[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 15:48:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "มะเมียะ" แห่งตำนาน "รักต้องห้าม"  (อ่าน 3303 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 เมษายน 2556 07:12:29 »

.



เจ้าอุตรการโกศล
(ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)
(พ.ศ. ๒๔๒๐-พ.ศ. ๒๔๕๓)

มะเมียะ
ตำนานรักต้องห้าม

มะเมียะ   เป็นแม่ค้าสาวชาวพม่า ที่มีเรื่องราวของความรักต่างเชื้อชาติ ต่างฐานันดรศักดิ์  เกี่ยวพันกับเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม  ราชโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ  ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์  แห่งล้านนา  เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๘๒) กับแม่เจ้าจามรี  เรื่องราวความรักของคนทั้งสอง จบลงด้วยความโศกสลด สะเทือนใจ  กลายเป็นตำนานรักต้องห้ามเล่าขานสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ (อดีตคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษม)  ถ่ายทอดเรื่องราวดังกล่าวแก่ ปราณี  ศิริธร ณ พัทลุง    ต่อมา ปราณีได้นำคำบอกเล่าของเจ้าหญิงบัวชุมมาเรียบเรียงในหนังสือ “ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่”  และ “เพ็ชรลานนา ๒”  ดังสรุปความได้ดังนี้

ขณะอายุได้ 15 ปี  เจ้าอุตรการโกศล หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐแห่งเชียงใหม่  ได้ไปศึกษาวิชาความรู้ที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า  

มะเมียะได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่ออายุ ๑๖ ปี ขณะนั้น มะเมียะเป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กอยู่ในตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง  กำไรที่ได้จากช่วยพ่อขายบุหรี่ มะเมียะต้องนำไปจุนเจือครอบครัวอันประกอบด้วย พ่อ แม่ และน้องๆ ซึ่งอยู่ในฐานะปานกลาง

เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมออกเที่ยวตามตลาด ได้พบกับมะเมียะ ซึ่งเพิ่งกลับจากเมืองตองอู หลังจากไปอยู่กับป้าเธอเป็นเวลาหลายปี  ทั้งคู่เกิดถูกใจกันและกัน จึงคบหากันเรื่อยมา  ไม่นานทั้งสองก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา  ในวันพระทั้งสองมักจะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละแหม่ง  วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น  ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานว่าจะรักกันเรื่อยไปไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรัก ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น

เมื่อถึงกำหนดเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ เจ้าน้อยฯ ซึ่งขณะนั้นมีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ตัดสินใจให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนมายังเมืองเชียงใหม่ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษม เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่ ๒ แห่งการศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่าของเจ้าน้อยศุขเกษมแล้ว



http://f.ptcdn.info/622/024/000/1413631603-p4-o.jpg
"มะเมียะ" แห่งตำนาน "รักต้องห้าม"

มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙

หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาแล้วหลายวัน  เจ้าน้อยศุขเกษมได้ตัดสินใจเล่าความจริงให้เจ้าพ่อและเจ้าแม่ทั้งสองฟัง  แม้ว่าจะไม่มีคำใดเอื้อนเอ่ยออกมาในขณะนั้น  แต่เจ้าน้อยฯ ก็พอจะทราบได้ว่าทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นศรีสะใภ้อย่างแน่นอน  เพราะปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยฯ เป็นผู้ที่รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ต่อไป  หากเจ้าน้อย เลือกมะเมียะมาเป็นศรีภรรยา  ประชาชนย่อมต้องเกิดความอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะ  ผู้เป็นหญิงต่างสัญชาติ ในฐานะศรีภรรยาของเจ้าเมืองเชียงใหม่อย่างแน่นอน

อีกประการหนึ่ง สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากอังกฤษกำลังแผ่อำนาจไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะเมียะซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษและกำลังอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช (ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองเชียงใหม่)  อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง  

ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยฯ ไปพบและยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง  เย็นวันนั้นเอง เจ้าน้อยฯ ได้เข้าพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนต์ซึ่งเจ้าพ่อกับเจ้าแม่จัดขึ้น เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ท่านทั้งสองเชื่อว่ามะเมียะได้กระทำแก่เจ้าน้อยฯ อันเป็นเหตุให้เจ้าน้อยฯ หลงใหลในตัวนาง หลังจากพิธีรดน้ำมนต์ผ่านพ้นไป  ช้างพาหนะและไพล่พลที่จะใช้ในการส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่งก็ถูกเตรียมทันทีตามคำสั่งของเจ้าแก้วนวรัฐ



คุ้มหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ

เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษม กลับไปถึงที่พักในคืนนั้น มะเมียะซึ่งได้รับการเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่าฝ่ายละ ๒ คน  ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยศุขเกษม ที่เมืองมะละแหม่ง  มิฉะนั้น บ้านเมืองอาจเดือดร้อน  มะเมียะก็ได้กล่าวขึ้นด้วยความเสียใจว่า นางจะยอมจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน และแม้ว่านางจะจากไปไกล แต่ความรักอันมั่นคงจะยังคงอยู่ดังคำสาบานที่เคยให้ไว้แก่กัน

ฝ่ายเจ้าน้อยศุขเกษม ก็ยืนยันความรักที่มีต่อมะเมียะ และขอให้นางกลับไปรอที่บ้านก่อน หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้  

เช้าวันหนึ่ง ในเดือนเมษายน  ซึ่งเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละแหม่งของมะเมียะ  ประตูหายยาเนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่ใคร่จะเห็นโฉมของมะเมียะ ที่ลือกันว่างามนักงามหนา  บรรยากาศเต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง  

เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมพูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ  นางก็ปล่อยโฮออกมาด้วยความอัดอั้นตันใจ     กว่าทั้งคู่จะยอมแยกออกจากอ้อมแขนของกันและกันได้ก็เลยเวลาเดินทางไปมาก  เจ้าน้อยศุขเกษมได้รับปากกับมะเมียะว่า ตนจะยึดมั่นในคำปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อหน้าพระพุทธรูปวัดใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิตจะหาไม่ หากท่านนอกใจมะเมียะโดยสมรสกับหญิงอื่น ขอให้ชีวิตของตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว

เจ้าน้อยศุขเกษม ได้ยืนยันอีกว่าภายใน ๓ เดือน จะกลับไปหามะเมียะให้ได้  ท้ายที่สุดนางถึงกับคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้าสยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยศุขเกษม ด้วยความอาลัย ก่อนที่จะตัดใจขึ้นไปบนกูบหลังช้าง เป็นครั้งที่ ๒

เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้องๆ จากนั้นนางก็เฝ้าแต่รอคอยเจ้าน้อยจนครบกำหนด ๓ เดือน ที่ท่านรับปากไว้ แต่ก็ไร้วี่แววใดๆ

มะเมียะจึงได้ตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพระพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชี เพื่อแสดงตนในความบริสุทธิ์ ว่านางยังซื่อสัตย์ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม

หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรสระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยศุขเกษม ในขณะนั้น)  กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่  แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยศุขเกษม เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ของอดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต

แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้ม อันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ และไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ ท่านจึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง  เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐๐ บาท ไปมอบให้แก่แม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ  พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยศุขเกษม ให้กับแม่ชีมะเมียะ

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยศุขเกษม ต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด  หลังจากเดินทางกลับถึงเมืองมะละแหม่ง  มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๕๐๕  รวมอายุได้ ๗๕ ปี

ส่วนเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ชันษา ๓๓ ปี



...ข้อมูลคัดจาก : หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ  จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒  หน้า ๕๐๘๙-๕๐๙๐  ผนวกข้อมูลจาก วิกิพิดี สารานุกรมเสรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 13:16:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2558 13:03:04 »

.


เจ้าหญิงบัวชุมและเจ้าน้อยศุขเกษม

ตำนานรักมะเมียะ กับเรื่องจริงของคนอื่น

คำสอนหนึ่งที่ได้ยินกันมานานคือ "ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์" หากวันนี้ที่ชวนท่านผู้อ่านไปร่วมกันค้นหาความสนุกจากโศกนาฏกรรมรักของ"มะเมียะ"

ความสนุกที่ว่าไม่ได้เกิดจากการเห็นความทุกข์ของผู้อื่นแล้วสบายใจ หากเป็นความสนุกที่มีการโต้แย้ง ถกเถียงกันด้วยหลักฐานเอกสารทางวิชาการถึง "ตำนานรักมะเมียะ" ที่วรชาติ มีชูบท เขียนไว้ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์นี้ ในบทความชื่อว่า "ตำนานรักมะเมียะ เรื่องราวความรักของผู้ใด?"

เนื้อเรื่องบอกเล่ากันทั่วไปที่เราท่านทราบกันคือ นางสาวมะเมียะ บ้านอยู่มะละแหม่ง พบรักกับเจ้าน้อยศุขเกษม ลูกอุปราชเมืองเชียงใหม่ที่ไปเรียนหนังสือที่นั่น เมื่อเรียนจบเจ้าน้อยศุขเกษมจะกลับเชียงใหม่ ได้พามะเมียะกลับมาด้วย แต่ทางบ้านไม่ยอมรับจึงต้องส่งกลับ สุดท้ายเจ้าน้อยศุขเกษมตรอมใจตาย ส่วนมะเมียะไปบวชชี

ส่วนเนื้อหาที่ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง เรียบเรียงกล่าวถึงเรื่องมะเมียะว่า

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ เจ้าแก้วนวรัฐฯ น้องชายของเจ้าอุปราช (สุริยะ) เมืองเชียงใหม่ ส่งเจ้าน้อยศุขเกษม บุตรชายอายุ ๑๕ ปี ไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์แพทริก (St. Patrick′s School) เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า พ.ศ.๒๔๔๕ เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมมีอายุ ๑๙ ปี ได้ออกไปเดินเที่ยวในตลาดจึงพบมะเมียะ แม่ค้าขายบุหรี่อายุ ๑๕ ปี ทั้งคู่ต่างก็ตกหลุมรักซึ่งกันและกัน
 
เจ้าน้อยศุขเกษมอายุ ๒๐ ปี ต้องกลับเชียงใหม่ จึงแอบพามะเมียะกลับมาด้วย เมื่อกลับมาถึงจึงทราบว่าบิดาและมารดาได้หมั้นหมายผู้หญิงไว้ให้แล้ว เจ้าน้อยศุขเกษมเล่าเรื่องที่ลักลอบนำมะเมียะกลับมาให้ที่บ้านฟัง ผลก็คือท่านไม่ยอมรับมะเมียะเป็นสะใภ้ และให้ส่งตัวกลับทันที


ด้วยเวลานั้นอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลในคาบสมุทรมลายู มะเมียะเป็นคนบังคับของอังกฤษ การให้พักในคุ้มเจ้าอาจกลายเป็นคดีระหว่างประเทศได้ เจ้าน้อยศุขเกษมจะต้องเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในอนาคต ถ้าเลือกมะเมียะเป็นภรรยา อังกฤษอาจถือโอกาสเข้าแทรกแซงการเมือง จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนาต้องเสื่อมทรามลง ก่อนจะส่งมะเมียะกลับ พระสงฆ์ที่มีวิชาทางเวทมนตร์ประกอบพิธีรดน้ำมนต์เรียกขวัญให้เจ้าน้อยศุขเกษม ไล่ผีสางนางไม้ที่ทำให้ลุ่มหลงมะเมียะ เช้าวันที่มะเมียะออกเดินทาง ประชาชนจำนวนมากแห่แหนกันไปที่ "ประตูหายยา" มะเมียะลาเจ้าน้อยศุขเกษมด้วยการสยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยศุขเกษม

มะเมียะรอเจ้าน้อยศุขเกษมไปรับกลับเชียงใหม่ตามสัญญา แต่ไร้วี่แวว จึงได้ตัดสินใจบวชชี ภายหลังได้ข่าวว่าเจ้าน้อยศุขเกษมเข้าพิธีสมรสกับหญิงอื่น แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมาเชียงใหม่เพื่อพบเจ้าน้อยศุขเกษม แต่เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ยอมมาพบ สุดท้ายมะเมียะจึงเป็นแม่ชีตามความตั้งใจจนกระทั่งถึงแก่กรรมใน พ.ศ.๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๗๕ ปี
 
ขณะที่นักวิชาการชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งลงพื้นที่สืบหาข้อมูลในพม่า เขาเดินทางไปวัดพระธาตุไจ้ตาหล่าน เมืองมะละแหม่ง (วัดที่เชื่อว่ามะเมียะไปบวชอยู่) เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เจ้าอาวาสวัดดังกล่าวเล่าว่า




(ซ้ายบน) ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง
(ขวาบน) เรือแม่ปะหรือเรือหางแมงป่องที่ใช้ขึ้นล่องในแม่น้ำปิง
(ซ้ายล่าง) มุมหนึ่งในโรงเรียนเซนต์แพทริก เมืองมะละแหม่ง
(ขวาล่าง) คุ้มริมปิงของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตลาดนวรัฐ

ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๔-๕ ที่วัดมีแม่ชีชราอยู่แล้วรูปหนึ่ง ชื่อด่อนังเหลี่ยน อายุราว ๗๐ ปี บวชเป็นรูปชีมาช้านานแล้ว แม่ชีรูปนี้บวชเมื่อยังเป็นสาว ชอบมวนบุหรี่และมีคนมารับไปขายเป็นประจำ ภายหลังแม่ชีรูปนั้นก็เสียชีวิตลง ที่วัดก็ไม่มีแม่ชีต่อมาอีกเลย ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นมะเมียะ

เมื่อนักวิชาการท่านนั้นเดินทางกลับมา ได้นำผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องแม่ชีด่อนังเหลี่ยนมาเผยแพร่ ทำให้เรื่องราวความรักของมะเมียะและเจ้าน้อยศุขเกษมดูน่าเชื่อถือและเป็นจริงมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงการพลัดพรากของเจ้าอุตรการโกศลและมะเมียะกันอย่างยิ่งใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๖

ปราณีก็เคยยืนยันกับเหนือฟ้า ปัญญาดี จากหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือว่า

"คุณปราณีบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นภายในคุ้มเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวต่างๆ จึงรู้กันแต่ภายใน คนภายนอกไม่เคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของสาวพม่าคนนั้นเลย เพราะอาจถูกห้ามไม่ให้พูดถึง..." (หนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ ฉบับประจำวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘)

หากผู้เขียน (วรชาติ มีชูบท) ชวนเราให้เห็นข้อเท็จจริงที่ค้นคว้าจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรองหลายสิบรายการเพื่ออธิบายเรื่องนี้ ซึ่งขอยกเพียงฉากไฮไลต์ที่เจ้าน้อยศุขเกษมจำใจส่งมะเมียะกลับพอสังเขปดังนี้

"ประตูหายยา" ที่เจ้าน้อยศุขเกษมไปส่งมะเมียะ และชาวเมืองเชียงใหม่จำนวนมากไปเฝ้ารอดูว่าเธอสวยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องผิดวิสัย ตามความเชื่อของคนเชียงใหม่ ประตูหายยาเป็น "ประตูผี" สำหรับส่งศพออกนอกเมือง ยิ่งเป็นการเดินทางไปเมืองมะละแหม่ง ควรเลือกใช้ "ประตูท่าแพ" เพื่อลงเรือแม่ปะตามแม่น้ำปิงไปเมืองระแหง แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางบก ใช้ช้างเดินทางไปด่านแม่สอดสู่เมืองมะละแหม่ง เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด

การที่มะเมียะสยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยศุขเกษมด้วยความอาลัยรักนั้น วรชาติตั้งข้อสังเกตว่า

"เหตุการณ์ตอนนี้ให้เผอิญไปพ้องกับเหตุการณ์ที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงสยายพระเกศาเช็ดพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวกราบถวายบังคมลาที่สถานีรถไฟหลวงสามเสน ก่อนที่จะประทับขบวนรถไฟพิเศษเสด็จไปยังสถานีปากน้ำโพ เพื่อเปลี่ยนไปประทับกระบวนเรือเสด็จไปนครเชียงใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๑"
 
ส่วนประเด็นที่ชวนฉงนอื่นอีกมากมาย เช่น อายุของเจ้าน้อยศุขเกษม?, การไปเรียนที่เมืองมะละแหม่ง? ฯลฯ แต่ที่ถือว่าเป็นหมัดน็อกเลยก็คือ "ตำนานรักนี้เป็นเรื่องจริงของคนอื่น"
 
ซึ่งทั้งหมดนี้รอให้ช่วยกันอ่าน ช่วยกันวินิจฉัยในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม"



ที่มา : มติชนรายวัน วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.443 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 20:39:29