[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:16:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป่าสนเขา หรือป่าสน (Coniferous Forest/Pine Forestt) : บทความ  (อ่าน 432 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 มิถุนายน 2566 14:14:09 »


ภาพจาก : อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย


ภาพจาก : อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

ป่าสนเขา หรือป่าสน

ป่าสนเขา หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า ป่าสน (Coniferous Forest หรือ Pine Forest) เป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบ มีองค์ประกอบของสนสองใบหรือสนสามใบเป็นไม้เด่น สังคมป่าประเภทนี้ค่อนข้างโล่ง พื้นล่างปกคลุมด้วยพื้นหญ้า ในประเทศไทย มักเห็นป่าสนเขาในพื้นที่สูงตามภูเขาเป็นส่วนใหญ่ มีอยู่มากในภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๗๐๐ เมตรขึ้นไป และในบางครั้งอาจพบในพื้นที่ซึ่งมีระดับความสูงเพียง ๒๐๐-๓๐๐  เมตรเท่านั้น พบกระจายตั้งแต่จังหวัดเชียงรายลงมาจนถึงตาก เพชรบุรี เทือกเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดชัยภูมิ  ส่วนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปยังไม่ปรากฏว่าพบป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ  

ป่าสนเขาปกติมักปรากฏอยู่ที่ระดับต่ำกว่าป่าดงดิบเขา หรืออาจอยู่ในระดับเดียวกัน แต่ในพื้นที่มักจะแห้งแล้งกว่า หรือบริเวณที่ดินเก็บน้ำได้ไม่ดี มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ มีความเป็นกรดสูง ลักษณะเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบ ต้นสนเขาบางทีจะขึ้นอยู่เป็นหมู่ล้วนๆ โดยไม่มีต้นไม้ชนิดอื่นปะปนเลย แต่บางครั้งอาจพบขึ้นกระจายเป็นหย่อมๆหรือขึ้นปะปนอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้ของป่าดงดิบเขา หรือป่าแดง

การจำแนกลักษณะป่าสนเขาอาศัยชนิดพันธุ์ไม้เป็นหลักเพียงอย่างเดียว คือ ป่าที่มีไม้สนสองใบ และสนสามใบ เป็นพันธุ์ไม้เด่น โดยโครงสร้างของป่ามี ๓ ชั้นเรือนยอด ไม้ชั้นบนจะประกอบด้วยสนล้วนๆ ส่วนพันธุ์ไม้ชั้นรองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในป่าดงดิบเขา โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ในวงศ์ก่อ เช่น ก่อแอบ ก่อสีเสียด ก่อแหลม เป็นต้น รวมถึงพันธุ์ไม้อื่นๆ เช่น กำยาน สลักป่า หว้า มันปลา ส้มอ๊อบแอ๊บ เป้งดอย ปรงเขา และหัวแหวน เป็นต้น พืชคลุมดินในป่าสนเขาจะมีความผันแปรกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของป่า เช่น ปริมาณของแสง และปริมาณใบสนที่ล่วงหล่นคลุมดิน โดยพบว่าป่าสนในภาคเหนือบางแห่งมีเรือนยอดค่อนข้างทึบ และมีใบหล่นคลุมดินหนา จึงมีพืชคลุมดินน้อย แต่ป่าสนเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรือนยอดชั้นบนค่อนข้างโปร่ง จะมีพืชคลุมดินขึ้นหนาแน่น โดยพืชคลุมดินส่วนใหญ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่สำคัญ คือ ตองกง แขมหลวง หญ้าแฝก และหญ้ายูง เป็นต้น

 
ป่าสนเขาในประเทศไทยมี ๒ ประเภทคือ

๑.ป่าสนผสมก่อ (Pine-Oak subtype) พบบนพื้นที่สูงเกิน ๑,๐๐๐เมตร สามารถแบ่งโครงสร้างป่าได้ ๓ เรือนยอด

- ชั้นเรือนยอด (canopy) สูงประมาณ ๓๐-๔๐ เมตร ประกอบด้วยไม้สน อาจจะเป็นสนสองใบหรือสนสามใบ บางพื้นที่ในชั้นเรือนยอดโผล่กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกัน จะทำให้เกิดชั้นเหนือเรือนยอด (emergents) ได้

- ชั้นใต้เรือนยอด (understory) สูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร มักจะขึ้นตามช่องว่างของเรือนยอดชั้นบน ชนิดพันธุ์ที่สำคัญ เช่น ก่อแอบ ก่อสีเสียด ก่อเดือย นอกจากวงศ์ก่อแล้วยังมี กำยาน สลักป่า หว้า เป็นต้น

- ชั้นไม้พุ่ม (shrub) ประกอบด้วยต้นมันปลา กำลังช้างสาร ปรงเขา เป็นต้น

๒.ป่าสนผสมเต็งรัง (Deciduous dipterocarp with pine subtype) พบในพื้นที่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ เมตร และมีการกระจายมากกว่าป่าสนผสมก่อ ในสภาพป่าที่สมบูรณ์จะมีโครงสร้างป่าได้ถึง ๔ เรือนยอด

- ชั้นเหนือเรือนยอด (emergents) สูงประมาณ ๓๐-๔๐ เมตร ประกอบด้วยไม้สน อาจจะเป็นสนสองใบหรือสนสามใบ บางพื้นที่ในชั้นเรือนยอดโผล่กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกัน

- ชั้นเรือนยอด (canopy) สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร เรือนยอดต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยไม้หลักในป่าเต็งรัง เช่น เหียง เต็ง รัง เป็นหลัก

- ชั้นใต้เรือนยอด (understory) สูงประมาณ ๗-๑๕ เมตร มักจะขึ้นตามช่องว่างของชั้นเรือนยอด จึงทำให้เรือนยอดไม่ต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรัง

- ไม้พุ่มและพื้นป่า มีความสูงประมาณ ๒-๓ เมตร ผสมกับไม้รุ่นของชั้นเรือนยอด

โดยทั่วไปป่าสนผสมเต็งรังมักจะเกิดไฟป่าเป็นประจำ จึงทำให้เปลือกของต้นสนมีความหนาและทนไฟได้ดี นอกจากนี้พืชพื้นล่างยังพัฒนาฝังตาเจริญไว้ใต้ดินเพื่อป้องกันความร้อนจากไฟป่าอีกด้วย

ด้วยสภาพป่าที่ค่อนข้างโล่ง จึงไม่ค่อยพบสัตว์ป่าที่อาศัยในป่าชนิดนี้มากนัก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าที่เข้ามาใช้ประโยชน์มักจะเป็นสัตว์ป่าขนาดเล็ก อย่างกระต่าย ตุ่น กระรอก เป็นต้น ส่วนสัตว์ใหญ่อย่าง เลียงผา กวางป่า หมูป่า อาจจะเข้ามาใช้ประโยชน์บ้างหรืออาจใช้เป็นเส้นทางผ่าน นอกจากนี้ป่าสนเขายังเป็นแหล่งกล้วยไม้ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะเอื้องกาจก เอื้องช้างน้าว เอื้องกุหลาบแดง เป็นต้น



ข้อมูลอ้างอิง :
- มูลนิธิสืบนาคะเสถียร  - เกร็ดความรู้ : ป่าสนเขา (Coniferous/ Pine Forest)
- ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี - ป่าสนเขา (Coniferous Forest หรือ Pine Forest)
- เว็บไซต์ saowalakmim11.wordpress.com - ป่าสน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มิถุนายน 2566 14:15:45 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.351 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 08 พฤศจิกายน 2567 14:43:20