[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 ธันวาคม 2553 17:26:20



หัวข้อ: บาร์โดกับความเป็นจริงของชีวิต ( จาก ประตูสู่สภาวะใหม่ )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 ธันวาคม 2553 17:26:20
(http://z.about.com/d/buddhism/1/0/H/1/-/-/A1wheelrealm.jpg)


บาร์โดกับความเป็นจริงของชีวิต


บาร์โดเป็นคำธิเบตที่มีความหมายเพียงแค่ " การเปลี่ยนผ่าน " หรือช่อง ว่างระหว่างสถานการณ์ที่สิ้นสุดลงและอีกสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น บาร์ แปลว่า " ในระหว่าง " และโด แปลว่า " ถูกระงับ " หรือ " ถูกโยน " บาร์โดเป็นคำโด่งดังหลังจากที่ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ได้รับความ นิยมแพร่หลาย นับตั้งแต่ได้มีการแปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษครั้ง แรกในปี ๒๔๗o ก็ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักจิตวิทยา นักเขียน และนักปรัชญาตะวันตก และขายได้นับล้าน ๆ เล่ม

ชื่อหนังสือ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ผูกขึ้นโดยผู้แปลคือ ดับบลิววาย อีแวนส์-เวนทซ์ นักวิชาการชาวอเมริกัน โดยเลียนแบบหนังสือที่มีชื่อเสียง อีกเล่มหนึ่ง ( ซึ่งมีชื่อที่ชวนให้เข้าใจผิดพอ ๆ กัน ) คือคัมภีร์มรณศาสตร์ แห่งอียิปต์ ชื่อจริงของหนังสือเล่มนี้คือ บาร์โด ทุโทร์ เชนโม ซึ่งแปลว่า อภิวิมุติโดยการสดับในบาร์โด คำสอนเรื่องบาร์โดเป็นคำสอนดึกดำบรรพ์ และพบในลัทธิที่เรียกว่า โซะเชนตันตระ คำสอนดังกล่าวสืบสาวย้อนกลับ ไปยาวไกลจนเลยพ้นอาจารย์ที่เป็นปุถุชนเสียอีก หากไปสุดถึงพระอาทิ พุทธะหรือพระพุทธเจ้าครั้งปฐมกัลป์ ( พระนามว่าพระสมันตภัทร หรือที่ เรียกเป็นภาษาธิเบตว่า คุนทูซังโพ ) ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์ดั้ง เดิมดังท้องฟ้าที่สมบูรณ์ ไร้เมฆหมอก เป็นความบริสุทธิ์แห่งธรมชาติของ จิตเรา แต่บาร์โด ทุโทร์ เชนโม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนที่ประสิทธิ ประสาทโดยท่านปัทมะสัมภวะ และได้รับการเปิดเผยในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ โดยท่านคารมา ลิงปะ ชาวธิเบตผู้หยั่งเห็นอนาคต

อภิวิมุติโดยการสดับในบาร์โด หรือ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต เป็นหนัง สือที่พิเศษ จัดเป็นหนังสือแนะนำการเดินทางในภาวะหลังตาย ซึ่งเขียนขึ้น เพื่อให้อาจารย์หรือกัลยาณมิตรอ่านให้แก่ผู้ที่กำลังตายหรือตายไปแล้ว ใน ธิเบต กล่าวกันว่ามี " ห้าวิธีเพื่อเข้าถึงความรู้แจ้งโดยไม่ต้องทำสมาธิภาวนา " ได้แก่ การเห็นปรามาจารย์หรือวัตถุศักดิ์สิทธิ์ การสวมใส่ ภาพมณฑลที่ ได้รับการปลุกเสกเป็นพิเศษและมีมนตร์ศักดิ์สิทธิ์กำกับด้วย การได้ลิ้มรส น้ำมนตร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลุกเสกโดยอาจารย์ซึ่งได้บำเพ็ญอย่างอุกฤษฎ์ การจด จำการเคลื่อนย้ายจิต หรือโพวะขณะตายและการได้ยินคำสอนที่ลึกซึ้ง เช่น อภิวิมุติโดยการสดับในบาร์โด

คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต จัดทำขึ้นสำหรับนักปฏิบัติหรือคนที่คุ้นเคยกับ คำสอนดังกล่าว สำหรับคนสมัยใหม่ คัมภีร์เล่มนี้ยากแก่การเข้าใจอย่างยิ่ง และทำให้เกิดคำถามมากมายที่ไม่สามารถตอบได้ หากปราศจากความรู้เกี่ยว กับจารีตประเพณีที่เป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือ เล่มนี้ไม่อาจเข้าใจได้ครบถ้วนหรือใช้ประโยชน์ได้เลยหากไม่รู้หลักคำสอน ที่ครูบาอาจารย์ถ่ายทอดแก่ศิษย์ด้วยวาจา อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติวิธีนี้

ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงคำสอนดังกล่าว ซึ่งคนตะวันตก เริ่มจะคุ้นเคยจาก คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ในบริบทที่กว้างและครอบ คลุมกว่า

ความเป็นที่นิยมของ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ทำให้ผู้คนมักคิดว่าบาร์โด เป็นเรื่องเกี่ยวกับความตาย เป็นความจริงที่ว่า " บาร์โด " เป็นคำที่คนธิเบตใช้ กันโดยทั่วไปเมื่อพูดถึงภาวะที่อยู่ระหว่างความตายกับการเกิดใหม่ แต่คำนี้มี ความหมายที่กว้างและลึกกว่านั้น ในคำสอนเกี่ยวกับบาร์โด ( และดูเหมือนว่า จะเห็นได้มากกว่าในคำสอนอื่น ๆ ) เราจะพบว่าความรู้ของพระพุทธองค์เกี่ยว กับชีวิตและความตายนั้นช่างลึกซึ้งและครอบคลุมกว้างขวางอย่างยิ่ง และแท้ ที่จริงสิ่งที่เราเรียกว่า " ชีวิต " และสิ่งที่เราเรียกว่า " ความตาย " นั้นไม่สามารถ แยกจากกันได้เลย เมื่อมองและทำความเข้าใจจากแง่ของการรู้แจ้ง

เราสามารถแยกความเป็นไปของคนออกเป็นสี่ด้านคือ ชีวิต ภาวะใกล้ตาย และความตาย ภาวะหลังความตาย และการเกิดใหม่คือบาร์โดทั้งสี่

@ บาร์โด " ธรรมชาติ " คือ บาร์โดแห่งชีวิตนี้
@ บาร์โด " อันทุกข์ทรมาณ " คือ บาร์โดแห่งการตาย
@ บาร์โด " อันแจ่มกระจ่าง " คือ บาร์โดแห่งธรรมตา
@ บาร์โด " แห่งกรรม " คือ บาร์โดแห่งการถือกำเนิด


๑. บาร์โดธรรมชาติหรือบาร์โดแห่งชีวิตนี้ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจน ตาย ตามความรู้ในระดับที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาดังกล่าวอาจดูเหมือน ว่าไม่น่าจะเป็นบาร์โดหรือความเปลี่ยนผ่าน แต่หากเราใตร่ครวญก็จะเห็น ได้ชัดว่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอันยาวไกลของสัมสารวัฏของเราแล้ว บาร์โด ของชีวิตนี้เป็นช่วงเวลาเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับ การเตรียมตัวตาย โดยการทำใจให้คุ้นเคยกับคำสอนและปฏิบัติจนตั้งมั่น

๒. บาร์โดอันทุกข์ทรมาณหรือบาร์โดแห่งการตายกินเวลาตั้งแต่ขั้นตอนแห่ง การตายเริ่มขึ้น ไปจนถึงการสิ้นสุดของสิ่งที่เรียกว่า " ลมหายใจภายใน " บาร์โดดังกล่าวจะมาสุดตรงที่การปรากฏแห่งธรรมชาติของจิตเดิมแท้ ซึ่ง เราเรียกว่า " ความกระจ่างแห่งพื้นภูมิ " ขณะสิ้นชีวิต

๓. บาร์โดอันแจ่มกระจ่างหรือบาร์โดแห่งธรรมตาครอบคลุมประสบการณ์ หลังความตาย อันเป็นภาวะที่ธรรมชาติแห่งจิตได้แผ่รัศมี เป็น ความกระ จ่างหรือ " แสงกระจ่าง " ซึ่งปรากฏเป็นเสียง สี และแสง


๔. บาร์โดแห่งกรรมหรือบาร์โดแห่งการถือกำเนิด คือสิ่งที่เราเรียกกันโดย ทั่วไปว่า บาร์โดหรืออันตรภพ ซึ่งไปสิ้นสุดเมื่อเราไปเกิดใหม่

สิ่งที่แยกแยะและบ่งชี้บาร์โดแต่ละประเภทเหล่านี้ล้วนเป็นช่องว่างหรือช่วง เวลาที่มีโอกาสรู้แจ้ง โอกาสแห่งการหลุดพ้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่สะ ดุดขาดช่วงตั้งแต่เกิดไปจนตาย และคำสอนเรื่องบาร์โดเป็นกุญแจหรืออุป กรณ์ที่ช่วยให้เราค้นพบและจดจำโอกาสดังกล่าวได้ และใช้โอกาสดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


หัวข้อ: Re: บาร์โดกับความเป็นจริงของชีวิต ( จาก ประตูสู่สภาวะใหม่ )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 ธันวาคม 2553 17:27:48
(http://www.rigpawiki.org/images/c/c6/SR_and_JKCL.JPG)
*ภาพ โซเกียล รินโปเช สมัยยังเป็น ลามะน้อย ( ท่านสังกัดนิกาย หยิงม่าปะ )


ความเป็นจริงอื่น ๆ




ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วว่าบาร์โดคือโอกาส แต่อะไรเล่าที่ทำให้บาร์โดเปิดโอ กาสแก่เรา ? คำตอบก็ไม่ยากอะไร บาร์โดก็คือภาวะต่าง ๆ และความเป็น จริงต่าง ๆ ของจิต


การทำสมาธิภาวนาตามหลักพุทธศาสนา เป็นการตระเตรียมจิตใจเพื่อค้น พบด้านต่าง ๆ ของจิตซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และเพื่อเข้าสู่จิตระดับต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว มีความสัมพันธ์กันอย่างเด่นชัดระหว่างสภาวะบาร์โดกับ จิตระดับต่าง ๆ ที่เกิดกับเราตลอดวัฏจักรแห่งการเกิดดับ ขณะที่เราเคลื่อน จากบาร์โดหนึ่งสู่อีกบาร์โดหนึ่ง ทั้งในชีวิตและความตาย จะมีความเปลี่ยน แปลงในจิต ซึ่งหากว่าเรารู้จักฝึกจิต เราจะคุ้นเคยและเข้าใจความเปลี่ยน แปลงดังกล่าวอย่างครบถ้วนได้ในที่สุด

เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ที่ปรากฏในบาร์โดหลังจากความตายนั้นแนบ แน่นอยู่ในส่วนลึกของจิต มันจึงแสดงตัวออกมาในหลายระดับขณะที่เรามี ชีวิตอยู่ เช่น มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันระหว่างระดับความละเอียดอ่อน ของจิตที่บังเกิดกับเราขณะหลับและฝัน กับบาร์โดสามชนิดที่เกี่ยวข้องกับ ความตาย

@ การผล็อยหลับนั้นเหมือนกับบาร์โดแห่งการตายอันเป็นภาวะที่ธาตุทั้งสี่ และความึกคิดได้แตกสลาย นำไปสู่การประสบกับความสว่างแห่งพื้นภูมิ
@ ความฝันคล้ายกับบาร์โดแห่งการถือกำเนิด อันเป็นสภาวะกึ่งกลางใน สภาวะนี้ คุณจะมีอำนาจจิตพิเศษ และมี " กายทิพย์ " ที่เคลื่อนไหวได้ รวดเร็ว และได้พบกับประสบการณ์ต่าง ๆ ทุกชนิด ในความฝัน เรายังมี ร่างที่สอดคล้องกัน คือร่างในฝันซึ่งพาเราไปประสบกับสิ่งต่าง ๆ ใน ความฝัน
@ ระหว่างบาร์โดแห่งการตายและบาร์โดแห่งการถือกำเนิด นี้เป็นภาวะ พิเศษสุด นั่นคือภาวะสว่างเรือง หรือแสงกระจ่าง เรียกว่า " บาร์โดแห่ง ธรรมตา " นี้เป็นประสบการณ์ที่เกิดกับทุกคน แต่จะมีน้อยคนที่สามารถ สังเกตได้ ยังไม่ต้องพูดถึงการประสบสัมผัสสิ่งนี้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งมีเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้รับการฝึกฝนเท่านั้นที่สามารถจดจำประสบ การณ์นี้ได้ บาร์โดแห่งธรรมตา ตรงกับช่วงหลังจากผล็อยหลับไปแล้ว และก่อนที่จะฝัน

จริงอยู่ บาร์โดที่ประสบในความตายนั้นเป็นภาวะจิตที่ลึกกว่ายามตื่นและ ฝันมาก อีกทั้งยังมีอานุภาพเหนือกว่ามาก กระนั้นทั้งสองภาวะก็มีความ ละเอียดอ่อนทำนองเดียวกัน และแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและความ สอดคล้องกันระหว่างจิตระดับต่าง ๆ ครูบาอาจารย์มักนำข้อเปรียบเทียบ ดังกล่าวมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการยากเพียงใดที่จะประคองความรู้ตัวเอาไว้ ขณะอยู่ในบาร์โด มีกี่คนในพวกเราที่ระลึกรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของจิต เมื่อเราผล็อยหลับ ? หรือก่อนที่ความฝันจะเกิดขึ้น ? มีกี่คนที่รู้ตัวขณะที่ เราฝัน ว่าเรากำลังฝัน ? ฉะนั้นขอให้นึกดูว่าเป็นการยากเพียงใดที่จะยังมี สติรู้ตัวในยามปั่นป่วนของบาร์โดหลังความตาย

จิตของคุณเป็นอย่างไรในยามตื่นและฝัน จิตของคุณก็เป็นเช่นนั้นในบาร์โด ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ปฏิกิริยาของคุณต่อความฝัน ฝันร้าย และความยากลำ บากในขณะนี้ บ่งบอกว่าคุณอาจมีปฏิกิริยาในทำนองเดียวกันหลังจากตาย ไปแล้ว

นี้คือสาเหตุว่าโยคะแห่งการหลับและฝันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียม ตัวตาย สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมที่แท้จริงพยายามกระทำคือประคองความตระ หนักรู้ในธรรมชาติเดิมแท้ของจิตให้ต่อเนื่อง ไม่สะดุดหรือขาดตอนตลอด วันตลอดคืน และใช้โอกาสขณะที่หลับและฝันนั้นให้เป็นประโยชน์ เพื่อจะ ได้จดจำและคุ้นเคยกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในบาร์โดต่าง ๆ ระหว่างและหลังตาย

ดังนั้นเราจึงพบว่า อีกสองบาร์โดมักจะถูกรวมอยู่ใน บาร์โดแห่งชีวิตนี้คือ บาร์โดแห่งการหลับและฝัน และบาร์โดแห่งสมาธิภาวนา สมาธิภาวนาเป็น การปฏิบัติตอนกลางวัน โยคะแห่งการหลับและฝันเป็นการปฏิบัติในเวลา กลางคืน ในสายปฏิบัติอันเป็นที่มาของคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ได้เพิ่ม สองบาร์โดเข้าไปกับอีกสี่บาร์โด กลายเป็นหกบาร์โด


หัวข้อ: Re: บาร์โดกับความเป็นจริงของชีวิต ( จาก ประตูสู่สภาวะใหม่ )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 ธันวาคม 2553 17:29:36
(http://bp0.blogger.com/_PWLXVUpCjVE/SDWcUmNHVmI/AAAAAAAAAKE/4xE9Zb25ahE/s320/Snapshot+2008-05-22+17-20-22.jpg)


ชีวิตและความตายในมือคุณ

แต่ละบาร์โดจะมีข้อแนะนำและวิธีการทำสมาธิภาวนาที่พิเศษแตกต่างกัน ออกไป โดยมุ่งไปที่ความเป็นจริงและสภาวะจิตแต่ละแบบ ดังนั้นการบำ เพ็ญและฝึกฝนจิตสำหรับบาร์โดแต่ละประเภทจึงสามารถช่วยให้เราใช้ประ โยชน์จากบาร์โดต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นโอกาสแห่งการหลุดพ้น จุดสำ คัญที่พึงเข้าใจเกี่ยวกับบาร์โดก็คือ การฝึกฝนวิธีต่าง ๆ นี้เองจะช่วยให้เรา จดจำสภาวะจิตเหล่านี้ได้ขณะยังมีชีวิตอยู่ เราสามารถทำเช่นนั้นได้ ขณะ ที่เรายังอยู่ตรงนี้และเดี๋ยวนี้

ความสามารถในการควบคุมจิตระดับต่าง ๆ อย่างถึงพร้อมนี้อาจเป็นเรื่อง ยากมากที่ชาวตะวันตกจะเข้าใจได้ แต่ก็หาใช่เรื่องที่สุดวิสัยแต่ประการใด ไม่

ท่านคูนุ ลามะ เทนซิน เกลียเซน เป็นอาจารย์กรรมฐานขั้นสูง ท่านมีพื้น เพอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของอินเดีย เมื่อยังหนุ่มท่าน ได้พบกับลามะผู้หนึ่งในสิกขิม ซึ่งได้แนะนำให้ท่านไปธิเบตเพื่อศึกษาพุทธ ศาสนาต่อ ดังนั้นท่านจึงไปเมืองคัมทางตะวันออกของธิเบต ที่นั่นท่านได้ เรียนรู้หลักคำสอนจากลามะผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหลายคน รวมทั้งอาจารย์ของ ข้าพเจ้า ท่านจัมยัง เคนเซ ความรู้ทางภาษาสันสกฤตของท่านทำให้ท่าน เป็นคนที่เคารพและได้รับการต้อนรับ อาจารย์หลายท่านใส่ใจในการสอน ท่าน ด้วยความหวังว่าท่านจะนำคำสอนเหล่านี้กลับไปเผยแพร่ในอินเดีย เพราะที่นั่นคำสอนได้เลือนหายไปเกือบหมดแล้ว ระหว่างที่อยู่ธิเบต ท่าน คูนุลามะก้าวหน้าในการศึกษาปฏิบัติมากและบรรลุธรรมในที่สุด

ในที่สุดท่านได้กลับไปอินเดีย และได้ใช้ชีวิตอย่างสมถะ เมื่ออาจารย์ของ ข้าพเจ้าและข้าพเจ้าจากริกไปอินเดียหลังจากออกจากธิเบต เราตามหาท่าน ทุกหนแห่งในเมืองพาราณาสี ในที่สุดเราพบว่าท่านได้อาศัยอยู่ในวัดฮินดู แห่งหนึ่ง ไม่มีใครรู้ว่าท่านเป็นใคร ไม่รู้แม้กระทั่งว่าท่านเป็นชาวพุทธ ดัง นั้นจึงไม่ต้องหวังว่าจะมีคนรู้ว่าท่านเป็นอาจารย์กรรมฐาน พวกเขารู้ว่าท่าน เป็นโยคีที่สุภาพอ่อนโยนและน่าเคารพนับถือ จึงถวายอาหารให้ท่าน ทุก ครั้งที่ข้าพเจ้านึกถึงท่าน ข้าพเจ้าจะพูดกับตัวเองเสมอว่า " นักบุญฟรานซิส แห่งอัสสิสิต้องเป็นแบบนี้แน่เลย "

เมื่อแรกที่พระและลามะธิเบตลี้ภัยมาอินเดีย ท่านคูนุลามะได้รับเลือกให้ เป็นครูสอนไวยากรณ์และภาษาสันสกฤตแก่ท่านเหล่านี้ ในโรงเรียนที่สร้าง โดยท่านทะไลลามะ ลามะผู้ทรงภูมิหลายคนได้อาศัยและเรียนกับท่าน ทุก คนถือว่าท่านเป็นอาจารย์ทางด้านภาษาที่สามารถมาก แต่แล้ววันหนึ่งก็มี คนถามท่านเกี่ยวกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คำตอบของท่านั้นมีความ ลึกซึ้งอย่างยิ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงถามท่านต่อและพบว่า ไม่ว่าจะถามอะไร ท่านรู้คำตอบหมด อันที่จริง ท่านสามารถสอนให้ทุกอย่างตามที่ร้องขอ ดังนั้นกิตติศัพท์ของท่านจึงขจรไปไกล เป็นที่รู้จักกันว่าท่านสอนผู้คนจาก ลัทธินิกายต่าง ๆ ให้รู้จักลักษณะพิเศษของนิกายของตน

ท่านทะไลลามะจึงถือว่าท่านเป็นผู้ชี้นำในทางจิตวิญญาณ ท่านยอมรับว่า ท่านคูนุลามะเป็นแรงบันดาลใจแก่ท่านในด้านการสอนและการปฏิบัติ กรุณาภาวนา อันที่จริง ท่านเป็นตัวอย่างของการุณยธรรมที่สัมผัสได้ แม้ ท่านจะมีชื่อเสียง ท่านก็ยังไม่แปรเปลี่ยน ยังคงสวมจีวรเก่าผืนเดิมและอยู่ ในห้องเล็ก ๆ เมื่อมีคนมาเยี่ยมและถวายของท่าน ท่านจะมอบของชิ้นนั้น แก่อาคันตุกะคต่อไป และหากมีใครปรุงอาหารให้ท่าน ท่านก็จะฉัน แต่ ถ้าไม่มีใครถวาย ท่านก็อยู่ได้โดยไม่ฉันเลย


วันหนึ่ง อาจารย์ผู้หนึ่งซึ่งข้าพเจ้ารู้จักดีไปเยี่ยมท่านคูนุลามะ เพื่อถามคำ ถามบางข้อเกี่ยวกับบาร์โด อาจารย์ผู้นี้เป็นศาสดาจารย์ มีความรู้อย่างมาก เกี่ยวกับประเพณีและแนวปฏิบัติของคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต ทั้งยังมี ประสบการณ์การปฏิบัติในด้านนี้ด้วย ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านได้ตั้ง คำถามอย่างไร จากนั้นก็นั่งฟังราวต้องมนต์สะกดในคำตอบของท่านคูนุ ลามะ ท่านไม่เคยได้ยินเช่นนั้นมาก่อน ขณะที่ท่านคูนุลามะอธิบายบาร์โด คำตอบช่างชัดเจนแจ่มแจ้งราวกับว่าท่านกำลังบอกทางไปถนนเคนซิงตัน หรือเซนทรัลพาร์ค หรือชอมป์เอลิเซ ดูราวกับว่าท่านอยู่ที่นั่นจริง ๆ

ท่านคูนุลามะชี้ตรงไปยังบาร์โด จากประสบการณ์ของท่านเอง อาจารย์ กรรมฐานที่ทรงความสามารถอย่างท่านได้ท่องเที่ยวและสัมผัสกับมิติต่าง ๆ ล้วนอยู่ภายในจิตใจของเรา ดังนั้นจึงสามารถเปิดเผยและปลดปล่อยเป็น อิสระได้โดยอาศัยการปฏิบัติตามหลักบาร์โด

คำสอนเหล่านี้มาจากโพธิจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ซึ่งสามารถเห็น ชีวิตและความตายราวกับดูลายนิ้วมือท่าน

เราก็เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน ดังนั้นหากเราสามารถปฏิบัติในบาร์โดแห่ง ชีวิตนี้ และเข้าถึงธรรมชาติของจิตลึกลงไปเรื่อย ๆ เราก็อาจค้นพบความ รู้เกี่ยวกับบาร์โดดังกล่าว รวมทั้งสัจจะของหลักธรรมคำสอนดังกล่าวก็จะ เปิดเผยตัวเองให้เรารู้ นี้คือสาเหตุว่าบาร์โดแห่งชีวิตนี้จึงมีความสำคัญที่ สุด การเตรียมตัวเผชิญกับบาร์โดทั้งหลายล้วนเกิดขึ้นได้ตรงนี้และเดี๋ยวนี้ กล่าวกันว่า " การตระเตรียมที่ประเสริฐที่สุดคือเดี๋ยวนี้ นั่นคือรู้แจ้งในชาติ นี้ "


- จาก ประตูสู่สภาวะใหม่ คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตาย และช่วยเหลือผู้ไกล้ตาย โดย โซเกียล ริมโปเช -


http://www.tairomdham.net/index.php/topic,838.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,838.0.html)


หัวข้อ: Re: บาร์โดกับความเป็นจริงของชีวิต ( จาก ประตูสู่สภาวะใหม่ )
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 16 ธันวาคม 2553 23:07:15
สาธุ ๆ ๆ ๆ อนุโมทนาครับ

 (:3:) (:3:) (:3:)