[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 01:29:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อีมานูเอล เชอร์แมน บนเส้นทาง พุทธะแห่งเซน ภิกษุอเมริกัน ยิว  (อ่าน 2553 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2559 11:08:22 »


บันทึกประวัติชีวิต ภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน บนเส้นทางพุทธะแห่งเซน ภิกษุอเมริกัน ยิว ผู้ประกาศธรรมสัจจะคุ้มครองโลก ด้วยภาพปริศนาธรรม วิมุตติพุทธศิลป์ และละทิ้งสังขารไว้ที่ถ้ำเขาข้างแห้ง เกาะพงัน พร้อมภาพเขียนปริศนาธรรม ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนานิกายเซนกับนิกายเถรวาทของไทย พุทธทาสภิกขุกับปริศนาธรรมเซน




ประวัติ

พระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน เป็นชาวอเมริกัน-ยิว เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ.1914) บ้านเกิดของเขาคือ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เดินทางมาดู พระพุทธศาสนา ในเมืองไทย ราวเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ พำนักอยู่ วัดสร้อยทอง ซึ่งเป็นสำนักวิปัสสนา มีชื่อเสียง สมัยนั้น

ในตอนแรกพระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน ตั้งใจว่า จะแวะไปพบ ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี แต่มีเหตุให้ ต้องเดินทางข้ามไป เกาะพงัน เสียก่อน ผู้ที่ชักชวนท่านไป เกาะพงัน ก็คือ ท่านอาจารย์ประเดิม โกมะโล อดีตพระวิปัสสนาจารย์ องค์สำคัญ ของ วัดสร้อยทอง นั่นเอง

เมื่อได้ไปพบ สถานที่สงบเย็น ของสำนักสงฆ์ เขาข้าวแห้ง (เขาถ้ำ) ท่านก็รู้สึกพึงพอใจ ในสัปปายะสถาน แห่งนั้น จึงได้อยู่ปฏิบัติธรรม ในถ้ำเขาข้าวแห้ง แห่งนั้น จนถึงวาระสุดท้าย ของชีวิต

ภูมิหลังชีวิตของ อีมานูเอล เชอร์แมน
อดีตเป็นนักศิลปเขียนภาพโฆษณาในอเมริกา


ชีวิตของ อีมานูเอล เชอร์แมน เมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่ ในอเมริกา เขาได้รับการศึกษา วิชาความรู้ทางโลก มาพอสมควร แก่การเป็น พลเมือง ชาติมหาอำนาจ ด้านเทคโนโลยี อย่างอเมริกา การศึกษาขั้นสุดท้าย ก็คือ วิชาชีพด้านศิลปการเขียนภาพโฆษณา หลังจาก จบออกมา ก็ได้ทำงานที่ตนถนัด คือ ทำงาน ตามบริษัท ห้างร้าน ต่างๆ เกี่ยวกับ การเขียนภาพโฆษณา

เชอร์แมน มีครอบครัวอยู่ใน สหรัฐอเมริกา เขามี พ่อแม่ พี่น้อง และ ภรรยา ๒ คน มีความสุข ทางเนื้อหนัง อย่างเพียงพอ แก่ฐานะ ของบุรุษ ผู้สง่างาม และมั่นคง

ชีวิตทางโลกของเชอร์แมน เป็นชีวิตที่มีความสุข หรูหรา และฟุ่มเฟือย แบบสังคมอเมริกัน ผู้บูชาวัตถุนิยม

ชีวิตของเชอร์แมน เขาเริ่มหันไปสนใจ ด้านพุทธศาสนา เป็นพิเศษ จึงได้ศึกษาค้นคว้า คัมภีร์ทางศาสนาต่างๆ มาแต่เยาว์วัย ครั้นได้เรียนรู้ คำสอน ของศาสนาต่างๆ มากขึ้น เขาจึงเริ่ม วิเคราะห์ หาคำตอบ ให้กับศาสนา ที่เขามีความพอใจ

เชอร์แมน ให้ความสนใจ ต่อพุทธศาสนา นิกายมหายาน และได้ให้ความสำคัญ กับวิธีปฏิบัติวิปัสสนา ตามธรรมชาติ ของนิกายเซ็น ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเดินทาง มาแสวงหาสัจธรรม คำสอนนิกายนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศญี่ปุ่น เชอร์แมน ได้เข้าไปเป็น นักบวชของ สำนักนิกายเซ็น แห่งหนึ่ง เขามอบชีวิตจิตใจ ให้กับการ เรียนรู้ คำสอน การฝึกหัด ปฏิบัติ ตามวิถีทาง ฝึกจิต ของพระภิกษุเซ็น การดำเนินชีวิต ของเขา ตั้งมั่น ในการรักษา ศีลาจารวัตร อย่างเคร่งครัด ไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ ชอบรับประทาน แต่อาหาร จำพวก ผักผลไม้ ตามธรรมชาติ โดยถือหลัก สันโดษ อย่างพระธุดงค์ ทั้งหลาย มาโดยตลอด



อีมานูเอล เชอร์แมน เริ่มซึมซับ วิถีแห่งเซ็น ตั้งแต่อยู่ในอเมริกา และมากขึ้น ตามลำดับ เขารู้สึก เบื่อหน่าย ในชีวิตฆราวาส ที่มี ความเป็นอยู่ อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ในประเทศบ้านเกิด ของเขา จนกระทั่ง ตัดสินใจ อำลาแผ่นดินอเมริกา มาสู่เอเชีย เพื่อการปฏิบัติธรรม ตอนนั้น อายุของเขาได้ ๔๔ ปีแล้ว

เชอร์แมน ตัดสินใจจากบิดา-มารดา พี่น้องและ ภรรยา ผู้เป็นที่รัก ประหนึ่ง การหักคานเรือน ของพระอนาคาริค เพื่อไปสู่ชีวิตสันโดษ เขาละทิ้งครอบครัว และทรัพย์สมบัติ ไว้ในอเมริกา เดินทางเข้าสู่ ทวีปเอเชีย เพื่อการศึกษา และปฏิบัติธรรม ในประเทศญี่ปุ่น ได้มีโอกาส พบกับพระภิกษุ ผู้ใหญ่ ข้างฝ่าายนิกายเซ็น มีความเลื่อมใส ศรัทธา ตัดสินใจบวช เป็นพระภิกษุ แบบมหายาน

เขาใช้ชีวิต ปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง ในสำนักวัดเซ็น แห่งนั้น หนังสือพิมพ์ไลฟ์ ได้ติดต่อทำข่าวของเขา ไปตีพิมพ์เผยแพร่ ทั่วโลก เชอร์แมน เคยนำพาตัวเอง ทำสมาธิวิปัสสนา ท่ามกลางหิมะ ที่หนาวเย็น ด้วยความเข็มแข็ง อดทน เป็นเลิศ โดยตลอด พระอีมานูเอล เชอร์แมน ปฏิบัติธรรม และศึกษาค้นคว้า ทางพระพุทธศาสนา ยาวนานถึง ๔ ปี ชีวิตจิตใจของเขา กลายเป็นชาวพุทธ ผู้อิ่มเอิบ ในพระธรรม ทางพุทธศาสนา นิกายเซ็น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน ได้รับรู้ความรุ่งเรือง ของพุทธศาสนา อย่างเถรวาท ในประเทศไทย ทั้งได้รู้เรื่องราวของวัดป่าพระดง ที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจจาริกจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามายังประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕

จุดหมายแรก ของการเดินทางมาเอเชีย ของพระภิกษุ อีมานูเอล เชอร์แมน ก็คือ ไปร่วมประชุม พุทธศาสนิกสัมพันธ์ ที่กัมพูชา จากนัน จึงเข้ามายังประเทศไทย ในราวเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้พำนักอยู่ที่สำนักวิปัสสนา วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ อยู่นานพอสมควร

เขาได้มีโอกาสเดินทาง ไปดูกิจกรรมการพระพุทธศาสนา ชมโบราณสถานในจังหวัดต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาพกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทย รู้สึกประทับใจ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวพุทธ ในประเทศนี้มาก

ในขณะนั้น สำนักสงฆ์ต่างๆ เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทย มีพระภิกษุสงฆ์ ผู้หมุนชีวิต ไปเป็นพระอรัญวาสี มากขึ้น โดยเฉพาะ ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม กลายเป็น แสงสว่าง แห่งความหวัง ในการรื้อฟื้น การส่งเสริม และปฏิบัติธรรม มีสำนักสงฆ์ต่างๆ เกิดขึ้น ทั้งในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และอำเภอเกาะสมุย พงัน ซึ่งเวลานั้น เกาะทั้งสองนี้ ยังรวมอยู่ เป็นอำเภอเดียวกัน

สำนักสงฆ์ ที่เปิดฝึกฝน ด้านวิปัสสนา แนวสวนโมกข์ บนเกาะสมุย เวลานั้น มีอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะ สำนักสงฆ์ พุทธเจดีย์ แหลมสอ พระอาจารย์แดง ติสฺโส ก็เป็น สหายธรรมอาวุโส ของท่านพุทธทาส มีการแลกเปลี่ยน ส่งลูกศิษย์ เข้าไปศึกษา และปฏิบัติธรรม ระหว่างกัน ยาวนาน



ขณะเดียวกัน บนเกาะพงัน ซึ่งเป็น เกาะพี่เกาะน้อง กับเกาะสมุย ก็ได้มีสำนักสงฆ์ วัดป่าพระดง เกิดขึ้นหลายแห่ง มีสำนักสงฆ์ แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บน เขาข้าวแห้ง ตำบลบ้านใต้ เขาดังกล่าวนี้ มีประวัติความเป็นมา ยาวนาน เป็นสัปปายะ สถานที่สงบ มีถ้ำ และธรรมชาติ ซึ่งร่มรื่น ของภูดอย เคยมีพระธุดงค์ ไปปฏิบัติธรรม แล้วละทิ้ง ให้รกร้าง ตามธรรมชาติ นานปี ต่อมา มีฆราวาส ผู้หนึ่ง ชื่อ นายพบ ชูเชิด เป็นชาวบ้านใต้ เกิดความเบื่อหน่าย ทางโลก บวชเป็นพระภิกษุ ไปอยู่ในถ้ำ เขาข้าวแห้ง เจริญวิปัสสนา กรรมฐาน แต่เดียวดาย

เขาข้าวแห้ง กลายเป็น ปริศนาธรรม ที่มีความหมาย ให้เกิด ความดึงดูดใจ แก่ผู้ปฏิบัติธรรม เรื่อยมา ชื่อของ เขาข้าวแห้ง บ่งบอกให้รู้ว่า ที่นี่กันดารน้ำ ผู้ที่ปลูกไร่ข้าว ประสบวิบากกรรม ข้าวในไร่แห้งตาย แต่ในความรู้สึก ของพระผู้บำเพ็ญเพียร มันคือ แผ่นดินที่ธรรมชาติ ซ่อนเร้น อริยะทรัพย์ ไว้อย่างล้ำลึก ผู้ที่มีดวงจิต เข็มแข็ง แห่งธรรม เท่านั้น จึงจะมีชีวิต อยู่บนเขาข้าวแห้ง นี้ได้

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ตรงกับปีขาล วัน ๔ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ท่านอาจารย์ประเดิม โกมะโล พระอาจารย์ วิปัสสนา กรรมฐาน วัดสร้อยทอง พร้อมด้วยพระภิกษุ ๓ รูป คือ ภิกษุทวี คณะทินโน, พระภิกษุโกวิท โกวิโท และ พระภิกษุ นิกายเซ็น อีมานูเอล เชอร์แมน ได้เดินทางมาพำนัก ที่สำนักสงฆ์ แห่งนี้ ตอนนั้น สำนักเขาข้าวแห้ง มีการตั้งชื่อใหม่เป็น วัดเขาถ้ำ หรือ ถ้ำเขาข้าวแห้ง

การเปิดสำนักวิปัสสนา "เขาข้าวแห้ง" จึงเกิดขึ้น โดยมีอาจารย์ประเดิม โกมะโล เป็นหัวเรือใหญ่ จัดฝึกอบรม วิปัสสนากรรมฐาน แก่ญาติโยม ชายหญิงที่มีจิตศรัทธา รวมทั้งจัดให้มี การสอนธรรมะ แก่บุคคลทั่วไป มีนักเรียนชายหญิง ผู้เยาว์ เข้าไปเรียนครั้งแรก ประมาณ  ๓๐ คนเศษ

พระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน เป็นผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ในฐานะสงฆ์ ผู้บุกเบิก การฝึกอบรม วิปัสสนา กรรมฐาน ตัวท่าน ก็ยังคง ดำเนินการ พัฒนา ด้านวิปัสสนาญาณ ให้สูงขึ้นไปด้วย

วัตรปฏิบัติ ของพระภิกษุ อีมานูเอล เชอร์แมน ท่านเคร่งครัด ในพระธรรมวินัย อยู่ตลอดเวลา แม้ภาษาไทย ของท่าน ยังไม่ชัดเจนพอ แต่ท่านก็ พยายามศึกษา อยู่เสมอ ใช้สื่อภาษาธรรมชาติ เป็นสะพาน เชื่อมความเข้าใจ กับเด็กๆ และชาวบ้าน ท่านมีสีหน้ายิ้มแย้ม เป็นปกติอยู่แล้ว จึงได้รับความเลื่อมใส ศรัทธา จากชาวบ้านด้วยดี

การเดินทางขึ้นไปอยู่บนเกาะพงัน ของพระภิกษุ อีมานูเอล เชอร์แมน ครั้งนั้น มีบันทึก เล่ากันไว้ว่า

"อย่าว่าแต่เด็กๆ เลย แม้แต่ผู้ใหญ่ ยังต้องเหลียวมองดู ชาวต่างชาติ ร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ไว้หนวดเครา ห่มผ้าแบบนักบวชชาวจีน หรือ ญี่ปุ่น จนสุดสายตา ยามที่เดินผ่านมาพร้อมกับภิกษุชาวไทย

จะว่าไปแล้วนั้น เป็นครั้งแรก ในช่วงสมัยของพวกเรา ที่ได้เห็นฝรั่ง บนผืนแผ่นดิน เกาะพงัน ไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่า ฝรั่งคนไหน ชาติใด เป็นคนแรก ที่เหยียบแผ่นดิน เกาะพงัน แต่จากยุคสมัย ของกลุ่มนักเรียน หลักสูตรการศึกษา พ.ศ. ๒๕๐๓ นับว่า พระฝรั่ง อีมานูเอล เชอร์แมน เป็นชาวตะวันตก คนแรก ที่เคยเห็น จึงเป็นภาพประทับใจ ที่ยังตรึงตรานิจนาน"

 ภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน เป็นชาวอเมริกัน เชื้อสายยิว เคยศึกษา พุทธศาสนา นิกายเซ็น ที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วเดินทาง มาเมืองไทย ตอนหลังมาพำนัก อยู่ที่วัดเขาถ้ำ ซึ่งขณะนั้น เป็นที่พักสงฆ์ ณ ตำบลบ้านใต้ เกาะพงัน

ประวัติวัดเขาถ้ำ ของนายนำ บุญช่วย ระบุว่า อีมานูเอล เชอร์แมน ภิกษุ ได้พำนัก ที่วัดเขาถ้ำ พร้อมพระภิกษุไทย ภายใต้การนำ ของพระอาจารย์ ประเดิม โกมะโล วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๕๐๕ (วันอังคารที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๕ ปีฉลู)

พระอาจารย์ ประเดิม โกมะโล ได้เปิดสอน วิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดเขาถ้ำ อยู่ระยะหนึ่ง ครั้นวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๕ พระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน เริ่มป่วย เป็นไข้หวัดใหญ่ กระเสาะกระแสะ แล้วอาการ ทรุดหนัก ลงทุกที เพราะ ท่านไม่ยอม ฉันยาปฏิชีวนะใดๆ แม้หมอจะ คะยั้นคะยอ สักเพียงใด ก็ตาม

กระทั่ง วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน ได้ถึงแก่กาล มรณภาพ ขณะที่ท่านมีอายุ ๔๘ ปี มีการ ประชุมเพลิงจำลอง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา"

ก่อนหน้านี้ วันนั้นตรงกับวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาส น้ำตกธารเสด็จ ชาวบ้าน ในละแวกเส้นทางเดิน บิณฑบาต ของท่าน เชอร์แมน ต่างปิดประตูบ้าน ไปรับเสด็จกันหมด

เมื่อท่านเชอร์แมน ออกจากถ้ำ มาบิณฑบาต ในหมู่บ้าน ก็พบว่า มีแต่บ้านเรือน ที่ไร้ผู้คน มาใส่บาตร ท่านจึงต้อง เดินกลับถ้ำ ทั้งที่ กำลังมีไข้สูง

ตอนเดินทาง กลับถ้ำ เขาข้าวแห้ง ก้นบาตร ยังว่างเปล่า ไม่มีข้าวเลย แม้แต่ เมล็ดเดียว ระหว่างทาง ที่ผ่านสวนมะพร้าวสูง ของชาวบ้าน เจ้ากระรอก กินน้ำมะพร้าว ตัวหนึ่ง กัดเจาะ เปลือกลูกมะพร้าว ทะลุกะลา พอดี น้ำมะพร้าวไหล หยดจากจั่น เป็นทาง

จิตที่สงบนิ่งมา ตลอดทาง ท่านเชอร์แมน รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ว่า ควรทำอย่างไร กับน้ำมะพร้าวนั้น ท่านเปิดฝาบาตร ยืนรองรับ น้ำมะพร้าว จากรูกะลา ที่กระรอกเจาะ จนหยดสุดท้าย

กลับถึงเขาข้าวแห้ง ท่านก็ได้ฉันน้ำมะพร้าวนั้น ประทังความหิว ก่อนที่จะลงมือ วาดรูปภาพ ปริศนาธรรม แกะภาพพิมพ์ wood cut "บิณฑบาต น้ำมะพร้าว กระรอกเจาะ" นั่นคือ ภาพปริศนาธรรม สุดท้าย ที่เขียนเป็น รูปตนเอง ยืนอุ้มบาตร รับน้ำมะพร้าว บนต้น มีกระรอก เกาะอยู่ กินเนื้อมะพร้าว อยู่ข้างรอยเจาะนั้น





หลังจาก ท่านเชอร์แมน มรณภาพไปแล้ว หมออนามัยท่านหนึ่ง ชื่อ หมอปาน ผู้ซึ่งรู้จักคุ้นเคย กับท่านมหาปราชญ์พุทธทาส แห่งสวนโมกข์ เขาผู้นี้คือ ผู้ที่สนใจ ภาพปริศนาธรรม ของ ท่านเชอร์แมน และ เก็บรวบรวม จากชาวบ้าน และที่วัดเขาถ้ำ ส่งไปให้ ท่านพุทธทาส ดู ท่านดูแล้วรู้สึกทึ่ง ในภูมิธรรม อันล้ำลึก ของพระภิกษุ นิกายเซ็น รูปนี้ ความหมายของภาพ แต่ละภาพ เป็นปรมัตถธรรม ขั้นสูง ที่ควรนำไปใช้ สอนใจ มนุษย์ทั้งหลาย ท่านจึงให้คัดลอกภาพ เหล่านั้น บันทึกไว้ บนฝาผนัง ด้านล่าง ของ โรงมหรสพทางวิญญาณ ประมาณจำนวน ๑๐ ภาพ นอกจากนี้แล้ว ท่านยังให้คน ไปติดตาม ค้นหาภาพปริศนาธรรม สุดท้าย ที่มีชื่อว่า "บิณฑบาตน้ำมะพร้าว จากกระรอกเจาะ" แต่ว่า หาไม่พบ เข้าใจว่า จะชำรุด หรือสูญหายไป ในหมู่ชาวบ้าน เกาะพงัน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านอาจารย์พุทธทาส ยังสอบถามหาภาพนั้น จากชาวบ้านเกาะพงัน และ เมื่อมีผู้เล่าถึง เรื่องทางวัดเขาถ้ำ ขุดโครงกระดูก ท่านเชอร์แมน มาแขวนไว้บนกุฏิ หลังหนึ่ง พวกเด็กๆ เห็นแล้ว ตกใจกลัว หวีดร้องลั่น ทางวัด จึงต้องรีบนำกลับ ไปฝังไว้ ที่เจดีย์ เรื่องนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยปรารภว่า ถ้าหากนำกระดูก มาแขวนไว้ ที่สวนโมกข์ จะเกิดประโยชน์ ทางธรรม อย่างสูง

อย่างไรก็ตาม โครงกระดูก ของท่านเชอร์แมน ก็ได้รับการดูแลรักษา เป็นอย่างดี ในฐานะ พระผู้ทรงคุณ ด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน เช่นเดียวกับ พระภิกษุไทย ผู้บริสุทธิ์ องค์หนึ่ง ซึ่งทุกคนเชื่อว่า ท่านเป็นผู้บรรลุธรรม ระดับใด ระดับหนึ่ง และจิตเดิมแท้ ของท่าน ย่อมกลับคืนสู่ธรรมชาติ ดุจ "เสียงขลุ่ย กลับไปสู่ก่อไผ่" ฉะนั้น

พระอาจารย์ประเดิม โกมะโล ผู้มีความเข้าใจ และหยั่งรู้ วัตรปฏิบัติ อันเข้มข้น ของท่านเชอร์แมน กล่าวว่า

"ในขณะที่อยู่ที่เกาะพงัน ท่านเชอร์แมน ได้ปฏิบัติ เยี่ยงนักบวช ในพระพุทธศาสนา ผู้เคร่งครัด พระธรรมวินัย พึงจะกระทำ คือ

๑. ปฏิบัติกรรมฐาน ทุกวันทุกคืน
๒. แกะสลักพระพุทธรูป บนก้อนหินก้อนใหญ่

เขาแสดงความพอใจในทิวทัศน์ และดินฟ้าอากาศ ที่เกาะพงันมาก จนต้องล้มป่วยลง ด้วยไข้หวัด ในขณะที่ป่วยก็พยายามทำกรรมฐาน โดยไม่ยอมถอยเลย เขากล่าวว่า

"เป็นอยู่อย่างนี้ ตายก็อย่างนี้ (เช่นนั้นเอง = ตถาตา)" ด้วยน้ำใจอันมั่นคง ในการปฏิบัติยิ่งนัก

ภิกษุเชอร์แมน จากโลกไปอย่าง พระเซ็น ผู้ไม่ยอม วิ่งหนีความตาย ตอนที่ ท่านยังมีชีวิต ปฏิบัติธรรม ในถ้ำเขาข้าวแห้ง ท่านกล่าวว่า

"อาตมาเอาแต่ปัจจุบัน ไม่เอาอดีต ไม่เอาอนาคต ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธรรมชาติ ทั้งนั้น จงอยู่กับ ปัจจุบัน และธรรมชาติ นั่นคือ ทางที่จะนำไปสู่ พระนิพพาน"

พระเชอร์แมน มีจิตใจรักผู้อื่น มีเมตตา กรุณา เป็นที่สุด ยิ้มให้กับทุกคน ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ ท่านบำเพ็ญประโยชน์ ส่วนตน ด้วยการ ทำ กรรมฐาน และ สร้างประโยชน์สุข ส่วนรวม ด้วยการปาฐกถา อบรมธรรม แก่เด็กและผู้ใหญ่ ท่านทำเช่นนั้น ทั้งในญี่ปุ่น และในประเทศไทย จึงทำให้ มีผู้นิยม ชมชอบ แก่ชาวพุทธ โดยทั่วไป



หลังการดับสังขาร ในถ้ำเขาข้าวแห้ง บรรดาญาติโยม ที่บริเวณวัด พระภิกษุสงฆ์ และพระอาจารย์ประเดิม โกมะโล พร้อมทั้งคณะ ของพุทธสมาคม พระนครกรุงเทพฯ พุทธสมาคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้จัดการ ฝังศพไว้ ณ สถานที่ ใกล้พระพุทธบาท เขาข้าวแห้ง และต่อมาภายหลัง จึงได้ขุดศพ ของท่าน อีมานูเอล เชอร์แมน ขึ้นมา ฌาปนกิจ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เวลา ๑๖.๐๐ น.

ในการฌาปนกิจศพ ของท่านเชอร์แมน ครั้งนั้น มีคุณหญิงอนุกิจวิธูร เป็นผู้จัดพิมพ์ หนังสือประวัติย่อ ของท่านผู้วายชนม์ เป็นอนุสรณ์ หนังสือเล่มนี้ มีรายการกำหนด การฌาปนกิจศพ และคำไว้อาลัย พิมพ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ คู่กัน แม้จะเป็น หนังสือ เล่มเล็กๆ แต่มีความหมาย อย่างยิ่ง ในทางพุทธศาสนา เพราะทำให้ คนที่อยู่รุ่นหลัง ได้รับรู้ว่า ครั้งหนึ่ง เคยมี พระภิกษุ นิกายเซ็น ชาวอเมริกัน เดินทางมาจากญี่ปุ่น และมอบจิตวิญญาณ และสังขาร ให้กับธรรมชาติ บริสุทธิ์ ของเขาข้าวแห้ง (วัดถ้ำ เขาข้าวแห้ง) เขาคือ วีรธรรม ผู้มามือเปล่า และจากไปใน ความว่าง ของจิตเดิมแท้ แห่งพุทธะ นิกายเซ็น

หลังจากเถ้าถ่าน สรีระของเชอร์แมน มอดไหม้ไปในกองไฟ ภาพปริศนาธรรม จากความคิดของเขา กลายเป็นแสงสว่าง ทางปัญญาวิมุตติ แก่ชาวพุทธ และชาวโลกปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ สำนักสงฆ์ เขาข้าวแห้ง ได้รับการพัฒนา ร่มรื่นด้วยไม้ป่า ที่เติบโต สูงใหญ่ด้วยจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติธรรม มีถาวรวัตถุ เกิดขึ้น รองรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนเพิ่มขึ้น มีกุฎิพระภิกษุ และกุฏิแม่ชี อุบาสกอุบาสิกา เพิ่มขึ้น เพราะมีฝรั่ง หลั่งไหลเข้าไปอบรม วิปัสสนา และศึกษาพุทธศาสนา มาโดยตลอด

ผู้คนที่มาจากซีกโลกตะวันตก หรือที่อื่นๆ ได้มารู้เห็นความจริงว่า วิถีทางธรรม ของท่านอีมานูเอล เชอร์แมน คือวิถีทางของผูแสวงหา สันติภาพ และอิสระภาพ ที่แท้จริงของชีวิต เป็นอันหนึ่ง อันเดียว กับธรรมชาติ ไม่มีข้อขัดข้อง หรือยึดมั่นในนิกาย ไม่ว่า เถระวาท หรือ มหายาน สอดคล้องกับ ปณิธานธรรม ของท่านอาจารย์ พุทธทาส ข้อที่ว่า จะต้อง ทำความเข้าใจ ระหว่างศาสนา และการเข้าถึง หัวใจศาสนา ของตนๆ เพื่อนำพาชีวิต ออกมาเสียจาก อำนาจวัตถุนิยม

จาก http://www.angelfire.com/ego/self0/shermann/shermann_profile1.html

<a href="https://www.youtube.com/v/0oS-wEC2QL8" target="_blank">https://www.youtube.com/v/0oS-wEC2QL8</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/lM0EZfdEWOs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/lM0EZfdEWOs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/5Z81iLFWExw" target="_blank">https://www.youtube.com/v/5Z81iLFWExw</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/oZpP6JtuPH8" target="_blank">https://www.youtube.com/v/oZpP6JtuPH8</a>

มรดกธรรม พระเซนชาวยิว เอมมานูเอล ที่เหลือ อีกมากมาย ตามลิ้งไปเลย https://www.youtube.com/playlist?list=PLJ4gXq7Jn7BT3LRja6egre08I5s1oxwMF

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บนเส้นทาง
สุขใจ ใต้เงาไม้
sometime 2 2270 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2553 14:30:26
โดย เงาฝัน
[โพสทูเดย์] - ซีแพนเนล บนเส้นทาง PRECAST
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 193 กระทู้ล่าสุด 08 เมษายน 2565 15:26:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.868 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 กุมภาพันธ์ 2567 19:02:53