[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 14:25:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การสร้างพระ : พระบูชา พระเนื้อผง โลหะ หรือเหรียญ  (อ่าน 10088 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2557 10:16:38 »

.

วัตถุมงคลสร้างจากเงินฉลุลายลงยา (ของเก่า ๖๐ ปีเศษ)
เป็นเข็มกลัดย่ามพระที่ หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร
วัดหนองโพ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์
มอบแด่พระลูกศิษย์ใกล้ชิด ไว้สำหรับกลัดติดย่าม
 
การสร้างพระ
พระบูชา พระเนื้อผง โลหะ หรือเหรียญ

กรรมวิธีการสร้างพระ จำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และประเภทเครื่องราง รายละเอียดดังนี้

๑. ประเภทพระเครื่อง แบ่งออกเป็น
๑.๑ พระเนื้อดิน เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด มีดินเป็นมวลสารหลักยึดประสานมวลสารต่างๆ ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ นำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้วนำพระมาเรียง ผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งทำได้ ๒ วิธี คือ เผา หรือตากแดด

พระที่ผ่านการเผา เป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ ทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมามีสีต่างกันตามระดับอุณหภูมิความร้อน ส่วนพระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง เรียกว่า พระดินดิบ หมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออกด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา เพราะดินจะละลายตัวหากแช่น้ำ

๑.๒ พระเนื้อชิน เป็นพระเนื้อโลหะที่เกิดจากการผสมผสานของ ดีบุกกับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่เรียกว่า เนื้อชิน โดยดีบุกซึ่งเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่อุณหภูมิ ๒๓๑.๙ องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ ส่วนตะกั่วเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่อุณหภูมิ ๓๒๗ องศา นับเป็นโลหะอ่อน มีแรงตึงหรือแรงรองรับต่ำ ทั้งนี้ ความอ่อนตัวของตะกั่วทำให้โลหะผสมขึ้นรูปได้ง่ายขึ้น แม้รูปทรงจะบางเรียบแบน และมีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำทำให้ปลอดภัยเมื่อพกติดตัว

พระเนื้อชินมี ๓ ประเภท คือ
    ๑ .พระเนื้อชินเงิน มีส่วนผสมของดีบุกมาก
    ๒. พระเนื้อชินสนิมแดง มีส่วนผสมของตะกั่วมาก ลักษณะคล้ายพระชินเงินแต่มีไขสนิมแซมตามซอกพระ
    ๓. พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง ๙๐% จึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดงที่เรียกว่า "แดงลูกหว้า"

๑.๓ พระเนื้อผง เป็นหนึ่งในศาสตร์ศิลปะแขนงวิชาการปั้นปูน มวลสารมีส่วนผสมของปูนเป็นหลัก ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี

๑.๔ พระเนื้อโลหะ มีการสร้าง ๓ ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม พระฉีด พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย ๑. พระเนื้อทองคำ ๒. พระเนื้อเงิน ๓. พระเนื้อทองแดง ๔. พระโลหะผสม สำหรับพระ ๓ ประเภทแรก ส่วนผสมหลักคือทองคำ เงิน ทองแดง ส่วนพระโลหะผสม มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร โลหะที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่ ๑. นวโลหะ ๒. สัตตโลหะ ๓. เบญจโลหะ ๔. ทองเหลือง ๕. บรอนซ์ ๖. เมฆพัด ๗. เมฆสิทธิ์ ๘. สัมฤทธิ์ ๙. ขันลงหิน

๑.๕ พระเนื้อว่าน "ว่าน" เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผงมาแต่โบราณ โดยนำว่านวิเศษต่างๆ มาบดละเอียด โดยใช้ครกหินตำ สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีอาทิ ว่าน ๑๐๘ ชนิด ปูนขาว กล้วยป่า ผงขี้ธูป แร่ ดินกากยายักษ์ ดอกไม้แห้ง น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ

๒. การสร้างเครื่องราง พระคณาจารย์ผู้มากด้วยพระเวทวิทยาคมจะนิยมสร้างเครื่องรางของขลังไว้ให้แก่ผู้ใกล้ชิด เป็นวัตถุมงคลที่ไม่ตายตัว แต่มีเอกลักษณ์คือไม่มีพิมพ์ ไม่จำกัดรูปร่าง แต่เค้าโครงแนวทางการสร้างกำเนิดมาจากผู้สร้างผู้ใด จะคงความเป็นตัวตน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่บ่งบอกว่าฝีมือใคร ใครสร้าง สร้างจากวัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้สร้าง และวัสดุทุกชนิดนั้นก็นำมาเป็นเครื่องรางของขลังได้
....หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

http://www.sookjai.com/index.php?topic=33717.msg58527#msg58527
เกจิชื่อดัง: หลวงพ่อเดิมและวัตถุมงคลหายาก  

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2557 18:37:47 »

.


พระพุทธรูป
๑. มูลเหตุการสร้างพระพุทธรูป

พระพุทธรูป หมายถึงรูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะ

เดิมพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด แม้มีการสร้างปูชนียสถานปูชนียวัตถุไว้เป็นที่บูชาสักการะหรือเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์บ้าง แต่ไม่มีการสร้างพระพุทธรูปไว้บูชา และแม้หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างพระพุทธรูป

แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึงหรือเป็นสัญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขานเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คนถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

คราวแรกนั้นชาวพุทธได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน), ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) มาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า

ล่วงถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ ๒,๒๐๐ ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา ๓๐๐ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูต จำนวน ๕๐๐ รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ (จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการต่างๆ นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา) แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน


  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า พุทธศาสนิกชนในยุคหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เมื่อต้องการจะสร้างวัตถุเป็นเครื่องหมายแทนพระพุทธเจ้า นิยมสร้างรูปต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ได้แก่ สร้างรูปม้ามีฉัตรกางกั้น เป็นสัญลักษณ์แทนการเสด็จออกบวช สร้างรูปบัลลังก์และต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์แทนการตรัสรู้ สร้างรูปธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงปฐมเทศนา และสร้างรูปพระสถูป เป็นสัญลักษณ์แทนการปรินิพพาน

ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ มีพรรณนาถึงพระพุทธรูปองค์แรกว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุดมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับจากดาวดึงส์ และเสด็จมายังเมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลอาราธนาให้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ครั้นพระพุทธองค์เสด็จไปถึง พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ได้ขยับองค์จากพระแท่นที่ประดิษฐาน เพื่อถวายความเคารพพระศาสดา ครานั้นพระพุทธองค์จึงทรงยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม พระไม้แก่นจันทน์จึงกลับไปประทับยังพระแท่นที่เดิม พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธา แต่ตำนานนั้นถือว่ายังไม่สามารถหาหลักฐานได้





๒. กำเนิดพระพุทธรูปองค์แรก
การสร้างพระพุทธรูปจริงๆ นั้น เริ่มสร้างขึ้นเมื่อชาวกรีก หรือที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) ใช้ศัพท์เรียกคนต่างแดนว่า โยนา หรือโยนก โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ ๑ หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (คันธาระ) (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) พระองค์แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล ต่อมาทรงพบพระสงฆ์นาม นาคเสน ทรงตั้งคำถามต่อพระนาคเสน (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนาครั้งนั้นบันทึกเป็นหนังสือชื่อ มิลินทปัญหา) ที่สุดพระเจ้า มิลินท์เกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา นำสู่การสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ โดยพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนั้นมีลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ หรือปางพระพุทธรูป

กล่าวได้ว่า พระพุทธรูปรูปแรกเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ามิลินท์ ผู้นำชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ หรือ ๒,๐๐๐ ปีที่แล้ว เรียกพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่กรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรเป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

ศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีพระพุทธรูปคนสำคัญ เคยแสดงทรรศนะเชิงวิจารณ์ไว้ว่า เป็นเพียงความเชื่อของเราที่ว่าพระพุทธรูปเกิดมีขึ้นแต่ครั้งพุทธกาล และเป็นพระบรมพุทธานุญาต แต่จากที่ได้ตรวจสอบหลักฐานหมดแล้วทั่วอินเดีย ในครั้งพุทธกาลไม่เคยมีพระพุทธรูป แม้ล่วงมาประมาณ พ.ศ.๓๕๐ ก็ไม่มีพระพุทธรูป จนถึงประมาณระหว่าง พ.ศ.๓๖๕-๓๘๓ สมัยพระยามิลินท์ปกครองแคว้นคันธาระและปัญจาบ ได้สนทนาธรรมกับพระนาคเสน เกิดความเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้น โดยยึดประเพณีการสร้างปูชนียวัตถุของชาวมัชฌิมประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช




ความจริง เรื่องการสร้างพระพุทธรูปนี้เป็นความประสงค์ของพุทธบริษัทในอินเดียโดยตรง ก่อนที่ชาวกรีก (โยนก) จะเข้ามาในอินเดีย แต่ที่ไม่ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาก่อนหน้านั้น สันนิษฐานว่าเพราะสาเหตุดังนี้
๑. ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ จึงไม่มีความจำเป็นต้องสร้างพระพุทธรูป แต่มีการสร้างปูชนียวัตถุอย่างอื่นในทางพระพุทธศาสนา
๒. หลังสมัยพุทธกาล คือเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แม้จะผ่านไป ๑๐๐ ปี หรือ ๒๐๐ ปี พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์มีความสามารถเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธายังมีอยู่มาก พุทธบริษัทมีความมั่นใจเหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างพระพุทธรูป

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุ ๒ ประการนี้มีเหตุผลพอสมควร จะเห็นได้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานประมาณ ๓๐๐ ปี เริ่มมีการสร้างปูชนียวัตถุที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้ามากขึ้น เช่น พระแท่นวัชรอาสน์ ธรรมจักร พระนางสิริมหามายาประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ ต่อมาเมื่อชาวกรีกนำประเพณีการสร้างเทวรูปเข้ามาในอินเดีย พุทธบริษัทในอินเดีย หรือแม้พุทธบริษัทที่เป็นชาวกรีก (พระยามิลินท์) ก็สร้างพระพุทธรูปตามประเพณีของกรีก.


ที่มา (ภาพและข้อมูล) : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ตุลาคม 2557 18:39:22 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 กุมภาพันธ์ 2567 16:27:35