[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 13:40:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 227 228 [229] 230 231 ... 236
4561  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:35:53
หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนาอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” (deep listening) โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่า เสียงที่ได้ยิน คือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆที่ผ่านเข้ามากระทบ เสียงเหล่านั้นอาจจะเป็นเสียงของตนเองที่พูดคุยกับตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ เช่นเสียงนกร้อง น้ำไหล และเสียงจิ้งหรีดเรไรยามค่ำคืน เป็นต้น ถ้าหากฟังอย่างตั้งใจ และฟังเพื่อให้ได้ยิน อาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต

การยอมรับในหลักการของสุนทรียสนทนา คือความพยายามเบื้องต้นในการถอดถอนอิทธิพลของอำนาจ อุปาทาน ซึ่งทำงานอยู่ในรูปของระบบสัญญลักษณ์ พิธีการต่างๆที่ห่อหุ้มตัวตนไว้ในโลกอันคับแคบ หดหู่ ซึมเศร้า และเป็นสถานบ่มเพาะเชื้อแห่งความรุนแรงไว้อย่างล้ำลึก เชื่อกันว่า หากคนสามารถก้าวข้ามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปได้ จิตใจก็จะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ (deliberation) สามารถเรียนรู้จากการฟังได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อยกระดับภูมิธรรมของตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่คนธรรมดาทำได้ยาก

ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถบังคับใคร ให้เข้าไปนั่งอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนาได้ โดยที่เขาไม่มีความสมัครใจ และไม่ยอมรับเงื่อนไข หลักการเบื้องต้นเหล่านี้เสียก่อน การยอมรับเงื่อนไขแปลกๆเหล่านี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะคนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และเคยชินกับการพูดคุยแบบเป็นการเป็นงาน มีการวางวาระ เป้าหมายของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า มีการโต้เถียง ลงมติและข้อสำคัญมีคนที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่ตนเองไม่คุ้นเคย ก็เลยหงุดหงิด เพราะทำใจไม่ได้กับการพูดคุยแบบไม่มีทิศทาง David Bohm ได้ให้คำแนะนำว่า ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เชื่อมั่นในกระบวนการของสุนทรียสนทนาจะต้องเผชิญหน้ากับมัน และผ่านจุดสำคัญนี้ไปให้ได้ หลังจากนั้น บรรยากาศจะค่อยๆดีขึ้น เพราะทุกคนสามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศการพูดคุยแบบใหม่ จนแทบไม่มีใครอยากจะเลิกราไปง่ายๆ

ความมหัศจรรย์ของสุนทรียสนทนา

มีคำถามที่มักถามกันมาเสมอคือว่า พูดคุยกันแบบนี้แล้วมันได้ประโยชน์อะไร คุยกันแล้วข้อยุติที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะคุยกันไปทำไม ก็ขอตอบว่า สุนทรียสนทนามิได้แยกการพูดออกจากการกระทำ การพูดคือการกระทำอย่างหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาความรู้ สุนทรียสนทนาจึงไม่ใช่เป็นพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการชุมนุมพูดคุยเพื่อแสวงหาคลื่นของพลังงานความรู้ ความคิดที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลอันไพศาล โดยเปรียบสมองของมนุษย์ว่าเป็นระบบปฏิบัติการหรือตัว‘hard ware’ ที่จำเป็นจะต้องมีคลื่นพลังงานความรู้ ความคิด หรือ ‘soft ware’ ที่เหมาะสมกัน (compatible) มาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สมองสามารถทำงานได้ คิดได้ สร้างความรู้ได้ หาไม่แล้วสมองมนุษย์ก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและเส้นประสาทที่ปราศจากความหมายใดๆทั้งสิ้น

คลื่นความรู้และพลังงานที่ถูกฝังเข้าไปในระบบปฏิบัติการของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่อธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ใครฟังไม่ได้เช่นเดียวกับคนที่มีความสามารถในการขี่จักรยาน แต่ไม่สามารถอธิบายวิธีการทำให้จักรยานทรงตัวไม่ได้ นอกจากทำให้ดูแล้วนำไปฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ

ดังนั้น การเข้ามาอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จึงเป็นการแสวงหาคลื่นพลังงานความรู้และความคิดร่วมกัน เมื่อใครคนหนึ่งรับได้ ก็จะเกิดการถ่ายทอดโยงใยไปยังคนอื่นๆที่อยู่ในวงสุนทรียสนทนาให้รับรู้ด้วยกัน ผู้ที่สามารถเข้าถึงคลื่นพลังงานความรู้และความคิดเหล่านี้ได้ จะเกิดความรู้สึกว่า เสียงของคนอื่นก็เหมือนกับเสียงของตนเอง สิ่งที่ตนเองอยากจะพูดก็มีคนอื่นพูดแทนให้ และเมื่อคนอื่นพูดออกมา บางครั้ง เราจึงรู้สึกว่า คำพูดแบบนี้แหละคือสิ่งที่ตนเองอยากจะพูด
4562  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:35:23
อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใดๆก็ตาม จะไม่สามารถแก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อหาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน

การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นโทรทัศน์กลายเป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินความจำเป็นพื้นฐาน จอโทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนตความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็กๆตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากร ธรรมชาติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น

คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ต่างคนต่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ “ฐานคติ” (presupposition) นั้น ขึ้นสู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ


ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ “อิทัปปัจยตา” ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใดๆอีกด้วย เพราะไม่สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฎการณ์ได้ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ “ตนเอง” จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

ในฐานะของผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านจุดสูงสุดของวิชาการจากโลกตะวันตก และเข้าใจวิธีคิดแบบตะวันออกอย่างลึกซึ้ง David Bohm จึงประกาศความเชื่อในชีวิตบั้นปลายว่า การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)


แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา


หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา

การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำ และการตอบคำถาม เพราะถือว่า คำถามที่เกิดขึ้น เป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ สุนทรียสนทนา ยังไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิดใดๆ เพราะถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นหมายถึงการปล่อยให้แต่ละคนนำเอาฐานคติของตนออกมาประหัตประหารกัน และจบลงด้วยความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกตีตกจากวงสนทนาไป ซึ่งผิดหลักการของสุนทรียสนทนา
4563  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:34:59
กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมายส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง (entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของสุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี


ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา


มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้ายๆกับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า “นั่งโสกัน” ภาษาคำเมืองจะเรียกว่า “นั่งแอ่วกัน” หรือ “นั่งอู้กัน” ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า “นั่งแหลงกัน” แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า “นั่งจับเข่าคุยกัน” “ล้อมวงคุย” หรือ “เปิดเวที” ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับมาใช้ใหม่


นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า คนกลุ่มเล็กๆอยู่รวมกันประมาณ 40-50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่นชายหนุ่มรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกไปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกันก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็นเวลานานแล้ว

คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน “ความเจริญ” เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่คือ “ความเหงาท่ามกลางฝูงชน” ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆในโลกนี้ได้อย่างไร

รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านประเพณีและพิธีการซึ่งถูกอำนาจกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งยังเต็มไปด้วยระบบสัญญลักษณ์ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
4564  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:34:33
Bohmian Dialogue
“สุนทรียสนทนา” เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ: แนวคิดและวิธีการจัดการ


โสฬส ศิริไสย์
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
<lcssr@mahidol.ac.th>
-------------------------------------------------

บทนำ

การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลได้ดีอีกด้วย

บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ความหมายและความเป็นมา

คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้ในสำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น “สุนทรียสนทนา” “สนทนาแลกเปลี่ยน” “วาทวิจารณ์” รวมทั้งคำว่า “สนทนา” และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น “การสนทนาอย่างสร้างสรรค์” หรือ “การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน” ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า “สนทนาวิสาสะ” ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า “สุนทรียสนทนา” แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความกระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Bohmian Dialogue


ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาดูได้ดังนี้ คือ dia= through “ทะลุทะลวง”, logo = meaning of the word “ความหมายของคำที่พูดออกไป” แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ “สนุทรียสนทนา” ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความหมายใหม่ของคำว่า ‘dialogue’ มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ “กระแสธารของความหมาย” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมุติใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง

การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และเอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็นการบ่มเพาะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนานั้นไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินด้วยข้อสรุปใดๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจฟังกัน คือการเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเองและสิ่งที่ได้ยิน ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่วอกแวกแยกวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ จะต้องกำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกในเชิงบวก เห็นความเงียบเป็นสิ่งเดียวกับตนเอง และในความเงียบนั้น กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่นเดียวกับตัวเราที่กำลังรับฟังอยู่ เราสามารถรอได้ คอยได้เสมอ
4565  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จิตวิทยาการศึกษา-จงเร่งเอสคิวจิตวิญญาณ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:33:30

 
 
จิตวิทยาการศึกษา-จงเร่งเอสคิวจิตวิญญาณ
 
จิตที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อนที่สุด - ดังที่คิดเอาเองทั้งได้พูดได้เขียนมาตลอด โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีหลังๆ มานี้ - โดยส่วนหนึ่งได้มาจากหลายๆ ที่มา ซึ่งจะไม่อ้างอิง เพราะมาจากหลายที่เหลือเกินจนอ้างไม่ไหว แต่พอจะสรุปได้ว่าเอามาจาก 3 ที่มาใหญ่ๆ (นอกจากที่คิดเอาเอง) คือเอามาจากมหายานและวัชรญาณพุทธศาสนา ปรัชญาและจิตวิทยา โดยเฉพาะจอห์น เซิร์ล วิลเลียม เจมส์ กับคาร์ล จี. จุง กับฟิสิกส์ใหม่ทั้ง 2 ทฤษฎี โดยเฉพาะควอนตัมเม็คคานิกส์ คือผู้เขียนคิดและเชื่อว่า หนึ่ง จิตไม่ใช่สมอง แต่สมองเป็นตัวแทนหรือตัวแสดงของจิต สอง จิตรู้หรือจิตสำนึก (conscious mind) ที่อยู่ในปัจเจกบุคคลมาจากจิตไร้สำนึกร่วมของสากลของจักรวาล (unconscious continuum) สาม สมองมีหน้าที่บริหารหรือเปลี่ยนจิตไร้สำนึกร่วมที่เข้ามาอยู่ในสมองของแต่ละคนให้เป็นจิตสำนึกด้วยกลไกควอนตัมเม็คคานิกส์ (quantum-wave collapse) ซึ่งข้อ 3 นี้ จะยกเว้นจิตหนึ่งซึ่งเป็นแก่นแกนของจิตไร้สำนึกอันกระจ่างใส ซึ่งอยู่ภายในสุดของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล (ที่เราเรียกเช่นนั้นเฉพาะขามาของวิวัฒนาการของจักรวาลจากหนึ่งสู่ความหลากหลายเท่านั้น ส่วนวิวัฒนาการขากลับจากความหลากหลายกลับไปหาหนึ่งนั้นเราจะเรียกว่านิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับจิตหนึ่ง) - นั่นตรงกับภาษาอังกฤษ uni + verse การหวนกลับไปหาหนึ่ง - นักศาสนปรัชญาส่วนใหญ่เชื่อว่าจิตสำนึกต้องหาแก่นแกนของจิตไร้สำนึกให้พบ หรือรวมกับแก่นแกนของจิต ด้วยวิวัฒนาการขากลับตามวิวัฒนาการโดยธรรมชาติของจิตผ่านจิตวิญญาณอันเป็นจิตเหนือสำนึก (super-conscious) ไปเรื่อยๆ จนถึงนิพพาน เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อเลยก็ได้ หรือว่าเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งก็สุดแล้วแต่ ทั้งนี้ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอ่านของท่านผู้อ่านที่อ่านบทความนี้แต่อย่างใด
 
บทความวันนี้ - ตามหัวข้อที่ตั้งไว้ข้างบน - มีความหมายที่จะชี้บ่งถึงการปลูกฝังหรือการเร่งเร้าให้มนุษย์เกิดหรือมีวิวัฒนาการของจิตเหนือสำนึกเร็วขึ้นและมากขึ้น เพราะภัยธรรมชาตินานัปการซึ่งเราสร้างขึ้นมาด้วยมือของเราเองจากความไม่รู้และความอวดดีหลงตัวเอง (อวิชชา และ anthropocentric) นั่นคือ เอสคิว (SQ ซึ่งคนทั่วไป และดาเนียล โกลแมน จะเรียกว่า social quotient ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาและสถานที่ของสังคมในขณะนั้นๆ ซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ฉะนั้นในที่นี้ SQ จะมีความหมายที่จิตวิญญาณ หรือหมายถึง spiritual quotient) ซึ่งนักจิตวิทยาเด็กมักจะพูดรวมๆ กันไปกับสติปัญญาความฉลาดที่วัดได้ (IQ) ที่ฟรานซิส แกลตัน นักจิตวิทยาอังกฤษคิดขึ้นและแพร่มาถึง
 
บ้านเราตอนที่ผู้เขียนยังเล็กๆ และบ้านเราก็รับทันที เพราะฟรานซิส แกลตัน เชื่อหนักเชื่อหนาว่าสืบทอดในตระกูลได้โดยเป็นกรรมพันธุ์ หรืออย่างน้อยก็เป็นลักษณะจำเพาะเป็นพิเศษ (trait) ประจำครอบครัว ที่ผู้เขียนบอกว่าที่บ้านเรารับในทันทีจนกระทั่งปัจจุบันนี้ - ทั้งๆ ที่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่บอกว่าการวัดสติปัญญาความฉลาด (psychometric) หรือไอคิวนั้นเชื่อไม่ได้ - ก็เพราะว่าความเชื่อดังกล่าว มันเกิดไปตรงกับภูมิปัญญาชาวบ้านของบ้านเราที่บอกว่า "เสือย่อมไม่ทิ้งลาย" หรือ "เชื้อย่อมไม่ทั้งแถว" อะไรพวกนี้ นั่นคือ ถ้าพ่อเป็นโจรก็ให้ระวังลูกที่อาจเป็นโจรตามพ่อก็เป็นได้ จริงๆ แล้วผู้เขียนคิดว่าภูมิปัญญาชาวบ้านน่าจะถูกอย่างน้อยก็น่าจะเป็นลักษณะจำเพาะ (trait) ที่ว่า
 
ส่วนอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนคิดเอาเองว่าความรู้สึกแยกออกจากอารมณ์ (EQ) ไม่ได้ ความชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ จึงแยกจากเวทนาไม่ได้ เพราะอารมณ์นั้นเป็นผลพวงของความรู้สึกทางกายภาพ (sensual) ที่เป็นไปในทันทีทันใด คือห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่ระงับ (suppress) ได้โดยจิตที่อยู่เหนือสำนึกที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติบางส่วน โดยซ่อนตัวอยู่ลึกล้ำที่ภายใน ซึ่งจะโผล่ปรากฏออกมาเมื่อชีวิตหนึ่งชีวิตใดกำลังตกอยู่ในอันตรายหรือกำลังจะตายไปในทันทีถ้าหากช่วยไม่ทัน จิตเหนือสำนึก (spirituality หรือในที่นี้ก็คือ SQ) - ซึ่งพ้นผ่านหรือก้าวล่วง - จิตสำนึก เราเรียกว่าจิตวิญญาณ หรือธรรมจิต ซึ่งก็คือจิตบริสุทธิ์ที่งามพร้อมที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของในทุกศาสนา ในศาสนาพุทธคือเส้นทางไปสู่นิพพาน ส่วนในศาสนาที่มีพระเจ้าคือการที่จิตอันบริสุทธิ์แต่ละดวงได้รวมกับพระจิตของพระเจ้าเป็นหนึ่งเดียว 3 ความฉลาดที่วัดได้ (quotients) ที่ว่า ทั้งไอคิว อีคิว และเอสคิว นั้นมีส่วนที่มนุษย์เองสามารถสร้าง (co-creator) บางส่วน หรือเร่งเร้าให้เกิดขึ้นมาก็ได้ ซึ่งนักจิตวิทยาที่เชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าผู้สร้างโลกสร้างจักรวาล รวมทั้งสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงโดยเฉพาะมนุษย์-เชื่อ มนุษยชาติได้ผ่านหรือพบกับไอคิวและอีคิวมาแล้ว แต่เรายังขาดเอสคิวที่โดยปกติแทบไม่มีเลย ที่มีอยู่บ้างก็ถูกซ่อนตัวเอาไว้อย่างล้ำลึก นั่นคือเนื้อหาสาระของบทความวันนี้
 
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายถึงการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความฉลา
 
ดที่วัดได้ (นักจิตวิทยาการศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเชื่อโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ว่าวัดไม่ได้) เราจะต้องรู้ความหมายของทั้ง 3 ความฉลาดเสียก่อน (ไอคิว อีคิวและเอสคิว) ก่อนอื่นควรจะอธิบายนิยามของสติปัญญาความฉลาด (intelligence) รู้และเข้าใจอารมณ์ที่แยกออกจากความรู้สึกยากมาก (emotion) และจิตวิญญาณ (spirituality) พอสังเขปตามที่ผู้เขียนเข้าใจและนำมาใช้ในบทความนี้
 
ในความเห็นของผู้เขียน ทั้ง 3 หรือไอคิว อีคิวและเอสคิวนั้น เราเอามาเรียงกันอย่างผิดๆ ซึ่งหากเราเรียงตามการเจริญเติบโตวิวัฒนาการ ไม่ใช่สนใจหรือว่าพบอันไหนและวัดอันไหนก่อน ความฉลาดทางอารมณ์ต้องมาก่อนเพื่อนนานนักหนา เพราะเป็นเรื่องของการ "รู้รอด" ซึ่งสัมพันธ์กับสัญชาตญาณ จริงอยู่ทั้ง 3 เป็นวิวัฒนาการของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในปัจเจกบุคคลเพื่อ "การรู้" (cognition) แต่อีคิวเป็นวิวัฒนาการที่หยาบ ซึ่งมาก่อนในสัตว์ที่มีระบบลิมบิกวิวัฒนาการแล้วเท่านั้น เราต้องรู้ว่าจักรวาลมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือวิวัฒนาการเท่านั้น และวิวัฒนาการนั้นจะต้องดำเนินไปสู่ "การรู้" ที่สูงขึ้นกว่า ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่า และลึกล้ำมากขึ้นกว่าตลอดเวลา ทั้งในทางกายภาพและทั้งจิตภาพ แต่กายภาพจะมีวิวัฒนาการก่อนและจิตภาพมาทีหลัง โดยมีวิวัฒนาการช้ามากกว่า กระทั่งส่วนใหญ่มากๆ หรือแทบทุกคนก็ว่าได้ ซึ่งพุทธศาสนาบอกว่าจะต้องมีการสะสมบารมีข้ามภพข้ามชาติมาตลอดเวลา และผู้เขียนก็เชื่อเช่นนั้น ทั้งจะเป็นวิวัฒนาการสุดท้ายของจักรวาลเมื่อมนุษย์ทุกคน สัตว์โลกทั้งหมดทุกๆ ตัวสามารถจะ "รู้แจ้ง"
 
เค็น วิลเบอร์ จะบอกว่า วิวัฒนาการทางจิตในมนุษย์ - ผ่านสเปกตรัมต่างๆ ที่เรียกว่า "เส้นทาง" (line) - จะเป็นการต่อยอดของเส้นทางที่เดิมมีเพียงเส้นทางเดียวก็ได้ หรือจะเป็นวิวัฒนาการที่เริ่มต้นจะมีหลายๆ เส้นทางก็ได้ ฉะนั้น เส้นทางหรือ line จึงไม่มีความสำคัญเมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของจิตรู้ที่สัมพันธ์กับรูปร่างทางกายภาพ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหากพิจารณาจากลักษณะของความเป็นองค์รวมของวิวัฒนาการแล้ว องค์กรใหม่จะเป็นการวิวัฒนากรขององค์เก่า บวกกับส่วนที่ได้มาใหม่เสมอ (transcend and include) ซึ่งเค็น วิลเบอร์ ก็ได้พูดมาเองและผู้เขียนก็เชื่อเช่นนั้น เพราะฉะนั้น กระบวนการวิวัฒนาการก็น่าจะเป็นเช่นนั้น มนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลายจะต้องเรียนรู้หรือวิวัฒนาการมาตามลำดับ รู้รอดต้องผ่านสัญชาตญาณก่อน และรู้เพื่อรู้ต้องตามหลังรู้รอด ฉะนั้นสติปัญญาความฉลาด (intelligence) จึงต้องตามหลังการต่อสู้และหนีภัย และความฉลาดเหนือสติปัญญา (wisdom) ต้องผ่านความฉลาดธรรมดาๆ ก่อน เอสคิว หรือการรู้ของจิตวิญญาณ (spirituality) - อันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งแทงตลอดและวิมุตติ - จึงเหนือกว่าสติปัญญาความฉลาดธรรมดามากนัก
 
จากที่พูดมาทั้งหมด เราสามารถสรุปและสามารถยืนยันได้ว่า ทั้งศาสนาและปรัชญากับทั้งวิทยาศาสตร์ - ที่ต่างก็พยายามอธิบายความจริงแท้ของธรรมชาติ แต่อธิบายบนหลักการและวิธีการคนละอย่างแตกต่างกัน - บอกเหมือนๆ กันว่าความจริงแท้มีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งศาสนากับปรัชญาบอกว่าเป็นจิตเป็นปฐม ส่วนวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นรูปกายวัตถุที่ตั้งอยู่ข้างนอก แล้วก็อธิบายจักรวาล ซึ่งเป็นตัวเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างไปตามนั้น และทั้ง 2 ก็บอกว่าจักรวาลมีเป้าหมายอย่างเดียวจริงๆ คือวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการไปทำไม? ทั้งศาสนากับวิทยาศาสตร์บอกว่าวิวัฒนาการเพื่อให้มีชีวิตและมนุษย์ดำรงอยู่ได้ นั่นคือที่มาของความรู้ เห็นกับไม่เห็นที่พิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือรูปกายวัตถุไม่ได้ เพราะจิตไม่ใช่กาย วิทยาศาสตร์จึงปลดความรู้ออกจากศาสนา เหลือไว้แค่ความเชื่อความศรัทธาอันไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง ส่วนศาสนาก็เถียงว่าวิทยาศาสตร์ไม่ยุติธรรม เพราะเล่นใช้แต่วิธีการทางรูปกายวัตถุอย่างเดียวในการพิสูจน์ แต่ไม่ใช้วิธีการทางจิตเลย เช่น การทำสมาธิที่มีในทุกๆ ศาสนาอย่างไม่มีการยกเว้น หลังจากนั้นเมื่อเถียงกันไม่รู้จักจบหรือจบไม่ได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทั้ง 2 ก็แยกไปเด็ดขาดโดยเดินกันคนละทาง จนกระทั่งมีฟิสิกส์ใหม่ที่คล้ายๆ กับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่อุบัติขึ้นทางตะวันออก ฟิสิกส์ใหม่ซึ่งให้ความจริงแท้ของธรรมชาติ (ทั้ง 2 ระดับคือทั้งกายและจิต) ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์กายวัตถุเป็นไหนๆ
 
เอสคิวที่ผู้เขียนหมายถึงในที่นี้ คือการวัดความฉลาดทางวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ และความฉลาดนั่นก็ไม่ใช่สติปัญญา (intelligence) หากแต่เป็นปรีชาญาณการหยั่งรู้หรือภาวนามยปัญญา (intuition or wisdom) ซึ่งเป็นไปเพื่อวิวัฒนาการของเหตุผลที่ไม่มีเหตุผล คือเป็นอารมณ์ด้านบวก อารมณ์ทุกๆ อารมณ์จะไม่มีเหตุผลทั้งนั้น จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ อารมณ์กับเหตุผลเชื่อกันว่าอยู่ด้วยกันไม่ได้ ถ้ามีเหตุผลก็ต้องไม่มีอารมณ์ หรือถ้าหากคนกำลังมีอารมณ์อยู่ก็อย่าหวังว่าจะใช้เหตุผลช่วยได้ เพราะเราอยู่ในยุคที่มีเหตุผลเป็นใหญ่ - ที่ผิดความจริงทางควอนตัมอย่างชัดๆ - ดังนั้นเรื่องของอารมณ์โดยเฉพาะด้านลบจึงเป็นของต้องห้าม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด แต่ผลของการวิจัยใหม่ๆ ชี้บ่งอย่างเป็นตรงกันข้าม ทั้ง 2 กลับเสริมเติมซึ่งกันและกันเพื่อวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ รักเมตตาและให้อภัยด้วยใจจริง อารมณ์ช่วยให้เหตุผลเกิด และเหตุผลจะช่วยกำจัดอารมณ์ในคราวต่อๆ ไปให้มีน้อยลงๆ และค่อยๆ หมดไป (Antonio Damasio : Descartes' Error, 1999) โลกในอนาคตอันใกล้นี้ การอยู่รอดของมนุษยชาติจะไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผล (rational) และสติปัญญาความฉลาด (intelligence) อีกต่อไปแล้ว หากแต่จะขึ้นอยู่กับภาวนามยปัญญา (wisdom) ซึ่งจะมีได้เป็นปกติธรรมชาติต่อเมื่อมนุษยชาติมีวิวัฒนาการทางจิตไปสู่ระดับจิตวิญญาณหรือธรรมจิต (spirituality) เส้นทางไปสู่นิพพานแล้วเท่านั้น.


http://www.thaipost.net/sunday/081109/13205
4566  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตวิวัฒน์ อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่ ( ศ.นพ.ประเวศ วะสี ) เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:32:18
จิตวิวัฒน์
อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่



โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 19 มีนาคม 2547

ร่างกายของมนุษย์จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีกมากนัก เมื่อแสนปีที่แล้วเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น และอีกแสนปีข้างหน้าก็คงจะเป็นคล้ายๆ อย่างปัจจุบัน แต่จิตของมนุษย์ยังจะวิวัฒน์หรือเติบใหญ่ได้อีกมาก อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่ จิตของมนุษย์มีขนาดแตกต่างกันได้มาก เช่น ระหว่างจิตของโจรกับจิตของพระพุทธเจ้า

จิตเล็ก คือความรู้สึกนึกคิดแคบๆ ไม่รู้เห็นทั้งหมด ติดอยู่ในความคับแคบในตัวเอง ขัดแย้งกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาตินั้นใหญ่ เมื่อจิตเล็กจึงขัดแย้งกับธรรมชาติ เกิดความบีบคั้น เกิดความติดขัด เกิดความทุกข์ และก่อทุกข์ โลกวิกฤตเพราะมนุษย์มีจิตเล็ก

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้ ต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง” (“We shall require a substantially new manner of thinking if mankind is to survive.”)

ท่านทะไลลามะ ตรัสว่า อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่ การปฏิวัติจิต (Spiritual Revolution)

โกรพ, ลาซโล และ รัสเซล (Grof, Laszlo, and Russell) กล่าวว่า ทางรอดจากวิกฤตปัจจุบันคือ “การปฏิวัติจิตสำนึก” (Consciousness Revolution)

จิตใหญ่ หรือ จิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่มีปริมณฑลกว้างขวาง เข้าถึงความเป็นทั้งหมด หรือความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติ หลุดพ้นจากความบีบคั้นจากความคับแคบ เป็นอิสระ มีความสุข เกิดมิตรภาพอันไพศาล รักเพื่อนมนุษย์ และรักธรรมชาติทั้งหมด
นักบินอวกาศอเมริกัน ชื่อ เอ็ดการ์ มิตเชล ยืนอยู่บนดวงจันทร์มองมาเห็นโลกทั้งใบ การเห็นความเป็นหนึ่งเดียวของโลกทั้งหมด ทำให้จิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เอ็ดการ์ มิตเชล กล่าวว่า “ผมกลับมายังโลก กลายเป็นคนที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง” (“I came back to Earth a totally changed man.”) เกิดความรักต่อเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติทั้งหมด นี้เป็นตัวอย่างของการเกิดจิตสำนึกใหม่ หรือการปฏิวัติจิตสำนึก จากจิตเล็กเป็นจิตใหญ่ที่เข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง เอ็ดการ์ มิตเชล ได้ตั้งสถาบันชื่อ Institute of Noetic Science (IONS) ที่แคลิฟอร์เนีย อันเป็นสถาบันที่ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่เกี่ยวกับจิตสำนึกใหม่ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้คนในโลกต่างตระหนักกันมากขึ้นทุกทีว่า จิตสำนึกที่คับแคบก่อให้เกิดความทุกข์ ความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน จิตสำนึกใหม่อันเป็นจิตใหญ่ก่อให้เกิดความเป็นอิสระ ความสุข และมิตรภาพอันไพศาล ทำให้ได้ประสบความงาม จนรู้ว่าถ้าเข้าถึงความจริงจะเจอความงาม ถ้ายังไม่เจอความงาม แปลว่ายังเข้าไม่ถึงความจริง

การมีจิตใหญ่ จึงเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

มนุษย์ได้ค้นพบวิธีการอันหลากหลายในการเกิดจิตสำนึกใหม่ เช่นการเข้าถึงธรรมชาติ จากการศึกษาจักรวาล จากการทำงาน จากศิลปะ จากกระบวนการชุมชน จากการเจริญสติ จากการเจริญความเมตตา ฯลฯ มีหนังสือและสื่อในรูปอื่นมากมายทั่วโลกที่ว่าด้วยการเกิดจิตสำนึกใหม่

มีคนไทยกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันศึกษาเรื่องจิตวิวัฒน์ หรือการเกิดจิตสำนึกใหม่ หรือจิตใหญ่ โดยศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากการปฏิบัติของตัวเองด้วย เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อให้เพื่อนคนไทย บุคคลคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
๑. พระไพศาล วิสาโล
๒. ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
๓. ศ.นพ.ประเวศ วะสี
๔. ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง
๕. ศ.สุมน อมรวิวัฒน์
๖. ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
๗. คุณ David J. Spillane
๘. ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
๙. ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
๑๐. ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
๑๑. คุณวิศิษฏ์ วังวิญญู
๑๒. นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
๑๓. ดร.จารุพรรณ กุลดิลก
๑๔. คุณศุภชัย พงศ์ภคเธียร
๑๕. ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ

มี ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นประธาน และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ เป็นผู้ประสานงาน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) บัดนี้มีข้อตกลงระหว่างหนังสือพิมพ์ มติชน และกลุ่มจิตวิวัฒน์ ว่าจะมีการตีพิมพ์บทความจากสมาชิกของกลุ่มสัปดาห์ละครั้งติดต่อกันไป นอกจากนั้น ถ้าหากสาธารณะมีความสนใจ ทางกลุ่มก็ยินดีไปร่วมในการปาฐกถาหรืออภิปรายเป็นครั้งคราว

จะเป็นการดีอย่างยิ่ง ถ้าในแต่ละจังหวัดมีการรวมตัวของผู้ที่สนใจในเรื่องจิตสำนึกใหม่ จะเรียกว่า กลุ่มจิตวิวัฒน์จังหวัด หรือชื่อใดอื่นก็ตาม เพื่อศึกษาค้นคว้าเผยแพร่การพัฒนาจิตให้สูงยิ่งๆ ขึ้น เพื่อการเกิดขึ้นแห่งสันติวัฒนธรรม ดังที่มีเกิดขึ้นแล้วในบางจังหวัด เช่น เชียงราย และแพร่ เป็นต้น กลุ่มจิตวิวัฒน์มีความยินดีที่จะส่งเสริมและร่วมมือกับกลุ่มจิตวิวัฒน์ที่จะเกิดขึ้น ณ ที่ต่างๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายตัวไปทั่วประเทศ

[INDENT]จิตวิวัฒน์ทำให้เกิดสุข
เป็นความสุขที่ราคาถูก – Happiness at low cost
เมื่อราคาถูกจึงเป็นไปได้สำหรับทุกคน
[/INDENT]


วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2547 at ที่ 15:15 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประเวศ วะสี | 0 ความคิดเห็น
4567  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวจริงๆ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:31:09





น่าแปลกใจว่ามันต้องมีอะไรที่ดลใจทำให้ ฟรานซิส ทอมป์สัน กวีขี้ยาชาวอังกฤษแต่งโคลงที่ไพเราะ และมีกลิ่นอายของความเร้นลับขึ้นมาในปี 1893 โคลงที่บอกเล่าถึงการหมดทางหลีกหนีกฎของสวรรค์ ที่ไม่ว่าอย่างไรผู้ที่กระทำบาปก็ต้องได้รับการลงโทษอยู่วันยังค่ำ นั่นคือโคลงที่รวบรวมไว้ในบทกวีที่ชื่อว่า หมาไล่เนื้อของสวรรค์ (The Hound of Heaven) ที่บอกเราว่า "คุณไม่สามารถเด็ดดอกไม้ (บนโลก) ได้โดยไม่รบกวนถึงดาว" ท่านผู้อ่านหลายคนคงรู้สึกคุ้นๆ กับกวีที่ยกมาเป็นหัวข้อของบทความวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในยุคสมัยของฟรานซิส ทอมป์สัน และแม้ในวันนี้เวลานี้ เราหลายคนก็ยังคิดว่าแม้จะเป็นข้อคิดที่สวยงามน่าสนใจ แต่ว่าข้อเท็จจริง-ตามหลักวิทยาศาสตร์แบบที่เราเรียนมา ซึ่งล้าสมัยสำหรับนักฟิสิกส์ยุคใหม่ชาวตะวันตก-ของทุกวันนี้ มันไม่เพียงเป็นไปไม่ได้เท่านั้น แต่มันเป็นความจริงแท้ที่พิสูจน์ทั้งในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์และในทางคณิตศาสตร์ได้หมดสิ้นจริงๆ ไม่ว่าที่ใดและเมื่อไหร่? นั่นคือความจริงที่แท้จริงขององค์รวมซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวมที่ใหญ่กว่า ซ้อนๆๆ องค์รวมที่ใหญ่กว่านั้นขึ้นไปอีก...แอดอินฟินิตัม...และแท้จริงแล้ว พุทธศาสนาได้บอกเราสอนเราอย่างนั้นมาตั้งเป็นพันๆ ปีแล้วว่า ทั้งหมดคือหนึ่ง หนึ่งคือทั้งหมด (อวตามสกสูตร) เช่น แหมณีของพระอินทร์ซึ่งคนโบราณเชื่อ คนสมัยใหม่ไม่เชื่อว่ามีพระอินทร์ แต่ตอนนี้คนหลังสมัยใหม่ (postmodernist) กลับมาเชื่อใหม่ (ยกเว้นพระอินทร์ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่มี) ว่าไปแล้วนั่นเป็นความจริงที่แท้จริงของควอนตัมเมกานิกส์ จริงๆ แล้วนั่นคือหนึ่งในแปดข้อของความจริงทางควอนตัม (Copenhagen Interpretation of quantum reality) ที่ทุกวันนี้นักฟิสิกส์ยุคใหม่ทุกๆ คนรู้และยอมรับเป็นเอกฉันท์
 
นั่นเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในด้านวิชาการ ที่แม้แต่วันนี้พวกนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จริงๆ โดยเฉพาะนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาใหม่ รวมทั้งในบ้านเราพากันไม่เชื่อ หรือไม่ก็อยู่เฉยๆ เพราะว่าไม่ได้เรียนมา และที่สำคัญกว่าคือมันไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เหตุผลที่เราไม่เคยเอามาคิด เพราะมันติดอยู่กับสามัญสำนึกด้วยความเคยชินของเราว่าเราเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นเราทำอะไรย่อมถูกทั้งหมด ยกเว้นการกระทำอะไรๆ ของเรานั้นเรากระทำกับมนุษย์ด้วยกันเอง เราถึงได้เรียกร้องแต่กับสิทธิมนุษยชน ส่วนชีวิตอื่นเผ่าพันธุ์อื่นๆ ช่างหัวมันปะไร


 
ความจริงที่เรามีทุกวันนี้จึงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าวันนี้มันยังไม่สมบูรณ์ดี แต่เท่าที่เรารู้แล้วมันเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงจริงๆ ชนิดที่นักฟิสิกส์เองก็ยังไม่เชื่อ-หลายคนที่ค้นพบฟิสิกส์ใหม่ รวมทั้งไอน์สไตน์เองก็ไม่เชื่อจนวันที่ตัวเองตาย-เพราะว่าความรู้ที่เราภูมิใจนักหนาที่รู้และเรียนกันมาว่า มันคือความจริงถึง 400 กว่าปี คือรู้ว่าวิทยาศาสตร์นั้นไม่เป็นความจริงที่แท้จริงอีกต่อไปเสียแล้ว นั่น-ได้สร้างความตื่นตกใจและรับไม่ได้ เพราะว่ามันไปเหมือนกับมายากลหรือเหมือนผีหลอก ที่คนขนาดไอน์สไตน์ยังบอกว่า ที่เขาไม่เชื่อเพราะมันไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่า "พระเจ้า (ผู้ทรงศีลอันบริสุทธิ์) จะเล่นการพนัน (ทอดลูกเต๋า) ได้อย่างไร?" และเพราะคนขนาดนั้น รวมทั้งยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อหรือยังคลางแคลงใจ นักวิทยาศาสตร์มากหลายทั่วทั้งโลก รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ในบ้านเราจึงพากันไม่เชื่อ หรือพลอยคลางแคลงใจตามไปด้วย อย่างน้อยในตอนแรกๆ นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงกันตลอดมาว่า อย่างน้อยในตอนแรกๆ นั้นเป็นเมื่อไหร่กันแน่? บางคนคิดว่าน่าจะเป็นปี 1905-เมื่อไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษว่า พลังงานก็คือสสารที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วยกกำลังสอง (E=MC) และยังบอกว่าความเร็วสูงสุดในจักรวาลนี้คือความเร็วของแสง และแสงเดินทางได้ราวๆ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที-บางคนว่าเป็นปี 1927-ปีที่สรุปการค้นพบควอนตัมเมกานิกส์ พร้อมๆ กับที่มีการแปลความจริงทางควอนตัมขึ้นมา-แต่บ้างก็ว่าเป็นปี 1982-เมื่อทางรัฐบาลของสหรัฐโดยสภาคองเกรสรับรองว่า ฟิสิกส์ใหม่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ให้ความจริงที่แท้จริงอย่างที่สุด ส่วนความรู้เหนือธรรมชาติ (ESP) ไม่เป็นวิทยาศาสตร์-แต่นั่นเป็นเสียงข้างมากที่สูสีกัน โดยเสียงข้างน้อยเชื่อว่าอีเอสพีเป็นวิทยาศาสตร์
 
ที่สำคัญกว่าสิ่งใดก็คือ ความละม้ายคล้ายคลึงกันระหว่างพุทธศาสนากับฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับควอนตัมเมกานิกส์ อย่างที่เคยเขียนมาเคยอ้างอิงมาตลอดเวลา นั่นคือสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงของจักรวาล เมื่อเราไล่ไปจนละเอียดสุดละเอียดแล้ว มันล้วนแล้วแต่พัวพันกันอย่างอีนุงตุงนัง (ที่ชโรดิงเกอร์เรียกว่า entanglement) ว่าไปแล้วนั่นคือความจริง ที่ทำให้ศาสนากับวิทยาศาสตร์ไม่พูดกันเลยมาตั้งหลายร้อยปี อยู่ๆ ก็เกิดมาละม้ายคล้ายคลึงกันได้อย่างไร? ตรงนี้มีคำถามที่เราหรือนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกไม่เข้าใจ หรือตอบไม่ได้อยู่ถึงสามประการ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อเราหรือมนุษยชาติอย่างยิ่งยวด สามประการนั้นคือ หนึ่ง-วิธีการที่ได้มาหรือเข้าถึงความจริงนั้น สอง-เวลาที่เราค้นพบและเข้าใจซึ่งเวลานั้น ทำไม? ถึงต้องเป็นในเวลานี้ ที่มนุษยชาติและโลกของเรากำลังอยู่ในภาวะที่เลวร้ายทางศีลธรรมจริยธรรม หรือเรื่องของจิตใจที่หนักหนาสาหัสไปแทบทั้งหมดทั่วทั้งโลก และสาม-ดังที่ได้ตั้งเป็นหัวข้อของเรื่องในวันนี้ ว่าทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับเด็ดดอกไม้บนโลกจะกระเทือนถึงดาวบนฟ้าได้อย่างไร? เพราะว่ามันอยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน
 
ประเด็นแรกน่าคิดมากๆ เพราะว่าวินัยทั้งสองมีวิธีการ (methodology) ที่เข้าถึงความจริงแท้แตกต่างกัน พุทธศาสนาใช้ประสบการณ์ตรงส่วนตัว ซึ่งรับรู้ด้วยบุคคลที่หนึ่งหรือจิตของตัวเอง แต่วิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ใช้การทดลองซึ่งเป็นบุคคลที่สามรับรู้ได้เหมือนๆ กัน แต่ก็ต้องใช้จิตที่อยู่ภายในของตัวเอง หรือบุคคลที่หนึ่งนั่นแหละรับรู้หรือสังเกตก่อน (เพื่อให้สภาพที่เป็นทั้งคลื่นทั้งอนุภาคพร้อมๆ กันได้สลายความเป็นคลื่นไป wave-function collapse) นั่น-แตกต่างไปจากฟิสิกส์คลาสสิกโบราณ ที่ใช้ตาเห็นหรืออวัยวะรับรู้ของมนุษย์คนไหนก็ได้ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามเห็นหรือรับรู้เหมือนกัน น่าแปลกที่นักวิทยาศาสตร์โบราณเหล่านั้นใช้วิธีการนั้นที่มนุษย์เท่านั้นเห็นหรือรับรู้
 
"สิ่งที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น" หรือสิ่งนั้นชีวิตอื่นๆ ที่มากมายหลายเผ่าพันธุ์นั้น ต่างถูกบังคับว่าต้องเห็นและรับรู้เหมือนกับมนุษย์ด้วย ซึ่งเราก็รู้ว่าชีวิตอื่นๆ ใดๆ ต่างก็ล้วนเห็นหรือรับรู้ไม่เหมือนกัน เพราะต่างก็เรียนรู้รอดเพื่ออยู่ในโลกให้ได้ หรือรับผิดชอบชีวิตของตนแตกต่างกัน ทุกๆ ชีวิตจึงเห็นและรับรู้ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารไม่เหมือนกัน หรือมีศัตรูคนละอย่างกัน ประการที่สอง-เรื่องของเวลา ทำไม? ถึงต้องเป็นเวลานี้? แต่คำถามนั้นก็ต้องถามต่อไปว่า ถ้าไม่ใช่ตอนนี้แล้วให้เป็นตอนไหน? เราต้องคิดว่าธรรมชาตินั้น เท่าที่เรารู้และสังเกตมาตลอดเวลา มันมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นอยู่สามประการ-ที่น่าแปลกใจตรงที่พุทธศาสนาสอนเรากับที่ฟิสิกส์ใหม่บอกเรานั้นตรงกันเหลือเกิน - คือหนึ่ง-ความเป็นองค์รวมที่ทางศาสนากับควอนตัมฟิสิกส์เหมือนกันเป๊ะดังได้กล่าวมาแล้ว สอง-การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกว่า อิทัปปัจจยตา และทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบการจัดองค์กรให้กับตัวเอง (self-organizing system) สาม-ทั้งสองประการนั้นทำให้ธรรมชาติ "ไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาโดยเชื่อมโยงกันและกันกับทั้งหมด" ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกสั้นๆ ว่า อนิจจังหรืออนัตตา นั่นคือลักษณะหรือคุณสมบัติของธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไม่ได้โดยเด็ดขาด-หากว่าธรรมชาติโลกและจักรวาลรู้ตัว-โลกและจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์ เช่น ดเวน เอลยิน, ปีเตอร์ รัสเซล, เจมส์ ลัฟล็อก ฯลฯ บอกว่าเป็นประหนึ่งสิ่งที่มีชีวิต นั่นคือระบบนิเวศน์วิทยา (ecology) ที่เป็นศัตรูกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มนุษย์และสังคมเป็นผู้คิดขึ้น (economy) หรือเป็นวัฒนธรรมที่ส่วนใหญ่มักตั้งบนอวิชชาที่ไม่ตั้งใจ โหมกระหน่ำด้วยกิเลสและตัณหาของ โลภะ โทสะ โมหะ จนกระทั่งธรรมชาติรู้ตัวว่ากำลังล่มสลายแล้ว (ทรัพยากรธรรมชาติติดลบแล้วร่วมสิบเปอร์เซ็นต์)
 
ด้วยความไม่รู้และโอหัง แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งความเชื่อ แบ่งชาติกำเนิด งมงายอยู่กับอวิชชาและกามโลกีย์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มากๆ เหล่านี้มักจะละเลยคุณธรรมจริยธรรมอย่างหนักหน่วงและเพิ่มทวียิ่งขึ้นทุกวัน กลับกลายเป็นนอร์มใหม่ของสังคมไปโดยไม่เกรงกลัวฟ้าดิน แม้ว่าตอนนี้จะมีบางคนที่รู้สึกตัวบ้างแล้ว แต่ก็สายเกินไปที่จะหยุดยั้งกรรมร่วมโดยรวม (collective karma) ไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ ประการที่สาม-เรื่องของความสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกันขององค์รวมซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวม ฯลฯ แอดอินฟินิตัม ซึ่งอาร์เธอร์ คอสเลอร์ เรียกว่า "องค์รวมกับส่วนขององค์รวมที่ใหญ่กว่า" ซ้อนๆ องค์รวมกับส่วนขององค์รวมที่ใหญ่กว่านั้นอีกไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ (holon= whole and part) นั่นคือธรรมชาติของโลกและจักรวาล ไม่ว่าจะมีจักรวาลเดียวหรือหลายๆ จักรวาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสำหรับผู้เขียนเชื่อว่าโลกและจักรวาล-ไม่ว่าจะมีจักรวาลเดียวหรือซ้อนๆ กันหลายๆ จักรวาล ดังที่ได้เขียนมาตลอดโดยเฉพาะเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว-คือสิ่งที่มีชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์โลกทั้งผอง เพราะว่าผู้เขียนเชื่อว่าอะไรก็ตามที่มีจิตอยู่ข้างในร่าง สิ่งนั้นคือชีวิตหรือมีชีวิต พูดง่ายๆ จิตกับชีวิตคือสิ่งเดียวกัน โดยเฉพาะสัตว์โลก (sentience) จะมีเวทนาความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องผลของการบริหารจิตไร้สำนึกให้เป็นจิตสำนึก หรือจิตตื่นรู้ในแต่ละตัว (คน) (unconsciousness to consciousness and a conscious mind) เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งสรรพปรากฏการณ์ต่างล้วนแล้วมีที่มีจิตกันทั้งนั้น ดังที่ราษฎร์ กฤษนันท์ ว่า "จิตหลับในก้อนหิน ตื่นแต่ไม่รู้ในพืชพันธุ์ไม้ ตื่นและมีกิริยา (active) ในสัตว์ ตื่นรู้ในคน" ดังนั้น ทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในจักรวาลจึงมีชีวิตทั้งสิ้นรวมทั้งตัวจักรวาลเอง "จักรวาลก็เป็นเช่นเดียวกับจิต เหมือนความคิดมาก กว่าจะเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ดังที่นักวัตถุนิยมคิด.....หรือเป็นดังที่นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบฟิสิกส์แห่งยุคใหม่แต่ละคนเลยคิดและเชื่อ จักรวาลนั้นอธิบายให้เราเข้าใจไม่ได้ เพราะเป็นมายากลที่ต้องเอาจิตวิญญาณไปรวมด้วย" (Ken Wilber: The Eye of Spirit, 1998) เด็ดดอกไม้จึงกระเทือนถึงดาวและจักรวาลจริงๆ.
 
 
---------

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวจริงๆ | ไทยโพสต์
4568  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : กาลจักรเก่า กับ จักรวาลวิทยาใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:30:20
http://img151.imageshack.us/img151/9904/26annuz6.jpg

ผู้เขียนได้อ่านและวิเคราะห์ข้อมูล ที่ค่อนข้างไม่น่าเชื่อ แปลก และน่าสนใจสำหรับสาธารณชนทั่วไป โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์


รวมทั้งผู้เขียน - ในฐานะที่เรียนและทำงานในด้านวิทยาศาสตร์แห่งชีวิตในระดับของเซลล์มานาน - นั่นคือข้อมูลที่ให้ความสอดคล้องต้องกันอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ระหว่างคัมภีร์กาลจักร (ผู้หมุนเวลา) ของวัชรญาณพุทธศาสนาของทิเบตกับจักรวาลวิทยาใหม่ ความสอดคล้องต้องกันระหว่างประสบการณ์ตรงจากภายในของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - ตามคำบอกเล่าที่เชื่อกัน - เมื่อกว่า 2500 ปีก่อนกับความรู้ว่าด้วยจักรวาลวิทยาใหม่ที่เพิ่งได้มาใหม่ๆ เพียงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่ง - สำหรับผู้เขียน - ข้อมูลที่พูดได้ว่าตรงกันโดยหลักการ - ได้ก่อความสงสัยอัศจรรย์ใจว่า ความจริงที่ได้มาจากทั้งสองเส้นทางในระยะเวลาที่ห่างกันหลายพันปี มันเกิดมาตรงกันในหลักการสำคัญๆ ได้อย่างไร? บทความวันนี้ จะพูดถึงข้อมูลที่ตรงกันที่ว่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านนำไปคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งความจริงแท้ที่เป็นหนึ่งเดียวกันที่มาจากภายในและจากความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธองค์ - ที่ว่าไปแล้วก่อนตรัสรู้พระองค์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง - กับความรู้ที่ได้มาจากภายนอก หรือวิทยาศาสตร์ นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผู้เขียนมีความมั่นใจโดยปราศจากข้อสงสัยในสัทธรรมความจริงที่มีหนึ่งเดียวของพระพุทธองค์เอามาเขียนเล่าให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาต่อ เหมือนที่ วิลลิส ฮาร์แมน อดีตศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และอมิต โกสวามี นักฟิสิกส์แควนตัมแห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน - ต่างกรรมต่างวาระ - เอามาเขียนที่ผู้เขียนนำมาเขียนและอ้างอิงให้ไว้แล้วในคอลัมน์นี้จึงไม่อ้างซ้ำอีก ส่วนข้อมูลอื่นๆ ผู้เขียนได้มาจากหนังสือห้าเล่มจะอ้างอิงไว้ที่ท้ายของบทความนี้

คัมภีร์กาลจักรนั้นอ้างว่า หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วหนึ่งปี ในกลางเดือนสาม พระองค์ได้ไปปรากฏที่เขาคิชกูฏและพร้อมกันนั้นก็ได้ส่งกายทิพย์ของพระองค์ไปที่มหาเจดีย์ของเมืองอมราวัตถี (มัทราส) ที่อินเดียตอนใต้เพื่อแสดงความสำคัญของโพธิวิมุตติด้วยระบบกาลจักราตันตระ ซึ่งต่อมาได้บันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต และแพร่ไปถึงทิเบตโดยภิกษุชูลีปะจากนาลันธะ กับบัณฑิตที่ชื่อ นารถภัตชาวอินเดีย (ผู้มีชื่อเรียกหากันในทิเบตว่านาโรปะ) เมื่อปี พ.ศ.1026 ต่อมาคัมภีร์ที่เป็นภาษาสันสกฤตเล่มนั้นก็ถูกนำมาแปลเป็นภาษาทิเบตโดยโสมณะภัตที่เป็นศิษย์ของนาโรปะ

คัมภีร์กาลจักรเล่าว่า จักรวาลนั้นจริงๆ แล้วเป็นอนันต์ (infinity) ไม่มีการเกิดการดับแต่จะให้ลูกหลานจากการพองๆ ยุบๆ เรื่อยไป นั่นหมายถึงไม่มีเหตุที่ก่อผล ขณะที่จักรวาลที่มีโลกและสัตว์โลกอาศัยอยู่แห่งนี้ เป็นเพียงหนึ่งของจักรวาลที่มีนับจำนวนไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตและมนุษย์ รวมทั้งสรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเกิดมาจากธาตุห้าธาตุ คือดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศธาตุ (อากาศธาตุถูกแยกเป็นสองธาตุในบาลีไตรปิฎกของเถรวาทเป็นที่ว่างหรือเรียกซ้ำว่าอากาศธาตุกับวิญญาณธาตุ) โดยมีดิน น้ำ ไฟ ลมที่ล้วนวิวัฒนาการขึ้นมาจากอากาศธาตุ (space element) เป็นความว่างเปล่า หรือสุญตาเป็นพื้นฐานที่มา คัมภีร์กาลจักรบอกว่าอากาศธาตุนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นความว่างที่ไม่มีอะไรเลย หากจะประกอบด้วย "อนุภาคว่างเปล่า" (empty particles or space particles) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ให้กำเนิดแก่สสารอนุภาคที่รวมตัวกันเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม โดยที่อนุภาคว่างเปล่าเองก็ประกอบด้วยอนุภาคที่มีความละเอียดอย่างยิ่ง - ละเอียดจนประหนึ่งเป็นความว่างเปล่า - อีกที และเป็นอนุภาคว่างเปล่านี้เองที่ให้วิวัฒนาการ (ของลม ไฟ น้ำ ดิน) และวิวัฒนาการย้อนกลับ (สลายด้วยการดูดซึมกลับสู่ความว่างเปล่าของดิน น้ำ ไฟ ลม) ที่ประกอบเป็นรูปกายและพลังงานของจักรวาล (นี้) รวมทั้งชีวิตทั้งหลายทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า อากาศ (space) และอนุภาคว่างเปล่า (space particles) คือที่มาของกระบวนการทั้งหมดของจักรวาล คำว่าอนุภาคนั้น - ในระบบกาลจักร - ให้ความหมายที่ไม่ได้แปลว่าเป็นสสารเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงศักยภาพ (potentialities) ของความเป็นสสารหรือพลังงานด้วย

ฟิสิกส์จักรวาลวิทยาใหม่ให้ข้อมูลที่อาจชี้บ่งว่า จักรวาลมีจำนวนเป็นอนันต์ (infinity or multiverses) โดยงอก (budding) หรือให้ลูกหลานออกจากจักรวาลแม่ตลอดเวลา ที่ไร้สาเหตุ (non-local) สสารและ/หรือพลังงานรวมชีวิตและมนุษย์วิวัฒนาการขึ้นมาจากอนุภาคเทียม (virtual particles) - ไร้มวลไร้พลังงานชั่วคราวที่ประกอบเป็นความว่างของที่ว่าง (และเวลา) - ที่มีศักยภาพให้อนุภาคจริงๆ ได้

ระบบกาลจักรบอกว่าการเกิดและการสลายของจักรวาลมีลักษณะเป็นวงจรหรือวัฏจักรที่ประกอบด้วยสี่ระดับหรือสี่ช่วงระยะคือ หนึ่ง การเกิดของจักรวาล สอง การตั้งอยู่และการเปลี่ยนแปลงไป สาม การสลายตัวของจักรวาล และสี่ ระดับหรือช่วงระยะแห่งความว่างเปล่าเมื่อดิน น้ำ ไฟ ลม สลายและถูกดูดซึมกลับสู่ความว่างและแล้วจักรวาลใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาจากซากของจักรวาลเก่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในอนุภาคว่างเปล่านั้น

จักรวาลวิทยาใหม่ชี้บ่งว่าจักรวาลเกิดจากการสั่นสะเทือน (quantum fluccuation) ของพลังงานหลงเหลือจากการสลายตัวของจักรวาลเก่าสู่สภาพว่างทางแควนตัม (quantum vacuum) โดยเริ่มต้นด้วยอนุภาคเทียม ที่จะกลายเป็นอนุภาคจริง (real particle) หรือสสารทีหลัง โดยนักฟิสิกส์ส่วนหนึ่งเชื่อว่า กระบวนการที่เป็นวงจรของจักรวาลวิทยาใหม่ (ขึ้นอยู่กับการหากฎแห่งความเป็นเอกภาพที่ยิ่งใหญ่ grand unified theory or GUT ที่รวมกฎทั้งหมดทางฟิสิกส์ให้พบ) จะประกอบด้วยสี่ช่วงระยะคือ หนึ่ง ซิงกูลาริตี้เมื่อกฎและสมการทางคณิตศาสตร์ล่มสลายไปทั้งหมดและเกิดการระเบิดที่เรียกกันว่าบิ๊กแบง จากการสั่นสะเทือนของพลังงานหลงเหลือที่ซ่อนอยู่ในความว่างเปล่าทางแควนตัมที่ว่านั้น สอง การดำรงอยู่ของจักรวาลที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สาม การสลายตัวของจักรวาลบิ๊กครันช์หรือบิ๊กฟรีซ (big crunch or big freeze) โดยการรวมตัวกันของหลุมดำที่อยู่ในใจกลางของกาแล็กซีหรือที่อี่นใด และสี่ ความว่างเปล่าทางแควนตัม เมื่อสสารและพลังงาน (ซากของจักรวาลเก่า) ถูกดูดซึมกลับสู่ความว่างนั้น

คัมภีร์กาลจักรยังบอกต่อไปด้วยว่า แม้ว่าจักรวาลนี้เองก็มีความกว้างใหญ่ไพศาลอย่างยิ่ง โดยใช้คำว่าพันล้านเท่าของจำนวนโลก หรือจำนวนของโลกที่คาดคิดไม่ได้ยกกำลังสอง (square untold) ในมัชฌิมจักรวาล (กาแล็กซี) ของเราเองก็มีระบบดาวที่เกิดใหม่และระบบดาวที่ตายไปตลอดเวลา และระบบสุริยะของเราก็เกิดมาด้วยกระบวนการนั้น ดาวทั้งหมดรวมทั้งดาวเคราะห์หรือโลกล้วนมีลักษณะทรงกลมแขวนโคจรอยู่ในที่ว่างของอวกาศ (empty space) ฉะนั้น จากคัมภีร์ที่มีในช่วงแรกๆ ของพุทธศาสนาจึงไม่เพียงแต่กล่าวถึงระบบโลกที่มีมากมาย (multiple world systems) หรือมีมากยิ่งกว่าเม็ดทรายที่เรียงรายอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเท่านั้น หากยังระบุว่าระบบดาวแต่ละระบบมีการเกิดใหม่และมีการดับสลายตลอดเวลา โดยผ่านวัฏจักร (a cycle of an aeon) สี่ช่วงระยะ หรือสี่ยุค (era)

ว่าไปแล้ว โดยหลักการรวมทั้งบางครั้งแม้ในรายละเอียด จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาโดยเฉพาะที่บันทึกไว้ในกาลจักราตันตระนั้น ไม่ได้มีความแตกต่างจากจักรวาลวิทยาที่ตั้งบนฟิสิกส์ใหม่หรือวิทยาศาสตร์ใหม่ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ นั่นคือจักรวาลทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่มีการเกิดและการดับอย่างสิ้นสูญไปจริง มีแต่การไหลเลื่อนเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้จบ นักฟิสิกส์ยุคใหม่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ มักเชื่อในหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างที่มิชิโอะ กากุ ที่อ้างอิงถึงข้างท้ายของบทความนี้ว่า จักรวาลมีความเป็นอนันต์ (multiverses) - เกิดใหม่และดับสลายไป - แบบไม่มีความจบสิ้น โดยมีจักรวาลของเราเฉพาะจักรวาลที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้เป็นหนึ่งในนั้น ยิ่งไปกว่านั้น มิชิโอะ กากุ ยังกล่าวต่อไปว่าพุทธศาสนาบอกว่าจักรวาลไม่มีเกิดไม่มีดับเป็นวัฏจักรของวิวัตตาและสังวิวัตตา - มีบิ๊กแบงที่ไม่มีการจบสิ้น - นั้น ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะพุทธศาสนาหมายถึงจักรวาลที่เป็นทั้งหมด (multiverses) จึงไม่มีความจบสิ้น ส่วนศาสนาอื่น เช่น คริสต์ศาสนาที่บอกว่ามีการสร้างจักรวาลนั้น ก็เป็นเรื่องถูกต้องอีกเหมือนกัน เพราะเป็นการกล่าวถึงเฉพาะจักรวาลนี้ หรือจักรวาลของมนุษย์ที่มีการสร้างขึ้นหลังจากที่มีการระเบิดบิ๊กแบงเพียงครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากจักรวาลแห่งรูปกายและปรากฏการณ์ ที่ดูจะตรงกันระหว่างข้อมูลของกาลจักราตันตระกับข้อมูลจักรวาลวิทยาใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากหลักการและวิธีการของวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดตัวเองโดยการพิสูจน์ในห้องทดลองและ/หรือสนับสนุนด้วยสูตรและสมการทางคณิตศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสภายนอกที่รับรู้ด้วยจิตรู้อีกที ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงต้องทิ้งเรื่องของจิต (consciousness) หรืออย่างดี สามารถแตะได้เพียงบางส่วนบางตอน (ของ mental pathway) ที่เล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เรื่องของจิตส่วนใหญ่โดยเฉพาะเรื่องจิตวิญญาณจะดำรงอยู่นอกวิทยาศาสตร์ในขณะที่ศาสนา รวมทั้งระบบกาลจักร อธิบายเรื่องของจิตจากประสบการณ์ภายในของผู้ปฏิบัติศาสนาถึงระดับวิมุตติ ประสบการณ์ที่สาธารณชนคนทั่วไปจะต้องเลือกว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อฉะนั้นเอง เรื่องของจิตทั้งกระบิ สติ เวทนา สัญญา - รวมทั้งจิตรู้ ที่ประกอบเป็นความคิด มโนทัศน์ทั้งหลายทั้งปวงที่ส่วนหนึ่งวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหรืออธิบายดังที่กล่าวมาข้างบน - และเรื่องของจิตไร้สำนึก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก หรือเป็นเรื่องจิตเหนือสำนึกที่เป็นธรรมจิต จึงเป็นประสบการณ์ที่ได้จากเส้นทางภายใน หรือศาสนา

พุทธศาสนาและกาลจักราตันตระล้วนพูดถึงความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกำเนิดของจักรวาล (นี้) กระทั่งวิวัฒนาการของโลกแห่งสสารและโลกแห่งชีวิต - สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งมนุษย์ - กับวิวัฒนาการของจิต หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาบอกว่า กำเนิดของจักรวาล (นี้) มีขึ้นมาได้ก็เพื่อให้สัตว์โลกและมนุษย์สามารถวิวัฒนาการตามขึ้นมาได้ และวิวัฒนาการทางกายภาพมีขึ้นมาก็เพื่อให้จิตเข้าไปอาศัยอยู่และเรียนรู้โลก เรียนรู้ตัวเองและความสัมพันธ์ระหว่างกัน และรวมทั้งการเรียนรู้จักรวาลหรือสัทธรรมความจริงได้ ซึ่งตรงกับจักรวาลวิทยาใหม่ที่อธิบายว่าจักรวาลนี้มีขึ้นมาก็เพื่อมนุษย์สามารถมีขึ้นมาได้ และสุดท้ายก็สามารถเรียนรู้ตัวเองรู้จักรวาลได้ (cosmological anthropic principle) เพราะฉะนั้นเอง จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาจึงพูดถึงกฎหรือกลไกที่บริหารและควบคุมวิวัฒนาการของจักรวาลโลกและภพภูมิต่างๆ รวมทั้งสัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์และสังคมของมนุษย์ว่า มีอยู่ด้วยกันสองกฎหรือสองกลไก ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์กันและกัน นั่นคือ กฎแห่งกรรม กับกฎแห่งการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือ อิทัปจยตา ในขณะที่จักรวาลวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์ จะรู้จักและเน้นเฉพาะประเด็นหลังประเด็นเดียว (self - organizing principle).

(Dalai Lama : The Universe in a Single Atom, 2006; Jeffrey Hopkins : Kalchakra Tantra, 1989; Francisco Valera,ed.The New Physics and Cosmology, 2003; Michio Kaku : Parallel Worlds, 2005; Brian Greene : The Fabric of Cosmos, 2004)

จาก

http://board.agalico.com/showthread.php?t=9274
4569  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จิตคือฟิสิกส์ใหม่-ต้องรู้ก่อนจะสายเกินไป เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:29:18

 
 
สำหรับผู้เขียนซึ่งได้ติดตาม คาร์ล ซี. จุง มานาน รู้ว่าแม้เขาจะเรียนวิทยาศาสตร์และเป็นคนช่างสังเกตมากๆ แต่ผู้เขียนก็ยังคิดว่าเขาเป็นจิตนิยมอยู่ดี ในที่นี้คำว่าจิตนิยมไม่ได้แปลว่าเขาเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าเท่านั้น แต่เขาพยายามจะอธิบายศาสนาให้เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น เรื่องของ "ความสอดคล้องพ้องจองกัน" (synchronicity) หรือความบังเอิญ (ซึ่งจุงไม่เชื่อ) ที่ประสบการณ์ตรงทางจิต (เช่น ความฝัน ภาพหรือการรับรู้ต่างๆ ฯลฯ) เกิดมาพ้องจองกันกับเหตุการณ์จริงๆ ทางโลกแห่งกายอย่างมีความหมาย ทั้งๆ ที่ไม่มีสื่อใดๆ บ่งบอก - ที่ผู้เขียนเชื่อเพราะเคยเกิดขึ้นกับผู้เขียนหลายครั้ง - ซึ่งคาร์ล ซี. จุง อธิบายว่าประสบการณ์ตรงทางจิตกับเหตุการณ์จริงๆ ทางโลกกายภาพเป็นเรื่องของการติดต่อกันอย่างอีนุงตุงนัง (entanglement) - จุงไม่ได้ใช้คำนี้ แต่ผู้เขียนคิดว่าความหมายเป็นอย่างเดียวกัน - ของจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาล แต่อดรู้สึกประหลาดใจไม่ได้ที่จะคิดว่า การค้นพบควอนตัมเม็คคานิคส์หรือฟิสิกส์ใหม่ ซึ่งค้นพบในขณะที่มนุษยชาติกำลังลำพองใจกับความก้าวหน้า (หรือการเริ่มต้นของการทำร้ายและทำลายโลกธรรมชาติของมนุษยชาติ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างธรรมชาติ vs มนุษยชาติ) ของวิทยาศาสตร์กายภาพหรือกายวัตถุ การค้นพบของวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าทฤษฎีควอนตัมของตะวันตก ซึ่งสอดคล้องต้องกันหรือสนับสนุนซึ่งกันและกันกับศาสนาที่อุบัติขึ้นทางตะวันออก เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า และศาสนาฮินดู ทำให้ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะคิดถึงความน่าเป็นไปได้ของการติดต่อกันอย่างอีนุงตุงนังของจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาล (universal unconscious continuum) อย่าลิมว่าจิตไร้สำนึกที่ว่านี้ ก่อประกอบเป็นทุกๆ สรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ที่อยู่ในจักรวาล รวมทั้งสถานที่และเวลา ในมหายานและวัชรญาณพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูถึงได้บอกเหมือนๆ กันว่า อวกาศ (สถานที่ + เวลา หรือ absolute space) คือธาตุที่ 5 ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นที่มาของอวกาศ (spac) และวิญญาณ (unconsciousness as consciousness) ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เถรวาทพุทธศาสนาจะ
 
เรียกอากาศว่าที่ว่างในร่างกาย และเรียกวิญญาณว่าความรู้แจ้งทางอารมณ์
 
ปัจจุบันสังคมสมัยนี้อยู่กันด้วยตรรกะหรือเหตุผล ไม่ว่าสถานที่ใดหรือองค์กรสถาบันไหน วันๆ มีการตั้งกรรมการอนุกรรมการมาประชุมสัมมนากันเพื่อตัดสินปัญหา-หามติกัน โดยยกเหตุผลมาแสดงจนแทบโกรธกันจนตาย ยิ่งถ้าหากเกิดมีผลประโยชน์หรือเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว อาจจะเป็นความเป็นความตายของผู้มีเหตุผลดี หรือตรงไปตรงมาจึงต้องตาย ที่เราๆ ท่านๆ ต่างล้วนได้ยินได้ฟังมาแทบทุกคนก็ว่าได้ โดยเฉพาะในสังคมที่ด้อยพัฒนาที่ยิ่งด้อยพัฒนาแค่ไหน และยิ่งต้องการทำตามประเทศที่พัฒนามากและนานเป็นร้อยปีแล้วแค่ไหนก็ยิ่งมีการตายการแตกแยกขัดแย้งทะเลาะกันมากขึ้นเท่านั้น นั่นคือ ยิ่งทำผิดธรรมชาติ ผิดธรรมะมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นวิกฤติมหาวิกฤติ ที่ทุกวันนี้พูดตามตรง หมดทางแก้ไขไดๆ ทั้งสิ้น รอเพียงอย่างเดียวคือ เรารอสังคมประเทศชาติหรือโลกทั้งโลกฉิบหายสลายไปด้วยกัน เพราะตรรกะและเหตุผลของมนุษยชาติที่เรียกว่าทันสมัยนั่นแหละ
 
ที่พูดมานั้นย่อมมีเหตุผลอันเป็นสากลโดยไม่ใช่ของมนุษยชาติแต่เพียงชีวิตเดียว หรือเฉพาะคนไทยพุทธเถรวาทที่ยังหนุ่มแน่นโดยเฉพาะผู้ชาย ผู้เขียนไม่ได้มีปมเขื่องหรือปมด้อย ทั้งไม่ใช่เป็นคนต่อต้านสังคมที่มองโลกในด้านร้าย และก็ไม่ใช่คนที่แช่งให้โลกฉิบหายไวๆ แต่เป็นตรงกันข้ามกับที่เพิ่งพูดมาในพารากราฟนี้ทั้งหมด ผู้เขียนมีความคิดเห็นโดยอยากดูและปรารถนาที่จะเห็นมนุษยชาติซึ่งพิเศษสุดพิเศษ คือประเสริฐกว่ามวลชีวิตทั้งหลาย คือต้องการเห็นมนุษย์ "ประเสริฐ" และอิสระจริงๆ กันทุกคน ไม่ต้องมีวัตถุ คุกตะราง หรือกระดาษ เช่น รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพี่เบิ้ม เช่น อเมริกาที่ผิดธรรมชาติ - ทั้งสองระดับ - มาตลอดตั้งแต่ตั้งสังคมประเทศชาติมาคอยควบคุมให้ปฏิบัติตาม ผู้เขียนคิดและเชื่อมั่นว่ามนุษยชาติจะต้องมีวิวัฒนาการ - ทางกายและทางจิตโดยมีพลังงานเป็นเครื่องมือกลไก - ไม่ใช่สัตว์ป่าที่โหดเหี้ยมชั่วร้ายอีกต่อไป และจะวิวัฒนาการทางจิตสู่เทวดาดังที่โพลตินัสกล่าวไว้เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ซึ่งจิตจะต้องมีวิวัฒนาการต่อไปตามสเปกตรัมสู่โลกทัศน์ใหม่กระบวนทัศน์ใหม่ ผ่านรู้ทั้ง 3 รู้ คือ รู้รอด รู้เพื่อรู้ และรู้แจ้ง ซึ่งเราลองผิดลองถูกมานานจนสังคมโลกวิกฤติ (ส่วนใหญ่มากๆ จะเป็นการลองผิดและวิกฤติเกิดจากการลองผิดนั้นๆ) ขณะนี้มนุษยชาติทั้งเผ่าพันธุ์ไม่มีเวลาเหลือที่จะลองและผิดอีกแล้ว นอกจากความหวังต่อไปนี้อย่างเดียวคือ ต้องปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาที่โพลตินัสว่าให้ได้ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นสุดวิเศษ เพราะเป็น "สุขคติ" และไปนิพพานได้ ความหวังของผู้เขียนนั้นคือ การปฏิบัติจิตปฏิบัติธรรมจะนำจิตสู่ธรรมชาติระบบบน (spirituality) ได้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์เป็นอิสระ เกิดปัญญา สามารถจะมองเห็นโลกกับเห็นจักรวาลคือ "บ้านของเรา" ได้ เราและมวลชีวิตทั้งหลายจึงจะอยู่ได้รอดปลอดภัยเท่านานแสนนาน จึงขอตั้งความหวังที่แท้จริงว่ามนุษย์ทั้งหลายจงอย่าประมาท เราไม่มีเวลาเหลืออีกแล้วจริงๆ แม้แต่ 3-4 ปีข้างหน้านี้ก็จงอย่ารอเลย เพราะจะสายเกินไป
 
การปฏิบัติจิตปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติสมาธิสู่จิตวิญญาณนั้นในระดับบนนี้ ไม่ว่าศาสนาใดก็ไม่มีความแตกต่างกันโดยหลักการแม้แต่น้อย ที่ต่างกันเป็นเรื่องของระดับล่าง ไม่ใช่ที่ระดับบนหรือระดับจิตวิญญาณ (spirituality) ที่แตกต่างกัน ระดับล่างที่แตกต่างกันนั้น แตกต่างกันที่ "ตัวกูของกู" ที่จะต้องดีกว่าถูกต้องกว่า "ตัวมึงของมึง" เพราะตาและใจที่ลำเอียงหรือมองเห็นแต่ข้างเดียว เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือภาษาวัฒนธรรม ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นลักษณะของกระบวนทัศน์เก่าที่ต้องวิวัฒนาการต่อๆ ไป แต่เราส่วนใหญ่ไม่เชื่อจึงไม่คิด ไม่รู้ และไม่เปลี่ยนแปลง
 
ศาสนาทุกศาสนาจะพูดถึงความไม่รู้หรืออวิชชาของมนุษย์โดยใช้ภาษาของตัวเองที่ผิดแผกแตกต่างกันไป เช่น เพราะไปเชื่องู ไม่เชื่อพระเจ้า ทำให้มนุษย์ตกลงมาจากสวนอีเด็นในคริสต์ศาสนา ที่ว่าความไม่รู้นั้นก็คือว่า เราไม่รู้ความจริงที่แท้จริงของโลกของจักรวาล ซึ่งถูกซ่อนไว้ข้างหลังสิ่งที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น ตาหรือหูของเรา สิ่งที่เราเรียกว่าความเป็น 2 (dualism) ที่จำเป็นที่สุดของการอยู่รอดของชีวิต รวมทั้งมนุษย์ ให้เชื่อแต่เฉพาะแต่ตาหู และประสาทสัมผัสภายนอกของตัวเองเท่านั้นว่าเป็นความจริงแท้ ย้ำที่คำว่าตัวเองเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อความอยู่รอดของชีวิตของตัวเอง นั่นคือ ความอยู่รอด (existence ของปรัชญา existentialism ของปอล ซาร์ต (Paul Satre) - ที่ชาวตะวันตกเชื่ออย่างผิดๆ เพราะไม่ได้คิดว่าคือเป้าหมายของพุทธศาสนา - แต่ผู้เขียนเชื่อว่าการรู้ของสัตว์โลก รวมทั้งมนุษย์ทั้ง 3 รู้ (รู้รอด รู้เพื่อรู้ รู้แจ้ง) นั้นเป็นประวัติศาสตร์ขององค์ความรู้ - ตามความเห็นของเดวิด โบห์ม คือ ข้อมูลที่คลี่ขยายจากการซ่อนตัวเองอยู่ในจักรวาล องค์กรที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ หากแต่จะไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยงกับทั้งหมด ซึ่งก็คือธรรมชาติหรือธรรมะ - ซึ่งรวมธรรมชาติปกติธรรมดาอย่างหนึ่ง และรวมธรรมชาติที่สุดของธรรมชาติตามที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งด้วย - ทั้ง 2 ระดับอันเป็นอภิปรัชญาทางศาสนา ตอนนี้ผู้เขียนคิดว่า เรา - ในปัจจุบัน มีองค์ความรู้อีกองค์ความรู้หนึ่ง หรือควอนตัมเม็คคานิกส์ที่พิสูจน์สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาหรือได้ยินด้วยหู นั่นคือ สิ่งที่องค์ทะไล ลามะ บอกว่าได้มาจากบิกแบ็ง "ที่มีบิกแบ็งๆ ของจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด" หรือการโผล่ปรากฏของจิตปฐมภูมิ (ญาณะ = primordial consciousness) รูปกายปฐมภูมิ (ธรรมธาตุ) และพลังงานปฐมภูมิ (ปราณะ) 3 ปฐมภูมิ (ปถนมามัง อุปถัมภันโน) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ องค์กรที่เดวิด โบห์ม เรียกว่าองค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) องค์กรที่ซ่อนตัวเองอยู่ข้างหลังความจริงที่ตามองเห็นหูได้ยิน (David Bohm : Wholeness and Implicate Order, 1981) นั่นเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อกัน นั่นคือความจริงใหม่ที่ค่อนไปทางจิต หรือผู้เขียนเชื่อว่า ควอนตัมฟิสิกส์เท่าที่ผู้เขียนรู้ ทำงานคล้ายกับจิต แต่จิตนั้นละเอียดยิ่งกว่ามาก นักฟิสิกส์ใหญ่ๆ ที่ค้นพบฟิสิกส์ใหม่ควอนตัมเม็คคานิกส์ เช่น แมกซ์ แพลงก์ นีลส์ บอร์ ไฮเซนเบิร์ก ชโรดิงเกอร์ ฯลฯ รวมทั้งไอน์สไตน์เองได้ค้นพบทฤษฎีนี้ และชุมชนวิทยาศาสตร์ได้รับรองวินัยใหม่นี้ในปี 1927 ซึ่งแทบจะอธิบายหลักธรรมชาติของความจริงได้ทั้งหมด - ทั้งที่คลาสิคัลฟิสิกส์อธิบายได้กับอธิบายไม่ได้เลยแม้แต่น้อย แถมยังแม่นยำกว่านิวโตเนียนฟิสิกส์ด้วย - ดังนี้
 
1.ทฤษฎีควอนตัมอธิบายว่าหนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง
 
2.ในระดับละเอียดจริงๆ (ระดับอะตอมลงมา) ไม่พบสสารวัตถุใดๆ เลย
 
3.ในระดับเช่นนั้นมีแต่ความ "น่าเป็นไปได้" ของสภาวะอนุภาคหรือสภาวะคลื่นอย่างใดอย่างหนี่ง หรือในสภาวะอื่นๆ
 
4.สุดท้ายความเป็นไปได้นั้นจะต้องมีจิตของผู้สังเกต
 
5.ในธรรมชาตินั้นความจริงแท้ไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ไหน แต่จะติดต่อกันได้เองในทันทีทันใด
 
6. "จง" อย่าหาเหตุผลเพื่ออธิบายควอนตัมเด็ดขาด เพราะมันไม่มี
 
นั่นตรงกันข้ามกับหลักการคลาสิคัลฟิสิกส์ทุกอย่างเลย ทฤษฎีควอนตัมมีแต่ความไม่แน่นอนที่ทำนายล่วงหน้าไม่ได้ (indeterminism) ทั้งไม่ได้เป็นสิ่งที่ "ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น" (non-local) แถมยังเกี่ยวกับจิตผู้สังเกตด้วย ส่วนทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎีที่มาของจิตสำนึกนั้นอธิบายด้วยพลวัตที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจิตไร้สำนึกของจักรวาลเป็นจิตสำนึกที่สมอง คือความสัมพันธ์ระหว่างจิต-สมอง (mind-brain interaction) ของวอน นิวแมน-วิกเนอร์-แสตปป์ (อ้างแล้ว) ที่มองว่าจิตไร้สำนึกคือข้อมูลพื้นฐานจักรวาล (information) หรือจิตที่แปลข้อมูลเป็นความหมายที่ส่งมาด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเป็นความถี่คลื่น ให้สมองเปลี่ยนเป็นจิตสำนึกเป็นบิตของข้อมูลผ่าน 2 กรรมวิธี : จิต-สมอง (ที่เป็นไปด้วยกลไกทางควอนตัมกับกลไกของสมองที่เป็นไปด้วยกระแสไฟฟ้าและสารเคมีตามปกติ (process I-II of Von Neuman-Wigner-Stapps)




 
http://www.thaipost.net/sunday/011109/12854
4570  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:56
ตห (เต้าหู้)

คนสวน

offline
 
กระทู้: 1101
 

 
 

 

ชอบมากค่ะเล่มนี้ โดยเฉพาะบทที่เก้า ที่เขียนไว้ในกระทู้ order versus chaos
ท่าน Matthieu Ricard จากนักชีวโมเลกุล สู่ ภิกษุในพุทธศาสนา (ใครเป็นแฟนพันธ์แท้ของท่านคงจะทราบว่า มีเล่มก่อนหน้านี้ ภิกษุกับนักปรัชญา คือท่านกับพ่อของท่านคุยกัน นั่นก็สนุก)
 
ตอนนี้ TED TALK ยกให้ท่านเป็น "happiest man in the world" ไปเรียบร้อยแล้ว

http://www.ted.com/talks/matthieu_ricard_on_the_habits_of_happiness.html

 
นอกจากนี้ หากท่านใดได้มีโอกาสคลิ๊กเข้าไปที่แกลอรี่ของท่าน http://www.matthieuricard.org/index.php/gallery/จะพบอีกว่าท่านมาติเยอ ฝีมือถ่ายภาพชั้นเซียนจริงๆ


ลิงค์มาให้ชื่นชม
 
4571  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:32







พิมพ์สวนเงินมีมา, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติองค์ทะไลลามะที่ 14 และอาจถือเป็นงานเปิดตัวหนังสือ “ควอนตัมกับดอกบัว” ที่พี่ชิวหรือ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เค้าไปช่วยแปลด้วย ส่วนผู้ร่วมแปลอีกท่านหนึ่งคือ คุณกุลศิริ เจริญศุภกุล
 

โปสเตอร์การเสวนานี้ - ที่มา - เว็บไซต์ข้างล่างนี้
 
สาเหตุที่ทราบเรื่องเสวนานี้ก็คือ วิทยากรท่านหนึ่งคือ พี่ชิว นั่นเอง อีกสองท่านก็คือ พระครรชิต คุณวโร (ท่านอยู่วัดญาณเวศกวัน – วัดเดียวกับท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ที่ผมกล่าวถึงไปในตอนที่แล้วนั่นเอง) ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี คุณณัฐฐา โกมลวาทิน พิธีกรจาก ThaiPBS เป็นผู้ดำเนินรายการ รายละเอียดรายการนี้มากกว่านี้อยู่ที่เว็บไซต์ของ สนพ.สวนเงินมีมาที่ http://www.suan-spirit.com/home_activity.asp?go=read&group=2&id=75 หรืออาจใช้ชื่อพี่ชิว search แล้ว ตามไปดูที่ GoToKnow ที่พี่ชิวเค้าเขียน blog อยู่ก็ได้ครับ คงมีภาพบรรยากาศงานให้ชมด้วย เพราะพี่เค้าติดกล้องไปด้วย คนฟังเต็มห้องประชุมเลยครับ น่าจะอยู่ในราว 160-180 คน เห็นจะได้ (ซึ่งถือว่าดีมาก สำหรับหัวเรื่องที่น่าจะถือว่า "หนัก")

วันนั้น มีหลายประเด็นที่อาจจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ แต่ผมขอพูดถึงสัก 2 ประเด็นคือ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีวิทยากรท่านหนึ่งบอกว่า พุทธศาสนาไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ “มากกว่า” ศาสนาอื่นอีกหลายศาสนา – สังเกตนะครับว่า คำพูดนี้เป็นได้แค่ “สมมติฐาน” และโดยส่วนตัวผมถือว่าเป็นสมมติฐานที่สุ่มเสี่ยงมาก การจะตอบเรื่องนี้ได้คงต้องทำวิจัยกันชุดใหญ่เลยทีเดียวล่ะครับ
 
ผม “เชื่อว่า” สาเหตุที่ “ดูเหมือน” ศาสนาพุทธไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะ (1) คนไทยไม่ค่อยกล้าวิจารณ์ศาสนาของไทยนัก จึง “โน้มเอียง” ที่จะยกพุทธให้เข้ากับเรื่องที่ตนคิดว่าดี ในกรณีนี้คนที่เชื่อว่าวิทย์ดี ก็จะบอกว่าพุทธ มีความเป็นวิทย์อยู่ในทีด้วย และพยายามยกส่วนที่คิดว่าสอดคล้องกันขึ้นมากล่าว และ (2) คนไทยยังไม่ค่อยมีวัฒนธรรมการวิจารณ์บน “หลักฐาน” มากนัก จึงเป็นการพูดด้วยความเชื่อกันมาก
 
ถ้ายังจำกันได้ผมเคยกล่าวถึงวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของพระอาจารย์โสภณ โสภโณ มีเนื้อความตอนหนึ่งของปาฐกถาของท่านที่กล่าวถึง “การเกิด” แบบอื่นๆ ของมนุษย์ที่ไม่ได้เกิดจาก “ท้องแม่” ทั่วไป เช่น การปุ๊บปั๊บไปเกิดในดอกบัวยักษ์ หรืออีกกรณีหนึ่งที่ ฤาษีตนหนึ่งที่ได้คำแนะนำจากพระอินทร์ให้เอามือลูบท้องนางฤาษิณีที่เป็นภรรยา (แต่ต่างถือพรหมจรรย์ ไม่หลับนอนด้วยกันตามวิสัยคฤหัสถ์) ก็ได้ลูกด้วยวิธีนี้ ซึ่งลูกที่มาเกิดก็คือ พระโพธิสัตว์ ที่มาสั่งสมบุญและช่วยฤาษีและฤาษิณีที่ต้องตาบอดทั้งคู่จากกรรมเก่า เป็นต้น จะเห็นว่าการเกิดทั้ง 2 แบบที่ยกมานั้น ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า “ยังมีหลักฐานชัดเจน และยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยข้อมูลเท่าที่มีอยู่ว่า เกิดขึ้นได้จริง” (ไม่ได้บอกว่า เกิดขึ้นไม่ได้ – ต่างกันนะครับ ลองคิดดูดีๆ) ดังนั้น หากถามนักวิทยาศาสตร์ในวันนี้ ก็คงจะตอบ (ตามหลักฐาน) ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้!
 
 

หน้าปกหนังสือ "ควอนตัมกับดอกบัว"
 
มีคำกล่าวที่วิทยากรท่านหนึ่งอ้างถึงคำพูดของไอน์สไตน์ ที่กล่าวถึง “ศาสนาคอสมิก (Cosmic religion)” หรือศาสนาที่เป็นสากลว่า “ถ้าจะมีศาสนาใดที่เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้มากที่สุด ก็คงจะเป็นศาสนาพุทธ” พี่ชิวกล่าวถึงข้อความตรงนี้ไว้ว่า ได้เคยตรวจสอบดู ก็พบจาก Wikipedia ว่า เป็น quote ที่ไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลเบื้องต้นหรือต้นตอ (original source) ได้พบ ... หรืออาจแปลได้ว่า ... อาจจะไม่เคยกล่าว หรือหากจะกล่าวไว้ ก็ไม่เคยบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวของไอน์สไตน์ในที่ใดเลย!
 
ทั้งนี้และทั้งนั้น ... อย่าเชื่อในทันที (เพราะใครพูดก็ตาม) ลองไตร่ตรองและสืบสวนกันดูเองได้ ก่อนเชื่อนะครับ!
 
นำชัย
 
 
http://www.biotec.or.th/Guru/

4572  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:03

 
 
ชื่อหนังสือ : ควอนตัมกับดอกบัว
การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ
 
(The Quantum and the Lotus)
 
รหัสสินค้า : P-SM-0098
 
กลุ่มหนังสือ : ศาสนธรรมเพื่อสังคมร่วมสมัย & ชีวประวัติเพื่อแรงบรรดาลใจ
ผู้แต่ง : มาติเยอ ริการ์ และ ตริน ซวน ตวน เขียน /
กุลศิริ เจริญศุภกุล และ บัญชา ธนบุญสมบัติ แปล
พิมพ์ครั้งที่/ จำนวนหน้า/ กระดาษ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
ขนาด ๑๖ หน้ายกพิเศษ (๑๔.๕ x ๒๑.๐ ซม.)
ความหนา ๕๑๒ หน้า
ราคา : ๔๒๐ บาท
 
รายละเอียดย่อ
 

 
เราทั้งมวลล้วนเกิดจากฝุ่นละอองของดวงดาว เป็นพี่น้องของผองสัตว์ป่า เป็นเครือญาติกับมวลดอกไม้ในท้องทุ่ง เราทั้งมวลล้วนบอกเล่าเรื่องราวของจักรวาล เพียงเราหายใจ เราก็เชื่อมโยงเข้ากับสรรพสิ่งที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้
 
รายละเอียดเต็ม
เพราะมีอยู่ในหนึ่งอะตอม
จึงมีอยู่ในทุกอะตอม
โลกทั้งมวลก้าวล่วงสู่ที่นั้น
ลึกล้ำจนมิอาจหยั่งถึง
 
(จากพระสูตรของพระพุทธเจ้า)
 
 
เพื่อเห็นโลกในเม็ดทราย
และสรวงสวรรค์ในดอกไม้ป่า
จงวางความเป็นอนันต์ไว้บนฝ่ามือ
และความเป็นนิรันดร์ไว้ในโมงยาม
 
(วิลเลียม เบลค)
 
 
 
เอกภพมีจุดกำเนิดหรือไม่? การปรับแต่งอย่างประนีตเหมาะเจาะจนน่าพิศวงของเอกภพ แสดงว่ามี "หลักการแห่งการสร้าง" บนโลกของเราใช่ไหม? หากใช่ ย่อมหมายความว่า โลกมีพระเจ้าผู้สร้างเช่นนั้นหรือ?
 
การตีความ ความจริง แบบฟิสิกส์ควอนตัมที่เปลี่ยนฐานคิดจากเดิม คล้ายคลึงหรือแตกต่างจากการเข้าใจ ความจริง ของพุทธศาสนาอย่างไร?...และอีกหลายคำถาม
ควอนตัมกับดอกบัว จะนำผู้อ่านไปร่วมค้นหาคำตอบเหล่านี้ ผ่านบทสนทนาอันแหลมคมของสองสายธารความคิด ระหว่างคำสอนในพุทธศาสนาและผลการค้นพบของวิทยาศาสตร์ใหม่
.......................................................
คำนำโดย มาติเยอ ริการ์
 
ตลอดเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา มีการสนทนาระหว่างฝ่ายพุทธศาสนาและฝ่ายวิทยาศาสตร์ โดยสืบเนื่องมาจากความสนใจในวิทยาศาสตร์ของปราชญ์ชาวพุทธบางท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ทะไลลามะ ในปี 1987 อดัม เองเกิล (Adam Engle) ซึ่งเป็นนักธุรกิจ กับนักวิทยาศาสตร์ ฟรานซิสโก วาเลรา (Francisco Valera) ได้จัดให้มีการพบปะกันครั้งแรกระหว่างองค์ทะไลลามะกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย นักประสาทวิทยา นักชีววิทยา จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักปรัชญา ซึ่งการเสวนาวิสาสะในครั้งนั้นนำไปสู่การพบปะอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา บรรดาผู้เข้าร่วมการสนทนาบันทึกไว้ว่า
 
“การพบปะที่วิเศษยิ่งเหล่านั้นเป็นการแสดงทัศนะจากนักปฏิบัติชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์อย่างเปิดใจกว้าง แต่ก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ ทั้งสองฝ่ายต่างกระตือรือร้นที่จะขยายโลกทัศน์ของตนเอง จากการเรียนรู้กลวิธีในการตั้งคำถามและการเข้าถึงองค์ความรู้ของอีกฝ่ายหนึ่ง การตีพิมพ์บทสนทนาจากการพบปะภายใต้ชื่อ ‘จิตและชีวิต’ (Mind and Life) จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ที่สนใจบทสนทนาข้ามวัฒนธรรมและศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิต”
 
หนังสือในชุดประกอบด้วย Gentle Bridges (สะพานอันอ่อนโยน) Healing Emotions (อารมณ์เพื่อการบำบัด) Sleeping Dreaming and Dying (การนอนหลับ การฝันและความตาย) และ Science and Compassion 3 (วิทยาศาสตร์กับความกรุณา) นอกจากนี้ยังมีหนังสือเพื่อการศึกษาเชิงลึกซึ่งช่วยอธิบายเรื่องราวต่างๆ เพิ่มเติม ได้แก่ The Embodied Mind4 (จิตอันปรากฏรูป) โดย ฟรานซิสโก วาเลรา และคณะ Choosing Reality (การเลือกความจริง) และ The Taboo of Subjectivity (ข้อต้องห้ามของอัตวิสัย) โดย บี. อลัน วอลเลซ (B. Alan Wallace) การสนทนาที่บันทึกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีลักษณะและจุดมุ่งหมายในทำนองเดียวกันกับการบันทึกบทสนทนาต่างๆ ดังที่กล่าวมา .......................................................
 
 
 
http://www.suan-spirit.com/coming_book.asp?id=217
4573  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:23:39




วิปัสสนากับควอนตัม


วิปัสสนาเป็นวิธีมองโลกที่ช่วยให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสอนให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา เราสามารถปลี่ยนความคิดให้บริสุทธิ์ขึ้น นั่นคือทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นสจิตปริโยทปนะคือทำจิตของเราให้ผ่องใส เราจะทำจิตผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อผู้มองมีผลกระทบต่อกระแสจิตที่ถูกมอง


ฟิสิกส์ควอนตัมศึกษาความจริงที่คนทั่วไปยากที่จะเข้าใจเพราะโครงสร้างอะตอมนั้นเล็กมากขนาดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน คือ ศึกษาเรื่องจิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งยากที่จะเข้าใจถ้าไม่ฝึกปฏิบัติ


การค้นพบของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าไม่แน่นอนเช่นเดียวกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้แต่คนที่เราคบหามานานก็ต้องเปลี่ยนไปเพราะมีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้เขาเปลี่ยนไป เมื่อเราไม่สามารถที่จะรู้เหตุปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด เราก็ต้องทำใจยอมรับความไม่แน่นอน ตามหลักการแห่งความไม่แน่นอน นั่นคือตามหลักอนิจจัง คือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนา


เหตุนี้คำสอนของพระพุทธศาสนาในหลายเรื่องจึงมีลักษณะเป็นเงื่อนไข เราไม่อาจฟันธงลงไปว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เวลาที่เรามองเห็นสรรพสิ่งเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นในตัวของมันเองหรือเราคิดไปเอง บางทีสรรพสิ่งที่เราเห็นนั้น มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดหรือเราเข้าใจ มุมมองของเราต่างหากไปจัดให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้


ในฟิสิกส์ควอนตัม เมื่อมองในมุมหนึ่ง เราจะเห็นว่าส่วนประกอบของอะตอมเป็นอนุภาค(Particle) เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง เราจะเห็นเป็นคลื่น(wave) ของสิ่งเดียวกันจึงมีสองลักษณะตามมุมมองของเรา ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันอาจจะมีทั้งคุณและโทษก็ได้ นั่นขึ้นอยู่ที่ว่าเรามองสิ่งนั้นในมุมไหน


โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ความจริงจึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ มันไม่ได้จริงในตัวมันเอง มันสัมพันธ์กับมุมมองของผู้มอง ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ถือว่ากาลเวลาขึ้นอยู่กับจุดของผู้สังเกตการณ์ เหมือนกับที่เราพูดถึงองค์ประกอบของอะตอมว่าเป็นอนุภาคหรือคลื่นก็แล้วแต่มุมมองของเรา เพราะฉะนั้นโลกที่เรารับรู้จึงไม่ได้เป็น “ปรวิสัย”ทั้งหมด บางอย่างเป็น ”อัตวิสัย” คือเป็นโลกแห่งประสบการณ์ที่เราสร้างขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับโรหิตัสสะเทพบุตรว่า
“เราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับโลก ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครอง”

ในพุทธพจน์นี้ โลกก็คือโลกแห่งประสบการณ์ของแต่ละคน


ในปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เราเรียกโลกแห่งประสบการณ์ว่า “Lived World” คือโลกที่เราอยู่ หมายถึงโลกแห่งประสบการณ์ของเรา ไม่มีโลกแบบปรวิสัย มีแต่โลกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเราผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง เราให้ความหมายแก่โลกรอบตัวเราต่างกันไป ความหมายสำหรับโลกของเราย่อมต่างจากความหมายที่คนอื่นให้แก่โลกของเขา ดังเช่น ภูเขาสวยงามสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเรา แต่ภูเขาเดียวกันนั้นเป็นความท้าทายสำหรับนักปีนเขาหรือเป็นขุมทรัพย์สำหรับพวกต้องการระเบิดหินไปสร้างถนน


เพราะฉะนั้น หน้าที่ของจิตก็คือการให้ความหมายแก่โลก (Meaning-giving activity) และข้อสำคัญก็คือ เราจะให้ความหมายแก่โลกภายนอกตัวเราอย่างไร นั่นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง โลกภายนอกเป็นอย่างไรไม่สำคัญสำหรับเรา ที่สำคัญคือเราตีตราหรือกำหนดความหมายให้คุณค่าแก่มันอย่างไรต่างหาก ถ้าเราตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสตัณหา เราก็ตีค่าสถานการณ์ไปทางหนึ่ง แต่ถ้าเรามีธรรมประจำใจ เราก็ให้ความหมายแก่โลกไปอีกทางหนึ่ง


ธรรมะประจำใจช่วยสร้างกรอบในการมองโลกและให้ความหมายแก่โลกในทางสร้างสรรค์ ถ้าเรามองโลกด้วยเมตตา (ความรัก) และกรุณา (ความสงสาร) เราก็สามารถที่จะมองคนในแง่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ดังเช่นคนที่กำลังมีความรักย่อมมองโลกสดใสงดงาม แต่คนที่มองโลกด้วยความโลภ ความโกรธและความหลง โลกของเขาก็จะมีแต่ความเร่าร้อน


ดั้งนั้น “สุข” หรือ “ทุกข์” จึงชึ้นอยู่กับวิธีที่เรามองโลกหรือให้ความหมายแก่โลกแห่งประสบการณ์ของเรา ดังบทกลอนที่ว่า


สุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์นา


ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทของเราที่สอนเรื่องวิปัสสนา หรือเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่สอนสมาธิแบบเซนต่างก็บอกวิธีมองโลกแบบเดียวกัน คือมองโลกให้เห็นศูนยตาหรือความว่างในสรรพสิ่ง ศูนยตาในมหายานก็คืออนัตตาในเถรวาทนั่นเอง สรรพสิ่งเป็นอนัตตาคือไม่มีแก่นสารก็เพราะมันเป็นศูนยตาคือว่างจากแก่นแท้ถาวร เมื่อใดจิตใจของเราหยุดปรุงแต่ง เราก็จะเห็นความว่างในจักรวาล ปริศนาธรรมหรือโกอานของพระพุทธศาสนานิกายเซนสอนให้เรามองโลกแบบศูนยตาคือว่างจากการปรุงแต่งที่ใจเราสร้างขึ้น พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกการมองโลกแบบนี้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง

 
ปริศนาธรรมส่งท้าย

พระพุทธศาสนานิกายเซนตั้งปริศนาธรรมไว้ว่า เสียงปรบมือของมือสองข้างดังอย่างไรไม่ถาม แต่อยากทราบว่าเสียงของมือข้างเดียวดังอย่างไร ตอบว่า เสียงของมือข้างเดียวคือความเงียบที่เกิดจากการไม่ปรุงแต่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กันเหมือนกับเสียงปรบมือของมือสองข้าง ดังกรณีที่เราผู้มองโลกให้ความหมายแก่โลก หรือกรณีที่ปฏิสัมพันธ์ของอะตอมก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นในโลก เมื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจักรวาลนี้


ในเดือนกันยายน ๒๕๕๑ สถาบันฟิสิกส์ในเยอรมนีทดลองปล่อยให้โปรตอน 2 อนุภาควิ่งสวนกันด้วยความเร็วแสงในอุโมงค์ใต้ดินยาว 27 กิโลเมตร ถ้าโปรตอนชนกันก็จะเกิดพลังงานมหาศาล เรียกว่าเป็นการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ขนาดย่อม ซึ่งจะช่วยไขปริศนาที่ว่าจักรวาลนี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร


การทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ทำให้โปรตอน 2 อนุภาคชนกันอย่างนี้ช่วยให้เข้าใจเรื่องกำเนิดของจักรวาล ความเข้าใจเรื่องอะตอมในฟิสิกส์ควอนตัมนำไปสู่การไขปริศนาความลับของกำเนิดจักรวาล จากความรู้ในเรื่องจุลภาคนำไปสู่ความเข้าใจในระดับมหภาค ในทำนองเดียวกัน การรู้จักธรรมชาติของจิตใจของตนเองอย่างดีก็ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกวิทูคือรู้จักโลกทั้งโลก เหมือนกับการที่เรารู้จักใบไม้หนึ่งใบเป็นอย่างดีก็ทำให้เรารู้จักใบไม้ในป่าทั้งป่า


การศึกษาทำความเข้าใจฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาในมุมองใหม่ได้มากขึ้น แม้จะมีความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัมอยู่บ้าง ความแตกต่างนั้นมีแต่จะทำให้เราเกิดความสนใจว่าทำไมจึงต่างกัน ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่ว่า ผู้ที่เหมือนกันย่อมจะคบหากัน ผู้ที่แตกต่างกันย่อมจะสนใจกัน
 
 
 
 
ที่มา : สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
http://www.mcu.ac.th/site/
4574  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:23:04

 
ควอนตัมกับพุทธธรรม

ความก้าวหน้าของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้นอย่างไร ?
 
ประการแรก ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนา นั่นคือทั้งพระพุทธศาสนาและทฤษฎีควอนตัมต่างยืนยันว่าไม่มีอะตอมหรืออัตตาที่แบ่งแยกไม่ได้ อะตอมหรืออัตตาเป็นสิ่งที่แบ่งย่อยออกไปได้ ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารตั้งอยู่ได้ตามลำพังตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ประการต่อมา หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจคำสอนเรื่องอนิจจังคือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
อนิจจังหรือความไม่เที่ยงนี้มีเหตุ มีปัจจัย มีตัวแปรมากมายเกินกว่าที่จะมาคิดในเชิงนิยัตินิยมแบบนิวตัน ดังที่หลักกรรมในพระพุทธศาสนากำหนดว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม คนมักสงสัยว่าความเชื่อของชาวพุทธในเรื่องกฎแห่งกรรมจะขัดกับหลักการของฟิสิกส์ควอนตัมหรือไม่?

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกฎแห่งกรรมในมุมมองที่ว่า ใครก็ตามที่เชื่อว่าปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้เป็นผลมาจากกรรมในอดีต





ความเชื่อนี้ถูกต้อง

แต่ใครที่เชื่อว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้เราจะต้องได้รับผลในอนาคตอย่างแน่นอน


ความเชื่อนี้ผิดหลักพระพุทธศาสนา


เพราะอะไร? ก็เพราะถ้าคิดว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้ เราจะต้องได้รับผลหรือวิบากตามในอนาคตทั้งหมด คนที่ทำบาปกรรมมามากก็ไม่สามารถจะเป็นพระอริยะได้เพราะเขาต้องไปชดใช้กรรมไม่รู้จักจบสิ้น

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า เราสามารถทำกรรมดีในปัจจุบันเพื่อล้างบาปกรรมในอดีตได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนอดีตได้ ด้วยเหตุนี้ คนเคยทำบาปก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกรรมดีในปัจจุบัน

หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยทำให้เราสามารถสร้างอนาคตของเราได้ใหม่ ชีวิตของเราไม่ได้ถูกลิขิตตายตัวจากอดีต ชีวิตของเรามีความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้า ถ้าเราหมั่นทำดี เราก็จะเจริญก้าวหน้า

เป็นการยากที่จะพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าคนที่ทำดีอย่างนั้นๆจะได้ดีในอนาคตเมื่อไร เพราะมีตัวแปรมากมาย เนื่องจากคนเราทำกรรมทั้งดีและชั่วคละเคล้ากันไป จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าที่คนคนนี้ได้ดีครั้งนี้เพราะทำความดีนั้นไว้เมื่อวันนั้นวันนี้ในอดีต พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เส้นทางการให้ผลของกรรมเป็นอจินไตย คือเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิดปัจจัยตัวแปรมากจึงมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพงถูกลูกศิษย์ขอร้องให้ทำนายทายทักโชคชะตาอนาคตของเขา ท่านทนรบเร้าไม่ไหวจึงบอกให้เขาแบมือยื่นมาให้ท่านดูลายมือ หลวงพ่อชาเพ่งดูลายมือลูกศิษย์อยู่พักใหญ่แล้วพึมพำว่า “น่าสนใจ น่าสนใจ” ลูกศิษย์ถามว่า “อนาคตผมเป็นอย่างไรหรือครับ” หลวงพ่อชาตอบว่า “อนาคตของคุณน่าสนใจเพราะมันมีแต่ความไม่แน่นอน”

เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า “Uncertainty (ความไม่แน่นนอน)” ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัม ก็ตรงกับคำว่า “อนิจจตา (ความไม่เที่ยง)” ในพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเรื่องโครงสร้างของอะตอมกลับยิ่งมาส่งเสริมความเข้าใจในเรื่อง “ทุกขัง (เป็นทุกข์)”


คำว่าทุกข์มี 2 ความหมายที่สำคัญคือประการแรกทุกข์หมายถึง “ทุกขเวทนา” ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจซึ่งหมายของทุกข์ในอริยสัจ ทุกข์ในอีกความหมายหนึ่งคือ “ทุกขลักษณะ” ซึ่งเป็นทุกช์ในไตรลักษณ์ ทุกขลักษณะหมายความว่า สรรพสิ่งตกอยู่ภายใต้การบีบคั้นให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราโยนก้อนดินขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วมันก็ต้องตกลงมาแตกบนพื้นดิน การที่ก้อนดินตกลงมาแตกเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง แต่เหตุที่ก้อนดินตกลงมาจากท้องฟ้าก็เพราะถูกแรงดึงดูดของโลกบีบคั้นให้ต้องตกลงมา ก้อนดินไม่อาจจะอยู่บนฟ้าเพราะมีแรงที่ไปกด ไปบีบ ไปดึงก้อนดินให้ตกลงมานั่นแสดงว่าก้อนดินเป็น“ทุกขัง” คือทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก
ในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ถูกกระทำจากพลังอื่น อีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอนไม่ได้อยู่ตามลำพัง มันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก่อให้เกิดพลังบีบถูกคั้นให้ต้องเปลี่ยนแปลง มันจึงเป็นทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้


การที่อนุภาคพื้นฐานของอะตอมอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ก็หมายถึงว่ามันเป็น“อนัตตา”คือไม่มีแก่นสารของตัวเอง ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่ถาวรด้วยตัวของมันเอง สรรพสิ่งต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลัก “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งมาจากคำว่า “ปฏิจจะ” แปลว่า อาศัยกันและกัน “สมุปบาท” แปลว่า เกิดร่วมกัน

ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่ได้ด้วยตัวลำพังของมันเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็มี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ เรื่องนี้เรานำมาโยงกับเรื่องอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

มีทุกข์เพราะมีสมุทัยคือมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อดับเหตุได้ก็เกิดนิโรธคือความดับทุกข์ จะดับทุกข์ได้ก็ต้องมีมรรคคือวิธีการดับทุกข์ นี่คือประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริง
 
สติกับควอนตัม

ในการประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริงนั้น ตัวมรรคหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ “สติ” เรามักจะพูดว่า “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา” เวลาที่เรามีความทุกข์ในใจ เวลาเราเครียด เวลาเรากลุ้ม เวลาเราโกรธ เราจะดับทุกข์ได้อย่างไร

สติมี 2 อย่างคือ 1. ระลึกรู้ทันสิ่งที่เกิดกับเรา อย่างเช่น มองเห็นสิ่งต่างๆ ภายนอกในขณะปัจจุบันนี้ หรือเสียงที่เข้าหูเรา ปัจจุบันอยู่ตรงไหนรู้ทันหมด เหมือนเราขับรถก็เห็นไฟเขียวไฟแดง นี่คือมีสติกับสิ่งภายนอก 2. ระลึกรู้ทันความคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา เวลาเราเห็น เวลาเราฟังแล้วคิดอย่างไร เรารู้ทันความคิดที่มาเกิดขึ้นภายในจิตใจ เราก็เรียกความรู้ทันนี้ว่าสติ เช่น จิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ เซ็งก็รู้ว่าเซ็ง เครียดก็รู้ว่าเครียด

ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เข้าใจเรื่องสติได้อย่างไร ?

ทฤษฎีเรื่องความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจว่า เมื่อเราพยายามจะสังเกตความเร็วหรือธรรมชาติของอีเล็คตรอน เราก็จะต้องหยุดอีเล็คตรอนไม่ให้เคลื่อนที่ พออีเล็คตรอนหยุดมันก็จะเสียความเคลื่อนไหว ธรรมชาติของมันก็เปลี่ยนไป เราก็ศึกษาธรรมชาติของมันไม่ได้ นี่เรียกว่ามีผลกระทบจากผู้สังเกตต่อสิ่งที่ถูกสังเกต การสังเกตได้เข้าไปเปลี่ยนธรรมชาติของสิ่งที่ถูกสังเกต มันจึงมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เมื่อเราไปเข้าสังเกตหรือศึกษามันเมื่อใด มันก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อนั้น

เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็คือความไม่แน่นอน

แม้แต่ในทฤษฎีสัมพัทธ์ก็เหมือนกัน “กาละ” หรือ “เวลา” ขึ้นอยู่กับจุดที่เราสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว คนคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งตรงจุดนี้ เวลาขณะนั้นผ่านไปช้ามาก เช่น เวลาแห่งการรอคอยที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้า อีกคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งอยู่ที่อื่นเวลาก็ผ่านไปเร็วมาก ดังเช่น เมื่อเรามีความสุข เวลาผ่านไปอย่างกับมีปีกบิน เวลาจึงเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่อยู่ภายในตัวเราคือจิต มันเคลื่อนที่เร็วมาก มันเกิดดับเร็วมาก โกรธขึ้นมาปั๊บเราไม่ทันรู้ตัวเราเลย เมื่อเครียดขึ้นมา ความเครียดก็ท่วมทับจิตใจของเรา โดยที่เราไม่ได้สังเกตมันเลย และเราก็มักจะปล่อยให้ความทุกข์มันท่วมหัว เราเครียด เราทุกข์ โดยไม่เคยหันมาสังเกต สภาวะจิตของเราในขณะนั้นเลย

ถามว่าเราจะสามารถสังเกตสภาวะของจิตในขณะปัจจุบันได้หรือไม่ ?

คำตอบก็คือไม่ได้


สมมติว่าตอนนี้เรากำลังมีความสุขเหลือเกิน มีความสุขจากการทานอาหารที่อร่อย ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าอร่อย เราเอาจิตมองมาที่ความรู้สึกของเรา จิตเกิดต่อกันเป็นกระแสอย่างนี้ จิตปัจจุบันจะไม่สามารถรู้ตัวของมันเอง จิตที่มีความรู้สึกว่าอร่อย มันเป็นคนละดวงกับจิตที่สังเกตความรู้สึกอร่อย

จิตผู้สังเกตเป็นดวงปัจจุบัน ขณะที่จิตที่ถูกสังเกตเป็นดวงจิตอดีต จิตที่เป็นปัจจุบันจะมองหรือเพ่งตัวเองไม่ได้ เหมือนกับคมมีดที่ไม่อาจจะตัดตัวมันเองหรือเหมือนกับไฟฉายที่ส่องไปที่อื่น ไฟฉายส่องตัวเองไม่ได้ จิตในปัจจุบันจึงสังเกตรู้จิตที่เป็นอดีตเท่านั้น เมื่อหนึ่งนาทีที่ผ่านมาท่านรู้สึกอย่างไร ท่านกำหนดรู้ได้ อธิบายได้ เพราะเป็นการใช้จิตปัจจุบันมองจิตอดีต

ถามว่าเป็น ‘อดีต’ ที่แท้จริงหรือเปล่า ?

นี่ก็เหมือนกับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในทฤษฎีควอนตัม พอเราไปหยุดจิตเพื่อศึกษามัน มันก็ไม่เป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจิตได้สูญเสียความเป็นผู้รู้ (subject) และกลายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดรู้ (object) ยกตัวอย่างการที่เราผิดหวังเพราะไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ฟังข่าวครั้งแรกนี่ช็อคเลย ทำไมเจ้านายทำกับเราอย่างนี้ เราอุตส่าห์ขยันทำงาน บุญก็ทำมามาก เราช็อคจนทำอะไรไม่ถูกแล้วก็ไม่มีความสุข


พอผ่านไปอีก 5 วัน ความรู้สึกมันคลายลงไป หายช็อค หายทุกข์ หายเครียด แล้วเราก็มองย้อนกลับมาดูตอนที่เราได้ฟังข่าวครั้งแรกที่เราเครียด เราช็อค รู้สึกผิดหวัง เราย้อนมองความรู้สึกตอนนั้น ถ้าให้บรรยายราก็สามารถที่จะบอกได้ว่าช็อคอย่างนั้นเสียใจอย่างนี้

แต่สิ่งที่บอกเล่าวันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงเมื่อสามวันก่อน ยิ่งเวลาผ่านไปปีหนึ่ง เรายิ่งรู้สึกเฉยมากกับเหตุการณ์ครั้งนั้น แม้เราพยายามจะฟื้นความรู้สึกนั้นมันก็ไม่กลับมา มันเป็นความทรงจำที่ลางเลือน ไม่เข้มข้นเต็มที่เหมือนตอนที่เราได้ฟังข่าวร้ายครั้งแรก

เพราะอะไร


ก็เพราะสถานะของเราในปัจจุบันมันไปกระทบกับสิ่งที่ถูกมอง เราไม่ได้ไปเสวยอารมณ์ในอดีต เรามองอดีตเหมือนกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เหมือนกับไม่ใช่ตัวของเรา ผลก็คือผู้มองได้เปลี่ยนสถานะความเป็นจริง เปลี่ยนความเข้มข้นของสิ่งที่ถูกมองในกระแสจิตเดียวกัน


ทำไมต้องรอให้มันผ่านไปสามวัน เราค่อยมามองตัวเอง ทำไมจึงไม่มองตัวเองในวินาทีแรก?
ในขณะที่เรากำลังโกรธ ถ้าเราลองเอาจิตของเรามองความโกรธของเราเองทันที การมองจะเปลี่ยนสถานะของสิ่งที่ถูกมอง นั่นคือ ความโกรธจะลดลงทันที

นี่คือหลักในการปฏิบัติธรรม


ถ้าอธิบายด้วยหลักของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือว่าผู้สังเกตได้ไปจับสิ่งที่สังเกตให้หยุดนิ่งจนมันเปลี่ยนสถานะ ตัวอย่างเช่น เรากำลังร้องเพลงคาราโอเกะอย่างสนุกสนานกับเพื่อนๆ ทันทีนั้นเรานึกถึงตัวเองว่าเรามาทำบ้าอะไรอยู่ที่นี่ ลูกกำลังอดข้าวอยู่ที่บ้านยังจะมาร้องเพลงอยู่อีกหรือ


เห็นอะไรไหม?
จิตเปลี่ยนไปเลยใช่หรือไม่?


เพราะผู้สังเกตได้เปลี่ยนสิ่งที่ถูกสังเกตนั่นก็คือเปลี่ยนตัวเอง เหมือนกับการปฏิบัติกรรมฐาน หลายคนพอนั่งกรรมฐานทีไรฟุ้งซ่านทุกที ลืมกำหนดหายใจเข้า หายใจออก คิดเตลิดไปไหนก็ไม่รู้ เห็นภาพอะไรเต็มไปหมด อาจารย์สอนว่า เวลาจิตคิดฟุ้งซ่านให้กำหนดรู้ว่าฟุ้งหนอ ฟุ้งหนอ เรากำลังฟุ้งคิดอะไรให้รู้ทันว่ากำลังคิด


พอเราเอาจิตไปมองจิตที่กำลังฟุ้ง มันจะหยุดกระแสของความฟุ้งซ่านทันที เพราะผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต ถ้าเวลาที่เราโกรธ เรามีสติกำหนดรู้ว่าเรากำลังโกรธ ความโกรธจะลดลงทันที ตรงกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่ผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต เราเอาใจมองใจ ใจที่มองจะมีผลกระทบต่อใจที่ถูกมอง


แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีสติทันที เช่นพอโดนด่าว่าแล้วเกิดความโกรธ เราย้อน มองตัวเองทันทีว่าทำไมต้องโกรธ พอเรามองดูความโกรธเท่านั้น ความโกรธก็จะเจือจางลงทันที
ปัญหาก็คือ เราไม่ได้ฝึกสติ สติจึงมาไม่ทัน เราก็เลยสติแตกเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสติมาปัญญาก็เกิด คือเห็นตัวเองตามความเป็นจริง แต่ถ้าสติเตลิด มักเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมเราต้องฝึกมองด้านในคือมองตน ดังคำกลอนที่ว่า


โลกภายนอกกว้างไกลใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน


โลกภายนอกในระดับมหภาคขึ้นอยู่กับกฎแห่งเหตุผลในฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่โลกภายในอะตอมระดับจุลภาคขึ้นอยู่กับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในฟิสิกส์ควอนตัม การที่พระพุทธศาสนาสอนให้มองด้านใน เราก็มองให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาภายในจิตใจ
4575  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:22:31



ฟิสิกส์ควอนตัม


อย่างไรก็ตาม ฟิสิกส์ควอนตัมได้เข้ามาทำให้ความเชื่อเรื่องความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยแบบนี้หมดไป เปรียบเหมือนกับการที่เรากำลังยืนอยู่บนพรมแห่งความมั่นคงปลอดภัยของฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันแล้วอยู่ๆ ก็มีคนมากระตุกพรมออกจากใต้เท้าของเราจนเราล้มทั้งยืน ฟิสิกส์ควอนตัมทำลายความมั่นใจของฟิสิกส์ดั้งเดิมให้หมดไป


คำว่า “ควอนตัม (Quantum)” เป็นภาษาลาตินแปลว่า “ขนาดไหน” หรือ “จำนวนเท่าไร” เป็นคำที่ใช้พูดถึงจำนวนหรือขนาดพลังงานของอะตอม
คล้ายกับคำว่า “นาโน (Nano)” ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า “คนแคระ” เป็นคำที่ใช้วัดขนาดของสิ่งที่เล็กมากๆ เช่น อะตอม ดีเอ็นเอ ในนาโนเทคโนโลยี


 

 
 
ฟิสิกส์ควอนตัมเสนอภาพใหม่ของจักรวาลที่มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความคิดที่ว่าจักรวาลมีความเป็นเหตุเป็นผลที่เราพยากรณ์ล่วงหน้าได้กลายเป็นความไม่แน่นอน จนกระทั่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธ์ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีควอนตัมขึ้นมาก็ได้พยายามปฏิเสธทฤษฎีควอนตัมในบั้นปลายชีวิต โดยที่ไอน์สไตน์กล่าวว่าถ้าทฤษฎีควอนตัมเป็นจริง โลกใบนี้ก็จะไม่มีกฎระเบียบอะไรเลย ซึ่งเขาใช้คำว่าเพี้ยน (Crazy) ดูเหมือนว่าตอนนี้โลกเพี้ยนจริงๆ คือบางครั้งดูจะไร้กฎ ไร้ระเบียบ ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย ดังที่เรามักจะพูดว่าไม่มีอะไรแน่นอนนอกจากความไม่แน่นอน
ทฤษฎีควอนตันจึงโยงไปถึงคำสอนเรื่อง ‘อนิจจัง ความไม่ที่ยง’ ในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะว่าทฤษฎี ควอนตันได้เปิดเผยสภาวะที่เรียกว่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) เนื่องจากว่า แนวคิดสำคัญประการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle)


ในฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน จักรวาลมีกฎระเบียบแน่นอนจนเราพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โลกนี้มีกฎธรรมชาติที่แน่นอน แต่ฟิสิกส์ควอนตันกลับเสนอว่าโลกนี้มีความไม่แน่นอน ดังนั้นไอน์สไตน์จึงกล่าวว่า ถ้าทฤษฏีของฟิสิกส์ควอนตัมเป็นจริง มันจะไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีความเป็นกฎที่แน่นอน แสดงว่าเราจะไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะมันเป็นไปตามหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมเสียแล้ว


ควรทราบว่า การที่ทฤษฏีควอนตัมทำให้ภาพของจักรวาลเปลี่ยนไป เพราะฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้ไปสนใจเรื่องกฎของจักรวาลแบบมหภาค ฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้สนใจเรื่องการโคจรดวงดาว เรื่องดวงจันทร์ หรือเรื่องน้ำขึ้นน้ำลงอะไรต่างๆ เหล่านี้ แต่ฟิสิกส์ควอนตัมกลับสนใจศึกษาโครงสร้างของอะตอมที่เป็นอนุภาคพื้นฐานสำหรับสร้างจักรวาล ซึ่งถ้าเราเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานตรงนี้ เราจะเข้าใจภาพรวมของจักรวาลทั้งหมด ดังนั้น ฟิสิกส์ควอนตัมจึงเป็นการกลับไปหาจุดเริ่มต้นดั้งเดิมของจักรวาล
 


ภาพรวมของจักรวาลอย่างที่เราศึกษากันอยู่ในทุกวันนี้นั้นส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องใหญ่แบบมหภาค แต่ฟิสิกส์ควอนตัมหันมาศึกษาเรื่องที่เล็กมาก แบบจุลภาค (Micro) นั่นคือโครงสร้างของอะตอมหรือปรมาณู จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ควอนตัมสนใจส่วนที่เล็กที่สุดของจักรวาล


นักวิทยาศาสตร์ในอดีตเชื่อว่า อะตอมไม่มีโครงสร้างอะไรเพราะมันเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดในจักรวาล คนสมัยก่อนเชื่อว่าอะตอมแบ่งแยกไม่ได้ตามที่นักปรัชญากรีกเชื่อกันมาเป็นพันๆ ปี แม้แต่ในอินเดีย ปรัชญาฮินดูสำนักไวเศษิกะก็สอนว่ามีอะตอมหรือปรมาณู ตรงกับที่เรียกว่า “อัตตา” หรือ “อาตมัน” นั่นคือ มีสิ่งที่แบ่งแยกย่อยต่อไปไม่ได้ เรียกว่า ปรมาณู อะตอม อัตตาหรืออาตมัน
 
ในบรรดาศาสนาสำคัญของโลกมีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ปฏิเสธอะตอม ปฏิเสธอัตตาหรืออาตมัน นั่นก็คือพระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่ยืนยันว่าไม่มีแก่นสารทั้งในฝ่ายจิตและฝ่ายสสาร แก่นสารในฝ่ายจิตเรียกว่าอาตมันหรือวิญญาณอมตะ (Immortal soul) ส่วนแก่นสารในฝ่ายสสารเรียกว่าอะตอมหรือปรมาณู ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดูต่างสอนว่ามีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์และมีอะตอมหรือปรมาณูในสสาร

 
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” แปลว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา” หมายความว่า สรรพสิ่งทั้งที่เป็นจิตและสสารล้วนไม่มีแก่นแท้ถาวร คือเป็นอนัตตา

 
เมื่อแปลคำว่าอนัตตาเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องใช้คำ 2 คำ นั่นคือ ถ้าใช้คำว่าอนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์ เราต้องแปลว่า Not-self หรือ Non-ego แต่ถ้าใช้อนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอะตอมหรือแก่นสารที่เที่ยงแท้ในสสาร เราต้องแปลว่า Non-substantiality (ไม่มีแก่นแท้ถาวร)


พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอนัตตาในจิตและสสารมากว่าสองพันปี พระพุทธศาสนาถือว่าไม่มีอัตตาหรืออะตอมสสาร ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีแก่นแท้ถาวรที่ตั้งอยู่ได้ในตัวของมันเอง สรรพสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตลอดเวลาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ดังที่ควอนตัมฟิสิกส์ระบุว่าไม่มีอะตอมที่อยู่ได้ตามลำพังตัวเอง โครงสร้างอะตอมประกอบด้วยอีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อนุภาคของอะตอมที่เป็นประจุไฟฟ้าบวก(โปรตอน)และประจุไฟฟ้าลบ(อีเล็คตรอน)ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อีเล็คตรอนวิ่งโคจรรอบนิวเคลียสด้วยความเร็วที่สูงมาก การเกาะกลุ่มของประจุไฟฟ้าเหล่านั้นกลายเป็นอะตอม และประจุไฟฟ้าเหล่านั้นก็ไม่อาจอยู่ได้ตามลำพัง ทั้งหมดต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนา


โดยสรุปแล้วภาพของจักรวาลในทฤษฎีควอนตัมต่างจากฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันก็คือ อะตอมถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นองค์ประกอบที่เล็กกว่าซึ่งเป็นประจุไฟฟ้าที่วิ่งวนกันเองคืออีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อะตอมจึงเป็นสนามพลังงานขนาดจิ๋ว องค์ประกอบย่อยของอะตอมนั้นบางครั้งก็เป็นอนุภาค(Particle) บางครั้งก็เป็นคลื่น (Wave)


อีเล็คตรอนของอะตอมเคลื่อนที่รอบแกนกลางคือนิวเคลียสตลอดเวลา ขณะที่อีเล็คตรอนกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง อีเล็คตรอนปรากฎเป็นคลื่น ด้วยความเร็วระดับนั้น เราจึงไม่อาจกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของอีเล็คตรอนนั้นในขณะใดขณะหนึ่งได้ ถ้าเราจะพยายามหาตำแหน่งที่ตั้งของมันก็ต้องจับให้อีเล็คตรอนหยุดนิ่งอยู่กับที่ซึ่งจะทำให้มันสูญเสียคุณสมบัติแห่งความเป็นคลื่น อีเล็คตรอนที่หยุดนิ่งจะกลายเป็นอนุภาคทันที ดังนั้น องค์ประกอบย่อยของอะตอมบางครั้งจึงเป็นอนุภาคบางครั้งก็เป็นคลื่น

 

ความเป็นทั้งอนุภาคและทั้งคลื่นนี้แหละที่ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ (Unpredictable) ตราบใดที่อนุภาคของอะตอมยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มันก็ปรากฎเป็นคลื่น เราไม่มีทางที่จะกำหนดคุณสมบัติที่แน่นอนของคลื่นนี้ได้ เมื่อเราพยายามหยุดมันไว้กับที่ มันก็สูญเสียคุณสมบัติของตัวมันเอง นอกจากนี้ วงโคจรของอนุภาครอบนิวเคลียสก็เปลี่ยนแปลงไปตามแรงที่กระทำต่อนิวเคลียส ดังนั้น พฤติกรรมขององค์ประกอบย่อยภายในโครงสร้างของอะตอมจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะมันมีคุณสมบัติที่เรากำหนดไม่ได้และมีวงโคจรที่ไม่แน่นอน นี่คือหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle)

 
หลักการแห่งความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมได้เปลี่ยนแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิม ที่ชูธงเรื่องความแน่นอนที่เราสามารถจะพยากรณ์อะไรก็ได้ ความเชื่อเรื่องความแน่นอนเหล่านี้เป็นไปไม่ได้อีกแล้วสำหรับฟิสิกส์ควอนตัม
4576  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:22:03



ฟิสิกส์ดั้งเดิม


ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีฟิสิกส์ไว้ 2 สำนักใหญ่คือ ฟิสิกส์ดั้งเดิม (Classical physics) กับฟิสิกส์ควอนตัม (Quantum physics)
 
ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างฟิสิกส์ดั้งเดิมกับฟิสิกส์ควอนตัม ฟิสิกส์ทั้ง 2 สำนักมีแนวความคิดบางอย่างที่ขัดแย้งกัน แต่กลายเป็นว่าฟิสิกส์ควอนตัมกลับช่วยอธิบายหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตัน (Newton physics) ในเรื่องที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา 2 เรื่องคือ ปฏิจสมุทปบาทและไตรลักษณ์

ปฏิจสมุทปบาทหรืออิทัปปัจจยตาเป็นคำสอนที่ว่าด้วยการที่สิ่งต่างๆอาศัยกันและกันเกิดขึ้นที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้ ส่วนเรื่องไตรลักษณ์ ซึ่งก็คือคำสอนว่าด้วยลักษณะ 3 ประการของสิ่งทั้งหลาย ได้แก่ “อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่มีแก่นสาร)” อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

เราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ทุกวันนี้เราเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ได้ยากขึ้นเพราะมีแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมมาขวางกั้นเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงธรรม เพราะฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตันมีแนวคิดหลักอยู่ที่ 4 หัวข้อคือ 1.อะตอม 2.กาละ 3.เทศะ และ 4.แรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลก

เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถือว่าสรรพสิ่งมีมวลสารที่แบ่งแยกไม่ได้และตั้งอยู่ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งเรียกว่าอะตอม(Atom) จริงๆ แล้วความคิดเรื่องอะตอมเป็นแนวคิดหลักของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่ถือว่าหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร(Matter)ในโลกที่ถูกแบ่งย่อยให้เล็กลงๆ ในที่สุดจะถึงจุดที่เล็กที่สุดซึ่งแบ่งย่อยต่อไปไม่ได้อีก ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบเล็กที่สุดสำหรับสร้างจักรวาล เราเรียกว่า “Building blocks” ก็เหมือนกับก้อนอิฐแต่ละก้อนสำหรับสร้างบ้านนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากเราแบ่งอะไรต่อมิอะไรจนไปถึงหน่วยที่เล็กที่สุดแล้วมันจะถึงจุดที่แบ่งแยกไม่ได้ ในเชิงสสารจุดที่แบ่งแยกไม่ได้นี้เรียกว่า “อะตอม”
 

 
อะตอม(Atom) เป็นภาษากรีก แปลว่า “ตัดแบ่งไม่ได้ (Uncuttable)” อะตอมคือสิ่งที่เราไม่สามารถจะแบ่งย่อยต่อไปได้อีก หลักของเรื่องนี้ก็คือไม่ว่าเราแบ่งอะไรก็ตาม ในที่สุดมันต้องไปถึงจุดสุดท้าย จุดสุดท้ายที่แบ่งต่อไปไม่ได้นั่นแหละคือ “อะตอม” ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร ความคิดอย่างนี้เราเรียกว่าเป็น “paradigm” หรือความเชื่อพื้นฐานของวิทยาศาสตร์โลกตะวันตกมากว่า 2,000 ปี จนมาถึงสมัยนิวตันก็ยังเชื่อว่ามีอะตอม

นิวตันเชื่อว่าสสารซึ่งมีองค์ประกอบที่เล็กที่สุดคืออะตอมได้สร้างจักรวาล สร้างดวงดาว สร้างอะไรต่างๆ ที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อกันในกล่องใบใหญ่ซึ่งเป็นที่ว่างคือเทศะในจักรวาลอันว่างเปล่าใหญ่โตและขึ้นอยู่กับกาลเวลา

อีกประเด็นหนึ่งที่ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันเห็นขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องกาลเวลา
นิวตันเชื่อว่ากาลเวลาเป็นเรื่องที่มีอยู่ในตัวของมันเอง แต่พระพุทธศาสนาถือว่ากาละหรือเวลา เป็นสิ่งที่เราคิดขึ้น ในพระอภิธรรมเราเรียกว่าบัญญัติ คือคนเราคิดขึ้นมาโดยที่กาลเวลาไม่ได้มีอยู่ในตัวมันเอง แต่นิวตันถือว่ากาละหรือเวลาเป็นความจริงอีกมิติหนึ่งมีอยู่จริง

มวลสารของจักรวาลที่เรียกว่าอะตอมหรืออนุภาคที่เล็กที่สุดมารวมตัวกันเป็นสิ่งต่างๆ เช่นดวงดาวแล้วเคลื่อนไหวในเทศะหรือที่ว่างในอวกาศ ที่ว่างหรือเทศะนี้ก็เป็นความจริงอีกมิติหนึ่งเช่นเดียวกับกาละ สิ่งต่างๆในจักรวาลที่เคลื่อนไหวนั้นได้สร้างแรงที่กระทำต่อกันเรียกว่าแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วง สิ่งทั้งหลายเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎที่ชัดเจนแน่นอน เหมือนกับเครื่องจักรกลของนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงจนเราคาดเวลาล่วงหน้าได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเรารู้ความสัมพันธ์ที่เป็นแบบแผนของสิ่งต่างๆว่าอะไรกระทำต่ออะไร ณ จุดไหนในจักรวาล เราก็สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่ไหนเมื่อไร
 

 
 
เพราะฉะนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันจึงถือว่า ถ้าเรารู้เทศะคือจุดที่สสารตั้งอยู่ และรู้แรงทั้งหมดที่มากระทำต่อสสารนั้นๆในเวลานั้น เราก็จะสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ดังที่นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศสชื่อปิแอร์ ซีโมน ลาปลาซ (Pierre Simon Laplace) กล่าวอย่างมั่นใจว่า
 
“ในขณะใดขณะหนึ่งที่กำหนดให้ปัญญาซึ่งรู้แรงทุกแรงที่กระทำอยู่ในธรรมชาติ และรู้ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นโลก สมมติว่าปัญญาดังกล่าวนั้นกว้างขวางพอที่จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ มันย่อมจะรวมสูตรการเคลื่อนที่ของก้อนวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลและของอะตอมที่เล็กที่สุดเอาไว้ด้วย ไม่มีสิ่งที่ไม่แน่นอนสำหรับมัน และเช่นเดียวกับอดีต อนาคตจะปรากฏแก่สายตาของมัน”

คนเราทุกวันนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลความคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบนี้ เพราะเราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถบอกอดีต ทำนายอนาคต ทำให้เกิดการป้องกันต่างๆ เพราะเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของกฎจักรวาล เมื่อเรารู้กฎวิทยาศาสตร์แล้วเราก็สามารถที่จะควบคุมตัวแปรต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ได้ และสามารถที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับอนาคตที่จะตามมาได้
ดังนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมได้สร้างภาพของจักรวาลให้เป็นเหมือนเครื่องจักรกลมโหฬารที่ค่อนข้างจะมีความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยจนมนุษย์สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุนี้ฟิสิกส์ดั้งเดิมจึงส่งเสริมความเชื่อแบบนิยัตินิยม (Determinism) คือแนวคิดที่ว่าทุกเหตุการณ์ในโลกนี้ถูกกำหนดล่วงหน้าไว้แล้วว่าต้องเกิดขึ้นเมื่อนั้นเมื่อนี้
4577  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:21:31

 
 
พระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์
 
พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
 
 
 
การค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมามีส่วนช่วยให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะว่าหลักของพระพุทธศาสนานั้นถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมซึ่งมีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเพียงนำสัจธรรมนั้นมาประกาศแก่ชาวโลก ดังพุทธพจน์ที่ว่า
 
“อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นคือ ธรรมฐิติ (ความดำรงอยู่ตามธรรมชาติ) ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติ) อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่สรรพสิ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย) ก็ยังมีอยู่ พระตถาคตเจ้าย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้นแล้วบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย”
 
พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและประกาศเปิดเผยกฎธรรมชาติไว้เมื่อสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ต่อมาวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้ค้นพบกฎธรรมชาติเดียวกันนั้นหรือเพิ่มเติมอื่นใด สิ่งที่ศาสตร์ทั้งหลายค้นพบย่อมจะนำไปสู่ความจริงเดียวกัน นั่นคือสัจธรรม
 
พระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้ผูกขาดความจริง เรื่องสัจธรรม ดังนั้นสัจธรรมที่ศาสตร์ต่างๆ ค้นพบจะคลี่คลายขยายตัวมาส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ พระพุทธศาสนาดียิ่งขึ้น
มีข้อความตอนหนึ่งในพระไตรปิฎกที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมวาทีคือผู้กล่าวสัจธรรม ผู้ที่เป็นธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับพวกธรรมวาทีด้วยกันเพราะต่างฝ่ายต่างพูดถึงสัจธรรมหรือความจริง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“นาหํ ภิกฺขเว โลเกน วิวทามิ” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลก แต่ชาวโลกย่อมขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆในโลก” เมื่อพระพุทธเศาสนาและวิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นธรรมวาที ที่กล่าวถึงสัจธรรมความจริงด้วยกัน จึงไม่มีอะไรที่จะต้องขัดแย้งกัน มีแต่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจกันดียิ่งขึ้น หากจะมีความแตกต่างอยู่บ้างก็เพราะมีเป้าหมายที่ต่างกันในการแสวงหาความจริง วิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงเพื่อเป็นนายเหนือโลกที่ควบคุมสภาวการณ์ต่างๆไว้ได้ ขณะที่พระพุทธศาสนาแสวงหาความจริง เพื่อความเป็นผู้พ้นโลกคือดับทุกข์
 
เมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอย่างนี้แล้ว เราจะมาลองเปรียบเทียบสัจธรรม ในพระพุทธศาสนา กับความจริงที่วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง คือฟิสิกส์ควอนตัมได้นำเสนอว่า มีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไร
4578  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:19:40
2.9 ญาณทัศนะ


โดยทั่ว ๆ ไป แม้ว่าประสบการณ์อันลึกซึ้งในทางศาสนาจะไม่ปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มิได้ฝึกฝนมาอย่างเพียงพอก็ตาม ญาณทัศนะซึ่งเจาะตรงสู่ธรรมชาติของสรรพสิ่งก็เป็นที่ประจักษ์แก่ในเราได้ในชีวิตประจำวัน เราทุกคนคุ้นเคยกับสภาวะที่เราได้ลืมชื่อของบุคคล หรือสถานที่หรือคำพูดบางคำ และไม่อาจนึกถึงมันได้แม้จะใช้สมาธิมากที่สุดก็ตาม มัน “ติดอยู่แค่ริมฝีปากของเรา” แต่ก็นึกไม่ออก จนเราเลิกใส่ใจกับมันและหันไปสนใจสิ่งอื่น และทันทีทันใดนั้นในชั่วพริบตา เราก็จำชื่อซึ่งหลงลืมไปนั้นได้ ไม่มีความคิดร่วมอยู่ด้วยในกระบวนการนี้ หากเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด ฉับพลัน ตัวอย่างของการระลึกได้อย่างฉับพลันเช่นนี้เป็นที่ประจักษ์ชัด โดยเฉพาะแก่พุทธศาสนา ซึ่งมีคำสอนว่าธรรมชาติเดิมของเราเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ และเราได้หลงลืมมันไป นักศึกษาเซนจะได้รับ โกอัน (Koan) ว่า “หน้าตาดั้งเดิมของเธอเป็นอย่างไร” และการ “ระลึกได้” อย่างฉับพลันถึงหน้าตาดั้งเดิมนี้ ถือเป็นการรู้แจ้งของผู้นั้น อีกตัวอย่างหนึ่งของญาณทัศนะอันเกิดขึ้นและเป็นไปเอง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีก็คือเรื่องขำขัน ในวินาทีที่คุณเข้าใจเรื่องขำขันนั้น ๆ คุณได้ประสบกับขณะแห่งการรู้แจ้งเป็นที่ทราบกันดีว่าขณะแห่งเหตุการณ์เช่นนี้ต้องเกิดขึ้นเอง มิได้เกิดจากการ “อธิบาย” เรื่องขำขันเรื่องนั้น นั่นคือ มิได้เกิดจากการวิเคราะห์ด้วยคิด ด้วยความรู้ที่ผุดขึ้นในใจอย่างฉับพลันถึงแก่นของเรื่องขำขันเท่านั้น เราจึงจะหัวเราะได้อย่างเต็มที่ตามที่ความมุ่งหมายของเรื่องนั้นประสงค์ ความคล้ายคลึงระหว่างญาณทัศนะในทางจิตวิญญาณและความเข้าใจในเรื่องขำขัน ต้องเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้บรรลุธรรม เนื่องจากท่านเหล่านั้นส่วนมากแสดงอารมณ์ขันออกมาในลักษณะต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซนซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องตลกและเกร็ดขำขันต่าง ๆ และในคัมภีร์เต๋าเตอจิงกล่าวไว้ว่า “หากไม่ถูกหัวเราะเยาะนั้นก็มิใช่เต๋า” (13) ในชีวิตประจำวันของเรา ญาณทัศนะซึ่งเจาะตรงสู่ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ นั้น โดยปกติจะเกิดขึ้นจำกัดอยู่ในระยะเวลาที่สั้นยาวนาน และในขั้นสัมบูรณ์จะกลายเป็นความหยั่งรู้อย่างต่อเนื่อง การตระเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับการหยั่งรู้นี้ –การหยั่งรู้ในสัจจะโดยฉับพลัน ปราศจากความคิดปรุงแต่ง –เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของทุกศาสนาและของแนวคำสอนอื่น ๆ ในตะวันออก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของอินเดีย จีน และญี่ปุ่น ได้มีการพัฒนาเทคนิค พิธีกรรม และศิลปะในแบบต่าง ๆ เพื่อนำให้บุคคลบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเรียกรวมว่า การภาวนา ในความหมายที่กว้างที่สุดได้ จุดมุ่งหมายขั้นพื้นฐานของเทคนิคเหล่านี้ คือการทำให้ใจที่เต็มไปด้วยความนึกคิดเงียบสงบลง เปลี่ยนความตระหนักรู้จากฐานของเหตุผลมาเป็นฐานของญาณทัศน์ ในการทำใจให้สงบนั้น วิธีภาวนาหลาย ๆ แบบได้แนะนำให้จดจ่อความสนใจอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว เช่น ลมหายใจ เสียงสวดมนต์ หรือนิมิตของมณฑล (ในพวกธิเบต) ในการภาวนาแบบอื่น ๆ แนะให้ใส่ใจในการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปเองโดยไม่ถูกความคิดรบกวน นี่คือ วิธี โยคะ ของฮินดู และไท้จิฉวน (T’ai Chi Ch’uan) ของเต๋า การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะเช่นนี้นำไปสู่ความรู้สึกสงบและสติเช่นเดียวกับวิธีการภาวนาแบบแรกความรู้สึกเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ในการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น การเล่นสกี เป็นต้น

2.10 ผู้แสวงหาเต๋าจะลดลง


ศิลปะของตะวันออกก็เช่นกัน เป็นศิลปะของการภาวนา ซึ่งมิใช่สื่อของการแสดงความคิดของศิลปินเท่านั้น แต่ยังมีความหมายมากกว่า คือเป็นวิถีทางแห่งการเข้าใจตนเองโดยผ่านการพัฒนาของญาณทัศนะ ดนตรีอินเดียไม่ได้เรียนกันด้วยการอ่านโน้ตคนตรีแต่โดยการฟังครูผู้สอนเล่นดนตรีซึ่งจะพัฒนาความรู้สึกในดนตรี เช่นเดียวกับไท้จีซึ่งไม่ได้สอนด้วยคำพูดแต่โดยการให้ฝึกร่วมกับครูซ้ำแล้วซ้ำอีกพิธีชงชาของญี่ปุ่นกอปรด้วยการเคลื่อนไหวที่แช่มช้าและเป็นพิธีกรรมมาก การเขียนตัวอักษรจีนต้องใช้มือที่เคลื่อนไหวอย่างไม่มีสิ่งยับยั้งและเป็นไปเอง ในตะวันออกความชำนิชำนาญเหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สำหรับคนส่วนมากโดยเฉพาะนักคิด ปัญญาชน ความรู้สึกตัวเช่นนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ซึ่งไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย นักวิทยาศาสตร์คุ้นเคยกับความรู้แจ้งโดยตรงในภายในจากงานวิจัยของเขา เพราะว่าการค้นพบใหม่ ๆ ทุกอันเริ่มจากความรู้ที่แวบขึ้นมาในทันทีทันใด โดยปราศจากการคิดนึกมาก่อน ทว่าปรากฏการณ์เหล่านี้สั้นมาก และเกิดขึ้นเมื่อจิตใจเต็มไปด้วยข้อมูลและความคิด ตรงกันข้ามในการภาวนา จิตใจถูกทำให้ว่างจากความคิดทั้งมวล พร้อมสำหรับการรับรู้อันแจ่มชัดอย่างต่อเนื่องยาวนาน ข้อแตกต่างระหว่างการคิดค้นวิจัย และการภาวนาอาจเปรียบเทียบจากคำของเหลาจื้อว่า ผู้แสวงหาการเรียนรู้จะเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน ผู้แสวงหา เต๋า จะลดลงทุกวัน (14)

2.11 วิถีแห่งนักรบ


เมื่อความคิดนึกเงียบสงบลง ความรับรู้ก็ชัดเจนขึ้น การรับรู้สภาพแวดล้อมก็ตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องกรองของความคิดนึก ในคำของจางจื้อ “จิตที่สงบนิ่งของผู้รู้ คือกระจกเงาสะท้อนภาพของสวรรค์และโลก –กระจกสะท้อนสรรพสิ่ง” (15) การหยั่งรู้ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติรอบข้างเป็นลักษณะสำคัญของการภาวนาขั้นนี้ เป็นภาวะการรับรู้ที่การแบ่งแยกในรูปแบบต่าง ๆ ยุติลง และรับรู้ความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง ในการภาวนาขั้นลึก จิตตื่นตัวอย่างเต็มที่ นอกจากความรู้เข้าใจในสัจจะ ซึ่งมิใช่ความรับรู้ทางประสาทสัมผัสแล้ว จิตก็ยังรับรู้เสียง ภาพ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยปราศจากการวิเคราะห์วิจารณ์ ความตั้งใจตื่นตัวของจิตไม่สูญเสียไปภาวะความตระหนักรู้เช่นนั้นเป็นเช่นเดียวกับภาวะจิตใจของนักรบ ที่มุ่งจู่โจมศัตรูด้วยความตื่นตัวเต็มที่โดยไม่ให้ทุกสิ่งรอบข้างมาหันเหความสนใจไปได้ อาจารย์เซน ยาสึตานิ โรชิ (Yasutani Roshi) ใช้ภาพพจน์อันนี้ในการอธิบายชิกัน ทะซะ (Shikan-taza) การฝึกภาวนาแบบเซนว่า ชิกัน ทะซะเป็นสภาวะของสติขั้นสูง ในภาวะนั้นปราศจากความเครียดหรือเร่งรีบและไม่เกียจคร้าน เป็นจิตใจของผู้เผชิญหน้ากับความตาย ให้ลองนึกว่าเรากำลังอยู่ในการต่อสู้ระหว่างซามูไรสองคน ขณะที่ท่านเผชิญหน้ากับศัตรู ท่านต้องมีจิตใจจดจ่อมั่นคงและพร้อมอยู่ตลอดเวลา หากท่านผ่อนความระมัดระวังลงแม้เพียงแวบเดียว ท่านก็อาจจะถูกฟันทันที ฝูงชนได้มามุงดูการต่อสู้ ในเมื่อท่านมิได้ตาบอด ท่านก็เห็นพวกเขาจากทางตาของท่าน ในเมื่อท่านหูไม่หนวก ท่านย่อมได้ยินเสียงของพวกเขา แต่ไม่มีแม้ขณะเดียวที่จิตใจของท่านถูกจับอยู่ด้วยสิ่งเหล่านี้ (16) เพราะความคล้ายคลึงของภาวะในการภาวนากับกรอบของจิตใจของเหล่านักรบ ภาพพจน์ของนักรบจึงมีบทบาทสำคัญในชีวิตทางจิตวิญญาณและทางวัฒนธรรมของตะวันออก คัมภีร์ภควัทคีตา ของอินเดียซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสงคราม ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในวัฒนธรรมและประเพณีของจีนและญี่ปุ่น อิทธิพลอันมากมายของเซนต่อวิถีชีวิตของซามูไรก่อให้เกิด บึชิโด “วิถีแห่งนักรบ” ศิลปะแห่งการใช้ดาบ ซึ่งญาณทัศนะของนักดาบได้บรรลุสมบูรณ์ถึงที่สุด ไท้จิฉวนของเต๋าซึ่งเป็นศิลปะการป้องกันตัวขั้นสุดยอดของจีน ได้โยงเอาการเคลื่อนไหวที่ช้าและเป็นจังหวะของโยคะเข้ากับความตื่นตัวเต็มที่แห่งจิตใจของนักรบได้อย่างประสิทธิภาพ

2.12 ข้อจำกัดของนิวตัน

ศาสนาตะวันออกมีพื้นฐานอยู่บนการเห็นแจ้งโดยตรงต่อสัจจะ ส่วนฟิสิกส์มีพื้นฐานอยู่บนการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในสาขาทั้งสองการสังเกตได้ถูกแปลความหมาย และความหมายนั้นถูกสื่อสารด้วยภาษาคำพูด ในเมื่อภาษาคำพูดเป็นแผนที่ซึ่งย่อสรุปสัจจะอย่างคร่าว ๆ ดังนั้น การแปลความหมายการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือความเข้าใจภายในทางศาสนาออกเป็นภาษาคำพูดจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์และไม่ละเอียดเพียงพออย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งฟิสิกส์สมัยใหม่ และศาสนาตะวันออกต่างตระหนักในความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี ในฟิสิกส์ การอธิบายความหมายของการทดลองนั้นเรียกว่าแบบจำลอง (model) หรือทฤษฎี (Theory) และความเข้าในที่ว่าแบบจำลองและทฤษฎีทั้งหมดเป็นประมาณการ (approximation) นั้น ถือเป็นพื้นฐานของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคำพังเพยของไอน์สไตน์ที่ว่า “ตราบเท่าที่กฎทางคณิตศาสตร์อ้างโยงถึงความจริง มันก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และหากว่ามันเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว มันก็ไม่อาจอ้างโยงถึงความจริงได้” นักฟิสิกส์รู้ว่าวิธีการวิเคราะห์และการใช้เหตุผลเชิงตรรกไม่อาจอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหมดในทันทีได้ดังนั้นนักฟิสิกส์จึงเลือกเอาปรากฏการณ์เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และพยายามสร้างแบบจำลองขึ้นมาอธิบายปรากฏการณ์กลุ่มนั้น ในการกระทำดังกล่าว พวกเขาได้ละเลยปรากฏการณ์ส่วนอื่น แบบจำลองที่สร้างขึ้นจึงไม่อาจอธิบายถึงสภาพการณ์ทั้งหมดได้ อาจจะเนื่องจากปรากฏการณ์ส่วนที่มิได้นำมาศึกษานั้น ส่งผลน้อยมากจนกระทั่งว่าหากนำมารวมศึกษาด้วยก็จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทฤษฎีอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่เช่นนั้น ก็เพราะมันไม่เป็นที่ทราบกันในระยะเวลาที่มีการทฤษฎีสร้างขึ้น เพื่อให้เห็นประเด็นอย่างชัดเจน ลองดูแบบจำลองทางฟิสิกส์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดอันหนึ่ง ก็คือวิชากลศาสตร์สมัยเดิมของนิวตัน ผลของความต้านทานหรือแรงเสียดสีของอวกาศ มิได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องในแบบจำลองนี้ เพราะโดยทั่ว ๆ ไปมันมีค่าน้อยมาก แต่ถึงแม้จะละเลยจุดนี้ไป กลศาสตร์แบบนิวตันก็ถูกถือว่าเป็นทฤษฎีสุดท้าย ที่จะอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหมดมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก จนกระทั่งมีการค้นพบปรากฏการณ์ของไฟฟ้าและแม่เหล็กซึ่งไม่ปรากฏเลยในทฤษฎีของนิวตัน การค้นพบปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และเราอาจประยุกต์ไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ได้เพียงบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของของแข็งเท่านั้น การศึกษาปรากฏการณ์ที่จำกัดอยู่บางกลุ่มอาจหมายความถึงการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของมันในขอบเขตที่จำกัดอันหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทฤษฎีเป็นเรื่องของการประมาณการประมาณนี้เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เพราะเราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าข้อจำกัดของทฤษฎีนั้นอยู่ตรงจุดใดเราต้องอาศัยประสบการณ์เท่านั้นจึงอาจจะบอกได้ ดังนั้นภาพพจน์ของกลศาสตร์สมัยเก่าจึงถึงเซาะทำลายมากขึ้นไปอีก เมื่อฟิสิกส์ในศตวรรษที่ 20 ได้แสดงให้เห็นข้อจำกัดของมันในปัจจุบันเรารู้ว่าทฤษฎีของนิวตันใช้ได้สำหรับวัตถุซึ่งประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก ๆ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ต่ำเมื่อเทียบกับความเร็วของแสง หากไม่ตรงกับเงื่อนไขประการแรกกลศาสตร์ต้องถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) หากไม่ตรงกับเงื่อนไขประการที่สองต้องหันมาใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity Theory) นี่มิได้หมายความว่าทฤษฎีนิวตันนั้น “ผิด”หรือว่าทฤษฎีควอนตันและทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้น “ถูก” ทุกทฤษฎีต่างเป็นการประมาณซึ่งจะใช้ได้ในขอบเขตหนึ่งๆ ของปรากฏการณ์ หากเลยขอบเขตนั้นไป มันก็ไม่อาจให้คำอธิบายที่น่าพอใจเกี่ยวธรรมชาติ จึงต้องหาทฤษฎีใหม่มาแทนทฤษฎีหรือขยายขอบเขตของทฤษฎีเก่าออกไป

2.13 เทพปรกรณัม


การที่จะชี้เฉพาะลงไปถึงข้อจำกัดของทฤษฎีหนึ่ง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากหากเป็นงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งในการสร้างทฤษฎีขึ้นมา จอฟฟรีย์ ชิว ผู้สร้างทฤษฎี “บูตแสตรป” ซึ่งจะเป็นเนื้อหาในการพิจารณาของเราในบทต่อไปนั้นได้กล่าวว่า เมื่อมีการสร้างแบบจำลองหรือทฤษฎีขึ้น เราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามเสมอว่า เพราะเหตุใดมันจึงเป็นทฤษฎีที่ใช้การได้ อะไรเป็นข้อจำกัดของมันโดยแท้จริงมันเป็นการประมาณในลักษณะใด ชิวคิดว่าคำถามเหล่านี้เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ศาสนาตะวันออกตระหนักในความจริงที่ว่า คำอธิบายสัจจะทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงตรงและไม่สมบูรณ์ ประสบการณ์โดยตรงในการหยั่งรู้สัจจะไปพ้นขอบเขตของความคิดและภาษา และในเมื่อศาสนาทั้งมวลมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์โดยตรงนี้ คำอธิบายในลักษณะต่าง ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์นั้นจึงเป็นจริงเพียงบางส่วน ในวิชาฟิสิกส์ ลักษณะที่ทุกประโยคสามารถอธิบายความจริงที่ต้องการพูดถึงได้เพียงโดยประมาณเท่านั้น ถูกกำหนดเป็นจำนวนและความก้าวหน้าก็คือ การปรับปรุงลักษณะการประมาณอย่างเป็นขั้นตอนหลาย ๆ ขั้นตอนต่อเนื่องกัน ดังนั้น ในทำนองเดียวกัน ศาสนาตะวันออกจะจัดการอย่างไรกับปัญหาของการถ่ายทอดด้วยภาษาคำพูด แรกทีเดียวศาสนิกต่างมุ่งความสนใจส่วนใหญ่ไปที่ประสบการณ์ในการหยั่งรู้สัจจะมิใช่ที่คำอธิบายประสบการณ์ ดังนั้น โดยทั่วไปพวกเขาจึงไม่สนใจในการวิเคราะห์คำอธิบายนั้น ๆ และดังนั้น แนวคิดที่ชัดเจนจึงไม่ปรากฏมีในความคิดแบบตะวันออก ในทางตรงกันข้าม หากศาสนิกชาวตะวันออกต้องการจะถ่ายทอดประสบการณ์ของตน ก็จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดของภาษา จึงได้มีการพัฒนาวิธีการหลาย ๆ อย่างเพื่อจัดการกับปัญหานี้ ศาสนาในอินเดียและโดยเฉพาะศาสนาฮินดู สร้างคำอธิบายในลักษณะของเทพปกรณัม โดยการใช้อุปมาอุปไมยและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภาพพจน์ในเชิงกวีและนิทานต่าง ๆ ภาษาของเทพปกรณัมถูกจำกัดด้วยตรรกะและสามัญสำนึกน้อยกว่าภาษาสามัญ มันเต็มไปด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์และสิ่งที่ผกผันผิดธรรมดา ร่ำรวยด้วยภาพพจน์ และไม่เคยสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงสามารถเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดการประจักษ์แจ้งในสัจจะได้ดีกว่าภาษาสามัญ สวามีอานันทะกุมารกล่าวว่า “เทพปกรณัมเป็นวิธีแสดงสัจจะที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่ภาษาจะอำนวยให้”(17) จินตนาการอันมั่งคั่งของชาวอินเดียได้ก่อกำเนิดแก่เทพและเทพีจำนวนมากซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับการจุติและการปราบยุคเข็ญของโลกของเทพเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในมหากาพย์ต่าง ๆ ชาวฮินดู ซึ่งกอปรด้วยญาณทัศนะที่ลึกซึ้งทราบดีว่า เทพเหล่านี้ล้วนกำเนิดจากการสร้างสรรค์ของจิต ภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเทพปกรณัมเหล่านี้มุ่งแสดงสัจจะในลักษณะต่าง ๆ กัน ในอีกแง่หนึ่ง ชาวฮินดูมิได้สร้างเทพปกณัมเหล่านี้เพียงเพื่อให้เป็นเรื่องที่ดึงดูดความสนใจเท่านั้น แต่เป็นสื่อกลางที่จำเป็นในการแสดงหลักปรัชญาซึ่งมีรากฐานจากประสบการณ์ในทางจิตใจ ในจีนและญี่ปุ่น นักปฏิบัติธรรมใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปในการแก้ปัญหาข้อจำกัดของภาษา แทนที่จะแสดงสัจจะ ซึ่งโดยธรรมชาติขัดกับความรู้สึกสามัญในรูปสัญลักษณ์และภาพต่าง ๆ ในเทพปกรณัมซึ่งรับได้ง่าย ท่านเหล่านั้นกลับมุ่งแต่แสดงสัจจะโดยใช้ภาษาแห่งข้อเท็จจริง ดังนั้น พวกเต๋าจึงใช้คำผกผันผิดธรรมดาบ่อยครั้ง เพื่อที่จะให้เห็นข้อจำกัดและความไม่อาจวางใจได้ในการใช้ภาษาคำพูดวิธีการเช่นนี้ได้ถูกถ่ายทอดไปยังพุทธศาสนาในจีนและญี่ปุ่น ซึ่งได้พัฒนาวิธีการขึ้นไปอีก จนถึงจุดสูงสุดในพุทธศาสนาแบบเซนในรูปโกอันปริศนาธรรม ซึ่งดูเหมือนเรื่องตลก แต่อาจารย์เซนหลาย ๆ ท่านได้ใช้มันในการถ่ายทอดคำสอนของตน โกอันเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่จะพิจารณากันต่อไป

2.14 เหนือจากภาษา

ในญี่ปุ่น ยังมีวิธีการอื่นอีกที่ใช้ในการแสดงทัศนะทางปรัชญา อาจารย์เซนนิยมใช้บทกวีซึ่งกระชับและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวมาก ชี้ตรงไปที่ความเป็น “เช่นนั้นเอง” ( suchness) ของสัจจะ เมื่อพระภิกษุรูปหนึ่งถามท่านฟิเกจิ เอนโช (Fuketsu Ensho) ว่า “ในเมื่อทั้งคำพูดและความเงียบต่างไม่น่าเชื่อถือ เราจะผ่านมันไปโดยไม่พลาดได้อย่างไร” อาจารย์เซนได้ตอบว่า ฉันจำเกียวชูในเดือนมีนาคมได้เสมอ เสียงร้องของนกกระทา มวลบุปผาชาติซึ่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง(18) บทกวีแห่งจิตวิญญาณนี้ได้ถึงจุดสมบูรณ์ใน ไฮขึบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่น อันมีเพียงสิบเจ็ดพยางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเซน ญาณทัศนะที่หยั่งรู้ธรรมชาติแห่งชีวิตซึ่งแสดงออกในบทกวีไฮขึนี้ยังสามารถรู้สึกสัมผัสได้ แม้เมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ใบไม้ร่วง กองทับถมกัน สายฝนกระหน่ำ (19) เมื่อใดก็ตามที่นักปราชญ์ชาวตะวันออกแสดงความรู้ของตนออกมาเป็นภาษาพูด ไม่ว่าจะในรูปของเทพปกรณัม สัญลักษณ์ต่าง ๆ บทกวีหรือถ้อยคำผกผันผิดธรรมดาก็ตาม ท่านเหล่านั้นต่างตระหนักดีในข้อจำกัดของภาษาและความเชิงเส้นตรง ฟิสิกส์สมัยใหม่มีทัศนะเกือบจะเช่นเดียวกันในการใช้ภาษาพูดในแบบจำลองและทฤษฎี แบบจำลองและทฤษฎีก็เป็นสื่อที่แสดงออกของสิ่งที่ประสงค์ได้อย่างคร่าว ๆ และไม่ชัดเจน มันเป็นสื่อในแนวทางเดียวกับเทพปกรณัมสัญลักษณ์ และบทกวีต่าง ๆ และสิ่งที่ข้าพเจ้ามุ่งแสดงก็คือความคล้ายคลึงในระดับนี้ ตัวอย่างเช่น ความคิดอย่างเดียวกันในเรื่องวัตถุ ซึ่งชาวฮินดูแสดงออกในรูปการเริงรำของศิวะเทพ ในขณะที่นักฟิสิกส์แสดงออกในทฤษฎีสนามควอนตัมทั้งเทพและทฤษฎีทางฟิสิกส์ต่างเป็นสิ่งสร้างสรรค์ของจิต เป็นแบบจำลองที่จะอธิบายญาณทัศนะในสัจจะของแต่ละบุคคล
4579  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:19:01
2.5 ทุกสิ่งเป็นตัวเลข


อย่างไรก็ตาม ญาณดังกล่าวจะเป็นสิ่งไร้ค่าแก่วิชาฟิสิกส์ หากว่าไม่สามารถนำใปใช้สร้างสูตรทางคณิตศาสตร์ขึ้นและอธิบายเป็นภาษาสามัญได้ ลักษณะสำคัญของสูตรดังกล่าวก็คือการย่อสรุปดังที่ได้กล่าวแล้ว มันประกอบด้วยระบบของความคิดและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ก่อรูปขึ้นเป็นแผนที่ของความจริง แผนที่นี้แทนบางแง่มุมของความจริงเท่านั้น เราไม่อาจรู้ได้อย่างชัดเจนว่าความจริงคืออะไร เนื่องจากเรารวบรวมแผนที่ของเราทีละเล็กทีละน้อยตั้งแต่ในวัยเด็กโดยมิได้มีการวิเคราะห์อย่างจริงจัง ดังนั้นภาษาคำพูดของเราจึงไม่อาจระบุความหมายที่ชัดเจนได้ เมื่อเราได้ยินคำพูดสักคำหนึ่งซึ่งมักจะมีความหมายหลายประการส่วนมากมันจะผ่านเข้าไปในจิตใจของเราอย่างสลัว ๆ ไม่ชัดเจน และค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ความที่ภาษาของเรามีความหมายกำกวมไม่ละเอียดชัดเจนนั้น จำเป็นสำหรับกวี ซึ่งรังสรรค์งานของเขาโดยอาศัยความหมายของภาษาที่แฝงฝังในจิตใต้สำนึก และสิ่งที่เกี่ยวโยงกับความหมายนั้นเป็นส่วนใหญ่ ในทางตรงกันข้ามวิทยาศาสตร์มุ่งที่จะจับฉวยภาษาที่มีความหมายชัดเจนและความเกี่ยวพันของภาษาที่ไม่กำกวม ดังนั้นจึงย่อสรุปภาษาอีกชั้นหนึ่ง โดยจำกัดความหมายของคำทำให้โครงสร้างของมันเป็นมาตรฐานเดียวกันโดยกฏของตรรกศาสตร์การย่อสรุปดังกล่าวถึงขึ้นสัมบูรณ์ในคณิตศาสตร์เมื่อคำพูดถูกแทนด้วยสัญลักษณ์และความเกี่ยวโยงระหว่างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ถูกกำหนดอย่างชัดเจนตายตัว ในลักษณะเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถสรุปเอาข้อมูลต่าง ๆ ลงในสมการทางคณิตศาสตร์เพียงสมการเดียว กล่าวคือสรุปลงเป็นสัญลักษณ์บรรทัดเดียว ซึ่งหากจะอธิบายเป็นภาษาธรรมดาอาจใช้ความยาวหลายหน้ากระดาษ ทัศนะที่ว่าคณิตศาสตร์มิใช่อะไรอื่นนอกจากภาษาซึ่งย่นย่อสรุปและถูกอัดแน่นเท่านั้น ได้รับการท้าทายเช่นกัน โดยแท้จริงนักคณิตศาสตร์หลายคนเชื่อว่าคณิตศาสตร์มิใช่เพียงภาษาซึ่งใช้อธิบายธรรมชาติ หากทว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติเองแล้ว ผู้ริเริ่มความคิดนี้คือ ปิทากอรัส ( Pythagoras) ผู้ซึ่งกล่าวประโยคที่มีชื่อเสียงว่า “ทุกสิ่งเป็นตัวเลข” และได้พัฒนารหัสยลัทธิอันมีลักษณะพิเศษในเชิงคณิตศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง ปรัชญาของปิทากอรัสได้เสนอเหตุผลเชิงตรรกะเข้าสู่ขอบเขตของศาสนา จนพัฒนามาเป็นพื้นฐานที่มั่นคงของปรัชญาศาสนาตะวันตก เบอร์ทรันด์ รัสเซล กล่าวว่า การเชื่อมโยงเอาคณิตศาสตร์และเทวศาสตร์เข้าด้วย ซึ่งเริ่มขึ้นโดยปิทากอรัส ได้เป็นลักษณะสำคัญของปรัชญาศาสนาในกรีก ในยุคกลางและในสมัยปัจจุบัน เรื่อยมาจนถึงคานต์...ในเพลโต เซนต์ออกุสติน, โทมัส อควินา, เดคาร์ต, สปิโนชา และเลียบนิซ มีการผสมผสานอย่างแนบแน่นระหว่างศาสนาและเหตุผล ระหว่าง ศีลธรรมและตรรกะของสิ่งซึ่งเป็นนิรันดร ซึ่งมาจากปิทากอรัส และเป็นสิ่งที่แยก เทวศาสตร์ของยุโรปที่เต็มด้วยเหตุผลความคิดนึก จากศาสนาของเอเชียซึ่งมี ลักษณะตรงไปตรงมามากกว่า (7)

2.6 ตัวเลขที่คับแคบและอึดอัด


“ศาสนาของเอเชียซึ่งมีลักษณะตรงไปตรงมามากกว่า” ย่อมไม่ได้รับเอาทัศนะทางคณิตศาสตร์ของปิทากอรัสไปอย่างแน่นอน ในทัศนะของตะวันออกคณิตศาสตร์ซึ่งมีโครงสร้างซึ่งแตกแขนงออกไปมากมายและสื่อความหมายอย่างชัดเจนนั้น เป็นส่วนของแผนที่ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดมิใช่ภาพของตัวสัจจะเอง สัจจะในประสบการณ์ของนักปราชญ์ตะวันออกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจวัดคำนวณเอาได้ ไม่อาจแบ่งแยกได้ วิธีการย่อสรุปในทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพ ทว่าเราต้องสูญเสียอะไรบางอย่างเป็นสิ่งทดแทน เมื่อเราจำกัดระบบความคิดของเราให้ชัดเจนเพียงไร เมื่อเราจัดให้มันประสานสอดคล้องกันอย่างมีระบบ ก็ยิ่งไกลออกไปจากโลกที่แท้จริงมากเพียงนั้น ย้อนมาดูข้อเปรียบเทียบเรื่องแผนที่และอาณาเขตของคอร์เยฟซกี เราอาจกล่าวได้ว่าภาษาสามัญเป็นแผนที่แผ่นหนึ่งซึ่งในขอบเขตแห่งความเที่ยงตรงของมัน มีความยืดหยุ่นแก่การอธิบายหรือคิดโค้งไปตามอาณาเขตจริง ๆ ได้พอสมควร แต่เมื่อเราทำให้มันเป็นระบบที่จริงจังมากขึ้น ความยืดหยุ่นค่อย ๆ หายไปทีละน้อยและด้วยภาษาของคณิตศาสตร์เราได้มาถึงจุดซึ่งการเชื่อมโยงกับความจริงมีอยู่เพียงบางเบาจนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์และประสบการณ์ในการรับรู้ของเราไม่ปรากฏนี่คือเหตุผลที่เราจำต้องให้คำอธิบายด้วยภาษาธรรมแก่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และทฤษฎี แม้จะกำกวมและไม่ชัดเจนเท่าภาษาทางคณิตศาสตร์ก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างแบบจำลองทางคณิศาสตร์และความหมายในภาษาพูดของมัน แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาที่มีโครงสร้างกระชับและแน่นอนมาก ทว่าสัญลักษณ์ในภาษาที่ใช้ไม่สัมพันธ์โดยตรงกับประสบการณ์ของเรา ในทางตรงกันข้าม ภาษาพูดซึ่งอธิบายแบบจำลองนั้น เป็นการใช้แนวคิดเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจโดยไม่ผ่านความคิดนึกในทางคณิตศาสตร์ แต่มักจะไม่ชัดเจนและค่อนข้างกำกวม ในแง่นี้ทั้งสองไม่ต่างไปจากแบบจำลองของความจริงทางปรัชญา และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้เป็นอย่างดี หากว่ามีส่วนซึ่งเป็นญาณทัศน์ในวิทยาศาสตร์ ก็ย่อมมีส่วนที่เป็นเหตุผลในศาสนาตะวันออกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ระดับความสำคัญของเหตุผลและตรรกะก็ต่างกันออกไปในคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในคัมภีร์พระเวทของฮินดู หรือคัมภีร์มัธยมิกะ (Madhyamika) ของพุทธมีคำสอนซึ่งเป็นเหตุเป็นผลอยู่มาก ในขณะที่เต๋าไม่ให้ความเชื่อถือต่อเหตุผลและตรรกะ เซนซึ่งแตกแขนงจากพุทธศาสนาโดยได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเต๋ากลับเน้นที่การ “ไร้คำพูด ไร้อรรถาธิบาย ไร้คำสอน ไร้ความรู้” เซนมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่ประสบการณ์ของการรู้แจ้ง และให้ความสำคัญน้อยมากกับการอธิบายประสบการณ์ ดังกล่าว วลีของเซนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีกล่าวว่า “ในขณะที่ท่านกล่าวถึงสิ่ง ๆ หนึ่ง ท่านก็พลาดจากสิ่งนั้นเสียแล้ว” แม้ว่าศาสนาตะวันออกอื่น ๆ จะไม่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ตัวประสบการณ์โดยตรงยังเป็นแกนสำคัญของทุกศาสนา แม้แต่ศาสนิกที่มีความสนใจในการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างลึกซึ้ง ก็มิได้ยึดความนึกคิดเป็นแหล่งที่มาของความรู้ ทว่าใช้ความนึกคิดเพื่อวิเคราะห์และอธิบายประสบการณ์โดยตรงในการปฏิบัติศาสนธรรมของตน ความรู้ทั้งมวลตั้งอยู่บนประสบการณ์เช่นที่ว่านี้ ดังนั้นธรรมเนียมปฏิบัติของตะวันออกจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเฝ้าสังเกต ซึ่งผู้สอนมักจะเน้นอยู่เสมอ ดังเช่นที่ ดี.ที. สีซึกิ เขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาว่า ประสบการณ์ของบุคคลเป็น...รากฐานของพุทธปรัชญา ในแง่นี้พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการสังเกตและทดลอง เหตุผลต่าง ๆ เกิดขึ้นภายหลัง เพื่อหยั่งถึง ความหมายของประสบการณ์แห่งการรู้แจ้ง (8)

2.7 นอกเหนือจากประสาทสัมผัส


โจเซฟ นีดแฮมได้นำเอาทัศนคติแห่งการเฝ้าสังเกตของเต๋ามาเป็นจุดเด่นในงานเขียนของเขาชื่อ Science and Civilization in china เขาได้ค้นพบว่าทัศนคติเช่นนี้ได้ส่งให้เต๋าเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน นีดแฮมกล่าวเกี่ยวกับนักปรัชญาเต๋ารุ่นแรก ๆ ว่า เป็นผู้ที่ “ถอนตัวออกจากสังคม มุ่งสู่ถิ่นกันดาร ป่าเขา เพื่อภาวนาให้แจ้งต่อกฎของธรรมชาติและสรรพสิ่งอันหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งปรากฏแสดงของธรรมชาติ” (9) จิตวิญญาณทำนองเดียวกันได้แสดงออกในวลีของเซน ผู้ที่อาจจะเข้าใจในความหมายของธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ คือผู้ที่เฝ้าสังเกต ฤดูกาลและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย (10) ฐานของความรู้ซึ่งตั้งอย่างมั่นคงอยู่บนประสบการณ์ในศาสนาตะวันออกสอดคล้องกับฐานแห่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่บนการทดลอง ความสอดคล้องนี้มีมากยิ่งขึ้นเมื่อพิจารณาธรรมชาติของประสบการณ์ในทางศาสนา ซึ่งได้รับการอธิบายในศาสนธรรมของตะวันออกว่าเป็นญาณทัศนะ ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรง อยู่นอกขอบเขตของความคิดนึกและได้มาด้วยการเฝ้าดูมิใช่ด้วยการคิดคำนึง ได้มาด้วยการมองด้านในและการเฝ้าสังเกต ในลัทธิเต๋า ความคิดในเรื่องการเฝ้าสังเกตได้ปรากฏในชื่อของโบสถ์แห่งเต๋า กูอัน (Kuan) ซึ่งมีความหมายเดิมว่า “การดู” พวกเต๋าจึงถือเอาโบสถ์เป็นสถานที่แห่งการเฝ้าสังเกต ในธยาน ซึ่งเป็นชื่อเรียกนิกายเซนในจีน การรู้แจ้งมักจะถูกอธิบายว่า “การเห็นซึ่งเต๋า” และการเห็นถือเป็นฐานของความรู้ในพุทธศาสนาทุกนิกาย คำสอนของพระพุทธเจ้าในอริยมรรคมีองค์แปด มรรคองค์แรกคือ การเห็นชอบ ตามด้วยการรู้ชอบ ดี.ที. สีซึกิ เขียนเกี่ยวประเด็นนี้ว่า การเห็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่ในญาณวิทยาของชาวพุทธ เพราะการเห็นเป็นพื้นฐาน ของการรู้ การรู้จะเป็นไปไม่ได้ถ้าปราศจากการเห็น ความรู้ทั้งมวลเริ่ม จากการเห็น ดังนั้นการรู้และการเห็นจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคำสอนของพระพุทธองค์ พุทธธรรมในขั้นปรมัตถ์จึงมุ่งสู่การเห็นสัจจะตามที่มันเป็น การเห็น คือ การมีประสบการณ์ของการรู้แจ้ง (11) ข้อความข้างบนนี้คล้ายคลึงกับคำสอนของดอน ฮวน อาจารย์แห่งเผ่ายาคี ซึ่งกล่าวว่า “ความพึงพอใจของข้าอยู่ที่การเห็น...เพราะด้วยการเห็นเท่านั้นที่มนุษย์ผู้ทรงปัญญาจะรู้ได้” (12) มีข้อควรระวังที่จุดนี้คือ ไม่ควรถือการเน้นที่การเห็นในธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาตะวันออกนั้นอย่างเถรตรงเกินไป แต่ต้องเข้าใจในเชิงเปรียบเทียบเนื่องจากประสบการณ์ต่อสัจจะในทางศาสนาโดยเนื้อแท้มิใช่ประสบการณ์ของประสาทสัมผัส เมื่อปราชญ์ทางตะวันออกกล่าวถึงการเป็น หมายถึงขบวนการรับรู้ซึ่งอาจรวมการมองเห็น แต่โดยสาระแล้วมีความหมายเลยพ้นออกไปถึงประสบการณ์ต่อสัจจะที่นอกเหนือจากประสาทสัมผัส อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท่านเหล่านั้นมุ่งเน้นเมื่อกล่าวถึงการเห็น การดู หรือการสังเกต คือลักษณะการที่ได้ความรู้จากการสังเกต ท่าทีการแสวงหาความรู้จากการสังเกตเช่นนี้ของปรัชญาตะวันออกได้เตือนให้ระลึกถึงการมุ่งเน้นอยู่ที่การสังเกตในวิทยาศาสตร์ โดยที่เป็นประเด็นแห่งการศึกษาเปรียบเทียบของเรา ขั้นตอนการทดลองในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาจเทียบได้กับการมองด้านในของศาสนาตะวันออก และแบบจำลองและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ก็อาจเทียบได้กับการอธิบายความหมายของญาณทัศนะ ซึ่งเกิดจากการมองนั้นในหลาย ๆ แบบ

2.8 ความซับซ้อนที่คล้ายๆกัน


ความคล้ายคลึงระหว่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ทางศาสนา ดูเป็นสิ่งน่าประหลาดเมื่อพิจารณาความแตกต่างของกระบวนการสังเกต ทดลองทั้งสองฝ่าย นักฟิสิกส์ทำการทดลองโดยมีผู้ร่วมงานซึ่งทำงานอย่างละเอียดลออและอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมาก ในขณะที่ศาสนิกได้ความรู้จากการพิจารณาใคร่ครวญ โดยมิได้อาศัยเครื่องจักรใด ๆ ในช่วงเวลาแห่งการภาวนายิ่งไปกว่านั้น การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะกระทำซ้ำและได้ผลอย่างเต็มได้ ณ เวลาใด หรือโดยบุคคลใดก็ตาม ในขณะที่ประสบการณ์ทางศาสนาที่ลึกซึ้งดูจะมีเพียงบางคนเท่านั้นที่อาจเข้าใจถึงได้ และในโอกาสพิเศษเฉพาะเท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งลงไปก็จะพบว่า ข้อแตกต่างของการเฝ้าสังเกตสองแนวนั้น อยู่ที่วิธีการมากกว่าอยู่ที่ความเชื่อถือได้ หรือความซับซ้อนของมัน ใครก็ตามที่ต้องการทำการทดลองซ้ำและได้ผลเช่นเดิมนั้นในการทดลองทางฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม จะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นเวลาหลายปีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถตั้งคำถามพิเศษเฉพาะแก่ธรรมชาติโดยผ่านทางการทดลองและสามารถเข้าใจคำตอบนั้นได้ โดยนัยเดียวกัน การจะได้ประสบการณ์ทางศาสนาที่ลึกซึ้ง ธรรมดาแล้วบุคคลนั้นจะต้องผ่านการฝึกฝนเป็นเวลาหลายปี โดยมีอาจารย์ที่ชำนาญคอยแนะนำให้ และเช่นเดียวกับการฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์ ระยะเวลาในการฝึกฝนมิได้เป็นสิ่งเดียวที่จะประกันความสำเร็จได้ หากว่านักศึกษาเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ เขาก็สามารถที่จะทำการทดลองที่ให้ผลเช่นเดิมได้ การที่จะสามารถเข้าสู่ประสบการณ์ซึ่งได้บรรลุถึงแล้วได้อีกนั้น โดยเท็จจริงแล้วเป็นสิ่งจำเป็นของการฝึกฝนปฏิบัติธรรมทุกรูปแบบและเป็นเป้าหมายอันสำคัญของคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้น ประสบการณ์ทางศาสนาจึงมิใช่สิ่งพิเศษเฉพาะมากกว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในทางตรงกันข้ามซับซ้อนไม่น้อยไปกว่ากัน แม้ว่าความซับซ้อนที่ปรากฏในรายละเอียดนั้นเป็นคนละชนิดกัน ความซับซ้อนและประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิคของนักฟิสิกส์อาจเทียบกับความตระหนักรู้ในการปฏิบัติธรรมทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ ในขณะแห่งการภาวนาอันหยั่งลงอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นทั้งนักวิทยาศาสตร์และผู้ปฏิบัติธรรม ได้พัฒนาวิธีการที่มีรายละเอียดซับซ้อนในการเฝ้าสังเกตธรรมชาติซึ่งมิใช่วิสัยของสามัญชนจะเข้าใจได้

4580  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:18:29



บทที่ 2 การรู้และการเห็น


จากอสัตย์จงนำข้าฯสู่สัจจะ จากความมืดจงนำข้าฯสู่ความสว่าง จากความตายจงนำข้าฯสู่อมตะ อุปนิษัท ก่อนที่เราจะศึกษาความสอดคล้องระหว่างวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่และศาสนาตะวันออก เราจะต้องพิจารณาปัญหาว่า เราจะเปรียบเทียบอย่างไรระหว่างวิทยาศาสตร์ซึ่งถูกอธิบายด้วยภาษาทางคณิตศาสตร์อันสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง กับวินัยปฏิบัติในทางศาสนาซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่การภาวนา และยืนยันว่า แท้จริงความรู้แจ้งในภายในนั้นไม่อาจอธิบายได้ สิ่งที่จะนำมาเปรียบเทียบในที่นี้คือข้อความซึ่งกล่าวโดยนักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์ของตะวันออกเกี่ยวกับความรู้ของตน เพื่อที่จะให้การเปรียบเทียบนี้มีประสิทธิภาพ ประการแรก เราต้องถามตนเองก่อนว่า “ความรู้” ชนิดใดที่เรากำลังพูดถึง พระภิกษุจากนครวัดหรือเกียวโตพูดถึง “ความรู้” ชนิดเดียวกับที่นักฟิสิกส์จากออกซฟอร์ดหรือเบิร์กเคยพูดถึงหรือไม่ ประการที่สอง ข้อความหรือประโยคชนิดใดที่เรากำลังศึกษาเปรียบเทียบ เราจะเลือกเอาสิ่งใดจากข้อมูลของการทดลอง สมการ หรือทฤษฎีในด้านหนึ่ง และจากคัมภีร์ทางศาสนา เทพปกรณัม (myths)* โบราณ หรือตำราทางปรัชญาในอีกด้านหนึ่ง บทนี้มุ่งที่จะทำความกระจ่างในประเด็นทั้งสองนี้ คือ ธรรมชาติของความรู้ซึ่งเรากำลังพิจารณาและภาษาที่ใช้ในการอธิบายความรู้นั้น ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับกันว่า ความรู้ของมนุษย์นั้นมีสองลักษณะ คือ ความรู้ที่เกิดจากการคิดในแนวเหตุผล และความรู้ที่ผุดขึ้นในใจหรือญาณทัศน์ (rational and intuitive) ซึ่งเทียบได้กับวิทยาศาสตร์และศาสนาตามลำดับ ในตะวันตกความรู้ชนิดหลังถูกถือว่าด้อยกว่าความรู้ในเชิงเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ในตะวันออกความรู้นี้กลับตรงกันข้าม ความคิดของปราชญ์สองท่านของตะวันตกและตะวันออก ซึ่งแสดงออกในประโยคต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของความรู้สองลักษณะ โสเครติสของกรีกกล่าวประโยคซึ่งมีชื่อเสียงว่า “ข้าพเจ้ารู้ว่า ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย” และเหลาจื้อของจีนกล่าวว่า “การไม่รู้ว่าตนรู้อะไร เป็นการดีที่สุด” ในตะวันออกคุณค่าของความรู้ทั้งสองประการปรากฏชัดเจนในชื่อที่เรียก ตัวอย่างเช่น ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวถึงความรู้อย่างสูงและความรู้สัมบูรณ์ หรือ “สมมติสัจจะ” และ “ปรมัตถสัจจะ” ในทางตรงกันข้ามปรัชญาจีนกลับสอนว่าความรู้ทั้งสองประการนั้นสนับสนุนซึ่งกันและกันซึ่งแสดงออกในคู่หยินและหยังอันเป็นพื้นฐานของความคิดจีน ดังนั้นปรัชญาเต๋าและขงจื้อจึงเกิดขึ้นในจีนยุคโบราณเพื่อรองรับความรู้ทั้งสองลักษณะไว้อย่างสอดคล้องกัน

2.1 ความรู้สัมพัทธ์


ความคิดเชิงเหตุผลได้มาจากประสบการณ์ซึ่งเราได้เกี่ยวข้องกับวัตถุ บุคคล หรือเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อมประจำวัน เป็นฝักฝ่ายของปัญญาซึ่งทำงานในการจำแนก แบ่ง เปรียบเทียบ วัด และจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้จึง ก่อให้เกิดการแบ่งแยกในโลกของความคิด เกิดสิ่งตรงกันข้ามซึ่งต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุที่ชาวพุทธเรียกความรู้ชนิดนี้ว่าความรู้สัมพัทธ์ การย่อสรุป (Abstraction) จึงเป็นลักษณะสำคัญของความรู้ชนิดนี้ เพราะว่าในการเปรียบเทียบ การจัดแบ่งหมวดหมู่ตามความแตกต่างที่สำคัญของรูปลักษณะโครงสร้างและปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเรานั้น เราไม่อาจจะนำเอาทุกลักษณะของสิ่งนั้นมาพิจารณาได้ แต่เราต้องเลือกเอาลักษณะที่สำคัญบางลักษณะเท่านั้น ดังนั้น เราได้สร้างแผนที่ของความจริงขึ้นในความคิดคำนึงของเรา โดยย่นย่อสิ่งต่าง ๆ ให้เหลือเพียงโครงร่างคร่าว ๆ ของมันเท่านั้น ความรู้ในเชิงเหตุผลจึงเป็นระบบของความคิดและสัญลักษณ์ที่ถูกย่นย่อสรุป มีลักษณะโครงสร้างแบบลำดับการณ์เชิงเส้นตรง ซึ่งเป็นแบบฉบับของความคิดและการพูดของเรา ในภาษาพูดส่วนใหญ่ โครงสร้างเชิงเส้นตรงเช่นนี้ แสดงออกอย่างชัดแจ้งโดยการใช้ตัวอักษร ซึ่งสื่อสารประสบการณ์และความคิดออกมาเป็นข้อความยาว ๆ ในทางตรงกันข้าม โลกธรรมชาติเป็นสิ่งหลากหลายและซับซ้อน โลกซึ่งกอปรด้วยมิติหลาย ๆ มิติ มิได้มีเส้นตรงหรือรูปร่างที่แน่นอนสม่ำเสมออย่างสมบูรณ์โลกซึ่งสิ่งต่าง ๆ มิได้ปรากฏเป็นลำดับ แต่ปรากฏพร้อม ๆ กัน โลกซึ่งวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่บอกเราว่า แม้อวกาศอันว่างเปล่าก็มีลักษณะโค้ง เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าระบบการย่อสรุปความคิดของเราไม่สามารถอธบายหรือเข้าใจความจริงนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ในการคิดเกี่ยวกับโลก เราต้องเผชิญกับปัญหาในลักษณะเดียวกันที่นักเขียนแผนที่เผชิญ เมื่อเขาจะเขียนแสดงผิวโค้งของโลกบนแผนที่แผ่นราบ เราคาดหวังได้แต่เพียงสิ่งที่ใกล้เคียงความจริงเท่านั้นในขบวนการดังกล่าว และดังนั้นความในเชิงเหตุผลทั้งหมดจึงอยู่ขอบเขตที่จำกัด อาณาเขตของความคิดในเชิงเหตุผล เป็นขอบเขตของวิทยาศาสตร์ซึ่งกอปรด้วยการวัดและกำหนดปริมาณ การจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ ข้อจำกัดของความรู้ใด ๆ ซึ่งได้มาโดยวิธีการเช่นนี้ปรากฏชัดเจนมากขึ้น ๆ ในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ซึ่งได้แสดงให้เห็นดังคำกล่าวของเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ว่า “คำพูดหรือความคิดที่กระจ่างชัดที่สุดก็มีขอบเขตการประยุกต์ใช้ได้อย่างจำกัด” (1)

2.2 นิ้วชี้ที่ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่


ผู้คนโดยมาก ยากที่จะตระหนักรู้อยู่ตลอดเวลาถึงข้อจำกัดและความเป็นสิ่งสัมพันธ์ของความรู้เชิงเหตุผล เนื่องจากการจัดฉวยเอาสิ่งที่เป็นตัวแทนของความจริงนั้นง่ายกว่าการจับฉวยเอาตัวความจริงมาก เราจึงมักจะสับสนเกี่ยวกับตัวแทนและความจริง และทึกทักเอาว่าความคิดและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นตัวความจริงศาสนาของตะวันออกมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการที่จะขจัดความสับสนอันนี้พวกนิกายเซนกล่าวว่า นิ้วที่ชี้ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่และจางจื้อกล่าวว่า ไซมีไว้สำหรับจับปลา แต่เมื่อได้ปลา คนก็ลืมไซ แร้วมีไว้สำหรับดักกระต่าย แต่เมื่อได้กระต่าย คนก็ลืมแร้ว คำพูดมีไว้ถ่ายทอดความคิด แต่เมื่อจับความคิดนั้นได้แล้ว คนก็ลืมคำพูด (2) ในตะวันตก อัลเฟรด คอร์เยฟซกี (Alfred Korzybski) นักภาษาศาสตร์ได้ชี้ประเด็นเดียวกันด้วยคำขวัญของเขาว่า “แผนที่มิใช่ตัวอาณาเขต” สิ่งที่นักปราชญ์ทางตะวันออกกล่าวถึงหรือสนใจ คือ ประสบการณ์โดยตรงแห่งสัจจะ ซึ่งล่วงพ้นทั้งความคิดและการรับรู้ในทางประสาทสัมผัส ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า สิ่งใดไร้ลักษณ์ ไร้สรรพสำเนียง สัมผัสมิได้ เป็นอมตะ สิ่งใดไร้รส ไร้กลิ่น ไม่เปลี่ยนแปร ไม่มีต้น ไม่มีปลาย ยิ่งใหญ่กว่ามหาราช คงสภาพอยู่นิรันดร์ เมื่อบุคคลหยั่งรู้สิ่งนั้น ย่อมรอดพ้นจากปากของมรณา (3) ชาวพุทธเรียกความรู้ซึ่งมาจากประสบการณ์เช่นนั้นว่า “ความรู้สัมบูรณ์” เพราะไม่ขึ้นกับการแบ่งแยก การย่อสรุป การจำแนกแจกแจงในทางปัญญา (ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้วว่าเป็นความรู้สัมพัทธ์ และเป็นความรู้ซึ่งมาจากการประมาณ) ความรู้สัมบูรณ์เป็นประสบการณ์โดยตรงต่อ “ความเป็นเช่นนั้นเอง” (suchness) ซึ่งไม่มีการแบ่งแยก แตกต่าง ความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ต่อความเป็นเช่นนั้นเองเป็นแกนสำคัญของศาสนาตะวันออกและของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณในทุกสายวัฒนธรรม ศาสนาตะวันออกเน้นย้ำอยู่เสมอว่า สัจจะสูงสุดมิใช่วัตถุที่ตั้งแห่งการคิดคำนึงหรือการอรรถาธิบาย คำพูดมิอาจจะอธิบายถึงสัจจะได้ครบถ้วน ทั้งนี้ เพราะสัจจะนั้นอยู่เหนือการรับรู้ทางอายตนะ เหนือความนึกคิดซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทัศนะและคำพูด คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า ที่ซึ่งจักษุไม่อาจแลเห็น อธิบายไม่ได้ด้วยคำพูด จิตดำริไปไม่ถึง เราไม่อาจรู้ ไม่อาจเข้าใจ ใครจะสอนถึงมันได้อย่างไร (4)

2.3 เต๋าเตอจิง

เหลาจื้อเรียกสัจจะนี้ว่า “เต๋า” และบรรทัดแรกของคัมภีร์ เต๋าเตอจิง (Tao Te Ching) ของเหลาจื้อกล่าวไว้ว่า “เต๋าที่แสดงให้เห็นได้ มิใช่เต๋าอันเป็นนิรันดร์” ข้อเท็จจริงซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากหน้าหนังสือพิมพ์ที่ว่า มนุษยชาติมิได้มีปัญญามากขึ้น แต่อย่างใดตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา ซึ่งตรงกันข้ามกับความรู้เชิงเหตุผลที่เพิ่มพูนขึ้นอย่างมากมาย เป็นสิ่งที่แสดงอย่างชัดเจนถึงการที่ไม่อาจถ่ายทอดความรู้สัมบูรณ์นั้นได้ด้วยคำพูด ดังที่จางจื้อกล่าวว่า “หาก (สัจจะ) เป็นสิ่งที่อธิบายได้ทุกคนก็คงจะบอกน้อง ๆ ของตัวแล้ว” (5) ดังนั้นความรู้สัมบูรณ์ จึงเป็นประสบการณ์แห่งสัจจะ ซึ่งนอกเหนือความคิดนึกโดยสิ้นเชิง เป็นประสบการณ์ซึ่งผุดโพลงขึ้นในสำนึกอันมิใช่สามัญ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าภาวะแห่ง “ฌาน” ภาวะดังกล่าวมีอยู่จริง ซึ่งได้รับการพิสูจน์ยืนยัน มิใช่แต่ในหมู่ศาสนิกของตะวันออกและตะวันตกเท่านั้น แต่ยังได้รับการชี้ชัดในการวิจัยทางจิตวิทยาด้วย ดังปรากฏในคำกล่าวของวิลเลียม เจมส์ว่า ความรับรู้สามัญของเรา ซึ่งเรียกกันว่าความรับรู้ในเหตุผล เป็นเพียงความรับรู้ ลักษณะหนึ่งเท่านั้น ยังมีความรับรู้อีกลักษณะหนึ่งซึ่งแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เป็นความรับรู้ซึ่งมีศักยภาพสูง แยกจากความรู้สามัญด้วยเพียงฉากกั้นที่บาง ที่สุดเท่านั้นเอง (6) ถึงแม้ว่านักฟิสิกส์จะสัมพันธ์กับความรู้เชิงเหตุผลมาก และศาสนิกจะสัมพันธ์กับญาณปัญญา ทว่าความรู้ทั้งสองลักษณะเกิดขึ้นในทั้งสองสาขา เราจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราตรวจสอบวิธีการได้มาและการแสดงออกซึ่งความรู้ทั้งในฟิสิกส์และในศาสนาตะวันออก

2.4 วิธีทางวิทยาศาสตร์


ในวิชาฟิสิกส์ความรู้ได้มาจากกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีสามขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงในการทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ซึ่งทำการศึกษา ขั้นตอนที่สองนำเอาข้อเท็จจริงจากการทดลองมาโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ และสร้างเป็นโครงร่าง (scheme) ทางคณิตศาสตร์ขึ้น ซึ่งจะเชื่อมโยงสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างกระชับและเที่ยงตรง โครงร่างนี้เรียกว่าแบบจำลอง (model) ทางคณิตศาสตร์ หรือหากว่ามันสื่อสารความเข้าใจได้มาก ก็จะเรียกว่า ทฤษฎี (theory) ทฤษฎีนี้ก็จะถูกใช้ในการทำนายผลของการทดลองอันต่อไป ซึ่งกระทำขึ้นเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในแง่มุมต่าง ๆ ของทฤษฎีนั้น ในขั้นนี้นักฟิสิกส์อาจจะพึงพอใจเมื่อได้พบโครงร่างทางคณิตศาสตร์แล้ว และรู้วิธีที่จะใช้ทำนายการทดลองต่อ ๆ มา แต่กระนั้นก็ตาม เขาก็อาจจะต้องการที่จะแสดงผลของการทดลองของเขาแก่ผู้ที่มิใช่นักฟิสิกส์ ดังนั้นจึงต้องอธิบายมันในภาษาทั่ว ๆ ไป นั่นหมายความว่าเขาจะต้องสร้างแบบจำลองโดยอาศัยภาษาสามัญ ซึ่งจะอธิบายโครงร่างทางคณิตศาสตร์ของเขา แม้สำหรับนักฟิสิกส์เอง การสร้างแบบจำลองทางภาษาเช่นนั้น อันเป็นขั้นที่สามของการวิจัย จะเป็นบรรทัดฐานของความเข้าใจซึ่งเขาบรรลุถึง แน่นอนว่าในทางปฏิบัติ ขั้นตอนทั้งสามไม่ได้แยกจากกันอย่างสิ้นเชิง และไม่ได้เกิดตามลำดับเช่นนั้นเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น นักฟิสิกส์อาจจะคิดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้โดยอาศัยความเชื่อบางประการในทางปรัชญา ซึ่งเขาก็จะเชื่อในแนวคิดนั้น แม้ว่าจะมีการทดลองซึ่งแสดงผลในทางกันข้ามอยู่ก็ตาม ดังนั้นเขาจึงต้องพยายามดัดแปลงแบบจำลองของเขาให้ครอบคลุมถึงการทดลองใหม่ ๆ ดังกล่าวด้วย แต่หากว่า ผลการทดลองยังคงขัดแย้งแบบจำลองของเขาเขาก็จะต้องทิ้งมันไป วิธีการสร้างทฤษฎีโดยอาศัยการทดลองเป็นพื้นฐานนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเราจะพบว่าในปรัชญาตะวันออกก็เป็นเช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม ปรัชญากรีกกลับมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่านักปรัชญากรีกหลายคนมีความคิดที่ลึกซึ้งมากเกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งมักจะคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ความแตกต่างอันสำคัญระหว่างวิทยาศาสตร์และปรัชญากรีกก็คือ ทัศนคติแห่งวิทยาศาสตร์ซึ่งถือการสังเกตเป็นหลัก อันเป็นสิ่งที่จิตใจแบบกรีกไม่คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง ชาวกรีกสร้างแบบจำลองต่าง ๆ โดยอาศัยการคิดคำนึงเอาด้วยเหตุผลจากหลักการพื้นฐานหรือสัจพจน์บางประการ (deduction) มิใช่โดยการสรุปหลักการเอาจากสิ่งที่ถูกสังเกต (induction) ในทางตรงกันข้าม ศิลปะแห่งการคิดค้นหาความจริงเอาจากหลักเกณฑ์ทั่วไปของชาวกรีกนี้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับขั้นตอนที่ลองของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์คือการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่กระชับใจความสำคัญ ดังนั้นมันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จำเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ในเชิงเหตุผล เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทว่ามิใช่ทั้งหมด ส่วนที่เป็นเหตุผลในการวิจัยอาจจะเป็นสิ่งที่ไร้ค่าหากไม่ได้รับการเสริมประกอบด้วยส่วนที่เป็นญาณทัศน์ (intuition) ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้น ญาณเช่นว่านี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด และมิใช่ขณะเมื่อนั่งคิดสมการที่โต๊ะทำงาน แต่มักจะเกิดขึ้นในขณะแห่งการพักผ่อนในอ่างอาบน้ำในระหว่างเดินเล่นอยู่ในป่าหรือบนหาดทรายในขณะแห่งการพักผ่อนเช่นนี้เอง หลังจากการคิดค้นอย่างหนัก จิตใจดูเหมือนจะเอาชนะอุปสรรคของความคิดได้ และญาณอันในกระจ่างเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งยังมีความปิติและรื่นเริงในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นอันมาก

หน้า:  1 ... 227 228 [229] 230 231 ... 236
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.422 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 04 กันยายน 2566 20:31:01