[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 20:07:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บริขาร "บาตร" พระพุทธองค์  (อ่าน 611 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5512


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 มิถุนายน 2564 19:44:06 »


ภาพเเกะสลักลักษณะบาตร เท่าที่มีหลักฐานใกล้สมัยพุทธกาลที่สุด เป็นภาพสมัยคันธาระ
ขอขอบคุณ เพจเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ ๗ (ที่มาภาพประกอบ)

ที่มาของบาตรพระพุทธองค์


บาตร เป็นหนึ่งในอัฐบริขาร ใช้สำหรับใส่อาหารของที่พระภิกษุและสามเณร

หนังสือพระปฐมสมโพธิกถากล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ออกมหาภิเนษกรมณ์ (ออกผนวช) ได้รับการถวายบริขารทั้ง ๘ ซึ่งมีบาตรรวมอยู่ด้วย จากท้าวฆฏิการมหาพรหม บาตรที่ได้รับนี้ทำด้วยดิน  ดังความว่า “ในกาลนั้น ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งมีนาม “ฆฏิการมหาพรหม” เป็นสหายกับพระโพธิสัตว์ ครั้งเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณ ฑกาลเมื่อศาสนาพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น อันมิควรธรรมบมิได้บำราศประมาณถึงพุทธันดรหนึ่ง  พึงตักเตือนให้ทราบเหตุว่าสหายแห่งอาตมะออกสู่ภิเนษกรมณ์ในวันนี้ จึงนำเอาบริขารทั้ง ๘ อันเป็นทิพย์ มีไตรจีวร เป็นต้น แต่ไม้กัลป์ปาพฤกษ์พรหมโลก”

ต่อมาเมื่อทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นโพธิพฤกษ์ ๗ วัน หลังจากนั้นเสด็จไปประทับเสวยวิมุติสุขในสถานที่ต่างๆ อีก ๗ แห่งๆ ละ ๗ วัน   ในสัปดาห์ที่ ๗ อันเป็นสัปดาห์สุดท้าย พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขที่ภายใต้ร่มไม้เกตุ อันได้นามว่า “ราคายตนะ” นั้น  สมัยนั้นมีพาณิช ๒ คนชื่อ ตปุสสะและภัลลิกะ นำสินค้าบรรทุกกองเกวียนเดินทางมาจากอุกกละชนบทผ่านมาทางนั้น  ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ภายใต้ต้นไม้เกตุ  ประกอบด้วยทวัตติงสมหาปุริสลักษณะ มีพระรัศมีรุ่งเรืองไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงนำข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงอันเป็นเสบียงทาง เข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค

ขณะนั้น พระพุทธองค์ไม่มีบาตรเพราะหายแต่คราวทรงรับข้าวปายาสของนางสุชาดา พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “บาตรของตถาคตได้หายไปก่อนวันตรัสรู้ ต้องรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาด้วยพระหัตถ์ หลังจากนั้นมายังมิได้เสวยกระยาหารเลย บัดนี้สองพานิชนำอาหารมาถวาย ตถาคตจะได้บาตรมาแต่ที่ไหน”

เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำริอย่างนั้น ทันใดนั้น ท้าวจตุมหาราช ๔ องค์ได้นำบาตรศิลาสีเขียวองค์ละใบ มาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าทรงรับและอธิษฐานประสานบาตรเป็นใบเดียวกัน ทรงรับข้าวสัตตุ ๒ ชนิดของพาณิชด้วยบาตรนั้น

บาตรใบที่สาม : พระปฐมสมโพธิกถา ได้กล่าวถึงบาตรใบที่สาม คือบาตรที่ทำจากปุ่มไม้จันทน์แดง ซึ่งเศรษฐีผู้หนึ่งในกรุงราชคฤห์ได้ทำขึ้นและได้แขวนไว้บนไม้ไผ่ต่อๆ กันสูง ๖๐ ศอก เพื่อพิสูจน์ความเป็นพระอรหันต์ว่ามีอยู่ในโลก  พระบิณโฑลการทวราชเถร ได้แสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปนำบาตรลงมา

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้บาตรได้ ๒ ชนิด คือ บาตรที่ทำด้วยดินกับบาตรที่ทำจากเหล็ก  ขนาดของบาตรน่าจะมีขนาดลักษณะคล้ายกับกะโหลกน้ำเต้า กะโหลกผี หรือกระทะดิน  จากการศึกษาโบราณวัตถุจากภาพถ่ายพระพุทธรูปศิลาในชมพูทวีปตอนเหนือเห็นได้ว่า ขนาดของบาตรที่ภิกษุใช้นั้นมีขนาดเท่าขันน้ำ ขนาดจะไม่ใหญ่เหมือนบาตรในประเทศไทย

หนังสือคัมภีร์วิภังค์ ได้กล่าวถึงขนาดของบาตรว่า มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก โดยกำหนดเอาความจุของข้าวสารเป็นหลัก กล่าวคือ
๑. บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสารสุกแห่งข้าวสารถึงนาฬิหก   
๒. บาตรขนาดกลาง จุข้าวสารสุกแห่งข้าวสารนาฬิหนึ่ง  
๓. บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสารสุกแห่งข้าวสารปัตถะหนึ่ง

ข้าวสารหนึ่งนาฬิหุงเป็นข้าวสุกแจกคนกินได้ ๕ คน

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระวชิรญาณวโรรส ได้กล่าวว่าบาตรพระมี ๓ ขนาด คือ
๑. ขนาดใหญ่ จุอาหารกินได้ ๑๐ คน
๒. ขนาดกลาง จุอาหารกินได้ ๕ คน
๓. ขนาดเล็ก จุอาหารกินได้ ๑ คน แต่อาหารจะเหลือแต่ก็ไม่พอ ๒ คนกิน

บาตรที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นบาตรขนาดกลาง รูปทรงของบาตรยังแตกต่างกันด้วย เช่น ทรงลูกจัน เป็นทรงป้อมๆ อย่างผลจัน (จันเป็นผลไม้ไทยชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้น พุ่มใบงาม ลูกกลมแป้น หรือกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองหอมกินได้)  ทรงลูกอิน คล้ายกับทรงลูกจัน (อินเป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับจัน แต่ผลใหญ่กว่า) ทรงมะนาวรูปร่างค่อนข้างกลมอย่างผลมะนาวแต่ตัดส่วนที่เป็นปากออกประมาณหนึ่งในสี่  ทรงตะโก เป็นแบบที่มีรูปร่างอย่างผลตะโกหรือลูกตะโก (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลมคล้ายมะพลับ คล้ายไข่ไก่แต่กลมมนกว่า)

ในการทำบาตรนั้น หากวัสดุที่ทำบาตรเป็นดินเผาก็เป็นเพียงดินเผาที่สุมรมผิวให้ดำเป็นมันเท่านั้น ส่วนบาตรเหล็กมีความเชื่อว่าจะต้องเป็นตะเข็บรอยต่อ ๔ รอย มาจากแนวคิดและความเชื่อ ๒ ข้อ คือ
๑. แนวคิดจากพุทธประวัติ เมื่อครั้งทรงรับถวายบาตรจากท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งได้นำบาตร ๔ ใบมาถวาย  พระพุทธองค์ได้ทรงอธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ ให้เป็นบาตรใบเดียวกัน
๒. แนวคิดจากธรรมวินัย ว่ารอยต่อทั้ง ๔ นั้นหมายถึง อริยสัจ ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้


โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.319 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 31 มีนาคม 2567 05:20:24