[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 13 สิงหาคม 2564 19:23:44



หัวข้อ: “แม่” ในพระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 สิงหาคม 2564 19:23:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16016552762852_2ictl_Copy_.jpg)

“แม่” ในพระพุทธศาสนา

มีพระพุทธดำรัสในสพรหมสูตร และมาตาปิตุคุณสูตรว่า..“ภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมก็ดี บุพพเทวดาก็ดี บุพพาจารย์ก็ดี อาหุไนยบุคคลก็ดี เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะท่านมีอุปการะมาก เป็นผู้เลี้ยงดูให้ความเจริญ และแสดงโลกนี้แก่บุตร”

อนึ่ง คำว่า “แม่” นี้ ในพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่สตรีผู้เป็นแม่ด้วยการยกย่องคำว่า “แม่” นำหน้าผู้เป็นบิดาหรือพ่อเสมอ ไม่ว่าจะในพระสูตร หรือในพระวินัย เช่น ธรรมะว่าด้วยการบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา จะใช้คำว่ามารดาหรือแม่ นำหน้าบิดาพ่อเสมอ ในพระวินัยที่กล่าวถึงกุลบุตรที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาก่อน ก็ใช้คำว่ามารดานำหน้าบิดา เป็นต้น

และความยิ่งใหญ่ของแม่นั้น ถูกนำมาเป็นชื่อหรือคำต่อท้ายชื่อของบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปตัสสะตามสกุลบิดา แต่เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ท่านได้ชื่อว่า พระสารีบุตร ตามชื่อของมารดาคือนางสารี ส่วนพระโมคคัลลานะ ชื่อเดิมว่า โกลิตะ ตามสกุลบิดา แต่เมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีชื่อว่า โมคคัลลานะ ตามชื่อของนางพราหมณีโมคคัลลี เป็นต้น พระเจ้าอชาตศัตรู ราชาแห่งมคธรัฐ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แต่มีพระนามพระราชมารดาต่อท้ายพระนามของพระองค์ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครคือพระราชมารดาของพระองค์ นี่คือความยิ่งใหญ่ของ “แม่” ที่พระพุทธศาสนาได้กล่าวยกย่องให้ปรากฏแก่โลก

อันว่าความรักของแม่มีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่ สามารถบันดาลคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ผู้เป็นแม่และลูกได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังเช่นเรื่องราวของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งการเข้าไปบวชในพระพุทธศาสนา ยังความไม่พอใจให้แก่มารดาของท่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะมารดาของท่านยังฝังยึดติดอยู่ในลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิม และเห็นว่าการที่พระสารีบุตรเปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนา เป็นความผิดอย่างมากจนมารดาของท่านรับไม่ได้

ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้ที่มีกิตติศัพท์ว่าเป็นพระอัครสาวกที่มีปัญญายอดเยี่ยม และมีความกตัญญูเป็นเลิศ ท่านได้แสดงธรรมโปรดมารดาหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธตลอดมา จนเมื่อท่านใกล้จะนิพพาน จึงกลับบ้านเกิด แล้วบอกแก่โยมมารดาว่า ท่านจะนิพพานภายในเจ็ดวันนี้แล้ว ขอนิพพานภายในห้องที่ท่านเกิด

โยมมารดาพอได้ยินพระลูกชายพูดถึงการนิพพาน (ตาย) ความรักความห่วงหาอาลัยประดังท่วมท้นใจ มานะทิฐิที่เคยมีต่อลูกก็ค่อยๆหายไป จนกลายมาเป็นความอ่อนโยนเหมือนเมื่อครั้งในอดีตที่เคยมีแก่พระลูกชาย ท่านพระสารีบุตรเห็นว่าโยมมารดามีอุปนิสัยในธรรมะจึงได้แสดงธรรม โดยกล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การแสดงปฐมเทศนาแก่พระเบญจวัคคีย์ และท้ายที่สุดกล่าวถึงพระพุทธ พอจบคำว่า “พุทโธ ภควาติ” เท่านั้น มารดาของท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที

นี่เป็นเพราะอานุภาพความรักของแม่เป็นเครื่องดลใจให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ “แม่” เอง และเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านพระสารีบุตรได้ตอบแทนพระคุณโยมมารดาได้สำเร็จ เพราะไม่ว่าลูกจะเลี้ยงดูมารดาบิดาดีมากเพียงไร ก็ไม่นับว่าทดแทนพระคุณได้ทั้งหมด แต่ลูกที่ทำให้มารดาบิดามีศีลมีศรัทธา ตั้งมั่นอยู่ในธรรม จึงจะชื่อว่าเป็นการทดแทนพระคุณอย่างแท้จริง และโยมมารดาของพระสารีบุตรก็ปลื้มปีติเป็นนิตย์ เพราะได้ชื่อว่า “เป็นแม่ของพระอัครสาวก” ซึ่งเป็นฐานะที่น้อยคนจะได้รับ

ขณะที่พระองคุลิมาล ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่คนที่ศึกษาพระพุทธศาสนา ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่ได้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักทิศาปาโมกข์ ถูกอาจารย์ซึ่งมีจิตริษยา เกรงว่าศิษย์จะเก่งกว่าอาจารย์ จึงหลอกให้ไปฆ่าคน ให้ครบหนึ่งพันคน แล้วจะบรรลุวิชาการขั้นสูงสุด เพื่อต้องการยืมมือคนอื่นฆ่าองคุลิมาล เพราะเมื่อองคุลิมาลฆ่าคนอื่น ก็อาจถูกคนอื่นฆ่าได้เช่นกัน

ความเป็นโจรโหดเหี้ยมขององคุลิมาลแพร่สะพัดไป และไม่มีใครจะปราบปรามหรือต่อกรได้ จึงทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยกพลออกไปปราบ มารดาขององคุลิมาลจึงออกไปพบลูก ขอร้องให้เลิกเป็นโจร เพราะไม่ต้องการให้ลูกถูกฆ่า ซึ่งองคุลิมาลก็รออยู่ว่าจะมีใครมาให้ฆ่า เพราะจะครบหนึ่งพันคนในวันนั้นพอดี

แต่ความคาดหวังของนางพราหมณี แม่ขององคุลิมาลที่จะได้พบลูกก็ดี กองทหารของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ไม่มีใครได้พบโจรองคุลิมาลเลย เพราะก่อนหน้าเพียงไม่เท่าไร โจรองคุลิมาลได้พบพระพุทธเจ้าและได้ยินพระพุทธดำรัสว่า “เราหยุดจากการฆ่าแล้ว” เท่านั้น ก็ได้สำนึกผิดและขอบวชในพระพุทธศาสนา และบรรลุธรรมสูงสุดในเวลาต่อมา

โยมแม่ของพระองคุลิมาลก็ไม่ต้องอับอายใครที่มีลูกเป็นโจร เพราะว่าบัดนี้ลูกกลายเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาแล้ว ความรักของแม่ที่ปรารถนาให้ลูกดีมีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่คนดีพึงมีพึงได้ ก็สำเร็จแล้วดังตั้งใจ


พุทธมารดา พระนางสิริมหามายา

ธรรมะสำหรับพุทธภูมิ ผู้บำเพ็ญบารมีตั้งความปรารถนาเป็นมารดาพระโพธิสัตว์

พระนางสิริมหามายา..ได้บำเพ็ญกุศลบารมีมาอย่างเต็มเปี่ยม ตลอดแสนกัปป์เพื่อความเป็นพุทธมารดา ในสมัยพระเวสสันดร ก็ทรงเกิดเป็นพระนางผุสดี พระมารดาของพระเวสสันดร เมื่อทรงสิ้นอายุขัย ก็ได้ไปบังเกิดในดุสิตบุรีเทวพิภพ แล้วจุติลงมาเกิดในพระครรภ์ของพระนางยโสธรา พระมเหสีของพระเจ้าอัญชนะ แห่งนครเทวทหะ เมื่อครบ ๑๐ เดือนก็ทรงประสูติออกมาสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยอิตถีลักษณะ ๖๔ ประการ มีเบญกัลยาณีเป็นต้น พราหมณ์ทั้งหลายได้ตรวจลักษณะและพยากรณ์ว่า..จักได้ทรงเป็นพุทธมารดาอย่างแน่นอน ในราตรีกาลวันพฤหัสบดี เพ็ญอาสาฬหะ เดือน ๘ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๘๑ ปี พระนางสิริมหามายา ทรงอธิษฐานสมาทานอุโบสถศีลตามลักธิของพราหมณ์ เสด็จบรรทมบนพระแท่นที่บรรทม ในราตรีใกล้รุ่งพระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า..ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ มายกพระองค์ไปพร้อมทั้งพระแท่นที่บรรทม เอาไปวางไว้บนแผ่นมโนศิลาภายใต้ต้นรังใหญ่ แล้วมีนางเทพธิดามาทูลเชิญไปสรงน้ำในสระอโนดาตชำระล้างมลทิน แล้วทรงกลัดด้วยผ้าทิพย์ ลูบไล้ด้วยของหอมอันเป็นทิพย์ ทั้งประดับด้วยทิพย์บุปผชาติใกล้ภูเขาเงินภูเขาทอง แล้วเชิญให้เสด็จเข้าไปบรรทมในวิมารทอง บ่ายพระเศียรไปทางทิศบูรพา ขณะนั้นมีเศวตกุญชรช้างเผือกเชือกหนึ่ง ชูงวงจับดอกบุณฑริกปทุมชาติ ดอกบัวขาวแรกแย้มบาน มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรมาจากภูเขาทองด้านอุดรทิศ ร้องก้องโกญจนาทเดินเข้าไปในวิมารทองที่พระนางกำลังบรรทมอยู่ ทำประทักษิณเวียนพระแท่นที่บรรทมได้ ๓ รอบ แล้วปรากฏเสมือนเข้าไปสู่พระอุทรทางด้านเบื้องขวาของพระนาง ก็พอดีพระนางเสด็จตื่นจากบรรทม ขณะนั้นก็บังเกิดกัมปนาทแผ่นดินไหวมีรัศมีสว่างไปทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตโดยธรรมนิยมในเวลาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า เสด็จลงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามายาราชเทวี

ครั้นเวลารุ่งเช้า พระนางสิริมหามายาจึงกราบทูลเรื่องพระสุบินนิมิตแก่พระราชสวามี พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชจึงรับสั่งให่เชิญพราหมณ์ปาโมกข์โหราจารย์เข้าเฝ้า ทรงเล่าเรื่องพระสุบินนิมิตให้ทำนาย พวกพราหมณาจารย์ทั้งหลายก็ทูลพยากรณ์ว่า พระสุบินนิมิตของพระนางเป็นมงคลนิมิตปรากฏ พระองค์จะได้พระปิโยรส เป็นอัครบุรุษมนุษย์ชายชาติเชื้ออาชาไนย มีบุญญาธิการยิ่งใหญ่ในโลกสันนิวาส เป็นที่พึ่งของประชาชาติไม่มีผู้ใดเสมอ

เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์อยู่ด้วยทศมาส ๑๐ เดือนบริบูรณ์แล้ว มีพระราชประสงค์ปรารถนาจะเสด็จไปสู่สกุลของพระองค์ ณ เมืองเทวทหะ โดยทรงถือตามลัทธิประเพณีพราหมณ์ ครั้นถึงวันเพ็ญวิสาขะ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ขบวนเสด็จของพระนางก็หยุดพักที่ลุมพินีวัน พระนางทรงพักผ่อนใต้ต้นสาละ เพียงไม่นานที่พระนางกำลังทรงเพลิดเพลินกับความงามและเสียงอันไพเราะของเหล่านกน้อยในสวน ต้นสาละก็ออกดอกสะพรั่งทั้งที่ไม่ใช่ฤดู และโน้มกิ่งลงมาให้พระนางเอื้อมจับ ทันใดนั้นพระนางก็รู้สึกปั่นป่วนในครรภ์ ทราบได้ทันทีว่าพระองค์กำลังจะประสูติพระโอรส ครั้งนั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ ต่างมาเฝ้ารอการประสูติของพระโพธิสัตว์ พร้อมทั้งนำตาข่ายทองมารองรับ เพื่อให้พระวรกายของพระราชกุมารบริสุทธิ์ ไร้มลทินก่อนถึงมือมนุษย์ เมื่อมีพระประสูติกาลแล้ว พระราชกุมารทรงหันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์ก้าวพระบาทออกไป ๗ ก้าว พร้อมมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เป็นบุพนิมิตว่าพระองค์จะประกาศธรรมไปใน ๗ แคว้น แล้วทรงเหลียวดูรอบทิศกล่าววาจาอันองอาจว่า "เราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้ายของเรา เราจะไม่เกิดอีก" พระนางสิริมหามายา เมื่อประสูติเจ้าชายสิทธัตถะแล้วได้ ๗ วัน ก็เสด็จทิวงคตไปอุบัติเป็นเทวดา ในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพุทธมารดา


ความรักของแม่ ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา

อันว่าความรักของแม่มีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่ สามารถบันดาลคุณประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ผู้เป็นแม่และลูกได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังเช่นเรื่องราวของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งการเข้าไปบวชในพระพุทธศาสนา ยังความไม่พอใจให้แก่มารดาของท่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะมารดาของท่านยังฝังยึดติดอยู่ในลัทธิพราหมณ์ดั้งเดิม และเห็นว่าการที่พระสารีบุตรเปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนา เป็นความผิดอย่างมากจนมารดาของท่านรับไม่ได้ แม่ กับเรื่องราวของพระสารีบุตรท่านพระสารีบุตร เป็นผู้ที่มีกิตติศัพท์ว่าเป็นพระอัครสาวกที่มีปัญญายอดเยี่ยม และมีความกตัญญูเป็น เลิศ ท่านได้แสดงธรรมโปรดมารดาหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธตลอดมา จนเมื่อท่านใกล้จะนิพพาน จึงกลับบ้านเกิด แล้วบอกแก่โยมมารดาว่า ท่านจะนิพพานภายในเจ็ดวันนี้แล้ว ขอนิพพานภายในห้องที่ท่านเกิด


โยมมารดาพระสารีบุตร

โยมมารดาพอได้ยินพระลูกชายพูดถึงการนิพพาน (ตาย) ความรักความห่วงหาอาลัยประดังท่วมท้นใจ มานะทิฐิที่เคยมีต่อลูกก็ค่อยๆหายไป จนกลายมาเป็นความอ่อนโยนเหมือนเมื่อครั้งในอดีตที่เคยมีแก่พระลูกชาย ท่านพระสารีบุตรเห็นว่าโยมมารดามีอุปนิสัยในธรรมะจึงได้แสดงธรรม โดยกล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ และท้ายที่สุดกล่าวถึงพระพุทธเจ้า พอจบคำว่า “พุทโธ ภควาติ” เท่านั้น มารดาของท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที

นี่เป็นเพราะอานุภาพความรักของแม่เป็นเครื่องดลใจให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ “แม่” เอง และเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบแทนพระคุณโยมมารดาได้สำเร็จ เพราะไม่ว่าลูกจะเลี้ยงดูมารดาบิดาดีมากเพียงไร ก็ไม่นับว่าทดแทนพระคุณได้ทั้งหมด แต่ลูกที่ทำให้มารดาบิดามีศีลมีศรัทธา ตั้งมั่นอยู่ในธรรม จึงจะชื่อว่าเป็นการทดแทนพระคุณอย่างแท้จริง และโยมมารดาของพระสารีบุตรก็ปลื้มปีติเป็นนิตย์ เพราะได้ชื่อว่า “เป็นแม่ของพระอัครสาวก” ซึ่งเป็นฐานะที่น้อยคนจะได้รับ


มงคลที่ ๑๑  บำรุงบิดามารดา - แทนคุณอันสุดซึ้ง ต้องให้เข้าถึงธรรม

แม่ กับเรื่องราวของพระองคุลิมาลขณะที่พระองคุลิมาล ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่คนที่ศึกษาพระพุทธศาสนา ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่ได้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักทิศาปาโมกข์ ถูกอาจารย์หลอก ให้ไปฆ่าคน ให้ครบหนึ่งพันคน แล้วจะบรรลุวิชาการขั้นสูงสุด เพื่อต้องการยืมมือคนอื่นฆ่าองคุลิมาล เพราะเมื่อองคุลิมาลฆ่าคนอื่น ก็อาจถูกคนอื่นฆ่าได้เช่นกัน

ความรักของแม่ต่อองคุลิมาลความเป็นโจรโหดเหี้ยมขององคุลิมาลแพร่สะพัดไป และไม่มีใครจะปราบปรามหรือต่อกรได้ จึงทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยกพลออกไปปราบ มารดาขององคุลิมาลจึงออกไปพบลูก ขอร้องให้เลิกเป็นโจร เพราะไม่ต้องการให้ลูกถูกฆ่า ซึ่งองคุลิมาลก็รออยู่ว่าจะมีใครมาให้ฆ่า เพราะจะครบหนึ่งพันคนในวันนั้นพอดี

แต่ความคาดหวังของนางพราหมณี แม่ขององคุลิมาลที่จะได้พบลูกก็ดี กองทหารของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ไม่มีใครได้พบโจรองคุลิมาลเลย เพราะก่อนหน้าเพียงไม่เท่าไร โจรองคุลิมาลได้พบพระพุทธเจ้าและได้ยินพระพุทธดำรัสว่า “เราหยุดแล้ว” เท่านั้น ก็ได้สำนึกผิดและขอบวชในพระพุทธศาสนา และบรรลุธรรมสูงสุดในเวลาต่อมา

โยมแม่ของพระองคุลิมาล ก็ไม่ต้องอับอายใครที่มีลูกเป็นโจร เพราะว่าบัดนี้ลูกกลายเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาแล้ว ความรักของแม่ ที่ปรารถนาให้ลูกดีมีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่คนดีพึงมีพึงได้ ก็สำเร็จแล้วดังตั้งใจ




ขอขอบคุณที่มา : พระพุทธศาสนา