[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:23:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม-ตอบปัญหาธรรม กับพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี  (อ่าน 23938 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 76.0.3809.132 Chrome 76.0.3809.132


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 กันยายน 2562 18:28:02 »




ถาม-ตอบปัญหา กับพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

หลักของการนั่งสมาธิเบื้องต้น

ถาม: อยากให้พระอาจารย์อธิบายหลักของการนั่งสมาธิเบื้องต้นและลักษณะของสมาธิเบื้องต้นครับ

พระอาจารย์: ก็เบื้องต้นนั่งก็ให้นั่งขัดสมาธิ ถ้านั่งขัดสมาธิไม่ได้ก็นั่งเก้าอี้นั่งห้อยเท้าไป ตั้งตัวให้ตรงแล้วก็ตั้งจิตให้อยู่กับอารมณ์ที่เรากำหนดไว้เป็นเครื่องผูกใจ ถ้าใช้พุทโธก็บริกรรมพุทโธพุทโธไป ไม่ต้องหยุดไม่ต้องไปสนใจกับอะไรที่ปรากฏในขณะที่เรานั่ง ถ้าดูลมหายใจก็ดูที่ปลายจมูก รู้ว่าเข้ารู้ว่าออกไป เท่านั้นเอง แล้วถ้าใจไม่ไปยุ่งกับเรื่องอื่นอยู่กับพุทโธหรืออยู่กับลม ใจก็จะค่อยๆ สงบ รู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในถ้ำ พวกเสียงอะไรต่างๆ ที่เข้ามาทางร่างกายเราจะรู้สึกว่ามันห่างไปห่างไป เหมือนกับเวลาที่เราเดินเข้าไปในถ้ำนี้ เราจะรู้สึกว่าเสียงที่อยู่นอกถ้ำนี้มันเริ่มห่างไกลห่างไกลออกไป นี่คือลักษณะของความสงบ ใจจะเข้าข้างใน ใจจะปล่อยรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ ก็ทำไปเรื่อยๆ อย่าไปหยุด ไปจนกว่ามันจะสงบแล้วมันจะหยุดของมันเอง แล้วเราค่อยหยุด เท่านี้เอง พอสงบแล้วก็จะเกิดความสุขที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในชีวิต จะรู้สึกว่าเป็นความสุขที่มหัศจรรย์ยิ่งกว่าความสุขทั้งหลายทั้งปวงที่เราเคยได้สัมผัสมา
สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒


“สัญญามันลืมได้ปัญญามันไม่ลืม”

ถาม: ความเห็นด้วยปัญญากับความเห็นด้วยสัญญาต่างกันอย่างไรครับ

พระอาจารย์: สัญญามันลืมได้ไง ปัญญามันไม่ลืม เช่น บางทีเราลืมว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอนิจจัง เราก็จะไปอยากได้ขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่ลืมเราจำได้ตลอดว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง อนัตตา เราก็จะไม่อยากได้ งั้นต้องเอาความรู้ที่เราได้เรียนรู้ เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออสุภะหรือปฏิกูลนี่ ให้มันจำได้ ปฏิกูลก็คือเวลาเห็นอาหารก็ต้องนึกต้องเห็นปฏิกูลทันที อสุภะก็เห็นอะไรสวยคนสวยคนงามคนหล่อก็เห็นอสุภะทันที อย่างนี้เขาถึงจะเรียกว่าเป็นปัญญา แต่ถ้าเห็นคนสวยคนหล่อก็ยังเห็นสวยหล่ออยู่นั่น ไม่เห็นอสุภะ ก็แสดงว่าอสุภะนั้นไม่ได้เป็นปัญญา เป็นสัญญา จำได้บ้างจำไม่ได้บ้าง
  สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 76.0.3809.132 Chrome 76.0.3809.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กันยายน 2562 15:28:08 »



“นั่งสมาธิแล้วเห็นเป็นสีขาวนวล”

ถาม: กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ หนูอยากถามว่าการนั่งสมาธิทำจิตว่าง จะเห็นเป็นสีขาวนวลๆ หมายถึงอะไรเจ้าคะ

พระอาจารย์: หมายถึงว่ายังใช้ไม่ได้ ต้องนั่งต่อไป อย่าไปสนใจกับสีขาวนวลๆ ถ้าพุทโธก็ต้องพุทโธต่อไป ถ้าดูลมก็ต้องดูลมต่อไป มันต้องเข้าไปจนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ต้องว่างจริงๆ เหลือแต่สักแต่ว่ารู้ แล้วก็มีความสุขอย่างมาก เป็นความสุขที่มหัศจรรย์ใจ นั่นแหละถึงจะเรียกว่าเราได้ผลจากการนั่งสมาธิ ถ้านั่งไปแล้วยังรู้สึกเฉยๆ เหมือนกับตอนที่ไม่ได้นั่งก็ยังถือว่ายังไม่ได้สมาธิ ถึงแม้จะรู้สึกว่างจะเบาบ้างแต่มันยังไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ต้องนั่งต่อไปต้องดูลมต่อไป หรือต้องพุทโธต่อไปอย่าหยุด
 ธรรมะบนเขา  วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒


“เจ้ากรรมนายเวรหรือเราไม่มีสติ”

ถาม: เวลานั่งสมาธิแล้วมักจะเห็นอะไรแปลกๆ แวบขึ้นมา นั่นคือเจ้ากรรมนายเวรหรือเราไม่มีสติเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ ไม่มีสติ พอเผลอสติปั๊บเดี๋ยวก็มีอะไรผุดขึ้นมา ก็แสดงว่ามันเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า “เฮ้ย เผลอสติแล้วนะ” กลับมาหาพุทโธต่อ กลับมาดูลมต่อ อย่านั่งเฉยๆ อย่าขี้เกียจ พอขี้เกียจแล้วเดี๋ยวมันก็โผล่ขึ้นมา
 สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒



“ต้องเพิ่มสติ”

ถาม: การนั่งสมาธิแล้วเพลินไปคิดถึงเรื่องอื่นกว่าจะมีสติกลับมาดูลมหายใจเข้าออกบางทีก็นาน หรือพอเริ่มสงบขาก็เริ่มปวดมากจนทนนั่งต่อไปไม่ไหว ต้องทำอย่างไรครับ

พระอาจารย์: ก็ต้องเพิ่มสติไง เวลาออกจากสมาธิมาก็ต้องทำสติต่อไป พุทโธต่อไป ทำให้มากๆ เวลายังไม่ได้นั่งต้องเตรียมสติไว้ก่อน เหมือนเติมน้ำมันนี่ ก่อนที่เราจะลงสนามแข่งรถ เรามั่นใจว่าเรามีน้ำมันเต็มถังหรือยัง ไม่ใช่เติมไว้แค่ครึ่งถังเดี๋ยวแข่งกับเขา เดี๋ยวไปหมดกลางสนาม อันนี้ก็เหมือนกันเวลาเรานั่งสมาธิก็เหมือนสู้กับกิเลส สู้กับความอยากต่างๆ ถ้าสติเรามีน้อยเดี๋ยวก็หมดกำลัง พอหมดกำลังกิเลสมันก็เอาไปกิน

ดังนั้น เราต้องเติมน้ำมันให้มันเต็มถัง เติมสติให้มันเต็ม ๑๐๐ ถ้าสติเต็ม ๑๐๐ นี้ พอลงสนามแข่งมันก็สามารถดึงจิตเข้าสู่ความสงบได้ อย่างนั้นเวลาออกจากสมาธิมาต้องมาเติมสติกัน เหมือนเวลาออกจากสนามแข่งรถก็รีบไปเติมน้ำมัน เติมให้มันเต็มถัง พอเติมเต็มถังแล้วค่อยกลับลงสนามใหม่ ทีนี้ไม่ต้องจอดกลางคันแล้วเพราะมันจะวิ่งได้ครบ อันนี้ก็เหมือนกันพอเรานั่งสมาธิแล้วไปได้ครึ่งทางหมดกำลัง สติหายเผลอไป จิตเริ่มคิดอาการปวดของร่างกายเริ่มปรากฏทนไม่ไหวแล้ว แต่ถ้ามีสติมันไม่คิดแล้วมันจะไม่รับรู้เรื่องความปวดของร่างกาย ร่างกายปวดยังไงมันก็นั่งต่อไปได้ ดังนั้น ต้องกลับมาเติมสติ พอออกจากสมาธิมาก็อย่าปล่อยให้ใจคิด ใช้พุทโธ พุทโธ บังคับมันต่อไป
 สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 76.0.3809.132 Chrome 76.0.3809.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 กันยายน 2562 09:52:44 »



“วิธีฝึกสติและรักษาอุเบกขา”

ถาม: กราบเรียนถามหลวงพ่อ การที่จิตผู้รู้กระทบสัมผัสที่เป็นนามไม่เห็นรูป แต่ตัวรู้รู้จิตว่าเป็นเช่นไร แต่ทำให้ขาดสติชั่วขณะหนึ่งเพื่อพิจารณาสิ่งนั้นๆ การแก้ไขให้สติให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อให้อารมณ์ภายนอกต่างๆ ตกไปได้ ควรปฏิบัติอย่างไรครับ โปรดพิจารณาเพื่อไม่ให้เป็นประสาทกับอารมณ์ภายนอกต่างๆ

พระอาจารย์: ก็ต้องฝึกจนจิตรวมเป็นสมาธิให้ได้ เป็นอัปปนาสมาธิ แล้วจิตจะมีสติที่ต่อเนื่องที่มีกำลังมาก ที่จะสามารถควบคุมจิตไม่ให้ไปวุ่นวายกับเรื่องราวต่างๆ ได้ สตินี้สำคัญมาก ถ้ามีสติควบคุมใจได้แล้ว ใจจะเชื่องพูดง่ายๆ ใจนี้ถ้ายังไม่ได้ฝึกสตินี่เหมือนม้าป่า ม้าป่านี่ถ้าเราจะเอาไปขี่มันจะขี่ไม่ได้ เดี๋ยวมันก็ทำให้เราตกหลังม้าได้ พยศ แต่ถ้าเราฝึกมันเชื่องแล้วมันก็จะเรียบร้อย มันจะไม่พยศ จิตของเราไม่มีสติพอไปสัมผัสรับรู้อะไรแล้ว มันจะเกิดอารมณ์ขึ้นมาทันที ไม่รักก็ชัง ไม่ชังก็กลัว ไม่กลัวก็หลง แต่ถ้าเราฝึกสติจนเชื่องแล้ว มันจะไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลง เห็นอะไรก็เฉยๆ เห็นงูเลื้อยมาก็เฉยๆ เห็นไฟไหม้ก็เฉยๆ ไม่ได้ตื่นเต้นตกใจ แต่ไม่ได้อยู่เฉยๆ นะ ถ้าไฟไหม้ถ้าดับได้ก็ดับนะ ถ้างูมาถ้าหลบได้ก็หลบ เพียงแต่ว่าใจไม่ไปตื่นเต้นตกใจหวาดเสียวหวาดกลัวกับเหตุการณ์ต่างๆ ใจจะเฉยๆ แต่ใจจะใช้ปัญญาใช้เหตุผลว่า “หลบได้ก็หลบ หลีกได้ก็หลีก” หลบไม่ได้หลีกไม่ได้ก็อยู่เฉยๆ ไป อยู่เฉยๆ มันก็ปลอดภัย สัตว์มันไม่ทำร้ายเราหลอกถ้าเราอยู่เฉยๆ อันนี้เป็นเรื่องของการควบคุมใจ สตินี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีสติแล้วควบคุมไม่ได้ ถึงแม้จะใช้ปัญญาก็ปัญญามันก็ไม่เชื่อ ตอนนี้เรารู้เรามีปัญญา เรารู้ว่าเราไม่ควรรักไม่ควรชังไม่ควรกลัวไม่ควรหลง แต่มันก็ยังอดไม่ได้ เพราะเรายังไม่ได้ไปทำให้มันนิ่งสงบแบบไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงจริงๆ

ฉะนั้น เราต้องหมั่นฝึกสติอยู่เรื่อยๆ ฝึกบ่อยๆ ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี การฝึกสติได้มากเท่าไหร่ ก็เหมือนกับการหัดว่ายน้ำบ่อยๆ ยิ่งว่ายน้ำบ่อยๆ ยิ่งชำนาญ ต่อไปก็จะเป็นแชมป์ของศาสตร์ได้ กระโดดลงน้ำแล้วเหมือนกับอยู่บนพื้นดิน คล่องแคล่วว่องไวเหมือนกับตอนที่อยู่บนพื้นดิน ถ้าไม่ฝึกมันก็เหมือนลงไปเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็จมน้ำตายได้ งั้นหมั่นฝึกสติอยู่เรื่อยๆ เป็นแล้วจะรักษาใจให้เป็นอุเบกขา ไม่ให้รักไม่ให้ชังไม่ให้กลัวไม่ให้หลงได้ พอเราทำให้มันเป็นอุเบกขาได้แล้ว ขั้นต่อไปเราก็ใช้ปัญญาสอนมันให้มันเป็นอุเบกขาอย่างถาวรต่อไปได้ เพราะตัวที่จะมาทำให้ใจออกจากอุเบกขาคือตัวความหลง ที่ไปเห็นว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดี พอเกิดเห็นว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดีก็เกิดความอยากได้ขึ้นมา พอเกิดความอยาก อุเบกขาก็จะหายไป

แต่ถ้ามีปัญญาสอนว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ดีหรอก มันดีปลอมมันหลอกเราทั้งนั้น มันดีเดี๋ยวเดียวเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป เหมือนผู้หญิงคนเมื่อกี้บอก แต่งงานกับสามีแล้ว เดี๋ยวนี้สามีกลายเป็นเจ้านายแล้ว สั่งนู้นสั่งนี้ ตอนที่คบกันใหม่ๆ ไม่ได้คิดว่าจะได้เขามาเป็นเจ้านาย ใช่ไหม คิดว่าจะได้เขามาเป็นสามีเป็นคู่รัก แต่ที่ไหนได้พอได้มาแล้ว มันไม่ได้เป็น เพราะเรามองไม่เห็นอนิจจังว่ามันไม่เที่ยง มันต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าเรามีปัญญาก็จะรู้ก่อนเลยว่า ไม่เอา ได้สามีมาเดี๋ยวก็ได้เจ้านายมา อยู่คนเดียวดีกว่า อยู่กับความสงบดีกว่า ความสงบนี่แหละเป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง อันนี้คือปัญญา พอปัญญาบอกปั๊บจิตก็จะเลิกอยาก พอเลิกอยากปั๊บอุเบกขาก็กลับมาเหมือนเดิม ไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงเหมือนเดิม


ธรรมะบนเขา
วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
550
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2562 09:56:43 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 76.0.3809.132 Chrome 76.0.3809.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 กันยายน 2562 18:48:32 »




“ทุกขังนี้เป็นใจ”

ถาม: เมื่อคืนสวดมนต์นั่งสมาธิไม่มีปวดเมื่อยเลยพิจารณาอสุภะจนกระดูกสลายไปกับดิน สักพักออกจากสมาธิเพราะเหลือแต่ขากับมือ ที่เหลือว่างเปล่าไม่มีกายให้ได้เห็นว่าไม่มีตัวตนแม้แต่จิต จากนั้นเห็นได้ชัดว่าทุกขัง อนิจจัง เป็นอนัตตา “ทุกขัง อนิจจัง” เป็นอนัตตาใช่ไหมครับ

พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ใช่ ร่างกายเป็นอนัตตา มันเป็นอนิจจังมันไม่เที่ยง มันเป็นอนัตตาคือเป็นเหมือนต้นไม้ มันไม่มีเจ้าของ มันทำมาจากดิน น้ำ ลม ไฟ เจ้าของก็เป็นเจ้าของชั่วคราวคือเรา เรามาเกาะติดกับร่างกาย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เป็นผู้มาอาศัยอยู่ เหมือนอาศัยบ้านอยู่ เดี๋ยวต่อไปบ้านมันก็ต้องพัง เพราะนี่คือธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ มันจะอยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวมันก็ต้องเสื่อมสภาพหมดสภาพไป มันเลยทำให้เราทุกข์กัน ผู้ที่ทุกข์คือใจ ร่างกายไม่ทุกข์ ร่างกายเป็นอนิจจังเป็นอนัตตา แต่ร่างกายไม่ได้เป็นทุกขัง ทุกขังนี้เป็นใจ ใจทุกข์เพราะว่าใจไปอยากให้ร่างกายไม่เป็นอนิจจัง ไม่เป็นอนัตตา อยากให้เป็นนิจจัง อยากให้เป็นสุขัง อยากให้เป็นอัตตา มันก็เลยทำให้ใจทุกข์ แต่ถ้าใจเห็นด้วยปัญญาว่ามันเป็นอนิจจัง มันต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย เป็นอนัตตา มันเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ต่อไปมันก็จะแยกออกจากกัน ร่างกายนี้มันทำด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ เดี๋ยวดินน้ำลมไฟก็จะแยกออกจากกันไป ถ้าเห็นด้วยความจริงอันนี้มันก็จะปล่อยวาง จะละความอยากให้ร่างกายเป็น “นิจจัง สุขัง อัตตา” ได้ ก็จะไม่ทุกข์กับร่างกาย เวลาร่างกายเป็น “อนิจจัง” เป็น “อนัตตา”

สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน


“ให้เอาบุญวิ่งหนีบาป”

ถาม: ถ้าในอดีตเราได้ทำบาปฆ่าสัตว์ แต่ในปัจจุบันรู้แล้วว่าเป็นบาปเราจะทำอย่างไรคะในอดีตที่ทำผิดพลาดไป

พระอาจารย์: อ๋อ ในอดีตก็ต้องใช้มันไปละซิ ถ้าทำบาปโดยไม่รู้ก็ต้องไปเกิดเป็นเดรัจฉาน งั้นมันห้ามไม่ได้ของเก่าที่ทำไปแล้วก็ต้องรับผลไป แต่เราสามารถรอให้มันลงอาญาได้ เลื่อนเวลาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากๆ ไว้ ถ้าเราทำบุญไว้มากกว่าบาป เวลาที่เราตายไป บาปมันยังแสดงผลไม่ได้เพราะบุญมันมีกำลังมากกว่า บุญก็จะดึงใจไปสวรรค์ก่อน พอบุญกับบาปมีกำลังเท่ากันเราก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ เราก็มาทำบุญใหม่ พยายามให้มันมากกว่าบาปไว้เรื่อยๆ แล้วเวลาตายมันก็ยังไม่ไปอบาย แต่มันไม่หาย แต่เวลาใดที่บุญน้อยกว่าบาปแล้วเวลาที่เราตายไป ตอนนั้นแหละบาปมันก็จะดึงเราไปอบาย เราไปลบล้างมันไม่ได้ เพียงแต่เราอาจจะรอลงอาญาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากกว่าบาปไว้อยู่เรื่อยๆ คือให้เอาบุญวิ่งหนีบาป ถ้าบุญวิ่งเร็วกว่าบาป บาปก็ตามไม่ทัน ถ้าบุญวิ่งช้ากว่าบาป บาปแซงหน้าเมื่อไหร่ บาปมันก็จะพาเราไปอบายเมื่อนั้น


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2562 14:01:38 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2562 14:07:00 »



“บัญชีบุญบัญชีบาป”

ถาม: ในเมื่อคนเราสะสมทั้งบุญและบาปและไม่บุญไม่บาป ก่อนที่เราจะถึงนาทีสุดท้ายที่ต้องจากโลกนี้ไป ไม่ทราบว่า ณ ปัจจุบันพอมีทางทราบโดยสังเขปไหมครับว่าบัญชีบุญบัญชีบาป บัญชีไม่บุญไม่บาปเป็นอย่างไรตอนที่ยังไม่ตาย คล้ายๆสรุปบัญชีคร่าวๆ

พระอาจารย์: ได้ ก็ตอนที่เรานอนหลับไง ตอนที่เรานอนหลับก็เหมือนเราตายเทียม ตายชั่วคราว เพราะตอนนอนหลับเราก็จะฝันกัน ฝันดีก็บัญชีบุญมันมีกำลังมากกว่า ถ้าฝันไม่ดีก็แสดงว่าบัญชีบาปมีกำลังมากกว่า ถ้าฝันแบบกลางๆ ก็แสดงว่าบุญกับบาปเท่าๆกัน ก็เลยฝันไม่ดีไม่ร้าย ฉะนั้นก็ดูที่ความฝันนี่ เป็นเหมือนกับเกวัดรถยนต์นี่ เวลาเราจะรู้ว่ารถวิ่งเร็วเท่าไหร่ต้องไปดูที่เกวัด ว่าตอนนี้ 80,90 เราอยากจะดูว่าบุญกับบาปในใจเรามีมากมีน้อยก็ดูตอนที่เรานอนหลับ แต่เวลาที่ไม่ได้หลับไม่ได้ฝัน ไม่ได้แสดงว่ามันไม่มีบุญไม่มีบาปนะ บางทีมันเหนื่อย จิตบางทีมันเหนื่อยมันก็ไม่อยากจะฝันก็มี เพราะฉะนั้นดูความฝันเป็นหลัก


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2562 16:27:31 »


“การปฏิบัตินี้เพื่อหยุดความคิด”

ถาม: โยมทำงานในโรงพยาบาล ไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติภาวนาเพราะต้องเข้าเวร ควรจะทำการปฏิบัติอย่างไรครับ ควรกำหนดพุทโธในช่วงเวลาที่เราว่างหรือต้องทำอย่างไรครับ

พระอาจารย์: อ๋อ การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริงๆนี้มันต้องมีเวลาว่าง ถ้าไม่มีเวลาว่างนี้ปฏิบัติจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ แต่ก็ทำได้ไม่ห้าม แต่ยาก เพราะว่าเวลาเราทำงานเราต้องใช้ความคิดต่างๆ การปฏิบัตินี้เพื่อหยุดความคิด มันก็เลยสวนทางกัน เหมือนกับต้องการจะเอารถเข้าอู่กับต้องเอารถไปทำงานนี้ ถ้าคุณยังต้องทำงานอยู่คุณก็ต้องขับรถไปทำงาน คุณก็ไม่มีเวลาเอารถเข้าอู่ ใช่ไหม ถ้าคุณต้องการที่จะซ่อมรถ คุณก็ต้องหยุดทำงาน เอารถเข้าอู่ไป จิตใจก็เหมือนกัน แต่รถเรายังเปลี่ยนได้ ใช่ไหม เรายังยืมรถคนอื่น เช่ารถคนอื่นใช้แทนกันได้ แต่จิตใจของเรานี้ เราเอาจิตใจคนอื่นมาใช้แทนไม่ได้ ถ้าเราต้องการทำจิตใจให้สงบ สร้างความสุขทางใจขึ้นมา เราก็ต้องหยุดใช้จิตใจในการทำงาน ใช้ในการคิดเรื่องราวต่างๆ เราต้องหยุดความคิดทางจิตใจให้นิ่ง ฉะนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลจริงๆนี้จำเป็นที่จะต้องมีเวลาว่าง ก็เรามีวันหยุด ทุกอาทิตย์ก็มีตั้ง ๒ วัน เอาเวลาวันหยุดไปทำอะไรกันหมด สมัยโบราณ วันหยุดก็คือวันมาปฏิบัติธรรม สำหรับชาวพุทธเรานี้ วันหยุดคือวันเข้าวัด มาศึกษามาปฏิบัติธรรม มาถือศีล ๘ มานั่งสมาธิ มาฟังเทศน์ฟังธรรมกัน ก็มีวันหยุดนี่ ทำไมไม่มาปฏิบัติในวันที่มีเวลา จะไปปฏิบัติไอ้วันที่ไม่มีเวลาทำไม ฉะนั้นวันที่ไม่มีเวลาอย่าไปพยายามปฏิบัติเลย มันไม่ค่อยได้ผลหรอก มาปฏิบัติวันที่เราไม่ต้องทำงานดีกว่า ไปอยู่วัดกัน ไปอยู่ที่สงบ แล้วก็มาพยายามหยุดความคิดกัน


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.120 Chrome 77.0.3865.120


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2562 10:42:40 »

.




คนตายต้องกินบุญ อาหารใจ

ถาม: ตามประเพณีข้าวประดับดินที่ทางภาคอีสานคือเอาอาหารหลายๆอย่าง วางไว้ให้ญาติพี่น้องตอนกลางคืน คนตายจะได้รับหรือไม่เจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ได้รับหรอก คนตายกินอาหารไม่ได้ ใช่ไหม คนตายต้องกินบุญ อาหารใจ อาหารของดวงวิญญาณก็คือบุญ บุญจะเกิดก็ต่อเมื่อเราเอาของเราไปทำบุญทำทาน เอาไปให้ผู้อื่นที่เขาเดือดร้อนขาดแคลน ไม่ต้องเป็นพระก็ได้ ทำกับใครก็ได้ ทำแล้วเราจะเกิดบุญขึ้นมาในใจเรา คือความอิ่มใจสุขใจที่เราสามารถแบ่งให้กับจิตใจหรือดวงวิญญาณที่หิวโหยได้ พอดวงวิญญาณที่หิวโหยได้รับบุญคืออิ่มใจ เขาก็จะเกิดความอิ่มใจขึ้นมา เป็นเหมือนอาหารของใจ



มารบ่มี บารมีบ่เกิด

ถาม: ลูกมีเวรกรรมเยอะเหลือเกินเจ้าค่ะ มีคนใส่ร้ายบ้างมีคนเอาเปรียบบ้าง ควรทำอย่างไรให้อยู่อย่างสงบไม่มีใครเบียดเบียนเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ อย่าไปคิดอย่างนั้นซิ ต้องคิดว่า “มารบ่มี บารมีบ่เกิด” คนเราถ้าไม่มีมารมามันก็จะไม่สร้างบารมีไว้ต่อสู้กับมาร งั้นคนเราถ้าไม่มีศัตรูเราก็ไม่สร้างอาวุธ ใช่ไม๊ แต่พอมีศัตรูมารุกรานเราก็ต้องคิดหาอาวุธมาปกป้องตัวเรา ฉันใด บารมีก็เป็นเหมือนอาวุธคุ้มครองจิตใจของเรา แต่เรามักจะขี้เกียจกัน เราจะไม่อยากสร้างบารมีกัน แต่พอมีปัญหาขึ้นมารุกรานทำให้จิตใจเราวุ่นวาย ตอนนั้นแหละเราต้องคิดหาบารมีมาคุ้มครอง บารมีที่เราต้องสร้างก็คือขันติบารมีนี่เอง อย่างคำถาม ๒ คำถามก่อนหน้านี้ก็ต้องใช้ขันติความอดทนอดกลั้น ทำใจ เรียกว่าขันติ ใครจะมาทำอะไรเราก็ “ช่างหัวมัน ช่างมันไป” ใช้ความอดทน เหมือนไปอยู่ห้องส้วมที่เหม็นก็ทนมันไป แล้วมันก็จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างง่ายดาย ให้คิดอย่างนี้ว่าเรากำลังได้รับข้อสอบ เรื่องมารนี้เป็นเหมือนข้อสอบมาทดสอบว่าเรามีบารมีหรือไม่ ถ้ามีมารมาแล้วเราเฉย เรายิ้มได้นี่แสดงว่าเรามีบารมีมาก ไม่วุ่นวายไม่เดือดร้อน ถ้าเราเดือดร้อนวุ่นวายแสดงว่าเราไม่มีบารมี เรารีบไปสร้างกันเสีย ไปฝึกขันติกัน วิธีฝึกขันติก็ให้คิดอย่างนี้ คิดว่า “ถ้าเขาไม่ชอบเราก็ดีแล้ว เขายังไม่ด่าเรา ถ้าเขาด่าเราก็คิดว่าดีแล้วเขายังไม่ตีเรา ถ้าเขาตีเราก็ดีแล้วเขายังไม่ฆ่าเรา ถ้าเขาฆ่าเราก็ดีแล้ว จะได้ไม่มาวุ่นวายกับเขา” คิดอย่างนี้แล้วมันก็จบ สบาย ขันติก็จะเกิดขึ้นมาทันที


ที่มา เพจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 77.0.3865.120 Chrome 77.0.3865.120


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2562 12:35:26 »




การดูจิตดูอย่างไรคะ

ถาม: การดูจิตดูอย่างไรคะ

พระอาจารย์: อ๋อ ถ้ายังไม่รู้นี่ยังดูไม่ได้หรอก ต้องหาเครื่องมือมาดูก่อน เครื่องมือที่จะดูจิตก็คือสติและปัญญา ต้องมาสร้างสติก่อน ถ้าสร้างสติก็จะเริ่มเห็นจิต แล้วก็ต้องสร้างปัญญาเพื่อจะได้แยกแยะสิ่งที่มีอยู่ในจิตว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี ถ้าดูจิตโดยไม่มีสติโดยไม่มีปัญญา ดูไม่ได้ เพราะมันจะไม่ดูจิตมันจะไปดูอย่างอื่นแทน กิเลสมันจะดันให้เราไปดูรูปเสียงกลิ่นรส ทีนี้เราจะไม่สามารถดูจิตได้จนกว่าเราจะดึงจิตเข้าข้างใน ดึงจิตออกจากรูปเสียงกลิ่นรสเข้าสู่ภายใน ถึงจะเริ่มเห็นจิต เมื่อเห็นจิตแล้วก็จะเห็นสิ่งที่มีอยู่ในจิต มีทั้งสิ่งที่ดีไม่ดี ก็ต้องใช้ปัญญามาแยกแยะวิเคราะห์ว่าอันไหนดีอันไหนไม่ดีต่อไป แล้วกำจัดสิ่งที่ไม่ดี เก็บแต่สิ่งที่ดี ต่อไปจิตก็จะมีแต่สิ่งที่ดี ไม่มีสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในจิตต่อไป



มันไม่ใช่เรื่องของกรรมอย่างเดียว

ถาม: คนที่แต่งงานแล้วไม่มีบุตร เป็นกรรมอะไรเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ มันก็มีหลายสาเหตุ เหตุที่ไม่มีบุตรเพราะว่าร่างกายอาจจะขาดศักยภาพ ขาดเชื้อ บางทีมันก็มีบุตรไม่ได้ มันมีหลายสาเหตุ มันไม่ใช่เรื่องของกรรมอย่างเดียว คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานี้นอกจากมีกรรมเป็นเหตุแล้ว ยังมีเหตุผสมอย่างอื่นมาผสมด้วย เช่น กรรมพันธุ์นี่ พันธุ์ของพ่อของแม่ไม่พร้อมที่จะมามีบุตร มันก็ไม่มีบุตร งั้นมันไม่ได้อยู่ที่ว่าต้องเป็นเรื่องของกรรมที่เคยทำมาในอดีตชาติเพียงอย่างเดียว



ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์เมื่อต้องตาย

ถาม: เคยฝันว่าตัวเองตาย เมื่อตื่นขึ้นมาตกใจ เป็นทุกข์มาก ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์เมื่อต้องตายจริงๆ ครับ

พระอาจารย์: จะทำอย่างไรล่ะ ก็ต้องปลงต้องปล่อยวางร่างกายเท่านั้นเอง อย่าไปคิดว่าร่างกายเป็นตัวเรา เราก็จะไม่ทุกข์ ความจริงมันก็ไม่เป็นตัวเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่รู้ เราไปหลงคิดว่าร่างกายเป็นตัวเรา พอมันตายมันก็เลยทำให้เราทุกข์ ต้องมาสอนใจว่าเราไม่ได้เป็นร่างกาย เราเป็นใจผู้รู้ผู้คิด เราไม่ได้ตายไปกับร่างกาย


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.70 Chrome 78.0.3904.70


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2562 16:15:57 »



การทำแท้งก็เป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

ถาม: สามีของโยมเคยทำแท้งตั้งแต่สมัยเรียน เหตุการณ์ผ่านมาแล้วยี่สิบกว่าปี เขาทุกข์ใจมาตลอด มีพระบอกมาว่าเห็นเด็กอยู่ในบ้าน พระจะมาทำพิธีเพื่อพาเด็กไปอยู่ด้วยและส่งไปเกิด สามีมาปรึกษากับโยม โยมอยากเรียนถามว่าควรเชื่อพระหรือไม่และคนที่เคยทำแท้งมาสำนึกผิดแล้วมีทางพ้นทุกข์ได้อย่างไร และควรทำบุญให้เด็กเพื่อให้เขาพ้นทุกข์และอโหสิกรรมให้ พระอาจารย์เมตตาชี้หนทางสว่างให้คนตาบอดด้วยเถิดเจ้าค่ะ

พระอาจารย์: คือการทำแท้งก็เป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอง ฉะนั้น ทำไปแล้วก็ต้องไปรับผลบาปต่อไป ต่อไปเวลาเราไปเกิดในท้องใครเราก็จะถูกเขาทำแท้งเราบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนกัน แต่เราจะไปห้ามวิบากกรรมไม่ให้เกิดไม่ได้ เพราะมันทำไปแล้ว เหมือนไปกู้หนี้เขาแล้วบอก “ขอยกหนี้ได้ไหม” ไม่ได้หรอก เจ้าหนี้เขาไม่ยอมหรอก ใช่ไหม อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าไปทำบาปแล้วก็ต้องไปรับผลบาปไม่ช้าก็เร็ว เมื่อมีเหตุมีปัจจัยถึงวาระโอกาสที่มันจะส่งผลมันก็จะส่งผล ทางที่ดีก็อย่าไปทำเหตุก็แล้วกัน อย่าไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่กรรมเก่าที่ทำไว้ก็ต้องรอรับผลมันไป เราอย่าไปทำกรรมใหม่ ต่อไปเราจะได้ไม่มีผลไม่ดีที่จะเกิดขึ้นกับเราตามมา



เป็นเปรตเขาก็จะรอรับบุญ

ถาม: ทำบุญ ๑๐๐ วัน คนที่ตายไปแล้วจะได้รับไหมคะ

พระอาจารย์: ก็อยู่ที่ว่าเขาอยู่ที่ไหนล่ะ ถ้าเขาอยู่สวรรค์เขาก็ไม่ต้องรับบุญที่เราส่งไป เพราะบุญส่งไปนี้น้อยกว่าบุญที่เขามีอยู่แล้ว แต่ถ้าเขาเป็นขอทานคือเป็นเปรตเขาก็จะรอรับบุญที่เราส่งไป



บุญเป็นเหมือนเงินในโลกทิพย์

ถาม: สวดมนต์เช้าเย็นที่บ้านทุกวัน และอุทิศบุญกุศลให้มารดาที่ตายไปแล้ว จะได้รับไหมครับ และความเชื่อที่ว่าการทำบุญใส่บาตร แม่เราที่ตายไปจะได้กินข้าวที่เราใส่ด้วยจริงหรือเปล่าครับ

พระอาจารย์: คือบุญที่เราอุทิศไปมันเป็นข้าวของดวงวิญญาณไง งั้นบุญมันเกิดขึ้นได้หลายวิธี ใส่บาตรก็ได้บุญ รักษาศีลก็ได้บุญ นั่งสมาธิไหว้พระสวดมนต์ก็ได้บุญ อยู่ที่ว่าทำแล้วมันเกิดผลหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าสวดมนต์แล้วจะได้ผลทันที บางทีสวดไปแล้วจิตยังฟุ้งอยู่มันก็ไม่ได้ผล วิธีที่ได้ผลชัวร์ๆ แน่ๆ ก็คือใส่บาตร พอใส่บาตรแล้วใจมันก็จะเกิดความสุขเกิดความอิ่มขึ้นมา แต่รักษาศีลรักษาแบบขาดๆ เกินๆ มันก็ยังไม่เกิดความสุขขึ้นมา สวดมนต์ถ้าจะสวดแบบฟุ้งไปฟุ้งมามันก็ยังไม่เกิดผล งั้นเขาจึงนิยมทำบุญอุทิศด้วยการใส่บาตร ทำบุญทำทาน เพราะว่ามันเป็นของที่แน่นอนได้ผลทันที แต่บุญอย่างอื่นนี้มันยังเป็นบุญที่เกิดยาก รักษาศีลก็ยาก ไหว้พระสวดมนต์ก็ยาก นั่งสมาธิก็ยาก ถึงแม้ว่าเราจะรักษาศีลอยู่ สวดมนต์อยู่ นั่งสมาธิอยู่ แต่ผลมันก็อาจจะยังไม่เกิดขึ้นมาก็ได้ งั้นถ้าเราอยากจะอุทิศบุญก็อุทิศด้วยการทำทานดีกว่า ทำทาน ใส่บาตร หรือบริจาคเงินให้กับองค์กรต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาลอะไรนี้ ทำแล้วเกิดความสุขใจอิ่มใจขึ้นมาทันที เอาบุญแบบนี้ดีกว่า ถ้าต้องการจะอุทิศบุญ งั้นไม่จำเป็นว่าเวลาจะส่งข้าวให้แม่เราต้องใส่ข้าวให้กับพระ ส่งเสื้อผ้าต้องถวายเสื้อผ้าให้กับพระ ไม่ใช่ อันนี้คือ ของที่เราให้นี้มันจะแปลงเป็นบุญทันที แล้วบุญนี้ก็เป็นเหมือนเงินที่คนที่อยู่ในโลกทิพย์จะเอาไปซื้อของที่เขาต้องการได้ทันที งั้นไม่ต้องกังวลว่า แม่ชอบกินอาหารชนิดนี้ หาซื้ออาหารชนิดนี้ใส่บาตรพระไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะไม่ได้กินอาหาร นี่ไม่ใช่หรอก ใส่อาหารชนิดไหนไปในบาตรก็ได้ เป็นบุญเหมือนกัน เป็นอาหารของใจเหมือนกัน เป็นอาหารทิพย์


ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.70 Chrome 78.0.3904.70


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2562 14:51:02 »



คนที่ตายเขาจะรู้ตัวไหมว่าเขาตาย

ถาม: คนที่ตายด้วยอุบัติเหตุหรือตายปุ๊บปั๊บ เขาจะสามารถรู้ตัวไหมคะว่าเขาตายแล้ว หรือว่าเขาจะเห็นร่างของตัวเองไหมคะว่าตายแล้ว

พระอาจารย์: คือเวลาที่จะตายเนี่ยคนเราทุกคนรู้เท่านั้นแหละ เพราะว่าไม่ว่าจะอุบัติเหตุหรือนอนหลับตายก็ตาม เพราะว่าก่อนจะตายนี้มันจะต้องมีอะไรมากระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นตกใจขึ้นมา เพียงแต่ว่ามันจะไปยังไงนี้มันอยู่ที่บุญที่บาปได้ทำไว้ ถ้ามีบุญมากกว่าบาปก็จะไปดี ถ้าบาปมากกว่าบุญก็จะไปอบาย



เป็นมะเร็งขอสติจากหลวงพ่อค่ะ

ถาม: หลวงพ่อคะ วันนี้หนูไปฟังผลชิ้นเนื้อมา หมอบอกหนูเป็นมะเร็ง หนูอยากจะขอสติจากหลวงพ่อค่ะ หนูยอมรับว่ากลัวมากค่ะ

พระอาจารย์: อ๋อ หมอเขาลืมบอกว่าร่างกายของหนูไม่ใช่หนู นี่คือสิ่งที่หมอไม่รู้ ต้องไปหาหมอพระ ไปหาพระพุทธเจ้า ไปหาพระอริยสงฆ์สาวก ท่านก็จะบอกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ร่างกายเป็นคนรับใช้เรา เราเป็นเจ้านายของร่างกาย เราเป็นผู้สั่งให้ร่างกายทำอะไรต่างๆ ฉะนั้นเวลาร่างกายเป็นอะไร มันไม่ได้มาเป็นที่เรา แต่เราไม่รู้เราไปหลงคิดว่าเราเป็นร่างกาย พอร่างกายเป็นอะไรขึ้นมาเราก็เลยคิดว่าเราจะเป็นไปกับร่างกาย ความจริงเราเป็นใจผู้รู้ผู้คิด ผู้ที่ไม่มีรูปร่างหน้าตา ไม่มีร่างกาย เราเลยไปเช่าร่างกายมาจากพ่อแม่ของเรา ไปขอร่างกายจากพ่อแม่เพื่อเราจะได้ใช้ร่างกายพาเราไปเที่ยว พาไปหาความสุขกัน แต่ร่างกายของเรามันไม่ช้าก็เร็วก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย อันนี้เราไม่มาศึกษากัน ไม่มาทำความเข้าใจก่อน เหมือนกับไปซื้อของแล้วไม่เปิดดูหนังสือกำกับมาว่าสินค้าชนิดนี้มีประโยชน์ยังไงมีโทษยังไง เราก็เลยไปคิดว่ามันมีประโยชน์อย่างเดียว แต่ความจริงสินค้าที่เราซื้อมานี้มันมีทั้งคุณมีทั้งโทษ คุณก็คือเวลาที่มันแข็งแรงมันก็พาเราไปไหนมาไหนทำอะไรได้ แต่เดี๋ยวต่อไปมันจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย อันนี้เราไม่รู้กัน เราไปเหมาว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นตัวเรา แล้วเราก็จะอยากให้มันดีตลอดเวลา ไม่ต้องการให้มันเป็นอะไรไป พอมันเป็นอะไรมันก็เลยทำให้เราไม่สบายใจ แต่ถ้าเรามาศึกษามาทำความเข้าใจให้รู้ว่า เราไม่ได้เป็นอะไรไปกับร่างกาย มันเป็นเพียงคนรับใช้เรา เป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่เราซื้อมา เราเช่ามาจากพ่อจากแม่ หรือเช่ามาจากดินน้ำลมไฟก็ว่าไป เดี๋ยวไม่ช้าก็เร็วเขาก็ต้องกลับไปคืนเจ้าของ คือดินน้ำลมไฟไป เราต้องรู้อย่างนี้แล้วเราจะได้สบายใจ แล้วเราจะได้ปล่อยใจได้

ถ้ารู้แล้วยังไม่ยอมเชื่อ ยังไม่ยอมปล่อยเราก็ต้องมานั่งสมาธิทำใจให้สงบ เปลี่ยนความคิดใหม่เพราะขณะนี้เรายังจะคิดว่ามันเป็นเราเป็นตัวเราอยู่ แต่ถ้าเรามาหยุดความคิดนี้ได้ พุทโธพุทโธ เดี๋ยวความคิดว่าเป็นตัวเราของเรามันก็จะหายไป แล้วทีนี้เราก็จะปล่อยวางร่างกายได้ตามความเป็นจริงของมัน นี้คือสิ่งที่เราต้องมาฝึกกัน ฝึกกันก่อนที่จะเจอเหตุการณ์นี้ เพราะเวลาเจอเหตุการณ์นี้จะเหมือนเข้าห้องสอบโดยที่ไม่เตรียมทำข้อสอบไว้ก่อน มันก็จะสอบตกนะ ใจมันก็จะตกจากข้างบนลงมาสู่เท้า ต่อไปนี้ตอนนี้คงจะไม่มีกะจิตกะใจอยากทำอะไรแล้ว วิตกกังวลกับเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วยของร่างกาย แต่ถ้าเราได้ฝึกไว้มาตั้งแต่ก่อน พอเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เราก็จะรู้วิธีทำใจว่า ถึงเวลาที่เราจะต้องเสียร่างกายนี้แล้วนะ ร่างกายนี้เป็นเครื่องมือเป็นคนรับใช้เรา เขารับใช้เราได้เท่าไหร่ก็ให้เขารับใช้ไปพอหมดเวลาก็ปล่อยเขาไป เราก็จะไม่วุ่นวายใจ เราก็จะไม่เดือดร้อนใจกับความเป็นไปของร่างกาย ฉะนั้นตอนนี้ถ้าวุ่นวายใจก็พยายามหัดฝึกสติพุทโธพุทโธ ทำใจให้สงบ อย่าไปคิดถึงร่างกาย ปล่อย ถ้าจะคิดก็คิดว่าไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป



โกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ ผิดศีลไหม

ถาม: ถ้าการโกหกผิดศีลข้อ ๔ แต่ถ้าเราโกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ จะถือว่าผิดศีลไหมครับ

พระอาจารย์: ผิดทั้งนั้นแหละถ้าโกหกมันก็ผิด ไม่ได้เขียนวงเล็บไว้ว่า ถ้าโกหกให้คนอื่นสบายใจแล้วไม่ผิดศีล มันไม่มี มันไม่มีข้อยกเว้น คือเวลาไม่พูดความจริงมันก็ผิด เพราะข้อนี้ต้องการให้เรามีสัจจะ มีความจริงไม่พูดเรื่องไม่จริง เพราะมันเป็นเครดิตของเรา คนที่พูดจริงนี้ถึงแม้ว่าจะผิดแต่พูดไป คือยอมรับผิดนี้ก็ยังดีกว่าคนที่ทำผิดแล้วโกหกว่าไม่ได้ทำผิด เพื่อให้คนฟังสบายใจ เช่น หลอกภรรยาว่าไปทำงานแต่ที่ไหนได้ไปจู๋จี๋กับใครอยู่ ถ้าบอกว่าไปจู๋จี๋กับใครเดี๋ยวภรรยาจะเสียใจ ก็เลยโกหกอย่างนี้ ให้ภรรยาสบายใจ อันนี้มันก็โกหกมันก็ไม่ดี เพราะถ้าเกิดเขาจับได้ ทีนี้มันจะเสียหายมากกว่าที่เราพูดความจริง แต่ถ้าเราคิดว่าการพูดความจริงแล้วทำให้เขาเสียใจก็อย่าพูดก็ได้ ไม่เห็นจำเป็นจะต้องโกหกเลย ก็เปลี่ยนเรื่องพูดไป หรือไม่พูดไป ทำเป็นเจ็บฟันปวดฟันไป พูดไม่ออก อะไรก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไอไปจามไป ก็ไม่ต้องพูดก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องโกหก ถ้าโกหกแล้วคนอื่นเขารู้ คนอื่นเขารู้ว่าเราโกหก เขาก็จะไม่เชื่อถือเรา

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.97 Chrome 78.0.3904.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2562 16:34:50 »



วิธีไหนก็ไม่ได้ผล ควรทำอย่างไร

ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ ปฏิบัติต่อเนื่องมา ๑๐ ปี ไม่มีความคืบหน้า ลองมาหลายวิธีจนงงไปหมด วิธีไหนก็ไม่ได้ผล ควรทำอย่างไรต่อไปครับ

พระอาจารย์: ก็ต้องใช้สติแหละ วิธีไหนก็ต้องเป็นวิธีสติทั้งนั้น วิธีสติก็มี ๔๐ วิธี ลองไปลองให้หมดดูซิ แต่ส่วนใหญ่สำหรับผู้เริ่มต้นนี้ ท่านก็สอนแค่ ๑๐ วิธี อนุสสติ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ นี่เป็นวิธีเจริญสติ เราก็เลือกเอา จะเอาอันไหน พุทโธก็ได้ ธ้มโมก็ได้ สังโฆก็ได้ หรือจะสวดอิติปิโสก็ได้ แล้วแต่ว่าเราถนัดเราชอบอย่างไหน ปัญหาอาจจะไม่ใช่วิธีมั้ง ปัญหาอาจจะอยู่ที่ว่าเราทำแบบนกกระจอกกินน้ำหรือเปล่า ทำแบบทำปุ๊บ ซักวินาทีสองวินาทีหยุดทำแล้ว แล้วก็มาบอกว่าปฏิบัติ ๑๐ ปีไม่ได้ผล ปฏิบัติอย่างนี้ ๑,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ถ้าปฏิบัติแบบนกกระจอกกินน้ำ มันต้องปฏิบัติแบบเป็นเวลายาวๆ มากๆ เดินจงกรมที ๒-๓ ชั่วโมงอย่างนี้ พุทโธ นั่งนานๆ อะไรอย่างนี้ หรือเวลาไม่ได้นั่งไม่ได้เดินก็ต้องมีสติอยู่กับการกระทำของเราเรียกว่า “กายคตาสติ” หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมีพุทโธคอยกำกับใจ อาบน้ำก็พุทโธ ล้างหน้าก็พุทโธ แปรงฟันก็พุทโธ ถ้าทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มีผลขึ้นมา มาเตะเราได้ เพราะใช้มาแล้วมันได้ผล ขอให้มันทำแบบจริงๆ จังๆ อย่าทำแบบลูบหน้าปะจมูก ทำแบบพอหอมปากหอมคอ ทำสักแป๊บหนึ่ง ไม่ได้ผล เลิกแล้ว เปลี่ยนวิธีอีกแล้ว วิธีนี้ก็ไม่ถูก วิธีนั้นก็ไม่ถูก มันไม่ใช่ที่วิธีหรอกที่ไม่ถูก มันอยู่ที่การกระทำของเรามันไม่ถูก ทำน้อยไป ทำไม่มากพอ มันก็เลยไม่เกิดผลขึ้นมา



แผ่เมตตาต้องแผ่ตอนที่มันยังไม่ตาย

ถาม: มีงูเห่าตัวเล็กๆ เข้าบ้าน แล้วคุณพ่อฆ่าแต่ตัวเราเองไม่อยากให้พ่อฆ่า แต่ท่านไม่รับฟัง เราจะบาปด้วยไหมเจ้าคะ และสามารถแผ่เมตตาจะช่วยได้ไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ เราไม่บาปหรอกถ้าเราไม่ได้เป็นคนทำและเป็นคนช่วยเขาทำ เขาทำของเขาเอง ส่วนการแผ่เมตตาก็ต้องไปช่วยเขาซิ ถึงจะเรียกว่าแผ่เมตตา คืออย่าไปทำร้ายเขา ถ้าเราแผ่เมตตาด้วยความคิดว่า เออ ขอให้เธอไปสุคติ นี่ไม่ได้แผ่แล้วละ เพราะมันตายแล้ว งั้นถ้าเราจะแผ่เมตตาต้องแผ่ตอนที่มันยังไม่ตาย พอใครจะไปทำร้ายเขาก็ไปห้ามเขาไปหยุดเขา อันนี้เพื่อให้มันรอดพ้นจากภัยได้ ถึงจะเรียกว่าแผ่เมตตา แต่ถ้าเราอยู่เฉยๆ แล้วเราสวดบทแผ่เมตตามันไม่ได้แผ่หรอก เพราะเราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ได้ช่วยเขา




ก็ลองฟังแบบปัญญาดู

ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ หนูขอถามว่าการฟังธรรมนี่เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง เวลาฟังธรรมหนูรู้สึกว่าจิตหนูสงบ หลังจากนี้ควรปฏิบัติอย่างไรต่อละคะ

พระอาจารย์: ก็ลองฟังแบบปัญญาดู ฟังแล้วก็คิดตามนึกตาม เหมือนเวลาเรียนหนังสือในห้องเรียนนี่ ครูสอนอะไรเราก็ต้องนึกตามที่ครูสอน ฟังธรรมแล้วก็พยายามจดจำสิ่งที่ได้ฟังมา หรือฟังเพื่อให้เข้าใจไม่ต้องจดจำก็ได้ ฟังแล้วอันไหนเข้าใจเราก็จะจำได้ แล้วเราก็เอาไปปฏิบัติต่อ อย่างวันนี้สอนให้รู้จักอริยสัจ ๔ ให้รู้จักไตรลักษณ์ เราก็ต้องไปศึกษาขยายเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าอริยสัจ ๔ นี้มีอะไรบ้าง เกี่ยวกับเราอย่างไร ไตรลักษณ์มีอะไรบ้างเราเอามาใช้กำจัดความอยากได้อย่างไร อันนี้เราก็ต้องไปคิดค้นดูต่อไป แล้วก็ลองเอาไปใช้กับเหตุการณ์จริง เวลาเราเกิดความไม่สบายใจนี้ อริยสัจ ๔ ปรากฏขึ้นมาในใจแล้ว คือความทุกข์ใจ เราก็ต้องค้นหาดูว่าความทุกข์ใจนี้เกิดจากความอยากอันไหน เราต้องมีความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งถึงทำให้เราทุกข์ใจ แล้วเราอยากจะหยุดความอยากเราก็ต้องเห็นไตรลักษณ์ในสิ่งที่เราอยาก เห็นสิ่งที่เราอยากว่ามันเป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุข หรือเป็นอนัตตาเราไปสั่งไปห้ามเขาไม่ได้ ถ้าเราไปอยากสั่งเขาไปอยากห้ามเขา และไม่ได้ดังใจก็จะทุกข์ใจขึ้นมา ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์เราก็ต้องปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา อย่างที่เมื่อกี้หนูถามว่าคุณปู่หรือคุณตาไม่ดี หรือคุณลุงจำไม่ได้เป็นใคร จะทำยังไง ก็ทำยังไงถ้าเปลี่ยนเขาไม่ได้บอกเขาไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา เราก็จะไม่ทุกข์กับเขา


ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.97 Chrome 78.0.3904.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2562 15:39:28 »




เชื้อจุลินทรีย์มีชีวิตมีจิตหรือไม่

ถาม: เชื้อจุลินทรีย์มีชีวิตมีจิตหรือไม่ครับ

พระอาจารย์: เท่าที่ดูมันก็ไม่มีจิตรับรู้ มันมีชีวิตมันเป็นเหมือนกับตัวเซลอะไรพวกนี้ มันยังไม่มีจิตมาครอบครอง



เศรษฐกิจพอเพียง

ถาม: อะไรคือความพอดีของผู้ครองเรือนกับธรรมะ จะปฏิบัติอย่างไรให้เกิดความพอดีและไม่ทุกข์เจ้าคะ

พระอาจารย์: ก็เศรษฐกิจพอเพียงไง ปัจจัย ๔ อย่างในหลวง ร. ๙ ทรงสอนไง ขอให้มีปัจจัย ๔ พอเพียงก็พอแล้ว พอดีแล้ว พอมีพอกิน ไม่ต้องร่ำไม่ต้องรวย ก็จะมีความสุขได้ในระดับของฆราวาส ถ้ายังมักใหญ่ใฝ่สูงยังอยากร่ำอยากรวยอยู่ ก็จะไม่มีความสุข ต้องดิ้นรนคอยหาอยู่เรื่อยๆ หาเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะเราจะไปกำหนดคำว่า “รวย” อยู่ที่ตรงไหนล่ะ ใช่ไหม ได้ล้านหนึ่งมันก็ยังไม่พอ ได้ ๑๐ ล้านมันก็ยิ่งไม่พอ เพราะพอเวลามันได้แล้วมันเห็นช่องทางที่จะได้เพิ่ม คือมี ๑๐ ล้านก็ไปลงทุนได้ ใช่ไหม ลงทุนแล้วก็กลายเป็น ๑๐๐ ล้าน พอได้ ๑๐๐ ล้าน ก็ไปลงทุนเป็น ๑,๐๐๐ ล้าน เห็นไหม มันก็ไม่มีคำว่าพอ ต้องเอาพอที่ปัจจัย ๔ พอกินพออยู่ไม่เดือดร้อน ใช้ได้ นี่พอแล้ว ถ้ามันมากกว่านั้นก็ต้องเอาไปทำบุญทำทานให้มันหมด ไม่อย่างนั้นมันจะมาล่อใจเราให้อยากได้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ



ทำสติให้ต่อเนื่องต้องทำอย่างไร

ถาม: การทำสติให้ต่อเนื่องต้องทำอย่างไรบ้างในรูปแบบและนอกรูปแบบค่ะ

พระอาจารย์: ก็ทำตั้งแต่ตื่นจนหลับไง พอลืมตาขึ้นมาถ้าต้องการเจริญสติก็มีหลายวิธี ระลึกพุทโธไปเรื่อยๆ ก็เป็นการเจริญสติ พอลืมตาปุ๊บจะคิดถึงคนนั้นคนนี้ก็พุทโธแทนไป พุทโธ พุทโธไป ลุกขึ้นมาก็พุทโธ ยืนก็พุทโธ เดินก็พุทโธ อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันก็พุทโธ แต่งเนื้อแต่งตัวก็พุทโธ รับประทานอาหารก็พุทโธไป อย่าปล่อยให้ใจคิดไปถึงอดีตไปถึงอนาคต อย่าไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ ถ้าจะคิดก็คิดแต่เรื่องที่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องคิดว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ ต้องไปทำอะไรก็หยุดพุทโธไว้ชั่วคราว พอคิดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็กลับมาพุทโธใหม่ อย่าปล่อยให้ใจคิด คอยควบคุมความคิด ดูความคิดนี้เป็นเหมือนนักโทษ อย่าปล่อยให้มันไปเพ่นพ่าน พอมันจะขยับตัวปั๊บนี่ต้องหยิบเอาโซ่เอาอะไรมามัดมันไว้ทันที อย่าปล่อยให้มันไปไหนมาไหน อย่าปล่อยให้มันคิด จะใช้รูปแบบไหนก็ได้ ใช้พุทโธก็ได้หรือจะใช้การจดจ่อเฝ้าดูการกระทำของร่างกายก็ได้ กำลังทำอะไรอยู่ก็ให้อยู่กับการกระทำนั้น อย่าไปคิดเรื่องอื่น อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเจริญสติ พอมีสติแล้วเดี๋ยวเวลานั่งสมาธิมันก็จะมีสติอย่างต่อเนื่อง ๕ นาที ๑๐ นาทีมันก็จะเข้าสู่ความสงบได้


อุบายหยุดซื้อเสื้อผ้าใหม่

ถาม: อยากฝึกให้หยุดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ครับ แต่ยังทำไม่ได้ กราบขออุบายหลวงพ่อด้วยครับ

พระอาจารย์: ง่าย ถ้าอยากจะซื้อชุดใหม่ก็ ซื้อมาแล้วก็เอาไปให้คนอื่น อย่าเอามาใช้เอง อยากจะซื้อกี่ชุดก็ซื้อได้ แต่อย่าเอามาใช้เอง แล้วต่อไปรับรองได้ว่าจะไม่อยากซื้ออีก ง่ายจะตายไป ชุดนี้สวยเหรอซื้อให้ใครดีนะ ชุดนี้สวยเหรอ ซื้อให้ใครดี เอ้า ซื้อไปเลย วันเกิดของใครวันนี้ เอาไปให้เขาไป หรือวันนี้อยากจะเซอร์ไพรซ์ (surprise) ขอทานก็ซื้อไป แล้วเอาไปให้ขอทานที่นั่งอยู่หน้าร้านนั่นแหละ “เอ๊ย เอาไปโว้ย มึงเห็นคนอื่นเขาใส่มึงลองเอามาใส่บ้างดูซิ” ซื้อแล้วเอาไปทำบุญ อย่างนี้ก็จะได้บุญ แล้วต่อไปจะไม่อยากจะซื้ออีก รับประกันได้



อย่าไปอยากให้มันรวม

ถาม: ขอโอกาสเรียนถามพระอาจารย์ กระผมเคยภาวนา แล้วจิตสงบเมื่อ ๘ ปีก่อน เรื่องของความสงบนั้นทำให้ใจหวนคำถึงถึงตลอด แต่ภาวนายังไง ใจก็ไม่เคยได้ลิ้มรสนั้นเลย อุบายอันใดที่จะทำให้ใจหยั่งลงถึงความสงบนั้น ครั้งนั้นใช้กำหนดลมหายใจ มันเหมือนฟลุคที่จิตรวมลงง่าย ขอบพระคุณครับ

พระอาจารย์: ก็ต้องทำเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าอย่าไปอยากให้มันรวม ความอยากรวมมันจะทำให้จิตไม่รวม เวลาดูลมก็ให้ดูลมเฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เป็นเหมือนครั้งแรกที่ไม่เคยสงบมาก่อน อย่าไปคิดถึงความสงบที่เคยได้แล้วอยากได้ เพราะมันจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำจิตให้รวมอีกครั้งหนึ่ง ต้องดูลมไปแบบลืมอดีต ลืมอนาคต อดีตคือความสงบที่เคยได้ อนาคตคือความสงบที่จะได้ต่อไป อย่าไปคิดถึงมัน ให้อยู่กับปัจจุบัน ให้อยู่กับลมหายใจไปเพียงอย่างเดียว แล้วเดี๋ยวจิตก็จะเข้าสู่ความสงบต่อไปได้



ควรทำอย่างไรกับคนขี้อิจฉา

ถาม: น้อมกราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ หากการที่เราทำบุญใส่บาตรแล้ว มีคนเดือดร้อนเสียใจเพราะอิจฉาเรา เนื่องจากเขามีปมด้อย เราจะทำบุญให้น้อยกว่าเดิม เราก็ไม่ชอบตัวเองอีก เราควรทำอย่างไรกับคนขี้อิจฉา

พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องปล่อยเขาไป เป็นธรรมชาติของเขา เป็นเหมือนมะนาวมันก็ต้องเปรี้ยว ใช่ไหม จะไปให้มันหวานได้ยังไง คนขี้อิจฉาเขาก็ต้องอิจฉาไปตามธรรมชาติของเขา การทำบุญของเรามันไม่ได้เกี่ยวกับเขาเลย ใช่ไหม งั้นเขาจะอิจฉาไม่อิจฉานี่มันไม่ใช่เรื่องของเรา เราไม่ต้องไปสนใจ เราก็ทำไปตามความต้องการของเรา เราต้องการทำมากเราก็ทำไป ถ้าเราไม่ได้ไปเอาเงินเขามาทำก็แล้วกัน ถ้าเป็นเงินของเราเองก็ไม่เป็นปัญหาอะไ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤศจิกายน 2562 15:48:03 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2562 09:44:10 »



เอาชนะความกลัวได้อย่างไร

ถาม: ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะความกลัวได้ครับ
พระอาจารย์: ก็มี ๒ วิธี วิธีแรกก็คือใช้สติ เวลาเกิดความกลัวก็ให้ใช้สติให้ใจระลึกรู้อยู่กับพุทโธ พุทโธ อย่าปล่อยให้ใจไปคิดถึงสิ่งที่ทำให้เรากลัว เช่น เราไปกลัวผี คิดว่ามีผีมา เราก็หยุดความคิดนี้ด้วยการให้บริกรรมพุทโธ พุทโธไป หรือสวดมนต์ไป สวดอิติปิโส สวด “อรหังสัมมา สวากขาโต” ให้สวดไปอย่าไปคิดถึงความคิดที่เราไปคิดว่ามีผี เพราะเราไม่ได้คิดถึงผี ผีมันก็จะหายไป เพราะผีมันมาจากความคิดเรานี่เอง เราใช้พุทโธ พุทโธ หรือใช้การสวดมนต์ไป แล้วใจก็จะลืมเรื่องผีไป ผีมีจริงไม่มีจริงก็ไม่สำคัญ มันจะมาไม่มาก็ไม่สำคัญ ถ้าใจเราไม่ไปคิดถึงมันแล้ว ใจเราไม่เดือดร้อน อันนี้วิธีแรก แต่เป็นวิธีที่ไม่ถาวร แต่ต้องคอยสวดอยู่เรื่อยๆ เวลากลัวก็ต้องสวด วิธีที่จะทำให้มันไม่กลัวอย่างถาวรก็ต้องยอมตายเท่านั้น เวลากลัวอะไรก็บอกว่าร่างกายนี้มันเป็น “อนิจจัง” ไม่เที่ยง มันเป็น “อนัตตา” เราไปห้ามมันไม่ได้ ถ้าถึงเวลามันจะตาย อยู่ที่ไหนมันก็ตาย จะมีอะไรมาทำลายมันหรือไม่มันก็ต้องตายเหมือนกัน พอยอมตายแล้วมันก็หายกลัว เพราะยอมรับความจริง พอเห็นความจริงว่าร่างกายนี้ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องตาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม อยู่ที่ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย ต่อให้มี ร.ป.ภ. มาคุ้มครองตลอด ๒๔ ชั่วโมง มันก็ตายได้ หนีความตายไม่พ้น ดังนั้น ถ้าตอนนี้ถึงเวลามันจะตายก็ให้มันตายไป ยอมตาย พอยอมตายแล้วใจก็จะหายกลัว หลังจากนั้นจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป



ใช้กัมมัฏฐานที่เหมาะกับจริต

ถาม: พยายามหาคำบริกรรมหรือการทำสมาธิที่ถูกกับจริตของตนเอง แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าแบบไหนถูกจริตค่ะ
พระอาจารย์: ก็ลองไปเรื่อยๆ ที่จริงมันไม่ใช่จริตหรอก ทุกคนมีจริต ๔ อย่างเหมือนกันแหละ บางเวลาก็เกิดราคะขึ้นมา บางเวลาก็เกิดโทสะขึ้นมา งั้นเรามีจริตหลายอย่างปนกัน เราก็ต้องรู้ว่าเวลาเกิดจริตแบบนี้จะทำยังไง เวลาโกรธใครนี้ พุทโธไม่ได้ก็ต้องใช้แผ่เมตตา ให้อภัย อย่าไปถือโทษโกรธเคือง ถ้าไปอาฆาตพยาบาทกันเดี๋ยวก็จองเวรจองกรรมกันไปไม่มีที่สิ้นสุด พอให้อภัยเรื่องก็จะจบ เวลาเกิดโทสะจริตขึ้นมาก็ต้องใช้เมตตาภาวนา เวลาเกิดราคะเกิดกามารมณ์อยากจะร่วมหลับนอนกับแฟน ก็ต้องคิดถึงอสุภะของแฟน คิดถึงอาการ ๓๒ ของแฟน คิดถึงโครงกระดูก คิดถึงตับปอดไตลำไส้อะไรต่างๆ พอเห็นอาการเหล่านี้ในร่างกายของแฟน ความอยากจะเสพกามก็จะหายไป งั้นมันอยู่ที่เวลาจริตไหนมันเด่นขึ้นมาเราก็ต้องใช้กัมมัฏฐานที่เหมาะกับจริตนั้น กัมมัฏฐานก็เป็นเหมือนยา จริตก็เป็นเหมือนโรคของใจ เหมือนกับโรคของร่างกาย ปวดหัวก็ต้องกินยาแก้ปวดหัวซิ อย่าไปกินยาแก้ปวดท้องซิ กินยาแก้ปวดท้องก็ไม่หาย ต้องกินยาแก้ปวดหัว ถ้าปวดท้องก็ต้องกินยาแก้ปวดท้อง ปวดตาก็ต้องหายามาหยอดตา มันมียาของแต่ละชนิดที่ต้องมารักษา จริตของเราจิตของเราก็มีหลายจริต บางทีก็ราคะจริต บางทีก็โทสะจริต บางทีก็โมหะจริต ก็ต้องหาธรรมะที่เหมาะสมมาแก้ไข พอมันหายเป็นปกติเราก็ใช้แบบทั่วไปได้ พุทโธนี้เหมาะกับเวลาที่เราไม่มีปัญหา จิตเราเป็นปกติ ตอนนั้นเราก็พุทโธพุทโธ หรือดูการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ แต่ถ้าโกรธใครนี่มันดูไม่ออก พุทโธไม่ออก เพราะมันจะคิดถึงคนที่ทำให้เราโกรธ เราก็ต้องให้อภัยเขา พอให้อภัยเขาเราก็เลิกคิดถึงเขาได้ แล้วเราก็กลับมาพุทโธ กลับมาดูร่างกายดูลมหายใจได้ต่อไป


เห็นสักแต่ว่าเห็นต้องพิจารณาอย่างไร

ถาม: ที่กล่าวว่า “เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน” แล้วความคิดเกิดในใจต้องพิจารณาอย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็เห็นแล้วอย่าไปโลภอย่าไปรักไปชังไปกลัวไปหลง ให้เห็นเฉยๆ อย่ามีอารมณ์กับสิ่งที่เราเห็น เห็นเพชรก็อย่าไปอยากได้ เห็นอุจจาระก็อย่าไปอยากหนี ถ้าต้องอยู่กับมันก็อยู่กับมันไป นี่อย่าไปรังเกียจอย่าไปรักอย่าไปชัง ทำใจให้เป็นกลาง จะทำได้ก็ต้องฝึกสมาธิ เพราะความเป็นกลางของใจนี้นำความสุขมาให้กับใจ ถ้าใจออกจากความเป็นกลางเมื่อไหร่ ความทุกข์จะโผล่ขึ้นมาทันที พอรักก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา พอชังก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา พอกลัวก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา พอหลงก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา ใจจะไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงต้องฝึกสมาธิ ให้เข้าไปในสมาธิแล้วใจจะเป็นกลางเป็นอุเบกขา แล้วเราก็เอาความเป็นกลางของใจนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป เวลาสัมผัสรับรู้อะไรก็เฉย แล้วเราก็จะสบายไม่วุ่นวายใจ ถ้าไม่เฉยก็แสดงว่ากำลังอุเบกขาเรามีน้อย แล้วก็กำลังปัญญา ต้องมีทั้งสองอย่างถึงจะช่วยรักษาอุเบกขา สมาธิก็สร้างอุเบกขาขึ้นมา ปัญญาก็จะเป็นผู้รักษาต่อไป ปัญญาก็จะสอนว่าสิ่งที่เราไปรักไปชังนี้เป็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” พอรักปั๊บก็ทุกข์ทันที พอชังปุ๊บก็ทุกข์ทันที ถ้าไม่อยากไปทุกข์ก็อย่าไปรักอย่าไปชัง


ที่มา -ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2562 16:02:58 »

.



บุญ ถึงเวลามันอัตโนมัติ

ถาม: ลูกทำบุญมามากมายจนจำไม่ได้แล้ว ถ้าหากวันใดที่เกิดอาการเจ็บป่วยมีทุกขเวทนามาก จิตสุดท้ายไม่มีโอกาสนึกถึงบุญที่ทำแล้ว จิตสุดท้ายจะไปดีไหมครับ แล้วบุญนั้นจะให้ผลไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ มันไม่ต้องนึกหรอกบุญ ถึงเวลามันอัตโนมัติ มันจะมาทำหน้าที่ของมัน งั้นไม่ต้องไปกังวล ทำไปเยอะๆไว้ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวถึงเวลาบุญมันจะมาเองไม่ต้องไปนึกถึงมัน ถ้าไม่ทำนึกยังไงมันก็ไม่มา งั้นไม่ต้องไปกังวลเรื่องนึก บุญกับบาปที่ทำไว้มันมาเองเมื่อถึงเวลาของมัน



นั่งสมาธิมานานแล้วแต่ทำไมไม่ได้สมาธิ

ถาม: กระผมนั่งสมาธิมานานแล้วแต่ทำไมไม่ได้สมาธิ ไม่ทราบว่าติดตรงไหน พระอาจารย์มีวิธีแก้ไขไหมครับผม
พระอาจารย์: ไม่มีสติไง ไม่มีพุทโธ ไม่มีลมหายใจ นั่งเฉยๆไม่มีวันสงบได้ ต้องใช้พุทโธพุทโธไป หรือดูลมหายใจไป ทิ้งไม่ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ลมหายใจก็ได้ มันถึงจะเข้าสู่ความสงบได้ ที่ไม่มีพุทโธหรือไม่ดูลมหายใจได้เพราะไม่ฝึกมาก่อน ไม่ฝึกตั้งแต่ก่อนที่จะมานั่ง ต้องหมั่นฝึกพุทโธพุทโธอยู่เรื่อยๆ เวลาที่เราไม่ต้องใช้ความคิด งั้นให้พุทโธพุทโธดึงความคิดไว้ อย่าให้มันคิดถึงเรื่องราวต่างๆ พอมานั่งเราก็จะได้ควบคุมความคิดไว้ได้ แล้วมันก็จะสงบได้



เปลี่ยนจากเสียใจเป็นวางเฉยได้อย่างไร

ถาม: มิตรภาพที่เริ่มห่างหายไป เราจะเปลี่ยนจากความเสียใจให้เป็นการวางเฉยได้อย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็พิจารณาว่ามันเป็นของไม่เที่ยงไง ทุกอย่างมีเกิดมีดับ มีมามีไป มีเจริญมีเสื่อม แต่ใจเราไม่ยอมให้มันไป อยากจะให้มันอยู่ พอมันไม่อยู่ก็เลยเสียใจ ถ้าห้ามใจไม่ให้อยากไม่ได้ก็ต้องใช้คำบริกรรมพุทโธพุทโธพุทโธ เวลามันอยากจะให้มิตรภาพกลับมา เราก็พุทโธพุทโธพุทโธไป หยุดความอยาก พอเราไม่มีความอยากให้มันกลับมา ใจก็จะสงบใจก็จะสบายขึ้นมา



ถ้ายังไม่ถึงผลก็ยังตกลงมาได้

ถาม: เมื่อจิตขึ้นไปสัมผัสถึงอารมณ์ของกระแสขั้นอริยบุคคลเบื้องต้นแล้ว สามารถตกลงมาอีกได้หรือไม่เจ้าคะ
พระอาจารย์: ถ้ายังไม่ถึงผลก็ยังตกลงมาได้อยู่ ถ้าเป็นการสัมผัสเพียงแต่การยังไม่ได้บรรลุผลเต็มที่นี่มันก็ยังตกลงมาได้ ยังอยู่ในขั้นมรรคอยู่ ยังอยู่ในขั้นเดินขึ้นบันไดอยู่ ขึ้นบันไดถ้ายังไปไม่ถึงชั้นที่เราจะขึ้นไป ถ้าเผลอเดี๋ยวก็เลื่อนตกบันไดได้ เพราะบันไดมันชัน แต่ถ้าเราเดินขึ้นไปจนถึงชั้นที่เราต้องการขึ้นไปได้แล้ว มันก็จะไม่ตกลงมา เช่น ถ้าบรรลุเป็นโสดาบันแล้วก็จะไม่มีวันกลับไปเป็นปุถุชนอีกต่อไป


ที่มา -ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2562 13:34:39 »



ผีจริงไม่หลอก ผีหลอกไม่จริง

ถาม : คนที่ทำงานชอบมาเล่าให้ฟังว่าเจอผีบ่อยๆ อยากทราบว่าผีมีจริงไหมคะ
พระอาจารย์ : ผีจริงไม่หลอก ผีหลอกไม่จริง เข้าใจไหม ผีจริงก็คือนี่แหละ พวกเราที่ตายไปแล้วก็เป็นผีกันทุกคน เพราะเราไม่มีร่างกายแล้วก็เป็นผีกัน ดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณพวกนี้ไม่มาหลอกเราหรอก ไอ้ที่ผีไม่จริงน่ะมันหลอก ก็คือใจเราหลอกเราเอง ชอบคิดถึงผี คิดขึ้นมาเอง สร้างขึ้นมาเอง สร้างผีขึ้นมาจากความคิดของเรา อันนี้ผีปลอม ไอ้ผีที่เรากลัวกันนี้ก็คือผีปลอม นี่พอมาอยู่ที่นี่ ตอนกลางคืนอยู่คนเดียวบนนี้เดี๋ยวผีมาเต็มเลยแหละ มันมาจากใจเรา คิดกันไปเอง เข้าใจไหม แต่ถ้าใจสงบมันไม่มีหรอก มันไม่คิดถึงผี คนบางคนมาอยู่บนเขาไม่ได้เพราะใจไม่สงบ พอมืดหน่อยนี้เห็นอะไรเป็นผีไปหมด แสดงว่าใจปรุงแต่ง ใจหลอกตัวเอง นี้เรียกว่าผีปลอม ผีปลอมเป็นผีหลอก แต่ผีจริงเขาไม่หลอก เขาตายเราตายไปแล้วดวงวิญญาณเขาก็ไปตามภพตามภูมิของเขาแล้ว เขาจะไปเป็นเทวดาเขาก็ไปแล้ว เขาจะไปตกนรกเขาก็ไปของเขาแล้ว เขาไม่มีเวลามานั่งหลอกเราหรอก หลอกเราแล้วได้อะไรล่ะ ใช่ไหม ฉะนั้นผีจริงไม่หลอก ผีหลอกไม่จริง ขอให้จำคำพูดนี้ไว้ก็แล้วกัน



ถาม: กราบขอวิธีคิดเวลาโดนกิเลสหลอกให้เบื่อหน่ายให้เลิกภาวนา จะสอนจิตอย่างไรเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็อย่าไปฟังมันซิ ก็เท่านั้นเอง ถ้ารู้ว่ามันหลอกแล้วไปเชื่อมันทำไม ใช่ไหม เวลามันหลอกเราๆ ก็พุทโธพุทโธหยุดมันก็ง่ายๆ ไม่ต้องไปคิดแข่งกับมันหรอก เดี๋ยวก็เถียงสู้มันไม่ได้หรอก อย่าไปเถียงมันเลยกิเลส แพ้มันทุกที ดังนั้น วิธีดีที่สุดก็อย่าไปเถียง เอาพระพุทธเจ้ามาหยุดมันดีกว่า พุทโธพุทโธพุทโธไป พอมันจะหลอกให้ไปเที่ยวก็พุทโธพุทโธไป มันจะหลอกให้ไปดูหนังดูละครก็พุทโธพุทโธไป ถ้ามานั่งเถียงกัน โอ๊ย เดี๋ยวมันก็เป็นเรื่องยาวขึ้นมา มันก็อ้างเหตุผลนั่นอ้างเหตุผลนี่ “ไม่เป็นไรนะ ครั้งนี้ครั้งเดียว ครั้งนี้จำเป็น หนังอย่างนี้นานๆ จะมีมาสักครั้งหนึ่ง” มันก็อ้างไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเราก็อ่อนใจตาม ดังนั้น ถ้าเรารู้ว่ามันมาหลอกก็อย่าไปฟังมันดีกว่า ง่ายที่สุดอย่าไปคุยกับมัน มันจะมาชวนก็พุทโธพุทโธพุทโธไป ไล่มันไป ใช้พุทโธไล่มันไป ปัญหาคือกลัวมันไม่รู้ซินี่ “กูไม่รู้ว่ามึงมาหลอก” ตรงนี้แก้ยาก ถ้ารู้มันไม่ยากหรอก ถ้ารู้ว่ามันมาหลอกก็รู้ว่ามันมาหลอกแล้วไปเชื่อมันทำไม นี่มันมาหลอกแบบที่มันไม่รู้นี่มันเชื่อยากกว่า มันหลอกให้ไปทำบุญดีกว่านะ พวกบางคนมาอยู่วัดมาภาวนา เดี๋ยวก็เพื่อนมาชวน “ไปผ้าป่าไหม กฐินไหม ไปสังเวชนียสถานไปอินเดียไหม” พวกนี้ก็ถูกหลอกแล้ว ถ้าเป็นพวกภาวนานี่ก็ถูกหลอกแล้ว คือหลอกไม่ให้ภาวนาไง กิเลสมันไม่ชอบให้เราภาวนา มันก็จะบอกให้ไปเที่ยว มันก็อาจจะอยากไปมันก็เลยหลอกด้วยวิธีอื่น หลอกให้ไปทำบุญก็แล้วกัน ไปทำบุญผ้าป่า ทำบุญวันตายของครูบาอาจารย์ วันเกิดครูบาอาจารย์ ไปเปิดโรงทาน อันนี้มันก็หลอกแล้วเพราะว่ามันดึงให้เราไปสู่ธรรมขั้นต่ำ ถ้าเราภาวนานี้เรากำลังจะไปพรหมโลก แต่พอมันมาชวนเราไปทำบุญ มันเปลี่ยนทางให้เราไปทางเทวโลกแล้ว แล้วพอไป เทวโลกมันจะหลอกให้ไปอีกทางต่อไป ถ้ารู้ว่ามันหลอกมันง่าย ถ้ารู้ว่ามันหลอกเราก็อย่าไปฟังมันเท่านั้นเอง เราก็พุทโธพุทโธไป แต่ถ้ามันมาหลอกแบบไม่รู้นี่ ก็บางทีก็ต้องมาน้ำตาตกในก่อนถึงจะมารู้ทีหลังว่า “โอ๊ย กูถูกหลอกแล้ว” บางทีชีวิตก็ต้องเป็นอย่างนี้ บางทีก็ต้องมีบทเรียนสอนใจ มันต้องมีการผิดพลาดต้องมีการถูกหลอก ข้อสำคัญก็อย่าให้ถูกหลอก ๒ ครั้งซ้ำกันก็แล้วกัน อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เราถูกหลอก ๒ ครั้งซ้ำกันแสดงว่าเราโง่มาก


ถ้าอยากจะไม่คิดก็ต้องฝึกสติ
ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ เมื่อคืนโยมได้ฝันถึงคุณพ่อที่ท่านได้จากไปเมื่อ ๑๑ ปีกว่าแล้ว และคุณแม่ที่ท่านได้จากไปเมื่อ ๓ ปีกว่า โยมได้ดูแลท่าน พระอรหันต์ในบ้านจนถึงท่านสิ้นลม อยากกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ว่าทำไมเรายังมีใจรักอาวรณ์ถึงท่าน ถึงยังต้องฝันถึงท่านเพราะเรายังปฏิบัติไม่ถึงพร้อมใช่หรือไม่คะ
พระอาจารย์: อ๋อ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา คนเรารักกันชอบกันก็อดที่จะคิดถึงกันไม่ได้ ดังนั้น ไม่ต้องไปกังวลเรื่องความคิดถึงคนที่เรารักเราชอบ หรือแม้แต่คนที่เราเกลียดเรายังคิดถึงเขาเลย คนไหนยิ่งเกลียดนี่บางทียิ่งคิดนะ มันเรื่องความผูกพันของใจ ถ้าไม่อยากจะให้ผูกพันก็พยายามฝึกสติ ทำใจให้ว่างให้สงบมากๆ แล้วต่อไปมันก็จะไม่คิดถึงอดีตไม่คิดถึงอนาคต จะคิดอยู่กับปัจจุบันเท่านั้นเอง ดังนั้น ถ้ายังคิดอยู่ก็ถือว่าสติเรายังมีกำลังน้อย ยังควบคุมความคิดไม่ค่อยได้ จิตก็เลยปล่อยไปคิดเรื่องอดีตบ้างคิดถึงเรื่องอนาคตบ้าง ไม่เสียหายอะไร แสดงว่าเราไม่มีสติมากพอ ก็ถ้าอยากจะไม่คิดก็ต้องฝึกสติ หมั่นพุทโธพุทโธไปเรื่อยๆ เวลาคิดเรื่องที่ไม่จำเป็นจะต้องคิดก็หยุดมัน ให้คิดพุทโธแทนไป



ทำบุญถ้าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ได้มาก
ถาม: ถ้าเราไปทำบุญถวายสังฆทาน แล้วเรามีความไม่แน่ใจในพระที่มารับ เราจะได้บุญไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ได้ไม่เกี่ยวกับผู้รับ เกี่ยวกับผู้ให้ การทำบุญนี้เกี่ยวกับผู้ให้ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ได้มาก ให้ด้วยความลังเลสงสัยก็ได้น้อย คือให้แล้วอยากจะได้รับผลตอบแทนจากผู้รับ อยากจะให้ผู้รับเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างนี้ ก็จะทำให้ใจเราลังเล เคว้งคว้างได้ แต่คิดว่าเราทำบุญนี้เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นใคร เป็นผู้มีศีลก็ได้ เป็นผู้ไม่มีศีลก็ได้ แม้แต่ตำรวจเขาบางทียังต้องช่วยคนร้ายเลย เวลาไปต่อสู้กันแล้วคนร้ายเจ็บตัวก็ต้องพาไปรักษาพยาบาล อันนี้ก็เป็นการทำบุญ การได้ช่วยเหลือผู้อื่น บรรเทาทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นเรียกว่าเป็นการทำบุญ งั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าคนที่รับนี้เป็นคนดีคนชั่วหรือเป็นพระแท้พระปลอม อันนี้ได้บุญเหมือนกัน ได้จากใจของผู้ที่ปรารถนาความสุขความบรรเทาทุกข์ของผู้อื่น คือเป็นความให้ความเมตตานั่นเอง นี่แหละคือการแผ่เมตตา ต้องแผ่ด้วยการกระทำ อย่าแผ่ด้วยการสวดคนเดียว นั่งอยู่ในห้องพระคนเดียว สวดแผ่เมตตาไปครอบจักรวาล มันไปไม่ถึงหรอก มันไม่มีใครรับ ต้องแผ่ด้วยการกระทำ ให้ความสุขแก่ผู้อื่นหรือบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ถึงจะเรียกว่าแผ่เมตตา


ถ้ากิเลสบางก็ปฏิบัติง่าย
ถาม: ฟังเทศน์ของหลวงตาท่านได้พูดถึงเรื่องปฏิปทา ๔ กระผมเลยมีความสงสัยครับว่าการเรียนรู้ การปฏิบัติได้เร็วได้ช้าตามในปฏิปทา ๔ นี้เป็นไปตามอำนาจบุญวาสนาของคนแต่ละคน หรือสามารถเกิดขึ้นจากการฝึกฝนตนเองครับ
พระอาจารย์: มันเกิดจากคนแต่ละคนมีกิเลสหนาบางไม่เท่ากัน มีความฉลาดความโง่ไม่เท่ากัน เลยทำให้ปฏิบัติง่ายปฏิบัติยาก ถ้ากิเลสหนาก็ปฏิบัติยาก ถ้ากิเลสบางก็ปฏิบัติง่ายเพราะมันจะไม่คอยมาขวางทาง กิเลสมันจะขวางการปฏิบัติ ส่วนความฉลาดก็จะทำให้เรารู้เร็วรู้ช้า ถ้าฉลาดมากก็จะรู้เร็ว ฉลาดน้อยก็จะรู้ช้า แต่ของพวกนี้เราสามารถมาแก้ได้ ถ้ากิเลสหนาเราก็พยายามมาขัดเกลามันได้ ถ้าฉลาดน้อยก็ขยันศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น เดี๋ยวก็ฉลาดเอง



แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
ถาม: สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดทางโลกได้โดยไม่ทำให้ทุกฝ่ายเป็นทุกข์คืออะไรเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็คือยอมแพ้ไง ยกให้คนอื่นไปให้หมด ใครอยากจะได้อะไรก็ยกให้เขาไป เราขอเอาตัวเราออกจากวงการไป ไปอยู่คนเดียว แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมารไง พอออกจากวงการไปก็ไปบวชเป็นพระ เห็นไม๊ แล้วได้เป็นพระอรหันต์ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ออกจากพระราชวังไป ใครจะแย่งสมบัติใครจะเอาอะไรก็ปล่อยเขาแย่งกันไป ท่านบอกขอไปบวชดีกว่า แล้วก็บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าต่อไป เรียกว่า “แพ้เป็นพระ” เห็นไม๊ ถ้าอยู่ก็เป็นมารสู้กันอยู่ สู้กันไม่มีวันจบวันสิ้น



ที่มา -ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัด ชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ธันวาคม 2562 13:38:34 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2562 15:44:17 »

.



ดีต้องมาก่อนเก่ง

ถาม: ลูกชายของลูกอายุ ๗ ขวบ เติบโตอยู่อเมริกา โดยตัวลูกสนใจธรรมะและอยากให้ลูกได้บวชเมื่อโตขึ้น จึงนำกลับมาเรียนที่เมืองไทย ตอนนี้อยู่ ป.๒ โยมคิดว่าเราไม่ควรจะเน้นเรื่องการศึกษาของลูกเพียงให้ลูกโตเป็นคนดีได้บวช โยมคิดผิดไหมคะ

พระอาจารย์: ไม่ผิดหรอก การศึกษามันต้องครบบริบูรณ์ ทั้งทางด้านจิตใจและทางร่างกาย จิตใจก็ต้องเป็นจิตใจที่ดี ถ้าบวชก็จะได้รู้จักวิธีเจริญพรหมวิหาร ๔ เจริญความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีแม่คนหนึ่ง ถามเขาว่าตอนนี้ลูกเรียนที่ไหน อยากจะให้เขาเข้าเตรียมอุดมฯ ไหม เขาบอก โอ๊ย เขาไม่อยากให้ลูกทุ่มไปแบบนั้นเพราะเห็นเด็กที่ทุ่มไปแบบนั้นไม่มีความเมตตาเลย มีแต่ความเห็นแก่ตัว คิดแต่เอาประโยชน์ของตนเองเพียงอย่างเดียว เขากลัว เขาบอกว่าขอให้ลูกเรียนสบายๆ ดีกว่า แต่ไม่ต้องไปมุ่งมั่นที่จะต้องเข้าเตรียมฯ เข้าจุฬาฯ เข้าอะไร เพราะมันเป็นการทำให้เด็กนี้บางทีมุ่งมั่นเกินไป เลยเถิดขาดความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาต่อผู้อื่น เวลาเพื่อนได้ดีกว่าก็อิจฉาริษยา เพื่อนสอบได้ดีกว่า ได้คะแนนดีกว่าตนก็โกรธเพื่อนเสียอีก ไปเกลียดเพื่อนเสียอีก เพราะไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมทางด้านจิตใจ มุ่งไปเพียงแต่ด้านวิชาการ ทางด้านร่างกาย แม่คนนี้เขาบอกเขาไม่เอา เขาไม่อยากจะได้ลูกแบบนั้น เขาอยากจะได้ลูกที่เป็นคนดีๆ กว่า ไม่เก่งไม่เป็นไร ขอให้ดี ดีต้องมาก่อนเก่ง เก่งตามมาทีหลัง ถ้าเก่งตามความดีแล้วจะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าเก่งนำหน้าแล้วดีไม่มีนี่สามารถไปล้างโลกไปทำลายโลกได้ คนที่มีความเก่งแต่ไม่มีความดีนี้ จะเอาความชั่วมาใช้กับความเก่งของตน ก็อาจจะเอาไปล้างโลก อย่างฮิตเลอร์ อย่างพวกคนที่มีประวัติโด่งดังในอดีต พวกนี้เก่งแต่ไม่มีความดีไม่มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โลกจึงเกิดสงครามโลกกันขึ้นมา



ถ้าไม่รู้ก็อย่าไปสอนคนอื่น

ถาม: เรื่องที่เอาคำสอนของพระอาจารย์มาแนะนำเพื่อน เกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ โดยเอามาใช้แบบทางโลกไม่ให้ผิดศีล ๕ แต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องไหม สามีเพื่อนนอกใจ ทำให้เพื่อนคิดทำร้ายหญิงผู้เป็นกิ๊ก ก็เลยช่วยกันห้าม และแนะนำไปว่าไม่มีเครื่องผูกชาย ได้ดีไปกว่ากามคุณ ๕ ให้ใช้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสผูกเขาไม่ใช่ไปทำร้ายหญิงที่เป็นกิ๊ก ทีนี้พระอาจารย์สอนแต่ให้ละ แต่หนูกลับไปสอนให้ผูกกลัวตัวเองใช้คำสอนผิดทาง รบกวนพระอาจารย์ช่วยแนะนำ
พระอาจารย์: ถ้าเราไม่รู้ก็อย่าไปสอนคนอื่น ถ้าเรายังไม่รู้วิธีแก้ปัญหาก็อย่าไปสอนคนอื่นแก้ปัญหา เพราะว่าแทนที่จะไปแก้ปัญหาอาจจะเป็นการสร้างปัญหาขึ้นมาแทนที่ก็ได้ ไม่ต้องไปอาย ถ้าบอกเขาว่าเราไม่รู้ และอย่าไปอยากช่วยเขาในเมื่อเรายังช่วยตัวเองไม่ได้ เหมือนเวลาคนจะจมน้ำเราว่ายน้ำไม่เป็น เราจะกระโดดไปช่วยเขา เดี๋ยวจะจมด้วยกันไปทั้งคู่

ดังนั้น ก่อนที่เราจะช่วยใครเราต้องดูความสามารถของเราก่อนว่า เราช่วยเขาได้หรือเปล่า แล้วช่วยอย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าช่วยแล้วแทนที่จะทำให้ปัญหาหายไป กลับทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นมาก ก็ไม่ควรที่จะช่วย



สงวนส่วนต่างประสานส่วนเหมือน

ถาม: แฟนผมเขาไม่ชอบเข้าวัดแต่ตัวผมชอบเข้าวัด เราควรบอกเขาอย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็ต่างคนต่างอยู่ซิ จะได้ไม่มีปัญหา การจะอยู่ร่วมกันแบบมีปัญหาน้อยที่สุดก็คือ ต้องสงวนส่วนต่าง ประสานส่วนเหมือน เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยวเราไม่ชอบกินก๋วยเตี๋ยวก็ต่างคนก็ต่างสั่งไง กินของใครของมันไป แต่ถ้าชอบอันไหนชอบเหมือนกันก็ชวนกันไปทำได้ ถ้าไม่ชอบไปวัดเขาชอบไปเที่ยว วันไหนเราอยากไปเที่ยวเราก็ชวนเขาไปเที่ยวได้ แต่ถ้าเราชวนเขาไปวัดเดี๋ยวเขาก็จะโกรธเราได้ เขาไม่อยากไปแล้วเราไปดึงเขาไป งั้นก็อย่าไปขัดใจกัน พูดง่ายๆ อยู่ร่วมกันต้องประสานน้ำใจกัน อย่าไปขัดใจกัน อย่าไปเอาใจเราเพียงอย่างเดียว ต้องคิดถึงใจเขาด้วย เราชอบแต่เขาไม่ชอบ เขาต้องไปทำกับเรา เขาไม่มีความสุขเรามีความสุข อย่างนี้ก็ไม่ดี แต่ถ้าเขาชอบเราก็ชอบ ไปทำร่วมกันเขาก็มีความสุขเราก็มีความสุข เราต้องคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นอยู่ต่อไปจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่ใช่อะไร เดี๋ยวจะเกิดการแตกแยกกันขึ้นมา แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างยอมรับกันว่า มีส่วนเหมือนมีส่วนต่าง เวลาที่จะต้องทำส่วนต่างก็ต่างคนก็ต่างทำไป เวลาไปรับประทานก็ไม่ได้บังคับให้สั่งอาหารเหมือนกัน ใช่ไหม คุณอยากจะกินอะไรก็สั่งไป ผมอยากจะกินอะไรผมก็สั่งของผมไป ก็อยู่ด้วยกันได้ แต่ถ้าบอกว่าต้องกินเหมือนกันนี่ เดี๋ยวก็เกิดปัญหาขึ้นมาได้ งั้นก็ต้องรู้จักแยกแยะว่าอันไหนควรทำร่วมกัน อันไหนไม่ควรทำร่วมกัน แล้วก็จะอยู่กันไปได้นาน



ทำอย่างไรถ้าเราอยู่ในสังคมจอมปลอม

ถาม: ทำอย่างไรครับถ้าเราอยู่ในสังคมจอมปลอม ขอพระอาจารย์ช่วยชี้แนะครับ
พระอาจารย์: เราก็อย่าไปอยู่กับมันซิ เราก็อย่าไปปลอมกับมัน เราก็จริง เราก็อยู่กับความจริงของเราไป เราซื่อสัตย์สุจริต เขาจะโกหกจอมปลอมก็ให้เรารู้ทันเขาก็แล้วกัน แล้วอย่าไปถูกให้เขามาหลอกเราก็พอ ให้รู้ทันเขาแต่ไม่ต้องไปเปลี่ยนเขา ไม่ต้องไปรังเกียจเขา ถ้ายังต้องอยู่กับเขาก็อยู่กันไป ไม่ศรัทธาก็ไม่ลบหลู่ ไม่เชื่อก็ไม่ลบหลู่ ก็ปล่อยเขาอยู่ตามเรื่องของเขาไป ไม่ต้องไปด่าเขาว่าเขา “มึงโกหกหลอกลวงจอมปลอม” สร้างศัตรูไปเปล่าๆ อยู่ด้วยกันก็มีเมตตาต่อกันได้ไหม เขาเป็นคนจอมปลอมก็เรื่องของเขา เราก็มีความเมตตากับเขา แต่เราต้องมีปัญญาให้มันทันเขา เท่านั้นเอง อย่าปล่อยให้เขามาหลอกเราได้



ถ้าต้องการธรรมะก็ทำบุญกับพระที่มีธรรมะ

ถาม: ถ้าอยากได้บุญมากๆ จากการทำทาน จะทำทานกับพระสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญได้ที่ไหนครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่จำเป็นจะต้องทำกับใครที่มีเนื้อนาบุญนะ การทำทานถ้าอยากจะได้บุญเฉพาะในใจเรานี้ไม่ต้องเลือกทำ ทำกับใครก็ได้ มันไม่ได้อยู่ที่ผู้รับ มันอยู่ที่ของที่เราให้ว่ามากหรือน้อย แต่ถ้าเราต้องการสิ่งที่เป็นสิ่งตอบแทนจากผู้รับนี้ ถ้าเราต้องการธรรมะเราก็ต้องไปหาพระที่มีธรรมะ เท่านั้นเอง ที่มีให้เลือกก็เพราะว่าเราอยากจะได้สิ่งตอบแทน เหมือนกับเวลาเราไปเติมน้ำมันตามปั้มต่างๆ นี้ เขาก็มีของแจกไม่เหมือนกัน บางปั้มก็แจกกระดาษ บางปั้มก็แจกน้ำดื่ม บางปั้มก็แจกสบู่ ยาสีฟัน ก็อยู่ที่ว่าเราอยากได้อะไร แต่น้ำมันเราก็ได้เหมือนกันทุกปั้ม เติม ๑๐๐ บาทก็ได้น้ำมัน ๑๐๐ บาทเท่ากัน แต่อาจจะได้ของแถม บางปั้มก็มีของแถม บางปั้มก็ไม่มีของแถม ถ้าเราต้องการเพียงแต่น้ำมันเราก็ไม่ต้องเลือกปั้ม ปั้มไหนมันก็เหมือนกัน แต่ถ้าเราต้องการของแถมด้วย เราก็ต้องไปเลือกปั้มที่เขาแจกของที่เราอยากได้ การทำบุญกับบุคคลนั้นบุคคลนี้ก็จะมีของตอบแทนจากเขาเป็นการตอบแทน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการอะไรจากเขา ถ้าเราต้องการธรรมะเราก็ต้องเลือกพระที่มีธรรมะเยอะๆ พระที่มีธรรมะมากที่สุดก็คือพระพุทธเจ้า รองลงมาก็พระอรหันต์ตามลำดับไปเรื่อยๆ ถ้าเราต้องการธรรมะเราก็ต้องเลือกหาพระที่มีธรรมะ เพราะเมื่อเราไปหาท่านเราก็จะได้ฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านนั่นเอง ท่านก็จะสอนธรรมะให้กับเรา



ทิ้งพุทโธไม่ได้

ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ครับ หลังจากที่เราทิ้งคำบริกรรมแล้ว ขอถามพระอาจารย์ว่าเราควรจะกำหนดจิตไว้ที่ฐานจิตอย่างเดิมหรือปล่อยจิตให้ล่องลอยไปครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เราไม่ควรทิ้งหรอก ทิ้งไม่ได้ ทิ้งพุทโธไม่ได้ จะทิ้งคำบริกรรมไม่ได้ ต้องให้มันทิ้งเรา เราอย่าไปทิ้งมัน มันจะทิ้งเราตอนที่มันนิ่งไง พอจิตรวมสงบปั๊บมันจะหยุดบริกรรม จะสั่งให้มันบริกรรม มันไม่บริกรรมแล้ว เพราะมันนิ่งแล้ว มันสงบแล้ว แต่ถ้ามันยังบริกรรมได้อยู่อย่าไปทิ้งมัน พอทิ้งมันแล้วเราก็จะไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เดี๋ยวกิเลสมันก็จะออกมาดึงจิตใจไปให้วุ่นวายต่อไป จะไม่มีทางที่จะสงบได้ ถ้าเราใช้คำบริกรรมอย่าทิ้งคำบริกรรม ถ้าเราใช้การดูลมหายใจอย่าทิ้งการดูลมหายใจ ให้มันทิ้งเรา พอจิตสงบแล้วมันก็จะแยก มันก็จะทิ้งเราไป



การบรรลุโสดาบันเป็นอย่างไร
ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ อยากถามว่าคำว่า “บรรลุโสดาบัน” เป็นอย่างไร คนที่บรรลุโสดาบันแล้วเขาประพฤติตัวอย่างไรเจ้าคะ จิตของคนที่บรรลุโสดาบันเป็นอย่างไรเจ้าคะ ขอบพระคุณค่ะ
พระอาจารย์: ก็เขาก็จะไม่หลงยึดติดกับร่างกายว่าเป็นตัวเขาล่ะซิ เพราะร่างกายอันนี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นของดินน้ำลมไฟ พ่อแม่เป็นคนสร้างขึ้นมาด้วยการเอาดินน้ำลมไฟในท้องแม่มาผสมกัน แล้วก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเป็นอาการ ๓๒ แล้วจิตใจผู้ต้องการใช้ร่างกายก็มาเกาะติดกับร่างกายด้วยกระแสของจิตเรียกว่า “วิญญาณ” วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู มีอยู่ ๕ เส้นด้วยกัน เพื่อที่จะได้มารับรู้ว่าร่างกายเห็นอะไรได้ยินอะไร จิตใจก็มาหลงคิดว่าเป็นร่างกาย ถ้าจิตใจได้พิจารณาด้วยปัญญา จิตใจก็จะรู้ว่าจิตใจกับร่างกายไม่ได้เป็นคนเดียวกัน เป็นฝาแฝด จิตใจเป็นแฝดพี่ ร่างกายเป็นแฝดน้อง หรือจะเรียกว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ก็ได้ ใจเป็นเจ้านายร่างกายเป็นลูกน้อง ร่างกายเป็นผู้รับคำสั่งจากเจ้านาย อย่างวันนี้พวกญาติโยมจะมาที่นี่ได้ เจ้านายต้องสั่งก่อนแล้ว “เฮ้ย วันนี้มาวัดนะโว้ย” มาวัดก็ออกเดินทางมากัน ถ้าเจ้านายสั่งให้ไปที่อื่นก็ไม่ได้มาวัด ถ้าบอกว่า “วันนี้ไปที่นู่น ก็จะไปตามคำสั่ง   ใจนี่แหละเป็นผู้สั่งร่างกายให้ทำอะไรต่างๆ และรับรู้ว่าร่างกายได้ทำอะไร ผ่านทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ไปหลงไปคิดว่าเป็นร่างกาย เพราะใจมันไม่มีรูปร่างในตัวของมันเอง มันเป็นตัวที่มีแต่ความรู้สึกนึกคิด พอมันได้ร่างกายมันก็เลยไปหลงคิดว่าเป็นร่างกาย เพราะว่ามันอยากได้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขนั่นเอง พอได้ร่างกายมาก็เลยรักเลยหวง พอรู้ว่ามันจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายก็กลัวขึ้นมา เพราะไม่อยากให้มันแก่ไม่อยากให้มันเจ็บไม่อยากให้มันตาย แต่ก็ห้ามมันไม่ได้ คนที่ฉลาดมาแยกใจออกจากร่างกายได้ รู้ว่าร่างกายไม่ใช่ใจรู้ว่าร่างกายต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย แต่ใจไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ถ้ารู้แล้วสามารถที่จะปล่อยวางร่างกายได้ เพราะถ้าไปยึดไปหวงก็จะทุกข์เวลาที่ร่างกายแก่ร่างกายเจ็บร่างกายตาย ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ต้องไม่ไปยึดไปติด ไม่ต้องไปถือว่าเป็นเราเป็นของเรา พอมันไม่เป็นเราเป็นของเราปั๊บเราก็จะไม่ทุกข์กับมัน สังเกตดูเราทุกข์กับของใคร ทุกข์กับของเราหรือทุกข์กับของคนอื่น ของคนอื่นเราไม่ทุกข์ใช่มั๊ยบ้านคนอื่นไฟไหม้เราทุกข์มั๊ย บ้านคนอื่นน้ำท่วมทุกข์มั๊ย แต่พอเป็นบ้านเราขึ้นมาทุกข์หรือเปล่า คือคนเราไม่อยากให้มันไหม้ไม่อยากให้มันท่วมเท่านั้นเอง แต่ถ้าเราไม่อยากให้มันไหม้ ไม่อยากให้มันท่วม มันจะไหม้มันจะท่วมเราก็ไม่ทุกข์ได้

นี่คือพระโสดาบันจะเห็นว่าความทุกข์เกิดจากความอยากให้ร่างกายไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ต้องอย่าไปอยากมัน ปล่อยมันแก่ปล่อยมันเจ็บปล่อยมันตาย พระโสดาบันก็เลยไม่กลัวความแก่กลัวความเจ็บกลัวความตาย เพราะรู้ว่ากลัวไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร กลัวไปมันก็ยังต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายอยู่ดี แล้วก็รู้ว่าตัวเองไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตายไปกับร่างกาย นี่คือพระโสดาบัน ก็จะปล่อยวางร่างกายได้ จะไม่กลัว และจะอยู่แบบคนมีศีลเพราะว่าจะไม่ไปทำบาปเพื่อรักษาร่างกาย คนส่วนใหญ่ที่ทำบาปกันเพราะต้องการรักษาร่างกาย เช่น ถ้าไม่มีเงินซื้ออาหารก็ต้องไปหาปลาหานกหาอะไรมากินเพื่อเลี้ยงร่างกาย ก็ต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่พระโสดาบันรู้ว่าไปทำบาปให้กับร่างกายทำไม ร่างกายไม่ได้รับผลบาป คนที่รับผลบาปก็คือใจที่ไปหาเนื้อหาสัตว์ไปทำบาปมาเลี้ยงร่างกาย ร่างกายมันได้ประโยชน์แต่คนที่ได้รับโทษก็คือใจ พระโสดาบันจะรู้ว่าทำบาปนี้ ตัวเองจะต้องไปรับโทษ แล้วเรื่องอะไรไปทำบุญไปทำประโยชน์ให้กับร่างกาย แล้วตัวเองไปรับโทษ มีใครอยากจะทำอย่างนี้บ้าง ไม่มีหรอกใช่มั๊ย มีใครอยากจะไปติดคุกแทนคนอื่นมั๊ย ไม่มีหรอก

นี่คือพระโสดาบัน รู้ว่าถ้าทำบาปก็ต้องไปติดคุก คุกทั้งในโลกนี้และคุกทั้งในโลกทิพย์ก็คืออบาย พระอริยะก็จะไม่ทำบาป จะอยู่ตามปกติทำมาหากินตามปกติ แต่ยังมีความอยากอย่างอื่นอยู่ เรื่องความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายนี้ไม่มีแล้ว ไม่กลัว ร่างกายจะแก่เจ็บตายเมื่อไหร่ไม่เดือดร้อน แต่ก็ยังมีความอยากหาความสุขทางรูปเสียงกลิ่นรสอยู่ ก็ยังอยากไปดูหนังฟังเพลง ยังอยากจะมีแฟนมีครอบครัวอยู่ แต่จะหาโดยวิธีไม่ผิดประเวณี ถ้าจะมีแฟนก็ต้องไม่ไปเป็นชู้กับใครอะไรทำนองนี้ ก็ไปสู่ขอกันทำอะไรกันให้มันถูกประเพณีไป นี่คือคุณสมบัติของพระโสดาบัน

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 08 มกราคม 2563 15:06:08 »

.



“พระอริยบุคคล”

ถาม : กราบนมัสการครับพระอาจารย์ ขอถามครับ โสดาบันนี้ยังมีกิเลสอยู่ใช่ไหมครับ แต่ไม่มีเหมือนปุถุชนทั่วไป ภูมิโสดาบันนี้คืออริยะเบื้องต้นใช่ไหมครับ เหนือกว่า เทพ อินทร์ พรหม ใช่ไหมครับ แต่คนทั่วไปจะมองดูไม่รู้ด้วยตา จะต้องปฏิบัติเองใช่ไหมครับ ขอความกรุณาพระอาจารย์อธิบายขยายความด้วยครับ
พระอาจารย์ : ใช่ทั้งหมดแหละที่ถามมา พระอริยบุคคลขั้นที่ ๑ นี้ท่านได้กำจัดกิเลสบางส่วนไปแล้ว ๓๐ % ละสังโยชน์ได้ ๓ ตัว สังโยชน์มีทั้งหมด ๑๐ ตัว กิเลสมีอยู่ ๑๐ ตัว พระโสดาบันละได้ ๓ ตัว แล้วถ้าปฏิบัติต่อไปก็จะละได้อีก ๒ ตัว เป็น ๕ ตัว แล้วปฏิบัติขั้นสุดท้ายก็จะละอีก ๕ ตัว เป็น ๑๐ ตัว
ดังนั้น พระอริยบุคคลนี้ไม่เหมือนกับคนธรรมดา เพราะท่านกำจัดกิเลสได้ ทำให้การกลับมาเกิดนี้น้อยลง นับชาติที่เหลือได้ เช่น พระโสดาบันนี้จะกลับมาเกิดไม่เกิน ๗ ชาติ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ไม่เกิน ๗ ชาติ ถ้าเป็นพระอนาคามี ก็ไม่เกิดเป็นมนุษย์อีกต่อไป แต่ยังต้องกลับไปเกิดเป็นพรหมอยู่ แล้วส่วนพระอรหันต์นี้ก็ไม่เกิดเป็นพรหมเลย จะไม่เกิดเป็นอะไรทั้งหมด อันนี้ก็เป็นเรื่องของพระอริยบุคคล



“กายคตาสติมีอยู่ ๒ ระดับ”

ถาม: กายคตาสตินี้เราควรพิจารณาอย่างไรบ้างครับ ต้องพิจารณาตลอดต่อเนื่องเลยใช่หรือไม่ครับ
พระอาจารย์: กายคตาสตินี้มีอยู่ ๒ ระดับด้วยกัน ระดับสติกับระดับปัญญา คือการดูร่างกายของเรา ถ้าเราอยู่ในระดับสติก็ให้ดูเฉยๆ ดูว่าตอนนี้ร่างกายของเรากำลังอยู่ในท่าไหน อยู่ในท่ายืนท่าเดินท่านั่งหรือท่านอน แล้วเวลาเปลี่ยนก็ต้องรู้ทัน ตอนนี้จากยืนมานั่งแล้ว จากนั่งมานอนแล้ว หรือจากนอนลุกขึ้นมานั่ง จากนั่งลุกขึ้นมายืน จากยืนกำลังเดิน เดินแล้วไปทำอะไร ก็ต้องเฝ้าดูทุกอย่างทุกอิริยาบถ ทุกการเคลื่อนไหว ถ้าไปอาบน้ำก็ต้องดูว่ากำลังอาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟันก็ดูว่ากำลังล้างหน้าแปรงฟัน คือไม่ให้ใจเราไปที่อื่น พูดง่ายๆ ให้อยู่กับร่างกายทุกอิริยาบถทางการเคลื่อนไหว อย่างนี้เรียกว่า “กายคตาสติ” ในระดับของการเจริญสติ
ถ้าระดับของวิปัสสนาคือของปัญญา เราก็ต้องมาดูว่าร่างกายเราเที่ยงหรือไม่เที่ยง เกิดแก่เจ็บตายใช่ไหม ก็แสดงว่ามันไม่เที่ยง มันต้องมีการเปลี่ยนแปลง แล้วในที่สุดเดี๋ยวมันก็จะมีการดับ เรียกว่า “ระดับวิปัสสนา” ดูเรื่อยๆ สอนใจอยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้หลงไม่ให้ลืม เพราะเรามักจะลืมกันว่าเราจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายไป เราจึงสนุกสนานเฮฮาปาร์ตี้กัน แต่ถ้าเรารู้อยู่ทุกเวลาว่าเดี๋ยวก็ต้องตายแล้ว ไปปาร์ตี้ให้มันเสียเวลาเสียเงินทองทำไม เสียเวลาทำไม เอาเวลามาฝึกจิตมาทำจิตให้สงบเพื่อที่จะได้ตายอย่างสบายดีกว่า ไม่ใช่ตายอย่างหวาดกลัว ตายอย่างทุกข์ทรมาน นี่คือเรื่องของปัญญา กายคตาสติในระดับปัญญา ให้พิจารณาเพื่อปล่อยวางร่างกาย เพื่อไม่ให้ทุกข์กับร่างกายต่อไป ร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา มันไม่เที่ยงมันเป็นของดินน้ำลมไฟ เดี๋ยวมันก็ต้องกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟ เราห้ามมันไม่ได้ แต่เราไม่ต้องทุกข์กับมันได้ถ้าเราปล่อย ถ้าเรารู้ว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ เราก็จะไม่ฝืนมัน



“ควรงดดูข่าวจากทีวีหรือสื่อต่างๆหรือไม่“

ถาม: ในขั้นที่จิตยังไม่ได้หลักเกณฑ์ หากอยากปฏิบัติให้ได้ผลเราควรงดดูข่าวจากทีวีหรือสื่อต่างๆ ในโซเชียลไปเลยจะดีที่สุดใช่ไหมครับ หรือดูได้แต่จำกัดเวลา เช่น สัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง
พระอาจารย์: ก็แล้วแต่ ถ้าตัดไปได้เลยก็จะดีเพราะการดูการรับรู้อะไรนี่มันดึงจิตออกข้างนอก การปฏิบัติเพื่อให้ได้หลักเกณฑ์เราต้องการดึงจิตเข้าไปข้างใน เข้าไปในสมาธิ เข้าไปที่ฐานของจิต ที่ตั้งของจิตคือความสงบ ถ้าเราเข้าไปถึงที่ตั้งได้ใจของเราจะมีความมั่นคง มันมีหลักมีเกณฑ์ แต่ถ้าเรามัวแต่ไปคอยส่งออกไปรับรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้มันก็เข้าไม่ได้ มันสวนทางกัน การรับรู้สิ่งทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้เป็นการดึงใจออกข้างนอก การใช้พุทโธหรือการใช้สติเป็นการดึงใจให้เข้าข้างใน นี่ถ้าเราอยากจะได้ใจที่มีหลักมีเกณฑ์ มีความสุขมีความสงบเราก็ต้องตัดเรื่องทางตาหูจมูกลิ้นกายไปให้หมด ต่อไปหลังจากที่จิตเรามีหลักมีเกณฑ์แล้ว เราอยากจะมารับรู้อะไรก็ได้เพราะว่าเรารับรู้โดยที่ไม่บริโภค เรารับรู้เฉยๆ แต่ถ้าเรายังไม่มีหลักมีเกณฑ์ เวลาเรารับรู้อะไรเราจะบริโภคไป เราจะดีใจเสียใจไปกับมัน แต่ถ้าจิตเรามีฐานมีความสงบแล้วมันจะไม่ไปบริโภค มันเพียงแต่จะรับรู้เฉยๆ ใครชมก็เฉยๆ ใครด่าก็เฉยๆ ไม่บริโภค

นี่คือความแตกต่างของผู้ที่มีหลักกับผู้ที่ไม่มีหลัก ถ้าอยากจะมีหลักเบื้องต้นก็ต้องตัดทุกอย่างไปให้หมด ไปอยู่คนเดียวไปหาที่สงบ ไม่รับรู้อะไรเพราะมันจะดึงใจให้เข้าข้างในได้ง่าย ถ้าไปรับรู้มันก็ชักคะเย่อกันเหมือนใจหนึ่งก็ดึงออกข้างนอก อีกใจหนึ่งก็ดึงเข้าข้างใน มันก็เหนื่อย มันก็ท้อ ถ้าอยากจะให้มันเข้าข้างในง่ายก็ต้องปิดตาหูจมูกลิ้นกาย อย่าไปรับรู้รูปเสียงกลิ่นรส แล้วเวลาดึงใจเข้าข้างในมันจะไม่มีอะไรมาคอยยื้อคอยดึงออก มันก็จะง่ายกว่า



“เทวดาเขาไปทำบุญกันที่ไหน”
ถาม: พระอาจารย์คะเทวดาเขาไปทำบุญกันที่ไหนคะพระอาจารย์
พระอาจารย์: อ๋อ เทวดาไม่มีเวลาทำบุญ เหมือนคนไปเที่ยว คนไปเที่ยวต่างประเทศ คุณคิดไปทำบุญที่ไหนหรือเปล่า ไม่มีเวลาที่จะไปทำบุญ เพราะเวลาไปเป็นเทวดาเป็นเวลาไปรับผลบุญ จะมาทำบุญก็ต้องมาเป็นมนุษย์เท่านั้นเอง

ถาม: แล้วเทวดาที่มาถามธรรมะพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าล่ะคะพระอาจารย์
พระอาจารย์: อ๋อ พวกนี้เขาเป็นพวกที่อยากจะพ้นทุกข์ไง เขาก็ไปหาพระพุทธเจ้า ไปเรียนรู้จากพระพุทธเจ้า อันนั้นเป็นการศึกษาเพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป

ถาม: แล้วถ้าเราเกิดตายไปเป็นเทวดา เราก็ยังสามารถเข้าถึงธรรมะได้ใช่ไหมคะพระอาจารย์
พระอาจารย์: ถ้าเราใฝ่ธรรมและมีผู้แสดงธรรมที่สามารถแสดงธรรมให้เทวดาได้ หรือถ้าเรามีธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้โดยที่ไม่ต้องให้ใครสอน อย่างเช่นพอเป็นพระโสดาบันแล้วนี้ ไม่ว่าจะไปเป็นมนุษย์ไปเป็นเทวดาก็จะปฏิบัติธรรมไปเอง


ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร. สัตหีบ. ชลบุรี
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 21 มกราคม 2563 16:28:18 »



การแยกรูปนามคืออย่างไรครับ
ถาม: การแยกรูปนามคืออย่างไรครับ ขณะปฏิบัติเห็นความคิดอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่อีกส่วนหนึ่ง อันนี้ใช่การแยกรูปนามหรือไม่ครับ ทำไมจึงได้กล่าวว่า จะวิปัสสนาได้นั้นต้องแยกรูปนามให้ได้เสียก่อน

พระอาจารย์: คำว่าแยกรูปนามก็คือให้เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรนั่นเอง เช่น เราแยกไข่ออกจากไก่ ใช่ไหม นี่ไก่ นี่ไข่ อันนี้ก็เหมือนกัน การแยกรูปนามก็เพื่อให้เราแยกสิ่งที่มาประกอบเป็นชีวิตของเรา ชีวิตของเรานี้มี ๒ ส่วน ส่วนที่เป็นรูปกับส่วนที่เป็นนาม ส่วนที่เป็นรูปก็คือร่างกาย อาการ ๓๒ ผมขนเล็บฟันหนังนี่เราเรียกว่า “รูป” รูปขันธ์ ส่วนนามก็มีอยู่ ๔ เรียกว่า “นามขันธ์” คือความรู้สึกนึกคิด ความคิดปรุงแต่งก็เรียกว่า “สังขาร” การรับรู้รูปเสียงกลิ่นรสก็เรียกว่า “วิญญาณ” ความจำได้หมายรู้รูปเสียงกลิ่นรสที่มาให้รับรู้ว่าเป็นรูปอะไรก็เรียกว่า “สัญญา” แล้วความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่เป็นความรู้สึกสุข ไม่สุข ไม่สุขไม่ทุกข์นี้ก็เรียกว่า “เวทนา” อันนี้เป็นนามขันธ์ เป็นนาม เป็นส่วนประกอบในการดำเนินชีวิตของพวกเรา พวกเรามีนามกับรูปนี้อยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นนามกับรูป เราไม่รู้ว่าร่างกายเรานี้เรียกว่า “รูป” เราไม่รู้ว่าความรู้สึกนี้เรียกว่า “นาม เวทนา”

เช่น เวลาเห็นรูปที่เราชอบก็เกิดความสุขขึ้นมา การเห็นรูปก็เรียกว่า “วิญญาณ” การรู้ว่ารูปนี้ชอบก็เรียกว่า “สัญญา” สัญญาคือจำได้ไง เคยชอบรูปนี้มาก่อน พอเจอเห็นรูปนี้ก็จะชอบขึ้นมาทันที พอไม่ชอบรูปนี้ เคยไม่ชอบรูปนี้มาก่อน พอเห็นรูปนี้ก็จะเกิดความไม่ชอบขึ้นมา ถ้าไม่เคยเห็นรูปนี้มาก่อน ความชอบไม่ชอบก็จะไม่มีเพราะไม่รู้ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ ก็จะมีความรู้สึกเฉยๆ กับรูปที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน หรือไม่มีความรู้สึกกับเขามาก่อน นี่คือการทำงานของนามกับรูปในชีวิตของเราตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาจนกระทั่งถึงเวลาหลับ นี่เราใช้นามกับรูปนี้ทำงาน พาเราไปทำอะไรต่างๆ พาเราไปหาความสุขต่างๆ ก็ใช้นามกับรูปนี้เป็นเครื่องมือ



เราไม่ต้องการหาจิต
ถาม: โยมพิจารณาขันธ์ ๕ แยกรูปนามจนเห็นเป็นธาตุ จนเข้าใจถึงแวดล้อมเราก็แค่ธาตุเหมือนกัน ในเมื่อเราไม่มี ทุกอย่างรายรอบเรา แม้เราไม่มี ที่ว่าขันธ์ ๕ บางจิตในเมื่อสลายขันธ์ได้แล้วและจิตเด่นดวง ทำไมไม่เห็นเจ้าคะ หาจิตไม่เจอ

พระอาจารย์: อ๋อ เราไม่ต้องการหาจิต จิตไม่ต้องไปหามันหรอก เราเป็นจิตเราไปหามันเราก็บ้าแล้ว การปฏิบัติไม่ได้ให้หาจิต การปฏิบัติให้เราเข้าใจสิ่งที่จิตไปเกี่ยวข้องด้วยว่ามันเป็นของปลอม เป็นเงา เราไปหลงเงากัน เป็นดินน้ำลมไฟ เป็นเหมือนไอติม เดี๋ยวมันก็ละลาย ใช่ไหม พอเอาออกมาจากตู้เย็น เดี๋ยวมันก็ละลายกลายเป็นอย่างอื่นไป ร่างกายทุกสิ่งทุกอย่างเดี๋ยวมันก็เสื่อมสภาพกลายเป็นดินน้ำลมไฟไป ให้เข้าใจหลักนี้แล้วเราจะได้ปล่อยวาง จะได้ไม่ไปทุกข์กับมันเวลาที่มันเปลี่ยนไปหรือมันหมดไป



กรรมลบไม่ได้แต่ที่ลบได้ก็คือเวร
ถาม: การที่คนเราทำบาปกรรมกับผู้อื่น ถ้าผู้ถูกกระทำยกโทษอโหสิกรรมให้ ผู้ก่อกรรมจะยังคงได้รับผลกรรมจากการกระทำร้ายผู้อื่นหรือไม่ ตามหลักพระพุทธศาสนา หรือกรรมจะถูกลบล้างไปเลยเพราะได้รับการยกโทษอโหสิกรรมไปแล้วเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ กรรมลบไม่ได้แต่ที่ลบได้ก็คือเวร ผู้ที่เขาจองเวรเราเขาให้อภัยเราเขาก็ไม่มาจองเวรกับเรา แต่กรรมที่เกิดจากการทำบาปของเราก็ยังต้องไปรับผลต่อไป ต้องไปเกิดในอบาย ในภพใดภพหนึ่งในอบายทั้ง ๔ อันนี้ลบไม่ได้ แต่ที่ให้อภัยกัน ไม่จองเวรจองกรรมกันนี้ลบการจองเวรจองกรรมกันได้ ไม่มีเจ้ากรรมนายเวรได้



ความเมตตานี้ชนะทุกอย่าง
ถาม: หากต้องขึ้นเป็นหัวหน้าซึ่งลูกน้องเป็นคนที่เราไม่ชอบหรือเขาไม่ชอบเรา เขาเคยว่าเรา เราควรวางใจอย่างไรดีเจ้าคะ

พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องแผ่เมตตาเท่านั้นแหละ ความเมตตานี้ชนะทุกอย่าง เปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตรด้วยความเมตตา ถ้าเราเป็นหัวหน้าเราต้องมีเมตตากับลูกน้องทุกคน ไม่ว่าเขาจะชอบเราหรือไม่ชอบเรา ถ้าเราให้ความเมตตากับเขาแล้ว ไม่ช้าก็เร็วเขาก็ต้องรักเราชอบเรา เพราะความเมตตานี้ชนะใจคนได้ ฉะนั้นพยายามเมตตา ให้อภัย พยายามมีอะไรแบ่งปันให้เขาได้ก็แบ่งปันให้เขา อย่าเอารัดเอาเปรียบเขา ให้พยายามเสียสละแบ่งปัน แล้วรับรองได้ว่าไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนกับใครจะมีแต่คนรักคนชอบ



ควรทดสอบว่าใจเราจะอยู่ในความสงบได้ทุกสภาวะหรือไม่
ถาม: มีสติและปัญญาตามรักษาใจอยู่เกือบตลอดเวลา พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบกับใจ จิตสงบ เย็นสบายอยู่ตลอดทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน พูดคุยกับใครในชีวิตประจำวัน แม้พูดกับคนอื่นแต่จิตกลับสงบเย็นสบายเหมือนอยู่ในสมาธิตลอดเวลา เหมือนกับเวลาเรานั่งสมาธิหรือฟังเทศน์ฟังธรรมะ แม้เราจะลืมตาหรือหลับตาอยู่ก็ตาม คำถาม การที่เรามีสติรักษาใจได้เกือบตลอดเวลานั้น เป็นสาเหตุทำให้จิตเราจะสงบลงไปเองได้ตลอดเวลาใช่ไหม

พระอาจารย์ : ก็สงบในสภาวะที่เป็นอยู่ ถ้าไปอยู่กับสภาวะที่แตกต่างจากที่เคยเป็นอยู่ ก็ต้องอยู่ที่จะมีสติปัญญารักษาความสงบได้ต่อไปหรือไม่ เช่นเราสงบในสถานที่สุขสบาย เช่นมีอาหารการกินครบถ้วนบริบูรณ์ มีเครื่องปรับอากาศ มีน้ำมีไฟ อยากจะดูอยากจะฟังอะไรก็ได้ดูได้ฟัง อันนี้ก็เป็นสภาวะแบบหนึ่ง ถ้าเราไปอยู่อีกสภาวะแบบหนึ่งที่ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีอะไรให้กินให้ดื่ม เช่นไปติดคุกติดตะรางอย่างนี้ ดูซิว่ายังจะมีสติปัญญารักษาใจให้สงบได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นความสงบของเราในขณะปัจจุบันนี้อาจจะไม่ได้สงบในสภาวะที่แตกต่างกันไป

ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท ถ้าเราต้องการจะทดสอบว่าใจเราจะสามารถอยู่ในความสงบได้ทุกสภาวะหรือไม่ เราก็ต้องหาสภาวะที่มันลำบากยากเย็น แล้นแค้น อดยากขาดแคลน เช่นไปอยู่วัดป่าวัดเขา แล้วลองดูซิว่ายังจะสามารถรักษาจิตใจให้สงบให้สบายได้หรือเปล่า การถือศีล ๕ กับการถือศีล ๘ นี้มันก็ต่างกันแล้ว ถือศีล ๕ ใจก็อาจจะสงบได้ แต่พอไปถือศีล ๘ นี้จะสงบได้หรือไม่ เพราะตัณหาความอยากมันถูกริดรอนเสียแล้ว จะทำตามความอยากไม่ได้เสียแล้ว พอเกิดตัณหาขึ้นมาแล้วหยุดตัณหาได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้น เราต้องเข้าใจว่า ความสงบที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้มันเป็นเพียงความสงบในสภาวะหนึ่งเท่านั้นเอง ยิ่งถ้าเป็นสภาวะที่สุขที่สบาย ที่มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมบริบูรณ์นี้ มันก็เป็นสิ่งที่ว่ามันยังไม่พอเพียง เพราะว่าในอนาคตนี้มันจะต้อง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ถ้าไม่อดยากขาดแคลนก็อยู่ที่เรื่องของภาวะของทางร่างกายก็ได้ ร่างกายแก่ลงไป เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องถามตัวเองว่า จะยังมีสติปัญญาที่จะดูแลรักษาความสงบของใจได้ต่อไปหรือไม่

ดังนั้น บางทีเราก็ต้องสร้างสภาวะขึ้นมา เช่น ทำให้เราเจ็บ นั่งสมาธิไปแล้วปล่อยให้มันเจ็บ เวลาเจ็บแล้วก็ดูซิว่า ทำใจให้สงบได้เหมือนกับตอนที่ไม่เจ็บหรือไม่ ถ้าทำให้มันสงบได้เหมือนกับตอนที่ไม่เจ็บก็สบาย ต่อไปเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ต้องกินยาแก้ปวดก็ได้ ที่ต้องกินยาแก้ปวดกันก็เพราะว่าทำใจให้สงบไม่ได้ ใจมันทุกข์กับความเจ็บของร่างกายก็เลยต้องกินยาระงับความเจ็บปวดของร่างกาย พอร่างกายหายจากความเจ็บปวดของร่างกายบรรเทาลงไปใจก็สงบลง แต่นี่ไม่ใช่เป็นวิธีแก้ที่ถูก วิธีแก้ที่ถูกก็ต้องใช้สติปัญญาอย่างที่เราเคยใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ใช้ให้พิจารณาให้เห็นว่าอนิจจัง ว่าความเจ็บนี้ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปอยากให้มันหายไม่ได้ เป็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ ไม่เที่ยง มันมาแล้วก็ไป ไปแล้วก็มา เวลามันมาก็ต้องอยู่กับมัน เวลามันไปก็ปล่อยมันไป อันนี้ก็ต้องใช้สติปัญญา ถ้ามีสติปัญญารู้ทันความจริงมันก็ปล่อยวางความเจ็บได้ ต่อไปความเจ็บจะมาหรือจะไปก็จะไม่เดือดร้อน

การนั่งสมาธิจึงจำเป็นต้องนั่งให้มันเจ็บ เจ็บแล้วก็ต้องไม่ลุก ไม่ต้องขยับ อันนี้เป็นการทำข้อสอบ ไม่ใช่ว่ามาเป็นซาดิส มาทำอะไรอย่างนั้น เพียงแต่ว่าเป็นการทำข้อสอบ ทดสอบว่าเรามีสติปัญญาที่จะสามารถทำใจเรา ให้สงบเวลาเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายได้หรือไม่ ถ้าทำได้แล้วต่อไปเราก็ไม่ต้องมานั่งให้มันเจ็บอีกอยู่เรื่อยๆ เพราะเรารู้ว่าเราทำได้แล้ว เราก็ไม่ต้องมาทรมาน รอเวลามันเจ็บแล้วก็ทำใจของเราได้ เช่น เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจริงๆ ไม่ต้องไปซื้อยาแก้ปวดมากิน ก็ใช้ธรรมโอสถแทนได้ อยู่กับความเจ็บได้ไม่รู้สึกทรมานใจ

ดังนั้นการที่มีสติปัญญาในระดับหนึ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะมีสติปัญญาในทุกระดับ ภาวะของชีวิตเรานี้มันมีขึ้นๆ ลงๆ ถ้าเรามีสติปัญญาอยู่ในสภาวะขาขึ้นนี้มันก็ง่าย เวลาเงินเดือนขึ้นนี้ทุกคนก็รักษาสติปัญญากันได้ เวลาเงินเดือนลงนี้รักษาสติปัญญารักษาความสงบกันได้หรือเปล่า ไม่โวยวายได้หรือเปล่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามีขึ้นมีลงเป็นธรรมดา อย่างนี้ได้หรือเปล่า เราต้องอย่าประมาทนะ อย่าไปคิดว่าตอนนี้เรามีสติปัญญา เรารักษาใจให้สงบได้ แต่เราไม่ดูสภาวะของเราว่ามันอยู่ขาขึ้นหรือขาลง ถ้ามันอยู่ในขาลงนี้ดี เช่น เวลาจะตายนี้เราทำใจให้สงบได้นี้ดี ต่อไปจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป ถ้าผ่านความกลัวตายไปได้แล้วทีนี้สบาย



๒ มิติของการทำบุญ
ถาม: อย่างสมมุติว่าเศรษฐีทำบุญหนึ่งล้านอย่างนี้ เป็นเงินเล็กน้อยสำหรับเขา แต่ถ้าเกิดคนที่ไม่ค่อยมีฐานะทำบุญหนึ่งหมื่นบาทก็เป็นเงินมากมายมหาศาลสำหรับเขาครับ
พระอาจารย์: คือเราต้องดูว่ามันมี ๒ มิติในการทำบุญด้วยเงินทอง มิติอันแรกก็คือจำนวนเงินของแต่ละคนที่ทำ เราไม่ได้วัดด้วยปริมาณของเงิน เราต้องวัดที่สัดส่วนของทรัพย์ที่เขามี เช่น คนมีล้านหนึ่งทำแสนหนึ่ง ก็เท่ากับเขาได้ทำร้อยละสิบของทรัพย์สินของเขา ส่วนคนมีร้อยหนึ่งแล้วทำสิบบาท เขาก็ได้ทำร้อยละสิบเหมือนกัน ความอิ่มใจของคนสองคนนี้เท่ากัน เปรียบเทียบเหมือนช้างกินข้าวต้องกินสักถังหนึ่ง แต่หนูนี้กินเพียงช้อนเดียวก็อิ่มเหมือนกัน บุญนี้เป็นเหมือนอาหารใจให้ความอิ่มใจสุขใจต่อผู้ที่ทำ เพราะฉะนั้น คนที่ทำแสนหนึ่งกับคนที่ทำสิบบาท ในกรณีที่พูดนี้ ได้บุญคือความอิ่มใจสุขใจเท่ากัน แต่บารมีที่ได้จากเงินที่ทำนี้ต่างกัน คือผลตอบแทนที่จะได้กลับมาในอนาคต คนทำแสนก็จะได้แสนบวกดอกเบี้ยกลับมา คนทำสิบบาทก็จะได้สิบบาทบวกดอกเบี้ยกลับมา เวลากลับมาเกิดใหม่มาเป็นมนุษย์ใหม่ นี่มันมี ๒ กรณีด้วยกัน เข้าใจไหม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2563 16:30:47 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2563 16:18:52 »



สติไม่ใช่สมาธิ
ถาม: การที่เราทำอะไรแล้วเราไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง ถือว่ามีสติหรือขาดสติคะ
พระอาจารย์: การที่ทำอะไรแล้วไม่ได้ยินเสียงเหรอ ก็แสดงว่าใจเราจดจ่ออยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่ เสียงถึงแม้จะมีก็เหมือนกับไม่เข้ามา เข้ามาเพียงที่หูแต่ไม่เข้าไปถึงที่ใจ ก็แสดงว่าใจเราจดจ่ออยู่กับการงานที่เรากำลังทำอยู่ ถ้าใจเราไปรับรู้เสียงด้วยเดี๋ยวบางทีก็ทำงานไม่รู้เรื่อง เช่น เรียนหนังสือพยายามอ่านหนังสือ แล้วเดี๋ยวได้ยินเสียงเพลง ใจก็ไปเกาะติดอยู่กับเสียงเพลง แทนที่จะอ่านหนังสืออ่านไปก็ไม่ได้เข้าใจเพราะใจมันไปอยู่กับเสียงเพลง แต่ตามันอยู่กับหนังสือ อ่านไปหน้าหนึ่งก็ไม่รู้ว่าอ่านอะไร ไม่เข้าใจ นี่แสดงว่าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ

งั้นการทำอะไรควรจะฝึกสติ คำว่าสมาธิที่เราใช้กันนี้ความจริงคือแปลว่าสติ ไม่ใช่สมาธิ เช่น เรามักจะพูดว่าไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือ ความจริงคำนี้ต้องเปลี่ยนเป็นสติ ไม่มีสติจดจ่ออยู่กับการทำงาน ไม่มีสติจดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือ เพราะว่าคำว่าสมาธินี้ เป็นผลที่เกิดจากการฝึกสติ เช่น นั่งหลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าออก จนจิตรวมเป็นฌานขึ้นมาเราถึงจะเรียกว่าสมาธิ งั้นคำที่เราใช้ว่าสมาธิที่เราใช้ทั่วไปนี้ความจริงคือสติ ไม่มีใครมีสมาธิกันหรอก พวกญาติโยมทั้งหลาย ถ้าไม่เคยนั่งสมาธิจะไปได้สมาธิยังไง งั้นการที่บอกว่าไม่มีสมาธินี้ความจริงหมายถึงไม่มีสติ ไม่ได้ฝึกสติไม่ได้ดึงใจให้อยู่จดจ่ออยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ ต้องมาเสริมสติด้วยการใช้คำบริกรรมพุทโธ เช่นพอไปคิดอะไรก็ใช้พุทโธพุทโธดึงกลับเข้ามา พอกลับเข้ามาแล้วก็มาทำงานต่อได้ ถ้ายังไม่กลับมาก็อย่าเพิ่งไปทำงาน เพราะทำงานก็อาจจะเกิดความผิดพลาดเกิดความเสียหายตามมาต่อไป
 


ศาสนาอื่นมีนิพพานไหม
ถาม: ศาสนาอื่นท่านมีนิพพานไหมครับ ถ้ามีลักษณะเช่นไร
พระอาจารย์: ศาสนานี้เป็นคำสอนไง นิพพานมันมีอยู่ เพียงแต่ว่าศาสนานี้เข้าถึงศึกษาถึงนิพพานรึเปล่า มีศาสนาพุทธศาสนาเดียวที่ผู้สอนนี้สามารถศึกษาถึงระดับพระนิพพานได้ แต่ศาสนาอื่นนี้เขาเข้าถึงในระดับแค่ระดับพรหมโลก คือระดับฌานสมาธิ แต่ระดับพุทธนี้มีเข้าถึงระดับโลกุตตรธรรมคือพระนิพพาน พระนิพพานนี้มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนามันมีอยู่ของมัน เพียงแต่ว่าคนที่จะไปถึงนิพพานนี้รู้จักทางไปหรือเปล่า ถ้าคนที่รู้จักทางไปนิพพานเขาก็มาบอกคนอื่น ก็กลายเป็นศาสนาขึ้นมา นี่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบทางไปสู่พระนิพพาน พอรู้แล้วไปถึงแล้วท่านก็กลับมาบอกพวกเรา พวกเราเชื่อพวกเราก็เลยนับถือท่านเป็นศาสดาเป็นอาจารย์ เป็นศาสนาขึ้นมา เท่านั้นเอง งั้นมันไม่ได้อยู่กับคำว่าศาสนา มันอยู่ที่ว่าผู้ที่จะรู้ทางไปสู่พระนิพพานหรือไม่ พระนิพพานมีอยู่ตลอดเวลา รอพวกเราอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่าเรารู้จักทางไปหรือไม่ ถ้าเราไม่รู้เราก็ต้องไปหาศาสนาที่รู้ทางมาสอนมาบอกเรา ซึ่งนานๆ จะมีสักครั้งหนึ่งที่มีศาสนาที่รู้ทางไปสู่พระนิพพานคือพุทธศาสนา แล้วมีแล้วก็จะอยู่ไปไม่นานไม่เกิน ๕๐๐๐ ปี สำหรับศาสนาพุทธอันนี้ หลังจาก ๕๐๐๐ ปี ก็จะไม่มีใครรู้จักทางไปสู่พระนิพพานอีกต่อไป ก็ต้องรอให้มีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาพบพระนิพพานแล้วก็มาสอนคนอื่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
 


อยากไปปฏิบัติธรรมเป็นกิเลสไหม
ถาม: การที่เรามีความตั้งใจอยากไปปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งหนึ่งเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นกิเลสไหมครับ
พระอาจารย์: ไม่เป็นหรอก เป็นก็ต่อเมื่อเราทุกข์ ที่อยากไปแล้วไม่ได้ไปก็ทุกข์นี่ถึงจะเป็นกิเลส ถ้ามันทุกข์เพราะไปไม่ได้เราก็ต้องหยุดความอยากนั้นไว้ชั่วคราวก่อน วันนี้ไปไม่ได้ก็ยังไม่ไปก็ได้ ไม่ใช่ยังอยากอยู่มันก็ยังทุกข์ ความอยากถ้ามันอยู่ในขอบเขต ถ้ามันไม่ทุกข์ก็ถือว่ายังไม่เป็นปัญหาอะไร ถ้าอยากแล้วทุกข์ตอนนั้นแหละเริ่มเป็นปัญหาที่เราจะต้องแก้แล้ว เพราะทุกข์นี้เป็นเหมือนโรคภัยไข้เจ็บของจิตใจนี่เอง
 


คนห่างจากธรรมะ
ถาม: ทุกวันนี้นะครับ เราจะเห็นข่าวในสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ ว่ามีการฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่าคนในครอบครัวบ้าง ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจหรือปัญหาเรื่องอื่นๆ ข่าวพวกนี้นับวันมันจะมากขึ้นทุกวัน อยากเรียนถามว่าอันนี้เป็นกรรมเก่าหรือเป็นการสร้างกรรมใหม่ของตัวเอง และเราจะช่วยยังไงให้สังคมนี้ไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เป็นการอยู่ห่างจากธรรมะนั่นเอง เวลาเกิดความทุกข์ใจไม่มียารักษาความทุกข์ใจมันก็เลยรักษาโดยวิธีฆ่าตัวตายกัน ไปฆ่าคนอื่นตาย แต่ถ้ามีธรรมะก็จะรู้ว่าต้องมาฆ่ากิเลส ตัวที่สร้างความทุกข์ใจคือความอยากความโลภความโกรธต่างๆ ถ้าฆ่ากิเลสแล้วความทุกข์ใจก็หายไปก็ไม่จำเป็นจะต้องฆ่าตัวตายหรือไปฆ่าคนอื่นตาย นี่คนห่างจากศาสนาเพราะเดี๋ยวนี้ไปบูชาวัตถุกัน แทนที่จะบูชาธรรมไปบูชาวัตถุ แทนที่จะศึกษาธรรมเลยไม่มีธรรมที่จะมารักษาความทุกข์ใจ เวลาทุกข์ก็เลยแก้ด้วยความหลงด้วยความโง่ ก็คิดว่าฆ่าคนอื่นตายแล้วจะหายทุกข์ ฆ่าตัวเองตายแล้วจะหายทุกข์ มันไม่หายกลับจะเพิ่มความทุกข์ให้เพิ่มมากขึ้นๆ ต้องแก้ตัวที่ทำให้ใจทุกข์คือความโลภความโกรธความหลง ความอยากต่างๆ

 

จะรู้ว่าคนนั้นเป็นโสดาบัน
ถาม: คนที่เป็นพระโสดาบันท่านยังมีความอยากมีแฟนมีลูกภรรยาหรือสามี แล้วยังมีกามคุณอยู่ใช่ไหมครับ แล้วจะทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าคนนั้นท่านเป็นพระโสดาบันครับ
พระอาจารย์ อ๋อ เราก็ต้องเป็นเอง ก่อนจะไปรู้คนอื่นเขาต้องรู้ตัวเราก่อน ถ้าตัวเรายังไม่รู้ว่าเราเป็น เราจะไปรู้คนอื่นเป็นได้อย่างไร เหมือนคนที่จบปริญญาตรี จะไปรู้ว่าคนอื่นจบปริญญาตรีหรือไม่ตัวเองก็ต้องจบปริญญาตรีก่อน ถ้าตัวเองไม่จบปริญญาตรีเราจะไปสัมภาษณ์เขาได้ไหม จะไปสอบเขาได้ไหม คุณรู้วิชานี้หรือเปล่า คุณรู้วิชานั้นหรือเปล่า อันนี้ก็เหมือนกัน คุณต้องเป็นโสดาบันก่อน คุณต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวคุณ แล้วคุณก็ปล่อยวางร่างกายได้ไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย ทีนี้อยากจะรู้คนอื่นเป็นหรือเปล่าก็ลองไปถามเขาดูว่า “เฮ้ย ร่างกายนี้เป็นของมึงหรือเปล่าวะ” ถ้ามันบอก “เป็นของกู” ก็แสดงว่ามันยังไม่ได้เป็นโสดาบัน
 

พูดเพ้อเจ้อแล้วก็เสียน้ำลายไปเปล่าๆ
ถาม:  ถ้าเราพูดเรื่องทางโลกแบบทั่วๆ ไป แต่ไม่ได้เกิดประโยชน์สาระอะไรเท่าไหร่ จัดเป็นการพูดเพ้อเจ้อไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์ ก็เป็นการเสียเวลา ไม่เกิดประโยชน์อะไร สู้พูดเรื่องที่มีประโยชน์ มีความรู้ทางวิชาการก็ได้ ทางโลกก็ได้ ทางธรรมก็ได้ เพราะความรู้นี่สามารถนำเอาไปทำประโยชน์ให้กับเราได้ พูดเพ้อเจ้อแล้วก็เสียน้ำลายไปเปล่าๆ เหนื่อยเมื่อยปากไปเปล่าๆ
 


ว่างจริงมันก็ไม่มีสังขาร
ถาม: ขอโอกาสพ่อแม่ครูอาจารย์ครับ จิตตั้งอยู่กับความว่างและสังขาร จะแก้อย่างไรดีครับ
พระอาจารย์: ก็แก้ด้วยพุทโธสิ ให้มันอยู่กับพุทโธอย่าให้มันอยู่กับความว่าง ถ้ามันความว่างจริงมันก็ไม่มีสังขาร ถ้ามีสังขารมันก็ไม่มีความว่าง งั้นถ้าบอกว่าไปอยู่กับความว่างกับสังขารก็แสดงว่ามันไม่จริง มันต้องอยู่กับอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอยู่กับความว่างก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะความว่างมันเป็นความนิ่งความสงบ ถ้าอยู่กับสังขารก็ต้องให้มันคิดไปทางพุทโธพุทโธ คิดไปทางไตรลักษณ์แทน
 


ฟังธรรมเพื่อสมาธิ
ถาม: ขอเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ เคยได้ยินพระอาจารย์บอกว่าสามารถทำสมาธิระหว่างฟังพระธรรมเทศนาได้ สงสัยว่าทำอย่างไรเจ้าคะเพราะระหว่างที่ฟังพระเทศน์ เราต้องได้ยินเสียงแล้วต้องคิดตาม แล้วใจจะอยู่ที่พุทโธหรือเสียงธรรมเจ้าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ เราอยู่ที่เสียงธรรมไง แต่เราไม่ต้องไปคิดตาม ฟังเฉยๆ ให้ใจเกาะเสียงไว้โดยที่ไม่ต้องคิดตาม ไม่ต้องเข้าใจไม่ต้องการปัญญา อันนี้ในกรณีของคนที่นั่งเองไม่ได้ พุทโธไม่ได้ ดูลมไม่ได้ อาศัยเสียงธรรมแทนได้ แล้วก็คิดตามไม่ได้ ยังไม่มีปัญญาความฉลาดที่จะเข้าใจก็เลยอาศัยเสียงนั่งฟังเสียงไป ใจก็ไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็สงบได้ แต่อาจจะไม่สงบแบบเต็มร้อยเหมือนกับไปดูลมหรือนั่งพุทโธอยู่คนเดียว แต่ก็จะช่วยให้ใจไม่ฟุ้งซ่านไม่วุ่นวายใจได้ เป็นสมาธิแบบขั้นหยาบ ยังไม่ใช่ขั้นละเอียด ยังไม่ใช่ขั้นสมบูรณ์ แต่สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดใหม่อยากจะนั่งสมาธิ ถ้านั่งเองนั่ง ๕ นาทีก็นั่งไม่ได้แล้ว พุทโธไม่มีแรงที่จะพุทโธ ไม่มีแรงที่จะดูลมก็อาศัยฟังดีกว่า ฟังไม่ต้องใช้แรง ฟังเสียงธรรมแทน เวลานั่งฟังก็ไม่ต้องพุทโธไม่ต้องดูลม ใช้เสียงธรรมเป็นอารมณ์แทนพุทโธ แทนลมหายใจ แล้วเดี๋ยวใจก็ไม่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ใจก็จะเบา และไม่แน่บางครั้งมันอาจจะวุ้ปลงไปนิ่งสงบเป็นสมาธิขึ้นมาก็ได้ ไม่มีใครรู้เรื่องเหล่านี้ ขอให้ใจมีอะไรเกาะแล้วไม่คิดก็แล้วกัน แล้วเดี๋ยวมันก็จะสงบได้
 


ฟังธรรมได้ทั้งสติได้ทั้งปัญญา
ถาม: ฟังธรรมฟังการตอบปัญหาธรรม จิตสงบเช่นนี้เรียกว่าการเจริญสติใช่ไหมคะ
พระอาจารย์: ก็แล้วแต่ว่าฟังแล้วเข้าใจหรือไม่ ถ้าฟังแล้วเข้าใจก็ได้ทั้งสติได้ทั้งปัญญา ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจแต่จิตสงบก็ได้สติได้สมาธิ การฟังธรรมได้ประโยชน์ ๒ แบบ แบบสมาธิหรือแบบปัญญา งั้นอยู่ที่เรื่องที่เราฟังเราเข้าใจหรือไม่ ถ้าเราไม่เข้าใจแต่ใจเราไม่ไปคิดถึงเรื่องอื่น พยายามฟังไป เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างก็ฟังไป ไม่ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ใจก็สงบได้เป็นสมาธิได้ แต่ยังไม่เป็นปัญญา แต่ถ้าฟังไป ฟังไปนึกภาพตามได้เห็นตามที่เขาพูดได้ เข้าใจเอามาดับความทุกข์ได้ก็กลายเป็นปัญญาขึ้นมา
 


เราไปห้ามมันไม่ได้
ถาม: สองวันก่อนมีอาการปวดท้องรุนแรงมากจนต้องตามสามีกลับมาเอายามาให้ แต่ระหว่างมาเวทนามันรุนแรงจนภาวนาดูความปวด เป็นผู้ดูเหมือนซ้อมป่วยใกล้ตาย ยอมตาย จนอาการทุกอย่างหายไป ก่อนที่จะได้ยามา แบบนี้ถือเป็นธรรมโอสถหรือการใช้ปัญญาแก้ปัญหาไหมคะ
พระอาจารย์: ถูกต้องแล้วล่ะ ถ้าเราทำให้จิตเราสงบได้ท่ามกลางความเจ็บปวดของร่างกายได้ ก็แสดงว่าเราเห็นอนัตตา เห็นว่าเวทนาเป็นสิ่งที่เราไปห้ามมันไม่ได้ มันจะปวดก็ปล่อยมันปวดไป อย่าไปอยากให้มันหาย เพราะความอยากเป็นสมุทัยสร้างความทุกข์ทรมานใจขึ้นมา พอเรายอมรับความเจ็บปวดได้ ความทุกข์ทรมานใจก็หายไป ใจก็สงบอยู่กับความเจ็บปวดได้
 


เราไปแก้คนอื่นไม่ได้หรอก เราแก้ตัวเราดีกว่า
ถาม: มาฟังธรรมจากพระอาจารย์บ่อยๆ มักจะเจอผู้ฟังที่ชอบคุยกันระหว่างที่พระอาจารย์เทศน์ อย่างล่าสุดเจ้าหน้าที่ต้องมาเตือนว่ารบกวนผู้อื่นเพราะว่าพ่อแม่กับลูกล้อเล่นกัน เสียงรบกวนผู้ฟังท่านอื่น พอถูกเตือนก็ชักสีหน้าไม่พอใจ แบบนี้ควรจะเตือนเขาอย่างไรดีครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ใช่หน้าที่ของเราไปเตือนเขาหรอก ก็ปล่อยเขาไป เราก็ย้ายที่ก็แล้วกัน ไปนั่งที่ไม่มีใครเขาคุยกัน มานั่งบนศาลานี่จะไม่มีใครกล้าคุยกัน เพราะคุยจะได้เชิญเขาไป เราไปแก้คนอื่นไม่ได้หรอก เราแก้ตัวเราดีกว่า ถ้าเราไปนั่งที่ไม่สงบเราก็ย้ายที่เสีย แล้วก็หมดปัญหาไป เพราะถ้าเราคอยไปแก้คนนั้นเดี๋ยวคนใหม่มาก็มีเรื่องเดิมอีกมาให้เราแก้อีก ก็ต้องแก้ไปเรื่อยๆ แล้วแก้กับคนอื่นเดี๋ยวก็มีเวรมีกรรมกันอีก ทำแล้วเกลียดขี้หน้าเราอีก งั้นถ้าเราไม่มีหน้าที่ไปว่ากล่าวตักเตือนเขาเราก็อย่าไปยุ่งกับเขา ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เขาช่วยพูดก็แล้วกัน
 


ทรงสอนให้ทำประโยชน์ของตนก่อน
ถาม: ผมจะไปเรียนนายสิบทหารบก แต่ครอบครัวไม่อยากให้ไป ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ผมจะทำตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก่อนถูกหรือไม่ครับ
พระอาจารย์: ก็แล้วแต่เรา ถ้าเราคิดว่าเราจะทำประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ไม่เสียหายตรงไหน แต่ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้ทำประโยชน์ของตนก่อน แล้วค่อยไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นต่อไป ประโยชน์ของตนที่แท้จริงก็คือการทำให้ตนหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายก่อน เมื่อทำตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้แล้วก็ไปสอนผู้อื่นให้รู้จักวิธีทำให้เขาหลุดพ้นจากความทุกข์ของเขาได้ อันนี้ก็เป็นการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นอย่างถูกต้อง ประโยชน์แบบอื่นมันก็อาจจะเป็นประโยชน์แบบชั่วครั้งชั่วคราว เช่น ประโยชน์ทางร่างกายนี้เป็นประโยชน์ชั่วคราว ยังไม่ได้เป็นประโยชน์ที่ถาวร ประโยชน์ที่ถาวรต้องเป็นประโยชน์ทางจิตใจ ทำให้จิตใจพ้นทุกข์ ไม่ต้องกลับมาเกิด ปัญหาต่างๆ ก็จะหมดสิ้นไป ถ้ายังกลับมาเกิดอยู่ก็ยังต้องมาเจอปัญหาต่างๆ ที่ตามมาจากการมาเกิดต่อไปอยู่
 


ดับทุกข์อย่างไร
ถาม: ถ้าทุกข์เกิดเราจะดับทุกข์อย่างไรคะพระอาจารย์: ก็ไปดับที่เหตุสิ เวลาไฟไหม้บ้านจะไปดับที่ไหน ก็ดับที่ไฟ ดับที่เชื้อ เอาเชื้อออก ถ้ามีเชื้อก็หยุดเชื้อมันเสีย ถ้าไฟไหม้เตาแก๊ซอย่างนี้ก็ไปปิดแก๊ซเสีย ไฟก็ดับ ทุกข์ของเราก็เกิดจากความอยากของเรา อยากให้แฟนอยู่กับเราเขาบอกเขาจะบ๊ายบายแล้ว ก็ทุกข์ขึ้นมา ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็หยุดความอยากให้เขาอยู่กับเรา เขาอยากจะบ๊ายบายก็ปล่อยเขาบ๊ายบายไป เราก็อยู่ของเราไป เราก็ไม่ทุกข์กับการบ๊ายบายของเขา ต้องมาหยุดที่ความอยากของเรา  


ลักษณะของคนมีสติ
ถาม: พอดีมีคนที่รู้จักเขาชอบธรรมะ แล้วเขาบอกว่าเวลานอนเขานอนแบบมีสติรู้ตัวตลอด พอได้ยินแล้วมาพิจารณาการนอนของตัวเอง เราไม่รู้สึกตัวค่ะ แต่หลับลึก เลยไม่แน่ใจว่าเวลานอนสำหรับผู้ปฏิบัติ เราควรฝึกให้นอนแบบมีสติรู้ตัวตลอดจนตื่นใช่ไม๊คะ
พระอาจารย์: อ๋อ มันรู้ตัวไม่ได้หรอกเวลาหลับ ถ้าหลับมันก็ไม่รู้ตัว เพียงแต่ว่าถ้ามีสตินี่ พอมีอะไรมากระทบหน่อยมันจะรู้ตัวเร็ว นี่คือลักษณะของคนมีสติ พอมีเสียงอะไรมาเข้าหน่อยก็อาจจะรู้ตัวตื่นขึ้นเร็วกว่าคนที่ไม่มีสติ ต่างกันตรงนั้นแต่เวลาหลับ หลับเหมือนกัน เพราะเวลาหลับมันต้องไม่มีสติมันถึงจะหลับได้ แต่พอได้ยินเสียงหรือมีความรู้สึกอะไรทางร่างกายขึ้นมานี่มันจะไว มันจะรับรู้ได้ไวกว่า งั้นอันนี้เราไปกำหนดไม่ได้ มันอยู่ที่ว่าเรามีสติมากสติน้อย สติมากน้อยก็อยู่ตอนที่เราตื่น ถ้าเราฝึกสติอยู่บ่อยเราก็จะมีสติมาก ถ้าเราฝึกน้อยก็มีสติน้อย งั้นถ้าเราฝึกมากๆ คือพยายามคอยควบคุมใจให้อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ก็เรียกว่าเรากำลังฝึกสติ เช่น ให้อยู่กับพุทโธพุทโธ หรืออยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย อย่างนี้เป็นการสร้างสติ พอมีสติแล้วมันก็จะควบคุมความคิดได้ดี พอนั่งสมาธิต้องการให้หยุดคิดมันก็หยุดคิดได้ เวลานอนหลับเวลามีอะไรมาสัมผัสปั๊บมันจะรู่ทันที หรือเวลาก่อนนอนตั้งเวลาได้ ตั้งในใจว่าเดี๋ยวจะตื่นกี่โมง พอถึงเวลานั้นมันจะรู้สึกตัวขึ้นมาทันที
 


ให้อภัยเพื่อดับความโกรธ
ถาม: พระอาจารย์คะความเมตตาของเรานี่ สามารถให้อภัยกับคนที่ทำกับเราได้ไหม
พระอาจารย์: คือการให้อภัยนี้เพื่อดับความโกรธของเรา เราไม่ได้ไปเปลี่ยนคนที่เราให้อภัย คนที่ให้อภัยเขาจะเปลี่ยนไม่เปลี่ยนมันไม่ได้เกิดจากการให้อภัยของเรา แต่การให้อภัยของเราเกิดประโยชน์กับเราตรงที่ทำให้เราหายโกรธ เราจะได้นอนตาหลับ ไม่อย่างนั้นเรากินไม่ได้นอนไม่หลับ คิดล้างแค้นอาฆาตพยาบาท นี่ความเมตตามีไว้ดับความทุกข์ของเรา ไม่ใช่ไปเปลี่ยนคนอื่น
 


ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
700 (650)
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1096


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 มีนาคม 2563 10:28:56 »



ขออุบายในการพิจารณาลดอัตตา
ถาม: เกล้าเป็นผู้มีมานะทิฏฐิที่มาก อยากจะขอโอกาสพ่อแม่ครูอาจารย์ขออุบายในการพิจารณาลดอัตตา การกำจัดตัวมานะนี้ครับผม
พระอาจารย์: ก็ต้องสมมุติว่าเราเป็นเหมือนกองขยะ เป็นเหมือนแผ่นดิน เราเป็นผู้ต่ำต้อย ใครจะเอาเท้ามาเหยียบแผ่นดิน แผ่นดินมันก็ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร ใครจะเทของสกปรกลงไปแผ่นดิน แผ่นดินมันก็ไม่รู้สึกรังเกียจแต่อย่างใด พยายามทำจิตใจให้เป็นเหมือนแผ่นดิน แล้วเราก็จะลดการถืออัตตาตัวตนได้ อัตตาตัวตนก็อยู่ที่เราไปคิดว่าตัวเราเป็นนั่นเป็นนี่นั่นเอง ถ้าเราเปลี่ยนความคิดจากการเป็นนั่นเป็นนี่ มาเป็นแผ่นดิน เราก็จะลดอัตตาตัวตนได้ อย่าไปคิดว่าเราเป็นรัฐมนตรี เราเป็นลูกคนรวย เราเป็นเศรษฐี เราเป็นอะไรแล้วแต่ ให้คิดว่าเราเป็นแผ่นดิน ที่คนเขาเหยียบกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งเหยียบทั้งโยนของสกปรก อะไรทั้งขุดดินทั้งอะไรต่างๆ แผ่นดินรับได้อย่างสบาย ถ้าเราถือว่าเราเป็นคนที่ต่ำต้อยที่สุด เป็นเหมือนแจ๋วสบายใจกว่าเป็นเจ้านาย เวลาเป็นเจ้านายใครเขาไม่ให้ความเคารพเรา เราก็โกรธเขาแล้ว แต่ถ้าเราเป็นแจ๋วนี้เราไม่ไปหวังให้ใครเขาเคารพเรา ใช่ไม๊ งั้นพยายามคิดว่าเราเป็นแจ๋ว เป็นผ้าขี้ริ้ว เป็นแผ่นดินแล้วเราจะได้ลดอัตตาตัวตนได้
 


จิตที่พ้นจากวัฏสงสาร
ถาม: การรู้ว่าได้เห็นได้ยินได้ลิ้มรสได้สัมผัส เกิดขึ้นเพราะจิตรับรู้ ไม่ใช่เพราะกาย กายเป็นเพียงเครื่องมือและช่องทางผ่านเท่านั้น ดังนั้น ถ้าดับโมหะ จิตรับรู้แล้ววางเฉยกับสิ่งทั้งหลายด้วยธรรมชาติ จิตไม่เศร้าหมองไม่เคร่งเครียดไม่ตึงไม่หย่อน ทั้งตื่นทั้งหลับ สิ่งนี้จะเป็นบุญนำจิตส่งไปนิพพานพ้นจากวัฏสงสาร ใช่หรือไม่เจ้าคะ
พระอาจารย์: ถูกต้อง ถ้าจิตเพียงสักแต่ว่ารู้กับสิ่งที่ได้สัมผัสรับรู้โดยไม่มีความรักชังกลัวหลง ไม่มีความยินดียินร้าย จิตก็จะหลุดพ้นจากการติดข้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่ต้องกลับมาหาสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป ก็จะหลุดพ้นจะไปอยู่ที่นิพพานแทน
 


จิตที่อยู่เหนือบุญเหนือบาป
ถาม: จิตที่จะเวียนว่ายตายเกิดกับจิตที่ไปนิพพาน จะต้องใช้บุญและบาปเป็นเครื่องนำส่ง ใช่หรือไม่เจ้าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ใช่หรอก บุญหรือบาปเป็นสิ่งที่จิตต้องไปรับใช้ถ้ายังติดอยู่ในไตรภพ แต่พอสิ้นกิเลสแล้วไม่กลับมาเกิดในไตรภพ บุญหรือบาปก็หมดสิทธิ์ที่จะมาควบคุมจิตให้ไปรับผลบุญผลบาปอีกต่อไป เป็นจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ บาปบุญที่เคยทำมาอาจจะยังใช้ไม่หมด แต่มันไม่มีสิทธิ์ที่จะมาควบคุมจิตให้ไปรับผลบุญผลบาปอีกต่อไป จิตเหล่านี้ท่านเรียกว่าเป็นจิตที่อยู่เหนือบุญเหนือบาป บุญหรือบาปไม่สามารถที่จะไปจัดการกับจิตที่หลุดออกจากไตรภพได้แล้ว บุญหรือบาปจัดการกับจิตที่อยู่ในไตรภพเท่านั้น เหมือนกับผู้คุมนักโทษนี้จัดการกับพวกนักโทษได้ทั้งนั้น แต่พอนักโทษออกจากคุกไปแล้วนี้ ผู้ควบคุมนักโทษไม่สามารถตามออกไปนอกคุกแล้วไปให้คุณให้โทษกับผู้ที่อยู่นอกคุกได้แล้ว
 


ผู้รู้นี้รู้อยู่ตลอดเวลา
ถาม: ตัวผู้รู้หลับเป็นเหมือนตัวร่างกายรึเปล่าครับ เพราะบางครั้งนอนหลับอยู่ก็เหมือนตื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร ควรแก้ไขอย่างไรครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ผู้รู้นี้รู้อยู่ตลอดเวลาไม่มีวันหลับไม่มีวันอะไร เพียงแต่ว่าไม่ได้รู้เรื่องที่ควรจะรู้ ไปรู้ตามเรื่องของกิเลสพาไปให้รู้แล้วก็ทำให้เกิดความวุ่นวายใจขึ้นมา เราจึงต้องฝึกใจให้ใจไปรู้เรื่องที่จะทำให้ใจสงบใจไม่วุ่นวาย ก็ต้องฝึกสติเพราะสติจะเป็นตัวบังคับใจให้ไปรู้ในสิ่งที่ควรจะรู้ต่อไปได้
 


ศาสนาพุทธสอนให้ทำไม่ได้สอนให้ขอ
ถาม: ทำทานในศาสนาอธิษฐานว่าขอให้มีกำลังและความเพียรในการภาวนาให้ยิ่งขึ้นในชาตินี้ครับ ถ้าไม่สำเร็จผล ในชาติอื่นถัดๆ ไปจะยังมีผลอยู่หรือไม่ครับ
พระอาจารย์: ไม่มีผลหรอก ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้ขอ ให้สร้างขึ้นมา อยากมีความเพียรก็ต้องทำความเพียร อยากจะไปนิพพานก็ต้องภาวนา ไม่ใช่ทำบุญใส่บาตรแล้วก็ขอไปนิพพาน คนละเรื่องกัน ตีตั๋วไปโคราชแล้วขอไปเชียงใหม่ มันไปไม่ได้หรอก ตีตั๋วไปโคราชก็ต้องไปโคราช อยากจะไปเชียงใหม่ก็ต้องตีตั๋วไปเชียงใหม่ ขอไม่ได้ ตีตั๋วแล้วก็เอาตั๋วโคราชไปขึ้นรถเชียงใหม่ บอก “ผมขอไปเชียงใหม่” อย่างนี้ ไอ้คนเก็บตั๋วบอก “พี่ มาผิดคันแล้วหละ” ไปไม่ได้หรอก งั้นศาสนาพุทธไม่เคยสอนให้ขอ ศาสนาพุทธสอนให้ทำ
 


จิตเดิมไม่ได้เป็นจิตบริสุทธิ์
ถาม: จิตมีนิสัยดั้งเดิมไหมครับ แล้วหากเราอยากกลับไปยังนิสัยจิตเดิม เรามีวิธีไหมครับพระอาจารย์ ขอบคุณครับ
พระอาจารย์: อ๋อ นิสัยจิตเดิมก็สงบ ก็ในสมาธิไง เมื่อจิตสงบจิตก็จะเป็นจิตเดิม ถ้าอยากจะกลับไปจิตเดิมก็ต้องนั่งสมาธิทำใจให้สงบ แต่จิตเดิมนี้ไม่ได้เป็นจิตบริสุทธิ์นะ ยังเป็นจิตที่มีกิเลส ที่พร้อมที่จะออกมาอาละวาดได้ทุกเวลา เวลาที่ไม่มีสติควบคุมจิตให้สงบ กิเลสก็จะออกมาอาละวาดต่อไปได้ ถ้าอยากจะทำจิตเดิมให้เป็นจิตบริสุทธิ์ก็ต้องกำจัดกิเลสที่มีอยู่ในใจให้หมดไป ทำให้สงบแล้วก็กำจัดกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไป ก็จะกลายเป็นจิตที่บริสุทธิ์ กลายเป็นจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ไป
 


ฟุ้งซ่านก็ใช้สติไม่ใช่ใช้สมาธิ
ถาม: คนที่จิตฟุ้งซ่านมากๆ การทำสมาธิช่วยได้หรือไม่เจ้าคะ
พระอาจารย์: คือการทำสมาธิก็เพื่อให้มันหยุดฟุ้งซ่านนั่นเอง งั้นจะทำได้หรือไม่อยู่ที่มีสติหรือไม่ ที่ฟุ้งซ่านก็เพราะไม่มีสติ เหมือนรถที่วิ่งไปชนเขา ไม่มีเบรกไม่เหยียบเบรกมันก็ชนกันละสิ ถ้าเหยียบเบรกมันก็ไม่ชนกัน งั้นถ้าไม่อยากฟุ้งซ่านก็ต้องฝึกสติก่อน พอมีสติจิตก็จะสงบหายฟุ้งซ่าน ก็เป็นสมาธิขึ้นมา งั้นการไปปฏิบัติสมาธิความจริงคือการไปปฏิบัติสติ เพราะว่าสมาธินี่เป็นผลจากการปฏิบัติของสตินี่เอง ต้องพุทโธ งั้นถ้าฟุ้งซ่านก็ใช้สติไม่ใช่ใช้สมาธิ เพราะสมาธิเกิดจากสติ ต้องใช้สติแล้วจิตก็จะสงบหายฟุ้งซ่านเป็นสมาธิขึ้นมา งั้นต้องหัดเจริญสติ ต้องรู้จักวิธีเจริญสติคือการใช้กัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานก็คือพุทโธพุทโธไป พอฟุ้งซ่านก็พุทโธพุทโธไป อย่าไปคิดตามมัน หรือพุทโธเบื่อก็สวดอิติปิโส ๑๐๐ จบไป “อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ” สวดไป ๑๐๐ จบ รับรองได้ฟุ้งซ่านอะไรนี่หายไปหมด
 


ต้องละอย่างไรเพื่อให้กิเลสน้อยลง
ถาม: ถ้าเราอยากละกิเลสเราต้องละอย่างไรเพื่อให้กิเลสน้อยลงเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็ไม่ทำตามกิเลสไง เวลาอยากจะไปเที่ยวก็ไม่ไปไปอยู่วัดดีกว่า เวลาอยากจะไปดูหนังก็นั่งสมาธิดีกว่า เปลี่ยนวิธี อย่าไปทำตามกิเลส ทำตามธรรม ธรรมไม่เป็นกิเลส อยากนั่งสมาธิไม่เป็นกิเลส อยากนั่งดูหนังเป็นกิเลส
 


การอดอาหารมีประโยชน์หลายอย่าง
ถาม การอดอาหารเพื่อทำความเพียรกับไม่อดอาหารเพื่อทำความเพียรนั้นมีประโยชน์แตกต่างกันอย่างไรครับ
พระอาจารย์ สำหรับบางคนถ้าถูกจริต การอดอาหารนี้มันมีประโยชน์หลายอย่าง ๑. มันจะแก้ความง่วงนอน ง่วงหงาว หาวนอนได้ ๒. มันจะบังคับให้เราต้องปฏิบัติ ต้องภาวนาเพราะเวลาเราหิวนี้ใจมันจะทรมาน เราก็ต้องหยุดการทรมานของใจด้วยการเข้าสมาธิ มันก็เป็นวิธีกระตุ้นให้เราต้องภาวนา ต้องนั่งสมาธิ ถ้าเรากินอิ่มแล้วมันจะไม่มีอะไรกระตุ้น มันมีแต่หมอนที่จะมาคอยกระตุ้นเรา เราก็จะขี้เกียจเราก็จะไม่ได้ปฏิบัติ งั้นถ้าเราอยากจะปฏิบัติให้มากขึ้น เราต้องมีมาตรการในการกระตุ้นความเพียรของเรา การอดอาหารนี้ก็เป็นมาตรการหนึ่งที่จะสามารถกระตุ้นให้เราต้องมีสติมากขึ้น ต้องคอยควบคุมความคิด หรือต้องเจริญปัญญาเพื่อระงับความหิว ปัญญาที่จะระงับความหิวก็คือการพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหาร อาหารเราต้องดูมันตั้งแต่เข้าไปในปาก เข้าไปในท้องจนกระทั่งมันออกมาในส้วม มันถึงจะได้เห็นแล้ว มันครบวงจรของอาหาร แล้วความหิวความอยากกินอาหารมันจะได้ถูกกำจัดไป พอความอยากถูกกำจัดไป ความทรมานใจก็ไม่มี ใจจะสงบใจจะไม่หิว ที่หิวคือร่างกายแต่ร่างกายมันไม่เดือดร้อนมันไม่กินมันก็ไม่บ่น ไอ้ที่มันเดือดร้อนคือใจ พอเราบังคับให้มันดูปฏิกูลของอาหารมันก็เลยไม่หิวตาม การอดอาหารก็เลยไม่ทรมาน แล้วมันก็จะทำให้ทำความเพียรได้ต่อไป แล้วต่อไปเรื่องรับประทานอาหารก็จะไม่มีปัญหา ถ้ายังไม่ถึงเวลารับประทานอาหาร มันอยากจะรับประทานอาหาร เพียงแต่นึกถึงปฏิกูลของอาหารมันก็หายอยากทันที ลดน้ำหนักได้ พวกที่อ้วนๆ นี่ อยากจะลดน้ำหนักไม่ต้องไปเข้ายิม ไม่ต้องไปออกกำลังกายเต้นให้เหนื่อย ยิ่งออกกำลังกายยิ่งหิวนะ วิ่งเสร็จเดี๋ยวก็ต้องมากินใหม่อีก หัดมาพิจารณาปฏิกูลของอาหารดู ดูอาหารตอนที่มันอาเจียนออกมา ตอนที่อยู่ในปากแล้วคายออกมา หรือตอนที่ถ่ายออกมา โอ๊ย มันเห็นอย่างนี้แล้วไม่อยากจะกินแล้ว
 

ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
700 (650)
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สัพเพธัมมาอนัตตา โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1447 กระทู้ล่าสุด 29 สิงหาคม 2562 17:08:16
โดย Maintenence
เสบียงใจ - พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 984 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2562 11:06:39
โดย Maintenence
บ้านของใจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 1075 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2563 15:09:29
โดย Maintenence
สมอเรือของใจ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ธรรมะจากพระอาจารย์
Maintenence 0 1333 กระทู้ล่าสุด 02 ตุลาคม 2563 10:31:22
โดย Maintenence
ธรรมระดับพระโสดาบัน : พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 0 716 กระทู้ล่าสุด 26 พฤษภาคม 2565 15:03:14
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.6 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 19:24:32