้องสอดคล้องต้องกันกับธรรมชาติ เนื่องจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลกในจักรวาลนี้ เช่นเดียวกับตัวโลกหรือตัวจักรวาลเอง คือด้วยการวิวัฒนาการที่เป็นไปของมันเอง อันเป็นความจริงแท้ในพุทธศาสนา หรือพระจิตของพระเจ้า-ในศาสนาที่มีพระเจ้า คือความจริงแท้นั้น ซึ่งไม่ได้ตางกันสำหรับผู้เขียน ตราบใดที่พระเจ้าเป็นจิตหรือพระจิตที่ไม่มีรูปกายเหมือนคน (personal God)-เพราะฉะนั้น อวิชชาจึงมีความหมายถึงความไม่สอดคล้องกับความจริงแท้ หรือกับธรรมชาติ อวิชชาคือความไม่รู้จักธรรมชาติเลยนั่นเอง และจากอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดกิเลสตัณหาความยึดติด เป็นคุกตะรางกรงขังที่ในพุทธศาสนาเรียกว่า สังสารวัฏ เป็นกรรมหรือการกระทำที่ทำให้เราต้องเกิดใหม่ในภพภูมิต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนกว่าแรงกรรมที่เกิดจากอวิชชาและตัณหาจะหมดสิ้นลงไป

นั่น-พูดกันในด้านของปัจเจกแต่ละบุคคลและทางพุทธศาสนา หรือศาสนาอะไรก็ตามที่เกิดจากลัทธิพระเวทของอินเดียโบราณ ส่วนทางด้านของสังคมโดยรวม ผู้เขียนเชื่อว่าจะต้องมีกรรมที่เกิดจากอวิชชาของสังคมและกิเลสตัณหาของสังคมเหมือนกัน เช่น การกระทำของชุมชนสังคม ประเทศชาติ กระทั่งมนุษยชาติทั่วทั้งโลก ด้วยความเชื่อที่ว่าสังคมประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว และเศรษฐกิจจะเติบโตได้ ประชาชนก็ต้องบริโภคมากๆ อุปโภคมากๆ โยนทิ้งโยนขว้างเข้าไปมากๆ เถิดไม่เป็นไรหรอก มีแต่ดี บริโภคนิยม วัตถุนิยม และเทคโนโลยีนิยมเท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศเจริญ มั่งคั่ง และมนุษย์สามารถจะควบคุมทาสหรือธรรมชาติได้ เช่นที่ฟรานซิส เบคอน กับนักปรัชญาวัตถุนิยมปรารถนา ดังนั้นจึงมีแต่นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจอุตสาหกรรม ซีอีเอเท่านั้น ที่ได้เป็นผู้จับจองความมั่งคั่งเอาไว้ตลอดกาล นั่นคือจารีต ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ส่วนนักการเมือง ไม่ว่าซ้ายหรือขวาซึ่งเป็นรัฐบาลของประเทศและของโลก ล้วนแล้วแต่ความคิดในทำนองนี้ทั้งนั้น ยุเข้าไป..ยุเข้าไป เวรกรรมกลัวไปทำไม? ชาติหน้าภพหน้ากับการเกิดใหม่ที่ศาสนาสอนคือความงมงาย

ที่ฟรอยด์บอกในโลกนี้ ในจักรวาลนี้ มนุษย์ยิ่งใหญ่กว่าใครๆ อยู่แล้ว นั่นคือโลกทัศน์เก่า กระบวนทัศน์เก่าที่เราใช้สร้างระบบทุกๆ ระบบ ของอารยธรรมสมัยใหม่ จิตวิญญาณจึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลแต่ละคน ..อนิจจาประชาโลกที่น่าสงสาร

คาร์ล จี. จุง นั้นเป็นเหลนของเกอร์เธ-นักปรัชญาและกวีเอกของเยอรมนี ผู้แต่งกวีเรื่อง "เฟาสต์" (Faust and Mephistopheles) ซึ่งมีอิทธิพลเหมือนเป็นด้าน "มืด" หรือชั่วร้ายที่แทบว่าทุกคนมีอยู่ในตัวของตัวเอง ซึ่งว่าไปแล้วนับได้ว่าคือปรัชญาของอารยธรรมตะวันตกที่แท้จริง คาร์ล จุง คิดว่าเขาคือเฟาสต์ เป็นด้าน "มืด" ของคาร์ล จุง นั่นเอง ที่ทำให้เขาลืมและไม่ยอมรับในกรรมร่วมโดยรวมในตอนแรก-ปู่แท้ๆ ของคาร์ล จุง เป็นลูกชายลับๆ นอกสมรสของเกอร์เธ คาร์ล จุง ที่ตอนแรกไม่เชื่อในเรื่องกรรมโดยรวม (collective karma) เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่คนเราจะต้องรับผลกรรมที่ตนไม่ได้กระทำ-หากว่าผลกรรมนั้นเป็นผลของการกระทำจริงๆ ตามที่เป็นปรัชญาของอินเดียโบราณ ซึ่งคาร์ล จุง คุ้นเคยดี ทั้งที่ในตอนแรกไม่ค่อยเชื่อเท่าไรนัก-อย่างไรก็ดี ตอนหลังจุงได้ยอมรับกรรมร่วมโดยรวมทั้งหมดโดยดุษณี

ที่ผู้เขียนพูดมานั้น คือเรื่องของผัสสะหรือการสัมผัส และการรับรู้ที่เราสัมผัสด้วยประสาทความรู้สึกอันอยู่เบื้องหลังของการกระทำหรือกรรมของเรา-ทั้งมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ทั้งดีและไม่ดี-ที่คิดว่าจริงทางเต๋าและพุทธ และเดี๋ยวนี้แม้ในทางวิทยาศาสตร์เองโดยควอนตัมฟิสิกส์ เรา-ท่านจำนวนไม่น้อยรู้ว่าไม่ใช่ความจริงแท้ นั่นคือความเป็นสอง (dualism) ที่ผู้เขียนได้พูดได้เขียนลงในคอลัมน์นี้หลายครั้งหลายหนแล้ว ความเป็นสองที่อาจทำให้ผู้อ่านบางทีสับสนเพราะความไม่คุ้น ที่จริงมีความหมายของคำว่า "หลง" (delusion) ในโลภ โกรธ หลง ที่เราคนไทยคุ้นกว่า ความเป็นสองหรือ "หลง" ที่ทำให้เราแยกไม่ออกระหว่างตัวตนของเรา (Self) ที่เรารับรู้ กับโลกภายนอก-ด้วยตา หู กายสัมผัส ฯลฯ ของเราเองจากโลกภายนอก และภายในอันผิวเผินจากความจำจากสิ่งภายนอกนั้นแหละในอดีตที่เราระลึกได้ ซึ่งก็คือความคิดนั่นเอง-ที่เห็น ได้ยิน และรู้สึกด้วยการสัมผัสและอื่นๆ (หรือ senses) อันเป็นการรับรู้ของเราเอง ทำให้เราแยกส่วนเป็นอัตวิสัย (subject) และภาวะวิสัย (object) หรือผู้สังเกต (observer) และสิ่งที่ถูกสังเกต (observed) ซึ่งเป็นพื้นฐานของความรู้ และระบบทุกระบบที่เรามีเราใช้ทั้งหมด ซึ่งก็คืออารยธรรมตะวันตกนั่นเอง โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจการตลาดเสรี-ที่เราชาวตะวันออกคลั่งไคล้ใหลหลงกันเป็นนักหนา ไม่ว่าคำว่าโลกาภิวัตน์ การแข่งขันกัน บริโภคนิยม เทคโนโลยี จีดีพีความก้าวหน้า กระทั่งวัตถุนิยมแมทีเรียลิสม์ทั้งหลายทั้งปวง ที่กล่าวมานั้นถือได้ว่าเป็นหัวใจ หรืออย่างน้อยก็เป็นอุดมการณ์ของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม การตลาดเสรี ระบบเศรษฐกิจที่ทุกชุมชนสังคมประเทศชาติ ทั่วทั้งโลกใช้หรือปรารถนากันถ้วนหน้า ทั้งเพื่อปัจเจกบุคคลและเพื่อสังคมประเทศชาติ รวมทั้งสังคมรัฐสวัสดิการและประเทศสังคมนิยมมาร์กซิสม์ โดยไม่เคยแยแสต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือว่าจะมีวิสัยทัศน์ต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์วิทยาเลยแม้แต่น้อย นักเศรษฐศาสตร์บางคนในประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา จะใช้คำพวกนี้บางคำด้วยซ้ำเพื่อแสดงวุฒิภาวะของตัว...อนิจจา

ผู้เขียนและคนจำนวนไม่น้อยของโลก มีความเชื่อมั่นหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า การพัฒนาชาติในรูปแบบที่เรากำลังทำอยู่ หรือว่าอารยธรรม "สมัยใหม่" และระบบทุกระบบที่เราสร้างขึ้น พร้อมกับนำมาใช้พัฒนาสังคมเพื่อคุณภาพของชีวิตมนุษย์แต่เพียงเผ่าพันธุ์เดียวนั้น ผิดทั้งธรรมชาติและคุณธรรม (virtue) อย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะว่าทั้งหมดนั้น ไม่เคยและไม่ได้ตั้งอยู่บนความรู้ที่เป็นความจริงที่แท้จริงเลยแม้แต่น้อยนิด หากแต่ตั้งบนความรู้ที่ได้มาจากความรู้สึก หรือเวทนา หรือประสาทสัมผัส (senses) เช่นที่ตาเห็น หูได้ยิน บอกเรา ซึ่งความรู้สึกเรื่องของเวทนาและอารมณ์ จะเป็นความจริงที่แท้จริงได้อย่างไร? ที่เห็นหรือได้ยินจึงเป็นเรื่องของความเป็นสอง (dualism) หรือความจริงทางโลกทางสังคม ที่ไกลจากความจริงแท้นัก-ทั้งในทางศาสนากับในปัจจุบัน ทางฟิสิกส์แห่งยุคใหม่-ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นความรู้กับระบบทุกๆ ระบบที่เป็นพื้นฐานที่เราสร้างหรือใช้กันทั้งโลกนั้น จึงผิดและผิดอย่างว่ามาตั้งหลายร้อยปี

จากวันนั้น-เมื่อหลายร้อยปีที่ว่านั้น-ถึงวันนี้ มนุษยชาติได้มีวิวัฒนาการทางกายแทบจะเสร็จสิ้นแล้ว จึงมีแต่วิวัฒนาการทางสังคมมาตลอดเวลา วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่มากๆ โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคของเหตุผล หรือตั้งแต่มากกว่า 500 ปีมานี้ แทบว่าจะขึ้นต่อกับความรู้ (knowledge) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์กายภาพที่ตาเห็น หูได้ยิน ฯลฯ แทบว่าเพียงอย่างเดียว ซึ่งความรู้ที่เรารับรู้จากประสาทสัมผัส (senses) ของเราที่ล้วนแล้วแต่ไม่จริงอย่างแท้จริง เป็นแต่ความรู้สึก เป็นเวทนาที่แยกออกจากอารมณ์ไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่ามนุษย์เราจะมีวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วมาตลอดเวลา ดังนั้นระบบทุกๆ ระบบของสังคมที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโต-แล้วนำมาใช้พัฒนาสังคม ความรู้เหล่านั้นจึงเป็นความรู้แห่งความรู้สึกทั้งสิ้น เสมือนมีม่านบังตาปิดเอาไว้ จึงหาใช่ความจริงที่แท้จริงไม่-มนุษย์เรากำลังเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณบ้างแล้วแม้ในขณะนี้ แต่จะประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตอย่างแท้จริงและทั่วทั้งโลก ก็เมื่อภายหลังการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่อย่างปุบปับฉับพลันทันทีทันใด จากมหาภัยธรรมชาติอันสุดจะคาดคิดภายใน 2012-13 นี้เป็นส่วนใหญ่ ดังที่ผู้เขียนได้เขียนในช่วงหลังๆ มานี้ หลังจากปี 2013 หรือภายในทศวรรษนี้เป็นต้นไป มนุษยชาติ-ส่วนที่เหลือที่จะมีไม่มากนัก-ก็จะไม่หวนกลับไปใช้รูปแบบของสังคมเก่าเดิม หรือกระบวนทัศน์เก่าๆ เดิมๆ อีกเลย รวมทั้งความรู้ที่ตั้งอยู่บนประสาทสัมผัสความรู้สึก หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกายภาพเพียงอย่างเดียวอีก กระบวนทัศน์ใหม่ของสังคมทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีจิตนำกาย หรือให้ยิ่งกว่านั้นให้จิตวิญญาณ (spirituality) เป็นฝ่ายนำอารยธรรมที่เราเคยเรียกว่าอารยธรรม "สมัยใหม่" อันมีกิเลสตัณหาและอวิชชาเป็นหลักการแต่เพียงด้านเดียวจริงๆ กับการมองมนุษยชาติเป็นสัตว์ ด้วยการมองด้านของรูปกายและวัตถุหรือชีววิทยาเพียงอย่างเดียว ก็จะจบสิ้นหมดลง ตั้งแต่นี้ต่อไปมนุษยชาติก็จะอยู่กับความจริงที่แท้จริง อยู่กับฟิสิกส์ใหม่ที่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความแน่นอน มีแต่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยงกันกับทั้งหมด ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์และทฤษฎีควอนตัม ทั้งสองทฤษฎีซึ่งจักรวาลให้มา เพื่อให้เรารู้และพิสูจน์ความจริงแท้นั้น ตั้งแต่ต่อไปนี้ (ด้วยวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ หรือ noogenesis) มนุษยชาติจะได้อยู่กับความถูกต้องเสียที พอกันทีกับสังคมแยกส่วนที่แตกแยก พอกันทีกับเศรษฐกิจบริโภคนิยม การตลาดเสรีที่เอื้อแต่ความโลภ พอกันทีกับการเหยียบย่ำเอาเปรียบสิ่งแวดล้อม-ระบบนิเวศน์ธรรมชาติ พอกันทีกับการก่อการร้ายและสงคราม ฯลฯ ได้เวลาแล้วที่มนุษยชาติจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มรูปแบบ และมีจิตวิวัฒน์สู่ระดับจิตวิญญาณไล่สูงขึ้นไปเสียที.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/030110/15804
4529  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : มันอาจจะมาตรงเวลาก็ได้ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:39:49

 
 
ความแน่นอนกับความไม่แน่นอนนั้น  หากมันยังไม่ได้เคลื่อนไปสู่จุดที่สุดของมันจริง  มันก็มีความหมายไม่แตกต่างกัน  เพราะฉะนั้น  เรื่องของบทความวันนี้จึงตีกันเผื่อเหนียว  ที่พูดว่ามันอาจจะมาตรงเวลาก็ได้นั้น  หมายถึง  ค.ศ.2012  ที่ผู้เขียนได้ย้ำถึงความเป็นไปได้ของสภาพการณ์สองอย่างสองประการ  อันสำคัญยิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นกับโลกและกับสังคมของมนุษย์ทั่วทั้งโลกเลย  โดยจะไม่มีประชาชนคนใดหรือชุมชนสถานที่ไหนได้รับการยกเว้น  แต่ไม่ใช่โลกแตกอย่างแน่นอน  อาจจะพังไปบางส่วนโดยเฉพาะไบโอสเฟียร์  (biosphere)  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สุดจะยิ่งใหญ่ที่ดาวเคราะห์โลก   อย่าว่าแต่ไม่เคยเห็น  แต่ทว่าแม้แต่ฝันถึงก็ไม่เคยฝันมาก่อน  อย่างที่เนชันแนลจีโอกราฟิกแมกกาซีน  ฉบับเดือนธันวาคม  2009  นำโฆษณาของไอบีเอ็มมาลง  "สนทนากับดาวเคราะห์โลกผู้ทรงปัญญา"  ว่าต่อไปนี้  "คือบัญชาที่สั่งให้  (ใครสั่ง?  สวรรค์รึ?)  ดาวเคราะห์โลกจะต้องเปลี่ยนแปลง  ซึ่งก็คือบัญชาที่สั่งให้ดาวเคราะห์โลกจะต้องมีปัญญา"  นั่นคือ  บัญชาที่ทำให้ดาวเคราะห์โลกหรือมนุษยชาติ  จำต้องเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนทั้งสองด้าน  คือโลกกายกับจิตมนุษย์  อย่างหนึ่งไม่ดีกับอย่างหนึ่งดี  กายอาจไม่ดี  แต่จิตอาจจะเรียกว่าดีก็ได้  นั่นคือสภาวะล่มสลายทางโลกแห่งรูปกายภาพ  กับการวิวัฒนาการของจิตมนุษย์สู่จิตวิญญาณ  (หรือ  noosphere)  แต่มันก็เป็นเรื่องของดุลยภาพที่เป็นธรรมชาติอย่างปกติ  ซึ่งจะเกิดขึ้น-ในมาตรของโลก-อาจเรียกว่าทันทีทันใดก็ได้  ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าสภาพการณ์ทั้งสองอาจจะเกิดขึ้นจริงๆ  ก็ได้  นั่น-เพราะว่ามีเหตุผลพร้อมมูลทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์  อย่าลืมว่าในทางปฐพีวิทยานั้น  มนุษยชาติมีความสุขกายสบายใจมานานนักหนา  เพราะว่าเราอยู่ในยุคแห่งอินเตอร์เกลเชียลพีเรียด  เรามีความสนุกสบายกับกายวัตถุนิยมกับความรู้ผิดๆ  ที่คิดว่าถูกคิดว่าจริง  อยู่กับระบบทุกๆ  ระบบที่ได้มาจากความรู้ผิดๆ  นั้น  ไม่ว่าระบบนั้นจะเป็นระบบของสังคม  ระบบการเมือง  ระบบเศรษฐกิจ  ระบบการศึกษา  กระทั่งระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน  ที่มีเงินและบริษัทยาเป็นนายและประชาชนทั้งโลกเป็นทาส

     ผู้เขียนได้พูดได้เขียนเรื่องของปี  2012  มานานร่วม  10  ปีแล้ว  และที่เขียนเพราะมีเหตุผลที่เป็นความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์  ทั้งทางศาสนา  ทั้งหมดไม่ใช่ว่ามีเจตนามองโลกในแง่ร้าย  เพราะว่าจริงๆ  แล้วการที่มองโลกด้านหนึ่งด้านใดโดดๆ  เพียงด้านเดียวนั้นไม่มี  มันจะมีสองด้านเสมอ  เป็นดีกับชั่ว  เป็นซ้ายหรือเป็นขวา  เป็นข้างบนหรือล่าง  เป็นหน้าหรือหลัง  สองขั้วสุดโต่งเสมอไป  ดุลยภาพหรือมัชฌิมาปฏิปทาคือชีวิต  ฉะนั้นเอง  ความทุกข์ทรมานไม่ชอบใจกับความสุขความพอใจ-ในความเห็นส่วนตัว-เป็นเรื่องที่มีผ้าคลุมบางๆ  กั้นขวางไว้เท่านั้นเอง  ทำไมชีวิตถึงจะต้องสนุกอย่างเดียว?  ประเด็นคือ  มันมีเหตุผลที่เป็นภาพรวมของชีวิตและมนุษยชาติจริงๆ  คิดดูให้ดีๆ  ที่ผู้เขียนจำเรื่อง  2012  ได้แม่น  ส่วนหนึ่งเพราะเป็นผู้เขียนเองที่แปลวิทยานิพนธ์ของซูซาน  แคนนอน  ตอนที่เธอทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย  และหนังสือพิมพ์  ครับ-อนาคตที่เป็นบวก  (Yes! The  Positive  Future,  2000)  เอาธีสิสของเธอ  (ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม)  มาลง  วิทยานิพนธ์ของเธอได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและอารยธรรมโลก  "สมัยใหม่"  ที่จะเกิดขึ้นและจำต้องเกิดขึ้นในศตวรรษที่  21  นี้  ในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดในสี่รูปแบบ  ซึ่งเธอได้เสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอนั้น  ซึ่งสังคมอารยธรรมที่เรามีเราใช้กันอยู่มาช้านาน  จนถึงในขณะนี้นั้นมันจะจบสิ้นลง-ขึ้นกับสถานภาพของชุมชน  สังคมของประเทศที่จะลุกลามไปทั่วทั้งโลก  กับสภาพการณ์ของระบบยุติธรรมและจิตสำนึกโดยรวมของประชาชน  (law  and  level  of  mind)  ในขณะนั้นๆ  ซึ่งในทั้งสี่รูปแบของสังคมหรือประเทศต่างๆ  ที่จะค่อยๆ  ลุกลามไปทั่วโลก  ถ้าว่ากันจริงๆ  แล้วซูซาน  แคนนอน  ดูจะเขียนไปในทำนองว่า  น่าจะเป็นรูปแบบของสังคม  อนารยธรรมและความป่าเถื่อน  (anarchy)  มากกว่ารูปแบบใด  ทั้งนี้ก็เพราะว่าซูซาน  แคนนอน  คงจะเอาจิตใจของคนในสังคมขณะนี้  กับสภาพของระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลและของประชาชนในเมือง-นครใหญ่ๆ  ของประเทศตะวันตก  เช่น  อเมริกา  หรือยุโรปเป็นบันทัดฐาน  (รัฐบาลก็ไม่มีคนอยากเป็น  เพราะไม่มีเกียรติและต้องรับผิดชอบสูง  แถมไม่มีเงินเพราะเอาเงินไปช่วยประชาชนที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหมด)  ในธีสิสของซูซาน  แคนนอน  นั่นเองที่ผู้เขียนได้ความคิดเรื่องปี  2012  ของพวกนิวเอจ  ที่ประชากรจำนวนไม่น้อยกวาหนึ่งในสามของโลกเชื่อ  (the crash  of  2012!)

     นั่น-เสริมเติมคำทำนายของศาสนาทุกศาสนา  กับความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าโลกจะร้อน  "ดุจนรก"  หรือน้ำท่วมโลก  หรือยุคน้ำแข็งใหม่  หรือการย้ายขั้วโลก  อุกกาบาตและอื่นๆ  ที่ผู้เขียนค้นหามาเขียนเล่าว่า  ทั้งหมดอาจจะเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ  วันนี้  หรือวันที่  21  December  2012  เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาตรงกับจุดศูน์กลางของกาแล็กซี  (Jose  Arguelles:  Galactic  Research  Institute,  www.lawoftime.org;  and  Major  Jenkins:  Galactic  Alignment,  According  to  Mayans,  Egyptians,  Vedas  Tradition,  2006)  โดย  ดร.โฮเซ  อาร์กีเลส  กล่าวว่า  "วันที่   21  เดือนธันวาคม  ค.ศ.2012  คือวันที่ดวงอาทิตย์ของเราจะเคลื่อนมาทับกับจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีของเราพอดี  (ระบบสุริยะจะโคจรไปรอบๆ  จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ครบหนึ่งรอบ  โดยใช้เวลา  250  ล้านปี)  ซึ่งวันนั้นคือวันสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของจักรวาลจากกายมาสู่จิต  (โลกได้ผ่านวิวัฒนาการของ  physicoshere-biosphere  มาแล้ว  ต่อไปนี้จะเป็นเวลาของ  biosphere-nosphere  transition-ตามที่  เตยา เดอ  ชาดัง  ศรีอรพินโธ  และวลาดิเมีย  เวอนาดสกี  มองเห็นในสมาธิ  ต่างกรรมต่างวาระกัน)-สำหรับประชาชนส่วนที่รอดพ้นธรณีประตู  (ของความตายและความล่มสลายระดับโลกมาได้)"  นัน-โฮเซ  อะกีเลส  บอกว่าโลกไม่ได้แตก  แต่หากเป็นการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของโลกของจักรวาล  จากสิ่งไม่มีชีวิต  (physicosphere)  มาเป็นวิวัฒนาการของชีววิทยา  หรือสิ่งมีชีวิตในอดีต  (biosphere)  ซึ่งโฮเซ  อะกีเลส  ได้บอกว่าวิวัฒนาการทางชีววิทยาได้ก้าวมาถึงจุดจบแล้ว-และโฮเซ  อะกีเลส  ก็กล่าวว่า  "ความสำเร็จของเทคโนโลยี  (ที่โฮเซ  อะกีเลส  เรียกว่า  technosphere  อันเป็นส่วนของ  biosphere-ที่ข้อมูล  (information)  ซึ่งข้อมูลนั้นก็คือความหมาย  (meaning)  ที่จะต้องแปลด้วยจิตรู้หรือจิตสำนึกซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณ  (spirituality)  ตามเสปกตรัมของจิตไปเรียบร้อยแล้ว  (spectrum  of  consciousness)  ถึงจะแปลความหมายได้ถูกต้องตามเจตนาของจักรวาล  เพราะฉะนั้นปี  2013  เป็นต้นไป  จะเป็นปีที่จะมีวิวัฒนาการของจิตสู่จิตวิญญาณหรือธรรมจิต  (spirituality  คือการเริ่มต้นของ  noosphere) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิวัฒนาการของโลกแห่งชีวิต  ซึ่งมีจิตของมนุษยชาติเป็นจุดหมายปลายทางนั่นเอง  (physicosphere-biosphere-noosphere)  ถามว่ารู้ได้อย่างว่าจิตมนุษย์คือจุดหมายปลายทางของวิวัฒนาการของจักรวาล   หรือถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าวิวัฒนาการมีแค่สาม  spheres  เท่านั้นเองหรือ?  แล้วโลกพัง  และประชาชนจำนวนมากยิ่งกว่ามากที่ตายด้วยภัยธรรมชาติหลากหลายที่ว่านั่น  มันเกี่ยวข้องกับจักรวาลอย่างไร?  คำตอบที่ถามทั้งหมดนั้นได้อธิบายไว้แล้วในพารากราฟนี้  กรุณาอ่านซ้ำๆ  หลายๆ  หน  เพราะว่าอาจจะเป็นที่ผู้เขียนเองเขียนไม่กระจ่างพอก็ได้ 

     ไล่มาตั้งแต่โลกได้มีชีวิตเกิดขึ้นมา  จนกระทั่งมีมนุษยชาติเมื่อประมาณสองแสนปีที่แล้ว  มนุษยชาติในภาพรวมเพิ่งจะย่างเท้าเข้าสูวัยรุ่น  ไม่เคยทำอะไรถูกต้องธรรมชาติเลย  หากว่าสิ่งที่ผู้เขียนคิด  วิเคราะห์  เชื่อมั่น  ตามที่ได้เขียนเล่ามาในบทความต่างๆ  ซึ่งผู้เขียนได้มาจาก-น้อยหรือมาก-ศาสดา  ปราชญ์  นักวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงมาทั้งหมด  ล้วนแสดงภาพใหญ่และภาพรวมของวิวัฒนาการ  (ของจักรวาล  ของโลกมนุษยชาติกับสังคม)  อย่างน่าสนใจยิ่ง  คือแสดงภาพลักษณ์ที่สอดคล้องต้องกันกับการวิวัฒนาการ  และการเจริญเติบโตของเด็กหรือมนุษย์แต่ละคนเป็นปัจเจกอย่างใดก็อย่างนั้น  (ดูญอง  เปียเจต์  และโจเซฟ  ซี. เพียร์ซ  ด้วย)  ในความเห็นของผู้เขียน  มนุษยชาติยังเป็นเด็กที่เพิ่งย่างก้าวเข้าสู่วัยรุ่น  ความรู้เรื่องของโลกรอบๆ  ตัวและตัวตนของตัวเอง  ส่วนใหญ่ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรงตั้งแต่ครบ  3  ขวบบริบูรณ์มาในช่วงการเจริญเติบโตระหว่างนั้น  ทำให้ตัวเองมั่นใจว่า  ตนเองได้เรียนรู้โลกรอบๆ  ตัวที่สำคัญต่อ  "การอยู่รอด"  กับเรียนรู้ตัวตนของตัวเองได้ทั้งหมดแลัว  เพราะไม่รู้ว่าที่ตัวเองคิดอย่างมั่นใจว่า  ที่คิดนั้นเป็นแต่เพียงได้เรียนรู้เฉพาะที่สำคัญๆ  ของหนึ่งการเรียนรู้  ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดถึงสามการเรียนรู้-รู้รอด  รู้เพื่อรู้  (intellectual  การเข้าโรงเรียน)  และรู้แจ้ง-ดังนั้นเด็กวัยรุ่น  (ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยฮอร์โมนเพศ)  จึงทะนงตน  "ข้าใหญ่"  ไปตามเพศนั้นๆ  นั่นคือธรรมชาติของวิวัฒนาการ  ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจะต้องเป็นไปตามนั้น

     ฉันใดฉันนั้น  มนุษยชาติโดยเผ่าพันธุ์ก็ต้องเป็นเช่นนั้น  ตามที่  ปิแอร์  เดอ  ชาดัง  ศรีอรพินโธ  วลาดิเมีย  เวอนาดสกี  และนักจิตวิทยาแทบจะทุกคนรวมทั้ง  เคน  วิลเบอร์  (spectrum  of  consciousness)  จะมองเรื่องของวิวัฒนาการไม่ว่าของสิ่งใด  มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต  รวมทั้งจักรวาลกับโลก  หรือมนุษยชาติกับสังคมของมนุษย์ล้วนคิดไปทำนองนั้น  นั่นคือ  physicosphere-biosphere-noosphere  ที่กล่าวมาข้างต้น  ซึ่งก็คือหัวใจของอิทัปปัจจยตา  การคลี่ขยายเป็นวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุดที่วิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบ  (non-linear  dynamicity)

     เพราะฉะนั้น  ผู้เขียนจึงคิดว่าครั้งนี้  "มันอาจจะมาตรงเวลาก็ได้"  มัน-ในที่นี้คือสองอย่างสองประการที่ได้อ้างถึง-ความล่มสลายบางส่วนที่อาจเป็นส่วนใหญ่ของโลกแห่งรูปกาย  กับการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของจิตสู่จิตวิญญาณ  (biosphere  to  noosphere)-ซึ่งหมายความว่าต่อไปนี้มนุษยชาติและสังคมของมนุษย์  โดยรวมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดใหญ่หลวง  จนเราไม่อาจมองเห็นหรือคาดเดาอย่างไรได้แม้แต่น้อย  เพราะว่ามันไม่เคยมีมาก่อน  ประเทศไทยจะไม่มีหรือมีน้อยในปัญหาและวิกฤติต่างๆ  การขัดแย้งแตกแยก  ปัญหาแยกดินแดน  ปัญหาข้าราชการกับนักการเมืองคอรัปชั่น  กระทั่งปัญหาเศรษฐกิจ  การศึกษา  ยาเสพติด  ฯลฯ  จะน้อยลงๆ   ครั้งแรกที่  physicosphere  เปลี่ยนเป็น  biosphere  หรือวงจรแห่งชีวิตนั้นเกิดขึ้นเมื่อร่วม  3,500-4,000  ล้านปีมาแล้ว  และโลกก็ไม่แตกด้วย  ในทางวิทยาศาสตร์คาดกันว่า  มีการเคลื่อนย้ายของแผ่นเปลือกโลกขนานใหญ่   มีดาวหางอุกกาบาตวิ่งมาชนโลก  มีการย้ายขั้วโลกหรือบางส่วนมาแล้ว-เฉกเช่นครั้งนี้-ทั้งนั้น

     ทั้งหมดจึงมากกว่าเป็นไปได้  อย่าลืมว่าการอธิบายปฏิทินของชาวมายา  โฮปี  อียิปต์และฮินดูโบราณนั้น  ล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญยิ่งกว่าประวัติศาสตร์ที่บุคคลเขียนขึ้นมากนัก  ความล่มสลายโลกในครั้งนี้  หากจริงคงจะได้พิสูจน์เสียทีว่า  ระหว่างบังเอิญและกายวัตถุนิยม  กับจิตและจิตวิญญาณนั้น  อันไหนคือความจริงแท้กว่ากัน.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/271209/15580
4530  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : ตะวันตกกับวัตถุนิยมโลกพัง-แผนของจักรวาล? เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:38:33

 
 
โลกนี้เหมือนความฝันอย่างแท้จริง   อะไรๆ  เท่าที่เรารู้เราเห็นทั้งหมดทั้งสิ้นเลยล้วนแล้วแต่เป็นเช่นหมอกควันหรือเป็นเช่นความฝันที่ไม่มีส่วนของความจริงแม้แต่น้อย  นั่นคือความจริงแท้ๆ  ที่ละเอียดสุดละเอียดเหนือควอนตัมที่นักฟิสิกส์ส่วนที่ไม่น้อยคิดและเชื่อ  แต่นักวิทยาศาสตร์กายวัตถุนิยมไม่เชื่อ  ไม่อ่าน  ไม่ติดตามงานวิจัยจึงไม่รู้  แถมหรือจ้างให้เราที่เป็นคนทั่วๆ  ไปก็ไม่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในจักรวาล   (แห่งนี้)  ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสมมติหรือสมุตติสัจจะ  นักวิทยาศาสตร์ในระยะแรกที่ค้นพบควอนตัมฟิสิกส์ใหม่  รวมทั้งไอน์สไตน์เองยังไม่เชื่อและพูดว่า  "พระเจ้าไม่เล่นการพนันหรอก"  (God  does  not  play  dices)  คนเราเกิดมาสืบเนื่องเปลี่ยนแปลง   แล้วก็ตายไป  ต่างเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น  ซึ่งศาสนาพุทธหรือศาสนาที่ได้มาจากลัทธิพระเวทว่าไว้เหมือนๆ  กัน  หรือแม้แต่ศาสนาใหญ่ๆ  อื่นๆ  ที่กล่าวคล้ายๆ  กัน   หรือแม้ในปัจจุบันวันนี้เราจะมีวิทยาศาสตร์ใหม่แล้ว  มีแต่สัมพัทธภาพกัน  มีควอนตัมเม็คคานิกส์แล้ว  เราที่เป็นคนส่วนใหญ่มากๆ  ก็ยังไม่เชื่อกัน  เพราะว่ามันยากยิ่งจะเชื่อ  เนื่องจากมันขัดกับสามัญสำนึกและขัดกับความเคยชินของเราไปไกลเหลือเกิน   เรายังไปดูหนัง  ดูละคร ดูมหรสพกัน   เราจึงแยกไม่ออกว่าหนังละครที่ว่า  จริงหรือไม่จริง  นั่นเพราะอะไร?  เราไม่เคยฉุกคิดว่า   แท้จริงแล้วสามัญสำนึกก็ดี   ความเคยชินก็ดี  เราได้มาและเชื่อมาอย่างไร?  เราคิดว่ามนุษยชาติใหญ่ที่สุดในโลก  เพราะแม้แต่ช้างหรือปลาวาฬก็ยังแพ้มนุษย์จนเราฆ่ามันจนเกือบเกลี้ยง   เราใหญ่เพราะเราชนะเขาทั้งโลก  รวมทั้งตัวโลกเอง  จักรวาลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล   แม้เราจะคิดว่ามันคงจะสิ้นสุด  แต่มันก็ใหญ่  แถมพองตัว  (inflation)  ออกไปเรื่อยๆ   เพราะพลังงานมืดอย่างแทบไม่มีที่สิ้นสุดจนเราไม่มีทางรู้จักมันได้   ได้แต่คิดคำนึงจินตนาการกระทั่งระบบสุริยะทั้งหมดทั้งสิ้นเอง   หากเรานำมาเปรียบเทียบกันดูก็จะพบว่าระบบสุริยะจะมีขนาดเท่ากับจุดเล็กๆ  จุดหนึ่งของโลกเท่านั้น  จักรวาลที่ใหญ่ไพศาลนั้น - เต็มไปด้วยนพลังงานหรือพลังมืด  (ส่วนใหญ่)  กับสสารมืด  (ส่วนน้อย)  โดยมีสสารวัตถุที่เรามองเห็นและรู้จัก  เช่น  กาแล็กซี  ดาว  และเนบูลา  (ส่วนน้อยนิดไม่ถึง  4%) - เทียบกับโลกเราทั้งหมดหรือใหญ่กว่าโลกก็ได้   นั่นคือจักรวาลวิทยาศาสตร์ใหม่ที่เรารู้ในปัจจุบัน  ที่สำคัญสำหรับบทความของวันนี้ก็คือ  ความเป็นตะวันตกหรือตะวันออกที่ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์บ่งบอก  ก็เป็นเช่นสมุตติสัจจะทั้งหลาย  เราเรียกตะวันตกหรือตะวันออกก็เพราะเราดูและมองเห็นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า   และจะขึ้นคนละทางกันเป็นตรงกันข้าม  ดวงอาทิตย์จะโผล่ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเสมอ   แต่นั่นสัมพันธ์กับคนที่มองหรือสังเกตว่ายืนอยู่ที่ตรงไหน?  ในขณะที่ดวงอาทิตย์กับโลกต่างเป็นลูกทรงกลมที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศ  ต่างก็ไม่รู้เหนือ  ใต้  ตะวันออก  ตะวันตก  เพราะมันไม่มีจิตรู้หรือสมอง

     ในปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วไปในบ้านเราที่เป็นคนส่วนใหญ่มากๆ   ของประเทศ  รวมทั้งคนส่วนมากของประเทศด้อยพัฒนา   กำลังพัฒนาและประเทศที่เพิ่งพัฒนาใหม่ๆ  ในเร็วๆ  นี้  แม้แต่นักวิชาการหรือนักวิทยาศาสตร์เองจำนวนมาก  - ที่ต้องแยกจากคนในประเทศตะวันตก  เช่น   ยุโรปส่วนใหญ่หรือสหรัฐอเมริกา   ซึ่งได้พัฒนาอุตสาหกรรมมาเป็นเวลาช้านานนับเป็นร้อยๆ   ปีแล้ว - มักจะเป็นนักวัตถุนิยมกายภาพ  หรือแมตทีเรียลลิสต์  (materialist)  คือเชื่อในเรื่องของรูปธรรมที่แยกส่วน  เชื่อแต่สิ่งที่อวัยวะสัมผัสบอก  นั่นคือ  สิ่งที่ตามองเห็น  หรือหูได้ยินที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น   นอกจากนั้นคนส่วนใหญ่มากๆ  ที่ว่านั้น  ยังเชื่อในหลักการแยกส่วนต่างๆ   ตามที่ตามองเห็น  หรือหูได้ยินนั้นๆ  ให้แปลกและแยกออกจากกัน  และแล้วต่างก็ทำงานของมันไปดุจหุ่นยนต์นาฬิกาเครื่องจักรกล   นั่นไม่ได้กล่าวโทษกัน  เพราะวิทยาศาสตร์แบบที่ว่านั้นมีมานานร่วม   500   ปี  หากนับตั้งแต่ที่เรารู้จักการเคลื่อนที่ของระบบสุริยะ  และดาวเคราะห์ต่างๆ   ที่โคเปอร์นิกัสและเคปเลอร์บอกเรา  ซึ่งต่อมานิวตัน   กาลิเลโอพิสูจน์ได้เบ็ดเสร็จทางคณิตศาสตร์   รูปสิ่งไม่มีชีวิตก็เช่นนั้น  ชีวิตกับสังคมก็เช่นนั้น  ทั้งหมดทั้งสิ้นที่พูดมานั้นเรียกว่าวิทยาศาสตร์   ซึ่งก็คือความก้าวหน้าศิวิไลซ์ - ที่มีในประเทศทางตะวันตกก่อนที่จะแพร่ทางตะวันออกนานนัก   ซึ่งวิวัฒนาการของมนุษยชาติของโลกของจักรวาลเป็นมาเช่นนั้นราวกับว่ามันมีแผนการ  (design)  ของจักรวาลให้เป็นเช่นนั้น  เป็นตะวันออกที่จีนกับอินเดีย  เป็นตะวันตกที่เมดิเตอร์เรเนียนกับกรีซ   พูดง่ายๆ  คือ  ความรู้ที่ว่านั้นทีแรกไม่ใช่ของประเทศไทยเรา   หรือเป็นของตะวันออกเรา  แต่เป็นของฝรั่งเขา  เป็นของตะวันตกเขา  การเป็นตะวันออกและตะวันตกนั้นเกิดจากหลักการแยกส่วนหรือที่ตามองเห็น  อันเป็นปรัชญาของกรีซและของตะวันตก  ปรัชญาที่เชื่อว่าอะไรก็ตามที่ตาของมนุษย์มองเห็น   หูได้ยินหรือที่อวัยวะประสาทสัมผัสรับรู้บอกแก่มนุษย์เรานั้น  ถูกต้อง  เหมาะสม  และเป็นความจริงที่แท้จริง  100  เปอร์เซ็นต์เต็ม  ซึ่งแตกต่างกันที่ปรัชญาตะวันออกบอกเรา  และเราเคยเชื่อมานานเป็นตรงกันข้าม  แต่ในตอนนั้น   เรา - ที่เป็นชาวตะวันออกกลับไปมองเห็นว่าฝรั่งดีกว่าเรา  จึงพร้อมใจกันโยนทิ้งของเก่าของเราที่เชื่อมานาน   เห็นปรัชญาของกรีซของฝรั่งตะวันตกดีและงาม  เห็นว่าฝรั่งทั้งฉลาดและเก่งกว่า  เราที่อยากดีอยากงามทั้งยังอยากฉลาดอยากเก่ง  จึงพร้อมใจกันเอาอย่างฝรั่งเขาบ้าง  ความดีความงามและความฉลาดความเก่งถูกเราคิดว่าเป็นอารยธรรมความเจริญศิวิไลซ์เยี่ยงฝรั่ง   ซึ่งเป็นเป้าหมายของประเทศชาติ  หรือของสังคมตะวันออกทุกๆ  สังคมตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

     วิทยาศาสตร์นั้นคลี่ขยายวิวัฒนาการเช่นความรู้อื่นๆ  คือ  จากน้อยและเรียบง่ายไปสู่ความมากและซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  ตามลูกศรแห่งเวลา  (arrow  of  time)  ก่อนหน้านั้น  มนุษย์ที่ชอบคิดคำนึงจินตนาการล้วนแล้วแต่เป็นนักปรัชญาที่พยายามจะอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวและในตัว  คือ  ทั้งภายนอกและภายใน  ทำให้เกิดมีความแตกต่างกันของนักคิดนักปรัชญาระหว่างตะวันตกกับตะวันออก  นักคิดนักปรัชญาตะวันตกจะสนใจเฉพาะสิ่งที่ตั้งอยู่ภายนอก  คือ  สิ่งที่ตามองเห็น  หูได้ยิน  หรือรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอกทั้ง  5  เป็นส่วนใหญ่  กับสิ่งที่ประสาทสัมผัสภายในตัวอีกหนึ่งที่ได้จากการรับรู้จากจิตรู้หรือจิตสำนึกประกอบเป็นความคิดจากการระลึกความจำจากภายใน  และคิดว่าทั้งหมดเป็นความจริงที่มีหนึ่งเดียวเท่านั้น  (monism)  นักคิดนักปรัชญาเหล่านี้จึงกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์   และนักจิตวิทยากับนักการศึกษา  ส่วนนักคิดนักปรัชญาของตะวันตกที่สนใจเรื่องของจิตรู้หรือความคิดจิตสำนึกบ้าง   ก็กลายเป็นนักเทววิทยาและนักศาสนาที่มีความเชื่อศรัทธาแทบจะเป็นประการเดียว  แต่นักคิดนักปรัชญาทางตะวันออกผิดจากนั้นเป็นตรงกันข้าม  ชาวตะวันออกจะถูกสอนว่าสิ่งที่ตามองเห็น   หูได้ยิน  หรือสิ่งที่ประสาทสัมผัสรับรู้บอกเรานั้น   ไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง  เป็นเพียงมายาหรือภาพลวงตาจากความเป็นทวิลักษณ์  หรือความเป็นสอง  (dualism)  แต่ความจริงที่แท้จริงซึ่งอยู่ล้ำลึกยิ่งกว่านั้น  ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อธรรมดาๆ   ได้ยินด้วยหูธรรมดาๆ  หรือรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอก   หรือแม้แต่ภายในเป็นความคิดจิตรู้  หรือความคิดจิตสำนึก  ซึ่งก็คือมโนทัศน์  (concept)  เพราะตามองไม่เห็น   หูไม่ได้ยิน  รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส  "รู้"  ด้วยจิตตื่นรู้อันเป็นความคิดต่างๆ  ดังนั้นบางทีและบางคนจึงใช้การรับรู้ด้วยกระบวนการภายในที่ไม่ต้องใช้ประสาทสัมผัสรับประสบการณ์ตรง   นั่นคือการติดต่อทางจิตไร้สำนึก - ระหว่างปัจเจกบุคคลกับจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล  หรือการติดต่อระหว่างจิตกับจิต - ซึ่งมนุษย์เราส่วนใหญ่มากไม่รู้กัน  โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้   แต่ปัจจุบันมีหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์แท้ๆ  ได้พิสูจน์ - โดยการวิจัยที่ยาวนานกว่า   30  ปี  (Dean  Radin  :  The  Conscious  Universe, 1997  ;  The  Entangled  Mind, 2007)  อย่างสิ้นข้อสงสัยกังขา  ซึ่งมีวิธีปฏิบัติด้วยวิธีปฏิบัติสมาธิต่างๆ  ตามศาสนาทุกศาสนาที่อุบัติขึ้นมาทางตะวันออกตั้งแต่กว่า  3,000  ปีมาแล้ว   ตะวันออกจึงแตกต่างจากตะวันตกเหมือนเป็นการมีแบบ  (design)  ให้เป็นตรงกันข้ามกัน  - คือต่างกันระหว่างภายในหรือจิตไร้สำนึกที่มองไม่เห็น  ซึ่งรวมทั้งการใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นนั้น  กับภายนอกหรือกายวัตถุและจิตสำนึกที่มองเห็นหรือจำและระลึกได้  ซึ่งควอนตัมฟิสิกส์พิสูจน์ได้ทั้งหมด   ทั้งทางคณิตศาสตร์และภายในห้องทดลองและทำซ้ำได้  แถมยังแม่นยำกว่าคลาสสิคัลฟิสิกส์ที่เป็นวิทยาศาสตร์กายภาพเก่าของนิวตันเป็นร้อยเป็นพันเท่า

     การเชื่อแต่รูปธรรมกายวัตถุหรือภายนอกเท่านั้นว่าเป็นความจริง   การเชื่อแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเก่าๆ  และเทคโนโลยีที่หยาบกระด้าง  แม้จะมีส่วนจริงตามที่ตามองเห็น  หรือหูได้ยิน   ซึ่งเป็นสภาวะของสัตว์โลกธรรมดาๆ  ซึ่งการเชื่อวิทยาศาสตร์เก่าๆ  และเทคโนโลยีแบบที่ว่า - ที่ยาวนานหลายร้อยปีย่อมจะสร้างจิตรู้หรือจิตสำนึกใหม่ให้เปลี่ยนไป  - เป็นความเคยชินใหม่  เป็นสามัญสำนึกใหม่ที่ด้านชาต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ  ที่ต่ำกว่า  หรือน้อยกว่าความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจอย่างสุดแสนสาหัส  มนุษยชาติทั้งผองจะต้องลิ้มรสทุกๆ  ความเจ็บปวดที่จะต้องเกิดขึ้นกับโลกเราภายในระยะใกล้ๆ   นี้อย่างแน่นอน  เป็นไปได้ที่จะเกิดภายในปลายปี   2012  และต้นปี  2013  นี้  ดังที่ศาสนาเกือบทุกศาสนา  และแม้ทางวิทยาศาสตร์ก็บอกไว้คล้ายๆ   กันว่าภาวะโลกร้อน  "ประดุจนรก"  นั้นจะเกิดขึ้นและต้องเกิดขึ้นอย่างไร้ทางหลีกหนีใดๆ   ไม่ว่าเราจะป้องกันอย่างไร?   หรือหาพลังงานทดแทน  ปลูกป่าหาคาร์บอนมาทดแทนทันหรือไม่?   สภาพโลกที่ว่ามันก็ต้องเกิด  เพราะว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะสลายไปทั้งหมดก็ต้องใช้เวลานานนับเป็นพันๆ   ปี  โลกและมนุษยชาติจะพากันย่อยยับจากภาวะโลกร้อน  ซึ่งจะร้อน  "ประดุจนรก"  ราวๆ  ปี  2020-2040  ซึ่งก่อนหน้านั้นนานนัก  (James  Lovelock  :  Revenge  of  Gaia,  2007)  ที่น่าแปลกคือ  เจมส์  ลัฟล็อก  กล่าวว่า  มนุษยชาติโดยเผ่าพันธุ์ที่เหลือน้อยเต็มทีจะมีอยู่แถบขั้วโลกเท่านั้น  ที่แปลกก็คือ   หนังสือของชาร์ลส์  แฮปกูด  (ที่อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  เขียนคำนำก่อนตายไปกว่า   1  ปี - อ้างแล้ว)  บอกว่าแผ่นเปลือกโลก  หรือขั้วโลกเหนือได้เริ่มย้ายมาหากรีนแลนด์ตั้งแต่ที่มีการวัดกันทีแรกในปี  1900  ต่อมาถึงปี  1968  มันย้ายเพียง  20  เมตร  และตั้งแต่นั้นมาขั้วโลกเหนือจะย้ายที่อยู่เรื่อยๆ   ปีหนึ่งๆ  ประมาณ  10  เซนต่อปี  และย้ายมากขึ้นเรื่อยๆ  จนขณะนี้ย้ายทุกวันไปทางกรีนแลนด์  อีกหน่อยก็ถึงไซบีเรีย  จีนและไทยเรา  ดังที่บริการการเคลื่อนที่ของขั้วโลกเหนือนานาชาติ  (IMPS)  บอกที่อธิบายการอ่อนไหวของเปลือกโลก  อธิบายแผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิดที่มีบ่อยและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

     จากที่ได้อ่าน  ได้คิดและเขียนมา  กับจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้มาและสะสมมากขึ้นตามวัยด้วยลูกศรของเวลา  ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะคิดย้อนกลับไปเมื่อยังเป็นเด็กที่เล็กมากๆ  และแม่บอกว่าที่เรามองเห็นหรือความจริงที่ประสบอยู่ทุกวันในชีวิตนั้นไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง   เป็นแต่ภาพลวงตา   เป็นมายา  แม่บอกว่าความจริงที่แท้จริงนั้นมี  แต่ต้องหา  คนเราเกิดมาต้องหาความจริงแท้สำหรับตัวเองกันทั้งนั้น  แต่ถ้าเราไปติดกับดักของสังคมตามที่ตาเห็น  เราติดกับของละคร  ติดกับความแปลกแยก  คนคนนั้นก็ต้องอยู่กับสังคมที่แปลกแยกไปเรื่อยๆ  จนเคยชินเป็นสันดาน  ตะวันออก-ตะวันตกมาแต่นั้น  ระบบทุกๆ  ระบบของสังคมมาจากนั้น  หรือการมีตะวันตก  มีวิทยาศาสตร์กายภาพ  มีทฤษฎีควอนตัมที่บอกว่าตะวันออก - ถูกแต่โลกพังไปแล้ว  นั่นเป็นแผนของจักรวาลรึ?.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/201209/15247
4531  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จักรวาลแห่งแสงเสียงและดนตรี เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:37:13

 
 
ทุกๆ ศาสนาใหญ่ในโลกเลยโดยไม่มียกเว้น พูดถึงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลว่าเป็นที่มาของแสงสว่าง หรือเป็นแหล่งของมหกรรมดนตรีซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ ที่มีการร้องหรือ "คำพูด" คลออยู่ด้วยตลอดเวลา หรือมีการอธิบายลักษณะจำเพาะของจักรวาลไว้ ทั้งสองอย่างที่กล่าวมานั้น คือเป็นแสงสว่างที่ศาสนาพราหมณ์ เต๋า วชิรญาณ พุทธศาสนา จะพูดถึงแสงอันกระจ่างใสที่เป็นพื้นฐานของจักรวาลเหมือนๆ กัน นั่นคือแสงที่พระเจ้าให้แสงสว่างอันเป็นพื้นฐานของจักรวาลแก่จักรวาลและโลก (24:3) ในศาสนาอิสลาม (God is the light of heaven and earth) ซึ่งในเถรวาทพุทธศาสนาจะพูดว่า วิญญานามัง อนิทัสสนามัง อนันตามัง สัพโตปภามัง หรือจะเป็นเสียง เป็นคำพูด หรือเป็น "ศัพท์" ของจักรวาลอันกูรู นานัก แห่งศาสนาซิกข์อธิบายไว้ หรือ "โอม" สัญญาแห่งจักรวาลในลัทธิพระเวท ดังที่จอเห็นแห่งคริสต์ศาสนาได้กล่าวว่า "ทีแรกมีแต่คำพูด คำพูดกับพระเจ้า คำพูดของพระเจ้าเอง" นั่นคืออะไร? ซึ่งศาสนาทุกๆ ศาสนาจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งแสงสว่าง (light) และเสียง-ดนตรี (sound or music) ของจักรวาลที่ทำให้เรารับรู้-การ "รู้" (know) ได้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงนั้น คือพื้นฐานของจักรวาลหรือความจริงแท้หรือพระเจ้า ทางฟิสิกส์ใหม่ที่สงสัยมานาน (Sir Arthur Eddington's mind stuff) ก็เพิ่งได้พิสูจน์เป็นองค์ความรู้ (academic knowledge) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ทั้งหมด (ทั้งแสงสว่าง เสียงหรือดนตรี และทั้งการรู้จากภาษา หรือข้อมูล information) คือพลังงาน หรือถูกนำพา (carrier) โดยพลังงาน ซึ่งคล้ายๆ กับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (J.J. Thompson) ที่มีขนาดต่ำมากๆ (VLF or very low frequency ขนาด 1-10 Hz) ซึ่งต่ำเท่าๆ กับคลื่นไฟฟ้าของสมองส่วนมาก นั่นคือการสั่นสะเทือน (vibration) อันเป็นคุณสมบัติของทุกสรรพสิ่งและทุกๆ ปรากฏการณ์-ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต-ของจักรวาลทั้งหลายทั้งปวง นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าการสั่นสะเทือนที่มีขนาดต่ำที่สุด คือต่ำกว่ารังสีคอสมิกมากนัก คือพลังงานละเอียดสุดละเอียดอย่างที่สุด (subtle energy) ซึ่งก็คือพลังงานปฐมภูมิที่แยกจากจิตไม่ได้นั่นเอง (James L. Oschman: Energy Medicine, Scientific Basis, 2003) ซึ่งตรงกันเป๊ะกับที่พุทธศาสนาบอก (B.Alan Wallace: Hidden Dimension, 2007) ว่าพลังงานปฐมภูมินั้นแยกออกจากจิตปฐมภูมิไม่ได้
 
แต่ทุกวันนี้ สิ่งที่พูดมาทั้งหมดนั้นกำลังจะจางหรือค่อยๆ หายไป โลกปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างน้อยแมกนีโตสเฟียร์ของโลก ที่คอยป้องกันพายุสุริยะจากจุดดำของดวงอาทิตย์ก็กำลังหายไป เราหลายๆ คนยังเชื่อเจเจ. ธอมป์สัน นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลที่อ้างข้างบนนั้นว่า แสงและเสียงดนตรีอาจต้องใช้สนามแม่เหล็กโลกหรือแมกนีโตสเฟียร์ เพื่อนำพาการสั่นสะเทือน (vibration) เพื่อการสรรค์สร้างนั้นๆ
 
นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับนักวิทยาศาสตร์กายภาพเก่า และเป็นไปได้ที่พร้อมกันนั้น ใครที่เป็นคนพูดเช่นนั้นมักจะถูกหาว่าเป็นคนบ้าหรือเพี้ยน โดยนักวัตถุนิยมแมตทีเรียลลิสต์แยกส่วน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาๆ ของสังคมหรือของโลกกายภาพสมัยก่อน ซึ่งทุกวันนี้คนที่คิดและเชื่อเช่นนั้นนับวันจะมีจำนวนน้อยลงอย่างรวดเร็ว เพราะวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ โดยเฉพาะควอนตัมเมคานิกส์สำหรับประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมมากๆ แล้ว คือรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์และสาธารณชนคนทั่วไปซึ่งเป็นชาวตะวันตก แต่นั่นไม่ใช่คนส่วนใหญ่หรือแทบจะทั้งหมดของประเทศที่ด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา หรือเพิ่งพัฒนาใหม่ๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์กายภาพเก่าๆ ซึ่งเป็นแมตทีเรียลลิสต์แยกส่วนเก่าๆ เหมือนเดิม โดยเฉพาะนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ที่เรียนจบมาจากเมืองนอกก่อนปี 1995
 
ในช่วงปลายๆ ของปี พ.ศ.๒๕๓๖ และต้นๆ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ผู้เขียนได้เขียนบทความว่าด้วยซิมโฟนีของจักรวาล ซึ่งเป็นพลังงานของจิตจักรวาลสองหรือสามบทความ ซึ่งในช่วงนั้นยังคิดว่าจิตจักรวาลยังเป็นคลื่นอนุภาค (quiff หรือสภาพทางควอนตัมของอนุภาค หรือสสารวัตถุสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง แต่ปัจจุบันโดยทฤษฎีสตริง เข้าใจว่าเล็กละเอียดกว่าคลื่นอนุภาคมากนัก คือเล็กละเอียดกว่าอนุภาคที่เล็กที่สุดทีเรารู้ เช่น นิวตริโนส์ โฟตอน หรือแม้แต่ควาร์กส (neutrinos, photon and quarks) คือคิดว่าจิต-ในที่นี้คือจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล (unconscious continuum)-คงจะเล็กละเอียดยิ่งไปว่าอนุภาคยิ่งนัก และผู้เขียนยังคิดว่า เราคงหาการดำรงอยู่ของจิตในห้องทดลองไม่มีทางทำได้) ในบทความเหล่านั้น เช่นบทความที่ชื่อ "สัญญาแห่งจิตวิญญาณ พลังงานแห่งเอกภพ" (ผู้เขียนใช้คำว่าเอกภพครั้งเดียวในบรรดาบทความไม่ต่ำกว่าครึ่งหมื่นบทความ เพราะช่วงนั้นยังคิดว่าจักรวาลมีเพียงหนึ่งเดียว ตอนนี้ถึงเชื่อว่าจักรวาลนั้นมีจำนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด) ผู้เขียนนั้นได้คิดและเชื่อเสมอมาตลอดว่า จักรวาลของเรานี้ซึ่งมีจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลเป็นพื้นฐานนั้น ดำรงอยู่ด้วยพลังงานปฐมภูมิอันเกิดมาจากจิตร่วมที่ว่านั้น-สั่นสะเทือน (vibration)
 
การสั่นสะเทือนที่ให้แสงสว่าง ให้เสียง ให้คำพูดหรือดนตรีซิมโฟนี และการรู้ของเรา นั่นไม่ใช่เรื่องที่พูดกันเล่นๆ ทั้งไม่ใช่เป็นปรัชญาที่ต้องคิดหนักๆ ที่บางทีและบางคนเท่านั้นที่อาจจะพอรู้ แต่จริงๆ แล้วมันก็เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมดาที่เราทุกคนสามารถที่จะรู้ได้ หากว่าเข้าใจในหลักการของทฤษฎีสตริง (string theory) ที่รวมทฤษฎีสัมพัทธภาพกับควอนตัมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นหลักการจักรวาลวิทยาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ใหม่ ก่อนที่จะลงไปที่หลักการนั้นต้องขอพูดถึงบทความต่างๆ ที่ผู้เขียนได้เขียนมาตลอดเวลาร่วมยี่สิบปี นับแต่ผู้เขียนเริ่มเขียนเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตัวเองและการปฏิวัติสังคมใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาของภาวะวิกฤติของธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำท่วม เขื่อนพัง โรคระบาด จนกระทั่งดาวหางอุกกาบาตวิ่งมาชนโลก ซึ่งตัวอย่างเราก็เห็นกันถ้วนหน้าอย่างจะจะของภัยธรรมชาติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของเราเอง จากอวิชชาและตัณหากับความจองหองอวดดีของเรา ซึ่งตอนนั้นแม้จะเตือนแล้วเตือนอีก คนทั่วๆ ไปหรือรัฐบาลก็มองไม่เห็น คงคิดว่าผู้เขียนเพี้ยน "ไปล่องลอยอยู่ในอวกาศในจักรวาลเสียแล้ว" ดังที่คนขนาดข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากๆ กระทั่งรัฐมนตรีบางคนก็กล่าวเช่นนั้น ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่ประเทศนี้และโลกนี้ก็มีผู้เขียน ครอบครัว และญาติพี่น้องด้วยที่อาศัยอยู่ ข้าราชการและรัฐบาลที่กินเงินเดือนของประชาชนจะทำเฉยโดยไม่รับผิดชอบอะไรเลยคงจะไม่ได้ โดยเฉพาะต่างก็ได้รับคำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์ นักนิเวศวิทยา และนักคิดนักเขียน ที่เขียนเตือนจำนวนมากมาตลอดเวลา แม้แต่ผู้เขียนเองที่กล่าวในบทความที่เขียนมาตั้งแต่ร่วมยี่สิบปีมาแล้วว่า ให้ระวังน้ำจะท่วมโลกหลังปี ๒๕๕๓ จักรวาลเชือดไก่ให้ลิงดู กระทั่งบทความที่ผู้เขียนอ้างถึงข้างต้นว่า ทั้งทางศาสนาและฟิสิกส์ใหม่ได้บอกเหมือนๆ กันว่า "เรื่องของความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสรรพสิ่งทุกๆ สรรพสิ่ง ระหว่างชีวิตกับจักรวาล ระหว่างความคิดจินตนาการ..'ปราณ' (หรือ 'ชี่') กับจิตจักรวาล" นั่นคือความจริงแท้ มนุษย์เราไม่ว่าทำอะไรกับจักรวาลหรือธรรมชาติ ด้วยความเชื่อมโยง เป็นหนึ่งเดียวกันที่ว่านั้น จะต้องมีการหวนกลับมาที่มนุษย์เราด้วยแรงที่เท่ากันเสมอไม่ว่าเราจะทำอะไร ดีหรือชั่ว ให้กับจักรวาล ที่เราจะเรียกว่าธรรมชาติก็ได้ ธรรมชาติซึ่งมีสองระดับ หยาบกับละเอียด ซึ่งผู้เขียนได้พูดไปแล้วหลายครั้ง นั่นคือกรรมร่วมที่มนุษยชาติได้กระทำไว้กับธรรมชาติด้วยแรงกรรม ด้วยอวิชชากับตัณหา และเราก็ไม่มีทางหลีกหนีอย่างไรได้ ที่ไม่ได้กระทำกรรมไว้ก็พลอยต้องได้รับผลของการกระทำไปด้วย แม้ว่าจะน้อยกว่าตามที่เราเชื่อก็ตาม ซึ่งถ้าหากเราคิดหาพลังงานทดแทนเสียตั้งแต่ตอนนั้น ลดตัดป่าไม้ ลดมลพิษมลภาวะ ลดจับลูกปลาลูกปูและบำรุงรักษาระบบนิเวศธรรมชาติอย่างจริงจัง ภาวะที่เลวร้ายนานัปการก็คงจะไม่เป็นเช่นทุกวันนี้ แม้เราจะทำแต่ประเทศเดียวก็ตาม การแก้ไขหรือทำอะไรในตอนนี้ แม้ว่าเราต้องทำเพราะผลทางจิตวิทยาประเด็นเดียว ด้วยมาตรของโลกและการสลายตัวของก๊าซและสารเคมี ล้วนแล้วแต่สายเกินไป การประชุมลมฟ้าอากาศโลกที่โคเป็นเฮเกนครั้งนี้ก็ไร้ทางช่วยใดๆ
 
จักรวาลนั้นคือร่างกาย-ผู้สรรค์สร้างของแสงสว่าง ของเสียงและดนตรี ของข้อมูลความหมายของ "การรู้" การรู้เพื่อความรักเมตตาและให้อภัยด้วยใจจริง ทั้งนี้ก็ด้วยจิตจักรวาลที่คอยควบคุมบริหารอีกที ความรักความเมตตา (compassion-lovingkindness) อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา และทุกๆ ศาสนาในโลกโดยไม่มีศาสนาใดๆ ยกเว้น นั่นคือความเห็นพ้องต้องกันว่าทุกๆ ศาสนาต่างล้วนสอนให้คนเป็นคนดี หรือผ่านพ้นความเป็นธรรมดาบรรลุธรรมกันทั้งนั้น คือบรรลุระดับขั้นสูงสุดของการวิวัฒนาการทางจิตหรือสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) กันทั้งนั้น ผู้เขียนจึงมีความคิดเห็นว่า เพราะความเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ด้อยวิวัฒนาการทางจิต กับหลักการแยกส่วนต่างหากที่ทำให้มนุษย์แตกแยกจากกัน มนุษย์จึงจำต้องมีวิวัฒนาการทางจิตโดยเร็วเพื่อพ้นผ่านข้อจำกัดที่ว่านี้ให้จงได้
 
เรื่องของจักรวาลและมนุษย์ การไม่รู้ความจริงที่แท้จริงของมนุษย์ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างที่สุดของมนุษยชาติ อยางน้อยในสายตาของผู้เขียน นั่นคือสองความรู้และความจริงที่แสวงหากันมาตั้งแต่มีมนุษย์ขึ้นมาในโลก สุดท้ายนั่นคือเรื่องของวิทยาศาสตร์กับศาสนา ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าสอดคล้องต้องกันหรือเป็นหนึ่งเดียวกัน วิทยาศาสตร์คือฟิสิกส์ใหม่กับจักรวาลวิทยาที่มีทฤษฎีสตริง หรือซูเปอร์สตริง สำคัญที่สุดกับเรื่องของศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ซึ่งแม้ว่าทุกศาสนาจะมีเป้าหมายเหมือนกันในเรื่องจิตและในเรื่องความจริงแท้ แต่ผู้เขียนก็ไม่รู้เรื่องของศาสนาอื่นๆ มากพอที่จะเอามาเขียน นั่นคือสองมาตรการ สองวิธีการ ของการแสวงหาความรู้และความจริงแท้ของธรรมชาติ หรือจักรวาลทั้งหมดทั้งสิ้น มนุษยชาติกับจักรวาลนั้นต่างเป็นส่วนของกันและกัน ที่สุดท้ายแล้วแยกออกจากกันไม่ได้ พูดง่ายๆ นักฟิสิกส์ใหม่ส่วนหนึ่งและผู้เขียนเชื่อว่า จักรวาลมีขึ้นมาเพื่อรอคอยให้มีมนุษย์เท่านั้น และมนุษย์จำต้องอยู่คู่กับจักรวาลนี้ อยู่คู่กับจักรวาลอันนี้ไปทำไมรึ? ก็เพื่อให้มนุษย์มีวิวัฒนาการของจิตให้แล้วเสร็จ และให้จิตนั้นรู้จักจักรวาลทั้งหมด หรือรู้ว่าความจริงที่แท้จริงนั้นคืออะไร? สำหรับผู้อื่นผู้เขียนไม่รู้ แต่สำหรับผู้เขียนแล้วนั่นคือความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แม้แต่ "ตัวกูของกู" นั่นคือสาระของบทความวันนี้ ความสอดคล้องต้องกันของวิทยาศาสตร์กับศาสนาที่มาก่อนนานนักหนา แต่ตอนหลังเราส่วนใหญ่ไม่เชื่อ ทำให้ศาสนาถูกปลดจากความรู้ไปเป็นความเชื่อ ลงไปถึงเป็นความงมงายไสยศาสตร์ กระทั่งวิทยาศาสตร์เองค้นพบฟิสิกส์ใหม่-ทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และทฤษฎีควอนตัม-ทำให้มนุษย์เข้าใจจักรวาลหรือธรรมชาติมากขึ้น จักรวาลวิทยาทางฟิสิกส์ใหม่นั้น มีหลายสิ่งที่ไม่เพียงสอดคล้องแนบขนานกับจักรวาลวิทยาทางศาสนา ในที่นี้คือพุทธศาสนา แต่เหมือนกันเป๊ะๆ เช่น หลักการอนิจจัง อนัตตา ทวิลักษณ์ มายาภาพลวงตา หรือความเป็นหนึ่งของจิต (ร่วมจักรวาล) พลังงานและสสารวัตถุ หรือความจริงที่แท้จริงคือแสงและเสียง คือดนตรี ซึ่งอาจจะอธิบายด้วยทฤษฎีสตริงทางวิทยาศาสตร์ในบทความนี้.



 
http://www.thaipost.net/sunday/131209/14895
4532  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : ดิน มนุษย์ ฟ้า-ศาสนากับจิตจักรวาล เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:36:08


เข้ามาใกล้กว่านั้น จนถึงปัจจุบันที่เราแทบจะทุกๆ คนเลยรู้กันดี จึงไม่จำเป็นต้องอ้างอิง ที่สำคัญอย่างยิ่งที่น้อยคนนักจะนึกถึง นั่นคือมนุษยชาตินั้น แม้จะถือว่าเป็นการเกิดในสุคติตามคำสอนของพุทธศาสนา หรือถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่สำคัญที่สุดของจักรวาลทางวิทยาศาสตร์ (cosmological anthropic principle) แต่มนุษย์ก็อาจพูดได้ว่าน่าสมเพชเวทนาอย่างที่สุด น่าสมเพชเวทนาอย่างไรรึ? น่าเวทนาตรงที่มนุษย์เป็นสัตว์โลกเพียงเผ่าพันธุ์เดียวเดี่ยวๆ ที่รู้ว่าตัวเองคือผู้ที่รู้นั้น มนุษย์ถึงรู้ว่าการวิวัฒนาการทางจิตไปตามสเปกตรัมแต่ละระดับ ไม่ใช่ได้มาฟรีๆ แต่ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างของมนุษยชาติและโลกทางด้านกายภาพ ทั้งนี้และทั้งนั้นมนุษย์ก็ไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพราะมนุษย์จำเป็นต้องมีวิวัฒนาการทางจิตของจิตรู้ (จิตสำนึก) ตามขั้นตอนหรือระดับ (stages or levels) ของสเปกตรัมที่นักคิดนักจิตวิทยาส่วนมากจะคิดว่ามีทั้งหมด 8 ระดับ (ดู เคน วิลเบอร์ เล่มไหนก็ได้ โดยเฉพาะหนังสือที่ชื่อ Spectrum of Con-sciousness, 1973) ตอนนี้มนุษย์เราส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นที่สี่ (self-egoic rational) คือ มีเหตุผล และเชื่อวิทยาศาสตร์กายวัตถุตามที่ "ตา" มนุษย์มองเห็น ชี้นำหรือชี้วัดเท่านั้น เราได้ผ่านประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการทางจิตมาแล้วสามครั้ง คือธรรมชาติสัตว์ชั้นต่ำ มายากล นิยายบุร่ำบุราณ (reptilian nature magic mythic) มนุษย์ได้ผ่านวิวัฒนาการของจิตเหมือนสัตว์ชั้นต่ำก่อน เช่น งูหรือตะกวดในสมัยปลายของมนุษย์โฮโมอีเรกตัส ตามมาด้วยนีอันเดอร์ธัล ที่จะมีวิวัฒนาการทางจิตต่อไป คือมองธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหมด คือสื่อของความตายที่มนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทเดียวที่รู้ว่าความตายคืออะไร? ซึ่งสัตว์ประเภทอื่นๆ แม้จะวิ่งหนีศัตรู-ก็ไม่รู้ นักจิตวิทยาทุกคนถึงบอกว่า เพราะมนุษย์ปรารถนาความเป็นอมตะ (immortal) จึงต้องหนีความตาย หรือทำให้คนอื่น (ศัตรู) หรือสัตว์อื่นตายแทน ซึ่งอยู่ในสมัยโครมายอง (ยุโรป) นั่นเมื่อ 30,000 ปีมาแล้ว ก่อนการตั้งถิ่นฐานบ้านช่องของมนุษย์ และต่อมาในตอนปลายของก่อนกับเมื่อตอนการตั้งรกรากถิ่นฐานใหม่ๆ หรือระดับจิตที่เรียกว่ามีธิก (mythic) หรือระดับของนิยายบุร่ำบุราณที่มี "แม่" ใหญ่ที่สุด (matriarchal) และมีเจ้าแม่ (Goddess) เป็นพระเจ้า รวมทั้งกำเนิดของวัฒนธรรมมีศิลปกรรมนำหน้า (Joseph Campbell: Mythology, 1959-68 ทั้งสี่เล่ม) ที่ผู้เขียนบอกว่ามนุษย์กับวิวัฒนาการทางจิตทั้งน่าสมเพชและน่าเวทนานั้น ก็เป็นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นปัจเจก และการปฏิวัติสังคมโดยรวมหรือโลกทัศน์กระบวนทัศน์ อันเกิดจากวิวัฒนาการทางจิตของมนุษยชาติแต่ละครั้ง ไปสู่ระดับที่สูงกว่านั้นทุกครั้งเลย ไม่ได้เปลี่ยนอย่างธรรมดาๆ แต่มนุษย์ต้องจ่ายค่าเปลี่ยนแปลงของสภาพกายภาพของโลกอย่างหนักหน่วงรุนแรงทุกครั้ง ซึ่งนักจิตวิทยาแทบจะทุกคน รวมทั้งโจเซฟ แคมป์เบลล์ หรือเคน วิลเบอร์ ก็กล่าวเช่นนั้น


 
 
เรารู้ว่าตอนนี้เรากำลังเปลี่ยนแปลงทางจิต ทั้งของตัวเองเป็นปัจเจก และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยรวม-จากระดับตัวตนกับเหตุผลที่กล่าวแล้วสู่ระดับจิตวิญญาณ (spirituality) ที่สูงกว่า ซึ่งแน่นอนหากเราพิจารณาอย่างที่ประวัติศาสตร์บอกเรา หรือเชื่อตามนักจิตวิทยาเชื่อ ความล่มสลายของโลกจึงเป็นเรื่องที่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพียงแต่เราไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกกายภาพจะเป็นอะไร? เมื่อไหร่? และจะมีความรุนแรงเพียงใด?
 
และถ้าเราเชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบล ไม่ว่าจะเป็น เซอร์จอห์น เอกเคิลส์ หรือโรเจอร์ สเปอร์รี กระทั่งนักวิจัยในปัจจุบันหลายๆ คน เช่น มาริลีน ชลิตซ์ มาริโอ บูเรการ์ด ริชาร์ด เดวิดสัน ฯลฯ ว่าจิตบังคับสมองอีกที ดังที่ผู้เขียนเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายแหล่ที่จะเกิดกับโลกหรือจักรวาล ไม่ว่าจะเกิดจากสภาพอะไรก็ตาม เช่น ยุคน้ำแข็ง ภาวะน้ำท่วมโลก ภาวะโลกร้อน การย้ายขั้วแม่เหล็กโลกและการย้ายแผนที่โลก ดาวหางอุกกาบาตชนหรือโรคระบาด ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่จิตก่อน (unconsciousness as consciousness) ซึ่งโดยความจริงทางควอนตัมที่แทบไม่มีทางผิด เมื่อเทียบกับคลาสสิคัลฟิสิกส์ของนิวตันไม่รู้กี่ร้อยเท่า ควอนตัมเมกานิกส์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์แห่งความน่าเป็นไปได้หลายๆ อย่าง และความน่าเป็นไปได้ที่ว่าจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หรือความจริงทางโลกให้เรามองเห็นได้รับรู้ได้ จะต้องมีจิตของผู้สังเกตเข้าไปรับรู้เสมอไป เพราะฉะนั้น ดังที่ผู้เขียนพูดและเขียนบ่อยๆ ว่า คำทำนายทายทักหรือคำพยากรณ์ต่างๆ เช่น โอกาสที่จะเกิดภาวะล่มสลายของโลกที่ยิ่งใหญ่ จนแทบว่ามนุษยชาติจะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ลงไปนั้น-ผู้เขียนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะสูญพันธุ์ไปทั้งหมด เพราะจิตมนุษย์คือเป้าหมายสุดท้ายของวิวัฒนาการของจักรวาล-จะเกิดขึ้นในเร็วๆ วันนี้ หรือแม้ในปี 2012-13 นี้ ซึ่งโอกาสเช่นนั้นขึ้นกับจิต (unconsciousness as consciousness) ของเรา หรือจิตของจักรวาลหรือจิตของพระเจ้าตามชื่อของบทความของวันนี้ นั่นคือสิ่งที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า ธรรมชาติ (อันละเอียดยิ่ง) ที่สุดของธรรมชาติ


 
ที่จริงหัวข้อของบทความวันนี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้พูดมานานแล้ว เร็วๆ นี้ก็ยังได้เขียนถึง ดูเฉยๆ ทั้งสองเรื่อง คือส่วนหน้ากับส่วนหลังที่ไม่น่าจะเกี่ยวกัน แต่ในความเห็นส่วนตัวคิดว่าเกี่ยวกัน และเกี่ยวกันอย่างยิ่งชนิดแยกออกจากกันไม่ได้เสียด้วย นั่นคือเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อ ซึ่งเป็นปรัชญาที่มีมาก่อนตั้งแต่สมัยโบราณ หรือจะเรียกว่ามีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เลยก็ว่าได้ และแถมยังมีในทุกๆ อารยธรรมหรือทุกๆ วัฒนธรรมที่ผู้เขียนเรียกว่า ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ซึ่งมีอยู่แล้วตั้งแต่ไหนแต่ไร หรือตั้งแต่เรายังเริ่มมีชีววิวัฒนาการเป็นโฮโมซาเปียนล์ใหม่ๆ ร่วมสองแสนปีมาแล้ว หากดูจากภาพวาดตามผนังถ้ำต่างๆ ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง ศาสนากับจิตจักรวาล (วิทยา) นั้นเก่าแก่โบราณก็จริง แต่ตามหลังอันแรกหรือปรัชญาที่ว่านั้นนานนักหนา อย่างไรก็ตามก็ต้องถือว่าโบราณเหมือนกัน เพราะว่ามีมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานบ้านช่องของมนุษย์ใหม่ๆ เมื่อร่วม 15,000 ปีมาแล้ว ที่เอามาจับคู่ไว้ด้วยกัน เนื่องจากว่าทั้งสองเรื่อง (ก่อนหน้านี้ ) เป็นเพียงความเชื่อเหมือนๆ กัน แต่ในปัจจุบันนี้-วันนี้ ทั้งสองเรื่องอาจจะกลายเป็นความรู้หรือความจริงแท้จริงก็ได้


 
เรื่องแรก ดิน มนุษย์ ฟ้านั้น (สำคัญที่มนุษย์) ในที่นี้ ดินคือพื้นดิน หรือโลก หรือสสารวัตถุ และฟ้าคือสวรรค์ที่มีกษัตริย์ หรือพระเจ้า หรือหัวหน้าเทพปกครองซึ่งดูแลทั้งสามบริเวณ นั่นคือ วิวัฒนาการของโลกและมนุษย์ การให้รางวัลหรือการลงโทษของสวรรค์ ซึ่งหลักการนี้มีมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมหรือวัฒนธรรมอะไร หรือที่ใดหรือโดยใคร? โดยที่เราไม่รู้ นั่นคือ "การให้รางวัลคนทำความดีและลงโทษคนทำชั่ว" ซึ่งเหมือนกันทั้งหมด นั่นมีส่วนอย่างสำคัญต่อต้นตอที่มาของลัทธิความเชื่อของมนุษยชาติและศาสนา กับจักรวาลที่เรียกกันในสมัยโบราณ ก่อนจะมีวิทยาศาสตร์ หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ หรือจักรวาลวิทยา (cosmology) อย่างในทุกวันนี้ ลัทธิความเชื่อและศาสนากับจักรวาล ที่แก่นแกนของทั้งสองคือความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความเป็นองค์รวมบูรณาการ (integral wholeness) ของทั้งหมด
 
น่าแปลก-ที่ความรู้ใหม่ๆ เรื่องของฟิสิกส์และจักรวาลวิทยา-ซึ่งตั้งแต่ที่เรามีวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะจักรวาลวิทยาซึ่งอธิบายโดยโคเปอร์นิคัสและเคปเลอร์ และต่อมากาลิเลโอกับนิวตันได้ค้นพบฟิสิกส์กายภาพหรือกายวัตถุ และต่อมาอีกที ซึ่งได้ทำให้วิทยาศาสตร์มีความสมบูรณ์ขึ้น โดยการค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแมกซ์เวลล์และฟาราเดย์-ในเวลานั้น ซึ่งทำให้มนุษย์เข้าใจในเรื่องของจักรวาลมากขึ้น จนกระทั่งเข้าใจผิดคิดว่ามนุษย์เราและฟิสิกส์ หรือวิทยาศาสตร์ที่ตั้งบนการทำในห้องทดลอง การสังเกตอย่างเป็นระบบ และคณิตศาสตร์ ทั้งสามอย่างสามประการที่ส่งผลทางกายภาพ ที่เราทุกคนสามารถมองเห็นเหมือนๆ กันและตรงกันทุกประการ-สามารถทำให้เราคิดว่า เราเข้าใจโลกและจักรวาลหมดแล้ว และคิดว่าทั้งหมดนั้นคือความจริงของธรรมชาติและธรรมชาติของความจริงที่แท้จริง-ดังที่ ลอร์ดเควิน นักจักรวาลวิทยาที่ใครๆ รู้จักดีของอดีตถึงกับกล่าวว่า "ตอนนี้ในเรื่องของจักรวาลนั้น นอกจากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เรารู้อย่างหมดสิ้นแล้ว" แต่นั่นเป็นเรื่องของเวลานั้น ถ้าหากในตอนนี้ท่านลอร์ดเควินเกิดหวนกลับมามีชีวิตใหม่ เขาคงตกใจที่จักรวาลที่เขาเชื่อว่าประกอบไปด้วยรูปธรรมกายวัตถุที่ตายซากและแห้งแล้งนั้น กลับเป็นตรงกันข้ามกับที่เขาเชื่อ ทุกวันนี้นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงยิ่งนักหลายๆ คนคิดว่า จักรวาลนั้นนอกจากเป็นประหนึ่งสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกันกับโลกแล้ว มันยังมีสติปัญญาความฉลาดที่ล้ำลึกยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ ไม่รู้กี่เท่าเสียอีก (ดู Duane Elgin: The Living Universe, 2009; and Sir Fred Hoyle; The Intelligent Universe, 1984)
 
บทความวันนี้คือประวัติศาสตร์ของห่วงโซ่ที่ยิ่งใหญ่-ซึ่งทีแรกมีแค่สามห่วง ดิน มนุษย์ ฟ้า แต่ตอนหลังมีห้าและเจ็ดห่วง อย่างเออร์วิง ลาซโล ที่รวมสังคมของมนุษย์และจิตวิญญาณก่อนฟ้าหรือสวรรค์ หรือพระเจ้า "ที่นักปรัชญาเรียกว่าเพอเรนเนียลฟิโลโซฟี (perennial philosophy) ปรัชญาสากลนิรันดร ซึ่งศาสนาและจักรวาลจะมีเป้าหมายอย่างเดียวคือวิวัฒนาการ แต่ไม่มีใครรู้ว่าคำสามคำนั้นมาจากไหน? รู้แต่ว่ามันคือประวัติศาสตร์ที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์เมื่อไรก็ไม่รู้ ที่มีในทุกศาสนาทุกลัทธิความเชื่อในแทบทุกๆ วัฒนธรรม ที่ชี้บ่งความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างโลก มนุษย์และสวรรค์ ซึ่งความเห็นส่วนตัวในที่นี้ ฟ้าหรือสวรรค์คือจิตจักรวาล หรือจิตเทพ หรือพระเจ้า (Spirit ไม่ใช่ spirit ที่เขียนด้วยตัวเอสเล็ก) ราวกับว่ามนุษย์ที่โผล่ปรากฏขึ้นมาบนโลกนี้ มีความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันระหว่างสสารวัตถุ มนุษย์กับสวรรค์มาตั้งแต่แรกเริ่มเลย และความสัมพันธ์นั้นมีจิตของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในร่างกายของมนุษย์นั้น จะต้องมีวิวัฒนาการทางจิตไปตามขั้นตอนหรือระดับไปตามสเปกตรัม และนั่นคือ-สำหรับผู้เขียน-คือประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเรียนรู้ พร้อมๆ กับมีวิวัฒนาการของจิตที่อยู่ภายใน และวิวัฒนาการของจักรวาลกับกายที่อยู่ภายนอก มนุษย์ก็เช่นนั้น จักรวาลก็เช่นนั้น จนกว่าวิวัฒนาการจะแล้วเสร็จและสมบูรณ์.



 
http://www.thaipost.net/sunday/061209/14552
4533  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : จัดลำดับชีวิต..จัดลำดับความสุข เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:34:49
http://4.bp.blogspot.com/_QwjBfpkmoEU/Rn3kUa2PepI/AAAAAAAAAI0/76ulfEmShvU/s1600-h/581046663_1a155d4991_m.jpg

 
โดย ชลลดา ทองทวี
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
 
เรามักจะผัดผ่อนเวลาที่จะมีความสุขอยู่เสมอ “เอาไว้งานนี้เสร็จพรุ่งนี้ แล้วจะไปนอนพักผ่อน ฟังเพลงให้สบายใจเลย” หรือเพียงเรื่องง่ายๆ ระหว่างย่างเท้าก้าวเดินจากตึกหนึ่งไปยังอีกตึกหนึ่ง เราอาจจะบอกปลอบใจตัวเองว่า “ร้อนจัง แต่ทนๆ เอาหน่อย เดี๋ยวก็ถึงแล้ว ไปถึงที่นั่น มีแอร์เย็นๆ ได้ดื่มน้ำสักแก้ว ก็คงจะค่อยยังชั่ว”
 
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปปฏิบัติภาวนากับท่านติช นัท ฮันห์ ที่เชียงใหม่ เมื่อครั้งที่ท่านมาเมืองไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ท่านได้แนะนำให้ผู้ที่เข้าปฏิบัติภาวนาครั้งนั้นลองทำหลายกิจกรรม เช่น
 
ท่านบอกว่าให้ลองเดิน โดยทุกๆ ก้าวที่ส้นเท้าจรดพื้น ให้เราบอกตัวเองว่า “ฉันมาถึงแล้ว” การถึงที่หมายทุกย่างก้าวช่วยตัดความกังวลใจเรื่องที่หมายที่เราจะมุ่งไป ซึ่งเรามักจะมีอยู่ในใจและหมกมุ่นอยู่กับมันเสมอ เป็นการเอาจิตใจไปไว้กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
 
ในเวลาที่นั่งลง ท่านบอกให้เรานั่งลง ณ ที่นั้นอย่างเต็มเปี่ยม เหมือนนั่งอยู่ในดอกบัวที่งดงาม อ่อนนุ่ม และหอมเย็น ทุกครั้งที่เราได้ยินเสียงระฆัง หรือเสียงโทรศัพท์มือถือ หรือเสียงอะไรที่ดังสะดุดใจเรา และเราอาจจะชอบหรือไม่ชอบใจก็ตาม ให้เราถือโอกาสนั้นในการเจริญสติ กลับมาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกของตนเองสักสองสามครั้ง ตามดูลมหายใจนั้น โดยไม่ไปควบคุมบังคับอะไร และอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างที่เป็น
 
ตลอดเวลาที่อยู่ที่นั่นและหลังจากนั้น ผู้เขียนได้ลองทำตามที่ท่านนัท ฮันห์ แนะนำอยู่บ่อยๆ และรู้สึกแปลกใจที่ได้เห็นว่า ชีวิตเรานี้เต็มไปด้วยความเร่งรีบที่จะรุดไปยังที่ใดที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา เรามีแผนการต่างๆ อยู่ในหัว และการก้าวเดินของเรา เป็นการก้าวไปสู่อะไรบางอย่างข้างหน้า ไม่มีแม้สักก้าวหนึ่งที่จะเป็นการก้าวย่างเพื่อตัวมันเอง ที่สมบูรณ์และเป็นคำตอบในตัวเอง
 
เมื่อลองก้าวเดินดูแบบที่ท่านแนะนำ ผู้เขียนได้เห็นโลกในมุมมองที่เปลี่ยนไป “ทันที” ได้เห็นดอกไม้ทุกดอกที่อยู่ตรงนั้น เห็นแสงและเงาบนเม็ดกรวดเล็กๆ บนถนน สัมผัสความอุ่นของแสงแดดบนผิวกาย เห็นลมหายใจของตนเองในขณะนั้น และได้สัมผัสกับความสุขเรียบๆ ง่ายๆ ที่ยิ่งใหญ่ในเวลานั้นทันที
 
ประสบการณ์ที่ได้รู้สึกสัมผัส ทำให้ได้เห็นว่า เราทิ้งเวลาดีๆ ในชีวิตไปมากมายและบ่อยครั้ง ทั้งที่มันมีอยู่ให้เราตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันขณะ ที่นี่ เดี๋ยวนี้เอง นี่เอง
 
ผู้เขียนลองนั่งลงแบบที่ท่านนัท ฮันห์ แนะนำ นั่งลงอย่างเต็มเปี่ยม ณ ที่ตรงนั้น เหมือนนั่งอยู่ในดอกบัว เมื่อนั่งเช่นนั้น ผู้เขียนรู้สึกว่า มันเป็นคำตอบในตัวมันเอง ไม่ได้นั่งเพื่อที่จะรออะไรสักอย่าง ไม่ได้นั่ง ก่อนที่จะรีบลุกไปทำอะไรบางอย่าง แต่นั่งลงสัมผัสกับทุกสัมผัสรอบตัวอย่างดื่มด่ำในทุกขณะ ผ่อนคลาย และรื่นรมย์ เหมือนนั่งอยู่ในดอกบัวที่อ่อนนุ่มสวยงามที่โอบอุ้มเราไว้
 
คิดถึงคำพูดของตัวการ์ตูนเณรน้อยอิ๊กคิวซัง ที่มักบอกว่า “จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน พักเดี๋ยวหนึ่งก่อนนะครับ”
 
ท่านนัท ฮันห์ อธิบายว่า เราอยู่ในยุคสมัยที่ทุกคนวิ่งไปข้างหน้าตลอดเวลา การที่เราเอาความสุขไว้ภายนอกและวิ่งแข่งกันแสวงหามัน ทำให้เราเหนื่อยและเครียด แต่จริงๆ แล้ว ความสุขที่เราตามหานั้น เราหามันพบได้ในตัวของเราเอง เพียงแค่เราเปลี่ยนมาก้าวเดิน และถึงจุดหมายในทุกก้าว และหยุดพัก นั่งลงอย่างเต็มเปี่ยม โดยไม่รอคอยผัดผ่อนความสุขที่เราอาจจะมีได้ในปัจจุบันขณะออกไป
 
ท่านกล่าวว่า เรามีนัดหมายที่สำคัญที่สุด คือ การนัดหมายกับชีวิต ซึ่งจะต้องทำในปัจจุบันขณะ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้เท่านั้น เพราะพรุ่งนี้ก็ยังมาไม่ถึง และเมื่อวานก็ผ่านไปแล้ว
 
แต่ในความเป็นจริงของชีวิต เรามักจะให้ความสำคัญต่อการนัดหมายอื่นๆ ตลอดเวลา ในสมุดตารางนัดหมายที่แน่นเอี้ยดของเรา ไม่มีสักวินาทีหนึ่ง ที่เราจะเขียนไว้ว่า “มีนัดกับชีวิต” :-)
 
เมื่อเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เรามาลองตามดูลมหายใจ กลับมาอยู่กับปัจจุบันอย่างที่เป็น เรามาลองก้าวเดินไปพร้อมกับชีวิต ไม่วิ่งนำหน้า หรือละล้าละลังตามหลังอยู่ตลอดเวลา เรามาลองพักผ่อนในปัจจุบันขณะ ในทุกๆ ที่ ที่เรานั่งลง และไม่ต้องรอคอยวันหยุดในตารางนัดคราวหน้า เพื่อจะได้มีความสุขและพักผ่อนเสียที ทันทีที่เราหยุดผัดผ่อนความสุขในชีวิต ความสุขที่เรารอคอยจึงจะมาถึงเราได้ ณ ที่นี่..และเดี๋ยวนี้..
 
ลองทำการงานเพียงเพื่อจะทำมัน ให้ชีวิตมาถึงเราต่อหน้า และเผชิญหน้ากับปัจจุบันขณะอย่างเต็มตา สิ่งที่เราเผชิญไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก น่าหวาดหวั่น หรือคุกคามเพียงใด หากเราเดินไปกับชีวิตทุกก้าว ในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนแต่มีพลังของความสดและของการมีชีวิต เราเต็มไปด้วยการตื่นรู้ และเราไม่ได้ใช้ชีวิต แบบแค่คิดเอาว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ฝากความสุขไว้กับอนาคตหรืออดีต แต่เราอยู่กับชีวิตอย่างผู้มีชีวิตที่แท้จริง
 
บทเรียนจากการปฏิบัติภาวนาครั้งนี้ได้บอกกับผู้เขียนว่า เราจะมีความสุขได้ในชีวิตก็ต่อเมื่อเรานัดพบกับชีวิตในปัจจุบัน และจัดลำดับให้ชีวิต มาอันดับแรกในตารางนัดหมาย เพราะในความเป็นจริง เรามีชีวิตอยู่ ก็แต่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
 
ขณะที่เราใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างเต็มเปี่ยม และตื่นรู้สัมผัสกับสภาวะของชีวิตอย่างที่เป็นเต็มที่ เราจะไม่พลาดนัดหมายสำคัญ คือ โอกาสเดียวที่เราจะเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ในชีวิตได้ เพราะว่า อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตคือสิ่งที่อาจจะไม่มีวันมาถึง ปัจจุบันขณะจึงมีความหมายที่เป็นปาฏิหาริย์ในตัว ภาระงานที่หนักหนายากเย็นอื่นใดที่ครอบครองตารางนัดหมายของเราอยู่ เป้าหมายอื่นใดที่เราทุ่มเทแรงกายและแรงใจที่จะไปให้ถึง ไม่มีอยู่จริง หากปราศจากการนัดหมายลำดับแรก คือการนัดหมายกับชีวิตในปัจจุบันขณะ ดังที่ท่านติช นัท ฮันห์ ได้บอกไว้
 
Sunday, June 24, 2007
 
 
Posted by knoom at 10:00 PM| 0 commentsLabels: ชลลดา ทองทวี

http://jittapanya.blogspot.com/2007/06/blog-post_24.html
4534  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : มนตราแห่งการฟื้นพลัง เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:33:22
http://2.bp.blogspot.com/_QwjBfpkmoEU/Rl7tlnI3TvI/AAAAAAAAAHo/oILWDMXzzX8/s1600-h/Mother+and+Child.jpg

 
โดย ธนัญธร เปรมใจชื่น
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา
 
ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
 
-----------------------
 
ยามเช้าท่ามกลางแสงที่ยังอ่อนโยนของดวงตะวัน ฉันชะโงกหน้าไปดูบรรยายกาศรอบๆ บ้านจากหัวเตียงนอน ความสดชื่นของอากาศหลังฝนในค่ำคืนที่ผ่านมาโชยกลิ่นดินที่ชื้นแฉะจากสวนกลางหมู่บ้านเข้ามาปะทะใบหน้า ช่วยผ่อนปรนความหนักอึ้งในจิตใจที่ฉันแบกมาขบคิดอย่างหนักตลอดคืนที่ผ่านมา
 
บ่อยครั้งเหลือเกินที่เราปล่อยให้ความคิดเล่นงานจิตใจเรา ไม่ว่าจากเรื่องราวใด จนพลังชีวิตถดถอย บางทีอาจจะเลยเถิดไปไกลเกินกว่าความเป็นจริงของเรื่องราว
 
แม้เจ้าสติจะคอยเตือนย้ำอยู่ภายในว่า “มันมากไปแล้วนะ” หรือ “หยุดได้แล้วนะ” แต่ในไม่ช้ามันก็จะวนกลับมาอีก ราวกับมันรอท่าเราอยู่ในทุกๆ มุมของบ้าน
 
ความสดชื่นของบรรยากาศที่รายล้อม เอื้อให้เกิดความผ่อนคลายขึ้น ยามที่หยุดมองสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น ด้วยดวงตาที่ตื่น แล้วเรื่องราวดีๆ จากที่เคยได้รับรู้มาเกี่ยวกับ “ฮิปโปโน โปโน” ก็ผุดพรายขึ้นในความคำนึง
 
ฮิปโปโน โปโน เป็นศาสตร์การรักษาเยียวยาของชาวพื้นเมืองในฮาวาย ซึ่งถูกขยายเผยแพร่มากขึ้นโดยจิตแพทย์ท่านหนึ่ง ผู้เข้าไปทำงานในโรงพยาบาลสำหรับนักโทษที่ป่วยทางจิตในฮาวาย ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าโรงพยาบาลแห่งนี้มีผู้ป่วยที่เป็นนักโทษจำนวนมาก และยังสร้างความหวาดผวาแก่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแล จนหลายคนเริ่มป่วยและขอลาออกไป
 
สิ่งที่คุณหมอทำได้สร้างความอัศจรรย์แก่ทั้งเจ้าหน้าที่เพื่อนร่วมงาน และบุคคลภายนอกมาก เพราะคุณหมอจะตรวจผู้ป่วยผ่านแฟ้มรายงานอาการของพวกเขา แต่ละแฟ้มคุณหมอจะดูถึงสาเหตุที่ทำให้นักโทษเหล่านี้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงขึ้น จากนั้นก็จะกลับเข้ามาดูภายในของตนเอง และเริ่มเยียวยาภายในของตนเอง ด้วยการเข้าไปรับรู้ด้วยความรักในจุดที่ตนมีคล้ายกับผู้ป่วยคนนั้น ซึ่งอาจซ้อนอยู่โดยเราไม่รู้ตัว
 
ผลปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำงานร่วม มีสุขภาพจิตดีขึ้น มีอัตราการลาออกน้อยลงมาก และที่สำคัญ นักโทษเหล่านั้นอาการดีขึ้น จนมีนักโทษที่สามารถออกจากโรงพยาบาลไปใช้ชีวิตตามปกติได้ และโรงพยาบาลก็มีผู้ป่วยน้อยลง
 
เวลาเราเผชิญหน้ากับความผิดปกติของผู้คน เรามักจะมองเขาหรือเธอด้วยความเป็นอื่น ไม่ว่าจะสายตาของความรักหรือความเกลียดชังก็ตามที แต่เขาไม่ใช่เรา
 
ยิ่งหากเขาหรือเธอทำให้เราทุกข์ ด้วยความโกรธเคือง เสียใจ และบางครั้งรุนแรงจนกลายเป็นอคติของความชิงชัง ที่แทบไร้เหตุผลต่อการประทุทางอารมณ์ของเรา
 
ฉันใคร่ครวญอยู่เพียงครู่ ก็พลิกตัวนอนหงายในท่าศพอาสนะ ผ่อนคลายส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วนำพาตนเองเข้าไปค้นหาพฤติกรรมของเขาที่ฉันไม่ชอบใจที่ภายในตนเอง ครั้นเมื่อพบ ฉันกลับรู้สึกว่ายากเหลือเกินที่จะรักความน่าชังนั้นได้อย่างลึกซึ้ง และจริงแท้ แม้จะเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวฉันเองนี้ มิใช่ที่เขาหรือใครอื่น อาจเพราะหมักหมมมันมานาน จากการย้ำคิดในช่วงที่ผ่านมา จนมันแข็งตัว ทำให้พลังชีวิตที่มีถูกลดทอน นี่ยิ่งแสดงให้แลเห็นว่า อารมณ์ลบนั้นบั่นทอนพลังชีวิจของเราไปมากเพียงใด
 
ฉันมีมนตราที่คิดขึ้นเองอยู่บทหนึ่ง ที่ใช้ได้ผลดีเสมอยามพลังชีวิตตก เป็นสัญญาต่อเซลล์ และหน่วยต่าง ๆ ของร่างกายที่ฉันเคยฝึกทำมันขึ้น มนตราในมิติที่เราใช้ศรัทธาจากจิตของเราเข้ามาดูแลตัวเรา ซึ่งแต่ละคนก็จะมีสิ่งนำพายึดเหนี่ยวพลังของตนแตกต่างกันไป บ้างอาจเป็นบทสวดของศาสนาที่ตนนับถือ หรือเครื่องรางที่ตนเคารพ แต่สำหรับฉันมันเป็นคาถาสั้นๆ ที่สร้างจากสิ่งที่มีอิทธิพลต่อตัวฉันเองทางด้านจิตใจ
 
[INDENT]... กังสดาลเสียงใส
เปลือกไม้ต่างกัน
ดอกหญ้าบ้านฉัน
ผืนดินอันอุดม ...
[/INDENT]เพราะเสียงของกังสดาลนั้นช่วยให้ฉันสงบ และยังเป็นเสียงที่ฉันระลึกถึงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าอยู่ในที่ใด แม้ขณะกำลังเขียนอยู่นี้ ฉันก็ยังสามารถรับรู้เสียงของกังสดาลได้อย่างชัดเจน ในจิตไร้สำนึกที่ถูกเรียกดึงขึ้นมา เปลือกไม้ที่แตกต่างกันนั้นก็เป็นความหลงใหลของตัวฉันเองตั่งแต่ยังอ่อนวัย เปลือกผิวของไม้แต่ละต้นสวยงามในความรู้สึกเสมอ และเมื่อเติบโต เรียนรู้ชีวิตมากขึ้น ฉันก็พบว่าคนเรานั้นก็แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน มันช่วยย้ำให้ตระหนักและน้อมรับในความแตกต่างของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่วนดอกหญ้าหน้าบ้านฉันเองนั้น มันก็เป็นตัวแทนของความสดชื่นร่าเริง ดอกหญ้าที่มีกลีบสีขาวบอบบางน่ารักเหล่านี้ มีดอกใหญ่กว่าดอกหญ้าที่เราอาจคุ้นชิน แต่ในเชียงรายดอกหญ้าแบบนี้ขึ้นอยู่ทั่วไปหลายที่ ฉันไม่รู้หรอกว่า จริงๆ แล้วมันเป็นสายพันธุ์อะไร แต่ฉันก็เรียนมันอย่างเก๋ไก๋ว่า “Wind flowers of love”
 
และสิ่งสุดท้ายที่ฉันเลือกมาสร้างพลังชีวิตของตนคือ ผืนแผ่นดินอันอุดม ก็จะมีดวงจิตใดเปี่ยมไปด้วยเมตตาเทียบเท่าผืนแผ่นดิน และฉันปรารถนาให้ความเป็นผืนดินดำรงอยู่ในจิตตน เพื่อจะสามารถหล่อเลี้ยงชีวิตอื่นๆ ได้ เพราะคราใดที่เราหล่อเลี้ยงชีวิตอื่นด้วยพลังมากมายเท่าใด ฉันก็พบว่า เราได้รับไม่น้อยไปกว่านั้นเลย
 
เพื่อนรักคนหนึ่ง เธอมีมนตราฟื้นพลังชีวิตของเธอเช่นกัน คือ “แสดสดใส ปลาแหวกว่ายที่ใจกลางโลก” ฉันไม่รู้หรอกว่ามันหมายถึงอะไร แต่มีครั้งหนึ่งที่เธอป่วยหนักมาก และเธอเป็นลมหมดสติไป ฉันไม่ได้ทำอะไรนอกจากท่องบทพลังชีวิตของเธอซ้ำๆ ข้างๆ เธอ และเธอก็หัวเราะทันทีที่ฟื้นขึ้นมา บอกขอบคุณฉัน และบอกว่าเธอได้ยินเสียงท่องมนต์ของฉันอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถพูดหรือตอบโต้ได้
 
แล้วในยามนี้ ฉันก็กำลังท่องบทพลังชีวิตของฉันเองในใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างสงบ จนรู้สึกเหมือนกับว่าทั้งร่างกายมันท่องไปด้วยกันทั้งหมด ฉันระลึกถึงความน่าชังในตนเองนั้นอีกครั้ง เสียงนุ่มๆ ที่แสนอบอุ่นเคลื่อนออกมาอย่างแผ่วเบา ซ้ำๆ
 
“ขอโทษ ขอโทษนะ ฉันรักเธอเหลือเกิน ฉันขอโทษจริงๆ”
 
ในขณะนั้น ฉันเองไม่แน่ใจนักว่า เขา ผู้ที่ฉันเคยขุ่นเคืองนั้นจะรู้สึกอย่างไร เขาจะออกจากความทุกข์เช่นเดียวกับฉันหรือไม่ เพราะในยามที่ความโกรธ หรือความขุ่นเคืองใจเข้าครอบงำ เจ้าตัวทุกข์ก็ออกมาโลดเต้นอย่างไร้ท่วงทำนอง จะอย่างไรก็ตาม ในขณะที่ท่องมนตราอยู่นั้น ฉันเริ่มรู้สึกดีกับตนเอง และสัมผัสได้ ถึงพลังดีๆ ที่ขับเคลื่อนอยู่ภายในของตนเอง ฉันยังคงเข้าไปดูแลภายในตนเอง ไปบอกรักความน่าชังของตน ตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
มันช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน ที่ดูเหมือนสิ่งต่างๆ ก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดี ฉันและผู้ที่ฉันขุ่นเคืองนั้นเริ่มพูดคุยกันได้มากขึ้น แม้จะยังไม่สนิทสนมนัก แต่ราวกับระหว่างเราไม่เหลือความชิงชังอยู่เลย เป็นแต่เพียงว่า เราจะเริ่มอย่างไรดี ในการสานความสัมพันธ์
 
 
 
Sunday, May 27, 2007
 
 
Posted by knoom at 10:38 PM| 0 commentsLabels: ธนัญธร เปรมใจชื่น

:yociexp42:http://jittapanya.blogspot.com/2007/05/contemplativeeducationyahoo_27.html
4535  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา :ประชุมดีมีสติ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:31:59

 
 
โดย มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
 
-----------------------
 
ชีวิตของพวกเราหลายคนอยู่กับการประชุม ทั้งการประชุมแบบเป็นทางการวงใหญ่ จนถึงการประชุมแบบไม่เป็นทางการสองสามคน หลายท่านคงเคยอยู่ในวงประชุมที่เครียด เหนื่อย อยากรีบเลิกเร็วๆหรือการประชุมที่มีความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนก็เป็นคนดีๆ กันทั้งนั้น แต่พอประชุมร่วมกัน ทำไมหนอจึงไม่ยอมกัน ขัดแย้งกัน โกรธกัน ทะเลาะกันได้ ทั้งนี้ไม่ได้ยกเว้นแม้กลุ่มคนที่ทำงานเรื่องความดี เรื่องคุณธรรม หรือแม้กระทั่งเรื่องความสุข
 
 
 
เหมือนเดิมที่เราคงจะไม่ไปหาแพะหรือใครที่เราจะโยนความผิดให้ แต่เรามาเรียนรู้ร่วมกันผ่านประสบการณ์ตรงของพวกเรากันเอง เคยบ้างไหมที่เวลาเราเสนออะไรขึ้นมาแล้วมีคนไม่เห็นด้วย รู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ บางคนอาจรู้สึกโกรธ หงุดหงิดรำคาญใจ หรือรับฟังเนื้อหาที่แตกต่างได้แต่โดยดี ไม่ว่าผู้นำเสนอความเห็นแตกต่างนั้น จะเสนอด้วยอารมณ์หรือกิริยาสุภาพหรือก้าวร้าวอย่างไรก็รับฟังได้อย่างสบาย ได้รับเนื้อหาที่อาจเป็นประโยชน์เสริมเนื้อหาเดิม หรือใช้ปรับปรุงคุณภาพข้อเสนอเดิมได้ เพียงแต่ว่า...ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรือเปล่าคะ
 
 
 
ต้นรากความรำคาญใจของเราเมื่อมีคนเห็นขัดแย้งอยู่ที่ไหนบ้าง เราโกรธเพราะเขาบอกว่าความคิดของเราไม่ดีพอ ความคิด “ของเรา” นั่นเอง “ของเรา” ที่ถูกกระทบเพราะมีตัวตน มีอาณาเขตที่เรียกว่า “ของเรา” ถ้าไม่มีความเข้าใจผิดว่าเป็น “ของเรา” ความขุ่นเคืองบีบคั้นจิตใจเพราะถูกกระทบก็ไม่น่าจะมีได้ เพราะไม่มีตัวตนหรือกำแพงอะไรให้ถูกกระทบได้
 
 
 
เปรียบเหมือนคนตีลูกเทนนิสเข้ากระทบฝาผนัง ถ้าไม่มีฝาผนังเสีย ลูกเทนนิสที่ถูกตีมาก็ทะลุผ่านไปได้ ไม่กระทบกับฝาผนังหรือ “ตัวเรา ของเรา” จนอาจเกิดการสะท้อนย้อนกลับไปที่ผู้ที่ตีลูกเทนนิส เหมือนที่เราพบได้ในหลายการประชุม เมื่อมีคนค้านความคิดอีกคนหนึ่ง คนที่ถูกค้านก็มักจะแสดงความอึดอัด หรือหาทางโต้กลับในรูปแบบต่างๆ เกิดเป็นความขัดแย้งกันไปมา
 
 
 
อย่างไรก็ตามการลดตัวตนหรือความเป็น “ตัวเรา ของเรา” นี้เป็นเรื่องที่ยากหรือเป็นหนทางอันยาวนานสำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งวิธีหนึ่งที่หลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้วเช่น การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา แต่เราก็ยังต้องประชุมกันอยู่เรื่อยๆ ทั้งๆ ที่อาจยังไม่เข้าถึงสัจธรรมข้อนี้อย่างถ่องแท้ เราจะทำกันอย่างไรดี จึงจะไม่ทรมานกับความทุกข์ซ้ำซากแบบนี้อีก
 
 
 
มีเทคนิคจากที่ต่างๆ ที่เคยเห็นเขาใช้กันมาเล่าให้ท่านผู้อ่าน เริ่มจากตัวอย่างการตกลงร่วมกันในที่ประชุม เช่น
 
 
 
การประชุมของมหาวิทยาลัยนาโรปะ ดร. ปีเตอร์ เฮิร์ซท อดีตรองอธิการบดี เคยเล่าให้ชาวจิตตปัญญาฟัง และทดลองทำกันด้วย คือการที่ผู้เข้าร่วมประชุมโค้ง หรือ Bow ให้แก่กันก่อนการประชุมพร้อมๆ กัน ทุกคนนั่งอยู่ที่เก้าอี้หลังตรง เปิดตา เปิดใจใช้มือวางเท้าบนตักทั้งสองข้าง แล้วโค้งหรือน้อมตัวลงมาจากส่วนเอวช้าๆ อย่างมีสติพร้อมๆ กัน เราลองทำกันทั้งก่อนและหลังการประชุม รู้สึกเป็นการเรียกสติให้อยู่กับเนื้อกับตัวดีก่อนการประชุม ซึ่งโดยทั่วไปเราจะวุ่นวายกับเรื่องต่างๆ ก่อนจะเข้าห้องประชุม ซึ่งทำให้หลายคนที่ใจอาจจะยังไม่อยู่ในห้องประชุมได้กลับเข้ามาตั้งใจเริ่มประชุมกัน ซึ่งการโค้งของชาวนาโรปะนั้นอันที่จริงมีเรื่องลึกซึ้งแฝงอยู่มากมายในนั้นเป็นต้นว่า เป็นการแสดงความเคารพในความกล้าหาญของนักรบ หรือผู้ที่กล้าพอจะเป็นคนอ่อนโยนโดยแท้จริง อ่านเสริมได้ที่ http://www.naropa.edu/about/bow.cfm
 
 
อีกตัวอย่างที่ประทับใจคือการประชุมของชาวหมู่บ้านพลัม หรือศิษย์ของหลวงปู่ติช นัช ฮันท์ พระเซ็นชาวเวียดนามที่ฝรั่งเศสผู้โด่งดังและกำลังจะมาเมืองไทยในวันที่ ๒๐-๓๑ พฤษภาคมนี้ (ดูรายละเอียดกำหนดการของท่านได้ที่ www.thaiplumvillage.org ) การประชุมของชาวหมู่บ้านพลัมจะมีเสียงระฆังดังทุกๆ ๑๕ หรือ ๒๐ นาทีแล้วแต่ตั้งกันไว้ ในขณะที่ประชุมพอเราทุกคนได้ยินเสียงระฆังก็จะหยุดพูดทันที ผ่อนคลายร่างกายอยู่กับลมหายใจ เป็นการกลับมาอยู่กับความสงบอีกครั้งจนกระทั่งเสียงระฆังค่อยๆ จางไป จึงประชุมต่อ
 
 
 
 
 
 
บางคนอาจสงสัยว่าแล้วจะประชุมต่อรู้เรื่องหรือ ไม่ลืมหรือ เท่าที่เคยอยู่ในวงประชุมแบบนี้มาก็เห็นพูดต่อกันได้สบายๆ นะคะ ที่ดูจะมีคุณอเนกอนันต์มากเห็นจะเป็นตอนที่มีการถกปัญหากันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด แล้วพอดีมีระฆังดังขึ้นมา “เก๊ง.....” เหมือนพักยกเลย J เราก็ได้ “รู้สึกตัว” กันขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่จมไปกับความคิดและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่ประชุม เมื่อเสียงระฆังหยุดเราก็เริ่มคุยกันต่อด้วยสภาพที่อารมณ์ลดลงมากแล้ว

 
 
 
 
 
 
 
 
ระฆังแห่งสตินี้เป็นวิธีการฝึกที่ไม่ใช่เพียงแต่ในการประชุมแต่ในชีวิตประจำวันด้วย ท่านใดสนใจอ่านต่อได้ที่
 
http://www.plumvillage.org/practice/html/bellOfMindfulness.htm

สำหรับตัวระฆัง ถ้าไม่มีระฆังเสียงใสๆหรือต้องยุ่งในการจับเวลาหาคนมาตีระฆัง ขอนำเสนอโปรแกรมระฆังสำเร็จรูปเสียงใสกังวานใช้ได้ทีเดียวที่
 
http://www.mindfulnessdc.org/mindfulclock.html
 
 
ตัวอย่างเทคนิคเหล่านี้อาจจะพอเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง ถ้าผู้ร่วมประชุมกับท่านยอมตกลงกับวิธีการร่วมกันกับท่านด้วย แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าจะได้ผลหรือเปล่าหรือคนอื่นจะทำด้วยหรือเปล่า ขอเสนอให้ลองเปิดเสียงระฆังเองคนเดียวดูก่อนจากเครื่อง notebook พอเสียงระฆังดังทีหนึ่ง เราก็เรียกสติมาทีหนึ่งผ่อนคลายสบายๆ ทั้งกายใจ อย่างน้อยเราเองก็จะได้มีสติไม่เผลอหงุดหงิดหรือจมไปกับเรื่องในที่ประชุมเกินไป ซึ่งคงจะต้องปรับใช้กันในแต่ละบริบทที่แตกต่าง
 
 
 
ลองทดลองเล่นดูนะคะ ได้ผลไม่ได้ผลอย่างไรอีเมล์มาคุยกัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการประชุมนะคะ
 
 
Sunday, May 20, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 3:55 PM| 0 commentsLabels: มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ


http://jittapanya.blogspot.com/2007/05/contemplativeeducationyahoo_21.html
4536  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : เดินพักตระหนักรู้ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:29:04
http://2.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/Rj9nc2z9KtI/AAAAAAAAAEk/AKZLFI_5_RA/s1600-h/dancing+cloud.jpg

 
โดย ชลลดา ทองทวี
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๐
---------------------------------------------------------------
 
 
 
ในช่วงสองสามเดือนมานี้ ผู้เขียนได้สร้างนิสัยใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตัวเองได้หลายอย่างพร้อมๆ กัน
 
 
 
ครั้งแรกที่ทดลองทำดู รู้สึกแปลกๆ กับตัวเองอยู่บ้าง กิจกรรมที่ว่านี้ผู้เขียนเรียกว่าการ “เดินพักตระหนักรู้” คงได้แรงบันดาลใจจากกิจกรรมที่ คุณณัฐฬส วังวิญญู แห่งสถาบันขวัญเมือง ใช้ในการอบรม คือการผ่อนพักตระหนักรู้ เป็นการทำ body scan โดยนอนในลักษณะคล้ายกับนอนโยคะ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งกายและใจก่อนเข้าฝึกอบรม ค่อยๆ ดูกายและใจ และพักผ่อนอย่างตระหนักรู้ คลอไปกับเสียงเพลง หรือการนำเข้าสู่การผ่อนพักนั้น ด้วยถ้อยคำที่เหนี่ยวนำให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
 
 
 
ครั้งแรกที่ได้ลอง เพราะเป็นวันรถติดในกรุงเทพฯ วันนั้นตั้งใจไปดูละครในงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ ที่ถนนพระอาทิตย์ แต่เวลายังเหลืออีกมาก จึงลองเดินจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปถนนพระอาทิตย์ ในช่วงห้าโมงเย็น กว่าจะถึงที่หมายก็ใช้เวลาไปประมาณชั่วโมงกว่า มีหลายขณะที่รู้สึกว่าร้อนมาก และเหนื่อยมาก แต่เมื่อไปถึงแล้ว ก็รู้สึกดีใจว่าร่างกายของเราพอทำกิจกรรมนี้ได้
 
 
 
จากวันนั้น ถ้าไม่รีบอะไร ก็จะใช้วิธีเดินไปในกรุงเทพฯ เช่นเดินจากโรงพยาบาลวิชัยยุทธ มาอนุสาวรีย์ชัยฯ หรือเดินจาก โรงพยาบาลรามาธิบดีมาสยามสแควร์ ไปๆ มาๆ กลายเป็นเริ่มติดใจการเดินด้วยเท้าไปได้อย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
 
 
 
ในการ “เดิน” ทางแบบนี้ เครื่องมืออะไรที่จะใช้ในการดูแลกายและใจได้ ได้ถูกเอาออกมาใช้จนหมดจนสิ้น และทำให้รู้สึกสนุกสนาน
 
 
 
วันนี้ ผู้เขียนเลยติดใจ ลองเดินจากตึกช้างที่แยกรัชโยธิน ไปถึงสถานีรถไปสามเสน และไม่ได้รู้สึกว่าไกลหรือเหนื่อยอะไรเลย ทั้งไม่ได้รู้สึกว่า ภูมิใจหรือท้าทายด้วย เพราะรู้แล้วว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ และเคยได้ทำ สิ่งที่เกิดขึ้นจึงมีแต่คุณภาพของการเดินที่ดีขึ้น รู้เนื้อรู้ตัวมากขึ้น และการเดินเพื่อที่จะเดินเท่านั้น
 
 
 
เวลาได้เดินแบบนี้ ผู้เขียนคงได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากเรื่องเทวดาท่าจะบ๊องส์ (God Must Be Crazy) ตัวละครเป็นชาวชนเผ่าบุชแมน ซึ่งยังมีวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่คุ้นเคยกับรถยนต์และเรียกว่า สัตว์ที่มีขาแปลกๆ และมีเสียงดัง เวลาพวกเขาไปไหนจะพึ่งพาขาและเท้าของตัวเองมาก พวกเขาสามารถเดินไปได้เรื่อยๆ เป็นวันๆ โดยไม่ต้องพกน้ำหรืออาหารไปด้วย เพราะธรรมดาของคนเดินด้วยเท้า จะแบกสัมภาระมากย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงเป็นการวางใจว่า จะไปหาเอาดาบหน้าได้จริงๆ
 
 
 
อีกส่วนคงได้แรงบันดาลใจจากการเดินของอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ นัก “เดิน” ทางที่หลายคนคงมีโอกาสได้รับฟังเรื่องราวของท่านบ้างแล้ว อาจารย์ประมวลตั้งใจมุ่งมั่นจะเดินเท้าจากเชียงใหม่ ไปยังบ้านเดิมที่เกาะสมุย โดยไม่พกพาเงินไปด้วย เป็นการเดินทางที่สำคัญต่อการเดินทางข้างใน มากกว่าการเดินทางข้างนอก และท่านก็ทำได้สำเร็จ ทั้งมีเรื่องราวที่น่าประทับใจจากการเดินทางครั้งนี้มาบอกเล่า เป็นแรงบันดาลใจให้กับการเดินทางในชีวิตของใครต่อหลายคน
 
 
 
สำหรับผู้เขียนแล้ว เป็นการเดินทางในป่าเมือง ทั้งยังมีเงินในกระเป๋า เรียกว่ามีตัวช่วย จึงไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่ทำนี้ยากเย็นเกินไป แต่การมีเงินทำให้เกิดคำถามใหม่ๆ เช่น จะใช้เงินเมื่อไรและทำไม เงินกลายเป็นเครื่องมืออีกอย่างที่เราจะเลือกใช้หรือไม่ก็ได้ ไม่ใช่สิ่งที่ขาดไม่ได้เหมือนเวลาที่ไม่ได้ใช้กำลังจากเท้าพาเราเดินทาง มีหลายครั้ง ที่ได้เห็นด้วยว่า การมีเงินในกระเป๋า มัน “หนัก” ที่ใจ ที่ต้องเลือกใช้มันด้วยเหมือนกัน
ผู้เขียนพบว่าการพักผ่อนให้หายเหนื่อยเป็นเรื่องไม่จำเป็น ในการเดินทางระยะสั้นๆ แค่นี้ เพราะว่าการเดินโดยไม่แบกว่าการเดินทางนี้เป็นภาระ จะรู้สึกเหนื่อยน้อยมาก หากเราเลือกที่จะผ่อนลมหายใจให้เหมาะสม และเดินในฝั่งที่แดดไม่ร้อน แม้ว่าจะต้องเดินอ้อมลัดเลาะและช้าลงบ้าง จะทำให้การเดินทางเพลิดเพลินขึ้นและไม่กระหายน้ำ
 
 
 
และการไม่คาดหวังว่าจะไปถึงไหน เพื่ออะไร จะช่วยให้การเดินแต่ละก้าวเบาสบาย จริงๆ แล้วกลับทำให้ไปได้ไกลกว่าเดิม
 
 
 
ยิ่งเดินก็ยิ่งเห็นตัวเองว่าเดินทางอย่างไรในชีวิต เราแบกอะไรที่ไม่จำเป็นไปแค่ไหน เราคาดหวังและเหนื่อยล้าเร็วเพียงใด เราตั้งเป้าหมายที่ทำไม่สำเร็จ เพราะมีระหว่างทาง มีเรื่องราวต่างๆ มาแทรกได้อีกมากมาย ซึ่งเป็นธรรมชาติของชีวิต และระหว่างทาง เราเลือกเผชิญกับสิ่งที่ไม่ถูกอกถูกใจ เช่นสุนัขที่เห่าอยู่ข้างทาง ทางแยกข้ามยาก รวมทั้งคนแปลกหน้าท่าทางไม่น่าไว้วางใจ ด้วยท่าทีอย่างไรกัน ในการเดินพักอย่างตระหนักรู้เช่นนี้ เรามีเวลามากพอ ที่จะสังเกตดูจิตดูใจตัวเอง เพราะนอกจากการก้าวเดินแต่ละก้าวแล้ว เราก็ไม่มีภาระหน้าที่อื่นให้ทำเลย
 
 
 
ชีวิตเต็มไปด้วยโอกาสของการเลือก การเดินเท้าทำให้เราเห็นจังหวะการก้าวเดินของจิตใจและร่างกายของเราชัดยิ่งขึ้น เมื่อมีทางเลือกเข้ามาในทุกขณะของปัจจุบันขณะ เราคิดอะไร เรารู้สึกอะไร และเราเลือกที่จะตัดสินใจทำอะไร
 
 
 
การตัดสินใจก้าวเท้าออกเดินไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราไม่ต้องรอแท็กซี่คันที่ว่าง หรือสตาร์ทรถ ไม่ต้องมีเงินในกระเป๋า แค่เราก้าวขาของเราออกไปเท่านั้น ขณะที่รถติด เราก็ยังไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องหยุดรอ จริงๆ แล้วเราไม่ต้องหยุดเลยแม้แต่ก้าวหนึ่ง ทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน โดยที่เราไม่ต้องรอให้มีเลนจักรยานเพื่อการเดินทางที่ไร้มลพิษ เพราะพื้นที่ที่จะให้เราเดินยังพอมีอยู่มากพอบนบาทวิถีในเมืองกรุง
 
 
 
การ “เดิน” ทางในชีวิต ถ้าเราเดินแบบเดินพักตระหนักรู้ เราจะได้อะไรมากไปกว่าระยะทางที่เพิ่มขึ้น จริงๆ
 
 
 
 
 
Sunday, April 22, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 7:49 AM| 0 commentsLabels: ชลลดา ทองทวี


http://jittapanya.blogspot.com/2007/05/contemplativeeducationyahoo.html
4537  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : อาชีพแห่งความเป็นมนุษย์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:27:28
http://2.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/RhZVbZMgQcI/AAAAAAAAAD8/O5OJ20jmA7M/s1600-h/free.jpg

http://2.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/RhZVTZMgQbI/AAAAAAAAAD0/cnd-r60tCvk/s1600-h/here+and+now3.jpg

 
 
โดย ณัฐฬส วังวิญญู
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๐
------------------------------------------------------------
 
 
 
เวลายายของผมกลับไปทำบุญและเยี่ยมเยียนหมู่บ้านทุกวันพระ บางครั้งจะมีคนในหมู่บ้านถามว่า ผมทำงานอะไร ยายมักตอบไปว่า “ก็ไม่รู้เหมือนกัน เห็นเดินทางไปๆ มาๆ” และยายก็มักจะหัวเราะตามเสมอเวลาที่ตัวเองไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าอาชีพของหลานตัวเองนั้นคืออะไร แม้ว่าจะล่วงเลยมาหลายปีแล้วนับตั้งแต่วันที่ผมตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านในเมืองเล็กๆ อย่างเชียงราย ยายเองดูจะมีความสุขและภูมิใจที่เห็นผมมีเวลาอยู่กับบ้าน ได้กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา อย่างน้อยก็มื้อเย็น หรือไม่ก็มื้อกลางวันด้วย และผมมักมีเวลาพูดคุยกับยายเสมอ บางครั้งเราเพียงแต่มองหน้าสบตากัน รับรู้กันและกันว่ายังดำรงอยู่ด้วยดี ก็มีค่าเพียงพอแล้ว ยายคงคิดว่าอาชีพการงานที่ไม่เป็นหลักแหล่ง หรือการไม่มีงานประจำของผม เป็นเรื่องไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไร
 
 
 
ในประเทศออสเตรเลียปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหนึ่งคือ คนต้องการมีเวลาให้กับ “การมีชีวิต” มากขึ้นแล้วลดเวลาของการทำงานลงเหลือเพียง ๑ ใน ๓ ของงานเต็มเวลา เช่น เดือนหนึ่งก็อาจทำงานเพียง ๑๐ วัน หรือทำงานสัปดาห์ละ ๓ วันให้เพียงพอแก่การหล่อเลี้ยงชีพ ส่วนเวลาที่เหลือก็ทำงานเพื่อวาระแห่งชีวิต เรียนรู้ ดูแล สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
 
 
 
ผมรู้สึกว่าคำถามว่า “คุณทำงานอะไร” เป็นคำถามทั่วไปที่เป็นที่นิยมไม่น้อย พอๆ กับคำถามว่า “เป็นคนที่ไหน” หรือ “เรียนจบที่ไหน” หรือ “เรียนจบอะไร” หรือ “แล้วจะทำอะไรต่อ” ราวกับว่าสถาบันเหล่านั้น หรืออาชีพนั้นสำคัญต่อการดำรงอยู่และการเลี้ยงชีพมาก โดยเฉพาะในแง่การเติมเต็มความจำเป็น และความต้องการทางวัตถุ การได้เงินเดือนเท่าไร หรือได้รับการเพิ่มขั้น ขึ้นเงินเดือนหรือเพิ่มโบนัส กลายเป็นสิ่งที่ตั้งตารอคอย
 
 
 
ชีวิตของคนทำงานหาเช้ากินค่ำ มีงานประจำ มีเงินเดือนสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เป็นชีวิตที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือวาระขององค์กร ของสถาบัน หรือของบริษัทนั้นๆ จนบางทีก็ไม่แน่ใจนักว่าพลังชีวิตของเราถูกใช้ไปเพื่อรับใช้วาระขององค์กรหรือวาระของตัวเองอย่างสมดุลหรือเปล่า อีกทั้งชวนให้ตั้งคำถามว่า วิถีที่เป็นอยู่นี้สามารถรับประกันว่า สุดสายปลายทางของชีวิตที่กำลังวิ่งบนสายพานแห่งการทำงานอย่างไม่หยุดยั้งนี้เราจะพบเจอกับชีวิตที่งดงาม มั่งคั่งด้วยความสุขและความพึงพอใจได้มากน้อยเพียงใด
 
 
 
หากเรามองอย่างเอาชีวิตเป็นตัวตั้งดูบ้าง เราอาจค้นพบว่า ชีวิตก็มีความเป็น “องค์กร” มีความเป็น “สถาบัน” ที่มีเป้าหมายแห่งการดำรงอยู่เช่นกัน มีวาระแห่งชีวิตที่พึงได้รับการหล่อเลี้ยงเติมเต็ม
การสละเรื่องส่วนตัว เวลาส่วนตัว เวลาครอบครัว พลังชีวิตเพื่ออุทิศให้กับการบรรลุเป้าหมายหรือวาระขององค์กรนั้นดูเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมสรรเสริญ แล้ว “วาระของชีวิต” ของเราเองล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายใจของตัวเองและคนที่เรารัก หรือคนใกล้ชิดที่สุดที่บางครั้งเราคิดไปเองว่าเป็น “ของตาย” ล่ะ เราได้ดูแลอย่างที่เราอยากดูแลหรือเปล่า ทั้งๆ ที่บางทีเราบอกตัวเองว่าที่ทำไปก็เพื่อครอบครัว เพื่อลูก หรือเพื่อคนใกล้ชิด แต่เราได้สละตัวเองเพื่อตัวเองบ้างไหม
 
 
 
เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไป เราอาจต้องเดินทางมากมาย เราทำงานหามรุ่งหามค่ำ แต่เมื่อเราได้มีโอกาสได้หยุดใคร่ครวญบ้าง เราก็อาจพบว่าการเดินทางที่เรายังไม่ค่อยได้ไปนัก คือการเดินทางด้านใน เพื่อเข้าไปสืบค้นและทำความเข้าใจกับตัวเองอย่างแท้จริงว่า ความปรารถนาที่อยู่ลึกที่สุดในหัวใจของเราคืออะไร ภารกิจอันแท้จริงของความเป็นมนุษย์ นอกไปจากภารกิจที่พึงปฏิบัติในฐานะสมาชิกของสังคม องค์กร หรือครอบครัว คืออะไร ภารกิจที่เราจะต้องกระทำให้กับชีวิตเราเองคืออะไร
 
 
 
เราได้ค้นพบหรือไม่ว่าลึกที่สุดในชีวิตเราคืออิสรภาพและความรัก ที่จะ “เลือก” ใช้ชีวิตของเราตามครรลองของหัวใจและด้วยความไว้วางใจอย่างไม่มีเงื่อนไข แม้นั่นอาจหมายถึงการดำเนินชีวิตที่แตกต่างออกไปจากวิถีทั่วไป ที่ผมไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นวิถีของความเป็นปกติ เพราะผมไม่คิดว่าการทำงานหนักวันละ ๘ ชั่วโมง ๕ วันต่อสัปดาห์ อย่างไม่มีเวลาได้ “ว่าง” เพื่อการใคร่ครวญ เป็นเรื่อง “ปกติ” เพียงแต่ได้รับการปฏิบัติต่อๆ กันมาในสังคมโลกตั้งแต่ยุตปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา จนเรียกว่า “ปกติ” ผมกลับคิดว่าเป็นเรื่อง “ผิดปกติ” เสียมากกว่า ทั้งนี้ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวันหรือต่อสัปดาห์นั้นคงไม่ใช่ตัวชี้วัดถึงความปกติหรือไม่ปกติ และคำว่า “ความว่าง” ของผมก็ไม่ได้หมายความว่า “การไม่ทำอะไร” แต่หมายถึง สภาวะการดำรงอยู่ภายในของเรามากกว่าว่าสอดคล้องกับสิ่งที่เราทำอยู่ และสอดรับกับเป้าหมายหรือภารกิจอันแท้จริงของชีวิตเราหรือไม่
 
 
 
ช่วงนี้ เพื่อนผมบางคนที่พ่อหรือแม่เริ่มชราภาพและเจ็บป่วยตามกาลเวลานั้นได้เลือกที่จะละจากการทำงานประจำมาเพื่อดูแลผู้อันเป็นที่รัก หลายคนบ่นให้ฟังว่า ไม่ง่ายเลยที่จะต้องอยู่บ้าน (แทนการไปทำงาน) การต้องเผชิญกับอารมณ์ลบ ความหงุดหงิด คับข้องหมองใจ ของทั้งตัวเองและผู้ที่เขาให้การดูแลอยู่ จนถือได้ว่าเป็นภารกิจที่หนักหนาสาหัสเอาการได้เหมือนกัน
 
 
 
ผมรู้สึกชื่นชมสิ่งที่เพื่อนๆ ได้เลือกกลับมาดูแลหล่อเลี้ยงพ่อแม่ของตัวเอง แม้นว่าโดยทั่วไป สังคมอาจไม่ถือว่านี่เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง เพราะมันไม่ได้สร้างรายได้อะไร ไม่ได้ไปเพิ่ม “ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ” หรือ GNP ไม่ได้มีความหมายต่อ “การเติบโตทางเศรษฐกิจ” แต่ผมถือว่าเป็น “อาชีพแห่งความเป็นมนุษย์” ที่คอยดูแล “วาระแห่งชีวิต” ที่เป็นปัจจุบันและมีความสำคัญต่อการสืบทอดมรดกแห่งความเป็นมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ซื้อหาไม่ได้ แต่สร้างเองได้ และมีค่าแก่การเติบใหญ่ทางจิตวิญญาณของเราเอง ซึ่งจะส่งผลให้ความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH) เพิ่มขึ้น ดังที่ประเทศภูฏานได้สร้างพื้นฐานตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ไว้
วาระแห่งชีวิตเหล่านี้น่าจะได้รับการยกระดับให้เป็นวาระแห่ง “ชาติ” ที่อาจหมายถึง วาระที่มีมาพร้อมกับการเกิดเป็นมนุษย์ และคงเป็นสิ่งที่น่ายินดีไม่น้อยหากผู้คนในสังคมสมัยใหม่จะ “เลือก” ใส่ใจคนรอบข้างอย่างอ่อนโยนยิ่งขึ้น ดูแลผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งทางเลือดเนื้อกายาและจิตใจของเขาอย่างเคารพ
 
 
 
เป็นที่น่าภูมิใจว่า จิตสำนึกและการปฏิบัตินี้ยังมีอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านของทุกหมู่เหล่า คือวัฒนธรรมแห่งการดูแล พ่อแม่เมื่อแก่เฒ่าก็มีลูกเต้ามาดูแล แต่การรุกเร้าของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมสายพานชีวิตนั้นทำให้หลายคนอาจรู้สึกว่า การต้อง“หยุด” มาดูแลวาระชีวิตของตนเป็นสิ่งที่ฝืนกับข้อเรียกร้องของ “งาน” และเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทั้งๆ ที่ลึกๆ แล้วเราต่างยอมรับว่าเป็นเรื่องสำคัญและมีค่ายิ่ง ผมเชื่อว่า อารยธรรมและอิสรภาพของมนุษย์นั้นจะได้รับโอกาสในการพัฒนาเมื่อเรา “หยุด” เป็น “ช้าลง” เป็น “เฝ้ามองสิ่งต่างๆ อย่างเนิ่นนาน” เป็น เห็นมรดกชีวิตอันล้ำค่าที่ดำรงอยู่รอบๆ ตัวเราและในตัวเรา
 
 
 
ร้อยปีมานี้ เรามุ่งเน้นแต่การ “พัฒนาไปข้างหน้า” ที่เป็นการทำให้เกิดสิ่งต่างๆ มากขึ้น สะสมมากขึ้น กอบโกยและเป็นเจ้าของมากขึ้น โดยไม่ค่อยใส่ใจหรือชื่นชมต่อสิ่งที่มีอยู่แล้ว ที่อยู่กับเราในปัจจุบัน เราอาจยังขาด “การพัฒนาไปข้างๆ หรือไปรอบๆ” คือการดูแลผู้คนที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือคนในชุมชน หรือ “พัฒนาไปข้างหลัง” คือการดูแลผู้ที่มีส่วนหล่อเลี้ยงผลักดันให้ชีวิตเราได้เติบใหญ่ เช่นครอบครัว พ่อแม่ ตายาย เป็นต้น หรือ “พัฒนาไปข้างบน” คือการเสริมเติมมิติแห่งความศักดิ์สิทธิ์และจิตวิญญาณให้กับชีวิตตัวเอง อาจเรียกได้ว่าเป็น “การพัฒนาไปข้างใน” ส่วนการ “พัฒนาลงด้านล่าง” คือการดูแลธรรมชาติ แผ่นดินและชีวิตน้อยใหญ่ที่มีส่วนทำให้เราดำรงอยู่รอดมาได้และเป็นหัวใจแห่งการดำรงอยู่รอดของอนาคตของมนุษยชาติ ทั้งหมดก็น่าจะเป็นการพัฒนาที่รอบด้านและสมดุล
 
 
 
บางทีการพูดถึง “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นจะเพิ่มมิติของการทำอะไรอย่างไม่ได้ผลตอบแทนทางวัตถุได้หรือไม่ เพราะคำว่า “พอเพียง” ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่หัวใจเท่านั้นที่จะรับรู้และทำได้ เพราะในเนื้อในตัวของวัตถุสิ่งของหรือเงินตราเองไม่สามารถทำให้พอเพียงได้ หากเศรษฐกิจพอเพียงอาจรวมถึง เศรษฐกิจที่สามารถเสริมสร้างความตื่นรู้ในปัจจุบันขณะ เพื่อมองเห็นความรุ่มรวยของการเดินทางเข้าสู่ภายในอย่างมองเห็นความเชื่อมโยงของชีวิต เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่เพียงเน้นการเติบโตด้านนอก แต่เป็นการเติบโตแห่งจิตวิญญาณด้านใน และเกื้อกูลให้อาชีพของความเป็นมนุษย์นั้นได้รับการชื่นชมสรรเสริญ เพราะไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไรก็ตาม เราก็คงไม่อาจปฏิเสธ “วาระแห่งชีวิต” ที่ดำรงอยู่ในเนื้อในตัวของเราเองได้ หากเพียงได้หยุดพักอย่างผ่อนคลาย และไตร่ตรองด้วยหัวใจ เราก็จะอาจพบเสียงเรียกร้องที่เป็นธรรมภายใน ที่เชื้อเชิญให้เราประกอบอาชีพแห่งความมนุษย์อย่างสมภาคภูมิ
 
 
 
Sunday, March 25, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 9:08 PM| 0 commentsLabels: ณัฐฬส วังวิญญู


 
http://jittapanya.blogspot.com/2007/04/human-profession-life-friendly-version.html
4538  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : สามฐาน สามทัศน์ กรอบการปฏิบัติสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:15:53
http://3.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/RgDzQ6CB98I/AAAAAAAAADo/Wz-Cad5D9sg/s1600-h/aeh.jpg

http://3.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/RgDxU6CB97I/AAAAAAAAADg/PPUiV1yDb3k/s1600-h/harmony3.jpg

 
 
โดย พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา

ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๐
-------------------------
 
 
 
ชีวิตที่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเราทุกคน หากเราเลือกใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับกระบวนการภายในตัวของมนุษย์ การใช้ชีวิตเช่นนี้ได้ จำเป็นต้องเริ่มต้นโดยมองตัวเราเองใหม่ในฐานะเป็นหน่วยองค์รวม อันประกอบขึ้นจากหลายส่วน ในที่นี้อาศัยการจำแนกจัดกลุ่มส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบกันเป็นองค์รวมชีวิต ออกเป็น “สามฐาน สามทัศน์”
 
 
 
สามฐานคืออะไร? สามฐานคือ ฐานกาย ฐานใจ และฐานปัญญา สามทัศน์คืออะไร? สามทัศน์หรือสามมุมมองคือ ทัศน์หรือมุมมองของฉัน ทัศน์หรือมุมมองของคนอื่น และทัศน์หรือมุมมองของกระบวนการ
การแยกแยะส่วนต่างๆ ในองค์รวมชีวิตออกเป็นสามฐาน สามทัศน์ เป็นการแยกแยะอย่างง่ายที่ช่วยให้เราเข้าใจว่ามนุษย์ไม่ได้มีตัวตนที่สามารถควบคุมได้ แต่มนุษย์จำเป็นต้องอ่อนน้อมอย่างเข้าใจต่อความหลากหลายอันประกอบขึ้นมาเป็น “ตัวฉัน” โดยแต่ละส่วนต่างมีกระบวนการที่มี “ชีวิต” ของมันเอง และความเป็นทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็น “ตัวฉัน” คือ “สหชีวิต” ที่แต่ละส่วนต่างอิงอาศัยซึ่งกันและกัน
 
 
 
ฐานกาย เป็นฐานแห่งพลังความมุ่งมั่นและการลงมือกระทำ มีกระบวนการอันเป็นธรรมชาติ เช่น ระบบการเยียวยาตัวเอง ระบบการรักษาสมดุลอุณหภูมิ และระบบการแลกเปลี่ยนอาหารกับธรรมชาติ เป็นต้น ฐานใจ เป็นฐานแห่งความรัก ความใส่ใจ และการเชื่อมโยงสัมพันธ์ มีกระบวนการอันเป็นธรรมชาติ เช่น กลไกการป้องกันตนเอง (Defense mechanism) การตั้งมั่นจดจ่อเป็นสมาธิ และการแลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกกับเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น ฐานปัญญา เป็นฐานแห่งการตื่นรู้ ก้าวข้าม และปล่อยวาง มีกระบวนการอันเป็นธรรมชาติ เช่น การใคร่ครวญพินิจพิจารณา ความรู้สึกตัว (awareness)
 
 
 
ทัศน์ของฉัน มีกระบวนการเข้าถึงด้วยการรู้สึกจากภายในจิตใจของเราเอง โดยมีตัวเราเองเป็นตัวตั้งของความใส่ใจ ทัศน์ของคนอื่น มีกระบวนการเข้าถึงด้วยการพูดคุยสนทนากับบุคคลอื่น เพื่อร่วมรู้สึกและเข้าใจมุมมองของเขา โดยเอาบุคคลอื่นเป็นตัวตั้งของความใส่ใจ ทัศน์ของกระบวนการ มีกระบวนการเข้าถึงด้วยการสังเกต ศึกษา และวิเคราะห์วิจัย โดยเอาระบบหรือกระบวนการเป็นตัวตั้งของความใส่ใจ เช่น การวางแผนระบบการทำงาน การเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การวางระบบการประเมินผล เป็นต้น
 
 
 
เราทุกคนในฐานะมนุษย์ต่างมีกระบวนการเหล่านี้ดำรงอยู่แล้ว แต่ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เรากลับไม่เคยนึกถึงและใส่ใจถามตัวเองว่า กิจกรรมที่เราทำ กำลังขัดแย้งกับกระบวนการอันเป็นธรรมชาติอยู่บ้างหรือไม่ เรากำลังทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความป่วยไข้หรือเสียหายชำรุด หรือเรากำลังทำให้เกิดภาวะติดขัดในกระบวนการใดอยู่บ้าง จนทำให้กระบวนการเหล่านี้ทำงานอย่างผิดปกติ ไม่ไหลลื่น
 
 
 
ทั้งนี้เนื่องด้วยองค์รวมชีวิตคือการพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกันของสหชีวิตในสามฐาน สามทัศน์ การฝึกฝนปฏิบัติอย่างเหมาะสมและบูรณาการจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในเบื้องต้นเราอาจพิจารณาการปฏิบัติเหล่านี้ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต
 
 
 
การฝึกปฏิบัติในฐานกาย ได้แก่ การออกกำลังกาย เช่น ชี่กง โยคะ ยกน้ำหนัก แอโรบิค วิ่งจ๊อกกิ่ง ว่ายน้ำ การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด และปลอดภัย การผ่อนคลายร่างกาย เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่าง การผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ (total relaxation) เป็นต้น การฝึกปฏิบัติในฐานใจ เช่น การทบทวนความรู้สึกของตนเอง การฝึกสมาธิจดจ่อกับสิ่งหนึ่งให้ต่อเนื่องไม่ขาดสาย (อย่างผ่อนคลาย) การเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เป็นต้น การฝึกปฏิบัติในฐานปัญญา เช่น การใคร่ครวญอย่างรอบคอบแยบคาย การเจริญสติ ฝึกความรู้สึกตัว เป็นต้น
 
 
 
จะเห็นได้ว่าการฝึกปฏิบัติข้างต้นส่วนใหญ่เป็นการฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับตัวเองเป็นหลัก ซึ่งเหล่านี้เป็นการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงมุมมองของฉันเป็นส่วนใหญ่ แต่การปฏิบัติเช่นนี้อาจทำให้เกิดภาวะติดขัดอยู่ภายในมุมมองเดียว หากขาดการเปิดมุมมองของคนอื่น และมุมมองของกระบวนการด้วย
 
 
 
ดังนั้น การเข้าถึงมุมมองของคนอื่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขยายโลกทัศน์ให้กว้างออกไปพ้นจากตัวเอง ไปสู่คนในครอบครัว ไปสู่เพื่อนร่วมงาน ไปสู่เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ การฝึกปฏิบัติอย่างง่ายๆ คือ การฟังอย่างใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพื่อนบ่นถึงความทุกข์ที่เขากำลังประสบ โดยไม่รีบตัดสินและแทรกด้วยความเห็นของเรา หลักการคือการเอาคนอื่นเป็นที่ตั้งหรือศูนย์กลาง
 
 
 
แต่กระนั้นการฝึกอยู่กับมุมมองคนอื่นแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้เราไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เลยหลงไปกับความสัมพันธ์จนอาจทำให้ตัวเราประสบแต่ความทุกข์และท้อแท้ได้ เพราะเรื่องราวของคนอื่นมีมากมายไม่มีที่สิ้นสุด การใช้มุมมองของกระบวนการจะช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า ขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนอยู่ในกระบวนการใด ตัวอย่างเช่น เรากำลังให้คำปรึกษาแก่เพื่อน และเราโศกเศร้าไปกับเขาเสียจนไม่สามารถหลุดออกจากมันได้ เราอาจจำเป็นต้องใช้การใคร่ครวญพินิจพิจารณา หรือความรู้สึกตัว ต่อตัวเรา และตัวเขา ด้วยว่า ณ ขณะนี้ กระบวนการภายในของเรากำลังติดอยู่กับฐานใจ โดยไม่สามารถหลุดออกไปได้ ทำให้ฐานกายและฐานปัญญาขาดพร่อง เพียงแค่เราสังเกตได้เท่าทันว่าเรากำลังติดอยู่กับกระบวนการอะไร นั่นก็คือการเริ่มมีมุมมองของกระบวนการแล้ว หลังจากนั้นหากเราชำนาญเพียงพอ ก็อาจจะปฏิบัติเพื่อทำให้พลังที่ติดอยู่กับฐานใจไหลเคลื่อนไปสู่ฐานกายหรือฐานปัญญา ทั้งในตัวเราและตัวเพื่อนได้เช่นกัน
 
 
 
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการเริ่มทำความรู้จักกับส่วนต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์รวมชีวิต ไม่มีส่วนใดเลยที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ตัวฉัน” เป็นเพียงการอิงอาศัยซึ่งกันและกันของกระบวนการที่มีชีวิตของมันเองในส่วนต่างๆ กรอบสามฐาน สามทัศน์ ทำหน้าที่ในขั้นต้นเป็นเครื่องเตือนให้เราไม่หลงลืมต่อแง่มุมที่สำคัญๆ ของมนุษย์ เมื่อเริ่มเปิดทัศนะแบบองค์รวมเช่นนี้ แล้วแยกแยะส่วนต่างๆ เพื่อร่วมปฏิบัติอย่างบูรณาการ ก็จะสามารถนำไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ได้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงชีวิต และตลอดไป
 
 
 
Sunday, March 18, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 3:46 PM| 1 commentsLabels: พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์



 
http://jittapanya.blogspot.com/2007/03/contemplativeeducationyahoo_539.html
4539  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : ละวางของหวง สลัดบ่วงของรัก เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:13:46
http://4.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/Rea-niihdYI/AAAAAAAAADA/ut-rVKxdeEI/s1600-h/IMG_asia4.JPG


 
http://4.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/Rea92iihdVI/AAAAAAAAACo/VouHfofv4yo/s1600-h/IMG_asia1.JPG

โดย สรยุทธ รัตนพจนารถ
 
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
-----------------------------
 
“บ้าจัง ทำไมต้องให้แลกของขวัญอะไรอย่างนี้ด้วย”
“ของที่เรารักก็ต้องหมายถึงของที่เราทะนุถนอม หวงแหน ให้ตายเถอะ แล้วใครจะอยากเอามาให้คนอื่น ของบางอย่างที่เรารักมันอาจไม่มีค่า ดูไร้ประโยชน์ถ้าคนอื่นได้ไป ของรักของเราอาจเป็นขยะสำหรับเค้าก็ได้นี่”
 
 
นักศึกษาชายคนหนึ่งเขียนสะท้อนกิจกรรมที่เราทำ เขาพูดถึงหนังสือ “ไม่ธรรมดา” ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ หนังสือเล่มโปรดของเขา สภาพเงาวับใหม่เอี่ยม ปกหลังในมีลายเซ็นอันงดงามของผู้เขียน ที่เขาอุตส่าห์ไปต่อแถวยาวเหยียดในงานสัปดาห์หนังสือกว่าจะได้มา
 
 
เขาเล่าว่าก่อนมาเรียนได้ตื่นแต่เช้า บรรจงละเลียดตัวอักษรอันงามงดเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะห่อด้วยใจสุดแสนเสียดายที่ต้องยกให้คนอื่นเสียแล้ว โธ่ ... ของชิ้นโปรดของเรา ต้องถึงคราบ๋ายบายแล้วหรือ
 
 
แต่ไม่ใช่เขาคนเดียวนะครับ ที่ได้ประสบการณ์เช่นนี้ ปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าของชั้นเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปีนี้ เราอยากแลกของขวัญกัน ผมเลยเสนอไอเดียกิจกรรม “สละของรัก” ข้อตกลงของเราทั้งอาจารย์และศิษย์คือ พวกเราจะกลับไปค้นของในบ้านที่เราอาศัย หาของในเรือนใจ ที่จัดเป็น “ของรักของหวง” ที่สำคัญที่สุด (หรือเกือบที่สุด) มาแลกกัน โดยที่ผมอุบวิธีแลกกันเอาไว้ก่อน บอกแต่ว่านี่เป็นแบบฝึกหัดให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น ยิ่งเขาเปิดใจ ยิ่งเขาจริงใจและจริงจังกับการเลือกเฟ้นเท่าไหร่ ผลของมันก็ยิ่งน่าสนใจมากเท่านั้น
 
 
พอถึงวันงาน แต่ละคนถือของที่ตนเตรียมมาด้วยท่าทีปะปนกันไป มีทั้งหน้าตางงๆ สงสัยว่าจะมาทำอะไร อย่างไรกัน และพวกแววตาละห้อย ชักไม่แน่ใจกับการตัดสินใจของตนเองว่าทุ่มทุนสร้างมากเกินไปหรือเปล่า
 
 
นักศึกษาหญิงคนหนึ่งเอาตุ๊กตาหมีน้อยที่ตัวเองพาเข้านอนด้วยกัน กอดฝันอยู่ทุกคืนมาแลก แม้เธอจะบอกว่ามันดู “เน่า” หรือ “เยิน” จนใกล้หมดสภาพ แต่ด้วยร่วมทุกข์ร่วมสุขมานาน จึงรู้สึกใกล้ใจเสียเหลือเกิน ตอนเช้าก็เอามาลูบแล้วลูบอีก คุณแม่เห็นเข้าถามว่าจะเอาไปไหน พอบอกว่าจะเอาไปแลกกับเพื่อน คุณแม่ถึงขนาดถามว่าจะกล้าตัดใจได้ลงหรือลูก ที่พูดอยู่นี่ก็ยังกอดไม่ปล่อยเลยนะ
 
 
พวกเราเดินแลกของกันแบบเชื่อมั่นในการจัดสรรของจักรวาล เชื่อในปัญญากายของเรา ไม่ต้องคิดคาดเดา หรือพยายามให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้ยินเสียงระฆัง พวกเราหยุดจับคู่แลกของสลับกับคนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ พร้อมกับกล่าวชื่นชมความดีของอีกฝ่ายด้วยความจริงใจ ได้ฝึกสืบค้นและแบ่งปันด้านบวกของกันและกัน
 
รอบที่สองที่เราหยุดเดินและสลับแลกของกันอีกครั้ง พวกเราได้มีโอกาสกล่าวขอโทษ และให้อโหสิกรรมกับคู่ของเรา ได้เดินทางเข้าไปยังส่วนที่หลายๆ คนไม่ค่อยคุ้นเคย และยากจะเอ่ยเหลือเกิน
 
 
รอบสุดท้าย พวกเราแลกของที่เราถือในมือ พร้อมมอบพรปีใหม่ให้แก่กัน เป็นความปรารถนาดีที่สื่อสารด้วยทั้งวาจาและใจ
 
 
เรากลับมานั่งกันเป็นวงใหญ่ และแกะห่อเฉลยว่าใครได้ของรักจากใคร แต่ละคนต่างเล่าเรื่องราวความเป็นมาของสิ่งของอันเป็นที่รัก ผมเองแม้เคยทำกิจกรรมนี้มาแล้ว แต่ทุกๆ ครั้งก็มีสิ่งน่าทึ่ง น่าประทับใจเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นความกล้าหาญของบางคนที่เลือกสละของรักอันมีตำแหน่งแห่งที่สำคัญในชีวิต ในใจของตน หรือความไว้วางใจกลุ่มจนเปิดเผยถึงชีวิตและการเดินทางที่ส่วนตัวมากๆ กับของรักของตน
 
 
รวมทั้งความ “บังเอิญ” ที่ดูเหมือนของนั้น “เลือก” คนที่จะรับ ไม่เพียงแต่คนให้มีโอกาสเลือกของเท่านั้น อย่างนักศึกษาหญิงนำตุ๊กตาหมีแสนรักมา เธอก็ได้ตุ๊กตาหมาที่เพื่อนรักของตนนอนด้วยทุกคืนไปกอดนอนแทน
 
 
หลังกิจกรรมหลายคนได้บันทึกเรื่องราวประสบการณ์การเดินทางด้านในของตนจากการละวางของรักสุดชีวิต อย่างเจ้าของหนังสือ “ไม่ธรรมดา” เล่าว่า “ด้วยความอยากให้กิจกรรมครั้งนี้ได้ประโยชน์กับเราจริงๆ ได้รู้จักการจากของที่เรารักบ้าง ... จึงไม่เอาของที่รักรองลงมา มาแทนของที่รักจริงๆ”
 
 
ไม่เพียงแต่พวกเขาได้สะท้อนถึงการเลือกสละของรัก แต่ยังได้เรียนรู้ถึงใจตนเองขณะที่แลกของกันว่า “เลือกของที่เรารักจริงๆ ได้ ก็พบกับความรู้สึกเสียดาย ต้องสู้กับความคิดข้ออ้างร้อยแปดที่จะไม่อยากเสียของที่รักไป”
 
 
สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญไม่แพ้สิ่งใด คือ การที่เขาได้เรียนรู้ว่าความคิดถึง ความห่วงหา ความรู้สึกเป็นจ้าวข้าวเจ้าของในสิ่งที่ดูว่ายิ่งใหญ่เสียจนปิ่มว่าจะขาดใจนั้น พอผ่านไปสักอาทิตย์สองอาทิตย์ความรู้สึกก็ซาๆไป เหมือนอาทิตย์ยามเที่ยง พอคล้อยยามบ่าย ย้ายเข้ายามอัสดง ย่อมอ่อนแรงลงตามลำดับ ฉันใดก็ฉันนั้น
“ความรู้สึกของวันนั้นที่ได้ ยังคงจำได้ดีว่ารู้สึกเสียดาย ... ตอนนั้นพยายามเอาข้ออ้างดีๆ มาปลอบใจ ... ถึงตอนที่เขียนอยู่นี้ไม่รู้สึกเสียดายแล้ว” นักศึกษาคนเดียวกันบันทึกไว้
 
 
นี่อาจเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่นักศึกษาประทับใจที่สุดในวิชานี้ก็ได้ ประสบการณ์การมีสติ ตั้งใจที่จะละวางของหวง ปลดบ่วงของรักที่รัดรึงเราไว้ รู้จักทิ้งสัมภาระที่เราเที่ยวแบกไปไหนต่อไหนบ้างเสียที แบบฝึกหัดง่ายๆ แค่นี้ แต่หากคนที่ทำตั้งใจ ก็จะได้เรียนรู้มหาศาล ทำบ่อยๆ ชีวิตยิ่งเบาสบายขึ้น มีความพร้อมในการสละของที่สำคัญหรือคิดว่าสำคัญต่อเรามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
 
 
สิ่งนี้ก็เหมือนกับการเรียนรู้สำคัญๆ ในชีวิตที่ใครทำใครได้ เหมือนอาหารที่ว่าอร่อยวิเศษเพียงใด นั่งพูด นั่งพิจารณาเท่าใด ก็รับรู้ได้ไม่เท่ากับการลงมือชิมด้วยตนเอง ไม่มีใครกินหรือเรียนแทนใครได้
 
ของแบบนี้ใครสละของหวงได้ก่อน ก็หมดห่วงได้ก่อนเช่นกันจริงๆ
 
 
 
 
Sunday, February 25, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 6:47 PM| 0 commentsLabels: สรยุทธ รัตนพจนารถ

http://jittapanya.blogspot.com/2007/03/contemplativeeducationyahoo.html
4540  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตตปัญญาศึกษา : รักคือ ... เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:12:16
http://1.bp.blogspot.com/_5OJkgU0mkkU/Rdsq9QQWDqI/AAAAAAAAACc/8i4lVLX8NC4/s1600-h/drama-nature.jpg

 
โดย ชลลดา ทองทวี เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา

ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
----------------------
 
 
 
เรื่องของชาร์ลี บราวน์ สนูปปี้ และเพื่อนๆ ในการ์ตูน Peanuts ของ Charles M. Schulz ซึ่งผู้เขียนชอบอ่านมาก มีตอนหนึ่งที่พูดถึงความหมายของความรัก โดยตัวการ์ตูนบางตัวนั่งอธิบายคำว่า ความรัก ด้วยนิยามต่างๆ เช่น รัก คือ ผ้าห่มเก่าๆ ที่เค้าติดและลากไปไหนมาไหนด้วยตลอด ซึ่งทำให้เราอ่านแล้วอมยิ้มไปด้วย
เราดูจะพยายามนิยามความรักกันมาทุกยุคทุกสมัย ในหลายรูปแบบ มีเพลงหลายเพลงบอกเล่าว่า รัก คืออะไร รักคือ คำๆ นี้.. รักคือความผูกพัน คือ ความจริงใจให้กัน..
 
 
 
ในวงสนทนากับนักศึกษากลุ่มหนึ่ง เด็กๆ ถามกันว่า ความรัก เปรียบเสมือนสมการที่ไม่ว่าจะให้กันอย่างไร ทั้งสองฝ่ายของสมการ จะต้องได้เท่ากันเสมอ หรือว่าความรักจะเปรียบเสมือนแก้วน้ำสองใบ ถ้าให้อีกฝ่ายไป อีกฝ่ายก็จะต้องมีน้อยลง จึงไม่อาจได้เท่ากันได้ทั้งสองฝ่าย แต่ว่าแต่ละคนเติมให้อีกคนเต็มได้ ถ้าต้องการ แม้ว่าจะต้องสูญเสียสิ่งที่ตนเองมีไปบ้าง
 
 
 
บางคนเลือกตอบว่า แก้วน้ำนั้นอาจไม่ได้มีแค่สองใบอย่างที่เราคิด คือมีแต่เขาและเรา แต่อาจจะมีอยู่อีกหลายแก้ว และเขาก็ต้องเติมเต็มความรักให้อีกหลายคนที่ไม่ใช่เรา ความรักจึงไม่ใช่การคำนวณการให้และรับให้เท่าเทียมกันระหว่างคนแค่สองคน แต่เป็นการยอมรับความรักจากคนๆ หนึ่ง ตามวาระของเขามากกว่า ไม่ว่ามันจะเป็นอย่างไร
 
 
 
หลายคนกลับตอบว่า ความรักยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเก็บไว้ในแก้วน้ำหรือคำนวณเป็นตัวเลขในสมการได้ และความรักสามารถให้ได้ไม่มีวันหมด เราอาจรักคุณพ่อ คุณแม่ คนรัก และเพื่อนๆ พร้อมๆ กันได้ โดยไม่ต้องเลือกแบ่งให้แก่ใคร และไม่ต้องสูญเสียมันไปจากตัวเราเอง
 
 
 
ในการพูดคุยกับเพื่อนบางคนในอีกวงหนึ่ง เพื่อนคนหนึ่งอธิบายว่า ความเจ็บปวดที่เราได้รับจากความรักนั้น เป็นเพราะเรารักแบบมีเงื่อนไข ต้องการได้รับความรักของอีกฝ่ายตอบแทน ความรักไม่ได้ทำให้เราเจ็บปวด แต่เป็นความคาดหวังของเราต่างหาก ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเช่นนั้น
 
 
 
ดูเหมือนว่าเราจะพยายามปิดฉลากความรักด้วยคำอธิบายต่างๆ และบางครั้งทำให้คิดถึงคำพูดหนึ่งของนายยิ่ง ลูกชายของพี่ใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ที่บอกว่า “เราไม่ควรฆ่าคำถามดีๆ ด้วย คำตอบห่วยๆ” ความรักที่เกิดขึ้นในใจของคนๆ หนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน และคุณค่าของมัน การสัมผัสกับความอบอุ่นและพลังอันนั้น และเดินทางไปกับความรักนั้นไปเรื่อยๆ ด้วยใจที่เปิดกว้าง น่าจะมีความสำคัญ กว่าการพยายามทำความเข้าใจและนิยามความรักนั้น
 
 
 
มีคนถามว่า ถ้าวันหนึ่ง มีนางฟ้าใจดีองค์หนึ่งมอบจักรวาลให้เป็นของขวัญในมือของเรา ขณะที่ในใจของเราวันนั้น กำลังโกรธเพื่อนคนหนึ่งอยู่มาก ที่เขาทำอะไรโดยไม่คิดถึงความรู้สึกของเรา เราโกรธจนยากที่จะชื่นชมหรือรักเขาได้เหมือนวันอื่นๆ เมื่อเรามีจักรวาลอยู่ในมือเป็นของขวัญแบบนี้แล้ว เราจะทำอย่างไรกับเพื่อนคนนี้
 
 
 
เราจะหยิบเขาโยนออกไปหรือ ในกล่องของขวัญใบนี้มีทั้งสิ่งที่สวยงามถูกใจ และไม่ถูกใจ แต่ว่าก็ล้วนแต่เป็นของขวัญ และแม้ของขวัญที่เราไม่ชอบ คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้โยนของขวัญทิ้งไป
 
 
 
ชีวิตของเราเป็นข่ายใยที่ไม่อาจแบ่งแยกออกจากจักรวาลและคนอื่นได้ ดังที่ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวไว้ ถึงการ “เป็นดั่งกันและกัน (Interbeing)” ของสรรพสิ่ง หากจักรวาลเป็นของขวัญในมือของเรา และเราก็เป็นหนึ่งในจักรวาลนั้น ความรักจะอยู่ในเนื้อในตัว โดยไม่ต้องตั้งคำถาม และไม่อาจพิจารณาวิเคราะห์มองดูด้วยสายตา สิ่งที่เราจะทำได้ คงมีแต่เพียงการดำรงอยู่ในความรัก ดังที่เป็น ในทุกสิ่งทุกอย่าง เท่านั้น
 
 
 
ก็คงจะเป็นทำนองเดียวกันกับเรื่องแก้วน้ำของความรัก ถ้าเรายังมองเห็นความรักของเขา และของเรา แบ่งเป็นแก้วน้ำสองแก้ว หรือหลายแก้ว และดูว่าใครจะเติมใครให้เต็ม เราอาจจะเหนื่อยล้าจากการชั่ง ตวง วัด นี้ได้ในเวลาไม่นานนัก แต่ถ้าความรักของเราและเขา รวมทั้งทุกๆ คน เป็นน้ำในแก้วใบใหญ่ใบเดียวด้วยกัน เราไม่ต้องเติมใครให้เต็ม ในแก้วน้ำใบเดียวกัน และเราไม่ต้องมอบความรัก เพราะไม่มีสิ่งที่ถูกรัก ซึ่งแยกออกไปจากตัวเรา
 
 
 
ความรักจึงอาจไม่ใช่ปัญหา “อะไรเอ่ย” ที่เล่นเกมยี่สิบคำถามแล้วจะได้คำตอบ ความรักอาจจะไม่ใช่ “ปัญหา” เลยก็ได้ แต่เป็นคำตอบในตัวเองเสมอ
 
 
 
สิ่งที่สำคัญคงไม่ใช่การพูดคุยโต้แย้งกันเรื่องความรัก ทั้งของเขาและของเรา แต่เป็นการมีความรักนั้นไว้ในหัวใจ มีทฤษฎีร้อยพันที่อาจจะอธิบายไอศกรีมก้อนหนึ่งได้ แต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าการสัมผัสไอศกรีมนั้น ด้วยการตักมันเข้าไปในปาก และให้ละลายไปบนลิ้นของเราเอง เช่นเดียวกับความรัก ในเวลาที่เราสัมผัสกับมันด้วยหัวใจ
 
 
 
แม้แต่การพูดคุยถึงความรักอย่างสวยงาม เช่น การโอบกอด (embrace) ทุกสรรพสิ่งอย่างที่เป็น การมีความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข (unconditional love) และการศิโรราบ (surrender) ก็ไม่มากมายและละเอียดลึกซึ้งพอเท่ากับการสัมผัสมันโดยปราศจากถ้อยคำ คำถาม คำตอบ และความคิด สักชั่วขณะหนึ่ง
 
 
 
ลองปล่อยให้ความรักมีวาระของมันเอง ที่ไม่ใช่วาระของเรา หรือวาระของเขาดูบ้าง และลองเข้าใจอะไรบางอย่างที่อธิบายให้คนอื่นฟังไม่ได้ และฟังคนอื่นอธิบายก็ไม่อาจเข้าใจได้ดูสักครั้ง
 
 
 
สุขสันต์วันแห่งความรัก ในทุกๆ วัน รวมทั้งตรุษจีนวันนี้ด้วยค่ะ..
 
 
Sunday, February 18, 2007
 
 
Posted by contemplative-soul at 7:02 AM| 0 commentsLabels: ชลลดา ทองทวี
 


http://jittapanya.blogspot.com/search?updated-min=2007-01-01T00%3A00%3A00%2B07%3A00&updated-max=2008-01-01T00%3A00%3A00%2B07%3A00&max-results=50
หน้า:  1 ... 225 226 [227] 228 229 ... 236
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 5.125 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กันยายน 2566 11:40:54