[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 29 มกราคม 2567 17:05:11



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จำคุก 3 ปี รอลงโทษ 2 ปี 'ลลิตา มีสุข' คดี 112 โพสต์คลิปวิดีโอ 'TikTok' พาดพิงสถาบันกษ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 29 มกราคม 2567 17:05:11
จำคุก 3 ปี รอลงโทษ 2 ปี 'ลลิตา มีสุข' คดี 112 โพสต์คลิปวิดีโอ 'TikTok' พาดพิงสถาบันกษัตริย์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-01-29 13:42</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ลลิตา มีสุข</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลตัดสินคดีมาตรา 112 'ลลิตา มีสุข' จำคุก 3 ปี ก่อนลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เพราะรับสารภาพ รอการลงโทษ 2 ปี จากกรณีถูกกล่าวหาโพสต์คลิป TikTok วิจารณ์การจัดการโควิด-19 ของรัฐบาล พาดพิงสถาบันกษัตริย์</p>
<p> </p>
<p>29 ม.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (29 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.เป็นต้นมา ห้องบัลลังก์ 601 ณ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลลิตา มีสุข ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เดินทางมาฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3)</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53493911962_7bd701f749_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศาลอาญากรุงเทพใต้</span></p>
<p>ลลิตา ถูกแจ้งความเมื่อปี 2564 จากกรณีโพสต์คลิปวิดีโอสั้นในแอปฯ TikTok วิจารณ์นโยบายการจัดการโควิด-19 ของรัฐบาล และในช่องคอมเมนต์ เธอโพสต์คลิปตอบผู้มาแสดงความคิดเห็น โดยมีคลิปหนึ่งพูดคำว่า "พระมหากรุณาธิคุณ" เป็นเหตุให้ อภิวัฒน์ ขันทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เข้าแจ้งความเอาผิด ม.112 ที่ สน.นางเลิ้ง </p>
<p>ต่อมา 18 พ.ค. 2565 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องลลิตา มีสุข ในคดีดังกล่าว โดย ณัฐพล กิตติตระกูล พนักงานอัยการ บรรยายพฤติการณ์ว่า คลิปสั้น TikTok ของลลิตา พูดถึงงบประมาณที่นำมาแจกประชาชน และงบประชาสัมพันธ์ของกษัตริย์นั้นมาจากประชาชนไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณของรัฐบาลหรือสถาบันกษัตริย์ และการกดขี่ประชาชนให้จน แล้วนำเงินมาแจก ให้ประชาชนรู้สึกเป็นบุญคุณจะได้ทำให้ง่ายต่อการปกครอง ทั้งๆ ที่ประชาชนควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากเงินภาษีของตัวเอง โดยอัยการระบุว่า ช่วงหนึ่งของคลิป จำเลยได้ทำปากพูดคำว่า "พระมหา" โดยไม่ออกเสียง ก่อนตามด้วยด้วยการกล่าวคำว่า "กรุณาธิคุณ"</p>
<p>อัยการระบุว่า การโพสต์คลิปของลลิตา ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่ากษัตริย์รัชกาลที่ 10 นำเงินภาษีของประชาชนไปแจกประชาชนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับตัวพระองค์เอง เป็นเงินจำนวนปีละหมื่น ๆ ล้านบาท รวมทั้งกดขี่ให้ประชาชนยากจน แล้วนำเงินไปแจก เพื่อให้ประชาชนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้ปกครองได้โดยง่าย อันเป็นการใส่ความรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อความเท็จ ทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียชื่อเสียง และเป็นการนำความผิดด้านความมั่นคงเข้าสู่ระบบคอมฯ </p>
<p>ลลิตา มีนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ก่อนที่เธอรับสารภาพ และมีคำพิพากษาในวันนี้ (29 ม.ค.)</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ลลิตา รับทราบ ม.112 ที่ สน.นางเลิ้ง ปมโพสต์คลิปวิจารณ์การจัดการโควิด-19 ของรัฐบาลลง tiktok (https://prachatai.com/journal/2021/05/93109)</li>
<li>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน : ฟ้อง : "ลลิตา" ชาวกาฬสินธุ์ ม.112 ปมโพสต์คลิปใน TikTok วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชน ก่อนศาลให้ประกัน วงเงิน 2 แสน พร้อมเงื่อนไขห้ามทำสถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย (https://tlhr2014.com/archives/43753)</li>
</ul>
</div>
<p>ผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์ และอ่านคำแถลงรับสารภาพของลลิตา มีสุข ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลเห็นควรลงโทษจำคุก 3 ปี ก่อนลดโทษลงให้กึ่งหนึ่ง เหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยศาลเห็นว่าจำเลยไม่ปรากฏว่าเคยกระทำผิดมาก่อน ประกอบกับคำแถลงรับสารภาพจำเลยรู้สึกสำนึกผิดแล้ว ศาลจึงให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดี โดยรอการลงโทษเป็นเวลา 2 ปี</p>
<p>ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ ลลิตา หลังฟังคำพิพากษา โดยเธอระบุว่า เธอดีใจ และก็โล่งใจ เพราะว่าเธอสามารถวางแผนชีวิตต่อไปได้แล้วว่าจะเอายังไงต่อไป</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53495219715_d6334ca8a5_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ลลิตา มีสุข</span></p>
<p>ลลิตา มองว่า บางคนอาจคิดว่า การรับสารภาพคือการยอมแพ้ แต่สำหรับเธอ การรับสารภาพเพื่อให้ได้รับการบรรเทาโทษคือ "การบริหารความเสี่ยง" เพื่อให้สามารถวางแผนชีวิตต่อไปได้ เพราะตอนนี้ครอบครัว แม่ป่วยเป็นมะเร็ง และกำลังจะทำคีโมครั้งสุดท้ายในเดือนหน้า เธอไม่ทราบว่าถ้าติดคุกตอนนี้อาจทำให้กำลังใจของแม่เธอแย่ลงหรือไม่ พ่ออาจจะเครียดมากขึ้น และใครจะเป็นคนหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว ถ้าเธอต้องเข้าเรือนจำ </p>
<p>นอกจากนี้ ลลิตา ระบุด้วยว่า ตอนนี้ภาคประชาชนกำลังรณรงค์เรื่องการนิรโทษกรรมคดีการเมือง เธอวางแผนว่า เธออยากจะเป็นกระบอกเสียงในเรื่องนี้ด้วย </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาเรื่องมาตรา 112</span></h2>
<p>ลลิตา มองว่า ปัญหาเรื่องการใช้มาตรา 112 มีทั้งเรื่องตัวบท และการบังคับใช้ สำหรับเรื่องตัวบทกฎหมาย มีการรวมโทษหมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้าย เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โทษมีความรุนแรง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว ถ้าเราเปิดพจนากุกรมดูคำว่า “หมิ่นประมาท” และ “อาฆาตมาดร้าย” มันไม่ใกล้เคียงเลย ในมุมมองของเรา เราเลยรู้สึกว่ามันไม่น่าจะใช่คำเดียวกัน</p>
<p>ลลิตา กล่าวเสริมว่า ในด้านการบังคับใช้  มันถูกใช้ง่ายจนเกินไป มันเปิดช่องโหว่ให้ใครก็ตามที่ไม่ชอบหน้ากัน หรือมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน สามารถใช้กฎหมายมาตรานี้กลั่นแกล้งกัน เพราะประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา เราจะแจ้งความใครก่อนก็ได้ พอแจ้งความแล้ว ต่อให้ผิดหรือไม่ผิด ภาระการพิสูจน์ก็เป็นหน้าที่ของจำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหา บางคดีที่ยกฟ้องไปแล้วสู้คดีกันมานาน 3-4 ปี กลายเป็นว่าผู้ถูกกล่าวหาเสียเวลาและโอกาส และไม่เคยได้รับการเยียวยาเลย เพราะฉะนั้น ถ้ายังแก้ไขตัวบทกฎหมายไม่ได้ ก็อยากให้แก้ไขเรื่องการใช้งาน
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ลลิตา มีสุข[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาตรา 112[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศาลอาญากรุงเทพใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/tiktok" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">tiktok[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107836