[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 28 เมษายน 2565 14:34:08



หัวข้อ: ชาติพันธุ์วรรณา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 เมษายน 2565 14:34:08
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43036911305453_161999080_3414650321973150_903.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99232947495248_161629457_3414650371973145_351.jpg)

เรือนกระดองเต่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ

เรือนไทดำ หรือเรือนกระดองเต่า คือเรือนที่มีหลังคาคลุมคล้ายกระดองเต่า มีที่มาจากนิทานเก่าแก่ของชาวไทดำว่า มียักษ์คอยจับกินมนุษย์เป็นอาหาร ชาวไทดำผู้มีสติปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาได้มุดเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ใต้กระดองเต่า ยักษ์มองไม่เห็น จึงทำให้รองพ้นจากอันตราย ชาวไทดำซาบซึ้งในบุญคุณของเต่า จึงสร้างบ้านทำหลังคารูปทรงกระดองเต่า เป็นธรรมเนียมแต่โบราณมา และจะแขวนกนะดองเต่าไว้ที่เสาบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล

ลักษณะเรือนไทดำ เป็นเรือนยกพื้นสูง ผสมผสานระหว่างเรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ โดยโครงสร้างรับน้ำหนักจะใช้เสาและคานไม้เนื้อแข็ง ประเภทไม้แดง ประดู่ป่า หรือไม้สัก เนื่องจากเป็นไม้ที่มีในท้องถิ่น เป็นเสาท่อนกลมยาว มีลักษณะเด่นคือจะคัดเลือกไม้ที่มีง่ามเพื่อใช้รองรับ คาน  โครงสร้างส่วนอื่นๆ จะใช้ไม้ไผ่ ไม้รวก และใช้หวายเป็นเชือกผูกรัดยึดโครงสร้างทั้งหมดให้แน่นคงทน  หลังคามีระดับอกไก่สูงทำให้พื้นที่ ภายในเรือนมีความโอ่โถง หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกหรืแต้นปรือ คลุมยาวลงมาถึงระดับพื้นเรือน เพื่อป้องกันลมหนาว เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นพียงหลังคาสูงเด่นตั้งอยู่บนเสาไม้ ส่วนหลังคาด้านหน้าและด้านหลังสร้างเป็นส่วนโค้งเชิดขึ้นมองดูคล้ายกระดองเต่า เกิดจากการประดิฐษ์ชิ้นส่วนโครงสร้างหลังคารับน้ำหนัก เรียกว่า กว่างตุ๊บ โดยใช้ไม้รวก นำมาผูกมัดรวมกันหลายลำเป็นท่อนยาว วางพาดด้านหน้า และด้านหลังเรือน เชื่อมต่อปลายชายคาด้านข้างทั้งสองด้าน ดัดโค้งเชิดสูงขึ้นได้ตามต้องการ เกิดเป็นหลังคาโค้งคลุมบริเวณพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเรือน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80422563188605_118930770_2915645155207005_538.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45870655857854_119004557_2915645201873667_548.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27826588559481_118940895_2915645161873671_440.jpg)

เครื่องจักสาน ไทยทรงดำ

นายบุญมี ดียิ่ง อายุ 78 ปี บ้านมณีเลื่อน  ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  เรียนรู้การจักสานมาจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน  เป็นเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะบ้านอยู่ไกลจากตัวเมือง ต้องช่วยพ่อแม่ต้อนวัวไปกินหญ้าตามทุ่งนา  พอมีเวลาว่าง จะนำไม้ไผ่ที่นำติดตัวมา ออกมาจักตอกและสานเป็นภาชนะทรงต่างๆ จนมีความชำนาญ เลือกใช้ไม่ไผ่ชนิดไผ่สีสุกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักปลูกไว้ตามท้ายที่ดินหรือตามลำห้วย เพราะมีหนามแหลมคม โดยปลูกไว้เพื่อนำลำไม้มาทำคอกเลี้ยงวัว จักสาน หรือใช้ประโยชน์อื่นๆ เลือกใช้ไม้อายุ ๓ ปี เพราะมีความเหนียว วิธีสังเกตไผ่ที่มีอายุ ๓ ปีขึ้น ผิวไม้จะมีความเงามันออกสีแดงเรื่อๆ ไม้ ๒ ปีก็ได้แต่ยังไม่ดีนัก เลือกตัดสูงจากพื้นดิน ๓ เมตร ใช้ผิวไม้จากช่วงกลางลำไผ่ เพราะมีความบางและไผ่มีปล้องยาวเหมาะสมต่อการจักสาน 

เครื่องจักสานที่ทำนั้น จะใช้ผิวไม้ไผ่เท่านั้น ส่วนเนื้อไม้จะทิ้ง เพราะว่าผิวไม้ไผ่มีความเหนียว แข็งแรงทนทานและมอดไม่กิน ในการจักตอกจะต้องขูดเอาผิวไผ่ออก เพื่อเวลาทาน้ำมันจะได้ผิวชิ้นงานที่สวยงาม  ส่วนมากจะสานฆ้องใส่ปลา  และของที่ใช้ในพิธีเสนเรือน

ขอขอบคุณที่มา - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก
650


หัวข้อ: Re: ชาติพันธุ์วรรณา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤษภาคม 2565 15:49:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99860198423266_63665_Copy_.jpg)

แมลงภู่คำ
ของขลังจากเมืองเหนือ

เครื่องรางสมัยโบราณของชาวไทใหญ่ คือ แมลงภู่คำ เครื่องรางชนิดนี้ เป็นเครื่องรางของชาวไทใหญ่  ที่รับมาจากทางพม่าตามประวัติเคยพบอยู่บนเสลี่ยงพระเจ้าบุเรงนอง สร้างและบรรจุโดยครูโป๊ะโป๊ะอ่อง บรมครูของพระเจ้าบุเรงนอง ได้สร้างและบรรจุพญาแมลงภู่คำ ๘ คู่ไว้บนบัลลังก์ของพระเจ้าบุเรงนอง สำหรับนั่งบัญชาการรบจนชนะไปทั่วทั้งสิบทิศ ทางวิชาสายพม่านับถือมากว่า แมลงภู่เป็นสัตว์คู่บารมีของพระเจ้าบุเรงนอง

เครื่องรางชนิดนี้สมัยโบราณกษัตริย์และชนชั้นสูง จะใช้งาช้างมาแกะเป็นแมลงภู่ หรือไม้ดุมล้อเกวียนที่ทำจากไม้ประดู่แดงและไม้มงคลต่างๆ ทั้งนี้ที่ต้องใช้ดุมล้อเกวียนก็เนื่องจากเป็นความเชื่อโบราณที่ว่า ไม้ดุมล้อเกวียนใช้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ผู้บูชาจะได้เจริญก้าวหน้าตลอดไป โดยคนแกะต้องเป็นคนที่มีเชื้อสายเจ้าเท่านั้น และแกะได้เฉพาะวันที่กำหนด ในฤกษ์ที่กำหนดเท่านั้น

เชื่อกันว่า แมลงภู่คำ ให้คุณทางโชคลาภ เมตตา ส่งเสริมดวงชะตาให้มั่งคั่ง ทั้งทรัพย์สิน ยศศักดิ์ เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้คน อีกทั้งยังป้องกันคุณไสยมนต์ดำ ทั้งถ้าปรารถนาสิ่งใดให้อธิษฐานบอกกล่าวจะสมประสงค์ดังที่หวัง

ปัจจุบันมีสร้างทำออกมาหลายรูปแบบ เช่น การหล่อจากโลหะที่มีค่า ทองคำ เงิน ทองแดง ใช้ไม้มงคลต่างๆที่หาได้ นำมาแกะบ้างหล่อขึ้นรูป หรือปั๊มออกมาเป็นรูปทรงแมลงภู่ก็มีพบเห็นอยู่

การสร้างเครื่องรางแมลงภู่คำ ตามตำรา
องค์ประกอบตามตำราของแมลงภู่คำ ๕ ประการ
๑. ปะตง = รูปแมลงภู่
๒. ปะตา = น้ำผาตา (ปรอท)
๓. ปะต๊อก = ไม้ประดู่แดง
๔. ปะตอง = นมล้อ (ดุมล้อเทียมเกวียน)
๕. ประดู่ (ปะไต) = ไม้มะเขือบ้า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76961178829272_63666_Copy_.jpg)

ชองระอา
ไม้ทนสิทธิ์แห่งพงไพร

ของทนสิทธิ์ คือวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีคุณวิเศษในตัวเองโดยไม่ต้องปลุกเสกพกติดตัวได้เลย เชื่อกันว่ามีเทวดาปกปักรักษาคุ้มครอง มีทั้งในพืชและสัตว์

ชองระอาหรือพญาปล้องทอง สมุนไพรของชาวชอง หรือ กลุ่มชนดั้งเดิมของจังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา  ชาวชองมีภาษาถิ่นที่ใช้สนทนากัน เรียก ภาษาชอง ซึ่งจัดอยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ – เขมร  

ชองระอา คือไม้เถาชนิดหนึ่ง มีรสชาติขมฝาดเป็นพิษ มีสรรพคุณทางยา ทำให้มีอาการ เมา มึน งง อาเจียน  สามารถนำไปใช้ ถอนพิษได้  ไม้ชองระอา เป็นไม้มงคลที่ไว้กันของไม่ดี ลมเพ ลมพัด ชื่อ "ชองระอา" คือ คำกล่าวเปรียบเปรยถึงไม้ชนิดนี้ เนื่องจากความเชื่อที่ว่าคนชองมีความถนัดในการเล่นคุณไสยปล่อยของ แต่เมื่อมาเจอกับอิทธิฤทธิ์ของไม้ชนิดนี้ หมอคุณไสยชาวชองจำต้องถึงกับระอาเพราะต้องปล่อยของจนเบื่อ เนื่องจากปล่อยของไปเท่าไหร่ ของที่ปล่อยไปนั้นก็ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ที่พกไม้ชนิดนี้ได้

ซองระอา เป็นของขลังถอนคุณไสยได้ มีความเชื่อว่าชาวซองชำนาญทางด้านการปล่อยของทำคุณไสยยิ่งนัก จนถึงกับมีคำพูดว่าไม่มีอะไรที่พวกซองปล่อยไม่เข้า ยกเว้นก็แต่ไม้มงคลนี้ ชาวบ้านแถบนั้นเลยตั้งชื่อว่า “ซองระอา” ไม้ซองระอามีลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อย เปลือกสีน้ำตาลเข้มปนเขียว เนื้อในสีเหลือง มีปล้องเป็นข้อๆ แบบเดียวกับปล้องอ้อย บิดตัวเป็นเกลียว ใบคล้ายใบหญ้านาง

พระธุดงค์ คนหาของป่า นิยมพกไม้ชนิดนี้ติดตัว เพราะนอกจากสามารถใช้กันและแก้คุณไสยต่างๆ อีกทั้งยังสามารถกันสัตว์มีพิษไเช่น ตะขาบ แมงป่อง ได้อีกด้วย
 
ปัจจุบัน พระเกจิ หรือ อาจารย์ฆราวาสต่างๆ นิยมนำมาเถาไม้ชองระอาไปทำเป็นมวลสารมงคลผสมพระเครื่อง หรือแกะเป็นวัตถุไว้สำหรับบูชา



ขอขอบคุณที่มา - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก
650