[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 20:57:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 275
1  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องการรับฟ้องกล่าวโทษตุลาการฯ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องการรับฟ้องกล่าวโทษตุลาการผู้พิจารณาความไม่เที่ยง

​กฎให้แก่พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ข้าทูลถออง ฯ ฝ่ายทหารพลเรือน และขุนโรงขุนศาล แต่บรรดาพิจารณาเนื้อความอาณาประชาราษฎรทั้งปวง ด้วยมีพระราชกำหนดกฎหมายไว้แต่ก่อนว่าอาณาประชาราษฎรจะมาร้องฟ้องกล่าวโทษแก่กัน และผู้พิจารณาตุลาการจะไถ่ ถามโจทก์จำเลยนั้น ว่าเสมียนผู้คุมถามความว่ามิได้ทำตามธรรมเนียมความไซร้ ให้ว่าแก่ผู้พิจารณาผู้กำกับให้ตัดสินให้ตามข้อเนื้อความ ถ้าพ้นที่ผู้พิจารณาผู้กำกับจะตัดสินมิได้ไซร้ ก็ให้ไปว่าแก่ลูกขุนตัดสินให้ตามข้อเนื้อความให้สำเร็จ ถ้าโจทก์จำเลยมิได้ว่ากล่าวแก่ผู้พิจารณา ไปร้องฟ้อง​หาอุทธรณ์แต่เสมียนผู้คุม และมิได้กล่าวโทษผู้พิจารณาผู้กำกับ และจะบัตรหมายมาให้ส่งแต่เสมียน ผู้คุมนั้นอย่าให้ส่ง ถ้าเปนเนื้อความหัวเมือง ถ้ากรมการทำผิดให้ฟ้องแก่ ปลัด ยกระบัตร ปลัด ยกระบัตร ทำผิดให้ฟ้องแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ถ้ และมิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร ด้วยไซร้ ถ้ามีตราออกไปให้ส่งคู่ความมานั้น อย่าให้ส่งเข้ามา และสืบมาทุกวันนี้ ผู้พิจารณาและตุลาการทั้งปวงละพระราชกำหนดกฎหมายเสีย ผู้มีชื่อจึ่งร้องฟ้องหาอาชญา อุทธรณ์ณะกรุง ฯ กล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุม นายพะธำมรงค์ มิได้กล่าวเข้ามาร้องฟ้องอุทธรณ์กล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุมนายพะธำมรงค์ มิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัดยกระบัตรและกรมการหามิได้ และกลับฟ้องให้บัตรหมายเอาเสมียน ผู้คุม ภูดาษ พะธำมรงค์ ​และให้มีตราไปให้ส่งขุนศาล ภูดาษ ธำมรงค์ ณะหัวเมืองเข้ามาพิจารณาณะกรุง ๆ ตามข้ออาชญาอุทธรณ์ ก็เอามาพิจารณาไม่สำเร็จ ทำหน่วงเหนี่ยวเนื้อความไว้ และเนื้อความเดิมที่เปนข้อใหญ่นั้น ก็พลอยเริศร้างค้างช้าสูญไปก็มีบ้าง ลางทีเห็นว่าจะทำกลบเกลื่อนมิได้ ก็คิดอ่านให้ร้องฟ้องหาอุทธรณ์ต่อไปถึง ๒ ศาล ๓ ศาลก็มีบ้าง เปนอันมาก เพราะเหตุฉนี้คนชั่วซึ่งเบียดเบียนอาณาประชาราษฎรนั้น เห็นเนื้อความของตัวพิรุธเพลี่ยงพล้ำลงแล้ว ก็คิดอ่านหาอาชญา อุทธรณ์ กล่าวโทษแก่เสมียนผู้คุมบ้าง ลางทีกล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุมบ้าง ลางทีกล่าวโทษแต่ขุนศาล ภูดาษ นายพะธำมรงค์บ้าง คิดแต่จะให้เนื้อความเริศร้างค้างสูญไป แต่จะไม่ให้ได้ความผิดของตัวเลย และอาณาประชาราษฎรซึ่งมิรู้สำนวน และหาทรัพย์มิได้นั้น ได้ความเดือดร้อนนัก ครั้นจะให้สืบเอาตัวผู้กระทำผิดนั้นเปนโทษ ​ตามบทพระอัยการนั้นด้วย ผู้เข้ามารับราชการต่อมาทุกวันนี้เปนคนไม่รู้บ้าง ได้รู้บ้าง และยังไม่ทั่วกัน และสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทุกวันนี้ ทรงพระกรุณาแก่อาณาประชาราษฎร เพื่อจะบำรุงมิให้พระราชกำหนดกฎหมายฟั่นเฟือนไปได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งแก่ ออกญาธรมาธิบดี ศรีรัตนมนเทียรบาล ให้แต่งพระราชกำหนดกฎหมายแจกชำระไว้ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าอาณาประชาราษฎรจะร้องฟ้องกล่าวโทษแก่กันด้วยเนื้อความประการใด ๆ ก็ดี ผู้พิจารณาตุลาการจะพิจารณาไถ่ถามโจทก์จำเลย สักขีพยานณะกรุง ฯ นั้น ถ้าโจทก์ จำเลย เห็นว่าเสมียน ผู้คุม ภูดาษ นายพะธำมรงค์ ถามความผิดด้วยพระราชกำหนด กฎหมายให้โจทก์ จำเลย ว่าแก่ผู้พิจารณาผู้กำกับให้ตัดสินให้ ถ้าพ้นที่ผู้พิจารณาผู้กำกับตัดสินมิได้ ก็ให้พากันไปให้ลูกขุนปรึกษาตัดสิ้นให้ตามข้อเนื้อ​ความสืบไป ถ้าเปนเนื้อความหัวเมือง ถ้าภูดาษนายพะธำมรงค์ทำผิดให้ว่าแก่ขุนศาล ขุนศาลทำผิดให้ฟ้องแก่ปลัด ยกระบัตร และกรมการซึ่งมิได้ต้องในฟ้อง ถ้าและปลัด ยกระบัตร กรมการ มิรับฟ้อง จึ่งให้ฟ้องแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ถ้าและผู้รักษาเมือง ผู้รั้งมิรับ และผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร กรมการ ทำผิดด้วยแล้ว จึ่งให้เข้ามาฟ้องณะกรุง ฯ ตามพระราชกำหนดกฎหมายแต่ก่อน ถ้าผู้ใดมิฟังจะมาร้องฟ้องหาอาชญา อุทธรณ์ เสมียน ผู้คุม พะธำมรงค์ ซึ่งได้พิจารณาว่าความ และมิได้กล่าวโทษผู้พิจารณา ผู้กำกับ และผู้มีชื่ออยู่หัวเมืองเข้ามาร้องฟ้องณะกรุง ฯ หาอาชญา อุทธรณ์ กรมการหัวเมือง มิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร ไซร้ อย่าให้รับฟ้องไว้ว่ากล่าวเปนอันขาดทีเดียว ให้ผู้รับฟ้องนั้นสลักหลังส่งฟ้องคืนให้แก่ผู้ฟ้องว่ากล่าวตามพระราชกำหนดกฎหมาย และให้​ข้าทูลลออง ฯ ฝ่ายทหาร พลเรือน และขุนโรงขุนศาล ผู้บรรดาได้พิจารณาเนื้อความณะกรุง ฯ และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการณะหัวเมืองทั้งปวง ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายให้นี้จงทุกประการ ถ้าผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายแต่ข้อหนึ่งข้อใดไซร้ จะเอาตัวผู้นั้นเปนโทษตามโทษานุโทษ

กฎให้ไว้ณะวันศุกรเดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๔ ปีมะเมีย จัตวาศก (พ.ศ.๒๓๐๕ รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร)

----------------------------​
2  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องการรับฟ้องต่าง ๆ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องการรับฟ้องต่าง ๆ

​กฎให้แก่พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกตุลาการ มหาดไทย กลาโหม กรมเมือง กรมวัง คลัง นา กรมตำรวจในซ้ายขวา ตำรวจนอกซ้าย ขวา กรมทหารในซ้าย ขวา มหาดเล็กชาวที่ กรมพระนครบาล และขุนโรง ขุนศาล ผู้บรรดาเปนตุลาการได้พิจารณาเนื้อความทุกหมู่ ทุกกรม ด้วย ฯ ทรง ฯ สั่งว่าให้มีพระธรรมนูญไว้แต่ก่อนว่าราษฎรทั้งปวงมีอรรถคดี จะทำหนังสือร้องฟ้องแก่สมภักนักการ ขุนโรงขุนศาลกรมใด ๆ และรับหนังสือร้องฟ้องไว้และหมายไปให้มูลนายพระยาบาลส่งผู้ต้องคดีมาพิจารณาไต่ถามต่อกัน และลักตีกันไม่ตายกลางวันาและฟันแทงกันกลางวัน ขุน (ฉะบับลบ ๒-๓ คำ) พิจารณาเนื้อความ ถ้าจำเลยเปนสมใน ขุนศาลสามศาล​นี้ได้พิจารณา กรมพระคลังราชการ ขุนพินิจจัย ราชปลัดนั่งศาลได้พิจารณาเนื้อความฝรั่งอังกฤษ วิลันดา จีน ยวน ยี่ปุ่น แขกบรเทศ มลายู กรมนาขุนโภชธากร ราชปลัดนั่งศาลได้พิจารณาเนื้อความแพ่ง อาชญานา ขุนศรีราชบุตรได้พิจารณาเนื้อความมฤดก และศาลแพ่งกลาง ขุนราชสุภา ศาลเขษมขุนสุภาเทพ ขุนศาลสองศาลนี้ได้พิจารณาเนื้อความแพ่งจำเลยเปนสมนอก และกรมเทพอาชญานั้นขุนพรหมเกวี ได้พิจารณาเนื้อความกระทำคุณไสยแก่กัน เปนฉมบจักกละ และกรมสารพากรใน ขุนวิสูตรโกษาพิจารณานายระวางกำนันพันที่เชิงเรือน สมภักษรขนอนตลาด ซึ่งวิวาทแก่กัน และกรมสารพากรนอก ขุนศรีสาคร ได้พิจารณาเสนากำนันเบาะแส และเบียดบังอากร ขนอนตลาด คู่สัดแส และกรมธรรมการได้พิจารณาเนื้อความพระสงฆ์เถรเณรผู้เข้ารูปชีทำผิดด้วยพระ​วินัย และกรมพระคลังมหาสมบัติได้พิจารณาพระราชทรัพย์ในพระคลังหลวง มีผู้เอาไปทำลายเสีย และมีผู้เบียดบังไว้เปนอาณาประโยชน์ กรมพระสัสดีได้พิจารณาหมู่ไพร่หลวงสังกัดพรรค์ และเลวทาส เลวไทย และบันลูกหมู่แก่กัน และพระธรรมนูญทั้งนี้มีอยู่สำหรับราชการแผ่นดินสืบมา ให้ผู้รับฟ้องรับคำกฎหมายของราษฎรผู้มีคดีเอาฟ้องและคำกฎนั้น ไปว่าแก่ลูกขุนณะศาลา ลูกขุนณะศาลหลวง ถ้าเนื้อความข้อใหญ่ให้กราบทูลพระกรุณา ถ้าข้อเบามิพอที่จะเอากราบทูลพระกรุณา ให้บังคับให้ขุนราชพินิจจัย ผู้ถือพระธรรมนูญใส่ด้วยพระธรรมนูญ ถ้าเปนเนื้อความกระทรวงใดให้เจ้ากระทรวงนั้น พิจารณาเอาพินัยจ่ายราชการ ฝ่ายข้างขุนโรงขุนศาลได้ตั้งตัวทำราชการสดวก ครั้นสืบมาผู้มีคดี กฎหมายร้องฟ้องตามกระทรวงบ้าง หามิได้บ้าง เอาเนื้อความไปฟ้องให้กราบทูลเจ้าฝ่ายหน้าฝ่ายหลัง สมเด็จ​พระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ๆ รับเอาฟ้องไว้มิได้ส่งฟ้องนั้นใส่ด้วยพระธรรมนูญให้พิจารณาตามกระทรวงหามิได้ และข้าหลวงเอาฟ้องนั้นไว้พิจารณาความรับสั่งให้ว่าเปนเนื้อความผู้เถ้าผู้แก่บ้าง เนื้อความขาเดียวบ้าง ให้สืบดูให้รู้จักจริงและเท็จบ้าง ครั้นถามมิรับเอาสอบผู้ฟ้องเปนข้ออ้างข้อต่อ สืบสอบพะยานดุจหนึ่งเนื้อความมีคู่บ้าง ลางทีส่งฟ้องไปให้ตำรวจในตำรวจนอก ทหารใน และข้าทูลลออง ฯ นอกนั้น ให้เอาตัวผู้มีชื่อมาพิจารณาตามฟ้อง มิต้องด้วยพระธรรมนูญก็มีบ้าง ลางทีลูกความซึ่งตุลาการพิจารณาอยู่นั้น ไปฟ้องหาอุทธรณ์ตุลาการ และมีรับสั่งให้เอาสำนวนยอมใบสัจไปสืบสาวดู และเนื้อความนั้นค้างช้าไปก็มีบ้าง และกฎพระธรรมนูญสำหรับแผ่นดินนั้นก็ฟั่นเฟือนไป และขุนโรงขุนศาลซึ่งเปนเจ้ากระทรวงได้พิจารณาเนื้อ​ความตามพระธรรมนูญเอาพินัยจ่ายราชการนั้นน้อยลง ส่วนราชการงานโยธาซึ่งเปนพนักงานขุนโรงขุนศาลนั้นลุน้อย เพราะเหตุฉนี้ขุนโรงขุนศาลจึงได้ความยากจนตั้งตัวทำราชการไปมิได้ และครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งให้มีพระราชกำหนดกฎหมายไว้ว่า แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ข้าหลวงเจ้าต่างกรมรับเอาฟ้องอาญาประชาราษฎรซึ่งหาแก่กันนั้น กราบทูลเจ้าต่างกรม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เปนอันขาดทีเดียว ต่อเมื่อใดมีผู้เอาเนื้อความมาฟ้องว่ามีผู้กระทำผิดคิดมิชอบ เบียดบังพระราชทรัพย์เปนเนื้อความข้อใหญ่ จึ่งเอาฟ้องกราบทูลเจ้าต่างกรม และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ และให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ รับเอาฟ้องกราบทูลพระกรุณา ฯ แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่ง อนึ่งถ้าข้าหลวง​ในกรมมีกิจวิวาทแก่กัน และข้าทูลลออง และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน และข้าหลวงเจ้าต่างกรมอื่น ๆ จะทำหนังสือฟ้องให้กราบทูลเจ้าต่างกรมหาความแก่ผู้วิวาทนั้นไซร้ ให้ส่งฟ้องไปให้ขุนราชพินิจจัยผู้ถือพระธรรมนูญ ให้ใส่ด้วยพระธรรมนูญก่อน ถ้าเปนกระทรวงใดให้ส่งไปให้เจ้ากระทรวงพิจารณาโจทย์ จำเลย ตามพระธรรมนูญ อนึ่งถ้ามิได้ร้องฟ้องให้กราบทูลพระกรุณา ถ้ามิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งจำเภาะให้ผู้ใดพิจารณาหามิได้ ให้ผู้รับสั่งส่งฟ้องนั้นให้ใส่ด้วยพระธรรมนูญก่อน ถ้าเปนกระทรวงใดจึ่งให้ส่งให้เจ้ากระทรวงพิจารณา ถ้าเปนเนื้อความข้อใหญ่มีพระราชโองการตรัสจำเภาะให้ผู้ใดพิจารณา เปนเนื้อความมีคู่นั้น ให้ตุลาการผู้รับเอาฟ้องใส่พระธรรมนูญก่อน ให้รู้ว่าเปนกระทรวงใดแล้วให้หมายไปให้เจ้ากระทรวงมานั่ง กำกับพิจารณาด้วย ถ้าพิจารณาเปนสัจปรับไหม​เปนพินัยหลวงมากน้อยเท่าใดนั้นให้ส่งพระคลังมหาสมบัติ อนึ่งซึ่งผู้มีชื่อฟ้องลูกขุนณะศาลา ลูกขุนณะศาลหลวงนั้น ให้ปรึกษาดูรูปความถ้าเปนเนื้อความเบาอยู่ ก็ให้เอาฟ้องนั้นใส่ด้วยพระธรรมนูญส่งให้พิจารณาตามกระทรวงตามพระธรรมนูญ ตามพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับแผ่นดิน อย่าให้แปลกกระทรวงล่วงกรมได้ อนึ่งเจ้ากรม ปลัดกรม นายเวร ปลัดเวร ขอเฝ้ากรมฝ่ายใน และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมใด ๆ ยอมพิจารณาเนื้อความมีคู่มิต้องด้วยกฎ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าอย่าให้เจ้ากรม ปลัดกรม นายเวร ปลัดเวร ขอเฝ้ากรมฝ่ายใน และข้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมใด ๆ พิจารณาเนื้อความนั้นหาผู้บังคับบัญชามิได้ ครั้นโจทก์ จำเลย ติดใจแก่กันด้วยข้อเนื้อความขัดสนอยู่ แล้วว่ากล่าวมิสิ้นข้อเนื้อความ และโจทก์ จำเลย ยอมติดใจ​ในตุลาการว่าตัดบทเนื้อความมิสิ้นกระทง และโจทก์ จำเลย ยอมร้องฟ้องให้กราบทูลพระกรุณา ฟ้องลูกขุนณะศาลา ทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายกล่าวโทษตุลาการ และคู่ความเปนเนื้อความทบท้าวไปมาถึง ๓ ศาล ๔ ศาล ให้เคืองฝ่าลออง ฯ ราษฎรเสียพัศดุทองเงินได้ความเดือดร้อนเพราะคบหากันแต่อำเภอใจ ถ้าข้าทูลลออง ฯ ราษฎรมีอรรถคดีร้องฟ้องด้วยกิจสุขทุกข์แก่กันเปนเนื้อความแพ่ง อาชญา อุทธรณ์ นครบาล และมฤดกแพทยา และถวายกรมทัณฑ์ ทรัพย์มฤดกให้เรียกลูกหนี้ด้วยความประการใด ๆ จะให้เจ้ากรม ปลัดกรม นายเวร ปลัดเวร ขอเฝ้า ข้าทูลลออง ฯ ข้างหน้าข้างใน และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ และข้าพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ กรมใด ๆ และฟ้องหาความนั้นก็ดี ถ้าผู้ฟ้องนั้นเปนข้าหลวง และข้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระเจ้า​ลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ ฟ้องให้กราบทูลพระกรุณา เปนเนื้อความข้อใหญ่จึ่งให้รับเอาฟ้องนั้นกราบทูล แล้วให้กราบทูลพระกรุณาตามจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่ง ให้พิจารณาตามรับสั่ง ถ้าและติดใจตุลาการก็ให้แต่งมหาดเล็กนายเวร ขอเฝ้าไปนั่งกำกับพิจารณาด้วย ถ้าและผู้ฟ้องนั้นมิได้เปนข้าหลวงฝ่ายใน และมิได้เปนข้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ ก็อย่ารับเอาหนังสือฟ้องกราบทูล และให้ผู้ฟ้องนั้นไปฟ้องตามกระทรวง และฟ้องแก่มูลนายตามอาณาประชาราษฎร และฟ้องลูกขุนณะศาลา ลูกขุนณะศาลหลวง ตามพระราชกำหนดกฎหมายแต่ก่อน อนึ่งข้าเจ้าต่างกรมฝ่ายหน้าฝ่ายใน ถือหนังสือปิดตราในกรมออกไปราชการณะหัวเมืองใด ๆ ลอบไปทำกรรโชก ข่มเหง ฉ้อ ตระบัดเอาพัศดุทองเงินอาณาประชาราษฎร ไพร่พลเมืองได้​ความเดือดร้อนให้เคืองใต้ลออง ฯ เนือง ๆ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าข้าเจ้าต่างกรม ฝ่ายหน้าฝ่ายใน จะถือหนังสือปิดตราในกรม ออกไปเอากิจราชการสิ่งใด ๆ ก็ดี อย่าให้รับเอาฟ้องของราษฎรมาพิจารณาเรียกเอาฤชาตุลาการ ให้ได้ความเดือดร้อนดุจดังแต่ก่อนนั้น และให้ข้าทูลลออง ฯ และข้าหลวงเจ้าต่างกรมฝ่ายหน้าฝ่ายหลัง และข้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ และพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ สมในสมนอก และอาณาประชาราษฎรทั้งปวง ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายให้นจงทุกประการ ถ้าผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายข้อใดข้อหนึ่งไซร้ จะเอาตัวเปนโทษตามโทษานุโทษ ให้เจ้าพระยานคร และหลวงปลัด กรมการ ทำตามกฎนี้จงทุกประการ แล้วให้บอกแก่หัวเมืองขึ้นแก่เมืองนคร ให้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้จงทั่ว

​กฎให้ไว้ณะวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๒ ปีมะโรงโทศก. (พ.ศ.๒๓๐๓ รัชกาล สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร)

----------------------------
3  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องการรับฟ้องตามพระธรรมนูญ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องการรับฟ้องตามพระธรรมนูญ

​​​​กฏให้แก่พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกเจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน บรรดาพิจารณาความ เจ้ากรม ปลัดกรม มหาดเล็กขอเฝ้า ข้าหลวงเจ้าต่างกรมฝ่ายหน้า ฝ่ายหลัง และข้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอทั้งปวงจงทั่ว ด้วยมีพระธรรมนูญไว้สำหรับขุนโรง ขุนศาล ธรรมเนียมให้พิจารณาเนื้อความตามกระทรวง เอาพินัยจ่ายราชการสำหรับแผ่นดินสืบมาแต่ก่อนนั้น และกรมมหาดไทยมีปลัดนั่งศาลคนหนึ่ง ขุนบุรินทรนั่งศาลหลวงได้พิจารณาเนื้อความอุทธรณ์ และขุนเทพอาชญานั่งศาลราษฎร์ ได้พิจารณาเนื้อความอาชญาตุลาการ และขุนอาชญาจักรนั่งศาล​สำรวจ ให้พิจารณาแปลกคารมหลาย มีขี้ฉ้อหมอความ มิได้เปนญาติพี่น้องว่าเปนญาติพี่น้องเข้ากฎหมายร้องฟ้องหาความแก่ราษฎร และกลาโหม ขุนประชาเสพ ราชปลัดนั่งศาล ได้พิจารณาเนื้อความอาชญานอกซึ่งมิได้เปนสมภักนักการ ทำข่มเหงผู้มีชื่อ และในกรมพระนครบาล ขุนงำเมือง ปลัดนั่งศาลได้พิจารณาความโจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์ เปนโทษมหันตโทษ กรมวังนั้นมีปลัดนั่งศาลสามคน ขุนอินทรอาชญา ได้พิจารณาเนื้อความอาชญาวัง และขุนพรหมสุภา ได้พิจารณาเนื้อความนครบาลวัง และขุนเทพสุภา ได้พิจารณาเนื้อความแพ่งวัง ถ้าจำเลยเปนสมในขุนศาลสามศาลนี้ได้พิจารณา และกรมพระคลังราชการนั้น ขุนพินิจจัย ราชปลัดนั่งศาล ได้พิจารณาเนื้อความฝรั่งอังกฤษวิลันดา จีน ยวน ยี่ปุ่น แขกบรเทศ มลายู และกรมนา ​ขุนโภชถากร ราชปลัดนั่งศาล ได้พิจารณาเนื้อความแพ่งอาชญานา และขุนศรีราชบุตรนั้นได้พิจารณาเนื้อความมฤดก และศาลแพ่งกลาง ขุนราชสุภา ขุนสุภาชัย และแพ่งเกษม ขุนสุภาเทพ ขุนสุภาภาร ได้พิจารณาเนื้อความจำเลยเปนสมนอก และกรมแพทยานั้น ขุนพรหมเกวี ได้พิจารณากระทำคุณกระทำไสยแก่กัน เปนฉมบจักกละ และกรมสารพากรใน ขุนวิสูตรโกษา ได้พิจารณานายระวางกำนัน พันที่ เชิงเรือน สมภักษร ขนอนตลาด ชิงที่วิวาทแก่กัน และกรมสารพากรนอก ขุนศรีสาคร ได้พิจารณาเสนา กำนัน เบาะแสและเบียดบังขนอนตลาด ดูสัจ แส กรมธรรมการ ได้พิจารณาเนื้อความพระสงฆเถร เณร ทำผิดด้วยกิจพระวินัย และพระคลังมหาสมบัติได้พิจารณาเนื้อความพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังหลวง และมีผู้เอาไปทำลายเสีย และมีผู้เบียดบังไว้เป็นอาณา​ประโยชน์ และกรมสัสดีได้พิจารณาหมู่ไพร่หลวง ไพร่สม สังกัด พรรค และเลวทาสเลวไทย และปันลูกหมู่แก่กัน และพระธรรมนูญกระทรวงความทั้งนี้มีอยู่สำหรับราชการแผ่นดินสืบมา ให้ผู้รับฟ้อง ผู้รับคำกฎของราษฎรผู้มีคดี เอาฟ้องและคำกฎนั้นไปว่าแก่ลูกขุนณะศาลาลูกขุนณะศาลหลวง ถ้าเปนเนื้อความข้อใหญ่ให้กราบทูลพระกรุณา ถ้าเปนเนื้อความเบา มิพอที่จะเอากราบทูลพระกรุณา ก็ให้บังคับให้ขุนราชพินิจจัย ผู้ถือพระธรรมนูญใส่พระธรรมนูญ เปนเนื้อความกระทรวงใดให้ส่งให้เจ้ากระทรวงพิจารณาเอาพินัยจ่ายราชการ ฝ่ายข้างขุนโรงขุนศาล จึ่งจะได้ตั้งตัวทำราชการสดวก และครั้นสืบมาผู้มีคดีกฎหมายร้องฟ้องตามกระทรวงบ้าง หามิได้บ้าง และเอาเนื้อความไปฟ้องให้กราบทูล ฝ่ายหน้าฝ่ายหลังและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้า​หลานเธอ รับเอาฟ้องไว้แล้วมิได้ส่งไปใส่ด้วยพระธรรมนูญให้พิจารณาตามกระทรวงหามิได้ และข้าหลวงรับเอาฟ้องไว้พิจารณาว่ามีรับสั่งให้ว่าเปนเนื้อความผู้เถ้าผู้แก่บ้าง เปนเนื้อความข้างเดียวบ้าง ให้สืบดูให้รู้จักจริง และเท็จบ้าง ครั้นถามมิรับเอา สอบผู้ฟ้องเปนข้อต่อข้ออ้างสืบสอบถึงพะยานดุจหนึ่งเนื้อความมีคู่ก็มีบ้าง ลางทีส่งฟ้องไปให้ตำรวจในตำรวจนอกและข้าทูลลออง ฯ นอกนั้นให้เอาตัวผู้มีชื่อมาพิจารณาตามฟ้อง มิต้องด้วยพระธรรมนูญก็มีบ้าง ลางทีลูกความซึ่งตุลาการพิจารณานั้นไปฟ้องหาอุทธรณ์ตุลาการ และว่ามีรับสั่งให้เรียกเอา สำนวนยอมใบสัจไปสืบสวนดู แล้วเนื้อความนั้นค้างช้าไปก็มีบ้าง และกฎพระธรรมนูญสำหรับแผ่นดินนั้นก็ฟั่นเฟือนไป และขุนโรงขุนศาลเจ้ากระทรวงได้พิจารณาความตาม พระธรรมนูญเอา พินัย จ่ายราชการนั้นน้อยลง และส่วนราชการงานโยธา ​ซึ่งเปนพนักงานขุนโรงขุนศาลได้จ่ายนั้นยืนอยู่ เพราะเหตุฉนี้ขุนโรงขุนศาลจึ่งได้ความยากจนตั้งตัวทำราชการมิได้ และครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้มีพระราชกำหนดกฎหมายไว้แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ข้าหลวงเจ้าต่างกรมรับเอาฟ้องของอาณาประชาราษฎรซึ่งหาความแก่กันนั้น กราบทูลเจ้าต่างกรม และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ เปนอันขาดทีเดียว ต่อเมื่อใดมีผู้เอาเนื้อความมาว่า มีผู้กระทำผิดคิดมิชอบเบียดบังพระราชทรัพย์เปนเนื้อความข้อใหญ่ จึงให้เอากราบทูลเจ้าต่างกรม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ รับเอาฟ้องกราบทูลแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ อนึ่งถ้าและข้าหลวงในกรมจะมีคดีวิวาทแก่ข้าทูลลออง ๆ และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินและข้าหลวงเจ้าต่างกรมๆ อื่น จะ​ทำหนังสือฟ้องให้กราบทูลเจ้าต่างกรม หาความข้อวิวาทนั้นไซร้ ก็ให้ส่งฟ้องนั้นไปให้แก่ขุนราชพินิจจัย ผู้ถือพระธรรมนูญให้ใส่ด้วยพระธรรมนูญก่อน ถ้าเปนกระทรวงใดให้ส่งไปให้เจ้ากระทรวงพิจารณา ตามโจทก์ตามจำเลย ตามพระธรรมนูญ อนึ่งถ้ามีผู้ร้องฟ้องให้กราบทูลพระกรุณา ถ้ามิได้ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งจำเภาะให้ผู้ใดพิจารณาหามิได้ ก็ให้ผู้รับสั่งส่งฟ้องนั้นไปใส่ด้วยพระธรรมนูญ ถ้าเปนกระทรวงใดจึ่งส่งไปให้เจ้ากระทรวงพิจารณา ถ้าเปนเนื้อความข้อใหญ่ มีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งจำเภาะให้ผู้ใดพิจารณาเปนเนื้อความมีคู่นั้น ก็ให้ตุลาการเอาฟ้องนั้นใส่ด้วยพระธรรมนูญเปนกระทรวงใด แล้วจึ่งให้หมายไปเอาเจ้ากระทรวงมานั่งกำกับด้วย ถ้าพิจารณาเปนสัจปรับไหมเปนพินัยหลวงมากน้อยเท่าใดนั้น ให้ส่งพระคลังมหาสมบัติ อนึ่งซึ่งผู้มีชื่อฟ้องถูกขุนณะ​ศาลาลูกขุนณะศาลหลวงนั้น ให้ลูกขุนปรึกษาดูรูปความนั้นก่อน ถ้าเปนเนื้อความเบาอยู่ ก็ให้เอาฟ้องใส่ด้วยพระธรรมนูญส่งให้พิจารณาตามกระทรวงตามพระธรรมนูญ พระราชกำหนดกฎหมายสำหรับแผ่นดิน อย่าให้แปลกกระทรวงล่วงกรมได้ และให้ข้าทูลลออง ฯ และข้าหลวงเจ้าต่างกรมฝ่ายหน้าฝ่ายหลัง และข้าหลวงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ และพระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ และสมใน สมนอก และอาณาประชาราษฎรทั้งปวง กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายให้ไว้จงทุกประการ ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้แต่ข้อใดข้อหนึ่งไซร้ จะเอาตัวเปนโทษตามโทษานุโทษ

กฎให้ไว้ณะวันอังคารเดือนอ้ายแรม ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๑๖ ปีจอฉอศก (พ.ศ.๒๒๙๗ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ)

----------------------------
4  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องให้จับกุมคนวิวาททำร้ายกันในที่ต่างๆ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีฯ เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องให้จับกุมคนวิวาททำร้ายกันในที่ต่างๆ

​​​กฎให้แก่เจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหารพลเรือน ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงจงรู้ทั่ว ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าถ้าเจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ ไปในสถานทางบกทางเรือแห่งใด พบคนมีชื่อคุมพวกเกิดวิวาทตีด่าฆ่าฟันกันเปนอันมาก ให้หยุดอยู่ ให้บ่าวไพร่สมกำลังซึ่งไปด้วยนั้น ให้จับเอาตัวพวกทั้งสองข้างให้ได้จงสิ้น ถ้าเหลือกำลังให้บอกชาวบ้านชาวเรือ ให้ช่วยกันจับเอาตัวจงได้ เพื่อว่ามิให้อาณาประชาราษฎรไพร่พลเมืองทำจลาจลในแผ่นดิน ถ้าหัวเมืองให้ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ปลัดยกระบัตร ​กรมการ เอาตัวถามให้รู้เหตุว่าวิวาทกันด้วยเนื้อความสิ่งใด แล้วให้บอกหนังสือส่งตัวเข้ามายังลูกขุนณะศาลา ถ้าในกรุง ๆ จับส่งกรมพระนครบาล ให้สืบเอาพวกเพื่อนจงสิ้น มาลงโทษโดยอาชญาหลวง ถ้าผู้ใดมิได้เปนใจแก่ราชการแผ่นดินไม่จับกุม จะเอาตัวเปนโทษตามโทษานุโทษ และให้พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้หมายบอกจงทั่ว

กฎให้ไว้ณะวันพุธเดือน ๗ แรม ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก (พ.ศ.๒๒๙๑ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ)

----------------------------
5  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re:กฎ เรื่องเจ้าหมู่มูลนายเบิกคู่ความไปใช้ราชการ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีฯ เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องเจ้าหมู่มูลนายเบิกคู่ความไปใช้ราชการ

​​กฎให้แก่ พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ ข้าทูลลออง ฯ ฝ่ายทหารพลเรือน และข้าเจ้าต่างกรมทั้งปวงจงทั่ว ด้วยขุนอุทัย ขุนลคร ขุนเสนา แขวง ฟ้องให้กราบทูลพระกรุณา และขุนลคร ขุนอุทัย ขุนเสนา และหมื่น พัน แขวง ทั้งปวงนั้น มีการพนักงานต้องทำ และเสียส่วยในอัตรานอกอัตราแต่ละปีเปนอันมาก และแขวงรับราชการได้ทำการตามพนักงานทั้งนั้น อาศัยแต่วานราษฎรชาวบ้านและลูกอำเภอมาช่วยทำการ ได้เสียส่วยในอัตรานอกอัตรา และซื้อสิ่งของทำการนั้น ก็อาศัยได้แต่พิจารณาความของราษฎรตามกระทรวง ตามมีพระธรรมนูญสำหรับแผ่นดินมาแต่ก่อน ได้พินัยจ่ายราชการ จึ่งได้ทำการทั้งปวงสดวก และ​สืบมาทุกวันนี้ และราษฎรไพร่พลเมืองในท้องที่อำเภอแขวงนั้น ก็ร่วงโรยกว่าแต่ก่อน และบาญชีมังคังชิงเรือนมากนั้น มีตราคุ้มห้าม ได้เฉลี่ยวานใช้ราชการหามิได้ และบ้านสมสังกัดพรรค์ ซึ่งมิได้มีตราคุ้มห้าม ได้เฉลี่ยวานใช้ราชการนั้นมีเรือนอยู่แต่ ๙ เรือน ๑๐ เรือน ๑๕ เรือนบ้าง น้อยมิพอด้วยราชการ ประการหนึ่งราษฎรอยู่ในอำเภอนั้นมีคดีเนื้อความมาร้องฟ้อง กฎหมาย พระธรรมนูญ แขวง จะได้พิจารณาเอาพินัยจ่ายราชการนั้น ครั้นแขวงเกาะมายังมิได้ทันถาม ได้ถามถึงเทียบ และชี้พิจารณาถึงเดิรเผชิญถึงสำนวนมาชี้ขาดบ้าง ฝ่ายข้างลูกความนั้น เห็นว่าเนื้อความของตัวพิรุธบุบช้ำลง แล้วลอบไปคิดอ่านให้มีหมายรับสั่งเบิกเอาตัวไปบ้าง ลางครั้งนั้น หมายไปแต่ว่าให้หาเปนการเร็ว ครั้นแขวงเข้าไปหา ผู้รับสั่งให้เกาะหน่วงเหนี่ยวไว้ว่า ลูกความนั้นเปนข้าหลวง มีรับสั่งให้ส่งตัวไปจะใช้​ทำการบ้าง ข้างแขวงกลัวก็ส่งลูกความให้ และเนื้อความเริดร้างค้างสูญเสีย เพราะด้วยกระทำฉนี้เปนอันมาก แขวงเปนคนต่ำจะติดตามว่ากล่าวคืนเอาเนื้อความมาพิจารณาสืบไป เอาพินัยจ่ายราชการนั้นมิได้ด้วยเหตุฉนี้ แขวงจะตั้งตัวทำราชการขัดสนหนักหนา จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ส่วยหญ้าช้างสพสารซึ่งสารพากรได้เรียกเปนหลวงนั้น พระราชทานให้ยกเสีย และส่วยสัดอัตราพนักงาน ขุนเพ็ชรดา ขุนเทพนารายณ์ แพ่งเขษมได้เรียกจ่ายราชการตามธรรมเนียมแต่ก่อนนั้น ก็ให้การลงเสี่ยกึ่งหนึ่งบ้าง สองส่วนบ้าง และซึ่งผู้มีชื่อถือตราคุ้มห้าม ทำส่วย เข้า ปลา ชัน น้ำมัน ภาย กระดาษ ขี้ผึ้ง และรักษาไม้ฤษีเลี้ยงกระบือชักรถนั้น ก็ให้เฉลี่ยเอาใช้ราชการบ้างตามมีการหนักและเบาแล้ว ครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่ง ให้มีพระราชกำหนดกฎหมายไว้ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ​ถ้าราษฎรมีชื่ออยู่ในท้องอำเภอแขวง มีอรรถคดีร้องฟ้องกฎหมาย ให้แขวงพิจารณาต้องด้วยกฎพระธรรมนูญ เปนกระทรวงแขวงได้ว่ากล่าวนั้น แล้วก็ให้แขวงพิจารณาสืบไปให้สำเร็จ เอาพินัยจ่ายราชการ ถ้าและมีหมายรับสั่งไปให้หาแขวงไปกิจราชการสิ่งใดก็ดี อย่าให้มีหมายไปแก่แขวงดุจหนึ่งแต่ก่อนนั้น ให้มีหมายไปแก่กรมนครบาลซึ่งเปนนายแขวงนั้นให้ส่ง ถ้าหมายกิจราชการให้บอกข้อราชการไปให้แจ้ง ถ้าหมายเบิกคู่ความนั้นให้มีกำหนดปีเดือนวันคืนขึ้นแรมไปว่า จะเบิกไปทำการสิ่งนั้น ๆ แต่ใน ๙ วัน ๑๐ วันและ ๑๕ วัน แล้วจะส่งตัวคืนมาให้แขวงพิจารณาเนื้อความสืบไป และให้มีตรา เจ้ากรม ปลัดกรม สมุหบาญชี ผู้ใดผู้หนึ่งมาเปนสำคัญไปด้วย และให้เจ้ากรม ปลัดกรม พระนครบาล สืบสาวดู ถ้าเนื้อความนั้นยังมิถึงใบสัจปรับเปนสินไหมพินัยหามิได้ และมีหมายมาเบิก​เอาไปทำราชการจริงเปนมั่นคง จึ่งให้สลักหมายนั้นบอกไปให้แขวงส่งลูกความให้ตามมีหมายเบิกนั้น และปิดตราขุนงำเมืองราชปลัดประทับหลังหมายไปเปนสำคัญจงทุกครั้ง ครั้นถึงกำหนดกฎหมายว่าจะส่งลูกความคืนให้พิจารณานั้น ถ้าและลูกความซึ่งเบิกไปนั้นยังทำการมิสำเร็จก็ดี ไปราชการยังมีกลับมาถึงก็ดี ให้ผู้มาเบิกนั้นมาบอกทุเลาแก่เจ้ากรม ปลัดกรม พระนครบาล ให้เจ้ากรม ปลัดกรม ๆ พระนครบาล แต่งไปสืบถามชันสูตร์ดูการ ถ้าเห็นการนั้นเร็วอยู่จะเร่งทำให้แล้วแต่ใน ๙ วัน ๑๐ วัน ๑๕ วันอีก ก็ให้งดไว้ ให้ทำการนั้นสืบไป ถ้าและการนั้นช้าถึงเดือนหนึ่งแล้วมิสำเร็จไซ้ร ก็ให้ส่งตัวลูกความมาว่าเนื้อความไปก่อน และซึ่งจะเบิกไปราชการนั้นให้พิจารณาดูข้อราชการนั้นเปนการจำเภาะตัวผู้นั้นจะไป ผู้อื่นจะไปเห็นมิได้ เปนการจำเภาะตัวผู้นั้นจะไป และทางจะไปมาช้าพ้นพระราชกำหนดเดือนหนึ่งขึ้นไป อย่าให้ส่งตัว​ไป ให้ตุลาการเอาตัวไปพิจารณาให้เร่งรัดว่ากล่าวเนื้อความให้สำเร็จแต่ในสามเดือนตามกฎ อนึ่งผู้เปนตุลาการได้พิจารณาเนื้อความ ใช่ว่าแต่แขวงหามิได้ และมหาดเล็ก ชาวที่ ตำรวจใน กรมวัง ข้าทูลลอองฯ ฝ่ายทหารพลเรือน ขุนโรงขุนศาลซึ่งเปนพนักงานได้พิจารณาเนื้อความรับสั่งและโจรผู้ร้ายและเนื้อความมีคู่ และผู้พิจารณา ๆ เลขหมู่ไพรหลวงทั้งปวงนั้น ก็มีอยู่เปนอันมาก ถ้าจะมีบัตรหมายไปเอาผู้มีคดีซึ่งต้องพิจารณาทั้งปวง ไปทำราชการสิ่งใด ๆ ไซร้ ก็ให้กระทำตามเรื่องราวเนื้อความซึ่งกล่าวไว้ในกฎจงทุกหมู่ทุกกรม และหมายเบิกนั้นก็ให้ปิดตรา เจ้ากรม ปลัดกรม สมุหบาญชี เจ้าหมู่ ซึ่งเปนนายนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งไปด้วยเปนสำคัญจงทุกครั้ง และกรมฝ่ายในซึ่งหาเจ้ากรม ปลัดกรม มิได้ ก็ให้ปิดตราสนม ซ้าย ขวา ถ้าจะบอกอรรถแปรค้นไป​ก็ดี หมายบอกนั้นให้ปิดตราสำคัญจงทุกใบ และเนื้อความขึ้นแก่ศาลกรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมคลัง นา กรมนครบาล และบรรดาซึ่งมีสมุหบาญชีนั้น ให้หมายไปสมุหบาญชีให้ว่าแก่เจ้ากรม ปลัดกรม ให้เจ้ากรม ปลัดกรม ปรึกษาว่ากล่าวให้ ถ้าเจ้ากรม กรมใดหาสมุหบาญชีไม่ จะบัตรหมายไปถึงมูลนายและผู้พิจารณาขุนศาลเองไซร้ ก็ให้มูลนายผู้พิจารณาขุนศาลว่ากล่าว คงทำตามเรื่องราวเนื้อความซึ่งกล่าวไว้นี้ ให้มีหมายมาเบิกเนื้อความณะศาลแขวงไปนั้นจงทุกประการ ถ้าและกรมใด ผู้ใด เอาคู่ความผู้พิจารณาไปนั้นมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายไว้นี้ และจะทำประเวประวิงหน่วงเหนี่ยวความไว้ให้ช้าพ้นพระราชกำหนดกฎหมายเบิกและทุเลาเหมือนครั้งหลังนั้น จะคิดอ่านกันแอบอิงมาเบิกเอาไปแต่จะให้พ้นจากพิจารณา ทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งให้ไว้นี้แต่​ข้อใดข้อหนึ่งไซร้ จะเอาเนื้อความผู้ซึ่งให้มีหมายมาเบิกเอาตัวไปนั้นเปนแพ้ ถ้าเลขพิจารณาจะให้เอาเลขพิจารณาเปนสัจ ส่งเข้าหมู่ แล้วจะให้ปรับโทษเอาสินไหมพินัยแก่เจ้าความผู้ให้มาเบิกผู้มีคดีเนื้อความไปนั้นด้วยตามรูปความ และให้พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ข้าทูลลอองฯ ทั้งปวง และข้าหลวงฝ่ายหน้า ฝ่ายหลัง และเจ้าต่างกรมจงทั่วทุกหมู่ทุกกรมอย่าให้ขาดได้ ถ้าและกฎหมายบอกมิทั่ว จะเอาพระสุรัศวดีซ้าย ขวา เปน โทษ ถ้าแจกทั่วแล้วผู้ใดมิได้กระทำตามกฎหมายให้ไว้นี้ จะเอาผู้นั้นเปนโทษตามกฎ

กฎให้ไว้ณะวันศุกร เดือนแปดแรม ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๐๖ ปีชวด ฉอศก. (พ.ศ.๒๒๘๗ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ)

----------------------------
6  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องการพิศูจน์เล็บในสำนวนความ - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องการพิศูจน์เล็บในสำนวนความ

​กฎให้แก่พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกเจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เมือง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย และ ตำรวจในซ้าย ขวา ตำรวจนอกซ้าย ขวา กรมวัง กรมล้อมวังซ้าย ขวา กรมมหาดเล็กชาวที่ และกรมพระสนมซ้าย ขวา ฝ่ายทหาร พลเรือน และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการแขวง จังหวัด นายบ้าน นายอำเภอ ณะหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และแขวงจังหวัดทั้ง ๔ และผู้มีบรรดาศักดิพิจารณาเนื้อความทั้งปวงจงทั่ว ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า และสุภาตุลาการพิจารณาความมีคู่ทั้งปวงแต่ก่อนนั้น ครั้นถามโจทก์จำเลยเปนสำนวนต่อกันแล้วยอมผูกสำนวน​ให้แต่โจทก์จำเลยศูจน์เล็บไว้ต่อกัน ครั้นโจทก์จำเลยเห็นถ้อยคำของตัวพิรุธในสำนวนข้อใดข้อหนึ่ง ครั้นตุลาการจะพิจารณาสืบไป ย่อมติดใจว่าแปลกเล็บ และว่าเสมียนผู้คุมดัดแปลงสำนวนเสีย และผู้พิจารณาทั้งปวงจะได้ว่ากล่าวแก่ผู้พิพากษาว่าเข้าด้วยโจทก์ จำเลย ติดใจว่าแปลกเล็บนั้นเนื้อความจะได้พิจารณานั้นศูจน์ยาวไป แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าและผู้มีอรรถคดีจะร้องฟ้องว่ากล่าวโทษแก่กันณะโรงศาล กรมใด ๆ ก็ดี และตุลาการถามโจทก์จำเลยเปนสำนวนต่อกันแล้วคัดเทียบออก จะเอาสำนวนนั้นผูกให้โจทก์ จำเลย ศูจน์เล็บไว้ให้ตุลาการปิดตราประจำเล็บไว้ด้วย ถ้าและจะเอาโจทก์จำเลยออกมาพิจารณาสืบไปนั้น ฝ่ายโจทก์ติดใจว่าแปลกเล็บ ฝ่ายจำเลยว่าชอบด้วยเล็บ และผู้พิจารณาว่าชอบด้วยดวงตราแล้ว อย่าให้ฟัง ให้ผู้พิจารณาตัดเล็บและดวงตราประจำไว้นั้นรักษา​ไว้จงดีอย่าให้ทุบต่อยเสีย และให้เร่งพิจารณาว่ากล่าวสืบไป ถึงว่าฝ่ายโจทก์ จำเลย ซึ่งติดใจว่าแปลกเล็บนั้น จะต้องฟ้องกล่าวโทษตุลาการและลูกความก็ดี จะได้เอาเล็บและดวงตราซึ่งตัดออกไว้นั้น จะได้ชันสูตรกับดวงตราซึ่งปิดตราประจำเล็บไว้นั้น ให้ผู้พิจารณาเร่งพิจารณาว่ากล่าวให้สำเร็จ อย่าให้ค้างช้าอยู่พ้นพระราชกำหนดกฎหมาย และให้พระสุรัศวดี หมายบอกแก่ผู้พิจารณาในกรุง ฯ นอกกรุง ฯ และแขวงจังหวัด และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ ให้ทำตามกฎนี้

กฎให้ไว้ณะวันอาทิตย์เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๐๑ ปีมะแมเอกศก (พ.ศ.๒๒๘๒ รัชกาล สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ)

----------------------------
7  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / Re: การจัดดอกไม้ คืออะไร? เมื่อ: วานนี้

ภาพระบายสีน้ำ

การเตรียมการจัดดอกไม้และการดูแลหลังการจัดดอกไม้
       ๑. การแช่ Floral Foam ให้นำน้ำใส่ภาชนะปากกว้างปริมาณมากๆ วางก้อน Floral Foam ลงบนน้ำให้น้ำค่อยๆ ซึมผ่านขึ้นมา ห้ามกดให้จมน้ำหรือห้ามนำน้ำมาราดบนก้าน Floral Foam เด็ดขาด เพราะน้ำจะไปอุดตันช่องระบายอากาศ ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปข้างในได้ยาก การแช่ Floral Foam ควรแช่อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง เพื่อให้ดูดซึมน้ำได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ เกลือที่ผสมอยู่ในก้อน Floral Foam จะมีลักษณะเป็นน้ำมีสีน้ำตาลแดงมีผลทำให้ก้านดอกไม้เน่าเร็ว และทำให้น้ำที่แช่ Floral Foam มีกลิ่นเหม็นเร็วขึ้น
        ๒. การบรรจุ Floral Foam ลงในภาชนะ ถ้าเป็นภาชนะประเภทตะกร้าควรมีการรองรับน้ำให้เรียบร้อย แต่ไม่ว่าภาชนะจะเป็นตะกร้าหรือแจกันก็ตาม จะต้องเปิดช่องไว้สำหรับเติมน้ำและจะต้องบรรจุให้สูงกว่าปากภาชนะประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร หรือถ้าต้องการปักดอกไม้ปริมาณมากๆ ให้บรรจุให้สูงกว่าที่กำหนดก็ได้ นอกจากนั้นควรปาดเหลี่ยม Floral Foam บริเวณปากภาชนะออก เพื่อเปิดพื้นที่ในการปักให้มากขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการปิดฐานของการจัดได้ง่ายขึ้น การบรรจุ Floral Foam ถ้าต้องการให้มีความปลอดภัยต่อการแตกกระจายในขณะจัดและปลอดภัยต่อการเคลื่อนย้าย ควรหุ้มด้วยลวดตาข่ายให้แน่นหนา เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรเปิดน้ำใส่ให้เต็มและเทน้ำทิ้ง เพื่อเป็นการล้างเกลือและเศษของ Floral Foam เติมน้ำลงไปใหม่ เป็นอันพร้อมที่จะจัดดอกไม้ได้
        ๓. การตัดก้านดอกไม้ ต้องตัดก้านด้วยมีดคมๆ ให้เฉียงมากๆ โดยใช้มือซ้ายจับก้านหงายขึ้น มือขวาจับมีด หัวแม่มือขวาจะเป็นตัวประคองก้านดอกไม้ไว้ตลอดเวลา การตัดก้านด้วยมีด จะทำให้ก้านดอกไม้ไม่ช้ำ สามารถดูดน้ำได้เต็มที่ และนอกจากนี้ยังสามารถบังคับองศาของการตัดได้อย่างที่เราต้องการการตัดก้านให้เฉียงมากๆ จะมีผลดีต่อการดูดน้ำของดอกไม้และยังสามารถทำให้ Floral Foam แตกได้ยาก การตัดก้านดอกไม้ ควรตัดบริเวณก้านที่เป็นส่วนหน้าของดอกไม้ และเวลาปักจะต้องหันหน้าของดอกไม้ขึ้นไปหากลางภาชนะ ซึ่งเท่ากับทำให้ดอกไม้หันหน้าขึ้นไปรับแสงอาทิตย์ การทำลักษณะนี้จะทำให้สภาพการปักดอกไม้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด
        ๔. การดูแลรักษาหลังการจัดดอกไม้สด จะต้องหมั่นเติมน้ำทุกวัน เพราะในแต่ละวันดอกไม้ต้องการน้ำสำหรับนำไปสร้างความเจริญเติบโตให้กับดอก ก้าน และใบ นอกจากนี้ถ้าต้องการให้ดอกไม้มีความคงทนมากขึ้นให้เปลี่ยนน้ำทุกๆ ๓ วัน และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนน้ำควรดึงดอกไม้ขึ้นมาตัดก้าน และปักลงไปใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดเอาเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป ดอกไม้ก็จะสามารถดูดน้ำได้ดีขึ้น

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดดอกไม้
        วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับการจัดดอกไม้ ควรเลือกให้เหมาะสม สะดวกต่อการใช้งานและการเก็บรักษา
        ๑. มีด จะแยกเป็นมีดตัดดอกไม้และมีดตัด Floral Foam ไม่ควรจะใช้มีดตัดดอกไม้มาตัด Floral Foam เพราะจะทำให้เสียคมได้ง่าย
        ๒. กรรไกร จะแยกเป็นกรรไกร หรือคีมตัดลวด กรรไกรตัดกระดาษ กรรไกรตัดริบบิ้น และกรรไกรตัดดอกไม้และกิ่งไม้ กรรไกรเหล่านี้ควรแยกประเภทให้แน่นอน แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้กรรไกรตัดก้านดอกไม้ เพราะกรรไกรมีคมที่หนา เวลาตัดก้านดอกไม้คมของกรรไกรจะบีบก้านดอกไม้ทำให้เกิดความช้ำ ดอกไม้จะดูดน้ำได้ไม่เต็มที่ มีผลทำให้ดอกไม้ไม่ทน
        ๓. คีมบิดลวด ควรมีปากกว้างพอสมควร
        ๔. แป้นสก็อตเทป ควรมีความใหญ่ และมีน้ำหนักพอสมควรเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งาน ส่วนสก็อตเทปควรเลือกชนิดที่ทนต่อการเปียกน้ำให้มากที่สุด
        ๕. ภาชนะเติมน้ำดอกไม้ ควรมีปากแคบ และยาว
        ๖. ภาชนะแช่ดอกไม้ ควรมีทั้งทรงสูงและทรงเตี้ย ปากกว้าง สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และจะต้องเก็บได้สะดวก
        ๗. แป้นหมุน ใช้สำหรับรองรับภาชนะที่ใช้จัดดอกไม้ ทำให้สะดวกต่อการจัดและการตรวจเช็คผลงาน
        ๘. ฟลอร่าเทป ควรเลือกสีให้เหมาะสำหรับก้านดอกไม้ แต่ถ้าต้องการใช้สำหรับตกแต่งอาจเลือกสีที่มีความแตกต่างก็ได้ เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีขาว เป็นต้น นอกจากนี้ควรเลือกฟลอร่าเทปที่เป็นของแท้ ซึ่งจะสังเกตได้จากความเหนียวในขณะพันก้านดอกไม้
        ๙. ลวด มีทั้งชนิดเป็นขด และชนิดดึงยืดเป็นเส้นตรงที่ตัดสำเร็จมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายขนาด สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
        ๑๐. กระดาษและพลาสติก สามารถเลือกขนาดความกว้างคุณภาพสีและลวดลายตามต้องการ
        ๑๑. ภาชนะสำหรับแช่ Floral Foam ควรมีที่เฉพาะสามารถถ่ายน้ำได้สะดวกและกักเก็บน้ำได้อย่างดี อาจใช้อ่างที่น้ำมีปุ่มกักหรือถ่ายน้ำออกได้ แต่ต้องระมัดระวังการอุดตันของท่อน้ำด้วย
        ๑๒. ตู้แช่ดอกไม้ จะต้องมีขนาดและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับดอกไม้
        ๑๓. ลวดตาข่ายหรือลวดกรงไก่ มีทั้งตาหกเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ปัจจุบันมีชนิดที่เป็นพลาสติกด้วย
        ๑๔. คีมปลิดหนามและใบกุหลาบ สามารถทำงานได้รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ก้านกุหลาบหักง่ายและถลอกไม่สวยงาม เราอาจเปลี่ยนมาใช้มีดปลิดหนามและใบแทนก็ได้
        ๑๕. แจกัน ควรเลือกชนิดที่มีการเคลือบภายในเพื่อสะดวกต่อการล้างทำความสะอาด และยังป้องกันไม่ให้เกิดการตกค้างของเชื้อแบคทีเรีย ควรเลือกชนิดที่ตั้งได้อย่างมั่นคงและมีปากกว้าง เพื่อจะได้เพิ่มความสะดวกต่อการจัดดอกไม้
        ๑๖. ตะกร้า มีหลายขนาด หลายแบบให้เลือกปัจจุบันนี้มีการนำเอาวัสดุต่างๆ มาใช้ในการผลิตตะกร้าทำให้เราสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการและความเหมาะสมในการจัด แต่ทางที่ดีควรเลือกตะกร้าชนิดที่มีหูหิ้ว เพื่อสะดวกต่อการขนส่งให้กับลูกค้า
        ๑๗. Floral Foam ใช้สำหรับปักดอกไม้ ใบไม้ มีหลายชนิดให้เลือก ชนิดที่ใช้กับดอกไม้สดจะเรียกกว่า “Oasis” ส่วนชนิดที่ใช้กับดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์เรียกว่า “Sahara


ลักษณะของดอกไม้
        ดอกไม้ที่เราเลือกซื้อมาใช้นั้นจะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับนักจัดดอกไม้จะแบ่งลักษณะดอกไม้ออกเป็น ๔ รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
        ๑. Line Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีลักษณะเป็นแนว หรือเป็นเส้น ซึ่งดอกไม้ ใบไม้ เหล่านี้จะเป็นดอกใบ หรือกลุ่มช่อดอกที่เรียงขึ้นไปตามความยาวของก้านดอก เช่น กลาดิโอลัส กกธูป ซ่อนกลิ่น ลีอาทรีส เดฟีเนี่ยม แบกราส สติลกราส เป็นต้น   ด้วยลักษณะของความเป็นเส้นที่เด่นชัดของ Line Flowers นี้เอง จึงมักถูกนำมาจัดวางให้เป็นตัวกำหนดโครงร่างของรูปทรงการจัดดอกไม้ในภาชนะต่างๆ โดยเฉพาะกำหนดความสูงและความกว้างของรูปทรง นอกจากนี้ยังมีเส้นที่เด่นชัดมากๆ สามารถที่จะนำมาปักให้เป็นตัวนำสายตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
        ๒. Form Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีรูปทรงที่เด่นชัดมีกลีบไม่มาก ไม่มีความซับซ้อนในรูปทรงมากจนเกินไป เช่น ดอกหน้าวัว ดอกลิลลี่ ดอกแคทรียา ใบไม้ตระกูลพิโลเดนดรอน เป็นต้น  ลักษณะที่เด่นชัดของรูปทรงของดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จึงมักถูกนำมาปักให้เป็นจุดเด่นหรือ Focal Point ในการจัดดอกไม้ลงในภาชนะ
        ๓. Mass Flowers คือ ดอกไม้เดี่ยวที่มีกลีบซ้อนมากๆ และจะมองดูมีน้ำหนัก เช่น เยอร์บีร่า คาร์เนชั่น กุหลาบ เป็นต้น  ดอกไม้ประเภทนี้จะมีมากในท้องตลาด เป็นดอกไม้ที่ทำหน้าที่ในการเติมเต็มให้กับการจัดดอกไม้  สามารถสร้างความสมดุลและความแตกต่างในชิ้นงาน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างให้เกิดความกลมกลืนให้กับชิ้นงานที่จัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  นอกจากนี้ในบางโอกาสที่เราไม่สามารถจัดหาดอกไม้ประเภท Form Flowers มาใช้ได้นั้น เราสามารถ Mass Flowers มาใช้แทนได้โดยการจับรวมกลุ่มในลักษณะของ Clustering ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่มของสิ่งเล็กๆ ให้เกิดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความเด่นชัดในตัวเองมากขึ้น
        ๔. Filler Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ ที่ใช้แต่งเติมหรือเสริมแซมเข้าไปในแจกันที่เราจัดขึ้นมา เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลของสีและผิวสัมผัส ดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ ฝอยๆ เช่น ยิปโซฟิลล่า สร้อยทอง แคสเปียร์ เล็บครุฑผักชี หลิวทอง ใบโปร่งฟ้า ปริกแคระ แว็กซ์ เป็นต้น เนื่องจากลักษณะของดอกไม้ ใบไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะเล็กๆ เมื่อใช้ปริมาณมากจนเกินไปจะทำให้เกิดความรกรุงรัง เราสามารถที่จะนำดอกไม้ใบไม้ประเภทนี้มาปักให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็จะสามารถเพิ่มความเด่นชัดและลดความรุงรังได้เป็นอย่างดี  ปัญหาของนักจัดดอกไม้ที่มักพบกันอยู่เสมอคือ ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะนำดอกไม้ประเภทใดมาใช้ในการจัดแจกันสักหนึ่งแจกัน บางท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “นักจัดดอกไม้ที่ดี มีอะไรก็ต้องจัดได้” แต่ถ้านักจัดดอกไม้ที่ดีมีโอกาสที่จะเลือกดอกไม้ที่จะนำมาใช้จัด ควรเลือกดอกไม้ให้ครบทั้งสี่ประเภท มาใช้ในการจัดแจกันหนึ่งแจกัน ซึ่งจะทำให้สามารถจัดดอกไม้ได้อย่างลงตัวง่ายขึ้น




800-28
ขอขอบคุณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ (ที่มาข้อมูล)
8  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องให้รับน้ำพระพิพัฒนสัจจา - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2567 19:38:16


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องให้รับน้ำพระพิพัฒนสัจจา

​กฎให้แก่ เจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการเมืองเอก โท ตรี จัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวง ด้วย ฯ ทรง ฯ ตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าเทศกาลพระราชพิธีตรุส สารท ครั้งนี้ ในกรุง ฯ นั้น เจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหารพลเรือน ข้าทูลลออง ฯ ทั้งปวง ไปพร้อมกันณะวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีรูปเทียนเข้าตอกดอกไม้มาสักการบูชากราบถวายบังคม รับน้ำพระพิพัฒนสัจจา กรมวังได้หมายบอกตำรวจตราเอาบาญชี และฝ่ายข้างผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ หลวง ขุน หมื่น นายที่นายส่วยสาอากรปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือนั้น ​ครั้นถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุส สารท ให้มีธูปเทียนเข้าตอกดอกไม้เปนเครื่องสักการบูชา ไปพร้อมกันรับน้ำพระพิพัฒนสัจจาณะวัดวาอารามใหญ่ ซึ่งเปนตำแหน่งเคยรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒนสัจจานั้น เปนพนักงานขุนยกระบัตร ได้บัตรหมายเอาบาญชีตามโบราณราชประเพณีแต่ก่อนมา ถ้าผู้ใดป่วยเจ็บพ้นกำลังที่จะหาบหามมามิได้ และมีผู้ถูกเกณฑ์ไปราชการไกล กลับมามิทันชันสูตรสืบสมคุ้มโทษ ให้ตรวจตัวตามบาญชีแต่เช้าในเที่ยง ถ้าพ้นเที่ยงและผู้ใดขาด มิได้มากราบถวายบังคมพระราชอุททิศรับน้ำพระพิพัฒนสัจจาจะเอาตัวผู้นั้นเปนโทษเท่าโทษขบถ ตามบทพระอัยการ ถ้าหัวเมืองให้ยกระบัตรเอาตัวถาม บอกส่งตัวและคำถามเข้ามายังลูกขุนณะศาลา ถ้าในกรุงฯ ให้กรมวังเอาตัวถาม เอาเนื้อความกราบบังคมทูลพระกรุณา จะเอาตัวเปนโทษโดยโทษานุโทษ และให้กฎหมายบอก​จงทั่ว

กฎให้ไว้ณะวันอังคารเดือน ๔ แรม ๘ ค่ำ ปีกุนตรีศก จุลศักราช ๑๐๙๓ (พ.ศ.๒๒๗๕ รัชกาล สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)


----------------------------
9  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ เรื่องลักษณการปกครองหัวเมือง - พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2567 19:36:06


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ เรื่องลักษณการปกครองหัวเมือง

​​กฎให้แก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ และขุนยกระบัตร กรมการทั้งหลาย ด้วยพระบาทสมเด็จ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการมานพระบันทูลดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าแต่นี้ไปเมื่อหน้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ใดไปอยู่รักษาเมือง และผู้รั้งเมือง เอก โท ตรี จัตวา ทั้งปวง และไปราชการพระราชสงคราม และมิได้บอกสารทุกข์ และมิได้มีหนังสือหาและมาเองนั้น มิชอบ จะให้ลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิตร อนึ่ง บอกกิจสุขทุกข์มา และมีหนังสือไปหาให้มาและม ก่อน และหนังสือไปหาและพบแต่กลางทางนั้นมิชอบ และจะให้ลงพระราชอาชญาโดยโทษานุโทษ อนึ่ง อย่าให้เจ้าเมืองและผู้รั้งเมือง เก็บเอาลูกหลาน​ราษฎรทั้งหลายมาเปนเมีย และเปนคนใช้ ถ้าพ่อแม่พี่น้องญาติรักสมัคให้ด้วยไมตรีก็ดี กล่าวถามให้คำนับไซร้ ก็ให้ตามพ่อแม่พี่น้องญาติสมัคด้วยนั้น อนึ่งจะตัดไม้ทำเรือนและเอาโดยขนาดเจ้าเมืองทั้งหลายทอดไปพลเมือง ให้ทำโดยเจ้าเมืองทั้งหลาย อันให้ทำแต่ในรัจสำหรับเมืองนั้นก่อน ผิว์จะทำเรือน ทำเรือเจ้าเมือง และบุตรภรรยาเจ้าเมืองนอก ทำเมืองให้เจ้าเมือง ชาวโคและเกวียน พลเมืองตัดไม้นั้น และให้ค่าจ้างเปนค่าราษฎรเคยจ้าง อนึ่งให้เจ้าเมือง ผู้รักษาพยาบาลประชาราษฎรอันมีในจักรวรรดิแขวงเมืองนี้ อย่าให้มีผู้เบียดเบียนกรรโชก รุกรันฆ่าฟันไพร่เมืองท่าน ถ้าและเจ้าเมืองและผู้รั้งเจ้าเมือง มิได้พิทักษ์รักษาราษฎรไพร่เมือง และผู้ร้ายปล้นสดมภ์ เบียดเบียนกรรโชก รุกรันฟันแทงไพร่ทั้งหลายได้ไซร้ จะ​ให้ลงโทษแก่เจ้าเมืองและผู้รั้งจงหนัก ถ้ามีผู้มากรรโชกทำเหลือที่จะว่ามิได้ไซร้ ให้บอกหนังสือเข้าไปยังมหาดไทย ให้เอากราบทูลพระกรุณาให้ทราบฝ่าลออง ฯ อนึ่งจะนั่งพิพากษากิจบ้านเมือง และราษฎรร้องฟ้องสำหรับเมืองนั้นประการใด ให้ยกระบัตรรู้เห็นผิดและชอบนั้นด้วย อนึ่งชาวต่างเมืองไปเปนความด้วยชาวเมืองใด ๆ ไซร้ ให้ยกระบัตรนำชี้แก่เจ้าเมือง อย่าให้ผู้ใดเอาชี้นอกขุนยกระบัตร อนึ่งให้เจ้าเมือง ผู้รั้ง และยกระบัตร พิจารณาดูตราซึ่งจะออกมาเอากระทรวงความทั้งปวงนั้น และชอบด้วยพระราชกำหนดและพระธรรมนูญให้ใช้ตรานั้น จึ่งให้ทำตามพระราชกำหนดแลพระธรรมนูญนั้น ถ้าและตราผู้ใดออกไปเอากระทงความ และมิต้องด้วยพระราชกำหนดและพระธรรมนูญนี้ไซร้ อย่าให้ส่ง และให้บอกหนังสือและเอาตัวผู้ถือตรานั้นส่งเข้ามายังมหาดไทย อนึ่งและเจ้าเมืองจะ​ออกไปรักษาเมือง และรั้งเมือง ก็ดี อย่าให้เอาสมกำลังสังกัดพรรคไว้เปนสมกำลังเอง ครั้นออกไปถึงเมืองไซร้ให้กรมการนำด่านทาง ตำบลใดจะไปต่อตำบลใดก็ดี ให้รู้จักตำบล แล้วและให้เจ้าเมือง ผู้รั้ง และกรมการไปพิจารณาดูด่านจักรวรรดิแขวงเมืองนั้นจงทั่ว ให้รู้จักว่า จักรวรรดิด่านใดไปต่อแดนตำบลใด แลเห็นมีมั่นคง ถ้าและที่ใดชอบกลให้ตั้งด่านจงมั่นคง และตั้งขุนหมื่นกรมการอันพอแกพอรางและไพร่สมควรสรรพไปด้วยศัสตราอาวุธ ผลัดกันอยู่รักษาด่านอย่าให้ขาด ถ้าและทางตำบลใดเห็นจะเล็ดลอดมาได้ และจะรักษายากไซร้ให้ตัดไม้ทับทางตำบลนั้นเสีย แล้วและให้ลงขวากหนามจงหนักหนา และแต่งกรมการ ตำรวจ ตระเวนด่านบรรจบกันทุกตำบลอย่าให้ขาด ถ้าและพบ ลาว มอญ พะม่า ไทยใหญ่ เขมร ราษฎร ไปค้าขาย และหาตราเบิกด่านมิได้ก็ดี ​มีผู้ถือตราเบิกด่าน ญวน ลาว มอญ พะม่า ไทยใหญ่ เขมร ราษฎร แปลกปลอมนอกตราเบิกด่านก็ดี ให้คุมเอาตัวผู้ถือตราแปกปลอมมานั้น สิ่งเข้าไปยังกรุง ฯ จงฉับพลัน อย่าให้หลบหลีกเปนเหตุการณ์ประการใด ๆ อนึ่งให้เจ้าเมือง และผู้รั้ง รู้สารบาญชีหมู่ทหารและไพร่หลวง ข้าพระโยมสงฆ์ สมนอก สมใน สมกำลัง กรมการ และกรมการและคนแอบแฝงหาสารบาญชีมิได้ และข้าหนีเจ้าไพร่ หนีนาย ให้รู้จักมั่นแม่น และให้รู้ว่าพลเมืองแตกฉานไปอยู่เมืองใด ๆ ก็ดี ไปซุ่มซ่อนอยู่ณะป่าดงก็ดี ให้แต่งไปส้องสุมเอาให้ได้แล้วและให้รู้เหตุไปซุ่มซ่อนอยู่ณะป่าดง ผู้ใดข่มเหงรุกราชบาทให้ราษฎรแค้นเคืองเปนมั่นแม่น อนึ่งถ้าและเห็นเปนเหล่าเปนกอและส้องสุมเอามิได้ ให้บอกหนังสือและส่งตัวผู้ข่มเหงและตำบลที่ราษฎรไปซุ่มซ่อนอยู่และแค้นเคืองนั้น ให้บอกเข้าไปจงแจ้งจงฉับพลัน อนึ่งให้​เจ้าเมืองและยกระบัตรและกรมการ ให้รู้สารบาญชีช้างใหญ่น้อยศอกนิ้ว เข้าไปณะมหาดไทยจงแจ้ง อนึ่งให้รู้จักว่าคนเมืองใดตำบลใดมาแอบแฝงอยู่ณะเมืองนั้นมากน้อยเท่าใด ให้รู้จักไว้จงมั่นคง ครั้นมีราชการเมื่อใด จะได้ราชการเมื่อนั้น อนึ่งกรมการซึ่งหาตัวมิได้ ให้จัดเอาเปนพอแกแมรางอันสัตย์ซื่อ มิได้เบียดเบียนประชาราษฎร เปนกรมการให้ครบ อนึ่งให้บำรุงชาวด่านและจัดส้องเอาสมีใหม่ ซึ่งหาบาญชีมิได้ และข้าหนีเจ้าไพรหนีนาย ให้เอาใจเปนชาวต่านจงมั่นคง แล้วบอกสารบาญชีเข้าไปจงฉับพลันให้จงแจ้ง แล้วถ้าและสัสดีเกณฑ์เอาชาวด่านไปราชการสิ่งใด อย่าเพ่อให้ส่งชาวด่านและให้บอกหนังสือเข้ามายังมหาดไทยก่อน เมื่อใดมีหนังสือบอกมาว่าประการใดจึ่งให้ทำตาม อนึ่งให้ว่ากรมการและนายอำเภอ แขวง นายบ้าน ให้พิทักษ์รักษาให้ว่าราชการซึ่งอยู่อำเภอทั้งปวง ผู้ใด​เข้าไปรับราชการ ผู้ใดไปแห่งใด ให้พิจารณาได้จงทุกเดือนอย่าให้ขาด และมีราชการสิ่งใดจึ่งจะครบด้วยราชการ อนึ่งให้ขุนหมื่นชาวด่านและไพร่ จงสมควรผลัดกันไปตระเวนด่านถึงแดนต่อแดนจงทุกตำบล จงทุกเดือนอย่าให้ขาด ถ้าได้กิจราชการเปนประการใดไซร้ ให้บอกเข้าไปจงฉับพลันและให้แจ้งแล้ว อนึ่งถ้าและมีตราพระราชสีห์ และตราโกษาธิบดี มาแก่เจ้าเมือง และผู้รั้ง กรมการ ด้วยการพระราชสงคราม และราชการซึ่งบำรุงกรุงเทพพระมหานคร และกิจต้องพระราชประสงค์ และการให้ทำกำแพงและค่ายคูจะรักษาเมืองนั้นก็ดี อย่าให้เจ้าเมืองและผู้รั้งกรมการตอบ และให้รับเอาทำตามตรามานั้น ถ้าและราชการนั้นพ้นกำลังเปนประการใดไซร้ ให้บอกหนังสือฟ้องเข้ามา อนึ่ง ถ้าทอดราชการสิ่งใดแก่พลเมืองทั้งปวง ให้เจ้าเมืองและผู้รั้ง ยกระบัตร พิจารณาแล้วและให้ยกสมกำลัง​กรมการไว้พอราชการด้วย กรมการเหลือนั้นให้มาตั้งทอดราชการด้วยพลเมืองจงทั่วกัน อย่าให้กรมการป้องกันสมกำลังพรรคพวกบ่าวไพรเหลือนั้นไว้ได้ อนึ่งผู้รับราชการเปนหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ก็ดี จะรั้งก็ดี ที่จะพิทักษ์รักษาบ้านเมือง การทั้งปวงเอาเปนอารมณ์ ซึ่งชอบด้วยผู้รักษาเมืองร่วมขัณฑสีมา ซึ่งจะให้มั่นคงสืบไปเมื่อหน้านั้น อนึ่งให้รู้ว่าไพร่ทั้งปวงแค้นเคืองด้วยกรมการทั้งปวง ข้าหลวง คนเร็ว ม้าใช้ ไปมากิจราชการ และข่มเหงเอาทรัพย์สิ่งของเงินทองแก่ประชาราษฎรทั้งปวง ให้มีความยากแค้นเคือง และถ้าประชาราษฎรมาฟ้องให้เจ้าเมืองและผู้รั้ง ยกระบัตร ถามข้าหลวง คนเร็ว ม้าใช้ ข่มเหงนั้นเปนสัจไซร้ ให้เรียกเอาทรัพย์สิ่งของเงินทองนั้นส่งให้แก่ราษฎร ถ้าและกรมการ ข้าหลวง คนเร็ว ม้าใช้ ทำเหลือจะถามเอาทรัพย์สิ่งของให้แก่ราษฎรด้วยฉับพลันมิได้ไซร้ ให้กฎหมาย​จงมั่นแม่น และครั้นข้าหลวง คนเร็ว ม้าใช้นั้นกลับมาแต่ราชการเมื่อใดไซร้ ให้กรมการบอกหนังสือ คุมเอาราษฎร ซึ่งข้าหลวง คนเร็ว ม้าใช้ ทำข่มเหงนั้นเข้าไปยังกรุงเทพ ๆ ถ้าและกรมการผู้ใดข่มเหงราษฎร กรรโชกราษฎร ด้วยสิ่งใดไซร้ ให้ถามจงสัจ แล้วให้กรมการนั้นเข้ามายังกรุงเทพพระนคร อนึ่งถ้าท้าวพระยา พระ เมือง ขุน หมื่น พัน ทนาย และหมู่องครักษ์ และคนเร็วม้าใช้ไปด้วยกิจราชการ เจ้าเมือง และผู้รั้ง กรมการ มิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมาย และทำล้ำเหลือรุกราช พระสาสนาอาราม และข่มเหงตีด่าฆ่าฟันสมณประชาราษฎรทั้งปวง เอาทรัพย์สิ่งของช้าง ม้า โค กระบือ เกวียน และกรรโชกราษฎรทั้งปวง และให้แค้นเคืองด้วยประการใดก็ดี ถ้าและต้องเจ้าเมือง และผู้รั้ง และกรมการ ไซร้ ให้ยกระบัตรกฎหมายไว้จงมั่นแม่น และให้ ปลัด ยกระบัตร ​กฎหมายบอกหนังสือเข้าไป ถ้าต้อง ปลัด ยกระบัตร และกรมการ ไซร้ ให้เจ้าเมือง ผู้รั้ง บอกหนังสือเข้าไปยังลูกขุนณะศาลา ถ้าต้องเจ้าเมือง ผู้รั้ง ให้ทุนปลัด ขุนยกระบัตร บอกหนังสือเข้าไปยังมหาดไทย ถ้าและมหาดไทยมิเอาว่า ให้มูลนายพยาบาลนำเอาแค้นเคืองนั้น เข้าไปฟ้องณะศาลาลูกขุน เปนหลายครั้งและมิเอาว่า ให้ทำฎีกาให้มูลนายประชาบาลนำมาฟ้องมิได้ไซร้ ให้ทำฎีกายื่นณะศาลาลูกขุน และให้ขุนดาบนำเอาว่าตามธรรมเนียม และยกระบัตร กรมการ และผู้ได้ว่าราชการนั้น ลอกเอากฎนี้ไว้จงทุกคน อนึ่งให้รู้จักสารบาญชี ซึ่งว่าคนอยู่ณะจังหวัดเมืองนั้น ไพร่หลวง และสมใน สมนอก ข้าพระ โยมสงฆ์ และพลเมืองสมสังกัด ทั้งปวงทั้งนั้น หมู่ใดกรมใดเท่าใด ช้าง ม้า โค กระบือ ไร่ นา เท่าใด ให้เอาสารบาญชีไว้จงแจ้งจงสิ้นเชิง อนึ่งให้รู้สารบาญชีว่าข้าหนีเจ้า ​ไพร่หนีนาย และคนแอบแฝงมาอยู่บ้านใด ตำบลใด ณะแขวงเมืองนี้ และเดิมเปนหมู่ใดกรมใดและอยู่แขวงเมืองใด และแค้นเคืองด้วยเนื้อความประการใดและจึ่งมาอยู่ณะแขวงนี้ และแต่มาอยู่นี้ช้านานเท่าใด อนึ่งคนจรมาสัตพลัดซุ่มซ่อนอยู่ณะป่าดง ห้วยเขา ณะจักรวรรดิแขวงเมืองนี้ไซร้ ให้รู้จักว่าซุ่มซ่อนอยู่เปนเหล่าเปนกอ ฉกรรจ์อพยบมากน้อยเท่าใด ๆ อยู่แห่งใดตำบลใดเท่าใด และทางใกล้ไกลเมืองเท่าใด ให้รู้จักมั่นแม่น และให้เอาแก่เจ้าเมืองและผู้รั้งให้จัดซ่องไว้สำหรับเมืองจงมั่นคง ถ้าพ้นกำลังให้บอกเข้าไปยังกรุง ฯ อนึ่งคนอยู่อำเภอแขวงเมืองนี้ และให้รู้ที่ภูมิลำเนาตามอำเภอ และรื้อเรือนไปอยู่อำเภออื่นนั้น เปนเหตุสิ่งใดจึ่งไปจากบ้านซึ่งอยู่ และมิได้อยู่เข้าบ้านเลย และตั้งบ้านอื่นนั้นด้วยอันใด และผู้อยู่อื่นมาตั้งบ้าน​ใหม่ปีละเท่าใด และคนอยู่เมืองนี้และไปทำมาหากินอยู่ด้วยผู้ใดก็ดี เมื่องอื่นไซร้ ให้มีหนังสือยกระบัตรและกรมการบอกไปณะเมืองนั้น ว่าคนเมืองไปอยู่ทำมาหากินในบ้านนั้น แขวงเมืองนั้น ถ้าและหาตรายกระบัตรแลกรมการ บอกไปมิได้ และไปอยู่ไซร้ให้บอกหนังสือเข้าไปยังมหาดไทย อนึ่ง บ้านนี้ เมืองนี้ กี่ตำบล และตำบลหนึ่งมีคนมากน้อยเท่าใด มาอยู่ใหม่มากน้อยเท่าใด ให้รู้จักทุกคน อนึ่งผู้จะเปนยกระบัตร ครั้นราชการสิ่งใดจะเอาโดยฉับพลัน มาให้นายอำเภอและแขวงนายบ้านให้รับคนก็ดี ให้ทำตามราชการจงฉับพลันมานั้นก็ดี และมิได้คนไซร้ ให้มัดผูกนายอำเภอและแขวงนายบ้าน ตีรันเอาให้ได้จงฉับพลันให้ทันราชการสิ่งนั้น ถ้ามิได้คน สารโทษนั้นตกอยู่แก่ยกระบัตร อนึ่งถ้าคนอยู่ณะแขวงเมืองนี้ เข้าไปทำราชการและหลบหลีกออกมาก็ดี เปนผู้ร้ายก็ดี ข้า​หนีเจ้า ไพร่หนีนาย และคนจรรสัตพลัด และมีตราออกมาให้เอาเข้าไปทำราชการและพิจารณา และยอมจำหน่ายว่าหนีและจับเอาตัวมิได้นั้น โทษอยู่แก่ยกระบัตร และนายอำเภอและนายบ้าน ด้วยมิได้รู้จักสารบาญชี และมิได้ตรวจด่านตระเวนทางให้มั่นคง มิให้คนเล็ดลอดหนีไปจากเมืองนี้ได้ และให้ขุนหมื่นกรมการประกับด้วยชาวด่านตระเวนบรรจบต่อกันเมืองนั้นอย่าให้ขาด ให้รู้จักว่าผู้นั้นมาตระเวนพบกันนั้นแล้ว มันมิพบผู้คนแปลกปลาดหามิได้ ให้บอกหนังสือทัณฑ์บลเข้าไปยังกรุงเทพ ฯ จงทุกเดือนอย่าให้ขาด อนึ่งผู้จะเปนกรมการให้ตั้งใจสมัคภักดีรักษาขอบขัณฑสีมาประชาราษฎรทั้งปวงให้เปนสุข และอย่าให้ตั้งกรมการแขวง นายบ้าน อันขี้ฉ้อโกหกขี้ตระบัด แลแต่ซื่อ ๆ มาเปนกรมการ และแขวง นายบ้านอำเภอใด ถ้าผู้ใดจะมาข่มเหงประชาราษฎรทั้งปวง และรู้เห็นด้วยประการใดไซร้ ​จะให้เอาเงินหลอมใส่ปากเสีย อนึ่งกฎมาให้ทำสิ่งใด ๆ ให้พิจารณา ก็ให้ทำจงทุกสิ่งให้ชอบด้วยราชการ ถ้ามิได้ทำตามจะให้มีโทษถึงสิ้นชีวิต อนึ่งครั้นปลัด ยกระบัตร เข้าไปกิจราชการก็ดี มารับพระราชทานน้ำพระพิพัฒนสัจจาเมื่อใด จะให้มหาดไทยและกรมวังถามด้วยกิจราชการ และกิจสุขทุกข์ราษฎรทั้งปวง และคนแอบแฝงซุ่มซ่อนจรจัดพลัด ให้ ๆ การจงสิ้น ถ้าและเข้ามาแก้แต่ปากเปล่าและให้การมิได้ไซร้ จะให้มีโทษถึงสิ้นชีวิต อนึ่งถ้าเทศกาล การพระราชพิธีตรุส สารท ไซร้ ยกระบัตรเข้าไปถือน้ำพระพิพัฒนสัจจาโดยการพระราชพิธี อนึ่งถ้าเทศกาลจะทำนาและอาณาประชาราษฎรทั้งปวงทำนานั้นน้อยอยู่ภูมิไซร้ ให้ยกระบัตรและเจ้าเมือง และผู้รั้ง และกรมการ และกำนัน ให้ว่าแก่ราษฎรทั้งปวงนั้น ให้ทำนาจงมั่งคั่งกว่าแต่ก่อนนั้น ถ้าและทำนามากน้อยเท่าใดให้เร่ง​รัดเอาใจลงอย่าให้พันเทศกาล ถ้าและผู้ใดมิฟัง ให้บอกหนังสือเข้าไป และสิ่งใดจะเปนงานวันอย่าให้เปนงานเดือน และกรมการทั้งหลาย ลอกเอากฎใส่สมุดไว้จงทุกคน แต่ต้นกฎนี้ให้ยกระบัตรเอาไว้ ถ้าและมีผู้จะมาผลัดรับราชการเปนยกระบัตรและกรมการไซร้ ส่งกฎนี้และกฎซึ่งลอกไว้นั้นให้แก่ผู้จะมาเปนกรมการแทนทั้งสิ้น ครั้นสืบไปเมื่อหน้า ให้ผู้เปนขุนยกระบัตรและกรมการทั้งปวง ทำตามกฎหมายนี้และกฎซึ่งมีมาแต่ก่อนนั้นจงทุกประการ ถ้าและมิได้ทำตามกฎมานี้และกฎหมายซึ่งมีมาแต่ก่อนไซร้ จะให้มีโทษถึงสิ้นชีวิต

กฏให้ไว้ณะวันจันทรเดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะแมนพศก จุลศักราช ๑๐๘๙ (พ.ศ.๒๒๗๐ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)

----------------------------
10  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: หมายรับสั่ง เรื่องความทุกข์ยากของลูกหมู่ พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2567 19:34:06


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ ว่าด้วยการเรียกสินไหมพินัยคดีความ

​ด้วยจมั่นเสมอใจราช รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งเจ้าหมู่ฝ่ายทหารพลเรือนพิจารณาลูกหมู่ ๆ ใดก็ดี ซึ่งเปนสัจว่าทุกข์ยากไปเปนทาสผู้มีชื่อ และเจ้ากรม ปลัดกรม และสมุหบาญชีนายหมวดนายเสียงผู้ใดผู้หนึ่งรู้เห็นว่าไพร่หมู่นั้นทุกข์ยาก และผู้จะช่วยนั้น ได้บอกกล่าวมูลนายผู้ใดผู้หนึ่งเปนมั่นคงไซร้ ในพระอัยการเก่านั้นว่า ชอบให้เอาตัวผู้นั้นใช้ราชการเดือนหนึ่ง ให้เจ้าเงินเดือนหนึ่งนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า เห็นยากแค้นแก่ไพร่ผู้นั้นนัก ด้วยที่ใช้เจ้าเงินอยู่นั้น เจ้าเงินจะได้ให้เข้าปลาอาหารกินอยู่ ครั้นที่รับการเดือนหนึ่งนั้นหาผู้ใดจะแต่งเสบียงมาให้กินมิได้ ข้างเจ้าเงินจะถือเปรียบว่าป่วยการเงินอยู่แล้วให้เสบียง​มา ถ้าไพร่คนนั้นหนีไป ข้างเจ้าเงินดีใจจะได้เกาะกุมเอาผู้ขายและนายประกัน และข้างไพร่หลวงหาก็จะสูญไป และแต่นี้สืบไปเมื่อหน้าและไพร่หมู่ใดกรมใดทุกข์ยาก และมูลนายหมู่นั้นรู้เห็นเปนสัจว่า ไพร่หมู่นั้นทุกข์ยาก และได้บอกกล่าวมูลนายรู้เห็น เปนมั่นคงจริงไซร้ ก็ให้ปันเปนสามส่วน และให้นายเอาใช้ราชการเดือนหนึ่ง ให้เจ้าเงินใช้เดือนหนึ่ง ให้ทำกินเปนเสบียงเดือนหนึ่ง และให้เจ้าหมู่ฝ่ายทหารพลเรือนทั้งปวงทำตามรับสั่งนี้ แล้วอย่าให้มูลนายหมู่ใดกรมใดทำโว้เว้ ไพร่มิยากว่ายากและไพร่ยากว่ามิยาก และเห็นแก่สินจ้างสินบนดัดแปลงบาญชีเสีย มีผู้ว่ากล่าวรู้เห็นเปนสัจไซร้ จะเอาตัวนายและไพร่ผู้นั้นลงพระราชอาชญาจงหนักหนา และจะริบราชบาทว์เอาบุตรภรรยาให้สิ้นเชิง แล้วจะเอาตัวผู้นั้นเปนโทษถึงตาย ให้สัสดีหมายให้ทั่วทุกหมู่ทุกกรม

​หมายมาณะวันพฤหัสบดีเดือน ๑๐ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงนักรสัตรฉอศก จุลศักราช ๑๐๘๖ (พ.ศ.๒๒๖๗ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)

----------------------------
11  นั่งเล่นหลังสวน / เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว / ปลาแป้นแก้วทะเลหวาน - วิธีการทอด เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2567 19:20:11



ปลาแป้นแก้วหวาน รสชาติหวานนิดเค็มหน่อย อร่อยสุดๆ กินกับข้าวสวยหรือข้าวต้มร้อนๆ หรือจะกินเป็นแกล้มแสนอร่อยก็ได้


ปลาแป้นแก้วทะเลหวาน - วิธีการทอด

ปลาแป้นแก้ว (Asiatic glassfish) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง"  เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii)






แป้นแก้วทะเลหวาน ปลาตัวเล็กและใส่น้ำตาลให้มีรสชาติหวาน เห็นว่าทอดยาก ปลายังไม่ทันจะสุกดี ก็มักจะไหม้และมีรสขม
จึงได้ขอคำแนะนำการทอดจากผู้ขายในตลาดสดบ้านเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง   ผู้ขายให้ตั้งน้ำมันจนร้อน แล้วปิดแก๊ส
จากนั้นใส่ปลาแป้นแก้วลงไปทอดจนปลาสุกทั่วกัน  ถ้าเห็นว่าปลายังไม่สุกให้เปิดเตาแก๊สทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนสุด
จนปลากรอบ มีสีเหลืองสวยน่ากิน




ปลาแป้นแก้ว (น้ำจืด) มีขนาดประมาณ 3-6 เซนติเมตร ลำตัวรูปทรงสี่เหลี่ยม และแบนข้างมาก หัวและตาโต
ตัวใสจนเห็นโครงกระดูก ท้องมีสีเงินวาวหรือสีขาว เหนือครีบอกมีแต้มสีคล้ำ ครีบใสและมีขอบสีคล้ำ ลำตัวแบน
ข้างมาก หัวโต ตาโต  มีเกล็ดเล็กรูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยม  ตัวใสจนเห็นโครงกระดูกในปลาเป็น  แต่ส่วนท้อง
มีสีเงินวาวหรือสีขาว ครีบใสมีขอบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่สุด 6 เซนติเมตร พบทั่วไป 3-4 เซนติเมตร
ที่มาข้อมูล-ภาพประกอบ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
12  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / จิงโจ้ สัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2567 12:48:34

จิงโจ้ วางท่าสงบเสงี่ยม ชูคอขอขนมปังที่ริมระเบียงห้องพัก ในประเทศออสเตรเลีย
ดินแดนที่มีธรรมชาติสวยงาม อากาศดี น่าอยู่




จิงโจ้
สัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย

จิงโจ้ เป็นสัตว์กินพืชเป็นหลัก เช่น หญ้า และกินแมลงบางชนิดเพื่อเพิ่มโปรตีนให้กล้ามเนื้อด้วย   จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง คลาสสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย

คำว่าจิงโจ้ในภาษาไทย ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของศัพท์คำนี้ แต่ในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "kangaroo" (แคง-กา-รู) นั้นมีที่มาจาก เมื่อชาวตะวันตกค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก ได้พบเห็นจิงโจ้กระโดดไปมามากมาย และมีขน ด้วยไม่รู้ว่าคือสัตว์อะไร จึงถามชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียด้วยภาษาของตน แต่ชาวอะบอริจินส์รับฟังไม่ออก จึงกล่าวว่า "Kangaroo" ซึ่งแปลว่า "ฉันไม่เข้าใจ" อันเป็นที่มาของชื่อสามัญของจิงโจ้ในภาษาอังกฤษ

จิงโจ้มีหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์, หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า "แมคโครพอด" (Macropod) ที่หมายถึง "ตีนใหญ่" แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน (แต่โดยปกติแล้ว จิงโจ้จะหมายถึงแมคโครพอดที่อยู่ในสกุล Macropus) คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกระโดด

วิวัฒนาการของจิงโจ้ : เมื่อกว่า ๔๕ ล้านปีก่อนมาจากสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างคล้ายหนู ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังอาศัยอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เรียกว่า "จิงโจ้หนูวูยลีย์" แม้ไม่สามารถกระโดดได้ แต่ก็มีขาหลังที่ใหญ่ และสามารถนั่งพักบนหางตัวเองได้เหมือนเช่นจิงโจ้ในปัจจุบัน

ต่อมา ๗ ล้านปีก่อน วอลลาบี หรือจิงโจ้แคระก็ได้กำเนิดขึ้นมา ซึ่งบางชนิดก็ได้วิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมแก่การปีนป่ายอาศัยอยู่ตามโขดหินผาต่างๆ และ ๕ ล้านปีต่อมา จิงโจ้สีเทา นับเป็นจิงโจ้ชนิดแรกที่ถือกำเนิดขึ้นมา และ ๑ ล้านปีต่อมา จิงโจ้แดง ซึ่งเป็นจิงโจ้และสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องชนิดที่ใหญ่ที่สุดก็ถือกำเนิดขึ้นมา

การขยายพันธุ์ของจิงโจ้ : เป็นการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยน้ำนม โดนการตั้งท้องประมาณ ๓๐-๔๕ วัน หลังจากนั้น ตัวอ่อนที่ยังไม่มีขนจะคลานมาจนถึงกระเป๋าหน้าท้องแล้วเลี้ยงตัวเองด้วยน้ำนมจนโตประมาณ ๑ ปี ถึงจะออกจากกระเป๋าหน้าท้อง

แม้จะมีลูกได้ครั้งละ ๑ ตัว แต่จิงโจ้สามารถที่จะมีลูกได้มากกว่า ๑ ตัว ในถุงหน้าท้อง โดยลูกจิงโจ้แต่ละตัวจะมีขนาดไม่เท่ากัน เพราะเกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งมีตัวอ่อนในตัวของแม่จิงโจ้ ขณะที่ลูกจิงโจ้แรกคลอดยังคงคลานไปดูดนมอยู่ก็มี จิงโจ้จะมีเต้านมทั้งหมด ๔ เต้า ๒ เต้าแรกมีความยาวไว้สำหรับลูกจิงโจ้วัยอ่อนใช้ดูดกิน น้ำนมในส่วนนี้ มีคาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันต่ำ ขณะที่อีก ๒ เต้าจะมีขนาดสั้น ไว้สำหรับลูกจิงโจ้ที่โตแล้วดูดกิน มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันสูง ขณะที่แม่จิงโจ้มีลูกวัยอ่อน ตัวอ่อนที่ยังไม่คลอดออกมา จะหยุดพัฒนาการเพื่อรอให้ลูกจิงโจ้วัยอ่อนนั้นเติบโตขึ้นมา แล้วจึงมาแทนที่ จิงโจ้จึงเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์และแพร่ขยายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ขณะที่ลูกจิงโจ้โตพอที่จะออกมาอยู่ข้างนอกได้แล้ว และในถุงหน้าท้องมีลูกจิงโจ้อีกตัวที่ยังอาศัยอยู่ แม่จิงโจ้จะไล่ให้ลูกตัวที่โตกว่าไม่ให้เข้ามา อาจจะให้แค่โผล่หัวเข้าไปดูดนม ซึ่งเวลานี้ลูกจิงโจ้ก็ถึงวัยจะที่กินหญ้าเองได้แล้ว แต่ก็มีถึงร้อยละ ๘๐ ที่ลูกจิงโจ้จะตายลงเมื่ออายุได้ ๒ ปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง














ขอขอบคุณ "วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี" - ที่มาข้อมูล
850
13  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: กฎ ว่าด้วยการเรียกสินไหมพินัยคดีความ : พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2567 16:56:17


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

กฎ ว่าด้วยการเรียกสินไหมพินัยคดีความ

​กฎให้แก่พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ เจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ ผู้บรรดาได้พิจารณาความทั้งปวงจงทั่ว ด้วยมีพระราชกำหนดกฎหมายไปไว้สำหรับหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ฝ่ายเหนือ ปักษ์ใต้ และแขวงจังหวัดดีทั้ง ๔ แต่ก่อนว่าราษฎรมีอรรถคดีมาร้องฟ้องหากล่าวโทษแก่กันด้วยเนื้อความข้อใด ๆ ก็ดี และตุลาการพิจารณาเปนสัจว่าฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลย แพ้ข้างหนึ่งก็ดี และแต่เกาะตัวคู่ความมาถึงตุลาการ และฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยปรองดองยอมกันเสียมิว่าเนื้อความแก่กัน และช่วยกันผูกสินไหมพินัยก็ดี ​และยอมผูกสินไหมพินัยแต่ข้างเดียวก็ดี ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ และขุนแขวง หมื่นแขวง พันแขวง สิบ ร้อย อายัด และนายอำเภอทั้งปวงมิได้ปรับไหมเอาแต่ตามอำเภอใจเองหามิได้ ถ้าและเนื้อความแขวงจังหวัดดี ยอมบอกเรื่องราวเนื้อความซึ่งราษฎรร้องฟ้องยอมแก่กันนั้น ส่งเข้ามายังกรมพระนครบาล ๆ ส่งไปให้พระเกษม ๆ จึ่งปรับมาว่า เนื้อความราษฎรหากันเปนเนื้อความแต่เพียงนี้ ชอบจะลงเอาแต่เท่านั้นตามอัยการ ถ้าและเนื้อความหัวเมืองไซร้ และเนื้อความเมืองนนทบุรีให้ส่งไป กรมการเมืองธนบุรีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองธนบุรีให้ส่งไปให้กรมการเมืองนนทบุรีปรับ ถ้าเนื้อความเมืองสาครบุรีและเมืองสมุทปราการ เมืองพระประแดง ให้ส่งไปเมืองธนบุรีปรับ ถ้าเนื้อความเมืองแม่กลอง ให้ส่งไปให้กรมการเมืองราชบุรี ปรับ ถ้าเนื้อความเมืองราชบุรีส่งไปให้กรมการ​เมืองแม่กลองปรับ ถ้าเนื้อความเมืองสุพรรณบุรี ส่งไปให้กรมการเมืองนครชัยศรีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองนครชัยศรีส่งไปให้กรมการเมืองสุพรรณปรับ ถ้าเนื้อความเมืองสิงหบุรี ส่งไปให้กรมการเมืองสรรคบุรีปรับ ถ้าเนื้อความเมืองสรรคบุรีส่งไปให้กรมการเมืองสิงหบุรีปรับ ถ้าเนื้อความเมือง วิเศษชัยชาญ เมืองอ่างทอง ส่งไปให้กรมการเมืองลพบุรีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองลพบุรีส่งไปให้กรมการเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองอ่างทองปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองอินทบุรีส่งไปให้กรมการเมืองพรหมบุรีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองพรหมบุรีส่งไปให้กรมการเมืองอินทบุรีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองชัยนาทบุรีส่งไปให้กรมการเมืองอุทัยธานีปรับ ถ้าและเนื้อความเมืองอุทัยธานีส่งไปให้กรมการเมืองชัยนาทบุรีปรับ และย่อมอาศัยแก่กันฉนี้ ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ แขวงนายอำเภอ จะได้บังคับ​บัญชา ลงเอาเงินสินไหมพินัยแก่ราษฎรแต่อำเภอใจเองหามิได้ และราษฎรไพร่พลเมืองทั้งปวงจึ่งอยู่เย็นเปนสุข และสืบไปทุกวันนี้ ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ และขุนแขวง หมื่นแขวง และนายอำเภอทั้งปวง ละอย่างละธรรมเนียมแต่ก่อนเสีย และบังคับบัญชาลงเอาเงินสินไหมพินัยแก่ราษฎรแต่อำเภอใจเอง ถ้าและจะปรับด้วยพระราชกฤษฎีกาและพระธรรมนูญ บรรดาจะเสียเงินสินไหมพินัยแต่ ๒ ตำลึง ๓ ตำลึง ๔ ตำลึง ๕ ตำลึง กรมการและแขวงผู้เปนตุลาการลงเอาเงินชั่ง ๑๐ ตำลึงบ้าง ชั่งหนึ่งบ้าง ๑๕ ตำลึงบ้าง ๑๔ ตำลึงบ้าง และลางบางแต่เกาะมาถึงศาล แล้วมิได้พิจารณาเนื้อความไปให้สำเร็จ และล่อลวงโจทก์ จำเลย แต่ให้ยอมกัน แล้วจึ่งลงเอาเงินสินไหมพินัยตามอำเภอใจเอง และราษฎรจึ่งได้ความเดือดร้อนยากแค้นฉบฉายเสียด้วยเหตุนี้ ทุกบ้านทุกตาบลนั้น แต่นี้ไปเมื่อหน้าถ้าและราษฎร​จะมีอรรถคดีสิ่งใด ๆ จะมาร้องฟ้องแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ และแขวง นายอำเภอไซร้ อย่าให้โบยตีจำจองลงเอาเงินสินไหมพินัยแต่อำเภอใจเอง ถ้าและเนื้อความแขวงจังหวัดดีทั้ง ๔ ให้บอกเรื่องเนื้อความเข้ามายังกรมพระนครบาล ๆ ส่งไปให้พระเขษมปรับจงทุกคู่ ถ้าและเปนเนื้อความหัวเมืองไซร้ ให้ผลัดกันเอาไปเจรจาตามโบราณราชประเวณีแต่ก่อน และซึ่งเปนเนื้อความหัวเมืองระยะทางไกลกัน ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน ๕ คืนไซร้ จึ่งให้ว่ากล่าวกันแต่ในเมืองนั้นเอง แต่ให้ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง และ ขุนปลัด ขุนยกระบัตร และกรมการลุกนั่งพร้อมกัน จึ่งปรับด้วยพระราชกฤษฎีกาพระธรรมนูญ อนึ่งซึ่งตุลาการจะคุมเอาความราษฎรซึ่งแพ้และยอมกันนั้น ไปให้กรมการเมืองยื่นปรับไซร้ ให้เอาค่าปรับแต่หนึ่งบาทสองสลึง และค่าเชิงเดิรจะคุมไปนั้นแต่​สองสลึง และให้ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ และหัวเมือง และขุนแขวง หมื่นแขวง พันแขวง จังหวัดทั้งปวง ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายให้นี้จงทุกประการ อย่าให้ผู้ใดๆทำให้ผิดด้วยเนื้อความ ซึ่งมีมาในพระราชกำหนดกฎหมายนี้แต่ข้อใดข้อหนึ่งได้ ถ้าและผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ทำผิด ให้ขุนปลัด ขุนยกระบัตร บอกเนื้อความเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานคร ถ้าและขุนปลัด ขุนยกระบัตรและกรมการทำผิด ให้ผู้รักษาเมืองบอกเนื้อความเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานคร อย่าให้อำพรางกันไว้แต่ข้อใดข้อหนึ่งได้ ถ้าและผู้ใดรู้ว่าผู้นั้นทำผิดแล้วนิ่งเนื้อความเสียไซร้ จะเอาผู้นั้นเปนโทษจงหนักหนา และให้หมายบอกแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ แขวง นายอำเภอ กระทำตามกฎหมายนี้จงทุก ประการ ถ้าผู้ใดมิได้กระทำ ตามจะเอาตัวเปนโทษ ตามโทษานุโทษ

​กฏให้ไว้ณะวันศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๔ ปีขาล จัตวาศก. (พ.ศ.๒๒๖๕ รัชกาล สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)


----------------------------
14  สุขใจในธรรม / ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๓ ตักการิยชาดก : นางกาลีกับลูกชายเศรษฐี เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2567 16:52:25



พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๓ ตักการิยชาดก
นางกาลีกับลูกชายเศรษฐี

          ในกาลก่อน กรุงพาราณสีได้มีหญิงแพศยาคนหนึ่งนามว่า กาลี น้องชายของนางชื่อว่า ตุณฑิละ
          ตุณฑิละเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา ทั้งเป็นนักเลงเล่นการพนัน นางให้เงินเขา เขาก็เอาไปเล่นไปกินเสียหมด ถึงนางจะห้ามปรามเขาก็ไม่ฟัง วันหนึ่งเขาเล่นการพนันแพ้ ต้องจำนำผ้านุ่งจนต้องเอาเสื่อลำแพนนุ่งกลับบ้าน พวกสาวใช้นางต่างได้รับกำชับไว้ว่า เวลาตุณฑิละมาถึงไม่ต้องให้อะไร จับคอเขาไล่ออกไปเสีย พวกนั้นจึงพากันทำอย่างนั้น เขาไปยืนร้องไห้ใกล้ประตู ต่อมาลูกของเศรษฐีคนหนึ่งนำทรัพย์มาให้นางกาลี ครั้งละ ๑,๐๐๐ กหาปณะอยู่ประจำ เขาเห็นนายตุณฑิละก็ถามว่า “ตุณฑิละเอ๋ย ร้องไห้ทำไม”
          ตุณฑิละตอบว่า “นายจ๋า ผมแพ้การพนันครับ พวกสาวใช้เหล่านั้นมันพากันจับหักคอไล่ผมออกมา”
          เขาบอกว่า “ถ้าเช่นนั้นรอก่อน ฉันจะช่วยบอกพี่สาวของแกให้”
          แล้วก็ไปบอกนางว่า “น้องชายของเธอนุ่งเสื่อลำแพนยืนอยู่ที่ประตู ทำไมเธอถึงไม่ให้ผ้าผ่อนเขาบ้างล่ะ”
          นางตอบว่า “ฉันไม่ให้ล่ะ ถ้าคุณมีแก่ใจ คุณก็ให้เขาซิ”
          ก็ในเรือนของหญิงแพศยานั้นมีธรรมเนียมประพฤติติดต่อกันมาดังนี้ จากเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะ เป็นมูลค่าของผ้าของหอมและดอกไม้ ชายที่พากันมานุ่งห่มในเรือนนั้นอยู่ตลอดคืน รุ่งขึ้นเมื่อจะไปก็ผลัดผ้านั้นไว้ สวมใส่เสื้อผ้าที่ตนนำมานั้นกลับบ้าน เหตุนั้นลูกชายเศรษฐีจึงนำเสื้อผ้าในเรือนนั้นที่ตนสวมใส่แล้วให้นายตุณฑิละสวมใส่ต่อ  ฝ่ายนางกาลีก็สั่งพวกสาวใช้ไว้ว่า พรุ่งนี้เวลาลูกชายเศรษฐีคนนี้จะไป พวกเจ้าจงช่วยกันแย่งเอาไว้ ลูกชายเศรษฐีนั้นออกมาก็กรูกันเข้าไปราวกับจะปล้น ช่วยกันดึงเอาผ้าไว้เสีย จนเขาต้องเปลือยกายจึงปล่อยว่า ทีนี้ไปได้ละพ่อหนุ่ม เขาต้องเดินออกมาทั้งเปลือยๆ ฉะนั้นคนพากันยิ้มทั่ว เขาละอายรำพึงรำพันว่า “เราทำตัวเองให้เดือดร้อนแท้ๆ เรานั่นแหละไม่สามารถรักษาปากของตนได้
   

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“จงพูดแต่พอดีเถิด อย่าพูดเลยเถิด เพราะพูดเลยเถิดเกิดโทษมากมาย”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
มุตฺวา ตปติ ปาปกํ
คำพูดชั่วย่อมพาตัวเดือดร้อน (๒๗/๒๗)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดยธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม
15  สุขใจในธรรม / ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๒ มหิสชาดก : ลิงกับควาย เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2567 15:24:18



พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๒ มหิสชาดก
ลิงกับควาย

         ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระบืออยู่ในป่าหิมพานต์ พอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกำลังแรง มีร่างกายใหญ่ท่องเที่ยวไปตามป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสำราญแห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่ในโคนไม้นั้น ครั้งนั้นมีลิงโสนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นไปบนหลังของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหางแกว่งไปแกว่งมา กระบือมิได้ใส่ในอนาจารของลิงนั้น เพราะประกอบด้วยบขันติ เมตตา และความเอ็นดู
          ครั้นวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้นยืนอยู่ที่ลำต้นของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือนั้นว่า “พระยากระบือ เพราะเหตุไรท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่วตัวนี้ ท่านจงทำโทษมันเสีย” แล้วกล่าวต่ออีกว่า “เพราะเหตุใดท่านจึงอดกลั้นทุกข์ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตรประหนึ่งเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง ท่านจงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียบเสียด้วยเท้า ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะเบียดเบียนร่ำไป”
          กระบือได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า “ท่านรุกขเทวดา ถ้าเราเป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาล เป็นต้น จักไม่อดกลั้นโทษของลิงตัวนี้ไซร้ มโนรถความปรารถนาของเราจักถึงความสำเร็จได้อย่างไร ก็ลิงตัวนี้เมื่อสำคัญแม้ผู้อื่นว่าเหมือนตัวเราจักกระทำอนาจารอย่างนี้ แต่นั้นมันจักกระทำอย่างนี้แก่กระบือดุร้ายเหล่าใด กระบือร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้น เราจักพ้นจากทุกข์และปาณาติบาต”
          ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน กระบือได้ไปอยู่ในที่อื่น กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนต้นนั้น ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุตัวนั้น สำคัญว่ากระบือตัวนี้ก็คือกระบือตัวนั้นแหละ แล้วกระทำอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ ทันใดกระบือตัวนั้นสลัดลิงนั้นให้ตกลงบนพื้นดิน เอาเขาขวิดหัวใจ เอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบให้ละเอียดเป็นจุณ
 

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งไม่พอใจ ทำให้ไม่ต้องสร้างเวรภัยให้เกิด”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ขนฺติ  หิตสุขาวหา
ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข (ส.ม.)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดย ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม
16  สุขใจในธรรม / ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๑ สุวรรณมิคชาดก : เนื้อติดบ่วงนายพราน เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2567 15:23:20



พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๘๑ สุวรรณมิคชาดก
เนื้อติดบ่วงนายพราน

          ในสมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี มีพญาเนื้อตัวหนึ่งรูปร่างสวยงามนัก มีนางเนื้อสาวเป็นภรรยารูปร่างงามเช่นกัน ทั้ง ๒ มีบริวารที่อยู่ในปกครองนับ ๑๐,๐๐๐ ตัว
          อยู่มาวันหนึ่งพญาเนื้อเดินไปติดบ่วงของนายพราน พยายามดิ้นรนเท่าไหร่ก็ไม่หลุด ยิ่งดิ้นก็ยิ่งเข้าลึกจนถึงเอ็น ในที่สุดก็เข้าไปถึงกระดูก จนส่งเสียงให้บริวารรู้ว่าตนติดบ่วง หมู่เนื้อได้ยินเสียงร้องก็พากันหนีไป นางเนื้อไม่เห็นพญาเนื้อตามมาด้วย ก็คิดว่าผู้ที่ส่งเสียงร้องน่าจะเป็นพญาเนื้อ จึงรีบวิ่งไปหาน้ำตานองหน้า และกล่าวปลอบโยนว่าจะให้ความช่วยเหลือจะขอร้องให้นายพรานปล่อยตัวไปให้ได้
          ดังนั้น เมื่อนางมาถึง ก็อ้อนวอนขอให้นายพรานปล่อยตัวพญาเนื้อไป เพราะมีหน้าที่ดูแลบริวารนับ ๑๐,๐๐๐ ตัว ให้จับตนเองไปฆ่าแทน นายพรานฟังคำอ้อนวอนของเนื้อสาวก็รู้สึกสลดใจ สำนึกว่าแม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ยังกล้าเสียสละชีวิตให้แก่กันได้ เราเป็นมนุษย์แท้ๆ กลับไร้จิตสำนึก จึงยอมปล่อยตัวพญาเนื้อให้กลับไปโดยสวัสดิภาพ พร้อมอวยพรให้มีความสุขในชีวิตคู่ ก่อนจะจากไปพญาเนื้อได้ตอบแทนนายพรานด้วยแก้วมณี ๑ ดวง ให้นายพรานนำแก้วมณีดวงนี้ไปสร้างเนื้อสร้างตัว และเลิกการเป็นนายพรานต่อไป
   

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“คู่รักที่จะเสียสละชึวิตให้แก่กันได้ หายาก”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
สุทุลฺลภิตฺถี ปุริสสฺ ยา หิตา
ภตฺติตฺถิยา  ทุลฺลโภ  โย  หิโต  จ ฯ

ภรรยาที่คอยช่วยเหลือสามี หาได้ยาก
สามีคอยช่วยเหลือภรรยา ก็หาได้ยาก (๒๗/๒๙๓๔)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดย ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม
17  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2567 15:05:08


พระราชกำหนดเก่า ครั้งกรุงศรีอยุธยา

คำนำ

หนังสือที่พิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้เป็นพระราชกำหนดเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยา ในรัชชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระบ้าง ในรัชชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์บ้าง ในรัชชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทรบ้าง ต้นฉะบับเป็นสมุดไทยเขียนตัวรง มีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ ราชบัณฑิตยสภาได้นำพระราชกำหนดเช่นนี้ออกพิมพ์ฉะบับ ๑ ใน พ.ศ.๒๔๖๙ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีผู้อ่านและใส่ใจมากนัก จนเมื่อสองสามเดือนนี้มีฝรั่งนาย ๑ สืบความรู้ในเรื่องตำนานการปกครองเมืองไทย เพื่อจะเอาไปเรียบเรียงพิมพ์เป็นสมุดในภาษาอังกฤษ พบสมุดที่ราชบัณฑิตยสภาพิมพ์นั้น อ่านไม่เข้าใจเพราะเป็นภาษาครั้งกรุงเก่า จึงนำไปขออ่านกับข้าพเจ้าที่บ้าน ข้าพเจ้าช่วยอ่านและแปลบางตอนที่เข้าใจยาก เห็นว่าหนังสือนั้นทำให้เกิดความใคร่รู้ถ้อยคำที่ใช้ในสมัยก่อนแปลกไปจากที่ใช้ในสมัยนี้ นอกจากที่เป็นประโยชน์ส่อให้เห็นทางการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังมีประโยชน์แก่ผู้ศึกษาภาษาไทยด้วย เหตุดังนี้จึงได้ให้ค้นต้นฉะบับพระราชกำหนดเช่นเดียวกันที่มีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ และยังมิได้เคยนำออกพิมพ์ รวมได้ใหม่ในคราวนี้ ๑๐ ฉะบับ และรวมฉะบับที่เคยพิมพ์แล้วเข้าอีก ๑ จึงเป็น ๑๑ ฉะบับด้วยกัน การพิมพ์คราวนี้ พิมพ์ถ้อยคำตามต้นฉะบับทั้งนั้น แต่มิได้คงตัวสะกดไว้ตามเดิมทั้งหมด เพราะฉะบับเดิมเป็นลายมือเสมียนฝีมือดีก็จริงอยู่ แต่ไม่ใช่คนรู้หนังสือ คำคำเดียวเขียนไว้แปลกๆกันมีเป็นอันมาก ที่กล่าวนี้เป็นแต่เพียงถ้อยคำที่อ่านเข้าใจในเวลานี้ แต่มีคำเป็นหลายคำซึ่งอ่านไม่เข้าใจ เป็นต้นว่าในหน้า ๑๒ บันทัด ๓ มีคำว่า “อย่าให้ลงลออยู่ได้” และในหน้า ๒๔ บันทัดที่ ๖ มีคำว่า “ให้ทำแต่ในรัจสำหรับเมืองนั้นก่อน” ฉะนี้ ยังไม่เข้าใจว่า ลงลอ และ รัจ นั้นหมายความว่ากะไร จึงคงตัวสะกดไว้ตามฉะบับเดิม สำหรับจะได้สอบคนหรือสันนิษฐานกันต่อไป

เมื่อได้คัดต้นฉะบับเตรียมตามที่กล่าวมานี้แล้ว พระยาโทณวณิกมนตรี มาแจ้งความว่า ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระศิลปานุจิตรการ (ฉัตร อินทรเสน) ในเดือนมิถุนายนนี้ เจ้าภาพมอบให้พระยาโทณวณิกมนตรี มาขอหนังสือไปพิมพ์แจก ได้ให้พระยาโทณวณิกมนตรีดูต้นฉะบับที่เตรียมไว้ ก็เห็นว่าเป็นหนังสือควรพิมพ์ไว้โดยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงรับพิมพ์หนังสือนี้ในงานศพครั้งนี้

กรรมการราชบัณฑิตยสภาขออนุโมทนาในกุศลจิตต์ ซึ่งเจ้าภาพงานศพพระศิลปานุจิตรการได้บำเพ็ญเป็นปฏิการฉลองคุณผู้เป็นบุรพการี ขอวิบากสุขจงสำเร็จแก่ผู้ถึงมรณะตามสมควรแก่คติอุปบัตินั้น ๆ เทอญ


                             
                              นายกราชบัณฑิตยสภา
                              วันที่ ๑๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๖

กฎ เรื่องร้องฟ้องความซับซ้อนกันหลายศาล

​กฏให้แก่พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ตุลาการและกรมมหาดไทย กลาโหม และกรมเมือง วัง คลัง และตำรวจ ทหารใน และสนมซ้าย ขวา มหาดเล็กชาวที่ นครบาล ขุนโรง ขุนศาล ผู้บรรดาเปนตุลาการได้พิจารณาความทุกหมู่ทุกกรม ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าราษฎรทั้งปวงมีอรรถคดี ทำหนังสือร้องฟ้องหาความแก่กันณะโรงศาล สมภักนักการกรมใด ๆ เนื้อความเปนอาชญานครบาล ครั้นขุนโรงขุนศาลสมภักนักการผู้นั้นรับเอาหนังสือฟ้องแล้ว เอาว่ากล่าวบัตรหมายไปให้มูลนายอาณาประชาบาลข้างหนึ่งให้ส่งข้างจำเลยมาพิจารณาตามกระทรวง ​และครั้นตุลาการได้ตัวมาไถ่ถามสืบไป และเนื้อความพิรุธข้างหนึ่งเห็นจะแพ้ในสำนวนไซร้ คู่ความข้างหนึ่งด้วยมีเงินทอง ข้างหนึ่งยากแค้นหาเงินจะเสียค่าฤชาตุลาการมิได้ ก็ให้ตุลาการพิจารณาแต่ศาลเดียวตามเนื้อความกว่าจะสำเร็จ และข้างหนึ่งด้วยมีเงินทองเห็นเนื้อความตัวเพลี่ยงพล้ำพิรุธจะแพ้แก่ข้างหนึ่ง แล้วคิดอ่านเอาเท็จเปนจริงไปร้องฟ้องณะโรงศาลอื่น กล่าวโทษหาอุทธรณ์อาชญาแก่ตุลาการว่ากลบเกลื่อนเนื้อความเสียบ้าง และเขียนเอาแต่ชอบใจบ้าง และดัดสำนวนหัวข้อความเสียบ้าง พาโลว่าตุลาการโบยตีทำข่มเหงบ้าง และว่าเนื้อความตุลาการถามผู้นั้นมีผู้มาเสี้ยมสอนฝ่ายโจทก์ จำเลย เขียนเอาบ้าง คดีจะให้สำนวนยืดยาวค้างเกินไป และขุนโรง ขุนศาล สมภักนักการกรมอื่น นอกตุลาการเก่า ผู้จะรับหนังสือร้องฟ้องนั้น คิดว่าเปนกระทรวงของตัว กรมนั้นได้พิจารณา​ตามพระธรรมนูญ และกฎหมายแต่ก่อนแล้ว จึ่งรับเอาหนังสือร้องฟ้องผู้นั้นว่ากล่าวบัตรหมายเอาเอง ให้ส่งตุลาการเก่า และให้เบิกเอาสำนวนคู่ความมาพิจารณาตามเนื้อความข้างหนึ่ง คิดว่ามีเงินทองพอจะเสียหายได้แก่สมภักนักการ แล้วไปทำฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวายกล่าวโทษตุลาการเก่า และเบิกเอาแต่คู่ความไปให้ตุลาการใหม่ผู้ได้รับสั่งพิจารณาให้ถาม ครั้นตุลาการใหม่ถามลูกความเสียค่าฤชาตุลาการซ้ำทวีขึ้นไปมากกว่าค่าฤชาณะโรงศาล คู่ความซึ่งเปนคนยากนั้นยอมเสียค่าฤชาซ้ำสองต่อสามต่อแก่ตุลาการใหม่ เสียซ้ำทวีขึ้นไปกว่าตุลาการเก่าอีกเล่า กว่าตุลาการใหม่จะพิจารณาให้เห็นเท็จจริง คู่ความได้ความยากแค้นเดือดร้อนหนักหนา และแต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าราษฎรผู้มีอรรถคดีร้องฟ้องว่ากล่าวแก่กันณะโรงศาล และสมภักนักการกรมใดๆและตุลาการณะโรงศาลสมภัก​นักการจะรับหนังสือร้องฟ้องราษฎรผู้นั้นว่ากล่าวตามกระทรวง ตามกฎหมายแต่ก่อนไซร้ ให้ตุลาการณะโรงศาลสมภักนักการได้พิจารณาเรียกทัณฑ์บล ฝ่ายโจทก์ จำเลย ไว้จงมั่นคงแล้วจึ่งให้ถามตามหนังสือร้องฟ้องแต่โดยยศ โดยธรรม แต่ตามสัจ ตามจริง อย่าให้กลับเอาจริงเปนเท็จ เอาความข้อแพ้กลับขึ้นเปนชนะ เอาความแพ้กลับขึ้นเปนเสมอบ้าง แต่ข้อหนึ่งกระทงหนึ่งได้ ถ้าและตุลาการณะโรงศาล สมภักนักการกรมนั้นได้พิจารณาไต่ถามตามหนังสือร้องฟ้องข้อใดกระทงใด โจทก์ จำเลย มิรับกัน และเนื้อความถึงพะยานข้อใดกระทงใด จำเลยรับแล้วให้การเปนประการใด แต่ตามข้อรับไซร้ ก็ให้ตุลาการผู้ไต่ถามเขียนเอาแต่ถ้อยคำโจทก์ จำเลย ให้มั่นคง แต่ตามสัจตามจริงอย่าให้เห็นแก่ฝ่ายโจทก์ จำเลยข้อหนึ่งกระทงหนึ่งได้ เมื่อคัดเนื้อความในสำนวนอ่านให้โจทก์​จำเลย ฟัง ถ้าโจทก์ จำเลย ว่าชอบด้วยถ้อยคำแล้ว ให้บันทึกศุภมาศวันคืนผู้มาลุกนั่งว่าอ่านให้ฟังรู้ได้ยินนั้นไว้ในถ้อยคำสำนวนให้มั่นคง และให้ผูกสำนวนถ้าหาตรามิได้ให้หยิกเล็บไว้เปนสำคัญคู่มือฉบับหนึ่ง ถ้าและโจทก์ จำเลยติดใจแก่ตุลาการ ไปร้องฟ้องณโรงศาลอื่นหาอุทธรณ์อาชญา กล่าวโทษตุลาการว่าเห็นแก่สินจ้างสินบล เห็นแก่ข้างหนึ่งและกลบเกลื่อนเนื้อความเสียบ้าง และเขียนเอาแต่ชอบใจบ้าง และลบสำนวนเสีย คัดสำนวนมิสิ้นของเนื้อความบ้าง และเมื่อถามมีผู้มาเสี้ยมสอนบ้าง เขียนเอาไซร้ อย่าเพ่อให้ตุลาการใหม่เบิกเอาสำนวนคู่ความมา ให้บัตรหมายโฉนดฎีกาไปให้สั่งแต่ตุลาการ และสมภักนักการผู้ได้ไต่ถามเก่า มาให้ตุลาการใหม่ถามตามอาชญาอุทธรณ์แก่ตุลาการเก่านั้นก่อน เมื่อตุลาการจะถามนั้นให้เรียกเอาทัณฑ์บลแก่คู่ความผู้โจทก์ และตุลาการ​เก่า ซึ่งต้องอาชญาอุทธรณ์เปนจำเลยนั้นให้มั่นคงก่อนจึ่งให้ถาม ครั้นตุลาการใหม่ถามตุลาการเก่าตามข้อหาอุทธรณ์ ซึ่งคู่ความติดใจตุลาการแต่ข้อหนึ่งสองข้อสามข้อจนถึงเก้าข้อสิบข้อนั้นตามเรื่องราว ถ้าพิจารณาเปนสัจว่าตุลาการเก่าทำล้ำเหลือเข้าด้วยฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลย พิจารณามิเปนยศเปนธรรม และตุลาการเก่าแพ้แต่ข้อหนึ่งไซร้ และ เนื้อความซึ่งหาอุทธรณ์แก่ตุลาการเก่าสี่ข้อห้าข้อนั้น มิได้ติดพันธ์พระราชทรัพย์ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงหามิได้ไซร้ ก็ให้ตุลาการใหม่เอาเนื้อความเจรจาด้วยลูกขุนณะศาลหลวง ให้ลูกขุนณะศาลหลวงเอาเนื้อความเปนแพ้ด้วยให้สิ้นจงทุกข้อ แล้วให้เอาบรรดาศักดิตุลาการผู้สูงมาผู้เดียว ตั้งปรับไหมเอาตุลาการเก่าตามอัยการพระธรรมนูญ และให้ใช้ทุนค่าฤชาผู้ชนะให้สิ้นเชิง และคู่ความเดิมซึ่งหาแก่กันอยู่ตุลาการเท่านั้น ถ้าเปนกระทรวง​แพ่ง และฝ่ายจำเลยนั้นเปนกรมฝ่ายนอก ให้ส่งไปแพ่งเขษมพิจารณา ถ้าและตุลาการแพ่งเขษมแพ่งวัง เปนตุลาการเก่าต้องในอุทธรณ์อาชญาแล้ว ให้ส่งไปให้แพ่งคลังพิจารณาเอาพินัยจ่ายหญ้าช้างหลวงตามพระธรรมนูญ ถ้าและศาลราษฎร์ได้พิจารณา เปนความอุทธรณ์อาชญาเปนตุลาการเก่า ให้ส่งไปศาลอาชญาประชาเสพพิจารณา ถ้าศาลประชาเสพเปนตุลาการเก่าให้ส่งไปศาลราษฎร์พิจารณา ถ้าและเนื้อความเดิมหาความศาลขุนบุรินทร ก็ให้ส่งให้ศาลนครบาล วังเปนตุลาการเบิกเอาสำนวนและคู่ความไปพิจารณาไถ่ถามตามสัจตามจริง เอาพินัยจ่ายราชการ และซึ่งตุลาการใหม่เอาตุลาการเก่ามาพิจารณาไถ่ถามตามข้อเนื้อความซึ่งโจทก์หาอุทธรณ์นั้น ถ้าและโจทก์หาตุลาการเก่า แพ้ตุลาการเก่าไซร้ ให้ตุลาการใหม่ซักไซ้ไต่ถามคู่ความผู้เปนโจทก์นั้นให้แจ้งเนื้อความออกว่า ​ผู้นั้นเอาเท็จสับปลับมาหาตุลาการเก่ามั่นคงจริง ๆ ไซร้ ให้คู่ความซึ่งตุลาการใหม่ยังมิได้เบิกมานั้น คงอยู่แก่ตุลาการเก่าณศาลกรมนั้น จึงให้ตุลาการเก่าเอาเนื้อความซึ่งหาแก่กันมิได้เปนข้อพระราชทรัพย์ของหลวง ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงนั้นเปนแพ้ด้วยให้สิ้น แล้วให้ใช้ทุนโจทก์ผู้ชนะ แล้วให้ปรับไหมเอาผู้แพ้ตามรูปความซึ่งหาแก่กันณตุลาการเก่าตามอัยการ ถ้าเนื้อความผู้หาผู้แพ้ติดพันธ์พระราชทรัพย์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงให้ตุลาการผู้ได้พิจารณาเนื้อความนั้น คัดเอาเนื้อความจำเภาะข้อพระราชทรัพย์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงนั้น ว่าแก่ลูกขุนณศาลหลวง ลูกขุนณศาลหลวงพิพากษาประการใดจึ่งให้กระทำตาม ถ้าและลูกความติดใจตุลาการณโรงศาล สมภักนักการมิร้องฟ้องตามกระทรวง ตามพระธรรมนูญ และไปทำฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวายกล่าวโทษตุลาการ ​ณ โรงศาล สมภักนักการซึ่งได้พิจารณาเนื้อความข้อหนึ่งสองข้อสามข้อจนถึงเก้าข้อสิบข้อ ดุจหนึ่งกล่าวโทษตุลาการเก่าว่ามาแต่ภายหลังนั้น ครั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เอาตุลาการเก่ามาพิจารณาไถ่ถามไซร้ ถ้าตุลาการเปนขุนโรงขุนศาล หรือเจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่นผู้บรรดาขอเฝ้าฝ่าลออง ฯ ก็ให้คัดเอาข้อสำนวนเก่านั้นออกให้แจ้งแล้วให้กราบทูลพระกรุณา ฯ ให้แจ้งฝ่าลออง ฯ ถ้าและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ประการใด จึงให้กระทำตาม ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตุลาการใหม่เอาตุลาการเก่าไปพิจารณาไถ่ถามตามข้อเนื้อความ ซึ่งคู่ความทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายไซร้ จึ่งให้ตุลาการใหม่ทำตาม ถ้าและตุลาการใหม่ผู้ถามนั้น พิจารณาไถ่ถามเปนสัจว่าตุลาการเก่าพิจารณาไถ่ถามมิเปนสัจ มิเปนยศเปนธรรม และเข้าด้วยฝ่ายโจทก์ จำเลย จริงแท้ไซร้ ก็ให้​ตุลาการใหม่เอาสำนวนกราบทูลพระกรุณา ฯ ถ้าทรงโปรดเกล้าประการใดไซร้ จึ่งให้ตุลาการใหม่ทำตาม ถ้าเนื้อความเปนแพ่ง อาชญา อุทธรณ์ นครบาล จะได้ว่าณโรงศาล สมภักนักการตามพระธรรมนูญ แต่ความหากล่าวโทษตุลาการเอาเนื้อความไปทำฎีกาทดเกล้า ฯ ถวาย และตุลาการไถ่ถามเปนสัจว่าตุลาการเก่าแพ้ไซร้ ให้เอาบรรดาศักดิผู้สูงนา ทั้งปรับไหมเอาตุลาการตามอัยการ และให้ใช้ทุนค่าฤชาผู้ชนะให้สิ้น และความนั้นให้ส่งไปศาลอื่นตามกระทรวงพระธรรมนูญได้พิจารณาให้แล้วจงฉับพลัน ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าและตุลาการใหม่ถามตุลาการเก่าตามเรื่องราวเนื้อความอุทธรณ์อาชญาและโจทก์ทำฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวายแพ้แก่ตุลาการไซร้ ให้ลงพระราชอาชญาโจทก์ผู้แพ้ตามโทษานุโทษ ให้เอาเนื้อความเดิมหาที่ตุลาการเก่า และมิได้มีเนื้อความติดพันธ์พระราชทรัพย์ ​ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงเปนแพ้ด้วยให้สิ้นจงทุกข้อ ถ้าและเนื้อความในฟ้องซึ่งตุลาการเก่าพิจารณานั้นติดพันธ์พระราชทรัพย์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของหลวงไซร้ ให้ตุลาการใหม่คัดข้อเนื้อความกราบทูลพระกรุณาแล้วแต่จะโปรด ถ้าและตุลาการใหม่พิจารณาเห็นแก่สินจ้างสินบลพิจารณามิเปนยศเปนธรรม เข้าด้วยฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลย มีผู้ร้องฟ้องว่ากล่าวเปนประการใด จะเอาตุลาการใหม่เปนโทษโดยโทษานุโทษ และตุลาการณโรงศาล และสมภักนักการกรมใด ๆ พิจารณาสืบไปก็ให้เอากฎอ่านประกาศให้ผู้บรรดาพิจารณาความฟังจงทั่ว และเรียกเอาทัณฑ์บลไว้ทั้งฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยไว้จงมั่นคงจึ่งพิจารณาไต่ถามสืบไปตามเรื่องราวโจทก์หาแก่กัน และให้พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ตุลาการผู้ได้พิจารณาเนื้อความทุกกรมจงทั่วพระราชวังหลวง พระราชวังหน้า และหมาย​บอกแก่พระ หลวง เจ้าราชนิกูล ขุนหมื่น พัน ทนาย ให้บอกแก่บ่าวไพร่สมัครพรรคพวก สมกำลังให้ลอกเอากฎนี้ไว้จงทุกหมู่ ทุกกรม อย่าให้ลงลออยู่ได้ ถ้าและบอกมิทั่วจะเอาตัวผู้บอกนั้นเปนโทษจงหนัก ถ้าบอกทั่วแล้วและผู้ใดมิได้กระทำตามกฎ จะเอาผู้นั้นเปนโทษจงหนัก

กฏให้ไว้ณะวันอังคาร เดือน ๘ ทุติยาสาฒแรม ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๒ ปีชวดโทศก. (พ.ศ.๒๒๖๓ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)


----------------------------
18  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / เค้กเนยสด (แบบครีมมิ่ง) หอม นุ่ม ชุ่มฉ่ำเนย : สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2567 17:17:29

เค้กเนยสด หอม นุ่ม ชุ่มฉ่ำเนย : ต้นทุนค่อนข้างมาก เพราะใช้เนยสดแท้ ซึ่งมีราคาสูง



เค้กเนยสด (แบบครีมมิ่ง)

ส่วนผสม
แป้งเค้ก 270 กรัม
เนยสดชนิดเค็ม         240 กรัม
ผงฟู 1+½ ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น ¼ ช้อนชา
ไข่ไก่ เบอร์ 1 6 ฟอง
น้ำตาลทรายละเอียด 1+½ ถ้วยตวง
วานิลลา 1+½ ช้อนชา


วิธีทำ
1. ร่อนแป้งเค้ก ผงฟู และเกลือเข้าด้วยกัน
2. ผสมกลิ่นวานิลลากับนมสด คนให้เข้ากัน พักไว้
3. ตีเนยสดกับน้ำตาลทรายจนขึ้นฟูขาวนวล (ใช้ความเร็วปานกลางของเครื่อง)
4. ใส่ไข่ไก่ทีละฟอง ตีพอเข้ากัน แล้วใส่ไข่ฟองต่อไป จนหมดไข่
5 เติมแป้งสลับกับนมสดจนส่วนผสมเข้ากันดี
6. เทใส่พิมพ์ฺเค้กเนยสดที่ทาเนยขาวรองกระดาษไข ประมาณ 3/4 ของพิมพ์
7. นำเข้าอบไฟ 180 ํc ประมาณ 30-40 นาที หรือจนสุก นำขนมออกจากพิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็น จึงตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ



ตีเนยสดกับน้ำตาลทราย(ใช้ความเร็วปานกลางของเครื่อง)


ตีจนส่วนผสมขึ้นฟู สีออกขาวนวลๆ


ใส่ไข่ไก่ทีละฟอง


ตีพอเข้ากัน แล้วใส่ไข่ฟองต่อไป จนหมดไข่


เติมแป้งสลับกับนมสดจนส่วนผสมเข้ากันดี




เทใส่พิมพ์ฺเค้กเนยสดที่ทาเนยขาวรองกระดาษไข ประมาณ 3/4 ของพิมพ์


นำเข้าอบไฟ 180 ํc ประมาณ 30-40 นาที หรือจนสุก


พิมพ์เล็ก ขนมสุกก่อนพิมพ์ใหญ่  นำออกจากเตาอบ แล้วคว่ำขนมลงที่ตะแกรง


ลอกกระดาษไขรองขนมออก


หงายชิ้นขนมในตะแกรง พักให้เย็น






หั่นชิ้นตามขวาง ใส่ถุงพลาสติกใสแช่เย็นไว้รับประทานกับน้ำชา/กาแฟ

เค้กเนยสด เป็นเค้กที่มีส่วนผสมหลัก ได้แก่ เนยสด แป้ง น้ำตาล และไข่ไก่  
เป็นเค้กที่มีเนื้อนุ่ม ฉ่ำเนย รสชาติกลมกล่อม หอมเนยสด ซึ่งใช้เนยในปริมาณค่อนข้างมาก
เค้กสูตรนี้ขึ้นฟูด้วยการตีเนยกับน้ำตาล เพื่อเก็บอากาศลงไปในเนยสด จากนั้นใส่ไข่ไก่
ลงไปตีทีละฟอง จนส่วนผสมเนียนมีลักษณะเป็นครีมข้น ตามด้วยการค่อยๆใส่
ส่วนผสมของแห้งและเหลวสลับกัน ซึ่งได้แก่แป้งที่ร่อนไว้แล้วและนมสดผสมวานิลลา
ดังนั้น ขั้นตอนการผสมแป้งจึงต้องทำอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้สูญเสียอากาศภายในส่วนผสม


19  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / วัดนอกปากทะเล (ชม วิหารเรือสำเภา) ต.ปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2567 18:17:14


เรือเภตรานิพพานัง วิหารเรือสำเภาขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านหันหน้าสู่ทะเล ศรัทธาน่าเลื่อมใส อดไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปสักการะ
วิหารนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘ แล้วเสร็จปี พ.ศ.๒๕๖๑ (ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปี งบประมาณก่อสร้างประมาณ ๒๑ ล้านบาท)



วัดนอกปากทะเล
ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

วัดนอกปากทะเล ตั้งอยู่ที่ถนนเส้นบ้านแหลม – หาดเจ้าสำราญ ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ตำบลปากทะเล มีวัดอยู่สองวัด เป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชุมชนมาแต่โบราณ ตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้าน แต่ขยายความด้วยคำว่านอกและในให้ต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ที่ตั้งวัด  กล่าวคือ วัดปากทะเลนอกนั้น หมายถึงอยู่ด้านนอกติดกับทะเล  ส่วนวัดในปากทะเล หมายถึงอยู่ลึกในแผ่นดินเข้ามา  แต่ปัจจุบันวัดนอกกลับเข้ามาอยู่ข้างในลึกกว่าวัดในเข้ามาอีกเกือบกิโลเมตร  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บริเวณที่ตั้งของวัดนอกปากทะเลถูกน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งจนเข้ามาถึงตัววัด พระสงฆ์และชาวบ้านจึงร่วมใจกันย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน นับแต่นั้นมา วัดนอกปากทะเลจึงอยู่ด้านใน  วัดในปากทะเลจึงอยู่ด้านนอกใกล้ทะเลมากกว่า

วัดนอกปากทะเล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล ในตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี  ประวัติ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ก็ปรากกฎวัดนี้อยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาประทับเมืองเพชรบุรี ในจดหมายเหตุราชกิจรายวัน  มีข้อความว่า "…เวลาบ่ายเสด็จออกจากเมืองเพ็ชรบุรี มาประทับแรมตำบลบ้านแหลมประพาสวัดนอก"  ซึ่งน่าจะหมายถึง วัดนอกปากทะเลนี้เอง  ส่วนข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙  

วัดนอกปากทะเลมีสิ่งสำคัญในวัดได้แก่

- อุโบสถ ไม้สักขนาดความยาวสามห้อง ฝาเข้าไม้แบบปะกน ยกพื้นสูงให้พ้นน้ำ  โบสถ์ไม้นี้เป็นที่นิยมสำหรับวัดในแถบชายทะเลเพราะหาวัสดุง่าย ทนทานกว่าก่อด้วยปูนขาว ซึ่งถูกไอทะเลกัดกร่อนได้  ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ นามว่า หลวงพ่อเทพนฤมิตร และพระสาวก  

- ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาชั้นเดียวมุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ สีขาวสลับแดง ในส่วนสีแดง มุงเรียงเป็นตัวอักษรระบุปีสร้าง คือ ร.ศ.117 (พ.ศ.2443)  เครื่องลำยองไม้ประดับกระจก เดิมมีการตกแต่งหน้าบันด้วยแต่ชำรุดเกือบหมด ยังพอเห็นร่องรอยทางด้านทิศตะวันตกเป็นรูปราหูอมจันทร์ ฝาเป็นแบบฝาปะกน เจาะหน้าต่างสลับกับช่องแสงที่ใช้ไม้ระแนงตีเว้นร่อง

- หอระฆังเป็นอาคารไม้ทรงสูง สภาพชำรุดมากเหลือเฉพาะส่วนหลังคามุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์และเสาไม้จำนวน ๔ ต้น

- วิหารเภตรานิพพานัง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม และพระอุปคุต  มีลักษณะเป็นรูปเรือสำเภา ความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สูง ๓๘ เมตร  ตัววิหารเป็นที่รวบรวมศิลปะผสมผสานไทยและจีน หน้าต่างเป็นงานแกะสลักไม้ตะเคียน ภายในมีภาพเขียนลายรดน้ำ ลงรักปิดทอง ประดับอยู่ทั่วผนังวิหาร รอบวิหารรายล้อมด้วยประติมากรรมปูนปั้นจากวรรณกรรมเรื่องสังข์ทอง




อุโบสถวัดนอกปากทะเล ถ่ายภาพเสียไกล ในที่ร่มเงา เนื่องจากหลบแสงแดดแรงกล้ามาก


เรือเภตรานิพพานัง : แนวคิดการสร้างสื่อถึงความหมายประดุจว่าเป็นพาหนะในการนำพาพุทธศาสนิกชนข้ามวัฏสงสารไปสู่นิพพานด้วยการปฏิบัติธรรม


พระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม และพระอุปคุต  ในวิหารเรือเภตรานิพพานัง เห็นได้ในระยะไกล
(ถ่ายภาพจากด้านนอกพระวิหาร - รู้สึกตัวว่าการแต่งกายไม่สุภาพที่จะก้าวล่วงเข้าไปในพระวิหาร เนื่องจากใส่กางเกงกระโปรงสั้นแค่เข่า



ด้านหน้าวิหารเรือเภตรานิพพานัง




ประติมากรรมงานปูนปั้นในวรรณคดีเรื่อง "สังข์ทอง" มีอยู่มากโดยรอบๆ พระวิหาร


ประติมากรรมรูปเด็กออกมาจากหอยสังข์


มีการสันนิษฐานว่า เรื่อง “สังข์ทอง” เป็นวรรณคดีที่มีเค้าโครงมาจากเรื่อง “สุวรรณสังขชาดก” มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
และใช้ในการแสดงละคร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบท
ละครนอกเรื่องสังข์ทอง มีตัวเอกในเรื่องคือ “พระสังข์”   เรื่องสังข์ทองแพร่หลายไปท้องที่ต่างๆ บางแห่งปรากฏเป็นภาพ
จิตรกรรมฝาผนัง เช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นเกี่ยวกับการแพร่กระจายเรื่องสังข์ทองไว้ว่า
“...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง  พวกชาวเมืองเหนือ
อ้างว่าเมืองทุ่งยั้ง (ปัจจุบันอยู่ในเขต ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์) เป็นเมืองท้าวสามนต์   ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑  ว่าเป็น
สนามคลีของพระสังข์ อยู่ไม่ห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่าง
ครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่า (ปัจจุบันอยู่ในเขต ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า
จ.พังงา เป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า อธิบายว่าเมืองพระสังข์ตีคลีชนะ ได้ขี่ม้าเหาะข้ามภูเขา
นั้นไปดังนี้…”


เสนาสนะ วัดนอกปากทะเล จ.เพชรบุรี


ด้านหลังรูปปั้้นปลาหมึก หน้าวิหารเรือสำเภา เป็นแหล่งทำนาเกลือของชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี และเลยไปลิบๆ จะเห็นทะเลอันกว้างไกล


 
ที่มาข้อมูล
     - เว็บไซต์ กรมศิลปากร
     - เว็บไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     - เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล
20  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: คำพระสอน เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2567 15:12:58

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา
ขอขอบคุณเว็บไซต์ "พลังจิต" (ที่มาภาพประกอบ)

โอวาทของหลวงปู่เสาร์มีอยู่เพียงสั้นๆ ท่านพูดเป็นปริศนาขึ้นมาว่า
"เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มีแต่ความคิด

พอถามว่า "จิตฟุ้งซ่านหรือไร? ท่านอาจารย์"  
ท่านจะตอบว่า "เอ้าถ้ามันเอาแต่นิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า            
 
ลองฟังดูซินักปฏิบัติทั้งหลาย เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มีแต่ความคิด
จิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร เอ้าถ้ามันเอาแต่นิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า เอาไปนั่งคิดนอนคิด
ตีความหมายของโอวาทของครูบาอาจารย์ให้แตก ถ้าตีโอวาทของครูบาอาจารย์
ให้แตกแล้ว เราจะได้หลักในการปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างถูกต้อง
อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เสาร์ ฝากไว้สั้นๆ แต่เพียงนี้

ที่มา : ส่วนหนึ่งของธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา
"เอาตัวรู้ กำหนดรู้ที่จิต" https://www.youtube.com/

หน้า:  [1] 2 3 ... 275
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.336 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤษภาคม 2567 20:16:37