[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 23 พฤษภาคม 2554 12:25:36



หัวข้อ: ความเป็นผู้มีความปรารถณาน้อย
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 23 พฤษภาคม 2554 12:25:36
(http://album.taklong.com/addons/albums/images/160241427.jpg)

(http://album.taklong.com/addons/albums/images/662909904.jpg)

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=19987.0;attach=1169;image)

(http://uyfz9q.bay.livefilestore.com/y1puwwLyY1hQGevKbPEFyCjgBoQn3NSNeo-y8gjotl_lxJ--glH5i3PgMx-t56j5hxrXEdhp0j_jvxReSFv7ti_moNX3z_jaCAr/hyooneunhye.gif?psid=1)

บทว่า ทฺวตฺตึสาย ติรจฺฉานกถาย คือ ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉาน -

กถา ๓๒ ประการของสัตว์ผู้พ้นจากสวรรค์บทว่า ทส กถาวตฺถูนิ

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือเหตุอันเป็นวัตถุแห่งกถาอาศัย{วิวัฏฏะนิพพาน}

๑๐ ประการมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้นบทว่า อปฺปิจฺโฉ

มีความปรารถนาน้อย ในบทว่า อปฺปิจฺฉกถํ นี้ได้แก่ เว้นความปรารถนา

ไม่มีความปรารถนาไม่มีความอยากอันที่จริงพยัญชนะในบทว่า อปฺ

ปิจฺโฉ นี้ดูเหมือนจะยังมีพยัญชนะเหลืออยู่แต่อรรถไม่มีอะไรเหลืออยู่

เลยเพราะพระขีณาสพไม่มีความปรารถนาแม้แต่น้อยอีกอย่างหนึ่ง

ในความปรารถนานี้พึงทราบประเภทดังนี้คือ ความปรารถนาลาภคนอื่น

เพื่อตนความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ความปรารถนาน้อย

ในประเภทความปรารถนาเหล่านั้นพึงทราบดังนี้ความปรารถนาลาภ

ของผู้อื่นเพราะไม่อิ่มในลาภของตน ชื่อว่าปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนนั้นแม้ขนมสุกในภาชนะ

หนึ่งที่เขาใส่บาตรของตนก็ปรากฏเหมือนยังไม่สุกดีและเหมือนเล็กน้อย

วันรุ่งขึ้นเขาใส่บาตรของผู้อื่นก็ปรากฏเหมือนสุกดีแล้วและเหมือนมาก

ความสรรเสริญในคุณอันไม่มีและความไม่รู้จักประมาณในการรับชื่อว่ามี

ความปรารถนาลามกความปรารถนาลามกนั้นมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่าคน

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่าขอให้ชนรู้จักเราว่าเป็นผู้มี

ศรัทธาบุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภนั้นย่อมตั้งอยู่ในความ

หลอกลวงความสรรเสริญคุณอันมีอยู่และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน

การรับ ชื่อว่ามีความปรารถนาใหญ่แม้ความปรารถนาใหญ่นั้นก็มา

แล้วโดยนัยนี้ว่าคนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธาย่อมปรารถนาว่าชน

จงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธาย่อมปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล

ดังนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาใหญ่นั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยท่อนผ้า

แม้มารดาผู้ให้กำเนิดก็ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งความคิดของเขาได้สมดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า................กองไฟมหาสมุทรและบุคคลผู้มีความปรารถนา

ใหญ่ชนทั้งหลายให้ปัจจัยจนเต็มเกวียนแม้ทั้งสาม

ประเภทนั้นก็หาอิ่มไม่




ส่วนความเป็นผู้ปิดบังคุณอันมีอยู่และรู้จักประมาณในการรับชื่อ

ว่ามีความปรารถนาน้อยบุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยนั้น

เพราะประสงค์จะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตนถึงมีศรัทธาก็ไม่ปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธาถึงมีศีลเป็นผู้สงัดเป็น{พหูสูต}เป็นผู้

ปรารภความเพียรเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นผู้มีปัญญาเป็นพระขีณาสพ

ก็ไม่ปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพเหมือน{พระมัชฌัน -

ติกเถระ}ฉะนั้นก็แลภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ย่อมยังลาภ

ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวรยังจิตของทายกให้ยินดี.

มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในวัตรของภิกษุนั้นย่อมถวายมากโดยอาการ

ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยจึงรับแต่น้อย

ยังมีความปรารถนาน้อยอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ปรารถนาน้อยใน

ปัจจัยปรารถนาน้อยในธุดงค์ ปรารถนาน้อยในปริยัติ ปรารถนาน้อยใน

อธิคม{ความสำเร็จ - การบรรลุ}ใน ๔ อย่างนั้นความปรารถนาน้อย

ในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ปรารถนาน้อยในปัจจัยภิกษุใดรู้กำลังของทายก

รู้กำลังของไทยธรรมรู้กำลังของตน(ผิ)ว่าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์

จะให้น้อยย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของทายกไทยธรรมมีน้อยทายก

ประสงค์จะให้มากย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของไทยธรรมแม้ไทยธรรม

ก็มีมาก แม้ทายกก็ประสงค์จะให้มากรู้กำลังของตนย่อมรับพอประมาณ

เท่านั้นไม่ประสงค์จะให้รู้ว่าการสมาทานธุดงค์มีอยู่ในตนภิกษุนั้น

ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์ส่วนภิกษุใดไม่ประสงค์จะ

ให้รู้ว่าตนเป็นพหูสุตภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ

ส่วนภิกษุใดได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรารถนา

จะให้รู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้นภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนา

น้อยในอธิคมส่วนพระขีณาสพละความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อยเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยด้วยความ

บริสุทธิ์ คือไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่าดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย{ธรรม}เหล่านี้คือความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนความ

ปรารถนาลามกความปรารถนาใหญ่ควรละเสียทรงแสดงว่าควรประ -

พฤติสมาทานความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเห็นปานนี้ชื่อว่าตรัส{อปฺปิจฺฉกถา}ความปรารถนาน้อย



ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเป็นกุศลธรรมจะเป็นอกุศลธรรม

ได้เลยดังนั้นความเป็นผู้ปรารถนาน้อย

ความมักน้อยภาษาบาลี คือ อัปปิจโฉในอรรถกถาอังคุตตรนิกายอธิบายไว้ว่า

ผู้ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีความโลภ{โลภะ}ซึ่งความไม่มีความโลภก็ย่อมีวัตถุที่จะ

ไม่โลภมีปัจจัยต่าง ๆ คือไม่โลภในปัจจัยต่าง ๆ หรือ คุณธรรมต่าง ๆ คือไม่{โลภ}คือไม่

แสดงตนว่ามีคุณธรรมต่าง ๆ ซึ่งขณะนั้นไม่มีความต้องการให้คนอื่นรู้ว่ามีคุณธรรมอะไร

บ้างจึงชื่อว่าความเป้นผู้ปรารถนาน้อยแต่ขณะนั้นไม่มีโลภะ{ไม่เป็นอกุศล}ซึ่ง

ในเรื่องของความปรารถนามี 4 ประการดังนี้..........................

1.ผู้ปรารถนาลามก

2.ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น

3.ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อย

4.ผู้มักมาก



ผู้ปรารถนาลามกคือผู้ที่พยายามในสิ่งที่ตัวเองไม่มีคุณธรรมนั้นเช่นเป็นผู้ไม่สำรวม

ก็แสดงอาการว่าเป็นผู้สำรวมเพื่อให้คนอื่นยกย่องหรือสรรเสริญเพื่อลาภสักการะ

ไม่มีคุณธรรมคือศรัทธาก็ทำเป็นผู้มีศรัทธาไม่มีคุณธรรมก็แสดงอาการภายนอกว่า

เป็นผุ้มีคุณธรรมเป็นต้นหลอกลวงเพื่อได้มาซึ่งสักการะลาภและปัจจัยต่าง ๆ จึงชื่อ

ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก

ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้นคือผู้ที่ไม่รู้จักพอ ไม่อิ่มให้เท่าไหร่ไม่พอเหมือนไฟไม่อิ่มด้วย

เชื้อมีไม้และวัตถุที่ไหม้ไฟมหาสมุทรก็ไม่อิ่มด้วยน้ำแม้คนที่มีความปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น

ก็ไม่พอในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาและก็ย่อมเดือดร้อนกับความไม่พอ

ผู้มักมากคือผู้ที่ตัวเองมีคุณธรรมแต่อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีคุณธรรมเพื่อให้ได้

มาซึ่งลาภ สักการะ ปัจจัย เช่นตัวเองมีศีลก็มีความปรารถนาแสดงอาการให้ผู้อื่นรู้ว่า

ตัวเองมีศีล เป็นต้นหรือการไม่รู้จักพอดีในการับ นั่นก็ชือ่ว่าเป็นผุ้มักมากซึ่งต่างกับผู้มี

ความปรารถนาลามกคือตัวเองไม่มีคุณธรรมนั้นแต่แสดงหลอกลวงว่ามีคุณธรรมนั้นแต่

ถ้าเป็นผู้มักมากคือตัวเองมีคุณธรรมนั้นและก็อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีคุณธรรมนั้นจะเห็น

ได้ว่า 3 ข้อที่กล่าวมาเป็นเรื่องของโลภะความปรารถนาความต้องการทั้งสิ้น

ซึ่งไม่ใช่ความเป็นผู้มักน้อยหรือปรารถนาน้อย..........................

ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อยคือผู้ไม่มีความปรารถนาไม่โลภะที่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่า

ตนเองมีคุณธรรมอะไรโดยไม่ใช่การหลอกลวงซ้อนว่าแสดงเหมือนเป็นผู้มักน้อยเพื่อให้

ผู้อื่นสำคัญว่าเป็นผู้มักน้อยแต่จิตขณะนั้นเป็นผู้ไม่มีความต้องการจริงๆในขณะนั้นและ

รู้จักประมาณในการับด้วยใจจริงนี่ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาน้อย - มักน้อย

ซึ่งความักน้อย มี 4 ประการคือ................

1.มักน้อยในปัจจัย

2.มักน้อยในธุดงค์

3.มักน้อยในปริยัติ

4.มักน้อยในอธิคม

มักน้อยในปัจจัย คือ เป็นผู้รู้จักพอในการรับไม่มีความปรารถนาเพิ่มในสิ่งที่ตนเอง

ก็มีอยู่แล้ว คือต้องดูทั้งคนให้และตัวเองและศรัทธาของผู้ให้ครับถ้าผู้ให้มีของมาก

แต่มีศรัทธาน้อยก็รับน้อยถ้าผู้ให้มีของน้อยแต่มีศรัทธาในการให้มากก็รับน้อยแต่ถ้าผู้

ให้มีของมากและมีศรัทธามากก็ต้องรับพอดีนี่คือความมักน้อยความไม่โลภใน

ปัจจัยนั่นเอง

มักน้อยในธุดงค์ คือ ตัวเองเป็นผู้สมาทานรักษาธุดงค์ก็ไม่มีความปรารถนาต้อง

การให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองรักษาธุดงค์

มักน้อยในปริยัติ คือตัวเองเป็นผู้ฟังมากและเข้าใจมากแต่ก็ไม่ปรารถนาให้ใครรู้ว่า

ตัวเองเป็นพหูสูต ฟังมาก - เข้าใจมาก

มักน้อยใน{อธิคม}หมายถึง ตัวเองบรรลุธรรม แล้วก็ไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้ว่าบรรลุ

ธรรมการศึกษาพระธรรมจึงเป็นเรื่องของการน้อมประพฤติปฏิบัติด้วยความจริงใจทั้งทางกาย

วาจาและใจเป็นสำคัญการขัดเกลากิเลสก็เริ่มจากปัญญาที่เจริญขึ้นอันเนื่องมา

จากการศึกษาพระธรรมฟังพระธรรม เห็นโทษของกิเลสค่อย ๆ ขัดเกลากิเลส พระธรรม

จึงเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีความจริงใจและเป็นผู้ตรงว่าศึกษาพรธรรมเพื่อประโยชน์คือ.........................

การขัดเกลากิเลสของตนเองอันเป็นไปเพื่อความมักน้อยเป็นไปเพื่อความไม่มีโลภะที

ละเล็กละน้อยครับนี่คือประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม

ความเป็นผู้มักน้อยจึงเป็นคุณธรรมที่ควรอบรมเพราะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาแต่จะมี

ได้เพราะอาศัยการฟังพระธรรมเห็นประโยชน์ว่าถ้าลดความโลภลงเพราะมีปัญญา

ประโยชน์ก็ย่อมเกิดกับคนรอบข้างที่สำคัญที่สุดประโยชน์ใหญ่คือขัดเกลากิเลสของ

ตนเองพระธรรมเท่านั้นที่จะเกื้อกูล...............................



จากการที่เป็นผู้มากไปด้วยโลภะมากไปด้วยความติดข้องต้องการซึ่งก็มีเป็น

ปกติในชีวิตประจำวันซึ่งถ้าสะสมจนกระทั่งมีกำลังมากขึ้นก็อาจจะกระทำทุจริตกรรม

เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนกระำทำในสิ่งที่ไม่สมควรได้เพราะโลภะมีกำลังแต่เพราะ

ได้อาศัยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงซึ่งอุปการะ

เกื้อกูลต่อการเจริญขึ้นของกุศลธรรมถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถละโลภะได้อย่างเด็ด

ขาดแต่ก็สามารถค่อย ๆ ขัดเกลาให้เบาบางลงได้ในชีวิตประจำวันด้วยความเป็นผู้

เห็นโทษของอกุศลเห็นคุณประโยชน์ของกุศล  

ธรรม เป็นเรื่องละเอียดตั้งแต่ต้นแม้แต่ในการฟังพระธรรม - ศึกษาพระธรรมก็เพื่อเข้าใจ

ธรรมตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่อลาภสักการะสรรเสริญไม่ใช่เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตน

เองมากไปด้วยความรู้เป็นต้นสำหรับผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง

ย่อมไม่มีความประสงค์ที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีคุณอย่างไรมีความรู้อย่างไรแต่จะ

มีความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจพระธรรมอย่างที่ตนเองเข้าใจ
  
สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรทำแต่ควรกระทำในสิ่งที่ดีงามทั้งทางกาย

ทางวาจา และทางใจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการฟังพระธรรม - ศึกษาพระธรรม

สะสมปัญญาไปตามลำดับความเข้าใจถูก - เห็นถูกตรงตามพระธรรมเท่านั้นที่จะเป็น

เครื่องนำทางชีวิตที่ดีทำให้รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำเป็นต้นซึ่งจะเห็นได้

ว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อยเป็นไป

เพื่อความเป็นผู้หมดโลภะไม่ใช่เพื่อความเป็นผู้มักมากไม่ใช่เพื่อความเป็นผู้โลภ

มากในสิ่งต่าง ๆ ถ้าเริ่มขัดเกลากิเลสตั้งแต่ในขณะนี้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง

ก็จะสามารถดำเนินไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้ซึ่งจะต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานใน

การอบรมเจริญปัญญา.................................



ข้อความจากพระไตรปิกฏ

ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้

ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จบุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก

ก็ย่อมได้ประสบกามตัณหาเหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน

ย่อมเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น............................



ได้ยินว่าพระขิตกเถระ

ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

จิตของใครตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหวดังภูเขา

ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้

ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน



ข้อมูลจาก.............มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยท่าน อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากรเลขที่

๑๗๔ / ๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรีกรุงเทพฯ  ๑๐๖๐๐ โทรศัพท์หมายเลข ๐๒ - ๔๖๘ ๐๒๓๙ สมาชิก สุขใจ

ท่านใดมีความประสงค์จะศึกษาพระธรรมเรียนเชิญสอบถามไปยังมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามที่อยู่ดังที่เห็นอยู่นี้.......



http://www.facebook.com/itsariyathanakorn (http://www.facebook.com/itsariyathanakorn)

http://twitter.com/soka45 (http://twitter.com/soka45)

http://forums.212cafe.com/boxser/ (http://forums.212cafe.com/boxser/)



..............................มัชฌิมประภาสปุญสถาน.........................

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ....................................

http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma