[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 14:54:33



หัวข้อ: คันทวย สถาปัตยกรรม "นาค" ในพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 14:54:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57555650754107_2.jpg)
คันทวย รูปพญานาค ค้ำยันชายคาพระอุโบสถวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

คันทวย

คันทวย : คือส่วนของสถาปัตยกรรมติดตั้งไว้ตอนบนของเสาให้เอนขึ้นไปรับน้ำหนักหรือค้ำยันชายคา (เต้า)  ที่ยื่นออกจากตัวอาคาร เพื่อความมั่นคง และเพิ่มความสวยงามให้แก่อาคาร

ศัพท์ “คันทวย”  นี้หมายถึง ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค

ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม อธิบายคำ “คันทวย” ว่า เพราะดูคล้ายคันของกระบวยตักน้ำ  ต่อมาคงทั้งเรียกตัดคำและทั้งเสียงที่เคลื่อนคล้อย จากคันบวย มาเป็นคันทวย และกลายเป็น “ทวย” ในที่สุด  แต่ก็มีบางคำบอกว่าทวยหมายถึง “ระทวย”  แปลว่า แอ่น งอน

พุทธประวัติ มีคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” เป็นอันมาก มีหลายตอนที่มีการกล่าวถึงพญานาค ที่มีทั้งดีและร้าย แต่ด้วยพระคุณานุภาพอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาค จึงระงับเสียซึ่งฤทธิ์พญานาคผู้มีสันดานอันเป็นบาปให้ยอมสิโรราบหันมายอมรับนับถือในพระพุทธศาสนา

จึงมีเรื่องราวพญานาคมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ เช่น พญานาคตนหนึ่งได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วเกิดศรัทธา จึงนฤมิตกายเป็นมนุษย์มาขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อยู่มาวันหนึ่งได้เข้าจำวัด ช่วงจำวัดนั้นมนต์ได้เสื่อมลงจึงกลายร่างเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้าจึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้ นาคตนนั้นเสียใจมากจึงขอถวายคำว่า “นาค” ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน

ด้วยอัสสาสะและจิตอันสถิตมั่นในพระสรีราพยพแห่งองค์สมเด็จพระบรมชินสีห์ของเหล่าพญานาค  จึงเป็นเค้าเงื่อนบันดาลใจให้งานช่างในศาสนาพุทธมีรูปลักษณ์ของ “พญานาค” ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแลพุทธสถานประดับในสถาปัตยกรรมมานานนับพันปี

ปรากฎให้เห็นอยู่มากมาย เช่น การทำซุ้มประตู - หน้าต่าง กรอบหน้าบรรพ ช่อฟ้า ใบระกา คันทวย ฯลฯ โดยช่างมักสลักจากไม้ สลักหิน หรือปูนปั้น รายล้อมด้วยลายกระหนกเครือเถาวิจิตรงดงาม มีรูปแบบและลักษณะทางศิลปะตามอุดมคติของท้องถิ่น

คันทวยที่ปรากฏตามพุทธสถาน จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เราสามารถศึกษารูปแบบจิตรกรรม ที่สะท้อนให้เห็นความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาและยุคสมัยของสกุลช่างได้เป็นอย่างดี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75049134385254_2.jpg)
คันทวย วัดหนองสีคูนเมือง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36664281785488_1_3623_3633_3604_3627_3609_362.jpg)
คันทวย วัดหนองสีคูนเมือง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79195396188232__3623_3633_3604_3626_3637_3626.jpg)
คันทวย วัดสีสะเกด นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89858303922745__3623_3633_3604_3626_3640_3623.jpg)
คันทวย วัดสุวันนะคีรี เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53986389231350__3623_3633_3604_3594_3656_3634.jpg)
คันทวย วัดช่างไหพัฒนาราม เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49567728737990__3623_3633_3604_3648_3594_3637.jpg)
คันทวย วัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95165698106090_5.JPG)
คันทวย วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง (p.700-28)

600-28