[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 พฤษภาคม 2567 02:13:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 301 302 [303] 304 305 ... 1130
6041  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ไทยภักดี' จี้รื้อคดี ม.112 'ทักษิณ' เมื่อปี 2558 คัดค้านปมขอพระราชทานอภัยโทษ เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 05:02:59
'ไทยภักดี' จี้รื้อคดี ม.112 'ทักษิณ' เมื่อปี 2558 คัดค้านปมขอพระราชทานอภัยโทษ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 17:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พรรคไทยภักดี ออกแถลงการณ์จี้กองทัพบก-อัยการสูงสุด รื้อคดี ม.112 'ทักษิณ' เมื่อปี 2558 พร้อมส่งเรื่องต่อ 'กรมราชทัณฑ์' พรุ่งนี้ (28 ส.ค.) คัดค้านปมขอพระราชทานอภัยโทษ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53144737119_6ebfddea8d_o_d.jpg" /></p>
<p>27 ส.ค. 2566 สำนักข่าวไทย รายงานว่า นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี พร้อมด้วยนางอิสราพร นรินทร์ หัวหน้าพรรค แถลงข่าวเกี่ยวกับคดีความเก่าของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นคดีเก่าเมื่อปี 2558 ที่ทางกองทัพบกยื่นฟ้องทางนายทักษิณ หมิ่นประมาท จากที่มีการเผยแพร่คำสัมภาษณ์ของนายทักษิณ จากประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งกระทบต่อกองทัพบก ซึ่งเรื่องดังกล่าวท้ายสุดแล้ว อัยการสูงสุดมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายทักษิณ ข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยในส่วนของ 2 ประเด็น หลัก คือ 1. ในเรื่องของการขอให้กองทัพบกและอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ เร่งรัดดำเนินคดีหมิ่นประมาท และคดีความผิด ม.112 กับนายทักษิณ และ 2. ขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของนักโทษชายทักษิณ มองเป็นเรื่องที่อาจจะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเบื้องบนได้</p>
<p>นางอิสราพร กล่าวว่าคดีของนายทักษิณมีทั้งหมด 9 คดี และมีการพิพากษาของศาลแล้ว 4 คดี รวม โทษจำคุกทั้งหมด 12 ปี แต่มีบางคดีที่โทษจำคุกหมดอายุความ รวมทั้งบางคดีถือว่าจำคุกซ้อนกันและต่อเนื่อง จึงเหลือจำคุกโทษ 8 ปี ซึ่งในส่วนนี้ยังคงมีคดีที่คงค้างอยู่ในศาลอีกหนึ่งคดี นั่นก็คือกรณีที่กองทัพบกยื่นฟ้องนายทักษิณหมิ่นประมาทจากที่มีการเผยแพร่คำสัมภาษณ์ของนายทักษิณ จากประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งกระทบต่อกองทัพบก คดีดังกล่าวศาลรับฟ้องเมื่อช่วงวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา รวมไปถึงยังมีคดีที่เป็นความผิดร้ายแรง ในช่วงก่อนหน้าจากที่ถูกออกหมายจับโดยตำรวจ ปอท.หมิ่นประมาท ดูหมิ่น ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีอายุความ 15 ปี ซึ่งสุดท้ายแล้วมีกระแสข่าวว่าอัยการสูงสุดมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายทักษิณ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสุดท้ายแล้วนายทักษิณได้มอบหมายให้ทนายยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดและขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งทบทวนความเห็นดังกล่าว</p>
<p>ทั้งนี้เมื่อนายทักษิณ เดินทางกลับมายังประเทศไทยและถูกจำคุกไปแล้วจาก 3 คดี รวม 8 ปี ทางพรรคไทยภักดี เลยอยากจะสอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ยังคงค้างอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของกองทัพบก ที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท เลยอยากให้กองทัพบกมีการเร่งรัดรื้อคดีขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับทางอัยการสูงสุดเอง ควรจะเร่งนำคดีดังกล่าวมาพิจารณา เพราะมองว่าเป็นคดีที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ รวมไปถึงพรรคไทยภักดี ขอคัดค้านในส่วนของการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของนายทักษิณ ชินวัตร เพราะมองว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีทุจริตคอรัปชั่น และปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบในช่วงที่มีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากถึง 4 คดี มองเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม หลายวาระ ประเทศชาติเองย่อมได้รับความเสียหายจากพฤติกรรมของนายทักษิณที่ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาล และที่สำคัญหากได้รับสิทธิ จะเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาค เท่าเทียมกันทางกฎหมายของประชาชน ทำให้วาทะกรรมที่ว่าคุกมีไว้ขังคนจนปรากฏเป็นจริงขึ้นมา</p>
<p>นพ.วรงค์ ยังเผยว่าเพื่อความชัดเจนพรุ่งนี้ ตนจะส่งตัวแทนของพรรคไทยภักดี เข้ายื่นเรื่องต่อกรมราชทัณฑ์ เพื่อขัดค้านในประเด็นดังกล่าวช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. และมีการยื่นเรื่องต่อไปยัง ปอท. ช่วง 11 โมง</p>
<p>เมื่อถามถึงความคิดเห็นเรื่องที่นายทักษิณ กลับมาในประเทศ พร้อมเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย แต่กลับมีข้อกังขาเรื่องของอาการป่วย ที่ค่อนข้างขัดแย้งกับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ในช่วงที่จะกลับมา ในส่วนนี้ นพ.วรงค์ ระบุว่า เรื่องดังกล่าวในโซเชียลมีเดียยอมรับว่าค่อนข้างเป็นกระแสสังคมที่ค่อนข้างแรง อาการป่วยและเหตุจำเป็นที่จะต้องย้ายไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ที่ค่อนข้างขัดแย้งกับช่วงที่เขากลับมา ทำให้หลานคนมองว่าเป็นเหตุการณ์ป่วยการเมืองหรือไม่ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวนั้นในส่วนของพรรคไทยภักดีพร้อมจะต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความจริง และให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความโปร่งใสอย่างตรงไปตรงมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยอมรับว่าสังคมไม่เชื่อว่าทางนายทักษิณจะมีอาการป่วยจริง ซึ่งทางออกเดียวที่สามารถชี้แจงและกระจ่างให้สังคมไม่เกิดข้อกังขา นั่นก็คือทางเจ้าหน้าที่ทีมแพทย์ควรจะออกมาแถลงหรือชี้แจงถึงสาเหตุการป่วย ไม่ถึงขั้นกดดันที่จะต้องให้มีภาพหรือทางสื่อมวลชนสามารถเข้าไปตรวจสอบในส่วนของอาการป่วย ถามความเห็นส่วนตัวในฐานะแพทย์ ไม่เชื่อว่าทางเจ้าตัวจะมีอาการป่วยจริง อยากให้หน่วยงานหรือรัฐบาลที่เกี่ยวข้องควรจะมีการทำอย่างตรงไปตรงมา</p>
<p>เมื่อถามถึงกรณีพรรคร่วมรัฐบาลที่ตอนนี้ทางพรรคเพื่อไทยได้มีการจัดตั้งในฐานะมุมมองนักการเมือง มองว่าทิศทางของรัฐบาลในอนาคตจะเดินหน้าไปอย่างไร นพ.วรงค์ มองว่าในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรคเป็นหลัก และหวังรวมไปถึงเรียกร้องกับทางพรรคร่วมมากกว่า เพราะมีบางพรรคที่ตนเองเคยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้กันมา เชื่อว่าในส่วนของพรรคร่วมเองคงจะมองเห็นความถูกต้องเป็นหลัก ในใจมองเห็นความสำคัญของพี่น้อง กปปส. ที่ไปต่อสู้กับระบอบทักษิณ ตาย 24 คน บาดเจ็บ 700 คน หลังจากนี้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคร่วมควรจะยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรมและความถูกต้อง ไม่เช่นนั้นประเทศจะไม่ได้เป็นที่พึ่งของประชาชน มองรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นรัฐบาลสมานฉันท์ หรือ รัฐบาล สบประโยชน์ ในส่วนนี้ตนไม่ขอตีตรา แต่จะให้โอกาสรัฐบาลได้พิสูจน์สิ่งที่พูด</p>
<p>ส่วนท่าทีการกลับมาของนายทักษิณ นพ.วรงค์ กล่าวว่าตนเองและพรรคไทยภักดี ยืนยันเจตนารมณ์และแสดงจุดยืนมาตั้งแต่ต้นในช่วงที่มีการหาเสียง ว่าพร้อมที่จะให้นายทักษิณกลับบ้าน พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวตอนนี้ได้เกิดขึ้นและเริ่มต้นแล้ว และหลังจากนี้จะต้องมีการดำเนินการโปร่งใส ในส่วนตัวและพรรคไทยภักดีก็รู้สึกยินดีที่ได้เห็นภาพดังกล่าว</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="764" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FThaipakdeeParty%2Fposts%2Fpfbid0u2Mg4cjMpfHrYtbLgTdieSVm2Ku7ofrGTJRPaoq5z3boowHfGjzKABqk3Rcp2y9bl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105649
 
6042  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - 4 ชีวิตระทึก ขึ้นหอดูดาวไปชมดาวเสาร์ ติดในลิฟต์เป็นชั่วโมง ต้องปีนออกก่อนอากาศ เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 04:54:02
4 ชีวิตระทึก ขึ้นหอดูดาวไปชมดาวเสาร์ ติดในลิฟต์เป็นชั่วโมง ต้องปีนออกก่อนอากาศหมด
         


4 ชีวิตระทึก ขึ้นหอดูดาวไปชมดาวเสาร์ ติดในลิฟต์เป็นชั่วโมง ต้องปีนออกก่อนอากาศหมด" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;4 ชีวิตระทึก ขึ้นหอดูดาวไปชมดาวเสาร์ ติดในลิฟต์แก้วนานเป็นชั่วโมง กู้ภัยพาปีนออกก่อนอากาศหมด
         

https://www.sanook.com/news/8995438/
         
6043  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 18:21</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการแนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น เพิ่มผลิตภาพแรงงานยกระดับศักยภาพการแข่งขัน สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน</p>
<p>27 ส.ค. 2566 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ และอดีตกรรมการสภาการศึกษา แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนให้ความเห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขจึงจะหลุดพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลาง การจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาควรได้รับการสานต่อ รัฐบาลใหม่ควรเพิ่มเงินให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคเพื่อทำให้ครอบครัวรายได้น้อยหรือครัวเรือนยากจนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพจะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีทักษะในการทำงาน มีรายได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และมีความสามารถในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงานจึงเป็นการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ดีกว่ามาตรการประชานิยมแจกเงินทั้งหลาย การจัดสรรเม็ดเงินงบประมาณเพิ่มให้กองทุนเสมอภาคการศึกษา 8,000 ล้านเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม ส่วนนโยบายแจก Tablet 31,000 ล้านบาท เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีต้องดำเนินการจัดซื้ออย่างโปร่งใส ด้านนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน นโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุน หากสามารถดำเนินการได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศในระยะยาว คุณภาพการศึกษาไทยนั้นตกต่ำมาอย่างต่อเนื่องทั้งที่มีการมีทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากให้กับ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่งบประมาณจำนวนมากได้ใช้ไปกับงบประจำและงบบริหารจัดการ นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบรวมศูนย์เข้าสู่กระทรวง แทนที่จะมีการกระจายอำนาจ กระจายงบไปสู่สถานศึกษา การใช้งบประมาณก็ยังไม่ได้มุ่งตรงไปที่สถานศึกษามุ่งเป้าไปที่นักเรียนนักศึกษา มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาครูอาจารย์ นักวิจัย หรือ มุ่งเป้าไปที่แรงงานในการพัฒนาทักษะผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระบบการศึกษาไทยและการจัดการงบประมาณทางด้านการศึกษาวิจัยต้องมีการปฏิรูปใหญ่ และ ต้องเปลี่ยนเป็นระบบ Demand-side Financing มุ่งไปที่ตัวผู้เรียน ลดความเป็น Supply-side Financing ที่มุ่งจัดสรรงบไปกองอยู่ที่กระทรวง</p>
<p>ประเมินในเบื้องต้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในระยะ 6 ปีแรกของแผนการศึกษาแห่งชาตินั้น ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย แผนการดำเนินการล้วนสะดุดมาอย่างต่อเนื่องทั้งจากความไม่ชัดเจนของนโยบายการศึกษาของรัฐมนตรีแต่ละท่านที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง และสะดุดลงอย่างหนักสุดจากวิกฤตการณ์โควิด และเกิด Learning Loss ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจำนวนมากในช่วงล็อคดาวน์ ตัวชี้วัดต่างๆที่อยู่ในแผนระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560-2565) ของแผนการศึกษาชาติ (พ.ศ. 2560-2579) จึงบรรลุตามเป้าหมายไม่ถึง 40% ไม่ว่าจะเป็นมิติการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ (Access) มิติความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) มิติคุณภาพการศึกษา (Quality) มิติประสิทธิภาพ (Efficiency) มิติการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ในขณะที่แผน 5 ปี ระยะที่สองเริ่มต้นในช่วงรอยต่อของรัฐบาลประยุทธ์และรัฐบาลเศรษฐา มีความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล และ จนขณะนี้ก็ยังไม่ทราบว่า ใครจะมาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ใครจะมีเป็นทีมงานในการบริหารนโยบาย และ จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาหรือไม่ สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติอย่างไร ฉะนั้น แผน 5 ปีระยะที่สองจึงอาจมีความล่าช้าในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ 
   
ในส่วนการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ 10 ข้อ (หากพิจารณาจากแผนเดิม 15 ปี) และยุทธศาสตร์ 6 ข้อ (ตามแผนที่มีแก้ไขเพิ่มเติมเป็น 20 ปี) นั้นพบว่ามียุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสความเสมอภาคทางการศึกษา มีความคืบหน้าพอสมควร ส่วนยุทธศาสตร์อื่นๆ เช่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษาก็ดี ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ดี ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลงคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็ดี ล้วนไม่มีความคืบหน้าและยังห่างไกลการบรรลุเป้าหมายตามกรอบเวลา และหากนำเอาแผนเดิมก่อนปรับปรุงจาก 20 ปีเป็น 15 ปี ยิ่งเห็นถึงความอ่อนแอลงของระบบการศึกษาไทยอย่างชัดเจนและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการถ่วงรั้งให้ประเทศไทยรั้งท้ายที่สุดในเอเชียตะวันออก เป็นหน้าที่ของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอุดมศึกษาฯภายใต้รัฐบาลใหม่ต้องบริหารจัดการให้ดีขึ้น ในแผนการศึกษาแห่งชาติระยะที่สอง (พ.ศ. 2566-2570) มีตัวชี้วัดหลายตัวที่ในระยะที่หนึ่งยังไม่บรรลุเลยฉะนั้นในระยะที่สอง รัฐบาลใหม่ต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น ด้านความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ดัชนีความเสมอภาคของอัตราการเข้าเรียนระดับการศึกษาพื้นฐานตามฐานะทางเศรษฐกิจและพื้นที่ลดลง ร้อยละของเด็กในวัยเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพเพิ่มขึ้น ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา 15 ปี เป็นต้น ทางด้านคุณภาพการศึกษา เช่น ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะเป็นที่พอใจของสถานประกอบการเพิ่มขึ้น จำนวนงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น เป็นต้น </p>
<p>ทางด้านการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ประชากรวัยทำงานมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละของแรงงานที่ขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อยกระดับคุณวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้น ทางด้านประสิทธิภาพ มีการปรับระบบการจัดสรรเงินไปสู่ด้านอุปสงค์หรือตัวผู้เรียน มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระและความรับผิดชอบของสถานศึกษา ทางด้านตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการศึกษาดีขึ้น จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ติดอันดับ 200 อันดับแรกของโลกเพิ่มขึ้น อันดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อผู้จบอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสายสามัญ ตัวชี้วัดตามเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติหลายตัวยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแม้นกระทั่งเกณฑ์ตัวชี้วัดในระยะแรก หากจะทำให้บรรลุเกณฑ์ตัวชี้วัดในระยะที่สองดีขึ้น รัฐบาลใหม่ต้องทุ่มเททรัพยากรต่างๆในการทำงานเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติที่กำหนดกรอบเวลาไว้อย่างชัดเจน หากพยายามแล้วไม่สามารถทำได้ ควรมีการปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาแห่งชาติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศ  </p>
<p>ช่วงการ “ล็อกดาวน์” โควิดยาวนาน มีโรงเรียนและครอบครัวจำนวนมากไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาทางออนไลน์ ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารได้ นโยบายการแจก Tablet จึงเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการเพื่อให้นักเรียนจากครอบครัวรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและการศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม ต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส นักเรียนต้องได้ Tablet ที่มีคุณภาพเพราะเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก ตนขอเสนอว่า แทนที่ รัฐบาลหรือหน่วยราชการจัดซื้อให้ ขอให้แจกเป็นคูปองให้ครอบครัวของนักเรียนไปจัดซื้อจัดหาเองจะดีกว่า จะสามารถลดการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมาก   </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ คาดการณ์ว่าจากการวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษาบ่งชี้ชัดเจนว่า การลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าที่สุดเมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม คือ การลงทุนการศึกษาในช่วงปฐมวัย เด็กประถมจำนวนมากในหลายประเทศรวมทั้งไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านสังคมอ่อนแอลงเพราะหยุดเรียนในชั้นเรียนไปนานจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด ซึ่งจะนำสู่ปัญหาการศึกษาอีกมากที่จะตามมา ความรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สุขอนามัยศึกษา สังคมศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับทุกระดับในการศึกษาขั้นพื้นฐานอ่อนแอลงหมด ซึ่งโรงเรียนของรัฐและเอกชนต้องใช้เวลาเสริมสร้างทักษะชดเชยที่ขาดไป เด็กนักเรียนจะมีปัญหาทางการศึกษาในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไปในระดับอุดมศึกษา เด็กเหล่านี้จะมีความ “อ่อนแอ” ในวิชาพื้นฐานต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อในขั้นสูงได้เลย และ ประเทศไทยก็จะขาดกำลังทั้งที่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูงและการวิจัยด้านต่างๆ  </p>
<p>ควรมีการจัดตั้งกองทุนขนาด 2,000 ล้านบาทใหม่เพิ่มเติมหรือใช้กลไกกองทุนทางการศึกษาที่มีอยู่แล้วเพื่อปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ใช้กองทุนนี้ในการให้ “ทุนการศึกษา” “ทุนฝึกอบรม” “ทุนวิจัย” ให้กับบรรดาครูอาจารย์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระบบอุดมศึกษาในสาขาที่ประเทศขาดแคลน นอกจากนี้  มีความจำเป็นต้องทบทวนแผนการศึกษาชาติใหม่ โดยนำเอายุทธศาสตร์จากแผนการศึกษาชาติฉบับ 15 ปีที่ถูกตัดทิ้งไปให้นำกลับมาพิจารณาใหม่ ไม่ว่า จะเป็น ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษา ในยุทธศาสตร์มีการเสนอแผนดำเนินการให้ โรงเรียนของรัฐ มีสภาพเป็น “นิติบุคคล” ได้ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ยุทธศาสตร์การปรับระบบและกลไกในการบริหารงานบุคคล มีเสนอให้มี ระบบครูสัญญาจ้าง ที่สามารถจ่ายค่าตอบแทนสูงเพื่อดึงดูดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น </p>
<p>องค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น องค์กร Unicef สหประชาชาติ ธนาคารโลก  (World Bank) ได้ให้ความเห็นตรงว่า ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพิ่มบทบาทของ กยศ ได้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนนักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ยากจนมีประสิทธิภาพและครอบคลุมกว้างยิ่งขึ้น มีความจำเป็นในการต้องปฏิรูประบบการเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาอย่างมียุทธศาสตร์และบูรณาการผ่านระบบการให้ทุนการศึกษา และ ต้องเพิ่มงบทุนการศึกษาให้เพียงพอโดยเฉพาะทุนการศึกษาในการเรียนสาขาวิชาชีพต่างๆ </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่าประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้นและถือเป็นเป้าหมายสำคัญของแผนการศึกษาชาติ ในส่วนของแผนการศึกษาชาติที่เป็นแผนปฏิบัติการ ได้เสนอ สวัสดิการการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ยากจนหรือการขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในครอบครัวที่ยากจนโดยให้ “แต้มต่อ” ให้กับเด็กยากจนด้วยมาตรการ CCT (Conditional Cash Transfer) เงินโอนที่มีเงื่อนไขให้เด็กได้เรียน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม โอกาสเรียนระดับอุดมศึกษาของเด็กยากจนมีไม่มากเปรียบเทียบกับเด็กในครัวเรือนรวยหรือฐานะปานกลาง ผลการศึกษาวิจัยยังพบว่า การลงทุนในเด็ก Investment in Children ครัวเรือนรวยลงทุนในเด็กสูงกว่าครัวเรือนยากจน หลายเท่าตัว 5-10 เท่า   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต สังคมและชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ Disruptive Technology ยังส่งผลต่อระบบการศึกษาที่จำเป็นต้องมีการปรับตัวพลิกโฉมครั้งใหญ่และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อพลวัตดังกล่าว กองทุนต่างๆในระบบการศึกษาไทยต้องปรับตัวตามพลวัตเหล่านี้ด้วย งบประมาณควรถูกกระจายไปที่สถานศึกษาโดยตรงมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนระบบการจัดสรรเงินจากด้านอุปทาน มาเป็น ด้านอุปสงค์มากขึ้น โดยจะจัดสัดส่วนที่เหมาะสม จัดตั้งกองทุนเงินให้เปล่า ผลักดันให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางด้านการบริหารและจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศ ปรับโครงสร้างการบริหารราชการตามแนวทางการกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษา เปลี่ยนสถานศึกษาที่มีความพร้อมให้เป็นนิติบุคคล แยกบทบาทของรัฐในฐานะผู้กำกับและบทบาทในฐานะผู้จัดการการศึกษาให้ชัดเจน ปรับระบบให้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวที่สะท้อนคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะ Chartered School มากขึ้น จัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา ปรับหลักสูตร กระบวนการการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น หลากหลาย เพิ่มการเรียนรู้ จัดตั้งสถาบันพัฒนากรรมการสถานศึกษา การยกระดับคุณวุฒิกำลังแรงงาน เป็นต้น  </p>
<p>“การสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การเรียนรู้ และความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ ๒๑” ต้องการได้พลเมืองของประเทศและของโลกที่เป็น คนเก่ง คนดี และมีความสุข ซึ่งมีเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษา ๕ ประการ ได้แก่ ๑) การเข้าถึง (Access)  ๒) ความเท่าเทียม (Equity)  ๓) คุณภาพ (Quality) ๔) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ ๕) ตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) ที่พลเมืองส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ภายใต้บริบทของการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) รวมทั้งการสร้างสังคมแห่งปัญญา (Wisdom – Based Society) การส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning) และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Supportive Learning Environment) เพื่อให้พลเมืองสามารถเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งสามารถยกฐานะและชนชั้นทางสังคม อันนำไปสู่การสร้างความผาสุกร่วมกันในสังคมของชนในชาติ และลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมให้มีความทัดเทียมกันมากขึ้น" รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่า</p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การศึกษาเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มิติใหญ่ๆ ได้แก่</p>
<p>1. มิติด้านปริมาณ ซึ่งหมายรวมถึง การพัฒนาความสามารถในการเข้าถึงการศึกษา (Mankiw, Romer and Weil, 1992) และการเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยให้กับนักเรียน/นักศึกษา เพื่อที่จะได้รับความรู้ที่มากเพียงพอในการสนับสนุนการทำงานในอนาคต (Barro and Lee, 1993)</p>
<p>2. มิติด้านคุณภาพ ซึ่งหมายถึง คุณภาพการเรียน การสอน ที่ทำให้เด็กมีทักษะที่เข้มข้น และสอดคล้องกับการที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ในอนาคต (Hanushek and WoBmann, 2007)</p>
<p>3. มิติด้านความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหมายถึง ความแตกต่าง ในผลลัพธ์ของการศึกษา ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่มากกว่าแค่คุณภาพของการเรียนการสอน แต่ครอบคลุมไปถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ปัจจัยเฉพาะของนักเรียนแต่ละคน ปัจจัยทางด้านครอบครัว ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา</p>
<p>แนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ดี ควรที่จะต้องมีการพัฒนาในทั้ง 3 มิติไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากการแก้ไขปัญหาในมิติเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว โดยไม่เน้นคุณภาพอาจจะได้แรงงานที่จบมาแล้วมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน การทุ่มทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านความเหลื่อมล้ำเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นการตัดโอกาสในการพัฒนากลุ่มเด็กที่มีศักยภาพที่สูง เช่นเดียวกัน การพัฒนาในมิติเชิงคุณภาพโดยไม่ได้พิจารณาในมิติความเหลื่อมล้ำ เช่น การพัฒนาคุณภาพของแต่ละโรงเรียนอย่างเป็นเอกเทศ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างของผลการเรียนของแต่ละโรงเรียน ซึ่งทำให้คุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษามีความแตกต่าง กันมาก และนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในที่สุด</p>
<p>เมื่อย้อนกลับมาดูสถิติและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทย จะพบว่า ประเทศไทยยังคงมีปัญหาทั้ง 3 มิติ โดยข้อมูลสถิติจากธนาคารโลก บ่งชี้ถึงช่องว่างในการเข้าถึงการศึกษาในระดับชั้นปฐมศึกษา โดยมีเพียงร้อยละ 93 ของ เด็กในวัยเรียนที่เข้าถึงการศึกษาในระดับชั้นดังกล่าว งานวิจัยของ Prasartpornsirichoke and Takahashi (2013) บ่งชี้ถึงความสำคัญของการขยายการเข้าถึงการศึกษาให้ครอบคลุม ถึงระดับชั้นมัธยม ข้อมูลจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรของประเทศจากฐานข้อมูลของ Barro and Lee (2013) พบว่าประชากรวัยทำงานของไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 7.3 ปี ซึ่งยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 11.05 ปี) ถึง 3.75 ปี</p>
<p>ในด้านคุณภาพของการศึกษาไทย ข้อมูลผลการประเมินความรู้ของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการ TMISS (The Trends in International Mathematics and Science Study) ในหลายปีที่ผ่านมา พบว่าความสามารถของเด็กนักเรียนไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาต้น จำนวนมากถูกจัดในระดับแย่ (Poor) และ ในปีนี้และปีหน้าคงจะแย่ลงกว่าระดับที่เป็นอยู่อีกจากการเรียนออนไลน์ที่ไม่มีคุณภาพ สำหรับปัญหาทางด้านความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของไทยนั้นรุนแรงกว่าที่เราคิดมาก และเรายังไม่มีองค์ความรู้ในการเข้าใจมันเพราะยังไม่พบว่ามีงานวิจัยที่มุ่งเน้นในการทำความเข้าใจถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยตรง งานวิจัยที่พบโดยมากจะมุ่งเน้นที่ความเหลื่อมล้ำในแง่ของการเข้าถึงการศึกษา ซึ่งได้ถูกสะท้อนเป็นประเด็นทางด้านเชิงปริมาณเป็นหลักเท่านั้น </p>
<p>การพัฒนาผลิตภาพแรงงานและผลิตภาพทุนให้สูงขึ้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง มาตรการประชานิยมแจกเงินจะแย่งเม็ดเงินในการลงทุนเพิ่มผลิตภาพของสังคมได้ การเพิ่มผลิตภาพจะทำให้นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนขั้นต่ำไม่ก่อปัญหาต้นทุนต่อภาคธุรกิจและภาคการผลิต ค่าแรงขั้นต่ำที่ต้องปรับตัวขึ้นสูงเป็นเพียงแนวโน้มสำคัญหนึ่งของตลาดแรงงานไทยและตลาดแรงงานในเอเชียเท่านั้น ยังมีแนวโน้มอื่นๆอีก เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์หรือสมองกลอัจฉริยะแทนแรงงานมนุษย์ ธุรกิจอุตสาหกรรมต้องปรับตัวต่อแนวโน้มต่างๆ และ รัฐต้องมีนโยบายและมาตรการอันเหมาะสมในการตอบสนอง ไม่เช่นนั้นแล้วจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจในมิติใดมิติหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ แนวโน้มที่สำคัญและยังเป็นแนวโน้มที่ช่วยอธิบายเราว่า ค่าจ้างในไทยแพงหรือไม่ คือ ผลิตภาพแรงงานไทยในอนาคตว่าเป็นอย่างไร ปัจจุบันผลิตภาพแรงงานไทย (Labor Productivity) เติบโตระดับหนึ่งแต่ไม่สูงเท่าจีน เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ดีกว่า ลาว เขมร เมียร์มาร์ ขณะเดียวกัน ผลตอบแทนของแรงงานในช่วงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโควิดก็ลดลงทุกระดับการศึกษา สะท้อนปัญหาด้านคุณภาพของการศึกษาไทย ขณะเดียวกัน มีนักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยตกออกจากระบบการศึกษาและเกิดการสูญเสียการเรียนรู้ (Learning Loss) ในช่วงล็อคดาวน์ปิดโรงเรียนปิดมหาวิทยาลัย ปัญหาการตกออกจากระบบการศึกษาและการสูญเสียการเรียนรู้จำนวนมากจะเกี่ยวพันกับคุณภาพแรงงานในอนาคตที่อาจด้อยลงหากไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเสียตั้งแต่ตอนนี้  </p>
<p>ผลิตภาพแรงงานไทยโดยเฉลี่ยต่อคนปรับด้วยอำนาจการซื้อเปรียบเทียบ (Purchasing Power Parity) หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว พบว่าผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยต่อคนของไทยปรับด้วยอำนาจการซื้อเปรียบเทียบ (PPP) อยู่ในระดับปานกลาง  ผลิตภาพการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวและเป็นตัวกำหนดระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผลิตภาพแรงงานเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการทำงานของปัจจัยการผลิตด้านแรงงานเพื่อใช้เปรียบเทียบผลงานทางด้านเศรษฐกิจ โดยทำการวัดจากอัตราส่วนของผลผลิตกับจำนวนแรงงานในระบบเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงานในระยะหลังไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นนักเพราะมีปัญหา การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตได้ ขณะเดียวกันระบบการศึกษาก็มีปัญหาทางด้านคุณภาพในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ป้อนเข้าสู่ระบบการผลิต นอกจากนี้แรงงาน (ประชากรในวัยทำงาน) ยังมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในทศวรรษนี้จะเพิ่มเพียง 0.2% เท่านั้น ขณะที่ทศวรรษที่แล้วก็เพิ่มน้อยอยู่แล้ว 1% แล้วแรงงานส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ก็ทำงานนอกระบบเป็นส่วนใหญ่ เกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานไม่ใช่ลูกจ้างระยะยาวที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน </p>
<p>รศ.ดร. อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า ตนมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ ข้อแรก ขอให้คณะกรรมการไตรภาคีได้ตอบสนองต่อมาตรการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีพ มีเงินออมและสามารถลดหนี้สินของครัวเรือนได้ รวมทั้ง ควรปรับเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ ข้อสอง รัฐบาลควรรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง อนุสัญญาสองฉบับนี้จะทำให้คุณภาพชีวิตและสวัสดิภาพของแรงงานดีขึ้นโดยรัฐบาลไม่ต้องใช้งบประมาณมาดูแล จะเกิดกลไกและกระบวนการในการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรมมากขึ้นในระดับสถานประกอบการแต่ละแห่ง แต่ต้องทำให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในภาคการผลิตภาคบริการต่างๆ ด้วย ขบวนการแรงงานและนักวิชาการแรงงานได้เคลื่อนไหวเรียกร้องต่อเนื่องมามากกว่า 20 ปีแล้ว หากรัฐบาลใหม่ชุดนี้รับรองอนุสัญญาจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง อนุสัญญาสองฉบับนี้จะทำให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยในระดับองค์กร อันเป็นพื้นฐานให้ประชาธิปไตยทางการเมืองมีความเข้มแข็ง ข้อสาม แก้ปัญหาความยั่งยืนทางการเงินในอนาคตของกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะกองทุนชราภาพ ข้อสี่ ขอให้รัฐบาลใหม่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการหามาตรการให้สถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 (เกี่ยวกับการจ้างงานแบบเหมาช่วงหรือซับคอนแทรค) อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ลูกจ้างซับคอนแทรคได้รับความเป็นธรรมทางด้านสวัสดิการและการจ้างงาน ข้อห้า ขอให้รัฐบาลใหม่ประกาศยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 7 เฉพาะส่วนที่ตัดสิทธิลูกจ้างรายเดือนที่ทำงานล่วงเวลาไม่ให้ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาเช่นเดียวกับลูกจ้างรายวัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หมวด ๓ มาตรา ๒๗ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ข้อหก ขอให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมาย ให้หนี้ที่เกิดจากเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อยู่ในบุริมสิทธิลำดับที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อเจ็ด ขอให้รัฐบาลเร่งรัดออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรได้ และ ข้อแปด ขอเสนอให้สร้างโอกาสให้หญิงและชาย รวมทั้งแรงงานต่างด้าว มีงานที่มีคุณค่าและก่อให้เกิดความสำเร็จโดยจะต้องมีเสรีภาพ เสมอภาค ความมั่นคงและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อเก้า เสนอให้ แรงงานข้ามชาติ สามารถเป็น สมาชิกสหภาพแรงงานในประเทศไทยได้ หรือ สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานร่วมกับแรงงานไทยได้ ข้อสิบ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยภาพรวมนั้น ต้องอาศัยทั้งการยกระดับผลิตภาพของแรงงาน ผลิตภาพของทุน ผลิตภาพจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งผลิตภาพของระบบราชการและระบบการเมืองไปพร้อมกัน จะอาศัยแต่ผลิตภาพของแรงงานในระบบการผลิตย่อมไม่เพียงพอ</p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า ยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ ต้นทุนทางการเงินและภาระหนี้สินของผู้ใช้แรงงาน ครัวเรือน และ กิจการต่างๆย่อมเพิ่มสูงขึ้น และขณะนี้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีก็ทะลุ 90% ไปแล้วเมื่อบวกกับหนี้นอกระบบจะแตะเกือบ 100% จึงมีความจำเป็นที่ครัวเรือนและกิจการต่างๆต้องปรับโครงสร้างทางการเงินให้เหมาะสมต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ด้วยการลดภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น เพิ่มรายได้ เพิ่มทุน เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำรงชีพ (กรณีผู้ใช้แรงงานและครัวเรือน) มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินกิจการและเพิ่มโอกาสในการลงทุน (กรณีกิจการต่างๆ) ในระดับนโยบายนั้น ควรสนับสนุนเพื่อพัฒนาภาวะแวดล้อมทางการเงินเพื่อให้เกิดการเข้าถึงเงินทุนด้วยต้นทุนต่ำ เปิดเสรีภาคการเงินเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการทางการเงิน  สำหรับมาตรการพักหนี้ให้กับผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยและเกษตรกรของรัฐบาลใหม่ตลอดจนมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรนั้น ควรคำนวณภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและต้องจัดสรรเงินงบประมาณมาอุดหนุนเพิ่มเติมด้วย ขณะนี้เองภาระหนี้ของรัฐบาลยังค้างค่าชดเชยหรือติดหนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกัน รัฐบาลใหม่เหลือเงินงบประมาณมาดำเนินมาตรการกึ่งการคลังเพียง 18,000 ล้านบาท เพราะข้อกำหนดไว้ใน มาตรา 28 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้ลดสัดส่วนการใช้จ่ายเงินตามมาตรา 28 จาก 35% ลงเหลือ 32% ของวงเงินงบประมาณ </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105651
 
6044  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - นักศึกษาฝึกงานเครียดจัด พยายามวิ่งให้รถชน พลเมืองดีช่วยทัน สภาพจิตใจน่าห่วง เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 02:20:42
นักศึกษาฝึกงานเครียดจัด พยายามวิ่งให้รถชน พลเมืองดีช่วยทัน สภาพจิตใจน่าห่วง
         


นักศึกษาฝึกงานเครียดจัด พยายามวิ่งให้รถชน พลเมืองดีช่วยทัน สภาพจิตใจน่าห่วง" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;นักศึกษาฝึกงานเครียดจัด พยายามวิ่งให้รถชน-ทำร้ายตัวเองด้วยมีด พลเมืองดีช่วยทัน สภาพจิตใจน่าห่วง


         

https://www.sanook.com/news/8995434/
         
6045  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - นักวิเคราะห์มอง 'ฮุน มาเนต' อาจเป็นแค่หุ่นเชิดของ 'ฮุน เซน' พ่อตัวเอง เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 02:02:16
นักวิเคราะห์มอง 'ฮุน มาเนต' อาจเป็นแค่หุ่นเชิดของ 'ฮุน เซน' พ่อตัวเอง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 18:37</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รัฐสภากัมพูชาโหวตแต่งตั้ง 'ฮุน มาเนต' ทายาท 'ฮุน เซน' ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่<wbr></wbr>างเป็นทางการ นักวิเคราะห์มองว่าเป็นการเปลี่ยนผ่<wbr></wbr>านทางอำนาจทางสายเลือดคล้<wbr></wbr>ายราชวงศ์ และมาเนตยังน่าจะเป็นหุ่<wbr></wbr>นเชิดสำหรับพ่อตัวเองด้<wbr></wbr>วยหลายสาเหตุ รวมถึงการที่มาเนตถูกเตรี<wbr></wbr>ยมการให้ทำตัวเหมือนพ่อของเขา และเป็นคนที่ไม่มีเรื่องเล่<wbr></wbr>าการไต่เต้าสู่ความเป็นผู้<wbr></wbr>นำในแบบของตัวเอง ถูกมองว่าแค่อาศัยใบบุญจากพ่อ</p>
<p> </p>
<p>27 ส.ค. 2566 รัฐสภากัมพูชาได้ลงมติแต่งตั้ง ฮุน มาเนต ลูกชายคนโตของ ฮุน เซน ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรั<wbr></wbr>ฐมนตรีอย่างเป็นทางการ นับเป็นการเปลี่ยนผ่<wbr></wbr>านทางอำนาจในแบบที่สื่ออัลจาซี<wbr></wbr>ร่าระบุว่า "คล้ายกับการสืบทอดอำนาจผ่<wbr></wbr>านสายเลือดแบบเกาหลีเหนื<wbr></wbr>อในเวอร์ชั่นของเอเชียอาคเนย์"</p>
<p>ฮุน มาเนต นายพลระดับสี่ดาวของกองทัพกัมพู<wbr></wbr>ชา ได้รับคะแนนเสียงลงมติเห็นชอบ 123 เสียง จากสภาผู้แทนราษฏรของกัมพูชาเมื่<wbr></wbr>อวันที่ 22 ส.ค. 2566 ฮุน มาเนต แถลงหลังการลงมติว่า "วันนี้เป็นวันที่สำคัญมาก นับเป็นวันประวัติศาสตร์<wbr></wbr>ของราชอาณาจักรกัมพูชา"</p>
<p>ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่อยู่<wbr></wbr>ในอำนาจมาอย่างยาวนานเกือบ 40 ปี เคยประกาศว่าจะให้ลู<wbr></wbr>กชายคนโตของตัวเองคือ ฮุน มาเนต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ เขาประกาศในเรื่องนี้ไว้หลั<wbr></wbr>งจากที่พรรคของเขาชนะการเลือกตั้<wbr></wbr>งได้ไม่นาน การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่มีขึ้<wbr></wbr>นในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่<wbr></wbr>างกว้างขวางในเรื่องที่มีการกี<wbr></wbr>ดกันพรรคฝ่ายค้านที่มีพลั<wbr></wbr>งในการคัดง้างกับพรรครัฐบาลให้<wbr></wbr>ต้องถูกตัดสิทธิจากการลงเลือกตั้<wbr></wbr>ง ทำให้พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ชนะแบบลอยลำโดยไม่มีคู่แข่ง โดยครองที่นั่งในสภา 125 ที่นั่ง จากทั้งหมด 130 ที่นั่ง</p>
<p>นอกจาก ฮุน เซน แล้วเจ้าหน้าที่ระดับสู<wbr></wbr>งในพรรครายอื่นๆ ก็ยังมีแผนการจะสละตำแหน่งต่างๆ ของตัวเองในรัฐบาล เพื่อให้ลูกหลานของพวกเขาหรื<wbr></wbr>อญาติพี่น้องของพวกเขาสื<wbr></wbr>บทอดตำแหน่งต่อไปด้วย</p>
<p>มีการวิเคราะห์จากฝ่ายค้านและผู้<wbr></wbr>สังเกตการณ์ทางการเมืองกัมพู<wbr></wbr>ชาระบุว่า ถึงแม้ ฮุน มาเนต จะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้<wbr></wbr>ว แต่ ฮุน เซน ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางอำนาจและศู<wbr></wbr>นย์กลางทางการเมืองในกัมพูชา ทั้<wbr></wbr>งในความหมายตรงไปตรงมาและในเชิ<wbr></wbr>งสัญญะ</p>
<p>หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพลัดถิ่น สม รังสี บอกว่าการที่ ฮุน มาเนต เข้ารับตำแหน่งไม่ได้เป็นหมุ<wbr></wbr>ดหมายถึง "การเปลี่ยนแปลงสำคัญใดๆ ต่อภูมิทัศน์ทางการเมืองของกั<wbr></wbr>มพูชา" สม รังสี บอกว่าในความเป็นจริงแล้ว "ฮุน เซน จะยังคงเป็นผู้เชิดหุ่น" อยู่เบื้องหลังต่อไป</p>
<p>ฮุน เซน ซึ่งในตอนนี้อายุ 71 ปี ประกาศว่าเขาจะยังไม่ถอนตั<wbr></wbr>วออกห่างจากการเป็นผู้ควบคุ<wbr></wbr>มอำนาจ โดยอ้างว่าเขาจะขึ้นดำรงตำแหน่<wbr></wbr>งประธานวุฒิสภาต่อไป และจะยังคงอยู่ในตำแหน่งอื่นๆ ต่อไปอย่างน้อยอีก 10 ปี</p>
<p>ในคำปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ไม่นานนักหลังจากที่ ฮุน เซน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรั<wbr></wbr>ฐมนตรี เขาก็ให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงรั<wbr></wbr>ฐบาลชุดต่อไปที่นำโดยลู<wbr></wbr>กชายของเขา แต่ก็ย้ำเตือนว่าเขาอาจจะกลั<wbr></wbr>บมาอีกถ้าหากจำเป็น โดยอ้างว่า "ผมไม่อยากให้ประเทศอยู่<wbr></wbr>ในภาวะโกลาหล"</p>
<p>แต่ต่อมาในวันที่ 22 ส.ค. ฮุน เซน ก็กล่าวย้ำว่าเขาจะไม่หนีหน้<wbr></wbr>าไปจากสาธารณชน และขอให้ประชาชน "อยู่ในความสงบ" บอกว่าเขาจะดำรงตำแหน่งเป็<wbr></wbr>นประธานวุฒิสภาต่อในช่วงต้นปี<wbr></wbr>หน้า (2567)</p>
<p>นอกจากนี้ ฮุน เซน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นักวิ<wbr></wbr>เคราะห์ที่บอกว่าเขาถ่<wbr></wbr>ายโอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กั<wbr></wbr>บลูกชายของเขาแต่ไม่ได้ถ่<wbr></wbr>ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนต อย่างแท้จริง ซึ่ง ฮุน เซน วิจารณ์ว่า "นี่เป็นการวิเคราะห์ที่โง่มาก"</p>
<p>นักลงทุนจากตะวันตกในกัมพูชาผู้<wbr></wbr>ที่พูดโดยปิดชื่อของตัวเองบอกว่<wbr></wbr>า "ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก" นับตั้งแต่ที่ ฮุน เซน ประกาศลงจากตำแหน่ง โดยมองว่า ฮุน เซน จะยังคงเป็นศูนย์กลางทางอำนาจต่<wbr></wbr>อไป ต้องรอให้ ฮุน เซน ไม่ได้ปรากฏอยู่ในการเปลี่ยนผ่<wbr></wbr>านทางอำนาจอีกต่อไปเท่านั้นถึ<wbr></wbr>งจะกลายเป็นบททดสอบอย่างแท้จริ<wbr></wbr>งสำหรับ ฮุน มาเนต และสำหรับเสถียรภาพของกัมพูชา</p>
<p>ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การที่ ฮุน เซน สละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตั<wbr></wbr>วเองในที่สุดถึงแม้ว่<wbr></wbr>าจะครองอำนาจมาเกือบ 40 ปี ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนที่เป็<wbr></wbr>นเผด็จการตัวบุคคลก็ไม่<wbr></wbr>สามารถอยู่ยงเหนือกาลเวลาได้</p>
<p>นักวิเคราะห์อย่าง โจชัว เคอร์แลนต์ซิค นักวิจัยอาวุโสด้านเอเชี<wbr></wbr>ยอาคเนย์ขององค์กรคลังสมองนิ<wbr></wbr>วยอร์ก "สภาเพื่อความสัมพันธ์ระหว่<wbr></wbr>างประเทศ" กล่าวว่าการที่ฮุน เซน มอบอำนาจต่อให้กับลูกชายของตั<wbr></wbr>วเอง "เทียบเท่ากับการสิบทอดต่<wbr></wbr>ออำนาจในครอบครัวแบบเกาหลีเหนื<wbr></wbr>อ"</p>
<p>เคอร์แลนต์ซิค ประเมินไว้ว่ากัมพูชาจะยังคงมี<wbr></wbr>การกดขี่ปราบปรามต่อไปเพื่อให้<wbr></wbr>แน่ใจว่าจะไม่มีการต่อต้านเกิ<wbr></wbr>ดขึ้นในช่วง "การเปลี่ยนผ่านอำนาจที่เสี่<wbr></wbr>ยงต่อความเปราะบาง" และมองว่าการทุจริตคอร์รัปชั่<wbr></wbr>นที่แพร่หลายทั่วกัมพูชาจะยิ่<wbr></wbr>งเพิ่มมากขึ้นด้วยจากการที่ ฮุน มาเนต จะทำการอุปถัมภ์ให้เส้<wbr></wbr>นสายทางการเมืองเพื่<wbr></wbr>อควบรวมอำนาจของตัวเองให้แน่<wbr></wbr>นหนา</p>
<p>มีนักวิเคราะห์รายหนึ่งที่ไม่<wbr></wbr>ประสงค์ออกนามที่อาศัยอยู่ในกั<wbr></wbr>มพูชาบอกว่า ในหมู่พรรครัฐบาลกัมพูชามี<wbr></wbr>การแสดงความไม่พอใจและไม่<wbr></wbr>สบายใจกันเงียบๆ ในที่ลับ ต่อเรื่องที่ ฮุน มาเนต ได้รับการยกตำแหน่งระดับผู้<wbr></wbr>นำให้ถึงแม้ว่าจะไม่เคยมี<wbr></wbr>ผลงานทางการเมืองอะไรเลยก็ตาม กลายเป็นว่าผู้อาวุโสในพรรคจะต้<wbr></wbr>องมาคอยรับคำสั่งและคำชี้<wbr></wbr>แนะจากคนที่อ่อนวัยกว่า</p>
<p> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">"การสืบทอดทางสายเลือดคล้<wbr></wbr>ายระบบราชวงศ์"</span></h2>
<p>ฮุน มาเนต ลูกชายคนโตของ ฮุน เซน เข้าสู่ตำแหน่งผ่านการที่พ่<wbr></wbr>อของเขาทำการบดขยี้การวิพากษ์วิ<wbr></wbr>จารณ์และการต่อต้านต่างๆ เช่นการจับกุมคุมขังนักกิ<wbr></wbr>จกรรมและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง อีกทั้งยังมีการสั่งปิดสื่อต่<wbr></wbr>างๆ และคอยกำกับโซเชียลมีเดียเพื่<wbr></wbr>อให้ผู้ใช้งานในประเทศหลายล้<wbr></wbr>านคนเซนเซอร์ตัวเองไม่ให้ตกเป็<wbr></wbr>นเหยื่อของ ฮุน เซน ที่เผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์นิ<wbr></wbr>ดหน่อยก็ไม่ได้</p>
<p>ฮุน เซน ยังได้ทำการกู้ยืมเงินจากจี<wbr></wbr>นหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่<wbr></wbr>างๆ อย่างทางหลวง, สะพาน และเขื่อน รวมถึงทำการก่อสร้างในกรุ<wbr></wbr>งพนมเปญจนเต็มไปด้วยตึกระฟ้าหรู<wbr></wbr>ๆ เปลี่ยนแปลงให้สีหนุวิลล์ที่เป็<wbr></wbr>นเมืองชายฝั่งทะเลให้กลายเป็<wbr></wbr>นแหล่งรวมบ่อนคาสิโนจากจี<wbr></wbr>นและกลายเป็นพื้นที่ๆ เต็มไปด้วยอาชญากรรม</p>
<p>ถึงแม้จะมีเบื้องหลังเหตุการณ์<wbr></wbr>ในแบบดังกล่าว แต่ก็มีบางคนที่มองว่าการเปลี่<wbr></wbr>ยนแปลงมาสู่รุ่นใหม่ของพรรครั<wbr></wbr>ฐบาลกัมพูชาอาจจะทำให้เกิ<wbr></wbr>ดการเปลี่ยนแปลงในเรื่<wbr></wbr>องการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้<wbr></wbr>นและการเปลี่ยนแปลงด้านความสั<wbr></wbr>มพันธ์กับชาติตะวันตกด้วย</p>
<p>กองบรรณาธิการของสื่อวอชิงตั<wbr></wbr>นโพสต์ระบุไว้<wbr></wbr>ในบทความแสดงความคิดเห็<wbr></wbr>นของพวกเขาว่า "การสืบทอดอำนาจทางสายเลื<wbr></wbr>อดแบบราชวงศ์นั้น แน่นอนว่า เป็นเรื่องที่ไม่เป็นประชาธิ<wbr></wbr>ปไตยโดยสิ้นเชิง ถึงกระนั้นก็ตามการยกตำแหน่งให้ ฮุน มาเนต ก็ดูเหมือนจะเป็นสาเหตุที่ทำให้<wbr></wbr>ชาวกัมพูชารู้สึกมีความหวังที่<wbr></wbr>จะมีอนาคตที่เปิดกว้างมากกว่<wbr></wbr>าและมีการกดขี่ปราบปรามน้อยกว่<wbr></wbr>า"</p>
<p>ฮุน มาเนต เป็นคนที่เคยศึกษาต่<wbr></wbr>อในประเทศสหรัฐฯ ที่โรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ และที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ทำให้เขาดูเหมือนจะมีต้นทุ<wbr></wbr>นทางสังคมกับเหล่าบรรณาธิการสื่<wbr></wbr>อในสหรัฐฯ อยู่บ้าง โดยที่สื่อเหล่านี้ระบุว่า ฮุน มาเนต และลูกหลานของกลุ่มผู้<wbr></wbr>นำพรรครายอื่นๆ ที่กำลังจะเกษียณอายุ อาจจะกลายมาเป็นผู้คืนความสัมพั<wbr></wbr>นธ์กับชาติตะวันตกได้ เทียบกับ ฮุน เซน ที่มีโวหารแบบต่อต้านอเมริกั<wbr></wbr>นและต่อต้านตะวันตก</p>
<p>แคทริน ทราวุยยอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองกัมพู<wbr></wbr>ชาและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลั<wbr></wbr>ยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า มุมมองเช่นนี้เป็นเสมือนการที่<wbr></wbr>ผู้คนมอง ฮุน มาเนต เป็น "ผืนผ้าใบเปล่าๆ" ที่พวกเขาจะฝากความหวั<wbr></wbr>งและความคาดหวังอะไรของตั<wbr></wbr>วเองเอาไว้ก็ได้ ซึ่งมาเนตสามารถหาประโยชน์<wbr></wbr>จากตรงนี้ได้ แต่มันก็จะกลายเป็นอุปสรรคสำหรั<wbr></wbr>บเขาด้วย</p>
<p>สำหรับประชาชนกัมพูชาที่ให้สั<wbr></wbr>มภาษณ์ต่อสื่ออัลจาซีราต่างก็<wbr></wbr>บอกว่าเขายังไม่มีข้อมูลมากพอที่<wbr></wbr>จะระบุได้ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกั<wbr></wbr>บ ฮุน มาเนต ส่วนหนึ่งเพราะมาเนตไม่ค่<wbr></wbr>อยปรากฏตัวในโทรทัศน์มากเท่าพ่<wbr></wbr>อของเขาด้วย</p>
<p>คัลยาน ไค อดีตสมาชิกพรรค CPP ชาวออสเตรเลีย-กัมพูชา ที่เคยทำงานร่วมกับ ฮุน มาเนต เมื่อปี 2557-2560 กล่าวว่าการเตรียมพร้อมให้ ฮุน มาเนต มารับตำแหน่งแทนพ่อของเขานั้<wbr></wbr>นเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชั<wbr></wbr>ดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ไคทำงานให้กับมาเนต</p>
<p>ไคบอกว่าเธอสังเกตเห็นมาเนตเปลี่<wbr></wbr>ยนแปลงไปจากเดิม จากที่เคยเป็นคนเปิดกว้างรับฟั<wbr></wbr>งข้อเสนอของคนอื่น กลายเป็นคนที่ "เปิดรับน้อยลง" ต่อผู้คนรอบตัวเขา นอกจากนี้มาเนตยังเริ่มเลี<wbr></wbr>ยนแบบท่าทางการปราศรัยและการพู<wbr></wbr>ดในแบบของพ่อตัวเองด้วย</p>
<p>ไคกล่าวว่าพวกเขาค่อยๆ ประกอบสร้างสิ่งเหล่านี้ให้กับ ฮุน มาเนต จนมันฝังอยู่ในตัวเขา และเมื่อผู้คนที่คาดหวังในตั<wbr></wbr>วมาเนตสามารถควบคุมเขาได้แล้ว ผู้คนเหล่านี้ก็จะไม่อยากสูญเสี<wbr></wbr>ยอำนาจไป</p>
<p>มาเนตต้องเผขิญกับอุ<wbr></wbr>ปสรรคมากไปกว่าแค่การพิสูจน์ตั<wbr></wbr>วเองต่อพรรครัฐบาลและต่<wbr></wbr>อประชาชนกัมพูชา เพราะในตอนนี้กัมพูชามีปั<wbr></wbr>ญหาเศรษฐกิจและความเสื่<wbr></wbr>อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นด้<wbr></wbr>วย ในขณะเดียวกัน มาเนตก็ต้องพยายามทำตัวให้ดูน่<wbr></wbr>าเชื่อถือและรักษาความจงรักภั<wbr></wbr>กดีต่อพรรครัฐบาลกับกลุ่<wbr></wbr>มผลประโยชน์หลายกลุ่ม ซึ่งเป็นแค่หนึ่งในอุ<wbr></wbr>ปสรรคเฉพาะหน้าที่มาเนตจะต้<wbr></wbr>องเผชิญ</p>
<p>นอกจากนี้ในแง่ของการเป็นผู้<wbr></wbr>นำคนใหม่แล้ว มาเนตยังขาดเรื่องราวการไต่เต้<wbr></wbr>าสู่อำนาจของตัวเองด้วย</p>
<p>ฮุน เซน ผู้นำคนก่อนหน้านี้มีเรื่<wbr></wbr>องราวที่เขามีการศึกษาน้อย และต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่<wbr></wbr>งของทหารเขมรแดง ก่อนที่จะแปรพักตร์ไปเข้าร่วมกั<wbr></wbr>บเวียดนามแล้วก็หันมาช่วยโค่นล้<wbr></wbr>มผู้นำเขมรแดงที่เคยเป็นเจ้<wbr></wbr>านายของเขามาก่อนอย่าง พล พต ต่อมา ฮุน เซน ก็กลายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่<wbr></wbr>างประเทศที่อายุน้อยที่สุ<wbr></wbr>ดในโลกภายใต้รัฐบาลที่ได้รั<wbr></wbr>บการจัดตั้งโดยเวียดนาม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการที่<wbr></wbr> ฮุน เซน ดิ้นรนขวนขวายเพื่อรั<wbr></wbr>กษาอำนาจของตัวเองเอาไว้ โดยการกำจัดศัตรู ในขณะเดียวกันก็ได้รับเงินช่<wbr></wbr>วยเหลือและเงินกู้ยืมหลายพันล้<wbr></wbr>านจากชาติตะวันตก และในตอนนี้ก็หันมารับเงินจากจี<wbr></wbr>นเพื่อใช้ในการสร้างชาติกัมพูชา</p>
<p>ทราวุยยอง บอกว่า ฮุน มาเนต ไม่สามารถอ้างใช้เรื่องเล่<wbr></wbr>าในแบบของพ่อตัวเองที่สร้างตั<wbr></wbr>วมาตั้งแต่ยังอยู่ในตำแหน่งเล็<wbr></wbr>กๆ รวมถึง ฮุน เซน ยังสร้างคำอธิบายตัวเองว่<wbr></wbr>าเขาเคยเสี่ยงภัยครั้งใหญ่ และกลายมาเป็นผู้ปกป้องสันติ<wbr></wbr>ภาพในกัมพูชาในแบบของตนเองได้</p>
<p>ทราวุยยอง มองว่าการที่มาเนตไม่มีเรื่<wbr></wbr>องเล่าแบบนี้จะสร้างข้อจำกัดให้<wbr></wbr>ตัวเขาได้ในระยะยาว และมันก็จะมีเรื่องให้พูดถึงอยู่<wbr></wbr>เสมอว่าเขา "ได้รับการคุ้มกะลาหัวจากพ่<wbr></wbr>อของตัวเอง"</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>Cambodia parliament elects Hun Sen’s son, Hun Manet, as new PM, Aljazeera, 22-08-2023</p>
<p><a href="https://www.aljazeera.com/news/2023/8/22/cambodian-parliamentarians-elect-hun-sens-son-hun-manet-as-new-pm" target="_blank">https://www.aljazeera.com/<wbr></wbr>news/2023/8/22/cambodian-<wbr></wbr>parliamentarians-elect-hun-<wbr></wbr>sens-son-hun-manet-as-new-pm[/url]</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105652
 
6046  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “ธนกร” โพสต์ขอบคุณ “บิ๊กตู่” ผู้ให้โอกาส ชื่นชมอุทิศแรงกาย-ใจ ตลอด 9 ปี พัฒนาประเท เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 00:54:04
“ธนกร” โพสต์ขอบคุณ “บิ๊กตู่” ผู้ให้โอกาส ชื่นชมอุทิศแรงกาย-ใจ ตลอด 9 ปี พัฒนาประเทศ
         


“ธนกร” โพสต์ขอบคุณ “บิ๊กตู่” ผู้ให้โอกาส ชื่นชมอุทิศแรงกาย-ใจ ตลอด 9 ปี พัฒนาประเทศ" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/8995310/
         
6047  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2) เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 00:16:24
เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 19:10</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: (ซ้าย-ขวา) กัณวีร์ สืบแสง ดุลยภาค ปรีชารัชช สุณัย ผาสุข และ พินิตพันธุ์ บริพัตร <span style="color:null;">(ที่มา: เว็บไซต์ </span><span style="color:null;">สถาบันปรีดี พนมยงค์</span><span style="color:null;">)</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประชาไทสรุปเสวนา หัวข้อ "สันติภาพเมียนมา" จัดโดย สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในวาระวันสันติภาพ เมื่อ 16 ส.ค. 2566ระดมความเห็นจากหลากหลายฝ่าย นักวิชาการ นักการเมือง และภาคประชาสังคม ต่อการสร้างสันติภาพในเมียนมาหลังผ่านรัฐประหารมากว่า 2 ปี และคำถามสำคัญก็คือ ถึงเวลาที่อาเซียนและไทยต้องใช้ไม้แข็งต่อรองกดดันกองทัพพม่าให้มีการลดความรุนแรงในเมียนมาหรือยัง</p>
<p>เสวนาดังกล่าวมีผู้ร่วมอภิปราย 5 คน ประกอบด้วย กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พินิตพันธุ์ บริพัตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ., สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา "Human Rights Watch" ประจำประเทศไทย และอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และดำเนินรายการโดย ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว The Reporters</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ มองรัฐเมียนมาหลังรัฐประหารอยู่ในภาวะล้มเหลว สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษย์รุนแรงขึ้น และการเอาผิดต่อผู้ละเมิดยังเป็นไปได้ยาก แม้จะมีการพยายามเอาผิดกองทัพเมียนมาอย่างต่อเนื่อง</li>
<li>สุณัย เสนอว่า อาเซียนต้องสร้างเงื่อนไข และใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด เพื่อต่อรองให้กองทัพพม่าทำตามเงื่อนไขของอาเซียน โดยเฉพาะการขู่ยกเลิกสมาชิกภาพ ผสานการใช้การทูตกึ่งทางการ เชื่อหากตบหน้าตรงๆ จะทำให้พม่า ถอยห่างจากอาเซียน </li>
<li>พินิตพันธุ์ บริพัตร นักวิชาการการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองว่า ปัญหาของอาเซียนคือต้องลองหาวิธีการทูตวิธีใหม่ในการแก้ไขวิกฤตเมียนมา หลังลองมา 2 ปี ทุกวิธีแล้ว แต่ไม่คืบ พร้อมมองปัญหาการทูตอาเซียน ไร้ลำดับขั้น และทิศทาง ต้องชัดเจนกว่านี้</li>
<li>ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมา เสนอรัฐบาลไทย-อาเซียนสร้างอำนาจต่อรอง ผ่านการสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้ฝ่ายต่อต้าน/รัฐบาล NUG และฝั่งกองกำลังชาติพันธุ์ เพื่อให้กองทัพพม่ายอมอ่อนข้อลง และลดความรุนแรงในเมียนมา</li>
<li>ดุลยภาค เสนอด้วยว่า ไทยต้องสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนควบคู่ไปด้วย อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษเชิงสร้างสรรค์ หรือใช้โมเดลสวนสันติภาพฝั่งรัฐกะเหรี่ยง ดึงผู้หนีภัยฯ ขึ้นมาทำงานถูกกฎหมาย ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนยกระดับการสร้างสันติภาพในระดับที่ใหญ่ขึ้น </li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ED7Hq9kTokY?si=jkmDhDpJKrIr2bqy" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p><p> </p>
<div class="more-story">
<p>อ่านเสวนาตอนแรกได้ที่นี่</p>
<ul>
<li>
<p>เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)</p>
</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เอาผิดกองทัพเมียนมาไม่ง่าย </span></h2>
<p>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา “Human Rights Watch” ประจำประเทศไทย มองว่า รัฐเมียนมาขณะนี้อยู่สภาวะรัฐล้มเหลว (Failed State) ทำให้สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากตัวแสดงที่เป็นรัฐ และไม่ได้มาจากรัฐ ซึ่งอ้างว่าเป็นกลุ่มต่อต้านเผด็จการทหาร แม้ว่าความรุนแรง และความถี่มันจะน้อยว่ารัฐก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการระเบิดในเขตเมือง การวางเพลิงเผา การขึ้นบัญชีดำผู้ฝักใฝ่ระบอบเผด็จการ หรืออื่นๆ ขณะที่เผด็จการทหาร หนักกว่าก่ออาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์</p>
<p>สุณัย มองด้วยว่า เรื่องการยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพในเมียนมาอาจเป็นไปยาก ส่วนการจะเอาผิดกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้หรือไม่ สุณัย ตอบว่ามีช่องทาง แต่เอาผิดได้ยาก แม้การเอาผิดกับรัฐเมียนมาดำเนินมาอย่างต่อเนื่องผ่านศาลโลก และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่มีความคืบหน้าน้อยมาก มีแค่เรื่องโรฮีนจา เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศคดีเดียว ส่วนเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะการประหัตประหารผู้ไม่เห็นด้วยกับระบอบทหาร ตอนนี้ยังหาเจ้าภาพที่จะเอาผิดยังไม่ได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ถึงเวลาอาเซียน ใช้ไม้แข็ง สร้างแต้มต่อกดดันเมียนมา หรือยัง(?)</span></h2>
<p>ที่ปรึกษา Human Rights Watch มองโจทย์ในระดับภูมิภาคทำอะไรได้บ้าง วันนี้ฟังผู้อภิปรายหลายคนพูดแล้ว มองว่า อาเซียนไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอก โดยเฉพาะหลังมีการประชุมสมัยพิเศษแก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา และออกฉันทามติ 5 ข้อขึ้นมา ส่วนไทยสามารถเล่นบทบาทนำในการเมืองกัมพูชาช่วงสมัยสงครามอินโดจีน แต่คำถามคือแต้มต่ออยู่ตรงไหน แต้มต่อตอนที่ไทยเข้าไปมีบทบาทในกัมพูชา สมัยยุคเฮง สัมริน คือการให้กัมพูชาเป็นสมาชิกอาเซียน ทำให้มีแต้มต่อตรงนี้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137213874_5bc62c6627_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุณัย ผาสุข (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>กลับมาดูที่กรณีของเมียนมา อาเซียนมีแต้มต่อตรงนี้ด้วยเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่า อาเซียนจะใช้หรือไม่ เพราะว่าในอาเซียน มีกฎอยู่ข้อหนึ่งคือสมาชิกที่ทำตัว "นอกคอก" สามารถขับออกจากองค์การได้ แต่ไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องนี้ ดังนั้น ถึงเวลารึยังที่อาเซียนจะยกเรื่องสมาชิกภาพของอาเซียนขึ้นมา ไม่ว่าการไม่เคารพฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ตลอดจนปัญหาข้ามพรมแดนกรณีอื่นๆ ถือว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ ที่เราจะยกเรื่องนี้มาขู่ทางพม่า สุณัย มองว่า อาเซียนต้องสร้างแต้มต่อให้กับตัวเองเพื่อต่อรองกับกองทัพเมียนมา ที่ผ่านมาอาเซียนหงอเยอะไป ทำให้ตกลงเท่าไรกองทัพพม่าก็เบี้ยวตลอด แต่อย่างไรก็ตาม ใครจะเป็นคนจุดประเด็นนี้ ไทยใกล้เกินไปที่จะเสนอประเด็นนี้หรือไม่ เพราะภูมิรัฐศาสตร์ใกล้เมียนมาเกินไป หรือชาติอื่นๆ ในภาคพื้นสมุทรควรออกหน้าแทน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอใช้ช่องทางการทูตกึ่งทางการ ไม่ตบหน้าตรงๆ ดึงมหาอำนาจสร้างสันติภาพเมียนมา</span></h2>
<p>สุณัย กล่าวว่า แม้ว่าเขาเห็นด้วยว่าหากใช้วิธีตบหน้าตรงๆ กองทัพพม่าไม่เห็นด้วย และจะหันไปพึ่งพิงประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ก็คงต้องใช้แนวการทูตพัวพันอย่างสร้างสรรค์ หรือการพัวพันอย่างยืดหยุ่น จึงแนะนำว่าใช้เป็นวิธีกึ่งทางการก่อนน่าจะดีที่สุด โดยประยุกต์จากการทูตสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ใช้การประชุมช่องทาง 1.5 กึ่งทางการ โดยการเชิญทางการอาเซียนทั้งหมดบวกกับข้าราชการประจำเมียนมา เราใช้แบบนี้ได้หรือไม่ เพื่อสื่อสารกับเมียนมาว่าจะดื้อแพ่งแบบนี้ไม่ได้ ไม่งั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือการถอนสมาชิกภาพ </p>
<p>ต่อมา สุณัย เสนอว่า นอกจากช่องทางกึ่งทางการของอาเซียนแล้ว ไทยหรืออาเซียนสามารถประสานกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เราสามารถทำอะไรที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่าประณามเมียนมาในเวทีการประชุมสหประชาชาติหรือไม่ การบล็อกการทำธุรกรรมทางการเงินของกองทัพเมียนมา ในสิงคโปร์ หรือจะโยงไปที่สหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป ให้ช่วยต่อรอง </p>
<p>“เราใช้ช่องทางกึ่งทางการ จะทำให้อาเซียน ซึ่งถูกเหยียดหยามเยาะเย้ยว่า เสือกระดาษ อาจจะมีเขี้ยวงอกขึ้นมานิดๆ ในการกดดันเมียนมาได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่งั้นสถานการณ์มันจะสิ้นหวังไปเรื่อยๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนที่จะถูกวิจารณ์คืออาเซียน และไทย ที่เป็นหนังหน้าไฟ นามธรรม ในเชิงเกียรติภูมิของประเทศ และรูปธรรมคือการรับผู้ลี้ภัย” สุณัย กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลักดันวาระสร้างสันติภาพเมียนมา ผ่านกลไกอาเซียนระดับต่างๆ </span></h2>
<p>พินิตพันธุ์ บริพัตร มองว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาอาเซียนลองทุกอย่างแล้วในการแก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา ยกเว้น การใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในอาเซียน ดังนั้น เราต้องใช้วิธีใหม่ </p>
<p>"ผมคิดถึงนโยบายต่างประเทศไทยสมัยสงครามความขัดแย้งกัมพูชา ช่วงเปลี่ยนผ่านพลเอกเปรม ไปที่พลเอกชาติชาย ตรรกะของพลเอกชาติชาย มีอย่างเดียวคือ เราลองมาแล้ว 8 ปี ที่จะสกัดอิทธิพลของฮุน เซน  และเวียดนาม และไม่สามารถสร้างสันติภาพในกัมพูชาได้ ดังนั้น ก็ควรจะต้องปรับทิศทาง" พินิตพันธุ์ กล่าวถึงกรณีไทยเข้าไปมีบทบาทในกัมพูชา ช่วงสงครามอินโดจีน  </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137457685_6c83df78d4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พินิตพันธุ์ บริพัตร (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. เสนอต้องมีคนลองตั้งธงว่า อาเซียนพร้อมหรือยังที่จะเปิดพื้นที่ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงไม่ว่าคนนั้นจะเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ เราต้องลองนำวาระการเปิดพื้นที่ระเบียงมนุษยธรรมเข้าไปในการประชุม “ASEAN People's Forum” (การประชุมอาเซียนภาคประชาชน) ซึ่งมีทุกปี หรือการประชุมภาคประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ทำไมไม่มีการพูดถึง Humanitarian Corridor ต้องดึงอาเซียนเข้ามา และทำให้การแก้ไขปัญหาของอาเซียน เป็นสถาบันมากขึ้น และต้องชัดเจนเรื่องนโยบาย</p>
<p>นอกจากนี้ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. มองปัญหาการใช้นโยบายของอาเซียนยังขาดลำดับขั้นตอน ในการดำเนินนโยบาย เหมือนอาเซียนมีเมนูนโยบายทั้งในเชิงปฏิบัติทางการทูต (การใช้การทูตทวิภาคี และพหุภาคี) หรือในเชิงหลักการ (การพูดถึงหลักการสิทธิมนุษยชน หรือมนุษยธรรม) แต่ไม่มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ยกตัวอย่าง เรามีฉันทามติ 5 ข้อ ถ้าไม่ทำตามแล้วยังไงต่อ รัฐบาลไทยไปคุยกับอองซานซูจี และบอกว่าสบายดี เราจะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยไม่มีการเจรจากับกองทัพพม่า และเราจะทำยังไงต่อ เราต้องลองทุกอย่าง และเราต้องเข้าใจว่าข้อจำกัดคืออะไร </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สนับสนุนฝ่ายต่อต้าน-กองกำลังชาติพันธุ์ ต่อรองกับกองทัพเมียนมา</span></h2>
<p>ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า หลังรัฐประหารเมียนมาเมื่อปี 2564 ทำให้คู่ขัดแย้งในการเมืองมี 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กองทัพพม่า ฝ่ายต่อต้าน/รัฐบาล NUG และกองกำลังชาติพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนมาก และขาดความเป็นเอกภาพ โดยคำถามสำคัญตอนนี้คือ 3 ก๊กนี้มองมโนทัศน์เรื่อง “สันติภาพ” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และการช่วยเหลือจากประเทศไทย หรืออาเซียน ต้องเข้าใจกลยุทธ์ของการต่อสู้ 3 กลุ่มก้อนตัวแสดง </p>
<p>ต่อมา ในรอบที่ 2 ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตว่า ความรุนแรงที่มันเกิดขึ้นในพม่ามันเกิดจากหลักคิดและความชินชาต่อการใช้ความรุนแรงของทหารพม่า และทหารพม่าเป็นตัวแสดงที่ดื้อมาก และหวาดระแวงการแทรกแซงจากต่างชาติมากๆ  จึงจำเป็นต้องอาศัยศิลปะทางการทูตเป็นอย่างมาก </p>
<p>ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ทหารพม่าเป็นโรคหวาดระแวงต่างชาติ หรือกลัวการแทรกแซงจากภายนอก เรื่องนี้สะท้อนในสมัยรัฐบาลตานฉ่วย (พ.ศ. 2535-2547) ตอนนั้นพม่าถูกประธานาธิบดี จอร์จ บุช จูเนียร์ (พ.ศ. 2544-2552) กล่าวหาว่าเป็นหน้าด่านของทรราชย์ ผลจากการกล่าวหาทำให้กองทัพพม่าถึงกับไปตั้งศูนย์บัญชาการลับที่กรุงเนปิดอว์ เจาะอุโมงค์สร้างช่องทางหลบหนี เชิญช่างเทคนิคเกาหลีเหนือในการวางโครงข่ายป้องกันทางอากาศ การตั้งกองพันนิวเคลียร์ และส่งทหารไปเรียนที่รัสเซีย </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137213884_85d3b381d2_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ดุลยภาค ปรีชารัชช (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>นอกจากนี้ ดุลยภาค มองสถานการณ์กองทัพเมียนมาหลังการทำรัฐประหารปี 2564 ดูจะทำให้กองทัพเมียนมา หลังพิงฝามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) บัญญัติว่า เมื่อใดก็ตามที่เมียนมามีความสับสนวุ่นวาย จะต้องใช้ยุทธศาสตร์สงครามประชาชนเข้ามา แต่คำถามปัจจุบันคือจะเอาประชาชนมาร่วมรบอย่างไร เมื่อประชาชนไม่เอาเผด็จการ และประกาศสงครามปฏิวัติสร้างระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้ทำให้กองทัพเมียนมาหลังชนฝา และกดดันว่าจะถูกแทรกแซงและถูกล้มระบอบทหารมากขึ้น ทางแก้ของทหารพม่า ก็จะเปลี่ยนเป็นรัฐแสนยานุภาพ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย และเกาหลีเหนือ ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาสะสม เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง</p>
<p>ดังนั้น ดุลยภาค จึงมองว่า ถ้าเราใช้วิธีที่รุนแรงอย่างการขู่จะยกเลิกสมาชิกภาพ เขาทำนายได้เลยว่า พม่าจะหันเข้าหารัสเซีย หรือเกาหลีเหนือ เพื่อหาทางสร้างอำนาจต่อรอง (Bargaining Power) และจะถอยห่างจากอาเซียน</p>
<p>แล้วแบบนี้ ถ้ากองทัพเมียนมาไม่ง้ออาเซียน และเราจะแก้เกมอย่างไรได้บ้าง ดุลยภาค มองว่า เราสามารถกดดันได้ แต่ต้องมีจังหวะผ่อนสั้น-ยาว เช่น ตอนนี้เมียนมามีลักษณะเป็นรัฐล้มเหลว คุณลักษณะของรัฐล้มเหลวอย่างหนึ่งคือการไม่สามารถส่งมอบบริการสาธารณะให้กับประชาชน เช่น สาธารณสุข เรื่องการแพทย์ หรืออื่นๆ ทีนี้บทบาทของอาเซียนกับไทยคือในฐานะมนุษยธรรม เมื่อประชาชนเมียนมาได้รับความเดือดร้อน อาเซียน และไทย สามารถระดมความช่วยเหลือและการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับรัฐบาล ‘NUG’ หรือกองกำลังชาติพันธุ์อย่าง KNU หรือ KNPP ซึ่งเขามีโครงสร้างการบริหารท้องถิ่นขนาดย่อมอยู่แล้ว</p>
<p>ดุลยภาค มองว่า เราต้องต่อรองรัฐบาลเมียนมาว่า ถ้าเขาละเมิดสิทธิประชาชน เราจะไปช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลดูแลประชาชน ดูแลเศรษฐกิจชายแดน ถ้าทหารเมียนมาไม่ต้องการ ก็ต้องยื่นเงื่อนไขลดความรุนแรงภายในประเทศ หรือดื้อรั้นให้น้อยลง มาร่วมกับทางอาเซียน หรือสหประชาชาติ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปช่วยเหลือประชาชน อันนี้เขาคิดว่าทำได้</p>
<p>ดุลยภาค มองต่อว่า บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะหน้าด่าน เป็นตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ตอนไทยปั้นเขมร 3 ฝ่ายสู้ เฮง สัมริน โดยมีการดึงมหาอำนาจจากภายนอกอย่าง สหรัฐฯ และยูเอ็น เข้ามาช่วย ก่อนที่รัฐบาลชาติชาย ใช้นโยบาย ‘เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า’ คุยกับรัฐบาลกัมพูชาโดยตรง และฝ่ายเขมรแดงก็ได้ประโยชน์ ซึ่งถ้าทีมการต่างประเทศรัฐบาลใหม่มีลีลาการทูตแบบนี้ ก็จะสามารถช่วยทางฝั่งตะวันตก คุยกับกลุ่มการเมืองต่างๆ ในเมียนมาในลักษณะไหนให้เราได้เปรียบ และประชาชนได้รับความผาสุขด้วย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51432040792_1b305aebce_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">รักษาการประธานาธิบดี รัฐบาล NUG "ดูหว่าละชิละ" (ที่มา: ภาพจากไลฟ์สดเพจเฟซบุ๊ก Acting President Duwa Lashi La)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อนยกระดับสร้างความร่วมมือในอนาคต</span></h2>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมาจาก มธ. เสนอไทยว่าต้องเริ่มจากเรื่องเบาๆ และเป็นมิตร ก่อนยกระดับต่อไป เรื่องไหนเริ่มได้เริ่มได้เลย ไม่ต้องรอ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ผ่อนสั้นผ่อนยาว </p>
<p>ดุลยภาค เสนอว่า พลวัตรพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เช่น แม่สาย ท่าขี้เหล็ก แม่สอด เมียวดี หรือในเขตป่าเขา สาละวิน ที่ติดกับประเทศเมียนมา อาจจะเริ่มลองทำเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนที่มีนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ขึ้นมา และใช้ทรัพยากรบุคคลจากผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางที่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว และมีองค์ความรู้พอสมควรเข้ามาทำงาน หรือการตั้งโรงเรียนสันติภาพโดยดึงชาวเมียนมาเข้ามาทำงานหรืออบรมเรื่องสันติภาพ การเป็นล่ามให้กับสถาบันการศึกษาที่สนใจและอยากทำงานเรื่องพม่า หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หรือเปิดเป็นคอมเพล็กซ์การค้าและการบริการ นำผู้ประกอบการผิดกฎหมายขึ้นมาทำงานบนดิน และเอามาอยู่ในเขตเศรษฐกิจชายแดนเชิงสร้างสรรค์ตรงนี้ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันได้สร้างสันติภาพควบคู่ไปด้วย </p>
<p>ดุลยภาค มองว่าโมเดลนี้เคยทำได้ในรัฐกะเหรี่ยงผ่านการสร้างสวนสันติภาพ โดยจัดให้เป็นเขตห้ามยิง และมีการอบรมสร้างสันติภาพในพื้นที่ ประชาชนก็มีความสุข หรืออาจเพิ่มโปรแกรมอนุรักษ์พันธุ์ปลาหรือพันธุ์ไม้ในสาละวิน เราก็สามารถดึงบุคลากรชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามาช่วยอบรม และช่วยดูแลได้ หรือกระทั่ง แม่ทัพนายกองของกองทัพเมียนมา ดึงเข้ามาเกี่ยวดองกันได้ สร้างบรรยากาศเป็นมิตร และยกระดับการสร้างสันติภาพต่อไป</p>
<p>กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม กล่าวเห็นด้วยกับข้อเสนอของดุลยภาค เพราะว่าพรรคเป็นธรรม มีนโยบาย "ระเบียงเศรษฐกิจ" โดยชายแดนของไทยที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด จำเป็นต้องมีการเปิดระเบียงเศรษฐกิจ สร้างเมืองคู่แฝด ใช้ซอฟต์พาวเวอร์พัฒนาปรับปรุงฝั่งตะวันตกของไทย หรือจะมีการสร้างโรงเรียนสันติภาพ หรืออบรมเรื่องสันติภาพก็ยังได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดึงจีนช่วยเรื่องเมียนมา</span></h2>
<p>กัณวีร์ มองว่า ไทยต้องใช้กรอบความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะประเทศจีน และพหุภาคีอย่างอาเซียน ควบคู่กัน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองเมียนมา </p>
<p>กัณวีร์ เสนอลองเจรจากับจีน เนื่องจากจีนมีอิทธิพลค่อนข้างสูงกับเมียนมา โดยเฉพาะเศรษฐกิจทางตอนเหนือของเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นเหมืองหยก หรืออื่นๆ  ดังนั้น ไทยอาจจะใช้ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน ในการเชื้อเชิญเมียนมา ให้เข้ามาพิจารณาเรื่องการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และการทำงานด้านมนุษยธรรมให้กับราษฎรในประเทศของตัวเองได้ ไทยต้องลองดูแนวทางการทูตแบบทวิภาคีอย่างจีน และอินเดีย หรือใช้อาเซียน </p>
<p>อย่างไรก็ตาม กัณวีร์ กล่าวย้ำว่า เรื่องเร่งด่วนที่สุดคือการสร้างระเบียงมนุษยธรรม (Humanitarian Corridor) ขึ้นมาด้านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย และต้องใช้ทุกกลไก เพื่อเปิดระเบียงให้ได้ และต้องทำให้เร็วและเร่งด่วน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137012321_85d13db65c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กัณวีร์ สืบแสง (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105654
 
6048  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - อื้อหือ! "เมย์ พิชญ์นาฏ" เซลฟี่ใส่ชุดว่ายน้ำ แต่ละช็อตฮอตเวอร์ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 23:50:12
อื้อหือ! "เมย์ พิชญ์นาฏ" เซลฟี่ใส่ชุดว่ายน้ำ แต่ละช็อตฮอตเวอร์
         


อื้อหือ! &quot;เมย์ พิชญ์นาฏ&quot; เซลฟี่ใส่ชุดว่ายน้ำ แต่ละช็อตฮอตเวอร์" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;เมย์ พิชญ์นาฏ เซลฟี่ใส่ชุดว่ายน้ำ โพสท่าแต่ละช็อตสวยฮอตเวอร์
         

https://www.sanook.com/news/8995426/
         
6049  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'พิธา' ร่วมพิธีผูกข้อมือเดือนเก้า ชาวปกาเกอะญอ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 22:46:22
'พิธา' ร่วมพิธีผูกข้อมือเดือนเก้า ชาวปกาเกอะญอ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 18:40</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'พิธา' ร่วมประเพณีผูกข้อมือเรียกขวัญเดือนเก้า (กี่จึลาคุปุ) ของพี่น้องชาติพันธุ์ชาวชาวปกาเกอะญอ ยืนยันยังมีนักการเมืองที่ยืนอยู่เคียงข้างพี่น้องขาวชาติพันธุ์ เพราะเชื่อว่าความหลากหลายคือจุดแข็งของประเทศนี้ ไม่ใช่จุดอ่อน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53145146873_1a855e9512_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย</span></p>
<p>27 ส.ค. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมงานประเพณีผูกข้อมือเรียกขวัญเดือนเก้า (กี่จึลาคุปุ) ของพี่น้องชาติพันธุ์ชาวชาวปกาเกอะญอ ณ วัดพระยาสุเรนทร์ กรุงเทพฯ  โดยมี นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ให้การต้อนรับ ซึ่งบรรยากาศภายในงาน มีชาวปกากะญอเดินทางมาจากหลายจังหวัด พร้อมเตรียมดอกไม้มามอบให้นายพิธา ขณะเดียวกันมีชาวปกากะญอมาอำนวยความสะดวกในพื้นที่วัดด้วย</p>
<p>เมื่อพิธา เดินทางมาถึงวัดชาวปกากะญอหลายร้อยชีวิต ต่างมายืนรอรับกันอย่างเนืองแน่น และในระหว่างประกอบพิธีชาวชาติพันธุ์ได้นำเสื้อพื้นเมืองมาสวมใส่ให้พิธาด้วย</p>
<p>พิธา ได้ขึ้นกล่าวบนเวที ทักทายพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เป็นภาษากะเหรี่ยง พร้อมเริ่มต้นพูดว่า นี่ขนาดยังไม่ได้ผูกข้อมือ ขวัญก็มาเต็มๆ แล้ว พอได้ทำงานการเมืองก็เริ่มซึบซับในประเพณีกลุ่มชาติพันธุ์ และไปร่วมพิธีอื่นๆ มาแล้ว วันนี้ขอมาร่วมพิธีผูกข้อมือ ตนอยากจะบอกว่า คุณค่าของพี่น้องกะเหรี่ยงอยู่ในใจของตนเสมอในการทำงาน ชุดประจำของพี่น้องข้างหน้าจะเป็นยังไง ข้างหลังก็เป็นอย่างงั้น ความตรงไปตรงมา ความคงเส้นคงวา จะอยู่คู่กับตนตลอดไป เสื้อที่พี่น้องให้มา ไม่มีปก ไม่มีตะเข็บ ไม่มีกระเป๋า เปรียบเหมือนความเรียบง่ายติดดินของประชาชน ตราบใดที่ตนยังเป็นคนของประชาชนอยู่ ก็จะเป็นแบบเดิมเสมอไป</p>
<p>“และนี่คือการยืนยันว่า ยังมีนักการเมืองที่ยืนอยู่เคียงข้างพี่น้องชาวกะเหรี่ยงขาวชาติพันธุ์อย่างแน่นอน เพราะเราเชื่อว่าความหลากหลาย คือจุดแข็งของประเทศนี้ ไม่ใช่จุดอ่อน ทั้ง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ที่มี 4 เสา ดูแลพี่น้องอย่างเป็นธรรม โดยไม่ลดความเป็นชาติพันธุ์แม้แต่นิดเดียว ทั้งเรื่องสัญชาติ สาธารณสุข เด็กติดจีและเรื่องสาธารณูปโภค ทุกคนจะต้องอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีในประเทศนี้” นายพิธา กล่าว</p>
<p>จากนั้นพิธา และแกนนำพรรคก้าวไกล ได้ขึ้นบนเวที เพื่อทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญ โดยผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ ตามความเชื่อว่าต้องเรียกขวัญมาสู่ร่างกายตนเองทุกปี รวมถึงมีการมอบข้าวตอกดอกไม้ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนจะรับชมการแสดงของชาวปกาเกอะญอ จำนวน 2 ชุดอย่างสนุกสนาน</p>
<p>ในช่วงสุดท้ายพิธา ได้ลุกขึ้นจับไมค์ แล้วพูดว่า ขอเชิญทุกคนมาเซลฟี่ร่วมกัน ก่อนจะเสร็จพิธี</p>
<p> </p>
<p><span style="color:#3498db;">ที่มาเรียบเรียงจาก: </span><span style="color:#3498db;">ข่าวออนไลน์7HD</span><span style="color:#3498db;"> | </span><span style="color:#3498db;">สำนักข่าวไทย</span>
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105653
 
6050  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดใจเจ้าของ "พลายเป๊ปซี่" เผยสาเหตุที่ต้องทารุณช้าง ประวัติดุร้ายฆ่าคนตาย เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 21:20:07
เปิดใจเจ้าของ "พลายเป๊ปซี่" เผยสาเหตุที่ต้องทารุณช้าง ประวัติดุร้ายฆ่าคนตาย 9 ศพ
         


เปิดใจเจ้าของ &quot;พลายเป๊ปซี่&quot; เผยสาเหตุที่ต้องทารุณช้าง ประวัติดุร้ายฆ่าคนตาย 9 ศพ" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;เปิดใจเจ้าของช้าง "พลายเป๊ปซี่" ซื้อมา 1.5 ล้าน ดุร้ายฆ่าคนมาแล้ว 9 ศพ แม้แต่ลูกชายตัวเองก็ถูกช้างทำร้ายเสียชีวิต
         

https://www.sanook.com/news/8995422/
         
6051  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2) เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 21:16:01
เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 19:10</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: (ซ้าย-ขวา) กัณวีร์ สืบแสง ดุลยภาค ปรีชารัชช สุณัย ผาสุข และ พินิตพันธุ์ บริพัตร <span style="color:null;">(ที่มา: เว็บไซต์ </span><span style="color:null;">สถาบันปรีดี พนมยงค์</span><span style="color:null;">)</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประชาไทสรุปเสวนา หัวข้อ "สันติภาพเมียนมา" จัดโดย สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในวาระวันสันติภาพ เมื่อ 16 ส.ค. 2566ระดมความเห็นจากหลากหลายฝ่าย นักวิชาการ นักการเมือง และภาคประชาสังคม ต่อการสร้างสันติภาพในเมียนมาหลังผ่านรัฐประหารมากว่า 2 ปี และคำถามสำคัญก็คือ ถึงเวลาที่อาเซียนและไทยต้องใช้ไม้แข็งต่อรองกดดันกองทัพพม่าให้มีการลดความรุนแรงในเมียนมาหรือยัง</p>
<p>เสวนาดังกล่าวมีผู้ร่วมอภิปราย 5 คน ประกอบด้วย กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พินิตพันธุ์ บริพัตร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ., สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา "Human Rights Watch" ประจำประเทศไทย และอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ และกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และดำเนินรายการโดย ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว The Reporters</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ มองรัฐเมียนมาหลังรัฐประหารอยู่ในภาวะล้มเหลว สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษย์รุนแรงขึ้น และการเอาผิดต่อผู้ละเมิดยังเป็นไปได้ยาก แม้จะมีการพยายามเอาผิดกองทัพเมียนมาอย่างต่อเนื่อง</li>
<li>สุณัย เสนอว่า อาเซียนต้องสร้างเงื่อนไข และใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด เพื่อต่อรองให้กองทัพพม่าทำตามเงื่อนไขของอาเซียน โดยเฉพาะการขู่ยกเลิกสมาชิกภาพ ผสานการใช้การทูตกึ่งทางการ เชื่อหากตบหน้าตรงๆ จะทำให้พม่า ถอยห่างจากอาเซียน </li>
<li>พินิตพันธุ์ บริพัตร นักวิชาการการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองว่า ปัญหาของอาเซียนคือต้องลองหาวิธีการทูตวิธีใหม่ในการแก้ไขวิกฤตเมียนมา หลังลองมา 2 ปี ทุกวิธีแล้ว แต่ไม่คืบ พร้อมมองปัญหาการทูตอาเซียน ไร้ลำดับขั้น และทิศทาง ต้องชัดเจนกว่านี้</li>
<li>ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมา เสนอรัฐบาลไทย-อาเซียนสร้างอำนาจต่อรอง ผ่านการสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้ฝ่ายต่อต้าน/รัฐบาล NUG และฝั่งกองกำลังชาติพันธุ์ เพื่อให้กองทัพพม่ายอมอ่อนข้อลง และลดความรุนแรงในเมียนมา</li>
<li>ดุลยภาค เสนอด้วยว่า ไทยต้องสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนควบคู่ไปด้วย อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษเชิงสร้างสรรค์ หรือใช้โมเดลสวนสันติภาพฝั่งรัฐกะเหรี่ยง ดึงผู้หนีภัยฯ ขึ้นมาทำงานถูกกฎหมาย ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนยกระดับการสร้างสันติภาพในระดับที่ใหญ่ขึ้น </li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ED7Hq9kTokY?si=jkmDhDpJKrIr2bqy" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p><p> </p>
<div class="more-story">
<p>อ่านเสวนาตอนแรกได้ที่นี่</p>
<ul>
<li>
<p>เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)</p>
</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">เอาผิดกองทัพเมียนมาไม่ง่าย </span></h2>
<p>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา “Human Rights Watch” ประจำประเทศไทย มองว่า รัฐเมียนมาขณะนี้อยู่สภาวะรัฐล้มเหลว (Failed State) ทำให้สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากตัวแสดงที่เป็นรัฐ และไม่ได้มาจากรัฐ ซึ่งอ้างว่าเป็นกลุ่มต่อต้านเผด็จการทหาร แม้ว่าความรุนแรง และความถี่มันจะน้อยว่ารัฐก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการระเบิดในเขตเมือง การวางเพลิงเผา การขึ้นบัญชีดำผู้ฝักใฝ่ระบอบเผด็จการ หรืออื่นๆ ขณะที่เผด็จการทหาร หนักกว่าก่ออาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์</p>
<p>สุณัย มองด้วยว่า เรื่องการยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพในเมียนมาอาจเป็นไปยาก ส่วนการจะเอาผิดกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้หรือไม่ สุณัย ตอบว่ามีช่องทาง แต่เอาผิดได้ยาก แม้การเอาผิดกับรัฐเมียนมาดำเนินมาอย่างต่อเนื่องผ่านศาลโลก และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่มีความคืบหน้าน้อยมาก มีแค่เรื่องโรฮีนจา เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศคดีเดียว ส่วนเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะการประหัตประหารผู้ไม่เห็นด้วยกับระบอบทหาร ตอนนี้ยังหาเจ้าภาพที่จะเอาผิดยังไม่ได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ถึงเวลาอาเซียน ใช้ไม้แข็ง สร้างแต้มต่อกดดันเมียนมา หรือยัง(?)</span></h2>
<p>ที่ปรึกษา Human Rights Watch มองโจทย์ในระดับภูมิภาคทำอะไรได้บ้าง วันนี้ฟังผู้อภิปรายหลายคนพูดแล้ว มองว่า อาเซียนไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอก โดยเฉพาะหลังมีการประชุมสมัยพิเศษแก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา และออกฉันทามติ 5 ข้อขึ้นมา ส่วนไทยสามารถเล่นบทบาทนำในการเมืองกัมพูชาช่วยสมัยสงครามอินโดจีน แต่คำถามคือแต้มต่ออยู่ตรงไหน แต้มต่อตอนที่ไทยเข้าไปมีบทบาทในกัมพูชา สมัยยุคเฮง สัมริน คือการให้กัมพูชาเป็นสมาชิกอาเซียน ทำให้มีแต้มต่อตรงนี้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137213874_5bc62c6627_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุณัย ผาสุข (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>กลับมาดูที่กรณีของเมียนมา อาเซียนมีแต้มต่อตรงนี้ด้วยเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่า อาเซียนจะใช้หรือไม่ เพราะว่าในอาเซียน มีกฎอยู่ข้อหนึ่งคือสมาชิกที่ทำตัว "นอกคอก" สามารถขับออกจากองค์การได้ แต่ไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องนี้ ดังนั้น ถึงเวลารึยังที่อาเซียนจะยกเรื่องสมาชิกภาพของอาเซียนขึ้นมา ไม่ว่าการไม่เคารพฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ตลอดจนปัญหาข้ามพรมแดนกรณีอื่นๆ ถือว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ ที่เราจะยกเรื่องนี้มาขู่ทางพม่า สุณัย มองว่า อาเซียนต้องสร้างแต้มต่อให้กับตัวเองเพื่อต่อรองกับกองทัพเมียนมา ที่ผ่านมาอาเซียนหงอเยอะไป ทำให้ตกลงเท่าไรกองทัพพม่าก็เบี้ยวตลอด แต่อย่างไรก็ตาม ใครจะเป็นคนจุดประเด็นนี้ ไทยใกล้เกินไปที่จะเสนอประเด็นนี้หรือไม่ เพราะภูมิรัฐศาสตร์ใกล้เมียนมาเกินไป หรือชาติอื่นๆ ในภาคพื้นสมุทรควรออกหน้าแทน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอใช้ช่องทางการทูตกึ่งทางการ ไม่ตบหน้าตรงๆ ดึงมหาอำนาจสร้างสันติภาพเมียนมา</span></h2>
<p>สุณัย กล่าวว่า แม้ว่าเขาเห็นด้วยว่าหากใช้วิธีตบหน้าตรงๆ กองทัพพม่าไม่เห็นด้วย และจะหันไปพึ่งพิงประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ก็คงต้องใช้แนวการทูตพัวพันอย่างสร้างสรรค์ หรือการพัวพันอย่างยืดหยุ่น จึงแนะนำว่าใช้เป็นวิธีกึ่งทางการก่อนน่าจะดีที่สุด โดยประยุกต์จากการทูตสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ใช้การประชุมช่องทาง 1.5 กึ่งทางการ โดยการเชิญทางการอาเซียนทั้งหมดบวกกับข้าราชการประจำเมียนมา เราใช้แบบนี้ได้หรือไม่ เพื่อสื่อสารกับเมียนมาว่าจะดื้อแพ่งแบบนี้ไม่ได้ ไม่งั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือการถอนสมาชิกภาพ </p>
<p>ต่อมา สุณัย เสนอว่า นอกจากช่องทางกึ่งทางการของอาเซียนแล้ว ไทยหรืออาเซียนสามารถประสานกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เราสามารถทำอะไรที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่าประณามเมียนมาในเวทีการประชุมสหประชาชาติหรือไม่ การบล็อกการทำธุรกรรมทางการเงินของกองทัพเมียนมา ในสิงคโปร์ หรือจะโยงไปที่สหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป ให้ช่วยต่อรอง </p>
<p>“เราใช้ช่องทางกึ่งทางการ จะทำให้อาเซียน ซึ่งถูกเหยียดหยามเยาะเย้ยว่า เสือกระดาษ อาจจะมีเขี้ยวงอกขึ้นมานิดๆ ในการกดดันเมียนมาได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่งั้นสถานการณ์มันจะสิ้นหวังไปเรื่อยๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนที่จะถูกวิจารณ์คืออาเซียน และไทย ที่เป็นหนังหน้าไฟ นามธรรม ในเชิงเกียรติภูมิของประเทศ และรูปธรรมคือการรับผู้ลี้ภัย” สุณัย กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลักดันวาระสร้างสันติภาพเมียนมา ผ่านกลไกอาเซียนระดับต่างๆ </span></h2>
<p>พินิตพันธุ์ บริพัตร มองว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาอาเซียนลองทุกอย่างแล้วในการแก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา ยกเว้น การใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในอาเซียน ดังนั้น เราต้องใช้วิธีใหม่ </p>
<p>"ผมคิดถึงนโยบายต่างประเทศไทยสมัยสงครามความขัดแย้งกัมพูชา ช่วงเปลี่ยนผ่านพลเอกเปรม ไปที่พลเอกชาติชาย ตรรกะของพลเอกชาติชาย มีอย่างเดียวคือ เราลองมาแล้ว 8 ปี ที่จะสกัดอิทธิพลของฮุน เซน  และเวียดนาม และไม่สามารถสร้างสันติภาพในกัมพูชาได้ ดังนั้น ก็ควรจะต้องปรับทิศทาง" พินิตพันธุ์ กล่าวถึงกรณีไทยเข้าไปมีบทบาทในกัมพูชา ช่วงสงครามอินโดจีน  </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137457685_6c83df78d4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พินิตพันธุ์ บริพัตร (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. เสนอต้องมีคนลองตั้งธงว่า อาเซียนพร้อมหรือยังที่จะเปิดพื้นที่ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงไม่ว่าคนนั้นจะเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ เราต้องลองนำวาระการเปิดพื้นที่ระเบียงมนุษยธรรมเข้าไปในการประชุม “ASEAN People's Forum” (การประชุมอาเซียนภาคประชาชน) ซึ่งมีทุกปี หรือการประชุมภาคประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ทำไมไม่มีการพูดถึง Humanitarian Corridor ต้องดึงอาเซียนเข้ามา และทำให้การแก้ไขปัญหาของอาเซียน เป็นสถาบันมากขึ้น และต้องชัดเจนเรื่องนโยบาย</p>
<p>นอกจากนี้ อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. มองปัญหาการใช้นโยบายของอาเซียนยังขาดลำดับขั้นตอน ในการดำเนินนโยบาย เหมือนอาเซียนมีเมนูนโยบายทั้งในเชิงปฏิบัติทางการทูต (การใช้การทูตทวิภาคี และพหุภาคี) หรือในเชิงหลักการ (การพูดถึงหลักการสิทธิมนุษยชน หรือมนุษยธรรม) แต่ไม่มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ยกตัวอย่าง เรามีฉันทามติ 5 ข้อ ถ้าไม่ทำตามแล้วยังไงต่อ รัฐบาลไทยไปคุยกับอองซานซูจี และบอกว่าสบายดี เราจะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยไม่มีการเจรจากับกองทัพพม่า และเราจะทำยังไงต่อ เราต้องลองทุกอย่าง และเราต้องเข้าใจว่าข้อจำกัดคืออะไร </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สนับสนุนฝ่ายต่อต้าน-กองกำลังชาติพันธุ์ ต่อรองกับกองทัพเมียนมา</span></h2>
<p>ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า หลังรัฐประหารเมียนมาเมื่อปี 2564 ทำให้คู่ขัดแย้งในการเมืองมี 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กองทัพพม่า ฝ่ายต่อต้าน/รัฐบาล NUG และกองกำลังชาติพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนมาก และขาดความเป็นเอกภาพ โดยคำถามสำคัญตอนนี้คือ 3 ก๊กนี้มองมโนทัศน์เรื่อง “สันติภาพ” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และการช่วยเหลือจากประเทศไทย หรืออาเซียน ต้องเข้าใจกลยุทธ์ของการต่อสู้ 3 กลุ่มก้อนตัวแสดง </p>
<p>ต่อมา ในรอบที่ 2 ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตว่า ความรุนแรงที่มันเกิดขึ้นในพม่ามันเกิดจากหลักคิดและความชินชาต่อการใช้ความรุนแรงของทหารพม่า และทหารพม่าเป็นตัวแสดงที่ดื้อมาก และหวาดระแวงการแทรกแซงจากต่างชาติมากๆ  จึงจำเป็นต้องอาศัยศิลปะทางการทูตเป็นอย่างมาก </p>
<p>ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ทหารพม่าเป็นโรคหวาดระแวงต่างชาติ หรือกลัวการแทรกแซงจากภายนอก เรื่องนี้สะท้อนในสมัยรัฐบาลตานฉ่วย (พ.ศ. 2535-2547) ตอนนั้นพม่าถูกประธานาธิบดี จอร์จ บุช จูเนียร์ (พ.ศ. 2544-2552) กล่าวหาว่าเป็นหน้าด่านของทรราชย์ ผลจากการกล่าวหาทำให้กองทัพพม่าถึงกับไปตั้งศูนย์บัญชาการลับที่กรุงเนปิดอว์ เจาะอุโมงค์สร้างช่องทางหลบหนี เชิญช่างเทคนิคเกาหลีเหนือในการวางโครงข่ายป้องกันทางอากาศ การตั้งกองพันนิวเคลียร์ และส่งทหารไปเรียนที่รัสเซีย </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137213884_85d3b381d2_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ดุลยภาค ปรีชารัชช (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
<p>นอกจากนี้ ดุลยภาค สถานการณ์กองทัพเมียนมาหลังการทำรัฐประหารปี 2564 ดูจะทำให้กองทัพเมียนมา หลังพิงฝามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) บัญญัติว่า เมื่อใดก็ตามที่เมียนมามีความสับสนวุ่นวาย จะต้องใช้ยุทธศาสตร์สงครามประชาชนเข้ามา แต่คำถามปัจจุบันคือจะเอาประชาชนมาร่วมรบอย่างไร เมื่อประชาชนไม่เอาเผด็จการ และประกาศสงครามปฏิวัติสร้างระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้ทำให้กองทัพเมียนมาหลังชนฝา และกดดันว่าจะถูกแทรกแซงและถูกล้มระบอบทหารมากขึ้น ทางแก้ของทหารพม่า ก็จะเปลี่ยนเป็นรัฐแสนยานุภาพ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย และเกาหลีเหนือ ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาสะสม เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง</p>
<p>ดังนั้น ดุลยภาค จึงมองว่า ถ้าเราใช้วิธีที่รุนแรงอย่างการขู่จะยกเลิกสมาชิกภาพ เขาทำนายได้เลยว่า พม่าจะหันเข้าหารัสเซีย หรือเกาหลีเหนือ เพื่อหาทางสร้างอำนาจต่อรอง (Bargaining Power) และจะถอยห่างจากอาเซียน</p>
<p>แล้วแบบนี้ ถ้ากองทัพเมียนมาไม่ง้ออาเซียน และเราจะแก้เกมอย่างไรได้บ้าง ดุลยภาค มองว่า เราสามารถกดดันได้ แต่ต้องมีจังหวะผ่อนสั้น-ยาว เช่น ตอนนี้เมียนมามีลักษณะเป็นรัฐล้มเหลว คุณลักษณะของรัฐล้มเหลวอย่างหนึ่งคือการไม่สามารถส่งมอบบริการสาธารณะให้กับประชาชน เช่น สาธารณสุข เรื่องการแพทย์ หรืออื่นๆ ทีนี้บทบาทของอาเซียนกับไทยคือในฐานะมนุษยธรรม เมื่อประชาชนเมียนมาได้รับความเดือดร้อน อาเซียน และไทย สามารถระดมความช่วยเหลือและการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับรัฐบาล ‘NUG’ หรือกองกำลังชาติพันธุ์อย่าง KNU หรือ KNPP ซึ่งเขามีโครงสร้างการบริหารท้องถิ่นขนาดย่อมอยู่แล้ว</p>
<p>ดุลยภาค มองว่า เราต้องต่อรองรัฐบาลเมียนมาว่า ถ้าเขาละเมิดสิทธิประชาชน เราจะไปช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลดูแลประชาชน ดูแลเศรษฐกิจชายแดน ถ้าทหารเมียนมาไม่ต้องการ ก็ต้องยื่นเงื่อนไขลดความรุนแรงภายในประเทศ หรือดื้อรั้นให้น้อยลง มาร่วมกับทางอาเซียน หรือสหประชาชาติ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปช่วยเหลือประชาชน อันนี้เขาคิดว่าทำได้</p>
<p>ดุลยภาค มองต่อว่า บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะหน้าด่าน เป็นตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ตอนไทยปั้นเขมร 3 ฝ่ายสู้ เฮง สัมริน โดยมีการดึงมหาอำนาจจากภายนอกอย่าง สหรัฐฯ และยูเอ็น เข้ามาช่วย ก่อนที่รัฐบาลชาติชาย ใช้นโยบาย ‘เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า’ คุยกับรัฐบาลกัมพูชาโดยตรง และฝ่ายเขมรแดงก็ได้ประโยชน์ ซึ่งถ้าทีมการต่างประเทศรัฐบาลใหม่มีลีลาการทูตแบบนี้ ก็จะสามารถช่วยทางฝั่งตะวันตก คุยกับกลุ่มการเมืองต่างๆ ในเมียนมาในลักษณะไหนให้เราได้เปรียบ และประชาชนได้รับความผาสุขด้วย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51432040792_1b305aebce_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">รักษาการประธานาธิบดี รัฐบาล NUG "ดูหว่าละชิละ" (ที่มา: ภาพจากไลฟ์สดเพจเฟซบุ๊ก Acting President Duwa Lashi La)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อนยกระดับสร้างความร่วมมือในอนาคต</span></h2>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมาจาก มธ. เสนอไทยว่าต้องเริ่มจากเรื่องเบาๆ และเป็นมิตร ก่อนยกระดับต่อไป เรื่องไหนเริ่มได้เริ่มได้เลย ไม่ต้องรอ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ผ่อนสั้นผ่อนยาว </p>
<p>ดุลยภาค เสนอว่า พลวัตรพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เช่น แม่สาย ท่าขี้เหล็ก แม่สอด เมียวดี หรือในเขตป่าเขา สาละวิน ที่ติดกับประเทศเมียนมา อาจจะเริ่มลองทำเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนที่มีนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ขึ้นมา และใช้ทรัพยากรบุคคลจากผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางที่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว และมีองค์ความรู้พอสมควรเข้ามาทำงาน หรือการตั้งโรงเรียนสันติภาพโดยดึงชาวเมียนมาเข้ามาทำงานหรืออบรมเรื่องสันติภาพ การเป็นล่ามให้กับสถาบันการศึกษาที่สนใจและอยากทำงานเรื่องพม่า หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  หรือเปิดเป็นคอมเพล็กซ์การค้าและการบริการ นำผู้ประกอบการผิดกฎหมายขึ้นมาทำงานบนดิน และเอามาอยู่ในเขตเศรษฐกิจชายแดนเชิงสร้างสรรค์ตรงนี้ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันได้สร้างสันติภาพควบคู่ไปด้วย </p>
<p>ดุลยภาค มองว่าโมเดลนี้เคยทำได้ในรัฐกะเหรี่ยงผ่านการสร้างสวนสันติภาพ โดยจัดให้เป็นเขตห้ามยิง และมีการอบรมสร้างสันติภาพในพื้นที่ ประชาชนก็มีความสุข หรืออาจเพิ่มโปรแกรมอนุรักษ์พันธุ์ปลาหรือพันธุ์ไม้ในสาละวิน เราก็สามารถดึงบุคลากรชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามาช่วยอบรม และช่วยดูแลได้ หรือกระทั่ง แม่ทัพนายกองของกองทัพเมียนมา ดึงเข้ามาเกี่ยวดองกันได้ สร้างบรรยากาศเป็นมิตร และยกระดับการสร้างสันติภาพต่อไป</p>
<p>กัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม กล่าวเห็นด้วยกับข้อเสนอของดุลยภาค เพราะว่าพรรคเป็นธรรม มีนโยบาย "ระเบียงเศรษฐกิจ" โดยชายแดนของไทยที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด จำเป็นต้องมีการเปิดระเบียงเศรษฐกิจ สร้างเมืองคู่แฝด ใช้ซอฟต์พาวเวอร์พัฒนาปรับปรุงเรื่องตะวันตกของไทย หรือจะมีการสร้างโรงเรียนสันติภาพ หรืออบรมเรื่องสันติภาพก็ยังได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดึงจีนช่วยเรื่องเมียนมา</span></h2>
<p>กัณวีร์ มองว่า ไทยต้องใช้กรอบความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะประเทศจีน และพหุภาคีอย่างอาเซียน ควบคู่กัน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองเมียนมา </p>
<p>กัณวีร์ เสนอลองเจรจากับจีน เนื่องจากจีนมีอิทธิพลค่อนข้างสูงกับเมียนมา โดยเฉพาะเศรษฐกิจทางตอนเหนือของเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นเหมืองหยก หรืออื่นๆ  ดังนั้น ไทยอาจจะใช้ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน ในการเชื้อเชิญเมียนมา ให้เข้ามาพิจารณาเรื่องการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และการทำงานด้านมนุษยธรรมให้กับราษฎรในประเทศของตัวเองได้ ไทยต้องลองดูแนวทางการทูตแบบทวิภาคีอย่างจีน และอินเดีย ใช้อาเซียน </p>
<p>อย่างไรก็ตาม กัณวีร์ กล่าวย้ำว่า เรื่องเร่งด่วนที่สุดคือการสร้างระเบียงมนุษยธรรม (Humanitarian Corridor) ขึ้นมาด้านชายแดนตะวันตกของประเทศไทย และต้องใช้ทุกกลไก เพื่อเปิดระเบียงให้ได้ และต้องทำให้เร็วและเร่งด่วน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53137012321_85d13db65c_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กัณวีร์ สืบแสง (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์)</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105654
 
6052  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'วันผู้สูญหายสากล' ญาติผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทวงถามความจริงและความยุติธรร เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 19:45:52
'วันผู้สูญหายสากล' ญาติผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทวงถามความจริงและความยุติธรรม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 19:12</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เนื่องใน 'วันผู้สูญหายสากล' ที่ตรงกับวันที่ 30 ส.ค. ของทุกปี ญาติผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ทวงถามความจริงและความยุติธรรม ตาม พ.ร.บ.ทรมาน - อุ้มหาย หวังทราบชะตากรรม ทำให้ทุกคน ‘กลับคืนสู่สภาพเดิม’ คือ การเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53145133585_576a4c0d69_k_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2566 ที่คินใจ คอนเทม โพรารี (Kinjai Contemporary) กลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย ร่วมกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเสวนา ‘เมื่อแตกสลาย จะกลับสู่สภาพเดิมได้หรือ’ พร้อมเปิดตัวนิทรรศการ ‘กลับสู่วันวาน…กลับมากินข้าวด้วยกันนะ’ เนื่องในวันที่ระลึกถึงเหยื่อของการถูกบังคับสูญหายสากล (International Day of the Victims of Enforced Disappearances) ที่ตรงกับวันที่ 30 ส.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงเหยื่อและครอบครัวของผู้ถูกบังคับสูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก  </p>
<p>สำหรับกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สู่การป้องกัน การตรวจสอบ ปราบปราม และเยียวยาวครอบครัวผู้สูญหาย หลังมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา </p>
<p>อังคณา นีละไพจิตร ตัวแทนกลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย และในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances – WGEID) ผู้แทนจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะทำงานฯ ในปี 2523 คณะทำงานได้ส่งกรณีผู้ถูกบังคับสูญหายทั้งสิ้น 59,600 กรณีไปยัง 112 ประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ถูกบังคับสูญหายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเชิงรุกและยังไม่ได้รับการชี้แจงหรือยุติอยู่ที่ 46,751 กรณี จาก 97 ประเทศ โดยในช่วงระยะเวลารายงานมีกรณีการบังคับสูญหาย 104 กรณีที่คณะทำงานสามารถคลี่คลายได้ อย่างไรก็ดีคณะทำงานฯ เชื่อว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ที่ผ่านมาคณะทำงานกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับกรณีความพยายามกดดัน การคุกคามหรือการข่มขู่ครอบครัว หรือต่อองค์กรที่ทำงานในนามของพวกเขา หรือพยายามให้พวกเขารวมถึงญาติถอนเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับให้หายสาบสูญ </p>
<p>สำหรับประเทศไทย รายงานประจำปี 2565 ของคณะทำงานระบุจำนวนผู้ถูกบังคับสูญหายทั้งสิ้น 76 กรณีซึ่งสูงเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ต่อจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย </p>
<p>รายงานของภาคประชาสังคมระบุว่า มีการบังคับสูญหายของประชาชนระหว่างช่วงการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การบังคับบุคคลให้สูญหายช่วงสงครามยาเสพติด การปราบปรามการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การบังคับสูญหายนักปกป้องสิทธิ กรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เช่นเหตุการณ์เดือน พ.ค. 2535 รวมถึงการบังคับสูญหายของผู้เห็นต่างทางการเมืองที่ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน  </p>
<p>“ในฐานะครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ดิฉันพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคมากมายในการเข้าถึงความยุติธรรมและความจริงเกี่ยวกับชะตากรรมของเหยื่อ แม้ในบางกรณีรัฐมีความพยายามให้การเยียวยาด้วยการชดเชยด้วยตัวเงิน แต่การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นการเยียวยาแบบองค์รวม ทั้งการเยียวยาด้านจิตใจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเยียวยาด้วยความยุติธรรม โดยการเปิดเผยความจริง นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การฟื้นคืนความเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการช่วยเหลือครอบครัวเหยื่อให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อีกครั้ง” </p>
<p>“มีผู้ถูกบังคับสูญหายหลายคนที่หายไปช่วงรัฐบาลเพื่อไทยที่มีทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี  วันนี้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็หวังว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจในการเปิดเผยความจริง สืบสวนสอบสวนจนกว่าจะทราบชะตากรรมของผู้สูญหายทุกคน และรู้ตัวผู้กระทำผิดตามที่รับประกันไว้ใน พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 อย่างน้อยที่สุดสำหรับครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ทุกคนอยากรู้ว่าคนในครอบครัวยังมีชีวิตหรือไม่ ถ้ามีชีวิตอยู่เขาอยู่ที่ไหน หรือว่าถ้าเสียชีวิตไปแล้ว อย่างน้อยคืนศพให้พวกเขาก็ยังดี”   </p>
<p>“รัฐต้องยอมรับความจริงว่าการการชดใช้ด้วยเงินอย่างเดียวไม่อาจคืนศักดิ์ศรี และลบเลือนความทรงจำที่โหดร้ายทรมานของเหยื่อได้ การเยียวยาที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นที่กระทำอยู่ ทำให้การเปลี่ยนผ่านของเหยื่อและครอบครัวเกิดความชะงักงัน การไม่รู้ความจริงทำให้พวกเขาถูกพันธนาการด้วยความเจ็บปวด และไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับสังคม” </p>
<p>ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดอีกอย่างหนึ่งในสังคมนี้ คือเจ้าหน้าที่รัฐ ‘บังคับบุคคลให้สูญหาย’ ประเด็นนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบกับคนในครอบครัวผู้สูญหายเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลกระทบไปถึงภาพใหญ่ระดับประเทศคือการทำให้ผู้คนอยู่ในความหวาดกลัว และระแวงจากภัยคุกคามที่เกิดจากอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ  </p>
<p>ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ไม่ได้ขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันการทรมานและถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่ได้ร่วมขับเคลื่อนป้องกันให้เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นในระดับโลก พบว่าประเทศที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หรือมีแรงปะทะเรื่องขั้วอำนาจจะเกิดการบังคับให้สูญหายจำนวนมาก และอีกกลุ่มคนในสังคมที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษคือ ‘กลุ่มคนเปราะบาง’ ที่ปัจจุบันพบว่ามักถูกทรมาน ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็น </p>
<p>มนุษย์อย่างไร้มนุษยธรรม และบางคนถูกอุ้มหายไปโดยไม่ทราบชะตากรรม ซึ่งประเด็นนี้เป็นอีกข้อท้าทายที่จะต้องทำร่วมกับหลายภาคส่วนเพื่อช่วยกันป้องกัน ปราบปรามไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก </p>
<p>“เนื่องในวันผู้สูญหายสากล แอมเนสตี้ขอขอบคุณกลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทยทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมกับเราในครั้งนี้ เรื่องราวของอาหารทุกเมนูที่จัดอยู่ในนิทรรศการได้เล่าเรื่องราวความรัก ความคิดถึง ความหวัง ความเจ็บปวดของครอบครัวผู้สูญหายได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรายืนยันว่าจะเป็นขบวนการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน ปกป้องไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิด้วยการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่อไป เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวันหนึ่งจะไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ 100% แม้จะเป็นความหวังที่อาจจะต้องใช้เวลานาน แต่เราจะทำมันต่อไป และขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายให้ พ.ร.บ. นี้ไม่มีช่องโหว่ และช่วยครอบครัวผู้สูญหายได้จริงต่อไป” </p>
<p>พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พูดถึงความก้าวหน้าของการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ว่า ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ตื่นตัวในการใช้มาตรการป้องกันมากขึ้น เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติเองก็มีกฎระเบียบก่อนหน้า พ.ร.บ.นี้ ให้ตำรวจทุกคนต้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียงขณะจับกุมด้วยกล้อง Body Camera หรือ กล้องสังเกตุการณ์ ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นทุกอำเภอ  สำนักงานอัยการจังหวัดทุกจังหวัด ได้ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและรับแจ้งการจับกุม 24 ชั่วโมง  มองว่าเป็นเรื่องที่ดีหากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงเรื่องนี้ในวงกว้างและเป็นหูเป็นตาให้ชาวบ้านได้จริง จะไม่มีใครที่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมแล้วหายไปเลยจากกระบวนการยุติธรรมและหายไปอย่างไม่ทราบชะตากรรมจากครอบครัวและคนที่เขารัก   </p>
<p>ถึงแม้สถานการณ์จะดีขึ้นแต่ก็ยังพบว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนมีพฤติกรรมผิดวินัย ออกนอกลู่นอกทางขณะปฎิบัติหน้าที่ และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเมื่อเกิดคดีทรมาน-อุ้มหายขึ้นมา ตรงนี้จึงอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างชอบธรรม รวมถึงประชาชนสามารถเป็นอีกกระบอกเสียงที่สามารถร้องเรียนและช่วยยับยั้งป้องกันเหตุร้ายนี้ได้ โดยได้รับการคุ้มครอง ไม่ถูกฟ้องกลับ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของทุกคนในสังคม </p>
<p>“ปัจจุบันกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน และมีองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยและต่างประเทศมาให้ความรู้เรื่องนี้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  แต่ยังมองว่าสังคมไทยต้องเรียนรู้พัฒนาให้ทันโลกมากขึ้น เพราะคดีทรมาน-อุ้มหาย เป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษ เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องมีวิธีการทำงานที่ละเอียด มีองค์ความรู้ทั้งกฎหมาย นิติเวช และจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องการสอบสวน การพิจารณาคดี และการเยียวยาให้ครอบคลุมต่อผู้เสียหายโดยเฉพาะญาติของผู้เสียหายอย่างได้ผล” </p>
<p>เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ยืนยันว่า หน่วยงานจะเคียงข้างบุคคลและครอบครัวผู้ถูกบังคับให้สูญหายในการตามหาความจริงเพื่อให้ทราบถึงที่อยู่และชะตากรรมของบุคคลเหล่านั้นให้หมดข้อสงสัย และจะสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการเยียวยาจากภาครัฐให้ถึงที่สุด หลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. 2565 เมื่อเดือน ก.พ. 2566 รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีกฎหมายนี้บังคับใช้ในประเทศไทย และหวังว่ากฎหมายนี้จะอำนวยให้ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์และบุคคลผู้ถูกบังคับให้สูญหายปรากฏออกมา </p>
<p>“การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นสิ่งที่เราจะยอมรับให้เกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมไทย สิ่งนี้ละเมิดอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและการจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของบุคคลผู้สูญหายและผู้คนรอบข้าง การละเมิดอย่างถาวรนี้จะยังคงอยู่ ตราบใดที่รัฐยังค้นหาบุคคลเหล่านี้ไม่พบ รัฐไทยต้องจริงใจ จริงจัง และทันท่วงทีต่อเหตุการณ์บังคับบุคคลให้สูญหายของบุคคลที่เกิดขึ้นตลอดมาให้สมกับการประกาศใช้กฎหมายใหม่”  </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105655
 
6053  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “พิธา” ให้กำลังใจ ”ครม.เศรษฐา” ชี้มีกังวลหลายเรื่อง หวังเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 18:49:58
“พิธา” ให้กำลังใจ ”ครม.เศรษฐา” ชี้มีกังวลหลายเรื่อง หวังเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง
         


“พิธา” ให้กำลังใจ ”ครม.เศรษฐา” ชี้มีกังวลหลายเรื่อง หวังเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/8995366/
         
6054  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - แฉคลิปทรมานช้าง "พลายเป๊ปซี่" เอาไม้แทงเลือดโชก ควาญอ้างจำเป็นต้องทำรุนแรง เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 18:49:58
แฉคลิปทรมานช้าง "พลายเป๊ปซี่" เอาไม้แทงเลือดโชก ควาญอ้างจำเป็นต้องทำรุนแรง
         


แฉคลิปทรมานช้าง &quot;พลายเป๊ปซี่&quot; เอาไม้แทงเลือดโชก ควาญอ้างจำเป็นต้องทำรุนแรง" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;แฉคลิปฝึก "พลายเป๊ปซี่" เอาไม้แทงเลือดโชก ควาญอ้างจำเป็นต้องรุนแรงเพราะช้างจะทำร้าย เหตุเกิดที่กระบี่
         

https://www.sanook.com/news/8995414/
         
6055  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - แนวคิดต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพ | หมายเหตุประเพทไทย EP.485 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 18:15:39
แนวคิดต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพ | หมายเหตุประเพทไทย EP.485
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 17:52</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/3_3jYI0vVhk?si=jw8zdfTkQsHBAkzc" title="YouTube video player" width="720"></iframe></p>
<p>หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ทำความเข้าใจแนวคิดต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพ ที่เกรงว่าแนวคิดเรื่อง gender หรือเพศสภาพ ที่ให้ความสำคัญเรื่องเพศเชิงสังคมและวัฒนธรรม แทนแนวคิดเรื่องเพศกำเนิด จะสั่นคลอนเสาหลักที่กลุ่มต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพยึดถือได้แก่ ครอบครัว แนวคิดชายเป็นใหญ่ คำสอนเรื่องพระเจ้าและศาสนา  รวมทั้งแนวคิดเพศตามธรรมชาติ ในขณะที่ข้อเสนอจากนักคิดสตรีนิยมชี้ว่าเป้าหมายของแนวคิดเพศสภาพ กลับเป็นความพยายามเปิดโอกาสและขยายเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิตของผู้คน ให้ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เขาเป็น โดยไม่ต้องหวาดกลัวที่จะถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกดทับ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53144579661_a7eb2a73ae_k.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105650
 
6056  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' ประกาศการเมืองไทยเข้าสู่ซีซัน 2 ‘ก้าวไกล vs. การเมืองระบบเก่า’ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 16:43:08
'ก้าวไกล' ประกาศการเมืองไทยเข้าสู่ซีซัน 2 ‘ก้าวไกล vs. การเมืองระบบเก่า’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 15:36</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พรรคก้าวไกลปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมระยอง เขต 3 ‘ชัยธวัช‘ ประกาศการเมืองไทยเข้าสู่ซีซัน 2 ‘ก้าวไกล vs. การเมืองระบบเก่า’ ‘พิธา’ เผยไม่เสียใจ มีแต่ภูมิใจที่ร่วมสู้กับประชาชนในการเลือกตั้ง 14 พฤษภา </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53143799462_d63c625473_o_d.jpg" /></p>
<p>ทีมสื่อพรรคก้าวไกล แจ้งข่าวว่าเมื่อ 26 ส.ค. 2566 ที่ตลาดนัดชำฆ้อ ต.ชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง พรรคก้าวไกลปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมระยอง เขต 3 หลังขึ้นรถแห่และเดินหาเสียงในพื้นที่ อ.เขาชะเมา ตลอดทั้งวัน</p>
<p>ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ปราศรัยเกริ่นว่าจังหวัดระยองเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รวมทั้งโครงการ EEC ด้วย แต่เมื่อสักครู่ตนแวะเข้าห้องน้ำ ยังมีปัญหาประปาสีชานม ดังนั้น จึงอยากพูดถึงการพัฒนาความเจริญ เศรษฐกิจที่เติบโตต้องไปด้วยกันกับคุณภาพชีวิตที่ดีของเราด้วย</p>
<p>นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราพรรคก้าวไกลจึงต้องมีนโยบายน้ำประปาดื่มได้ทั่วประเทศ ทำไมต้องทำโครงสร้างพื้นฐาน ทำไมต้องมาทำสวัสดิการถ้วนหน้าของผู้สูงอายุ แม่และเด็ก เพราะคำถามสำคัญของพวกเราก็คือ ถ้าคุณภาพชีวิตเราไม่ดีขึ้น การพัฒนาจะมีความหมายอะไร แล้วทำไมระบบการเมืองที่ผ่านมาถึงไม่สนใจชีวิตประจำวันเรา</p>
<p>“เราจะเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก ผู้แทนราษฎรของเราจะไม่ใช่แค่ทำงานในสภาตรวจสอบรัฐบาลเท่านั้น แต่จะใช้ทุกกลไกที่เรามี ใช้อำนาจหน้าที่ทุกอย่าง ร่วมมือกับประชาชนขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา เราจะได้เตรียมพร้อม ถ้ามีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อไร เราพร้อม มือถึง เข้าไปเป็นรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงให้พี่น้องได้ทันที หลายคนอาจเสียใจ คับข้องใจ และสงสัยว่าทำไมการเมืองถึงไม่เห็นหัวเราเลย แต่ในร้ายมีดี เพราะเหตุการณ์ตั้งรัฐบาลทั้งหมดนี้ ทำให้เราเข้าสู่ซีซันใหม่”</p>
<p>“ซีซันแรก เขาต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอำนาจ มีอำนาจไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์กันในระบบผูกขาดแบบเดิม แต่จากนี้ไป จะเป็นซีซันใหม่ คือการต่อสู้ของก้าวไกล กับการเมืองในระบบเดิมทั้งหมด คือการต่อสู้ของการเมืองแห่งอนาคต เห็นประชาชนเป็นเจ้านาย อยากเปลี่ยนแปลงเชิงระบบโครงสร้าง เพื่อเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้คนธรรมดาได้ทำมาหากินลืมตาอ้าปาก ต้องการระบบภาษีที่ลดความเหลื่อมล้ำ นี่คือการเมืองที่จะไปต่อสู้ แข่งขัน และเอาชนะการเมืองในระบบเก่าทั้งหมด”</p>
<p>“และถ้าพี่น้องเห็นด้วย ถ้าพี่น้องต้องการเห็นการเมืองแบบใหม่ที่ประชาชนเป็นเจ้านาย 10 กันยายนนี้ เข้าคูหากาเบอร์ 1 เพื่อบอกให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศทราบว่าเราต้องการการเมืองแบบใหม่ การเมืองที่มีประชาชนเป็นเจ้านายเท่านั้น” เลขาธิการพรรคก้าวไกลกล่าว</p>
<p>ชัยธวัชยังกล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ตั้งแต่การเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 การเมืองไทยเปลี่ยนไปมากแล้ว แต่ยังไม่พอ คราวหน้าก้าวไกลต้องได้ถล่มทลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ให้พิธาเป็นนายกรัฐมนตรีให้จงได้</p>
<p>ด้านพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขึ้นปราศรัย เปิดเผยว่าตนเองไม่มีความเสียใจ มีแต่ความภูมิใจ เราจงภูมิใจในสิ่งที่เราร่วมทำกันมา โดยในช่วงหนึ่งมีประชาชนร่วมกันตะโกนเชียร์เป็นระยะว่า “นายกพิธาๆ”</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105646
 
6057  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ย้ายมาบ้านใหม่ ทั้งครอบครัวจู่ๆ คลื่นไส้-ป่วยตลอด ก่อนช็อก กล้องที่ประตูไขปริศ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 16:19:07
ย้ายมาบ้านใหม่ ทั้งครอบครัวจู่ๆ คลื่นไส้-ป่วยตลอด ก่อนช็อก กล้องที่ประตูไขปริศนา
         


ย้ายมาบ้านใหม่ ทั้งครอบครัวจู่ๆ คลื่นไส้-ป่วยตลอด ก่อนช็อก กล้องที่ประตูไขปริศนา" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;ไม่กี่เดือนหลังจากย้ายมาอยู่บ้านใหม่ ทั้งครอบครัวจู่ๆ ก็มีอาการป่วยผิดปกติ ความจริงเปิดเผยหลังติดตั้งกล้องไว้ที่ประตู
         

https://www.sanook.com/news/8995370/
         
6058  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - รพ.พนมไพร โมเดลจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยึดหลัก 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้าง เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 15:12:50
รพ.พนมไพร โมเดลจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยึดหลัก 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 09:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รพ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ใช้โมเดลจัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยึดหลัก 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง' โดยเป็น รพ.นำร่องกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง (HPV DNA Self Collection) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53143937236_3a50319ec7_k_d.jpg" /></p>
<p>27 ส.ค. 2566 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า “โรคมะเร็ง” แม้ว่าเป็นภัยเงียบทางสุขภาพและมีสาเหตุที่ยากจะสรุปได้ แต่ไม่ใช่กับ “มะเร็งปากมดลูก” ที่มีการค้นพบต้นเหตุที่ชัดเจนแล้วว่าเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) จนนำไปสู่การวิจัยด้านการป้องกันและการคัดกรองโรค เพื่อลดภาวะความเจ็บป่วยและเสียชีวิต   </p>
<p>โรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นโรงพยาบาลที่มีผลงานเด่นในการดำเนินงานเชิงรุกด้านการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกให้กับผู้หญิงไทยในพื้นที่ ด้วยผลงานที่ปรากฏนี้ เป็นส่วนทำให้ปี 2565 จังหวัดร้อยเอ็ดมีการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดในประเทศ จำนวน 40,000 ราย และในปี 2566 ยังเป็นโรงพยาบาลนำร่องกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง  “HPV DNA Self Collection” (เอชพีวี ดีเอ็น เซล คอลเลคชัน) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ที่เพิ่มการเข้าถึงบริการด้วยรูปแบบต่างๆ </p>
<p>นพ.วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมไพร กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ว่า เริ่มจาก 22 ปีที่แล้ว ด้วยมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่สูงเป็นอันดับต้นของหญิงไทย ทำให้ทีมคณะวิจัยจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณหญิงกอบจิตต์ ลิมปพยอม ที่ต้องการหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิผล ขณะนั้นมีนวัตกรรมการตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid: VIA) ที่เป็นวิธีการตรวจคัดกรองรอยโรคและนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษา จึงได้ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อดำเนินการโครงการนำร่องตรวจคัดกรองในพื้นที่ 4 อำเภอ รวมถึงที่อำเภอพนมไพรนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาจึงจะได้มีการขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่นๆ อีก 30 จังหวัดทั่วประเทศ   </p>
<p>จากการดำเนินงานที่เป็นระบบและต่อเนื่องนี้ เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ส่งผลให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทบริการสาธารณะขององค์กรภาครัฐจากองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2561 ณ ประเทศโมรอคโค จากผลงาน “การดำเนินงานป้องกันควบคุมมะเร็งปากมดลูกแบบบูรณาการ โดยวิธีการคัดกรองด้วยน้ำส้มสายชูและการรักษาด้วยการจี้เย็น” และได้รับ “รางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ” จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) </p>
<p>ในปีเดียวกันนี้ ด้วยมะเร็งปากมดลูกยังเป็นภัยร้ายที่คุกคามสุขภาพผู้หญิงทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การกำจัดมะเร็งปากมดลูก (Elimination of Cervical Cancer) เป็นวาระสำคัญขององค์การอนามัยโลก มีเป้าหมายสำคัญ คือลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกจากอัตรา 13.3 ต่อแสนประชากรในปัจจุบัน ให้เหลือไม่เกิน 4 คนต่อแสนประชากร ภายในปี 2573 โดยใช้กลยุทธสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ฉีดวัคซีนให้กับเด็กผู้หญิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2) คัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และ 3) รักษารอยโรคผิดปกติ รวมถึงการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามอย่างมีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 </p>
<p>ประเทศไทยแม้ว่ามีบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้กับผู้หญิงไทยแล้ว เป็นสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่จำนวนอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันยังอยู่ที่ 11.1 รายต่อแสนประชากร มากกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก 3 เท่า แต่หากทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการเร่งรัดก็มีความเป็นไปได้ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก  </p>
<p>นพ.วัชระ กล่าวต่อว่า การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เริ่มแรกเราใช้การตรวจวิธี VIA ที่ใช้น้ำส้มสายชู แต่ก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ เพราะขึ้นอยู่กับการแปลผลของผู้ให้บริการ แต่ต่อมามีการพัฒนาการตรวจด้วยวิธี HPV DNA testing (เอชพีวี ดีเอ็นเอ เทส) ที่มีความแม่นยำ โดยเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยของ ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์ฮารัลด์ ซัวร์ เฮาเซ่น จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่พบว่า Human Papillomavirus (HPV) สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยได้รับพระราชทานรางวัลรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2548 และต่อมาได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์เช่นกันในปี 2551 โดย สปสช. ได้บรรจุการตรวจด้วยวิธี HPV DNA testing เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อปี 2563 และด้วยองค์ความรู้นี้ยังนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนป้องกัน ซึ่งประเทศไทยได้มีการฉีด “วัคซีนป้องกันเอชพีวี” ให้กับเด็กนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่ 5 ทั่วประเทศแล้ว โดยเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเช่นกัน </p>
<p>สำหรับเป้าหมายของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้เกิดประสิทธิผลจะต้องดำเนินการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย (หญิงไทย อายุ 30-59 ปี) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 แต่ที่ผ่านมาด้วยวัฒนธรรมและความรู้สึกอายที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองที่หน่วยบริการ ทำให้หญิงไทยส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงบริการ ดังนั้นการปรับวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยการใช้ “ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจปากมดลูกด้วยตัวเอง”  (HPV DNA Self Collection) จึงเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการได้ และได้เพิ่มเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   </p>
<p>นพ.วัชระ กล่าวว่า จากสิทธิประโยชน์บริการมะเร็งปากมดลูกข้างต้นนี้ ประกอบกับในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่แพร่ระบาดที่ทำให้จำนวนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลดลง จึงเกิดบริการรูปแบบวิถีใหม่ ด้วยการกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองให้กับกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิผลชุดเก็บสิ่งส่งตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองนี้ ที่ผ่านมา รพ.พนมไพร จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยเจ้าหน้าที่และการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง จำนวน 500 ตัวอย่าง ปรากฏว่าผลของการเก็บสิ่งส่งตรวจไม่แตกต่างกัน ทำให้ความแม่นยำของการตรวจไม่แตกต่างกัน  </p>
<p>จากผลการดำเนินการนี้จึงได้นำมาเสนอต่อที่ประชุมการดำเนินงานและแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ทำให้มีการขยายรูปแบบบริการไปในระดับเขต โดยได้รับการติดต่อจากศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น นอกจากนี้ยังได้นำเสนอในงานวิชาการราชวิทยาสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ผลงานนี้ทำให้โรงพยาบาลพนมไพรได้รับรางวัลที่ 1 ได้รับการยอมรับทางวิชาการมากขึ้น  </p>
<p>ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมไพร กล่าวต่อว่า วันนี้เรามีสิทธิบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ดีแล้ว แต่ปัญหาสำคัญคือทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการได้ ซึ่งการบริการเราแบ่งประชากรเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและเจ้าตัวอยู่บ้าน 2.มีชื่อในทะเบียนบ้านแต่ตัวเองไม่อยู่ และ 3.ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่เป็นคนที่มาอยู่ในพื้นที่ การให้บริการที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จึงเน้นประชากรกลุ่มที่ 1 และ 3 เป็นหลัก ทำให้กลุ่มที่ 2 ที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไปทำงานต่างพื้นที่ไม่ได้รับบริการ ถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข </p>
<p>ดังนั้นโรงพยาบาลพนมไพรจึงวางรูปแบบบริการ โดยลองให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโทรติดตามประชากรกลุ่มที่ 2 เพื่อส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจไปให้บริการ แต่คำตอบที่ได้คือ เกือบทุกคนปฏิเสธที่จะรับเพราะต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีที่อยู่จ่าหน้ารับพัสดุได้ และแม้จะเก็บสิ่งส่งตรวจได้แต่ก็ไม่สามารถไปไปรษณีย์เพื่อส่งคืน ถือเป็นข้อจำกัดทางสังคมที่กระทบต่อสุขภาพโดยตรง  </p>
<p>อย่างไรก็ตามด้วยหลักการบริการที่ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เราจึงพยายามหาวิธีเพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้เข้าถึงบริการ โดยได้จัดบริการเชิงรุกเข้าไปที่สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ ซึ่งจากที่เข้าไปดำเนินการที่โรงงานแห่งหนึ่ง มีพนักงานกว่า 2,500 คน เป็นผู้หญิง 1,300 คน โดยเป็นผู้ที่มีอายุในเกณฑ์รับบริการฯ 1,200 คน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้น ที่เคยรับการตรวจมาแล้ว ซึ่งเราได้แจกชุดเก็บสิ่งส่งตรวจให้กับพนักงานทุกสิทธิรักษาพยาบาล จำนวน 370 ชุด และรับคืนกลับมาร้อยละ 80 ซึ่งผลการตรวจพบความผิดปกติถึงร้อยละ 9 ขณะที่กลุ่มที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 5 หรือสูงเป็น 2 เท่า สะท้อนถึงการการทำงานที่เดินมาถูกทาง </p>
<p>นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการกระจายชุดเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไปที่คลินิกการพยาบาลและร้านยาในชุมชน เพื่อให้ผู้หญิงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับชุดเก็บสิ่งส่งตรวจ โดยชุดอุปกรณ์จะมีไม้พันสำลี เท่านั้น เมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วให้นำส่งมาที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจหาเชื้อ ซึ่งโรงพยาบาลพนมไพรได้เปิดห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Lab) เป็นแห่งที่ 2 ของ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อรองรับบริการนี้ ซึ่งหากในอนาคตมีคลินิกเวชกรรมและคลินิกเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมเพิ่มเติม ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ   </p>
<p>จากผลการดำเนินการจังหวัดร้อยเอ็ดนี้ วันนี้เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น เตรียมขยายรูปแบบบริการไปทั่วพื้นที่และจะนำเสนอต่อที่ประชุม Service Plan สาขามะเร็ง กระทรวงสาธารณสุขต่อไป เพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  </p>
<p>นพ.วัชระ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า บริการมะเร็งปากมดลูกสร้างความเป็นธรรมในทางสุขภาพ ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกไม่ใช่ปัญหาสุขภาพทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะพบในคนจนมากกว่า รวมถึงในประเทศยากจนที่มีอัตราผู้ป่วยมากกว่าประเทศร่ำรวยในอัตรา 80:20 ดังนั้นจึงเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจึงเป็นการลงทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับทุกคน </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105641
 
6059  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - “ส.ว.วันชัย” ทำนาย “เศรษฐา” เป็นนายกฯ ราหูไป ศัตรูกลายเป็นมิตร ความศิวิไลซ์บังเก เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 13:48:38
“ส.ว.วันชัย” ทำนาย “เศรษฐา” เป็นนายกฯ ราหูไป ศัตรูกลายเป็นมิตร ความศิวิไลซ์บังเกิด คนไทยเป็นสุข
         


“ส.ว.วันชัย” ทำนาย “เศรษฐา” เป็นนายกฯ ราหูไป ศัตรูกลายเป็นมิตร ความศิวิไลซ์บังเกิด คนไทยเป็นสุข" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/8995314/
         
6060  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ผู้ประกอบอาชีพอิสระในสหรัฐฯ มีแนวโน้มพึงพอใจกับงานของตนเองสูง เมื่อ: 27 สิงหาคม 2566 13:42:16
ผู้ประกอบอาชีพอิสระในสหรัฐฯ มีแนวโน้มพึงพอใจกับงานของตนเองสูง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-08-27 10:07</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลสำรวจ Pew Research Center พบว่าผู้ประกอบอาชีพอิสระในสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มที่จะพึงพอใจกับงานของตนเองสูงถึง 62% ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มเครียดมากกว่า</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53142408051_2c2b1a8ed1_o_d.jpg" /></p>
<p>ผลการสำรวจคนอเมริกัน 5,902 คน เมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2023 โดย Pew Research Center พบว่าผู้ประกอบอาชีพอิสระ (self-employed workers) ส่วนใหญ่ (62%) ระบุว่าพวกเขาพอใจกับงานของตนเองมากหรือมากที่สุด เทียบกับ 51% ของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ นอกจากนี้พวกเขายังแสดงความเพลิดเพลินและความพึงพอใจกับงานในระดับสูงด้วย</p>
<p>ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มเครียดมากกว่าผู้ประกอบอาชีพอิสระ </p>
<p>ผู้ประกอบอาชีพอิสระประมาณ 48% ชี้ว่าการมีส่วนร่วมและการมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ตนเองทำได้นั้น มีคุณค่าอย่างมาก เมื่อเทียบกับประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://www.pewresearch.org/wp-content/uploads/2023/06/SR_2023.06.30_self-employed_1.png" /></p>
<p>นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะทำงานเมื่อใดและที่ไหนก็ได้:</p>
<ul>
<li>47% ของผู้ประกอบอาชีพอิสระระบุว่างานของพวกเขาสามารถทำได้จากที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ เทียบกับ 38% ของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ</li>
<li>60% ของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สามารถทำงานได้จากที่บ้าน กล่าวว่าพวกเขาทำงานจากที่บ้านตลอดเวลา เทียบกับ 32% ของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ</li>
<li>แต่ผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่ (52%) ระบุว่าต้องตอบอีเมลหรือข้อความอื่น ๆ จากการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ  มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ (28%) </li>
</ul>
<h2><span style="color:#3498db;">ผู้ประกอบอาชีพอิสระแตกต่างจากคนทำงานโดยรวมในสหรัฐฯ อย่างไร</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://www.pewresearch.org/wp-content/uploads/2023/06/SR_2023.06.30_self-employed_2.png" /></p>
<p>มีผู้ประกอบอาชีพอิสระในสหรัฐฯ ประมาณ 15 ล้านคนเป็น ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของคนทำงานทั้งหมดในสหรัฐฯ อ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐบาลของ Pew Research Center</p>
<p>ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ประกอบอาชีพอิสระ (76%) ทำงานเต็มเวลา และ 24% ทำงานนอกเวลา ส่วนคนทำงานโดยรวมในสหรัฐฯ 84% ทำงานเต็มเวลา ในขณะที่ 16% ทำงานนอกเวลา</p>
<p>ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ชาย คนผิวขาว และเกิดในต่างประเทศ มากกว่าคนทำงานโดยรวมในสหรัฐฯ:</p>
<ul>
<li>มีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นผู้ชาย 64% เทียบกับ 53% ของคนทำงานโดยรวม</li>
<li>มีผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นคนผิวขาว 68% เทียบกับ 61% ของคนทำงานโดยรวม</li>
<li>แรงงานที่เกิดในต่างประเทศคิดเป็น 22% ของแรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่สูงกว่าแรงงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดเล็กน้อย (18%)</li>
</ul>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Self-employed people in the U.S. are more likely than other workers to be highly satisfied with their jobs (Dana Braga, Pew Research Center, 30 June 2023)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105642
 
หน้า:  1 ... 301 302 [303] 304 305 ... 1130
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.983 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กันยายน 2566 07:39:28