[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 18 มีนาคม 2567 00:05:53



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จาก ‘ฝรั่งเตะหมอ’ สู่วาระชาติ ว่าด้วยปมปัญหาชายหาดไทย รัฐจะกล้าพอจะจัดการไหม?
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 18 มีนาคม 2567 00:05:53
จาก ‘ฝรั่งเตะหมอ’ สู่วาระชาติ ว่าด้วยปมปัญหาชายหาดไทย รัฐจะกล้าพอจะจัดการไหม?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-17 22:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม : สัมภาษณ์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สัมภาษณ์พิเศษ 'อภิศักดิ์ ทัศนี' จากกลุ่ม Beach for Life เปิดปมปัญหาชายหาดไทย จากกัดเซาะชายฝั่ง สูโครงสร้างแข็ง และที่ดิน+ทางสาธารณะที่ประชาชนเข้าถึงไม่ได้ จากกรณีหาดปากบารา จ.สตูล ถึงแหลมกลัด จ.ตราด “เราทวงคืนก่อนภูเก็ตจะดังเสียอีก” มิฉะนั้นหาดสาธารณะจะตกเป็นที่ส่วนบุคคล ชี้กำแพงกันคลื่นคือทางแก้ที่จบไปแล้วเพราะยิ่งซ้ำเติมความรุนแรง แนะสำรวจที่ดินริมหาดทั่วประเทศ เปิดโปงทุกแปลงพร้อมเพิกถอนเอกสิทธิ์ที่มีปัญหา ย้ำต้องเป็นวาระแห่งชาติและรัฐต้องกล้าทำ ประชาชนจึงพร้อมหนุน เพราะชายหาดไทยคือหมุดหมายสำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ทุกคนเข้าถึงได้ Beach for Life เตรียมลุยแน่ พบกัน 29 มี.ค. นี้ ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593359048_d75553f7b9_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">“น้ำนิ่ง” อภิศักดิ์ ทัศนี คนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Beach for Life</span></p>
<p>Beach for Life กลุ่มคนรักและสนใจปัญหาชายหาดในไทย ที่ก่อตั้งมา 11 ปี แล้วตั้งแต่ปี 2555 โดยพยายามปกป้องชายฝั่งทะเลประเทศไทยกว่า 3,000 กิโลเมตร จนพบว่า ไม่ใช่เรื่องเล่น แต่ต้องเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การกัดเซาะชายฝั่ง สู่การป้องกันที่ใช้โครงสร้างแข็งซึ่งบางหน่วยงานรัฐชอบแต่กลับยิ่งซ้ำเติมความเสียหาย จนถึงปัญหาชายหาดสาธารณะที่โด่งดังจากกรณี “ฝรั่งเตะหมอ”</p>
<p>กลุ่ม Beach for Life มีคนหลากหลาย Gen และสายอาชีพมาทำงานด้วยกันโดยใช้งานความรู้เป็นหลัก โดยมี “น้ำนิ่ง” อภิศักดิ์ ทัศนี คนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม วันนี้ “น้ำนิ่ง” จะมาเปิดปมปัญหาชายหาดทั่วไทย และทางแก้ควรเป็นอย่างไร ที่ไม่ใช่การปล่อยให้ประชาชนเป็นทัพหน้า“ทวงคืนชายหาด” อยู่ฝ่ายเดียว หน่วยงานรัฐจะกล้าพอไหม? </p>
<h2><span style="color:#3498db;">เปิดปมปัญหาชายหาดไทย จากกัดเซาะชายฝั่ง สู้โครงสร้างแข็งและที่+ทางสาธารณะ</span></h2>
<p>“เราพยายามจะบอกว่า การกัดเซาะชายฝั่งที่เขาบอกว่ามาจากภาวะโลกร้อนนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ แต่มาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่เป็นโครงสร้างแข็ง ซึ่งมีผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลเยอะมาก”</p>
<p>ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เราทำเรื่องนี้เรื่องเดียว คือรักษาชายหาดไม่ให้มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งโดยเฉพาะกำแพงกันคลื่น จนเกิด“ปรากฏการณ์ชายหาดม่วงงาม” (ปี 2563) ที่มีคนออกมาคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นเยอะมาก จนเป็นที่รับรู้ของสาธารณะ</p>
<p>ก่อนหน้านั้นมีกรณีชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ที่เราสู้จนสามารถยุติการวางกระสอบทรายบิ๊กแบ็คตลอดแนวชายหาด แล้วให้ใช้วิธีเติมทรายแทนจนถูกพูดถึงในสังคมและมีการนำไปใช้ในเชิงนโยบายที่หาดพัทยา หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี และชายหาดอื่นๆ </p>
<p>เราพยายามบอกว่า รูปแบบการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งไม่ได้มีโครงสร้างแข็งอย่างเดียว แต่มีโครงสร้างแบบอื่นๆ ด้วย </p>
<p>จากหาดม่วงงาม ขยายไปเรียกร้องในโครงการอื่นๆ ในช่วงปี 2563 -2565 ได้แก่ หาดม่วงงาม หาดมหาราช หาดดอนทะเล หาดแม่รำพึง หาดแม่น้ำ หาดบางมะขามที่สมุย จนสังคมได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น </p>
<p>กะทั่งเราเห็นชนวนปัญหาจริงๆ ว่ามาจากการที่ภาครัฐถอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ออกจากโครงการกำแพงกันคลื่น จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเอา EIA กลับมาเหมือนเดิม</p>
<p>จากนั้นเราทำงานมากขึ้น คือวางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงระบบของประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐมักต่างคนต่างทำโครงการ แต่ไม่ได้คุยกันว่าจะแก้ปัญหาชายฝั่งเชิงระบบ หรือมองว่าชายหาดจะอยู่รอดอย่างไร</p>
<p>เราพยายามวางกรอบแนวทางให้หลายหน่วยงาน ทั้งกรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้คุยด้วยกัน ใช้ข้อมูลเดียวกัน ใช้กรอบแนวทางอนุมัติโครงการแบบเดียวกัน เพื่อจะให้การแก้ปัญหาเป็นเอกภาพมากขึ้น</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปัญหาที่คนไทยเข้าถึงชายหาดสาธารณะไม่ได้</span></h2>
<p>ปัญหาการเข้าถึงชายหาดสาธารณะ ทาง Beach for Life จับเรื่องนี้ในปี 2555 จากกรณีที่ดินชายหาดปากบารา จ.สตูล และที่ดินแหลมกลัด จ.ตราด </p>
<p>ทั้ง 2 ที่มีปัญหาคล้ายกัน คือชายหาดเคยเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์มาก่อน แต่ถูกกัดเซาะหายไปกลายเป็นทะเลและเจ้าของเดิมก็ไม่สนใจที่จะป้องกัน จนผ่านไป 20-30 ปี เจ้าของก็อยากจะใช้พื้นที่จึงเข้าไปถมหินและปักเสาหวงกันไว้ (ตามกฎหมายคือ เมื่อที่ดินพังเป็นชายหาดก็จะกลายเป็นที่สาธารณะ)</p>
<p>เราเห็นว่า นี่จะเป็นปัญหาของประเทศที่จะลุกลามบานปลาย รวมถึงปัญหาการเข้าไม่ถึงพื้นที่หาดสาธารณะเพราะไม่มีทางไปเหมือนกรณีที่ภูเก็ต </p>
<p>เราพยายามคุยเรื่องนี้ในช่วงปี 2555-2556 และได้พัฒนาความรู้ รวบรวมงานวิชาการโดยนำเรื่องหาดปากบาราขึ้นมาชูเป็นประเด็นสังคมว่า มีการอ้างสิทธิ์บนชายหาด ทั้งๆ ที่เป็นของสาธารณะไปแล้ว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">จากหาดปากบารา จ.สตูล ถึงแหลมกลัด จ.ตราด</span></h2>
<p>โดยกรณีชายหาดปากบารา มีการเอกชนไปปักเขตโดยอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ที่ดิน นศ.3 แต่ที่ดินนั้นถูกกัดเซาะไปแล้ว เราจึงต่อสู้และพยายามบอกสังคมว่า มันเป็นชายหาดไปแล้ว เราได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อรัฐ ตอนนี้อยู่ในช่วงพิสูจน์สิทธิ์ว่า ตกลงที่ตรงนั้นเป็นทะเล หรือยังเป็นที่ส่วนบุคคล หรือเป็นอะไรกันแน่</p>
<p> ถึงแม้เอกชนยังอ้างว่าเป็นที่ของเขา แต่เรายืนยันว่ามันกลายเป็นที่สาธารณะไปแล้ว เพราะไม่เห็นการหวงกันที่และไม่เห็นการทำประโยชน์มานานแล้ว โดยเจอเอกสารรังวัดที่ดินระบุว่า บริเวณนี้เป็นทะเล ไม่มีการหวงกันและไม่มีการใช้ประโยชน์</p>
<p>(การหวงกัน คือการติดตั้งสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่ายังหวงพื้นที่อยู่ ไม่ยอมให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น เอาไม้หรือเสาเข็มมาปักไว้ หรือก่อสร้างเขื่อน)</p>
<p>ล่าสุดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ชี้ชัดว่า พื้นที่พิพาทเดิมเป็นที่ดิน สค.1 ต่อมาถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนกลายเป็นชายหาด 100% ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์และกลายเป็นทะเลมา 47 ปีแล้ว ดังนั้นเอกชนจะมาอ้างสิทธิ์โดยปักเสาปูนบนชายหาดไม่ได้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เราทวงคืนชายหาดก่อนภูเก็ตจะดังเสียอีก มิฉะนั้นจะตกเป็นที่ส่วนบุคคล</span></h2>
<p>เราพยายามทวงคืนชายหาดปากบาราก่อนที่ภูเก็ตจะดังเสียอีก แต่ด้วยกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์และต้องค้นหาข้อเท็จจริงตั้งแต่ปี 2555 จนถึงตอนนี้ปี 2557 เราก็ยังพยายามอยู่และพบข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่เราจะรวบรวมไว้ เพื่อจะใช้ทวงคืนหาดปากบารากลับมาเป็นที่สาธารณะ</p>
<p>กรณีแหลมกลัด จ.ตราด เป็นที่ดินโฉนดที่ถูกกัดเซาะ จากนั้นเอกชนไปถมที่ ซึ่งทำไม่ได้เพราะกลายเป็นทะเลไปแล้ว 5 ไร่ จึงต้องพิสูจน์ว่ามีการหวงกันมาก่อนหรือไม่ ถ้าไม่มี ที่ตรงนี้ก็กลายเป็นที่สาธารณะไปแล้ว</p>
<p>ทั้ง 2 กรณีชัดเจนว่าไม่มีการหวงกัน ที่ปากบารายิ่งชัดเพราะตอนประท้วงคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์กันเต็ม ในฐานะหาดสาธารณะที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน</p>
<p>ดังนั้นทั้ง 2 กรณีนี้ทำให้เห็นว่า ปัญหาที่ดินริมชายฝั่งทะเลกำลังมีปัญหา ซึ่งปิดทางลงหาดเห็นมานานแล้ว – ต้องแก้ทั้งระบบ – เพิกถอนสิทธิ์ให้หมด</p>
<p>กรณีการปิดทางสาธารณะนั้นเราเห็นมานานแล้ว แต่มันปะทุขึ้นมาตอนนี้เพราะฝรั่งเตะหมอ มันซ่อนปมอยู่ ซึ่ง Beach for Life เห็นสัญญาณนี้จากกรณีปากบาราเมื่อปี 2555 และจากกรณีอื่นตามมา </p>
<p>หากไม่นำไปสู่กระบวนการเพิกถอนสิทธิ์ในที่ดินที่ตกน้ำไปแล้ว ในอนาคตที่ดินริมชายหาดหลายๆ ที่ก็จะกลายเป็นที่เอกชนอ้างสิทธิ์ กลายเป็นที่ส่วนบุคคลทั้งๆที่เป็นที่สาธารณะ</p>
<p>มิหนำซ้ำ อาจซ้ำเติมปัญหาการกัดเซาะด้วย เพราะเมื่อรัฐไม่ยอมเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ เอกชนก็อาจจะถมหินลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียงต่อไปได้ </p>
<p>เรามองว่าเรื่องนี้ต้องแก้เชิงระบบ เพราะสัมพันธ์กับปัญหากัดเซาะชายฝั่งและการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชายหาด</p>
<h2><span style="color:#3498db;">กำแพงกันคลื่น ทางแก้ที่จบไปแล้ว แต่ทางเลือกอื่นคืออะไร</span></h2>
<p>การปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยสร้างกำแพงกันคลื่นมันยุติไปแล้ว เพราะสังคมเข้าใจแล้วว่า กำแพงกันคลื่นมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่สังคมต้องการเวลานี้ คือมีทางเลือกอะไรบ้างที่ดีกว่า จะใช้มาตรการชั่วคราวไหม ทำ Sand Fence บนฝั่งไหม หรือทำสันทรายเค็มไหม อะไรอย่างนี้ </p>
<p>ปัจจุบันมีการเสนอทางเลือกการป้องกันชายฝั่งถูกกัดเซาะที่ไม่ใช่โครงสร้างแข็ง มี 4 แบบ ได้แก่ 1) รั้วไม้แบบแห้ง (Dry Sand Fence) 2) รั้วไม้แบบเปียก (Wet Sand Fence) 3) กำแพงไม้ริมทะเล (Wood Revetment) และ 4) การเติมทราย (Beach Nourishment) </p>
<p>นี่เป็นโจทย์ใหม่ที่หน่วยงานรัฐหรือนักวิชาการต้องตามให้ทันเพื่อตอบสังคม Beach for Life เองก็ต้องตามให้ทันว่า มีอะไรที่ดีกว่าในการป้องกันกัดเซาะชายฝั่ง ที่ไม่มีผลกระทบ เป็นโครงสร้างแบบอ่อน เป็นมิตรกับชายหาด เป็นมาตรการสีเขียว คืออะไรบ้างหรือถ้าจะเป็นโครงสร้างแข็งก็ได้แต่อาจจะอยู่ชั่วคราว ไม่ได้อยู่ถาวรชั่วโคตร ป้องกันเฉพาะช่วงมรสุม </p>
<p>เราต้องยอมรับว่า มีการกัดเซาะเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้กระทบทุกพื้นที่และไม่ได้เดือดร้อนไปตลอดทุกวี่ทุกวัน บางครั้งมันเกิดแค่ 3-4 วันแล้วมันก็หายไป</p>
<p>อย่างเช่น ชายหาดบ้านปาตา ตะโละสะมิแล ตะโละกาโปร์ จ.ปัตตานี เกิดการกัดเซาะขึ้นแป๊บหนึ่ง ผ่านไปก็ฟื้นกลับมาเหมือนเดิม แต่ความเสียหายหนักก็เพราะผลกระทบจากโครงสร้างแข็งที่มีอยู่เดิม เช่น เขื่อนกันคลื่น </p>
<p>เมื่อกัดเซาะแล้ว จะทำอย่างไร จะถอยร่น จะย้ายถนนหรือรื้อออก เพราะสังคมเห็นแล้วว่ากำแพงกันคลื่นไม่ใช่สิ่งสวยงามและไม่ทำให้ชายหาดคงอยู่ คำถามคือแล้วอะไรจะมาแทนที่ได้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">สำรวจที่ดินริมหาดทั่วประเทศ ต้องเป็นวาระแห่งชาติ</span></h2>
<p>ปัญหาที่ดินสาธารณะริมชายหาดและทางสาธารณะลงไปชายหาด เราไม่รู้เลยว่าตอนนี้มีตรงไหนบ้างที่ถูกเอกชนอ้างสิทธิ์และปิดทางเข้าออก ยังไม่พูดถึงเอกสารสิทธิ์ว่าได้มาถูกต้องหรือไม่ ถ้าคนภูเก็ตไม่บอกเราก็ไม่รู้ ถ้าไม่เป็นประเด็นขึ้นมาหน่วยงานรัฐก็ไม่รู้หรืออาจจะปิดตาไว้</p>
<p>เพราะฉะนั้น ต้องทำให้สังคมรับรู้โดยต้องสำรวจที่ดินริมชายหาดให้เห็นว่ามันอยู่ยังไง ออกเอกสารสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ มีทางเข้าออกให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะได้จริงหรือไม่ ก็ต้องสำรวจ </p>
<p>ไม่รู้แหละใครจะเป็นเจ้าภาพ กรมที่ดิน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แต่ต้องทำให้เห็นว่า ระยะทาง 3,000 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทย มีที่สาธารณะตรงไหนถูกเอกชนปิดทางบ้าง หรือตรงไหนเคยเป็นที่ดินที่ถูกกัดเซาะเป็นชายหาดแล้วเอกชนยังอ้างสิทธิ์บ้าง</p>
<p>รัฐต้องทำให้สาธารณะรับรู้ร่วมกัน แล้วก็เข้าสู่กระบวนการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์หรือเปิดทางสาธารณะ แต่การจะเพิกถอนได้นั้นจะต้องพิสูจน์สิทธิ์กันก่อน ดังนั้นต้องทำกระบวนการให้ชัดเจนก่อน แล้วก็รื้อขึ้นมาพิจารณาใหม่ทั้งหมด </p>
<p>เรื่องนี้ต้องเป็นวาระแห่งชาติ ไม่มีทางอื่นแล้ว ต้องรื้อ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ รัฐจะยอมทำหรือไม่ แต่ถ้าไม่ทำ มันก็จะอยู่กันแบบนี้ต่อไป</p>
<h2><span style="color:#3498db;">หน่วยงานรัฐต้องกล้าทำ อย่าปล่อยให้ประชาชนลงมือ</span></h2>
<p>หลังจากสำรวจที่ดินริมชายฝั่งครบทั้ง 3,000 กว่ากิโลเมตรแล้ว ก็ต้องมาคุยกันต่อว่าจะมีกระบวนการจัดการ 2 ปัญหานี้อย่างไร</p>
<p>อันแรก เรื่องทางเข้าถึงหาดสาธารณะอยู่ภายใต้อำนาจการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อาจจะต้องสร้างความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับท้องถิ่นและส่วนกลางในกรณีที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง แต่บังเอิญที่ดินอยู่ติดชายหาดจึงปิดทางเข้าแล้วกลายเป็นหาดส่วนตัวโดยไม่ได้เจตนา บางรีสอร์ทไม่ได้ห้ามเข้าแต่ประชาชนไม่รู้จึงไม่กล้าเข้าไป ก็จะต้องเจรจาหารือขอให้เปิดทางหรือมีป้ายบอกทาง </p>
<p>แต่ไอ้ที่ปิดไม่ให้เข้าแบบที่แหลมงา (จ.ภูเก็ต) หรือที่วิลล่าเตะหมอนั้น ก็ต้องนำเข้ามาสู่กระบวนการจัดการ </p>
<p>ส่วนที่ดินที่ถูกกัดเซาะจนกลายเป็นทะเลหรือชายหาดไปแล้ว ต้องนำเข้าสู่กระบวนการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ และให้สาธารณะรับรู้ว่าตรงนี้กลายเป็นของสาธารณะไปแล้ว</p>
<p>เรื่องนี้ต้องทำเป็นวาระและมี Action Plan ชัดเจน หน่วยงานรัฐต้องกล้าทำ จะกลัวอิทธิพลไม่ได้ ถ้าปล่อยไว้ชาวบ้านก็จะออกมาทวง แล้วคุณจะยอมให้ชาวบ้านมาทวงแทนหน่วยงานรัฐหรือ มันไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน แต่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเพราะมีอำนาจโดยตรง แม้จะเป็นเรื่องยากลำบากก็ตาม</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ชายหาดไทยคือหมุดหมายสำคัญของการท่องเที่ยว</span></h2>
<p>เห็นชัดในหลายพื้นที่ว่า พอชายหาดไม่สามารถเข้าถึงได้ มันก็ปิดโอกาสเข้าไปใช้ประโยชน์ ปิดกั้นโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น บางหาดมีเตียงผ้าเต็มใบหมด ก็ไม่น่าไปเดิน คนก็ไปหาที่เข้าถึงง่ายกว่า ที่รู้สึกว่าไม่ใครเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ</p>
<p>พื้นที่ชายฝั่งกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการท่องเที่ยว การที่ประชากรเยอะขึ้น ความต้องการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติก็มากขึ้น ซึ่งไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใดที่รองรับได้ดีกว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเล </p>
<p>คนเลือกไปเที่ยวชายหาดมากกว่าน้ำตก เพราะรู้สึกว่าไปถึงง่าย ปลอดภัยกว่า มีความสุขมากกว่าเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่และมีอันตรายน้อยกว่าป่าเขาลำเนาไพร </p>
<p>อนาคตเราเจอปัญหาแน่ถ้าไม่จัดการเรื่องนี้ ประชาชนคนไทยจะไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นสาธารณะได้อย่างแท้จริง รวมทั้งชาวต่างชาติด้วย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ถ้าหน่วยงานรัฐกล้า ประชาชนก็พร้อมหนุน</span></h2>
<p>ถ้าหน่วยงานรัฐกล้าจัดการเรื่องนี้ ประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรก็พร้อมหนุน ซึ่งกรณีแหลมหงาก็ชัดเจนว่าประชาชนสามารถทวงกลับมาได้ รวมถึงแหลมยามูและล่าสุดคือหาดนุ้ย </p>
<p>แต่จะปล่อยให้ประชาชนเป็นทัพหน้าทุกครั้งไม่ได้ หน่วยงานรัฐต้องเป็นทัพหน้าบุกเข้าไป ผมเชื่อในความเป็นรัฐว่าจะพิทักษ์รักษาทรัพยากรได้ แต่ต้องอาศัยความกล้าหาญมากพอ</p>
<p>จริงอยู่ว่าประชาชนบุกไปทำให้เป็นประเด็นขึ้นมา เหมือนภาพที่เป็นมีมตอนนี้ คือประชาชนเป็นยมทูตที่ไปเคาะไล่ทีละหาด อย่าให้ประชาชนเป็นแบบนั้นเลย มันไม่ใช่ที่ทางที่ควรจะเป็น  </p>
<h2><span style="color:#3498db;">Beach for Life เตรียมลุยแน่ พบกันวันที่ 29 มี.ค. นี้</span></h2>
<p>Beach for Life เตรียมจัดเวทีเรื่องนี้วันที่ 29 มี.ค. 2567 ที่หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร เราลุยเรื่องนี้แน่ เราจะพูดคุยเรื่องที่ดินริมชายหาดและทางสาธารณะ การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและที่ดินตกน้ำแล้วแต่เอกชนยังอ้างสิทธิ์อยู่ จะหาทางออกอย่างไร</p>
<p>ในงานจะมีตัวแทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมาธิการที่ดิน นักวิชาการ ตัวแทนคนภูเก็ต และคนที่สู้เรื่องหาดปากบารา โดยจะนำเสนอกรณีตัวอย่างและข้อมูลภาพรวมว่าเกิดอะไรขึ้น อยากให้ช่วยกันมองว่า ควรจะแก้อย่างไร</p>
<p>ผมคาดหวังว่า เราควรใช้กลไกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นประโยชน์อย่างไร ถ้าเป็นปัญหาเชิงกฎหมายก็ศึกษากฎหมาย ถ้าเป็นปัญหาการปฏิบัติของราชการก็จะจัดการปัญหาของทางราชการ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53592280012_4c47596ab4_k_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพหาดแก้ว จ.สงขลา ที่ชายหาดหายไป
 
<img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593359038_b14270b2cb_k_d.jpg" />
ภาพชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่พังเพราะกำแพงกันคลื่น </span></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593359043_310ee51849_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593151661_519752b974_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593471944_365f310373_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ภาพชายหาดปากบาราที่เอกชนอ้างสิทธิ์สร้างสิ่งปลูกสร้างบนชายหาด</span></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593471929_c8cb5f0b6c_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593599065_3c4ec1cb7f_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53592279842_2d1f537bd8_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53592279797_1f1d94a2de_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593358928_6dfc9cabf3_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53593471914_8153effc4f_o_d.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#f39c12;">ภาพการเคลื่อนไหวทวงคืนชายหาด ธ.ค. 2565</span></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภาษณ์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อภิศักดิ์ ทัศนี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/beach-for-life" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Beach for Life[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ปากบารา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สตูล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แหลมกลัด[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%94" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตราด[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%AE%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูฮำหมัด ดือราแม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108470