[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2567 13:14:22



หัวข้อ: รองเท้านารีเหลืองกระบี่ - พืชถิ่นเดียวและหายากในไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2567 13:14:22

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61599888280034_433420458_1810364532812552_116.jpg)
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ : ภาพระบายสีน้ำ

รองเท้านารีเหลืองกระบี่
พืชถิ่นเดียวและหายากของประเทศไทย

รองเท้านารีเหลืองกระบี่
ชื่อพฤกษศาสตร์       Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe
วงศ์    ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น   เหลืองกระบี่


รองเท้านารีเหลืองกระบี่ เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ค้นพบโดย Mr.H.Ridley ในปี ค.ศ.๑๘๙๑ โดยตั้งชื่อ Paph.insigne var.exul ภายหลังจึงจำแนกมาเป็นสายพันธุ์เฉพาะ คือ Paph.exul  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รองเท้านารีเหลืองกระบี่เป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบเดี่ยว จำนวน ๔-๖ ใบ ออกทแยงกัน ใบเดี่ยว จำนวน ๔-๖ ใบ กว้าง ๒.๕-๓ ซม. ยาว ๒๐-๓๐ ซม. ใบสีเขียวเป็นมัน รูปขอบขนาน ตรงกลางเป็นร่องรูปรางน้ำ ใบเป็นมันสีเขียวสม่ำเสมอทั้งสองด้าน ไม่มีลาย แตกหน่อง่าย มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ ดอกใหญ่เป็นดอกเดี่ยว ขนาดดอกใหญ่บานเต็มที่กว้าง ๖-๙ ซม. ก้านดอกยาวประมาณ ๑๒-๑๕ ซม. กลีบดอกด้านบนรูปมนกว้าง พื้นสีเหลืองอมเขียว ขอบกลีบย่นสีขาว กลีบคุ้มไปทางด้านหน้า กลีบด้านข้างสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองอมน้ำตาล มีลายจุดสีม่วงน้ำตาลเข้มชัดเจน กลีบกระเป๋าสีเหลืองเป็นมัน

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด พบเฉพาะตามป่าเขาติดชายฝั่งทะเล และตามรอยแยกของหินที่ปกคุมไปด้วยมอสส์บนเขาหินปูนบนเกาะที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน โดยขึ้นอยู่สูง ๑๐-๑๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล พบในจังหวัด พังงา กระบี่ สตูล และตรัง ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน

สถานภาพ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31650693962971_432917287_1810365096145829_150.jpg)
  
800/450


หัวข้อ: Re: รองเท้านารีฝาหอย - พืชหายากในไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มีนาคม 2567 13:22:49

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71577492397692_432991450_1811018932747112_828.jpg)
รองเท้านารีฝาหอย : ภาพระบายสีน้ำ

รองเท้านารีฝาหอย
พืชหายากของประเทศไทย

รองเท้านารีฝาหอย
ชื่อพฤกษศาสตร์       Paphiopedilum bellatulum (Rchb. f.) Stein
วงศ์    ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น   รองเท้านารีเหลืองพังงา เอื้องฝาหอย


รองเท้านารีฝาหอย (อังกฤษ: Egg-in-a-nest Orchid) เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รองเท้านารีฝาหอยเป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกเป็นกอใหญ่ ออกดอกเดี่ยว ค่อนข้างกลม  กลีบบนและกลีบในสีขาวเป็นมัน ค่อนข้างหนา ออกทแยงกัน ๔-๖ ใบ รูปขอบขนาน ตรงกลางเป็นร่องยาวแบบรางน้ำ ผิวใบด้านบนสีเขียว มีลายสีครีมทั่วไป ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกใหญ่ บานเต็มที่กว้าง ๖-๙ เซนติเมตร ออกเป็นช่อที่ปลาย ๑-๒ ดอก ก้านช่อตั้งตรง จากแกนลำต้น ยาว ๕-๙ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีขนละเอียด แผ่นกลีบมีจุดลายสีม่วงคล้ำ กลีบกระเป๋าสีขาวล้วนหรือมีลายจุดสีม่วงอ่อนประปราย

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด พบตามดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยขึ้นอยู่สูง ๗๐๐-๑.๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ในป่าดิบภูเขา โดยขึ้นอยู่ตามรอยแตกของหินที่ปกคลุมไปด้วยมอส หรือตามบริเวณป่าไผ่ที่มีการทับถมของใบไผ่ และมีความชื้นสูง ได้ร่มเงาจากต้นไม้ โดยจะได้รับแสงที่ทะลุผ่านตามช่องของใบไม้ และจะได้รับแสงมากขึ้นเมื่อป่ามีการผลัดใบในหน้าหนาว  และยังอยู่ตามซอกเขาหินปูนบนเกาะและตามฝั่งทะเล จนถึงระดับความสูง ๑๕๐ เมตร ต่างประเทศพบที่พม่าฝั่งทะเลอันดามัน จีน และลาว  ออกดอกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และ พฤศจิกายน - ธันวาคม

สถานภาพ พืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์


  
800/450