[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 00:04:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พรรณไม้มงคล ในขันหมาก  (อ่าน 4566 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2558 09:37:52 »

.


พรรณไม้แห่งความรัก

ประเพณีการแต่งงานของไทย เริ่มต้นด้วยการส่งขันหมาก ตั้งแต่วันที่ไปสู่ขอ วันหมั้น จนถึงวันแต่งงาน...คำถาม ก็คือ ...ทำไมในขันต้องเป็นหมาก เป็นไม้ชนิดอื่นไม่ได้หรือ?

ในหนังสือพืชพรรณไม้มงคล (สำนักพิมพ์พิมพ์คำ พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๔) อาจารย์ ส.พลายน้อย อธิบายไว้ว่า ไม่ใช่แต่คนไทยเท่านั้น ชาวเมืองใกล้เคียง เช่น มลายู ชวา ต่างก็มีธรรมเนียมใช้หมากเป็นเครื่องแสดงความเป็นมิตรไมตรี

ใครได้กินหมากร่วมเชี่ยน ถือว่าเป็นพวกเดียวกัน สนิทสนมไว้วางใจกัน

ธรรมเนียมชวา มลายู เจ้าของบ้านต้อนรับแขกด้วยการเลื่อนเชี่ยนหมากออกมาให้กินด้วยกัน แสดงความเต็มใจต้อนรับ ผู้หญิงชวาโบราณไม่ชอบผู้ชายไม่กินหมาก เป็นเหตุให้หาผู้ชายไม่กินหมากในชวาได้ยาก

ผู้ชายผู้หญิงไทยในอดีต นิยมกินหมาก การให้หมากกันและกัน จึงเป็นการแสดงความรัก

เมื่อความรักสุกงอมถึงขั้นสู่ขอ...จึงเริ่มต้นด้วยการใช้ขันหมาก

ประเพณีโบราณของไทย มีขันหมากเป็นสองระยะ เมื่อฝ่ายชายไปขอ ตกลงกัน เรียกว่าขันหมากหมั้น

ขันหมากหมั้น มีสองที่ คือขันใส่หมากทั้งผลและพลูใบขันหนึ่ง และขันใส่ทองคำตามน้ำหนักที่ตกลงกันกับขนมต่างๆ อีกขันหนึ่ง

“การจัดขันหมากหมั้น ไม่เป็นแบบตายตัวเหมือนกันไปหมด” ส.พลายน้อยว่า

บางตำรา ขันหนึ่งใส่เงินทองของหมั้นกับถุงถั่วเขียว ๑ ถุง ข้าวเปลือก ๑ ถุง ข้าวตอก ๑ ถุง งาดำ ๑ ถุง ใบเงิน ใบนาก มีผ้าคลุม

ผู้รู้บางท่านบอกว่า การเอางาคลุกเคล้ากับเงินทุนสินสอดทองหมั้น มีความหมายตามแบบอินเดีย ชาวองคราษฎร์ นับถืองาว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งสมบูรณ์

อีกขันใส่หมากพลู หมาก ๘ ผล ตัดเป็นระแง้ (กิ่งที่แยกออกจากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือแบ่งระแง้ละ ๒ ผลก็ได้ ผ่าก้นหมากออกทาชาด พลู ๔ เรียง เรียงละ ๘ ใบ เมื่อเรียงแล้วยังตัดก้านให้เสมอกัน ทาชาดที่รอยตัด มีผ้าคลุมขันเรียบร้อย

ตอนไปแต่งงาน ก็ต้องใช้ เรียกว่าขันหมากแต่ง เฉพาะขันหมากแต่ง ยังแบ่งเป็นขันหมากเอก ขันหมากโท บางท้องถิ่นเรียกขันหมากเลว

ขันหมากเอก เป็นขันใส่ข้าวสาร หมากทั้งผล พลูจีบ ลำดับเรียงรอบปากขัน มีฉัตรระย้าทองอังกฤษปักเป็นยอด ตั้งบนพานแว่นฟ้า (โดยทั่วไปใช้ขันเงิน มีผ้าสีชมพูคลุม)

บางแห่ง การจัดขันหมากเอก อย่างขันหมากหมั้น  ส่วนขันหมากโท หรือขันหมากเลว ก็มีขนมหรือผลไม้ บางทีก็ใช้ถาดปักธงกระดาษสีแดง จัดเป็นคู่ ให้คนถือเดินเคียงกัน บางงานมีขันเงินทุน และขันเงินสินสอด ในขันจะมีใบเงินใบทอง ใบแก้ว ใบรัก ใบสวาด ดอกพุทธชาด ดอกบานไม่รู้โรย ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ เมล็ดถั่วงา ข้าวเปลือก ข้าวโพด แป้งกระแจะ

พืชพรรณไม้ต่างๆ เหล่านี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย บอกว่า มีความหมายถึง ความรัก ความสดชื่น ความยั่งยืน ความเจริญงอกงาม ความมั่งคั่ง

ชีวิตคู่ ชีวิตรัก ถ้ามีสิ่งเหล่านี้ครบครัน ก็จะเป็นชีวิตที่มีความสุข

ประเพณีบ่าวสาวแบบโบราณของนครศรีธรรมราช ในขันหมาก (ใช้พาน) ก่อนจะบรรจุหมากพลู จะต้องปูด้วยใบเงิน ใบทอง และใบทองหลาง

บางแห่งขอแต่เงินสินสอดกับหมาก ๑๕ คำ ถึงกำหนดแต่งฝ่ายชายก็ไปบ้าน ขึ้นบนเรือนนั่งบนเสื่อที่ฝ่ายหญิงจัดไว้ มีหมอนใบหนึ่ง บนหมอนมีหมาก ๙ คำ แบ่งออกเป็น ๓ กอง กองละ ๓ คำ คือทางซ้าย กลาง และทางขวา

เมื่อฝ่ายชายนั่งเรียบร้อยก็จะกราบลงที่หมอน กราบครั้งแรกเอามือขวากวาดหมากทางซ้ายให้ตกจากหมอน กราบครั้งที่ ๒ เอามือซ้ายกวาดหมากทางขวาให้ตกจากหมอนอีก

กราบครั้งที่ ๓ กอบเอาหมากกองกลางขึ้นวางไว้บนแพพานผ้าขาวที่ทำเตรียมไว้

กราบเสร็จ ฝ่ายชายก็เอาหมากและสิ่งของ ที่เตรียมสำหรับไหว้ ไปส่งให้บิดามารดาฝ่ายหญิง

นอกจากใช้พืชพรรณไม้มงคล ในขันหมากแล้ว ในที่นอนก็นิยมบรรจุใบเงินใบทองไว้ที่มุมฟูกด้านหัวนอน

เรื่องนี้ ส.พลายน้อย เข้าใจว่า จะเป็นของที่คิดขึ้นภายหลัง คนมอญเคยใช้เงินทองจริงๆ คนไทย อาจจะใช้เงินหรือทองจริงๆ เหมือนคนมอญ

ขบวนแห่ขันหมาก สมัยก่อน นิยมเอาอ้อยเข้าไปในขบวน มักจะทำเป็น ๒ มัด เมื่อถึงเรือนเจ้าสาว ก็จะเอามัดอ้อยไปผูกเป็นซุ้มประตู

พระยาอนุมานราชธน เขียนไว้ในหนังสือ ประเพณีแต่งงานว่า บางตำราว่า ต้องมีต้นอ้อยแดงคู่หนึ่ง ต้นอ้อยแดงเป็นเครื่องหมายแสดงว่า เป็นอาวาหมงคล หญิงไปอยู่บ้านชาย ถ้าใช้ต้นอ้อยขาวหรือต้นอ้อยไทย เป็นวิวาหมงคล ชายไปอยู่บ้านหญิง

ในเมืองจีน ขบวนขันหมาก ก็ใช้ต้นอ้อย (ไม่เลือกอ้อยแดงอ้อยขาว) ผูกผ้าแดงนำหน้าขบวน

พิธีแต่งงานของชวา ประตูทางเข้าปะรำแต่งงาน ปักต้นอ้อย และต้นกล้วยมีเครือ  อธิบายว่า อ้อยเป็นเครื่องหมายแห่งความหวาน คู่สมรสจะได้ประสบชีวิตอันหวานฉ่ำตลอดไป ส่วนต้นกล้วยมีเครือ ไม่มีคำอธิบาย แต่ก็พอเข้าใจ ว่าหมายถึงการมีลูกหลานสืบวงศ์วานว่านเครือให้ขยายใหญ่โตต่อไป.



ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.255 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 06:13:08