[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 21:09:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 163 164 [165] 166 167 ... 275
3281  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: ปฏิทินท่องเที่ยว-ประชาสัมพันธ์งานบุญ เมื่อ: 25 มกราคม 2559 14:07:16
.


ภาพจาก : travel.truelife.com-

รับลมหนาว ชมซากุระเมืองไทยที่"ภูลมโล"
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

บรรยากาศการท่องเที่ยวชมดอกซากุระเมืองไทย หรือดอกนางพญาเสือโคร่ง บนยอดภูลมโล เนื้อที่ 1,000 กว่าไร่ ใจกลางอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เขตรอยต่อระหว่าง จ.เลย และ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก คึกคักเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวนับพันคนขึ้นไปสัมผัสอากาศหนาวเย็นและชมดอกซากุระบานตั้งแต่เช้า

ขณะนี้ดอกซากุระบานเต็มที่สีชมพูสวยงาม และยังมีอีกจำนวนหนึ่งกำลังเริ่มผลิบานจากดอกตูมคาดการณ์ว่าจะเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ทำพิธีเปิดกิจกรรม "หนาวลมห่มฟ้าริมผาสีชมพู@ภูลมโล" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชมความงามของดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ที่สุดในประเทศอย่างเป็นทางการ


บรรยากาศการท่องเที่ยวชมดอกซากุระเมืองไทย หรือดอกนางพญาเสือโคร่ง บนยอดภูลมโล เนื้อที่ 1,000 กว่าไร่ ใจกลางอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เขตรอยต่อระหว่าง จ.เลย และ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก คึกคักเป็นอย่างมาก ส่งผลดีต่อชุมชนนำเที่ยวบ้านใหม่ร่องกล้า ที่บริการรถรับ-ส่ง นักท่องเที่ยว สร้างรายได้ดี โดยนักท่องเที่ยว นับพันคนขึ้นไปสัมผัสอากาศหนาวเย็น และชมดอกซากุระบานตั้งแต่เช้า

ขณะนี้ดอกซากุระบานเต็มที่สีชมพูสวยงาม และยังมีอีกจำนวนหนึ่งกำลังเริ่มผลิบานจากดอกตูมคาดการณ์ว่าจะเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ทำพิธีเปิดกิจกรรม "หนาวลมห่มฟ้าริมผาสีชมพู@ภูลมโล" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชมความงามของดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ที่สุดในประเทศอย่างเป็นทางการ



ภาพ : 24 มกราคม 2559

เชิญชม
นิทรรศการภาพถ่ายโบราณครั้งแรกในภาคเหนือ

สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘-๙
รวมทั้งนครวัด และเมืองชายฝั่งประเทศจีน


ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึง ๓๑ มกราคม ๒๕๕๙






เลื่อนเปิดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง บนเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ไปเป็น 16 ก.พ.59
จากเดิมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ก.พ.-7 เม.ย. 2559 เนื่องจากสภาพเส้นทางขึ้นเขายังไม่พร้อม
กรมป่าไม้จึงยังไม่อนุญาตให้ประชาชนเดินทางขึ้นไป
ทั้งนี้ พิธีบวงสรวงเปิดป่าของคณะสงฆ์ยังมีตามเดิม



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย 
จัดการแสดงแสงสีเสียง ตอน "เล่าเรื่องเมืองสุโขทัย" ให้ชมฟรีในทุกวันศุกร์แรกของเดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน และจัดงาน "มหกรรมดนตรี วิถีสุโขทัย ครั้งที่ 3"
ในวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 18.00-21.00 น.
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
       

ไหว้พระชมจันทร์
สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ร่วมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวในภาคเหนือเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
จ.เชียงใหม่ กับ แม่ฮ่องสอน เปิดทริปท่องเที่ยว ไหว้พระชมจันทร์ มิดไนท์ซาฟารี
พักใน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน เน้นกิจกรรมไหว้พระกลางคืนพร้อมสืบชะตาในวัดต่างๆ
เที่ยวพักแบบทัวร์ 3 วัน 2 คืน ท่องเที่ยวทั้ง 2 จังหวัดได้อย่างเต็มที่
สอบถามโทร.0-5392-0000 หรือสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย
โทร.08-1803-5551 ได้ทุกวัน
3282  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / พิธี "ปัดรังควาน" เมื่อ: 25 มกราคม 2559 13:38:50


ภาพจาก : nongkhai-culture.org

ปัดรังควาน

ปัดรังควาน เป็นคำเรียกการทำพิธีขับไล่ผีให้พ้นไปหรือไม่ให้ติดตามมารบกวน

ปัด หมายถึงการปัดไปให้พ้นตัว ปัดสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ต้องการ ให้พ้นไปจากตัว

รังควาน หมายถึง การก่อกวน รบกวน ทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากลำบาก หรือสร้างความไม่พอใจ ความรำคาญ ความเดือดร้อนเสียหายมาให้  ส่วนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ ให้นิยามคำว่า “รังควาน” ไว้ว่า “น.ผีประจำช้างป่า, ผีร้ายที่สิงอยู่ในกายคน”  

ปัดรังควาน หมายถึงการปัดป้องสิ่งที่ไม่ชอบไม่ต้องการ ปัดเรื่องยุ่งยากลำบาก หรือสร้างสร้างความไม่พอใจ ความรำคาญความเดือดร้อนเสียหายไปให้พ้นตัว โดยนัยยะคือการขับไล่พวกภูติผีปีศาจที่มารังควานคนโดยการสิงสู่อยู่ในร่างกายหรือบ้านสถานที่พักอาศัยสถานที่ทำงาน หรือการกำจัดคุณไสย์ คุณผี(ผีทำ) คุณคน(คนทำ) ให้หมดไป

ดังนั้น การปัดรังควาน จึงหมายถึงการทำพิธีขับไล่ผี โดยการเซ่นไหว้และว่าคาถาอาคม แล้วใช้สิ่งที่ถือว่าเป็นเคล็ด มีกิ่งไม้เป็นต้น มาทำพิธี “ปัด”  ถ้าเป็นผีประจำช้างป่า ก็ใช้กิ่งไม้หรือผ้าขาวม้าปัดที่หลังช้างป่าแล้วว่าคาถาด้วย  เรื่องนี้ พระยาราชเสนาเล่าไว้ในเรื่องชีวิตของชาวโพนช้าง ตีพิมพ์ในหนังสือศิลปากร ใจความว่า เมื่อควาญช้างคล้องช้างป่าได้เรียกว่า”ช้างชะเลย” (เชลย) แล้วมัดช้างชะเลยไว้กับต้นไม้ แล้วขยับช้างต่อเข้าช่วยสวมทาม ผู้เป็นครูบาทำพิธีปัดผีผ่าซึ่งชาวโพนช้างเรียกว่า “มะเร็งควาน” ซึ่งที่ถูกเป็น “รังควาน” ให้ออกไปเสียจากตัวช้างชะเลย วิธีทำก็คือ ใช้กิ่งไม้หรือผ้าขาวม้าปัดที่หลังช้างชะเลยและว่าคาถา ”สีโล เม...” น่าจะเป็นคาถาธรณีสาร ซึ่งมีว่า “สิโร เม พุทฺธเทวญฺจ นลาเฏ พฺรหฺมเทวตา หทยํ นรายกญฺเจวเทวหตฺเถ ปรเม สุรา ปาเท วิสฺสณุกญฺเจว สพฺพกมฺมา ปสิทฺธิ เม...” ไปพลาง และเมื่อพาช้างชะเลยมาถึงบ้านหมอและควาญช้างแล้ว ครูบาใหญ่ก็ปัดรังควานอีก จึงว่าคาถาอีกมาก มิฉะนั้นถือว่าผีรังควานติดตามมาราวีจนถึงบ้าน ทำให้ช้างชะเลยหลุดจากที่ผูกมัดกลับเข้าป่าดงไป หรือให้ช้างนั้นตายเสีย ถ้าไม่ตายไม่พลัดก็ต่อสู้คนเลี้ยงคนฝึกตาย ถ้าปัดรังควานตกแล้วช้างนั้นจะเชื่องเร็วและฝึกได้ง่าย

ถ้าเป็นการรังควานผีร้ายก็ทำพิธีในทำนองเดียวกัน แต่ทำเป็นพิธีรีตองกันอย่างแข็งขัน ซึ่งนอกจากการเซ่นไหว้ผู้ตายรายนั้นๆ และว่าคาถาด้วยแล้ว ยังมีการกระทำอันเป็นไปในลักษณะ “ปัดรังควาน” อีกมากมาย เช่น คนในชนบทสมัยก่อนมีความเชื่อเรื่อง “แม่ซื้อ” ว่าเป็นผู้พิทักษ์รักษาเด็กไม่ให้เจ็บป่วย หรือได้รับภัยอันตราย ถ้ามีเด็กป่วยจะทำพิธีปัดรังควาน โดยหุงข้าว ปั้นข้าวเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่เจ็บป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือนเพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ เชื่อว่าจะทำให้เด็กหายเจ็บไข้ได้ป่วย บางพิธีถึงกับนำมนต์ทางศาสนามาสวด หรือถึงกับนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดก็มี

เรื่อง “ปัดรังควาน” นี้แต่เดิมมา น่าจะใช้เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องช้าง ต่อมาขยายออกไปถึงเรื่องการทำพิธีขับไล่ผีดังกล่าว ยิ่งกว่านั้นยังได้ขยายออกไปถึงเรื่องการทำพิธีขับไล่หรือขจัดอุบาทว์เสนียดจัญไร ในพิธีรีตองต่างๆ อีกหลายอย่าง เรียกว่า “ปัดรังควาน” ด้วยโดยอนุโลม เช่น เมื่อจะแสดงละคร (ละครใน) เป็นขนบนิยมที่นักจัดการแสดงด้านนาฏศิลป์ถือปฏิบัติแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามาอย่างต่อเนื่อง คือจะทำพิธีที่เรียกว่า “เบิกโรง” ก่อนการแสดงเรื่องใหญ่เสียก่อนด้วยการแสดงชุดประเลง โดยสมมติให้ผู้รำเป็นเทวดา ๒ ตน แต่งกายยืนเครื่อง สวมศีรษะเทวดาโล้น (ไม่มีมงกุฎ) มือทั้งสองถือกา หางนกยูงข้างละมือร่ายรำมาปัดหน้าโรงตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เช่นเพลงโคมเวียนหรือเพลงกลม ถือเป็นการขจัดเสียดจัญไรให้พ้นไปจากมณฑลพิธี
3283  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / ปัญญาสชาดก เมื่อ: 25 มกราคม 2559 13:26:13
.

ภาพจาก :oknation.net

ปัญญาสชาดก

ปัญญาสชาดก เป็นเรื่องราวหรือวรรณกรรมที่เขียนขึ้นไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรอง  มิได้เป็นพระพุทธพจน์  หมายความว่าเป็นชาดกนอกพระไตรปิฎก หรือชาดกนอกนิบาต  แต่งขึ้นเพื่อต้องการให้เกิดศรัทธาปสาทะในหมู่พุทธศาสนิกชน จึงอ้างว่าเป็นพระพุทธพจน์ เช่นเดียวกับนิบาตชาดก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระภิกษุชาวล้านนาได้รจนาชาดกเรื่องนี้ขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๐๐-๒๒๐๐  แต่ในเวลาต่อมามีผู้เสนอความคิดเห็นแตกต่างออกไป กล่าวคือ ผู้แต่งปัญญาสชาดก น่าจะเป็นสามเณรรูปหนึ่ง (ตามหลักฐานที่ได้จากพม่า) และน่าจะแต่งก่อนปี พ.ศ.๑๘๘๘ ซึ่งเป็นปีที่แต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) เพราะในเรื่องไตรภูมิพระร่วงมีการกล่าวอ้างอิงถึงชาดกหลายเรื่องที่มีอยู่ในปัญญาสชาดก

ถึงแม้ว่า ปัญญาสชาดก จะเป็นชาดกนอกนิบาตร และภาษาบาลีที่ใช้ก็ยังไม่ดีนัก แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นยังได้แพร่กระจายไปยังดินแดนใกล้เคียง เท่าที่มีหลักฐานคือ พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งในแต่ละประเทศต่างก็ได้แปลเนื้อเรื่องเป็นภาษาของตน การที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญญาสชาดกมีเนื้อเรื่องที่สนุกสนานมากกว่านิบาตชาดก  มีความพิเศษแตกต่างจากชาดกโดยทั่วๆ ไป คือมุ่งเน้นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมอย่างเลิศล้ำ มีการแทรกอิทธิปาฏิหาริย์ มีอาวุธวิเศษ เหาะเหินเดินอากาศ การผจญภัยของพระโพธิสัตว์และพระชายา ซึ่งมีชายาได้มากกว่า ๑ เสมอไป และมีคติธรรมแทรกอยู่ในเรื่องด้วย 

การดำเนินเรื่องในปัญญาสชาดก ในชั้นแรกเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในรูปของวรรณกรรมมุขปาฐะ อันมีเค้าโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง จากคัมภีร์ทิวยาวทาน จากมหาสุทัสสนะสูตร  และพระสุตตันตปิฏก  โดยกวีนำเรื่องของการพลัดพรากของคู่พระคู่นางมาเทียบกับความทุกข์   เมื่อความนิยมในปัญญาสชาดกได้แพร่หลายไปทั่ว กวีก็ได้นำเรื่องราวจากปัญญาสชาดกมาแต่งเป็นวรรณกรรมในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ปัญญาสชาดก เป็นพัฒนาการขั้นแรกที่สำคัญของงานวรรณกรรมร้อยกรองของไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นต้นเค้าของวรรณกรรมประเภทจักรๆ วงศ์ๆ หรือที่เรียกกันว่า “นิทานประโลมโลก”

ปัญญาสชาดก แปลว่า ชาดก ๕๐ เรื่อง  แต่ในฉบับที่หอสมุดแห่งชาติ ได้รวบรวมและจัดพิมพ์เผยแพร่โดยพระบัญชาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๗๖๖ มีจำนวนชาดก ๖๑ เรื่อง ดังนี้
   ๑.สมุททโฆสชาดก
   ๒.สุธนชาดก
   ๓.สุธนุชาดก
   ๔.รัตนปโชตชาดก
   ๕.สิริวิบุลกิตติชาดก
   ๖.วิบุลราชชาดก
   ๗.สิริจุฑามณิชาดก
   ๘.จันทราชชาดก
   ๙.สุรามิตตชาดก
  ๑๐.สริธรชาดก
  ๑๑.ทุลกบัณฑิตชาดก
  ๑๒.อาทิตชาดก
  ๑๓.ทุกัมมานิกชาดก
  ๑๔.มหาสุรเสนชาดก
  ๑๕.สุวรรณกุมารชาดก
  ๑๖.กนกวรรณราชชาดก
  ๑๗.วิริยบัณฑิตชาดก
  ๑๘.ธรรมโสณฑกชาดก
  ๑๙.สุทัสนชาดก
  ๒๐.วัฏฏังคุลีราชชาดก
  ๒๑.โบราณกบิลราชชาดก
  ๒๒.ธรรมิกบัณฑิตราชชาดก
  ๒๓.จาคทานชาดก
  ๒๔.ธรรมราชชาดก
  ๒๕.นรชีวชาดก
  ๒๖.สุรูปชาดก
  ๒๗.มหาปทุมชาดก
  ๒๘.ภัณฑาการชาดก
  ๒๙.พหลาคาวีชาดก
  ๓๐.เสตบัณฑิตชาดก
  ๓๑.บุบผชาดก
  ๓๒.พาราณสิราชชาดก
  ๓๓.พรหมโฆสราชชาดก
  ๓๔.เทวรุกขกุมารชาดก
  ๓๕.สลราชาดก
  ๓๖.สิทธิสารชาดก
  ๓๗.นรชีวกฐินชาดก
  ๓๘.อติเทวราชชาดก
  ๓๙.ปาจิตตกุมารชาดก
  ๔๐.สรรพสิทธิชาดก
  ๔๑.สังขปัตตชาดก
  ๔๒.จันทเสนชาดก
  ๔๓.สุวรรณกัจฉปชาดก
  ๔๔.สิโสรชาดก
  ๔๕.วรวงสชาดก
  ๔๖.อรินทมชาดก
  ๔๗.รถเสนชาดก
  ๔๘.สุวรรณสิรสาชาดก
  ๔๙.วนาวนชาดก
  ๕๐.พากุลชาดก
  ๕๑.โสนันทชาดก
  ๕๒.สีหนาทชาดก
  ๕๓.สุวรรณสังขชาดก
  ๕๔.สุรัพราชาดก
  ๕๕.สุวรรณกัจฉปชาดก
  ๕๖.เทวันธชาดก
  ๕๗.สุบินชาดก
  ๕๘.สุวรรณวงศชาดก
  ๕๙.วรนุชชาดก
  ๖๐.สิรสาชาดก
  ๖๑.จันทคาธชาดก
3284  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / มฆชาดก เมื่อ: 20 มกราคม 2559 20:01:18


มฆชาดก
มฆชาดก เป็นชาดกลำดับที่ ๑๑ ในชุดปัญญาสชาดก หรือชาดก ๕๐ เรื่อง ซึ่งพระเถระชาวเชียงใหม่เรียบเรียงขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๐๐๐-๒๒๐๐ ต้นฉบับที่ใช้ศึกษามาจากวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จารเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙  ชาดกเรื่องนี้ตรงกับกุลาวกชาดกในชาตกัฏฐกถา มีใจความสรุปเรื่องดังนี้

มีภิกษุ ๒ รูป ร่วมเดินทางจากเมืองสาวัตถีไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เชตวันมหาวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งมี “ธัมมกร็อก” หรือ ธัมมกรก คือที่กรองน้ำแต่ไม่ยอมให้อีกรูปหนึ่งใช้ร่วมด้วย ภิกษุรูปนั้นจึงต้องฉันน้ำโดยไม่ผ่านการกรอง เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเหตุจึงติเตียนพระรูปนั้นและทรงนำอดีตนิทานมากล่าวว่า บัณฑิตผู้ครองเทวโลกในปางก่อนไม้จะเตลิดหนีภัยจากศัตรูก็ยังเลี่ยงมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่สัตว์อื่น นิทานที่ทรงนำมาตรัสเล่า คือ มฆชาดก มีใจความโดยสรุปว่า

ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นมฆมาณพในหมู่บ้านมจลคามในเมืองมคธ มีสหายอีก ๓๒ คน สหายทั้งหมดช่วยกันสร้างศาลา สร้างถนนและสาธารณประโยชน์อื่นๆ พร้อมกับรักษาศีลทำบุญให้ทานอยู่เสมอ นายบ้านเห็นว่าชายหนุ่มดังกล่าวทำให้บ้านเมืองขาดผู้ร้าย ซึ่งทำให้ตนขาดรายได้จากค่าธรรมเนียมสินไหมจากชาวบ้านที่ก่อการวิวาทหรือประพฤติผิดกฏหมาย จึงคิดจะให้ชาวบ้านเลิกรักษาศีลเสีย แต่ก็ไม่เป็นผล จึงไปกราบทูลใส่ความว่า ชายหนุ่มกลุ่มดังกล่าวเป็นโจร ซึ่งพระราชาก็ให้จับมาลงโทษโดยให้ช้างเหยียบ แต่มฆมาณพก็สอนสหายให้แผ่เมตตาแก่นายบ้าน พระราชาและช้าง ทำให้ช้างไม่อาจเหยียบกลุ่มชายหนุ่มเหล่านั้นได้ แต่กลับแล่นเตลิดหนี แม้จะให้ช้างเชือกอื่นมาเหยียบก็ไม่เป็นผล

พระราชาสงสัยว่า โจรเหล่านั้นมีอะไรดี จึงเรียกไปสอบถาม มฆมาณพจึงทูลว่าพวกตนรักษาศีลห้า พระราชาจึงโปรดให้ริบทรัพย์นายบ้านและนำมาพระราชทานแก่มฆมาณพ ส่วนช้างเชือกนั้นและนายบ้าน พระองค์ก็ให้เป็นรางวัลแก่เหล่าสหายชายหนุ่มด้วย

ชายหนุ่มเหล่านั้นชวนกันสร้างศาลาที่สี่แพร่งและไม่ยอมให้ผู้หญิงมาเกี่ยวข้องด้วยแม้แต่ภรรยาทั้งสี่ของมฆมาณพก็ตาม แต่ภรรยาของมฆมาณพชื่อนางสุธัมมา อยากร่วมทำบุญด้วย จึงจ้างช่างไม้ทำช่อฟ้าอันงามไว้ เมื่อสร้างศาลาเสร็จช่างจึงอ้างว่าลืมช่อฟ้าและไม่อาจทำด้วยไม้ใหม่ได้ ช่างขอร้องให้รับช่อฟ้าของนางสุธัมมาให้นางมีส่วนร่วมทำบุญ โดยกล่าวว่า ยกเว้นพรหมโลกแล้ว ไม่มีที่ใดที่ปราศจากสตรี นางสุจิตตาก็ได้สร้างสวนอุทยาน นางสุนันทาให้สร้างสระโบกขรณี แต่นางสุชาดาภรรยาคนที่สี่ของมฆมาณพมิได้ร่วมการกุศลกรรมในครั้งนั้น

นอกจากรักษาศีลแล้ว มฆมาณพยังให้สหายปฏิบัติวัตรบท ๗ ประการด้วย เมื่อบุคคลทั้งหลายดังกล่าวตายแล้วก็ได้ไปเกิดร่วมกันในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งขณะนั้นพวกอสูรครองอยู่ โดยมีมฆมานพเป็นหัวหน้า ดำรงสภาพเป็นพระอินทร์

พระอินทร์ไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกับอสูร จึงหลอกมอมเหล้าพวกอสูรแล้วจับโยนลงไปที่เชิงเขาพระสุเมรุ อสูรทั้งหลายจึงถือเอาบริเวณใต้เขาพระสุเมรุเป็นอสุรพิภพ มีไม้แคฝอยเป็นต้นไม้ประจำพิภพนั้น เมื่อต้นแคฝอยบานสะพรั่งพวกอสูรก็คิดอยากจะชิงเอาสวรรค์ชั้นชาวดึงส์คืน จึงพากันยกพลไปรบ ครั้งนั้นพระอินทร์ประทับบนเทวรถชื่อเวชยันต์รถ รบกับอสูรจากหลังสมุทรไปถึงป่าไม้งิ้ว ซึ่งเป็นที่อยู่ของครุฑ ต้นงิ้วหักแหลกระเนนเป็นอันมาก บรรดาลูกครุฑตกใจกลัวจึงส่งเสียงร้องกันระงม พระอินทร์จึงทรงสั่งให้มาตุลีเทวบุตร ซึ่งเป็นสารถีชักรถกลับ เพื่อรักษาชีวิตลูกครุฑโดยไม่คำนึงถึงชีวิตของพระองค์ พวกอสูรเห็นพระอินทร์คืนมาสู่สนามรบก็เข้าใจว่ามีพระอินทร์จากจักรวาลอื่นไปช่วย จึงแตกหนีกลับไปอยู่อสุรพิภพด้วยความกลัว เมื่อพระอินทร์กลับถึงดาวดึงส์แล้ว ทันใดนั้นก็บังเกิดเวชยันต์ปราสาทสูงได้พันโยชน์ขึ้นกลางสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น

หลังจากนั้นพระอินทร์จึงจัดตั้งด่านป้องกันมิให้อสูรขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ ด่านป้องกันดาวดึงส์ทั้งห้าชั้นเริ่มจากด่านชั้นแรก คือด่านนาค ซึ่งอยู่ระหว่างนครของอสูรและดาวดึงส์ นาคนั้นมีกำลังในน้ำ จึงให้รักษาสมุทร ต่อมาชั้นที่สองคือด่านครุฑ ชั้นที่สาม สี่ ห้า คือด่านกุมภัณฑ์ ด่านยักษ์ และด่านของท้าวจตุโลกบาล เมื่อใดที่พวกอสูรยกขึ้นไปยังดาวดึงส์ก็จะต้องฝ่าด่านต่างๆ ไปตามลำดับ เมื่อใดที่เทวดาแพ้ก็ถอยกลับดาวดึงส์เสียแล้วปิดประตู พวกอสูรนับแสนก็ไม่อาจทำประการใดได้ เมื่อใดเทวดาชนะอสูร พวกอสูรก็จะล่าถอยไปถึงเมืองแล้วปิดประตูไว้ แม้เทวดานับแสนก็ไม่อาจทำอะไรแก่อสูรได้เช่นกัน  นครทั้งสองจึงชื่ออยุชฌบุรี ด้วยเหตุที่ไม่มีผู้ใดรบชนะได้

พระอินทร์เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย เสวยทิพยสมบัติพร้อมบาทบริจาริกา มีนางสุธัมมาผู้มีปราสาทแก้วชื่อสุธัมมาสภาคศาลาสูง ๕๐๐ โยชน์ เกิดคู่บุญ พระอินทร์ประทับเหนือแท่นทองสูง ๑ โยชน์ ใต้ทิพยเศวตฉัตรบริหารกิจต่างๆ ณ เทวสภาแห่งนี้ นางสุจิตรามีสวนชื่อจิตรลดาวัน เกิดมาคู่บุญ ด้วยเหตุที่เคยสร้างสวนเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนแต่ปางก่อน นางสุนันทาก็มีนันทาโบกขรณีเกิดคู่บุญเพราะเคยสร้างสระบัวมาแต่ปางก่อนเช่นกัน

ส่วนนางสุชาดาไปเกิดเป็นนกยางเพราะไม่เคยทำบุญมาก่อน เมื่อพระอินทร์มิได้เห็นนางในสวรรค์และรู้ว่านางเป็นนกยางจึงพามาสู่ดาวดึงส์ ให้นางได้เห็นสุธัมมาเทวสภาคศาลา จิตรลดาวันและนันทาโบกขรณี แล้วสอนนางว่าเมื่อเป็นมนุษย์นางมิได้ทำบุญ จึงต้องเกิดเป็นเดียรัจฉาน ฉะนั้นนางจงรักษาศีลห้า กินแต่ปลาตาย ครั้งหนึ่งพระอินทร์ทดลองว่านางรักษาศีลหรือไม่ จึงแปลงเป็นปลาตาย ครั้นนางจะกินก็ทำให้เห็นว่ากระดิกได้ นางนกก็ปล่อยปลานั้นเสีย นางรักษาศีลตลอดชีวิต ชาติต่อมาจึงเกิดเป็นธิดาช่างทอหูกในเมืองพาราณสี พระอินทร์ก็นำผลแตงทองคำใส่เต็มเกวียนเข้าไปในเมือง ประกาศว่าจะให้แก่ผู้รักษาศีล แต่ไม่มีผู้ใดรู้จักศีลเลย นอกจากนางสุชาดา พระอินทร์จึงมอบทั้งเกวียนและแตงทองคำแก่นาง

เมื่อนางสุชาดาตายก็ไปเกิดเป็นธิดาของเวปจิตติอสูร นางมีรูปงามอย่างยิ่ง ด้วยอานิสงส์ที่นางรักษาศีลติดต่อกันมาสองชาติ ครั้นนางเจริญวัยสมควรจะมีคู่ครอง พญาอสูรจึงประกาศให้อสูรทั้งหลายไปประชุมกันให้นางเลือกคู่ พระอินทร์ทรงทราบก็แปลงกายเป็นอสูรชราเข้าไปในที่ประชุม นางสุชาดาได้เห็นก็เลือกพระองค์เพราะเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน พระอินทร์จึงนำนางไปสู่นครดาวดึงส์ ให้นางเป็นใหญ่เหนือนางฟ้าทั้งหลายสองโกฏิกึ่ง

เมื่อพระพุทธองค์เทศนาจบก็กล่าวแก่ภิกษุว่า นักปราชญ์แต่ก่อนแม้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เช่นพระอินทร์ ยังยอมที่จะสละชีวิตตนดีกว่าทำให้สัตว์อื่นเสียชีวิต และทรงตำหนิภิกษุผู้ดื่มน้ำโดยไม่พิจารณาว่าไม่ควรแก่เพศภิกษุ แล้วทรงเล่าว่าพระมาตลีในชาตินั้นมาเป็นพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก ส่วนพระอินทร์ครั้งนั้นก็คือพระพุทธองค์
3285  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / คัทธณะกุมารชาดก เมื่อ: 20 มกราคม 2559 19:59:32
.


คัทธณะกุมารเกี้ยวพาราสีนางสีไว ธิดาเศรษฐีเมืองจำปานคร
จิตรกรรมชาดก เรื่อง "คัทธณะกุมาร"
วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

คัทธณะกุมารชาดก

เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคัทธณะกุมาร ได้บรรเทาทุกข์แก่สรรพสัตว์ผู้ยากทั่วสารทิศโดยมิได้คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ไม่ว่าไปถึงที่ใด ณ ที่นั้นความเดือดร้อนก็จะหมดสิ้นทุกแห่งหน จากนั้นคัทธณะกุมารพร้อมด้วยนายไผ่ร้อยกอกับนายเกวียนร้อยเล่ม สองบ่าวคู่ใจก็จะไปยังถิ่นฐานที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไป

เมื่อคัทธณะกุมารกับสองบ่าวเดินทางเข้ามายังเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร ซึ่งขุนบรมราช เจ้าเมืองได้มีประกาศว่าในวัน ๗ ค่ำ และ ๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมห้ามชาวบ้านชาวเมืองกระทำการบาปใดๆ คำสั่งนี้เป็นเสมือนคำสาปแช่งด้วย เพราะหากผู้ใดฝืนประกาศแล้วจะบังเกิดความพินาศวิบัติล่มจมทั้งตนเองและบ้านเมือง ขวางทะบุรีศรีมหานครก็มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา กระทั่งถึงสมัยพระยาผู้ครองเมืององค์หนึ่งไม่อยู่ในทศพิธราชธรรมและยังทำความเดือดร้อนให้บ้านเมืองเคียงข้างไม่ว่างเว้น ไม่ว่าจะเป็นการหาเหตุรุกรานฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ฉุดคร่าลูกสาวเขา ร้อนถึงอาสน์พระยาแถน เทวดาผู้เป็นใหญ่ เห็นการณ์จะไม่เข้าที ขืนปล่อยไว้นานสืบไปคงจะกำเริบเสิบสานไม่มีที่สุด จึงสั่งพญางูใหญ่น้อยมากมายให้มาทำลายเมืองและผู้คนเสียให้สิ้น เมืองจึงกลายเป็นเมืองร้าง มีเพียงชีวิตเดียวที่รอดมาได้ก็คือ นางกองสี พระธิดาของพญาผู้ฮึกเหิม ซึ่งบิดาได้ซ่อนตัวนางไว้ในกลองใบใหญ่ก่อนที่กรรมจะตามสนอง

เมื่อคัทธณะกุมารผ่านเข้ามาในเมืองร้างขวางทะบุรีศรีมหานคร ไม่ปรากฏว่ามีผู้อยู่อาศัยและรกร้างด้วยรังนกรังกา เดินสำรวจพบกลองใบใหญ่บนหอกลอง พอเอาไม้เคาะดูและได้ใช้พระขรรค์เปิดหนังหน้ากลองออกก็ได้ตัวพระธิดากองสี บอกเล่าว่างูร้ายฝูงใหญ่จะลงมาทำร้ายผู้คนทันทีหากเห็นกลุ่มก้อนควันไฟลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า คัทธณะกุมารจึงสั่งให้นายไผ่ร้อยกอกับนายเกวียนร้อยเล่ม จัดการก่อไฟกองโตควันทะมึน พระยาแถนจึงสั่งงูร้ายให้ลงมายังขวางทะบุรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้บรรดางูร้ายทั้งหลายถูกคัทธณะกุมารฆ่าตายหมด ฝ่ายพระยาแถนก็มิได้ติดใจยืดเยื้อ อาจเห็นว่ามีคนดีมาเกิดแล้ว และพวกขวางทะบุรีศรีมหานครก็ได้รับบทเรียนแล้ว คงจะกลับตัวกลับใจได้

ครั้นเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร มีความร่มเย็นเป็นสุขดีแล้ว คัทธณะกุมารก็มอบเมืองบำเหน็จแก่นายไผ่ร้อยกอ ปกครองอยู่กินกับราชธิดากองสีสืบไป ส่วนพระองค์กับนายเกวียนร้อยเล่มก็ออกเดินทางต่อไป




จิตรกรรมชาดก เรื่อง "คัทธณะกุมาร"
วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ต่อมาเมื่อคัทธณะกุมารกับนายเกวียนร้อยเล่มเดินทางมาถึงเมืองชะวาทะวดีศรีมหานคร ก็ปรากฏว่ามิได้มีอะไรผิดแผกไปจากขวางทะบุรีศรีมหานครเลย เมืองชะวาทะวดีศรีมหานครได้กลายเป็นเมืองร้างปราศจากร่องรอยสิ่งมีชีวิต คัทธณะกุมารกับนายเกวียนร้อยเล่มจึงตรวจหาความจริงโดยผ่านเข้าไปถึงกลางท้องพระโรง ได้ใช้ไม้เคาะเสาท้องพระโรงต้นหนึ่ง กลับได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง คัทธณะกุมารจึงเปิดโพรงเสาพบหญิงสาวแสดงตนเป็นราชธิดาแห่งชะวาทะวดี ชื่อนางคำสิง พร้อมทั้งได้เล่าเรื่องแต่ครั้งก่อนว่า เมืองของนางนั้นเดิมมามีความสมบูรณ์พูนสุขเป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่งพระบิดาเสด็จประพาสป่าแล้วประทับพักผ่อนใต้ต้นไม้ เผอิญกาที่จับอยู่บนต้นไม้นั้นถ่ายมูลลงมาถูกพระองค์เข้า ทรงพิโรธยิ่งนัก กาตัวนั้นจึงต้องตายเท่านั้นยังไม่พอ ทรงออกประกาศให้พลเมืองของพระองค์ฆ่าแร้งกาที่พบเห็นให้หมดสิ้น การสำแดงพระองค์เป็นพาลเช่นนี้ พระยาแถนจึงบัญชาให้นกรุ้ง นกแร้งและหงส์ทองจำนวนมากมาจิกกินชาวชะวาทะวดีทั้งหมด แต่ที่นาคำสิงรอดมาได้นี้ก็เพราะก่อนที่พระบิดากับพระมารดาจะถูกแร้งปลงพระชนม์ชีพ ได้นำนางมาซ่อนไว้ในโพรงเสาท้องพระโรง ถ้าหากคัทธณะกุมารจะช่วยเหลือนางแล้วก็ขอให้ก่อกองไฟเพื่อมีควันมากๆ แล้วฝูงแร้งฝูงหงส์เหล่านั้นจะพากันมาโดยทันที นายเกวียนร้อยเล่มจึงได้จุดกองไฟเรียกนกแร้ง ฝ่ายพระยาแถนเทวดาเห็นควันไฟลอยพุ่งขึ้นมาจากนครร้างก็ส่งฝูงนกแร้ง นกรุ้ง หงส์ทองลงมาทันใด คัทธณะกุมารได้แสดงอิทธิฤทธิ์สังหารเสียสิ้น พระยาแถนก็มิได้ติดใจ คัทธณะกุมารจึงจัดแจงชุบชีวิตเจ้าเมือง มเหสี และไพร่บ้านพลเมืองขึ้นมาดังเดิม ส่วนนายเกวียนร้อยเล่มก็ได้รับบำเหน็จขึ้นปกครองชะวาทะวดีศรีมหานครกับนางคำสิงด้วยทศพิธราชธรรมโดยสงบ สันติเรื่อยมา ฝ่ายคัทธณะกุมารก็ออกจาริกต่อไป


จิตรกรรมชาดก เรื่อง "คัทธณะกุมาร"
วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
3286  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: แกะรอยภาพ "กระซิบรักบรรลือโลก" ปู่ม่าน-ย่าม่าน วัดภูมินทร์ จ.น่าน เมื่อ: 20 มกราคม 2559 19:20:21
.


คัทธณะกุมารเกี้ยวพาราสีนางสีไว ธิดาเศรษฐีเมืองจำปานคร
จิตรกรรมภาพอันงดงามในวัดภูมินทร์ แสดงชาดก เรื่อง "คัทธณะกุมาร"
...อดีตกาลมีวัฒนธรรมการลงข่วง บรรดาสาวๆ จะมานั่งปั่นฝ้ายที่ลานบ้านตอนค่ำๆ
หนุ่มๆ จะมาเที่ยวและเกี้ยวพาราสี โดยอาจนำเครื่องดนตรีมาเล่นประกอบการขับเพลงเกี้ยว...


 
เนื้อเรื่อง "คัทธณะกุมารชาดก”

เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคัทธณะกุมาร ได้บรรเทาทุกข์แก่สรรพสัตว์ผู้ยากทั่วสารทิศโดยมิได้คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ไม่ว่าไปถึงที่ใด ณ ที่นั้นความเดือดร้อนก็จะหมดสิ้นทุกแห่งหน จากนั้นคัทธณะกุมารพร้อมด้วยนายไผ่ร้อยกอกับนายเกวียนร้อยเล่ม สองบ่าวคู่ใจก็จะไปยังถิ่นฐานที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไป

เมื่อคัทธณะกุมารกับสองบ่าวเดินทางเข้ามายังเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร ซึ่งขุนบรมราช เจ้าเมืองได้มีประกาศว่าในวัน ๗ ค่ำ และ ๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมห้ามชาวบ้านชาวเมืองกระทำการบาปใดๆ คำสั่งนี้เป็นเสมือนคำสาปแช่งด้วย เพราะหากผู้ใดฝืนประกาศแล้วจะบังเกิดความพินาศวิบัติล่มจมทั้งตนเองและบ้านเมือง ขวางทะบุรีศรีมหานครก็มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา กระทั่งถึงสมัยพระยาผู้ครองเมืององค์หนึ่งไม่อยู่ในทศพิธราชธรรมและยังทำความเดือดร้อนให้บ้านเมืองเคียงข้างไม่ว่างเว้น ไม่ว่าจะเป็นการหาเหตุรุกรานฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ฉุดคร่าลูกสาวเขา ร้อนถึงอาสน์พระยาแถน เทวดาผู้เป็นใหญ่ เห็นการณ์จะไม่เข้าที ขืนปล่อยไว้นานสืบไปคงจะกำเริบเสิบสานไม่มีที่สุด จึงสั่งพญางูใหญ่น้อยมากมายให้มาทำลายเมืองและผู้คนเสียให้สิ้น เมืองจึงกลายเป็นเมืองร้าง มีเพียงชีวิตเดียวที่รอดมาได้ก็คือ นางกองสี พระธิดาของพญาผู้ฮึกเหิม ซึ่งบิดาได้ซ่อนตัวนางไว้ในกลองใบใหญ่ก่อนที่กรรมจะตามสนอง

เมื่อคัทธณะกุมารผ่านเข้ามาในเมืองร้างขวางทะบุรีศรีมหานคร ไม่ปรากฏว่ามีผู้อยู่อาศัยและรกร้างด้วยรังนกรังกา เดินสำรวจพบกลองใบใหญ่บนหอกลอง พอเอาไม้เคาะดูและได้ใช้พระขรรค์เปิดหนังหน้ากลองออกก็ได้ตัวพระธิดากองสี บอกเล่าว่างูร้ายฝูงใหญ่จะลงมาทำร้ายผู้คนทันทีหากเห็นกลุ่มก้อนควันไฟลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า คัทธณะกุมารจึงสั่งให้นายไผ่ร้อยกอกับนายเกวียนร้อยเล่ม จัดการก่อไฟกองโตควันทะมึน พระยาแถนจึงสั่งงูร้ายให้ลงมายังขวางทะบุรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้บรรดางูร้ายทั้งหลายถูกคัทธณะกุมารฆ่าตายหมด ฝ่ายพระยาแถนก็มิได้ติดใจยืดเยื้อ อาจเห็นว่ามีคนดีมาเกิดแล้ว และพวกขวางทะบุรีศรีมหานครก็ได้รับบทเรียนแล้ว คงจะกลับตัวกลับใจได้

ครั้นเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร มีความร่มเย็นเป็นสุขดีแล้ว คัทธณะกุมารก็มอบเมืองบำเหน็จแก่นายไผ่ร้อยกอ ปกครองอยู่กินกับราชธิดากองสีสืบไป ส่วนพระองค์กับนายเกวียนร้อยเล่มก็ออกเดินทางต่อไป







ต่อมาเมื่อคัทธณะกุมารกับนายเกวียนร้อยเล่มเดินทางมาถึงเมืองชะวาทะวดีศรีมหานคร ก็ปรากฏว่ามิได้มีอะไรผิดแผกไปจากขวางทะบุรีศรีมหานครเลย เมืองชะวาทะวดีศรีมหานครได้กลายเป็นเมืองร้างปราศจากร่องรอยสิ่งมีชีวิต คัทธณะกุมารกับนายเกวียนร้อยเล่มจึงตรวจหาความจริงโดยผ่านเข้าไปถึงกลางท้องพระโรง ได้ใช้ไม้เคาะเสาท้องพระโรงต้นหนึ่ง กลับได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง คัทธณะกุมารจึงเปิดโพรงเสาพบหญิงสาวแสดงตนเป็นราชธิดาแห่งชะวาทะวดี ชื่อนางคำสิง พร้อมทั้งได้เล่าเรื่องแต่ครั้งก่อนว่า เมืองของนางนั้นเดิมมามีความสมบูรณ์พูนสุขเป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่งพระบิดาเสด็จประพาสป่าแล้วประทับพักผ่อนใต้ต้นไม้ เผอิญกาที่จับอยู่บนต้นไม้นั้นถ่ายมูลลงมาถูกพระองค์เข้า ทรงพิโรธยิ่งนัก กาตัวนั้นจึงต้องตายเท่านั้นยังไม่พอ ทรงออกประกาศให้พลเมืองของพระองค์ฆ่าแร้งกาที่พบเห็นให้หมดสิ้น การสำแดงพระองค์เป็นพาลเช่นนี้ พระยาแถนจึงบัญชาให้นกรุ้ง นกแร้งและหงส์ทองจำนวนมากมาจิกกินชาวชะวาทะวดีทั้งหมด แต่ที่นาคำสิงรอดมาได้นี้ก็เพราะก่อนที่พระบิดากับพระมารดาจะถูกแร้งปลงพระชนม์ชีพ ได้นำนางมาซ่อนไว้ในโพรงเสาท้องพระโรง ถ้าหากคัทธณะกุมารจะช่วยเหลือนางแล้วก็ขอให้ก่อกองไฟเพื่อมีควันมากๆ แล้วฝูงแร้งฝูงหงส์เหล่านั้นจะพากันมาโดยทันที นายเกวียนร้อยเล่มจึงได้จุดกองไฟเรียกนกแร้ง ฝ่ายพระยาแถนเทวดาเห็นควันไฟลอยพุ่งขึ้นมาจากนครร้างก็ส่งฝูงนกแร้ง นกรุ้ง หงส์ทองลงมาทันใด คัทธณะกุมารได้แสดงอิทธิฤทธิ์สังหารเสียสิ้น พระยาแถนก็มิได้ติดใจ คัทธณะกุมารจึงจัดแจงชุบชีวิตเจ้าเมือง มเหสี และไพร่บ้านพลเมืองขึ้นมาดังเดิม ส่วนนายเกวียนร้อยเล่มก็ได้รับบำเหน็จขึ้นปกครองชะวาทะวดีศรีมหานครกับนางคำสิงด้วยทศพิธราชธรรมโดยสงบ สันติเรื่อยมา ฝ่ายคัทธณะกุมารก็ออกจาริกต่อไป





















ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว สืบสานเรื่องราว "ปูม่าน-ย่าม่าน" วัดภูมินทร์ จ.น่าน
วัดหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
(กดอ่านที่ตัวอักษรสีเทาด้านล่างค่ะ)
http://www.sookjai.com/index.php?topic=175345.msg205656#msg205656
3287  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: แกะรอยภาพ "กระซิบรักบรรลือโลก" ปู่ม่าน-ย่าม่าน วัดภูมินทร์ จ.น่าน เมื่อ: 20 มกราคม 2559 16:11:50
.


เคยมีการสันนิษฐานว่าบุรุษในภาพน่าจะเป็นศิลปินผู้เขียนภาพ คือตัวหนานบัวผัน
แต่ทว่าได้รับการปฏิเสธในเวลาต่อมา ทั้งนี้หนานบัวผันได้แต่งคำบรรยายภาพ
เป็นภาษาล้านนาอันสละสลวย สมเจตน์ วิมลเกษม ได้แปลถอดความ
จากอักษรล้านนาเป็นภาษาไทย ได้ความว่า

คำอ่านอักษรล้านนา:
คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว
จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุม
จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป
ก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้
ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา…

คำแปล:
ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว
จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย
หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป
เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง
ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น

กระซิบรักบันลือโลก “ปู่ม่าน-ย่าม่าน” คืออักษรล้านนาซึ่งเขียนกำกับบรรยายภาพนี้ เคยมีการสันนิษฐานเบื้องต้นคลาดเคลื่อนว่า น่าจะเป็นภาพศิลปินกับคู่รัก แต่เมื่อมีข้อมูลที่เชื่อได้ว่าศิลปินผู้เขียนภาพนี้เป็นศิลปินชาวไทลื้อ นาม “หนานบัวผัน” (ทิดหนานบัวผัน) จึงเกิดคำถามว่า “ภาพกระซิบบันลือโลกนี้เป็นศิลปินกับคู่รักจริงหรือ? “ ภายหลังได้มีคนเรียกขานภาพนี้ว่า “ภาพกระซิบรักบันลือโลก” ทำให้จินตนาการอารมณ์ภาพนี้ถูกขีดกั้นขอบเขตไปบ้าง

สำหรับข้อความที่เขียนกำกับว่า ปู่ม่าน ย่าม่าน หมายถึง คำเรียกผู้ชายพม่า - ผู้หญิงพม่าคู่นี้ สื่อให้เห็นว่าทั้งสองคนเป็นสามีภรรยากัน แล้วการเกาะไหล่กันเป็นธรรมชาติของผู้ชายผู้หญิงที่เป็นสามีภรรยา ถ้ายังเป็นหนุ่มสาวคนในสมัยนั้นจะไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวกันได้ และรูปลักษณะการแต่งกายชี้ชัดไปอีกสอดคล้องกับคำว่า ปู่ม่าน ย่าม่าน ม่านคือพม่า ปู่นี่คือผู้ชาย พ้นวัยเด็กผู้ชายเรียกปู่ พ้นวัยเด็กผู้หญิงเรียกย่า ซึ่งที่จริงออกเสียง "ง่า" ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย

ภาพ “ปู่ม่าน-ย่าม่าน” เป็นภาพชายหนุ่มเกาะไหล่หญิงสาวและป้องมือกระซิบขณะที่หญิงสาวแสดงอาการรับรู้นัยยะและประทับใจด้วยรอยยิ้มกรุ้มกริ่มบนใบหน้า  ภาพวาดนี้ศิลปิน “หนานบัวผัน” ได้ตั้งชื่อภาพด้วยเจตนารมณ์แสดงออกถึงมนต์ขลังของวัฒนธรรมการแต่งกายแบบพม่าที่ทรงอิทธิพลต่อคนล้านนาในสมัยนั้น จึงมีการเขียนอักษรล้านนาด้วยสีขาวกำกับไว้ด้านบนภาพว่า “ปู่ม่าน-ย่าม่าน” ซึ่งการเขียนภาพนอกกรอบเรื่องชาดกนี้แสดงท่าทางการเกาะไหล่กระซิบหยอกล้อกับคู่รักในที่แจ้ง และลักษณะการจับไหล่สตรีในที่แจ้งสมัยเมื่อร้อยกว่าปีนั้นบ่งบอกความเป็นสามี-ภรรยาชัดเจน  ดังนั้น ภาพดังกล่าวจึงหาใช่การกระซิบกระซาบเล้าโลมบอกรักของหนุ่มสาวดังที่มีการแปลความหมายหรือสรรค์สร้างนำความงดงามของถ้อยคำด้านวรรณกรรมล้านนาเปรียบเปรยบรรยายความงดงามของภาพ (ภายหลัง) ในแนวทางโน้มเอียงเป็นรูปแบบของภาพตามเจตนารมณ์ของศิลปินและอาจเป็นการก้าวล้ำวิถีวัฒนธรรมอันงดงามของชาวน่านในอดีตสู่ทิศทางไม่เหมาะสมได้




ปู่ม่านกับรอยสัก ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวล้านนาในอดีต

ค่านิยมการสักของชาวล้านนา
สมัยโบราณผู้ชายแถบล้านนา แพร่ น่าน นิยมสักลายตามร่างกาย ตั้งแต่ขา สักเลยสูงขึ้นไปถึงพุงและเอว
โดยมีความเชื่อว่านอกจากจะเป็นเครื่องรางของขลังแล้ว ยังต้องการอวดความเป็นชาย เป็นคนกล้า ให้ผู้หญิงเห็น
ว่าตนเป็นผู้มีความอดทน เข้มแข็ง สามารถเป็นผู้นำครอบครัวได้  เล่ากันว่า ใครที่มีรอยสัก เวลาไปจีบสาว
จะต้องถลกโสร่งขึ้นสูงเพื่อให้สาวๆ เห็นรอยสักอย่างเด่นชัด และผู้ชายที่ไม่ได้สักลาย ผู้หญิงจะไม่ให้อาบน้ำ
ร่วมท่าด้วย เพราะถือว่าไม่ได้เป็นชายชาตรีอย่างเต็มตัว ผู้หญิงสมัยก่อนจะดูการสักขาของผู้ชาย ถ้ายิ่งสักมาก
ลวดลายละเอียดมาก และยิ่งสักสูงขึ้นไปถึงเนื้ออ่อนๆ ตรงขาหนีบ แสดงว่าผู้ชายคนนั้นยิ่งมีความแข็งแกร่ง
มีความอดทนสูงมาก


การสักลายรูปสัตว์เป็นไปตามความเชื่อเช่น ตัวลิงลม ตัวมอม นกร้าย ซึ่งมีความเชื่อว่า
สักตัวมอมจะทำให้มีพลังมีความแข็งแรง สักลิงลมจะทำให้แคล่วคล่องว่องไว สักนกร้ายจะทำให้เก่งกล้าสามารถ
ส่วนลักษณะการสักนั้น จะมีการสักขาเป็น ๒ แบบคือ สักตั้งแต่ใต้เข่า คลุมเข่าขึ้นมาถึงขาส่วนบน เรียกว่า สักขายาว
ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ การสักเพียงแค่เหนือเข่าขึ้นมาจนถึงขาส่วนบน เรียกการสักแบบนี้ว่า สักขาก้อม
 
ตามที่ได้สอบถามผู้อาวุโสไทหล่ม ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ได้ทำการสักขามานั้น  ท่านเล่าเกร็ดการสักให้ฟังว่า
เวลาต้องการจะสักจะเดินทางร่วมกันไปกับเพื่อนหลายคนเพื่อไปสักที่บ้านหมอสัก ซึ่งจะคิดค่าสักขาข้างละ ๑๐ บาท
หมอสักจะใช้เหล็กแหลมยาวแต้มน้ำหมึกดำจิ้มสักลงไปที่ขาเป็นลวดลายตามที่กำหนด เป็นที่เจ็บปวดมาก
ถึงกับต้องกินฝิ่นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดไปด้วย การสักขาแต่ละข้างจะใช้เวลาประมาณ ๑-๒ วัน
ตอนสักเสร็จใหม่ขาจะบวมมาก แล้วต้องเว้นห่างกัน ๑๕ วันถึงจะกลับมาสักขาอีกข้างได้
การสักขาลายเริ่มเสื่อมความนิยมลง เมื่อดินแดนลาวตกอยู่ในการปกครองของสยามและมีข้าราชการจากสยาม
ขึ้นไปปกครองตามหัวเมืองต่างๆ และได้ปลูกฝังค่านิยมใหม่ๆ ไปด้วย จนได้มีการเลิกนิยมการสักขาลายไป
เมื่อประมาณราวๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ (*ไทหล่ม เป็นคนเชื้อสายลาวที่มีต้นกำเนิดอยู่ทางดินแดนล้านช้าง เมืองหลวงพระบาง)
...อ้างอิง : ไทหล่มและลาวพุงขาว !!  ดร.วิศัลย์  โฆษิตานนท์  wison_k@hotmail....





ชาวล้านนานิยมสูบบุหรี่มานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด

มูลี
มูลี หมายถึง บุหรี่ คือยาสูบที่ใช้ใบตอง เป็นต้น พันให้เป็นมวนเพื่อใช้จุดไฟสูบรมควัน

ส่วนสำคัญของมูลี มีสองส่วนคือ ใบยาสูบหั่นฝอย กับวัสดุที่ใช้หุ้มยาเส้นนั้นให้เป็นแท่งเพื่อสะดวกในการจุดสูบ  

วัสดุที่ชาวล้านนานิยมใช้พันใบยาสูบหั่นฝอยได้แก่ตองกล้วย (ใบกล้วย) และกาบหมาก ทั้งนี้ นิยมใช้ใบแห้งของกล้วยตีบ และกล้วยอ่อง(หรือกล้วยน้ำว้า) โดยชาวบ้านจะเลือกฉีกเอาใบกล้วยที่มีสภาพดีนำไปตากแดดพอให้คลี่ออกได้ง่าย แล้วตัดให้เป็นแผ่นขนาดกว้างประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติ ใช้เตารีดร้อนนาบใบตองนั้นให้แห้ง หรืออาจใช้ปีบคว่ำบนเตาอั้งโล่แล้วเอาตองกล้วยอ่อนพันรอบๆ ภายนอกปีบไฟ จะช่วยให้ตองอ่อนแห้งได้ บางคนจะคั่วทรายให้ร้อน กรอกใส่ถุงผ้าขนาดส้มโอ ผูกปากให้เรียบร้อย เอาทาบตองอ่อน เสร็จแล้วม้วนรวมเข้าไว้ หรือจะใช้กรรไกรตัดเจียนขอบให้เรียบร้อย เสร็จแล้วนำมาพันเข้าด้วยกันให้เป็นม้วน  ใบตองชนิดนี้จะให้ความหอมแก่บุหรี่ได้อีกด้วย

ในการพันมูลีนั้น เริ่มจากการนำตองมูลีที่ม้วนออก มาคลี่บนกระดานโดยเอาด้านบนของใบออกทางด้านนอก นำยาเส้นมาพรมน้ำเล็กน้อยเพื่อมิให้เส้นยาเปราะ  หยิบมาเกลี่ยลงบนใบตอง แล้วม้วนให้แน่น โดยให้ทางโคนคือทางปากคาบเล็กกว่าทางด้านปลาย จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเจียนให้เรียบร้อย ใช้ยางมะตูมหรือยางไม้ชนิดอื่นป้ายพอประมาณแล้วปิดไว้ ทั้งนี้อาจใช้กระดาษสีติดกาวทำเป็นเส้นขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตรคาดกลางมวนก็ได้ บ้างก็ใช้ด้ายหรือเศษใบตองผูกกันหลุดก็ได้

ในช่วงที่หนุ่มสาวเจรจาเพื่อเสนอไมตรีกันอยู่นั้น หากสาวเจ้าพอใจชายใดจนกระทั่งถือกันว่าเป็นตัวพ่อตัวแม่ คือคู่หมายกันแล้ว นอกจากหญิงจะทำพลูแหล้ม คือพลูจีบให้หนุ่มแล้ว ก็มักจะมวนบุหรี่ให้ชายนั้นไปสูบอีกด้วย อย่างคำกล่าวที่ว่า “ตะวันนั้นเปนใผมานั่งซีดซี พันมูลีใส่ถงเสื้อ เมื่อใกล้จักเมือ ถงเสื้อพอโล้ง” แปลงว่าวันนั้นมีใครมานั่งอยู่ข้างๆ และสาวก็มวนบุหรี่ใส่กระเป๋าเสื้อให้ด้วย ตอนใกล้จะกลับนั้นบุหรี่ก็มากจนกระเป๋าเสื้อทะลุ

มูลีที่มวนขึ้นมานั้น จะมีทั้งมูลีอยาขื่น และมูลีอยาจาง คือบุหรี่ชนิดที่ใช้ยาฉุนและที่ใช้ยารสอ่อนตามความถนัดของผู้สูบ บ้างก็ชอบมวนขนาดย่อมเพราะสูบได้ถึงใจ แต่ก็มีบ้างที่ต้องการชอบมวนใหญ่เพราะหนักแน่นถึงใจ แต่ก็มีบ้างที่ต้องการเพิ่มรสชาติให้หอมมากขึ้นก็อาจโรย ซีโอย หรือขี้โอย (ขี้โย) ลงเป็นแนวยาวบนยาสูบแล้วจึงมวนในลักษณะของมวนโตและขนาดยาวพิเศษ พบว่าบางคนมวนมูลีขี้โอยยาวถึง ๒๐ เซนติเมตร และที่ส่วนหัวนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๔ เซนติเมตรก็มี มูลีซีโอยนี้ เวลาสูบอาจมีลูกไฟตกลงมาด้วยก็ได้ กล่าวกันว่าหากพบคนที่เสื้อผ้ามีรอยไหม้เป็นรูเล็กๆ หลายๆ รู แล้วก็เป็นอันแน่ใจได้ว่าผู้นั้นเป็นนักนิยมมูลีซีโอย



“แม่หญิงไปกาด” เป็นภาพกลุ่มชายหญิง ที่ข่วงนอกเมือง




ภาพให้แง่คิดทางศิลปะ วิถีการดำรงชีวิต สภาพของสังคม วัฒนธรรมการแต่งกาย และศิลปะการออกแบบลายผ้าของล้านนา
โดยศิลปินได้เขียนใบหน้า ทรงผม และผ้านุ่งแบบชาวไทลื้อ


พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์สู่พระปรินิพพาน บรรดาพระสาวกที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล
ต่างก็มีความเศร้าโศกเสียใจอาลัยถึงพระบรมศาสดา
"หนานบัวผัน" เขียนภาพแสดงอาการเศร้าเสียใจด้วยการเขียนมุมปากหุบลง
3288  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / แกะรอย "กระซิบรักบรรลือโลก" ปู่ม่าน-ย่าม่าน วัดภูมินทร์ จ.น่าน เมื่อ: 20 มกราคม 2559 14:54:52


แกะรอย "กระซิบรักบรรลือโลก"
ปู่ม่าน - ย่าม่าน
วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน
ภาพ : ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๘

เมืองน่าน ในอดีตเป็นนครรัฐเล็กๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ.๑๘๒๕ ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม ๒ คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และ ขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

เมืองน่านแม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าไปเยือนมากมาย เช่น พระธาตุแช่แห้ง วัดภูมินทร์ หอศิลป์ริมน่าน วัดช้างค้ำวรวิหาร ล่องแก่งลำน้ำว้า ฯลฯ  แต่มีสถานที่แห่งหนึ่งที่เอ่ยถึงเมืองน่านแล้ว ทุกคนมักจะแนะนำให้ไปเยือนคือ "วัดภูมินทร์"  ที่นอกจากจะไปเพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังได้ชื่นชมจิตรกรรมฝาผนัง "ปู่ม่าน-ย่าม่าน" ภาพประวัติศาสตร์มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ที่ทำให้เกิดความสงสัยว่า “หนานบัวผัน” ได้เรียนรู้ทักษะการเขียนภาพจากที่ไหน เพราะในสมัยนั้นสยามประเทศยังไม่มีสถาบันสอนศิลปะที่ใดเลย

วัดภูมินทร์ มีประวัติปรากฏร่วม ๔๐๐ ปี เป็นวัดหลวงที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดวัดหนึ่งในเขตกำแพงเมืองน่าน  ตั้งอยู่กลางเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน  ตัวอาคารเป็นทั้งพระอุโบสถและพระวิหารในหลังเดียวกัน มีลักษณะเป็นทรงจัตุรมุข มองดูคล้ายอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่สองตัว ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ๔ องค์บนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิจิตรสวยงามแสดงเรื่องราวชาดก ตำนานพื้นบ้าน และวิถีชีวิตของชาวเมืองน่านในอดีต นอกจากนั้น ที่บานประตูยังมีงานแกะสลัก ๓ ชั้น บนไม้สักทอง เป็นลวดลายเครือเถาที่วิจิตรบรรจงมาก

ตามประวัติของวัดและพงศาวดารน่าน กล่าวว่า  วัดนี้สร้างโดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๙ หลังจากที่ทรงครองนครได้ ๖ ปี แต่บางตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๑๓๘ และมีชื่อเดิมว่า วัดพรหมมินทร์  เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ทรงออกแบบพระอุโบสถและวิหารตามแบบล้านนา แต่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากวัดอื่นๆ (บางตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างชาวไทลื้อ)  ในปัจจุบันนี้สัญลักษณ์ของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ที่ยังคงปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ลักษณะของ “พรหมสี่หน้า” ในวิหารหลวง แต่สภาพของวัดที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านรุ่นหลัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔) โดยทรงโปรดให้มีการซ่อมแซมเป็นการใหญ่และเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๒๔๑๗ และได้กล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการบูรณะครั้งนี้ว่า “รวมสิ่งของทั้งมวล ท่านได้สร้างแปงพระวิหารหลวงภูมินทร์ที่นั้น เหล็กเสี้ยงสามหมื่น ทองเสี้ยงห้าพันปลายหนึ่งร้อย แก้วเสี้ยงสามแสนสามหมื่นสองพัน คำปิวเสี้ยงห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อย รักเสี้ยง ๓๕ ไหปลาย ๑๖ บอก หางเสี้ยง ๑๘ ห่อ น้ำมันสมซะทายเสี้ยง ๒๐ ไห น้ำอ้อยเสี้ยงตื้อหกแสนห้าหมื่น ปูนเสี้ยง ๒ ตื้อสี่ล้านสามแสนสี่หมื่น จ้างช่างเลื้อยไม้เงินตราเสี้ยง ๕ ชั่ง เงินแถบเสี้ยง ๓๐๐ แถบแล...”   อนึ่ง ที่ประตูทางเข้าวัดจะมีรูปปั้นสิงห์ ๒ ตัว นั่งเฝ้าอยู่ อันเป็นรูปแบบทางศิลปกรรมของล้านนา

วัดภูมินทร์มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นแปลกไปจากวัดอื่นๆ ในล้านนา เนื่องจากพระอุโบสถและวิหารของวัดจะรวมอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน  สำหรับพระอุโบสถเป็นทรงจัตุรมุข ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน หลังคามีระดับลดหลั่น ๓ ชั้น จัตุรมุขยื่นไปตามทิศทั้งสี่ มีมุขบันไดและประตูเข้าออกทั้ง ๔ ทิศ (ทวารทั้งสี่) เหนือราวบันไดปั้นเป็นรูปพญานาคพาดตัวตามแนวบันไดโดยหางนาคอยู่ทางทิศใต้ หันเศียรนาคขึ้นไปทางทิศเหนือ และเสมาแต่ละหลักมีลักษณะการปักเกือบจะจมมิดลงไปในดิน ทำให้เกิดการสันนิษฐานว่าก่อนการสร้างตัวอาคารเมื่อคราวปฏิสังขรณ์ใหม่นั้น ได้ทำการถมพื้นให้สูง ทำให้ระดับพื้นมีความสูงเกือบถึงยอดเสมาซึ่งเป็นของเดิม นอกจากนี้ตัวเสมายังเป็นเสมาหินแบบเก่าเรียบๆ มิได้จำหลักลวดลายแต่อย่างใด

ตัวนาคสะดุ้งมาชนกับผนังวิหารด้านนอก ทางออกเป็นบันไดนาคชนผนังวิหารด้านใต้เช่นกัน  นอกจากนี้ สิงห์คู่ทางด้านทิศตะวันตกจะมีทรงผมที่แตกต่างไปจากตัวอื่นๆ คือตัวหนึ่งผมยาวประบ่า และอีกตัวหนึ่งผมตั้งชี้ขึ้นไป สำหรับตรงกลางภายในอุโบสถเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนที่โผล่ทะลุหลังคาจัตุรมุข สันนิษฐานว่าคงจะสร้างเจดีย์นี้ขึ้นก่อนและสร้างพระอุโบสถครอบทีหลัง  อนึ่ง ด้านในของวิหารและพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่ ๔ องค์ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน พุทธลักษณะปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ อยู่บนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกสู่ประตูทั้งสี่ทิศตรงตามช่องประตู โดยออกแบบให้มีพระเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองเป็นตัวเชื่อมและอยู่เป็นใจกลางของพระอุโบสถ-พระวิหาร  ดังนั้น ฐานชุกชีจึงเป็นฐานร่วมขององค์เจดีย์ไปโดยปริยาย   คาดว่าพระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์ มีอายุกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว สำหรับผนังทุกด้านภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมสีฝุ่น เป็นภาพพระพุทธรูป พุทธประวัติ พุทธสาวก และนิทานชาดก เรื่อง คัทธณะกุมารชาดก นอกจากนี้ เสาวิหารจำนวน ๑๖ ต้นนั้น มีแกนเป็นเสาไม้แล้วพอกปูนทับ จากนั้นลงรักปิดทองสลักเป็นลวดลายต่างๆ อย่างงดงาม เช่นเดียวกับเพดานของวิหาร ตลอดจนบานประตูไม้ลงรักปิดทองที่ได้รับการแกะสลักเป็นลายพรรณพฤกษาและรูปเสี้ยวกาง มีอายุในราว พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๑๗ จำนวน ๔ บาน



พระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่ ๔ องค์ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน
พุทธลักษณะปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ อยู่บนฐานชุกชี
มีพระเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองเป็นตัวเชื่อมและอยู่เป็นใจกลาง
ของพระอุโบสถ-พระวิหาร




อาคารทรงจัตุรมุข เป็นทั้งพระอุโบสถและพระวิหารในหลังเดียวกัน
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ องค์หันพระปฤษฎางค์ชนกัน
และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ปู่ม่าน ย่าม่าน ตำนานกระซิบรักบันลือโลก"
และภาพภาพพุทธประวัติ ภาพชาดก ภาพวิถีชาวเมืองน่านในอดีตให้ได้สัมผัสชื่นชม


เสาไม้พอกปูนทับ จากนั้นลงรักปิดทองสลักเป็นลวดลายต่างๆ อย่างงดงาม





ประวัติจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์
สันนิษฐานว่าจิตรกรรมบนฝาผนังด้านสกัดของมุขทั้ง ๔ น่าจะเริ่มเขียนขึ้นภายหลังการปฏิสังขรณ์พระวิหารในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช โดยศิลปินนาม “หนานบัวผัน” และศิลปินนิรนามผู้ร่วมงานสร้างสรรค์อีก ๒-๓ คน ช่วงเวลาที่เริ่มเขียนอาจเป็นปี พ.ศ.๒๔๒๐-๒๔๒๒  โดยจัดแบ่งพื้นที่เขียนภาพพุทธประวัติ ภาพชาดกเรื่องคัทธณะกุมารชาดก  สำหรับภาพพุทธประวัติได้เขียนขนาดภาพค่อนข้างใหญ่ประมาณขนาดเท่าคนจริงอยู่ด้านบนผนังด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศใต้ ทั้ง ๓ ด้าน  เขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย มีพระสาวกนั่งประนมมืออยู่ข้างละ ๒ องค์ในรูปลักษณะพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม   และเขียนภาพที่มีสัดส่วนคนขนาดเล็กในลักษณะเล่าเรื่องราวชาดกบริเวณพื้นผนังถัดลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งสามด้าน โดยเริ่มต้นเขียนจากผนังด้านทิศตะวันตก ซึ่งผนังด้านทิศตะวันตกนี้ศิลปินได้เขียนภาพบริเวณด้านบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในลักษณะปางไสยาสน์ มีพระสาวกนั่งแสดงอาการเศร้าโศกเสียใจอยู่ ๔ องค์ ถัดลงมาเป็นภาพเล่าเรื่อง เนมีราชชาดก

“หนานบัวผัน” ชอบใช้สีแดงชาดและสีครามระบายพื้นภาพเพื่อรองรับการเขียนภาพบุคคลและภาพตามเนื้อหาชาดก เพื่อให้ภาพมีลักษณะนุ่มนวลละเมียดละไม   ศิลปินได้แสดงความสามารถในการทำให้ภาพทั้งหมดของจิตรกรรมฝาผนังทั้งภาพพุทธประวัติ ภาพชาดก ภาพบุคคล ฯลฯ มีความประสมประสานกันได้อย่างกลมกลืนด้วยการไม่ใช้เส้นแบ่งคั่นสร้างกรอบภาพใดๆ แต่จะจัดวางตำแหน่งภาพ การเว้นช่องว่างและการสร้างความต่อเนื่องด้วยฉากธรรมชาติตลอดจนสีพื้นหลังให้เชื่อมโยงภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด จึงเป็นลักษณะอันโดดเด่นของการแสดงออกอย่างอิสระทางอารมณ์ของศิลปินผู้วาด



ภาพวิจิตรงดงาม พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว
มีพุทธสาวกนั่งประนมมือขนาบซ้าย-ขวา


สตรีสามัญชนถ้ายังโสดจะมีผ้าคล้องไหล่ ถ้าแต่งงานแล้วจะเปลือยอก


ลักษณะการแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์นครน่าน






วิถีชีวิตชาวน่านที่เรียบง่าย สงบ แสดงออกด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสที่ใบหน้ากลมแป้น  
คิ้วโค้งรูปวงพระจันทร์ นัยน์ตาเจ้าชู้กรุ้มกริ่ม ริมฝีปากเล็กรูปกระจับ














3289  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / "ต้องศรกามเทพ" สำนวน "รักแรกพบ" เมื่อ: 18 มกราคม 2559 16:38:48



ต้องศรกามเทพ

ต้องศรกามเทพ หมายถึง “บังเกิดความรักขึ้นโดยกะทันหันหรือลุ่มหลงในความรักจนถอนตัวไม่ขึ้น ราวกับถูกศรกามเทพทิ่มแทงเข้าไปในใจฉะนั้น”

กามเทพป็นเทพเจ้าในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก  มักจะบรรยายภาพเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีปีก มีอาวุธเป็นคันศรและธนู คันศรนั้นทำมาจากลำอ้อย มีผึ้งตอม และลูกศรประดับด้วยดอกไม้หอม ๕ ชนิด มีสหายเป็นนกดุเหว่า นกแก้ว ผึ้ง ฤดูใบไม้ผลิ และสายลมเอื่อย ทั้งหมดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ  เรื่องราวของกามเทพมีที่มาจากวรรณคดีสันสกฤตโบราณ ตั้งแต่ยุคพระเวท ๔,๐๐๐ ปี เรื่อยมาจนถึงสมัยมหากาพย์และปุราณะ (ก่อนศตวรรษที่ ๒๕ เล็กน้อย)

ในสมัยพระเวทเริ่มแต่ฤคเวทสํหิตา กล่าวว่า กามเทพ เป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างและเกิดมาพร้อมกับการสร้างโลก จึงได้ชื่อว่าเป็นเทพที่เก่าแก่ที่สุด เพราะเกิดมาพร้อมกับจักรวาลโลก และในขณะเดียวกันก็เป็นเทพที่หนุ่มที่สุด เพราะความรักเกิดขึ้นทุกวัน ไม่มีวันเสื่อมคลาย  ในยุคพระเวทสมัยหลังมีการอ้างถึงกำเนิดของกามเทพว่า กามเทพเป็นโอรสของธรรมเทพ (พระยม) กับนางศรัทธา ต่อมาถึงสมัยมหากาพย์และปุราณะ อันเป็นช่วงของศาสนาพราหมณ์ มีการอ้างว่ากามเทพนั้นเป็นโอรสของพระวิษณุ (นารายณ์) กับพระลักษมี บางทีกล่าวว่ากามเทพเป็นโอรสของพระพรหม และกามเทพมีชายาชื่อรตี (แปลว่า “ความยินดี”) ธิดาของประสุติและทักษะ

กามเทพในคัมภีร์ปุราณะ อ้างว่าเกิดจากน้ำ จึงได้ชื่อว่า “อิราช” และบางคัมภีร์ว่ากามเทพเกิดขึ้นเอง ไร้พ่อและแม่ จึงเรียกว่า “อาตมภู” และบางแห่งก็เรียกว่า “อนันยช” แปลว่า “จะเกิดจากใครอื่นก็หาไม่” กามเทพนั้นเป็นเทพแห่งความรัก เช่นเดียวกับเทพ Eros ของกรีก และ Cupid ของโรมัน กามเทพในคัมภีร์ปุราณะต่างๆ นั้นเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีนกแก้วเป็นพาหนะ มีคณานางอัปสรเป็นบริวารแวดล้อมโดยรอบ นางหนึ่งถือธงแดง มีรูปปลามังกรอยู่ตรงกลาง ตัวกามเทพนั้นถือคันศรที่ทำจากลำอ้อย มีสายธนูเป็นตัวผึ้งต่อกัน มีลูกศรอันมีคมเสียบด้วยดอกไม้ ๕ ชนิดอันมีชื่อว่า บุษปศร ประกอบด้วย ดอกอรวินทะ (บัวขาว) ดอกอโศก ดอกมะม่วง (จูตะหรืออามระ) ดอกมะลิ (นวมัลลิกา) ดอกนิลุบล หรือนีโลตบล (บัวสีน้ำเงิน)

นอกจากศรดอกไม้ทั้ง ๕ ดังกล่าวนี้แล้ว คัมภีร์อมรโกศของอมรสิงห์ ยังอ้างว่ากามเทพมีศรอีก ๕ ดอกชื่อ อนุมาทนะ ตาปนะ โศษณ สตัมภนะ และสัมโมหนะ

และเพราะความที่ลำพองตนในอำนาจศรของตน กามเทพจึงกระทำความผิดต่อองค์พระมหาเทพ (ศิวะ) ทำให้พระองค์ต้องสังหารกามเทพเสียด้วยไฟจากพระเนตรที่ ๓ ของพระองค์เอง ดังมีเรื่องปรากฏในรามายณะของวาลมีกิ พาลกาณฑ์ บทที่ ๒๓ ความว่า “เมื่อพระศิวะสูญเสียพระสตีผู้เป็นชายาไปแล้ว มีความเศร้าโศกมาก เสด็จไปบำเพ็ญตบะในภูเขาแห่งหนึ่ง และเลิกติดต่อกับบุคคลทั้งหลายโดยสิ้นเชิง ในระยะเวลาดังกล่าว ปรากฏว่าอสูรชื่อตารกะก่อความเดือดร้อนต่อโลกและสวรรค์ทั่วไป ทวยเทพไปทูลเชิญพระศิวะให้มาปราบอสูรผู้นั้น แต่พระองค์ไม่ไยดี ทวยเทพจึงไปเฝ้าพระพรหมขอให้ช่วย พระพรหมแจ้งแก่เหล่าเทพว่า บัดนี้พระสตีไปเกิดเป็นพระอุมาธิดาของท้าวหิมวัตแห่งภูเขาหิมาลัยและพระนางเมนาแล้ว ถ้าพระศิวะได้แต่งงานกับนางจะมีบุตรเป็นเทพแห่งสงคราม (คือ พระสกันทกุมาร ซึ่งเราเรียกกันว่า “พระขันทกุมาร”) และพระกุมารนั้นจะเป็นผู้ฆ่าตารกาสูรให้สิ้นไป ทวยเทพจึงไปวอนกามเทพให้ช่วยเหลือ กามเทพจึงเชิญพระอุมาให้มาประทับตรงเบื้องพระพักตร์พระศิวะ แล้วกามเทพกับพระวสันต์ก็บันดาลให้เกิดวสันตฤดูขึ้น ทำให้บริเวณโดยรอบสดใสงดงามและกามเทพก็ยิงบุษปศรไปต้องพระอุระของพระอิศวร พระอิศวรถูกศรก็สะดุ้ง ลืมพระเนตรทันดี แลเห็นพระอุมาอยู่ตรงหน้าก็บังเกิดความเสน่หาขึ้นทันที แต่เมื่อเหลียวไปพบกามเทพ ก็ทราบเรื่องโดยตลอด ทรงแค้นเคืองกามเทพมาก จึงลืมพระเนตรที่ ๓ บนพระนลาฏ เป็นไฟกรดเผาผลาญกามเทพไหม้เป็นจุณไป กามเทพจึงไม่มีร่างกายตั้งแต่บัดนั้น และได้นามว่าพระอนงค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นางรติผู้เป็นชายาของกามเทพได้ทูลอ้อนวอนขอโทษอยู่ช้านาน พระมหาเทพจึงช่วยให้กามเทพไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นลูกชายของพระกฤษณะ (นารายณ์อวตารปางที่ ๘) กษัตริย์เมืองทวารกา ชื่อประทยุมน์ และให้นางรตีลงไปเกิดเป็นนางมายาวดี ได้เป็นชายาของพระประทยุมน์สมความปรารถนา”
3290  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / รักบังใบ ขับร้องโดย ดาวรุ่งสุนทราภรณ์ "รัตนสุดา วสุวัต" เมื่อ: 18 มกราคม 2559 16:17:34
.


รักบังใบ - รัตนสุดา วสุวัต


รักบังใบ

ขับร้องโดย ดาวรุ่งสุนทราภรณ์ "รัตนสุดา วสุวัต"
3291  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ แกงเหลืองมะรุมกับปลาซาบะ เมื่อ: 17 มกราคม 2559 10:30:01
.


แกงเหลืองมะรุมกับปลาซาบะ

• เดรื่องปรุง
- ปลาซาบะ 400 กรัม
- มะรุมขูดเอาแต่เนื้อ 300 กรัม
- น้ำมะขามเปียก
- น้ำปลาดี


เครื่องปรุงน้ำพริก
- กระเทียมไทย ½ หัว
- หอมแดง 5-7 หัว
- ขมิ้นปอกเปลือก ยาวประมาณ 2 นิ้ว
- พริกขี้หนูแห้ง 20-35 เม็ด
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- ข้าวสาร  ½ ช้อนโต๊ะ
- กะปิใต้ 1+½ ช้อนโต๊ะ  


วิธีทำ
1.โขกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด ใส่กะปิโขลกพอเข้ากัน
2.มะรุมขูดเอาแต่เนื้อและเมล็ด ล้างให้สะอาดผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
3.ทำความสะอาดปลาซาบะ หั่นชิ้นตามขวาง ล้างให้สะอาด ใส่ภาชนะทนความร้อน
   ต้มน้ำให้เดือดจัด แล้วราดในชามปลา พักไว้สักครู่เทน้ำทิ้ง (วิธีกำจัดกลิ่นคาวปลา)
4.ต้มน้ำสะอาดให้เดือด ใส่พริกแกงลงเคี่ยวสักครู่ ใส่ปลา มะรุม พอสุกปรุงรสด้วยน้ำปลาดีและน้ำมะขามเปียก









วิธีขูดเนื้อมะรุม (ง่ายนิดเดียว) : จับฝักมะรุม ใช้มืออีกข้างบิดฝักไปมา รอยแยกของฝักมะรุมจะแตกออกเป็นสามเสี้ยว
แยกส่วนออกจากกัน แกะเมล็ดออก แล้วใช้ช้อนขูดเนื้อมะรุมออกจากเปลือกหุ้มฝัก


ส่วนผสมพริกแกงเหลือง ใส่ข้าวสารแข่น้ำสักครู่ลงไปโขลกเข้าด้วยกัน จะทำให้น้ำแกงข้นรสชาติอร่อย









3292  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / Re: แฝดสยามอิน-จัน เมื่อ: 15 มกราคม 2559 16:47:35
.


• ฟ้าลิขิตเด็กแฝดจากแม่กลองต้องไปอเมริกา

นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) ที่ชาวสยามเรียกสะดวกปากว่านายหันแตร พ่อค้าอังกฤษเชื้อสายสก๊อต เจ้าของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ๔ ลำที่กล้าหาญชาญชัยมาเปิดห้างสรรพสินค้าแห่งแรกบนแผ่นดินสยาม ที่บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ทอดสะพานปรับทุกข์ผูกมิตรกับนางนากและครอบครัวของแฝดอิน-จัน มานานโข รอเวลาให้แฝดประหลาดคู่นี้มีอายุถึง ๑๘ ปี

หันแตรไปมาหาสู่จนสนิทสนมกับทุกคนในครอบครัวอิน-จัน หัวข้อที่พูดคุยกันคือ ลอนดอนเปรียบได้กับศูนย์กลางของโลก

หันแตรรอคอยด้วยความอดทน ใช้ความรอบคอบสุขุม ไม่บุ่มบ่าม จะกินอาหารให้อร่อยต้องใจเย็นๆ แฝดหนุ่มเพิ่งนมแตกพาน อายุ ๑๔ เศษๆ ยังไม่รู้จักหัวนอนปลายตีนกัน น่าจะรอให้สนิทสนมกันอีกสักหน่อย ถ้าจะพาไปทำมาหากินในยุโรป ควรต้องอายุ ๑๘ ปี จึงจะงามพร้อมสรรพ

ผู้อ่านที่เคารพหลายท่านฝากให้ผู้เขียนพรรณนาถึงรูปร่างหน้าตาของแฝดสยามที่ออกไปสร้างชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกพร้อมทั้งหาภาพที่เชื่อถือได้มาให้ยลโฉมกันหน่อย...ยินดีจัดให้ครับข้อมูลจากเอกสารห้องสมุดในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่รวบรวมเรื่องราวคนประหลาดจากสยามบรรยายไว้อย่างน่าตื่นเต้นดังนี้ครับ

รูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า หน้า และทรงผมของแฝดอิน-จัน

พระเจ้าประทานพรอันเป็นมงคลสูงสุดให้แก่แฝดอิน-จันสยาม เพราะว่าในโลกนี้มีแฝดตัวติดกัน หัวติดกัน ตูดติดกันอีกหลายคู่ แต่แฝดเหล่านั้นทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย มีชีวิตแบบประคองกันไปอยู่เพื่อรอวันตาย ไม่โลดโผนพิสดี้พิสดาร ไม่มีตำนานเล่าขานระดับโลกเหมือนกับแฝดสยามจากปากน้ำแม่กลองคู่นี้

อิน-จันมีก้อนเนื้อรูปทรงเหมือนกระบอกข้าวหลามยาวประมาณ ๓.๕ นิ้ว (ช่วงแรกเกิด) เชื่อมตัวติดกันบริเวณหน้าอก สุขภาพดี แข็งแรง สมบูรณ์ ร่าเริงแจ่มใสเบิกบานมาโดยตลอด ด้วยความที่นายตีอายผู้เป็นพ่อมีเชื้อสายจีน แม่ชื่อนางนาก ก็มีสายโลหิตจีนส่วนหนึ่ง จึงทำให้หน้าตาท่าทางแฝดคู่นี้ออกไปทางลูกจีน จนชาวบ้านแถวนั้นบางคนชอบเรียกว่าแฝดจีน

ข้อมูลทางวิชาการแพทย์ที่นำมาบอกกล่าวแบบง่ายๆ ครับ
แฝดตัวติดกัน (Co joined Twins) คือแฝดร่วมไข่ซึ่งมีร่างกายติดกันแต่กำเนิด มีโอกาสเกิดประมาณ ๑ ใน ๕๐,๐๐๐ คน ถึง ๑ ใน ๒๐๐,๐๐๐ คน ประมาณครึ่งหนึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ตอนคลอด ส่วนที่รอดมาได้ก็จะมีความผิดปกติทางร่างกาย แฝดตัวติดกันร้อยละ ๗๐-๗๕ จะเป็นผู้หญิง

แฝดอิน-จันเป็นกรณีศึกษาสำคัญที่หาได้ยากมากสำหรับแพทย์ในยุโรปและอเมริกายุคก่อน พ.ศ.๒๔๑๗ ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษแทบทุกสำนักจะมีคำว่า Siamese Twins ปรากฏอยู่ โดยมีคำอธิบายทำนองว่า เป็นแฝดที่ตัวติดกันแต่กำเนิดทุกชนิด ไม่ว่าอวัยวะส่วนใดของร่างกายก็ตาม

ผู้เขียนพบข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก รพ.พระเจ้าตากสินมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร บางส่วนจึงขอนำมาถ่ายทอด ความว่า
แฝดสยาม (Siamese Twins) แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
   ๑.อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนกลางของร่างกาย เช่น หน้าอก ท้อง
   ๒.อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณเชิงกราน
   ๓.อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนล่าง เช่น ก้นกบ สะโพก
   ๔.อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนบน เช่น ศีรษะ

ประเภทที่ ๑ พบมากที่สุด และประเภทที่ ๔ พบน้อยที่สุด

นายตีอายและนางนากเลี้ยงดูป้อนข้าวป้อนน้ำแฝดน้อยตั้งแต่เกิด เค้าทั้งสองก็เหมือนกับเด็กทั่วไปแถวหมู่บ้าน เดิน นั่ง นอน ยืน กินข้าว อาบน้ำ สนุกสนาน ก็ทำได้แบบสอดประสานเหมือนคนคนเดียว

ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับแฝดคู่นี้คือ การไว้ผมเปียหางยาวแบบลูกจีน หรือแม้กระทั่งเด็กสยามสมัยก่อน ไปถึงอเมริกาเดินทางต่อไปในยุโรปก็ยังคงเอกลักษณ์ไว้ผมเปีย ที่เท่สุดขอบฟ้าสยาม

บ้านเกิดของแฝดที่มีพี่น้องรวม ๙ คน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ แฝดคู่นี้เลยว่ายน้ำเก่งเหมือนลูกแม่น้ำทั้งหลาย เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มใหญ่โตเต็มที่ อินสูง ๕ ฟุต ๒ นิ้ว และจันสูง ๕ ฟุต ๑ นิ้ว (แพทย์ชาวอเมริกันบันทึกไว้ในรายงานทางการแพทย์เมื่อไปถึงอเมริกา)

ในขณะที่คู่แฝดนอนหลับ ไม่มีท่าทางอะไรที่พิสดาร ถึงแม้ตัวติดกัน ก็จัดท่าทางการนอนให้ลงตัวได้เป็นอิสระจากกัน แต่ก้อนเนื้อที่เชื่อมหน้าอกที่ยาว ๓.๕ นิ้ว เลยทำให้แฝดต้องนอนหันหน้าชนกัน ทั้งสองคนเป็นคนนอนง่าย นอนหลับสนิท และจะตื่นนอนในเวลาใกล้เคียงกันเสมอ

ในขณะที่ผู้คนทั้งหลายนึกคิดว่า ไอ้เด็กตัวติดกันคู่นี้น่าจะกระโดกกระเดก เงอะงะ งุ่มง่าม แต่ในทางตรงข้าม เด็กน้อยที่น่ารักน่าชังคู่นี้กลับเป็นนักวิ่งแข่งฝีเท้าเยี่ยมที่เรานึกไม่ถึง วิ่งแข่งกับเพื่อนเด็กในหมู่บ้านทีไรไม่เคยแพ้ใคร แถมยังท้าว่ายน้ำแข่งกับผู้คนได้ทุกโอกาส

ถ้าจะว่าไปแล้วแฝดอิน-จัน เปรียบได้กับเครื่องยนต์ ๒ แรงม้า ย่อมมีกำลังเหนือกว่าเครื่องยนต์ ๑ แรงม้าแน่นอน

ในเรื่องชีวิตประจำวัน ทั้งคู่ชอบกินอาหารเหมือนๆ กัน กินอาหารได้มาก แปลว่ากินจุ

ข้อมูลเบ็ดเตล็ดที่หาได้ยากครับ ผู้เขียนถอดความเรียบเรียงมาจากหนังสือเก่ามากเรื่อง Siamese Twins, Chang and Eng โดย Thomas W. Strong ที่เรียบเรียงไว้ในอเมริกาเมื่อราว ๒๐๐ ปีที่แล้ว และมีข้อมูลทางการแพทย์อีกหลายตอนที่แพทย์ในอเมริกาและคณะแพทย์ในอังกฤษศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลองเอาเข็มจิ้มเอายาให้กินเอาเหล้าให้กินสารพัดหมอทั้งหลายกระเหี้ยนกระหือรือ

ขอเก็บเป็นข้อมูลทางการแพทย์ ในขณะข้อมูลในไทยหาไม่ได้เลย

ท่านผู้อ่านที่เคารพหลายท่านคงอยากที่จะรู้ว่า ไอ้คนตัวติดกันคู่นี้ เค้ากิน นอน โลภ โกรธ หลง หัวเราะ ร้องไห้ ร่วมกันยังไง อินกับจัน

คุยกันมั้ย ถ้าคุยกัน คุยเรื่องอะไร เคยยืมเงินกันมั้ย เคยโกรธกันมั้ย เค้าจีบสาวกันยังไง ไปเข้าห้องน้ำพร้อมกันมั้ย ตอนเรียนภาษาจีนเค้าถามกันมั้ย เรื่องแบบนี้น่าสนใจครับ

ผู้เขียนเองก็พยายามที่จะค้นมาเล่าสู่กันฟังให้มากที่สุดครับ ส่วนผู้เขียนเองก็อยากทราบเหมือนกันว่า ถ้าเราเอานิ้วไปแหย่จั๊กจี้ที่เอวอิน แล้วจันจะหัวเราะมั้ย?

การทดสอบ ค้นคว้า ทดลองทางการแพทย์ทั้งปวงไปทำกันในต่างประเทศทั้งสิ้นโดยคณะแพทย์ในอังกฤษ อเมริกาครับ การทดลองหลายๆ ครั้งก็ทำเอาแฝดสยามหงุดหงิดรำคาญเช่นกัน ซึ่งจะลำเลียงข้อมูลมาให้อ่านกันแบบจุใจตามลำดับ

กลับมาที่ปากน้ำแม่กลอง สมุทรสงครามครับ

หลังจากเจอแฝดตัวเป็นๆ ที่แม่กลอง นายฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษครุ่นคิดไม่หยุด เทียวไปเทียวมาระหว่างบางกอกกับที่บ้านของอิน-จัน ที่ปากน้ำแม่กลอง หาหนทางที่จะต้องนำแฝดทำเงินจากสยามไปทำเงินในอังกฤษ ในยุโรปและอเมริกาให้จงได้

นายหันแตรใช้ความอุตสาหะ ความเพียร เล่านิทานเรื่องราวในอเมริกา เรื่องยุโรป และเรื่องรายได้เป็นกอบเป็นกำให้นางนากฟังทุกครั้งที่มาพบ เพื่อโน้มน้าวให้นางอนุญาตลูกแฝดไปหาเงินกลับมาสร้างบ้านที่ปากน้ำแม่กลอง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สนุกสนานชวนหัวไม่น้อย

ท่านผู้อ่านกรุณาจินตนาการถึงสภาพกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยในหลวง ร.๓ นะครับ ชาวตะวันตกที่เรียกว่าฝรั่ง เข้ามาทำมาค้าขายคึกคักไปหมด ชาวสยามคงมีความฝันที่จะเห็นอเมริกาและยุโรป

อเมริกากำลังสร้างบ้าน สร้างเมืองเป็นมหาอำนาจแข่งกับยุโรป ส่งมิชชันนารีและนายแพทย์เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในบางกอก ดูแลรักษาพยาบาลให้กับบุคคลสำคัญในราชสำนัก (ทำงานควบคู่กันไป ชาวสยามเลยเรียกรวมว่าหมอสอนศาสนา) และบุกเบิกงานทางการแพทย์แผนใหม่อย่างได้ผล ชาวสยามให้การยอมรับนับถือการทำงานของแพทย์และมิชชันนารีอเมริกันอย่างออกหน้าออกตา หมอบรัดเลย์ แพทยศาสตร์บัณฑิตจากนิวยอร์ก พร้อมครอบครัว ที่ชาวสยามเรียกว่าปลัดเล เข้ามาผ่าตัดให้พระสงฆ์ที่วัดประยุรฯเป็นครั้งแรกในสยาม ปลัดเลตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์เอกสารให้ราชการเป็นครั้งแรกก่อนใคร ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ให้ชาวสยามและชาวต่างประเทศได้อ่านกันเป็นครั้งแรกก่อนเพื่อน และสร้างสรรค์หลายเรื่องให้กับแผ่นดินสยาม

สหรัฐในขณะนั้นไม่มีท่าทีคุกคามที่จะแย่งยึดครอบครองดินแดนของสยามในลักษณะอาณานิคมแต่ประการใด ตรงกันข้ามกับอังกฤษและฝรั่งเศสที่แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนในลัทธินักล่าอาณานิคม

นายหันแตรพ่อค้าชาวอังกฤษต้องการเอาตัวแฝดหนุ่มไปทำมาหากินให้ได้ อดทนคอยมา ๓ ปีเศษ เพื่อความชัวร์เลยต้องไปพึ่งบริการจากกัปตันคอฟฟิน ชาวอเมริกัน

ตัวละครอีก ๑ ที่สวรรค์ส่งเขาลงมาล้อเล่น แบบหมาหยอกไก่กับโชคชะตาของแฝดสยาม

กัปตันเอเบล คอฟฟิน (Abel Coffin) ชาวอเมริกันผู้กว้างขวาง นักเดินเรือระดับโลกที่ไปมา ๗ คาบสมุทร เห็นดีเห็นงามไปกับนายฮันเตอร์ที่จะต้องเกลี้ยกล่อมทุกฝ่ายให้เห็นชอบนำตัวแฝดคู่นี้ไปอเมริกาให้จงได้ โอกาสทองกำลังรออยู่ในอเมริกา โดยกัปตันคอฟฟินรับอาสาจะคุยกับผู้ใหญ่ในบางกอก เรียกแบบสมัยนิยมก็ต้องเรียกว่ากัปตันคอฟฟิน จะไปเคลียร์กับทางราชการในประเด็นข้อกฎหมายของสยามให้สะดวกโล่งทั้งหมด และนายฮันเตอร์ต้องไปเคลียร์กับนางนากเอง

ฝรั่งทั้งสองคนวางแผนว่าจะนำแฝดประหลาดจากสยามไปทำธุรกิจแสดงตัวเก็บเงินในอเมริกาสัก ๓ ปี ดีดลูกคิดไปมาแล้ว ค่ากินอยู่หลับนอน เฮ้ย.. ยังไงก็ได้กำไรแน่นอน สินค้าตัวนี้โดนแน่ๆ พาไปอเมริกาเที่ยวนี้รวยลูกเดียว

๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๗๒ คือวันที่ชะตาฟ้าลิขิตให้แฝดหนุ่มอายุย่าง ๑๘ ปี จากปากน้ำแม่กลอง เมืองสมุทรสงคราม ตัดใจลาจากนางนากแม่บังเกิดเกล้า อำลาเพื่อนฝูงทั้งหลายในแผ่นดินสยามลงเรือชื่อซาเคม (Sachem) เดินทางข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรเพื่อมุ่งหน้าสู่บอสตัน อเมริกา เด็กหนุ่มทั้งสองที่จะต้องทำฝันให้เป็นจริงให้จงได้

ประวัติศาสตร์ช่วงนี้บันทึกชัดเจนว่า หัวหน้าคณะมิชชันนารีของอเมริกาในบางกอก ฝากจดหมายไปกับกัปตันคอฟฟิน เพื่อให้รัฐบาลสหรัฐเร่งจัดส่งมิชชันนารีมาช่วยทำงานเพิ่มในสยามอีก เพราะชาวสยามมีนิสัยใจคอเป็นมิตรที่ดีงาม เอื้อเฟื้อ และจดหมายที่ฝากไปกับอีตาคอฟฟินนี่แหละที่ทำให้มีแพทย์ นักการศึกษา บุคคลสำคัญจากอเมริกาเฮโลกันเข้ามาทำงาน สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน สร้างโบสถ์ วางระบบการศึกษาให้สยามมีพัฒนาการเติบใหญ่ในหลายมิติ

ท่านผู้อ่านที่เคารพคงต้องเอาใจช่วยอิน-จันกันหน่อยครับ เกิดมาไม่เคยเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรออกทะเลลึก ภาษาอังกฤษคือความมืดทึบ กัปตันคอฟฟินและนายฮันเตอร์จะไว้ใจได้หรือ ไอ้ฝรั่ง ๒ คนนี้มันจะเอาคนประหลาดจากสยามไปต้มยำทำแกงเยี่ยงไร เมืองอเมริกาหน้าตาเป็นยังไง ร้อยแปดคำถามอันแน่นในอกของแฝดหนุ่มอิน-จัน รวมทั้งนางนากผู้เป็นแม่ที่แสนจะห่วงหาลูกในอุทร

ท่านผู้อ่านลองคิดเล่นๆ นะครับว่า ถ้าท่านเป็นแฝดอิน-จัน ภายใต้บริบทนั้น ท่านจะกล้าลงเรือไปอเมริกากะเค้ามั้ย?

อิน-จัน ขอไปตายเอาดาบหน้าในอเมริกา แฝดสยามที่มีใจดุจเหล็กเพชรคู่แรกที่กล้าล้อเล่นกับโชคชะตาจะเจอะเจอกับอะไรในอเมริกา


มีต่อ
3293  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ แกงผักกาด อาหารพื้นบ้านลานนาไทย เมื่อ: 14 มกราคม 2559 16:35:13
.



แกงผักกาด
อาหารพื้นบ้านลานนาไทย

• เดรื่องปรุง
- ผักกวางตุ้ง 200 กรัม
- ซี่โครงหมู 300 กรัม
- เกลือหรือน้ำปลาดี


• เครื่องแกง
- พริกแห้ง 7-15 เม็ด
- กระเทียมไทย ½ หัว
- หอมแดงไทย 5-7 หัว
- กะปิ ½ ช้อนชา



• วิธีทำ
1.โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด ตามด้วยกะปิ โขลกให้เข้ากัน
2.ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย ใส่เครื่องแกงลงไปผัดด้วยไฟอ่อนจนหอม
3.ใส่ซี่โครงหมูลงไปผัดให้เข้ากันกับเครื่องแกง  ตักใส่หม้อ เติมน้ำให้ท่วมหมู ปิดฝาเคี่ยวจนซี่โครงเปื่อย
4.ใส่ผักกวางตุ้ง พอผักสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลาดีหรือเกลือ

* ผักที่ใช้ "แกงผักกาด" นิยมใช้ผักกวางตุ้ง หรือผักกาดเขียว ส่วนเนื้อสัตว์อาจใช้เนื้อไก่ เนื้อปลา ก็ได้




เครื่องปรุง ประกอบด้วย ผักกวางตุ้ง ซี่โครงหมู เครื่องแกง




ผัดเครื่องแกงด้วยน้ำมันเล็กน้อยจนหอม ใส่ซี่โครงหมูลงไป


ผัดให้เข้ากันกับเครื่องแกง


ตักใส่หม้อ เติมน้ำสะอาดให้ท่วมซี่โครงหมู


ปิดฝาหม้อ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนหมูเปื่อยยุ่ย


เร่งไฟให้แรง ใส่ผักกวางตุ้ง


พอผักสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี หรือเกลือ หรือน้ำปลาร้า

3294  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา เมื่อ: 14 มกราคม 2559 15:54:57


พระเจ้าองค์หลวงหรือพระเจ้าตนหลวง

พระเจ้าองค์หลวง หรือพระเจ้าตนหลวง
วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัดพะเยา เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย มีชื่อว่า พระเจ้าองค์หลวงหรือพระเจ้าตนหลวง ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๑๘ เมตร มีประวัติเล่าสืบกันมาอย่างพิสดารว่า พญานาคได้ปรากฏกาย นำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูป ซึ่งใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๓๓ ปี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๖๗

พระเจ้าองค์หลวง ไม่เป็นแค่เพียงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ทุกปีในช่วงวันวิสาขบูชาจะมีการนมัสการเป็นประจำ เรียกว่า งานนมัสการพระเจ้าองค์หลวง เดือนแปดเป็ง

• ประวัติการสร้างพระเจ้าองค์หลวง
ที่หน้าพระวิหารพระเจ้าตนหลวง ได้จารตัวอักษรไทยและล้านนาไว้ที่แผ่นศิลา กล่าวถึงประวัติการสร้างพระเจ้าองค์หลวงไว้ปรากฏดังนี้...จุลศักราช ๘๕๓ พุทธศักราช ๒๐๓๔ ปีล่วงได้ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำเม็ง วันพุธโตเมืองเหม้า ยอมกองงายได้ยกเสาอินทขิล (เสากระดูกสันหลังพระพุทธรูป) พระพุทธรูปขึ้น ตามดวงชาตาดังนี้ ลักขณาอยู่ราศีเมถุน ๑-๔ อยู่ราศีพฤษภ ๒ อยู่ราศีพฤศจิก ๓ อยู่ราศีกันย์ ๕ อยู่ราศีตุลย์ ๖ อยู่ราศีเมษ ๘ อยู่ราศีกุมภ์  ในสมัยพระยายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ พระยาเมืองยี่ครองเมืองพยาว (พะเยา) สองตายายแรกก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้าตนหลวง ลงมือก่อสร้างได้ ๔ ปี พระยายอดเชียงรายกับพระยาเมืองยี่ทั้งสองพระองค์ก็มาถึงแก่พิราลัยไปในปีเดียวกับพระเมืองแก้ว พระราชโอรสพระยายอดขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายเมืองพยาวพระยาหัวเคียนราชโอรสของพระยายี่ขึ้นครองเมืองแทน ครองได้ ๒๐ ปีก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้ายังไม่เสร็จ พระยาหัวเคียนก็มาถึงแก่อนิจกรรมไป พระเมืองแก้วจึงให้พระเมืองตู้ราชโอรสของพระยาหัวเคียนขึ้นครองเมืองพยาว สองตายายผัวเมียก่อสร้างพระเจ้าตนหลวงอยู่เรื่อยๆ จนถึงจุลศักราชได้ ๘๘๖ ตัวพุทธศักราชได้ ๒๐๖๗ ในปีกาบสิ้นเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ยามกองงายเอาเขบ็ดหน้าแล้วเสร็จบริบูรณ์ รวมการก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้าตนหลวงนานได้ ๓๓ ปี เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วพระยาเมืองตู้จึงส่งพระราชสาส์นไปทูลพระเมืองแก้วที่เมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงรู้แล้วมีความโสมนัสยินดีถวายพระราชทรัพย์ทองคำ ๓๐๐๐ เงิน ๖๐๐๐ มาสร้างพระวิหาร ก่อสร้างเสร็จในปีรวายเสร็จเดือน ๘ เพ็ญ จึงให้ทำการฉลองสมโภชองค์พระเจ้าตนหลวง แล้วเบิกบายรวายศรีชื่อว่า “พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอื้องเมืองพยาว” แล้วพระเมืองแก้วกับพระเมืองตู้จึงพระราชทานชาวบ้านให้อยู่รักษาวัดรวม ๒๐ ครัวเรือน (ซาวครอบครัว) คือพระเมืองแก้วสิบครัวเรือนพระเมืองตู้สิบครัวเรือน แล้วร่วมกันกฎหมายเขตแดนวัดพระเจ้าตนหลวง ตามตำนานว่าไว้ดังนี้คือ ด้านทิศเหนือติดต่อดอยพระธาตุจอมทอง ด้านทิศใต้ติดกับวัดอุ่นหล้า ด้านทิศตะวันออกนับแต่วัดอุ่นหล้าไป ๑๐๐๐ วา และด้านทิศตะวันตกออกไป ๕๐๐ วา เพื่อให้เป็นที่อภัยแก่นักและกระแตปูปลาทั้งหลายอันอาศัยอยู่ในพุทธอันตรเขต เหตุไม่ให้คนทั้งหลายกระทำร้ายแก่สัตว์และต้นไม้อันอยู่ในโขงเขตอารามมีฉันนี้แล



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินยังวัดศรีโคมคำ ทรงนมัสการพระเจ้าตนหลวง
ในวิหารวัดศรีโคมคำ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๑


วิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง


พระประธานพระอุโบสถวัดศรีโคมคำ




พระอุโบสถลอยน้ำวัดศรีโคมดำ ด้านหลังพระอุโบสถคือกว๊านพะเยา


รูปหล่อโลหะครูบาศรีวิชัย ในวิหารอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย


รอยมือรอยเท้าครูบาศรีวิชัย
ในวิหารอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย วัดศรีโคมคำ


วิหารอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย






• เมืองพะเยา
พะเยา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือ พยาว มีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มาช้านาน ปรากฎตามตำนานเมืองพะเยาว่า กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองภูกามยาว มีดังนี้

ขุนจอมธรรม
ขุนจอมธรรม เป็นพระราชโอรสของขุนเงินหรือลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน เมื่อ พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช ๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน ดำริให้พระราชโอรส ๒ องค์ คือ ขุนชิน ให้อยู่ในราชสำนักครองนครเงินยางเชียงแสน และ ขุนจอมธรรม โอรสองค์ที่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้

ขุนจอมธรรมพร้อมข้าราชการบริวาร ขนเอาพระราชทรัพย์ บรรทุกม้า พร้อมพลช้าง พลม้า ตามเสด็จถึงเมืองภูกามยาว และตั้งรากฐานเมืองใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเมืองหนึ่ง นามว่า “สีหราช” อยู่เชิงเขาชมภูหางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่น้ำสายตา มีสัณฐานคล้ายลูกน้ำเต้า มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางตะวันตก (อันหมายถึงกว๊านพะเยาในปัจจุบัน) และทางทิศอีสาน คือ หนองหวีและหนองแว่น

ขุนจอมธรรมปกครองไพร่ฟ้าประชาชน โดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคสมบัติ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ไม่มีสงคราม เจ้าประเทศราชต่าง  มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทรงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยหลักธรรม ๒ประการ คือ อปริหานิยธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๑ประเพณีธรรมขนบธรรมเนียมอันเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงานของครอบครัว ๑

ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยาได้ ๒ ปี มีโอรส ๑ พระองค์ โหรถวายคำพยากรณ์ว่า ราชบุตรองค์นี้จะเป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป มีบุญญาธิการมากเวลาประสูติ มีของทิพย์เกิดขึ้น ๓ อย่าง คือ แส้ทิพย์ พระแสงทิพย์ คณโฑทิพย์ จึงให้พระนามว่า “ขุนเจื๋อง” ต่อมาอีก ๓ ปี ได้ราชบุตรอีกพระนามว่า “ขุนจอง” หรือ “ชิง”  ขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาได้ ๒๔ ปี พระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา

พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง
พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๖๔๑ เป็นโอรสของขุนจอมธรรม เมื่อเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาวิชายุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปล้ำ เพลงชัย จับช้าง จับม้า และเพลงอาวุธต่าง ๆ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน เห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ “จันทร์เทวี” ให้เป็นชายา ขุนเจื๋อง พระชนมายุได้ ๑๗ ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่พอพระทัย จึงยกธิดาชื่อ “นางแก้วกษัตริย์” ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง ๒๐๐ เชือก

ขุนเจื๋องครองราชย์สืบแทนขุนจอมธรรมเมื่อพระชนมายุ ๒๔ ปี ครองเมืองได้ ๖ ปี มีข้าศึกแกว (ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยางเชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุง ได้ส่งสาส์นขอให้ส่งไพร่พลไปช่วย ขุนเจื๋องได้รวบรวบรี้พลยกไปชุมนุมกันที่สนามดอนไชยหนองหลวง และเคลื่อนทัพเข้าตีข้าศึกแตกกระจัดกระจายไป เมื่อขุนชินทราบเรื่องก็เลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ทรงยกธิดาชื่อ “พระนางอั๊วคำคอน” ให้และสละราชสมบัตินครเงินยางเชียงแสนให้ขุนเจื๋องครองแทน เมื่อขุนเจื๋องได้ครองราชเมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า “พระยาเจื๋องธรรมมิกราช” ได้มอบสมบัติให้โอรสชื่อ “ลาวเงินเรือง” ครองเมืองพะเยาแทน หัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อม ได้ราชธิดาแกวมาเป็นชายานามว่า “นางอู่แก้ว”

ขุนเจื๋องมีโอรส ๓ พระองค์คือ ท้าวผาเรือง ท้าวคำห้าว และท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพเข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองเหรัญนครเชียงแสน

ขุนเจื๋องครองราชย์สมบัติครองแคว้นล้านนาไทยได้ ๒๔ ปี ครองเมืองแกวได้ ๑๗ ปี รวมพระชนมายุ ๖๗ ปี ฝ่ายท้าวจอมผาเรืองราชบุตรขึ้นครองราชสมบัติเมืองพะเยาได้ ๑๔ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ขุนแพงโอรสครองราชย์ แทนได้ ๗ ปี ขุนซอง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า แย่งราชสมบัติ และได้ครองราชย์เมืองพะเยาต่อมาเป็นเวลา ๒๐ปี และมีผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา

พ่อขุนงำเมือง
พ่อขุนงำเมือง เป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ ๙ นับจากพ่อขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อพุทธศักราช ๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ ๑๔ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปะศาสตร์เทพในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน ๒ ปี จึงจบการศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤๅษี ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับ พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมผูกไมตรีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา ทรงเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วงเจ้า เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช ๑๓๑๐ พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงครองราชย์สืบแทน

ตำนานกล่าวถึงพ่อขุนงำเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า ทรงเป็นศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ไม่ชอบสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม ผูกไมตรีจิตต่อประเทศราช และเพื่อนบ้าน ขุนเม็งรายเคยคิดยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองล่วงรู้เหตุการณ์ก่อนแทนที่จะยกทัพเข้าต่อต้าน ได้สั่งไพร่พลให้อยู่ในความสงบ สั่งให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เชิญขุนเม็งรายเสวยพระกระยาหารและเลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกการทำสงครามแต่นั้นมา พ่อขุนงำเมืองจึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้าเม็งราย และทำสัญญาปฏิญาณต่อกันจะเป็นมิตรต่อกันตลอดไป



• เมืองพะเยาภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา
ตำนานที่กล่าวถึงเมืองพะเยา มีปรากฏในยุคของกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรล้านนา มีดังนี้

พระเจ้าติโลกราช
พระเจ้าติโลกราช ครองอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศักราช ๑๙๘๕-๒๐๓๐ มีการทำสงครามขยายพระเดชานุภาพนับได้หลายครั้งตลอดรัชสมัย ทรงตีเมืองฝาง เมืองน่าน เมืองยอง ไทลื้อ เมืองหลวงพระบาง เมืองของหลวง เมืองของน้อย เมืองเชียงรุ่ง (ปัจจุบัน คือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย ฯลฯ และมีเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มาสวามิภักดิ์ อาทิ เมืองเชลียง เมืองสองแคว (พิษณุโลก)

อาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ้ง (เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง )สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน และเมืองเชียงตุง(เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตกจรดรัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี  คือเมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง รวมกว่า ๑๑ เมือง ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก)

พระเจ้าติโลกราชทรงปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลา ๔๖ ปี บ้านเมืองมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระสงฆ์แตกฉานภาษาบาลี มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหรือสังคายนา เป็นครั้งที่ ๘ ของโลก ณ วัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๒๐

พระยายุธิษฐิระ
พระยายุธิษฐิระ หรือ พระยาสองแควเก่า เป็นพระโอรสของ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (พระบรมปาล) แห่งแคว้นสุโขทัย ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ เมืองสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอย่างสมบูรณ์
เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์อยุธยาเสด็จสวรรคต พระราเมศวรพระราชโอรส ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าเมืองสองแคว (สมัยนั้นเมืองสองแควมีความสำคัญรองจากอยุธยาในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง) เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา แล้วเถลิงพระนามเป็น "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" และให้พระยายุธิษฐิระ เป็นเจ้าเมืองสองแควแทน ตามหลักฐานในตำนานสิบห้าราชวงศ์เชียงใหม่และพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ก่อนที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสัญญาไว้กับพระยายุธิษฐิระ ว่า ถ้าพระองค์ได้เป็นกษัตริย์อยุธยาแล้ว จะทรงแต่งตั้งให้พระยายุธิษฐิระ ผู้เป็นพระญาติทางฝ่ายมารดา เป็นอุปราชครองแคว้นสุโขทัยทั้งหมด แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว หาได้ทรงกระทำตามสัญญาไม่ กลับโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระเป็นเพียงแค่เจ้าเมืองสองแควเท่านั้น นอกจากนั้น พระองค์ทรงจัดให้มีการปฏิรูปการปกครอง โดยลดความสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงของเมืองสองแควลง พร้อมยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้านายหรือพระญาติให้มาปกครองเมืองสำคัญ ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัยสูญเสียอำนาจและถูกลดบทบาทลง พระยายุธิษฐิระในฐานะเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไม่พอพระทัย จึงเกิดความขัดแย้งรุนแรงกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในที่สุดพระยายุธิษฐิระตัดสินพระทัยหันไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราช และช่วยพระเจ้าติโลกราชทำสงครามรบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพื่อชิงดินแดนสุโขทัยกลับคืนจากอยุธยา สงครามยืดเยื้อถึง ๗ ปีจึงสงบลง กองทัพล้านนาของพระเจ้าติโลกราชสามารถยึดครองเมืองสำคัญของสุโขทัยได้ครึ่งหนึ่ง เช่น เมืองทุ่งยั้ง เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนอยุธยาได้เมืองสองแคว เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย เมืองนครไทย

พระยายุธิษฐิระทรงได้รับปูนบำเน็จจากพระเจ้าติโลกราชโปรดชุบเลี้ยง ในตำแหน่งพระโอรสบุญธรรม ให้ครองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย รวมถึงพะเยาซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายอาคเนย์ ซึ่งรวมอาณาบริเวณเมืองพร้าว เมืองงาว และกาวน่าน การที่พระเจ้าติโลกราชทรงมอบเมืองพะเยาและกาวน่าน ให้พระยายุทธิษฐิระ ปกครองนั้น อันเนื่องมาจาก กลุ่มหัวเมืองอาคเนย์นี้เป็นหัวเมืองที่ได้มาใหม่ เจ้าเมืองกาวน่านเดิมมีเชื้อสายพระร่วงเจ้าทางราชนิกูล ส่วนทางเมืองพะเยา ก็ให้ความเคารพพระร่วงเจ้าสุโขทัยมาแต่ครั้งพ่อขุนงำเมืองนั่นเอง ต่อมาเมื่อเสียสุโขทัยและศรีสัชนาลัยแก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระยายุทธิษฐิระได้รับโปรดฯให้ไปเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา และหัวเมืองอาคเนย์

พระยายุธิษฐิระ ทรงทรงทำนุบำรุงเมืองพะเยาเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ทรงสร้างเวียงใหม่ ที่บ้านพองเต่า สร้างวัดป่าแดงหลวง (ปัจจุบัน ราชการได้ประกาศรวมกับวัดดอนไชยบุนนาค ที่อยู่ติดกันเป็นวัดเดียวกัน ชื่อว่า วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค) ทรงหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อนาค รวมถึงอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์ จากเมืองแจ้ตาก และ รอยพระพุทธบาท จากสุโขทัย มาประดิษฐานในเวียงใหม่ของพระองค์

จวบจนในปี ๒๐๒๒ ทรงมีคดีกับพระเจ้าติโลกราช จึงทรงถูกถอดยศเจ้าเมืองออก แต่ยังได้ความปราณี ยังคงชุบเลี้ยงในฐานะพระโอรสบุญธรรมต่อไป ส่วนเมืองพะเยา พระเจ้าติโลกราชทรงเวนราชสมบัติให้นางเจ้าหมื่นเมืองพะเยาปกครองต่อ
ยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา คือ มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดทางศิลปและวิทยาการในช่วงเวลาประมาณ ๑๐๐ ปี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (หรือหลัง พ.ศ. ๒๐๐๐) ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (หรือหลัง พ.ศ. ๒๑๐๐) หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เริ่มที่ยุคพระยายุทธิษฐิระเป็นเจ้าครองเมือง แล้วสิ้นสุดลงก่อนที่อาณาจักรล้านนาจะถูกพม่ายึดครองเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๑ ซึ่งพม่าเข้าครอบครองเมืองเชียงใหม่และดินแดนล้านนาทั้งหมด พร้อมกวาดต้อนผู้คนไปด้วย ทำให้บ้านเมืองต่างๆ ร่วงโรยลง เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ อำนาจของพม่าซึ่งปกครองที่เมืองเชียงใหม่อ่อนแอลง และบางครั้งก็ถูกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยายกมารบกวนซ้ำอีก ทำให้บ้านเมืองต่างๆ ในดินแดนล้านนา คิดตั้งตัวเป็นอิสระแล้วแย่งชิงความกันเป็นใหญ่ จนเกิดความวุ่นวายทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ฐานะและความสำคัญของเมืองพะเยาจึงหายจากดินแดนล้านนาราวกับร้างผู้คนไป


• เมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีดังนี้
ปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยึดเมืองเชียงใหม่สำเร็จ โปรดฯให้พระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายไทยเพื่อต่อต้านพม่าที่ยังยึดครองดินแดนล้านนาบางส่วน
ปี พ.ศ.๒๓๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พม่ายกกองทัพเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เดินทางผ่านเมืองฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยา เจ้าเมืองและชาวบ้านฝ่ายล้านนาต่างพากัน ลี้ภัยอพยพไปอยู่ลำปาง ทำให้เมืองพะเยาร้างไป
ปี พ.ศ.๒๓๘๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๓) พระยาน้อยอินทร์ ผู้ครองนครลำปาง กับ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยา เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เจ้าหลวงวงศ์ (หรือ พุทธวงศ์) น้องชายของพระยาน้อยอินทร์ เป็น " พระยาประเทศอุดรทิศ " ผู้ครองเมืองพะเยา เจ้าหลวงยศ (หรือ มหายศ) เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยา เจ้าบุรีรัตนะ (หรือ แก้ว) เป็นพระยาราชวงศ์เมืองพะเยา เจ้าหลวงวงศ์นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ทั้งสิ้น ๗องค์ มีดังนี้

 พ.ศ. ๒๓๘๖   เจ้าหลวงวงศ์ เป็นผู้นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ เป็นเจ้าเมืองพะเยาจนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓)
 พ.ศ. ๒๓๙๒   เจ้าหลวงยศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ )
 พ.ศ. ๒๓๙๘   เจ้าหลวงบุรีขัติยวงศา รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓(ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔)
 พ.ศ. ๒๔๐๓   เจ้าหอหน้าอินทรชมภู รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔-๕)
 พ.ศ. ๒๔๑๘   เจ้าหลวงอริยะ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ )
 พ.ศ. ๒๔๓๖   เจ้าหลวงมหาประเทศอุดรทิศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)
 พ.ศ. ๒๔๔๙   เจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยาประเทศอุดรทิต ดำรงตำแหน่งผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้าย (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ถึง พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ปฏิรูปการปกครองจากแบบเดิมเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” มีการบริหารงานเป็นกระทรวง มณฑล จังหวัด อำเภอ ผู้บริหารระดับกระทรวงเรียกว่าเสนาบดี ผู้บริหารระดับมณฑลเรียกว่าสมุหเทศาภิบาล ผู้บริหารระดับจังหวัดเรียกว่าข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บริหารระดับอำเภอเรียกว่านายอำเภอ เมืองพะเยาถูกปรับเปลี่ยนฐานะจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด” เรียกว่า “จังหวัดบริเวณพะเยา” เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ มีที่ว่าการมณฑลอยู่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ถูกยุบ “จังหวัดบริเวณพะเยา” ให้มีฐานะเป็น “อำเภอเมืองพะเยา” แล้วให้ เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา องค์สุดท้าย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ให้ยุบ “อำเภอเมืองพะเยา” เป็น “อำเภอพะเยา” อยู่ในอำนาจการปกครองจังหวัดเชียงราย


3295  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 13 มกราคม 2559 14:18:02
สามเณรสุข (จบ)
คัมภีร์ได้เล่าเรื่องราวในอดีตชาติของสามเณรสุขว่า ที่สามเณรสุขเกิดมาสบายอยากได้อะไรก็ได้โดยง่าย เพราะเธอได้ทำบุญมาแต่ปางก่อน

ว่ากันว่า บุตรเศรษฐีคนหนึ่งได้รับมรดกจากบิดาจำนวนมาก จึงใช้ทรัพย์นั้นอย่างฟุ่มเฟือย

วันหนึ่งแกสั่งให้ตระเตรียมอาหารมีรสเลิศราคาแสนแพง ตกแต่งสถานที่อย่างโอ่อ่า แล้วประกาศทั่วเมืองว่า เศรษฐีหนุ่มจะนั่งรับประทานอาหารที่รสเลิศและหรูที่สุดในวันนี้ เชิญประชาชนทั้งหลายมาดู

ประชาชนต่างก็พากันมามุงดูเศรษฐีรับประทานอาหารโคตรแพง โคตรอร่อย ขณะนั้นกระทาชายชาวบ้านนอกคนหนึ่งมาเที่ยวกรุงกับเพื่อนทราบเรื่องก็อยากไปดูกับเขาบ้าง พอได้กลิ่นอาหารเท่านั้นก็เกิดน้ำลายไหล อยากกินขึ้นมาทันที จึงร้องขอแบ่งจากเศรษฐีบ้าง

เมื่อถูกปฏิเสธ เขาจึงร้องขึ้นมา ถ้าผมไม่ได้กินอาหารนี้ ผมคงต้องตายแน่นอน ได้โปรดเมตตาผมเถิด ว่าแล้วก็ลงนอนดิ้นอย่างน่าสงสาร

เศรษฐีเห็นท่าว่าเจ้าหมอนั้นจะตายจริงๆ ก็สงสาร จึงบอกว่าฉันให้เปล่าไม่ได้ดอก ถ้าแกอย่างได้จริงๆ แกต้องทำงานรับใช้ฉัน ๓ ปี แล้วฉันจะให้อาหารแกถาดหนึ่ง

เงื่อนไขตั้ง ๓ ปีแน่ะครับ ปรากฏว่าชายบ้านนอกแกยอมแฮะ

เมื่อแกทำงานรับใช้เศรษฐีด้วยความขยันหมั่นเพียรครบ ๓ ปี เศรษฐีเห็นในความตั้งใจจริงของกระทาชายนายคนนี้ จึงให้ตระเตรียมสถานที่อย่างโอ่โถง จัดที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารอย่างสมเกียรติ ให้คนในบ้านทุกคนยกเว้นภรรยาของตนคอยปรนนิบัติรับใช้เขา

ได้เวลาก็เชิญเขามานั่งในที่ที่จัดไว้ ให้คนนำถาดอาหารพิเศษมาเสิร์ฟ ท่ามกลางประชาชนที่ทราบข่าวพากันมามุงดูจำนวนมาก

จะไม่ให้มุงดูอย่างไรได้ เพราะไม่เคยมีใคร “บ้า” ขนาดยอมรับใช้เขาถึง ๓ ปี เพียงเพื่อจะได้กินอาหารเพียงถาดเดียว คนพิลึกอย่างนี้ก็มีด้วย อยากดูว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ว่าอย่างนั้นเถอะ

ขณะที่ชายบ้านนอกแกนั่งหน้าบานจะกินอาหารที่รอมาถึง ๓ ปี พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเดินอุ้มบาตรผ่านมา เขาเหลือบเห็นพระก็นึกขึ้นมาว่า เราเกิดมายากจนข้นแค้น แค่อยากจะกินอาหารอร่อยถาดเดียวต้องลงแรงรับจ้างเขาทำงานถึง ๓ ปี ถ้าเราจะกินอาหารนี้เราก็อิ่มชั่ววันเดียว อย่ากระนั้นเลย เราถวายทานแก่พระคุณเจ้าดีกว่า ด้วยผลบุญนี้ เราพึงมีอยู่มีกินอย่างสบายในชาติหน้า

คิดได้ดังนี้จึงยกอาหารถาดนั้นไปถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า นัยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเพิ่งออกจากฌานสมาบัติ และทานที่ถวายแก่พระที่เพิ่งออกจากฌานสมาบัตินั้นมีอานิสงส์มาก ส่วนมากมักจะให้ผลทันตาเห็น

กรณีกระทาชายนายนี้ก็เช่นกัน แกได้รับผลทันตาเห็นเลยทีเดียว เศรษฐีนายจ้างแกอยากรู้ว่ากระทาชายนายลุงเชยได้อาหารรสเลิศประเภท “เชลล์ชวนชิม” แล้ว แกจะกินเอร็ดอร่อยปานใด หรือว่าจะมูมมามจนท้องแตกตายเหมือนชูชก จึงส่งคนมาดูแล้วให้ไปรายงาน

คนของเศรษฐีมาเห็นกระทาชายนายนี้แกยกอาหารถวายพระ จึงกลับไปรายงานให้เศรษฐีทราบ เศรษฐีให้เรียกเขาไปหา ชมเชยการกระทำของเขาและให้ทรัพย์จำนวนหนึ่ง ขออนุโมทนาในผลบุญที่เขากระทำ

กระทั่งพระราชา เมื่อทรงทราบก็ทรงเลื่อมใสในการกระทำของเขา จึงทรงขอแบ่งส่วนบุญจากเขา และพระราชทานทรัพย์ให้เขาจำนวนมาก สถาปนาให้เขาในตำแหน่งเศรษฐีนามว่า “ภัตตภติกะเศรษฐี” แปลว่า เศรษฐีผู้รับจ้าง (๓ ปี) เพื่ออาหาร (ถาดเดียว)

คัมภีร์ยังกล่าวด้วยว่า คนเราทำบุญแล้วได้อานิสงส์มาก เพราะประกอบด้วย “สัมปทา” (ความถึงพร้อมสมบูรณ์) ๔ ประการ คือ
   ๑.ผู้รับทานมีศีลบริสุทธิ์ เช่น เป็นพระอริยบุคคล (วัตถุสัมปทา)
   ๒.สิ่งของที่จะให้ทานได้มาด้วยความสุจริต (ปัจจยสัมปทา)
   ๓.จิตเลื่อมใสใน ๓ กาล คือ ก่อนให้ กำลังให้ และหลังจากให้แล้ว (เจตนาสัมปทา)
   ๔.ผู้รับทานเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ (คุณาติเรกสัมปทา)

กระทาชายนายนี้แกมีครบทั้ง ๔ ประการ ข้าวถาดเดียวของแกจึงบันดาลให้ได้เป็นเศรษฐีทันตาเห็น เศรษฐีอดีตกระยาจกคนนี้แหละมาเกิดเป็นสามเณรสุขรูปที่กล่าวถึงนี้


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรสุข โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๔๔-๑๘๔๕ ประจำวันที่ ๑๘-๒๔ และ ๒๕-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘




สามเณรโสปากะ (๑)


คราวก่อนกล่าวไว้ในตอนท้ายว่า สามเณรอายุ ๗ ขวบที่ได้รับพุทธานุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธีพิเศษมีอยู่ ๒ รูปคือ สามเณรสุมนกับสามเณรโสปากะ

สามเณรโสปากะไม่มีประวัติในคัมภีร์ ธัมมปทัฏฐกถาหรืออรรถกถาธรรมบทที่พระเณรท่านเรียนกัน แต่มีอยู่ในอรรถกถาแห่งเถรคาถา (ปรมัตถทีปนีภาค ๒) จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันในแวดวงยุทธจักรดงขมิ้น

ประวัติโสปากะพูดขัดแย้งกัน ตอนแรกกล่าวว่าเป็นบุตรสัปเหร่อ จึงได้นามว่าโสปากะ คำว่า “โสปากะ” คงแปลว่าเผา เช่น เผาศพ (แปลว่าหุง แปลว่าต้มก็ได้ ดังเรามีคำเรียกพ่อครัวว่า พ่อครัวหัวป่าก์ ต่อมาเขียนหดเข้าเป็นหัวป่า)

คนเขียนคนเดียวกันนั้นแหละกล่าวต่อว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โสปากะเกิดในตระกูลพ่อค้านามว่า “โสปากะ” สักแต่ว่าตั้งขึ้นเพื่อสิริมงคลเท่านั้น มิได้เกี่ยวกับสัปเหร่อหรือการเผาผีเผาศพแต่อย่างใด

แล้วท่านก็บรรยายรายละเอียดว่า

เด็กน้อยโสปากะเกิดได้ ๔ เดือน บิดาก็สิ้นชีวิต จึงตกอยู่ในการดูแลของจุฬบิดา (น้องชายพ่อ หรืออา) ไม่บอกว่าอากลายเป็นพ่อเลี้ยงหรือผู้ดูแลแทนพ่อ พิเคราะห์ดูอาจเป็นพ่อเลี้ยงจริงๆ ก็ได้ เวลาโสปากะทะเลาะกับลูกๆ ของเขา พ่อเลี้ยงจะดุด่าและลงโทษเสมอ

ไม่ว่าหญิงหรือชายมี “เรือพ่วง” ไปแต่งงานใหม่มักจะมีปัญหา มีเรื่องระหองระแหงกันในครอบครัว เช่น ลูกคุณมารังแกลูกฉัน หรือลูกคุณมารังแกลูกเรา หรือลูกเรารังแกลูกคุณและลูกฉัน ว่ากันให้วุ่น

วันหนึ่งพ่อเลี้ยงโกรธจัด จึงนำเด็กชายโสปากะไปป่าช้า เอาเชือกผูกแขนไพล่หลังมัดไว้กับศพทิ้งไว้ด้วย หมายใจจะให้เป็นเหยื่อสุนัขจิ้งจอก เด็กน้อยเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังมาจึงร้องไห้ด้วยความกลัว ว่ากันว่า เสียงร้องไห้ของเด็กน้อยผู้น่าสงสารได้ยินไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรวจดูด้วยพระญาณก็ทรงทราบเหตุการณ์โดยตลอด จึงทรงแผ่พระรัศมีไปยังเด็กน้อยตรัสว่า โสปากะไม่ต้องกลัว เธอจงมองดูตถาคต ตถาคตจะช่วยเธอให้รอด ดุจปล่อยพระจันทร์จากปากราหูฉะนั้น

ด้วยพุทธานุภาพ เชือกที่มัดอยู่ขาดออก โสปากะเป็นอิสระและได้บรรลุโสดาปัตติผล รู้ตัวอีกทีก็มานั่งเจี๋ยมเจี้ยมอยู่ในพระคันธกุฎีแล้ว

ข้างฝ่ายมารดาเมื่อบุตรชายหายไป ก็เที่ยวตามหาไปจนทั่ว เมื่อไม่พบจึงเข้าไปพระอาราม คิดได้อย่างเดียวว่า พระพุทธเจ้าทรงมีญาณหยั่งรู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต พระองค์ย่อมทรงทราบว่าลูกเราอยู่ที่ไหน เราไปกราบทูลขอพึ่งพระมหากรุณาของพระองค์ดีกว่า ไปถึงก็ถวายบังคมแล้วกราบทูลถามถึงบุตรชายของตนเอง

พระพุทธองค์ทรงทราบว่า นางมีอุปนิสัยแห่งมรรคผล จึงตรัสสอนธรรมว่า  บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ บิดาและพี่น้องก็ช่วยไม่ได้  คนเราเมื่อถึงคราวจะตาย ญาติพี่น้องทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้

เท่ากับเตือนว่า บุตรที่สุดแสนรักนั้น เขาก็มีคติหรือทางไปเป็นของเขาเอง เอาเข้าจริงเขาก็ช่วยเหลืออะไรเราไม่ได้ คติหรือทางไปของเราจะเป็นอย่างไร จะไปดีไปร้ายก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง

นางได้ฟังก็ได้คิด คิดตามไปก็ยิ่งเห็นจริงตาม จึงได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน หารู้ไม่ว่าในขณะนั้นบุตรน้อยของตนก็นั่งฟังพระธรรมเทศนานั้นอยู่ใกล้ๆ นั่นเอง แต่ด้วยอิทธาภิสังขาร (การบันดาลด้วยฤทธิ์) สองแม่ลูกจึงมองไม่เห็นกัน ลูกชายได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

จากนั้นพระพุทธองค์ทรงคลายฤทธิ์ สองแม่ลูกจึงเห็นกัน



สามเณรโสปากะ (จบ)

ถามว่าทำไมเด็กน้อยอายุเพียง ๗ ขวบจึงได้บรรลุพระอรหัตผล คำตอบก็มีว่า เพราะเด็กน้อยคนนี้ ในอดีตกาลอันนานโพ้นได้สร้างบุญบารมีไว้

ในชาติที่กล่าวถึงนั้น โสปากะเกิดในตระกูลพราหมณ์ ออกบวชเป็นฤๅษีบำเพ็ญพรตอยู่บนยอดเขาสูงแห่งหนึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ ขณะเขาใกล้จะตาย พระพุทธเจ้าสิทธัตถะเสด็จไปโปรดเขา

เขาแต่งอาสนะดอกไม้ถวายให้พระพุทธองค์ประทับ พระพุทธองค์ประทับเหนืออาสนะดอกไม้นั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับอนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ปลดเปลื้องเขาจากความยึดถือผิดๆ ว่าสรรพสิ่งเที่ยงแท้นิรันดร

เขาเจริญอนิจจสัญญา (ความระลึกว่าไม่เที่ยงแท้) ในใจ จวบจนสิ้นลม ละจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวในสังสารวัฏตลอดกาลยาวนาน

ในที่สุดก็บังเกิดเป็นเด็กน้อยโสปากะในกรุงราชคฤห์ดังที่กล่าวมาแล้ว

พระพุทธเจ้าตรัสถามปัญหา “อะไรเอ่ย” ทำนองปริศนาธรรม เช่น “อะไรเอ่ยชื่อว่าหนึ่ง” โสปากะกราบทูลว่า “สัตว์ทั้งหลายอยู่ได้ด้วยอาหาร (อาหารชื่อว่าหนึ่ง)
“อะไรชื่อว่าสอง” ตรัสถามอีก
“นามกับรูป ชื่อว่าสอง” โสปากะกราบทูล

จนกระทั่งถึง “อะไรชื่อว่าสิบ” เด็กน้อยก็กราบทูลได้ทุกข้อ ไม่ได้อย่างไรเล่าครับ ไม่ใช่เด็กน้อยธรรมดา หากแต่เป็นเด็กน้อยอรหันต์นี่ครับ

“การมอบปัญหาให้คิดหาคำตอบนี้คงคล้ายกับที่พุทธนิกายเซนเรียกว่า “โกอาน” (ญี่ปุ่น) หรือ “กงอั้น” (จีน) นั่นเอง เมื่ออรหันต์น้อยโสปากะตอบได้หมดทุกข้อ พระพุทธองค์ก็ประทานสาธุการ แล้วประทานการอุปสมบทให้เธอ

เรียกการอุปสมบทนี้ว่า “ปัญหาพยากรณูปสัมปทา” (การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหา)

น่าสังเกตว่า โสปากะเธอมิได้ผ่านการบวชเณรก่อน พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทในทันทีทันใด ต่างจากกรณีเด็กน้อยสุมน (ที่พูดถึงมาแล้ว) เด็กน้อยสุมนได้บรรพชาเป็นสามเณรก่อน พระพุทธเจ้าประทานการอุปสมบทอันเรียกว่า “ทายัชชอุปสัมปทา) ให้ แต่โสปากะไม่ต้องบวชเณรก่อนข้ามขั้นเป็นพระภิกษุเลย

โสปากะเถระอดีตเด็กน้อยเกือบจะตกเป็นเหยื่อสุนัขจิ้งจอกเมื่อหวนรำลึกถึงเรื่องราวในอดีตของตน ได้กล่าวคาถามประพันธ์ทำนองอัตชีวประวัติไว้อย่างไพเราะ ขอนำมาลงไว้ตอนท้ายดังนี้ครับ

เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน เป็นอุดมบุรุษเสด็จจงกรม อยู่ในร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี จึงเข้าไปกราบถวายบังคม เราห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมมือไหว้พระองค์ผู้ปราศจากกิเลส พระองค์ตรัสถามปัญหา เรารู้ความของปัญหานั้น ไม่สะทกสะท้าน วิสัชนาปัญหานั้น พระองค์ตรัสอนุโมทนาแล้วหันไปตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า โสปากะนี้ใช้สอยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและคิลานเภสัชของชาวอังคะและชาวมคธเหล่านั้น นับเป็นลาภของชาวอังคะและชาวมคธ และเป็นลาภของพวกเขาที่ได้ทำสามีจิกรรม (ความเคารพในรูปแบบอื่นๆ) แก่โสปากะ พระองค์ตรัสกับเราว่า โสปากะ การวิสัชนาปัญหานี้เป็นการอุปสมบทของเธอ เราอายุเพียง ๗ ขวบ ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ มีชีวิตและร่างกายนี้เป็นชาติสุดท้าย

พระธรรมอันดีงามของพระพุทธองค์ช่างน่าอัศจรรย์แท้หนอ


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรโสปากะ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๔๖-๑๘๔๗ ประจำวันที่ ๑-๗ และ ๘-๑๔ มกราคม ๒๕๕๙


.



สามเณรนิโครธ
สามเณรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้มีชีวิตอยู่หลังพุทธกาลสามศตวรรษ ชื่อสามเณรนิโครธ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป

พระเจ้าอโศกเป็นใคร ชาวพุทธรู้จักกันดีพอๆ กับรู้จักพระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าพิมพิสารในยุคพุทธกาลนั้นแล

ขอเท้าความสั้นๆ เพื่อผู้ที่ยังไม่เคยทราบได้รู้จักไว้

หลังพุทธปรินิพพานประมาณสองร้อยกว่าปี (พ.ศ.ไม่แน่นอนจึงไม่อยากใส่) พระเจ้าพินทุสารผู้ครองเมืองปาตลีบุตรก็สิ้นพระชนม์

เมื่อสิ้นพระราชบิดา พระราชโอรสทั้งหลาย (ว่ากันว่ามีถึง ๑๐๑ องค์) ก็แย่งชิงราชสมบัติกัน

อโศกกุมารขณะนั้นเป็นอุปราชครองเมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี ทรงถือว่าเป็นรัชทายาทโดยตรงจึงยกพลมาจากเมืองอุชเชนีมายึดราชบัลลังก์ โดยจับพระราชโอรสเหล่านั้นปลงพระชนม์เรียบ ยกเว้นติสสกุมาร พระอนุชาร่วมพระอุทร

สุมนกุมาร พระเชษฐาองค์ใหญ่ ก่อนจะสิ้นพระชนม์รับสั่งให้พระชายาผู้ทรงครรภ์แก่หนีไป นางได้หนีไปอยู่กับพวกคนจัณฑาลนอกเมือง ให้กำเนิดบุตรน้อย ณ กระท่อมใต้ต้นไทร จึงขนานนามว่า “นิโครธ”

หัวหน้าคนจัณฑาลได้ปรนนิบัติดูแลนางและบุตรอย่างดีดังหนึ่งเจ้านายของตน

เมื่อกุมารน้อยอายุได้ ๗ ขวบก็บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา (แม่คงต้องการให้ลูกปลอดภัยในชีวิตด้วย จึงสนับสนุนให้บวช หาไม่อาจต้องราชภัยในภายหลัง) สามเณรน้อยนิโครธออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นนิตย์

วันหนึ่งผ่านไปทางพระราชวัง บังเอิญเช้าวันนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงยืนใกล้สีหบัญชร (หน้าต่าง) ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ทอดพระเนตรผ่านช่องพระแกล (หน้าต่างอีกนั่นแหละ) เห็นสามเณรน้อยเดินไปอย่างสงบสำรวมก็เกิดความเลื่อมใส

ตำราว่าเกิดความรักดุจดังบุตร ทรงรำพึงเบาๆ ว่า คนส่วนมากมีจิตฟุ้งซ่าน หวาดกลัวดุจเนื้อสมันระวังภัย แต่เด็กน้อยนี้มีจิตสงบเยือกเย็นสำรวมยิ่งนัก จะแลหน้าเหลียวหลัง ยกเท้าแกว่างมือ ก็สำรวมงดงามยิ่งนัก

“สามเณรน้อยนี้มิใช่ธรรมดาแน่ คงบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง” พระราชาทรงรำพึงกับพระองค์เอง

จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์สามเณรน้อยเข้าไปในวัง ถวายภัตตาหารแก่สามเณรแล้วรับสั่งถามว่า “สามเณรทราบพุทโธวาทบ้างไหม แสดงให้โยมฟังหน่อย”

สามเณรนิโครธกล่าวอย่างถ่อมตนว่า “ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพทราบโดยเอกเทศ” ความหมายก็คือทราบบางส่วน ไม่มากนัก
“แสดงให้โยมฟังบ้างเถิด” พระราชาทรงอาราธนา

สามเณรจึงกล่าวคาถาพุทธวจนะว่า
   อปฺปมาโท อมตํปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
   อปฺปมตฺตา น มียนฺติเย ปมตฺตา ยถา มตา
“ความไม่ประมาทเป็นทางอมตะ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ที่ประมาทแล้ว ถึงมีชิวิตอยู่ก็เสมือนคนตายแล้ว”

พระราชาทรงเกิดปีติปราโมทย์อย่างยิ่ง จึงตรัสว่า
“สามเณร โยมจะถวายภัตตาหารแด่สามเณรประจำ ๘ ที่”
“ขอถวายพระพร อาตมภาพขอถวายแก่อุปัชฌาย์ของอาตมา” สามเณรตอบอย่างสำรวม
“อุปัชฌาย์คือใคร” พระราชาตรัสถาม ต้องการทราบนามของอุปัชฌาย์ของสามเณรน้อย แทนที่สามเณรน้อยจะบอกนาม กลับอธิบายความหมายของคำว่า “อุปัชฌาย์” ให้พระราชาฟังว่า
“อุปัชฌาย์คือผู้ที่เห็นโทษ (ความผิด) น้อยใหญ่ แล้วตักเตือนให้ระลึกได้” (ความหมายก็คือผู้ที่คอยดูแลว่า ศิษย์มีความบกพร่องอะไร ตรงไหน แล้วคอยตักเตือนพร่ำสอน)
“ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายอีก ๘ ที่”
“อาตมภาพขอถวายแก่อาจารย์ของอาตมา”
“อาจารย์คือใคร”
“อาจารย์คือผู้ที่ให้ศิษย์ดำรงอยู่ในธรรมอันพึงศึกษาในพระศาสนานี้” (ความหมายก็คือ ผู้ที่คอยให้การศึกษาอบรมแก่ศิษย์)
“ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายอีก ๘ ที่”
“อาตมภาพขอถวายแก่พระสงฆ์”
“พระสงฆ์คือใคร” พระราชาเห็นปฏิภาณอันเฉียบคมของสามเณรน้อยจึงทรง “เล่น” ด้วย คราวนี้ไม่คิดเอาคำตอบสามัญแล้ว หากแต่ต้องการคำอธิบายในทางธรรมจากสามเณร สามเณรก็อธิบายความหมายของพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์คือหมู่แห่งภิกษุซึ่งเป็นที่อาศัยบรรพชาและอุปสมบทของอาจารย์และอุปัชฌาย์ของอาตมภาพ” (ความหมายก็คือ อาจารย์และอุปัชฌาย์ของสามเณรนิโครธบวชเป็นเณรและบวชเป็นพระอาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้นแหละคือพระสงฆ์ พูดให้ชัดก็คือ หมู่แห่งภิกษุที่ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่ผู้มาขอบวชนั่นเอง

“ถ้าเช่นนั้น โยมถวายอีก ๘ ที่” พระราชาตรัสย้ำ

สามเณรจึงรับว่า “สาธุ” วันรุ่งขึ้นจึงนิมนต์ภิกษุ ๓๒ รูปเข้าไปรับภัตตาหารในพระบรมมหาราชวัง

พระเจ้าอโศกเมื่อได้ทราบว่าสามเณรน้อยรูปนี้เป็นพระภาคิไนย (หลาน) ของพระองค์ก็ยิ่งเลื่อมใส ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังต่อไป

คัมภีร์อรรถกถาของฝ่ายเถรวาท (สมันตปาสาทิกา) แต่งไว้อย่างนั้น แต่จากหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งคือ ศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทำไว้เองกลับระบุว่า พระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพราะเหตุผลอื่น

คือทรงสลดพระราชหฤทัยที่ทอดพระเนตรเห็นคนตายในสงครามมากมาย จึงทรงเห็นมาหาความสงบในทางธรรม

หลักฐานที่ว่านี้บันทึกไว้ดังนี้ครับ
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปิยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่อได้อภิเษกแล้ว ๘ พรรษา ทรงมีชัยปราบแคว้นกลิงคะลงได้ จากแคว้นกลิงคะนั้นประชาชนจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นคนถูกจับเป็นเชลย จำนวนประมาณหนึ่งแสนคนถูกฆ่าและอีกหลายเท่าของจำนวนนั้นได้ล้มตายไป นับแต่กาลนั้นมาจนบัดนี้ อันเป็นเวลาที่แคว้นกลิงคะได้ถูกยึดครองแล้ว การทรงปฏิบัติธรรม ความมีพระทัยใฝ่ธรรมและการอบรมสั่งสอนธรรม ก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้ทรงเป็นที่รักแห่งทวยเทพ (จารึกศิลาฉบับที่ ๑๓)

ไม่พูดตรงๆ ว่า “นับถือพระพุทธศาสนา” แต่คำว่า “การทรงปฏิบัติธรรม ความมีพระทัยใฝ่ธรรม และการอบรมสั่งสอนธรรม” ในที่นี้คือธรรมในพระพุทธศาสนานั่นเอง

และกล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกทรงอุปสมบทเป็นภิกษุในขณะที่ยังครองราชสมบัติด้วยสิ้นระยะเวลาหนึ่ง (ว่ากันว่าหนึ่งพรรษา) การสละราชสมบัติออกผนวชนี้พระมหากษัตริย์ที่มีพระบุญญาบารมีมากๆ เท่านั้นจะพึงทำ เพราะไม่แน่ว่าขณะยังทรงผนวชอยู่นั้นจะถูกปฏิวัติรัฐประหารแย่งชิงราชบัลลังก์หรือไม่ กษัตริย์พระองค์ใดทรงทำได้อย่างนี้ ถือกันว่าเป็นพระมหาราชอย่างแท้จริง

หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ก็มีพระมหากษัตริย์ในยุคหลังพยายามเป็น “อโศกที่สอง” หลายพระองค์ คือทรงสละราชสมบัติผนวชชั่วคราว และอุปถัมภ์สังคายนาพระพุทธศาสนา ตลอดจนอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์อย่างจริงจัง

พระเจ้าอโศกมหาราชหลังจากเป็นพุทธมามกะแล้วทรงสร้างเจดีย์และวิหาร (แปลว่าวัด) อย่างละ ๘๔,๐๐๐ แห่งนี้ ถือตามจำนวนพระธรรมขันธ์หรือหัวข้อธรรมในพระไตรปิฎกและถวายความอุปถัมภ์แก่พระภิกษุสามเณรเป็นการใหญ่ พระภิกษุสงฆ์สามเณรไม่มีความลำบากเกี่ยวกับปัจจัยสี่ มีความสะดวกในการบำเพ็ญกิจพระศาสนา

ถือว่ายุคนี้เป็นยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ แต่ในความเจริญนั้นถ้าประมาท ความเสื่อมก็เข้ามาแทรกได้ พวกอัญเดียรถีย์ (ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น) เห็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้รับเกียรติ มีลาภสักการะมากมายอยากได้เป็นอย่างนั้นบ้าง จึงปลอมบวชเป็นจำนวนมาก (ระบบคัดคนเข้าหละหลวมแล้วครับ)

บวชมาแล้วก็มาแสดงคำสอนนอกธรรมนอกวินัย สร้างความวิปริตบิดเบือนขึ้นแก่พระพุทธศาสนา จนเป็นเหตุให้กระทำสังคายนาครั้งที่สาม ชำระสะสางสังฆมณฑล (คัดคนไม่ดีออก) ทำให้พระศาสนาคืนคงความบริสุทธิ์ดังเดิม

ท่านทำกันอย่างไร ผมไม่มีหน้าที่บรรยายตรงนี้เพราะเท่าที่เล่ามานี้ก็นอกเรื่องพอสมควรแล้ว

สรุปตรงนี้คือสามเณรนิโครธมีบทบาทสำคัญยิ่งคือเป็นผู้ชักจูงให้พระเจ้าอโศกซึ่งเดิมเขาเรียกว่า “จัณฑาโศก” (อโศกดุร้าย) หันมานับถือพระพุทธศาสนากลายเป็น “ธรรมาโศก” (อโศกผู้ทรงธรรม) เป็นต้นแบบการปกครองบนพื้นฐานแห่งพุทธธรรมอันเรียกว่า “ธรรมราชา” หรือ “ธรรมวินัย” นั้นแล


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรนิโครธ (๑) โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๔๘ ประจำวันที่ ๑๕-๒๑ มกราคม ๒๕๕๙


3296  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / Re: แฝดสยามอิน-จัน เมื่อ: 13 มกราคม 2559 13:20:48
.


• นายหันแตร เซเลบตัวพ่อแห่งสยาม

ฝรั่งมังค่าทั้งหลายที่เข้ามาทำงานในสยามในยุคโน้นโดนผันชื่อการออกเสียงไปหมด เช่น คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวสยามเรียกว่า "กาสตัน" หรือเอ็ดมันด์ โรเบิร์ต เราเรียกว่า "เอมินราบัด" นายจอห์น ครอฟอร์ด ชาวสยามสะดวกที่จะเรียกว่า "นายการะฟัด" นายแอนโตนิโอ วีเซน เรียกเป็น "องคนวีเสน" ซึ่งก็เป็นการเรียกชื่อที่ง่ายๆ และน่ารักน่าชังไม่น้อย

ในขณะที่ผู้เขียนออกนอกเรื่องไปเล่าถึงนายฮันเตอร์   ฝาแฝดอิน-จันในขณะนั้นกลับไปลงทุนเลี้ยงเป็ดที่แม่กลอง หลังจากได้เข้าเฝ้าฯ ร.๓ แล้ว ที่พรรณนาถึงชาวต่างประเทศในบางกอกเพราะต้องการให้เห็นบุคลิกภาพของพ่อค้าฝรั่งที่มีการทำงานที่ถึงลูกถึงคน ไม่แพ้พ่อค้าชาติอื่นๆ

ใน พ.ศ.๒๓๖๘ เจ้าพระยาพระคลังแบ่งที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตอนเหนือถนนสะพานฉนวน หน้าวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ให้นายหันแตรสร้างตึก ๒ ชั้น ๓ หลัง ใช้เป็นโกดัง เป็นห้างสรรพสินค้า เป็นที่พักอาศัย เรียกว่าบริติช แฟคทอรี่ (British Factory) เปิดทำการไม่นานก็ดังกระหึ่มบางกอก เพราะเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในสยาม มีสินค้าแปลกใหม่ ตื่นตา ตื่นใจ ชาวต่างประเทศในบางกอกแห่กันมาดู มาเที่ยว มาพบปะชุมนุม สรวลเสเฮฮาที่บริติช แฟคทอรี่ เหมือนเป็นเมืองของชาวตะวันตกขนาดย่อม ฝรั่งที่เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสยามก็จะต้องมาพักอยู่ที่นี่ จนมีชื่อเรียกกันอีกแบบว่า ตึกฝรั่ง

ผู้เขียนเลยพลอยนึกถึงถนนวิทยุใน กทม.ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานทูตหลายๆ ประเทศที่มักจะอยู่ใกล้กัน แต่บางประเทศก็จะจัดให้สถานทูตของประเทศต่างๆ อยู่ในพื้นที่เดียวกันทั้งหมด เช่น ในนิวเดลีของอินเดีย และอีกหลายประเทศ

นายหันแตรเป็นพ่อค้าแบบครบเครื่อง อยู่ไม่นานก็พูดภาษาไทยได้ มีความคุ้นเคยกับผู้หลักผู้ใหญ่ในราชสำนัก การค้าขายเติบโตแบบก้าวกระโดด นำสินค้ามาจากอังกฤษ เน้นเครื่องใช้ในสำนักงาน ถ้วยชาม ของใช้ในเรือ ผ้าฝรั่ง ผ้าแขก ยาฝรั่ง ยาควินิน นำเครื่องถ้วยที่คนไทยเรียกว่า "เครื่องถ้วยฝรั่งกังไส" ซึ่งฝรั่งอังกฤษ ฝรั่งฮอลแลนด์ลอกเลียนแบบจากเครื่องถ้วยจีนไปผลิตเองในยุโรป นายหันแตรใจถึงพึ่งได้ นำเข้ามาวางจำหน่ายในบางกอกเป็นเจ้าแรก ไม่นานนักก็เป็นเศรษฐีแห่งบางกอก นายหันแตรแล่นเรือสินค้าไปมาระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้งยุโรป และได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนดินดำอีกหลายชนิดมามอบ มาขายให้สยาม ในที่สุดจากความดีความชอบทั้งหลาย นายหันแตรจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก ร.๓ เป็นหลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช ผู้เขียนไปค้นเพิ่มเติมจากเอกสารของอังกฤษว่า บรรดาศักดิ์ดังกล่าวตรงกับคำว่า Marquis of Extraordinary Arms

ใครจะเรียกชื่อตึกนี้ว่ากระไรก็ตาม ชาวสยามขอเรียกชื่อตึกนี้แบบสะดวกปากว่า ตึกหันแตร บ้างก็เรียกว่าตึกฝรั่ง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การกำเนิดห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในประเทศไทยครับ

มีบันทึกต่อมาว่านายหันแตร ชาวอังกฤษ ได้พบรักกับทายาทรุ่นที่ ๔ ของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา) ชื่อ แองเจลิน่า ทรัพย์ (Angelina Sap) ที่แสนสวย ชาวสยามเรียกเธอว่าท่านผู้หญิงทรัพย์ หรือแหม่มทรัพย์ ซึ่งต่อมาเธอผู้นี้แหละที่กลายเป็นผู้นำชุมชนกะดีจีน หรือกุฎีจีน นายฮันเตอร์กับแหม่มทรัพย์มีลูกด้วยกันหลายคน คนโตเป็นผู้ชายตั้งชื่อว่าโรเบิรต์ ฮันเตอร์ (ในธรรมเนียมชาวตะวันตกชื่อลูกซ้ำกับชื่อพ่อได้ แต่อาจจะเพิ่มคำว่าจูเนียร์หรือเติมคำว่าที่สองต่อท้าย) ลูกคนนี้ส่งกลับไปเรียนที่อังกฤษแล้วกลับมาสยาม ทำงานเป็นล่ามให้สมุหพระกลาโหม

ผู้เขียนโชคดีที่ไปพบข้อมูลเรื่อง An Early British Merchant in Bangkok ที่บันทึกบทบาทของนายฮันเตอร์ไว้อย่างละเอียดแบบตรงไปตรงมาครับ ความว่า :

นายฮันเตอร์เดินทางเข้ามาถึงบางกอกในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๖๗ ยังไม่ลงหลักปักฐานซะทีเดียว แล่นเรือค้าขายเส้นทางสิงคโปร์ กลันตัน ตรังกานู และปัตตานี เมื่อตัดสินใจจะทำการค้ากับบางกอก จึงไปจัดหาปืนมัสเก็ต (Musket) จำนวน ๑ พันกระบอก เพื่อมามอบให้รัฐบาลสยามซึ่งกำลังติดพันการรบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เรื่องที่ดินของคนต่างชาติในบางกอก เคยมีเรื่องต้องผิดใจกันมาแล้ว เช่น กรณีนายคาลอส ดา ซิลวา (Carlos da Silva) กงสุลโปรตุเกสที่อยู่มานาน และในที่สุดเกิดการอ้างว่า ร.๒ พระราชทานที่ดินให้

กรณีของพ่อค้าอังกฤษคนนี้เลยต้องมีสัญญาเช่าตึก ๒ ชั้น ๓ หลังที่สร้างเสร็จ ฝรั่งกันเองยังเรียก ห้างหันแตร (Hang Huntraa) เปิดทำการในเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๓๖๗

นายหันแตรมีเรือบรรทุกสินค้าของตัวเอง ๔ ลำ ในขณะที่สยามมีเรือสินค้าแล่นไปมา ๒ ลำ ชื่อเรือ Buddha Ummarth และ Riddhi (สะกดตามบันทึกของอังกฤษ : ผู้เขียน)

สินค้าที่น่าตื่นเต้นคือเครื่องแก้วเจียระไน กระจก ของใช้หรูหราจากยุโรป ชาวต่างชาติและชาวสยามที่มีกะตังค์ทั้งหลายแห่กันมาช้อปปิ้งที่ตึกหันแตร รัฐบาลอังกฤษภูมิใจและสนับสนุนพ่อค้าคนนี้ ที่สามารถเปิดตลาดการค้า เปิดห้างสรรพสินค้าได้เป็นรายแรกในสยาม อังกฤษเห็นว่าการค้ากับสยามเติบใหญ่ไปได้สวย จึงส่งกัปตันเฮนรี่ เบอร์นีย์ (Captain Henry Burney) ตามเข้ามาทำสัญญาการค้ากับสยามซ้ำเข้าไปอีก ธุรกิจนายหันแตรยิ่งขยายตัวเป็นทวีคูณ

นายหันแตรหลงใหลได้ปลื้มการค้ากับกรุงสยามอยู่นานโข นานไปเริ่มจะกร่างเกินขนาด วางอำนาจบาตรใหญ่เพราะถือว่ารัฐบาลอังกฤษหนุนหลัง จนเลยเถิดถึงขนาดแอบลักลอบนำฝิ่นปะปนสินค้าเข้ามาขายในสยาม และมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ในที่สุดนายหันแตรต้องถูกรัฐบาลสยามขับออกนอกประเทศ

อังกฤษบันทึกว่า ฮันเตอร์ต้องออกนอกสยามประเทศไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๗ หลังจากทำการค้าและพักพิงในสยามนาน ๒๐ ปี

ระหว่างนายหันแตรอยู่ในเมืองสยาม ถือว่าเป็นผู้มีชื่อเสียง มีหน้ามีตา ประการสำคัญคือมีสตางค์เยอะ เป็นคนสำคัญในสยาม ซอกแซกเดินทางไปทั่วเพื่อขยายธุรกิจและเรียนรู้ ใช้ชีวิตอย่างบรมสุข บุคคลสำคัญที่เป็นแขกบ้านแขกเมืองที่มาสยามต้องมาพบปะนายหันแตร

ย้อนหลังไปในปี พ.ศ.๒๓๖๗ ในช่วงแรกที่เข้ามาตั้งห้างฯ ในบางกอก ความที่นายหันแตรเป็นคนชอบกีฬา ชอบแล่นเรือ เป็นคนอยู่ไม่สุข เที่ยวตระเวนไปในสยามโดยเฉพาะทางน้ำ พระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้นายหันแตรได้ฟังเรื่องราวที่แสนสนุก ว่า ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งแถบปากน้ำแม่กลอง มีสยามแปลกประหลาดตัวติดกัน ๒คน ๔ แขน ๔ขา ทำมาหากินอยู่แถวนั้น จะไปดูกันหน่อยมั้ย

และแล้ว..วันหนึ่ง พ่อค้าชาวสก๊อตลงเรือจากท่าเรือในบางกอกมุ่งหน้าไปแม่กลอง เพื่อตามหาของแปลกหายากตามคำบอกเล่า ใช้เวลาเดินทางไม่นานนักก็ถึงปากน้ำแม่กลอง ล่องเรือไปเสาะหา ถามผู้คนทั้งหลายในย่านนั้นเรื่องคนแฝด ในย่านนั้นไม่มีใครไม่รู้จักอิน-จัน เรือนายหันแตรเดินทางต่อไปอีกไม่นาน และแล้วสิ่งที่เคลื่อนไหวปรากฏต่อสายตาเจ้าของห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในสยามคือเด็กหนุ่ม ๒ คนว่ายน้ำในคลองด้วยความคล่องแคล่วในจังหวะท่วงท่าเหมือนคนคนเดียวกัน เป็นดั่งคำเล่าลือจริงๆ ด้วย

เมื่อแล่นเรือเข้าไปใกล้ นายหันแตรก็พบว่านิทานปรัมปราจากเมืองสมุทรสงครามเป็นของจริง มีมนุษย์ประหลาดตัวติดกันว่ายน้ำให้ได้เห็นต่อหน้ากลางวันแสกๆ

ประกายความคิดเรื่องเงินทองไหลมาเทมา เป็นเรื่องหลักสำหรับสินค้าตัวใหม่จากเอเชียที่จะส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกา ซึ่งในยุคสมัยนั้นการแสดงของประหลาด คนประหลาด สัตว์ประหลาด เป็นการทำมาหากินที่ทำรายได้งามในยุโรปและอเมริกา

ในสยามประเทศก็เช่นกันนะครับ ของแปลกเหล่านี้จะไปปรากฏในงานวัด มีการล้อมเขตด้วยสังกะสี ด้วยผ้า เป็นอาณาเขตย่อยๆ มีป้ายโฆษณาภาพวาดแสดงของประหลาดที่แสนจะเร้าใจแบบไม่ดูไม่ได้ ใครจะเข้าไปดูของประหลาดเหล่านี้ต้องเสียเงินเดินเข้าไป ที่งานวัดภูเขาทองมีมนุษย์ไร้แขน ผู้หญิงมีเครา มนุษย์หน้าขน ไก่ไม่มีหัว เมียงู เมียจระเข้ (ผู้หญิงหน้าตาเบื่อโลกนั่งคู่กับจระเข้ที่สตั๊ฟไว้) งู ๒ หัว ๒ หาง งูที่กระดูกสันหลังคดแล้วมีป้ายบอกว่าเป็นพญานาค มีไก่ ๓ ขา ช้าง ม้า วัว ควาย เอางูเห่ามาทำท่าจะกัดกับพังพอนให้ดู ที่รออยู่นานก็ไม่กัดกัน (เพราะแก่มากแล้ว)

แม้กระทั่งคนที่กายภาพผิดไปจากธรรมชาติก็ถูกนำมาแสดง สิ่งเหล่านี้จะมีคนอยากรู้อยากเห็น ยอมเสียเงินมุดเข้าไปดู ทั้งๆ ที่รู้ว่าเค้าหลอก แถมยังมีการคุยโม้โอ้อวดว่ามีฤทธิ์เดชศักดิ์สิทธิ์นักแล เลยเสียเงินแล้วต้องไปนั่งกราบไหว้อีกต่างหาก เรื่องกราบไหว้บูชาแบบนี้ชาวสยามนำหน้าฝรั่งไปหลายช่วงตัว

ท่านผู้อ่านยังคงจำได้นะครับว่า หลังจากอิน-จันเข้าเฝ้าฯ ร.๓ ที่บางกอกแล้วนั่งเรือกลับบ้านที่แม่กลอง ได้รับพระราชทานทุนรอนมาก้อนหนึ่ง จึงตัดสินใจเลี้ยงเป็ด ขายไข่เป็ด ทำไข่เค็ม และยังคงสู้ชีวิตหาเลี้ยงนางนากผู้เป็นแม่และพี่น้องในครอบครัว โดยอาศัยบ้านริมแม่น้ำแถวแม่กลอง ตอนนั้นแฝดหนุ่มอายุราว ๑๔ ปีเศษ

เรือนายหันแตรตรงเข้าหาแฝดหนุ่มแห่งแม่กลองที่กำลังว่ายน้ำทันที ทักทายด้วยหัวใจพองโตปลาบปลื้ม ขอติดตามฝาแฝดไปถึงบ้านเรือนแพ พบกับนางนากและพี่น้องของอิน-จัน สร้างมิตรภาพแบบงูๆ ปลาๆ คุยกันสนุกครึกครื้น ฟุดฟิดฟอไฟกันสนั่นแพ ซึ่งแฝดอิน-จันก็มองไอ้ฝรั่งคนนี้ว่าเป็นคนประหลาดเช่นกัน มีผมสีทอง ผิวขาว ตัวสูงใหญ่ มีขนตามตัวรุงรัง มันพูดภาษาอะไรไม่รู้เรื่อง


• ต่างคนต่างเจอของแปลก
ตามบันทึกของต่างประเทศ แฝดอิน-จันไว้ผมเปียยาวประมาณ ๔ ฟุต สูงประมาณ ๕ ฟุต ๒นิ้ว อ่าน เขียน พูดภาษาจีนได้ พูดไทยได้

นายฮันเตอร์ได้พบกับ สินค้าทำเงิน หนึ่งเดียวในโลกเข้าแล้ว ลากลับไปบางกอก กลับมาเยี่ยมใหม่ เทียวไล้เที่ยวขื่อ ไปลามาไหว้ ความสนิทสนมของนายฮันเตอร์กับครอบครัวนางนากพัฒนาไปอย่างราบรื่น วันคืนผ่านไป นายฮันเตอร์ไม่ปล่อยคนประหลาดให้หลุดมือหายไปแน่นอน ถ้าใช้ศัพท์สมัยใหม่ต้องเรียกว่า นายหันแตร "ล็อกเป้า" แฝดสยามแบบกัดไม่ปล่อย จะต้องหาทางเอามนุษย์ประหลาดจากปากน้ำแม่กลองคู่นี้ไปยุโรปบ้านเกิด และไปอเมริกาให้จงได้ เงินจะไหลนอง ทองจะไหลมาแน่นอน


มีต่อ
3297  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / "กว๊านพะเยา" ชมอาทิตย์อัสดง เหนือขุนเขา จ.พะเยา เมื่อ: 12 มกราคม 2559 14:06:35

อาทิตย์อัสดง เหนือขุนเขา "กว๊านพะเยา"
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ภาพ : 26 ธันวาคม 2558



















นักท่องเที่ยวถ่ายภาพพระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า


"อย่าเห็นหน้ากันดีกว่า" ยิ่งแก่ยิ่งขึ้นอืด



กว๊านพะเยาอยู่ใจกลางเมืองพะเยา ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ ๑๒.๘๓๑ ไร่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือ และ อันดับ ๔ ของประเทศไทย (อันดับ ๑ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ อันดับ ๒ ทะเลสาบหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และลำดับ ๓ บึงละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ)  

คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง"  

กว๊านพะเยา มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ มีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอดจากทิศเหนือจรดขอบกว๊านทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงจากขุนเขาดอยหลวงมาเชื่อมติดต่อถึงกัน ประกอบมีทำเลสามารถที่จะระบายน้ำได้ กรมประมงจึงได้พัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นที่กักเก็บน้ำ โดยทำประตูกั้นกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง ฯลฯ รวม ๑๘ สาย ที่ไหลมารวมกันในบริเวณนี้ เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้อุปโภคบริโภคในยามจำเป็นหรือในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลหลากไปท่วมพืชพรรณทางการเกษตรและบ้านเรือนของราษฎรที่อยู่ปลายน้ำได้รับความเสียหาย โดยมีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ ๒๙.๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร  "กว๊านพะเยา" จึงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ดี มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มีปลาอาศัยมากกว่า ๔๘ ชนิด ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงมีผู้คนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาศัยทำมาหากินอยู่เป็นชุมชนมาเนิ่นนานนับตั้งแต่โบราณ
  
ทัศนียภาพของกว๊านพะเยามีความสวยงาม มีทิวเขาสลับซับซ้อนทอดตัวแนวยาวกั้นเป็นฉากหลัง ทำให้เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น  จุดเด่นนี้มีส่วนทำให้ "กว๊านพะเยา" ได้รับการพัฒนาเป็นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่นักท่องเที่ยวต่างเดินทางมาชมความงดงาม กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ ของประเทศ  จนอาจจะกล่าวได้ว่า "กว๊านพะเยา" เป็นหัวใจของเมืองพะเยา
3298  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ฉากจบ ของ "อีสป" เมื่อ: 12 มกราคม 2559 10:05:07
.



ฉากจบ ของ "อีสป"

นิทานอีสบเล่ากันมาเกือบสามพันปี ชีวิตของอีสปผ่านเวลามายาวนาน เล่ากันหลายเรื่องราว และเรื่องที่รู้แล้วไม่อยากเล่า ก็คือตอน “อีสป” ตาย

อีสปเกิดราว ๖๒๐-๕๖๐ ปีก่อนคริสตกาล ในกรีกโบราณ (เกาะแห่งหนึ่งอยู่นอกชายฝั่งตุรกี) รูปร่างพิการไม่แข็งแรง ทั้งยังขี้เหร่...ขายตัวเป็นทาสรับใช้...ไม่มีใครซื้อ

แต่อีสปคนนี้มีสมอง เขาชวนเพื่อนชายกำยำแข็งแรง ชื่อเอียดมอน ออกเดินทางเสนอตัวขายเป็นทาส โดยให้ซื้อเอียดมอนและเอาตัวเองเป็นของแถม และช่วงเวลานั้นเขาชดเชยความด้อยด้านร่างกายด้วยการเล่านิทาน

สมัยเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีที่แล้ว การสร้างแนวคิดโน้มน้าวใครไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ใครเผลอตัวตั้งตนเป็นปราชญ์ชี้ถูกชี้ผิด มีโทษถึงตาย อีสปจึงเลี่ยงเล่าพฤติกรรมของสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เชื่อมโยงพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น สุนัขจิ้งจอกเหมือนมนุษย์เจ้าเล่ห์  กระต่ายเสมือนผู้ใสซื่อ  สิงโตเป็นผู้หยิ่งทระนงมีศักดิ์ศรี

นิทานที่อีสปเล่ามีคนชอบฟังมาก ในที่สุดก็ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาส เล่านิทานเลี้ยงตัวเอง

ความดีความสนุกสนานของนิทานอีสป ได้ยินไปถึงราชสำนัก กษัตริย์เครซุส แห่งอาณาจักรลิเดีย   กษัตริย์เครซุสเรียกอีสปมาเล่านิทานให้ฟัง  ทรงพอพระทัยคิดจะใช้ประโยชน์จากอีสปให้มากกว่าเป็นแค่นักเล่านิทาน

แต่งตั้งอีสปเป็นราชทูตไปเจรจาความเมือง

นิทานเรื่องกบเลือกนาย นิทานเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ ฯลฯ และนิทานเรื่องเหลือบฝูงใหม่ ที่คนสมัยต่อๆมา เอาไปเล่ากันแล้วก็เล่ากันอีก  อีสปเล่าในช่วงที่เปลี่ยนฐานะจากทาสเป็นทูตนี่แหละ

จนถึงงานเป็นทูตในเมืองเดลฟี่  อีสปอยู่เมืองนี้ไม่นานก็พบว่ากษัตริย์ก็อ่อนแอ ข้าราชสำนักก็ขี้ฉ้อ อีสปก็เปรียบเปรยเป็นนิทาน ปลุกระดมประชาชนให้ร่วมตัวกันต่อต้านอำนาจรัฐ

ผลก็คือความเคียดแค้นของผู้มีอำนาจ แผนการกำจัดอีสปจึงเริ่มขึ้น

จู่ๆ ขันทองของใช้ประจำตัวของพระองค์กษัตริย์ก็หายไป กระบวนการตามมา มาถึงกองสัมภาระของอีสป เมื่อพบขันทอง อีสปก็ถูกจับ  ศาลเมืองเดลฟี่ตั้งข้อหาขโมยและลบหลู่กษัตริย์ พิจารณาไม่นานก็ตัดสินให้เอาตัวขึ้นหน้าผา และจับโยนเขาลงจากหน้าผาไปสู่หุบเหว

อีสปตายไปแล้ว แต่นิทานของเขาไม่ตาย ปราชญ์รุ่นต่อๆมา เอาไปเล่าต่อ โสเครตีสเล่าให้ศิษย์อย่างเพลโตหรืออริสโตเติลฟัง นิทานอีสปกลายเป็นปรัชญาของปัญญาชน

ต่อมา ลีซิฟัส ชาวเอเธนส์ ได้ปั้นรูปอีสปไว้ที่หน้าอนุสาวรีย์ของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ดของเอเธนส์ แสดงว่าฐานะของอีสปยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้าปราชญ์สำนักใดเลย


ที่มา : คอลัมน์ ชักธงรบ "ฉากจบ...ของอีสป" โดยกิเลน ประลองเชิง น.๓ นสพ.ไทยรัฐ, ฉบับประจำวันพุธที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
3299  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงเหลืองปลากะพงหน่อไม้ดอง เมื่อ: 11 มกราคม 2559 20:34:53
.


แกงเหลืองปลากะพง หน่อไม้ดอง

• เดรื่องปรุง
- ปลากะพง 2 กิโลกรัม
- หน่อไม้ดอง 2 ขีด
- น้ำเปล่า 3 ถ้วย
- น้ำมะขามเปียก
- น้ำปลาดี


เครื่องปรุงน้ำพริก
- กระเทียมไทย ½ หัว
- หอมแดง 5-7 หัว
- ขมิ้นปอกเปลือก ยาวประมาณ 2 นิ้ว
- พริกขี้หนูสด 1 กำมือ (ซื้อมา 10 บาท ผู้ทำใส่หมด)
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- ข้าวสาร  ½ ช้อนโต๊ะ
- กะปิใต้ 1+½ ช้อนโต๊ะ  


วิธีทำ
1.โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด ใส่กะปิโขลกพอเข้ากัน
2.ต้มหน่อไม้ดอง ประมาณ 5-10 นาที เพื่อลดความเปรี้ยวและกลิ่นหมักดอง
3.ต้มน้ำเปล่าให้เดือด ใส่พริกแกง หน่อไม้ดอง
4.พอน้ำเดือดจัด ใส่ปลากะพง ปลาสุกดีแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาดีและน้ำมะขามเปียก
5.ชิมรสตามชอบ รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ... หรอยโลด..ด.ด



ปลากะพงขาว น้ำหนัก 2 กิโลกรัม
ขอดเกร็ด ทำความสะอาด ล้างให้สะอาด แล้วหั่นตามขวาง
ซื้อที่ห้างสรรพสินค้า ช่วงวันหยุดปีใหม่ ลูกค้ามาก.ก..ก..พนักงานขอดเกร็ดให้ไม่ทัน ต้องหิ้วกลับมาทำเองที่บ้าน


หน่อไม้ดอง นำไปต้มประมาณ 5-10 นาที เพื่อลดความเปรี้ยวและกลิ่นหมักดอง

เครื่องปรุงพริกแกง ใส่ข้าวสารลงไปโขลกกับเครื่องแกง เพื่อให้น้ำแกงข้น น่ารับประทาน
(คนสมัยก่อน ผสมข้าวสารโขลกรวมกับเครื่องแกง ไม่ว่าภาคกลาง ภาคใต้ หรือภาคไหนๆ)












แกงหม้อนี้ หนักไปทางปลา มีหน่อไม้เล็กน้อย

3300  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / ไขปริศนา คาถาชินบัญชร : จริงหรือ? สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้แต่ง เมื่อ: 11 มกราคม 2559 20:11:55


คาถาชินบัญชร
คาถาชินบัญชร มีชื่อเรียกว่าชินบัญชรคาถาบ้าง รัตนบัญชรคาถาบ้าง เนื้อความหรือความหมายเป็นการทูลเชิญพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ในอดีตกาล และพระมหาสาวก ๘๐ พระองค์ มาสถิตในร่างกายของผู้สวด  อัญเชิญพระสูตรปริตรมาสถิตอยู่ตามอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งภายในภายนอกให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ และอำนวยพรให้ประสบความสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลตลอดไป  คาถานี้ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดแต่ง  ได้แต่สันนิษฐานกันว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อันเป็นศรัทธาบริสุทธิ์ ไม่หวังคำยกย่องเชิดชูเกียรติคุณแต่ประการใด จึงมิได้บันทึกนามของท่านไว้ในคาถาชินบัญชรนี้

พระคาถานี้ใช้สวดในพิธีกรรมมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

คาถาชินบัญชรที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้ ปรากฏอยู่ในรูปแบบของหนังสือที่พิมพ์รวมกับยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกฯ  มีรูปสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี) ด้านหนึ่ง  อีกด้านหนึ่งเป็นคาถาชินบัญชรอักษรไทย สะกดการันต์แบบภาษาบาลีก็มี สะกดการันต์แบบภาษาไทยก็มี  พุทธศาสนิกชนทั่วไปมีความเข้าใจว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต พรหมรังสี) เป็นผู้แต่งไว้เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาสาธุชน  

ในหอสมุดแห่งชาติมีคาถาชินบัญชรอยู่หลายฉบับ บันทึกไว้ด้วยอักษรหลายภาษา เช่น อักษรไทย อักษรสิงหล อักษรขอม อักษรพม่า ดังปรากฏหลักฐานต่อไปนี้

๑.คาถาชินบัญชรฉบับอักษรไทย
มี ๑๕ คาถากึ่ง  คาถาที่ ๑-๑๔ แต่งเป็นปัฐยาวัตฉันท์  คาถาที่ ๑๕ แต่งเป็นอินทรวิเชียรฉันท์ เรียกชื่อว่า ชินบัญชรคาถา และเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นผู้แต่ง  อย่างไรก็ตามมีผู้ยืนยันว่า เมื่อสมเด็จฯ สวดต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) นั้น  ในหลวงรัชกาลที่ ๔ รับสั่งถามว่า “เพราะดี ขรัวโตแต่งเองหรือ?”  สมเด็จฯ ถวายพระพรว่า “เป็นสำนวนเก่านำมาดัดแปลงใหม่”

๒.คาถาชินบัญชรฉบับอักษรสิงหล
เรียกชื่อว่า ชินบัญชรปริตร มี ๒๒ คาถา  เข้าใจว่าพระเถระชาวลังกาเป็นผู้แต่ง โดยคาถาที่ ๑-๔ แต่งเป็นปัฐยาวัตฉันท์  คาถาที่ ๒๐-๒๒ แต่งเป็นวสันตดิลกฉันท์ ที่มีผู้เข้าใจว่าคาถาชินบัญชรแต่งโดยพระเถระชาวลังกา เพราะพบต้นฉบับคาถาชินบัญชรที่เป็นอักษรสิงหล

ความไปได้ที่คาถาชินบัญชรบันทึกไว้ด้วยอักษรสิงหล คือ
๒.๑ ในอดีตกาล มีพระเถระชาวลังกาเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ในดินแดนของไทยแถบล้านนา สุโขทัย อโยชฌปุระ (กรุงศรีอยุธยา) สิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช)  สำหรับดินแดนล้านนาไทย มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ชินกาลมาลินีปกรณ์ว่า เมื่อพระเจ้าดิส (พระเจ้าสามฝั่งแกน) ครองราชย์สมบัติในเมืองเชียงใหม่นั้น เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ ตรงกับปีจอ จุลศักราช ๗๙๒ พระเถระทั้งหลายจากลังกา มีพระเมธังกร เป็นต้น เดินทางมาที่เมืองเชียงใหม่ พักอยู่ในมหาวิหารวัดป่าแดง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางเชิงดอยสุเทพ ปัจจุบันนี้ร้างไปแล้ว
    ๒.๑.๑ ในสมัยสุโขทัย ตำนานคณะสงฆ์ บันทึกไว้ว่า ในศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชา (ลิไท) พระราชนัดดาของพระเจ้าขุนรามคำแหง ได้เสวยราชย์ ณ เมืองสุโขทัย ภายหลังพระเจ้าขุนรามคำแหงประมาณ ๗๐ ปีเศษ ว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๔ ได้โปรดให้ราชบุรุษไปอาราธนา “พระมหาสวามีสังฆราช” มาแต่ลังกาทวีป ทรงจัดให้พระมหาสวามีสังฆราชที่มาจากลังกา พำนักอยู่ ณ อรัญญิกประเทศ คือ อัมพวนาราม วัดสวนมะม่วง นอกพระนคร
    ๒.๑.๒ อโยชฌปุระ (อโยธยาเดิม หรือต่อมาคือกรุงศรีอยุธยา) หนังสือตำนานมูลศาสนา กล่าวว่า เจ้าปิยทัสสี (พระปิยทัสสีเถระ) เอาศาสนาไปประดิษฐานในอโยธยา คนทั้งหลายก็ให้เป็นมหาสวามี
    ๒.๑.๓ สิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช) มีตำนานพงศาวดารหลายฉบับกล่าวสอดคล้องต้องกันว่า พระเถระชาวล้านนา ชาวลพบุรี และชาวกรุงศรีอยุธยา ไปศึกษาและรับการอุปสมบทใหม่ที่ลังกา ขากลับได้นิมนต์พระเถระลังกามาด้วย แวะพักที่เมืองนครศรีธรรมราช อยู่จำพรรษา ๑-๒ พรรษา จึงแยกย้ายกันไปสู่เมืองมาตุภูมิของตน  โดยมอบให้พระลังกาผู้เป็นพระอนุจรหรือพระผู้ติดตาม อยู่เผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ณ เมืองนครศรีธรรมราช มีหรือไม่ ไม่มีลายลักษณ์อักษรยืนยันไว้ในเอกสารที่กล่าว

๒.๒ พระเถระชาวลังกาที่อยู่เมืองนนทบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ น่าจะได้สวดสาธยายคาถาชินบัญชรร่วมกับพระสงฆ์ไทย คงจะเป็นที่ชื่นชมของท่านมาก จึงได้บันทึกบทสวดไว้เป็นหลักฐาน เมื่อท่านเป็นพระลังกาหรือชาวสิงหล ก็ต้องใช้อักษรสิงหลบันทึก เมื่อท่านมรณภาพในเมืองเชียงใหม่หรือล้านนา คาถาชินบัญชรจึงกลายเป็นมรดกธรรมของพระเถระชาวลังกาทิ้งไว้ให้แก่เรา

๒.๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) พระเถระชาวล้านนาและกรุงศรีอยุธยา ได้ส่งพระเณรไปศึกษาพระธรรมวินัยบ้าง ไปรับการอุปสมบทใหม่บ้าง หรือเป็นสมณทูตนำคัมภีร์ในพุทธศาสนาที่มีอยู่ในประเทศไทยไปมอบให้พระมหากษัตริย์และคณะสงฆ์ชาวลังกา เพื่อเป็นหลักฐานการค้นคว้าต่อไป เนื่องจากบางช่วงเวลาพุทธศาสนาในลังกาเสื่อมถอย  พระสงฆ์ไทยที่ไปสืบพระศาสนายังประเทศศรีลังกา เช่น พระอุบาลี แห่งกรุงศรีอยุธยา ไปอยู่ประเทศลังกานานถึง ๗ ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทย ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ลังกาคงจะได้สวดสาธยายคาถาชินบัญชรด้วย พระเถระชาวลังกาอาจชอบใจ จึงจารลงใบลานเป็นหลักฐาน พระไทยรุ่นต่อๆ มาที่ไปลังกาไปพบเข้าจึงคัดลอกมา ดังมีฉบับอักษรไทยปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

๓.คาถาชินบัญชรฉบับอักษรขอม
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สังขยาปกาสกฎีกา มี ๑๔ คาถา แต่งเป็นปัฐยาวัตฉันท์ล้วน เรียกชื่อว่า รัตนบัญชรคาถา

๔.คาถาชินบัญชรฉบับอักษรพม่า
คาถาชินบัญชรฉบับอักษรพม่า ได้รับความสนใจน้อยมาก

คาถาชินบัญชรภาษาบาลี
จากต้นฉบับในหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๐ หน้า ๖๒๖๙-๖๒๗๐

๑.ชยาสนคตา พุทฺธา         เชตฺวา มารํ สวาหนํ
   จตุสจฺจาสภํ รสํ             เย บีวิสุ นราสภา
๒.ตณฺหงฺกราทโย พุทฺธา       อฏฺฐวีสติ นายกา
   สพฺเพ ปติฏฺฐิตา มยฺหํ       มตฺถเก เต มุนิสฺสรา
๓.สีเส ปติฏฺฐิโต มยฺหํ          พุทฺโธ ธมฺโม ทฺวิโลจเน
   สํโฆ ปติฏฺฐิโต มยฺหํ         อุเร สพฺพคุณากโร
๔.หทเย อนุรุทฺโธ จ            สารีปุตฺโต จ ทุกฺขิเณ
  โกณฺฑฺญโญ ปีฏฺฐิภาคสฺมิ    โมคฺคลฺลาโน จ วามเก
๕.ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ         อาสุํ อานนฺทราหุลา
   กสฺสโป จ มหานาโม        อุภาสุํ วามโสตเก
๖.เกสนฺเต (เกเสนฺเต) ปิฏฺฐิภาคสฺมิ    สุริโย ว ปภงฺกโร
   นิสินฺโน สิริสัมฺปนฺโน         โสภิโต มุมิปุงฺคโว
๗. กุมารกสฺสโป เถโร          มเหสี จิตฺตวาทโก
   โส มยฺหํ วทน นิจฺจํ          ปติฏฺฐาสิ คุณากโร
๘.ปุณโณ องฺคุลิมาโล          จ อุปาลินฺนทสีวลี
   เถรา ปญจ อิเม ชาตา      นลาเต ติลกา มม
๙.เอเตสิติ (เสสาติติ)          มหาเถรา ชิตวนฺโน ชิโนรสา
   ชลนฺตา สีลเตเชน           องฺคมงฺเคสุ สณฺฐิตา
๑๐.รตนํ ปุรโต อาสิ            ทกฺขิเณ เมตฺตสุตฺตกํ
    ธชคฺคํ ปจฺฉโต อาสิ        วาเม องฺคุลามาลกํ
๑๑.ขนฺธโมรปริตฺตญฺจ         อาฏานาฏิยสุตฺตกํ
   อากาเส ฉทนํ อาสิ          เสสา ปาการสณฺฐิตา
๑๓.ชินาณาพลสํยุตฺเต         สตฺตปาการลงฺกเต
   วสโต เม สกิจฺเจน            สทา สมฺพุทฺธปญฺชเร
๑๔.วาตปิตฺตาทิสญฺชาตา      พาหิรชฺฌตฺตุตุปทฺทวา
   อเสสา วินยํ ยนฺตุ            อนนฺตชินเตชสา
๑๕.ชินปญฺชรมชฺฌมุหิ         วิหรนฺตํ มหีตเล
   สทา ปาเลนฺตุ มํ สพฺเพ      เต มหาปุริสาสภา
๑๖.อิจฺเจวมนฺโต                สุคุตฺโต สุรกฺโข
   ชินานุภาเวน                 ชิตูปทฺทํโว
   ธมฺมานุภาเวน               ชิตาริสํโฆ
   สํฆานุภาเวน                 ชิตนฺตราโย
   สทฺธมฺมานุภาวปาลิโต        จรามิ ชินปญฺชเรติ

คำแปลคาถาชินบัญชร
โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
    ๑.สมเด็จพระนราสภ สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ขณะเมื่อประทับอยู่ ณ พระแท่นพุทธชัยอาสน์ทรงได้ชัยชนะแก่พระยามาราธิราชกับทั้งหมู่บริพารแล้วได้ตรัสรู้ ดื่มรสพระจตุราริยสัจอันประเสริฐ สมดังพระพุทธประสงค์
    ๒.ขออัญเชิญสมเด็จพระบรมนายกสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่ามุนีทั้งปวง มีจำนวนรวมกัน ๒๘ พระองค์ มีสมเด็จพระตัณหังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น จงเสด็จมาประทับอยู่ ณ เบื้องบนกระหม่อมจอมขวัญของข้าพระพุทธเจ้า
    ๓.ขออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเสด็จมาสถิตอยู่เบื้องบนศีรษะของข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญพระธรรมจงมาสถิตอยู่ในดวงเนตรทั้ง ๒ ของข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญพระอริยสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่คุณงามความดีทั้งปวงจงมาสถิตอยู่ ณ อุรประเทศของข้าพระพุทธเจ้า
    ๔.ขออาราธนาพระอนุรุทธเถรเจ้า จงมาสถิตอยู่ในดวงฤทัยของข้าพเจ้า พระสารีบุตรเถรเจ้าจงมาสถิตอยู่ ณ ส่วนเบื้องขวา พระอัญญาโกณฑัญญเถรเจ้า จงมาสถิตอยู่ ณ ส่วนเบื้องหลัง พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า จงมาสถิตอยู่ ณ ส่วนเบื้องซ้าย
    ๕.ขออาราธนาพระอานนทเถรเจ้ากับพระราหุลเถรเจ้าจงมาสถิตอยู่ ณ โสตเบื้องขวา พระมหากัสสปเถรเจ้ากับพระมหานามเถรเจ้า จงมาสถิตอยู่ ณ โสตเบื้องซ้าย
    ๖.ขออัญเชิญสมเด็จพระโสภิตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมหามุนีชั้นยอดเยี่ยมทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระพุทธสิริ ทรงมีรัศมีแจ่มจ้าดุจดวงพระอาทิตย์ จงเสด็จมาประทับนั่งสถิตอยู่ ณ ชายผมส่วนเบื้องหลังของข้าพระพุทธเจ้า
    ๗.ขออาราธนาพระกุมารกัสสปเถรเจ้า ซึ่งเป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีวาจาอันไพเราะเป็นบ่อเกิดแห่งคุณงามความดี จงมาสถิตอยู่ที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิจนิรันดร์
    ๘.ขออาราธนาพระมหาเถรเจ้าทั้งห้าพระองค์เหล่านี้คือ พระปุณณะเถรเจ้า พระองคุลิมาลเถรเจ้า พระอุบาลีเถรเจ้า พระนันทเถรเจ้า และพระสีวลีเถรเจ้า จงมาบังเกิดเป็นรอยริ้วอยู่ ณ ที่ตรงหน้าผากของข้าพเจ้า
    ๙.ขออาราธนาหมู่พระพุทธชิโนรส ชั้นพระมหาเถระทั้งหลาย ๘๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ชนะข้าศึก คือ กิเลส รุ่งเรืองงามอยู่ด้วยเดชแห่งศีล จงมาสถิตดำรงอยู่ทั่วองค์อวัยวะน้อยใหญ่ของข้าพเจ้า
   ๑๐.ขอพระรัตสูตรจงมาอยู่ส่วนเบื้องหน้าของข้าพเจ้า พระเมตตสูตรจงมาอยู่ ณ ส่วนเบื้องขวา พระธชัคคสูตรจงมาอยู่ ณ ส่วนเบื้องหลัง พระองคุลิมาลสูตรจงมาอยู่ ณ ส่วนเบื้องซ้าย
   ๑๑.ขอพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร จงสำเร็จเป็นหลังคากางกั้น อยู่เบื้องบนอากาศ พระปริตรและพระสูตรที่เหลือเศษจากนี้ จงสำเร็จเป็นกำแพงล้อมรอบ
   ๑๒.เมื่อข้าพระพุทธเจ้าประกอบการงานของตน กรงธรรมของสมเด็จพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพง ๗ ชั้น ประกอบด้วยพุทธอาณาและพลานุภาพอันมั่นคงในกาลทุกเมื่อเช่นนี้
   ๑๓.ขอให้อุปัทวันตรายทั้งหลาย ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่เหตุต่างๆ มีลมกำเริบและดีซ่าน เป็นต้น จนถึงซึ่งความพินาศดับสูญไปโดยไม่มีเหลือ ด้วยเดชอานุภาพของพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด
   ๑๔.ขอสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหมู่พระอริยสาวกทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นชั้นมหาบุรุษอย่างประเสริฐทุกๆ พระองค์เหล่านั้น จงช่วยรักษาข้าพระพุทธเจ้าผู้อยู่ ณ ภาคพื้นดิน ภายในใจกลางกรงธรรมของสมเด็จพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ
   ๑๕.ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้คุ้มครองรักษาตนได้ด้วยดีแล้ว และด้วยอานุภาพของสมเด็จพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าจงมีชัยชนะแก่อุปัทวะทั้งปวงด้วยอานุภาพของพระธรรมเจ้าขอให้ข้าพเจ้าจงมีชัยชนะแก่หมู่อริศัตรูทั้งปวง ด้วยอานุภาพของพระอริยสงฆ์ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีชัยชนะแก่อันตรายทั้งปวง
   ๑๖.ข้าพเจ้าเป็นอันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมคุ้มครองรักษาแล้ว จงประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขตกรงธรรมของสมเด็จพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าตอลดไป ฉะนี้แล

อานิสงส์สวดคาถาชินบัญชร
   ๑.รวมจิตที่ฟุ้งซ่านให้มาอยู่ในกรอบแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมโนกรรม ๓ ประการ คือ ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น มีความเห็นชอบถูกต้องตามคลองธรรม
   ๒.เป็นรากฐานหรือเบื้องต้นแห่งการฝึกสมาธิหรือเจริญสมถภาวนา ช่วยให้จิตตั้งมั่นในสมาธิได้ง่าย
   ๓.ด้วยอานุภาพแห่งบารมีของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ และพระมหาสาวก ๘๐ องค์ จะปกป้องคุ้มครองให้พ้นภัย ภยันตรายในกาลทุกเมื่อ
   ๔.ผู้ได้รับอานุภาพแห่งพระสูตร พระปริตร ที่สวดภาวนานั้นได้รับความคุ้มครองแล้ว จะประพฤติอยู่ในกรอบแห่งธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดไป

พระนามพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ จากบทสวดคาถาชินบัญชร
๑.พระตัณหังกร ๒.พระเมธังกร ๓.พระสรณังกร ๔.พระทีปังกร ๕.พระโกณฑัญญะ ๖.พระมังคละ ๗.พระสุมนะ ๘.พระเรวตะ ๙.พระโสภิตะ ๑๐.พระอโนมทัสสี ๑๑.พระปทุมะ ๑๒.พระนารทะ ๑๓.พระปทุมุตร ๑๔.พระสุเมธะ ๑๕.พระสุชาตะ ๑๖.พระปิยทัสสี ๑๗.พระอัตถทัสสี ๑๘.พระธัมมทัสสี ๑๙.พระสิทธัตถะ ๒๐.พระติสสะ ๒๑.พระปุสสะ ๒๒.พระวิปัสสี ๒๓.พระสีขี ๒๔.พระเวสสภู ๒๕พระถกุสันโธ ๒๖.พระโกนาคมนะ ๒๗.พระกัสสปะ ๒๘.พระโคตมะ  (พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒๔-๒๘ ได้รับพระสมัญญาเป็นการเฉพาะอีกว่า พระเจ้าห้าพระองค์)

นามพระมหาสาวกหรืออสีติมหาสาวก ๘๐ องค์
จากบทสวดคาถาที่ ๙ มีดังนี้คือ ๑.พระอัญญาโกณฑัญญะ ๒.พระวัปปะ ๓.พระภัททิยะ ๔.พระมหานามะ ๕.พระอัสสชิ ๖.พระนาลกะ ๗.พระยสะ ๘.พระวิมลา ๙.พระสุพาหุ ๑๐.พระปุณณชิ ๑๑.พระควัมปติ ๑๒-.พระอุรุเวลกัสสปะ ๑๓.พระนทีกัสสปะ ๑๔.พระคยากัสสป ๑๕.พระสารีบุตร ๑๖.พระโมคคัลลานะ ๑๗.พระมหากัสสปะ ๑๘.พระราธะ ๑๙.พระอุปเสนะ ๒๐.พระมหาจุนทะ ๒๑.พระขทิรวนิยเรวตะ ๒๒.พระมหาปันถก ๒๓.พระจุฬบันถก ๒๔.พระสภิยะ ๒๕.พระวักกลิ ๒๖.พระยโสชะ ๒๗.พระกุณฑธานะ ๒๘.พระปิลินทวัจฉะ ๒๘.พระปิลินทวัจฉะ ๒๙.พระมหาโกฏฐิตะ ๓๐.พระโสภิตะ ๓๑.พระอุปวาณะ ๓๒.พระองคุลิมาล ๓๓.พระสาคตะ ๓๔.พระเสละ ๓๕.พระวังคีสะ ๓๖.พระลกุณฎกภัททิยะ ๓๗.พระกุมารกัสสปะ ๓๘.พระนันทกะ ๓๙.พระสุภูติ ๔๐.พระกังขาเรวตะ ๔๑.พระนันทะ ๔๒.พระราหุล ๔๓.พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) ๔๔.พระอนุรุทธ ๔๕.พระอานนท์ ๔๖.พระภคุ ๔๗.พระกิมพิละ ๔๘.พระอุบาลี ๔๙.พระเมฆิยะ ๕๐.พระนาคิตะ ๕๑.พระสีวลี ๕๒.พระปุณณมันตานีบุตร ๕๓.พระมหาอุทายี ๕๔.พระกาฬุทายี ๕๕.พระอชิตะ ๕๖.พระติสสเมตเตยยะ ๕๗.พระปุณณกะ ๕๘.พระเมตตคู ๕๙.พระโธตกะ ๖๐.พระอุปสีวะ ๖๑.พระนันทะ ๖๒.พระเหมกะ ๖๓.พระโตเทยยะ ๖๔.พระกัปปะ ๖๕.พระชตุกัณณี ๖๖.พระภัทราวุธ ๖๗.พระอุทยะ ๖๘.พระโปสาละ ๖๙.พระโมฆราช ๗๐.พระปิงคิยะ ๗๑.พระพากุละ ๗๒.พระปิณโฑลภารทวาชะ ๗๓.พระมหากัจจายนะ ๗๔.พระโสณกุฏิกัณณะ ๗๕.พระพาหิยะ ๗๖.พระปุณณะ ๗๗.พระทัพพะ ๗๘.พระรัฐบาล ๗๙.พระโสณโถฬิวิสะ ๘๐.พระมหากัปปินะ.
หน้า:  1 ... 163 164 [165] 166 167 ... 275
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.724 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มิถุนายน 2566 17:07:12