[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 11:42:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมจักร วงล้อแห่งธรรม  (อ่าน 1437 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2564 15:20:32 »



ธรรมจักร วงล้อแห่งธรรม
สัญลักษณ์แห่งการประกาศสัจธรรม หรือที่เรียกกันว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร



            ธรรมจักร เป็นเครื่องหมายของการแผ่ขยายพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกไปยังดินแดนโดยรอบของพระองค์
            พระองค์ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและยิ่งใหญ่ ดังปรากฏเสาอโศกอันมีความหมายว่า
            พระพุทธศาสนาได้เข้ามาถึงดินแดนนั้นแล้ว โดยส่วนยอดของเสานั้นมีนักวิชากล่าวไว้ว่าเป็นที่ประดิษฐาน
            พระธรรมจักร ซึ่งพ้องกันกับอารยธรรมทวารวดีที่มีอาณาเขตกว้างขวางมาก และดินแดนที่อารยธรรมทวารดี
            เข้าไปถึงนั้นมักจะพบหลักฐานเป็นพระธรรมจักรอยู่เสมอ

            มีการค้นพบธรรมจักรมากมายหลายแห่งในประเทศไทย บริเวณพื้นที่ที่มีศิลปะในยุคทวารวดี เช่น นครปฐม
            ราชบุรี อู่ทอง ทั้งภาคตะวันออกและภาคเหนือ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ลำพูน

            พระธรรมจักรในประเทศไทยอยู่ในยุคทวารวดีนั้นพอสืบเค้าโครงได้ถึงรูปแบบของศิลปกรรมที่พัฒนามาจาก
            ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ซึ่งน่าจะเผยแผ่มาจากราชวงศ์คุปตะ ยุคสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์มหาราชองค์หนึ่ง
            ของอินเดีย ทั้งนี้มีเหตุผลประกอบคือเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสองดินแดนมีอายุคาบเกี่ยวกัน การติดต่อกับอินเดีย
            รับนับถือพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นการรับเอารูปแบบศิลปกรรมมาโดยปริยาย  โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานได้เป็น
            อย่างดีนั่นคือ ‘ลวดลาย’  ลวดลายไม่เพียงให้เกิดความสมบูรณ์เกิดความงดงาม มีระเบียบ จังหวะที่ลงตัวแล้ว
            แต่ลวดลายดอกไม้กลม สลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนป็นสิ่งบ่งชี้ได้ดีว่า อารยธรรมทวารวดี รับอิทธิพล
            จากอินเดียในศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งลายดังกล่าวพบเป็นจำนวนมากในศิลปะแบบนี้ จนกลายเป็น
            เอกลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง


ธรรมจักร ในศาสนาพุทธและฮินดู เป็นสัญลักษณ์แทนวัฏขักรเวียนว่ายตายเกิด หรือวงเวียนแห่งการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธองค์  ลักษณะของธรรมจักรดั้งเดิมมีสองรูปแบบ คือมี หกซี่ หรือบางครั้งห้าซี่ และรูปแบบที่กำเนิดในพุทธศาสนาคือ แปดซี่ สอดคล้องกับ มรรคแปด หรือรูปพระหัตถ์ ซึ่งเป็นหนทางแห่งการบรรลุ

ธรรมจักรในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีกวางหมอบอยู่ ๒ ข้าง ตามแบบของธรรมจักรยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชในพุทธศตวรรษที่ ๓ เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงการประกาศสัจธรรมอันสำคัญที่เรียกว่า ธัมมจัก กัปปวัตนสูตร คือ อริยสัจ ๔ โดยมีกงล้อ ๘ ซี่ ที่หมายถึง มรรค (ทางสายกลาง) ที่หมายความต่อไปยังแนวประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ๘ ประการ หรือสรุปก็คือ หนทางของการดำรงชีวิต ศรัทธา และปฏิบัติที่จะต้องไม่บำเรอตนให้เพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้ง ๕ และไม่ทรมานตนให้ได้รับความยากลำบากทั้งกายและใจ 

พระธรรมจักรนี้มีหลายขนาดแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นสองด้าน และด้านเดียว เป็นทั้งแบบทึบและแบบโปร่ง โดยมาก มักพบกวางหมอบบริเวณใกล้เคียง ไม่ก็อยู่คู่กันกับบริเวณที่ค้นพบ ซึ่ง‘กวาง’นั้นหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ป่ากวาง)

สัตว์โลกหมายถึงชีวิตที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิทั้ง ๓ ได้แก่  อรูปโลก ได้แก่ บรรดาพรหมที่อาศัยสุขในอรูปมานเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง  รูปโลก ได้แก่ โลกที่อาศัยความสุขจาร รูปฌาน เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง  กามโลก สัตว์ที่อาศัยความสุขจากกามเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เช่น เทวดา มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก

ภายหลังได้ขยายความของกงล้อ ๘ ซี่ไปเป็นกงล้อ ๑๒ ซี่ หมายถึงธรรมะ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อาการของความสัมพันธ์ต่อเนื่องแห่งการเกิดดับของความรู้สึก ความคิด การปรุงแต่ง ที่เป็นทุกข์ การจะต้องดับทุกข์ก็คือ ความรู้ความเข้าใจในการที่จะดับเหตุหรือรู้ทันเหตุและปัจจัยเหล่านี้

บางธรรมจักรมีถึง ๑๕ ซี่ ก็หมายถึง จรณะ ๑๕ หรือความประพฤติ ปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุนิพพาน  หรือถ้ามี ๑๖ ซี่ หมายถึง ฌาน ๑๖ ที่แปลว่า ความหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ ผู้เจริญวิปัสสนาจนถึงรู้ถึงกิเลสที่หมดแล้ว

ธรรมจักรแปดซี่จะใช้ในพุทธศาสนาเท่านั้น โดยซี่ทั้งแปดจะหมายถือ มรรคแปดซึ่งเป็นหนทางสู่การบรรลุ โดยความหมายอื่นที่มีการเอ่ยถึงคือ:

รูปทรงวงกลม (จักร) แทนความสมบูรณ์แบบของพระธรรม
แกนกลางแทนคำสอนซึ่งเป็นแก่นของการฝึกเพื่อนิพพาน
ขอบที่เชื่อมซี่ของธรรมจักรไว้จะหมายถึงความสมถะ มั่นคงยึดถือทุกสิ่งไว้ด้วยกัน

จำนวนกำของธรรมจักรที่มากกว่า ๘ ซี่ จะมีความหมายอื่นในทางพระพุทธศาสนาที่ต่างออกไป ดังนี้
ถ้ามี ๑๒ ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท ๑๒
ถ้ามี ๒๔ ซี่ หมายถึง ปัจจยาการทั้งด้านเกิด ๑๒ และด้านดับ ๑๒
ถ้ามี ๓๑ ซี่ หมายถึง ภูมิ ๓๑ (กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๖ และอรูปภูมิ ๔)


อ้างอิง :-
     ผู้จัดการออนไลน์
     พิธีไทยดอทคอม
     ข่าวสดออนไลน์
     วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.337 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 ชั่วโมงที่แล้ว