เปิดรายงานถอดบทเรียนเลือก สว. 62 แนะ กกต.จัดเวที-อัดคลิปแนะนำตัวผู้สมัคร แก้ปมประชาชนขาดการรับรู้
<span>เปิดรายงานถอดบทเรียนเลือก สว. 62 แนะ กกต.จัดเวที-อัดคลิปแนะนำตัวผู้สมัคร แก้ปมประชาชนขาดการรับรู้</span>
<span><span>user007</span></span>
<span><time datetime="2024-05-08T19:13:07+07:00" title="Wednesday, May 8, 2024 - 19:13">Wed, 2024-05-08 - 19:13</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ย้อนอ่านรายงานถอดบทเรียนการเลือก สว.ตามบทเฉพาะกาลฯ พบพยายามแก้ปมขาดมีส่วนร่วมและการรับรู้ของประชาชนต่อกระบวนการเลือก สว. แนะกระตุ้นความสนใจของประชนชนและสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการดำเนินการให้มีการเลือกทั้ง 3 ระดับ เปิดช่องให้ผู้สมัครแนะนำตัวมากขึ้น จัดเวทีแนะนำตัวให้แก่ผู้สมัครเป็น สว. รวมถึงจัดทำเทปบันทึกภาพเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อออนไลน์ </p><p>จากกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 ลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสร้างอุปสรรคของการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน รวมทั้งมีผู้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนระเบียบดังกล่าวนั้น</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ระเบียบ กกต. เรื่องการแนะนำตัวของผู้สมัคร สว.</li></ul></div><p> </p><p>อย่างไรก็ตามปมปัญหาการขาดมีส่วนร่วมและการรับรู้ของประชาชนต่อกระบวนการเลือก สว. นี้ เคยถูกหยิบยกมาศึกษาตั้งแต่งการได้มาซึ่ง สว.ชุดปัจจุบัน โดยที่ประชุม สว. ครั้งที่ 17/2562 วันที่ 10 ก.ย. 2562 พิจารณาและมีมติตั้งคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและมอบหมายให้อนุกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คณะที่ 1 ดำเนินการพิจารณาศึกษาเรื่องการถอดบทเรียนการเลือก สว.ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 และ พ.ร.ป.ว่าดว้ยการได้มาซึ่ง สว. 2561 </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53706256982_6a8f079699_b.jpg" width="789" height="1001" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption"><meta charset="utf-8">
<span style="background-color:transparent;color:#000000;font-family:Arial,sans-serif;font-size:11pt;font-style:normal;font-variant:normal;font-weight:400;text-decoration:none;vertical-align:baseline;white-space:pre-wrap;">รายงานพิจารณาศึกษา เรื่องการถอดบทเรียนการเลือก สว.ตามบทเฉพาะกาลของ รธน. 2560 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. 2561 ของ คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา</span></p><p dir="ltr">รายงานถอดบทเรียนดังกล่าวหน้า 137-138 ระบุว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. 2561 ม.18 ที่กำหนด "ห้ามมิให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยรายชื่อผู้สมัครและจํานวนผู้สมัครในแต่ละกลุ่มจนกว่าจะพ้นระยะเวลารับสมัคร" ประกอบ ม.36 ได้กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการแนะนำตัวของผู้สมัครและบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้สมัครที่จะช่วยเหลือในการแนะนำจัวไว้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขตามที่ กกต. กำหนด ซึ่งการแนะนำตัวจะเป็นไปตามแบบ สว. 18 โดยห้ามมิให้มีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ความคืบหน้าในการดำเนินการให้มีการเลือก สว. ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ประเด็นปัญหา คือ การกำหนดความดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถเข้าไปสังเกตการณ์หรือนำเสนอข้อมูบข่าวสารให้ประชาชนรับทราบการดำเนินการให้มีการเลือก สว. ทั้ง 3 ระดับได้ </p><p dir="ltr">ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขของสำนักงาน กกต. ไว้ด้วยว่า 1.ให้มีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดเสมือนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระตุ้นความสนใจของประชนชนและสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการดำเนินการให้มีการเลือก สว. ระดับ อำเภอ ระดับจังหวัดและระดับประเทศ 2. ควรมีการกำหนดวิธีการแนะนำตัวของผู้สมัครให้มากยิ่งขึ้นโดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครคัดเลือก สว. ได้มีการแนะนำตัวผ่านช่องทางอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดเวทีแนะนำตัวให้แก่ผู้สมัครเป็น สว. การจัดทำเทปบันทึกภาพเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อออนไลน์ เป็นต้น</p><p class="picture-with-caption" dir="ltr"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53707163816_26df8b974f_o.jpg" width="726" height="462" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption" dir="ltr">
<span style="background-color:transparent;color:#000000;font-family:Arial,sans-serif;font-size:11pt;font-style:normal;font-variant:normal;font-weight:400;text-decoration:none;vertical-align:baseline;white-space:pre-wrap;">รายงานพิจารณาศึกษา เรื่องการถอดบทเรียนการเลือก สว.</span><span style="background-color:transparent;color:#000000;font-family:Arial,sans-serif;font-size:11pt;font-style:normal;font-variant:normal;font-weight:400;text-decoration:none;vertical-align:baseline;white-space:pre-wrap;">ฯ หน้า 137</span></p><p dir="ltr">ข้อเสนอแนะของรายงานการวิจัยกระบวนการได้มาซึ่ง สว. 1. ควรปรับปรุงแก้ไขหลักการและวิธีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลหรือนําเสนอข่าวสารข้อมูลของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการดําเนินการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยให้ สำนักงาน กกต. สามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเพื่อให้สื่อมวลชนและประชาชนเกิดความตื่นตัวมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการเลือก สว. รวมทั้งสํานักงาน กกต.สามารถดําเนินการเชิงรุกในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง</p><p dir="ltr">2. การส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนถึงกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาให้มากขึ้น สํานักงาน กกต. ทั้งในส่วนกลางและส่วนจังหวัดควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนถึงกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยดําเนินการสร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกแขนงในการประชาสัมพันธ์ถึงกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละขั้นตอนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนให้ความสําคัญและตระหนักถึงความสําคัญในการมีส่วนร่วมในกระบวนการได้มาซึ่ง สว. พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจต่อประชาชนผู้ที่มีความสนใจให้ลง สว. โดยในช่วงก่อนการดําเนินการเลือกหรือเลือกตั้ง สว. ในอนาคต ควรจะต้องมี การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ หลากหลายช่องทาง และต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้กลไกผู้นําชุมชนและเครือข่ายชุมชนไปพร้อมกับการอาศัยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตําบล (ศส.ปชต.) ให้เป็นกลไกในการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในชุมชนและสังคมเพื่อกระตุ้นจิตสํานึกของประชาชนให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่สําคัญของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสถาบันที่สําคัญทางการเมือง</p><p class="picture-with-caption" dir="ltr"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53706256967_0625a5cc50_b.jpg" width="729" height="1008" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption" dir="ltr">
<span style="background-color:transparent;color:#000000;font-family:Arial,sans-serif;font-size:11pt;font-style:normal;font-variant:normal;font-weight:400;text-decoration:none;vertical-align:baseline;white-space:pre-wrap;">รายงานพิจารณาศึกษา เรื่องการถอดบทเรียนการเลือก สว.</span>ฯ หน้า 138</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7-0" hreflang="th">สว.[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95" hreflang="th">กกต.[/url]</li>
</ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/05/109133