[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 07:39:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ  (อ่าน 6256 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5079


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:03 »


 
 
ชื่อหนังสือ : ควอนตัมกับดอกบัว
การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ
 
(The Quantum and the Lotus)
 
รหัสสินค้า : P-SM-0098
 
กลุ่มหนังสือ : ศาสนธรรมเพื่อสังคมร่วมสมัย & ชีวประวัติเพื่อแรงบรรดาลใจ
ผู้แต่ง : มาติเยอ ริการ์ และ ตริน ซวน ตวน เขียน /
กุลศิริ เจริญศุภกุล และ บัญชา ธนบุญสมบัติ แปล
พิมพ์ครั้งที่/ จำนวนหน้า/ กระดาษ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
ขนาด ๑๖ หน้ายกพิเศษ (๑๔.๕ x ๒๑.๐ ซม.)
ความหนา ๕๑๒ หน้า
ราคา : ๔๒๐ บาท
 
รายละเอียดย่อ
 

 
เราทั้งมวลล้วนเกิดจากฝุ่นละอองของดวงดาว เป็นพี่น้องของผองสัตว์ป่า เป็นเครือญาติกับมวลดอกไม้ในท้องทุ่ง เราทั้งมวลล้วนบอกเล่าเรื่องราวของจักรวาล เพียงเราหายใจ เราก็เชื่อมโยงเข้ากับสรรพสิ่งที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้
 
รายละเอียดเต็ม
เพราะมีอยู่ในหนึ่งอะตอม
จึงมีอยู่ในทุกอะตอม
โลกทั้งมวลก้าวล่วงสู่ที่นั้น
ลึกล้ำจนมิอาจหยั่งถึง
 
(จากพระสูตรของพระพุทธเจ้า)
 
 
เพื่อเห็นโลกในเม็ดทราย
และสรวงสวรรค์ในดอกไม้ป่า
จงวางความเป็นอนันต์ไว้บนฝ่ามือ
และความเป็นนิรันดร์ไว้ในโมงยาม
 
(วิลเลียม เบลค)
 
 
 
เอกภพมีจุดกำเนิดหรือไม่? การปรับแต่งอย่างประนีตเหมาะเจาะจนน่าพิศวงของเอกภพ แสดงว่ามี "หลักการแห่งการสร้าง" บนโลกของเราใช่ไหม? หากใช่ ย่อมหมายความว่า โลกมีพระเจ้าผู้สร้างเช่นนั้นหรือ?
 
การตีความ ความจริง แบบฟิสิกส์ควอนตัมที่เปลี่ยนฐานคิดจากเดิม คล้ายคลึงหรือแตกต่างจากการเข้าใจ ความจริง ของพุทธศาสนาอย่างไร?...และอีกหลายคำถาม
ควอนตัมกับดอกบัว จะนำผู้อ่านไปร่วมค้นหาคำตอบเหล่านี้ ผ่านบทสนทนาอันแหลมคมของสองสายธารความคิด ระหว่างคำสอนในพุทธศาสนาและผลการค้นพบของวิทยาศาสตร์ใหม่
.......................................................
คำนำโดย มาติเยอ ริการ์
 
ตลอดเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา มีการสนทนาระหว่างฝ่ายพุทธศาสนาและฝ่ายวิทยาศาสตร์ โดยสืบเนื่องมาจากความสนใจในวิทยาศาสตร์ของปราชญ์ชาวพุทธบางท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ทะไลลามะ ในปี 1987 อดัม เองเกิล (Adam Engle) ซึ่งเป็นนักธุรกิจ กับนักวิทยาศาสตร์ ฟรานซิสโก วาเลรา (Francisco Valera) ได้จัดให้มีการพบปะกันครั้งแรกระหว่างองค์ทะไลลามะกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย นักประสาทวิทยา นักชีววิทยา จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักปรัชญา ซึ่งการเสวนาวิสาสะในครั้งนั้นนำไปสู่การพบปะอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา บรรดาผู้เข้าร่วมการสนทนาบันทึกไว้ว่า
 
“การพบปะที่วิเศษยิ่งเหล่านั้นเป็นการแสดงทัศนะจากนักปฏิบัติชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์อย่างเปิดใจกว้าง แต่ก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ ทั้งสองฝ่ายต่างกระตือรือร้นที่จะขยายโลกทัศน์ของตนเอง จากการเรียนรู้กลวิธีในการตั้งคำถามและการเข้าถึงองค์ความรู้ของอีกฝ่ายหนึ่ง การตีพิมพ์บทสนทนาจากการพบปะภายใต้ชื่อ ‘จิตและชีวิต’ (Mind and Life) จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ที่สนใจบทสนทนาข้ามวัฒนธรรมและศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิต”
 
หนังสือในชุดประกอบด้วย Gentle Bridges (สะพานอันอ่อนโยน) Healing Emotions (อารมณ์เพื่อการบำบัด) Sleeping Dreaming and Dying (การนอนหลับ การฝันและความตาย) และ Science and Compassion 3 (วิทยาศาสตร์กับความกรุณา) นอกจากนี้ยังมีหนังสือเพื่อการศึกษาเชิงลึกซึ่งช่วยอธิบายเรื่องราวต่างๆ เพิ่มเติม ได้แก่ The Embodied Mind4 (จิตอันปรากฏรูป) โดย ฟรานซิสโก วาเลรา และคณะ Choosing Reality (การเลือกความจริง) และ The Taboo of Subjectivity (ข้อต้องห้ามของอัตวิสัย) โดย บี. อลัน วอลเลซ (B. Alan Wallace) การสนทนาที่บันทึกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีลักษณะและจุดมุ่งหมายในทำนองเดียวกันกับการบันทึกบทสนทนาต่างๆ ดังที่กล่าวมา .......................................................
 
 
 
http://www.suan-spirit.com/coming_book.asp?id=217

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5079


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:32 »








พิมพ์สวนเงินมีมา, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติองค์ทะไลลามะที่ 14 และอาจถือเป็นงานเปิดตัวหนังสือ “ควอนตัมกับดอกบัว” ที่พี่ชิวหรือ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เค้าไปช่วยแปลด้วย ส่วนผู้ร่วมแปลอีกท่านหนึ่งคือ คุณกุลศิริ เจริญศุภกุล
 

โปสเตอร์การเสวนานี้ - ที่มา - เว็บไซต์ข้างล่างนี้
 
สาเหตุที่ทราบเรื่องเสวนานี้ก็คือ วิทยากรท่านหนึ่งคือ พี่ชิว นั่นเอง อีกสองท่านก็คือ พระครรชิต คุณวโร (ท่านอยู่วัดญาณเวศกวัน – วัดเดียวกับท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ที่ผมกล่าวถึงไปในตอนที่แล้วนั่นเอง) ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี คุณณัฐฐา โกมลวาทิน พิธีกรจาก ThaiPBS เป็นผู้ดำเนินรายการ รายละเอียดรายการนี้มากกว่านี้อยู่ที่เว็บไซต์ของ สนพ.สวนเงินมีมาที่ http://www.suan-spirit.com/home_activity.asp?go=read&group=2&id=75 หรืออาจใช้ชื่อพี่ชิว search แล้ว ตามไปดูที่ GoToKnow ที่พี่ชิวเค้าเขียน blog อยู่ก็ได้ครับ คงมีภาพบรรยากาศงานให้ชมด้วย เพราะพี่เค้าติดกล้องไปด้วย คนฟังเต็มห้องประชุมเลยครับ น่าจะอยู่ในราว 160-180 คน เห็นจะได้ (ซึ่งถือว่าดีมาก สำหรับหัวเรื่องที่น่าจะถือว่า "หนัก")

วันนั้น มีหลายประเด็นที่อาจจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ แต่ผมขอพูดถึงสัก 2 ประเด็นคือ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีวิทยากรท่านหนึ่งบอกว่า พุทธศาสนาไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ “มากกว่า” ศาสนาอื่นอีกหลายศาสนา – สังเกตนะครับว่า คำพูดนี้เป็นได้แค่ “สมมติฐาน” และโดยส่วนตัวผมถือว่าเป็นสมมติฐานที่สุ่มเสี่ยงมาก การจะตอบเรื่องนี้ได้คงต้องทำวิจัยกันชุดใหญ่เลยทีเดียวล่ะครับ
 
ผม “เชื่อว่า” สาเหตุที่ “ดูเหมือน” ศาสนาพุทธไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะ (1) คนไทยไม่ค่อยกล้าวิจารณ์ศาสนาของไทยนัก จึง “โน้มเอียง” ที่จะยกพุทธให้เข้ากับเรื่องที่ตนคิดว่าดี ในกรณีนี้คนที่เชื่อว่าวิทย์ดี ก็จะบอกว่าพุทธ มีความเป็นวิทย์อยู่ในทีด้วย และพยายามยกส่วนที่คิดว่าสอดคล้องกันขึ้นมากล่าว และ (2) คนไทยยังไม่ค่อยมีวัฒนธรรมการวิจารณ์บน “หลักฐาน” มากนัก จึงเป็นการพูดด้วยความเชื่อกันมาก
 
ถ้ายังจำกันได้ผมเคยกล่าวถึงวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของพระอาจารย์โสภณ โสภโณ มีเนื้อความตอนหนึ่งของปาฐกถาของท่านที่กล่าวถึง “การเกิด” แบบอื่นๆ ของมนุษย์ที่ไม่ได้เกิดจาก “ท้องแม่” ทั่วไป เช่น การปุ๊บปั๊บไปเกิดในดอกบัวยักษ์ หรืออีกกรณีหนึ่งที่ ฤาษีตนหนึ่งที่ได้คำแนะนำจากพระอินทร์ให้เอามือลูบท้องนางฤาษิณีที่เป็นภรรยา (แต่ต่างถือพรหมจรรย์ ไม่หลับนอนด้วยกันตามวิสัยคฤหัสถ์) ก็ได้ลูกด้วยวิธีนี้ ซึ่งลูกที่มาเกิดก็คือ พระโพธิสัตว์ ที่มาสั่งสมบุญและช่วยฤาษีและฤาษิณีที่ต้องตาบอดทั้งคู่จากกรรมเก่า เป็นต้น จะเห็นว่าการเกิดทั้ง 2 แบบที่ยกมานั้น ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า “ยังมีหลักฐานชัดเจน และยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยข้อมูลเท่าที่มีอยู่ว่า เกิดขึ้นได้จริง” (ไม่ได้บอกว่า เกิดขึ้นไม่ได้ – ต่างกันนะครับ ลองคิดดูดีๆ) ดังนั้น หากถามนักวิทยาศาสตร์ในวันนี้ ก็คงจะตอบ (ตามหลักฐาน) ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้!
 
 

หน้าปกหนังสือ "ควอนตัมกับดอกบัว"
 
มีคำกล่าวที่วิทยากรท่านหนึ่งอ้างถึงคำพูดของไอน์สไตน์ ที่กล่าวถึง “ศาสนาคอสมิก (Cosmic religion)” หรือศาสนาที่เป็นสากลว่า “ถ้าจะมีศาสนาใดที่เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้มากที่สุด ก็คงจะเป็นศาสนาพุทธ” พี่ชิวกล่าวถึงข้อความตรงนี้ไว้ว่า ได้เคยตรวจสอบดู ก็พบจาก Wikipedia ว่า เป็น quote ที่ไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลเบื้องต้นหรือต้นตอ (original source) ได้พบ ... หรืออาจแปลได้ว่า ... อาจจะไม่เคยกล่าว หรือหากจะกล่าวไว้ ก็ไม่เคยบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวของไอน์สไตน์ในที่ใดเลย!
 
ทั้งนี้และทั้งนั้น ... อย่าเชื่อในทันที (เพราะใครพูดก็ตาม) ลองไตร่ตรองและสืบสวนกันดูเองได้ ก่อนเชื่อนะครับ!
 
นำชัย
 
 
http://www.biotec.or.th/Guru/

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5079


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:56 »

ตห (เต้าหู้)

คนสวน

offline
 
กระทู้: 1101
 

 
 

 

ชอบมากค่ะเล่มนี้ โดยเฉพาะบทที่เก้า ที่เขียนไว้ในกระทู้ order versus chaos
ท่าน Matthieu Ricard จากนักชีวโมเลกุล สู่ ภิกษุในพุทธศาสนา (ใครเป็นแฟนพันธ์แท้ของท่านคงจะทราบว่า มีเล่มก่อนหน้านี้ ภิกษุกับนักปรัชญา คือท่านกับพ่อของท่านคุยกัน นั่นก็สนุก)
 
ตอนนี้ TED TALK ยกให้ท่านเป็น "happiest man in the world" ไปเรียบร้อยแล้ว

http://www.ted.com/talks/matthieu_ricard_on_the_habits_of_happiness.html

 
นอกจากนี้ หากท่านใดได้มีโอกาสคลิ๊กเข้าไปที่แกลอรี่ของท่าน http://www.matthieuricard.org/index.php/gallery/จะพบอีกว่าท่านมาติเยอ ฝีมือถ่ายภาพชั้นเซียนจริงๆ


ลิงค์มาให้ชื่นชม
 
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.503 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 18:40:21