[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 22 ตุลาคม 2563 13:03:20



หัวข้อ: ว่ากันด้วยเรื่องของ "หมวกพยาบาล"
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 22 ตุลาคม 2563 13:03:20


ว่ากันด้วยเรื่องของ "หมวกพยาบาล"


          หมวกพยาบาลนั้นวิวัฒนาการมาจากหมวกของแม่ชีในศาสนาคริสต์ เพราะพยาบาลเริ่มต้นมาจากการที่ผู้ศรัทธาในพระเจ้า รวมกลุ่มกันทำงานช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย
ในสมัยของ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (ค.ศ. ๑๘๒๐-๑๙๑๐) สตรีชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในด้านการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบัน หมวกเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลในโรงเรียนของเธอ ในราวปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ชุดสีขาวเป็นเครื่องแบบที่กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลสวมใส่ ถือกันว่าสีขาวเป็นสีของผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว
(http://fai107.tripod.com/nitegale.gif)
มิสไนติงเกล "Lady of The Lamp"


   
         ในประเทศไทย นักศึกษาพยาบาลในสถาบันต่างๆ  เช่นวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จะมีพิธีรับหมวก (capping ceremony) โดยนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ที่ผ่านการศึกษาสองเทอมแรกแล้ว จะเข้าพิธีรับหมวกในเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในสังกัดพระบรมราชชนกก็มีพิธีรับหมวกเช่นกันดูได้ที่ thainurse หน้าแรกนะคะซึ่งพิธีนี้ถือเป็นพิธีที่นักศึกษาพยาบาลทุกคนให้ความสำคัญ และตื่นเต้นมากที่จะได้สวมหมวกพยาบาล เพราะหมวกสีขาวนั้นเป็นเครื่องหมายว่าได้เข้าสู่การเป็นพยาบาลโดยสมบูรณ์ "ตั้งแต่หัวจรดเท้า" และตระหนักรู้ว่าจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และต้องเป็นนางพยาบาลที่ดีตามความคาดหวังของสังคม


(http://fai107.tripod.com/nurses.gif)

นักเรียนพยาบาลและอาจารย์พยาบาล จากMack Training School St.Catherines, Ontario, ในปี คศ.1902


         ดังนั้นหมวกพยาบาลจึงเป็นหมวกอีกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นเพียงสัญลักษณ์ว่า ผู้ที่ใส่นั้นเป็นบุคคลซึ่งได้รับการศึกษาวิชาการพยาบาล และพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วย เมื่อหมวกนั้นไม่ได้มีไว้ใส่กันแดดกันฝน การที่มันจะมีรูปร่างแปลกออกไปบ้าง หรือดูแล้วไม่น่าจะใช้ประโยชน์ได้จริง ก็ไม่น่าเป็นเรื่องที่เราจะต้องตั้งข้อสงสัยอีกต่อไป   ส่วนแถบสีดำที่อยู่บนหมวกพยาบาล พอจะใช้เป็นเครื่องสังเกตได้บ้างว่าเจ้าของหมวกนั้นจบการศึกษาระดับใด และเป็นหัวหน้าพยาบาลหรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พยาบาลในบ้านเรามีต้นสังกัดแตกต่างกันมากมาย เช่น สังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดแถบบนหมวกไม่เหมือนกัน

         ผู้ที่จบการศึกษาพยาบาลมีสองประเภท ประเภทแรกคือผู้ที่จบการศึกษา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น (เรียนสองปี) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พยาบาลเทคนิค (TN) จะติดแถบขนาดกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตรตลอดความกว้างของหมวก ส่วนผู้ที่จบหลักสูตรระดับปริญญาตรี จะเรียนสี่ปี  เรียกว่าพยาบาลวิชาชีพ (RN) จะติดแถบขนาดกว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตรตลอดความกว้างของหมวก และถ้าเป็นหัวหน้าพยาบาลหรือหัวหน้าหอผู้ป่วย แถบจะกว้างขึ้นอีกเล็กน้อย ในบางโรงพยาบาลอาจให้ติดแถบกว้าง ๑ เซนติเมตรสองแถบขนานกัน

         มีข้อสังเกตว่าโรงพยาบาลทหารบางแห่ง เช่น โรงพยาบาลภูมิพลในสังกัดกองทัพอากาศ แถบบนหมวกพยาบาลจะเป็นสีน้ำเงินแทนที่จะเป็นสีดำ
ในโรงพยาบาลบางแห่งอีกเช่นกัน อาจจะพบว่ามีพยาบาลที่ติดแถบหมวกเฉียงที่มุมด้านขวา นั่นคือตำแหน่งเจ้าหน้าที่พยาบาลหรืออาจเรียกได้ว่า ผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมีน้อยแล้ว ในบางแห่งอาจกำหนดให้ผู้ช่วยพยาบาลสวมเครื่องแบบเสื้อปกคอบัว
ในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช รามาธิบดี หมวกพยาบาลจะเป็นสีขาวล้วนไม่ติดแถบใด ๆ ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ระเบียบปฏิบัติเหล่านี้อาจแตกต่างกันได้   

(http://fai107.tripod.com/WP1_Picture.jpg)

รูปทรงของหมวกพยาบาลต่างประเทศ

(http://fai107.tripod.com/Nrs-1901_small.jpg)

เครื่องแบบพยาบาลทหาร (Army nurse) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

(http://2.bp.blogspot.com/-TEiqHptfcx4/TjF8I4Umo2I/AAAAAAAAAHU/vhVT9OhJh8c/s320/06182_002%255B1%255D.jpg)

หมวกพยาบาลไทย

ที่มาhttp://fai107.tripod.com/nursehat.htm] [url]http://fai107.tripod.com/nursehat.htm (http://[url)[/url]