[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 18 กันยายน 2566 14:39:44



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - "Beyond the Headline" นิทรรศการส่องความท้าทายของสื่อผ่านการรายงานข่าวการชุมนุม ตั้งแต่
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 18 กันยายน 2566 14:39:44
"Beyond the Headline" นิทรรศการส่องความท้าทายของสื่อผ่านการรายงานข่าวการชุมนุม ตั้งแต่ปี 2535
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-09-18 14:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: "Beyond the Headline" นิทรรศการความท้าทายของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวการชุมนุม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นิทรรศการ "Beyond the Headline" ส่องความท้าท้ายของการรายงานข่าว ผ่านการชุมนุมครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ด้าน 'พรรษาศิริ' อ.นิเทศฯ จุฬาฯ หนึ่งในผู้จัดงาน มองสื่อควรได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะทำให้การรายงานข่าวทำได้อย่างอิสระ และสร้างความเข้าใจการชุมนุมทางการเมืองได้ครบถ้วน</p>
<p> </p>
<p>เมื่อ 15 ก.ย. 2566 เวลา 20.00 น. ที่ 1559 Space (ข้าง ART4C Gallery) สามย่าน โครงการงานวิจัยการรายข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุม จัดงาน "Beyond the Headline" นิทรรศการความท้าทายของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวการชุมนุมตั้งแต่ปี 2535</p>
<p>ภายในนิทรรศการมีการจัดแสดง ผู้เข้าร่วมจะได้เห็นข้อมูลเชิงสถิติการสลายการชุมนุมและการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐต่อสื่อมวลชนตั้งแต่พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นต้นมา มุมมองของสื่อแต่ละคนต่อความท้าท้ายการรายงานข่าวสถานการณ์การชุมนุม ไปจนถึงให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมช่วยกันโหวตข้อเสนอในประเด็นสิทธิเสรีภาพของสื่อต่อภาครัฐ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อได้รับผลกระทบมากสุดช่วงม็อบราษฎร </span></h2>
<p>ระหว่างการชมงาน ผู้สื่อข่าวได้ร่วมพูดคุยกับ พรรษาศิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในผู้จัดงาน กล่าวถึงนิทรรศการนี้ต้องการพูดถึงบทบาทของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวการชุมนุม โดยจะมีกรณีศึกษาทั้งหมด 5 ครั้ง คือ 1. การชุมนุมพฤษภาประชาธรรม เมื่อปี 2535 (ช่วงพฤษภาทมิฬ) การชุมนุมที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปี 2548-2553) ม็อบ กปปส. (ปี 2556-2557) และม็อบราษฎร (2563-2565) โดยเราจะไปดูผลกระทบที่เกิดขึ้นสื่อมวลชนว่าได้รับความรุนแรงโดยรัฐอย่างไรบ้าง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการกดดันจากผู้ชุมนุมก็มีผลต่อการทำงานของสื่อมวลชน ทำให้ปิดกั้นอิสระในการทำงาน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53195747960_87cae1da73_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พรรษาศิริ กุหลาบ</span></p>
<p>พรรษาศิริ ระบุต่อว่า ข้อน่าสังเกตอย่างแรก หากเราดูการชุมนุมตั้งแต่พฤษภาทมิฬ หรือปี 2535 จนถึงพันธมิตร กปปส. และ นปช. สื่อมวลชนจะยังไม่ได้รับผลกระทบในวงกว้างมากนัก และแม้ว่าการชุมนุม นปช. จะมีผู้เสียชีวิต และได้รับความรุนแรงจากอาวุธทหาร</p>
<p>ส่วนในการชุมนุมของม็อบราษฎร ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2563 เป็นต้นมา พบว่า สื่อมวลชนได้รับความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ใช้ระหว่างการสลายการชุมนุมเยอะมาก และหลากหลายรูปแบบ แม้ว่าจะไม่รุนแรงจนเสียชีวิตเช่นเดียวกับ นปช. แต่ก็ไม่ควรจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในการรายงานข้อเท็จจริง และเป็นช่องทางในการสื่อสารความคับข้องใจของผู้ที่มาชุมนุม ข้อเรียกร้องของเขาในการเปลี่ยนแปลง ให้มีการถกเถียงกัน ในสังคมไทยมีเรื่องอะไรบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53195915908_f9ebff0d88_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การายงานข่าวต้องได้รับการคุ้มครอง </span></h2>
<p>พรรษาศิริ กุหลาบ กล่าวต่อถึงการถอดบทเรียน และข้อเสนอว่า ประการแรกเลยก็คือการรายงานการชุมนุม ข้อสังเกตหนึ่ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบที่มีต่อในเชิงกายภาพ การถูกข่มขู่คุกคาม ไปจนถึงการที่เสียชีวิต มันทำให้สื่อมวลชนทำงานไม่เป็นอิสระ และทำหน้าที่ด้วยความหวาดระแวง และด้วยความเกร็ง ซึ่งถ้าสื่อมวลชนได้รับความปลอดภัย และอิสระในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมทางการเมืองที่มีผู้คนมารวมตัวค่อนข้างมาก และเจ้าหน้าที่รัฐมีวิธีคิดที่จะต้องใช้มาตรการบางอย่างไปจนถึงความรุนแรงขั้นต่างๆ ในการปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งมันไม่เป็นผลดีในการที่จะทำให้สื่อมวลชนทำงานเล่าเรื่องได้ </p>
<p>ประเด็นที่ 2 ที่อยากจะชวนคิดก็คือการชุมนุมมันเป็นสิทธิในการสื่อสารของประชาชน สิทธิในการมีสื่อร่วมทางการเมือง ดังนั้น สื่อมวลชนควรจะมีอิสระในการทำหน้าที่ตรงนั้นด้วยเหมือนกัน สืบเนื่องไปถึงว่า การชุมนุมเป็นผลของความขัดแย้งของผู้ชุมนุมจะสื่อสารบางเรื่องที่เขาเห็นว่ามันไม่เป็นธรรม ต้องการจะเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นปัญหาตรงนี้ สื่อมวลชนจึงควรจะทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ และในขณะเดียวกัน มันไม่ใช่เฉพาะเหตุการการชุมนุม และความขัดแย้งที่สื่อมวลชนไม่ควรจะถูกปิดกั้น และควรจะได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงในเชิงกายภาพ หรือมาตรการทุกประการ</p>
<div class="note-box">
<p>ทั้งนี้ "Beyond the Headline" นิทรรศการความท้าทายของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวการชุมนุม จัดโดยโครงการงานวิจัยการรายข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุม โดยระยะเวลาการจัดงานมีทุกวันตั้งแต่วันที่ 15-20 กันยายน 2566 เวลา 12.00-20.00 น.</p>
</div>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53195552506_8bcfe4fbf5_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53195917793_dd2c650f82_b.jpg" /> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เสรีภาพสื่อ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรษาศิริ กุหลาบ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความรุนแรงต่อสื่อ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การชุมนุมทางการเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105953