[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 22:45:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระพิมพ์ และเมืองกำแพงเพชรเก่า  (อ่าน 579 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 กันยายน 2564 16:59:59 »


ภาพ วัดพระสี่อิริยาบถ กําแพงเพชร

เรื่องพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระพิมพ์ และเมืองกำแพงเพชรเก่า
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เรื่องพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระพิมพ์ และเมืองกำแพงเพชรเก่า ความเป็นมาของลายพระหัตถ์ฉบับนี้มีว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ. ๑๒๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระพาสหัวเมืองเหนือโดยเรือยนต์พระที่นั่งใช้จักรขึ้นไปจนถึงปากน้ำโพ ต่อจากนั้นทรงเรือแม่ปะ เป็นเรือพระที่นั่งถ่อขึ้นไปทางลำน้ำปิงจนถึงเมืองกำแพงเพชรเป็นที่สุด ในระหว่างเสด็จประพาสนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขา เป็นรายงานพระราชทานมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในที่ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร เริ่มทรงบันทึกแต่วันที่ ๑๒ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ ถึงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕

ความปรากฏตามเอกสารฉบับนี้ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงส่งพระราชหัดถเลขา ที่ทรงเล่าถึงเมืองกำแพงเพชรไปถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งยังพระอิสรยยศที่กรมหมื่น พระองค์จึงได้มีลายพระห้ตถ์ฉบับนี้ทูลมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

               “วัดบวรนิเวศวิหาร
               วันที่ ๑๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
               ทูล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ด้วยได้รับประทานลายพระหัตถ์กับพระราชหัตถเลขา เรื่องเมืองกำแพงเพชร คัดจากฉบับของเสด็จพระอุปัชฌาย์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) นานแล้ว แต่ก่อนหม่อมฉันอุปสมบท คัดถวายมาอีกต่อหนึ่งเพื่อทรงนำถวาย บางทีจะเป็นอุปการแก่การค้นหานั้นบ้าง ฯ

สังเกตอาการของก่อสร้างที่ว่า มีพระเจดย์อย่างอินเดียหรือลังกาในวัดที่ตรัสเรียกในพระราชหัตถ์ว่า วัดพระแก้ว แลมีสระที่พระสรงน้ำขุดในแลงที่วัดพระยืน แต่วัดที่ทูลกระหม่อมเอง (รัชกาลที่ ๔) ทรงสันนิษฐานว่าวัดราชบุรณะ ดูคล้ายสระพระสรงน้ำเมืองอนุราธบุรีในลังกา อันก่อด้วยศิลาที่เห็นในรูป ฯ อาการเหล่านี้ประกอบกับความจารึกในหลักศิลาอักษรเขมรที่เมืองสุโขทัย ซึ่งนำมาไว้ที่วัดพระแก้วในทุกวันนี้ กับความจารึกในหลักศิลาที่เมืองกำแพงเพชรที่ถวายมา น่าจะเห็นว่าของเหล่านี้สร้างขึ้นครั้งพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ผู้เป็นพระราชนัดดาหรือพระราชปนัดดาของพระร่วงเจ้า แต่จะเป็นครั้งเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วหรือก่อน สอบศักราชแห่งคำจารึกหลักศิลาทั้งสองยังไม่ลงรอยกัน ฯ  ในหลักศิลาที่สุโขทัย กล่าวว่าเมื่อศักราช ๑๒๖๙ ศกกุร (มหาศักราช) พระบาทกมรเตงอัตศรีธรรมราชเป็นพระอุปราชอยู่ ณ เมืองศรีสัชนาไลย เป็นพระโอรสพระบาทกมรเตงอัตฤๅไทยไชยเชฐ เมืองสุโขทัย ฯ  ได้เสวยราชสมบัดิฉลองพระองค์ พระชนกในสุโขทัย เมื่อศักราช ๑๒๗๖ ศกมะเมีย อภิเษกถวายพระนามว่าพระบาทกมรเตงอัตศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ฯ ลุถึงศักราช ๑๒๘๓ ศกฉลู อัญเชิญพระมหาสามีสังฆราชผู้สถิตในลังกาทวีปมาแต่นครจันทร์ แลให้ปลูกกุฏิวิหาร ณ หว่างป่ามะม่วงอันมีในทิศปัศจิมแห่งเมืองสุโขทัย แลท้าวเธอทรงผนวชบรรพชาที่พระราชวังอุปสมบทที่พัทธสีมาไพรมะม่วง อย่าผนวชได้พระนามว่า พระบาท กมรเตงอัดศรี ตรีภพธรณีชิดสุริยโชติ มหาธรรมิกราชาธิราช ฯ

ศักราชในคำจารึกที่สุโขทัย เข้าใจกันว่า มหาศักราช ซึ่งตั้งต้นปีเถาะ แลมากกว่าจุลศักราช ๕๖๐ ปี ฯ

แต่ในหลักศิลาเมืองกำแพงเพชรกล่าวศักราช ๑๒๓๙ ศกระกา ล้ำเข้าไปก่อน พระศรีสุริยวงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชเป็นอุปราชถึง ๓๐ ปี น่าจะเห็นว่าก่อนนั้นคงจะครองเมืองกำแพงเพชร ฯ แต่ศักราชในหลักศิลาเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ปีระกาหาใช่ปีเถาะไม่ เหมือนศักราชบางอย่างในกฎหมายไทย ข้อนี้แย้งกันสำคัญ ฯ  แต่ทั้งสองแห่งว่าเป็นพระโอรสพระบาทกรมเดงอัตเลไท หรือพระยาเลือไทยก็ลงรอยกัน บางทีศักราชในหลักศิลากำแพงเพชรจะอ่านมาผิดหรือเขียนผิต ก็อาจเป็นได้ แต่ปีระกาคงเป็นแน่ ฯ

อีกข้อหนึ่งในพระราชหัตถ์ว่า ครั้งเก่าให้ทำถนนขุดคูเป็นที่ไปมาในรวางสวรรคโลก สุโขทัย กับกำแพงเพชรนั้น สนข้อความในหลักศิลาสุโขทัยนั้นว่า “ท่านจึงเสด็จไปปราบเมืองหนึ่งชื่อศรีจุฑามนราชมหานครอยู่ทิศพายัพ เมืองศรีสัชนาไลย เสด็จทอดพระเนตรตามระยะมรรคาไป เห็นว่าหนทางนั้นลำบากยากที่ราษฎรจะไปมา จึงทรงพระกรุณาให้ขุดคลองจองถนน ตั้งแต่เมืองสุโขทัยจนตลอดถึงเมืองศรีสัชนาไลย แลเมืองน้อยเมืองใหญ่อันแวะเวียนไปตามระหว่างทางนั้นด้วย ฯ”

ถ้ามีความจริงในนี้ ก็ต้องเป็นเมื่อจุลศักราช ๖๗๙ หรือ ๗๐๙ ไปหา ๗๒๓ ซึ่งเกี่ยวมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ก็ไม่แย้งกันตามชินกาลมาลีว่า สมเด็จพระรามาธิบดียกขึ้นไปตี ข้างโน้นยอมอ่อนน้อม ฯ

พระยาองค์นี้ จะเป็นพระราชนัดดาหรือราชปนัดดาของพระร่วงเจ้านั้น ในตำนานทั้งหลายแย้งกันอยู่ ฯ  ข้อความเหล่านี้ได้กล่าวถึงแล้ว ในตำนานวินิจฉัย ที่หม่อมฉันเรียง ซึ่งกรมหลวงนริศรเอาไปอ่านยังไม่ส่งคืน ฯ  ในเวลานี้ หยิบหนังสือไม่ได้ทัน ทูลมาพอเป็นเลาความ ฯ ถ้าได้ค้นเมืองสุโขทัยแลสวรรคโลกแล้วคงจะได้ความมากขึ้นไป เพราะมีข้อความกล่าวถึงละเอียดกว่า ฯ ความในพระราชหัตถเลขา เมื่อได้พิมพ์ขึ้น คงจะเป็นอุปการแก่การค้นหามาก ฯ

หม่อมฉันมีความฉงนอยู่แห่งหนึ่งในตอนที่เล่าถึงวัดพระธาตุ (รายการวันที่ ๒๕ สิงหาคม) ข้อว่าพระยาศรีธรรมาโศกราช (เจ้าเมืองสุโขทัย) สร้างพระเจดีย์ ๔๘,๐๐๐ (สี่หมื่นแปดพัน) นี้จะเป็นประมาณอย่างไร หรือผู้เรียนพระราชหัตถเลขาจะเขียนเลขกลับกันไป ๘๔,๐๐๐ (แปดหมื่นสี่พัน) จึงกลายเป็นสี่หมื่นแปดพันไป ฯ  แปดหมื่นสี่พันได้แก่พระธรรมขันธ์ พระเจ้าอโศกอินเดียสร้างพระสถูปวิหารแปดหมื่นสี่พันเท่าพระธรรมขันธ์ มีหลักอยู่ฉะนี้ จึงทำให้ฉงน ฯ ก่อนแต่จะพิมพ์ ควรกราบทูลถามเสียก่อน ฯ”

               “ที่ ๒/๘๖๔  วันที่ ๒๐ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕
               ถึง มกุฎราชกุมาร

ข้อซึ่งกรมหมื่นวชิรญาณทรงทรงสงสัยเรื่องจำนวนพระเจดีย์ที่ว่าพระยาศรีธรรมาโศก สร้าง ๘๔,๐๐๐ นั้น นึกจะอธิบายแล้ว แต่ด้วยความตั้งใจว่าจะคัดหนังสือ ซึ่งเป็นทางรู้เรื่องมานั้นไปให้ดูด้วย คงจะอธิบายความอยู่ในตัว จึงได้ทอดธุระเสีย แท้จริงผู้ซึ่งเขียนพระราชหัตถ์ฟังคำว่า ๔๘,๐๐๐ นั้นเป็น ๘๔,๐๐๐ เขียนลงแล้ว ต้องกลับแก้เป็น ๔๘,๐๐๐ เสียอีก จำนวนที่ผิดเช่นนี้เห็นจะเป็นที่ผู้เรียบเรียงหนังสือมาให้เป็นเด็กหนุ่มไม่สันทัดพูด ๘๔,๐๐๐ เช่นเราพูดกัน จึงได้กลับไขว้กันไปเสีย ซึ่งไม่ได้คัด

อนึ่งอ่านถึงเรื่องพรรณนารูปภาพนึกขึ้นได้ว่า จะต้องพระราชประสงค์อาการนุ่งผ้าอย่างโบราณที่กล่าวไว้ในพระวินัย จึงเขียนส่งถวายมาด้วย ขอทูลกระหม่อมโปรดนำถวายด้วย ฯ

หม่อมฉันส่งคืนพระราชหัตถเลขาเล่าเรื่องเมืองกำแพงเพชรถวายคืนพร้อมกับจดหมายนี้ฯ

               ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
               (ลงพระนาม) กรมหมื่นวชิรญาณ

“หนังสือฉบับนั้นส่งมา เพระเวลาจอแจนัก – กำลังล่วง รีบจะให้หนังสือมาถึงเสียก่อนตัวฉันมาถึง เมื่อพบพูดกันจะได้เข้าใจทันที

บัดนี้ได้คัดสำเนาเรื่องพระพิมพ์ซึ่งมีตลอดจนคาถาสำหรับบูชากับพระพิมพ์บางอย่างไม่ครบส่งมาให้พอเป็นตัวอย่าง กับสำเนาหนังสือพระครูปาโมกข์มุนี ซึ่งร่างขึ้นไว้จะถวายเธอ แต่ไม่ได้แวะ เมื่อไปถวายข้อความจะคิดใหม่ไม่ทัน จึงได้เอาฉบับเดิมนั้นมาให้ พร้อมทั้งตำราด้วย

ฉันยังลืมที่จะกล่าวความเพิ่มเติมอีกข้อ ๑ ในข้อที่จะยืนยันว่า เมืองกำแพงเพชรโบราณไม่ได้อยู่ริมฝั่งน้ำซึ่งตั้งกำแพงเมืองกำแพงเพชรเดี๋ยวนี้นั้น จะชี้ตัวอย่างให้เห็นในที่ใกล้ คือใคร ๆ ที่เป็นพวกเรียนพงศาวดารย่อมทราบอยู่ด้วยกันว่าวัดประดู่โรงธรรม วัดเดิมศรีอโยทธยา อยู่ในกำแพงพระนครศรีอโยทธยาโบราณเป็นวัดกลางเมือง แต่กรุงทวารวดีศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่เกาะตรงหน้าเมืองเก่าข้ามจนถึงทุกวันนี้ ฟากข้างเมืองเดิมยังมีวัดใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฎชื่อเสียง ไม่ได้ตั้งอยู่ริมน้ำ ซึ่งจะควรเข้าใจว่าสร้างครั้งกรุงทวารวดี คือวัดมเหยงคณ์ วัดกุฎีดาว วัดใหญ่ไชยมงคล เป็นต้น บัดนี้ก็เป็นวัดตั้งอยู่กลางนาทั้งนั้น ไม่มีรอยกำแพงพระนครฝั่งฟากข้างตะวันออกเลย จะควรเข้าใจหรือว่า กรุงศรีอโยทธยาโบราณก็ตั้งอยู่ที่กรุงทวารวดีเดี๋ยวนี้ ฟากข้างตะวันออกเป็นที่คนอาศัยอยู่มาก จึงได้สร้างวัดในที่คนอยู่ เมืองทวารวดีสร้างกำแพงไว้แต่เฉพาะมีการทัพศึกจึงค่อยต้อนคนเข้าไป จะเข้าใจอย่างนี้ไม่ได้ด้วยเหตุผลหลายประการ เริ่มตั้งแต่สร้างกรุง นามเดิมชื่อศรีอโยทธยา เมื่อที่สร้างใหม่มีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวารวดีแต่โบราณ จึงเติมนามเข้าว่า ทวารวดี เป็นทวารวดีศรีอยุธยา ดังนี้เป็นต้น จะพรรณนาไปอีกก็ป่วยการ จะควรเชื่อหรือไม่ว่ากรุงศรีอโยทธยาโบราณนั้นไม่มีกำแพง ถ้าหากว่ามีแล้วกำแพงจะไปไหนเสีย ข้อนี้จะเทียบได้ในเวลาใกล้ที่สุดว่าเมืองธนบุรีนี้ เมื่อตั้งขึ้นเป็นพระมหานครก่อกำแพง ๒ ฝั่งน้ำ ฟากตะวันตกตามแนวคลองนครบาลซึ่งยังปรากฎอยู่ทุกวันนี้ ฟากตะวันออกตามแนวคลองหลอดซึ่งยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ครั้นเมื่อจะสร้างกรุงรัตนโกสินทรนี้ ก็โปรดให้รื้อกำแพงเสียทั้ง ๒ ฟากขุดคูใหม่ ข้างเหนือไปออกบางลำภู ข้างใต้ไปออกวัดเชิงเลน ก่อกำแพงตามแนวคลองซึ่งปรากฎอยู่ทุกวันนี้ ธรรมดาจะสร้างเมืองใหม่ซึ่งจะถึงกำแพงเก่าไว้สำหรับให้ศัตรูมาถึงประชิดเมืองง่ายนั้นก็เป็นการไม่ควรจะทิ้งไว้อยู่เอง ใครจะเป็นผู้เถียงบ้างว่าวัดแจ้งวัดบางว้าไม่ได้อยู่ในกำแพงเมือง ข้อนี้ฉันใด เมืองทวารวดีกับอยุธยา กำแพงเพชรใหม่แลกำแพงเพชรเก่าก็เป็นอย่างเดียวกันฉันนั้น เมืองใหม่คงต้องเป็นชัยภูมิดีกว่าเมืองเก่าทั้ง ๓ แห่ง มีพยานอุดหนุนยืนยันความเห็นของฉันอยู่ อีกอย่างหนึ่งดังนี้ ถ้าจะลงพิมพ์ความเห็นแต่ก่อนขอให้เพิ่มเติมความข้อนี้ลงไว้ด้วย

อนึ่งพระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชรย่อมมีดวงพระพักตรแลรูปพรรณเป็น ๓ อย่าง ๆ หนึ่งเป็นรูปพระเขมรแปลง แต่ไม่เหมือนเขมรมากไม่แปลงถึงเมืองสรรค์ มีพวกนั่งบนขนดนาคเช่นพระลพบุรีเป็นอันมากนั้นพวกหนึ่ง พระเหล่านี้ย่อมจะได้จากในป่านอกเมืองทั้งนั้น ไม่มีในกำแพงเมืองเลย ตัวอย่างพระเช่นนี้มีอยู่ก่อนแล้วก็มีได้ใหม่ครั้งนี้ก็มี จะให้ดูได้

อีกอย่างหนึ่งนั้นเลียนจากพระเชียงแสน แต่พระพักตรแก้ให้ยาว พระนลาตผายหน่อยหนึ่ง พระปรางรัดหน่อยหนึ่ง พระเช่นนี้มีโดยมาก ทั้งในกำแพงแลนอกกำแพง

อีกอย่างหนี่งเลียนพระชินราช แต่พระพักตรยาวลีบกว่า มีรัศมียอดแหลม

พระทั้ง ๓ ทรงนี้ย่อมจะบอกเวลากาลที่เจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร เห็นจะเป็น ๓ คราว แต่อย่างแรกคงจะเป็นเวลาที่มีอำนาจโดยลำาพังตัวมากกว่าอย่างหลัง ๆ ลงมา แต่เห็นจะถูกท่านชั้นหลัง ๆ แก้ให้เป็นอย่างที่ ๒ ที่ ๓ เสียโดยมาก เพราะพระชั้นที่ ๑ นั้นย่อมเป็นพระศิลามากกว่าพระหล่อ เมื่อเวลาปฏิสังขรณ์ก็โบกปูนแก้ให้เข้ารูปอย่างใหม่ไป  แต่ใน ๒ อย่างชั้นหลังนั้นเอง อย่างที่ ๒ ยังมากกว่าอย่างที่ ๓ ซึ่งสำแดงให้เห็นว่าคงยังมีอำนาจมากอยู่ ชั้นที่ ๓ นี้เห็นจะริบหรี่ลงไปมาก จึงมีแต่พระหล่อไม่มีพระศิลาเลย ถึงเป็นพระหล่อก็องค์ย่อม ๆ โดยมาก

ถ้าพระแก้วมรกตจะได้ไปอยู่เมืองกำแพงเพชร คงจะไปอยู่ตั้งแต่พระชั้นแรกที่เป็นพระเขมรนั้น ไม่ใช่ ๒ ชั้นข้างหลัง คงจะต้องไปอยู่ในเมืองซึ่งกลายเป็นป่าไปแล้วเดี๋ยวนี้นั้น

แต่ควรจะเพิ่มเติมไว้เสียหน่อยหนึ่งว่า เมื่อเอาพระแก้วมรกตไปกล่าวปนกับพระเขมร หน่อยจะเข้าใจไปว่าพระเขมรกับพระแก้วมรกตมคล้ายคลึงกันหรือ ที่จริงไม่เหมือนกันเลย เป็นคนละฝีมือแท้ พระแก้วมรกตเป็นฝีมือโบราณอย่างประณีดสนิทเหลือเกิน ไม่ควรจะเทียบเทียมด้วยพระชั้นใหม่ ๆ ซึ่งสร้างในแถบประเทศข้างตะวันออก อินเดียตลอดจนเมืองจีนได้เลย

อนึ่ง มีที่ผิดอยู่แห่งหนึ่งที่กล่าวว่า แลเห็นเขาบรรทัดจากเมืองกำแพงเพชร ข้อนี้มีผู้บอกเป็นเวลาจะเขียนหนังสือก็เขียนลงไปโดยด่วน ครั้นภายหลังนึกสงสัยไต่ถามดูอีก ได้ความว่าเขาแนวนั้นไม่ใช่เขาบรรทัด ๆ ยังอยู่นอกออกไปอีกไกลมาก

                (ลงพระนาม) สยามินทร์.”
             
ขอขอบคุณที่มา พระพุทธศาสนา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จาก “พระพิมพ์” สู่ “พระเครื่อง”
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ใบบุญ 0 1762 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2561 11:21:04
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.398 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 10 กันยายน 2566 13:54:47