[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 00:53:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดไทในดงฮินดู ( คอลัมน์บทความพุทธิกา )  (อ่าน 852 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2559 03:01:52 »



วัดไทในดงฮินดู

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 เดือนเมษายน 2557

อย่างที่รู้ อินเดียเป็นถิ่นกำเนิดของพุทธศาสนา แต่พุทธศาสนาเหลืออยู่ก็มักเป็นในชุมชนคนไท

คนไท ซึ่งไม่ใช่คนไทยที่โยกย้ายเข้าไปรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานใหม่ หากแต่เป็นคนไทอีกสายที่อพยพไปสร้างบ้านแปลงเมือง อาจจะพร้อมๆ กับที่เราสร้างกรุงสุโขทัย

เป็นคนไทที่ยังคงวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบคนไท ทั้งรูปแบบการแต่งกาย การกินอยู่ ที่อยู่อาศัย การรับแขก และโดยเฉพาะภาษาพูด ซึ่งทุกวันนี้คนไทในอัสสัมยังพอพูดจากันรู้เรื่องกับคนไทยเรา คำพื้นฐานในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ยังเป็นคำเดียวกัน โดยเฉพาะการเรียกอวัยวะร่างกาย สรรพนามเรียกขานในเครือญาติ การนับเลข ฯลฯ

รวมทั้งความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา

ในทุกชุมชนชาวไทพาเก ในแคว้นอัสสัม สุดแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต้องมีวัดเก่าแก่อยู่ในชุมชน และการสร้างวัดใหม่ก็ยังเป็นค่านิยมของชาวไทพาเกที่นั่นด้วย

ยังไม่นับรวมว่าทุกบ้านต้องมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นห้องพระ และการสวดมนต์ถือเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันที่พวกเขาจะปฏิบัติทุกเช้าเย็น
มีแง่มุมมากมายที่น่าเล่า แต่ในที่นี้จะขอเริ่มที่ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งที่วัดน้ำพาเก

หมู่บ้านน้ำพาเกตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบุรีดิหิงช่วงปลาย ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำพรหมบุตร ที่เมืองดีบรูการ์ วัดน้ำพาเกตั้งอยู่บนโคกสูงตรงโค้งแม่น้ำที่ไหลเลี้ยวหักศอกลงไปทางตะวันตก เป็นบริเวณที่มีภูมิทัศน์งดงามยิ่ง บนขอบตลิ่งริมลานวัดเป็นจุดที่มองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นจากแม่น้ำได้ในยามเช้า และเลื่อนลับลงหาแม่น้ำอีกด้านในตอนเย็น หากเดินตามความลาดชันของแนวตลิ่งลงไป ก่อนได้สัมผัสกับสายน้ำชุ่มเย็นที่ยังเป็นที่อาบน้ำซักผ้าของชาวบ้าน จะผ่านลายทรายกว้างซึ่งเป็นสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน โดยเฉพาะในวันงานบุญสงกรานต์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ เคยเสด็จเยือนวัดน้ำพาเกเมื่อปี 2552 ซึ่งมีการสร้างอนุสรณ์จารึกไว้ที่หน้าวัด

นอกจากการทำนุบำรุงวัดการทำบุญอีกอย่างหนึ่งที่คนไทพาเกนิยมกันมากเห็นจะเป็นการสร้างพระไตรปิฎกถวายวัด ห้องโถงชั้นล่างของอาคารที่เพิ่งสร้างใหม่ของวัดน้ำพาเกดูคล้ายเป็นห้องสมุดที่เก็บสมุดข่อยเก่าๆ ที่เขียนด้วยอักษรไท หลากเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวพุทธ แต่ที่น่าสะดุดตาเป็นชั้นของพระไตรปิฎกแบบใหม่ที่คนนำมาถวายกันในยุคหลัง ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกแบบซีร็อกซ์ เป็นวิธีการที่ง่าย ไม่ต้องนั่งคัดลอกกันอยู่โบร่ำโบราณ

แขกจากเมืองไทยได้เยี่ยมชมแทบทุกซอกมุมของวัดก็ด้วยมีเพื่อนในคณะของเราบางคนสนิทสนมกับผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่มีนามฉายาว่า โฮรุภันเต ภิกษุวัย 30 กว่า ที่ดูเงียบขรึมกว่าอายุจริงในบางบุคลิก และกลับร่าเริงเหมือนเด็กๆ ในบางขณะ

โอ้ เชิญๆ นี่พื้นที่ของฉัน โฮรุภันเตเชื้อเชิญอย่างยินดีแต่แรกที่เราเข้าไปถึงหน้าอาราม จากนั้นก็สนทนาวิสาสะ ให้ดูโน่นนี่ ซึ่งตลอดเวลาท่านพูดเสียงดัง หัวเราะอย่างรื่นเริง จนดูเหมือนขาดความสำรวมหากถือตามขนบของพระไทย เพื่อนเราที่สนิทกับท่านกระเซ้าว่า ให้ควบคุมตัวเองหน่อย ท่านบอก ควบคุมไม่ได้แล้วตอนนี้

แต่เราไม่คิดว่าบุคลิกที่เห็นต่อหน้าจะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ความจริงพื้นๆ สอนเราอยู่เสมอว่าแก่นสารกับภาพลักษณ์ภายนอกบางทีก็เป็นคนละเรื่อง

จนเมื่อท่านเดินนำเราเข้าไปเยี่ยมบ้านคนไทในหมู่บ้าน เจอเด็กร้องไห้โยเยท่านก็ล้วงเอาเงินยื่นให้ไปซื้อขนมกิน ไปเจอเด็กเล็กๆ ที่ยังพูดจากันไม่รู้เรื่องท่านก็เป่าปากเป็นเสียงนก เสียงสัตว์แปลกๆ ให้เด็กได้ตื่นใจเล่น กับอีกทีท่านถึงกับเอาเขี้ยวเสือมาจ่อที่มุมปากแล้วทำหน้าทำตาและส่งเสียงคำรามอย่างเสือ ฯลฯ

ผมก็ครื้มใจว่าเราคงเจอพระเซนเข้าให้แล้ว ดังที่เคยได้ยินว่าพระที่บรรลุเซนแล้วอาจเที่ยวร้องเพลงเล่นวิ่งจับกับเด็กๆ ได้โดยไม่ไยดีกับคำก่นด่าหรือสรรเสริญ
แต่ในอีกวัน ผมมาถึงศาลาวัดในช่วงที่มีแขก(อาคันตุกะ)ฮินดูกลุ่มใหญ่มาเยือนวัด โฮรุภันเตที่ยืนเทศนาอยู่ต่อหน้าศาสนิกต่างศาสนานั้นดูเหมือนเป็นคนละคน ท่านพูดจาในน้ำเสียงอ่อนโยน ช้า ชัด และเบา อย่างสำรวม เคลื่อนไหวเนิบช้า แม้ในช่วงท้ายที่ท่านไปหยิบเอาคัมภีร์ใบลานมาคลี่ถือให้แขกที่เป็นเยาวชนฮินดูถ่ายรูป หน้าตาของท่านก็ยังคงเรียบขรึมดูเข้ากันดีกับคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ

ความจริงอาตมาเป็นพระที่มีชื่อเสียงนะ โฮรุภันเตกระซิบกับผมเมื่อบรรดาแขกแยกย้ายกันไปเดินดูวัด และเป็นครูที่ดีด้วย อาตมาพยายามให้สิ่งดีกับชาวฮินดูที่เข้ามาในวัด ท่านพูดจริงจัง ในบุคลิกที่แตกต่างอย่างกลับด้านกับเมื่อวันก่อน

วัดพุทธอยู่ในชุมชนชาวไทพุทธ แต่รายรอบล้วนเป็นคนต่างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะชาวฮินดู แล้วด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บนที่สวยงามทางภูมิทัศน์ธรรมชาติ จึงเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีคนอยากมาเที่ยว

เรารู้จากการปะติดปะต่อคำบอกเล่าของหลายๆ คนว่า ช่วงหลังมานี้การเข้ามาของคนจากข้างนอกหนักหน่วงจนคนในถิ่นรู้สึกถูกรบกวน แต่โฮรุภันเภก็เปิดวัดต้อนรับคนต่างศาสนา จนถูกบางคนค่อนขอดว่าเป็น บริษัทโฮรุ

ได้ยินอย่างนี้ใจเราก็แกว่ง คลายความเลื่อมใสไปบ้างเหมือนกัน

เมื่อลองหยั่งด้วยคำถามว่า แล้วท่านเป็นคนไทพาเกในในหมู่บ้านนี้ไหมเล่า ท่านเลี่ยงที่จะบอกว่าตัวเองไม่ได้เป็นไทพาเก หากแต่เป็นเนปาลี ด้วยคำตอบคมคายว่า อาตมาไม่เป็นใครแล้วในทุกวันนี้ อาตมาเป็นภันเต (พระ)

หัวค่ำวันที่เราจะเดินทางออกจากหมู่บ้าน เราตั้งใจว่าจะต้องนมัสการลาท่านด้วย จอดรถลงเดินเข้าไปถึงหน้าศาลาในจังหวะเดียวกับที่ท่านเดินออกจากใต้ร่มโพธิ์ต้นใหญ่

ท่านบอกว่ามาจากบูชาพระ

ผู้ใหญ่ในคณะของเราบอกว่าจะหาทางนิมนต์ท่านไปจำพรรษาศึกษาธรรมที่วัดป่าในเมืองไทย โฮรุภันเตเคยมาเมืองไทย มีโอกาสได้ไปจำวัดและเดินบิณฑบาตกับพระสงฆ์ที่วัดหลวงปู่มั่น เพื่อนที่ตามปฏิบัติอุปัฏฐากบอกว่าดูท่านพึงใจมาก เมื่อได้ยินคำปรารภนิมนต์อีก โฮรุภันเตก็ตอบรับอย่างยินดี

ที่นี่เหมือนเป็นธุรกิจไปแล้ว ท่านพูดคำนี้ออกมาเอง ท่านอาจระแคะระคายถึงสิ่งที่ชาวบ้านครหาหรือหยั่งรู้ในสิ่งที่เราได้ฟังมาก็ตาม ท่านว่า ถ้าได้ไปอยู่ในที่สงบอย่างนั้นก็คงได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ธรรมจริงจัง

เรานมัสการลาในท่วงทีเงียบขรึมน่าเลื่อมใสของท่าน

เพื่อนเราคนที่สนิทกับท่านมากที่สุด ทรุดตัวลงก้มกราบ-ในจังหวะเดียวกับที่ท่านผละไปทำอะไรสักอย่าง จึงไม่ทันได้รู้เห็นว่าถูกกราบ

แต่อีกใจหนึ่งเราไพล่ตีความไปว่านั่นอาจเป็นความฉับไวของผู้พ้นติฉิน-สรรเสริญไปแล้ว

ย่อมหลีกหนีทุกการกราบไหว้และการยกย่องสรรเสริญ

อย่างในตำนานเรื่อง “ท่านกานซานและท่าจิเต้แกล้งบ้า” ที่ฝาผนังโรงมหรสพทางวิญญาณ ที่สวนโมกข์ ไชยา

วีระศักร จันทร์ส่งแสง

จาก http://www.budnet.org/article/?p=1367

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.276 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 15:25:43